ไม่เข้าใจว่า มัน เกื้อกูลกันยังไง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นราสภา, 13 กันยายน 2012.

  1. นราสภา

    นราสภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,961
    ค่าพลัง:
    +356
    อุปาทานทั้ง 4 ประการนี้ ที่ทรงแสดงไว้ในปฏิจสมุปบาทนั้น อุปาทานอยู่ในฐานะเป็นปัจจุบันเหตุ ร่วมกับตัณหา

    อุปาทาน เป็นองค์ธรรมหนึ่งในปฏิจสมุปบาทเป็นเหตุปัจจัยที่บุคคลเพิ่มเชื้อเข้าไปให้กับตนต้องอุบัติในภพต่าง ๆ


    อุปาทานเกิดสืบเนื่องมาจากตัณหา แต่ในขณะเดียวกันตัณหาก็เป็นผลสิบเนื่องมาจากอุปาทานได้ด้วย

    นอกจากนั้นอุปาทานยังเป็นปัจจัยให้เกิดภพ





    งง ตรงนี้ ตรงที่ว่า




    อุปาทานเกิดสืบเนื่องมาจากตัณหา แต่ในขณะเดียวกันตัณหาก็เป็นผลสิบเนื่องมาจากอุปาทานได้ด้วย


    รบกวนอธิบายทีครับ

    (k)(k)(k)(k)(k)(k)
     
  2. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    เรื่อง ปฏิจจสมุปบาท พระพุทธเจ้าก็ทรงสอนว่า เป็นเรื่องลึกซึ้ง

    แต่หาก เกิดสงสัยขึ้นมา แล้วกำหนดรู้สงสัย ได้เนืองๆได้บ่อยๆ
    อันนี้ยังมีค่ายิ่ง ใจถึงไหมล่ะ ใจถึงไหมที่จะข่ม สงสัยในภายใน
    ไม่ให้มัน วิ่งออกมา แต่กำหนดดูมันในภายใน กล้าป่าว
     
  3. อภิราม

    อภิราม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    532
    ค่าพลัง:
    +9,005
    เพียงแค่เข้าใจว่า อุปาทานและตัณหามาจากอวิชชา ก็พอแล้ว

    อุปาทานและตัณหา เป็นทุกข์
    อวิชชา เป็นเหตุให้เกิดทุกข์
    อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นความดับไปแห่งทุกข์
    การเจริญสติ เป็นแนวปฏิบัติที่นำไปสู่ความดับแห่งทุกข์
     
  4. นราสภา

    นราสภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,961
    ค่าพลัง:
    +356
    ลองดู

    ขอลองดู


    ปิดกระทู้ เลยเเล้วกัน


    :cool::cool::cool::cool:
     
  5. Bull_psi

    Bull_psi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +1,445
    ก็เหมือนว่าชอบรสชาติของโอเลี้ยง(ตัณหา)
    จึงต้องการจะดื่มอีกเรื่อยๆ(อุปทานมีตัวเราซึ่งชอบรสโอเลี้ยง) อร่อยดี หมดก็หาใหม่ ขอเกิดใหม่มากินต่อทุกชาติไป

    ไม่มีความเห็นว่าไม่เที่ยง ไม่เบื่อ :boo:
     
  6. ศนิวาร

    ศนิวาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    7,337
    ค่าพลัง:
    +17,635
    กามตัณหายินดีในรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสอารมณ์อันพึงพอใจ
    ภวตัณหาอยากได้อยากมีอยากเป็นในสิ่งที่ชอบใจ
    วิภวตัณหาไม่อยากได้ไม่อยากมีไอยากเป็นในสิ่งที่ไม่ชอบใจ
    เมื่อเกิดตัณหาสามอุปทานคือความยึดติดยึดมั่นก็ตามมาว่านี่ของเรานี่คือเรานี่เป็นเราอยากได้อยากมีอยากเป็นไม่อยากให้สูญไป

    เมื่อตัณหามีอุปทานก็เกิด เมื่ออุปทานเกิดก็เกาะเกี่ยวเอาตัณหามา เมื่อมีทั้งอุปทานและตัณหาเหนียวแน่นละไม่ได้ตัดไม่ขาด ชาติภพก็ตามมา อวิชชาก็เกิดขึ้น ดังนี้แล
     
