พระพุทธศาสนา...พระโบราณ...พระในตำนาน...

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย บรรพชนทวา, 12 กันยายน 2012.

แท็ก: แก้ไข
  1. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    พรรษากาลที่ ๔๕
    เสด็จจำพรรษาทิษฐานสุดท้าย ณ หมู่บ้านเวฬุคาม เมืองเวสาลี และทรงปลงอายุสังขารที่ปาวาลเจดีย์

    พระชนมายุเข้าปีที่ ๗๙ ตอนปลาย ขณะนั้นกำลังประทับอยู่ที่เขาคิชกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์ ก็พอดีที่พระเจ้าอชาตศัตรูกำลังเตรียมทัพจะรุกรานแคว้นวัชชี จึงส่งวัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์ไปเฝ้า เพื่อจะหยั่งดูว่า จะตรัสออกความเห็นอย่างไรบ้าง พระเจ้าอชาตศัตรูทรงเชื่อมั่นในพระวาจาของพระพุทธองค์เป็นอย่างยิ่ง วัสสการพราหมณ์เข้าไปเฝ้ากราบทูลว่า
    เวลานี้พระเจ้าอชาตศัตรูกำลังเตรียมยกกองทัพบุกแคว้นวัชชี ซึ่งมีนครเวสาลีเป็นเมืองหลวง ทรงมีราชการยุ่งอยู่ จึงได้ส่งข้าพุทธเจ้ามากราบทูลถามทุกข์สุขของพระองค์

    ขณะนั้นพระอานนท์เฝ้าถวายงานพัดอยู่เบื้องหลัง พระพุทธองค์มิได้ตรัสตอบวัสสการพราหมณ์ประการใด แต่ทรงหันไปตรัสถามพระอานนท์ ถึงความเป็นอยู่แห่งนครเวสาลีว่า
    ชาววัชชียังคงประพฤติวัชชีธรรม อปริหานิยธรรม (คือธรรมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อม แต่เป็นไปเพื่อความเจริญโดยส่วนเดียว) อยู่หรือ

    ธรรม ๗ ประการที่ชาววัชชีปฏิบัติมั่นคง คือ
    ๑) หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์
    ๒) เมื่อประชุมก็พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกประชุมก็เลิกโดยพร้อมเพรียงกัน และพร้อมเพรียงกันทำกิจของชาววัชชีให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
    ๓) ชาววัชชีย่อมเคารพเชื่อฟังในบัญญัติเก่าของชาววัชชีที่ดีอยู่แล้ว ไม่เพิกถอนล้มเลิกเสีย และไม่บัญญัติสิ่งซึ่งไม่ดีไม่งามขึ้นมาแทน
    ๔) ชาววัชชีเคารพสักการะ นับถือ ยำเกรงผู้เฒ่า ผู้แก่ ผู้ผ่านโลกมานาน ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นเหยียดหยาม
    ๕) ชาววัชชีประพฤติธรรมในสุภาพสตรี คือไม่ข่มเหงรังแกน้ำใจหญิง
    ๖) ชาววัชชีรู้จักเคารพสักการะบูชาปูชนียสถานเสมอ
    ๗) ชาววัชชีให้ความอารักขาคุ้มครองพระอรหันต์ ภิกษุสงฆ์ และสมณพราหมณาจารย์ ผู้มีศีล ที่ยังไม่มาสู่แคว้นของตน ขอให้มา และที่มาแล้วก็ขอให้อยู่เป็นสุขโดยทั่วหน้ากัน

    พระอานนท์ทูลว่า
    ยังคงประพฤติดีอยู่พระเจ้าข้า"
    พระพุทธองค์จึงตรัสต่อไปว่า
    ตราบใดที่ชาววัชชียังประพฤติปฏิบัติธรรมทั้ง ๗ ประการนี้อยู่ พวกเขาจะไม่มีความเสื่อมเลย

    แล้วพระองค์ก็หันมาคุยกับวัสสการพราหมณ์ ตรัสว่า
    ครั้งหนึ่งเราพักอยู่ที่สารันทเจดีย์ ใกล้กรุงเวสาลี ได้แสดงธรรม ๗ ประการนี้แก่ชาววัชชี ตราบใดที่เขายังประพฤติธรรมนี้อยู่ พวกเขาจะหาความเสื่อมไม่ได้เลย จะมีแต่ความเจริญโดยส่วนเดียว

    แล้ววัสสการพราหมณ์ก็ทูลลากลับ หลังจากนี้ พระบรมศาสดารับสั่งให้พระอานนท์ประกาศให้ภิกษุสงฆ์ทั้งหมดที่อาศัยอยู่ในนครราชคฤห์มาประชุมพร้อมกัน แล้วทรงแสดงภิกษุอปริหานิยธรรม ๖ หมวด เป็นต้นว่า

    ภิกษุทั้งหลายตราบใดที่พวกเธอยังหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ พร้อมเพรียงกันประชุม เคารพในสิกขาบทบัญญัติ ยำเกรงภิกษุผู้เป็นสังฆเถระ สังฆบิดร ไม่ยอมตนให้ตกอยู่ภายใต้อำนาจแห่งตัณหา พอใจในการอยู่อาศัยเสนาสนะป่า ปรารถนาให้เพื่อนพรหมจารีมาสู่สำนัก และอยู่เป็นสุข ตราบนั้นพวกเธอจะไม่เสื่อมเลย มีแต่ความเจริญโดยส่วนเดียว

    ภิกษุทั้งหลาย ตราบใดที่เธอไม่หมกมุ่นกับการงานมากเกินไป (คืองานก่อสร้างสถานที่ และวัดต่างๆที่เรียกว่า นวกรรม) ไม่ยินดีพอใจด้วยการคุยฟุ้งซ่าน ไม่ยินดีในการนอนมากเกินควร ไม่ยินดีในการคลุกคลีจับกลุ่มกันเป็นหมู่ๆ ไม่เป็นผู้ปรารถนาลามก ไม่คบมิตรเลว ไม่หยุดความเพียร พยายามเพื่อบรรลุคุณธรรมสูงๆขึ้นไปเสีย ตราบนั้นพวกเธอจะไม่มีความเสื่อมเลย จะมีแต่ความเจริญโดยส่วนเดียว

    พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ เขาคิชกูฏพอสมควรแล้ว จึงพาพระอานนท์ และภิกษุสงฆ์จำนวนมากเสด็จมุ่งตรงไปนครเวสาลี ผ่านเมืองอัมพลัฏฐิกา เมืองนาลันทา และหมู่บ้านปาฏสิคาม (ปาฏสิคาม สมัยที่พระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์ชีพอยู่ ยังไม่เป็นเมือง เป็นเพียงหมู่บ้านที่พระเจ้าอชาตศัตรูมาตั้งที่มั่นทางยุทธศาสตร์ เพื่อโจมตีแคว้นวัชชี ต่อมามีชื่อว่า ปาฏลีบุตร หรือปัตนาในปัจจุบัน) ที่สวนอัมพลัฏฐิกา ได้ทรงเน้นย้ำอีกครั้งหนึ่งเรื่องศีล อบรมส่งเสริมสมาธิ สมาธิส่งเสริมปัญญา และจิตทีปัญญาอบรมดีแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะ (คือกามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ) นั่นคือ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุติ วิมุตติญาณทัศนะ


    ที่เมืองนาลันทา ทรงเล่าถึงพระสารีบุตรว่า ได้เคยกล่าวอาสภิวาจา คือถ้อยคำที่องอาจกล้าหาญแสดงถึงความเลื่อมใสอย่างยิ่งในพระศาสดา ทั้งในอดีต อนาคต และปัจจุบัน ไม่มีสมณะ หรือพราหมณ์ผู้ใดที่จะเป็นผู้รู้ยิ่งไปกว่าพระพุทธองค์ในเรื่องสัมโพธิญาณ

    เมื่อเสด็จถึงปาฏสิคาม ทรงแสดงโทษแห่งศีลวิบัติ ๕ ประการคือ
    ๑) ผู้ไร้ศีลย่อมประสบความเสื่อมทางโภคทรัพย์
    ๒) ชื่อเสียงทางไม่ดีฟุ้งขจรไป
    ๓) ย่อมเป็นผู้เก้อเขิน ไม่กล้าหาญ เมื่อเข้าที่ประชุม
    ๔) เมื่อใกล้จะตาย ย่อมขาดสติสัมปชัญญะ คุ้มครองสติไม่ได้ เรียกว่า หลงตาย
    ๕) เมื่อตายแล้วย่อมไปสู่อบาย ทุคติ วินิบาต นรก

    พระศาสดาเสด็จผ่านบ้านโกฏิคาม และบ้านนาทิก ตามลำดับ ได้ทรงแสดงธรรมอันเป็นประโยชน์ยิ่งแก่ผู้มาเฝ้า เช่น อริยสัจ ๔ ประการ และเรื่องให้ธรรมะเป็นกระจกดูเงาตัวเองขณะประทับ ณ พระตำหนักตึกในบ้านนาทิกคามคราวนี้ได้ทรงพยากรณ์ฝูงชนผู้เคยอุปปัฏฐากพระองค์เป็นอันมาก ซึ่งได้ล่วงลับดับขันธ์ไปแล้วในแคว้นกาสี โกศล วัชชี มัลละ เจดีย์ วังสะ กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ และสุรเสนา เป็นต้น ว่าคนนั้นๆได้ไปเกิดในสัมปรายภพที่นั้นๆต่างๆกัน พระอานนท์คิดอยู่ในใจว่า ทำไมหนอ พระพุทธองค์จึงไม่ทรงพยากรณ์คติในสัมปรายภพของคนที่อุปปัฏฐากพระองค์อย่างใกล้ชิดในแคว้นอังศะ และมคธบ้าง เช่น พระเจ้าพิมพิสาร และท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐี เป็นต้น ซึ่งก็ได้ล่วงลับไปแล้ว จึงเข้าไปทูลถามในตอนเช้าวันหนึ่ง ทรงตรัสเล่าให้ฟังภายหลังว่า

    พระเจ้าพิมพิสารสวรรคตแล้ว ไปเกิดเป็นยักษ์ชื่อ ชนวสภะ(ท่านอาจารย์หลายท่านเคยบอกว่า ผู้ที่ได้ฌานสมาธิ ในขณะจะตายถ้าจิตไม่ตั้งอยู่ในฌานอาจจะไปเกิดเป็นยักษ์ แทนที่จะไปเกิดชั้นพรหม คือเป็นเทวดาจำพวกหนึ่ง จิตใจดีไม่ใช่ยักษ์อย่างที่เราเข้าใจกันทั่วๆไป)

