พระพุทธศาสนา...พระโบราณ...พระในตำนาน...

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย บรรพชนทวา, 12 กันยายน 2012.

แท็ก: แก้ไข
  1. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ปกิณกะ ๑

    ๑) ร่วมสร้างสมเด็จองค์ปฐมเนื้อเรซิ่น บรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่สมเด็จพระพุทธกัสสปอธิษฐานจิตไว้ น.99 คห. 1961
    [​IMG]

    ๒) นิมนต์พระบรมสารีริกธาตุจำนวน ๒ องค์ และผอบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุสำริดสนิมเขียวถวายคืนพระพุทธศาสนา น.99 คห.1962
    [​IMG]

    ๓) ร่วมสมทบปัจจัยอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุสัณฐานต่างๆตามอาการ ๓๒(ธาตุดิน ๒๐ ธาตุน้ำ ๑๒ ความจริงมากกว่าอาการ ๓๒ เช่น น้ำในพระกรรณ ฯลฯ)ไปประดิษฐานยังสถานที่ที่เหมาะสม น.99 คห.1963
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มกราคม 2013
  2. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    เรียน ทีมผู้ดูแลเว็ปบอร์ด
    <O:p</O:p

    ความเห็นนี้อยู่ในระหว่างการจัดเตรียมข้อมูล21<O:p</O:p

    บรรพชนทวา
     
  3. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    กำเนิดพระพุทธศาสนาในชมพูทวีป<O:p</O:p
    เราบรรลุอุดมสัมโพธิญาณที่ควงไม้อัสสัตถพฤกษา (แต่นั้นมา) รัศมีหนึ่งวาวงรอบกายของเราอยู่เสมอพวยพุ่งสูง ๑๖ ศอก<O:p</O:p

    อายุขัยของเราบัดนี้เล็กน้อยเพียงแค่ในร้อยปี แต่ชั่วเวลาเท่าที่ดำรงชีวีอยู่นั้น เราได้ช่วยให้หมู่ชน ข้ามพ้นวัสงสารไปได้มากมาย ทั้งตั้งคบเพลิงธรรมไว้ปลุกคนภายหลังให้เกิดปัญญาที่จะตื่นขึ้นมาตรัสรู้ต่อไป<O:p</O:p

    (โคตมพุทธว˚ส, ขุ.พุทธ.๓๓/๒๖/๕๔๓)<O:p</O:p

    อินเดีย ๒,๕๐๐ ปีก่อนพุทธกาล-พุทธกาล<O:p</O:p

    ๒,๕๐๐ ปีก่อนพุทธกาล<O:p</O:p
    อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุมีการสร้างเมืองโมเฮนโจดาโร และเมืองฮารัปปา ทางตอนเหนือของอินเดีย<O:p</O:p

    ๒,๐๐๐ ปีก่อนพุทธกาล <O:p</O:p
    อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุล่มสลาย แต่ชนเผ่าดราวิเดียนยังคงตั้งรกรากอยู่ทางตอนกลาง และตอนใต้ของดินแดนชมพูทวีป<O:p</O:p

    ระหว่าง ๑,๐๐๐-๑,๕๐๐ ปีก่อนพุทธกาล <O:p</O:p
    ชนเผ่าอารยันจากทุ่งหญ้าในเอเชียกลาง เริ่มอพยพลงมา และเข้าแย่งชิงครอบครองดินแดนที่เคยเป็นของชาวดราวิเดียน<O:p</O:p

    ๑,๐๐๐ ปีก่อนพุทธกาล<O:p</O:p
    เริ่มการถ่ายทอดคัมภีร์พระเวทจากเหล่าพราหมณ์ เริ่มมีระบบวรรณะในศาสนาพราหมณ์<O:p</O:p

    ๘๑ ปีก่อนพ.ศ.๑<O:p</O:p
    เจ้าชายสิทธัตถะประสูติ<O:p</O:p

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กันยายน 2012
  4. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ<O:p</O:p
    ชมพูทวีปหรือดินแดนที่เป็นประเทศอินเดียในปัจจุบัน หากย้อนกลับไปราว ๕,๐๐๐ ปีมาแล้วนั้น ดินแดนอนุทวีปแห่งนี้เป็นที่กำเนิดอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ หรืออีกชื่อหนึ่งว่า อารยธรรมฮารัปปา จากหลักฐานทางโบราณคดีคือซากเมืองโมเฮนโจดาโร ทางตะวันออกเฉียงเหนือของมืองการาจีในปากีสถาน และเมืองฮารัปปา ซึ่งอยู่ห่างออกไป ๔๘๒ กิโลเมตรสะท้อนความเจริญในการวางผังเมือง และระบบสาธารณูปโภค พบร่องรอยการนับถือเทพเจ้าผู้สร้างความอุดมสมบูรณ์แก่พืชพันธุ์ธัญญาหาร และสร้างศิลปวัตถุยุคแรกของอินเดียโบราณ <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    หลังจากอารยธรรมฮารัปปาอันรุ่งเรืองสูญสิ้นไปอย่างไร้ร่องรอย ในเวลาต่อมา ดินแดนแห่งนี้ก็ยังมีชาวดราวิเดียน ภาษาสันสกฤตเรียกว่าทราวิฑซึ่งเป็นชนชาติเก่าแก่ที่ยังคงตั้งรกรากอยู่<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    กลุ่มชนเชื้อชาติดราวิเดียน หรือทราวิฑเป็นเจ้าของอารยธรรมโบราณเป็นชนชาติแรกที่ตั้งรกรากสร้างรัฐ และบ้านเมืองอยู่ตามลุ่มแม่น้ำสำคัญของโลก เช่น ลุ่มแม่น้ำไนส์ ลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรตีส ลุ่มแม่น้ำสินธุ และรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นต้น เป็นชนชาติที่มีผิวสีคล้ำ ผมหยิก นัยน์ตาพอง ร่างกายไม่สูงนัก<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    การรุกเข้ามาในอินเดียของชนเผ่าอารยัน<O:p</O:p
    ต่อมาในราว ๑,๐๐๐-๑,๕๐๐ ปีก่อนพุทธกาล ชาวทราวิฑก็ถูกชนเผ่าอารยันที่รุกมาจากตะวันตกเฉียงเหนือของอนุทวีป เข้าแย่งชิงดินแดนจนสามารถครอบครองอินเดียตอนเหนือ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่ และตอนกลางไว้ได้ทั้งหมด พวกอารยันนั้น เดิมเป็นชนเผ่าเร่ร่อนอยู่ในทุ่งหญ้าของเอเชียกลางทางตอนใต้ของประเทศรัสเชียในปัจจุบัน ลักษณะผิวขาว ร่างกายสูงโปร่ง มีรูปหน้ายาว และจมูกโด่ง พวกนี้ได้อพยพออกมาจากถิ่นฐานเดิมเป็นสองสาย พวกหนึ่งเข้ามาในอินเดีย อีกพวกหนึ่งอพยพไปทางตะวันตกตอนใต้ซึ่งเป็นทวีปยุโรปในปัจจุบัน<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    พวกอารยันมีรูปร่างสูงใหญ่ และพัฒนาการเครื่องมือในการสู้รบที่ดีกว่า แต่หลังจากมีชัยชนะ ก็มิได้นำอารยธรรมของตนซ้อนทับลงไปในอารยธรรมของชนพื้นเมืองแต่อย่างใด แต่ได้เริ่มต้นตั้งหลักปักฐานสร้างสังคมที่ผสมผสานความเป็นอารยันของพวกตน และสังคมเกษตรกรรมของพวกทราวิฑ รวมทั้งผสมกลมกลืนเอาวัฒนธรรมดั้งเดิมของพวกทราวิฑไว้ กลายเป็นวัฒนธรรมผสมระหว่าง ๒ ชนชาติ อาทิ ลัทธิความเชื่อในอำนาจของพระผู้เป็นเจ้า คือพระศิวะ พระกฤษณะ และการบูชากราบไหว้ศิวลึงค์ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมเดิมของพวกทราวิฑ มาบวกเข้ากับการเคารพในอำนาจแห่งธรรมชาติ เช่นอำนาจไฟ(พระอัคนิ) อำนาจน้ำ(พระวรุณ) พวกอารยันก็มีเทพเจ้าที่เคารพอยู่ด้วยกัน ๔ องค์คือ พระอินทร์ พระยม พระพิรุณ พระอาทิตย์ ซึ่งเป็นผู้กำหนดชะตากรรมมนุษย์ จึงมีพิธีกรรมขอพรจากเทพเจ้าเหล่านี้ด้วยการกราบไหว้ เซ่นสรวง และประกอบพิธีบูชายัญ โดยมีนักบวชผู้ทำหน้าที่หลักที่เรียกว่า พราหมณ์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2012
  5. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ผู้นำในสังคม<O:p</O:p
    ในเวลาราว ๑,๐๐๐ กว่าปีที่มีการผสมกลมกลืนระหว่างชนสองเผ่านั้น ดินแดนชมพูทวีปแบ่งเป็นแว่นแคว้น เกิดชนชั้นปกครองในลักษณะต่างๆกัน มีผู้ตั้งตัวเองเป็นหัวหน้าเผ่า หรือกลุ่มคณะปกครอง เรียกว่าคณะราชย์ คล้ายกับระบบสาธารณรัฐ หรือประชาธิปไตยในปัจจุบัน เช่นแคว้นวัชชี แคว้นมัลละ เป็นต้น แว่นแคว้นที่ใหญ่มากก็จะมีกษัตริย์เป็นผู้นำ(ราชาธิปไตย) เช่น แคว้นมคธ แคว้นโกศล แคว้นวังสะ เป็นต้น ชนชั้นปกครองเหล่านี้ แม้ส่วนใหญ่มาจากวรรณะพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กำหนดพัฒนาการของศาสนาพราหมณ์เอง แต่ก็ไม่ได้มีความเชื่อในศาสนาของตนเสมอไป ยังมีการร้องเรียน หรือต่อต้านความเชื่อทางศาสนาระหว่างผู้นำด้วยกันเองอยู่เสมอมา โดยเฉพาะในแง่ของการบูชาอำนาจของเหล่าทวยเทพ รวมทั้งการแบ่งวรรณะก็ไม่ได้ทำให้เกิดความสงบแท้จริง ผู้นำในสังคมบางส่วนจึงเริ่มมีการแสวงหาสิ่งที่เรียกว่า ความสุขแห่งชีวิต”<O:p</O:p