  7. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    สิ่งที่จะชี้ให้เห็นได้ชัดในโลกนี้ ก็คงมีเพียงเรื่องกาม ที่มนุษย์มักคุ้นเป็นอย่างมาก

    ผู้ใดที่เคยได้สัมผัสกับกามมาแล้ว ย่อมจดจำอารมณ์นั้นได้ และ มีความต้องการในอารมณ์นั้นๆอีก

    เมื่อได้เสพมากขึ้นก็มีความทรงจำที่ชัดเจนขึ้น และ มีความต้องการที่มากยิ่งขึ้นทวีคูณ

    สาธุครับ
     
  8. ดูงาน

    ดูงาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    569
    ค่าพลัง:
    +2,670
    เนสกาแฟ กาแฟสด กาแฟจากมูลตัวชมด............

    ของเสียของสัตย์มันยังเห็นว่าดีกว่า ลองคิดเอา
     
  9. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อุปาทานทั้ง 4 ประการนี้ ที่ทรงแสดงไว้ในปฏิจสมุปบาทนั้น อุปาทานอยู่ในฐานะเป็นปัจจุบันเหตุ ร่วมกับตัณหา

    ตัณหา+อุปาทาน มีองค์ธรรมเดียวกัน คือ โลภะเจตสิก
    ตัณหา เป็นเหตุ อุปาทานก็เป็นเหตุด้วย

    อุปาทาน เป็นองค์ธรรมหนึ่งในปฏิจสมุปบาทเป็นเหตุปัจจัยที่บุคคลเพิ่มเชื้อเข้าไปให้กับตนต้องอุบัติในภพต่าง ๆ

    ตัณหา+อุปาทาน ทั้งสองนี้ จึงเป็นเหตุให้เกิดภพ คือภพเป็นผลมาจากเหตุ

    อุปาทานเกิดสืบเนื่องมาจากตัณหา แต่ในขณะเดียวกันตัณหาก็เป็นผลสิบเนื่องมาจากอุปาทานได้ด้วย

    เพราะทั้งสองนั้นเป็น อัญญมัญญะ สหชาตะ นิสสยะ
     
  10. สุรีย์บุตร

    สุรีย์บุตร https://youtu.be/8qf8khXqUjU

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,559
    ค่าพลัง:
    +2,122

    ตัณหาก็เป็นผลสิบเนื่องมาจากอุปาทานได้ด้วย
    หมายถึงเพราะมีตัณหาจึงมีอุปทานเกิดขึ้นอย่างนั้นหรือครับ
     
  11. thammakarn

    thammakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2011
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +376
    มันเป็นลักษณะอุปทานต้นทางทำให้เกิดตัณหา
    จากนั้นเมื่อมีตัณหา ก็เกิดอุปทานย้ำเข้าไปอีก
    กลายเป็นกระบวนการต่อเนื่องไม่จบสิ้น เพราะการหนุนเนื่องกันไป
     
  12. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    คาดว่าน่าจะเป็นทั้งปัจจุบันเหตุ คือ อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ ชาติ(ชรา...)
    และเหตุของอนาคตค่ะ คือเพราะยังมีอุปาทานนั้นอยู่ ก็สร้างวงจรปฏิจฯใหม่ขึ้นอีก
    ..

    อุปาทาน เป็นองค์ธรรมหนึ่งในปฏิจสมุปบาทเป็นเหตุปัจจัยที่บุคคลเพิ่มเชื้อเข้าไปให้กับตนต้องอุบัติในภพต่าง ๆ ตามอำนาจของกิเลสและกรรม และที่ไม่ควรลืมก็คือ อวิชชา ตัณหา กับอุปาทานนั้นเป็นพวกเดียวกัน คือเป็นกิเลสด้วยกัน เมื่อกล่าวถึงข้อหนึ่ง อีกสองข้อก็ชื่อว่าถูกกล่าวถึงด้วยเช่นกัน ตามสายปฏิจสมุปบาท อุปาทานเกิดสืบเนื่องมาจากตัณหา แต่ในขณะเดียวกันตัณหาก็เป็นผลสิบเนื่องมาจากอุปาทานได้ด้วย นอกจากนั้นอุปาทานยังเป็นปัจจัยให้เกิดภพ ความเกี่ยวข้องถึงกันระหว่าง อวิชชา ตัณหา อุปาทานนั้น พึงเห็นการที่สัตว์ทั้งหลายไม่มีความรู้แจ้งเห็นจริงในสิ่งทั้งหลายเพราะอวิชชานั้นเอง ทำให้จิตของเขามีความดิ้นรนทะยานอยากเพื่อให้ได้สิ่งนั้นมาเป็นของตน เมื่ออยากได้และได้มาแล้ว ก็จะมีความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งนั้น ๆ ตามอำนาจของกามุปาทานเป็นต้น บุคคลยิ่งอยากยิ่งยึดมากเท่าไรเหตุผลในเรื่องนั้น ๆ ก็จะอ่อนลงเพราะความอยากความยึดมั่นไปเพิ่มความเข้มข้นให้แก่อวิชชา