    ชนวสภะ ได้มาปรากฎกายมีผิวพรรณผุดผ่องยิ่งนัก เปล่งเสียงให้ได้ยินว่า
    ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าชื่อ ชนวสภะ เดิมคือพระเจ้าพิมพิสาร ข้าฯได้เป็นสหายของท้าวเวสสุวัณ มาเป็นครั้งที่ ๗ เข้านี่ ได้จุติจากเทวโลกมาเป็นพระราชาในเมืองมนุษย์ ๗ ครั้ง(คืออยู่ในเทวโลก ๗ ครั้ง มนุษย์โลก ๗ ครั้ง รวมทั้งหมด ๑๔ ครั้ง) ย่อมรู้จักภพที่ตนเคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้ดี ข้าฯไม่มีความตกต่ำเลย และมีความหวังตั้งมั่นว่า จะได้เป็นพระสกิทาคามีสูงขึ้นไปอีก ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะเป็นผู้ประพฤติปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาของพระองค์อยู่ตลอดเวลา

    ชนวสภะยักษ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงเรื่องที่ได้รับฟังมาจากท้าวเวสวรรณมหาราชต่อไปว่า ในคืนวันเพ็ญเข้าพรรษา หมู่ทวยเทพชั้นดาวดึงส์ทั้งหมดนั่งประชุมกันอยู่ในสุธรรมสภา มีเทพบริษัทมากมายนั่งอยู่โดยรอบ และท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ ก็นั่งอยู่ใน ๔ ทิศ แวดล้อมด้วยหมู่ทวยเทพเป็นอันมาก ทวยเทพเหล่านั้นทั้งหมดล้วนประพฤติพรหมจรรย์ในสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วมาบังเกิดในดาวดึงส์พิภพเมื่อเร็วๆนี้เอง ขณะที่หมู่ทวยเทพชั้นดาวดึงส์นั่งประชุมกันอยู่นั้นนิมิตแสงสว่าง และโอภาสก็ปรากฏขึ้น แต่กายหาปรากฏไม่ ท้าวสักกะจึงพูดกับเทวดาชั้นดาวดึงส์ว่า นิมิตมีแสงสว่าง และโอภาสก็ปรากฏนั้นเป็นบุพพนิมิตที่ท้าวมหาพรหมจะมาปรากฏขึ้น และขณะต่อมานั้น สนังกุมารพรหมก็มาปรากฏตัวแก่ทวยเทพชั้นดาวดึงส์แล้ว พูดว่า
    สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้ ทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลความสุขแก่เทวดา และมนุษย์เป็นอันมาก ชนเหล่าใดนับถือพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง ทั้งรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ชนเหล่านั้นเมื่อดับขันธ์ล่วงไปแล้วก็จะเกิดเป็นสหายของทวยเทพในสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้น

    สนังกุมารพรหมผู้มีฤทธิ์มากกล่าวกับทวยเทพว่า
    สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงบัญญัติอิทิบาท ๔ ไว้ดีแล้ว เพื่อทำให้มากด้วยฤทธิ์ เพื่อความวิเศษด้วยฤทธิ์ เพื่อแผลงฤทธิ์ได้ต่างๆ สมณะ หรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งทั้งในอดีตอนาคต และในปัจจุบัน บัดนี้ ซึ่งแผลงฤทธิ์ได้หลายอย่าง ทำได้เช่นนั้นก็เพราะอบรมสั่งสอนให้มากซึ่งอิทธิบาททั้ง ๔ ประการนี้ คือ

    ๑) ฉันทสมาธิ ตั้งใจมั่น อันมีความพอใจเป็นเหตุ และปธานสังขาร คือความเพียรเป็นเครื่องสนับสนุน
    ๒) วิริยสมาธิ
    ๓) จิตตสมาธิ มีความเอาใจใส่ ทำจริงๆคิดไตร่ตรองอยู่เสมอ
    ๔) วิมังสาสมาธิ มีการพิจารณาด้วยปัญญาเป็นเหตุ

    สนังกุมารพรหมกล่าวต่อไปอีกว่า
    แม้เราผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพเช่นนี้ ก็เพราะเราเป็นผู้อบรมสั่งสอนให้มากซึ่งอิทธิบาททั้ง ๔

    สำหรับท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐีนั้น พระพุทธองค์ตรัสว่า เคยเล่าให้ภิกษุสงฆ์ที่เชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี ฟังครั้งหนึ่งหลังจากวันทำกาละ(คือ วันหนึ่งหลังจากเศรษฐีมรณะแล้ว) ว่า
    ในเวลากลางคืน ดึกมากแล้ว เทพบุตรตนหนึ่งมีวรรณะงดงามยิ่ง มีโอภาสส่องเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว ได้เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ไหว้แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควร กล่าวว่า เชตวันนี้ ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นที่ที่หมู่แห่งท่านผู้แสวงคุณในเบื้องสูงอาศัยแล้ว พระองค์ผู้เป็นธรรมราชาได้ประทับอาศัยแล้ว ข้อนั้นเป็นเครื่องยังปิติให้เกิดแก่ข้าพระองค์ กุศลกรรม วิชชา ธรรม และศีล เหล่านี้เป็นของสูงสุดในชีวิต สัตว์ย่อมบริสุทธิ์ได้เพราะธรรมนั้นๆ หาใช่เพราะโคตร หรือทรัพย์ไม่ เพราะฉะนั้นแล บุรุษผู้เป็นบัณฑิต เมื่อมองหาอยู่ซึ่งประโยชน์ของตน จึงเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย เมื่อเป็นเช่นนั้นย่อมบริสุทธิ์ได้เพราะธรรมนั้น

    ท่านพระสารีบุตรเป็นผู้ประเสริฐด้วยปัญญา ศีล และความสงบระงับ ภิกษุผู้ถึงฝั่งคือพระนิพพานแล้ว มีพระสารีบุตรเท่านั้นเป็นเยี่ยมยอด

    ภิกษุทั้งหลาย เทพบุตรนั้นกล่าวดังนี้แล้วกำหนดในใจรู้ว่า พระศาสดาทรงพอพระทัยในเราแล้ว ไหว้เรา กระทำประทักษิณแล้วหายไป”

    พระอานนท์จึงทูลว่า
    พระองค์ผู้เจริญ เทวบุตรนั้นคงเป็นอนาถบิณฑิกะเทวบุตรเป็นแน่ เพราะท่านเป็นผู้เลื่อมใสในท่านพระสารีบุตรยิ่งนัก

    พระพุทธองค์ตรัสว่า
    ถูกแล้ว เทวบุตรนั้นคืออนาถบิณฑิกะเทพบุตร มิใช่ใครอื่น

    พระบรมศาสดา และหมู่ภิกษุสงฆ์ได้เสด็จต่อไปเข้าสู่เมืองเวสาลี ประทับ ณ อัมพปาลีวันของนางอัมพปาลี หญิงงามประจำเมือง ไม่เสด็จเข้าสู่ในตัวพระนครเวสาลี แม้กษัตริย์ลิจฉวีจะทูลอาราธนา ก็ทรงปฏิเสธ ข่าวเรื่องพระเจ้าอชาตศัตรูเตรียมทัพเพื่อมาตีวัชชีนั้น ทำให้ทรงห่วงใยชาวเมืองวัชชียิ่งนัก ทรงเสด็จวนเวียนอยู่แถวนี้เป็นเวลาเกือบ ๑ ปีเต็ม ในที่สุดเสด็จมาประทับ ณ บ้านเวฬุคาม ซึ่งอุดมสมบูรณ์ด้วยต้นมะตูม เมื่อจวนเข้าพรรษาจึงมีพุทธานุญาตให้ภิกษุทั้งหลายเลือกที่จำพรรษาได้ตามใจชอบในเขตเมืองเวสาลี ส่วนพระองค์จะประทับจำพรรษา ณ บ้านเวฬุคาม การที่ไม่เสด็จเข้าภายในเมืองเวสาลีนั้น คงเป็นเพราะไม่ประสงค์เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยเรื่องการเมือง คือถ้าเสด็จเข้าไปอาจเป็นที่ระแวงของพระเจ้าอชาตศัตรู ว่าพระองค์เอาพระทัยเข้าข้างเวสาลี แต่การที่ทรงเวียนวนไปๆมาๆอยู่ในแคว้นวัชชีเป็นเวลาเกือบ ๑ ปีนั้น ก็ได้ผลสมพระประสงค์ คือพระเจ้าอชาตศัตรูทรงเกรงพระทัย มิได้ยาตราทัพเข้าสู่แคว้นวัชชีเลย นับว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์อย่างล้นพ้น ต่อเมื่อเสด็จปรินิพพานแล้ว วัชชีจึงถูกโจมตีจนสูญเสียอิสรภาพไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2013
  2. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ในพรรษานี้เอง ซึ่งเป็นพรรษาสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพ พระองค์ประชวนหนักจวนเจียนจะสิ้นพระชนมายุ ถือถ่ายบังคนหนักเป็นโลหิต(คือถ่ายอุจจาระเป็นเลือด) แต่ก็ทรงมีสติสัมปชัญญะไม่กระวนกระวาย ทรงใช้สมาธิอิทธิบาทภาวนา ขับไล่อาพาธนั้นด้วยอธิวาสขันติ คือ อดทนต่อทุกขเวทนาที่เกิดจากโรคภัยไข้เจ็บ ฐิติขันติ อดทนต่อหนาวร้อนการตรากตรำทำงานตีติกขาขันติ อดทนต่ออารมณ์ที่มากระทบกระทั่งจิตใจ อดทนต่อคำเสียดสีด่าว่า

    ในการอาพาธหนักครั้งนี้ ทรงดำริว่า การที่จะไม่บอกภิกษุผู้อุปปัฏฐาก ไม่อำลาคณะสงฆ์ปรินิพพานเสียนั้น เป็นการไม่สมควรอย่างยิ่ง จึงได้หันมาทำความเพียร เจริญอิทธิบาท ๔ ขับไล่อาพาธนั้น เพื่อให้ดำรงชีวิตสังขารอยู่ต่อไป ภายหลังจึงมีพระดำรัสกับพระอานนท์ว่า
    อานนท์ ภิกษุสงฆ์ จักยังหวังอะไรในเราอีกเล่า ธรรม เราได้แสดงแล้วไม่ขาดระยะ เรามิได้ปิดบังซ่อนหวงแหนธรรมใดๆไว้ เราได้ชี้แจงแสดงเปิดเผยหมดสิ้นแล้ว บัดนี้เราแก่เฒ่าเป็นผู้ใหญ่ วัยของเราเป็นมาได้ ๘๐ ปีแล้ว มีอาการทรุดโทรมให้เห็นอย่างเด่นชัด เหมือนเกวียนที่ชำรุดแล้วชำรุดอีก ที่เขาซ่อมไว้ด้วยไม้ไผ่ การแตกแยกสลายย่อมจะมาถึงเข้าสักวันหนึ่ง พวกเธอจงมีธรรมเป็นที่เกาะที่พึ่งเถิด อย่าคิดยึดสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเลย แม้เราตถาคตก็เป็นเพียงผู้บอกทางเท่านั้น (อกฺขาตาโร จ ตถาคตา ฯลฯ พระตถาคตเป็นแต่เพียงผู้บอก ผู้นำทาง ส่วนการทำตนของแต่ละคนให้เข้าถึงความบริสุทธิ์หมดจดนั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องของตถาคตจึงหยิบยื่นโยนให้ได้ ผู้ประสงค์ความบริสุทธิ์แก่ตัวเองแต่ละคนจะต้องทำเอาเองทั้งสิ้น นี่เป็นบทเรียนสอนให้เราเพียรปฏิบัติทำด้วยตัวเอง ไม่ใช่เที่ยวไปสำนักโน้นสำนักนี้ คอยแต่จะให้อาจารย์ช่วยเหลืออยู่เสมอ เราต้องเป็นที่พึ่งของตัวเราเอง)

