พระพุทธศาสนา...พระโบราณ...พระในตำนาน...

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย บรรพชนทวา, 12 กันยายน 2012.

แท็ก: แก้ไข
  1. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    พระราหุล
    ในวันที่ ๗ พระนางพิมพาทรงนำพระราหุลมาเฝ้าขอราชสมบัติพระพุทธองค์ ก็ได้ทรงเสียสละเสียแล้ว พระศาสดากลับทรงประทานทรัพย์อันประเสริฐยิ่งกว่าสมบัติทั้งหลาย คือ รับสั่งให้พระสารีบุตรจัดการให้พระราหุลได้บวชเป็นสามเณร เพราะยังมีพระชนม์เพียง ๗ ปีเท่านั้น พระราหุลจึงเป็นสามเณรองค์แรกในพระศาสนา(เหตุการณ์ที่ลืมเสียไม่ได้จากการบรรพชาเป็นสามเณรของพระราหุลกุมารครั้งนี้ ก็คือว่า เมื่อพระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบก็ทรงโทมนัสเสียพระทัยอย่างยิ่ง เพราะแต่แรกประสงค์จะให้นันทกุมารสืบราชสมบัติต่อไป แต่แล้วก็ถูกพาไปบวชเสียอีก พระเจ้าสุทโธทนะจึงเสด็จไปเฝ้าพระบรมศาสดา ทูลขอประทานพุทธานุญาตว่า "แต่นี้ต่อไปเมื่อหน้า กุลบุตรผู้ใดแม้ประสงค์จะบวช หากมารดาบิดายังไม่ยอมพร้อมใจอนุญาตให้บวชแล้ว ขอให้ทรงงดไว้ก่อน อย่าเพิ่งให้บรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรผู้นั้น" พระบรมศาสดาก็ประทานพรแก่พระพุทธบิดาตามพระประสงค์ทุกประการ) บวชแล้วพระราหุลก็สนใจพอใจในการศึกษาอย่างยิ่ง พระพุทธองค์จึงทรงสอนให้ใช้ปัญญาให้มาก ท่านเปรียบปัญญาเหมือนกระจกเงา คอยส่องสำรวจตัวเราอยู่เสมอ จะทำกรรมอันใด ทางกาย วาจา ใจ ต้องใช้ปัญญาพิจารณาให้รู้ผิดชอบชั่วดีเสียก่อน เมื่อเห็นว่าการกระทำนั้นจะเป็นไปในทางเบียดเบียนตนเองหรือผู้อื่น เป็นอกุศลก็อย่าทำ เราได้ทำอะไรผิดไป ก็จงแสดงโดยเปิดเผยบอกครูบาอาจารย์ให้ทราบ แล้วระวังไม่ทำกรรมอย่างนั้นต่อไป การนึกผิดคิดชั่วทางใจ ก็พึงเบื่อหน่าย อายกระดาก เกลียดชัง แล้วตั้งใจระวังต่อไป อันไหนเป็นกรรมดี เป็นบุญกุศล ก็พึงอยู่ด้วยปิติปราโมทย์ศึกษาอยู่ในธรรมฝ่ายกุศลทั้งกลางวันกลางคืนเถิด เธอพึงสำเหนียกอยู่ว่า เราจะพิจารณาก่อนแล้วรักษา กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมให้บริสุทธิ์สะอาดเสมอ

    [​IMG]
    เมื่อพระราหุลมีอายุได้ ๑๘ ปี พระพุทธองค์เสด็จประทับที่เชตวันมหาวิหาร เช้าวันหนึ่งเสด็จออกบิณฑบาตในนครสาวัตถี พระราหุลตามเสด็จออกบิณฑบาตด้วย เห็นรูปสมบัติของพระพุทธองค์ และของตนเองสวยสดงดงาม เกิดมีความวิตกเป็นไปในทางกำหนัดยินดี พระพุทธองค์ทรงทราบวาระจิต จึงประทานสอนอบรมพระราหุลในเบื้องต้นให้รู้ความจริงด้วยยถาภูตยาณว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทั้งที่เป็นภายนอก และภายใน ใกล้ ไกล ประณีต หรือทรามก็ดี ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา และเราก็ไม่เป็นรูป หรือเวทนา สัญญา สังขาร นั้นๆ เพราะการเข้าไปยึดถือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี้แหละจึงทำให้เกิดทุกข์
    <O:p</O:p
    พระราหุลได้สดับฟังเช่นนั้นแล้ว ก็นึกอยู่ในใจว่า ใครก็ตามที่พระบรมศาสดาทรงแสดงธรรมโปรดโดยตรงตัวต่อตัวเช่นนี้ ควรหรือจะเที่ยวรับบิณฑบาตต่อไป จึงไปนั่งทำสมาธิอยู่ที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่งทันที พระสารีบุตรมาพบเข้าจึงเตือนแนะให้เจริญอานาปานสติภาวนา เพราะมีประโยชน์มาก มีผลมาก ครั้นเวลาเย็น พระราหุลไปเฝ้าทูลถามพระพุทธบิดาว่า อานาปานสตินั้นเจริญอย่างไร จึงจะมีอานิสงค์มาก พระพุทธองค์ไม่ตรัสเรื่องอานาปานสติ แต่กลับทรงแสดงถึงอาการ ๓๒ ของร่างกาย มีผม ขน ฟัน เล็บ เป็นต้น โดยความเป็นธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ และอากาศ(ส่วนต่างๆประชุมรวมกันเป็นรูปร่างกายนี้ขึ้นมา ซึ่งรวมทั้งลมหายใจด้วย) มีลมภายในพัดขึ้นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ และลมที่เกิดจากจิต คือลมหายใจ เพื่อจะให้เห็นว่า ไม่ว่าจะเป็นอาการใดๆก็ตาม ที่มารวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน มันไม่พ้นจากธาตุ ๔ นี้ไปได้เลย แต่คนกลับไปยึดถือว่าเป็นตัวตน สัตว์บุคคล ลมหายใจก็เป็นแต่เพียงธาตุลมเท่านั้น ให้พิจารณาธาตุทั้ง ๔ นี้ว่า เป็นอนัตตา และให้เห็นว่ามีอยู่ทั้งภายนอกภายใน ไม่ใช่ตัวตนอะไรของเรา เปรียบเหมือนของที่ยืมเขามาใช้ชั่วคราว ธาตุทั้ง ๔ นี้ เข้ามาอยู่ในร่างกายก็ไม่ได้ยั่งยืนคงทน เสื่อมแล้วก็กลับไปข้างนอก เช่นผมยาวตัดออกทิ้งไป ก็กลายเป็นดิน เป็นของแข็งอยู่ข้างนอกนั่นเอง

    ที่ตรัสสอนทั้งนี้ก็เพื่อจะอบรมอินทรีย์ของพระราหุลให้แก่กล้า เพื่อจะได้ตรัสสอนหลักสูตรสูงสุด เพื่อความสำเร็จอรหัตมรรค อรหัตผลต่อไป ทรงสอนให้พิจารณาเพื่อให้คลายความยินดี จะได้เกิดเบื่อหน่าย เพราะเมื่อหายรักแล้ว ทุกข์ก็ไม่มี และถ้าไม่ถือว่าเป็นเรา เป็นของเรา ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่จะแตกจะเสียก็ไม่เดือดร้อน ไม่ว่าส่วนไหน หรืออะไรก็ตาม ถ้าเข้าไปยึดถือมันเข้าเกิดทุกข์เดือดร้อน เช่น ที่สวน ที่นา เมื่อนึกอยู่ว่ามันเป็นที่ดินของเราก็ให้เกิดห่วงใย กลัวน้ำจะท่วม ฝนจะแล้ง ต้นไม้จะล้ม ผลไม้จะตาย ถ้าขายเขาไปเสีย ก็หมดกังวลใจ แต่พอไปซื้อกลับมาก็ร้อนใจอีก เพราะฉะนั้นทางพระศาสนาจึงสอนไม่ให้ยึดว่าเป็นของเรา ที่ใกล้เข้ามาก็คือตัวตน ร่างกายนี้ก็ไม่ใช่ของเรา เป็นเรื่องของดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศ มันจะเป็นเช่นไรก็แล้วแต่เรื่อง ไม่ใช่หน้าที่จะไปตู่เอว่าเป็นของเรา ต่อไปก็ทรงสอนว่า ดูก่อนราหุล เธอจงเจริญจิตภาวนา เอาตัวเสมอกับดิน เช่น ดินไม่เคยรู้สึกเบื่อระอา ไม่เกลียด ไม่โกรธ ที่ใครๆเขาเทของโสโครกลงไป และไม่รัก ไม่โลภ เช่นนี้เป็นประโยชน์ทางผัสสะเครื่องกระทบทั้งหลายซึ่งทำให้ชอบ ไม่ชอบ คือทรงสอนให้หัดทำใจเป็นกลางๆ เพราะการชอบไม่ชอบเป็นต้นเหตุให้เกิดโทษ ชอบอย่างหยาบก็ถึงลักขโมยของเขาด้วยความโลภอยากได้ และถ้าไม่ชอบมากเข้าก็เป็นเหตุให้ทุบตีดุว่า ถ้าเป็นกลางๆก็ไม่มีโทษ ไม่เป็นเหตุให้เบียดเบียนตน และผู้อื่น แผ่นดินมีความหนา จงฝึกใจให้มีความหนักแน่นเหมือนแผ่นดิน แผ่นดินนั้นกว้างใหญ่เมื่อพิจารณาไปๆ ใจจะกว้างขวาง ไม่คับแคบ น้ำก็เช่นกัน ไม่มีความอิดหนาระอาใจในใครที่เทของสกปรกโสโครกลงไป ทำใจให้ได้อย่างน้ำ เพราะน้ำรักชังใครไม่เป็น คือหัดใจเก็บเอาแต่ส่วนที่มีประโยชน์ที่ดีอย่างหนึ่งก็คือ น้ำเป็นของเย็น เมื่อใครได้อาบ ได้ดื่ม ก็ชุ่มชื่น ซักฟอกก็สะอาด จงทำใจให้เป็นเหมือนน้ำ นำเอามาเปรียบเทียบ สอนใจให้ถูกทาง ใจก็เย็นสบาย ส่วนไฟนั้นไฟม้ม่ว่าอะไรทั้งหมด ไม่ว่าของจะดี หรือเลวร้ายอย่างไร ไฟไหม้หมด โดยไม่เลือกไม่อิดหนาระอาใจ เราคิดให้มันไฟม้เผากิเลสให้หมดไป อย่าเอาไปเผาตัวเราให้เดือดร้อน แล้วตรัสสอนต่อไป ให้ทำใจเหมือนลม พัดไม่เลือกว่าต้นไม้ หรือใบหญ้าสม่ำเสมอยุติธรรมทั่วกันไปหมด เมื่อเรามีความยุติธรรมอยู่ในใจ ใจก็สบาย ไม่เร่าร้อน อากาศมีไม่เลือกว่าที่ใด เราก็ทำใจไม่ให้มีติดมีข้องในอะไรๆเหมือนอากาศ พบปะพูดจาสังสรรค์กับใครแล้วก็แล้วกันไปไม่เอามาติดมาคิด ข้องใจ นึกรัก นึกชัง เป็นเดือดเป็นแค้น อย่างเช่น อากาศเป็นของว่างเปล่า เมื่อพิจารณาได้เช่นนี้ก็จะไม่มีเรื่องผิดพ้องหมองใจกับใคร หรือรุนแรงถึงถูกจองจำทำโทษ

    ต่อไปทรงสอนให้เจริญเมตตา หวังความสุข ความเจริญต่อคน และสัตว์ทั้งหลาย อันเป็นข้อตรงกันข้ามกับความโกรธพยาบาท ความจริงแล้วไม่ควรจะไปคิดพยาบาทโกรธเกลียดเพิ่มเติมปองร้ายในผู้ใด เพราะเขาก็มีความทุกข์คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่รอบตัวแล้ว ไม่ควรที่เราจะเอาความร้อนไปใส่ให้เขาอีก และตัวเราก็เพิ่มทุกข์ขึ้นอีกด้วย เมตตาที่ควรจะแผ่ไปในคน และสัตว์ คือไม่มีความเกลียดชังทั่วไป และรักทุกคนเช่นเดียวกับบิดามารดารักบุตร ข้อที่สอง ให้มีความกรุณาสงสารในผู้ที่ตกไร้ได้ยาก ซึ่งเป็นข้าศึกต่อวิหิงสา ข้อที่สาม มุทิตา ไม่ให้ริษยาในผู้ที่เขาได้ลาภ ได้ยศ สรรเสริญ ให้มีจิตคิดโมทนาด้วยเขา เป็นต้น และเป็นเครื่องให้เราพ้นภัยเวร ข้อที่สี่ อุเบกขา คือถ้ามีใจเป็นกลาง ก็จะบังเกิดแต่ความดี เป็นข้าศึกต่อปฏิฆะ การแผ่กุศลจิตนี้ ถ้าแผ่ไปเฉพาะเจาะจงก็เป็นพรหมวิหาร ถ้าแผ่ให้ทั่วไป ก็เป็นอัปปมัญญา อัปปมัญญาสูงกว่าพรหมวิหาร เพราะเป็นการแผ่ทั่วไปหมด ข้อที่ห้า ให้พิจารณาเห็นความไม่งามอันเป็นข้าศึกต่อราคะ ข้อที่หก ให้เจริญอนิจจสัญญา คือจำหมายในเรื่องไม่เที่ยงทั่วไป ทั้งที่มีวิญญาณ และไม่มีวิญญาณ ทั้งที่เป็นอดีต และอนาคต ไม่ว่าหยาบ หรือละเอียด เลว หรือประณีต ตลอดจนธรรมะซึ่งเป็นข้าศึกต่ออัสมิมานะ เจริญอนิจจสัญญาให้เห็น ความไม่เที่ยง ไม่คงที่ เป็นเด็กแล้วก็ต้องเป็นผู้ใหญ่ เป็นต้น อัสมิมานะนี้สำคัญเป็นสังโยชน์เบื้องต้น พระองค์ทรงอบรมพระราหุลให้มีปัญญาความฉลาด ศรัทธา ความเชื่อ วิริยะ ความเพียรให้ยิ่งๆขึ้นไป
    <O:p</O:pต่อไปจึงทรงแสดงอานาปานสติ(คือทรงเริ่มสอนเรื่องธาตุ ๔ เป็นเบื้องต้นก่อน เพราะพระราหุล ท่านมีอุปนิสัยชอบในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เช่นนี้มาก่อน เพื่อว่าการเจริญอานาปานสติตอนหลังจึงจะได้ผลมาก)
    <O:p</O:p
    พระราหุลเมื่อได้ฟังพระพุทธโอวาทดังนี้แล้ว ก็มีจิตโสมนัสปิติยินดี ภายหลังเมื่อได้อุปสมบทเป็นภิกษุยังไม่ครบพรรษามีญาณแก่กล้าแล้ว เช้าวันหนึ่งพระพุทธองค์ทรงให้พระราหุลถือผ้ารองนั่งตามพระองค์ไปในป่าอัมพวัน เทวดาทราบว่า พระพุทธองค์จะอนุเคราะห์พระราหุลจึงตามไปด้วย ทรงสอนในวิปัสสนากรรมฐานว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นทุกข์ย่อมเบื่อหน่าย เป็นต้น พระราหุลส่งจิตพิจารณาไปตามกระแสพระธรรมเทศนา ก็ได้สำเร็จอรหัตผลในขณะนั้น
    <O:p</O:p
    หลังจากประทับอยู่ ๗ วันเต็มในเมืองกบิลพัสดุ์ ทรงเสร็จภารกิจแล้วจึงเสด็จกลับเมืองราชคฤห์ ระหว่างทางทรงแวะพักที่สวนมะม่วง อนุปิยอัมพวัน ของคหบดีนายหนึ่ง ที่นี่พระองค์เคยเสด็จมาปลงพระเกศา และอธิษฐานบรรพชาก่อนตรัสรู้ ณ ที่นี้ เจ้านายในศากยวงศ์ ๖ องค์ได้เสด็จมาเฝ้าขอบรรพชา คือภัทฑิยะ อนุรุทธะ อานนท์ ภคุ กิมพิละ และเทวทัต พร้อมกับอุบาลีช่างตัดผมประจำพระราชวัง พระพุทธองค์ได้ทรงอุปสมบทให้อุบาลีก่อน เพื่อจะได้เป็นตัวอย่างบังคับให้ศากยวงศ์ที่ถือตัวทั้งหกผู้บวชทีหลัง แสดงคารวะพระอุบาลีซึ่งเป็นผู้อาวุโสกว่าในฐานะบวชก่อน<O:p</O:p

    แหล่งข้อมูลภาพ: ภาพพระพุทธรูป ปางบิณฑบาต พิพิธภัณฑ์ตักกสิลา ป.ปากีสถาน และสื่อนี้ถือเป็นสาธารณสมบัติ เนื่องจากภาพและสื่อนี้หมดอายุการคุ้มครองทางลิขสิทธิ์แล้ว ในสหรัฐอเมริกาและประเทศที่มีอายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์งาน และภายใน ๑๐๐ ปีหลังจากผู้สร้างสรรค์งานเสียชีวิต
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2013
  2. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    พระภัททิยะ
    เจ้านายพระองค์หนึ่งในศากยวงศ์ เมื่อมีอายุเจริญมากแล้ว ได้รับอภิเษกให้เป็นกษัตริย์ครองแคว้นเล็กๆแห่งหนึ่ง ทรงเบื่อหน่าย จึงสละราชสมบัติออกบวชคราวเดียวกับพระอนุรุทธ์ ได้บำเพ็ญเพียรอย่างแรงกล้าก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในพรรษาแรก ครั้นสำเร็จแล้วอยู่ที่ไหนๆก็มักเปล่งอุทานว่า สุขหนอๆ พระพุทธองค์ทรงถามว่า ท่านเห็นประโยชน์อะไร จึงเปล่งอุทานอย่างนั้น ทูลตอบว่า เมื่อตอนท่านได้เป็นกษัตริย์ต้องห่วงกังวลด้วยเรื่องการปกครองบ้านเมืองทั้งภายใน และภายนอกราชอาณาจักร แม้มีทหารตำรวจคอยระวังรักษา ก็อดที่จะหวาดภัยไม่ได้ เดี๋ยวนี้อยู่ที่ไหนๆ ก็มีใจเป็นปกติ ไม่เคยหวาดกลัวอะไรเลย พระศาสดาทรงยกย่องว่าทรงมีสกุลสูงกว่าพระภิกษุทั้งหลาย ทั้งๆที่พุทธสาวกที่มีสกุลสูงๆกว่าก็ยังมีอีกมาก<O:p</O:p

    พระอนุรุทธะ
    เป็นโอรสของอมิโตทนศากยะ แนชาพระเจ้าสุทโธทนะ ได้ออกบรรพชาพร้อมกับเจ้านายศากยะวงศ์หกองค์ โดยไปเฝ้าพระศาสดาที่อนุปิยนิคมเพื่อขอบรรพชา

    เมื่ออุปสมบทแล้ว เรียนกรรมฐานในสำนักพระสารีบุตร แล้วออกไปสู่ป่าที่วิเวก รำพึงถึงธรรมว่า อารมณ์นี้เป็นของผู้มักน้อย เป็นของผู้สันโดษ ของผู้สวัด ของผู้ปรารถนาความเพียร ของผู้มีสติมั่น ของผู้มีจิตมั่น ของผู้มีปัญญาดี พระพุทธองค์ทรงทราบจึงทรงสอนให้นึกถึงข้อที่แปดด้วย คือ ธรรมะนี้เป็นของผู้ยินดีในธรรมที่ไม่ให้เนิ่นช้า เมื่อตรึกอย่างนี้แล้ว คุณพิเศษจะปรากฎให้เห็นชัด พระอนุรุทธบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ไม่นานก็สำเร็จมรรคผล หลังจากฉันภัตตาหารแล้วตลอดเวลาท่านจะพิจารณาดูหมู่สัตว์ด้วยทิพยจกษุ สามารถเห็นได้แม้ในที่ไกลโดยเร็วพลันด้วยอานุภาพอานิสงค์ที่ท่านได้ตามประทีปสักการะบูชาพระมหาเจดีย์ในภพก่อนๆ คือตั้งจิตอธิษฐานอย่างแรงกล้า ขอให้มีตาทิพย์ด้วย ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญทางทิพยจักษุกว่าภิกษุทั้งหลายในครั้งพุทธกาล เมื่อวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ท่านพระอนุรุทธได้เข้าฌานตามดูวาระจิตที่พระพุทธองค์ทรงเข้ารูปฌาน อรูปฌาน กลับไปกลับมาเป็นอนุโลม และปฏิโลม และทรงออกจากฌานแล้วจึงปรินิพพาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2013
  3. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    พระอานนท์
    เป็นโอรสพระเจ้าสุกโกทนะ และพระนางกีสาโคตมี คือเป็นลูกพี่ลูกน้องกับพระพุทธองค์ และเป็นสหชาติประสูติวันเดียวกัน ได้ออกบรรพชาพร้อมกับท่านภัททิยะ อนุรุทธ์ เป็นต้น อุปสมบทแล้วไม่นาน ได้สดับธรรมกถาในสำนักพระปุณณมันตานีบุตร(ซึ่งเป็นหลานของท่านอัญญาโกณฑัญญะ) ก็ได้บรรลุโสดาบัน

    [​IMG]
    เมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้มาได้ ๒๐ ปี มีภิกษุเปลี่ยนเวรกันอุปัฏฐากมิได้มีประจำ ภิกษุสงฆ์จึงเลือกพระอานนท์ให้รับหน้าที่ ท่านเป็นผู้มีสติรอบคอบ ทูลขอพร ๘ ประการ ก่อนรับหน้าที่ พระพุทธองค์ทรงอนุญาต
    พร ๘ ประการ ที่พระอานนท์ทูลขอมีดังนี้:-
    ๑) ขออย่าประทานจีวรอันประณีตแก่ข้าพระองค์
    ๒) ขออย่าประทานบิณฑบาตอันประณีตแก่ข้าพระองค์
    ๓) ขอได้โปรดอย่าให้ข้าพระองค์อยู่ร่วมพระคันธกุฏีกับพระองค์
    ๔) ขอได้โปรดอย่าพาข้าพระองค์ตามเสด็จไปสู่ที่รับนิมนต์
    ๕) ขอพระองค์จงเสด็จไปสู่ที่นิมนต์ ที่ข้าพระองค์รับไว้
    ๖) ขอให้ข้าพระองค์พาบริษัทที่มาจากแดนไกลเข้าเฝ้าพระองค์ได้ในขณะที่มาถึงแล้ว
    ๗) ขอให้ข้าพระองค์ทูลถามความสงสัยได้ทุกอย่าง ตามปรารถนา
    ๘) ขอให้ทรงนำพระธรรมเทศนาเรื่องใดที่ทรงแสดงลับหลังข้าพระองค์ มาแสดงให้ข้าพระองค์ได้ฟังด้วย

    ท่านมีคุณสมบัติพิเศษหลายสถาน คือ
    ท่านเป็นพหูสูตร ฟังธรรมที่พระศาสดาแสดงกับผู้อื่นมากมาย
    เป็นผู้มีสติ ทรงจำที่ศึกษาแล้วได้แม่นยำ
    เป็นผู้มีคติ เฉลียวฉลาดในเชิงแสดงธรรมให้ผู้ฟังรู้ง่าย
    เป็นผู้มีฐิติ เพียรศึกษาสารยายทรงจำ และเพียรทำนุบำรุงพระศาสดา เป็นพุทธอุปัฏฐากที่ดีไม่มีภิกษุอื่นใดเทียบได้

    เมื่อถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแล้ว พระมหากัสสปได้ให้ประชุมสงฆ์ ปรารภเพื่อทำสังคายนาพระธรรมวินัย นัดหมายให้ทรงจำกันไว้ว่า ธรรมอันใด วินัยอันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสั่งสอนไว้ว่าอย่างไร ทั้งนี้โดยมาคำนึงถึงคำกล่าวใส่ร้ายพระธรรมวินัย และในองค์พระศาสดาของภิกษุแก่องค์หนึ่งชื่อ สุภัททะ ซึ่งกล่าวกับภิกษุอื่นๆว่า อย่าเสียใจ เศร้าโศกไปเลย พระสมณโคดมนิพพานเสียก็ดีแล้ว พวกเราจะได้เป็นอิสระ เวลาท่านมีชีวิตอยู่ คอยแต่จะจู้จี้ ว่าสิ่งนี้ควรทำ สิ่งนั้นไม่ควรทำ คอยแต่ข่มขู่ ขนาบดุว่าพวกเราด้วยระเบียบวินัยมากหลาย แทบว่าจะเหยียดมือเหยียดเท้าไม่ออกทีเดียว บัดนี้ท่านนิพพานไปแล้ว เป็นลาภของพวกเรา ต่อไปนี้ใครต้องการทำอะไรก็จะทำได้ตามใจ ไม่ต้องการทำอะไร ไม่ต้องทำ

    พระมหากัสสปได้กล่าวต่อไปว่า พระศาสดานิพพานเพียง ๗ วันเท่านั้น ยังมีโมฆะบุรุษกล้ากล่าวจาบจ้วงพระธรรมวินัย และพระศาสดาถึงเพียงนี้ ต่อไปภายหน้า ภิกษุผู้ลามก มีจิตทรามคิดว่าศาสนาปราศจากพระศาสดาแล้ว จะพึงเหยียบย่ำพระธรรมวินัยสักปานใด เพราะฉะนั้น เราทั้งหลายจงประชุมกัน เพื่อสังคายนาพระธรรมวินัยตามที่พระศาสดาเคยทรงสอน และบัญญัติไว้

    ในที่สุดได้มีการตกลงกันว่า ควรจะทำสังคายนาที่กรุงราชคฤห์ เหลือเวลาอีกเดือนครึ่งจะเข้าพรรษา ที่ประชุมตกลงกันว่า จะทำสังคายนาในพรรษาตลอดเวลาสามเดือน พระมหากัสสปพาภิกษุหมู่หนึ่ง และพระอนุรุทธ์พาภิกษุอีกหมู่หนึ่ง มุ่งไปสู่กรุงราชคฤห์

    ส่วนพระอานนท์พุทธอนุชาได้ออกเดินทางไปสู่นครสาวัตถี ทุกแห่งที่ท่านผ่านไป มีแต่เสียงคร่ำครวญประดุจวันที่พระพุทธองค์ปรินิพพาน ทุกคนมีใบหน้าที่ชุ่มไปด้วยน้ำตา เมื่อเห็นพระอานนท์เข้า ต่างพูดสั้นๆว่า พระคุณเจ้า นำเอาพระศาสดาไปทิ้งเสีย ณ ที่ใดเล่าคำพูดเพียงสั้นๆแต่กินความลึกนี้ ทำให้จิตใจของพระอานนท์หวั่นไหว ตื้นตัน ความเศร้าของท่านซึ่งสงบระงับลงบ้างแล้ว กลับลุกกระพือขึ้นอีก ถึงกระนั้น ท่านก็พยายามระงับความเศร้าสลดด้วยการน้อมเอาพุทธโอวาทขึ้นมาประคับประคองใจ จากธรรมะที่กล่าวถึงไตรลักษณ์ คือ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา ท่านเดินทางมาโดยลำดับจนกระทั่งถึงนครสาวัตถีเข้าไปสู่เชตวนาราม มีพุทธบริษัทมาแวดล้อม แสดงอาการเศร้าโศกถึงพระศาสดาอีก

    พระอานนท์เข้าไปสู่พระคันธกุฏีที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเคยประทับ หมอบกราบลงที่พุทธอาสน์ เก็บกวาดเสนาสนะให้เรียบร้อย ตั้งน้ำดื่ม น้ำใช้ ไว้เหมือนอย่างที่เคยทำเมื่อพระศาสดาประทับอยู่ ประชาชนชาวสาวัตถีได้เห็นอาการดั่งนี้แล้ว ท่านหวนคิดถึงความหลังครั้งเมื่อพระพุทธองค์ยังมีพระชนม์อยู่ สุดที่จะหักห้ามความตื่นตันใจได้ ต้องหลั่งน้ำตาอีกครั้งหนึ่ง

    จวบจนจะเข้าพรรษา พระอานนท์จึงจาริกสู่เมืองราชคฤห์(บางแห่งเรียก เบญจคีรีนคร เพราะตัวเมืองมีภูเขาห้าลูกล้อมอยู่) เพื่อทำสังคายนา พระเจ้าอชาตศัตรูได้ทรงรับภาระอุปถัมภ์ทั้งเรื่องอาหาร และที่พักที่ประชุมอย่างเต็มที่

    เหลือเวลาอีกเพียงวันเดียวจะถึงวันประชุมสังคายนา แต่พระอานนท์ก็ยังมิได้สำเร็จอรหัตตผล คงเป็นเพียงโสดาบัน ภิกษุบางองค์ได้เตือนให้ท่านเร่งทำความเพียร เพราะมีระเบียบว่า ผู้เข้าประชุมทั้งหมดจะต้องเป็นพระขีนาสพ ตั้งแต่เดินทางมาถึงราชคฤห์ พระอานนท์ได้ทำความเพียรอย่างติดต่อกันเพื่อให้ได้บรรลุพระอรหันต์ แต่ก็หาสำเร็จตามประสงค์ไม่

    ในคืนสุดท้ายนั้นเอง ท่านได้เริ่มทำความเพียรตั้งแต่พระอาทิตย์ตกดิน ตั้งใจว่าจะให้ได้พระอรหันต์ในคืนนั้น ปฐมยามล่วงแล้วก็ยังไม่ได้ผล มัชฌิมยามก็เช่นกัน ทำให้ท่านหวนรำลึกถึงพระดำรัสของพระศาสดาที่ประทานไว้ก่อนปรินิพพานว่า อานนท์ เธอเป็นผู้มีบุญที่ได้บำเพ็ญสั่งสมมาแล้วมาก เธอจะได้บรรลุอรหัตตผลในไม่ช้า หลังจากตถาคตปรินิพพานแล้ว
    พระพุทธดำรัสนี้ดังก้องอยู่ในหู กระตุ้นเร้าใจให้ท่านทำความเพียรต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง จวนจะถึงครึ่งราตรีนั้นเอง ท่านคิดว่าจะพักผ่อนเสียหน่อยหนึ่ง แล้วจะลุกขึ้นทำความเพียรต่อไปตลอดคืน ท่านจึงทอดกายลง ขณะล้มตัวลงศีรษะยังไม่ทันถึงหมอน จิตของท่านก็หลุดพ้นจากอาสวะกิเลสทั้งมวล สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในขณะนั้น พร้อมปฏิสัมภิทา และอภิญญาสมาบัติ ท่านรู้สึกปิติปราโมทย์อย่างใหญ่หลวง ความรู้สึกเกิดขึ้นในใจว่า ความเกิดหมดสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำไม่มีอีกแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีกต่อไป ตัณหาความดิ้นรนร่านใจได้หมดสิ้นไปแล้ว ดับเพลิงกิเลส และเพลิงทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว คืนนั้นท่านเสวยวิมุตติสุขอยู่ตลอดราตรี

    ในที่สุดวันสังคายนาก็มาถึง เป็นวันสำคัญอย่างยิ่งวันหนึ่งของพระพุทธศาสนา ภิกษุล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ ประกอบด้วยอภิญญา และสมาบัติ ๕๐๐ รูป ประชุมเป็นมหาสันนิบาต ณ ถ้ำสัตตบรรณ เชิงภูเขาเวภาระ ในนครราชคฤห์ พระมหากัสสปเป็นผู้ซักถาม พระอุบาลีวิสัชนาพระวินัย และพระอานนท์วิสัชนาพระธรรมโดยตลอด สังคายนาครั้งนี้ทำอยู่ ๓ เดือนจึงเสร็จเรียบร้อย

    แหล่งข้อมูลภาพ: http://www.mm-news.com/album_popup.php?id=908
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2013
  4. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    พระอุบาลี
    เป็นบุตรช่างตัดผมประจำราชสำนัก เมื่อโตขึ้นได้รับหน้าที่กัลบกของกษัตริย์ศากยะวงศ์ ได้ออกบวชพร้อมศากยะวงศ์ทั้ง๖ ได้ทูลขออนุญาตไปปฏิบัติกรรมฐานตามลำพังในป่า พระพุทธองค์ขอให้อยู่ปฏิบัติในสำนักของพระองค์ท่านก่อน เพราะจะบำเพ็ญได้ทั้งวิปัสสนา และคันถธุระ ในไม่ช้าท่านก็สำเร็จมรรคผล ต่อนั้นมาพระพุทธองค์ทรงสอนพระวินัยปิฎกแก่ท่านด้วยพระองค์เองแบบตัวต่อตัว ภายหลังท่านได้ตัดสินอธิกรณ์อันพิเศษหลายเรื่อง เช่นเรื่องภิกษุณีที่ตั้งครรภ์พระกุมารกัสสป เป็นต้น เรื่องมีว่า ธิดาเศรษฐีในเมืองราชคฤห์นางหนึ่งมีความปรารถนาจะบวชมาตั้งแต่เด็ก ขออนุญาตมารดาบิดาเท่าไหร่ก็ไม่ได้ จนกระทั่งเป็นสาว แต่งงานไปอยู่กับสามี ตั้งครรภ์ขึ้นโดยนางเองหารู้ตัวไม่ นางได้อ้อนวอนสามีทุกวัน จนสามีรำคาญอนุญาตให้ออกบวชเป็นภิกษุณีได้ ครั้นต่อมา ครรภ์โตขึ้นจนเห็นชัด พวกภิกษุณีจึงไปฟ้องพระเทวทัต พระเทวทัตตัดสินว่า นางไม่สมควรเป็นภิกษุณี ให้สึกเสีย แต่นางไม่ยอม จนเกิดอธิกรณ์อื้อฉาวขึ้น พระบรมศาสดารับสั่งให้พระอุบาลีวินิจฉัยคดี พระอุบาลีได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณามีมหาอุบาสิกาวิสาขาเป็นผู้ใหญ่ สอบสวนหาความจริง ในที่สุดก็พบว่า นางมีครรภ์มาก่อนบรรพชา พระอุบาลีจึงตัดสินว่า ภิกษุณีรูปนี้เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ต่อมานางได้คลอดบุตรเป็นชาย พระเจ้าปเสนทิโกศลแห่งเมืองสาวัตถีทรงทราบ โปรดให้นำไปเลี้ยงไว้ในวัง ให้ชื่อว่า กุมารกัสสป ตามนิมิตที่เป็นโอรสบุญธรรม อันพระราชาทรงชุบเลี้ยงมาตั้งแต่คลอดใหม่ๆ ในกาลต่อมา พระกุมารกัสสปได้ออกบวช เป็นผู้ที่เอาใจใส่บำเพ็ญสมณธรรมอยู่ในป่าถึง ๑๒ ปี เพียรเจริญวิปัสสนาตามปัญหาพยากรณ์ของพระบรมศาสดา ก็ได้สำเร็จพระอรหันต์ ภิกษุณีผู้เป็นมารดาครั้งแรกที่ได้พบท่าน ๑๒ ปีหลังจากกันไป ก็ดีใจร้องไห้ตรงเข้าไปหาสวมกอดท่านด้วยความลืมตัวส่งเสียงร้องออกมาได้คำเดียวว่า “ลูกๆ” ท่านกุมารกัสสปเห็นดังนั้น จึงนึกในใจว่า “แม่เรานี้ ถ้าเราพูดดีด้วย ก็จะเสื่อมจากมรรคผล ควรจะพูดด้วยคำกระด้าง” จึงกล่าวว่า “ท่านบวชแล้วมัวทำอะไรอยู่ แม้แต่ความรักก็ยังตัดไม่ได้ เสียเวลาบวชเปล่าๆ” ภิกษุณีผู้มารดาได้ฟังก็เสียใจ ร้องไห้สะอึกสะอื้น และนึกอยู่ในใจว่า “เพราะลูกที่เรารักนี้เองจากไป ๑๒ ปี เราจึงกลั้นน้ำตาไม่ได้ แต่ลูกก็ช่างมีน้ำใจแข็งกร้าวต่อเรา พอกันทีเราตัดได้แล้ว จะไม่ขอเกี่ยวข้องกับลูกอีกต่อไป” นางได้ตัดความเสน่หาในบุตรได้ ตั้งใจบำเพ็ญสมณธรรมอย่างเอาจริงทุกลมหายใจเข้าออก ก็ได้สำเร็จพระอรหันต์ในวันนั้นนั่นเอง
    <O:p</O:p
    พระบรมศาสดาทรงยกย่องพระกุมารกัสสปว่าเป็นเลิศในการกล่าวธรรมอันวิจิตร ประกอบด้วยอุปมา และเหตุผล ฉลาดในอุบายพลิกแพลงทำให้ผู้ฟังเข้าใจง่าย และได้สำเร็จมรรคผลในที่สุด
    <O:p</O:p
    เมื่อพระพุทธองค์ปรินิพพานแล้ว พระอุบาลีได้รับหน้าที่เป็นผู้วิสัชนาพระวินัยปิฎกในครั้งปฐมสังคายนาที่เมืองราชคฤห์
    [​IMG]