    มีรัฐเล็กๆอีกแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ทางเหนือสุดของอินเดียที่เชิงเขาหิมพานต์(ภูเขาหิมาลัย) ชื่อ กรุงกบิลพัสดุ์ ขึ้นกับแคว้นศากยะ มีกษัตริย์ราชวงศ์ศากยะปกครอง พระราชาทรงพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ พระอัครมเหสีพระนามว่าพระนางสิริมหามายาเทวี ทั้งสองพระองค์มีพระราชโอรสซึ่งในกาลต่อมาจะได้ทรงเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของมหาชน หรือศาสดาในศาสนาใหม่ที่มีแนวคิดแตกต่างไปจากศาสนาพราหมณ์อย่างใหญ่หลวง

    เจ้าชายสิทธัตถะ<O:p</O:p
    ๘๐ ปีก่อนพุทธศักราช เจ้าชายสิทธัตถะ ราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ และพระนางสิริมหามายา แห่งแคว้นศากยะ เสด็จอุบัติที่ลุมพินีวันอันเป็นราชอุทยานหลวง ระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์ กับเมืองเทวทหะ<O:p</O:p

    เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะมีพระชนมายุได้ ๒๙ พรรษา เสด็จออกผนวช(มหาภิเนษกรมณ์) ที่ริมฝั่งแม่น้ำอโนมานที ทรงสละนิวาสสถานของพระองค์เพื่อแสวงหาสัจธรรม ทรงแสวงหาแนวทางให้หลุดพ้นจากความทุกข์ด้วยวิธีการต่าง ทั้งถูก และผิด จนทรงค้นพบอริยสัจ ๔ (การมีอยู่ของทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และหนทางไปสู่การดับทุกข์) ด้วยวิธีฝึกจิตด้วยสติจนถึงซึ่งความรู้แจ้งในสรรพสิ่ง<O:p</O:p

    ตรัสรู้ และปฐมเทศนา<O:p</O:p
    ในวันเพ็ญวิสาขปุรณมี เจ้าชายสิทธัตถะพระชนมายุ ๓๕ พรรษา ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่โคนต้นมหาโพธิพฤกษ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา เสนานิคม(ปัจจุบันเรียกว่า พุทธคยา)ในแคว้นมคธ(แค้วนใหญ่แคว้นหนึ่งในชมพูทวีป สมัยพุทธกาลปกครองโดยพระเจ้าพิมพิสาร)<O:p</O:p

    ในวันเพ็ญอาสาฬหปุรณมี หรือสองเดือนภายหลังตรัสรู้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรแก่เบญจวัคคีย์ คือฤาษีทั้งห้ารูปที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2012
  6. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ศาสดาแห่งพุทธออกจาริกเผยแผ่แก่นธรรม<O:p</O:p
    ต่อจากนั้น พระพุทธเจ้าได้เสด็จจาริกไปมาในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคาเป็นระยะเวลา ๔๕ ปี ทรงประกาศคำสอนของพระองค์ และทรงชักชวนชนทุกชั้นวรรณะ และทุกลัทธิความเชื่อถือให้มาอยู่ในความหมายแห่งธรรมะหรือ ความจริงแห่งชีวิตที่พระองค์ได้ทรงค้นพบ

    พระองค์ทรงสอนไว้อย่างเรียบง่ายว่า ชีวิตมนุษย์เป็นทุกข์เนื่องมาจากกิเลสตัณหา มนุษย์จะสามารถกำจัดความทุกข์นี้ได้ด้วยการปฏิบัติตนตามวิถีทาง ๘ ประการ ได้แก่ เห็นชอบ ดำริชอบ พูดชอบ ทำชอบ เลี้ยงชีวิตชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ และตั้งใจมั่นชอบ

    ชีวิตมนุษย์มี กรรมคือผลรวมแห่งการกระทำของตนเป็นสิ่งครอบงำกำหนด หาใช่เทพยดา หรือพระผู้เป็นเจ้าองค์ใดเป็นผู้กำหนด เพราะฉนั้นด้วยการปฏิบัติตนตามวิถีทางที่ยึดมั่นในจิตใจของตนเองเท่านั้น มนุษย์จึงจะสามารถทำลายพันธนาการแห่ง กรรมแล้วบรรลุถึง นิรวาณคือการดับแห่งกิเลส และกองทุกข์

    พระพุทธศาสนาจึงเป็นศาสนาที่สอนให้ประพฤติปฏิบัติอย่างมีเหตุมีผล ถึงจะมีแนวทฤษฎี และวิธีปฏิบัติอยู่หลายระดับ แต่โดยเนื้อหาแล้วพุทธศาสนาถือหลักอันเป็นสายกลางที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา โดยมีคำสอนที่เป็นหลักใหญ่ ๓ ข้อ เรียกว่า พุทธโอวาท ๓ คือ<O:p</O:p

    ๑) สพ.พปาปส.ส อกรณ˚ (ไม่ทำความชั่วทั้งปวง)<O:p</O:p
    ๒) กุสลส.สูสม.ปทา (ทำแต่ความดี)<O:p</O:p
    ๓) สจิต.ตปริโยทปน˚ (ทำใจของตนให้สะอาดบริสุทธิ์)

    ศาสนาพุทธเสนอหนทางให้คนยึดมั่นอยู่ในจิตใจตนเอง จึงแตกต่างจากศาสนาพราหมณ์ตรงความเป็น อเทวนิยม(ไม่นับถือเทพยดา หรือผู้มีฤทธิ์)

    ด้วยเหตุความนิยมในศาสนาใหม่ หลังจากยสกุลบุตร และสหาย ๕๔ คน ออกบวช และบรรลุอรหัตตผลแล้ว เกิดมีพระอรหันตสาวกยุคแรก ๖๐ รูป พระพุทธองค์จึงทรงส่งพระสาวกไปประกาศพระศาสนา ด้วยพุทธพจน์ซึ่งมีตอนสำคัญที่จำเป็นหลักกันสืบมาว่า รถ ภิก.ขเว จาริก˚ พหุชนหิตาย พหุชนสุขายโลกานุกม.ปาย(ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงจาริกไป เพื่อประโยชน์สุขแก่ชนจำนวนมาก เพื่อเกื้อการุณย์แก่ชาวโลก)

    ตลอดเวลา ๔๕ พรรษาแห่งการเผยแผ่ธรรม พระสงฆ์สาวกเพิ่มจำนวนขึ้นมากมายนับพันนับหมื่น ผู้คนที่หันมาเลื่อมใสออกบวช มีตั้งแต่พระราชา เจ้าชาย พราหมณ์ และนักบวชในลัทธิอื่น พ่อค้าวาณิชไปจนถึงโจรไพร(องคุลีมาล) และมีกษัตริย์พระองค์หนึ่งได้เข้ามาเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภกพระองค์แรกในพุทธประวัติ นั่นคือพระเจ้าอชาตศัตรู ผู้เป็นพระราชาแห่งแคว้นพระมคธหลังจากกระทำปิตุฆาตแก่พระบิดาของพระองค์เอง(พระเจ้าพิมพิสาร) แต่ได้ทรงสำนึกถึงกรรมอันใหญ่หลวงนี้ จึงทรงบำเพ็ญกุศลต่างๆเพื่อลบล้าง และทรงปฏิญาณตนเป็นอุบาสกบริษัท ตั้งมั่นในคำสอนของพระพุทธองค์