    อานนท์สมัยใด ตถาคตเข้าสู่เจโตสมาธิ ที่ไม่มีนิมิต เพราะไม่ทำนิมิตไว้ในใจ ดับเวทนาบางพวกเสีย สมัยนั้นกายของตถาคตย่อมผาสุกยิ่งนัก (ในสุมังคลวิสาสินี อรรถกถาฑีฆนิกาย ท่านอธิบายความตอนนี้ว่า ได้แก่การเข้าผลสมาบัติ คือเจริญอิทิบาท ๔ ผลสมาบัติธรรมนั้น ชื่อว่าเป็นเครื่องปรุงชีวิตให้ดำรงอยู่ได้ แม้ในกาลก่อนๆ พระพุทธองค์ก็เคยเข้าผลสมาบัติ แต่เป็นเพียงขณิกสมาบัติชั่วครู่ชั่วขณะ ไม่นานนัก มีอานุภาพข่มเวทนาได้เฉพาะเวลาที่อยู่ภายในสมาบัติเท่านั้น ครั้นเมื่อออกจากสมาบัติแล้ว เวทนาก็ยังสามารถครอบงำสรีระของบุคคลได้ เปรียบเหมือนการโยนก้อนหินลงไปในสระน้ำที่มีสาหร่ายอยู่เต็ม ความแรงของหินทำให้สาหร่ายแหวกออกไปชั่วครู่ แล้วก็กลับมารวมตัวปิดน้ำนั้นอีก ส่วนสมาบัติที่เข้าด้วยอำนาจแห่งมหาวิปัสสนาสมาบัติ (เช่น ตามเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จนเกิดนิพพิทา เบื่อหน่าย คลายกำหนัด เป็นต้น) นั้น มีอานุภาพมาก สามารถข่มเวทนาได้อย่างแน่นอนแนบเนียนสนิท อุปมาดังคนลงไปในสระน้ำ เอามือ และเท้าแหวกกองสาหร่ายโยนทิ้งไปโดยกำลังแรง สาหร่ายก็กระจาย หรือหมดไป ที่เหลือกว่าจะกลับมารวมตัวปิดน้ำอีกก็นานหน่อย)

    พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เวฬุคาม เป็นเวลานานถึง ๘ เดือน แม้ออกพรรษาแล้วก็มิได้เสด็จไปที่อื่น คงประทับยับยั้งอยู่ ณ ที่นี้ จนสิ้นฤดูเหมันต์(หน้าหนาว) นับเป็นเวลานานมากที่ประทับอยู่ในหมู่บ้านเล็กๆเช่น เวฬุคามนี้

    พระองค์ทรงแน่พระทัยว่า คงจะดำรงพระชนม์ชีพไปได้อีกไม่นานนัก แต่มิได้ตรัสบอกพระอานนท์ในเวลานั้น เหลือเวลาอีก ๓ เดือนที่จะปรินิพพาน ระหว่างนั้นพระองค์ทรงถูกอาพาธบีบคั้นเบียดเบียนอยู่เสมอ แต่ก็ทรงจาริกไปเรื่อยโดยพระบาทเปล่า ไม่มีใครแบกใครหามเลย เมื่อทรงเหน็ดเหนื่อยเข้าก็ทรงหยุดพัก เสด็จออกจากเวฬุคามไปยังทิวาวิหาร ที่ปาวาลเจดีย์ ทรงประทับนั่งพักตลอดเวลากลางวัน ณ ที่นี้ได้ตรัสอานุภาพของอิทธิบาท ๔ ประการว่า อาจทำบุคคลผู้ที่ปฏิบัติให้มากให้เต็มที่ มีชีวิตอยู่กัปปหนึ่งก็ได้ (คำว่า กัปป หมายถึงอายุที่ควรเป็นไปได้ในสมัยหนึ่งๆ เช่น ครั้งพุทธกาล ประชาชนอาจมีชีวิตอยู่ได้ถึง ๑๐๐ ปีอย่างสบาย ก็นับว่าเป็นกัปปหนึ่ง สมัยนี้ ความสับสนอลหม่านในการครองชีพมีมาก ประกอบทั้งอากาศก็ไม่บริสุทธิ์ มีแต่ฝุ่น ควัน ละอองที่เป็นพิษ อายุเฉลี่ยโดยมากก็ราวๆ ๗๕ ปี จึงนับว่าเป็นกัปปหนึ่งของสมัยปัจจุบัน) แต่พระอานนท์มิได้ทูลขอให้ทรงมีชีวิตอยู่ถึงกัปป(คือ ๑๐๐ หรือ ๑๐๐ ปีเศษ) เพราะรู้ไม่เท่าทันจึงทรงขับพระอานนท์ให้ออกไปเสีย มารได้ฟื้นคำสัญญาเรื่องจะปรินิพพานในเมื่อพระศาสนาเป็นปึกแผ่นดีแล้ว พระองค์จึงตัดสินพระทัยที่จะเสด็จปรินิพพานเรียกว่า ปลงอายุสังขาร เกิดแผ่นดินไหว ได้ตรัสถึงเหตุที่ทำให้แผ่นดินไหวว่า เกิดจากลมอากาศวิปริตแปรปรวนหนัก ผู้มีฤทธิ์บันดาล โพธิสัตว์จุติ ประสูติ ตรัสรู้ แสดงพระธรรมจักร ปลงอายุสังขาร และปรินิพพาน

    พระอานนท์ได้สติ จึงทูลขอให้ดำรงพระชนม์ชีพอยู่ด้วยอิทธิบาทภาวนา กัปปหนึ่ง หรือมากกว่านั้น ทรงปฏิเสธ

    อานนท์ อย่าเลย อย่าวิงวอนตถาคตเลย นี่ไม่ใช่เวลาจะวิงวอนตถาคตเสียแล้ว(พระอานนท์ทูลวิงวอนอีกจนครบ ๓ ครั้ง ทรงตอบปฏิเสธอย่างเดิม ตรัสว่าเป็นความผิดของพระอานนท์เอง แล้วทรงจาระไนสถานที่ ๑๖ แห่ง ที่เคยให้โอกาสแก่พระอานนท์ในเรื่องนี้ แต่พระอานนท์ก็ไม่รู้เท่าทันสักครั้งเดียว)

    สถานที่ ๑๖ แห่งนั้น คือ ที่เขาคิชกูฏ (เขานี้ที่ยอดมีลักษณะเหมือนอีแร้ง จึงได้นามว่าคิชกูฏ) ภายใต้ถ้ำสุกรขาตา ที่ที่พระสารีบุตรถวายงานพัด และฟังธรรมโปรดฑีฆนขะปริพาชกไปด้วย จนได้สำเร็จพระอรหัตตผล

    ต่อมาที่โคตมนิโครธ ที่โจรัปปปาตะ เหวสำหรับทิ้งโจร ที่ถ้ำสัตตบรรณใกล้เวภารบรรพต ที่กาฬศิลาใกล้เขาอิสิคิลิ ซึ่งมีชื่อเสียงมาแต่โบราณว่า เป็นที่อยู่อาศัยของพระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นอันมาก เมื่อท่านเข้าไปในนั้นแล้ว ไม่มีใครเห็นท่านออกมาอีกเลย จึงได้ชื่อว่า อิสิคิลิบรรพต ที่เงื้อมเขาชื่อสัปปิโสณฑิกา ใกล้ป่าสีตวัน ที่ตโปทาราม ที่เวฬุวันสวนไผ่นอกเมืองราชคฤห์ ที่สวนมะม่วงของหมอชีวกโกมารภัจจ์ ที่มัททกุจฉิมิคทายวัน ทั้ง ๑๐ แห่งนี้อยู่ในเขตนครราชคฤห์

    ต่อมาเมื่อเสด็จจากราชคฤห์จาริกสู่กรุงเวสาลี ก็อีก ๖ แห่ง คือ ที่อุเทนเจดีย์ สัตตัมพเจดีย์ โคตมกเจดีย์ พหุปุตตเจดีย์ สารันทเจดีย์ และปาวาลเจดีย์เป็นแห่งสุดท้าย (คำว่า เจดีย์นั้น มีลักษณะเป็นวิหารที่อยู่อาศัยของนักบวช และภิกษุสงฆ์ ไม่ได้หมายความว่าเป็นเจดีย์(Pagoda) หรือสถูปอย่างในบ้านเรา)

    อานนท์ ตถาคตได้บอกแล้วไม่ใช่หรือว่า สัตว์จะต้องพลัดพรากจากของรักของเจริญใจทั้งหลายทั้งปวง สัตว์จะได้สมความปรารถนาในสังขารนี้ มาจากไหนเล่า ข้อที่สัตว์จะหวังเอาสิ่งที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว มีปัจจุยปรุงแต่งแล้ว มีการแตกดับเป็นของธรรมดา ว่าสิ่งนี้จงอย่าฉิบหายเลยดังนี้ ย่อมไม่อยู่ในฐานะที่จะมีได้เป็นได้

    อานนท์ ตถาคตจักปรินิพพานต่อครบ ๓ เดือนจากนี้ เราได้พูดไว้แล้วว่าอย่างไร การที่จะคืนคำนั้น แม้เพราะเหตุต้องเสียชีวิต ก็ไม่เป็นสิ่งที่จะเป็นไปได้เลย

    ครั้นแล้วจึงเสด็จดำเนินต่อไปยังกุฏาคารศาลา ในป่ามหาวันอยู่ที่เชิงเขาหิมาลัยนอกเมืองเวสาลี ซึ่งกษัตริย์ลิจฉวีแห่งเมืองเวสาลีสร้างถวายเป็นที่ประทับ ในเมื่อเสด็จผ่านมาเป็นครั้งคราว รับสั่งให้พระอานนท์ประกาศประชุมสงฆ์ที่อยู่ในเมืองเวสาลีทั้งหมด ครั้นภิกษุมาประชุมพร้อมกันแล้ว ได้ตรัสอภิญญาเหสิตธรรม คือ ธรรมที่ได้ทรงแสดงแล้วด้วยปัญญาอันสูงยิ่งที่พระองค์แสดงไว้เพื่อการตรัสรู้หลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ พละ ๔ อินทรีย์ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘ (คือโพธิปักขิยธรรม)
    ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราจักเตือนท่าน สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา พวกเธอจงยังประโยชน์ตนประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด การปรินิพพานของตถาคตจักมีในกาลไม่นานเลย ตถาคตจักปรินิพพานโดยกาลล่วงไป ๓ เดือนจากนี้