    แหล่งข้อมูลภาพ: http://www.googig.com/diary.php?action=view&car=187285-20090916
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2013
  5. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    พระเทวทัต
    พระบรมศาสดาได้ทรงมีอุปการะคุณแก่พระเทวทัตมากมาย คือ ได้ทรงบรรพชาให้พร้อมกับพวกศากยะวงศ์อีก ๕ องค์ด้วยกัน มีพระอานนท์ พระอนุรุทธะ เป็นต้น ได้ทรงให้การศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย อบรมสั่งสอนจนแตกฉานจนสามารถทำให้ฌานสมาบัติเกิดขึ้นได้ พระเทวทัตเป็นพระโอรสของพระเจ้าสุปปพุทธะ และเป็นเชษฐาพระนางพิมพายโสธรา ต่อมาได้ชักชวนดึงเอาอชาตศัตรูกุมารเข้ามาเป็นศิษย์ จึงบริบูรณ์ด้วยลาภสักการะทั้งมวลทำให้เกิดความโลภะเจตนาใคร่จะได้เป็นใหญ่ ทำการบริหารปกครองคณะสงฆ์เสียเอง ได้เข้าไปกราบทูลขอต่อพระพุทธองค์ แต่ไม่ทรงอนุญาตจึงคบคิดกับโกกาลิกภิกษุ ทูลขอวัตถุ ๕ ประการ เพื่อจะหาเรื่องกล่าวโทษพระพุทธองค์ เช่นว่า ขออย่าให้ภิกษุฉันเนื้อ ฉันปลา จนตลอดชีวิต เป็นต้น เมื่อไม่ได้รับอนุยาตจึงพากันเที่ยวโฆษณาว่า พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมไม่จริงตามที่แสดงไว้ เพราะสอนไม่ให้ทำปาณาติบาตฆ่าสัตว์ตัดชีวิตผู้อื่น แต่ทรงอนุญาตให้ภิกษุฉันเนื้อฉันปลาได้ดังนี้ จัดว่าเป็นการไม่สมควรแก่คำสั่งสอน พระภิกษุบวชใหม่ ๕๐๐ รูปเห็นดีเห็นชอบตามคำชักชวนให้ไปอยู่ร่วมกับพระเทวทัต แยกหมู่แยกคณะออกไปต่างหาก ตั้งเป็นคณะสงฆ์ใหม่ด้วยความสนับสนุนของอชาตศัตรู พระเทวทัตได้พาพระภิกษุเหล่านี้มาอยู่ที่ภูเขาคยาสีสะ เมืองคยา หรือที่เรารู้จักกันดีในนามของแม่น้ำเนรัญชรา ต่อแต่นั้นมา ก็ได้แต่แนะนำพร่ำสอนพวกบริวารของตนให้ประพฤติแต่ทางผิดธรรมวินัย ส่วนตนเองก็คิดแต่จะเป็นพระพุทธเจ้า จนถึงกับพยายามทำลายพระชนม์ชีพพระบรมศาสดา ด้วยอุบายต่างๆ แต่ก็ไม่สำเร็จ ต่อมาพระโมคคัลลานะ พระสารีบุตร ได้มาพาภิกษุบวชใหม่ ๕๐๐ รูปนี้กลับคืนหมด ในขณะที่พระเทวทัตกำลังนอนหลับสบายอยู่ พอตื่นขึ้นถามว่าพระไปไหนหมด พระโกกาลิกก็ว่า ท่านมัวเอาแต่นอน บัดนี้พระโมคคัลลานะ พระสารีบุตร พาพระพวกนั้นกลับไปหมดแล้ว เลยเกิดทะเลาะกันขึ้น พระโกกาลิกบันดาลโทสะจึงเอาเข่ากระทุ้งที่หน้าอกพระเทวทัตจนกระอักเลือด ได้รับทุกขเวทนาแสนสาหัสจึงระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าว่า ตัวเราคิดแต่สิ่งที่ไม่มีประโยชน์แก่พระสมณโคดม ส่วนท่านหาได้มีจิตคิดร้ายต่อเราไม่ พวกศากยราชก็ทิดทิ้งเราไปหมด ควรเราจะไปขอขมาโทษต่อพระสมณโคดม แล้วก็ให้บริวารหามตนไปด้วยเปล เดินทางคืนหนึ่งจากภูเขาคยาสีสะก็ถึงแคว้นโกศล เมื่อพระอานนท์เถระทราบข่าวว่าพระเทวทัตจะมาถวายนมัสการพระบรมศาสดา ก็เข้าไปกราบทูลให้ทรงทราบ พระพุทธองค์ตรัสว่า เทวทัตไม่มีโอกาสได้เห็นเราตถาคตเสียแล้ว พอพระเทวทัตมาถึงประตูเมืองสาวัตถี พระอานนท์ก็เข้าไปกราบทูลอีก พระองค์ก็ยังคงตรัสอยู่อย่างเดิมว่า เทวทัตไม่มีโอกาสเห็นเราเสียแล้ว เมื่อพระเทวทัตมาถึงสระโบกขรณี ซึ่งอยู่ที่บริเวณหน้าประตูพระเชตวันมหาวิหาร บาปที่พระเทวทัตทำไว้ก็ให้ผลถึงที่สุดขึ้นในที่นั้น คือ เกิดเร่าร้อนขึ้นทั้งตัว จึงบอกแก่ลูกศิษย์ว่า อยากจะอาบน้ำ และดื่มน้ำ จงวางเตียงลงเถิด พอลูกศิษย์วางเตียงลง พระเทวทัตก็ลุกขึ้นนั่ง หย่อนเท้าทั้งสองลงจรดแผ่นดิน แผ่นดินก็แยกออกเป็นช่องสูบตัวพระเทวทัตลงไปจนกระทั่งถึงคอ พระเทวทัตระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า จึงกล่าวขอขมาโทษ และขอยึดพระพุทธองค์ว่าเป็นสรณะที่พึ่งอันประเสริฐต่อไป กล่าวแล้วก็ถูกแผ่นดินสูบจมหายลงไปสู่อเวจีมหานรก
    [​IMG]

    แหล่งข้อมูลภาพ: http://www.84000.org/tipitaka/picture/f57.html
    http://www.kamoman.com/board/index.php?topic=8435.20
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2013
  6. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    พรรษที่ ๕ เสด็จจำพรรษา ณ กุฏาคารศาลาในป่ามหาวันใกล้กรุงเวสาลี
    เมืองเวสาลีเกิดทุพภิกขภัย อหิวาห์ระบาด ผู้คนตายเกลื่อนกลาด พระพุทธองค์เสด็จพระราชดำเนินไปเมืองเวสาลีตามคำทูลเชิญ พอเสด็จถึงฝั่งแม่น้ำฟากหนึ่ง ทรงประทับรออยู่ ได้โปรดให้พระอานนท์ข้ามเรือเข้าไปในเมือง สวดมนต์บทรัตนสูตร เกิดฝนตกหนัก และด้วยอำนาจพุทธานุภาพ ฝนได้ชะล้างเอาสิ่งโสโครกจากในเมืองลงแม่น้ำจนหมดสิ้น โรคภัยก็สงบลง จึงเสด็จไปประทับจำพรรษาที่กุฎาคารศาลาในป่ามหาวัน

    (เมืองเวสาลี ครั้งพุทธกาลเป็นเมืองหลวงของแคว้นวัชชี ตั้งอยู่ทางเหนือของมคธ มีแม่น้ำคงคาเป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างแคว้นทั้ง ๒ ปัจจุบันแคว้นวัชชีได้แก่รัฐพิหารตอนเหนือ(North Bihar) ที่นี้เคยเป็นดินแดนที่รุ่งเรืองมากแห่งหนึ่งสมัยพุทธกาลมีการปกครองแบบสามัคคีธรรม คือไม่มีกษัตริย์ที่มีอำนาจเด็ดขาดเป็นประมุข มีแต่ผู้ที่ได้รับคัดเลือกเข้ามาเป็นประมุขของรัฐ แล้วบริหารงานร่วมกับสภาผู้แทน ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกแห่งเจ้านายวงศ์ต่างๆ ซึ่งรวมกันเข้าเป็นคณะผู้ปกครองแคว้น มีกษัตริย์วงศ์ต่างๆ รวมกันถึง ๘ ตระกูล และในจำนวนนั้นวงศ์กษัตริย์ลิจฉวีแห่งเวสาลี และวงศ์วิเทหะแห่งเมืองมิถิลา เป็นวงศ์ที่มีอิทธิพลมากที่สุด)

    (เมืองมิถิลา ปัจจุบันได้แก่เมืองชนกปูร์ เป็นเมืองเล็กๆอยู่ในเขตประเทศเนปาล)

    ได้ข่าวมาว่า พระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดาประชวรหนัก พระพุทธองค์พร้อมด้วยพระนันทะ พระอานนท์ พระราหุล และสงฆ์สาวกอีกเป็นอันมากได้เสด็จไปเยี่ยมอาการประชวรของพุทธบิดาที่กรุงกบิลพัสดุ์ ได้ทรงเทศนาโปรดให้บรรลุพระอรหันต์ แล้วพระเจ้าสุทโธทนะก็ปรินิพพาน ได้ทรงจัดการถวายเพลิงพระศพแล้ว จึงเสด็จกลับเมืองเวสาลี

    ขณะนั้นพอดีพวกศากยะ กับโกลิยะกำลังจะประหัตประหารกัน เพราะแย่งน้ำทำนาจากแม่น้ำโรหินี เหตุเกิดที่ต่อดินแดนระหว่างกษัตริย์ชาวศากยะ พระญาติฝ่ายพระบิดาในกรุงกบิลพัสดุ์ กับกษัตริย์ชาวโกลิยะ พระญาติฝ่ายพระมารดาในเทวทหะนคร ทะเลาะกันเพราะเหตุฝนแล้ง แย่งน้ำในแม่น้ำโรหินี เพื่อทดสูบเข้านาของแต่ละฝ่าย

    "คุณพวกสุนัขจิ้งจอกสมสู่กันเอง" ฝ่ายที่ถูกด่าว่าอย่างนี้ เพราะต้นสกุลหลายชั่วคนมาแล้วได้อภิเษกสมรสกันเองระหว่างพี่ชายกับน้องสาว

    "คุณพวกขี้เรื้อน" ฝ่ายตรงกันข้ามที่ถูกด่าตอบอย่างนี้ ก็เพราะต้นสกุลเป็นโรคเรื้อนถูกเนรเทศออกนอกเมืองไปอยู่ป่า

    ทั้งสองฝ่ายเตรียมกำลังคนคือทหารและอาวุธจะเข้าห้ำหั่นกัน พระพุทธเจ้าทรงทราบเข้า จึงเสด็จมาทรงระงับสงคราม ทรงปราศรัยทรงซักถามถึงต้นตอของตัวปัญหาด้วยพุทธปฏิภาณเป็นเชิงถามว่า

    <O:p</O:p
    [​IMG]
    พระพุทธเจ้า "ท่านทั้งหลายทะเลาะกันเรื่องอะไร"
    พระญาติ "เรื่องน้ำ พระพุทธเจ้าข้า"
    พระพุทธเจ้า "ระหว่างน้ำกับชีวิตคนนี่อย่างไหนจะมีค่ามากกว่ากัน"
    พระญาติ "ชีวิตคนมากกว่า พระพุทธเจ้าข้า"
    พระพุทธเจ้า "ควรแล้วหรือที่ทำอย่างนี้"
    พระญาติดุษณีภาพทุกคน ไม่มีใครกราบทูลเลย แล้วทั้ง ๒ ฝ่ายก็เลิกราพากันกลับไป
    พระพุทธเจ้า "ถ้าเราตถาคตไม่มาที่นี่วันนี้ ทะเลเลือดจะไหลนอง"
    (โลหิตนที ปวัตติสสติ)
    <O:p</O:p

    เมื่อพระเจ้าสุทโธทนะปรินิพพานแล้ว พระนางมหาปชาบดีโคตมี พระมเหสี และเป็นพระเจ้าน้าของพระบรมศาสดาตัดสินใจสละชีวิตทางโลกจะออกบวชพร้อมด้วยข้าราชบริพารหญิงในเมืองกบิลพัสดุ์อีกจำนวนมาก พระนางเคยทูลอ้อนวอนขออนุญาตบวชเป็นภิกษุณีตั้งแต่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม กรุงกบิลพัสดุ์ แต่พระพุทธองค์ไม่ทรงอนุญาต จนกระทั่งเสด็จกลับไปกรุงเวสาลี พระนางโคตมีจึงพร้อมด้วยข้าราชบริพารปลงผมนุ่งห่มผ้าสีฝาดเสด็จตามไปสู่ที่ประทับของพระศาสดาที่นครเวสาลี ทูลขอบรรพชาอีก พระพุทธองค์ก็ไม่ทรงอนุญาตตามเคย พระนางเสียพระทัยไปยืนกรรแสงอยู่ที่ประตูทางเข้าวัดป่ามหาวัน พระอานนท์มีใจสงสารพระนางอย่างล้นพ้น จึงเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ทูลอ้อนวอน เพื่อประทานอุปสมบทแก่พระนางโคตมี โดยทูลว่า “พระนางโคตมีเป็นพระเจ้าน้านางของพระองค์ บัดนี้ปลงผม นุ่งห่มผ้ากาสายะ มีพระวรกายขะมุกขะมอม เพราะเสด็จดำเนินมาด้วยพระบาทเปล่าจากนครกบิลพัสดุ์ พระวรกายก็แปดเปื้อนไปด้วยฝุ่นละออง แต่ก็หาคำนึงถึงความลำบากเหล่านี้ไม่ ขอแต่ให้ได้บวชอย่างเดียว พระนางก็เคยเป็นผู้มีอุปการะเลี้ยงดูพระองค์มาด้วยน้ำนมของพระนางแทนพระมารดา ฉะนั้นขอพระองค์ได้ทรงอนุเคราะห์พระนางเถิด”
    <O:p</O:p
    พระพุทธองค์ทรงประทับนิ่งอยู่ครู่หนึ่งแล้วตรัสว่า “เรื่องที่พระนางมีอุปการคุณมากต่อเรานั้น เราสำนึกอยู่ แต่จะเอาเรื่องส่วนตัวมาปะปนกับเรื่องความเสื่อม ความเจริญของส่วนรวมก็ต้องคิดดูให้ดีก่อน จริงอยู่ สตรีถ้าได้เข้ามาบวชในธรรมวินัยนี้ อาจบรรลุคุณวิเศษมีโสดาปัตติผล เป็นต้น เช่นเดียวกับภิกษุทั้งหลายได้” ในที่สุดทรงประกาศครุธรรม ๘ ประการ ที่ภิกษุณีจะต้องเคารพนับถือตลอดชีวิต จะล่วงละเมิดไม่ได้ พระอานนท์นำความไปทูลพระนางโคตมีด้วยความโสมนัสยินดี ในที่สุดพระนางก็ได้เป็นภิกษุณีองค์แรกของพระพุทธศาสนา ต่อมาภายหลังได้ฟังพระธรรมเทศนา นันทโกวาทสูตร ก็ได้สำเร็จอรหัตตผล
    [​IMG]


    ครุธรรม ๘ ประการ
    [๕๑๖] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรอานนท์ ถ้าพระนางมหาปชาบดีโคตมี ยอมรับครุธรรม ๘ ประการ ข้อนั้นแหละ จงเป็นอุปสัมปทาของพระนาง คือ:-
    ๑. ภิกษุณีอุปสมบทแล้ว ๑๐๐ ปี ต้องกราบไหว้ ลุกรับ ทำอัญชลีกรรม สามีจิกรรม แก่ภิกษุที่อุปสมบทในวันนั้น ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพนับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
    ๒. ภิกษุณีไม่พึงอยู่จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
    ๓. ภิกษุณีต้องหวังธรรม ๒ ประการ คือ ถามวันอุโบสถ ๑ เข้าไปฟังคำสั่งสอน ๑ จากภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพนับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
    ๔. ภิกษุณีอยู่จำพรรษาแล้ว ต้องปวารณาในสงฆ์สองฝ่าย โดยสถานทั้ง ๓ คือ โดยได้เห็น โดยได้ยิน หรือโดยรังเกียจ ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
    ๕. ภิกษุณีต้องธรรมที่หนักแล้ว ต้องประพฤติปักขมานัตในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
    ๖. ภิกษุณีต้องแสวงหาอุปสัมปทาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย เพื่อสิกขมานาผู้มีสิกขาอันศึกษาแล้วในธรรม ๖ ประการครบ ๒ ปีแล้ว ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
    ๗. ภิกษุณีไม่พึงด่า บริภาษภิกษุ โดยปริยายอย่างใดอย่างหนึ่ง ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
    ๘. ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ปิดทางไม่ให้ภิกษุณีทั้งหลายสอนภิกษุ เปิดทางให้ภิกษุทั้งหลายสอนภิกษุณี ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต

    ดูกรอานนท์ ก็ถ้าพระนางมหาปชาบดีโคตมี ยอมรับครุธรรม ๘ ประการนี้ข้อนั้นแหละจงเป็นอุปสัมปทาของพระนาง ฯ

    [๕๑๗] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เรียนครุธรรม ๘ ประการ ในสำนักพระผู้มีพระภาค แล้วเข้าไปหาพระนางมหาปชาบดีโคตมี ชี้แจงว่า พระนางโคตมีถ้าพระนางยอมรับครุธรรม ๘ ประการ ข้อนั้นแหละจักเป็นอุปสัมปทาของพระนาง คือ:-
    ๑. ภิกษุณีอุปสมบทแล้ว ๑๐๐ ปี ต้องกราบไหว้ ลุกรับ ทำอัญชลีกรรม สามีจิกรรม แก่ภิกษุที่อุปสมบทในวันนั้น ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
    ๒. ภิกษุณีไม่พึงอยู่จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ ธรรมแม้นี้ ภิกษุณี ต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
    ๓. ภิกษุณีต้องหวังธรรม ๒ ประการ คือ ถามวันอุโบสถ ๑ เข้าไปฟังคำสั่งสอน ๑ จากภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
    ๔. ภิกษุณีอยู่จำพรรษาแล้ว ต้องปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย โดยสถานทั้ง ๓ คือ โดยได้เห็น โดยได้ยิน หรือโดยรังเกียจ ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
    ๕. ภิกษุณีต้องธรรมที่หนักแล้ว ต้องประพฤติปักขมานัตในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
    ๖. ภิกษุณีต้องแสวงหาอุปสัมปทาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย เพื่อสิกขมานาผู้มีสิกขา อันศึกษาแล้วในธรรม ๖ ประการ ครบ ๒ ปีแล้ว ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต ฯ
    ๗. ภิกษุณีไม่พึงด่า บริภาษ ภิกษุโดยปริยายอย่างใดอย่างหนึ่ง ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต ฯ
    ๘. ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ปิดทางไม่ให้ภิกษุณีทั้งหลายสอนภิกษุ เปิดทางให้ภิกษุทั้งหลายสอนภิกษุณี ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
    พระนางโคตมี ถ้าพระนางยอมรับครุธรรม ๘ ประการนี้ ข้อนั้นแหละจักเป็นอุปสัมปทาของพระนาง

    พระนางมหาปชาบดีโคตมีกล่าวว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ดิฉันยอมรับครุธรรม ๘ ประการนี้ ไม่ละเมิดตลอดชีวิต เปรียบเหมือนหญิงสาว หรือชายหนุ่มที่ชอบแต่งกาย อาบน้ำสระเกล้าแล้ว ได้พวงอุบล พวงมะลิ หรือพวงลำดวนแล้วพึงประคองรับด้วยมือทั้งสอง ตั้งไว้เหนือเศียรเกล้าฉะนั้น ฯ
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ บรรทัดที่ ๖๑๙๕ - ๖๒๕๒. หน้าที่ ๒๕๖ - ๒๕๘

    ต่อมาเมื่อพระพุทธองค์ประทับอยู่ในเมืองสาวัตถี พระนางพิมพายโสธราทรงดำริว่า พระสวามีก็ได้เสด็จออกบรรพชาเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว พระราหุลพระโอรสก็ได้อุปสมบทอยู่ในสำนักของพระองค์ด้วย จะมีประโยชน์อันใดที่พระนางจะอยู่โดดเดี่ยวต่อไป จึงเสด็จไปทูลขอบรรพชาอุปสมบทอยู่ในสำนักนางภิกษุณีทั้งหลายในนครสาวัตถีด้วย พระนางได้เจริญพระวิปัสสนากรรมฐานด้วยความพากเพียร ในที่สุดก็บรรลุอรหัตตผลพร้อมด้วยจตุปฏิสัมภิทาญาณ


    แหล่งข้อมูลภาพ:
    http://www.sookjai.com/index.php?topic=3330.60
    http://trang82.wordpress.com/tag/%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1-8-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2013
  7. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    พรรษาที่ ๖ เสด็จประทับ ณ ภูเขามังกุล หรือมกุฏบรรพต แขวงเมืองเวสาลี<O:p</O:p
    ยมกปาฏิหาริย์ – ออกพรรษาแล้วเสด็จดำเนินพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์กลับสู่กรุงราชคฤห์อีกครั้งหนึ่ง ขณะนั้นมหาชนในเมืองได้วิพากษ์วิจารณ์กันไปต่างๆนานาว่า ท่านผู้นั้นเป็นพระอรหันต์ ท่านผู้นี้ไม่ใช่พระอรหันต์ ไม่รู้ว่าคนไหนเป็นกันแน่ และไม่รู้จะรับนับถือผู้ทรงคุณผู้ใด เศรษฐีผู้หนึ่งใคร่จะทดสอบ เผอิญไปได้ไม้จันทน์แดงที่มีราคาแพงมากมา จึงสั่งให้ช่างไม้กลึงเป็นรูปบาตร ผูกติดปลายไม้ไผ่ยกสูงขึ้นถึง ๑๕ วาเศษ แล้วประกาศว่า ผู้ใดเป็นพระอรหันต์ ขอให้เหาะมาในอากาศ แล้วถือเอาบาตรไม้จันทน์แดงนี้ไปตามปรารถนาเถิด ถ้าภายใน ๗ วันไม่มีผู้ใดที่ทรงคุณเป็นพระอรหันต์เหาะมาถือเอาบาตรนี้แล้ว เป็นอันเชื่อได้ว่า ในโลกนี้ไม่มีพระอรหันต์ดังที่มหาชนกล่าวขานเล่าลือกัน ย่างเข้าวันที่ ๗ ก็ยังไม่ปรากฎว่า มีผู้ใดเหาะมาถือเอาบาตรตามประกาศไป เช้าวันนั้น พระโมคคัลลานะ กับพระปิณโฑลภารทวาชเถระ เดินบิณฑบาตผ่านมาได้ยินมหาชนโจษขานกันอยู่ ก็เข้าใจชัดในเจตนาของคนเหล่านั้น และเห็นว่าพระศาสดากำลังถูกดูหมิ่น เป็นการเสื่อมเสียไปถึงพระเกียรติพระบรมศาสดาด้วย พระปิณโฑลภารทวาชเถระจึงเข้าสู่จตุตถฌานอันเป็นที่ตั้งแห่งอภิญญา ทำอิทธิปาฏิหาริย์เหาะขึ้นไปในอากาศ ลอยอยู่เหนือบาตร และเวียนวนไปรอบๆกรุงราชคฤห์ เศรษฐีเจ้าของบาตรไม้จันทน์ และประชาชนเห็นเช่นนั้นต่างก็เกิดปิติเลื่อมใสหมอบกราบลงกับพื้น อาราธนาพระเถระเจ้าให้ลงมาเถิด แล้วนำบาตรนั้นลงมาบรรจุภัตตาหารอันประณีต น้อมถวายด้วยคารวะอันสูง ฝ่ายชนบางเหล่าที่ไม่ได้เห็นการเหาะปาฏิหาริย์ครั้งนั้นต่างก็ติดตามพระเถระไปยังเวฬุวันมหาวิหาร เพื่อขอให้แสดงให้ชมอีก ความทราบถึงพระพุทธองค์ จึงทรงตำนิว่าเป็นการไม่สมควร แล้วให้ทำลายบาตรไม้จันทน์นั้นเสีย และทรงบัญญัติห้ามสาวกทำปาฏิหาริย์สืบต่อไป
    <O:p</O:p
    ฝ่ายอาจารย์เดียรถีย์ทั้ง ๖ คือ ปุรณะกัสสป มักชลีโคศาล เป็นต้น มีความอิจฉาริษยาชื่อเสียง และลาภสักการะของพระบรมศาสดาเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงให้เที่ยวประกาศว่า “เราจะทำอิทธิปาฏิหาริย์แข่งฤทธิ์กับพระสมณโคดม” พระพุทธองค์ทรงทราบคำท้าทายนี้ จึงตัดสินพระทัยจะทำปาฏิหาริย์ที่ร่มไม้ต้นมะม่วงแห่งหนึ่งใกล้ๆกับพระเชตวันมหาวิหารในเมืองสาวัตถีนับแต่นั้นต่อไปอีก ๔ เดือน เพราะเป็นสถานที่ที่เคยกระทำยมกปาฏิหาริย์แห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายมาแต่ปางก่อน(ปัจจุบันเราจะเห็นสถานที่นี้ได้ อยู่ห่างจากวัดเชตุวัน ประมาณ ๑๕ ก.ม.เป็นเนินดินสูง ปรากฎเป็นหลักฐานอยู่) พวกเดียรถีย์จึงประกาศแจ้งให้มหาชนทราบ และเตรียมพร้อมที่จะติดตามไปทำปาฏิหาริย์แข่งกับพระผู้มีพระภาคเจ้า<O:p</O:p

    เกือบ ๔ เดือนผ่านไปใกล้ถึงเวลาแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ พระพุทธองค์ได้เสด็จสู่เมืองสาวัตถี พวกเดียรถีย์ได้จ้างให้คนทำลายต้นมะม่วงในบริเวณที่ทรงกำหนดจะแสดงปาฏิหาริย์เสียหมดสิ้น เช้าวันที่จะทรงแสดง พระพุทธองค์เสด็จออกบิณฑบาต นายคันธะคนเฝ้าอุทธยานหลวงได้เห็นมะม่วงผลใหญ่สุกงอมอยู่บนต้น จึงเก็บโดยตั้งใจจะนำไปถวายพระเจ้าปเสนทิโกศลราชาผู้ปกครองนครสาวัตถี ระหว่างทางได้พบพระบรมศาสดาเสด็จบิณฑบาตอยู่ จึงคิดในใจว่า ผลมะม่วงนี้หากพระราชาได้เสวย ก็คงจะพระราชทานรางวัลเป็นเงินแก่เราบ้างเท่านั้น ไม่ช้าไม่นานเราก็คงใช้หมด หากว่าเราถวายแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ก็จะนำมาซึ่งมหาผลสิ้นกาลนาน คิดดังนั้นแล้ว จึงน้อมนำเอามะม่วงนั้นใส่บาตร พระอานนท์ได้จัดคั้นทำเป็นอัมพบานถวาย ทรงเสวยแล้วรับสั่งให้นายอุทธยานนำเมล็ดไปปลูกลงที่พื้นดินตรงนั้น ทรงอธิษฐานล้างพระหัตถ์รดลงไปที่เมล็ดมะม่วง ด้วยพุทธานุภาพ เมล็ดมะม่วงก็เริ่มแตกงอกออกในทันใดนั้นเอง แล้วเริ่มเกิดเป็นลำต้นแตกกิ่งก้านสาขาสูงใหญ่ พร้อมกับตกช่อออกดอกออกผล ทั้งอ่อนทั้งแก่สุกงอม หล่นตกลงมาบนพื้นดินเกลื่อนไปหมด ชาวบ้านเดินผ่านมาเก็บบริโภค มีรสหวานสนิท ข่าวอัศจรรย์นี้ก็แพร่ไปทั่วกรุงสาวัตถี พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงโปรดให้ทหารยามรักษาต้นมะม่วงตลอดจนบริเวณทั้งหมด เพื่อป้องกันมิให้ใครแอบเข้าไปทำลาย
    <O:p</O:p
    เวลาบ่ายวันนั้นเป็นวันเพ็ญเดือน ๘ พระบรมศาสดาจึงเสด็จมาทำยมกปาฏิหาริย์ทรงเข้าจตุตถฌานอันเป็นที่ตั้งแห่งอภิญญา ทรงทำปาฏิหาริย์เหาะขึ้นไปในอากาศเสด็จดำเนินไปมา ณ พื้นรัตนจงกรม ด้วยปฐวีกสิณบริกรรม แล้วทรงนิมิตพุทธนิรมิตเหมือนพระองค์เองขึ้นอีกองค์หนึ่ง แสดงอิริยาบทให้ปรากฎสลับกับพระองค์ คือพระองค์ประทับยืน พระพุทธนิรมิตจะประทับนั่ง เมื่อพระองค์ประทับนั่ง พระพุทธนิรมิตจะประทับยืน ทุกๆอิริยาบทสลับกัน ในที่สุดก็ทรงเข้าสู่อาโปกสิณสมาบัติ ออกจากอาโปกสิญสมาบัติแล้วก็เข้าสู่เตโชกสิณสมาบัติ ทรงทำปาฏิหาริย์ให้เกิดท่อน้ำร้อน ท่อไฟ พวยพุ่งออกเป็นคู่ๆรอบพระวรกาย เป็นสายๆไม่ปะปนกัน มีแสงโอภาสสว่างงามจับท้องฟ้าเป็นอัศจรรย์ยิ่งนัก พระบรมศาสดาทรงทำปาฏิหาริย์แล้วก็ทรงแสดงธรรมโปรดพุทธบริษัทที่สันนิบาตประชุมกันอยู่ในที่นั้นให้ได้บรรลุมรรคผล และนิพพาน
    <O:p</O:p
    [​IMG]

    คณาจารย์เดียรถีย์ทั้ง ๖ ได้เห็นมหัศจรรย์เช่นนั้นจึงแอบหลบหนีหายหน้าไป ไม่กล้าออกมาแสดงด้วยเลย ด้วยเหตุนี้ อาณาบริเวณพระเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี จึงเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดแห่งหนึ่งในพระพุทธศาสนา
    <O:p</O:p
    [​IMG]

    แหล่งข้อมูลภาพ:
    http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=travelaround&date=14-05-2009&group=37&gblog=33
    http://www.sookjai.com/index.php?topic=37898.0
    <O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2013
  8. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    พรรษาที่ ๗ เสด็จดาวดึงส์โปรดพุทธมารดา
    พอแสดงยมกปาฏิหาริย์ที่กรุงสาวัตถีแล้ว พระพุทธองค์เสด็จสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (ดาวดึงส์ เป็นสวรรค์ชั้นที่ ๒ ในเทวโลก บางทีเรียกว่าตรัยตรึงศ์ แปลว่า สวรรค์แห่งเทพเจ้า ๓๓ พระองค์) ได้ประทับบนพระแท่นบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ของท้าวสักกเทวราช ใต้ควงต้นปาริฉัตตกะ เมื่อพระพุทธมารดาเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดุสิต(พระนางสิริมหามายา ซึ่งเมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว เสด็จบังเกิดเป็นเทพบุตรที่สวรรค์ชั้นดุสิต) มาประทับอยู่เบื้องขวาของพระพุทธองค์แล้ว ทรงแสดงพระอภิธรรมให้สดับ ๗ คัมภีร์ คือ ธัมมสังคณี วิภังค์ ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมก และปัฏฐาน ทรงแสดงอภิธรรมนี้โปรดพระพุทธมารดา และท้าวสักกะเทวราช พร้อมทั้งเทพยดาทั้งหลายในจักรวาล ซึ่งได้มาประชุมกันฟังธรรมตลอด ๓ เดือน ทั้งนี้เนื่องจากมีกฎตายตัวอยู่ประการหนึ่งว่า พระพุทธเจ้าทุกพระองค์เมื่อได้ทรงแสดงพุทธานุภาพยมกปาฏิหาริย์ครั้งยิ่งใหญ่แล้ว ก็จะเสด็จขึ้นสวรรค์ชั้นตรัยตรึงศ์ และประทับจำพรรษาที่นั่น
    [​IMG]

    ในเวลาบิณฑบาต พระพุทธองค์ทรงเนรมิตให้เห็นเป็นพระพุทธเจ้าอีกองค์หนึ่ง แสดงธรรมรออยู่จนกว่าพระองค์จะกลับมา ได้เสด็จลงไปบิณฑบาตที่อุตตรกุรุทวีป ได้เสด็จไปบอกเล่าให้ท่านพระสารีบุตรเถระฟังว่า เวลานี้พระองค์แสดงอภิธรรมคัมภีร์นี้ให้พระมารดาฟังอยู่ พระพุทธมารดาได้ฟังพระอภิธรรมตลอดไตรมาสแล้วบรรลุโสดาปัตติผล

    เมื่อถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ วันออกพรรษาแล้ว ซึ่งเป็นวันมหาปวารณา ในมัชฌิมยามพระพุทธองค์ได้เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เสด็จลงทางบันไดทิพย์แฝด ๓ อันจากเทวโลกสู่มนุษยโลกที่ใกล้เมืองสังกัสสนคร คือบันไดทองอยู่เบื้องขวา บันไดเงินอยู่เบื้องซ้าย บันไดแก้วอยู่ท่ามกลาง (บันไดแก้วเป็นที่เสด็จของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บันไดทองสำหรับพระพรหม บันไดเงินสำหรับพระอินทร์ และหมู่เทพยดาทั้งหลายตามส่งเสด็จ)*** พระพุทธองค์ทอดพระเนตรไปในทิศต่างๆทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง ทำให้แลดูโล่งตลอดหมด ไม่มีสิ่งใดจะปิดบัง ทรงบันดาลให้สรรพสัตว์มองเห็นซึ่งกัน และกัน คือ เทวดาในสวรรค์จะมองเห็นมนุษย์ และเห็นถึงยมโลก เห็นนรก มนุษย์ก็จะเห็นเทวดาในสวรรค์ เห็นสัตว์นรก แม้สัตว์นรกก็จะเห็นมนุษย์ตลอดเทวดาในสวรรค์ เรียกว่าได้ทรงทำปาฏิหาริย์เปิดโลกพร้อมกับเปล่งฉัพพัณณรังษี ๖ ประการ เป็นที่มหัศจรรย์ยิ่งนัก พระพุทธองค์เสด็จลงบริเวณใกล้ประตูพระนครสังกัสสะ ณ สถานที่ที่พระพุทธองค์เหยียบพระพุทธบาทลงก้าวแรกเรียกว่า อจลเจดีย์

    ชาวพุทธเรียกวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ว่า “วันเทโวโรหณะ” และถือเป็นประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะมาถึงปัจจุบัน

    [​IMG]
    *** ในเรื่องของบันไดเงินทองแก้วนี้ คณะทำงานได้นำบันทึกหลายแห่งเปรียบเทียบกัน พบว่า มีความคลาดเคลื่อนในส่วนของบันไดเงิน และทอง ว่าสำหรับของพระอินทร์ หรือพระพรหม ดังเช่น บันทึกนี้ได้นำไปสร้างเป็นบทภาพยนตร์ของ... เสด็จดาวดึงส์เทวโลก
    ระบุว่า บันไดทองด้านขวาสำหรับพระอินทร์ และเหล่าเทพยดา ส่วนบันไดเงินด้านซ้ายสำหรับพระพรหม

    [​IMG]
    เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบจากสมุดภาพพระพุทธประวัติ ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดยครูเหม เวชกร แล้ว จะเห็นว่า บันไดทองด้านขวาสำหรับพระอินทร์ และเหล่าเทพยดา ส่วนบันไดเงินด้านซ้ายสำหรับพระพรหมน่าจะถูกต้อง!!!