    ในฐานะที่อุปาทานเป็นข้อหนึ่งในปัจจุบันเหตุ ที่เป็นเหตุปัจจุบัน 5 ประการคือ อวิชชา สังขาร ตัณหา อุปาทาน ภพ เมื่อยังมีอุปาทานอยู่ ชาติ ชรา มรณะเป็นต้นก็ต้องมีอยู่ หากบุคคลปรารถนาให้หลุดพ้นจากทุกข์ในสังสารวัฏแล้ว ต้องทำลายอวิชชา สังขาร ตัณหา อุปาทาน ภพ ลงให้ได้ อนาคตผลคือ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ชาติ ชรา มรณะ ก็จะไม่บังเกิดขึ้น

    http://www.bp-smakom.org/BP_School/Social/u-patan4.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กันยายน 2012
  13. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    ทั้งกระแสปฏิจจ..นั้นคือระดับความละเอียด หรือความเข้มข้นของจิต

    เช่น เปิดฟังเพลง เจอเพลงที่ชอบ ก็เพิ่มระดับเสียง พร้อมกับร้องเพลงตาม นั้นแหละ ซ้อนทับกันและหนุนกันเพิ่มความเข้มข้นของจิตไป เรื่อยไปกันอยู่ทั้งกระแสนี้


    ถูกมั้ยไม่รู้ [​IMG]
     
  14. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    ในทางปฏิบัติแล้ว เรื่องปฏิจสมุปบาทเป็นเรื่องที่เราไม่ต้องไปคิดตามจนปวดหัวครับ
    รู้แล้วก็พอ

    เพราะเป็นธรรมที่ลึกซึ้ง (พระพุทธเจ้าเคยตรัสกับพระอานนท์)
    เมื่อปฏิบัติถึงอรหัตผลก็จะเข้าใจเอง

    แต่ธรรมที่พระพุทธเจ้าสอนให้ปฏิบัติและพิจารณาจะง่ายกว่า(เป็นขั้นๆ)นั้นครับ
     
  15. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    ทรงแนะนำอย่างยิ่ง
    ให้ศึกษาเรื่องปฏิจจสมุปบาท​

    (​
    เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสาธยายปฏิจจสมุปบาท อยู่ลำพังพระองค์เดียว, ภิกษุรูปหนึ่ง
    ได้แอบเข้ามาฟัง
    , ทรงเหลือบไปพบเข้า แล้วได้ตรัสว่า :-

    ดูก่อนภิกษุ​
    ! เธอได้ยินธรรมปริยายนี้แล้วหรือ?

    “​
    ได้ยินแล้ว พระเจ้าข้า!”

    ดูก่อนภิกษุ​
    ! เธอจงรับเอา (อุคฺคณฺหาหิ) ธรรมปริยายนี้ไป.

    ดูก่อนภิกษุ​
    ! เธอจงเล่าเรียน (ปริยาปุณาหิ) ธรรมปริยายนี้.

    ดูก่อนภิกษุ​
    ! เธอจงทรงไว้ (ธาเรหิ) ซึ่งธรรมปริยายนี้.