    รุ่งขึ้นเสด็จเข้าไปบิณฑบาตในเมืองเวสาลี ชาวเมืองต่างมีความเศร้าโศกเสียดายเป็นอย่างยิ่ง เมื่อทราบว่าวันนี้เป็นวันสุดท้ายแล้วที่พวกเขาจะได้เห็น ได้เฝ้ารับคำสั่งสอนจากพระพุทธองค์ บางคนก็ร่ำไห้เสียใจ คล้ายว่าจะต้องสูญเสียบิดาบังเกิดเกล้าไปเช่นนั้น

    และแล้วพระพุทธองค์ก็เสด็จออกจากนครเวสาลี ทรงหยุดยืนอยู่ ณ ประตูเมืองครู่หนึ่ง ผันพระพักตร์มองดูเวสาลีเป็นครั้งสุดท้าย ทรงรำพึงว่า
    ดูก่อนเวสาลี นครที่มั่งคั่งสมบูรณ์เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปว่า มีคนแต่งกายงามที่สุด ราวกับว่าเป็นเทพยดาชั้นดาวดึงส์ มีสระโบกขรณีมากหลายเป็นที่รื่นรมย์ ปราสาทแห่งเจ้าลิจฉวีสูงเด่นดูงามตา โดยเฉพาะสภาเจ้าลิจฉวีซึ่งสร้างขึ้นอย่างประณีตบรรจง เป็นที่ประชุมแห่งกษัตริย์ลิจฉวีผู้พร้อมใจกันปกครองบ้านเมืองโดยสามัคคีธรรม ดูก่อนเวสาลี นครซึ่งมีป้อมปราการ ๓ ชั้น เบื้องหลังเป็นป่าใหญ่ ทอดยาวเหยียดขึ้นไปถึงภูเขาหิมาลัย อันได้ชื่อว่า มหาวัน ตถาคตได้แวะเวียนมาพักที่ป่านี้เสมอ การได้เห็นเวสาลีครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายสำหรับตถาคตแล้ว

    ทรงรำพึงดังนี้แล้ว ก็ผันพระพักตร์กลับทันที เสด็จดำเนินต่อไป ทรงตรัสกับพระอานนท์ว่า
    อานนท์ การเห็นเมืองเวสาลีของตถาคตครั้งนี้ เป็นการเห็นครั้งสุดท้าย มาเถิด เราจักไปบ้านภัณฑุคาม แล้วก็ต่อไปสู่บ้านหัตถิคาม บ้านอัมพคาม บ้านชัมพุคาม และโภคนคร ตามลำดับ(หมู่บ้าน หรือตำบลต่างๆเหล่านี้ เป็นทางที่พระพุทธองค์ทรงดำเนินผ่านในการเสด็จจากเมืองเวสาลีไปยังดินแดนของมัลละกษัตริย์)

    ในระหว่างนี้ทรงให้โอวาทภิกษุ และประชาชน ย้ำแล้วย้ำอีกด้วยพระธรรมเทศนา อันเป็นไปเพื่อโลกุตตราริยธรรม คือ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุติ และวิมุตติญาณทัศนะ ข่าวพระพุทธองค์จะเสด็จดับขันธปรินิพพานได้แพร่สะบัดไปทั่ว ภิกษุรุปหนึ่งชื่อ ธัมมาราม(บางแห่งเรียก ติสสะเถระ) คิดว่าเหลือเวลาอีกไม่นานเท่าใดแล้ว พระตถาคตเจ้าก็จะปรินิพพาน เรายังมีอาสวะกิเลสอยู่ เราจะต้องเพียรพยายามบรรลุพระอรหัตตผลให้ได้ในขณะที่ยังทรงพระชนม์อยู่ คิดดังนี้แล้ว ก็หลบปลีกตัวออกจากหมู่คณะมิได้แสดงอาการเศร้าโศกอย่างใดในข่าวจะปรินิพพาน หลีกไปอยู่แต่ผู้เดียว เจริญสมาธิ และวิปัสสนา ภิกษุสาวกรูปอื่นๆเห็นดังนั้นเข้าใจว่า พระธัมมารามขาดความรักความอาลัยในพระศาสดาเสียแล้ว จึงไปกราบทูลให้ทรงทราบ ตรัสถามว่า ทำไมพระธัมมารามจึงทำอย่างนั้น เธอไม่อาลัยใยดีในตัวเราหรือ พระธัมมารามทูลว่า หามิได้พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้พระองค์จะปรินิพพานแล้ว ข้าฯจึงเพียรพยายามอย่างสุดความสามารถเพื่อที่จะบรรลุธรรมสูงสุด เพื่อบูชาพระตถาคตเจ้าขณะยังทรงพระชนม์อยู่ พระศาสดาทรงเปล่งอุทาน ๓ ครั้งว่า สาธุ สาธุ สาธุ แล้วตรัสสอนภิกษุทั้งหลายว่า
    ผู้ใดเคารพเรา จงทำอย่างท่านธัมมารามนี้ การเพียรปฏิบัติธรรม ได้ชื่อว่าบูชาเคารพนับถือตถาคตด้วยอาการอันยอดเยี่ยม ภิกษุผู้ยินดีในธรรม หมั่นตรึกครองนึกถึงธรรมอยู่เสมอมิได้ขาดแม้แต่ขณะเดียว ย่อมไม่เสื่อมจากพระสัทธรรม ไม่เสื่อมจากพระนิพพาน

    ที่โภคนคร ประทับที่อานันทเจดีย์ ได้ตรัสหลักมหาปเทสสำหรับเทียบเคียงในการวินิจฉัยว่า ถ้ามีคำกล่าวอย่างนี้ อย่างนี้ และอ้างว่าเป็นพุทธวจนะ อย่าเพิ่งรับรอง อย่าเพิ่งคัดค้าน จงกำหนดเนื้อความนั้นให้ดีแล้ว นำไปสอบสวนกับพระสูตร นำไปเทียบเคียงกับพระธรรมวินัย ถ้าลงกันไม่ได้เทียบเคียงไม่ได้ พึงแน่ใจว่า นั่นไม่ใช่คำของเราแน่นอน ผู้กล่าวนั้นจำมาผิด พึงทิ้งคำเหล่านั้นเสีย แต่ถ้าลงกันได้ เทียบเคียงได้ พึงแน่ใจว่า นั้นเป็นคำสอนของตถาคตแน่แล้ว ผู้กล่าวจำมาอย่างดีแล้ว พวกเธอพึงรับเอาไว้ ฯลฯ

    พระพุทธองค์ประทับสำราญตามพุทธอัธยาศัยอยู่ ณ โภคนครเป็นเวลาล่วงเกือบ ๓ เดือนใกล้ครบกำหนดวันเวลาตามที่ได้ทรงกำหนดปลงอายุสังขารไว้ จึงพร้อมด้วยภิกษุทั้งหลายเสด็จดำเนินต่อสู่เมืองปาวา ประทับที่สวนมะม่วงของนายจุนทะกัมมารบุตร เสด็จไปเสวยภัตตาหารครั้งสุดท้ายที่บ้านนายจุนทะในวันรุ่งขึ้น บุตรนายช่างทองได้จัดอาหารปรุงพิเศษด้วยสูกรมัทวะพร้อมด้วยขาหนียะ(อาหารประเภทขบเคี้ยว เช่น ผลไม้) และโภชนียะ(โภชนาหาร เช่น ข้าว) อันประณีตอื่นๆอีกเป็นอันมาก(คำว่า สูกรมัทวะเป็นปัญหาถกเถียงกันมากว่าคืออะไร บางอาจารย์ก็ว่าเป็นตับอ่อนสุกรบ้าง หรือหน่อไม้ เห็ดชนิดหนึ่ง หรือเป็นรากไม้จำพวกยาอายุวัฒนะ เป็นต้น แต่ก็คงเป็นอาหารชนิดหนึ่งที่ย่อยยากจนอาจทำให้ท้องเสีย เป็นบิดได้ง่าย) ด้วยพระญาณอันพิเศษ ทรงทราบอันตรายในอาหารนี้จึงตรัสให้นายจุนทะถวายเฉพาะพระองค์ผู้เดียวเท่านั้น ที่เหลืออยู่ให้ขุดหลุมฝังเสีย เพราะทรงพิจารณาเห็นว่า บุคคลใดในมนุษยโลก และเทวโลก จะบริโภคอาหารอย่างนี้แล้ว เตโชธาตุ คือธาตุไฟช่วยย่อยอาหารจะไม่สามารถย่อยได้ เว้นเสียแต่พระพุทธเจ้า อีกประการหนึ่งพระองค์ก็ทรงประชวรด้วยการถ่ายเป็นเลือดอยู่แล้ว จึงทำให้อาพาธกล้าหนักยิ่งขึ้น เสวยทุกขเวทนาหนักหน่วงแทบว่าจะสิ้นพระชนม์ แต่ก็ทรงข่มไว้ เสด็จดำเนินต่อไปยังเมืองกุสินารา ได้ทรงแวะพักใต้ร่มไม้แห่งหนึ่ง รับสั่งให้พระอานนท์ปูลาดผ้าสังฆาฏิ ซ้อนพับเป็น ๔ ชั้น เพื่อประทับพักผ่อนตรัสว่า เราเหนื่อยเพลียมากจะพักผ่อนสักหน่อยหนึ่งก่อน แล้วรับสั่งให้พระอานนท์ช่วยหาน้ำดื่มเพราะทรงกระหายน้ำมาก พระอานนท์ทูลผลัดว่า เกวียนเป็นจำนวนมาก เพิ่งจะผ่านข้ามลำน้ำในบริเวณใกล้ๆนั้นไปสักครู่นี้เอง น้ำกำลังขุ่น ขอให้ทรงทนรอไปหาน้ำที่แม่น้ำกกุธานที่ข้างหน้าเถิด พระพุทธองค์ตรัสใช้ซ้ำอยู่ ๒ ครั้ง พระอานนท์จึงถือบาตรของพระพุทธองค์ไปตักน้ำ เมื่อมาถึงริมธาร ยังมองเห็นน้ำขุ่นอยู่ แต่พอเอาบาตรตักลงไป ปรากฏว่า น้ำไม่ขุ่นเลย กลับเย็นใสสะอาด จืดสนิทเป็นอัศจรรย์ยิ่งนัก