    พระเจ้าอชาตศัตรูเป็นกษัตริย์ในช่วงปลาย และหลังพุทธกาล ทรงปกครองบ้านเมืองโดยตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม และราชสังคหวัตถุ ทำให้ประชาราษฎร์อยู่อย่างมีความสุข แต่พระองค์ก็ไม่สามารถอุปสมบท หรือบรรลุธรรมขั้นสูง เพราะการกระทำกรรมหนักคือ ปิตุฆาต พระองค์ทำได้เพียงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาด้วยดีจนตลอดพระชนม์ชีพ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กันยายน 2012
  7. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    พระพุทธประวัติจากพระโอษฐ์<O:p</O:p
    เรา ในบัดนี้ ผู้สัมพุทธโคดมเจริญมาในศากยสกุล...นครอันเป็นถิ่นแดนของเราชื่อว่ากบิลพัสดุ์ พระเจ้าสุทโธทนะเป็นพระบิดา พระมารดาผู้ชนนีมีพระนามว่า มายาเทวี <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เราครองอาคาริยวิสัยอยู่ ๒๙ พรรษา มีปราสาท ๓ หลัง ชื่อว่า สุจันทะ โกกนุท และโกญจะ พร้อมด้วยสตรีสี่หมื่นนางเฝ้าแหนอลังการ ยอดนารีมีนามว่า ยโสธรา โอรสนามว่า ราหุล<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เราเห็นนิมิต ๔ ประการแล้วสละออกผนวชด้วยม้าเป็นราชยาน บำเพ็ญเพียรอันเป็นทุกรกิริยา สิ้นเวลา ๖ ปี(ครั้นตรัสรู้แล้ว) ได้ประกาศธรรมจักรที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันในถิ่นแห่งพาราณสี<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เรา ผู้โคตมสัมพุทธ เป็นที่พึ่งของมวลประชา มีภิกษุ ๒ รูปเป็นอัครสาวก คือ อุปติสส์ และโกลิต มีอุปัฏฐากอยู่ภายในใกล้ชิดชื่อว่า อานนท์ ภิกษุณีที่เป็นคู่อัครสาวิกา คือ เขมา และอุบลวรรณา อุบาสกผู้เป็นอัครอุปัฏฐาก คือ จิตตะ และหัตถาฬวกะ กับทั้งอุบาสิกาที่เป็นอัครอุปัฏฐายิกา คือ นันทมารดา และอุตตรา ปาฏิหาริย์<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เราบรรลุอุดมสัมโพธิญาณที่ควงไม้อัสสัตถพฤกษา (แต่นั้นมา) รัศมีหนึ่งวาวงรอบกายของเราอยู่เสมอพวยพุ่งสูง ๑๖ ศอก อายุขัยของเราบัดนี้เล็กน้อยเพียงแค่ในร้อยปี แต่ชั่วเวลาเท่าที่ดำรงชีวีอยู่นั้น เราได้ช่วยให้หมู่ชน ข้ามพ้นวัสงสารไปได้มากมาย ทั้งตั้งคบเพลิงธรรมไว้ปลุกคนภายหลังให้เกิดปัญญาที่จะตื่นขึ้นมาตรัสรู้ต่อไป<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    อีกไม่นานเลย แม้เราพร้อมทั้งหมู่สงฆ์สาวกก็จะปรินิพพาน ณ ที่นี้แลเหมือนดังไฟที่ดับไปเพราะสิ้นเชื้อประดาเดชอันไม่มีใดเทียบได้ ความยิ่งใหญ่ทศพลญาณ และฤทธาปาฏิหาริย์ หมดสิ้นเหล่านี้พร้อมทั้งเรือนร่างวรกายที่ทรงไว้ซึ่งคุณสมบัติวิจิตรด้วยวรลักษณ์ทั้ง ๓๒ ประการ อันมีดวงประภาฉัพพรรณรังสีที่ได้ฉายแสงสว่างไสวไปทั่วทศทิศ ดุจดวงอาทิตย์ศตรังสี ก็จักพลันลับดับหาย สังขารทั้งหลายล้วนว่างเปล่าดังนี้มิใช่หรือ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    (โคตมพุทธว˚ส, ขุ.พุทธ.๓๓/๒๖/๕๔๓)<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    แหล่งข้อมูล: หนังสือพระมหากษัตริย์ไทย กับพระพุทธศาสนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กันยายน 2012
  8. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    พุทธประวัติ ตอน เหตุการณ์ก่อนพระพุทธเจ้าตรัสรู้

    พระสิทธัตถะเริ่มทำสมาธิสู่การตรัสรู้ เมื่อพระสิทธัตถะหยุดบำเพ็ญเพียรทุกรกิริยา ทำให้ปัญจวัคคีย์หลีกหนีตีจากไป ทำให้พระสิทธัตถะไม่มีสิ่งรบกวน สามารถบำเพ็ญเพียรทางจิตได้อย่างเต็มที่ เช้าวันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ พระสิทธัตถะ มีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา พระองค์ประทับนั่งใต้ต้นไทร มีนางสุชาดาธิดาของเศรษฐี ที่หมู่บ้านอุรุเวลาเสนานิคม ได้นำถาดใส่ข้าวมธุปายาสมาน้อมถวาย พระองค์ทรงรับแล้ว ปั้นข้าวมธุปายาสได้ ๔๙ ก้อน เสวยจนหมด จากนั้นพระสิทธัตถะได้นำถาดไปลอยที่แม่น้ำเนรัญชรา โดยอธิษฐานว่า “ถ้าจักได้ตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ ขอให้ถาดนี้จงลอยทวนกระแสน้ำ” ถาดนั้นได้ลอยทวนกระแสน้ำไปไกล ๘๐ ศอก และจมดิ่งลงสู่แม่น้ำไปกระทบกับถาดของพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๓ พระสิทธัตถะจึงมีความมั่นพระทัย จักได้ตรัสรู้แน่ จึงสรงสนานพระวรกายในแม่น้ำเนรัญชรา แล้วเสด็จไปที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ระหว่างทางโสถิตยพราหมณ์ ได้ถวายหญ้าคา ๘ คำ พระองค์รับไว้แล้ว นำไปปูลาดเป็นบัลลังก์นั่งใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ แล้วอธิษฐานว่า “ถ้ายังไม่ได้ตรัสรู้ พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ จะไม่เสด็จลุกจากบัลลังก์ ถึงแม้ว่าเนื้อและเลือดจักเหือดแห้งไปก็ตามที” จากนั้นพระองค์ก็ทำจิตเข้าสู่สมาธิ

    แหล่งอ้างอิง:
    สุชีพ ปุญญานุภาพและคณะ. สมุดภาพพุทธภูมิเพื่อเยาวชน. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ที่บริษัทด่านสุทธาการพิมพ์, 2542
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กันยายน 2012
  9. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    พุทธประวัติ ตอน เหตุการณ์ระหว่างพระพุทธเจ้าตรัสรู้

    เมื่อพระสิทธัตถะทำจิตสู่สมาธิ วสัตดีมาร คือ กิเลสตัณหา พระสิทธัตถะ หรือกิเลสทั้งหลายคือ มาร มารคือ สิ่งที่ฆ่าบุคคลให้ตายจากความดี หรือจากผลที่หมายอันประเสริฐ ตัวการที่กำจัดหรือขัดขวาง มิให้บรรลุผลสำเร็จ เป็นธรรมชาติฝ่ายต่ำ ได้ขัดขวางการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า กับธรรมชาติฝ่ายสูง คือคุณธรรมต่าง ๆ ได้ขัดแย้งกันอยู่ในพระทัยของพระองค์ เปรียบเสมือนมารคอยผจญ พระสิทธัตถะ จึงตั้งพระทัยแน่วแน่ ระลึกถึงคุณธรรมฝ่ายสูงคือ บารมี ๑๐ ประการ เป็นคุณธรรมที่ประพฤติปฏิบัติอย่างยิ่งยวด เพื่อบรรลุจุดหมายสูงสุด เช่น การเป็นพระพุทธเจ้า มี
    ๑. ทาน
    ๒. ศีล
    ๓. เนกขัมมะ(บรรพชา)
    ๔. ปัญญา
    ๕. วิริยะ
    ๖.ขันติ
    ๗. สัจจะ
    ๘. อธิษฐาน
    ๙. เมตตา
    ๑๐. กรุณา

    เมื่อบารมี ๑๐ ประการมาประชุมพร้อมกัน ทำให้พระสิทธัตถะมีพระฤทัยเข้มแข็ง เปรียบเสมือนมีแม่พระธรณี คือ นางวสุนนธรามาเป็นสักขีพยาน บีบมวยผมเป็นน้ำขับไล่จนชนะ วสัตดีมาร มารที่มาขัดขวางได้ ขณะเดียวกันก็แผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ ทำให้เกิดสมาธิจนได้บรรลุญาณ ๔ ต่อจากนั้นพระองค์ทรงใช้ปัญญาพิจารณาความจริงที่เกิดขึ้น

    แหล่งอ้างอิง:
    สุรีย์ มีผลกิจและวิเชียร มีผลกิจ. พระพุทธประวัติ พิมพ์ครั้งที่ 2 . กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ที่บริษัทคอมฟอร์มจำกัด, 2544
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กันยายน 2012
  10. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    พระพุทธเจ้าตรัสรู้

    พระสิทธัตถะตรัสรู้เมื่อพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษาตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ซึ่ง เป็นที่มาของวันวิสาขบูชา เมื่อพระสิทธัตถะทำสมาธิจนบรรลุญาณ ๔ ต่อจากนั้นพระองค์ทรงใช้ปัญญาพิจารณาความจริงที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดความรู้แจ้งขึ้น ๓ อย่าง คือ

    ๑. เวลาปฐมยาม ระหว่างเวลา ๒๐.๐๐ น. – ๒๒.๐๐ น. พระองค์ทรงบรรลุปุพเพนิวาสนุสติญาณ คือ ระลึกชาติหนหลังของตนได้

    ๒.เวลามัชฌิยาม ระหว่างเวลา ๒๒.๐๐ – ๐๒.๐๐น. พระองค์ทรงบรรลุญาณที่ ๒ คือ จุตูปปาตญาณ คือ รู้การเกิด การตายของสัตว์ทั้งหลาย

    ๓. เวลาปัจฉิมยาม ระหว่างเวลา ๐๒.๐๐ – ๐๖.๐๐ น. พระองค์ทรงบรรลุญาณที่ ๓ คือ อาสวักขยญาณ รู้เหตุที่ทำให้สิ้นกิเลส และเป็นเหตุให้เข้าถึง หยั่งรู้อริยสัจ ๔ คือความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค ทำให้พระสิทธัตถะบรรลุพระสัพพัญญุตญาณอย่างสมบูรณ์ ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงพระนามว่า สัมมาสัมพุทโธ เพราะพระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง

    ทุกข์ คือ สิ่ง ที่ทำให้ร่างกาย จิตใจได้รับความลำบาก
    สมุทัย คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
    นิโรธ คือ หนทางแห่งการดับทุกข์
    มรรค คือ วิธีปฏิบัติใน การดับทุกข์

    แหล่งอ้างอิง:
    ไพยนต์ กาสี และคณะ. วิชา พุทธประวัติ ฉบับมาตรฐาน ชั้นตรี . กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เลี่ยงเซียง, 2547
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กันยายน 2012
  11. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ทรงเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ฤาษีทั้ง ๕