    คณะทำงานบรรพชนทวา จึงขอให้ท่านผู้สนใจได้พิจารณาค้นคว้าข้อเท็จจริงกันต่อไป

    คณะบุคคลที่เฝ้ารอรับเสด็จมีพระสารีบุตรเถระ พระอุบลวรรณาเถรี พร้อมทั้งบริวาร และมีมหาชนที่ห้อมล้อมอยู่บริเวณนั้นอีกมาก พระพุทธองค์ทรงพิจารณาว่า พระมหาสาวกผู้มีความเป็นเลิศด้านต่างๆ เราก็ได้ประกาศยกย่องแล้ว ส่วนพระสารีบุตรนี้ ยังไม่มีใครทราบว่าเป็นผู้เลิศด้านมีปัญญามาก พระพุทธองค์จึงทรงไต่ถามปัญหาที่เป็นภูมิปัญญาของปุถุชน พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ และพระอรหันต์ผู้ได้คุณพิเศษอื่นๆ เมื่อไม่มีใครตอบได้ พระสารีบุตรเถระก็ตอบปัญหาที่ลึกซึ้งละเอียดอ่อนนั้นได้พระพุทธองค์จึงทรงประกาศแต่งตั้งพระสารีบุตรเถระว่า “เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้มมีปัญญามาก”

    สังกัสสะ เมืองหลวงของแคว้นเจตี อยู่ห่างจากกรุงสาวัตถี ๓๐ โยชน์ เป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ปัจจุบันได้แก่หมู่บ้านสังกิสสะ(Sankissa Basantapura) ในเขตจังหวัดฟารุคาบัด(Farrukhabad) ของแคว้นรัฐอุตตรประเทศ ตั้งอยู่บนฝั่งเหนือของแม่น้ำกาลี(kali)

    เล่ากันว่าในเวลาที่พระพุทธองค์เสด็จไปโปรดพระพุทธมารดาในดาวดึงส์ เป็นเวลา ๓ เดือนนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลแห่งเมืองสาวัตถีทรงรำพึงคิดถึงพระบรมศาสดาอยู่มิได้ขาด จึงรับสั่งให้หาไม้แก่นจันทน์หอมอย่างดีที่สุดมาให้ช่างแกะสลักเป็นพระพุทธรูป ประดิษฐานไว้ในพระราชวัง เมื่อเสด็จกลับจากดาวดึงส์แล้ว พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลให้ทอดพระเนตรพระพุทธรูปไม้แก่นจันทน์อันงามวิจิตรนั้น ปรากฎว่า พระไม้แก่นจันทน์ลุกขึ้นถวายบังคม แล้วลีลาลงจากที่ประทับ พระพุทธองค์จึงยกพระหัตถ์ขึ้นห้าม พระไม้แก่นจันทน์ก็ลีลากลับขึ้นไปประทับอย่างเดิม

    แหล่งข้อมูล และภาพ:
    http://www.84000.org/tipitaka/picture/f63.html
    http://download.buddha-thushaveiheard.com/images/All_page_04/html_1-40/SC_30.html
    http://www.84000.org/tipitaka/picture/f64.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2013
  9. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    พรรษาที่ ๘ เสด็จประทับในป่าภิงสกวัน(หรือเภสะกลาวัน ป่าไม้สีเสียด)
    ใกล้กรุงสุมารคีรี(หรือสุงสุมารคีรี) ดินแดนแคว้นภัคคะ มีเรื่องเล่าว่า ในปีนี้เองได้เสด็จสู่ประเทศกัลยาณีในลังกา เพื่อจะทรงอนุเคราะห์พญานาคชื่อ มณิอักขิกะ พญานาคได้นิมนตืพระภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานฉันอาหารทิพย์ และนั่งเฝ้าดูอยู่ด้านหนึ่ง พระบรมศาสดาทรงอนุโมทนาการถวายอาหารนั้น แล้วทรงประทับรอยพระพุทธบาทไว้บนยอดเขาสุมนกูฏ ลังกาทวีป และทรงพักกลางวันบนภูเขานั้น

    พรรษาที่ ๙<O:p</O:p
    เสด็จประทับ ณ เมืองโกสัมพีที่วัดโฆสิตาราม วัดนี้เศรษฐีชื่อโฆสิต แห่งเมืองโกสัมพีเป็นผู้สร้างถวาย โฆสิตเป็นเพื่อนรักกับท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐีแห่งนครสาวัตถี ทั้ง ๒ มักไปมาหาค้าขายติดต่อกันอยู่เสมอ

    เรื่องต่างๆที่เกิดขึ้นที่นี่ พอสรุปได้ คือ

    ๑) พระฉันนะถือตัวว่าเป็นอำมาตย์มหาดเล็กคนเก่าแก่ของพระพุทธองค์ ประพฤติตัวเป็นคนดื้อด้านว่ายาก และไม่ยอมฟังคำตักเตือนของผู้ใดทั้งสิ้น ก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพาน พระพุทธองค์ตรัสบอกกับพระอานนท์ว่า ให้สงฆ์ลงพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนะ คือไม่พูดด้วย ไม่ว่ากล่าวตักเตือน และเกี่ยวข้องอะไรๆด้วยทั้งสิ้น เมื่อเสร็จการสังคายนาครั้งที่ ๑ ที่เมืองราชคฤห์ แล้ว พระอานนท์ได้เดินทางยังวัดโฆสิตาราม เมืองโกสัมพี เพื่อประกาศลงพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนะ พระฉันนะได้สำนึกรู้สึกตัวกลับประพฤติตนดีขึ้น และหันมาเอาใจใส่ในการบำเพ็ญเพียร จนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในที่สุด<O:p</O:p

    ๒) ที่เมืองโกสัมพี พระเจ้าอุเทนกษัตริย์ผู้ปกครอง ตามปกติชอบเสวยน้ำจันทร์ มีอัครมเหสี ๓ องค์ด้วยกัน องค์หนึ่งชื่อพระนางสามาวดี เป็นคนดี เลื่อมใสในพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์มาก และได้บรรลุโสดาบัน ส่วนพระนางมาคันธิยามเหสีอีกองค์หนึ่งเป็นคู่แข่ง และมิจฉาทิฐิ ไม่ยอมรับนับถือพระพุทธองค์ เพราะได้มีความอาฆาตเคียดแค้นตั้งแต่พระนางยังสาวอยู่ พราหมณ์ผู้บิดาเป็นผู้เชี่ยวชาญการดูลายเท้าลักษณะของคน เกิดชอบใจในพุทธลักษณะมาก จึงติดต่อมอบนางให้เป็นภรรยา พรพุทธองค์ไม่ทรงรับและตรัสตำหนิรูปโฉมอันงามของนางมาคันธิยาว่าเต็มไปด้วยมูตรคูถ เขฬะของสกปรกโสมม แล้วเพราะเหตุใดเล่าพระองค์จึงจะไปติดอยู่ หลงอยู่ในปฏิกูลโสโครกเหล่านั้น นางโกรธมาก เพราะความงามของนางจึงได้เป็นอัครมเหสีพระเจ้าอุเทนในเวลาต่อมา ขณะเมื่อพระศาสดาเสด็จมาเมืองโกสัมพี นางได้โอกาส จึงจ้างคนติดตามด่า บริภาษ เยาะเย้ยพระพุทธองค์ด้วยคำหยาบต่างๆ เช่นว่า เป็นโจร เป็นคนพาล เป็นต้น พระอานนท์ทนฟังไม่ไหวจึงทูลให้เสด็จไปสู่เมืองอื่น พระพุทธองค์ตรัสว่า เมื่อเรื่องมันเกิดขึ้นที่ไหน ก็ควรให้มันสงบลงที่นั้น เพราะเราหนีไปที่อื่น และถูกเขาด่าบริภาษอีก ก็จำต้องหนีกันเรื่อยไปไม่มีที่สิ้นสุด แล้วตรัสสอนว่า “เราจักอดกลั้นถ้อยคำล่วงเกินดังช้างอดทนลูกศรซึ่งตกไปจากแหล่งในสงคราม เพราะคนเป็นอันมากเป็นผู้ทุศีล” พระพุทธองค์ทรงประทับอยู่ต่อไป ข่าวร้ายก็สงบลง<O:p</O:p

    ๓) ในพรรษาที่ ๙ นี้ พระสงฆ์ที่วัดโฆสิตารามเกิดทะเลาะกัน แตกออกเป็น ๒ พวก คือ วันหนึ่งพระพหูสูตรได้เหลือน้ำชำระไว้ในกระบอกที่เวจกุฏีแล้วออกไป พระวินัยธรมาเห็นเข้าจึงว่า ท่านทำอย่างนั้นเป็นอาบัติ พระพหูสูตรก็ยอมรับจะปลงอาบัติ พระวินัยธรว่า ท่านไม่มีเจตนาไม่เป็นไร เรื่องก็เงียบไป แต่พระวินัยธรกลับไปเล่านินทาให้ลูกศิษย์ของตนฟังว่า พระพหูสูตรนั้นต้องอาบัติ ก็ไม่ยอมรับรู้ ลูกศิษย์พระพหูสูตรได้ยินเข้าก็โกรธ เกิดโต้เถียงกัน แตกเป็น ๒ พวก ต่างกล่าวหากันว่า ฝ่ายหนึ่งกล่าวเท็จ พระพุทธองค์จึงรับสั่งให้ปรองดองสามัคคีกัน ทรงตักเตือนอยู่ถึง ๓ ครั้ง แต่ภิกษุทั้ง ๒ พวกได้แตกสามัคคีกันเสียแล้วไม่ยอมทำตามพุทธโอวาท พระพุทธองค์ทรงเบื่อระอาต่อเหตุการณ์ จึงหนีเสด็จไปแต่พระองค์ตามลำพัง มุ่งสู่รักขิตวันแห่งปาปาริไลยกะ ระหว่างทางเสด็จเยี่ยมพระอนุรุทธะ ซึ่งบำเพ็ญเพียรอยู่ที่ป่าปาจีนวังสทายะ ได้ทรงแสดงธรรมเทศนาว่าด้วยมหาปุริสวิตก ๘ ประการ พระอนุรุทธะได้บำเพ็ญเพียรตามพระพุทธโอวาท ไม่ช้าก็ได้บรรลุอรหัตตผล


    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
    อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
    ๑๐. อนุรุทธสูตร
    [๑๒๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าเภสกลามิคทายวัน แขวงเมืองสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคชนบท ก็โดยสมัยนั้น ท่านพระอนุรุทธะอยู่ที่วิหารปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจดีย์ ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะหลีกออกเร้นอยู่ในที่ลับ เกิดความปริวิตกทางใจอย่างนี้ว่า ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก ของบุคคลผู้สันโดษ มิใช่ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ ของบุคคลผู้สงัด มิใช่ของบุคคลผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ของบุคคลผู้ปรารภความเพียร มิใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน ของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น มิใช่ของบุคคลผู้มีสติหลงลืม ของบุคคลผู้มีจิตมั่นคง มิใช่ของบุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคง ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม ฯ

    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความปริวิตกทางใจของท่านพระอนุรุทธะแล้ว เสด็จจากเภสกลามิคทายวัน แขวงสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคชนบท ไปปรากฏเฉพาะหน้าท่านอนุรุทธะที่วิหารปาจีนวังสทายวัน เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะที่จัดไว้ถวายแล้ว แม้ท่านพระอนุรุทธะถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่งพระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระอนุรุทธะว่า ดีแล้วๆ อนุรุทธะถูกละที่เธอตรึกมหาปุริสวิตกว่าธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามากของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม

    ดูกรอนุรุทธะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงตรึกมหาปุริสวิตกข้อที่ ๘ นี้ว่า ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่ทำให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่ทำให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า

    ดูกรอนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ ในกาลนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ ในกาลนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ ในการนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ ในกาลนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้มีปรกติได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้น ผ้าบังสุกุล จีวรจักปรากฏแก่เธอ ผู้สันโดษ อยู่ด้วยความยินดี ด้วยความไม่หวาดเสียว ด้วยความอยู่เป็นสุข ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนหีบใส่ผ้าของคฤหบดี หรือบุตรแห่งคฤหบดี อันเต็มไปด้วยผ้าสีต่างๆ ฉะนั้น

    ดูกรอนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้ได้ตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้น โภชนะ คือ คำข้าวที่ได้มาด้วยปลีแข้ง จักปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนข้าวสุก (หุงจาก) ข้าวสาลีคัดเอาดำออกแล้ว มีแกงและกับหลายอย่าง ของคฤหบดีและบุตรแห่งคฤหบดี ฉะนั้น

    ดูกรอนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้น เสนาสนะ คือ โคนไม้ จักปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนเรือนยอดของคฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดี ฉาบทาไว้ดีแล้ว ปราศจากลม ลงลิ่มสลักมิดชิด ปิดหน้าต่างสนิท ฉะนั้น

    ดูกรอนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้น ที่นอนที่นั่งอันลาดด้วยหญ้า จักปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ ด้วยการก้าวลงสู่นิพพานเปรียบเหมือนบัลลังก์ของคฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดี อันลาดด้วยผ้าโกเชาว์ขนยาว ลาดด้วยขนแกะสีขาว ลาดด้วยผ้าสัณฐานเป็นช่อดอกไม้ มีเครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด มีเครื่องลาดเพดานแดง มีหมอนข้างแดงสองข้าง ฉะนั้น

    ดูกรอนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้น ยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า จักปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนเภสัชต่างๆ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ของคฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดี ฉะนั้น ฯ

    ดูกรอนุรุทธะ ถ้าอย่างนั้น เธอพึงอยู่จำพรรษาที่วิหารปาจีนวังสทายวันแคว้นเจดีย์นี้แหละ ต่อไปอีกเถิด ท่านพระอนุรุทธะทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้วลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสสอนท่านพระอนุรุทธะด้วยพระโอวาทนี้แล้วเสด็จจากวิหารปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจดีย์นคร ไปปรากฏที่ป่าเภสกลามิคทายวัน แขวงเมืองสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะที่จัดไว้ถวายแล้ว ครั้นแล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมหาปุริสวิตก ๘ ประการ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง ฯลฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มหาปุริสวิตก ๘ ประการเป็นไฉน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก ๑ ธรรมนี้เป็นของบุคคลผู้สันโดษ มิใช่ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ ๑ ธรรมนี้ของบุคคลผู้สงัด มิใช่ของบุคคล ผู้ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑ ธรรมนี้ของบุคคลผู้ปรารภความเพียร มิใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน ๑ ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น มิใช่ของผู้มีสติหลงลืม ๑ ธรรมนี้ ของบุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น มิใช่ของบุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ๑ ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม ๑ ธรรมนี้ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ๑ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ธรรมของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความปรารถนาน้อยย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า มีความปรารถนาน้อย เป็นผู้สันโดษย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้สันโดษ เป็นผู้สงัด ย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้สงัด เป็นผู้ปรารภความเพียรย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า ปรารภความเพียร เป็นผู้มีสติ ตั้งมั่นย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า มีสติตั้งมั่น เป็นผู้มีจิตมั่นคง ย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้มีจิตมั่นคง เป็นผู้มีปัญญา ย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า มีปัญญา เป็นผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้าย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ

    ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้สันโดษ มิใช่ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ตามมีตามได้ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้สันโดษ มิใช่ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ

    ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้สงัด มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลายพวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ และสาวกแห่งเดียรถีย์ เข้าไปหาภิกษุนั้น ภิกษุมีจิตน้อมไป โอนไป เงื้อมไปในวิเวก ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดีในเนกขัมมะ ย่อมกล่าวกถาอันปฏิสังยุตด้วยถ้อยคำตามสมควร ในสมาคมนั้นโดยแท้ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้สงัด มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ

    ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้ปรารภความเพียรมิใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้ปรารภความเพียร มิใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ

    ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่นมิใช่ของบุคคลผู้มีสติหลงลืม เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเครื่องรักษาตัวอย่างยิ่ง ระลึกนึกถึงกิจที่ทำคำที่พูดแม้นานได้ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคล ผู้มีสติตั้งมั่น มิใช่ของบุคคลผู้มีสติหลงลืม ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ

    ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีจิตมั่นคง มิใช่ของบุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคง เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีจิตมั่นคง มิใช่ของบุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคง ดังนี้เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ

    ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่องพิจารณาความเกิด และความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทรามดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ

    ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแล่นไปเลื่อมใส ตั้งมั่นอยู่ในความดับกิเลสเป็นเครื่องเนิ่นช้า ย่อมหลุดพ้น ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ

    ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะอยู่จำพรรษาที่วิหารปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจดีย์นครนั้นนั่นแล ต่อไปอีก ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะหลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ไม่นานนัก ก็กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็ท่านพระอนุรุทธะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่งในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ลำดับนั้น ท่านพระอนุรุทธะบรรลุอรหัตแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ไว้ในเวลานั้นว่า

    พระศาสดาผู้เป็นเยี่ยมในโลก ทรงทราบความดำริของเราแล้ว ได้เข้ามาหาเราด้วยฤทธิ์ทางพระกายอันสำเร็จแต่พระหฤทัยพระองค์ได้ทรงแสดงธรรมอันยิ่งกว่าความดำริของเราเท่าที่ดำริไว้ พระพุทธเจ้าผู้ยินดีแล้วในธรรมอันไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ได้ทรงแสดงซึ่งธรรมอันไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า เราได้รู้ทั่วถึงธรรมของพระองค์แล้ว ยินดีในศาสนาอยู่ เราได้บรรลุวิชชา ๓ แล้วโดยลำดับ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำแล้ว ฯ

    จบคหปติวรรคที่ ๓
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2013
  10. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    พรรษาที่ ๑๐ ประทับจำพรรษาที่ป่าปาเลไลย เมืองโกสัมพี
    พระพุทธองค์เสด็จดำเนินต่อไปประทับ ณ ป่าปาริไลยกะ แต่พระองค์เดียว และจำพรรษาที่ ๑๐ ที่นี่ พญาช้างได้นำผลไม้ และอาหารต่างๆมากมายมาถวาย และอยู่เฝ้าอุปัฏฐากตลอดเวลา ลิงเห็นเข้าชอบใจเกิดศรัทธา จึงเอาอย่างบ้างโดยไปเก็บรวง และน้ำผึ้งมาถวายทุกวันมิได้ขาด

    โกสัมพีเป็นเมืองหลวงของแคว้นวังสะ ในสมัยโบราณตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำยมนา ปัจจุบันได้แก่ตำบลโกสัม(Kosam) ในเขตจังหวัดอัลลาฮาบาด

    พรรษาที่ ๑๑
    เสด็จประทับในหมู่บ้านพราหมณ์ ชื่อตำบลนาฬา(Ekanala) ใกล้เมืองราชคฤห์กับพุทธคยา ได้ทรงเปลี่ยนใจให้พราหมณ์กาสีซึ่งเป็นมิจฉาทิฏฐิมานับถือพระพุทธศาสนา

    พรรษาที่ ๑๒
    เสด็จจำพรรษาภายใต้ปุจิมันทพฤกษ์ ป่าไม้สะเดาใกล้เมืองเวรัญชา ตามคำทูลเชิญของเวรัญชพราหมณ์ ตลอดไตรมาสเวรัญชพราหมณ์ไม่เคยส่งภักษาหารไปถวายเลยสักวันเดียว ได้ทรงเป็นอยู่ด้วยอาหารเล็กๆน้อยๆที่พ่อค้าถวาย แต่ถึงกระนั้นก็มิได้ทรงทุรนทุรายแม้แต่นิดหนึ่ง ทั้งภิกษุสงฆ์อีกเป็นจำนวนมากก็เหมือนกัน เรื่องมีว่า เวรัญชพราหมณ์มีความสงสัยว่าทำไมพระพุทธองค์จึงตรัสว่า ทรงเป็นผู้ประเสริฐกว่าคนทั้งหลาย จึงเข้าไปเฝ้า แต่มิได้ถวายบังคม หลังจากทักทายปราศรัยแล้ว ก็ได้กล่าวว่า ได้ข่าวเขาพูดกันว่าพระสมณโคดมไม่ยอมไหว้ หรือลุกขึ้นต้อนรับพราหมณ์ผู้สูงอายุ การที่พระสมณโคดมทำเช่นนั้น ย่อมไม่สมควร พระพุทธเจ้าตรัสรับว่า พระองค์มิได้ไหว้พราหมณ์ผู้สูงอายุจริง เวรัญชพราหมณ์จึงกล่าววาจารุกรานด้วยถ้อยคำดูหมิ่นเหยียดหยามรวม ๘ ข้อ เช่น คำว่า พระสมณโคดมเป็นคนไม่มีรสชาด เป็นคนไม่มีสมบัติ เป็นคนนำให้ฉิบหาย เป็นคนเผาผลาญ เป็นต้น แต่พระผู้มีพระภาคทรงอธิบายคำเหยียดหยามนั้นไปในทางที่ดี เช่นว่า ใครจะว่าไม่มีรสชาดก็ถูก เพราะท่านไม่ติดรส คือรูป เสียง เป็นต้น ใครจะว่าไม่มีสมบัติก็ถูก เพราะท่านไม่ติดสมบัติ คือรูป เสียง เป็นต้น ใครจะว่านำให้ฉิบหายก็ถูก เพราะท่านแสดงธรรมให้ทำบาป อกุศล ทุกอย่างให้ฉิบหาย ใครจะว่าเป็นคนเผาผลาญก็ถูก เพราะท่านเผาผลาญบาป อกุศล อันเป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อนทั้งหมด เมื่อตรัสตอบแก้คำดูหมิ่นเหยียดหยามของพราหมณ์ตกทุกข้อโดยใช้วิธีอธิบายให้เป็นธรรมะสอนใจได้ดั่งนั้นแล้ว จึงตรัสอธิบายเหตุผลในการที่พระองค์ไม่ไหว้พราหมณ์ผู้สูงอายุ ดำรัสตอบว่า เพราะได้ทำลายอวิชชาหมดสิ้นแล้ว จึงได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ทรงเปรียบเทียบการปฏิบัติเพื่อหลุดพ้นออกจากอวิชชาเหมือนลูกไก่ที่เจาะเปลือกออกจากฟองไข่ ลูกไก่ตัวไหนเจาะฟองไข่ออกมาได้ก่อน ลูกไก่ตัวนั้นควรนับว่าแก่กว่าลูกไก่ตัวอื่น พระองค์เจาะฟองไข่ คืออวิชชาก่อนผู้อื่น จึงถือได้ว่าเป็นผู้แก่กว่าผู้อื่น “ดูก่อนเวรัญชพราหมณ์ ความเพียรเราได้ปรารภไว้อย่างดี ไม่ได้ย่อหย่อน สติปรากฎไม่หลงลืม กายสงบระงับ ไม่มีความกระวนกระวาย จิตก็ตั้งมั่นมีอารมณ์เดียว” (ข้อนี้อธิบายได้ว่า ไม่ได้ทรงสำเร็จมรรคผล เพราะความเกียจคร้าน ต้องวิริยะ อุตสาหะทำจริงๆ ดังที่ทรงตั้งพระปณิธานไว้ตอนก่อนการตรัสรู้ว่า “แม้หนังเอ็นกระดูกจักเหลืออยู่โดยเลือดเนื้อ ในร่างกายจะเหือดแห้งหมดสิ้นก็ตามที ถ้าหากไม่ได้บรรลุมรรคผลแล้ว จะไม่ยอมลุกจากที่ประทับเป็นอันขาด” เรียกว่า เอาชีวิตเป็นเดิมพันกันทีเดียว ถึงจะตายก็ไม่ยอมละความเพียร ถ้าไม่บรรลุผลตามที่ปรารถนาไว้ สำหรับพวกเราที่ปฏิบัติกันไม่ค่อยจะได้ดีนัก ก็เพราะหย่อนทางความเพียรนี่เอง คือเกียจคร้าน มีนิสัยโลเล ทำอะไรไม่จริง ผลัดโน่น ผลัดนี่ ไม่ยอมอดทนต่อความลำบาก ความปวดเมื่อย หิวโหย เป็นต้น ส่วนเรื่องครูบาอาจารย์นั้นไม่ใช่เรื่องหนักใจ เพราะทุกคนได้รับอบรมสั่งสอนในแนวปฏิบัติมาเหมือนๆกันทั้งนั้น) พระพุทธองค์ทรงแสดงต่อไปถึงการปฏิบัติให้บรรลุถึงปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน ตามลำดับ ซึ่งเป็นฐานที่ตั้งให้ได้อภิญญา หรือวิชชา ๓ (จิตที่เข้าถึงฌานแล้วเป็นจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส หรืออุปกิเลสอันใดที่จะไปทำให้ลุ่มๆดอนๆ เป็นจิตอ่อนสงบสบาย ควรแก่งานการอบรมใช้ปัญญาอย่างยิ่ง) เมื่อจิตสงบเข้าถึงฌานแล้ว น้อมจิตไปเพื่อให้บรรลุถึงปุพเพนิวาสญาณ ทิพยจักขุญาณ และอาสวักขยญาณ ในที่สุด(ตามแนวที่ทรงปฏิบัติในคืนวันตรัสรู้) พระองค์ตรัสรู้เรื่องนี้ ไม่ใช่เรื่องอื่น
    <O:p</O:p
    [​IMG]
    เวรัญชพราหมณ์ได้ฟังแล้วก็เกิดความปิติเลื่อมใส เพราะไม่เคยได้ยินเรื่องวิชชา ๓ มาก่อน จึงทูลสรรเสริญพระพุทธเจ้าว่า พระองค์ควรแล้วที่ชาวโลกยกย่องว่าเป็นผู้ที่เจริญที่สุด ประเสริฐที่สุด “เปรียบกับหงายภาชนะที่คว่ำ” “เปิดสิ่งที่ปิดไว้” “ชี้หนทางแก่คนที่หลงทาง” “ให้ประทีปในที่มืด” เป็นต้น แล้วเวรัญชพราหมณ์จึงประกาศตนเป็นอุบาสก โดยขอถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ว่า เป็นสรณะที่พึ่งอันประเสริฐ พร้อมกันนั้นก็ทูลเชิญให้ทรงจำพรรษาในเมืองเวรัญชา พระบรมศาสดาก็ทรงรับนิมนต์ แล้วเสด็จจำพรรษาในเมืองนั้น เผอิญเมืองเวรัญชาเกิดข้าวมยากหมากแพงขึ้น คนตายเกลื่อนขาวไปหมด พอดีในเวลานั้นมีพ่อค้าม้าผ่านมาทางนี้รู้ว่าภิกษุสงฆ์ต้องลำบาก จึงน้อมเอาข้าวแดงที่เตรียมมาในการเดินทาง จัดไปใส่บาตรตอนเช้าทุกวัน พระภิกษุไม่ได้ข้าวจากที่อื่นอีกเลย ข้าวแดงนี้ก็ยังไม่ได้หุงต้องนำกลับวัดเอามาตำก่อน เสร็จแล้วจึงจะได้ฉัน พระพุทธเจ้าก็ต้องเสวยข้าวแดงบดนี้เหมือนกัน(นี่เป็นแบบอย่างสอนภิกษุสงฆ์รุ่นหลังๆ หากว่าไปพบกับความลำบากยากเข็ญเข้า จะต้องมีความอดทน นึกถึงความลำบากที่พระพุทธเจ้าเองก็เคยทรงได้รับมาแล้ว)
    <O:p</O:p
    พระโมคคัลลานะเล็งเห็นว่า พระพุทธองค์ และภิกษุสงฆ์ทั้งหลายต้องลำบากมาก จึงคิดจะช่วย ได้เข้าไปเฝ้า ทูลว่า พื้นเบื้องล่างใต้แผ่นดินใหญ่ มีง้วนดินรสหอมหวานเหมือนน้ำผึ้งที่ไม่มีตัวอ่อน สมควรที่จะพลิกแผ่นดินขึ้นให้ภิกษุสงฆ์ได้ฉันง้วนดินนั้น พระพุทธองค์ไม่ทรงอนุญาต

    แหล่งข้อมูลภาพ: http://www.kamoman.com/board/index.php?topic=8435.20<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2013
  11. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    พรรษาที่ ๑๓ ประทับที่ภูเขาจาลิยา(Chaliya Hill) เมืองราชคฤห์
    จาลิยะบรรพต – ท่านผู้รู้มานหนึ่งบอกว่า พระพุทธองค์เสด็จจำพรรษาที่ ๑๓ , ๑๘ และ ๑๙ ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่งที่ภูเขาลูกนี้ซึ่งอยู่ติดบริเวณชายแดนระหว่างราชคฤห์ กับกบิลพัสดุ์ ขณะนั้นเข้าใจว่าอย่ในรัฐเจตี ที่นอกประตูเมืองออกไปมีบึงใหญ่(Calapanka) ล้อมรอบพระนคร น้ำในบึงนี้กระเพื่อมเป็นระลอกคลื่นอยู่ตลอดเวลา ทำให้มองเห็นคล้ายกับว่าตัวเมืองเองไหวเคลื่อนที่อยู่เรื่อย จึงได้ชื่อว่า จาลิยะบรรพต และทั้ง ๒ ฟากฝั่งแม่น้ำ Kimikata ภายในเมืองก็มีป่าสวนมะม่วง ทั่วอาณาบริเวณเป็นที่สงบรื่นรมย์อย่างยิ่ง ณ ที่นี้พระพุทธองค์ได้ทรงรับการบำรุงด้วยปัจจัย ๔ จากพระเจ้ามหานามเป็นประจำ ทรงเสด็จมาประทับที่นี่ คล้ายกับว่าจะทรงโปรดพระประยูรญาติในเมืองกบิลพัสดุ์ ฉะนั้น<O:p</O:p

    พรรษาที่ ๑๔
    ประทับจำพรรษาที่เชตุวันมหาวิหาร นครสาวัตถี ที่นี่ได้บวชพระราหุลเป็นพระภิกษุ เพราะอายุครบ ๒๐ ปีเต็ม<O:p</O:p

    พรรษาที่ ๑๕
    เสด็จประทับ ณ นิโครธาราม ริมฝั่งแม่น้ำโรหินี เมืองกบิลพัสดุ์ ทรงสงเคราะห์ห้ามหมู่ประยูรญาติมิให้ทะเลาะวิวาทกัน
    <O:p</O:p
    พระเจ้าสุปปพุทธะ ราชบิดาของพระนางพิมพายโสธราสวรรคต ถูกแผ่นดินสูบ เพราะได้พูดบริภาษใส่ร้ายพระพุทธองค์ต่างๆนานา เนื่องจากโกรธ หาว่าพระพุทธองค์ทรงทอดทิ้งพระนางพิมพา และทำให้พระเทวทัตราชบุตรถูกแผ่นดินสูบ ทรงทำนายว่า พระเจ้าสุปปพุทธะจะต้องถูกแผ่นดินสูบในอีก ๗ วันข้างหน้านี้ พระเจ้าสุปปพุทธะกลัวมาก จึงหนีขึ้นไปอยู่บนยอดปราสาท ไม่ยอมลงสู่พื้นดิน เผอิญวันที่ ๗ ม้าตัวโปรดของพระองค์หลุดออกจากคอก ไม่มีผู้ใดจับได้ ทรงเกรงจะเกิดอันตรายกับม้า เลยทำให้ลืมนึกถึงคำพุทธทำนาย รีบวิ่งลงมาที่สนามหน้าปราสาท เพื่อช่วยจับม้า พอย่างถึงดินก็ถูกแผ่นดินสูบ<O:p</O:p