    ต่อจากนั้น มีบุตรแห่งมัลละกษัตริย์ชื่อ ปุกกุสะ เคยเป็นศิษย์ของท่านอาฬารดาบสกาลามโคตรเดินทางกุสินารา เพื่อมุระยังเมืองปาวา ได้เห็นพระบรมศาสดาแล้วเกิดความเลื่อมใส จึงน้อมนำผ้าเนื้อดีที่สุดถวาย ทรงรับไว้ผืนหนึ่ง อีกผืนหนึ่งรับสั่งให้ถวายพระอานนท์ เมื่อปุกกุสะกลับไปแล้ว พระอานนท์เห็นว่าผ้านั้นเนื้อดีเหลือเกิน ไม่คู่ควรแก่องค์ท่าน จึงน้อมนำส่วนของท่านแด่พระพุทธองค์ ทรงรับไว้นุ่งห่มแล้ว ผ้านั้นงามที่สุดมองดูพระฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนัก พระอานนท์จึงทูลขึ้นว่า เวลานี้พระองค์ทรงประชวรหนัก ทำไมหนอผิวพรรณจึงผุดผ่องเหลือเกิน ตรัสตอบว่า
    อานนท์ เป็นอย่างนั้นเทียวกายของตถาคต ย่อมมีฉวีวรรณผุดผ่อง ๒ ครั้ง คือในคืนตรัสรู้ อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ และวันที่ตถาคตจะปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ อานนท์ ตถาคตจะปรินิพพานในระหว่างต้นสาละคู่ ในสวนต้นสาละอันเป็นที่แวะพักกลางทางของเหล่ามัลละกษัตริย์ ใกล้เมืองกุสินาราในตอนปัจฉิมยามแห่งราตรีนี้ มาเถิดเราจักไปยังแม่น้ำกกุธานทีด้วยกัน

    ทรงสรงน้ำในแม่น้ำนี้ แล้วเสด็จต่อไปเข้าสวนอัมพวัน ประทับนอนสีหไสยาสน์เพื่อพักผ่อน บนผ้าสังฆาฏิพับเป็น ๔ ชั้นซึ่งพระจุนทกะปูถวาย และตรัสปรารภถึงนายจุนทะผู้ถวายอาหารสูกรมัทวะว่า
    เมื่อเรานิพพานแล้ว อาจมีผู้กล่าวโทษจุนทะว่า ได้ถวายอาหารที่เป็นพิษ หรือมิฉะนั้นจุนทะก็อาจคิดร้อนใจไปเอง เพราะเสวยอาหารที่ตนได้ถวายแล้วจึงปรินิพพาน อานนท์ บิณฑบาตที่มีอานิสงค์มากมีผลไพศาลยิ่ง มีอยู่ ๒ คราวด้วยกันคือ บิณฑบาตที่พระตถาคตเจ้าเสวยแล้วตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ๑ และที่เสวยแล้วเสด็จปรินิพพาน ๑ กุศลกรรมที่จุนทะสร้างสมแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ อายุ วรรณ สุข ยศ สวรรค์ และความเป็นใหญ่ ถ้าใครๆจะพึงตำนิจุนทะ เธอพึงกล่าวปลอบให้เขาคลายวิตกกังวลในเรื่องนี้ อาหารของจุนทะเป็นอาหารมื้อสุดท้ายสำหรับเรา

    แล้วทรงเปล่งพระอุทานดังนี้
    บุญย่อมเจริญงอกงามแก่ทายกผู้ให้อยู่ เวรย่อมไม่สืบต่อแก่บุคคลผู้ระงับไม่จองเวรเสียได้ คนฉลาดเท่านั้นละบาปเสียได้แล้วก็นิพพานเพราะความสิ้นไปแห่งราคะ โทสะ โมหะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2013
  3. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยพระอานนท์ และภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เป็นบริวารเสด็จข้ามแม่น้ำหิรัญญวดี(เมืองกุสินารา ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำหิรัญญวดี) ไปยังสวนต้นสาละอันเป็นที่แวะพักของมัลละกษัตริย์ เมืองกุสินรา รับสั่งให้พระอานนท์จัดแท่นบรรทมระหว่างต้นสาละ ๒ ต้น ซึ่งมีกิ่งใบโน้มเข้าหากัน หันพระเศียรไปทางทิศเหนือ เสด็จประทับสีหไสยาสน์ เกิดอัศจรรย์ ดอกสาละผลิปรากฎขึ้นผิดฤดูกาลโปรยร่วงลงมาบนพระสรีระ ดอกมัณฑารพ ดอกไม้จันทน์ และดนตรีล้วนแต่ของทิพย์ ได้ตกลง และบรรเลงขึ้น เพื่อบูชาพระตถาคตเจ้า ทรงตรัสว่า
    อานนท์ การบูชาเหล่านี้ หาชื่อว่าตถาคตเป็นผู้ที่ได้รับสักการะเคารพนับถือบูชาแล้วไม่ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา คนใดประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง ปฏิบัติตามธรรมอยู่ ผู้นั้นชื่อว่าได้สักการะ เคารพนับถือ บูชาตถาคตด้วยการบูชาอันสูงสุด เพราะฉะนั้น เธอพึงกำหนดในใจว่า เราจักประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติให้ชอบยิ่ง ปฏิบัติตามพระธรรมนั้นเถิด

    ต่อจากนี้ทรงขับพระอุปวาณะที่เข้าเวรพัดให้ออกไปเสีย พระอานนท์ทูลถามถึงเหตุที่ขับ ตรัสตอบว่า
    พวกเทวดาทั่วทั้งหมื่นโลกธาตุได้มาประชุมเพื่อเห็นตถาคต ในสวนป่าสาละซึ่งใหญ่โต มีบริเวณถึง ๑๒ โยชน์โดยรอบ มิได้มีที่ว่างแม้แต่นิดเดียว เพราะเทวดามีศักดิ์ต่างพากันมา และพูดกันว่า เราทั้งหลายมาแต่ไกล เพื่อเห็นตถาคต นานแสนนานที่พระตถาคตจะอุบัติขึ้นในโลกสักหนหนึ่ง และการปรินิพพานของตถาคตก็จักมีขึ้นในปัจฉิมยามแห่งราตรีนี้ ก็พระภิกษุใหญ่รูปนี้มายืนบังเสียตรงพระพักตร์อย่างนี้ เราก็ไม่สามารถเห็นพระองค์ท่านได้ชัดเจนในกาลครั้งสุดท้ายนี้

    พระอานนท์ทูลว่า เมื่อไม่มีพระองค์เสียแล้ว สาวกก็จะไม่ได้พบกันครบถ้วนอย่างเช่นบัดนี้ ภิกษุทั้งหลายจะพึงไป ณ สถานที่ใดเล่า ทรงแสดงสถาน ๔ แห่ง อันจะเป็นเหตุให้น้อมรำลึกถึงพระองค์ท่านคือ ที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงธรรมจักร และปรินิพพาน ต่อจากนั้นได้ตรัสเรื่องการปฏิบัติในสตรี คือ การไม่พบปะด้วย อย่าให้ความกำหนัดยินดี หรือความหลงใหลครอบงำจิตใจได้
    ต่อจากนั้นพระอานนท์ได้ทูลถามถึงการจัดพระศพหลังจากปรินิพพานแล้ว ทรงห้ามว่า
    เธออย่ากังวลกับเรื่องนี้เลย หน้าที่ของพวกเธอคือ คุ้มครองตนให้ดี จงพยายามทำความเพียรเผาบาปกิเลสทุกอริยาบถเถิด สำหรับสรีระของเราเป็นหน้าที่ของคฤหัสถ์จะพึงกระทำกัน กษัตริย์ พราหมณ์ และคหบดีเป็นจำนวนมากที่เลื่อมใสตถาคต ก็มีอยู่ไม่น้อย เขาเหล่านั้นจักจัดการบูชาสรีระของตถาคต

    พระอานนท์ทูลถามว่า
    เขาเหล่านั้นพึงจัดการอย่างไร
    อานนท์ เขาพึงจัดเหมือนที่จัดในสรีระของพระเจ้าจักรพรรดิ์ คือเขาจะพันสรีระแห่งพระเจ้าจักรพรรดินั้นด้วยผ้าใหม่ แล้วซับด้วยสำลี แล้วพันด้วยผ้าใหม่อีก ทำอย่างนี้ ๕๐๐ ชั้น แล้วนำไปวางในรางเหล้กซึ่งมีน้ำมันเต็ม(เข้าใจว่าคงเป็นน้ำมันเนย) แล้วปิดครอบด้วยรางเหล็กเป็นฝา ทำจิตกาธาน(เชิงตะกอน) ด้วยไม้หอม ของหอมนานาชนิด แล้วถวายพระเพลิง เสร็จแล้วทำการเก็บอัฐิเชิญพระอัฐิธาตุแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ์นั้นไปบรรจุในสถูป ซึ่งจัดสร้างไว้ ณ หนทาง ๔ แยก(คือ ทาง ๔ แพร่ง) อานนท์ ชนเหล่านั้นพึงปฏิบัติในสรีระของตถาคต เช่นเดียวกับที่ชนทั้งหลายปฏิบัติในสรีระของพระมหาจักรพรรดิ์นั้นแลฯ ทั้งนี้เพื่อผู้เลื่อมใสจักได้บูชา และเป็นประโยชน์สุขแก่เขาตลอดกาลนาน

    ต่อจากนั้นทรงแสดงถึงบุคคลที่ควรแก่การสร้างสถูปบรรจุอัฐิธาตุ เพื่อให้เป็นที่สักการะบูชาของบุคคลไว้ ๔ จำพวกคือ
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันตสาวก และพระเจ้าจักรพรรดิ์ เพราะเหตุใดเล่า จึงควรสร้างสถูปถวายถูปารหบุคคล (คือบุคคลที่ควรแก่การสร้างสถูปไว้) ๔ จำพวกเหล่านี้ ก็เพราะว่าชนเป็นอันมากน้อมจิตให้เลื่อมใสในสถูปของบุคคลทั้ง ๔ นั้นแล้ว เบื้องหน้าแต่กายแตกตายทำลายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

    ตรัสแล้วบรรทมนิ่งอยู่ พระอานนท์เศร้าสลดใจสุดแสนที่จะอดกลั้นได้ จึงออกจากที่บรรทม ไปสู่วิหารใกล้ๆในบริเวณป่าต้นสาละนั้น หยุดยืนห้อยศีรษะต่ำลงอยู่ที่ทวาร มือทั้ง ๒ เหนี่ยวสลักเพชรกลอนประตูวิหาร ร้องไห้รำพึงว่า
    ก็เราหนอยังเป็นเสขบุคคลอยู่ ยังมีกิจจำต้องทำอยู่ เราก็มีอายุ ๘๐ ปีแล้ว เท่าๆกับพระศาสดา อุปสมบทมาก็นานถึง ๔๔ ปี พระศาสดาของเราก็จะปรินิพพานวันนี้ เราจะไม่ได้เห็นพระองค์อีกแล้ว