    ดูก่อนภิกษุ​
    ! ธรรมปริยายนี้ ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์



    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     
  16. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ^
    ระหว่าง เล่าเรียนศึกษา ปฏิจจสมุปบาท

    กับการ มาสาธยายปฏิจจสมุปบาท ทั้งๆที่ยังเป็นผู้ศึกษาอยู่

    จะต่างกันไหมหนอ
     
  17. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413

    ถามถึงปฏิจจ..ท่านทั้งหลายจึงได้ตอบปฏิจจ...
    ก็ต้องเล่าเรียนไปด้วย สาธยายตามความเข้าใจไปด้วย เพื่อแสดงส่วนที่ตนได้เข้าใจในส่วนที่เล่าเรียน แต่อย่าไปยึด

    [​IMG]
     
  18. chottana

    chottana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +337

    ที่จริงเเล้วพระองค์ก็ให้ ใคร่ควรญธรรมโดยวิธี3ประการนะครับ เช่น โดยความเป็นธาตุ โดยความเป็นอายตนะ เเละ โดยความเป็นปฏจสมุปบาท ก็ได้
    เเล้วการใคร่ครวญธรรม ก็เป็น ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เช่นในการ เลือกเฟ้นใครควรธรรมนั่นเอง ถ้าจะนำไปปฏิบัติพิจราณาในเเบบปฏิจ ก็ได้อยู่
    --------------------------
    ภิกษุ ท.! ภิกษุเป็นผู้พิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยวิธีสามประการ
    (ติวิธูปปริกฺขี) นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท.! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมพิจารณา
    ใคร่ครวญธรรม โดยความเป็น ธาตุ; ย่อมพิจารณาใคร่ครวญธรรม โดยความ
    เป็น อายตนะ; ย่อมพิจารณาใคร่ครวญธรรม โดยความเป็น ปฏิจจสมุปบาท.

    ภิกษุ ท.! ภิกษุเป็นผู้พิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยวิธีสามประการ ด้วยอาการ
    อย่างนี้ แล.

    ภิกษุ ท.! ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในฐานะเจ็ดประการด้วย เป็นผู้
    พิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยวิธีสามประการด้วย เราเรียกว่า เกพลี อยู่จบกิจ
    แห่งพรหมจรรย์ เป็นอุดมบุรุษ ในธรรมวินัยนี้, ดังนี้แล.


    - ขนฺธ.สํ. ๑๗/๗๖-๘๐/๑๑๘-๑๒๔.
    ----------------------------------------------------



    เเต่จะเป็นมุมมองที่กว้างอยู่ ก็เลยจำเป็น ต้องรู้ให้รอบสายก่อน ว่าจุดที่ต้องละคือตรงไหน ก็คือ ภพ,กามภพ รูปภพ อรูปภพ หรือ ภวตัณหา วิภวตัณหา
    เเละดูว่าอะไรมันเป็นเหตุปัจจัยให้ ภพนั้นปราฏก ก็จะเข้าใจเอง ก็คืออุปทานไง

    คราวนี้ ก็ต้องทำความเข้าใจก่อนอีกว่า

    ภพ ในปฏจสมุปบาท คืออะไร เเต่ผมจะอธิบายทำให้งงหน่อยนะ
    ภพ เปรียบเหมือน ผืนนา วิญญาณเปรียบเหมือนเมล็ดพืช
    ก็เเสดงว่า ภพ ก็คือ นามรูป
    เเละอีกสูตรจะบอกว่า การปราฏกของวิญญาณอีก2สูตรที่ครายๆกันก็คือการปราฏกของ นามรูป กับ ภพ เเต่สลับกัน นั่นเอง เเละอีกพระสูตร นามรูปเป็นที่ตั้งเเห่งวิญญาณ ใช่ไหม เเล้ว // วิญญาณต้องอาศัย นามรูป สูตรสุดท้ายก็คือ การปราฏกของวิญญาณกับนามรูป ก็คือการปราฏกของ ภูตะ ความเป็นภพใหม่ ต่อไป