    พรรษาที่ ๑๖
    เสด็จประทับในเมืองอาฬวีทรงปราบอาฬวกยักษ์ เรื่องมีว่า พระเจ้าอาฬวิกกษัตริย์ปกครองประเทศได้เสด็จออกล่าสัตว์ ถูกอาฬวกยักษ์จับตัวได้จะกินเป็นอาหาร พระองค์ให้คำมั่นสัญญาว่า ถ้าปล่อยตัวกลับไปจะส่งคนมาให้กินวันละคนทุกวัน ยักษ์ก็ยอมตาม แต่นั้นมา พระเจ้าอาฬวีก็สั่งให้นำนักโทษประหารส่งไปให้ยักษ์กินทุกวันตามสัญญา จนนักโทษหมดคุก ต้องเอาทองวางล่อ ใครมาหยิบไป ก็ต้องหาว่าลักพระราชทรัพย์ ถูกจับตัวส่งให้ยักษ์กิน จนหาคนส่งต่ออีกไม่ได้ จึงเที่ยวจับเด็กส่ง ในที่สุดตกเป็นวาระของราชโอรส พระพุทธองค์เสด็จไปยังต้นไทรที่อยู่ของยักษ์ ขึ้นประทับนั่งบนแท่นบัลลังก์ของยักษ์ ยักษ์โกรธมาก ใช้อำนาจฤทธิ์ต่างๆ พยายามจะฆ่าพระพุทธองค์ให้ได้ แต่ไม่สำเร็จ จึงหันมาแก้ปัญหากัน พระองค์ก็ทรงแก้ปัญหาได้หมดทุกข้อ ยักษ์ถามปัญหา ๔ ข้อว่า
    ๑) อะไรเป็นทรัพย์อันประเสริฐของบุคคลในโลกนี้
    ๒) บุคคลฆ่าอะไรเสียได้จึงจะมีความสุข
    ๓) รสอะไรประเสิฐกว่ารสทั้งปวง
    ๔) เป็นอยู่อย่างไรจึงจะชื่อว่าเป็นอยู่ประเสริฐ

    พระพุทธองค์ทรงวิสัชนาว่า
    ๑) ศรัทธาเป็นทรัพย์อันประเสริฐของบุคคลในโลกนี้
    ๒) ฆ่าความโกรธเสียได้จึงจะมีความสุข
    ๓) รสคิอความสัตย์ เป็นรสประเสริฐกว่ารสทั้งปวง
    ๔) มีชีวิตเป็นอยู่ด้วยปัญญาชื่อว่าเป็นอยู่ประเสริฐ

    แล้วได้ทรงแสดงธรรมให้อาฬวกยักษ์ฟังต่อไป ในที่สุดยักษ์เกิดศรัทธาเลื่อมใส แสดงตนเป็นพุทธมามกะ และปล่อยพระโอรสพระเจ้าอาฬวีกลับ และสัญญาว่าจะไม่ฆ่าสัตว์อีกต่อไป<O:p</O:p

    พรรษาที่ ๑๗
    ประทับ ณ เวฬุวนาราม กรุงราชคฤห์<O:p</O:p

    พรรษาที่ ๑๘ - ๑๙
    ประทับ ณ เขาจาลิยะ แขวงเมืองราชคฤห์<O:p</O:p

    พรรษาที่ ๒๐
    ประทับ ณ เวฬุวนาราม กรุงราชคฤห์<O:p</O:p

    พรรษาที่ ๒๑ - ๔๔ ประทับ ณ เชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี
    พระบรมศาสดาได้เสด็จจาริกเมืองสาวัตถี เพื่อโปรดมหาชนไปและกลับหลายครั้งหลายหน จนถึงพรรษากาลที่ ๒๑ จึงได้ประทับเป็นการถาวร จนล่วงเข้าพรรษาที่ ๔๔ ทรงประทับประจำอยู่ ๒ แห่ง คือ เชตุวันมหาวิหารของท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐี และวัดบุพพารามของนางวันวิสาขา มหาอุบาสิกา เพราะท่านทั้ง ๒ นี้มีความเลื่อมใสในพระพุทธองค์อย่างล้นพ้น และมีอุปการคุณต่อพระภิกษุสงฆ์เป็นเอนกประการ

    ในสมัยพุทธกาล แค้นโกศลมีความเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดแคว้นหนึ่งในอินเดีย สาวัตถีเป็นเมืองหลวง พระเจ้าปเสนทิโกศลเป็นกษัตริย์ปกครอง อัครมเหสีชื่อ พระนางมัลลิกา ทั้ง ๒ พระองค์ทรงเลื่อมใสในพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์อย่างยิ่ง และทรงมีส่วนอย่างมากในการประกาศเผยแผ่พระพุทธศาสนา ที่นี่ได้มีเหตุการณ์สำคัญๆเกิดขึ้นมากมาย พร้อมด้วยอุบาสก อุบาสิกาที่สำคัญบริจาคทานมหาศาลหลายท่านดังจะได้กล่าวต่อไป

    พระพุทธองค์ทรงจำพรรษาที่เมืองสาวัตถีนานที่สุดในชีวิตของพระองค์คือ นานถึง ๒๕ พรรษา โดยพักที่เชตุวันมหาวิหารซึ่งอนาถบิณฑิกะเศรษฐีสร้างถวาย ๑๙ พรรษา และที่วัดบุพพานรามซึ่งนางวิสาขาสร้างถวาย ๖ พรรษา ฉะนั้นเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในพระพุทธศาสนาจึงเกิดขึ้นที่นี่มากที่สุด ถือกันว่า สถานที่นี้เป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดอีกแห่งหนึ่งของชาวพุทธทั้งหลาย ขณะนี้มีวัดพม่า วัดจีน รวมที่พักผู้เดินทางหลายแห่งในบริเวณนั้น

    เหตุไรพระเจ้าปเสนทิโกศล จึงได้เลื่อมใสในพระบรมศาสดาอย่างยิ่ง
    ก่อนที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะได้ทรงอุบัติขึ้นในโลก ในสมัยนั้นมีปรัชญาเมธีมากหลายต่างก็ประกาศตนว่า เป็นพระอรหันต์บ้าง พุทธะบ้าง รอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่างในโลก ประชาชนก็พากันวิพากษ์วิจารณ์ศาสดาทั้งหลายเหล่านี้ไปต่างๆนานา มีอาจารย์เดียรถีย์ที่มีชื่อเสียง และผู้คนนับถือมากที่สุด ๖ ท่าน คือ

    ปุราณกัสสป มักชลีโคศาล นิครนธ์นาฏปุตตะ สญชัยเวลัฏฐปุตตะ ปกุธกัจจายนะ อชิตเกสกัมพละ

    ท่านอุปติสสะ(พระสารีบุตร) และท่านโกลิต(พระโมคคัลลานะ) ก็เคยเป็นสานุศิษย์ของอาจารย์สญชัย

    ในพรรษาที่ ๑ ที่พระพุทธองค์ประทับ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองสารนาถ พระเจ้าปเสนทิโกศล และพระนางมัลลิกา อัครมเหสี ก็ทรงเลื่อมใสในพระอาจารย์ทั้ง ๖ นี้อยู่มาก ตราบจนออกพรรษาที่ ๑ แล้ว พระศาสดาเสด็จโปรดชฏิลดาบส ๓ พี่น้องที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราแล้วเสด็จเมืองราชคฤห์ ทรงจำพรรษาที่ ๒ ที่เวฬุวันมหาวิหารซึ่งพระเจ้าพิมพิสารสร้างถวาย ได้พบกับอนาถบิณฑิกะเศรษฐี ได้กราบบังคมทูลอัญเชิญพระพุทธองค์โปรดชาวเมืองสาวัตถี ครั้นได้เสด็จมาถึงเมืองสาวัตถีแล้ว พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จมาเฝ้า ทรงสนทนาปราศัยกับพระองค์ ทรงถามว่า ทำไมจึงทรงเรียกพระองค์เองว่า "พุทธะ" แม้แต่อาจารย์เดียรถีย์ทั้ง ๖ อันมีปุราณกัสสป เป็นต้น ผู้มีสานุศิษย์มากมาย และเป็นผู้มีอายุสูงด้วยได้บวชบำเพ็ญพรตมาก็นานแล้ว ยังไม่กล้าเรียกตนเองว่า "พุทธะ" เลย เหตุไฉนพระองค์จึงได้รับรองตนเองว่าเป็น"พุทธะ" ทั้งๆที่อายุก็ยังน้อย บวชก็ยังไม่นานนักเล่า

    พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า "สิ่งใดที่เราเห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยก็จริง แต่เราจะประมาทไม่สนใจเชื่อถือต่อสิ่งนั้นๆไม่ได้ มีอยู่ ๔ อย่างคือ

    ๑) เด็กที่เกิดในขัตติยะตระกูล บุคคลใดประมาทดูหมิ่นเด็กที่เกิดในขัตติยะตระกูล ด้วยกิริยาอาการไม่เคารพ เมื่อเด็กนั้นเจริญวัยเติบโตขึ้นแล้ว ได้ครองราชสมบัติเข้าเวลาใด เด็กนั้นก็จะรำลึกขึ้นได้ว่า บุคคลนั้นๆแต่ก่อนเคยประมาทดูหมิ่นเรา เมื่อครั้งเรายังเด็กอยู่ เมื่อระลึกขึ้นมาได้อย่างนี้ ก็อาจสั่งลงโทษแก่บุคคลนั้นๆได้

    ๒) งูพิษตัวเล็ก ผู้ใดก็ตามประมาทดูหมิ่นว่างูตัวนี้เล็ก แล้วก็เข้าไปจับต้องหยอกล้อเล่น งูนั้นก็อาจกัดเอาจนถึงแก่ความตายได้

    ๓) ไฟ ใครก็ตามดูหมิ่นว่าไฟนี้ก้อนเล็กนิดเดียว แล้วก็ไม่เอาใจใส่ต่อมัน ไฟกองเล็กกองน้อยนี้ อาจลุกลามทำให้เกิดเป็นไฟกองใหญ่ขึ้นได้ แล้วเผาผลาญทำลายบ้านเมืองให้เสียหายย่อยยับลงได้

    ๔) บรรพชิต ผู้ใดประมาทดูหมิ่นเหยียดหยามบรรพชิตองค์นั้นองค์นี้ ว่าเป็นเด็กเป็นเณร เป็นพระบวชใหม่ ไม่น่าเคารพเลื่อมใส ผู้นั้นก็อาจเสื่อมจากประโยชน์ที่ตนจะพึงได้รับด้วยอำนาจแห่งศีล สมาธิ ปัญญา

    แล้วพระองค์ก็ทรงสอนเปรียบเทียบหลักพุทธศาสนา กับความคิดเห็นของเดียรถีย์ทั้งหลายให้ฟังพอเป็นสังเขป พระเจ้าปเสนทิโกศลได้สดับพระธรรมเทศนาจบลงแล้ว จึงทรงเปล่งวาจาขึ้นว่า นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้าพระองค์ขอถึงพระรัตนตรัยว่า เป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึกอันประเสริฐสุดของข้าพเจ้า ต่อแต่นั้นมา ก็เสด็จมาเฝ้าสดับตรับฟังพระธรรมเทศนาอยู่เสมอ มิได้ขาด ทรงเลื่อมใสศรัทธาต่อพระพุทธองค์เป็นอย่างยิ่ง พระนางมัลลิกาอัครมเหสีก็ทรงเลื่อมใส และเป็นอัครศาสนูปถัมภกยอดเยี่ยมด้วยพระองค์หนึ่ง

    อาจพูดได้ว่า พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเป็นผู้ที่มีความสำคัญมากองค์หนึ่งในประวัติพุทธศาสนา คือ นอกจากจะเป็นพระอัยยิกา(ตา) ของพระเจ้าอชาตสัตรู แล้วยังเป็นพระราชบิดาของวิฑฑกะ(เกิดจากนางทาสี-วาสภขัตติยา) ซึ่งได้ผูกพยาบาทฆ่าชนิดล้างโคตรศากยะวงศ์ในบั้นปลายพระชนม์ชีพของพระบรมศาสดา และแม้ชีวิตของพระเจ้าปเสนทิโกศลเองก็จบลงด้วยการกระทำอันสืบเนื่องมาจากวิฑูฑกะนั่นเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2013
  12. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    พระนางมัลลิกาเทวี
    พระนางเป็นธิดาของช่างดอกไม้ มีชื่อเสียงคนหนึ่งในกรุงสาวัตถี นางมีรูปร่างสวยงามยิ่งนัก ทั้งมีปัญญาเฉลียวฉลาดจิตใจดีมีคุณธรรมสูง อยู่มาวันหนึ่งนางออกไปเที่ยวเล่นกับเพื่อนๆ ได้พบกับพระบรมศาสดาขณะกำลังเสด็จบิณฑบาตพร้อมพระภิกษุสงฆ์จำนวนมาก นางเห็นพระพุทธองค์ทรงมีผิวพรรณงดงามเป็นเลิศ จึงเกิดปิติโสมนัสเลื่อมใสศรัทธา เผอิญในมือมีขนมถั่วอยู่ ๓ ก้อน จึงนำเข้าไปใส่บาตรด้วยจิตปิติโสมนัสอย่างยิ่ง พระพุทธองค์ทรงยิ้มเพื่อจะแสดงอานิสงค์ใส่บาตรของนาง พระอานนท์ทูลถามถึงเหตุที่ได้ทรงยิ้มแย้ม ตรัสว่า เด็กหญิงสาวคนนี้จะได้เป็นอัครมเหสีของพระเจ้าปเสนทิโกศลวันนี้ ด้วยอานิสงค์ที่นางได้ถวายอาหารแก่เราด้วยจิตปิติโสมนัสเป็นที่สุด<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ขณะนั้นพระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จออกทำการสู้รบกับพระเจ้าอชาตศัตรู เพราะทรงโกรธแค้นที่อชาตศัตรูทำปิตุฆาต และพระมารดาซึ่งเป็นภคินีน้องสาวของพระองค์เองต้องตรอมพระทัยทิวงคตตามไปด้วย เรื่องเดิมมีว่า พระเจ้ามหาโกศลราชบิดาพระเจ้าปเสนทิโกศลได้ยกพระราชธิดาให้พระเจ้าพิมพิสาร ในงานอภิเษกได้ยกบ้านกาสีซึ่งเป็นเมืองส่วยให้แก่พระราชธิดาด้วย พอพระเจ้าพิมพิสารสิ้นพระชนม์ พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ยกทัพไปชิงเมืองกาสีคืน เกิดทำสงครามกันขึ้น ครั้งแรกพระเจ้าปเสนทิโกศลเสียทีแตกทัพขี่ม้าหนีมาแต่ลำพังพระองค์ เผอิญผ่านมาทางสวนดอกไม้ของเศรษฐีบิดานางมัลลิกา ได้ทรงสดับเสียงร้องเพลงอันไพเราะของนางก็พอพระทัย จึงขยับบังเหียนม้ามุ่งตรงเขาไปในสวน พวกสาวๆเพื่อนของนางมัลลิกาเห็นพระมหากษัตริย์ทรงเครื่องรบครบชุด ก็ตกใจกลัวพากันหนีไปหมด นางมัลลิกามิได้ตกใจอย่างไร กลับเดินไปจับบังเหียนม้าประทับเพื่อจะช่วยพยุงให้พระราชาลงจากหลังม้า พระเจ้าปเสนทิโกศลกำลังเหนื่อยอ่อนเพลียเป็นอันมากอยู่แล้ว จึงเสด็จลงจากหลังม้า บรรทมหลับไปข้างๆที่นางนั่งเฝ้าอยู่ สักพักใหญ่กองทหารก็ตามมาถึง พระองค์จึงสู่ขอนางจากเศรษฐีบิดา แล้วเสด็จกลับเข้าเมือง พอเย็นวันนั้นก็ทรงโปรดให้ไปรับนางมาอภิเษกเป็นอัครมเหสี นางได้เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าปเสนทิโกศลมาก เพราะนางประกอบด้วยข้อวัตรปฏิบัติอันดียิ่งกว่าหญิงอื่นใดในขณะนั้น<O:p</O:p
    <O:p</O:p


    นางวิสาขา มหาอุบาสิกา
    <O:p</O:pเป็นธิดาของธนัญชัยเศรษฐีผู้เป็นบุตรมณฑกเศรษฐีในเมืองภัททิยะ แคว้นอังคะ เป็นตระกูลที่บริบูรณ์มั่งคั่งด้วยทรัพย์จนนับไม่ถ้วน เมื่อนางวิสาขาอายุได้ ๗ ปี ได้ฟังพระธรรมเทศนาก็ได้บรรลุโสดาปัตติผล เมื่ออายุ ๑๖ ปี มีรูปลักษณะงามหาหญิงอื่นใดเปรียบได้ยาก ได้แต่งงานกับปุณณวัฒนกุมาร ลูกมิคารเศรษฐีซึ่งเป็นสกุลมิจฉาทิฐิ นางจึงย้ายไปอยู่กับบ้านสามีที่นครสาวัตถี มิคารเศรษฐีได้เชิญเดียรถีย์ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของตนมาทำพิธีมงคลในบ้านเสมอ และบอกให้นางวิสาขากราบไหว้ นางไม่เต็มใจยอมทำตาม เศรษฐี และเดียรถีย์ก็โกรธ คอยหาโทษใส่ความนางเสมอมา แต่เมื่อไต่สวนหาความจริงกันเข้า นางก็ชนะทุกเรื่องไป นางได้อ้อนวอนขอกลับไปอยู่บ้านบิดามารดา เศรษฐีขอให้อยู่ต่อไป นางจึงว่า ถ้าเช่นนั้นจะต้องอนุญาตให้นางได้มีโอกาสทำบุญกับภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนา นางจึงจะยอมอยู่ เศรษฐีก็อนุญาต นางได้นิมนต์พระบรมศาสดา กับภิกษุสงฆ์มาฉันภัตตาหารที่บ้านเป็นประจำ มิคารเศรษฐีไม่ยอมออกมาเฝ้าพระพุทธองค์เลย แต่แอบฟังพระธรรมเทศนาอยู่หลังม่าน ในที่สุดเกิดซาบซึ้งในพระองค์ หันมารับนับถือพระพุทธศาสนา เศรษฐีซาบซึ้งในอุปการคุณของนางวิสาขา จึงทำเครื่องประดับราคานับเป็นโกฏิกหาปนะทีเดียวให้นางชื่อ “มหาลดาประสาธน์” เครื่องประดับนี้ขึ้นชื่อลือนามมาแต่ครั้งพุทธกาล เป็นศักดิ์ศรีสำหรับคนมีบุญโดยเฉพาะ ตามตำนานครั้งพุทธกาล ปรากฏว่าเครื่องประดับอย่างนี้มีแต่งกันอยู่ ๓ คนเท่านั้นคือ นางวิสาขา มหาอุบาสิกา นางมัลลิกา ภรรยาพันธุละเสนาบดี ทหารเอกของพระเจ้าปเสนทิโกศลเจ้าผู้ครองแคว้นโกศล และกาสี อีกคนหนึ่งดูเหมือนจะเป็นนางสุชาดาผู้ถวายข้าวมธุปายาส ที่หมู่บ้านเนรัญชรา เครื่องประดับนี้แม้จะทำเพียงสำรับเดียว ก็ต้องตั้งโรงงานโดยเฉพาะ มิฉะนั้นทำไม่สำเร็จ

    <O:p</O:pวันหนึ่งนางเข้าไปฟังพระธรรมเทศนาในเชตวันมหาวิหาร ลืมเครื่องประดับราคานับโกฏินี้ไว้ที่วัด พระอานนท์พบเข้าจึงเอาไปแขวนไว้ที่ข้างบันได นางวิสาขาพอออกจากประตูวัดไปก็นึกขึ้นได้รีบกลับไปเอา ทราบว่าพระอานนท์เก็บแขวนไว้ จึงบอกขายเครื่องแต่งตัวนั้นเพื่อจะเอาเงินทำบุญ แต่เพราะราคาแพง ไม่มีผู้ใดสามารถซื้อได้ นางจึงซื้อเสียเอง แล้วเอาเกวียนบรรทุกเงินจำนวนทั้งหมดไปถวายพระบรมศาสดา ทรงรับสั่งให้นางจัดสร้างที่อยู่กุฏิวิหารสงฆ์ นางวิสาขาจึงได้จัดสร้างวัดบุพพารามขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระศาสดาโปรดให้พระโมคคัลลานะเป็นผู้อำนวยการสร้างให้สำเร็จเรียบร้อยถูกความประสงค์ของผู้บริจาค เงินไม่พอนางจึงออกเงินเพิ่มเติมอีกจนครบค่าก่อสร้างที่ดิน และฉลองเสร็จ รวมทรัพย์เกือบ ๓๑ โกฏิ นางได้ประกอบพิธีถวายวัดบุพพารามนี้เป็นพุทธาวาส และสังฆาวาสเช่นเดียวกัน(วัดบุพพารามอยู่ห่างทางด้านตะวันออกของเมืองสาวัตถี ริมฝั่งแม่น้ำอจิรวดี ปัจจุบันจะหาซากที่เหลืออยู่ของวัดไม่พบเลย เพราะตามหลักฐานได้ถูกน้ำในแม่น้ำล้นท่วมจมหายไปหมด) พระพุทธองค์ทรงยกย่องนางวิสาขา มหาอุบาสิกาว่า เป็นผู้ประเสริฐกว่าทายิกาทั้งหลาย เพราะสตรีทั้งปวงไม่มีใครทำได้เสมอนาง

    มีอีกเรื่องหนึ่งที่พระพุทธองค์ตรัสสอนนางวิสาขา เมื่อประทับ ณ บุพพาราม คือครั้งหนึ่งหลานผู้เป็นที่รักใคร่ยิ่งของนางวิสาขาล้มตายลงด้วยโรคอย่างหนึ่ง นางมีความเศร้าโศกเสียใจมาก และเป็นธรรมเนียมในสมัยนั้นว่า ญาติผู้ใหญ่จะต้องลงอาบน้ำชำระมลทินในงานอวมงคลทุกครั้งที่ลูก หรือหลานตาย เป็นต้น นางจึงลงอาบน้ำในแม่น้ำ เสื้อผ้า เนื้อตัวเปียกโชก เข้าไปเฝ้าพระพุทธองค์ ทรงตรัสถามทราบความแล้ว จึงตรัสว่า<O:p</O:p
    “ดูก่อนวิสาขา เธอปรารถนาบุตร และนัดดา มีจำนวนมากเท่าชาวเมืองสาวัตถีนี้เชียวหรือ””<O:p</O:p
    “พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ปรารถนาเช่นนั้น”<O:p</O:p
    “ดูก่อนวิสาขา คนในเมืองนี้ตายวันละเท่าไหร่?”<O:p</O:p
    “บางวันก็ตาย ๑๐๐ คน บางวันก็ ๙ คน ๘ คน ลงมาจนถึง ๑ คน เมืองสาวัตถีก็ไม่เคยว่างจากคนตายเลย”<O:p</O:p
    “ดูก่อนวิสาขา ถ้าเช่นนั้น เธอจะมิต้องลงอาบน้ำ มีเสื้อเปียก ผมเปียกตลอดไปหรือ เธอจะมิต้องเศร้าโศก หาเวลาสร่างไม่ได้เลยหรือ”<O:p</O:p
    “พระเจ้าข้า ข้าพระองค์จะต้องมีผ้าเปียก ผมเปียก และร้องไห้เศร้าโศกอย่างหาเวลาสร่างมิได้เป็นแน่นอน ฉะนั้น ต่อไปนี้ข้าพระองค์จะไม่ปรารถนาบุตร และหลานอีกแล้ว”<O:p</O:p
    “ดูก่อนวิสาขา เรากล่าวว่า ผู้มีสิ่งที่รักถึงร้อย ก็มีทุกข์ถึงร้อย มีสิ่งที่รักเก้าสิบ ก็มีทุกข์เก้าสิบ ตามจำนวนมากน้อย ผู้ใดไม่มีสิ่งที่รักเลย ผู้นั้นย่อมไม่มีทุกข์ ไม่มีความเศร้าโศก ไม่มีมลทินแห่งจิต ไม่มีความคับแค้นแห่งจิต ดังนี้”
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2013
  13. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    อนันทโพธิ์<O:p</O:p
    ประวัติของต้นโพธิ์นี้มีอยู่ว่า ท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐีได้สอบถามพระอานนท์ว่าในเวลาที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปที่อื่น ซึ่งพวกเราไม่สามารถได้อยู่เฉพาะพระพักตร์ เราควรจะสักการะบูชาสิ่งใด เพื่อน้อมรำลึกถึงพระองค์<O:p</O:p

    พระอานนท์ ได้เข้าไปเฝ้าทูลถาม “คำว่าเจดีย์มีกี่อย่าง พระพุทธเจ้าข้า”<O:p</O:p

    ตรัสตอบว่า “คำว่าเจดีย์มีอยู่ ๓ อย่าง” คือ<O:p</O:p
    ๑) สารีริกธาตุเจดีย์<O:p</O:p
    ๒) ปริโภคิกเจดีย์<O:p</O:p
    ๓) อุทเทสิกเจดีย์<O:p</O:p

    พระอานนท์ “เมื่อพระองค์เสด็จจาริกไปที่อื่น ข้าพระองค์จะทำเจดีย์ไว้ให้เป็นที่สักการะบูชาได้หรือไม่”<O:p</O:p

    พระพุทธองค์ “สารีริกธาตุเจดีย์จะทำได้ต่อเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว ปริโภคิกเจดีย์(คือของใช้ เช่น บาตร จีวร เป็นต้น) เล่าก็ไม่มีสิ่งที่จะทำขึ้นได้เช่นเดียวกัน เพราะเป็นของเนื่องด้วยเรา ส่วนไม้พระศรีมหาโพธิ์ ซึ่งเป็นที่อาศัยตรัสรู้นั้น เป็นเจดีย์ได้ทุกเมื่อ”
    <O:p</O:p
    พระอานนท์ “ฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าขอนำเอาพันธุ์แห่งไม้พระศรีมหาโพธิ์มาปลูกไว้ที่หน้าทางเข้าพระคันธกุฏี คือ ที่บริเวณประตูพระเชตุวันวิหาร เพื่อเป็นปูชนียสถานแห่งมนุษย์ทั้งหลาย”<O:p</O:p

    พระพุทธองค์ทรงอนุญาต พระอานนท์จึงไปแจ้งให้พระเจ้าปเสนทิโกศล และท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐี และนางวิสาขา มหาอุบาสิกาทราบ และได้ขอให้พระโมคคัลลานะช่วยจัดหาผลสุกแห่งต้นศรีมหาโพธิ์ที่พุทธคยาให้ด้วย พระโมคคัลลานะด้วยอิทธิฤทธิ์ของท่านได้หายไปสู่ต้นศรีมหาโพธิ์ที่ประทับตรัสรู้ ดจีวรรองรับผลมหาโพธิ์สุกที่ตกยังไม่ทันถึงดิน จึงนำมามอบให้พระเจ้าปเสนทิโกศลขุดหลุมปลูก พระอานนท์เป็นผู้อำนวยการในงานนี้ทั้งหมด จึงตั้งชื่อต้นโพธิ์นี้ว่า “อานันทโพธิ์” พระพุทธองค์เสด็จไปประทับเข้าสมาบัติ ณ โคนต้นโพธิ์นี้คืนหนึ่ง<O:p</O:p

    ต้นโพธิ์นี้ นับถือกันว่า เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งสำหรับพุทธศาสนิกชน มีอายุจากสมัยพระพุทธองค์จนบัดนี้ ยังไม่ได้ถูกทำลายเลย

    อนาถบิณฑิกะเศรษฐี<O:p</O:p
    ในกรุงสาวัตถี มีคหบดีผู้หนึ่งชื่อว่า สุทัตตะ เป็นคนเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่คนยากจน ได้ตั้งโรงทานให้อาหารคนอนาถาทุกวัน จึงได้ชื่อว่า อนาถบิณฑิกะ แปลว่า มีก้อนข้าวเพื่อคนอนาถา ท่านเศรษฐีมีความเลื่อมใสในพระบรมศาสดาเป็นอย่างยิ่ง ได้เกิดศรัทธาอย่างแรงกล้าที่จะสร้างวัดถวาย จึงไปขอซื้อที่ดินจากราชาที่ดินชื่อ เจ้าเชตุ(Prince Jeta) เจ้าเชตุไม่ยอมขาย กลับพูดเป็นเชิงประชดว่า ถ้าเอาเหรีญทองคำมาปูให้ทั่วบริเวณที่ดินนี้ได้เมื่อไหร่ละก็จะขายให้ ท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐีจึงให้คนใช้เอาเหรียญทองบรรทุกเกวียนมาวางเรียงรายเกลี่ยลงบนที่ดินนั้นจนเกือบเต็มหมดทั่วบริเวณ เจ้าเชตุเห็นใจเลยตกลงขายที่ดินให้ ท่านเศรษฐีจึงได้จัดสร้างวัดขึ้นถวายพระบรมศาสดา ให้ชื่อว่า “เชตุวันมหาวิหาร” มีเนื้อที่ประมาณ ๘๐ ไร่เศษ เป็นเงิน ๒๗ โกฏิ และยังได้บริจาคทรัพย์เพิ่มเติมสร้างพระคันธกุฏี และเสนาสนะสงฆ์อีกเป็นจำนวน ๒๗ โกฏิ เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้ทูลอัญเชิญพระบรมศาสดามาจำพรรษา ทรงยกย่องอนาถบิณฑิกะเศรษฐีผู้บรรลุโสดาบันว่าเลิศกว่าอุบาสกผู้ทายกทั้งหลาย

    เพราะแรงศรัทธาในการสร้างทานบารมีของท่านเศรษฐีนี้ ในบั้นปลายแห่งชีวิตได้เกิดยากจนลงจนแทบจะไม่มีกิน แต่ก็ยังอุตส่าห์เอาปลายข้าวต้มถวายใส่บาตรแด่ภิกษุสงฆ์ทุกวัน พระพุทธองค์ทรงตรัสถามท่านเศรษฐีว่า ท่านยังให้ทานอยู่บ้างหรือเปล่า ท่านเศรษฐีทูลว่า ให้ พระพุทธเจ้าข้า แต่ทานที่ให้นั้นน้อย และเศร้าหมอง มีแต่ข้าวเลวๆ พระพุทธองค์ตรัสสอนว่า การให้ทานจะดีประณีต หรือธรรมดาก็ตาม ขึ้นอยู่กับจิตเจตนาของผู้ให้ ไม่จำเป็นต้องเป็นของดีประณีตเสมอไป ผู้ให้จะต้องน้อมจิตไปเพื่อกุศลกรรมอันดี ให้ด้วยความเคารพนอบน้อม เปี่ยมด้วยเมตตา หวังเพื่ออนุเคราะห์เผื่อแผ่ และเชื่อในผลของกรรม วิบากของการให้ทานนี้จะมีมากมายมหาศาล<O:p</O:p
    <O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2013
  14. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ในพรรษากาลที่ ๒๑ ณ เชตุวันมหาวิหาร มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น ดังนี้คือ
    ๑) ได้มีการแต่งตั้งพระอานนท์เป็นพุทธอุปฐาก คือว่า เมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้ใหม่ๆจนถึงพรรษาที่ ๒๐ มิได้มัพระภิกษุที่คอยรับใช้อุปฐากเป็นการตายตัว ผลัดเปลี่ยนกันอยู่เรื่อย เช่นพระนาคสมาละ พระนาติตะ พระอุปวานะ พระสุนักขัตตะ พระจุนทะ พระสาคตะ และพระเมฆิยะ เป็นต้น อยู่มาวันหนึ่งพระบรมศาสดาทรงปรารภอยากได้อุปฐากประจำ เพราะพระองค์ทรงชรามากแล้ว พระภิกษุสงฆ์ทุกองค์รวมทั้งพระสารีบุตรด้วย ต่างก็เสนอตัวเองขอเป็นอุปฐาก พระพุทธองค์ทรงห้ามเสีย ตรัสว่า พวกเธอทั้งหลายหลุดพ้นแล้ว ไม่ควรจะมาปฏิบัติเรา ภิกษุทั้งหลายจึงเสนอชื่อพระอานนท์ พระอานนท์จึงทูลขอพร ๘ ประการ คือ ถ้าพระพุทธองค์ทรงอนุมัติพรทั้งหมดนี้ให้ ก็จะยอมเป็นพระอุปฐาก คือ

    พร ๘ ประการ ที่พระอานนท์ทูลขอมีดังนี้:-
    ๑) ขออย่าประทานจีวรอันประณีตแก่ข้าพระองค์
    ๒) ขออย่าประทานบิณฑบาตอันประณีตแก่ข้าพระองค์
    ๓) ขอได้โปรดอย่าให้ข้าพระองค์อยู่ร่วมพระคันธกุฏีกับพระองค์
    ๔) ขอได้โปรดอย่าพาข้าพระองค์ตามเสด็จไปสู่ที่รับนิมนต์
    ๕) ขอพระองค์จงเสด็จไปสู่ที่นิมนต์ ที่ข้าพระองค์รับไว้
    ๖) ขอให้ข้าพระองค์พาบริษัทที่มาจากแดนไกลเข้าเฝ้าพระองค์ได้ในขณะที่มาถึงแล้ว
    ๗) ขอให้ข้าพระองค์ทูลถามความสงสัยได้ทุกอย่าง ตามปรารถนา
    ๘) ขอให้ทรงนำพระธรรมเทศนาเรื่องใดที่ทรงแสดงลับหลังข้าพระองค์ มาแสดงให้ข้าพระองค์ได้ฟังด้วย


    พระบรมศาสดาทรงประทานพร ๘ ประการตามที่พระอานนท์ทูลขอ ต่อแต่นั้นมา พระอานนท์ก็ได้เป็นผู้ปฏิบัติอุปฐากประจำตลอดมาจนกระทั่งเสด็จดับขันธปรินิพพาน รวมเวลาได้ ๒๕ ปี
    พระอานนท์นั้นได้รับตำแหน่งเอทัคคะ คือ ฐานะอันเลิศ ค ประการ คือ
    -เป็นพหูสูตร
    -เป็นผู้มีสติมั่นคง
    -เป็นผู้มีปัญญาเลิศองค์หนึ่ง
    -เป็นผู้มีความเพียร
    -เป็นผู้ปฏิบัติพระพุทธองค์ด้วยความจงรักภักดี