    หลังจากที่องค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงบรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ในตอนหนึ่งองค์สมเด็จพระประทีปแก้วได้ทรงพิจารณาว่า ธรรมที่พระองค์ทรงบรรลุนี้เป็นธรรมที่ลึกซึ้งคัมภีรภาพมาก ยากที่บุคคลอื่นใดจะบรรลุตามได้

    เหตุฉะนั้น องค์สมเด็จพระจอมไตรจึงได้ทรงท้อพระทัย ว่า ธรรมนี้ยากมากเกินไปที่บุคคลทั้งหลายจะบรรลุตาม ต่อมาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงทราบด้วยอำนาจพระพุทธญาณว่า คนที่เกิดมาในโลกนี้แบ่งเป็น ๔ เหล่าด้วยกัน คือ
    ๑. อุคฆติตัญญู
    ๒. วิปจิตัญญู
    ๓. เนยยะ
    ๔. ปทปรมะ

    คำว่า อุคฆติตัญญู หมายถึงว่า คนที่มีบารมีมาก บารมีเต็ม มีปัญญาเฉลียวฉลาดอย่างนี้องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าสอนแต่เพียงหัวข้อก็เข้าใจ บรรลุมรรคผล

    ต่อไปองค์สมเด็จพระทศพลก็ทราบอีกว่า คนที่มีปัญญาทรามกว่านั้นมีอยู่ แต่ถ้าองค์สมเด็จพระบรมครูเทศน์หัวข้อแล้วอธิบายให้เข้าใจก็บรรลุมรรคผล ที่เรียกว่า วิปจิตัญญู

    พวกที่ ๓ ที่มีนามว่า เนยยะ พวกนี้สามารถเข้าถึงไตรสรณาคมน์ได้ และอาจจะเข้าถึงมรรคผลตอนท้าย คือ พระโสดาบันกับสกิทาคามี ก็พอได้มีอยู่

    ข้อที่ ๔ องค์สมเด็จพระบรมครูทรงทราบว่าคนพวก ปทปรมะ ซึ่งแปลว่า มีบทบาทอย่างยิ่ง คนประเภทนี้จะเป็นชายหรือหญิงก็ตาม พระพุทธเจ้าสอนไม่ได้ เพราะมีกรรมที่เป็นอกุศลมากเกินไป ยากที่องค์สมเด็จพระจอมไตรจะทรงช่วยเหลือได้

    ครั้นเมื่อองค์สมเด็จพระจอมไตรอาศัยทศพลญาณ คือ ญาณ ๑๐ ประการของพระพุทธเจ้า(ญาณ ๑๐ ประการนี้มีได้เฉพาะพระพุทธเจ้าเท่านั้น สาวกมีไม่ได้ เพราะบารมีไม่เสมอกัน) องค์สมเด็จพระทรงธรรม์ได้ทรงทราบอย่างนี้แล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้วก็ตั้งใจจะเทศน์โปรด การเทศน์โปรดครั้งแรกของพระพุทธเจ้า ในกาลนั้น องค์สมเด็จพระธรรมสามิสรจึงได้เลือกคนที่แสดงธรรมเทศนาเป็นปฐมเป็นครั้งแรก (การสอนครั้งแรกมีความสำคัญ เพราะคนยังไม่ชิน เพราะไม่รู้ลีลามาก่อน) ฉะนั้น องค์สมเด็จพระชินวรจึงได้ทรงระลึกถึงอาจารย์ทั้งสองท่าน คือ อาฬารดาบส กาลามโคตร และ อุทกดาบส รามบุตร เพราะสองท่านนี้ได้สมาบัติ ๘ และถ้าสามารถจะรับพระธรรมเทศนาได้ก็จะบรรลุมรรคผลได้โดยฉับพลัน และก็เป็นปฏิสัมภิทาญาณ องค์สมเด็จพระพิชิตมารใช้อำนาจพระพุทธญาณ ว่าเวลานี้อาจารย์ทั้งสองอยู่ที่ไหน(บางแหล่งข้อมูลกล่าวแตกต่างกันว่า มีเทพยดาองค์หนึ่งได้เข้ามากราบทูลว่าบัดนี้อาฬารดาบสได้ดับขันธ์สิ้นชีพล่วงไปได้ ๗ วันแล้ว สมเด็จพระชินสีห์จึงส่องทิพยจักษุฌานดูก็ทรงประจักษ์ว่าเป็นจริงตามนั้น และบัดนี้พระดาบสได้ไปบังเกิดในอากิญจัญญาตนอรูปภพ อรูปพรหมชั้นที่ ๓ จึงมีพุทธดำริว่าหากพระดาบสยังมีชีวิตอยู่ต่ออีก ๑ วันก็จะได้สดับพระสัทธรรมและสามารถบรรลุมรรคผลสำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้อย่างแน่นอน ด้วยเป็นบัณฑิตชาติอุดมด้วยสติปัญญาและกมลสันดานเบาบางจากกิเลสมลทิน) องค์สมเด็จพระจอมไตรก็ทรงทราบว่าอาจารย์ทั้งสองเวลานี้มรณภาพเสียแล้ว หรือตายจากความเป็นคน อาศัยที่ท่านได้อรูปฌาน ตายแล้วจึงไปเกิดเป็นอรูปพรหม

    อรูปฌานนี้ถ้าใครได้แล้วใจมันเป็นสุข โดยมากมักจะหลงกันว่าเป็นอรหันต์ได้เข้าถึงนิพพาน อาศัยที่ก่อนจะตายจิตติดอยู่ในอรูปฌาน ตายจึงได้เกิดเป็นอรูปพรหม เป็นพรหมที่ไม่มีรูป ขาดอายาตนะ พระพุทธเจ้าไม่สามารถจะสอนได้ องค์สมเด็จพระจอมไตรจึงได้ทรงปรารภว่า

    "โอหนอ..อาจารย์ทั้งสองของเรานี้ เป็นผู้ฉิบหายจากความดีเสียแล้ว"


    คำว่า ฉิบหาย นี่เป็นปกติของบาลีไม่ใช่คำหยาบ หมายความว่าเป็นผู้ที่ไม่มีโอกาสได้รับธรรมและความดีต่อไป

    ฉะนั้น องค์สมเด็จพระจอมไตรจึงได้ทรงดำริต่อไปว่า มีใครบ้างไหมหนอที่พอจะรับพระธรรมเทศนา และได้บรรลุมรรคผล สมเด็จพระทศพลก็มองเห็น ปัญจวัคคีย์ฤาษีทั้ง ๕ คือ ท่านโกณทัญญะ ท่านวัปปะ ท่านภัททิยะ ท่านมหานาม ท่านอัสสชิ ทั้ง ๕ ท่านนี้ปฏิบัติองค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดามา นับตั้งแต่วาระแรกที่ออกสู่มหาภิเนษกรมณ์

    พระองค์จึงได้ทรงพิจารณาว่า เวลานี้ปัญจวัคคีย์ฤาษีทั้ง ๕ อยู่ที่ไหน... องค์สมเด็จพระจอมไตรก็ทรงทราบว่า เธอพวกนี้หลีกเราไปอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี สำหรับองค์สมเด็จพระมหามุนี้นี่อยู่ที่พุทธคยา ปัจจุบันที่โคนต้นโพธิ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ทรงดำริว่า เราจะไปเทศน์โปรดปัญจวัคคีย์ฤาษีทั้ง ๕ มีโกณทัญญะ เป็นต้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กันยายน 2012
  12. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ เป็นวันที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเดินไป และก็ไปถึงในวันเดียวกันที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน จากต้นมหาโพธิ์ไปป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ในครั้งนั้นปรากฎว่า ปัญจวัคคีย์ฤาษีทั้ง ๕ ที่ได้หลีกหนีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะว่าในตอนก่อนที่อยู่กับพระพุทธเจ้าก็หวังจะบรรลุมรรคผล ต่อมาเห็นองค์สมเด็จพระทศพลบรมศาสดาเสวยพระกระยาหาร เลิกการทรมานกาย ก็คิดว่าการบรรลุใด ๆ คงไม่มี จึงได้หลีกไปจากองค์สมเด็จพระชินสีห์ หนีไปอยู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมื่อองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาจึงคิดว่า พระพุทธองค์มานี่ คงจะอยู่คนเดียวไม่ไหว จะหาพวกเรานี้ไว้เป็นที่พึ่ง จึงได้นัดหมายกันว่า
    "เวลานี้สิทธัตถะราชกุมารเสด็จมา บางทีจะทนอยู่คนเดียวไม่ไหว ฉะนั้นพวกเราจงอย่าแสดงความเคารพ ในเมื่อเธอมาถึงอย่ารับบาตร อย่ารับสังฆาฏิ อย่ารับไม้เท้า อย่าล้างเท้าให้ อย่าปูอาสนะให้"

    แต่ว่าเป็นเหตุอัศจรรย์ เมื่อองค์สมเด็จพระภควันต์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเข้าไปถึง พวกท่านทั้ง ๕ ก็ลืมความนัดหมาย กลับรับบาตร รับสังฆาฏิ รับไม้เท้า ถอดรองเท้า ล้างเท้า ปูอาสนะให้แก่องค์สมเด็จพระบรมสุคต แต่ทว่าใช้วาจาไม่เคารพ ออกพระนามของพระองค์ว่า "พระสมณโคดม"เรียกเฉย ๆ เป็นการแสดงความเคารพซึ่งกันและกัน(บางแหล่งข้อมูลกล่าวแตกต่างกันว่า เหล่าปัญจวัคคีย์ก็เรียกพระองค์ด้วยถ้อยคำตีเสมอ คือเรียกพระองค์ว่า อาวุโส ที่แปลว่า ผู้มีอายุ หรือแปลอย่างภาษาไทยว่า คุณ โดยไม่มีความเคารพ) องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงบอกตามความเป็นจริงว่า
    "เธอทั้งหลาย เวลานี้เราได้บรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว"