    ขณะนั้น พระพุทธองค์ทรงรับสั่งเรียกหาพระอานนท์ แต่ทรงทราบจากพวกภิกษุว่า ท่านออกไปยืนร้องไห้อยู่ จึงรับสั่งให้ไปตาม ทรงประทานโอวาทปลอบโยนว่า
    อย่าเลย อานนท์ เธออย่าเศร้าโศกร้องไห้ไปเลย เราได้บอกเธอไว้แล้วแต่ก่อนไม่ใช่หรือว่า ทุกคนจะต้องพลัดพรากจากของรัก ของเจริญใจทั้งหลายทั้งปวง ในโลกนี้ และโลกไหนๆก็ตาม ไม่มีอะไรยั่งยืนถาวรเลย สิ่งใดที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว มีปัจจัยปรุงแต่งแล้ว ย่อมมีความทรุดโทรมเป็นธรรมดา จะปรารถนาว่า ขอสิ่งนั้นสิ่งนี้ จงอย่าได้เปลี่ยนแปลงเลย ดังนี้ นั่นหาใช่ฐานะที่จะมีได้ อานนท์เธอได้อุปปัฏฐากเราตถาคตด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันประกอบด้วยเมตตา ด้วยประโยชน์ และความสุขมาเป็นเวลานาน หาผู้อื่นเทียบมิได้เลย เธอได้ทำบุญไว้แล้ว จงหมั่นประกอบความเพียรเถิด เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว เธอจะต้องสำเร็จอรหัตตผล เป็นพระอรหันต์ในไม่ช้า

    ตรัสดังนี้แล้วจึงเรียกภิกษุทั้งหลายเข้ามาใกล้ แล้วทรงสรรเสริญพระอานนท์เป็นเอนกประการว่า
    พระพุทธเจ้าทั้งหลายในกาลก่อนล้วนแต่มีอุปปัฏฐากอันเลิศ แต่ก็ไม่ยิ่งไปกว่าที่อานนท์ได้เป็นแก่เราในกาลนี้ แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายอันจักมีมาในอนาคต ก็ล้วนแต่จักมีอุปปัฏฐากอันเลิศ แต่ก็จะไม่ยิ่งไปกว่าอานนท์ อานนท์เป็นอุปปัฏฐากที่ดีที่สุด ฉลาดเฉลียว เธอเป็นบัณฑิต เธอรู้จักกาลเวลาอันเหมาะสมที่จะให้แขกผู้มาเยี่ยมเยียนเข้ามาหาเรา อานนท์ปฏิบัติต่อบุคคลเหล่านั้นด้วยถ้อยคำ และท่าทางที่น่าปลาบปลื้มยิ่งนัก แขกทุกคนได้รับความพอใจอย่างสูงสุดจากการกระทำของอานนท์เสมอ อานนท์มีคุณธรรมน่าอัศจรรย์ ผู้ที่ยังไม่เคยเห็น ไม่เคยสนทนา ก็อยากเห็น อยากสนทนาด้วย อยากฟังธรรมของอานนท์ เมื่อฟังก็มีจิตใจเพลิดเพลินยินดีในธรรมที่อานนท์แสดง ไม่อิ่ม ไม่เบื่อ

    พระอานนท์ได้โอกาสจึงทูลเชิญเสด็จไปปรินิพพานในนครใหญ่ๆดังนี้
    ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงอย่าได้เสด็จปรินิพพานในเขตของเมืองป่า เมืองดอน เมืองเล็กเมืองน้อย ณ ที่อันไม่สมควรเช่นนี้เลย นครใหญ่ๆ เช่น กรุงราชคฤห์ สาวัตถี เวสาลี และอื่นๆก็มีอยู่ ขอจงพอพระทัยที่จะเสด็จปรินิพพานในเมืองใดเมืองหนึ่งในบรรดาเมืองเหล่านี้เถิด เพราะในเมืองเหล่านั้นมีเศรษฐี คหบดี ผู้มีอำนาจวาสนา ซึ่งเป็นสาวกผู้ใกล้ชิดของพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่เป็นอันมาก เขาเหล่านั้นจักเอาภาระในการจัดพระศพให้สมกัน

    อานนท์ เธออย่ากล่าวว่า เมืองน้อย เมืองดอน เมืองกิ่ง ดังนี้เลย ในอดีตกาลครั้งก่อนโน้นเมืองนี้เป็นนครอันมั่งคั่ง เป็นราชธานีที่ประทับของพระเจ้าจักรพรรดิ์มาแล้ว เธอจงเข้าไปในเมืองกุสินาราบอกแก่มัลละกษัตริย์ว่า ในคืนนี้ ในยามสุดท้ายแห่งราตรี ตถาคตจักปรินิพพานในป่านี้ คนเหล่านั้นควรจักเห็นตถาคตเสียก่อน แต่ปรินิพพานจะมาถึง

    เมื่อบรรดามัลละกษัตริย์ และประชาชนชาวเมืองกุสินารา ได้ฟังข่าวการจะเสด็จปรินิพพานจากพระอานนท์ดังนั้น ก็พากันเศร้าโศกคร่ำครวญว่า
    พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานเร็วเกินไปเสียแล้ว

    ชาวเมืองทั้งหญิงชายเด็กเล็กพากันโศกเศร้าคร่ำครวญออกมาสู่สวนไม้สาละเพื่อเฝ้าเยี่ยม และกล่าวคำอาลัยเป็นครั้งสุดท้ายต่อพระองค์ พระอานนท์ได้จัดให้ชาวนครกุสินาราคณะหนึ่งๆ มีผู้นำคนหนึ่งๆได้เข้าเฝ้าพระบรมศาสดาทีละพวกโดยลำดับกัน เสร็จก่อนปฐมยาม


    มีปริพาชกคนหนึ่งชื่อ สุภัททะ อายุได้ ๑๒๐ ปี ขณะนั้นพักอยู่ในเมืองกุสินารา ทราบว่าพระพุทธองค์กำลังจะปรินิพพาน ก็ตั้งใจจะเข้าเฝ้าเพื่อทูลถามปัญหาบางประการซึ่งทำความยุ่งยากใจให้แก่เขาในขณะนั้น เขาเชื่อว่าพระพุทธองค์เท่านั้นที่จะสามารถแก้ปัญหาของเขาให้กระจ่างได้ สุภัททะได้ขออนุญาตพระอานนท์เพื่อเข้าเฝ้าทูลถามปัญหาของเขา ก่อนที่พระพุทธองค์จะปรินิพพาน

    อย่าเลย อย่าเลย สุภัททะ พระองค์กำลังประชวรหนัก ไม่ควรจะได้รับการรบกวนจากใครๆทั้งนั้นพระอานนท์กล่าวทัดทาน แต่สุภัททะก็รบเร้าอยู่เรื่อย พระพุทธองค์ได้ทรงสดับเสียงคนทั้ง ๒ ถกเถียงกัน จึงรับสั่งให้สุภัททะเข้าไปเฝ้า สุภัททะทูลถามว่า

    คณาจารย์ทั้ง ๖ คือปูรณะกัสสปะ มักขลิโคศาล อชิตเกสกัมพล ปกุทธะกัจจายนะ สัญชัย เวลัฏฐบุตร และนิครนธ์ นาฏบุตร เป็นศาสดาเจ้าลัทธิที่มีคนนับถือมาก เคารพบูชามาก ศาสดาเหล่านี้เป็นพระอรหันต์หมดกิเลสแล้วหรือประการใด พระเจ้าข้า

    อย่าสนใจกับเรื่องนั้นเลย สุภัททะ เวลาของเรา และของเธอเหลือน้อยเต็มทีแล้ว จงถามสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ตัวเธอเองเถิด

    ถ้าอย่างนั้น ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหา ๓ ข้อคือ รอยเท้าในอากาศมีอยู่หรือไม่ สมณะภายนอกศาสนาของพระองค์มีอยู่หรือไม่ สังขารที่เที่ยงมีอยู่หรือไม่

    สุภัททะ รอยเท้าในอากาศนั้นไม่มี ศาสนาใด ไม่มีมรรค ๘ สมณะผู้สงบถึงที่สุดก็ไม่มีในศาสนานั้น สังขารที่เที่ยงนั้นไม่มีเลย

    สุภัททะ จงตั้งใจฟังเถิด เราจะแสดงธรรมให้ฟังแต่โดยย่อ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นทางเดินอันประเสริฐ สามารถให้บุคคลผู้เดินไปตามทางนี้ ถึงซึ่งความสุขเป็นอมตะสงบเย็นเต็มที่ ภิกษุเหล่าใด หรือใครๆก็ตาม พึงอยู่โดยชอบ ปฏิบัติดำเนินตามมรรคอันประเสริฐประกอบด้วยองค์ ๘ นี้อยู่ โลกก็จะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์

    สุภัททะ ปริพาชกได้ฟังพระธรรมเทศนาแล้วเคลิ้มตามไป ขอแสดงตนเป็นอุบาสกรับนับถือพระรัตนตรัย และทูลขอบรรพชาอุปสมบท ทรงให้พระอานนท์บวชให้เป็นสามเณรให้ก่อน แล้วพระองค์จึงประทานอุปสมบทเป็นภิกษุ และตรัสบอกกรรมฐานให้พระภิกษุสุภัททะอุปสมบทไม่นานนัก ได้ปลีกตัวออกไปบำเพ็ญเพียรอยู่แต่ผู้เดียว มิได้ประมาท ก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์เป็นปัจฉิมสาวกองค์สุดท้ายก่อนปรินิพพาน

    (เราจะได้เห็นว่า สุภัททะ มีอยู่ ๓ ท่านคือ ๑) สุภัททะภิกษุ ปัจฉิมสาวก อายุ ๑๒๐ ปี ๒) สุภัททะ บุตรของอุปกะ อาชีวกะ ซึ่งพบพระพุทธองค์หลังจากตรัสรู้ใหม่ๆตอนเสด็จเมืองพาราณสีเพื่อโปรดพระปัญจวัคคีย์ ๓) สุภัททะภิกษุ บวชเมื่อแก่ เป็นบริวารติดตามพระมหากัสสปออกธุดงค์ ได้ทราบข่าวที่เมืองปาวาว่า พระศาสดาได้เสด็จปรินิพพานแล้วก็ดีใจบอกว่า ท่านนิพพานเสียก็ดีแล้ว พวกเราจะได้เป็นอิสระ เวลาท่านทรงมีชีวิตอยู่ ท่านคอยจู้จี้ว่า สิ่งนี้ควรทำ สิ่งนั้นไม่ควรทำ ฯลฯ)