    มิใช่แต่เท่านั้น ยังเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติอีก ๗ ประการ คือ
    อาคมสมบัติ ได้แก่ กาสดับตรับฟัง ศึกษาเล่าเรียน
    อธิคมสมบัติ ได้แก่บรรลุโสดาปัตติผล
    ปุพพเหตุสมบัติ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอุปนิสัยแห่งสาวกบารมีมาแต่ปางก่อน
    อัตถานัตถปริปุจฉาสมบัติ ได้แก่การไต่ถามสิ่งซึ่งเป็นประโยชน์ และไม่เป็นประโยชน์
    ติฏฐวาสสมบัติ ได้แก่อบรมคุณธรรมให้ตั้งอยู่
    โยนิโสมนสิการสมบัติ ได้แก่การพิจารณาเหตุผลด้วยอุบายอันชอบ
    พุทธอุปนิสยสมบัติ คือมีอุปนิสัยอันที่จะได้เป็นผู้ปฏิบัติพระพุทธเจ้า

    ๒) เสด็จโปรดโจรองคุลีมาล
    พระองคุลีมาล เป็นชาวสาวัตถี บุตรพราหมณ์ปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล เดิมชื่ออหิงสกะคัคคะ(แปลว่า ผู้ไม่เบียดเบียนใคร) บิดาส่งไปเรียนศิลปศาสตร์ที่เมืองตักกสิลา ท่านเรียนเก่ง ไม่มีใครสู้ได้ ทำให้เพื่อนๆอิจฉาแกล้งฟ้องอาจารย์ว่า อหิงสกะ คิดจะฆ่าอาจารย์บ้าง คิดจะล่วงเกินลูกสาว และภรรยาอาจารย์บ้าง ในครั้งแรกๆ อาจารย์ก็ไม่เชื่อ แต่เมื่อได้ฟังคำฟ้องบ่อยๆ ก็คิดว่าต้องเป็นจริงแน่ จึงหาอุบายที่จะฆ่าอหิงสกะเสีย โดยจะให้คนอื่นลงมือทำให้ อาจารย์เรียกมาหาบอกว่า อหิงสกะเรียนจวนจบหลักสูตรแล้ว แต่ขาดศาสตร์สุดท้ายชื่อ วิษณุมนต์ วิชาล่องหนหายตัวได้อย่างพระนารายณ์ เมื่อใดฆ่าคนได้ครบ ๑,๐๐๐ กลับมา อาจารย์จะสอนวิชาสุดยอดนี้ให้ ด้วยความรักอยากได้ของวิเศษ อหิงสกะจึงเที่ยวไปในป่า พบใครเข้าฆ่าตายหมด แล้วตัดนิ้วร้อยเป็นพวงมาลัยสวมไว้ที่คอ คนทั้งหลายพากันหวาดกลัว ตั้งชื่อให้ใหม่ว่า โจรองคุลีมาล แปลว่า ผู้สวมพวงมาลัยนิ้วมือ องคุลีมาล้ที่ยวฆ่าคนอยู่อย่างนี้จนได้นิ้วคนตายมา ๙๙๙ ชิ้น พระเจ้าปเสนทิโกศลรู้เรื่องเข้า จึงตระเตรียมกองทหารออกไปปราบ พระบรมศาสดาทรงพิจารณาด้วยพระญาณทราบว่า องคุลีมาลต้องมาพบมารดาของตน ซึ่งเที่ยวติดตามหาบุตรอยู่ด้วยความเป็นห่วง หากองคุลีมาลฆ่ามารดาแล้วไซร้ ก็จะเป็นบาปหนักยิ่ง ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์จึงเสด็จราชดำเนินเป็นระยะทางถึง ๓๕ โยชน์ มาดักคอยพบองคุลีมาลในป่า

    องคุลีมาลวิ่งตามไล่ฟัน แต่จะไล่ตามอย่างไรๆก็ไม่ทัน จึงหยุดยืนร้องตะโกนว่า
    สมณะ หยุดก่อนๆ
    พระพุทธองค์ตรัวตอบว่า
    เราหยุดแล้ว ท่านต่างหากยังไม่หยุด
    องคุลีมาลตอบว่า ท่านโกหก ก็ท่านเดินหนีเราไปเรื่อยๆอย่างนั้น จะว่าท่านหยุดแล้วได้อย่างไร
    พระองค์ตอบว่า องคุลีมาล เราหยุดทำบาปหมดทุกๆอย่างแล้ว ท่านต่างหากยังกำลังทำบาปอยู่อย่างร้ายกาจ
    [​IMG]

    พอได้ยินพระดำรัสนี้ องคุลีมาลก็รู้สึกตัวว่า ตนได้ทำความชั่วช้าสามานย์มานาน สีหน้าเผือดสลดลง โยนมีดดาบทิ้ง เดินตรงเข้าไปกราบที่พระบาทพระบรมศาสดา วิงวอนขอโทษ และขอได้ช่วยบวชให้เป็นภิกษุสงฆ์ด้วย เมื่อบวชแล้วก็ไม่ได้ก่อความเดือดร้อนให้แก่ใครอีกเลยตั้งหน้าปฏิบัติธรรมจนได้สำเร็จมรรคผลในที่สุด

    เวลาท่านบวชใหม่ๆต้องรับกรรมหนักด้วยการถูกด่า ถูกว่าหยาบคาย เวลาไปบิณฑบาตก็มีแต่ผู้คนแตกตื่นวิ่งหนีกันวุ่นวาย บางคนก้เอาไม้ไล่ขว้างตี ไม่มีใครเขาถวายอาหารเลย แต่ท่านก็ไม่ได้โกรธ หรืออาฆาตตอบผู้ใด ทนรับกรรมอยู่อย่างสงบ แม้เวลาทำสมาธิก็จะเห็นภาพคนที่ถูกท่านฆ่าตายมาปรากฎ จิตไม่สงบลงได้ พระพุทธองค์ทรงทราบด้วยพระปัญญาญาณจึงตรัสสอนว่า องคุลีมาล เธอได้เคยสร้างกรรมดีไว้ในอดีตชาติอย่างสูงมาแล้ว แต่ต้องมามัวหมองในชาตินี้ เพราะถูกอาจารย์หลอก เธอไม่ได้มีเจตนาอาฆาตมาดร้ายผู้ใดเลย ฉะนั้น จงพิจารณาแต่เหตุปัจจุบันเท่านั้น อย่าไปนึกถึงสิ่งที่ล่วงมาแล้ว และสิ่งที่ยังไม่มาถึง พิจารณาธรรมที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าอย่างเดียวด้วยความเพียรอย่างอุกฤษณ์ กับอิทธิบาท ๔ กุศลเก่าของเธอมีอยู่แล้ว จะได้ประสบผลสำเร็จโดยไม่นานนัก

    พระองคุลีมาลนึกอยู่ในใจของท่านเสมอในคำสอนของพระพุทธองค์ ที่ว่าท่านไม่ได้มีเจตนาจะทำให้ใครเจ็บปวดเลย จนกลายเป็นคำอธิษฐาน คำภาวนาที่ศักดิ์สิทธิ์ โดยเฉพาะการช่วยหญิงมีครรภ์ให้คลอดง่าย คาถาของท่านมีดังนี้

    ยโตหํ ภคินี อริยาย ชาติยา ชาโต
    นาภิชานามิ สญจจฺจ ปาณํ ชีวิตา
    โวโรเปตา เตน สจฺเจน โสตฺถิ
    เต โหตุ โสตฺถิ คพฺภสฺส

    แปลว่า ดูกร น้องหญิง เราได้เกิดใหม่ในอริยชาติแล้ว เราไม่จงใจที่จะแกล้ง หรือฆ่าสัตว์ และมนุษย์ใดๆอีกต่อไป ด้วยอำนาจสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแด่ครรภ์ของเธอ และตัวเธอเถิด


    ขอนำเรื่องของ"บุพพกรรมขององคุลีมาล"จากคำสอนบางตอนของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง มาขยายความในที่นี้เพื่อให้เกิดภาพที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น...

    เรื่องที่ ๑๓๕

    ตายจากควายป่ากลับมาเกิดเป็นคน ฆ่าคนเป็นพัน เมื่อพบพระพุทธเจ้าก็ได้บรรลุอรหัตผล

    บุพพกรรมของท่านองคุลีมาล

    กรรมเก่าของท่านองคุลีมาลมาสนอง ก่อนที่ท่านองคุลีมาลจะมาเกิดเป็นคน ท่านเกิดเป็นควายป่าที่มีความเก่งกล้าสามารถมากสามารถปราบสัตว์ป่าทุกประเภทให้แพ้ท่านได้ เมื่อปราบสัตว์ในป่าได้ก็เลยออกจากป่ามาปราบควายที่ชาวบ้านเลี้ยง ในที่สุดก็ปราบได้ราบคาบ ขวิดวัวควายช้างม้าของชาวบ้านตายบ้าง บาดเจ็บใช้งานไม่ได้บ้าง ชาวบ้านเขาก็โกรธ ต่อมาเขาก็รวมตัวกันคิดฆ่าควายป่าตัวนี้ จึงทำคอกที่แข็งแรงมาก ทำทางเข้าแต่เข้าได้ไม่ถึงควายที่กักไว้ในคอก ทางที่เข้าคอกปากทางใหญ่ แต่พอใกล้จะถึงคอกก็เล็กคับตัวมา แล้วเขาก็เตรียมไม้ไว้เพื่อสอดเข้าไปกันออก เมื่อเสร็จแล้วจึงเอาควายเลี้ยงไว้ในคอกเพื่อเป็นนกต่อ ควรจะเรียกว่าควายต่อมากกว่า
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    เมื่อถึงเวลาควายป่าองคุลีมาลก็ออกจากป่าเพื่อล่าสังหารศัตรู ความจริงไม่มีใครเป็นศัตรูท่านเองเที่ยวเป็นศัตรูกับคนอื่น เดินออกมาก็หาช้างม้าวัวควายไม่พบ เมื่อเดินเข้ามาถึงเขตคอก พวกควายในคอกก็กลัวแต่ไม่ยอมหนี เพราะไม่มีทางหนีออกจากคอกได้ ควายป่าก็เดินไปเดินมาก็เห็นควายพวกนั้นไม่หนี ก็คิดว่าเจ้าพวกนี้ไม่รู้จักราชสีห์ควายเสียแล้ว จะต้องสั่งสอนให้รู้สำนึกว่าเราคือราชสีห์ควาย เดินวนไปวนมาหาทางเข้าไปปราบปรามก็ไม่มีทางเข้า
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    พอมาถึงประตูที่เขาทำลวงไว้ ไม่ทันสังเกตก็พุ่งตัวโดยแรงเข้าประตู เมื่อถึงช่องแคบตัวก็ติดกลับตัวออกก็ไม่ได้เพราะคับมาก ชาวบ้านเห็นเจ้าควายป่าเกเรติดช่องแคบก็รีบมา เอาไม้ใส่สกัดไว้ไม่ให้ออกมา ควายป่าก็หมดทางขยับตัว ต่อจากนั้นชาวบ้านที่ต้องเสียหายเพราะสัตว์เลี้ยงถูกทำร้ายใช้งานไม่ได้ เพราะเจ้าควายตัวนี้ รวมกันทั้งหมดพันคนเศษก็ร่วมมือกันตีควายป่าจนตาย คนที่ลงมือตีจริงๆ คงไม่กี่คนนัก แต่คนที่ร่วมคิดร่วมทุนกันจัดทำคอก และร่วมใจว่าเจ้าควายตัวนี้เราต้องฆ่าให้ตาย ขืนปล่อยไว้สัตว์เลี้ยงเราจะตายหมด ความจริงเขาก็คิดในมุมเมตตาสัตว์เลี้ยงและให้ความเป็นธรรมถูกต้องแล้ว
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    แต่กฎของกรรมท่านไม่เห็นด้วย ก่อนจะตายควายป่าตัวนั้นมันลืมตาดูคนที่รุมฆ่ามันและคิดว่า "ชาติหน้ากูขอฆ่ามึงบ้าง ชาตินี้กูคนเดียวมึงรุมฆ่ากู ชาติหน้ากูคนเดียวจะฆ่าพวกมึงทั้งหมด" เป็นการจองเวรกันชัดๆ
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    พวกคนที่รุมฆ่าควายตัวนั้น ในชาตินี้มาเกิดเป็นคนในเขตเมืองพาราณสีและในเมืองใกล้เคียง แม่ของท่านองคุลีมาลเองก็อยู่ในกลุ่มคนที่ฆ่าท่านมาในชาติก่อนด้วย ชาตินี้ท่านจึงมาเกิดในครรภ์ของคนที่จองจะฆ่าตั้งแต่ชาติก่อน
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    ทุกท่านที่อ่านเรื่องนี้แล้วช่วยกันคิดว่า ลูกที่เราหวังดีบางคนทำไมจึงไม่เห็นใจ และไม่เห็นความดีของพ่อแม่ กลับทำลายล้าง และเป็นศัตรูกับพ่อแม่ ให้เอาเรื่องนี้เป็นเครื่องเปรียบเทียบก็แล้วกัน
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    เมื่อกรรมเก่าของท่านที่กล่าวมาแล้วเริ่มเข้าสนองใจ ก็เป็นเหตุบันดาลให้คณะศิษย์ที่มาเรียนร่วมกันทั้งหมดมีอารมณ์ริษยามากขึ้น ตอนนี้...จะเห็นว่าอกุศลกรรมที่ทำไว้เข้าสิงใจพวกเพื่อนก่อน ทุกคนจึงไปยุครู....

    หลวงพ่อฤาษีฯ ท่านขมวดปมท้ายคำสอนเอาไว้ว่า...

    การที่นำเรื่องนี้มาเล่าให้ฟังก็เพื่อจะให้เข้าใจว่า การทำบาปอาจจะเป็นความจำเป็น เพราะการจองเวรจองกรรมกันก็ได้ เพราะเราเกิดทุกชาติก็มีการฆ่าสัตว์ทุกชาติ บางชาติเราอาจจะเป็นสัตว์ถูกเขาฆ่าและอาจจะจองเวรอย่างท่านองคุลีมาลจองไว้ก็ได้ เพื่อความมั่นใจถ้าต้องการผลจริง ขอให้ทุกคนตั้งใจเวลาทำบุญ เวลานั้นจงอย่านึกถึงบาป เมื่อเจริญภาวนาจงอย่านึกถึงบาป หลังจากทำบุญแล้วให้อุทิศส่วนกุศลถึงสัตว์ที่ฆ่ามาแล้ว ขอให้อโหสิกรรมจนกว่าจะเข้านิพพาน

    ถ้าทำอย่างนี้เสมอๆ กำลังใจจะคลายจากอารมณ์คิดถึงบาป เมื่อเวลาจะตาย ใจนึกถึงบุญที่ทำจนชินที่เรียกว่า "ฌาน" จะเป็นบุญประเภทใดก็ได้ ทางที่ดีภาวนานึกถึงพระพุทธเจ้าไว้เป็นปกติ ท่านที่ได้ฌานสามารถไปสวรรค์ พรหม พระนิพพานได้ ใช้กำลังใจจับอยู่สถานที่ที่เราชอบมากที่สุดไว้ทุกเช้าเย็น เมื่อเริ่มป่วยจับอารมณ์ไว้ว่า ถ้าเราตายขอมาที่นี้แห่งเดียวทางที่ดีควรคิดและทำอย่างนี้ทุกครั้งที่ตื่นนอนตอนเช้า ถ้าทำอย่างนี้เป็นประจำวัน ก่อนจะตายอารมณ์ก็จะจับกุศลก่อน เมื่อจิตออกจากร่างเมื่อไรก็จะไปตามที่เราต้องการทันที และถ้าหากขณะที่ไปเป็นเทวดาหรือพรหม พบพระศรีอาริยเมตไตรยเมื่อไร ฟังเทศน์จบเดียวก็จะบรรลุมรรคผล ในที่สุดก็สามารถไปพระนิพพาน พ้นจากการกลับมาเสวยทุกข์อีกต่อไป.."<O[​IMG]</O[​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2013
  15. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    นำเอาเรื่องบุพพกรรมของพระอัครสาวก โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน(หลวงพ่อฤาษีฯ) มาขยายความให้เรื่องราวของพระอัครสาวกทั้ง ๒ สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ก่อนที่จะไปยังเรื่องถัดไป...

    สำหรับวันนี้ ก็จะขอนำเอาบุพกรรมของพระอัครสาวกมาเล่าสู่กันฟัง ตามพระบาลีท่านกล่าวว่า ภิกษุทั้งหลายทูลถามว่า พระอัครสาวกทั้งสอง ได้ทำกรรมอะไรไว้พระเจ้าข้า

    องค์สมเด็จพระชินสีห์จึงได้ตรัสว่า อัครสาวกทั้งสองทำความปรารถนาไว้เพื่อเป็นอัครสาวก
    พระองค์ทรงกล่าวว่า ในที่สุดแห่งอสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปนี้ไป พระสารีบุตรเกิดในสกุลพราหมณ์มหาศาล มีนามว่า สรทมาณพ พระโมคคัลลานะ เกิดในตระกูลคหบดีมหาศาล มีนามว่า สิริวัฑฒกฎุมพี มาณพทั้งสองนั้นได้เป็นสหายเล่นฝุ่นมาด้วยกัน สรทมาณพ เมื่อบิดาตายแล้วได้ครอบครองทรัพย์สมบัติเป็นอันมาก อันเป็นมรดกของตระกูล

    ในวันหนึ่งอยู่ในที่ลับตา คิดว่า เราย่อมรู้อัตภาพโลกนี้เท่านั้น หารู้จักอัตภาพโลกหน้าไม่ (หมายความว่า ชาตินี้เราเกิดเป็นคน แต่ชาติหน้าเราจะเกิดเป็นอะไรนี่เราไม่รู้)
    อันธรรมดาความตายของสัตว์เกิดแล้วย่อมเป็นของเที่ยง (หมายความว่าสัตว์ทุกคนที่เกิดมาแล้วในโลก ต้องตายเหมือนกันหมด ไม่มีใครหนีได้) ควรที่เราจะบวชเป็นบรรพชิตอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำการแสวงหาโมกขธรรม
    คำว่า โมกขธรรม แปลว่า ธรรมเป็นเครื่องพ้นแห่งความตาย

    สรทมาณพนั้นเข้าไปหาสหายแล้วพูดว่า สิริวัฑฒะผู้สหาย ข้าพเจ้าจักบวชแสวงหาโมกขธรรม ท่านจักบวชกับเราหรือไม่ หรือว่าไม่อาจจักบวช
    ท่านสิริวัฑฒะก็ตอบว่า ข้าพเจ้าจักไม่อาจ สหาย ท่านบวชคนเดียวเถิด

    สรทมาณพนั้นคิดว่า ธรรมดาผู้ไปสู่ปรโลก จะพาสหายหรือญาติมิตรไปด้วยได้ ไม่มี
    นี่หมายความถึงว่า คนเราน่ะจะรักกันขนาดไหนก็ตาม เวลาตายไม่สามารถจะพาใครเขาตายไปพร้อมกันได้ คนที่บอกว่ารักเรามากที่สุดน่ะ ความจริงเวลาเราตายเขาไม่ได้ตายไปด้วย เราตายของเราคนเดียว

    ท่านคิดต่อไปว่า กรรมที่ตนทำแล้วย่อมเป็นของตนเอง ดังนั้น ท่านสรทมาณพจึงไปเปิดเรือนคลังแก้วออกให้ทานเป็นการใหญ่ แก่คนกำพร้า คนเดินทาง และวณิพก คือคนยากจนเข็ญใจทั้งหลาย แล้วเข้าไปสู่เชิงเขา บวชเป็นฤาษี บรรดาชนทั้งหลายที่มีความรักในท่าน บวชตามท่านสรทะนั้นด้วยอาการอย่างนี้คือ หนึ่งคน สองคน สามคน จนกระทั่งมีชฎิลประมาณเจ็ดหมื่นสี่พันคน
    สรทชฎิลหรือสรทดาบส (ท่านใช้นามว่าชฎิลนะ) ทำอภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ ให้เกิดแล้ว บอกกสิณบริกรรมแก่ชฎิลทั้งหลายเหล่านั้น บรรดาชฎิลที่เป็นลูกศิษย์ทั้งหลายทั้งหมดก็ทำอภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ ให้เกิดขึ้น

    ท่านกล่าวต่อไปว่า ในสมัยนั้นพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า อโนมทัสสี เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก ในนครที่มีชื่อว่า จันทวดี มีพระมหากษัตริย์ทรงพระนามว่า ยสวันตะ เป็นพระราชบิดา พระราชเทวีมีนามว่า ยโสธรา เป็นพระราชมารดา มีไม้รกฟ้า เป็นที่ตรัสรู้ (ต้นไม้ เดิมเขาเรียกว่าต้นไม้รกฟ้า แต่พอตรัสรู้ ที่ตรงนั้นเขาเรียกว่า ต้นโพธิ์ เหมือนกัน โพธิ แปลว่า รู้)

    มีพระอัครสาวกทั้งสอง ชื่อ นิสภะ และ อโนมะ อุปัฏฐากชื่อว่า วรุณะ อัครสาวิกาเป็นอัครสาวกซ้ายขวาเหมือนกัน มีนามว่า สุมนา และ สุนทรา (อัครสาวิกา หมายความว่าภิกษุณี คือพระผู้หญิงน่ะ) พระชนมายุพระองค์มีแสนปี พระสรีระนั้นสูงถึง ๕๘ ศอก พระรัศมีแห่งพระสรีระแผ่ไปได้ ๑๒ โยชน์ มีภิกษุแสนหนึ่งเป็นบริวาร

    วันหนึ่ง เวลาใกล้รุ่ง พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า อโนมทัสสี นั้นเสด็จออกจากมหากรุณาสมาบัติ
    หมายความว่า ตอนเช้ามืด พระพุทธเจ้าย่อมเข้าสมาบัติ อันหนึ่งที่เราเรียกกันว่า พระพุทธญาณ เป็นญาณเฉพาะของพระพุทธเจ้าโดยเฉพาะ พระสาวกหรืออัครสาวกไม่สามารถจะทำได้ พระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ ทำอย่างนี้เหมือนกันหมด

    ทรงพิจารณาดูสัตว์ในโลกอยู่แล้ว ก็ทอดพระเนตรเห็นสรทดาบส แล้วทรงมีพระพุทธดำริว่า เพราะเราไปสู่สำนักสรทดาบสในวันนี้ จะเป็นปัจจัยให้เธอได้ฟังพระธรรมเทศนา จักมีคุณใหญ่ และสรทดาบสนั้นจะปรารถนาตำแหน่งพระอัครสาวก สิริวัฑฒกฎุมพีผู้สหายดาบสนั้น จักปรารถนาตำแหน่งพระอัครสาวกที่สอง (หมายความว่าอัครสาวกเบื้องซ้าย) ทั้งในการเทศนาชฎิลเจ็ดหมื่นสี่พันบริวารของดาบสนั้น จักบรรลุอรหันต์ เราควรไปที่นั้น

    เมื่อทรงดำริดังนี้แล้ว จึงได้ถือบาตร และจีวรของพระองค์ ไม่ตรัสเรียกใครอื่น เสด็จไปแต่พระองค์เดียวเหมือนพญาราชสีห์ เมื่ออันเตวาสิกทั้งหลายของสรทดาบสไปแล้วเพื่อต้องการผลาผล ทรงอธิษฐานว่า ขอสรทดาบสจงทราบความที่เราเป็นพระพุทธเจ้าเมื่อสรทดาบสเห็นอยู่นั่นแหละ และก็ทรงเสด็จลงจากอากาศประทับยืนบนแผ่นดิน

    ขณะนั้น ท่านสรทดาบสเห็นพระพุทธานุภาพและความสำเร็จแห่งสรีระ สอบสวนมนต์สำหรับทำนายลักษณะก็ทราบว่า อันผู้ประกอบลักษณะอย่างนี้ เมื่ออยู่ในท่ามกลางเรือน ย่อมเป็นพระเจ้าจักพรรดิ เมื่อออกบวชก็จะต้องเป็นสัมมาสัมพุทธเจ้า มีกิเลสเครื่องมุงบังอันเปิดแล้วในโลก (คำว่าเปิดแล้ว หมายความว่าหมดไป) บุรุษนี้จักเป็นพระพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย จึงทำการต้อนรับถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ได้จัดอาสนะถวายแล้ว พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะที่จัดไว้ สรทดาบสนั่งในที่อันตนเห็นสมควร คือต่ำกว่าในส่วนข้างหน้า

    ในสมัยนั้น บรรดาชฎิลเจ็ดหมื่นสี่พัน ถือผลไม้ต่าง ๆ อันประณีต มีรสอันโอชะ มาถึงสำนักของอาจารย์ แลดูอาสนะที่พระพุทธเจ้าประทับและอาจารย์นั่งแล้ว จึงได้พูดขึ้นว่า ท่านอาจารย์ พวกผมเที่ยวไปด้วยเข้าใจว่า ในโลกนี้ ผู้เป็นใหญ่กว่าอาจารย์ย่อมไม่มี และบุรุษผู้นี้เห็นจะเป็นใหญ่กว่าอาจารย์กระมังขอรับ

    ท่านสรทดาบสก็ตอบว่า พ่อทั้งหลาย พวกเจ้าพูดอะไร พวกเจ้าปรารถนาเพื่อทำเขาสิเนรุซึ่งสูง ๖๘ แสนโยชน์ให้เสมอกับเมล็ดพันธุ์ผักกาดกระนั้นหรือ

    นี่ท่านหมายความว่า ตัวท่านน่ะเหมือนกับเมล็ดพันธุ์ผักกาด แต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคมีอานุภาพเหมือนกับเขาพระสุเมรุสูง ๖๘ แสนโยชน์

    ท่านจึงกล่าวว่า ลูกทั้งหลาย พวกเจ้าอย่าทำการเปรียบเทียบเรากับสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย ครั้งนั้นดาบสเหล่านั้นคิดว่า ถ้าบุรุษผู้นี้จักเป็นคนเล็กน้อยแล้วไซร้ ท่านอาจารย์ของพวกเราคงไม่ชักสิ่งเหล่านี้มาอุปมา บุรุษผู้นี้จักเป็นใหญ่เพียงไรหนอ เมื่อคิดอย่างนี้แล้ว เขาทั้งหมดนั่นแหละหมอบลงแทบพระบาททั้งสอง ถวายบังคมด้วยเศียรเกล้า

    ครั้งนั้น พระอาจารย์กล่าวกับดาบสเหล่านั้นว่า ไทยธรรมที่สมควรแก่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราไม่มี สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเสด็จมาในเวลานี้ เป็นเวลาภิกขาจาร (คือเป็นเวลาบิณฑบาต) พวกเราจักถวายไทยธรรมตามสติตามกำลัง พวกเราจงนำผลไม้อันประณีตมีรสอร่อยที่สุดที่มีอยู่มาถวายเถิด ครั้นนำมาแล้ว ล้างมือทั้งสองแล้ว ตั้งไว้ในบาตรของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยตนเอง

    เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรับผลไม้แล้ว บรรดาเทวดาทั้งหลายก็โปรยโอชะอันเป็นทิพย์ลง ดาบสนั้นได้กรองน้ำถวายด้วยตนเอง
    เห็นไหม เทวดาย่องผสมเขาเสมอ เวลาที่ใครเขาถวายทานแก่พระพุทธเจ้า เทวดาท่านก็ย่อง ๆ เอาของทิพย์มาโปรยให้เสมอ เป็นอันว่าทำบุญร่วมกัน

    ตอนนั้น เมื่อองค์สมเด็จพระภควันต์บรมศาสดาทรงประทับทำภัตกิจ (คือฉัน) แล้ว ดาบสนั้นเรียกอันเตวาสิกทั้งสิ้นมานั่ง กล่าวสาราณียกถา ใกล้ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    สาราณียกถา คือ ชม จะไปนั่งกล่าวบนศาลาไม่ใช่อย่างนั้นนะ ชมเชยความดีของพระพุทธเจ้า
    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงดำริว่า ขออัครสาวกทั้งสองจงมาพร้อมด้วยบรรดาพระภิกษุสงฆ์
    พระอัครสาวกทั้งสองนั้น ทราบดำริขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า อโนมทัสสีแล้ว บรรดาพระขีณาสพหรือพระอรหันต์แสนรูปเป็นบริวาร ก็มาถวายบังคมองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

    ลำดับนั้น สรทดาบสเรียกอันเตวาสิกคือลูกศิษย์ทั้งหลายมาแล้วกล่าวว่า พ่อทั้งหลาย แม้อาสนะที่พระพุทธเจ้าประทับนั่งต่ำ ซ้ำอาสนะสำหรับสมณะตั้งแสนก็ไม่มี พวกเจ้าควรทำพุทธสัการะให้โอฬารในวันนี้ จงนำดอกไม้ทั้งหลายที่ถึงพร้อมไปด้วยสีและกลิ่นมาแต่งเชิงเขา
    เวลาที่พูดดูเหมือนกับเนิ่นช้า แต่ความจริงเรื่องผู้มีฤทธิ์แผลบเดียวก็ได้ จำให้ดีนะ เพราะเรื่องของท่านมีฤทธิ์ คนอื่นที่ไม่มีฤทธิ์อย่าเข้าไปคิด คิดแล้วเป็นบ้า เป็นอจินไตย เวลานี้ มักจะชอบคิดกันวิจารณ์กัน ทั้งที่ตนเองแม้แต่ศีล ๕ ก็ไม่ครบ บางคนหาศีลไม่ได้เลย ก็ยังไม่คิดเปรียบเทียบอารมณ์ของตนกับท่านผู้มีฤทธิ์นี่น่าสงสาร

    เพราะฉะนั้น โดยการเพียงครู่เดียวเท่านั้น บรรดาบุตรทั้งหลายเหล่านั้นก็นำดอกไม้ทั้งหลายที่ถึงพร้อมไปด้วยสีและกลิ่นมา แล้วตบแต่งอาสนะดอกไม้สำหรับพระพุทธเจ้า ประมาณได้หนึ่งโยชน์ สำหรับพระอัครสาวกทั้งสองประมาณ ๓ คาวุธ ( ๑ คาวุธ เท่ากับ ๑๐๐ เส้น โยชน์หนึ่งเท่ากับ ๔๐๐ เส้น) สำหรับภิกษุที่เหลือ ประมาณแตกต่างกัน มีประมาณครึ่งโยชน์เป็นต้น สำหรับภิกษุใหม่ประมาณ ๒ อุสุภะ (อุสุภะหนึ่งยาว ๒๕ วา) ใคร ๆ ไม่พึงคิดว่าในอาศรมแห่งเดียวจะตกแต่งอาสนะใหญ่โตเพียงนั้นได้อย่างไร

    เรื่องของผู้มีฤทธิ์น่ะมันได้ทั้งนั้นแหละ อย่างขวดเล็ก ๆ ลูกเดียว บรรดาพระอรหันต์แสนองค์สามารถอยู่ในนั้นพร้อมกันได้ถ้าทรงอภิญญา หรือว่าไม่เป็นพระอรหันต์ แต่เป็นพระผู้ทรงอภิญญาก็สามารถอยู่ได้

    เมื่อตกแต่งอาสนะเสร็จแล้วอย่างนั้น ท่านสรทดาบสก็ยืนประคองอัญชลี (คือพนมมือ) เบื้องพระพักตร์ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์ทรงเสด็จขึ้นสู่อาสนะดอกไม้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขของข้าพระองค์ตลอดกาลนานเถิด พระเจ้าข้า

    ตอนนี้มีภาษิตอยู่ตอนหนึ่ง ขอกล่าวตามพระบาลีว่า เพราะเหตุนั้นโบราณาจารย์จึงกล่าวไว้ว่า สรทดาบสเอาดอกไม้ต่าง ๆ และของหอมรวมด้วยกัน ตกแต่งอาสนะดอกไม้ไว้แล้ว ได้กราบทูลองค์สมเด็จพระประทีปแก้วว่า
    ข้าแต่พระวีระ อาสนะที่ข้าพระองค์ตกแต่งแล้วนี้ สมควรแด่พระองค์ พระองค์เมื่อจะยังจิตของข้าพระองค์ให้เลื่อมใสแล้ว ขอจงประทับนั่งบนอาสนะดอกไม้ พระพุทธเจ้าได้ทรงยังจิตของข้าพระองค์ให้เลื่อมใสแล้ว ยังโลกนี้และเทวโลกให้ร่าเริงแล้ว ขอจงประทับนั่งบนอาสนะดอกไม้ตลอด ๗ วัน ๗ คืน
    เอาเข้าแล้ว นี่ท่านให้พระพุทธเจ้าประทับนั่ง ๗ วัน ๗ คืน คงจะนอนด้วยกระมัง แต่ว่าไม่ได้นะ ท่านดาบสพวกนี้ท่านได้อภิญญา ๕ ท่านทรงสมาบัติ ๘ ไอ้เรื่องนั่งเฉย ๆ นอนเฉย ๆ ๗ วัน ๗ คืน น่ะมันเรื่องเล็ก ๆ จะว่ากัน ๗๐ วัน ๗๐ เดือน ๗๐ ปี ก็ยังได้ มันเป็นของไม่ยาก ถ้าไม่มั่นใจละก็ ลองกันดูก็ได้
    ทุกท่าน ถ้าไม่เชื่อว่าคำที่พูดนี้เป็นไปได้ จงทำอภิญญา ๕ ให้ปรากฎ แล้วก็ทรงสมาบัติ ๘ ให้ปรากฎ จะเห็นว่าที่พูดว่า ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน นี่มันยังเล็ก ท่านคงคิดว่าน่าจะพูด ๗๐๐ ปี ๗๐๐ เดือน ๗๐๐ วัน หรือ ๗,๐๐๐ ปี ๗,๐๐๐ เดือน ๗,๐๐๐ วัน ถ้าตั้งจิตอธิษฐานด้วยอำนาจของอภิญญา 5 หรือสมาบัติ 8 มันเป็นของเล็กจริง ๆ เอ้า คุยกันต่อไป

    เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทับนั่งแล้ว พระอัครสาวกทั้งสอง และภิกษุที่เหลือก็นั่งแล้วอยู่บนอาสนะที่สมควรแก่ตน ท่านสรทดาบสได้ถือฉัตรดอกไม้ใหญ่ ยืนกั้นเหนือศรีษะของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระพุทธองค์ได้ทรงอธิษฐานว่า ขอสักการะของชฎิลนี้จงมีผลใหญ่
    นี่เป็นคำครอบ พระจำให้ดีนะ กินของเขาแล้วอย่ากินเปล่า รับของของเขาแล้วอย่ารับเปล่า ทำจิตให้บริสุทธิ์ ตั้งจิตอธิษฐานอย่างนี้ เอาง่าย ๆ เอาเหมือนพระพุทธเจ้าแล้วกันว่า ขอสักการะของท่านผู้นี้ที่สงเคราะห์แก่เราแล้วจงมีผลใหญ่ เท่านี้พอ