    ท่านทั้ง ๕ ได้ฟังองค์สมเด็จพระประทีปแก้วก็ไม่เชื่อ ต่างคนต่างส่ายหน้าแล้วว่า
    "เวลาท่านทรมานร่างกายมาตั้ง ๖ ปี ไม่ได้บรรลุความดี แต่มาตอนหลังท่านนี้เป็นคนมักมากในอาหาร จะบรรลุได้อย่างไร?"
    องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาจึงตรัสย้ำว่า
    "ท่านทั้งหลาย ในสมัยเมื่อท่านอยู่กับเราสิ้นเวลา ๖ ปี เคยได้ยินคำนี้บ้างไหม คำว่า บรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ เราเคยพูดบ้างหรือเปล่า"

    [​IMG]
    ท่านทั้ง ๕ ได้ฟังองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสย้ำ ก็นึกขึ้นมาได้ว่าเป็นความจริง อยู่ด้วยกันมา ๖ ปี องค์สมเด็จพระมหามุนีไม่เคยตรัสเรื่องนี้ จึงคิดว่าคงจะสำเร็จแล้ว จึงได้แสดงความเคารพในองค์สมเด็จพระประทีปแก้วเป็นอย่างดี เมื่อองค์สมเด็จพระบรมศาสดาเห็นว่าท่านทั้ง ๕ พร้อมที่จะรับพระธรรมเทศนาแล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้วจึงได้ประทับในอาสนะที่เขาปูให้ หลังจากนั้นองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาก็ตรัสว่า
    "บรรดาท่านทั้งหลาย การประพฤติปฏิบัติของพวกเราที่ทำมาก่อน ตามแบบฉบับของพราหมณ์เป็นการทรงทุกขกิริยามากอย่างนี้ ไม่ใช่ทางบรรลุมรรคผล เพราะว่าทางนี้เราทำมาแล้วสิ้นเวลา ๖ ปีน่ะ ไม่ได้อะไรเลย การบรรลุมรรคผลคราวนี้เราได้จากทางใจ ต้องบำรุงร่างกายให้สมบูรณ์มีกำลังดี จึงจะสามารถทรงขั้นฌานโลกีย์ไว้ได้ ต่อจากนั้นจึงใชัปัญญาซึ่งเกิดจากกำลังของฌานตัดกิเลสเป็นสมุทเฉทปหาน อย่างนี้จึงจะชื่อว่า บรรลุมรรคผล"

    แล้วองค์สมเด็จพระทศพลก็ตรัสใจความ มีความสำคัญในด้านการปฏิบัติเพื่อบรรลุมรรคผลว่า
    โภ ปุริสะ ดูก่อน บุรุษผู้เจริญ ขอท่านทั้งหลายถ้าปรารถนาความดี การที่จะบรรลุมรรคผลในพระพุทธศาสนานี้จะต้องปฏิบัติตามแบบนี้จึงจะมีผล คือว่า ต้องละส่วนสุด ๒ อย่าง คือ
    ๑. อัตตกิลมถานุโยค เวลาที่ปฏิบัติอย่าให้ร่างกายมันเครียดเกินไป ถ้าเครียดถึงขั้นทรมานกาย อย่างนี้ไม่บรรลุมรรคผล
    ๒. กามสุขัลลิกานุโย คำว่า กาม แปลว่า ความใคร่ หมายความว่า ขณะที่เจริญสมาธิก็ดี เจริญวิปัสสนาญาณก็ดี ในตอนนี้วางอารมณ์การอยากได้อย่างโน้น อยากได้อย่างนี้เสีย ใช้อารมณ์ตัดเป็นสำคัญ ใช้ใจสบาย ๆ

    แล้วองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาก็ตรัสว่า
    ผลที่การบรรลุจริง ๆ ก็คือ มัชฌิมาปฏิปทา การทรงอารมณ์ต้องทรงแบบสบาย ๆ ไม่เครียดเกินไป ไม่ย่อหย่อนเกินไป

    ครั้นเมื่อองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาตรัสอย่างนี้แล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้วจึงได้ตรัสในใจความของ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร สำหรับใจความจริงๆ ในธัมมจักรกัปปวัตนสูตร ความมุ่งหมายขององค์สมเด็จพระจอมไตรก็หมายเอาอริยสัจ คือว่า อริยสัจนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสก็หมายถึง เป็นเรื่องของความจริงๆ(คำว่า อริยะ นี่เขาแปลว่า บริสุทธิ์ผุดผ่อง อริยสัจ หมายถึงเราทรงความจริงที่เราเข้าถึงความบริสุทธิ์ทางใจ เรื่องกายแต่ละคนหาความบริสุทธิ์ไม่ได้ เพราะกายมันสกปรก ความบริสุทธิ์จริง ๆ มันต้องเป็นความบริสุทธิ์ทางใจ)ความบริสุทธิ์ทางใจที่องค์สมเด็จพระจอมไตรตรัสในวันนั้นว่าโดยย่อท่านบอกว่า

    "จงละตัณหา ๓ ประการ"

    คำว่า ตัณหา แปลว่า ความอยาก คือ เราอยากได้สิ่งยังไม่มีให้เกิดขึ้น เขาก็เรียกว่า ตัณหา

    สิ่งที่มีอยู่แล้วอยากให้ทรงตัวอย่างนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลง อย่างนั้นเรียกว่า ภวตัณหา

    สิ่งที่มันเปลี่ยนแปลงไปมันจะต้องแตก มันจะต้องตาย มันจะต้องพัง เราไปนั่งภาวนาบนบานสานกล่าวขออย่าให้แตก ให้ตาย ให้พังเลย ทรงอยู่อย่างนี้ อย่างนี้ท่านเรียกว่า วิภวตัณหา

    ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า ขอทุกท่านจงวางตัณหาเสีย เอาจิตยอมรับนับถือกฎของธรรมดา ถ้าจิตยอมรับนับถือกฎของธรรมดา ก็เป็นอริยสัจ ทรงแนะนำ ปัญจวัคคีย์ฤาษีทั้ง ๕ ว่า

    "เธอทั้งหลาย จงพยายามละตัณหาทั้ง ๓ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ด้วยอำนาจของอริยสัจ คือ รู้ตามความเป็นจริง จงพิจารณาว่าร่างกายของคนก็ดี ของสัตว์ก็ดี ที่มีอยู่นั่นไม่ใช่ร่างกายของเราจริง มันเป็นเรือนร่างที่อาศัยชั่วคราวเท่านั้น มันมีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความเปลี่ยนแปลงไปในท่ามกลาง และมีการสลายตัวไปในที่สุด ในเมื่อเธอทั้งหลายวางภาระนี้เสียได้ เธอก็จะพ้นจากความทุกข์ คือ เป็นพระอริยเจ้าเข้าพระนิพพาน"

    เมื่อองค์สมเด็จพระพิชิตมารทรงเทศน์จบ ปรากฎว่า ท่านโกณทัญญะเป็นพระโสดาบัน เป็นเหตุให้องค์สมเด็จพระพิชิตมารดีพระทัยมาก จึงได้เปล่งอุทานวาจาว่า

    "อัญญาสิ วะตะ โภ โกณทัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณทัญโญ"
    (คำว่า "อัญญาสิ" แปลว่า รู้แล้ว ซึ่งแปลเป็นใจความว่า โกณทัญญะได้รู้แล้วหนอ โกณทัญญะได้รู้แล้วหนอ พระองค์ดีใจมาก เพราะเทศน์กัณฑ์แรกมีคนบรรลุมรรคผล แม้แต่เบื้องต้น เป็นอันว่า คำว่า อัญญา ต่อหน้าคำว่า โกณทัญญะเฉย ๆ มีมาตั้งแต่วันนั้น)

    อารมณ์จิตเวลานั้นของท่านโกณทัญญะตั้งยังไง ที่พระพุทธเจ้ากล่าวถึงตัณหา ๓ ประการให้วางตัณหา ยอมรับนับถือกฎธรรมดา ซึ่งเรียกกันว่า อริยสัจ อันดับต้น ท่านอัญญาโกณทัญญะ มีความเคารพในพระพุทธเจ้า มีความเคารพในพระธรรมจริง เวลานั้นยังไม่มีพระสงฆ์ มีแต่พระพุทธเจ้ากับพระธรรม เข้าถึงไตรสรณาคมน์ ๒ ประการ แล้วหลังจากนั้น ท่านอัญญาโกณทัญญะไม่มีความสงสัยในคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    แหล่งข้อมูลภาพ : http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=truthoflife&month=30-12-2010&group=19&gblog=6
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2012
  13. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    คณะทำงานบรรพชนทวาได้พบหนังสือทรงคุณค่าเล่มหนึ่งเป็นหนังสือ “อนุสรณ์เนื่องในงานประชุมเพลิงศพของคุณไพโรจน์(ลออ) คุ้มไพโรจน์ ณ วัดมกุฏกษัตริยาราม วันจันทร์ที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๓๑” ซึ่งคุณไพโรจน์(ลออ) คุ้มไพโรจน์ได้เดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถาน ณ ประเทศอินเดียเมื่อปลายเดือนมีนาคมถึงเมษายน ๒๕๑๘ และได้บันทึก และจัดพิมพ์เป็นหนังสือธรรมบรรณาการเรื่อง “พุทธประวัติจากสังเวชนียสถาน” แจกเนื่องในวันงานพระราชทานเพลิงศพของคุณพิจิตรจำนง(ยิ่ง) สังขดุลย์ แม่ยายของคุณไพโรจน์(ลออ) คุ้มไพโรจน์เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๑๙ คณะทำงานมีโอกาสได้อ่านบทความในหนังสือ และเห็นว่าเรื่อง “การจำพรรษาของพระพุทธองค์” เป็นเรื่องที่หาอ่านได้ยาก และหากมีโอกาสได้อ่าน จะมีความรู้สึกเหมือนอยู่ในเหตุการณ์ตลอด ๔๕ พรรษาของพระพุทธองค์อย่างละเอียด การเข้าถึงธรรมะของพระพุทธองค์ก็เป็นไปโดยง่ายเมื่อถึงวาระ คณะทำงานจึงขออนุโมทนาบุญธรรมทาน และขออุทิศผลบุญใดๆจากกระทู้ “พระพุทธศาสนา…พระโบราณ…พระในตำนาน...” แด่คุณไพโรจน์(ลออ) คุ้มไพโรจน์ และคุณพิจิตรจำนง(ยิ่ง) สังขดุลย์ แม้จะอยู่ ณ ภพใดภูมิใดก็ตาม ขอให้ได้เจริญปัญญาบารมียิ่งๆขึ้น จนกว่าจะบรรลุถึงความพ้นทุกข์โดยสิ้นเชิงไม่ต้องเวียนว่ายในวัฏสงสารอีกต่อไป มา ณ ที่นี้...