    คืนวันนั้นเป็นวันเพ็ญวิสาขะปุรณมี(ระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม) พระจันทร์เต็มดวง เวลาก็ล่วงมัชฌิมยามไปแล้ว พระบรมศาสดาบรรทมเหยียดพระกายในท่าสีหไสยาสน์ทรงระโหยโรยแรงยิ่งนัก แต่ก็ฝืนพระทัย คำริสติมั่น สั่งสอนให้โอวาทพระภิกษุสงฆ์สาวกเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนเสด็จปรินิพพานดังนี้
    อานนท์ เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว พวกเธอทั้งหลายอาจคิดไปว่า บัดนี้ไม่มีพระศาสดาแล้ว อาจรู้สึกว้าเหว่ไร้ที่พึ่ง พวกเธอจงอย่าคิดดังนั้น ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมวินัยเหล่านั้นจักเป็นองค์ศาสดาของพวกเธอทั้งหลายแทนเราต่อไป

    อีกเรื่องหนึ่งคือ พระฉันนะ เธอดื้อดึง มีทิฐิมานะมาก ไม่ยอมเชื่อฟังอ่อนน้อมใคร เพราะถือดีว่าเป็นอำมาตย์ราชบริพารเก่าแก่ของเรา เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว ขอให้สงฆ์ลงพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนะคือ เธอจะทำ จะพูด สิ่งใด หรือประสงค์จะอยู่อย่างไร ก็ปล่อยเธอตามสบาย สงฆ์ไม่ควรว่ากล่าวตักเตือน ไม่ควรพร่ำสอนเลย เธอจะรู้สึกตัวเองในทีหลัง

    อีกเรื่องหนึ่งคือ สิกขาบทบัญญัติที่เราได้บัญญัติไว้เพื่อภิกษุทั้งหลายจะได้อยู่ด้วยกันอย่างผาสุกไม่กินแหนงแคลงใจกัน มีธรรมเป็นเครื่องอยู่เสมอกัน ลิกขาบทบัญญัติเหล่านี้มีอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว สงฆ์ร้อมใจกันจะถอนสิกขาบทเล็กน้อยซึ่งขัดกับกาลสมัยเสียบ้างก็ได้ กาลเวลาล่วงไป สมัยเปลี่ยนไป จะเป็นความลำบากในการปฏิบัติสิกขาบทที่ไม่เหมาะสมัยเช่นนั้น เราอนุญาตให้ถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้

    ภิกษุรูปใดมีความเคลือบแคลงเห็นแย้งในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในมรรค ในข้อปฏิบัติใดๆก้ดี จงถามเสีย อย่าเป็นผู้เดือดร้อนในภายหลังว่า เราอยู่เฉพาะหน้าพระศาสดาแล้ว ไม่กล้าถามในที่เฉพาะหน้า

    ปรากฎว่าไม่มีภิกษุรูปใดทูลถามตลอดเวลาที่ทรงเตือนซ้ำจนครบ ๓ ครั้ง ทุกองค์นั่งเงียบกริบ ในบริเวณป่าต้นสาละแห่งนี้สงบเงียบไม่มีเสียงใดๆเลย แม้จะมีพุทธบริษัทประชุมกันอยู่เป็นจำนวนมากก็ตาม พระกำลังของพระผู้มีพระภาคเจ้าเหลือน้อยเต็มทีแล้ว ในที่สุดทรงตรัสปัจฉิมวาจาครั้งสุดท้ายว่า
    ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราจักเตือนเธอว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา พวกเธอทั้งหลายจงยังประโยชน์ตนประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด นี่เป็นวาจาครั้งสุดท้ายของตถาคต

    หนฺททานิ ภิกฺขเว อามนฺตยามิโว วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมปาเทถา ติ

    ต่อจากนั้นทรงนิ่งเงียบ ไม่ตรัสอะไรอีกเลย เสด็จเข้าปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน สัญญาเทวยิตินิโรธ แล้วย้อนกลับลงมาตามลำดับจนถึงปฐมฌาน แล้วย้อนขึ้นอีกโดยลำดับจนถึง จตุตถฌาน เป็นอนุโลม ปฏิโลม และเสด็จปรินิพพานในเมื่อออกจากจตุตถฌานนั่นเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2013
  4. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    พระอนุรุทธะเถระ ซึ่งเป็นพระเถระผู้ใหญ่อยู่ในที่ประชุมขณะนั้น และได้รับการยกย่องจากพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เป็นผู้เชี่ยวชาญเลิศทางทิพยจักษุ ได้เข้าฌานตาม ทราบว่าพระพุทธองค์เข้าสู่ฌานนั้นๆแล้ว และก็ปรินิพพานเมื่อออกจากจตุตถฌาน ยังมิได้เข้าสู่อากาสานัญจายตนะคือพระองค์เสด็จปรินิพพาน ในระหว่างนั้นนั่นเอง (พระบรมศาสดาประสูติ ณ ใต้ต้นสาละในป่า และก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ โคนต้นสาละคู่ในป่า ในวันวิสาขปุรณมี ดิถีเพ็ญเดือน ๖) เหตุอัศจรรย์ก็บันดาลให้เป็นไป มหาปฐพีก็หวั่นไหวครั้งใหญ่ ขนพองสยองเกล้า น่าหวาดเสียว และกลองทิพย์ก็บันลือลั่นไปในนภากาศ พร้อมกับการปรินิพพาน ท่านพระอนุรุทธะ ได้กล่าวว่า
    “ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีพระหฤทัยตั้งมั่นคงที่ มิได้มีอีกแล้ว พระมุนีมิได้ทรงพรั่นพรึง ทรงปรารภความสงบ ทรงทำกาละแล้ว มีพระหฤทัยไม่หดหู่ ทรงครอบงำเวทนาได้แล้ว ได้เป็นพระผู้มีพระทัยหลุดพ้นพิเศษแล้ว เหมือนดวงประทีบที่สว่างดับไปฉะนั้น”

    บรรดาภิกษุที่ประชุมกันอยู่ ณ ที่นั้น ภิกษุเหล่าใดยังไม่ปราศจากราคะ ก็กอดแขนคร่ำครวญฟุบลงกลิ้งเกลือกไปมา รำพันว่า
    “พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานเสียแล้วๆ”

    พระอนุรุทธะผู้มีอาวุโสสูงสุดได้มีบัญชาให้พระอานนท์เข้าไปแจ้งข่าวปรินิพพานแก่มัลละกษัตริย์ในเมืองกุสินาราซึ่งประจวบกับที่พวกกษัตริย์กำลังประชุมปรึกษาพร้อมกันอยู่ ต่างคนก็ต่างเศร้าโศกเสียใจ แล้วรับสั่งให้ราชบุรุษตระเตรียมเครื่องหอม ดอกไม้ ดนตรี และผ้าอีก ๕๐๐ คู่ เข้าไปยังสวนป่าสาลวัน ทำการบูชาพระพุทธสรีระด้วยการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี เป็นต้น จนถึงวันที่ ๗ จึงพร้อมกันอัญเชิญพระพุทธสรีระไปทางทิศเหนือของพระนครนำไปประดิษฐาน ณ มกุฏพันธนเจดีย์ ด้านทิศตะวันออกของนครกุสินารา

    มัลละกษัตริย์ได้ปฏิบัติตามพระพุทธประสงค์ คือ ปฏิบัติเหมือนในพระสรีระของพระเจ้าจักรพรรดิ์โดยให้พันพระพุทธสรีระด้วยผ้าใหม่ และซับด้วยสำลีบริสุทธิ์ แล้วพันผ้าใหม่ ซับด้วยสำลีอีก โดยนัยนี้ ตามกำหนดถึง ๕๐๐ คู่ เสร็จแล้วอัญเชิญลงประดิษฐานในรางเหล็กซึ่งเต็มไปด้วยน้ำมัน ปิดด้วยรางเหล็กอีกเป็นฝาครอบ แล้วสร้างจิตกาธาน(เชิงตะกอน) ด้วยไม้หอมทั้งหมด อัญเชิญพระพุทธสรีระขึ้นประดิษฐานบนจิตกาธานนั้น เพื่อถวายพระเพลิงทันที พอดีมีข่าวมาว่า พระมหากัสสป พระเถระผู้ใหญ่ที่พระบรมศาสดาทรงยกย่องมาก กำลังเดินทางจากเมืองปาวา จวนจะถึงกุสินาราอยู่แล้ว คณะมัลละกษัตริย์ และพระอนุรุทธะ ประธานฝ่ายสงฆ์จึงให้หยุดหยุดการถวายพระเพลิงไว้ก่อน รอจนกระทั่งพระมหากัสสปมาถึงที่มกุฏพันธนเจดีย์ ท่านและพระภิกษุบริวารอีกประมาณ ๕๐๐ รูป ได้เดินวนเวียนประทักษิณจิตกาธาน ๓ รอบ แล้วเปิดแต่พระบาทถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้าของตน เสร็จแล้ว พิธีถวายพระเพลิงจึงได้เริ่มขึ้นโดยมีพระมหากัสสปเป็นประธานในฐานะอาวุโสสูงสุด

    ครั้งนั้น พระเจ้าอชาตศัตรู กษัตริย์ลิจฉวี ศากยะกษัตริย์แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ พูลิกษัตริย์ ชาวเมืองอัลลกัปปนคร โกลิยกษัตริย์ ชาวเมืองรามคาม พราหมณ์ผู้ครองนครเวฏฐทีปกะ มัลละกษัตริย์อีกพวกหนึ่งที่ครองเมืองปาวา ต่างส่งฑูตมาขอปันส่วนแห่งพระบรมสารีริกธาตุ โดยจะนำไปบรรจุในพระสถูป หรือเจดีย์ต่อไป มัลละกษัตริย์แห่งเมืองกุสินาราไม่ยินยอม โดยอ้างว่าพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานในดินแดนของตน จึงเกิดโต้เถียงกันขึ้น จนจวนจะเกิดสงครามใหญ่ โทณพราหมณ์ นักปราชญ์ใหญ่ท่านหนึ่งแห่งเมืองกุสินาราเห็นเหตุการณ์แปรผันไปเช่นนั้น จึงขอร้องให้กษัตริย์ทั้งหลายสามัคคีปรองดองกัน ด้วยการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น ๘ ส่วนนำไปบรรจุในสถูปในที่ต่างๆกัน เพื่อให้แพร่หลายไปทั่วทุกทิศ ในที่สุดก็ตกลงกันได้ ฝ่ายกษัตริย์วงศ์เมารยะ(หรือโมริยะ)มาถึงช้า จึงได้แต่พระอังคารไป (คือเถ้าถ่านเหลือจากการถวายพระเพลิง)