    เมื่อพระองค์ตรัสดังนั้นแล้ว ก็ทรงเข้า นิโรธสมาบัติ อัครสาวกทั้งสองก็ดี ภิกษุที่เหลือก็ดี ทราบว่าองค์สมเด็จพระชินสีห์เข้านิโรธสมาบัติแล้ว ก็เข้าสมาบัติบ้าง คือ ผลสมาบัติ (อภิญญาผลสมาบัตินะ เพราะท่านได้อภิญญา)

    ส่วนพวกอันเตวาสิก เมื่อถึงเวลาเที่ยวไปภิกษาบริโภคมูลผลาผลในป่าแล้ว ก็ยืนประคองอัญชลี แด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ตลอดเวลาที่เหลือ (หมายความว่า เวลาที่กินอะไรเสร็จก็มายืนไหว้พระพุทธเจ้าตลอด ๗ วันเหมือนกัน)

    สำหรับพระอาจารย์ไม่ยอมฉันอาหาร กั้นฉัตรดอกไม้อยู่อย่างนั้นแหละ ให้เวลาล่วงไปโดยที่มีปีติ คือความอิ่มใจ แล้วก็สุขตลอด ๗ วัน

    เมื่อองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดา เสด็จออกจากนิโรธสมาบัติแล้ว ตรัสเรียกพระนิสภเถระ พระอัครสาวกผู้นั่งข้างขวา ด้วยรับสั่งว่า นิสภะ เธอจงทำโมทนาอาสนะดอกไม้ แด่บรรดาดาบสทั้งหลายผู้ทำสักการะ

    พระเถระมีใจยินดีประดุจหนึ่งแม่ทัพใหญ่ ประสพลาภใหญ่จากสำนักของพระเจ้าจักรพรรดิราช ตั้งอยู่ในสาวกบารมีญาณ จึงเริ่มอนุโมทนาอาสนะดอกไม้

    ในที่สุดแห่งเทศนาของพระนิสภะเถระนั้น สมเด็จพระภควันต์ได้ตรัสเรียกพระสาวกองค์ที่สองด้วยรับสั่งว่า ภิกขเว ดูกร ภิกษุทั้งหลาย แม้เธอจงแสดงธรรม

    พระอโนมเถระ เป็นอัครสาวกฝ่ายซ้าย ได้พิจารณาพระพุทธวจนะคือพระไตรปิฎกแล้วก็กล่าวธรรม ด้วยพระธรรมเทศนาของพระอัครสาวกทั้งสอง การตรัสรู้มิได้มีแก่บรรดาดาบสแม้แต่รูปใดรูปหนึ่ง เพราะว่าบรรดาดาบสทั้งหมดนี้เป็นผู้ได้อภิญญาและสมาบัติ ๘ ฟังเทศน์จากพระอัครสาวกทั้งสองแล้ว แทนที่จะบรรลุมรรคผลกลับไม่ได้บรรลุมรรคผล ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าเป็นดาบสที่มีกำลังใหญ่ และก็ต้องเป็นดาบสที่เป็นวิสัยขององค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาจะทรงสงเคราะห์เอง จึงจะมีมรรคมีผล

    ครั้นองค์สมเด็จพระภควันต์บรมศาสดา ตั้งอยู่ในพุทธวิสัยไม่มีปริมาณ (คำว่า พุทธวิสัย คือวิสัยของพระพุทธเจ้าซึ่งหาประมาณมิได้ มากมายเหลือเกิน) จึงได้เริ่มแสดงพระธรรมเทศนา ในกาลจบพระธรรมเทศนา บรรดาชฎิลเจ็ดหมื่นสี่พัน (ยกเว้นท่านสรทดาบส) บรรลุอรหันต์ทั้งหมด
    องค์สมเด็จพระบรมสุคตทรงเหยียดพระหัตถ์แล้วตรัสว่า เธอทั้งหลาย จงเป็นภิกษุมาเถิด ทันใดนั้นเอง ผมและหนวดของบรรดาชฎิลก็อันตรธานไป บริขาร ๘ ที่สำเร็จไปด้วยฤทธิ์ก็ลงมาสวมกายของพระพวกนั้น
    ตามบาลีท่านกล่าวว่า มีคำถามสอดเข้ามาว่า เพราะเหตุไร สรทดาบสจึงไม่บรรลุอรหันต์ ความจริงท่านน่าจะบรรลุอรหันต์เพราะตั้งใจบวชด้วยดี ตาพระบาลีท่านแก้ว่า เพราะความที่เป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน จึงไม่ได้อรหัตผล
    ตามพระบาลีกล่าวต่อไปอีกว่า จำเดิมแต่กาลที่ท่านสรทดาบสนั้นเริ่มฟังพระธรรมเทศนาของอัครสาวก ผู้นั่งบนอาสนะที่สองแห่งพระพุทธเจ้า ตั้งอยู่ในสาวกบารมีญาณแสดงธรรมอยู่ เกิดความคิดขึ้นมาว่า โอหนอ แม้เราได้รับธุระที่พระสาวกรูปนี้ในศาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้จะบังเกิดในอนาคต
    นี่หมายความว่า พอฟังเทศน์ของพระอัครสาวกแล้ว ท่านก็คิดว่า เรานี่อยากจะเป็นอัครสาวกบ้าง ถ้าหากว่าพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งเกิดขึ้นในโลกในกาลต่อไป เราต้องการเป็นอัครสาวก
    อย่างนี้ถือว่าเป็นอธิษฐานบารมี ตามพระบาลีท่านบอกว่า จิตฟุ้งซ่าน ก็หมายความว่า ซ่านด้วยการฟังแล้วไม่คิดตาม เพราะว่าเห็นว่าท่านเป็นอัครสาวกมีศักดาใหญ่ ที่องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาทรงให้โอกาสแสดงพระธรรมเทศนาก่อน จึงเห็นว่า งานนี้เป็นงานเด่นมาก เราอยากจะเป็นบ้าง ฟังไปแล้วก็คิดไป เลยไม่ได้บรรลุมรรคบรรลุผล
    บาลีท่านว่าต่อไปว่า เพราะอาศัยความปริวิตกอย่างนั้น สรทดาบสจึงไม่มีโอกาสที่จะถึงทำการแทงตลอดมรรคผลได้
    หมายความว่า เวลาฟังไม่ได้ใช้ปัญญาพิจารณา ฟังแล้วก็คิดว่าเราอยากจะเป็นอัครสาวก ถ้าใช้ปัญญาพิจารณาอย่างบรรดาลูกศิษย์ของท่าน ท่านก็จะได้เป็นอรหันต์และเป็นไม่ยากด้วย เพราะมีกำลังแรงกล้ากว่าคนอื่น

    ท่านจึงยืนถวายบังคม องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาแล้วในที่เฉพาะพระพักตร์ ได้กราบทูลว่า ภันเต ภควา ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญพระพุทธเจ้าข้า ภิกษุที่นั่งบนอาสนะลำดับพระองค์ชื่อว่าอะไรขอรับ

    สมเด็จพระจอมไตรทรงพระนามว่าอโนมทัสสี จึงได้มีพุทธฎีกาตรัสว่า ภิกษุผู้ยังธรรมจักรอันเราให้เป็นไปแล้ว ให้เป็นไปตามนั้น บรรลุที่สุดแห่งสาวกบารมีญาณ แทงตลอดปัญญา ๑๖ อย่างตั้งอยู่ผู้นี้ ชื่อ่าอัครสาวกในศาสนาของเรา (อัคร แปลว่า ผู้เลิศ เป็นสาวกผู้เลิศกว่าสาวกทั้งหลายในศาสนาของพระองค์)

    ท่านจึงได้ทำความปรารถนาว่า ด้วยผลแห่งสักการะของข้าพระองค์ ตั้งฉัตรดอกไม้ทำแล้วตลอด ๗ วันนี้ ข้าพระองค์มิได้ปรารถนาความเป็นท้าวสักกะ (คือพระอินทร์) หรือว่าต้องการจะเป็นพรหม แต่ว่าข้าพระองค์ขอพึงเป็นอัครสาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งในอนาคตกาล เหมือนพระนิสภเถระองค์นี้ เห็นไหมล่ะ ท่านตั้งใจจะเป็นอัครสาวกของพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง แต่พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า อโนมทัสสี ท่านมีเสียแล้วนี่ ก็ต้องรอต่อไป

    องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า อโนมทัสสี เมื่อสดับถ้อยคำของสรทดาบสดังนี้ จึงได้พิจารณาด้วยอำนาจพระพุทธญาณ ทรงพิจารณาว่า ความปรารถนาของบุรุษจักสำเร็จหรือไม่หนอ พระองค์ทรงเห็นว่าผ่านไป ๑ อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปแล้วจะได้สำเร็จ ครั้นทรงเห็นแล้ว จึงตรัสกับสรทดาบสว่า
    “ความปรารถนาของท่านนี้จักไม่เปล่าประโยชน์ เพราะว่าในอนาคตล่วงไป ๑ อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระสมณโคดม จะทรงอุบัติขึ้นในโลก พระมารดาของพระองค์จักมีพระนามว่า มหามายาเทวี พระพุทธบิดาของพระองค์จะมีพระนามว่า สุทโธทนมหาราช พระโอรสจะมีพระนามว่า ราหุล พระผู้อุปัฏฐากจะมีพระนามว่า อานนท์ พระสาวกที่สองคืออัครสาวก จักมีพระนามว่า โมคคัลลานะ ส่วนตัวท่านจะเป็นอัครสาวกของพระองค์นามว่า ธรรมเสนาบดีสารีบุตร

    ครั้นทรงพยากรณ์ดาบสนั้นแล้ว ตรัสธรรมกถา มีภิกษุสงฆ์แวดล้อมแล้วเหาะไป
    เป็นอันว่า คำพยากรณ์ขององค์สมเด็จพระจอมไตรทรงบอกละเอียด รู้ละเอียด ญาณนี้จะมีเฉพาะพระพุทธเจ้าเท่านั้น

    ฝ่ายสรทดาบสได้ไปยังสำนักของพระเถระผู้เป็นอันเตวาสิก แล้วกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านทั้งหลายจงบอกแก่สหายของข้าพเจ้าว่า สรทดาบสผู้สหายของท่าน ได้ปรารถนาตำแหน่งอัครสาวกในศาสนาของพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า พระสมณโคดม ซึ่งจะทรงอุบัติขึ้นในอนาคตกาล แทบบาทมูลขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า อโนมทัสสีแล้ว ท่านจงปรารถนาตำแหน่งอัครสาวกที่สองเถิด

    ท่านบอกแก่บรรดาพระที่เป็นอรหันต์ที่เคยเป็นลูกศิษย์ของท่าน ให้ไปบอกเพื่อน แต่ท่านเองก็ไปเหมือนกัน ไปแล้วได้ยืนอยู่ที่ประตูเรือนของสิริวัฑฒะ

    สิริวัฑฒะได้กล่าวว่า นานนักหนอพระคุณเจ้าของเราจึงมา จึงได้นิมนต์ให้นั่งบนอาสนะ ตนนั่งบนอาสนะต่ำกว่า แล้วเรียนถามว่า ทำไมอันเตวาสิก บริษัทของพระคุณเจ้าทั้งหลายจึงหายไปแล้วเจ้าข้า

    สรทดาบสจึงได้กล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าอโนมทัสสีเสด็จมายังอาศรมเป็นวันที่เจ็ด แล้วก็เพิ่งเสด็จกลับวันนี้ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมา เราทำการสักการะแล้ว สมเด็จพระประทีปแก้วแสดงพระธรรมเทศนาโปรด ในเวลาที่จบพระธรรมเทศนา เว้นข้าพเจ้าคนเดียว นอกจากนั้นบรรลุอรหันต์ทั้งหมด และก็บวชเสียแล้ว ข้าพเจ้าเห็นพระนิสภเถระ อัครสาวกเบื้องขวาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงมีความปรารถนาตำแหน่งอัครสาวกในศาสนาของพระพุทธเจ้า มีนามว่า พระสมณโคดม ซึ่งจะอุบัติขึ้นในโลกในอนาคตกาล แม้เธอก็จงตั้งความปรารถนาในตำแหน่งอัครสาวกที่สอง ในศาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์นั้นเหมือนกัน เพราะเราเป็นเพื่อนกัน

    ท่านสิริวัฑฒะจึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่มีความคุ้นเคยกับพระพุทธเจ้าทั้งหลายเสียเลย จะทำยังไงล่ะขอรับ

    ท่านสรทะจึงกล่าวว่า เรื่องที่จะทูลกับพระพุทธเจ้าเป็นภาระของข้าพเจ้าเอง ขอท่านจงจัดสักการะที่ยิ่งใหญ่ไว้เถอะ

    ท่านสิริวัฑฒะฟังคำของดาบสผู้ป็นสหายแล้ว ได้ทำสถานที่มีประมาณ ๘ กรีส (๑ กรีสเท่ากับ ๑๒๕ ศอก หรือว่า ๑ เส้นกับ ๑๑ วา กับอีก ๑ ศอก) ท่านกล่าวว่า ได้ทำสถานที่ประมาณ ๘ กรีส โดยมาตราหลวง ที่ประตูเรือนของตนให้มีพื้นที่เสมอกัน แล้วเกลี่ยทรายโปรยดอกไม้ และทำมณฑปมุงไปด้วยดอกอุบลสีเขียว (ดอกบัวสีเขียว) ตกแต่งพุทธอาสน์ จัดอาสนะบรรดาภิกษุทั้งหลายผู้เป็นบริวาร จัดสักการะและเครื่องต้อนรับไว้เป็นอันมาก ได้ให้สัญญาแก่ท่านสรทดาบสเพื่อประโยชน์แห่งการนิมนต์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระนามว่าอโนมทัสสี

    สำหรับพระดาบส ได้พาภิกษุสงฆ์โดยมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขไปที่อยู่ของสิริวัฑฒกฎุมพีแล้ว สิริวัฑฒกฎุมพีทำการต้อนรับ รับบาตรจากพระหัตถ์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เชิญเสด็จให้เข้าไปสู่มณฑป ถวายน้ำทักษิโณทก (น้ำฉัน) แก่บรรดาภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ซึ่งนั่งบนอาสนะที่ตกแต่งไว้ ได้ถวายโภชนะอันประณีต

    ในเวลาที่เสร็จภัตกิจ นิมนต์ภิกษุสงฆ์อันมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ครองผ้าอันมีค่ามากแล้ว จึงได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความริเริ่มนี้มิได้เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ตำแหน่งมีประมาณน้อย ขอพระองค์จงทำความอนุเคราะห์โดยทำนองนี้ สิ้นเวลา ๗ วัน

    องค์สมเด็จพระภควันต์ทรงรับแล้ว เขายังมหาทานให้เป็นไป โดยทำนองนั้นแหละตลอด ๗ วัน ถวายบังคมองค์สมเด็จพระภควันต์ยืนประคองอัญชลี กราบทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า สรทดาบส สหายของข้าพระองค์ปรารถนาว่า เราพึงเป็นอัครสาวกเบื้องขวาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ใด ข้าพระองค์พึงเป็นอัครสาวกองค์ที่สอง คือเบื้องซ้ายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นเหมือนกัน”

    สมเด็จพระภควันต์ทรงพิจารณาถึงอนาคตกาล ทรงเห็นภาวะคือความสำเร็จแห่งความปรารถนาของเขา จึงได้ทรงพยากรณ์ว่า แต่นี้ล่วงไป ๑ อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป แม้ท่านก็จักได้เป็นอัครสาวกองค์ที่สองขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า พระสมณโคดม

    ท่านสิริวัฑฒะฟังคำพยากรณ์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ได้เป็นผู้มีความร่าเริงบันเทิงใจ แม้องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาทรงทำภัตตานุโมทนา พร้อมด้วยบริวารเสด็จไปยังวิหาร
    คำว่า ภัตตานุโมทนา ก็หมายความว่า อนุโมทนาในอานิสงส์ของการถวายทานแล้ว

    เป็นอันว่าเมื่อกล่าวเรื่องนี้จบ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงกล่าวแก่บรรดาภิกษุทั้งหลายว่า “ก็บุตรของเราคือ โมคคัลลาน์ และสารีบุตร เขาตั้งความปรารถนาเป็นอัครสาวกตั้งแต่สมัยนั้น ฉะนั้น เมื่อถึงเวลาแล้ว เราจึงได้ตั้งท่านทั้ง ๒ เป็นอัครสาวก จะถือว่าการแต่งตั้งนี้เป็นการเลือกหน้าซึ่งกันก็หาไม่ เพราะเป็นการแต่งตั้งตามความปรารถนาเพื่อตนของตนได้บำเพ็ญไว้แล้ว ได้ตั้งใจแล้ว”

    เป็นอันว่า เรื่องบุพกรรมของพระอัครสาวกทั้งสองก็ขอจบแต่เพียงเท่านี้ ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผล จงมีแด่บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนทุกท่าน

    แหล่งข้อมูล: http://www.kaskaew.com/index.asp?contentID=10000004&title=%BA%D8%BE%A1%C3%C3%C1%A2%CD%A7%BE%C3%D0%CD%D1%A4%C3%CA%D2%C7%A1&getarticle=155&keyword=&catid=3
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2013
  16. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    พระเจ้าปเสนทิโกศล กับเสียงเปรต
    คืนวันหนึ่ง เวลามัชฌิมยามพระเจ้าปเสนทิโกศลยังมิได้บรรทม ประทับอยู่ลำพังพระองค์ ท่ามกลางความเงียบสงัดของกลางคืน ขณะที่ทรงนึกอะไรๆเพลินอยู่นั้น ก็ได้สดับเสียงร้องโหยหวน แหลมเล็ก เยือกเย็น สอดแทรกเข้ามากับความมืด เป็นเสียงคล้ายคน ๔ คนได้รับทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส แล้วส่งเสียงร้องกันเป็นทอดๆไป เสียงหนึ่งร้อง ทุ เสียงที่ ๒ ว่า สะ เสียงที่ ๓ ว่า นะ และเสียงที่ ๔ ว่า โส เสียง ทุ สะ นะ โส ได้ดังขึ้น และติดต่อกันไปเป็นเวลานานพอควร พระเจ้าโกศลได้ฟังแล้วตกใจกลัว ไม่เป็นอันบรรทมหลับลงได้ ประทับนั่งอยู่จนสว่าง แล้วเรียกพราหมณ์ปุโรหิตมาเฝ้า ปุโรหิตทูลว่า เป็นเสียงสัญญาณแห่งมรณภัย จะถึงอันตรายแก่พระชนม์ชีพ ให้แก้เสียด้วยการบูชายัญ ช้าง ม้า โค แพะ แกะ ไก่ หมู เด็กหญิงชาย อย่างละหนึ่งร้อย จึงจะลบล้างเสียงมรณะให้หายได้


    พระเจ้าปเสนทิโกศลเชื่อ รับสั่งให้พราหมณ์จับคน และสัตว์มาเตรียมทำพิธีบูชายัญ คนและสัตว์พวกนั้นถูกมัดอยู่ในโรงพิธี ต่างก็ส่งเสียงร้องระงมไปทั่ว เพราะความกลัวตาย พอดีพระนางมัลลืกา อัครมเหสีได้ยินเสียงร้องโหยหวนครวญครางของคน และสัตว์เหล่านั้น จึงพาพระเจ้าปเสนทิโกศลไปเฝ้าพระพุทธองค์ ณ เชตุวันมหาวิหาร กราบทูลเรื่องราวที่เกิดขึ้นให้ทรงทราบ พระพุทธองค์ตรัสว่า นั่นเป็นเสียงเปรตนรก เขาร้องขึ้นด้วยกรรมของเขาเอง หาได้เกี่ยวกับพระราชาแต่ประการใดไม่ ต่อจากนั้น จึงทรงเล่าอดีตชาติของเปรตทั้ง ๔ นั้นให้ฟังว่า เป็นพี่น้องท้องเดียวกัน ลูกของเศรษฐีในนครแห่งหนึ่ง เมื่อพ่อแม่ตายหมดแล้ว ได้ทิ้งทรัพย์สมบัติไว้ให้มากมาย ชายทั้ง ๔ ตกลงกันว่า จะใช้เงินหาความสุขทางกามารมณ์ เสพสุรายาเมา เล่นการพนัน และเลี้ยงดูเพื่อสหายทั้งหลาย แล้วเขาก็ใช้จ่ายเงินไปทางอบายมุขอย่างที่ตกลงกันไว้ จนเงินหมดถูกโรคภัยเบียดเบียน ตายลงไปเกิดเป็นเปรตในโลหกุมภีนรก เมื่อได้รับทุกข์ทรมานมากขึ้นสุดแสนที่จะทนได้ ก็หาทางประกาศกรรมชั่ว และความทุกข์ที่ตัวได้รับให้ชาวโลกเขารู้ จะได้ไม่เอาเยี่ยงอย่าง จึงได้พากันส่งเสียงร้องคนละคำว่า ทุ สะ นะ โส คำเต็มของแต่ละตัว มีดังนี้

    เปรตพี่คนโตกล่าว ทุ คือ
    ทุชฺชีวิตมฺชีวมฺ หา
    เยสนน ทหามเส
    วิชฺชมาเนสุ โภเคสุ ทีปํ นากมฺห อตฺตโน
    แปลว่า เมื่อโภคสมบัติมีอยู่ พวกเราไม่ทำทานรักษาศีล ไม่ทำที่พึ่งแก่ตน จึงมีชีวิตลำบากอย่างนี้

    เปรตคนรองกล่าวว่า สะ มีคำเต็มว่า
    สฏฺฐิวสฺสสหสฺสานิ ปริปุณฺณานิ สพฺพโส
    นิรเย ปตฺจมานานํ กทา อนฺโต ภวิสฺสติ
    แปลว่า พวกเราตกนรกมาหกหมื่นปีแล้ว เมื่อไหร่จะสิ้นสุดกันเสียทีหนอ

    เปรตคนที่ ๓ กล่าวว่า นะ มีคำเต็มว่า
    นตฺถิ อนฺโต กุโต อนฺโต น อนฺโต ปฏิทิสสฺติ
    ตทา หิ ปาต ปาปํ มม ตุยฺหญจ มาริสา
    แปลว่า พี่น้องเอ๋ย ที่สิ้นสุดไม่มี ที่สิ้นสุดจะมีมาแต่ไหน ที่สิ้นสุดไม่ปรากฎเลย เพราะพวกเราทำบาปกรรมไว้มาก

    เปรตคนที่ ๔ กล่าวว่า โส มีคำเต็มว่า
    โสหํ นูน อิโตคนฺตวา โยนึ ลทฺธาน มานุสึ
    วทญฺยู สีลสมฺปนฺโน กาหามิ กุสลํพหุํ
    แปลว่า ให้ตายเถอะ ถ้าฉันพ้นไปจากที่นี้แล้ว ได้กำเนิดเป็นมนุษย์ ฉันจะเป็นคนมีศีลธรรม จะทำบุญกุศล ทำความดีให้มาก

    พระเจ้าปเสนทิโกศล และพระนางมัลลิกา ได้ฟังดังนั้น ก็เบาพระทัย กราบถวายบังคมลาพระบรมศาสดาแล้ว รับสั่งให้ปล่อยคน และสัตว์ที่จับไว้เสียทั้งหมด และให้เลิกพิธีบูชายัญทันที

    เปรตนั้นมีลักษณะต่างจากอทิสสมานกายทั่วไปอยู่อย่างหนึ่ง(อทิสสมานกาย คือ พวกที่มีร่างกายซึ่งมนุษย์เราธรรมดาสามัญไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า นอกจากท่านที่ได้ทิพยจักขุญาณ) คือไม่หลอกหลอนใคร เป็นแต่คอยร้องทุกข์ โดยวิธีส่งเสียงให้ได้ยิน หรือแสดงตัวให้เห็น การปรากฎตัวของเปรตโดยวิธีนี้ คนส่วนมากคิดว่าเขามาหลอกหลอน จึงได้ตกใจกลัว แต่ความจริงไม่มีเจตนาเช่นนั้น เพียงแต่ต้องการจะให้มนุษย์ทราบถึงความทุกข์ร้อน และจะได้ช่วยเหลือเขาเท่านั้น เสียงของเปรตที่มาร้องทุกข์กับมนุษย์เรานั้นมี ๒ เสียง เสียงหนึ่งคือเสียงร้องขอส่วนบุญ ดังเปรตพระญาติของพระเจ้าพิมพิสาร อีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงโอดครวญโหยหวนจากความทุกข์ทรมานที่ตนได้รับ


    กุฏิพระสิวลี ในบริเวณเชตุวันมหาวิหาร<O:p</O:p
    พระสิวลีเถระเป็นโอรสของพระนางสุปปวาสา ผู้เป็นราชิดาองค์หนึ่งของพระเจ้าโกลิยะ(พระประยูรญาติศากยะวงศ์ ครอง ๖ นครด้วยกัน แถบเชิงเขาหิมาลัยทางเหนือของอินเดียขณะนั้นคือ เมืองกบิลพัสดุ์ เมืองเทวทหะ เมืองโกลิยะ เมืองสักกะ เมืองสุปปสาสะ และเมืองเวระนคร) เมื่อพระนางตั้งครรภ์พระสิวลี ก็อุดมสมบูรณ์ด้วยลาภสักการะเป็นอันมาก ตำนานกล่าวว่า ทรงตั้งครรภ์อยู่ถึง ๗ ปีกว่า ตอนเจ็บครรภ์หนักจะประสูติ ได้เสวยทุกขเวทนาลำบากมาก จึงให้พระสวามีไปกราบทูลพระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสประทานพรขอให้ประสูติราชบุตรโดยสะดวกเถิด พระนางก็ประสูติโอรสง่ายสะดวกสบายด้วยอำนาจแห่งพุทธานุภาพ

    <O:p</O:pพระสิวลีเจริญวัยขึ้นแล้ว ได้ออกผนวชในสำนักของพระสารีบุตร เจริญพระกรรมฐานบำเพ็ญสติสัมโพชฌงค์อย่างเต็มที่ จนได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยสัจ ๔ บรรลุอรหัตตผล ในขณะกำลังปลงผม ท่านเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยลาภ พระพุทธองค์ทรงยกย่องว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายฝ่ายข้างเป็นผู้มีลาภมาก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2013
  17. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    นางปฏาจาราเถรี<O:p</O:p
    นางเป็นลูกสาวเศรษฐีชาวกรุงสาวัตถี ได้เกิดรักใคร่กับคนใช้ในบ้านของนาง ลอบได้เสียกันอย่างลับๆ ต่อมามีชายตระกูลเสมอกันมาสู่ขอนาง พ่อแม่ก็ตกลงยกให้ และกำหนดวันแต่งงานกันเป็นที่เรียบร้อย นางกับสามีคนใช้จึงพากันหนีจากบ้านเศรษฐีไปตั้งบ้านเรือนอยู่ในป่า ทำนา ทำไร่เลี้ยงชีพ ต่อมานางตั้งครรภ์ พอจวนครบกำหนดคลอด ชี้แจงให้สามีฟังว่า ในป่านี้ เราไม่มีที่พึ่ง การคลอดลูกจะต้องลำบากมาก จึงขอร้องให้พากลับบ้าน สามีก็อิดเอื้อนกลัวความผิดที่ได้ทำไว้ อาจถูกลงโทษถึงตายได้ นางจึงหนีกลับบ้านแต่ผู้เดียว สามีออกติดตามไปทันกันในเวลาที่กำลังจะคลอดบุตรในระหว่างทาง พอคลอดแล้วก็พากันกลับที่พักเดิมในป่า อยู่มาไม่นาน นางก็ตั้งครรภ์แก่อีก นางก็หนีจะกลับบ้านพ่อแม่ที่เมืองสาวัตถี คราวนี้พาลูกชายคนโตไปด้วย สามีติดตามไปทันกลางทาง เผอิญเกิดพายุพัดแรงฝนตกหนัก จึงบอกให้สามีหาที่กำบัง สามีก็รีบไปตัดหญ้าคาที่กองดินจอมปลวกแห่งหนึ่ง ถูกงูเห่ากัดตาย นางอยู่ทางนี้ก็คลอดลูกออกมา ฝนพายุแรงจึงยืนค้อมกายเอามือยันพื้นคล่อมลูกทั้ง ๒ ไว้ เพื่อกันฝน และความหนาว จนฝนหายออกติดตามสามี ไปพบนอนตายตัวแข็งอยู่ นางร้องไห้รำพัน แล้วก็พาลูกมุ่งกลับบ้านเดิมต่อไป พอมาถึงริมฝั่งแม่น้ำอิรวดี ตอนนี้พอจะเดินข้ามได้เป็นบางแห่ง แต่ก็ไม่กล้าจะอุ้ม และจูงลูกไปพร้อมกัน เพราะน้ำเชี่ยว จึงสั่งให้ลูกคนโตรออยู่ฝั่งนี้ อุ้มลูกคนเล็กข้ามไปวางไว้อีกฟากหนึ่งของแม่น้ำ แล้วก็หวนกลับมารับลูกคนโต ขณะอยู่กลางแม่น้ำ เหยี่ยวใหญ่ตัวหนึ่งเห็นทารกคลอดใหม่นอนอยู่เข้าใจว่าก้อนเนื้อ จึงร่อนลงมาโฉบเอาเด็กไป นางก็ตบมือร้องไล่ตะโกนเหยี่ยวเสียงลั่น ลูกคนโตเห็นแม่ตบมือร้องดัง ก็คิดว่าแม่เรียกให้ไป จึงกระโดดลงไปในน้ำ น้ำกำลังเชี่ยวพัดพาเด็กจมหายไป นางยิ่งโศกเศร้ามากขึ้น ร้องไห้รำพันว่า “ลูก ๒ คน กับผัวของเราตายหมดแล้ว” แล้วนางก็เดินไปรำพันไปจนมาถึงบ้านพ่อแม่ที่เมืองสาวัตถี แต่ก็จำบ้านไม่ได้ จึงเที่ยวถามคนในเมืองนั้นเขาก็บอกว่า เมื่อวานซืนนี้เองเกิดพายุแรงฝนตกหนัก บ้านท่านเศรษฐีได้พังทลายลง คนในบ้านตายหลายคนรวมทั้งเศรษฐี และภรรยาด้วย เขากำลังเผาท่านอยู่บนเชิงตะกอนนั่นแน่ะ พอนางได้ยินข่าวนี้ ก็กรีดร้องออกมาด้วยความเสียใจจนหมดสติ กลายเป็นคนบ้าผ้าผ่อนที่นุ่งอยู่ก็หลุดล่อนจ้อน เดินเปลือยกายร้องไห้ไป บ่นรำพึงรำพันถึงพ่อแม่ลูกผัวเรื่อยไปโดยไม่มีจุดหมาย จนมาถึงเชตุวันมหาวิหาร เห็นคนกำลังฟังธรรมกัน ก็เดินตรงเข้าไปในฝูงชนนี้ พวกที่นั่งฟังเทศน์อยู่ก็ร้องกันเซ็งแซ่ว่า “คนบ้า คนบ้า”

    พระศาสดาตรัสว่า ปล่อยให้นางเข้ามาเถิด นางกำลังมีทุกข์มาก กำลังต้องการคนช่วยดับทุกข์ พระพุทธองค์ได้ทรงทักทายนางด้วยน้ำเสียงที่อ่อนโยน และพูดชักจูงนางให้ได้สติ ชายผู้หนึ่งได้โยนผ้ามาให้นางนุ่ง แล้วนางก็เข้าไปกราบลงที่แทบเท้าพระศาสดา ร้องไห้สะอึกสะอื้น แล้วระบายความทุกข์ทั้งหมดออกมา พระพุทธองค์ได้ตักเตือนนางให้เลิกคิดถึงเรื่องที่เกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย และทรงสอนต่อไปว่า ลูกผัวพ่อแม่พี่น้อง ถึงแสนรักกันเท่าไหร่ๆ ย่อมต้องตายจากกันแน่ ถ้าเขาไม่ตายจากเราไปก่อน บางทีเราก็อาจต้องตายจากเขาไปก่อน ไม่มีใครช่วยป้องกันได้เลย เมื่อคนรักตายไปแล้ว จะร้องไห้คร่ำครวญจนน้ำตาไหลเป็นออกมาเป็นทะเล ก็ช่วยให้เขากลับฟื้นขึ้นมาไม่ได้ จะร้องไห้ หรือไม่ร้องไห้ เขาก็ต้องเป็นคนตายอยู่อย่างนั้น คนที่เรารักแม้เพียงคนเดียว สมบัติที่รักแม้เพียงชิ้นเดียว เวลาตายแล้วก็เอาไปด้วยไม่ได้ เขาเหล่านั้นได้ทอดทิ้งเธอผู้เป็นลูก เป็นน้อง เป็นเมีย เป็นแม่ ไว้ให้อยู่โดเดี่ยว ม้จนกระทั่งร่างกายของเขา เขาก็เอาไปด้วยไม่ได้ อีกไม่นานเธอก็จะต้องเป็นอย่างเขาเหล่านั้น คือ ต้องตายต้องจากโลกนี้ไป ไม่มีใครช่วยเธอได้เลย ฉะนั้น เธอจงตั้งหน้าทำบุญให้ทานหมั่นรักษาศีลให้บริสุทธิ์ เพื่อแผ้วถางทางที่จะอาศัยให้ดำเนินเข้าไปถึงจุดที่ทุกข์ตามเข้าไปไม่ถึงดีกว่า(คือทางไปนิพพาน) เมื่อเธอเข้าไปถึงจุดนั้นได้แล้ว เธอจะไม่ต้องเสียน้ำตาอีกเลย เธอจะได้พบแต่ความสุขที่เย็นระรื่นจริงๆ

    <O:p</O:pพอพระพุทธองค์เทศน์จบ นางปฎาจาราก็ได้รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งคำสอนนั้น ความเสียใจที่มีอยู่เดิมดับสนิท เกิดความสบายใขเข้ามาแทนที่เหมือนไม่มีเหตุร้ายอะไรๆเกิดขึ้นก่อนเลย