    ๔๕ พรรษาของพระพุทธองค์<O:p</O:p
    พระพุทธศาสนาถือกำเนิดขึ้นในประเทศอินเดีย หรือชมพูทวีป พระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระนามเดิมว่า “เจ้าชายสิทธัตถะ” แห่งศากยวงศ์ โคตมโคตร มีกรุงกบิลพัสดุ์เป็นหมืองหลวง ประสูติเมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี ใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน เมื่อพระชนมายุได้ ๒๙ พรรษา ทรงออกมหาภิเนษกรมณ์ พระองค์ได้ศึกษาหลักธรรมในลัทธิต่างๆ ของทุกสำนักที่มีชื่อเสียงจนบรรลุหลักธรรมทั้งหมดของสำนักนั้นๆ พระองค์ประจักษ์ว่าหลักธรรมต่างๆที่พระองค์ได้ศึกษามามิใช่หนทางแห่งการพ้นทุกข์ ในที่สุดพระองค์ก็ตัดสินใจว่าต้องค้นหาวิมุตติธรรมด้วยพระองค์เอง และได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรงกับวันเพ็ญเดือน ๖ ณ อุรุเวลาเสนานิคม แขวงเมืองพาราณสี ขณะมีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา <O:p</O:p

    หลังจากเสด็จสั่งสอนพุทธศาสนิกชนทั้งหลายเป็นระยะเวลา ๔๕ พรรษา พระองค์ก็เสด็จดับขันธปรินิพพานใต้ต้นรังคู่ในป่าสาละ ณ เมืองกุสินารา ตรงกับวันเพ็ญเดือน ๖ หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานคำสั่งสอนของพระองค์ก็เป็นที่ยอมรับนับถือกันอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะดินแดนอินเดียทางภาคเหนือ ซึ่งปรากฎหลักฐานอยู่ในมหาปรินิพพานสูตรว่า แคว้นต่างๆ ๘ แคว้น ได้ส่งฑูตไปขอแบ่งส่วนพระบรมสารีริกธาตุ

    พรรษาที่ ๑ – อิสิปตนมฤคทายวัน<O:p</O:p
    ยสะกุลบุตร<O:p</O:p
    เสด็จจำพรรษาแรกหลังจากตรัสรู้แล้ว ณ อิสิปตนมฤคทายวัน ในระหว่างพรรษานี้ได้ทรงโปรดยสะกุลบุตร และเพื่อนๆอีก ๕๔ คน จนได้สำเร็จพระอรหันต์ เรื่องมีอยู่ว่า ยสะเป็นลูกชายคนเดียวของนาวสุชาดา ภรรยาเศรษฐีจากหมู่บ้านอุรุเวลาเสนานิคมที่เคยถวายข้าวปายาสแด่พระองค์เช้าวันตรัสรู้ และได้ย้ายมาอยู่ค้าขายที่เมืองพาราณสี ยสะเป็นลูกที่พ่อแม่รักมาก จึงพยายามยัดเยียดความสุขทุกอย่างให้ ยสะกิดความเบื่อหน่ายทางโลกกามคุณ กลางคืนคืนหนึ่งยสะตื่นขึ้น เห็นพวกสาวใช้บริวารนอนหลับกันเกลื่อนกลาดในท่าทางที่ไม่น่าดู ทำให้จิตน้อมนึกถึงภาพศพนอนเรียงรายอยู่ในป่าช้าผีดิบ จึงตัดสินใจหนีออกจากบ้าน เดินใจลอยไปตามถนน ปากก็บ่นพึมพัมว่า ที่นี่วุ่นวายหนอๆ พระพุทธองค์เสด็จเดินจงกรมอยู่ ได้เห็นอุปนิสัยของยสะกุลบุตร จึงเสด็จไปประทับคอยอยู่ที่ริมทางในเวลาใกล้รุ่ง พระองค์เทศน์ให้ฟังทั่วๆไปเกี่ยวกับเรื่องโลกมนุษย์ และสวรรค์ การให้ทานรักษาศีล เป็นต้น ยสะได้เคยมีบารมีแก่กล้ามาแต่อดีตชาติแล้ว เมื่อได้สดับพระธรรมเทศนาเข้าเพียงเล็กน้อยก็เกิดปิติได้บรรลุถึงอนาคามี รุ่งขึ้นเศรษฐีผู้บิดาตกใจเห็นลูกชายหายไป จึงเที่ยวตามไปถึงสำนักของพระพุทธองค์ แล้วทูลถามถึงยสะกุลบุตร พระศาสดาทรงแสดงธรรมให้ฟัง โดยเนรมิตอธิษฐานไม่ให้พ่อลูกมองเห็นกันเศรษฐีฟังเทศน์ไป ในที่สุดก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน ยสะกุลบุตรก็ได้ฟังพระธรรมเทศนานั้นในเวลาเดียวกันได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ แล้วทูลขออุปสมบทพร้อมๆกับเพื่อนอีก ๕๔ คน ซึ่งก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์หมดทุกคน ในเช้าวันนั้น พระศาสดามีพระยสะตามเสด็จไปบ้านเศรษฐีตามที่นิมนต์ เสวยเสร็จแล้วประทานพระธรรมเทศนา นางสุชาดาผู้เป็นมารดา พร้อมด้วยภรรยาพระยสะก่อนบวชได้ฟังแล้วก็สำเร็จโสดาปัตติผลทั้งสองคน นางสุชาดาได้ประกาศตนเป็นอุบาสิกาคนแรกที่เข้าถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะอันประเสริฐสุดในโลก
    <O:p</O:p
    สรุปรวมแล้ว ขณะนี้ได้มีพระอรหันต์ปรากฎขึ้นในโลก ๖๑ องค์ รวมทั้งพระบรมศาสดาซึ่งเป็นประธานด้วย พระองค์ส่งภิกษุทั้งหลายนี้ให้แยกทางกันไปเผยแผ่พระศาสนา ทรงรับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเที่ยวจาริกไป เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่มหาชน เพื่อความเอ็นดูแก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย จงอย่าไปทางเดียวกันถึงสองรูป พวกเธอจงแสดงธรรมให้งดงามในเบื้องต้น ในท่ามกลาง และในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์ให้เป้นไปพร้อมทั้งอรรถะ ทั้งพยัญชนะ ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยสิ้นเชิง แม้เราเองก็จักไปสู่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคมเพื่อแสดงธรรม”

    อุรุเวลากัสสป
    ออกพรรษาในปีแรกนั้นแล้ว พระพุทธองค์ได้เสด็จดำเนินจากอิสิปตนมฤคทายวัน มาตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราอีกครั้งหนึ่ง เพื่อจะทรมานอุรุเวลากัสสป ผู้นับถือการบูชาไฟ และเป็นชฏิลพี่ใหญ่ พร้อมบริวาร ๕๐๐ คน พระองค์ได้ขออาศัยพักแรมที่นี่ อุรุเวลากัสสปเป็นคนมีทิฐิมานะมากถือตัวว่าคนอื่นจะมาเก่งกว่าไม่ได้ ทูลว่า จะพักก็ได้ แต่ต้องไปอยู่ในโรงบูชาไฟ ที่นี่มีงูพิษอยู่ โดยหวังจะให้งูร้ายกำจัดพระองค์เสีย พระศาสดาเสด็จเข้าไปพักในศาลานี้ ได้ทรงเปล่งรัศมีแสงสว่างทั่วไปหมด งูตกใจกลัวไม่สามารถพ่นพิษทำร้ายพระองค์ได้ จึงเลื้อยหนีเข้าไปขดอยู่ในบาตรของพระองค์ พวกชฏิลเห็นแสงประกายพวยพุ่งออกมาจากศาสานึกว่าไฟไหม้แตกตื่นวิ่งเอาเหยือกดินใส่น้ำมาที่ศาลาเพื่อดับไฟ พอเห็นงูเข้าไปขดอยู่ในบาตร และพระองค์ก็ไม่ได้รับอันตรายอันใด พวกชฏิลก็แปลกใจ แต่ก็ยังไม่ยอมรับนับถือพระองค์ พระองค์จึงแสดงปาฏิหาริย์อีกหลายอย่าง ในที่สุดทรงทำให้เกิดพายุฝนตกหนัก ทั้งๆที่ตอนนั้นไม่ใช่ฤดูฝนเลย เกิดน้ำท่วมล้นตลิ่งแม่น้ำเนรัญชรา อุรุเวลากัสสป<O:p</O:p