    ทำให้เข้าใจว่าความเป็นภพนั่น มันเกิดอยู่ทุกขณะจิตอยู่เเล้ว มันเลยตัวอุปทานไปเเล้ว มันเลยมาตั้งนานเเล้ว เเต่ทำไมถึงเป็นอย่างนั้นหล่ะ เพราะว่าเอาเเต่มองข้ามมันกันไปเองไง
    จึงต้องรู้การทำงานของอุปทานนั้นดีๆ มันก็คือ การที่มี สมันนาหารจิตที่ประกอบด้วยกับขันธ์5 ที่เกิดรว่มกับอายตนะ ตรงนี้เเละ อุปทานขันธ์5 มันนั่นเกิดขึ้นมาเเล้ว
    สรุปให้เข้าใจง่ายก็คือ การที่จิตไม่มีสติ เผลอไปเเล้ว เเต่การทำงานของอายตนะมันเกิดขึ้นมาได้เอง เเบบเผลอๆ นั่นเเละ นั่นคือการปราฏกของภพเเล้ว ก็คือการปราฏกของ นามรูป นั่นเอง คือการไม่ควบคุมทวารในอินทรีย์ ไม่รู้ประมาณในการบริโภค ไม่ประกอบชาคริยธรรมเนื่องๆ ไม่เห็นเเจ้งซึ่งธรรมทั่งหลายที่เป็นกุศล บุคคลอย่างนี้ที่ไม่สำรวมอินทรีย์ มันก็เเน่อยู่เเล้ว ก็ต้องอยู่เป็นทุกข์ ธรรมทั่งหลายย่อมไม่ปราฏก เป็นผู้มีความประมาท
    ตรงนี้มันก็ส่งผลทำให้

    อุปทาน4เกิดขึ้นได้ อย่างเช่น อัตวาทุปทาน ยึดมั่นด้วยวาทะ
    ลัทธิอื่นๆพระองค์บอกอย่างเก่งรู้ 3 อุปทาน เเต่พระองค์รู้ อัตวาทุปทาน
    วาทะก็คือคำพูดว่าคือตัวตน เเต่ลองไปดูอีกสูตรจะมีว่า วิบากเเห่งสัญญา ก็คือเป็นสิ่งที่มีผลออกมาเป็นโวหารพูดอย่างหนึ่งๆออกมา เพราะบุคคลกระทำซึ่งสัญญาไหนๆ เข้าย่อมกล่าวออกมาอย่างนั้นๆ

    ก็คือ การพูดอะไรออกมามันเนื่องจากสัญญาทั่งนั้น เมื่อพูดอะไรออกมานั้นเเละ ทั่ง อุปทานขันธ์5 ก็เกิด อุปทาน4ก็เกิด ภพก็เกิด ก็คือการสร้างผลอยู่นั่นเอง
    ตรงนี้ก็ต้องเข้าใจว่า เวลาไหนเรากำลังสร้างภพอยู่ หรือ เวลาไหนเรากำลังละขาดซึ่งภพอยู่ กำลังปฏิบัติอย่างถูกต้องอยู่
    เพราะ
    พรหมจรรย์นี้อันบุคคลย่อมประพฤติก็เพื่อการละขาดซึ่งภพ นะ
     
  19. chottana

    chottana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +337
    ดูที่พระสารีบุตรอธิบายเอาไว้

    ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! แม้หากว่า, จักษุ (ตา) อันเป็นอายตนะภายใน เป็นของไม่แตกทำลาย, และรูปทั้งหลายอันเป็นอายตนะภายนอก
    ก็ยังไม่มาสู่คลอง (แห่งจักษุ), ทั้งสมันนาหารจิต๒ อันเกิดจากอายตนะ ๒ อย่างนั้น ก็ไม่มี,แล้วไซร้; ความปรากฏแห่งส่วนของวิญญาณ
    อันเกิดจากอายตนะ ๒ อย่างนั้นก็ยังจะไม่มีก่อน.

    ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! แม้หากว่า, จักษุอันเป็นอายตนะภายในเป็นของไม่แตกทำลาย, และรูปทั้งหลายอันเป็นอายตนะภายนอก ก็มาสู่คลอง
    (แห่งจักษุ); แต่ว่าสมันนาหารจิต อันเกิดจากอายตนะ๒ อย่างนั้น ก็ไม่มี,แล้วไซร้; ความปรากฏแห่งส่วนของวิญญาณ อันเกิดจากอายตนะ ๒ อย่างนั้น
    ก็ยังจะไม่มีอยู่นั่นเอง

    ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย!ก็แต่ว่า ในกาลใดแล จักษุอันเป็นอายตนะภายในนั่นเทียว เป็นของไม่แตกทำลาย, และรูปทั้งหลายอันเป็นอายตนะ
    ภายนอก ก็มาสู่คลอง (แห่งจักษุ); ทั้งสมันนาหารจิต อันเกิดจากอายตนะ๒ อย่างนั้นก็มีด้วย, แล้วไซร้; เมื่อเป็นดังนี้ ความปรากฏแห่งส่วนของวิญญาณ อันเกิด
    จากอายตนะ ๒ อย่างนั้น ย่อมมี ในกาลนั้น.