    <O:p</O:pต่อมาได้ทรงอนุมัติให้นางได้บวชในหมู่ภิกษุณี เล่าเรียนพุทธวจนะ จนมีความชำนาญในพระวินัยปิฏก อยู่มาวันหนึ่ง นางกำลังเอาหม้อตักน้ำล้างเท้า เทน้ำลงครั้งแรก น้ำไหลไปได้หน่อยหนึ่ง แล้วก็ซึมหายไป พอเทลงครั้งที่ ๒ น้ำไหลไปไกลกว่าครั้งแรก แล้วก็ขาดหายไปอีก ครั้นนางเทน้ำลงที่เท้าครั้งที่ ๓ น้ำนั้นก็ไหลไปไกลกว่าครั้งที่ ๒ นางได้กำหนดเอาจากการไหลของน้ำนั้นมาเป็นอารมณ์เปรียบเทียบกับวัยอายุคนว่า มี ๓ วัย บางคนเกิดมามีอายุอยู่ได้แค่ปฐมวัยก็ตายจากไป คล้ายกับน้ำที่เธอเทลงครั้งแรก บางคนมีอายุยืนยาวไปถึงมัชฌิมวัยแล้ว ก็ตายคล้ายการเทน้ำลงครั้งที่ ๒ แต่บางคนก็มีอายุยืนยาวไปถึงปัจฉิมวัย ทั้งนี้เท่ากับความเกิดขึ้น และดับไปของเบญจขันธ์ เป็นของไม่เที่ยงแท้แน่นอน เปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยบังคับให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ไม่ได้ นางได้พิจารณาไปๆ และได้สำเร็จอรหัตตผลในที่สุด

    นางกิสาโคตมี<O:p</O:p
    นางเป็นบุตรสาวสกุลที่ยากจนขัดสนในเมืองสาวัตถี ทั้งเมื่อเติบโตขึ้นก็มีรูปร่างผอมบางไม่น่ารัก เศรษฐีคนหนึ่งเห็นเข้าเกิดสงสารจึงขอมาเป็นลูกสะใภ้ ญาติพี่น้องฝ่ายสามีก็พากันดูหมิ่นว่านางเป็นลูกคนยากจน อยู่ต่อมาจนนางคลอดบุตรเป็นชาย จึงหายถูกดูหมิ่น เด็กนั้นเป็นที่รักของนางอย่างยิ่ง แต่พอกำลังเดินได้เตาะแตะก็ล้มป่วยตายลง นางมีความรักผูกพันอยู่กับลูกมาก ยังหลงคิดว่าพอจะหาหมอรักษาลูกให้หายได้ จึงอุ้มศพลูกเที่ยวไปถามเขาเรื่อยไปว่า ใครพอจะมียารักษาลูกให้หายได้บ้าง ทั้งๆที่ใครจะห้าม จะหัวเราะเยาะเย้ยอย่างไรก็ไม่ฟัง ได้มีคนแนะนำบอกว่า ผู้อื่นใดที่จะรู้ยาแก้ได้นั้นไม่มีแล้ว นอกจากพระบรมศาสดา นางจึงอุ้มลูกตรงเข้าไปเฝ้าที่เชตุวันมหาวิหาร พระพุทธองค์ทรงเห็นอุปนิสัยของนาง จึงตรัสว่า “โคตมี เธอมาหายารักษาลูกในที่นี้ดีละ จงไปหาเมล็ดพันธุ์ผักกาด ในเรือนเก่า หรือบ้านใดก็ได้ที่ไม่มีคนตายเลย ให้ได้มาเพียงเมล็ดเดียวก็พอ

    นางดีใจรีบไปตามบ้านเรือนต่างๆ ก็ไม่สามารถหาได้ เพราะทุกบ้านล้วนแต่เคยมีคนตายมาแล้วทั้งนั้น นางเกิดสังเวชเมื่อได้มารู้ความจริงว่า ที่ไหนๆก็ตามต้องมีคนเคยตายมาแล้วทั้งนั้น นางกลับได้สติรู้ว่าบุตรของตนตายแล้วจะแก้ไขอย่างไรๆก็ไม่ฟื้น จึงเอาศพเด็กไปทิ้งเสียในป่า กลับมาเฝ้าทูลว่า เมล็ดพันธุ์ผักกาดเช่นนั้นหาไม่ได้ พระพุทธองค์ทรงเทศนาสอนว่า ความตายย่อมกำจัดนรชนผู้มัวเมาอยู่ในบุตร และสัตว์ที่เลี้ยง ซึ่งมีใจเกี่ยวอยู่ในอารมณ์ต่างๆเหมือนอย่างห้วงน้ำใหญ่พัดพาเอาบ้านที่มีคนยังหลับอยู่ไปฉะนั้น

    นางได้ฟังดังนี้ก็มีจิตใจชื่มชมต่อพระพระธรรมเทศนา จึงทูลขอบวชเป็นภิกษุณี วันหนึ่งนางอยู่เวรปัดกวาดจุดโคมไฟในพระอุโบสถ นางได้เห็นเปลวไฟพลุ่งขึ้น แล้วในที่สุดกระจายหายไป ก็ถือเอาเป็นอารมณ์ว่า “สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้เกิดขึ้นแล้ว ก็ดับไปด้วยเหมือนเปลวไฟฉะนั้น แต่ผู้ที่ถึงนิพพานแล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่ ได้เสวยแต่สุขตลอดไป ไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดอีก”

    พระศาสดาทรงทราบจึงตรัสว่า ”บุคคลทั่วไปที่ไม่เห็นนิพพานเป็นอย่างนั้น เกิดมาตั้ง ๑๐๐ ปี สู้บุคคลที่เขาเจริญธรรมะเห็นพระนิพพานแม้เพียงชั่วขณะเดียวก็ไม่ได้” นางได้บรรลุอรหันต์ในที่สุด ทรงสรรเสริญว่า เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลายผู้ทรงจีวรอันเก่าแก่เศร้าหมอง<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2013
  18. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    นางจิญจมาณวิกา<O:p</O:p
    ในขณะที่พระบรมศาสดาเสด็จประทับ ณ เชตุวันมหาวิหาร นครสาวัตถี พระภิกษุสงฆ์ อุบาสก อุบาสิกา เป็นอันมากได้สำเร็จมรรคผล ทำให้เกิดลาภสักการะในพระพุทธศาสนามากมาย ฝ่ายพวกเดียรถีย์นักบวชนอกศาสนาก็เสื่อมลาภ หมดอำนาจ ผู้คนนับถือน้อยลง พากันอิจฉา คิดจะกำจัดพระพุทธองค์เสีย จึงได้ว่าจ้างนางจิญจมาณวิกาให้กล่าวโทษใส่ร้ายพระศาสดา วันหนึ่งขณะที่ฝูงชนกำลังฟังธรรมเทศนาอยู่ นางได้เอาท่อนไม้รองในมีผ้าเก่าพันท้องให้โตขึ้นเหมือนกับว่าตั้งครรภ์แก่ แล้วให้พวกเดียรถีย์ทุบหลังมือ หลังเท้าให้บวม คล้ายหญิงมีครรภ์จวนคลอด เข้าไปยืนอยู่ข้างหน้าฝูงชนแล้วกล่าวขึ้นว่า “ท่านจะมานั่งแสดงธรรมอยู่ทำไม บัดนี้เด็กในครรภ์ของข้าพเจ้าซึ่งเกิดกับท่านใกล้จะคลอดอยู่แล้ว ถึงท่านจะไม่ดูแลด้วยตนเองก็ควรให้พระเจ้าโกศล หรือท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐี หรือนางวิสาขาคนใดคนหนึ่ง ช่วยเลี้ยงดูข้าพเจ้า และลูก"

    พระพุทธองค์ทรงหยุดแสดงธรรม และกล่าวกับนางว่า “ดูก่อนน้องหญิง เรื่องนี้เจ้ากับเรา ๒ คนเท่านั้น รู้กันว่า จริงหรือไม่จริงตามคำของนาง”
    นางจึงตอบว่า “จริงทีเดียว เพราะการที่ข้าพเจ้ามีครรภ์ขึ้นนี้ มีแต่ท่านกับข้าพเจ้าเท่านั้นที่รู้กัน”

    <O:p</O:pในขณะนั้น ได้ทรงเนรมิตให้บังเกิดเป็นลูกหนูเข้าไปกัดเชือกที่ผูกท่อนไม้รองในติดที่ท้องของนางจิญจมาณวิกา ท่อนไม้นั้นก็ขาดตกลงมาหลังเท้าของนาง ได้รับความเจ็บปวด และเกิดลมแรงพัดเลิกเอาเสื้อผ้าของนางให้ปลิวขึ้น จนปรากฎแก่คนทั้งหลายว่า นางมิได้ตั้งครรภ์ นางได้กล่าวตู่หาความใส่ร้ายพระพุทธองค์

    คนทั้งหลายก็พากันลุกฮือขึ้นไล่ทุบตี นางก็วิ่งหนีออกจากพระวิหารไปทันที พอออกไปพ้นประตูพระเชตุวันมหาวิหาร นางก็ถูกแผ่นดินสูบ<O:p</O:p

    บุพพกรรมของนางจิญจมาณวิกา
    <BIG>อรรถกถา จุลลปทุมชาดก</BIG>


    <CENTER class=D>ว่าด้วย การลงโทษหญิงชายทำชู้กัน</CENTER>พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภภิกษุผู้กระสัน ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อยเมว สา อหมฺปิ โส อนญฺโญ ดังนี้

    เรื่องราวจักมีแจ้งใน อุมมาทันตีชาดก

    ก็ในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น เมื่อพระศาสดาตรัสถามว่า ได้ยินว่า เธอกระสันจริงหรือ กราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า ตรัสถามว่า ก็ใครทำให้เธอกระสันเล่า กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าเห็นมาตุคามคนหนึ่ง ตกแต่งอย่างสวยงาม แล้วตกอยู่ในอำนาจกิเลส จึงกระสัน

    พระศาสดาจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ขึ้นชื่อว่ามาตุคามมักอกตัญญู ประทุษร้ายมิตร มีดวงใจกระด้าง แม้โบราณกบัณฑิตให้ดื่มโลหิตที่เข่าขวาของตน บริจาคทานตลอดชีวิต ยังไม่ได้ดังใจของมาตุคาม แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า

    ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ทรงอุบัติในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีของพระองค์ ในวันขนานพระนาม ได้รับพระราชทานนามว่า ปทุมราชกุมาร พระปทุมราชกุมารได้มีพี่น้องอีกหกพระองค์ ทั้งเจ็ดพระองค์นั้นเจริญพระชนม์ขึ้นโดยลำดับ ครองฆราวาส ทรงประพฤติเยี่ยงพระราชา

    อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาประทับทอดพระเนตรพระลานหลวง ทรงเห็นพระราชกุมารพี่น้องเหล่านั้น มีบริวารมากพากันมาปฏิบัติราชการ ทรงเกิดความระแวงว่า ราชกุมารเหล่านี้จะพึงฆ่าเราแล้วชิงเอาราชสมบัติ จึงตรัสเรียกพระราชกุมารเหล่านั้นมารับสั่งว่า ลูกๆ ทั้งหลาย พวกเจ้าจะอยู่ในพระนครนี้ไม่ได้ จงไปที่อื่น เมื่อพ่อล่วงลับไปแล้ว จงกลับมารับราชสมบัติอันเป็นของประจำตระกูลเถิด

    พระราชกุมารเหล่านั้นรับพระดำรัสของพระชนกแล้ว ต่างทรงกันแสง เสด็จไปยังตำหนักของ<WBR>ตนๆ ทรง<WBR>รำพึง<WBR>ว่า พวกเราจักพาพระชายาไปหาเลี้ยงชีพ ณ ที่ใดที่หนึ่ง แล้วเสด็จออกจากพระนคร ทรงดำเนินทางถึงที่กันดารแห่งหนึ่ง เมื่อไม่ได้ข้าวและน้ำ ไม่สามารถจะกลั้นความหิวโหยไว้ได้ จึงตกลงพระทัยปลงพระชนม์ของพระชายาของพระเจ้าน้อง ด้วยทรงดำริว่า เมื่อเรายังมีชีวิตอยู่ก็จักหาหญิงได้ แล้วแบ่งเนื้อออกเป็นสิบสามส่วนพากันเสวย พระโพธิสัตว์เก็บไว้ส่วนหนึ่ง ในส่วนที่ตนและพระชายาได้ ทั้งสองเสวยแต่ส่วนเดียว พระราชกุมารทั้งหลายทรงปลงพระชนม์พระชายาทั้งหก แล้วเสวยเนื้อได้หกวันด้วยประการฉะนี้

    ฝ่ายพระโพธิสัตว์ทรงเหลือไว้วันละส่วนทุกๆ วัน เก็บไว้ได้หกส่วน ในวันที่เจ็ด เมื่อพูดกันว่าจักปลงพระชนม์พระชายาของพระเจ้าพี่ พระโพธิสัตว์จึงประทานเนื้อหกส่วนเหล่านั้นแก่น้องๆ แล้วตรัสว่า วันนี้ พวกท่านจงเสวยหกส่วนเหล่านี้ก่อน พรุ่งนี้จักรู้กัน ในเวลาที่พระราชกุมารน้องๆ เหล่านั้นเสวยเนื้อแล้วหลับไป ก็ทรงพาพระชายาหนีไป พระชายานั้นเสด็จไปได้หน่อยหนึ่งแล้วทูลว่า ข้าแต่พระภัสดา หม่อมฉันไม่อาจเดินต่อไปได้ ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์จึงทรงแบกพระชายา<WBR>ออกจากที่กันดารไป ในเวลารุ่งอรุณ เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นพระนาง ทูลว่า หม่อมฉันหิวเหลือเกิน พระโพธิสัตว์ตรัสว่า น้ำไม่มีเลยน้อง เมื่อพระนางพร่ำวิงวอนบ่อยเข้า ด้วยความสิเนหาต่อพระนาง จึงเอาพระขรรค์เชือดพระชานุ (เข่า) เบื้องขวา แล้วตรัสว่า น้ำไม่มีดอกน้อง น้องจงนั่งลงดื่มโลหิตที่เข่าขวาของพี่ พระชายาได้กระทำตามพระประสงค์ ทั้งสองพระองค์เสด็จถึงแม่น้ำใหญ่โดยลำดับ ทรงดื่ม ทรงอาบ และเสวยผลาผล ทรงพักในที่สำราญ แล้วทรงสร้างอาศรมบทใกล้แม่น้ำแห่งหนึ่ง

    อยู่มาวันหนึ่ง ด้านเหนือแม่น้ำ ราชบุรุษลงโทษโจรผู้ทำผิดพระราชอาญา ตัดมือ เท้า หู และจมูก ให้นอนในเรือโกลนลำหนึ่ง เสือกลอยไปในแม่น้ำใหญ่ โจรนั้นร้องเสียงครวญคราง ลอยมาถึงที่นั้น พระโพธิสัตว์ทรงสดับเสียงร้องอันน่าสงสารของโจรนั้น ทรงดำริว่า เมื่อเรายังอยู่ สัตว์ผู้ได้รับความลำบากอย่าได้พินาศเลย จึงเสด็จไปยังฝั่งแม่น้ำ ช่วยให้เขาขึ้นจากเรือ แล้วนำมายังอาศรมบท ได้ทรงกระทำการเยียวยาแผลด้วยการชำระล้างและทาด้วยน้ำฝาด

    ฝ่ายพระชายาของพระองค์ ครั้นทรงทราบว่า พระสามีทรงปรนนิบัติคนเลวทรามซึ่งลอยน้ำมาถึงปานนั้น ก็ทรงรังเกียจคนเลวทรามนั้น แสดงกิริยากระฟัดกระเฟียดอยู่ไปมา ครั้นแผลของโจรนั้นหายสนิทแล้ว พระโพธิสัตว์จึงให้เขาอยู่ในอาศรมบทกับพระชายา ทรงแสวงหาผลาผลจากดงมาเลี้ยงดูโจรและพระชายา เมื่อทั้งสองอยู่กันอย่างนี้ สตรีนั้นก็มีจิตปฏิพัทธ์ในบุรุษชั่วนั้น ประพฤติอนาจารร่วมกับเขา ต้องการจะฆ่าพระโพธิสัตว์ด้วยอุบายอย่างหนึ่ง จึงกราบทูลอย่างนี้ว่า เมื่อหม่อมฉันนั่งบนบ่าของพระองค์ออกจากทางกันดาร มองเห็นภูเขาลูกหนึ่ง จึงบนบานว่า ข้าแต่เทพเจ้าผู้สิงสถิตบนยอดเขา หากข้าพเจ้ากับพระสวามีปลอดภัยได้ชีวิต ข้าพเจ้าจักทำพลีกรรมแก่ท่าน บัดนี้ เทวดานั้นทำให้หม่อมฉันหวาดสะดุ้ง หม่อมฉันจะทำพลีกรรมแก่เทวดานั้น

    พระโพธิสัตว์ไม่ทรงทราบมายา ทรงรับสั่งว่าดีแล้ว ทรงเตรียมเครื่องเซ่น ให้พระชายาถือภาชนะเครื่องเซ่น ขึ้นสู่ยอดภูเขา ครั้นแล้ว พระชายาจึงกราบทูลพระสวามีอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระสวามี พระองค์ก็เป็นเทวดาของหม่อมฉัน ทั้งชื่อว่าเป็นเทวดาผู้สูงส่ง เบื้องแรกหม่อมฉันจักบูชาพระองค์ด้วยดอกไม้ในป่าก่อน และกระทำประทักษิณถวายบังคม จักทำพลีกรรมเทวดาในภายหลัง พระนางให้พระโพธิสัตว์หันพระพักตร์เข้าหาเหว ทรงบูชาด้วยดอกไม้ในป่า ทำเป็นปรารถนา<WBR>จะทำประทักษิณถวายบังคม สถิตอยู่ข้างพระปฤษฎางค์แล้วทรงประหารที่พระปฤษฎางค์ ผลักไปในเหว ดีพระทัยว่า เราเห็นหลังข้าศึกแล้ว จึงเสด็จลงจากภูเขา ไปหาบุรุษเลว

    ฝ่ายพระโพธิสัตว์ตกลงจากภูเขา กลิ้งลงไปตามเหว ติดอยู่ที่พุ่มไม้มีใบหนาไม่มีหนามแห่งหนึ่ง เหนือยอดต้นมะเดื่อ. แต่ไม่สามารถจะลงยังเชิงเขาได้ พระองค์จึงเสวยผลมะเดื่อ ประทับนั่งระหว่างกิ่ง ขณะนั้น พญาเหี้ยตัวใหญ่ตัวหนึ่ง ขึ้นจากเชิงเขาชั้นล่าง กินผลมะเดื่ออยู่ ณ ที่นั้น มันเห็นพระโพธิสัตว์ในวันนั้นจึงหนีไป รุ่งขึ้นมากินผลไม้ที่ข้างหนึ่งแล้วหนีไป พญาเหี้ยมาอยู่บ่อยๆ อย่างนี้ ก็คุ้นเคยกับพระโพธิสัตว์ ถามพระโพธิสัตว์ว่า ท่านมาที่นี้ได้อย่างไร เมื่อพระโพธิ<WBR>สัตว์บอกให้รู้แล้ว จึงกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านอย่ากลัวเลย ให้พระโพธิสัตว์นอนบนหลังของตน ไต่ลงออกจากป่า ให้สถิตอยู่ที่ทางใหญ่ แล้วส่งไปด้วยคำว่า ท่านจงไปตามทางนี้ แล้วก็เข้าป่าไป

    พระโพธิสัตว์ไปถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง เมื่ออาศัยอยู่ในบ้านนั้น ก็ได้ข่าวว่าพระชนกสวรรคตเสียแล้ว จึงเสด็จไปยังกรุงพาราณสี ทรงดำรงอยู่ในราชสมบัติอันเป็นของประจำตระกูล ทรงพระนามว่า พระปทุมราชา ทรงครอบครองราชย์โดยธรรม มิให้ราชธรรมกำเริบ รับสั่งให้สร้างโรงทานหกแห่ง ที่ประตูพระนครทั้งสี่กลางพระนคร และประตูพระราชนิเวศน์ ทรงบริจาคทรัพย์บำเพ็ญมหาทานวันละหกแสน

    หญิงชั่วแม้นั้น ก็ให้ชายชั่วนั่งขี่คอออกจากป่า เที่ยวขอทานในทางที่มีคนรวบรวมข้าวยาคูและภัตร เลี้ยงดูชายชั่วนั้น เมื่อมีผู้ถามว่าคนนี้เป็นอะไรกับท่าน นางก็บอกว่า ฉันเป็นลูกสาวของลุงของชายผู้นี้ เขาเป็นลูกของอาฉัน พ่อแม่ได้ยกฉันให้ชายผู้นี้ ฉันต้องแบกสามีซึ่งต้องโทษเที่ยวขอทานเลี้ยงดูเขา พวกมนุษย์ต่างพูดกันว่า หญิงนี้ปรนนิบัติสามีดีจริง ตั้งแต่นั้นมาก็พากันให้ข้าวยาคูและภัตรมากยิ่งขึ้น คนอีกพวกหนึ่งพูดกันว่า ท่านอย่าเที่ยวไปอย่างนั้นเลย พระเจ้าปทุมราชเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี ทรงบริจาคทานเล่าลือกันไปทั่วชมพูทวีป. พระเจ้าปทุมราชทรงเห็นแล้ว จักทรงยินดีพระราชทานทรัพย์เป็นอันมาก เจ้าจงให้สามีของเจ้านั่งในนี้พาไปเถิด แล้วได้มอบกระเช้าหวายทำให้มั่นคงไปใบหนึ่ง นางปราศจากยางอาย ให้ชายชั่วนั่งลงในกระเช้าหวาย แล้วแบกกระเช้าเข้าไปกรุงพาราณสี เที่ยวบริโภคอาหารอยู่ในโรงทาน

    พระโพธิสัตว์ประทับเหนือคอคชสารที่ตกแต่งด้วยเครื่องอลังการ เสด็จถึงโรงทาน ทรงบริจาค<WBR>ทาน<WBR>ด้วยพระหัตถ์เอง แก่คนที่มาขอแปดคนบ้าง สิบคนบ้าง แล้วเสด็จกลับ หญิงไม่มี<WBR>ยาง<WBR>อาย<WBR>นั้น ให้ชายชั่วนั่งในกระเช้าแล้วแบกกระเช้า ผ่านไปในทางเสด็จของพระราชา พระราชาทอด<WBR>พระ<WBR>เนตรเห็นดังนั้น จึงตรัสถามว่า นั่นอะไร ราชบุรุษทั้งหลายกราบทูลว่า ขอเดชะ หญิงปฏิบัติสามีคนหนึ่ง พระเจ้าข้า

    ลำดับนั้น พระองค์รับสั่งให้เรียกนางมา ทรงจำได้ รับสั่งให้เอาชายชั่วออกจากกระเช้า แล้วตรัสถามว่า ชายนี้เป็นอะไรกับเจ้า นางกราบทูลว่า เขาเป็นลูกของอาของหม่อมฉันเองเพคะ เป็นสามีที่พ่อแม่ยกหม่อมฉันให้เขาเพคะ พวกมนุษย์ไม่รู้เรื่องราวนั้น ต่างพากันสรรเสริญหญิงผู้ไร้อายนั้น เป็นต้นว่า น่ารักจริง เธอเป็นหญิงปฏิบัติ<WBR>สามีดี. พระราชาตรัสถามต่อไปว่า ชายชั่วผู้นี้เป็นสามีตบแต่งของเจ้าหรือ นางจำพระราชาไม่ได้ จึงกล้ากราบทูลว่า เป็นความจริงเพคะ

    พระราชาจึงตรัสว่า ชายผู้นี้เป็นโอรสของพระเจ้ากรุงพาราณสีหรือ เจ้าเป็นธิดาของพระราชาองค์โน้น มีชื่ออย่างโน้น เป็นชายาของปทุมราชกุมาร ดื่มโลหิตที่เข่าของเราแล้วมีจิตปฏิพัทธ์ในชายชั่วผู้นี้ ผลักเราตกลงในเหว บัดนี้ เจ้าบากหน้ามาหาความตาย สำคัญว่า เราตายไปแล้ว จึงมาถึงที่นี่ ตรัสว่า เรายังมีชีวิตอยู่มิใช่หรือ ตรัสเรียกอำมาตย์ทั้งหลาย แล้วรับสั่งว่า ท่านอำมาตย์ทั้งหลาย พวกท่านถามเรา เราได้บอกพวกท่านไว้อย่างนี้แล้วมิใช่หรือว่า น้องหกองค์ของเราได้ฆ่าสตรีหกคนบริโภคเนื้อ แต่เราได้ช่วยชายาของเราให้ปลอดภัย พาไปยังแม่น้ำคงคาอาศัย อยู่ในอาศรมบท ได้ช่วยชายเลวคนหนึ่งที่ต้องราชทัณฑ์มาเลี้ยงดู หญิงคนนี้มีจิตปฏิพัทธ์ในชายชั่วนั้น ผลักเราตกลงไปในเหวภูเขา เรารอดชีวิตมาได้ เพราะตนมีจิตเมตตา หญิงที่ผลักเราตกจากเขามิใช่อื่น คือหญิงชั่วคนนี้เอง และชายชั่วที่ต้องราชอาญาก็มิใช่อื่น คือคนนี้นี่แหละ

    แล้วได้ตรัสคาถาเหล่านี้ว่า :-

    หญิงคนนี้แหละคือหญิงคนนั้น แม้เราก็คือบุรุษคนนั้นมิใช่คนอื่น ชายคนนี้แหละที่หญิงคนนี้อ้างว่าเป็นผัวของนางมาตั้งแต่เป็นกุมารี ก็คือชายที่ถูกตัดมือ หาใช่คนอื่นไม่ ขึ้นชื่อว่าหญิงทั้งหลายควรฆ่าให้หมดเลย ความสัตย์ไม่มีในหญิงทั้งหลาย

    ท่านทั้งหลายจงฆ่าชายผู้ชั่วช้าลามกราวกับซากผี มักทำชู้กับภรรยาผู้อื่นคนนี้เสีย ด้วยสาก จงตัดหู ตัดจมูกของหญิงผู้ปรนนิบัติผัวชั่วช้าลามกคนนี้เสียทั้งเป็นๆ เถิด

    ในบทเหล่านั้น บทว่า ยมาห โกมาริปติโก มมนฺติ ความว่า หญิงนี้กล่าวว่า ชายนี้เป็นผัวของนางมาตั้งแต่เป็นกุมารี คือเป็นผัวตบแต่ง ก็คือหญิงคนนี้แหละ แม้เราก็คือบุรุษคนนั้นมิใช่อื่น. บาลีว่า ยมาห โกมาริปติ ก็มี. เพราะท่านเขียนบทนี้ไว้ในคัมภีร์ทั้งหลาย. ความก็อย่างเดียวกัน แต่ในบทนี้พึงทราบความคลาดเคลื่อนของคำ. ก็พระราชาตรัสคำใดไว้ คำนั้นแหละมาแล้วในที่นี้ บทว่า วชฺฌิตฺถิโย ความว่า ขึ้นชื่อว่าหญิงทั้งหลาย ควรฆ่าให้หมด

    บทว่า นตฺถิ อิตฺถีสุ สจฺจํ ได้แก่ ชื่อว่าความสัตย์ในหญิงเหล่านี้ไม่มีสักอย่างเดียว บทว่า อิมญฺจ ชมฺมํ เป็นต้น ท่านกล่าวด้วยการลงโทษชายเหล่านั้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า ชมฺมํ คือ ลามก. บทว่า มุสเลน หนฺตฺวา ได้แก่ เอาสากทุบตีทำให้กระดูกหักเป็นชิ้นๆ บทว่า ลุทฺทํ คือ หยาบช้า บทว่า ฉวํ ได้แก่ คล้ายคนตาย เพราะไม่มีคุณธรรม บทว่า นํ ในบทว่า อิมิสฺสา จ นํ นี้ เป็นเพียงนิบาต อธิบายว่า ท่านทั้งหลายจงตัดหู และจมูกของหญิงนี้ผู้ปรนนิบัติผัวชั่ว ไม่มียาง<WBR>อาย เป็นคนทุศีล ทั้งๆ ยังเป็นอยู่

    พระโพธิสัตว์ เมื่อไม่ทรงสามารถอดกลั้นความโกรธไว้ได้ แม้รับสั่งให้ลงอาญาแก่พวกเขาอย่างนี้ ก็มิได้ทรงให้กระทำอย่างนั้นได้ แต่ได้ทรงบรรเทาความโกรธให้เบาบางลง แล้วรับสั่งให้ผูกกระเช้านั้นจนแน่น โดยที่นางไม่อาจยกกระเช้าลงจากศีรษะได้ ขังชายชั่วนั้นไว้ในกระเช้า จนกระทั่งตาย

    พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจธรรม ทรงประชุมชาดก
    เมื่อจบสัจธรรม ภิกษุผู้กระสันได้บรรลุโสดาปัตติผล
    พี่น้องทั้งหกในครั้งนั้น ได้เป็นพระเถระองค์ใดองค์หนึ่ง ในครั้งนี้
    ภรรยาได้เป็น นางจิญจมาณวิกา
    ชายชั่วได้เป็น เทวทัต
    พญาเหี้ยได้เป็น อานนท์
    ส่วนปทุมราชา คือ เราตถาคต นี้แล
    จบ อรรถกถาจุลลปทุมชาดกที่ ๓
    แหล่งข้อมูล: http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=235<!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2013
  19. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    พันธุละเสนาบดี กับนางมัลลิกา
    นางมัลลิกาเป็นหญิงหมัน พันธุละสามีจึงคิดส่งกลับไปอยู่กับบิดามารดาของนาง ก่อนเดินทางไป นางคิดว่า เราควรจะแวะถวายบังคมพระบรมศาสดาเสียก่อน นางกราบทูลสาเหตุที่ต้องกลับบ้านให้ทืรงทราบ ทรงตรัสว่า ถ้าอย่างนั้นจงอย่ากลับไปสู่เรือนตระกูลเลย กลับไปอยู่เสียที่บ้านสามีตามเดิมเถิด นางมัลลิกาก็ย้อนกลับมาบอกให้สามีทราบ พันธุละคิดว่า ชะรอยพระพุทธองค์จะได้เห็นเหตุการณ์บางอย่างข้างหน้า จึงแนะให้กลับมาอยู่กับสามีก่อน

    ต่อมาไม่ช้า นางก็ตั้งครรภ์ จึงบอกสามีว่า อยากจะลงอาบน้ำในมงคลสระโบกขรณีอันเป็นสระอภิเษกแห่งเจ้าลิจฉวีทั้งหลายในนครเวสาลี พันธุละก็รับว่า ได้สิ แล้วเอาธนูคู่มือติดไปด้วย พานางมัลลิกาขึ้นรถขับออกจากกรุงสาวัตถีตรงไปเมืองเวสาลี เมื่อเข้าไปในเมืองได้แล้วตรงไปที่สระโบกขรณีซึ่งมีทหารยามรักษาการณ์อยู่อย่างแน่นหนา บนสระมีลวดตาข่ายขึงล้อมรอบกันนกลงไปทำสกปรก พันธุละไปถึงสระก็ชักดาบออกขู่ไล่ฟันทหารแตกตื่นหนีไปแล้วก็ตัดลวดตาข่ายออก พานางมัลลิกาลงไปอาบน้ำตามสบาย ครั้นอาบน้ำเสร็จก็ขึ้นรถขับออกจากพระนครโดยทางเก่า กษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลายพิโรธมาก พากันขึ้นรถม้าติดตาม ระหว่างทางได้พบกับอาจารย์ของตน อาจารย์ก็ห้ามว่าอย่าไปเลย เพราะจะถูกพันธุละฆ่าตายหมด กษัตริย์ลิจฉวีทั้ง ๕ องค์ไม่ยอมเชื่อฟัง อาจารย์จึงเตือนว่า ถ้าจะไปให้ได้ก็จงจำไว้ ถ้าได้เห็นรอยทางรถจมลงไปถึงดุมล้อในที่ใด จงกลับเสียในที่นั้น ถ้ายังขืนจะไปอีก เวลาได้ยินเสียงเหมือนฟ้าผ่า จงพากันรีบกลับ ถ้ายังขืนไปอีกจะได้เห็นช่องทะลุ ถึงที่งอนรถทุกๆคัน แล้วให้พากันกลับโดยเร็ว เมื่อกษัตริย์ลิจฉวีได้ฟังดังนั้นแล้ว ก็พากันรีบขับรถตามไป

    ฝ่ายนางมัลลิกาได้เตือนสามีว่า มีรถติดตามมา พันธุละบอกว่า ถ้าเห็นรถปรากฏขึ้นคล้ายเป็นคันเดียวกันในเวลาใดละก็จงบอกเราให้ทราบ ครั้นแล้วก็โก่งคันธนูขึ้นโดยแรง จนกงล้อรถจมลงไปในดินถึงดุมรถแล้วก็แล่นต่อไป กษัตริย์ลิจฉวีเห็นแล้วก็ไม่ยอมกลับ พันธุละก็เตรียมดีดสายธนูขึ้น เสียงความแรงของมันเหมือนเสียงฟ้าผ่า พวกลิจฉวีเห็นแล้วก็ไม่ยอมกลับ พันธุละจึงให้นางมัลลิกาถือบังเหียนขับรถต่อไป ตัวเองหันหน้ามายิงลูกธนูกลับมาลูกหนึ่ง ลูกธนูนั้นทำลายงอนรถกษัตริย์ลิจฉวีทุกคันที่ตามมาจนหลุดออก แล้วฝ่าทะลุเสื้อเกราะกษัตริย์ลิจฉวีทั้ง ๕ องค์ ลิจฉวีหารู้ไม่ว่าถูกยิง ยังขับรถต่อไป พันธุละหยุดรถร้องบอกว่า ท่านทั้ง ๕ คนตายหมดแล้ว เราไม่ต้องการรบกับคนที่ตายแล้ว ถ้าไม่เชื่อก็ลองแก้เสื้อเกราะของกษัตริย์องค์สุดท้ายดูเถิด ลิจฉวีทำตาม พอแก้เกราะออกก็ล้มลงสิ้นพระชนม์หมดทั้ง ๕ องค์

    ต่อมาพระเจ้าปเสนทิโกศลได้แต่งตั้งให้พันธุละเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดอรรถคดีของประชาชน เขาเป็นคนเที่ยงธรรม พวกอำมาตย์ราชบริพารที่ไม่ซื่อสัตย์สุจริตพากันเกลียด หาทางกลั่นแกล้งทูลพระเจ้าโกศลว่า พันธุละคิดกบฏ พระเจ้าโกศลจึงหาอุบายให้ก่อการกำเริบขึ้นในปัจจันตชนบท แล้วโปรดรับสั่งให้พันธุละพร้อมบุตรแฝด ๓๒ คนซึ่งเกิดกับนางมัลลิกา และบริวารออกไปปราบศึก พระเจ้าโกศลมีคำสั่งลับให้พลโยธาจับพันธุละ และบุตรฆ่าเสีย คงเหลือฑีฆะการายนะ หลานพันธุละคนเดียวที่รอดตายมาได้ ม้าเร็วส่งสาส์นวิ่งมาบอกนางมัลลิกาขณะถวายภัตตาหารแด่พระสารีบุตร และภิกษุสงฆ์ นางได้รับสาส์นแล้วก็เฉยอยู่ มิได้แสดงความเศร้าโศกออกนอกหน้าให้เห็นเลย ยังคงถวายภัตตาหารด้วยจิตใจโสมนัสยินดีคล้ายกับว่าไม่ได้มีอะไรเกิดขึ้น