    นึกว่าพระองค์คงถูกพายุพัดพาหายไปกับกระแสน้ำแล้ว จึงรีบพายเรือมาดู กลับเห็นพระองค์เสด็จเดินจงกรมอยู่เหนือน้ำ ต่อจากนี้มาก็ทรงทรมานชฏิลด้วยธรรมวิธีต่างๆจนเห็นว่าลัทธิของตนไม่เป็นแก่นสาร ในที่สุดก็ละทิฐิมานะยอมอ่อนน้อม ขอบรรพชา และลอยชฏิลบริขารล่องตามน้ำไป นทีกัสสป และคยากัสสป น้องชายรองๆลงมา ตั้งอาศรมอยู่ที่คุ้งแม่น้ำคงคา และที่ตำบลคยาสีสะ อันมีระยะไม่ไกลกันเท่าใดนัก ได้เห็นบริขารของพี่ชายลอยตามน้ำมาก็แปลกใจ นึกว่าพี่ชายคงถูกโจรฆ่าตายเสียแล้ว รีบพากันขึ้นไปหาพี่ชายที่สำนัก และเมื่อทราบถึงเหตุผลที่พี่ชายสละลัทธิของตน เกิดเลื่อมใสศรัทธา จึงพากันขออุปสมบทเป็นสาวกของพระพุทธองค์ต่อไป พร้อมบริวารอีกทั้งหมด ๕๐๐ คนด้วย ต่อมาทรงเห็นว่าภิกษุบวชใหม่ทั้ง ๑๐๐๓ องค์(ชฏิลสามพี่น้อง และบริวารอีก ๑๐๐๐ คน)นี้มีอินทรีย์แก่กล้าแล้ว จึงตรัสเทศนาอาทิตยปริยายสูตรยก ราคะ โทสะ โมหะ ขึ้นเทียบกับไฟ ให้สมกับที่ท่านเหล่านั้นเคยบูชาไฟมา อุรุเวลากัสสป และบริวารก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น<O:p</O:p

    จากริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา สำนักของอุรุเวลากัสสป พระพุทธองค์ก็พาชฏิลทั้ง ๑๐๐๓ องค์ไปสู่เมืองราชคฤห์ พักอยู่ป่าลัฏฐิวันของพระเจ้าพิมพิสาร เพราะได้เคยสัญญาไว้เมื่อออกบรรพชาใหม่ๆ และได้ผ่านมาพบพระเจ้าพิมพิสารที่เมืองราชคฤห์ว่า เมื่อตรัสรู้แล้วจะไม่ลืมเสด็จมาโปรด พระเจ้าพิมพิสารทรงทราบข่าวการเสด็จของพระพุทธองค์ จึงเสด็จมาเฝ้าพร้อมด้วยราชบริพาร และพราหมณ์ผู้ทรงปัญญาอีกมาก ได้เกิดความสงสัยขึ้นว่า พระพุทธองค์เป็นสาวกของพระอุรุเวลากัสสป หรือว่าตรงข้ามกัน เพราะอุรุเวลากัสสปมีชื่อเสียงโด่งดังว่าเป็นคณาจารย์ชั้นยอด พระพุทธองค์ทรงดำริจะให้อุรุเวลากัสสปตัดความสงสัยของพระเจ้าพิมพิสาร และพวกพราหมณ์บริวารทั้งหลาย จึงตรัสกับอุรุเวลากัสสปว่า “ท่านได้ถือการบูชาไฟมาเป็นนิตย์ ทำไมจึงละการบูชาไฟเสียเล่า” พระอุรุเวลากัสสปทูลว่า การบูชายัญั้งหลาย ล้วนแต่มีความมุ่งหมายให้ได้มาวึ่งรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัสที่ดีทั้งนั้น เป็นของร้อน บัดนี้ข้าพระองค์รู้แน่แล้วว่า ของรักใคร่พอใจทั้งหลายล้วนแต่เป็นสิ่งที่ทำใจให้เศร้าหมอง ก่อให้เกิดกิเลส และความทุกข์ จึงได้ทิ้งการเซ่นสรวงบูชาไฟเสีย และบัดนี้ข้าพระองค์ได้เห็นธรรมอันสงบระงับแล้ว พูดแล้วก็ซบศีรษะลงที่พระบาทพระพุทธองค์ประกาศก้องว่า พระบรมศาสดาเป็นครูของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเป็นศิษย์สาวกของพระองค์ พระเจ้าพิมพิสาร และพราหมณ์บริวารได้ยินดังนั้น ต่างพากันดีใจหมดความสงสัย ต่อมาพระเจ้าพิมพิสารได้ถวายสวนเวฬุวัน เพื่อพระพุทธองค์ และภิกษุสงฆ์จะได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยเวลาเสด็จผ่านเมืองราชคฤห์ ดังนั้นเวฬุวันมหาวิหารจึงอาจกล่าวได้ว่า เป็นวัดแรกในพระพุทธศาสนา และที่นี่ในระหว่างพรรษาที่ ๒ และ ๓ ของพระพุทธองค์ได้เป็นที่ประชุมสันนิบาตครั้งแรกของพระอรหันต์ ๑๒๕๐ รูป(มาฆบูชา) ล้วนเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา ๑ (คือภิกษุสงฆ์ที่พระศาสดาทรงบรรพชาให้เอง) เป็นพระอรหันต์ผู้สำเร็จอภิญญาหกทั้งสิ้น ๑ ล้วนมาประชุมโดยมิได้นัดหมายกัน ๑ และตรงกับวันมาฆะฤกษ์พระจันทร์เต็มดวง ๑ รวมเรียกว่า วันจาตุรงคสันนิบาต คือประชุมพร้อมกันด้วยองค์ ๔ <O:p</O:p

    เมื่อพระองค์ทรงแสดงธรรมโปรดทีฆนปริพาชกที่ยอดเขาคิชกูฏจบลงแล้วนั้นเป็นเวลาเที่ยงวัน และพระสารีบุตรได้สำเร็จพระอรหันต์ ขณะถวายงานพัด และฟังธรรมเทศนาไปด้วย หลังจากท่านได้บวชแล้วสิบห้าวัน พระพุทธองค์จึงเสด็จลงจากเขาคิชกูฏทันที ตรงมายังพระวิหารเวฬุวันในเมืองราชคฤห์ ทรงกระทำสาวกสันนิบาต พร้อมด้วยองค์สี่ในคืนนั้นนั่นเอง คือในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ พระจันทร์เต็มดวง <O:p</O:p

    กรุงราชคฤห์<O:p</O:p
    สมัยพุทธกาล เป็นนครหลวงของแคว้นมคธ พระเจ้าพิมพิสารเป็นกษัตริย์ปกครองมีความเจริญสูงสุดในขณะนั้น มั่งคั่งสมบูรณ์ถึงกับมีการเจาะภูเขาสร้างถ้ำสำหรับเก็บพระคลังมหาสมบัติ และอาวุธยุทโธปกรณ์ ราชคฤห์มีความสำคัญทั้งในด้านการเมือง การศาสนา การเศรษฐกิจ และทหาร เป็นที่ชุมนุมที่อยู่ของพ่อค้าวานิช ศาสดาเจ้าลัทธิ และเศรษฐีมหาเศรษฐีเป็นจำนวนมาก มีป้อมปราการทางการทหารถึงสองชั้น ชนิดที่ยากแก่ข้าศึกในการเจาะทะลวงเข้ายึดเมืองได้ มีภูเขา ๕ ลูก ที่เรียกว่า ปัญจคีรี ล้อมรอบ มาในบั้นปลายพุทธกาลประมาณแปดปี ก่อนพุทธปรินิพพาน พระเจ้าพิมพิสารได้ถูกอชาติศัตรู ราชโอรสซึ่งเป็นสหายเอกของพระเทวทัตแย่งราชสมบัติจับเอาพระเจ้าพิมพิสารขังคุกจนสิ้นพระชนม์ ต่อมาพระเจ้าอชาติศัตรูมีราชโอรสชื่อ อุทายิน(Udajin) ทำปิตุฆาต และครองราชสมบัติสืบต่อมา เสด็จไปสร้างเมืองใหม่ให้ชื่อว่า กุสุมาปุระ หรือปาตลีบุตร แล้วย้ายเมืองหลวงไปที่นั่น ทรงมีราชโอรสชื่อ ศรีสุนาคา(Sisunaga) ขึ้นครองสืบมาจนถึง พ.ศ. ๒๐๐ เศษ สมัยพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งราชวงศ์เมารยะมาทำนุบำรุงปาตลีบุตร กลายเป็นราชานีที่เจริญรุ่งเรืองที่สุดแห่งหนึ่งในอินเดีย ราชคฤห์จึงเสื่อมโทรมลงนับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา<O:p</O:p

    ราชคฤห์มีความสำคัญในทางพุทธศาสนามากแห่งหนึ่ง พระสาวกองค์สำคัยๆเช่นพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ และพระมหากัสสป เป็นต้น ก็เป็นชาวเมืองนี้ ห่างจากราชคฤห์ไป ๑๓ ก.ม.เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยนาลันทาซึ่งเป็นสถานศึกษาพุทธศาสนาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลกระหว่างปี พ.ศ. ๑๐๐๐ ถึง ๑๗๐๐ นาลันทาอยู่ห่างจากปัฏนา ๙๐ ก.ม. การเดินทางมาตำบลนี้สะดวก ปัจจุบันมีเหลือแต่ซากสลักหักพัง เพราะถูกพวกมุสลิมทำลายเสียหายย่อยยับหมด อาณาบริเวณของสถานศึกษานาลันทากว้างขวางมาก เฉพาะที่ขุดค้นแล้วมีถึง ๘๗ ไร่เศษ ระหว่างทางจากราชคฤห์มานาลันทา จะได้ผ่านหมู่บ้านของพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ<O:p</O:p