    สรุปแล้ว สถูปบรรจพระบรมสารีริกธาตุมีอยู่ ๘ เมืองด้วยกันคือ
    พระเจ้าอชาตศัตรู พระเจ้าแผ่นดินแคว้นมคธ อัญเชิญไปบรรจุในพระสถูปที่กรุงราชคฤห์
    เจ้าลิจฉวี ชาวเมืองเวสาลี(หรือไพศาลี) อัญเชิญไปไว้ ณ กรุงเวสาลี
    กษัตริย์ศากยวงศ์ แห่งเมืองกบิลพัสดุ์
    พูลิกษัตริย์ แห่งเมืองอัลลกัปปนคร
    โกลิยกษัตริย์ ชาวเมืองรามคาม หรือเทวทหะนคร
    พราหมณ์ผู้ครองนครเวฏฐทีปกะ
    มัลละกษัตริย์ ชาวเมืองกุสินารา

    ส่วนโทณพราหมณ์ได้ทะนานทองที่ใช้ในการตวงแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ นำไปบรรจุไว้ในสถูปแห่งหนึ่ง เรียกว่า ตุมพสถูป(ตุมพะ แปลว่า ทะนาน) กษัตริย์วงศ์เมารยะได้รับพระอังคารบรรจุไว้ในสถูปที่เมืองปิปผลิวัน

    ที่มกุฏพันธนเจดีย์ คือสถานที่ถวายพระเพลิง และแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ ที่นี่เดิมเป็นวนอุทยานศักดิ์สิทธิ์ของมัลละกษัตริย์ เป็นที่เสด็จมาพักผ่อน ทำบุญ บวงสรวง เซ่นไหว้อยู่เสมอ เพราะเขาถือว่าเป็นที่สำคัญอยู่เดิมแล้ว เวลาถวายพระเพลิงเสร็จก็ยิ่งดำรงความศักดิ์สิทธิ์เพิ่มขึ้นไปอีก เขาจึงไม่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ ณ ที่นี้(หลักเกณฑ์ของพระเจ้าอโศก มีอยู่ว่า ถ้าที่ไหนศักดิ์สิทธิ์อยู่เดิม มีคนเคารพสักการะบูชามาก พระองค์จะทิ้งไว้อย่างนั้น หรืออาจปักเสาศิลาจารึกไว้ ถ้าที่ไหนยังไม่เป็นที่เคารพบูชากราบไหว้ของประชาชนนัก พระองค์จะอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุทำเป็นสถูป หรือเจดีย์คร่อมของเก่าลงไปทันที)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2013
  5. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสประทานพระโอวาทแก่นวกะภิกษุ ได้ทรงแสดงตั้งแต่เบื้องต้นเรื่องการบวช ฯลฯ

    พุทธประวัติ หรือพระประวัติของพระพุทธเจ้าผู้พระบรมศาสดาของพระพุทธศาสนานั้นได้มีผู้เรียบเรียงกันไว้มากทั้งที่เป็นภาษาบาลี และภาษาไทย เฉพาะที่เป็นภาษาไทยนั้นเท่าที่ยึดถือเป็นแบบศึกษาอ้างอิงกันอยู่ก็เช่น พระปฐมสมโพธิกถา พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ปฐมสมโพธิ พระนิพนธ์สมเด็จพระสังฆราช(ปุสสเทว สา)พุทธประวัติ พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิร ต่างกันออกไปตามประสงค์ กล่าวคือ พระปฐมสมโพธิกถา เน้นหนักไปทางมุ่งอรรถรสเชิงวรรณคดี และแสดงพระพุธาภินิหาร เพื่อเสริมศรัทธาปสาทะในพระพุทธคุณ ส่วนปฐมสมโพธิ ก็มุ่งแสดงหลักธรรมคำสอน ไม่เน้นในเรื่องประวัติ และเหตุการณ์เท่าไรนัก สำหรับพุทธประวัติก็มุ่งแสดงพระประวัติของพระพุทธเจ้า และเหตุการณ์บ้านเมืองในเชิงประวัติศาสตร์ หรือข้อเท็จจริงเป็นสำคัญ พระนิพนธ์ต่างๆดังยกมาเป็นตัวอย่างนี้จึงทำให้สารัตถะ และอรรถรสแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ก็เพราะว่าพระประวัติของพระพุทธเจ้าเท่าที่มีหลักฐานปรากฎในคัมภีร์ชั้นต้นของพระพุทธศาสนานั้นกระจายกันอยู่ในที่ต่างๆหลายแห่ง ไม่ได้จัดเรียบเรียงให้เป็นเรื่องราวติดต่อกันตั้งแต่ต้นจนจบ ฉะนั้นผู้เรียบเรียงพระพุทธประวัติจึงต้องรวบรวมเรื่องราวต่างๆที่กระจายอยู่นั้นมาเรียบเรียงปะติดปะต่อกันให้เป็นเรื่องราวต่อเนื่องเอาเองตามความสันนิษฐานประกอบกับหลักฐานเท่าที่สามารถจะทำได้ด้วยเหตุนี้ พระพุทธประวัติที่ได้มีผู้เรียบเรียงขึ้นแล้วนั้น จึงมีหลายแนว และหลายสำนวนต่างๆกันไปตามประสงค์โดยย่อบ้าง โดยพิสดารบ้าง

    คณะทำงานเห็นหนังสืออนุสรณ์งานฌาปนกิจศพต่างๆ ได้อัญเชิญ"]๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก [/COLOR]มาเป็นธรรมบรรณาการแก่บุคคลต่างๆ และทางสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้นำมาจัดทำเป็นสื่อโสตทัศน์เผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่ผู้สนใจธรรมทั้งหลาย และมีผู้รวบรวมจัดทำให้โสตทัศน์มีความสมบูรณ์ รวม ๕๕ ตอน จึงขอนำมาผูกLink เพื่อให้พุทธศาสนิกชนที่มีความสนใจเกิดความเข้าใจในเรื่องราวของ ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้าได้สมบูรณ์ยิ่งๆขึ้นจากข้อมูลหลายๆแหล่ง

    แหล่งที่มา :
    -๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    -เวปไซด์ของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
    http://www.onab.go.th/index.php?opt...ategory&id=111:2009-12-16-08-32-49&Itemid=351
    -เวปไซด์ของYoutube ที่คุณhiphoplanla ได้ upload ไว้
    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=Re7IdJm8g7k&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? (????????) - YouTube[/ame]
    -
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2013
  6. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๑

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=QRfnbm8jins&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? ?????? ? - YouTube[/ame]

    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๒

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=Z-bxLDL0M5M&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? ?????? ? - YouTube[/ame]

    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๓
    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=2gu_Kx3aZ64&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? ?????? ? - YouTube[/ame]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2013
  7. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๔

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=-M2RlX3BsGI&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? ?????? ? - YouTube[/ame]

    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๕

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=7LuFadZq8u8&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? ?????? ? - YouTube[/ame]

    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๖

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=fxNkFwuQvNs&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? ?????? ? - YouTube[/ame]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2013
  8. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๗

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=L3r9ruC-gGw&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? ?????? ? - YouTube[/ame]

    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๘

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=rhd-BioQdm0&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? ?????? ? - YouTube[/ame]

    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๙

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=cUTx97UYOBs&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? ?????? ? - YouTube[/ame]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2013
  9. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๑๐

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=NV2vZ75JU98&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? ?????? ?? - YouTube[/ame]

    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๑๑

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=oawyusoAH0Y&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? ?????? ?? - YouTube[/ame]

    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๑๒

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=mQj6jFdvcBA&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? ?????? ?? - YouTube[/ame]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2013
  10. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๑๓

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=Af4Ds4KllLo&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? ?????? ?? - YouTube[/ame]

    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๑๔

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=em6P8tRv_7c&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? ?????? ?? - YouTube[/ame]

    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๑๕

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=j0nbrzzx6x4&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? ?????? ?? - YouTube[/ame]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2013
  11. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๑๖

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=DNbd1ALCsCI&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? ?????? ?? - YouTube[/ame]

    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๑๗

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=BI2Vprz7_lM&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? ?????? ?? - YouTube[/ame]

    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๑๘

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=tPTeMoRCrIg&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? ?????? ?? - YouTube[/ame]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2013
  12. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๑๙

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=23zTeRLbk8k&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? ?????? ?? - YouTube[/ame]

    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๒๐

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=3Ic-L9JnPLc&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? ?????? ?? - YouTube[/ame]

    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๒๑

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=GaH_oBszBl0&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? ?????? ?? - YouTube[/ame]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2013
  13. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๒๒

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=jNcbJAsVnhk&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? ?????? ?? - YouTube[/ame]

    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๒๓

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=AB2K52qdc6w&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? ?????? ?? - YouTube[/ame]

    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๒๔

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=UCWlg5CwnBY&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? ?????? ?? - YouTube[/ame]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2013
  14. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๒๕

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=GortHV0F1Xo&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? ?????? ?? - YouTube[/ame]

    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๒๖

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=yVVDbQt_lHM&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? ?????? ?? - YouTube[/ame]

    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๒๗

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=uf2lyaVSOwA&list=PL626A763697061E2E"]45?? ??????????????????? ?????? ?? - YouTube[/ame]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2013
  15. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๒๘

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=vX4Y0h-M878&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? ?????? ?? - YouTube[/ame]

    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๒๙

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=YgV5IshfzWE&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? ?????? ?? - YouTube[/ame]

    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๓๐

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=YmmVpSfhBhQ&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? ?????? ?? - YouTube[/ame]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2013
  16. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๓๑
    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=bPvlfXpS76M&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? ?????? ?? - YouTube[/ame]


    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๓๒
    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=Ecqzoq9Cnto&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? ?????? ?? - YouTube[/ame]


    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๓๓
    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=9eRHUJxv8KA&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? ?????? ?? - YouTube[/ame]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2013
  17. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๓๔

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=lhV6yd68uFI&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? ?????? ?? - YouTube[/ame]

    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๓๕

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=1qMbTnFnL9A&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? ?????? ?? - YouTube[/ame]

    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๓๖

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=8XhzJeaHGhE&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? ?????? ?? - YouTube[/ame]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2013
  18. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๓๗

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=188Wzyrnmt0&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? ?????? ?? - YouTube[/ame]

    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๓๘

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=WDpFX9BNS2A&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? ?????? ?? - YouTube[/ame]

    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๓๙

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=5Dr5jKrVW-k&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? ?????? ?? - YouTube[/ame]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2013
  19. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๔๐

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=R56gQu8Tzds&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? ?????? ?? - YouTube[/ame]

    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๔๑

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=s2UpqIL4FDQ&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? ?????? ?? - YouTube[/ame]

    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๔๒

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=blV5vozzUI0&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? ?????? ?? - YouTube[/ame]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2013
  20. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๔๓

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=QbxxAK3SMBs&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? ?????? ?? - YouTube[/ame]

    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๔๔

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=lvF4FYq5yrk&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? ?????? ?? - YouTube[/ame]

    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๔๕

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=hyrayd79Iy8&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? ?????? ?? - YouTube[/ame]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...