    ขณะนั้นคนใช้ทำภาชนะที่มีราคาซึ่งนางรักมากชิ้นหนึ่งตกแตก พระสารีบุตรจึงเตือนไม่ให้ทำใจให้หวั่นไหวไปกับภาชนะที่แตกนั้น เพราะของควรจะแตกมันก็ต้องแตก ของที่ควรจะดับมันก็ต้องดับ เป็นไปตามธรรมดาของสังขาร นางได้ยินพระสารีบุตรเตือนสติเช่นนั้น จึงเอาหนังสือจากม้าเร็วอ่านให้พระสารีบุตรฟัง และกล่าวว่า
    ดิฉันได้รู้เหตุร้ายแรงอย่างนี้ ยังไม่หวั่นไหวเลย เหตุไรจะมาเสียใจด้วยของแตกเพียงเท่านี้

    ต่อมาไม่นาน พระเจ้าปเสนทิโกศล เสด็จไปเฝ้าพระพุทธองค์ที่เชตุวันมหาวิหาร ก่อนเสด็จเข้าไปในพระอาราม ได้ถอดเครื่องราชกุธภัณฑ์ให้ฑีฆะการายนะรักษาไว้ ฑีฆะการายนะมีความเคียดแค้นอาฆาตพระเจ้าปเสนทิโกศลอยู่แล้วในเรื่องหาอุบายฆ่าพันธุละ มหาอำมาตย์จึงนำเอาเครื่องราชกุธภัณฑ์นั้นมามอบให้วิฑูฑภะราชกุมาร ซึ่งเกิดจากนางทาสีวาสภขัตติยาแล้วยกกองทหารกลับ พระเจ้าปเสนทิโกศลกับนางสนมคนหนึ่งที่ติดตามไปด้วย ทราบเรื่องจึงขึ้นม้าตรงไปยังเมืองราชคฤห์ เพื่อจะไปขอกองทัพจากพระเจ้าอชาตศัตรู ผู้เป็นหลาน แต่ไปถึงเมืองนั้นตอนค่ำ เข้าปิดประตูเมืองแล้ว พระองค์จึงต้องนอนพักรออยู่นอกเมือง แต่เพราะความเหน็ดเหนื่อยตรากตรำมาตลอดวัน และพระชนม์มายุก็ ๘๐ พรรษาแล้ว จึงเสด็จสวรรคตในคืนนั้นเอง พระเจ้าอชาตศัตรูจึงได้อัญเชิญพระศพเข้าไปถวายพระเพลิงในเมือง

    ฝ่ายฑีฆะการายนะเสนาบดี เมื่อกลับถึงกรุงสาวัตถีแล้ว ก็จัดการอภิเษกวิฑูฑภะกุมารขึ้นเป็นกษัตริย์ครองกรุงสาวัตถีต่อไป

    เมื่อวิฑูฑภะได้ครองราชสมบัติแล้ว ความคิดที่จะแก้แค้นศากยราชทั้งหลายก็เกิดขึ้น จึงยกกองทัพประชิดถึงแดนต่อแดนก็ได้พบพระบรมศาสดาประทับอยู่ที่ต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่งในเวลาเที่ยงวัน จึงเข้าไปถวายบังคมทูลถามว่า เวลานี้กำลังเที่ยงแดดร้อนจัด เหตุใดพระองค์จึงมาประทับใต้ต้นไม้แห้งโกร๋นแทบจะไม่มีใบเหลืออยู่เลยเช่นนี้ ตรัสตอบว่า
    แดดร้อนก็จริงอยู่ แต่เงาร่มแห่งหมู่ญาติของเราตถาคตก็เย็นสนิท

    พระเจ้าวิฑูฑภะได้ยินดังนั้นก็เข้าพระทัยว่า พระองค์เสด็จไปที่นั้นเพื่อคุ้มครองพระญาติ จึงทูลลายกทัพกลับ พระเจ้าวิฑูฑภะยกกองทหารไปเช่นนี้เป็นครั้งที่ ๒ ที่ ๓ ได้พบพระพุทธองค์ประทับนั่งอยู่ที่ใต้ต้นไม้เดิม แล้วก็ยกทัพกลับอีก ในครั้งที่ ๔ (ประมาณพระชนม์พรรษาพระศาสดาในขณะนั้นได้ ๗๙ พรรษา) ทรงพิจารณาเห็นว่า พระญาติทั้งหลายล้วนแต่ได้กระทำกรรมไว้ในอดีตชาติ คือ ได้วางยาพิษลงในแม่น้ำเป็นกรรมหนัก ไม่มีผู้ใดจะห้ามกรรมได้ จึงไม่เสด็จไปห้ามพระเจ้าวิฑูฑภะ พระเจ้าวิฑูฑภะก็ยกทัพไปจับศากยวงศ์ทั้งหลายฆ่าเสียแทบหมดสิ้น เพื่อจะเอาโลหิตล้างที่นั่งของพระองค์เมื่อครั้งเป็นกุมารอายุ ๑๖ พรรษา ที่เหลือนั้นก็กวาดต้อนเสด็จกลับมาพักอยู่ที่ริมแม่น้ำแห่งหนึ่งในตอนเย็น พอน้ำขึ้นเกิดพายุจัดก็ถูกซัดลงตลิ่งจมน้ำตายหมด พระเจ้าวิฑูฑภะได้ถูกพายุพัดจมน้ำสิ้นพระชนม์ไปในคราวนี้ด้วย

    เรื่องดั้งเดิมมีอยู่ว่า พระภิกษุสงฆ์ในเชตุวันมหาวิหารมีความพอใจที่จะไปฉันภัตตาหารในเรือนของอนาถบิณฑิกะเศรษฐี หรือในเรือนของนางวิสาขามหาอุบาสิกา เพราะมีความคุ้นเคยกันเหมือนญาติ แม้พระเจ้าปเสนทิโกศลจะจัดอาหารอย่างดีไปถวายก็ตาม พระภิกษุสงฆ์รับแล้วก็จะไปฉันในบ้านของท่านเศรษฐี หรือนางวิสาขาตามเคย พระเจ้าโกศลทรงโทมนัส น้อยพระทัย จึงทูลถามพระองค์ว่า โภชนาหารชนิดใดจัดว่าเป็นของมีรสเลิศ พระพุทธองค์ตรัสว่า โภชนาหารที่บุคคลผู้คุ้นเคยถวายจัดว่าเป็นของมีรสอันเลิศ พระจ้าโกศลทูลถามต่อไปว่า ก็พระภิกษุทั้งหลายคุ้นเคยกับบุคคลจำพวกไหน ตรัสตอบว่า คุ้นเคยกับญาติของตนหนึ่ง กับตระกูลเสขบุคคล(ผู้ยังต้องศึกษา)หนึ่ง

    พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงดำริว่า ควรจะไปขอพระราชธิดาแห่งศากยราช มาเป็นมเหสีสักองค์หนึ่ง จะได้เป็นที่คุ้นเคยกับพระภิกษุทั้งหลาย จึงให้ราชฑูตนำสาส์นไปทูลพระเจ้ามหานาม ขอพระราชธิดาแห่งศากยวงศ์ในกรุงกบิลพัสดุ์ พวกศากยะนั้นมีทิฐิถือชาติสกุลอย่างยิ่ง แต่ก็เกรงพระทัยพระเจ้าปเสนทิโกศล เพราะกรุงกบิลพัสดุ์อยู่ในความอารักขาคุ้มครองของแคว้นโกศลในขณะนั้น จึงจัดส่งนางวาสภขัตติยาธิดาของทาสีคนหนึ่งไปถวายพระเจ้าปเสนทิโกศลอภิเษกเป็นอัครมเหสี ต่อมานางวาสภขัตติยาประสูติราชกุมารได้ชื่อว่า "วิฑูฑภะ" วิฑูฑภะอายุได้ ๗ ชวบ เห็นราชกุมารจากมเหสีองค์อื่นๆได้รับของขวัญของเล่นจากตระกูลตายายของตนเป็นอันมาก จึงถามพระมารดาว่า ทำไมตายายของตนจึงไม่ส่งมาให้ตนเหมือนราชกุมารอื่นๆบ้าง นางวาสภขัตติยาตอบบ่ายเบี่ยงว่า พระเจ้าตายายของวิฑูฑภะอยู่ไกล คงส่งมาลำบาก วิฑูฑภะก็นิ่งไป

    ครั้นอายุได้ ๑๖ ปี จึงขอไปเยี่ยมกรุงกบิลพัสดุ์ พวกกษัตริย์ศากยราชได้จัดส่งกุมารที่เป็นเด็กกว่าวิฑูฑภะไปอยู่ชนบทเสียทั้งสิ้น เพราะไม่ต้องการให้ไหว้วิฑูฑภะ แล้วก็จัดเลี้ยงรับรองวิฑูฑภะอย่างมโหฬาร วิฑูฑภะต้องเที่ยวไหว้กราบศากยะวงศ์ทั่วทุกพระองค์ แต่ไม่เคยมีใครไหว้วิฑูฑภะเลย จึงถามว่า เพราะเหตุใดจึงไม่มีใครไหว้ข้าพเจ้าบ้าง ศากยราชทั้งหลายจึงตอบว่าเพราะผู้ที่เป็นเด็กกว่าวิฑูฑภะได้พากันไปเที่ยวหัวเมืองเสียหมด

    วิฑูฑภะพักอยู่ในกรุงกบิลพัสดุ์ ๕ วันก็เสด็จกลับ พอออกจากพระนครไปแล้ว ศากยราชทั้งหลายก็รับสั่งให้พวกทาสีชำระล้างที่ที่วิฑูฑภะนั่งให้สะอาดเป็นการล้างเสนียดมลทิน นางทาสีคนหนึ่งกำลังทำความสะอาด ล้างไปปากก็ด่าไป ว่าที่ตรงนี้ลูกนางวาสภขัตติยานีทาสีนั่ง ทำให้เราต้องลำบาก ในขณะนั้นมีทหารของวิฑูฑภะคนหนึ่งลืมอาวุธไว้ ได้วิ่งกลับมาเอา ก็เผอิญได้ยินเสียงด่าของทาสีคนนั้น จึงซักถามจนทราบความจริงหมดทุกประการ แล้วนำความไปบอกแก่พวกทหารทั้งหลายว่า นางวาสภขัตติยานีเป็นลูกทาสี วิฑูฑภะได้ยินดังนั้นก็ผูกอาฆาตไว้ว่า
    เมื่อใดเราได้เสวยราชแล้ว จะต้องเอาเลือดคอแห่งพวกศากยราชมาล้างกระดานแผ่นที่เรานั่งให้จงได้

    เมื่อกลับถึงกรุงสาวัตถีแล้ว พวกอำมาตย์ได้นำความกราบบังคมทูลพระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงพิโรธพวกศากยราชทั้งหลายมาก จึงรับสั่งให้ถอดนางวาสภขัตติยานีออกจากตำแหน่งอัครมเหสีลงเป็นทาสี ส่วนพระวิฑูฑภะกุมารก็ถูกลดตำแหน่งเหมือนกับมารดา พระพุทธองค์ทรงทราบจึงตรัสว่า
    การที่ศากยราชทั้งหลายทำอย่างนี้ไม่สมควร แต่สำหรับนางวาสภขัตติยานีซึ่งได้อภิเษกกับกษัตริย์แล้ว ก็ไม่เป็นของแปลกอะไร ถึงวิฑูฑภะเล่า ก็เหมือนกัน เพราะธรรมเนียมมีอยู่ว่า ต้องถือโคตรแห่งบิดาเป็นใหญ่ แม้แต่บัณฑิตทั้งหลายในปางก่อนก็ยังได้ให้ตำแหน่งอัครมเหสีแก่หญิงหาบฟืนขาย และกุมารที่เกิดจากครรภ์ของหญิงนั้นก็ยังได้เป็นกษัตริย์อยู่ในกรุงพาราณสี

    พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทรงฟังดังนั้นก็หายพิโรธ ด้วยทรงเห็นว่า โคตรวงศ์แห่งบิดาเป็นใหญ่ จึงได้พระราชทานฐานันดรแก่นางวาสภขัตติยานี และวิฑูฑภะกุมารให้เหมือนอย่างเดิม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2013
  20. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    เรื่องภิกษุผู้เลี้ยงมารดาบิดา
    พระบรมศาสดาประทับอยู่ในพระเชตุวันมหาวิหาร ทรงปรารภภิกษุผู้เลี้ยงมารดาบิดาให้เป็นเหตุแห่งพระธรรมเทศนาคือ ภิกษุรูปหนึ่ง เดิมเป็นบุตรสุดที่รักคนเดียวของเศรษฐีคหบดีท่านหนึ่งในเมืองสาวัตถี ก่อนบวชได้เกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายต่อชีวิตที่ได้เห็นญาติพี่น้อง แก่เฒ่าตายจากไปตามๆกัน เขาครุ่นคิดรำพึงว่า แม้ความตายก็มาถึงเราเข้าวันหนึ่งไม่ช้าก้เร็ว เราควรจะออกบวชบำเพ็ญธรรม หาแนวทางที่จะให้ชีวิตดำเนินไปพ้นจากการเดิด แก่ เจ็บ ตาย คือไปสู่ความพ้นทุกข์โดยเด็ดขาด ขณะนี้พระบรมศาสดาก็ประทับอยู่ในเมืองนี้ การที่พระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้นในโลกแต่ละองค์นั้นเป็นของยากยิ่งนัก ทั้งการที่จะได้สดับพระสัททธรรมเล่าก็เป็นของยาก การเกิดมาเป็นมนุษย์เล่าก็เป็นของยาก นักปราชญ์แต่โบราณกาลท่านอยู่เสมอว่า มนุษย์เราเมื่อถือปฏิสนธิในครรภ์มารดาแล้ว บางคนก็ตายเสียขณะอยู่ในครรภ์ บางคนพอคลอดพ้นออกมาได้ไม่เท่าใดก็ตาย คนทั้งหลายจะตั้งกองทัพรบสู้กับความแก่ ความตายนั้นไม่ได้เป็นอันขาด พระมหากษัตริย์ผู้ทรงอานุภาพประกอบด้วย พลโยธา ๔ เหล่า คือ พลช้าง พลม้า พลรถ พลเดินเท้า อาจกำจัดข้าศึกตัตรูได้ง่าย แต่ท่านก็ไม่สามารถต่อสู้กับความตายได้ บางครั้งท่านอาจพ่ายแพ้แก่ข้าศึกในเวลาทำสงครามประจัญบาน แต่พลโยธาทั้ง ๔ เหล่านั้นก็จะเข้าห้อมล้อมพาเสด็จหนีจากข้าศึกไปได้ แต่ความตายนั้น ไม่มีผู้ใดจะพาหนีรอดพ้นไปได้ บางครั้งท่านอาจยกพลนิกายเข้าทำลายค่ายคูประตูหอรบของข้าศึก แล้วจับพระราชาผู้เป็นข้าศึกประหารชีวิตเสียได้ แต่ถึงอย่างนั้นตัวเองก็ไม่สามารถย่ำยีความตายได้ มัจจุราชไม่ได้เกรงใจว่าผู้นี้เป็นกษัตริย์ ผู้นั้นเป็นพราหมณ์ ชนเหล่านี้มั่งคั่ง ผู้นี้มีกำลังปัญญาดี ผู้นี้มีเดชานุภาพมาก จะเพิกเฉยละเลยผู้ใดไว้ไม่มีเลย ย่อมย่ำยีทั่วทุกคน และสัตว์ พวกนักแสดง นักเล่นกล มีมารยาแยบยล ทำเล่ห์แสดงที่ไม่จริงให้เห็นเป็นดุจจริงได้ หรือฉลาดในการฟ้อนรำทำเพลง แสดงละคร เป็นต้น ทำมหาชนให้เพลิดเพลิน ศิลปินนักแสดงทั้งหลายเหล่านี้ก็ไม่อาจทำความนิยมให้เกิดขึ้นแก่มัจจุราชได้ เราควรจะรีบฉวยโอกาสเข้าบวชเรียนในพระพุทธศาสนาเสีย เรื่องอันใดเล่าที่เราจะมามัวเมา ห่วงใย พ่อแม่ หมู่ญาติ จนถึงกับร้องไห้เสียใจ เพราะไม่อยากให้เราบวช เราควรจะตั้งใจบากบั่นพยายามทำให้สิ้นทุกข์ให้ได้ ไม่เป็นสมควรเลยที่จะมาตกอยู่ในอำนาจกิเลสกามอย่างนี้ ขึ้นชื่อว่า กิเลสกามแล้ว ย่อมเป็นของเลวทราม เป็นของนิยมของคนผู้โง่เขลาทั้งสิ้น แม้แต่ไส้เดือน กิ้งกือ ก็มีกิเลสกามเหมือนกัน ความตายนั้นจะให้สินบนก็ไม่ได้ ใครจะต่อสู้ทัดทานก็ไม่ได้ ใครจะเอาชนะไม่ได้เลย สัตว์ทั้งหลายมีความตายเป็นธรรมดา จำต้องพลัดพรากจากของรักของเจริญใจทั้งหลายทั้งปวงไปแต่ผู้เดียว โดยเหตุนี้แหละไม่ควรที่เราจะประมาท

    บวชมาแล้วท่านพำนักอยู่ในสำนักของพระสารีบุตรอุปัชฌาย์ตลอด ๕ พรรษา เห็นว่า ต้องคลุกคลีกับญาติมิตร มีอารมณ์วุ่นวายอยู่เสมอ จึงออกจากพระเชตุวันมหาวิหารไปอาศัยอยู่ในป่าแห่งหนึ่งในชนบทนอกเมืองสาวัตถี อีก ๑๒ พรรษาก็ยังไม่ได้สำเร็จมรรคผลธรรมวิเศษอันใด ตอนนี้มารดาบิดาขัดสนโดยลำดับเพราะความชรา จึงถูกคดโกงทรัพย์สินไปหมด เศรษฐีทั้ง ๒ ยากจนลงถึงกับต้องขายบ้านเรือน แล้วถือชามกระเบื้องเที่ยวขอทานเลี้ยงชีพ มีภิกษุอีกรูปหนึ่งออกจากเชตุวันมหาวิหาร ผ่านไปทางที่อยู่ของภิกษุลูกเศรษฐีนั้นๆ ก็ต้อรับปราศัยให้ที่พัก แล้วไต่ถามถึงสมเด็จพระบรมศาสดาและพระสาวกองค์อื่นๆว่าเป็นอย่างไรบ้าง แล้วถามถึงเศรษฐีตระกูลบิดามารดาของตน พระอาคันตุกะจึงตอบว่า ได้ยินว่าเศรษฐีตระกูลนั้นมีบุตรอยู่คนเดียว แต่ได้บวชเสีย ตระกูลนั้นก็เสื่อมลงไปเป็นลำดับ จนกระทั่งต้องเที่ยวขอทานเขาเลี้ยงชีวิต เมื่อภิกษุนั้นได้ฟังก็ร้องไห้โฮขึ้น ภิกษุอาคันตุกะจึงถามว่า เหตุไรท่านจึงร้องไห้ ก็ได้รับคำตอบว่า เพราะตระกูลเศรษฐีนั้นเป็นบิดามารดาของท่านเอง ภิกษุอาคันตุกะจึงกล่าวว่า มารดาบิดาของท่านตกยากเช่นนี้ก็เพราะท่านเป็นต้นเหตุ เพราะฉะนั้นท่านควรจะกลับไปปฏิบัติเลี้ยงด฿มารดาบิดา ภิกษุนั้นจึงว่า นับแต่เราเพียรพยายามปฏิบัติธรรมมาก็ได้ ๑๗ ปีแล้วยังไม่สำเร็จมรรคผลประการใด การบวชเรียนของเรานี่ไม่มีประโยชน์เสียแล้ว เราควรสึกไปเลี้ยงมารดาบิดาจะดรกว่า คิดแล้วก็เดินทางกลับกรุงสาวัตถี ก่อนถึงมีทาง ๒ แพร่ง คือทางหนึ่งตรงไปวัดพระเชตุวันมหาวิหาร อีกทางหนึ่งไปสู่ใจกลางเมืองสาวัตถี ภิกษุนั้นยืนคิดอยู่ในใจว่า เราจักไปหามารดาบิดาก่อนดีหรือ หรือจะไปเฝ้าพระพุทธองค์ก่อน คิดได้ว่า การที่จะไปเฝ้าพระศาสดานั้นเป็นของทำได้ยาก เราควรไปเฝ้าเพื่อฟังธรรมของพระองค์เสียก่อน รุ่งเช้าจึงค่อยไปหาพ่อแม่ ครั้นคิดแล้วก้เดินตรงไปยังพระเชตุวันมหาวิหาร ก็ในวันนั้นพระพุทธองค์ได้ทรงพิจารณาเห็นอุปนิสัยแห่งภิกษุรูปนั้นแล้ว ในเวลาที่ภิกษุนั้นเข้าไปถึงก็พอดีได้เวลาทรงแสดงธรรม ทรงพรรณาคุณของมารดาบิดา(ดังจะได้ยกคำบรรยายอันไพเราะจับใจยิ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ของท่านสุชีโวภิกขุ อดีตเจ้าอาวาสวัดกันมาตยารามมาไว้)ดังนี้

    ภิกษุทั้งหลาย พราหมณ์ผู้เลี้ยงมารดาบิดาคนหนึ่งเคยเข้ามาสนทนาปราศรัย แล้วกล่าวกับเราว่า พระโคตมะผู้เจริญ ข้าพเจ้าแลแสวงหาภิกษาโดยชอบธรรม ครั้นแสวงหามาโดยชอบธรรมแล้ว ก็เลี้ยงมารดาบิดา ดังนี้ ข้าพเจ้าจะได้ชื่อว่าทำสิ่งที่ควรทำหรือไม่

    ภิกษุทั้งหลาย เราตอบว่า พราหมณ์ ท่านชื่อว่าทำสิ่งที่ควรทำแล้ว ผู้แสวงหาภิกษามาโดยชอบธรรมแล้วเลี้ยงมารดาบิดาย่อมชื่อว่า ก่อสร้างบุญเป็นอันมาก ผู้นั้นย่อมได้รับสรรเสริญในโลกนี้ ละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์

    ภิกษุทั้งหลาย คำว่าพรหมก็ดี บุพพเทวดาก็ดี บุพพาจารย์ก็ดี อาหุไนยบุคคลก้ดี เป็นชื่อของบิดามารดา เพราะท่านเป็นผู้มีอุปการะมาก เป็นผู้เลี้ยงดูให้ความเจริญ และแสดงโลกนี้แก่บุตร

    ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ ท่านที่เรากล่าวว่าอันใดๆ สนองคุณไม่ได้โดยง่าย คือมารดากับบิดา

    ภิกษุทั้งหลาย บุคคลพึงแบกมารดาไว้บนบ่าข้างหนึ่ง แบกบิดาไว้บนบ่าอีกข้างหนึ่ง ต่างว่าผู้นั้นมีอายุยืนถึง ๑๐๐ ปี ทำการบำรุงมารดาบิดา ด้วยการบีบการนวด และการให้อาบน้ำ และมารดาบิดาพึงถ่ายอุจจาระปัสสาวะบนบ่านั้นแล แม้เช่นนั้นก็ยังไม่นับว่าได้สนองพระคุณท่านได้บริบูรณ์ ก็แต่ว่าผู้ใดทำมารดาบิดาให้ตั้งอยู่ในคุณงามความดีมีศรัทธา ศีล ปัญญา เป็นต้น ผู้นั้นชื่อว่า ได้สนองคุณท่านเต็มที่(คือทรงสรรเสริญการให้ทานด้วยปัญญาแก่บุพพการีว่าเป้นทานอันประเสริฐสุด)

    เพราะเหตุที่มารดาบิดามีคุณมากเช่นนี้ เราจึงกล่าวว่า คฤหัสถ์ก็ตาม บรรพชิตก็ตามที่เลี้ยงมารดาบิดาของตนชื่อว่า เป็นผู้ทำหน้าที่ที่ควรทำ เป็นผู้ทำบุญอันยิ่งใหญ่ ดัวที่เราตถาคตได้กล่าวตอบพราหมณ์ผู้แสวงหาภิกษาด้วยการขอได้มาโดยชอบธรรม แล้วเลี้ยงมารดาบิดานั้นแล

    เมื่อภิกษุนั้นได้ฟัง จึงคิดว่า เราได้คิดไว้ว่า จักสึกออกเป็นคฤหัสถ์ปฏิบัติเลี้ยงดูพ่อและแม่ ก็บัดนี้พระพระพุทธองค์ทรงแสดงว่า ผู้เป็นบรรพชิตก็ทำการเลี้ยงดูมารดาบิดาได้ เมื่อเป็นเช่นนี้เราก็จะเป็นบรรพชิตอยู่เลี้ยงมารดาบิดาต่อไป เช้ารุ่งขึ้นก็ออกบิณฑบาต ตรงไปรับภัตตาหาร และข้าวต้มในโรงทาน แล้วคิดว่าเราจะนำเอาข้าวต้มนี้ไปให้พ่อแม่ก่อน แล้วก็เดินเที่ยวค้นหาได้พบท่านทั้ง ๒ อาศัยอยู่ที่ชายคาเรือนของคนอื่น ท่านก็ยืนร้องไห้ด้วยความเสียใจ มารดาบิดาทั้ง ๒ แก่มากแล้วจำบุตรไม่ได้ จึงร้องบอกไปว่า ขอพระผู้เป็นเจ้าจงไปโปรดข้างหน้าเถิด ข้าพเจ้าทั้ง ๒ ไม่มีข้าวของอะไรจะถวายเลย เมื่อภิกุนั้นได้ยินถ้อยคำของมารดาดังนี้ ก็ยิ่งมีความสลดใจยิ่งขึ้น ยืนน้ำตาคลออยู่ ณ ที่นั้น ถึงแม้โยมทั้ง ๒ จะขอให้ไปข้างหน้าถึง ๒ – ๓ ครั้ง ก็ยังคงยืนนิ่งอยู่ ฝ่ายบิดาจึงบอกให้มารดาเข้าไปดูใกล้ๆให้เห็นชัดว่าเป็นใคร ก็จำได้ว่าเป็นบุตรของตน แล้วหมอบลงร้องไห้ระล่ำระลักอยู่ที่ใกล้เท้าบุตรนั้นเอง ฝ่ายบิดาก็เข้ากอดเท้าลูกร้องไห้ คร่ำครวญรำพันต่างๆนานา ทั้ง ๓ คนต่างร้องไห้ ภิกษุนั้นจึงปลอบมารดาบิดาว่า โยมพ่อแม่อย่าเศร้าโศกเสียใจไปเลย ลูกจะหาเลี้ยงดูให้มีความสุขสบายขึ้น ว่าแล้วก็นำข้าวต้มที่บิณฑบาตมาได้จากโรงทาน มอบให้ท่านทั้ง ๒ รับประทานจนอิ่มแล้วออกบิณฑบาตมาให้พ่อแม่อีก ท่านได้จัดหาที่อยู่อาศัยให้ในบริเวณใกล้ๆกับพระเชตุวันมหาวิหาร เป็นที่สบาย จำเดิมแต่นั้นมาก็เที่ยวบิณฑบาตเลี้ยงมารดาบิดาอยู่เป็นนิตย์ ในเวลาที่ได้ผ้าใหม่มาก็นำไปให้มารดาบิดานุ่งห่ม เปลี่ยนเอาผ้าเก่าของพ่อแม่มาซักย้อมปะชุนทำเป็นสบง จีวรของตน ในวันใดบิณฑบาตได้อาหารมาน้อยตนเองก็ไม่ฉัน ครั้นต่อมาก็มีร่างกายซูบผอมลงไป เมื่อภิกษุทั้งหลายได้ทราบเรื่องนั้น จึงกล่าวว่าเหตุใดท่านจึงให้ของที่เขาถวายพระภิกษุสงฆ์ด้วยศรัทธาแก่คฤหัสถ์เช่นนี้ แล้วต่างพากันไปทูลฟ้องพระบรมศาสดา พระพุทธองค์จึงประทานสาธุการต่อหน้าที่ประชุมสงฆ์ถึง ๓ ครั้งว่า ดีแล้วๆ เธอตั้งอยู่ในในกตัญญูกตเททีคุณอันสมควรสรรเสริญ ได้ชื่อว่าเจริญรอยตามแบบแผนแห่งศาสดาของเธอเอง และแห่งโบราณบัณฑิตทั้งหลาย ภิกษุใดเลี้ยงดูมารดาบิดา ไปบิณฑบาตได้อาหารมา ยังไม่ได้ฉันจะให้แก่บิดามารดาก็ควร อนึ่งบิดามารดาเจ็บไข้จะทำยาให้ และตักน้ำมาให้อาบก็ควร บิดามารดาเจ็บไข้ในพรรษาจะสัตตาหะไปรักษาก็ควร ด้วยบิดามารดานี้มีพระคุณมากควรแก่การปฏิบัติอย่างยิ่ง อย่าว่าแต่มนุษย์ที่ดีเท่านั้นเลย ที่รู้จักสนองคุณบิดามารดา แม้สัตว์เดรัจฉานที่ดีทั้งหลายก็มีเป็นอันมาก ที่เอาใจใส่บำรุงเลี้ยงดูมารดาบิดาของตน ดังเรื่องนกแขกเต้าซึ่งไปเที่ยวคาบรวงข้าวสาลีมาเลี้ยงมารดาบิดา เป็นต้น การอุปถัมภ์เลี้ยงดูมารดาบิดานี้ เป็นแบบแผนประเพณีอันดีที่ศาสดาของเธอได้ประพฤติมาแล้วเป็นเอนกประการ แม้ในชาติอันใกล้นี้ เราเป็นชายหนุ่มชื่อสุวรรณสาม ก็ได้บำรุงเลี้ยงมารดาบิดาเช่นเดียวกัน

    พระภิกษุนั้นได้ส่งใจไปตามพระธรรมเทศนา เกิดปิติโสมนัสก็ได้ดวงตาเห็นธรรมบรรลุโสดาปัตติผลในขณะนั้นเอง


    พระติสสะเถระ
    มีกุลบุตรผู้หนึ่งชื่อติสสะเป็นชาวเมืองสาวัตถี ได้สดับพระธรรมเทศนาของพระบรมศาสดาเกิดความเลื่อมใสได้มอบกายถวายชีวิตเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา ต่อมาเกิดเป็นโรคผิวหนังพุพองตามตัว ทีแรกก็เป็นเม็ดเล็กๆแล้วใหญ่โตขึ้นทุกที จนเน่าเปื่อยไปทั้งตัว เหม็นคล้ายปฏิกูล จึงได้นามใหม่ว่า ปูติคัตตดิสสะ(ติสสะตัวเน่า) ภิกษุสามเณรที่เคยสงสารช่วยพยาบาลให้ ก็อิดหนาระอาใจ พากันทอดทิ้งเสีย ไม่มีใครเอาเป็นธุระช่วยเหลือ พระพุทธองค์ทรงทราบ จึงเสด็จมาพยาบาลเอง ทรงต้มน้ำร้อนให้อาบ ชำระล้างปฏิกูล เปลี่ยนผ้าสบงจีวรให้ใหม่ นำเอาสบงจีวรเก่าไปซักผึ่งตากแดด จัดที่นอนให้ใหม่ ติสสะเถระจึงมีร่างกายชุ่มชื่นสบายขึ้น ในระหว่างที่ทรงพยาบาลอยู่นั้น ได้ทรงสอนภิกษุทั้งหลายว่า

    พวกเธอทั้งหลายเป็นผู้มาจากสกุลต่างๆกัน บวชในศาสนานี้ด้วยกัน ใครเจ็บไข้ถ้าไม่เอาธุระช่วยเหลือกัน จะให้ใครที่ไหนเล่ามาเป็นธุระดูแลช่วยเหลือ จงจำไว้ว่า ใครใคร่เพื่อปฏิบัติเราตถาคต จงปฏิบัติภิกษุไข้แทนเราเถิด

    แต่นั้นมา ภิกษุทั้งหลายก็พากันขะมักเขม้นช่วยกันเป็นธุระแทนพระองค์ เมื่ออินทรีย์ของปูติคัตตดิสสะภิกษุนั้นแก่กล้าสมควรแล้ว พระองค์จึงทรงประทานพระธรรมเทศนาว่า

    อจรํ วตยํ กาโย ปฐวี อธิเสสฺสติ
    ฉุฑฺโฑ อเปตวิญฺญาโน นรตฺถํว กลิงฺครํ ฯลฯ

    แปลความว่า กายนี้มีวิญญาณไปปราศแล้ว เขาทิ้งเสียแล้ว จักนอนทับเหนือแผ่นดิน ไม่นานหนอ ดังท่อนไม้อันหาประโยชน์มิได้...........เป็นต้น

    พระติสสะเถระนอนพิจารณาไปตามกระแสพระธรรม เมื่อจบพระธรรมเทศนา ท่านก็ได้สำเร็จพระอรหัตตผล แล้วก็นิพพานด้วยโรคตัวเน่านั้นเอง ภิกษุทั้งหลายจึงทูลถามว่า ท่านที่มีนิสัยพระอรหันต์เช่นนี้ เหตุใดจึงมีเนื้อตัวเน่า พระพุทธองค์จึงได้ตรัสเล่าเรื่องในอดีตกาลเมื่อครั้งศาสนาพระกัสสป เธอเป็นพรานเที่ยวจับนกได้มามากตัว เห็นทีจะกินไม่หมด จึงหักขานกทั้งหลายนั้น เอาเก็บไว้แจกจ่ายขายบริโภคในวันอื่น อยู่มาวันหนึ่งมีพระขีณาสพองค์หนึ่งเที่ยวบิณฑบาต นายพรานเห็นเข้ามีความเลื่อมใส จึงเอาอาหารที่ทำจากนกนั้นซึ่งเตรียมไว้กินเองมาถวายพระ กรรมที่หักปีกหักแข้งขานก จึงอำนวยผลให้ตัวเน่า ต้องทนทุกข์ทรมานแสนสาหัส อานิสงค์ที่ถวายอาหารบิณฑบาตแก่พระขีณาสพนั้นอำนวยผลให้ได้สำเร็จอรหัตผล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...