    รูปใด (ที่เป็นของเกิดร่วม) แห่งสมันนาหารจิตอันเกิดแล้วอย่างนั้น,รูปนั้น ย่อมถึงซึ่งการสังเคราะห์ในรูปูปาทานขันธ์; เวทนาใด (ที่เป็นของเกิดร่วม)
    แห่งสมันนาหารจิตอันเกิดแล้วอย่างนั้น, เวทนานั้น ย่อมถึงซึ่งการสงเคราะห์ในเวทนูปาทานขันธ์; สัญญาใด (ที่เป็นของเกิดร่วม) แห่งสมันนาหารจิตอันเกิดแล้ว
    อย่างนั้น, สัญญานั้น ย่อมถึงซึ่งการสงเคราะห์ในสัญญูปาทานขันธ์; สังขารทั้งหลายเหล่าใด (ที่เป็นของเกิดร่วม) แห่งสมันนาหารจิตอันเกิดแล้วอย่างนั้น, สังขาร
    ทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมถึงซึ่งการสงเคราะห์ในสังขารูปาทานขันธ์; วิญญาณใด(ที่เป็นของเกิดร่วม) แห่งสมันนาหารจิตอันเกิดแล้วอย่างนั้น, วิญญาณนั้น ย่อมถึง
    ซึ่งการสงเคราะห์ใน วิญญาณูปาทานขันธ์.

    ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ได้ยินว่า การสงเคราะห์ การประชุมพร้อมการรวมหมู่กัน แห่งอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เหล่านี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้.
    ก็แล คำนี้ เป็นคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสแล้วว่า "ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท,ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม; ผู้ใดเห็นธรรม, ผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท"
    ดังนี้ ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ ชื่อว่า ปฏิจจสมุปปันนธรรม; กล่าวคือ ปัญจุปาทานขันธ์ทั้งหลาย.

    ธรรมใด เป็นความเพลิน เป็นความอาลัย เป็นความติดตาม เป็นความสยบมัวเมาในอุปาทานขันธ์ทั้งหลาย ๕ ประการเหล่านี้; ธรรมนั้น ชื่อว่า
    ทุกขสมุทัย (เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์);ธรรมใด เป็นความนำออกซึ่งฉันทราคะ เป็นความละขาดซึ่งฉันทราคะ
    ในอุปาทานขันธ์ทั้งหลาย ๕ ประการ เหล่านี้; ธรรมนั้น ชื่อว่า ทุกขนิโรธ (ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์) ดังนี้.

    ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! ด้วยการปฏิบัติมีประมาณเพียงเท่านี้แล
    คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าเป็นสิ่งที่ภิกษุประพฤติกระทำให้มากแล้ว.
    มหาหัตถิปโทปมสูตร มู.ม. ๑๒/๓๕๘/๓๔๖, พระสารีบุตรกล่าวแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน. ข้อความนี้
    มิใช่พุทธภาษิต เพราะเป็นคำพระสารีบุตร; แต่สามารถอธิบายพระพุทธภาษิตได้ดี, จึงยกมาใส่ประกอบ
    ในฐานะเป็นอภิธรรมแท้.




    ^
    เป็นธรรมที่ต้องสนใจมากกว่าธรรมด้วยกัน ผู้ใดเห็นปฏจสมุปบาทผู้นั่นเห็นธรรม

    ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นตถาคต
     
  20. Workgroup

    Workgroup เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    693
    ค่าพลัง:
    +1,947
    มันก็เหมือน โซดาน้ำ โซดาโค๊ก โซดาเหล้า เหล้าน้ำ แล้วก็ คน ให้เข้ากัน

    แก้ว ก็ เหมือน กะ ตัว คน

    เติม กิเลสทั้งหลาย เช่น กิเลสกาม ก็คือ กิเลส แต่เน้นว่า กิเลสที่เป็นเหตุให้เกิดกามหรือความใคร่, กิเลสที่ทำให้อยาก, กิเลสที่ทำให้เกิดเจตสิกอันคืออาการของจิตอันเศร้าหมอง ชักให้ใคร่ ให้รัก ให้อยากได้ ได้แก่ ราคะ โลภะ อิจฉา (อยากได้) เป็นต้น

    นิ และ คน หรือ มนุษย์

    อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    สาธุครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...