    สถานที่สำคัญในเมืองนี้อีกแห่งหนึ่งก็คือ เขาคิชกูฏ ตั้งอยู่ไม่ไกลจากใจกลางเมืองราชคฤห์เท่าใดนัก ห่างจากตัวเมืองเก่าไปทางตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ ๕ ก.ม. มีซากพระคันธกุฏี กุฏพระอานนท์ ถ้ำพระโมคคัลลานะ และพระสารีบุตรเหลืออยู่ พระพุทธองค์ทรงชอบใช้เป็นที่ประทับพักผ่อนมากที่สุดแห่งหนึ่ง เพราะอยู่บนยอดเขาสูง อากาศบริสุทธิ์ พระเจ้าพิมพิสารมักเสด็จมาสนทนาธรรมกับพระพุทธองค์เสมอ พระเทวทัตได้กลิ้งก้อนหินเพื่อพยายามทำลายพระองค์ก็เกิดขึ้นที่นี่


    ** ตำราหลายเล่ม รวมถึงสื่อต่างๆหลายแหล่ง ใช้คำสะกดตัวอักษรต่างกันเล็กน้อย เช่น ยสะสกุลบุตร หรือยสกุลบุตร คณะทำงานบรรพชนทวา เห็นว่า การสมาสคำ ๒ คำเข้าด้วยกัน น่าจะตัดสระออก เป็น ยสกุลบุตร แต่อย่างไรก็ตาม จะขออ้างอิงคงตามแหล่งข้อมูลต้นฉบับเดิม แต่หากต้นฉบับใช้คำผิดหลักภาษาไทยจริงก็จะดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง เช่น คำว่า "สถิต" ควรจะเป็น"สถิตย์" เป็นต้น<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2013
  14. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    มาตากุจิ<O:p</O:p
    บนเขาคิชกูฏ ทางด้านขวามือเป็นซากสลักหักพังของมาตากุจิ เรื่องมีว่า พระมารดาของอชาติศัตรู ชื่อพระนางโกศลเทวี เป็นพระราชธิดาของพระเจ้ามหาโกศล(พระราชบิดาพระเจ้าปเสนทิโกศล) เมื่อพระนางตั้งครรภ์ ทรงแพ้ท้องอยากเสวยโลหิตในเข่าเบื้องขวาของพระเจ้าพิมพิสารพระราชสวามีอย่างแรงกล้า ความทราบถึงพระเจ้าพิมพิสาร จึงโปรดให้พวกโหรเข้าไปเฝ้า ตรัสถามว่า การแพ้ท้องอย่างนี้จะมีผลประการใด
    <O:p</O:p
    โหร “พระราชโอรสองค์นี้ เมื่อประสูติ และเจริญเติบโตขึ้น จะปลงพระชนม์ชีพราชบิดา แล้วขึ้นครองราชสมบัติ”
    <O:p</O:p
    พระเจ้าพิมพิสาร “เรื่องนี้ไม่สำคัญอะไร เมื่อลูกของเราจะฆ่าเรา ชิงเอาราชสมบัติก็ช่างเถิด”
    <O:p</O:p
    ตรัสแล้วจึงแทงเข่าข้างขวาของพระองค์ รองเลือดด้วยจานทอง แล้วส่งให้พระราชเทวีดื่ม พระราชเทวีดำริว่า ถ้าบุตรอันเกิดในอกของเราจักฆ่าบิดาไซร้ เราจะหาประโยชน์อันใดเล่าในบุตรนี้ จึงแอบเสด็จไปที่มาตากุจิ บนตีนเขาคิชกูฏนี้ และสั่งให้สนมรีดพระอุทรเพื่อให้ตกเลือด
    <O:p</O:p
    พระเจ้าพิมพิสารทรงทราบภายหลัง จึงตรัสห้ามว่า “การที่โหรทำนายว่า ลูกจะฆ่าเราเพื่อชิงราชสมบัตินั้น ไม่สำคัญอะไร เพราะอย่างไรเสียเราก็จะต้องแก่ ต้องตาย เข้าวันหนึ่ง ขอให้เราได้เห็นหน้าลูกเสียก่อนเถิด” พระนางมิได้ยอมเชื่อฟัง ต่อมาพระนางได้แอบเสด็จไปที่เขาคิชกูฏนี้อีก เพื่อจะรีดพระครรภ์ พระเจ้าพิมพิสารทรงห้ามเสียทัน แต่นั้นมาไม่ยอมให้พระนางเสด็จประพาสอุทยานที่เขาคิชกูฏอีกต่อไป
    <O:p</O:p
    เมื่อครบทศมาส พระนางก็ประสูติพระราชโอรส พวกโหรถวายนามว่า อชาติสัตตุกุมาร แปลว่า กุมารผู้เป็นศัตรูต่อพระบิดาตั้งแต่ยังไม่ประสูติ
    <O:p</O:p
    พระเจ้าพิมพิสารเสด็จเขาคิชกูฏ เมื่อมาถึงเชิงเขาจะเสด็จลงจากหลังช้าง แล้วเสด็จปีนเขาดำเนินต่อไปพร้อมกับทหารรักษาพระองค์ จนขึ้นมาเกือบถึงยอดเขา มองเห็นพระคันธกุฏีจะทรงเปลี่ยนเครื่องทรง แล้วให้ทหารรักษาพระองค์เฝ้าคอยอยู่ พระองค์จะเสด็จขึ้นยอดเขาเพื่อเข้าเฝ้าพระพุทธองค์โดยลำพัง
    <O:p</O:p
    จวนถึงยอดเขาทางขึ้นไปพระคันธกุฏี ก่อนถึงถ้ำพระโมคคัลลานะเล็กน้อยคือ ถ้ำพระสารีบุตร พระพุทธองค์มักจะเสด็จลงมาคุยกับพระสารีบุตรที่ถ้ำนี้เสมอ ที่ถ้ำนี้พระสารีบุตรได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในขณะถวายงานพัดพระพุทธองค์อยู่ หลังจากได้อุปสมบทแล้ว ๑๕ วัน ในฑีฆนขสูตรพระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ แสดงว่าพระพุทธองค์ทรงเทศนา เรื่อง เวทนาปริคคหสูตร ว่าด้วยเวทนาสาม คือในคราวใดที่มีเวทนาอย่างหนึ่งปรากฎ เวทนาที่เหลืออีกสองอย่างก็ไม่ปรากฎในคราวนั้น ด้วยเหตุนี้จึงควรเห็นว่า เวทนาทั้งสามเป็นของไม่เที่ยง เพราะเหตุปัจจัยปรุงแต่ง จึงได้เกิดขึ้น เป็นต้น ทรงแสดงธรรมแก่ฑีฆนขปริพาชกกลับใจ และได้สำเร็จโสดาปัตติผล พระสารีบุตรนั่งปรนนิบัตรพระพุทธองค์ ถวายงานพัดอยู่ข้างหลัง ฟังไปพัดไป เพลิดเพลินกับพระธรรมภาษิตก็ได้สำเร็จอรหัตตผลในขณะนั้นเอง


    พระสารีบุตร<O:p</O:p
    พระสารีบุตรเกิดในหมู่บ้านนาลันทา แขวงเมืองราชคฤห์ เป็นบุตรพราหมณ์ ชื่อวังคันตะ และนางสารี เป็นตระกูลที่ร่ำรวย มีบริวารมาก เดิมท่านชื่อ อุปติสสะ แต่มาเรียกกันทีหลังว่า สารีบุตร เพราะมารดาท่านชื่อ สารี ท่านเป็นผู้มีปัญญาเลิศ ฉลาดรอบรู้ในศิลปวิทยาการศึกษาหลายแขนง เป็นเพื่อนสนิทกับพระโมคคัลลานะมาตั้งแต่เด็ก ทั้งสองกับบริวารชอบเที่ยวดูมหรสพตามที่ต่างๆสนุกไป วันหนึ่งๆตามประสาคนหนุ่ม ต่อมาเกิดเบื่อ หันมาสนใจทางธรรม คิดแสวงหาธรรมะที่จะทำให้พ้นทุกข์ จึงพากันไปศึกษาในสำนักของปริพาชกชื่อสญชัยที่กรุงราชคฤห์ เมื่อเรียนรู้ลัทธิของอาจารย์ทั่วไปแล้ว เห็นว่าไม่ใช่ธรรมะที่เป็นทางให้พ้นทุกข์ จึงตกลงกันว่า จะแยกกันไปเที่ยวหาอาจารย์ผู้รู้ธรรมจริงๆ ใครรู้ธรรมะดีๆก่อน จงนำมาบอกแก่เพื่อนอีกทีหนึ่ง
    <O:p</O:p
    เช้าวันหนึ่ง อุปติสสะได้พบพระอัสสชิเที่ยวบิญฑบาตอยู่ เห็นท่านถึงพร้อมด้วยความสำรวม มีมารยาทเรียบร้อยตามสมณวิสัย แบะมีฉวีวรรณผุดผ่องน่าเลื่อมใส เกิดชอบใจในจรรยาของท่าน จึงเดินเข้าไปหาโดยกิริยาเคารพ ไต่ถามท่านว่า “พระผู้เป็นเจ้าบวชอุทิศต่อใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน ท่านชอบใจธรรมะของใครจึงได้บวช” พระอัสสชิเถระท่านเฉยไม่ตอบว่ากระไร โดยิดว่าเวลานี้เป็นอกาล ไม่ใช่กาลเวลาจะตอบปัญหา ท่านก็นิ่งเสียไม่พูด อุปติสสะปริพาชกก็เดินตามติดไปข้างหลัง ครั้นท่านเที่ยวบิณฑบาตได้พอควรแล้ว จึงหยุดหาโอกาสที่จะฉันภัตตาหาร อุปติสสะทราบความประสงค์ของท่านแล้ว ก็ช่วยจัดแจงสถานที่ และถวายของ เมื่อเสร็จภัตตากิจฉันเรียบร้อยแล้ว จึงได้เรียนถามอีกเช่นคราวก่อน และขอให้ท่านแสดงธรรม พระอัสสชิเถระจึงตอบว่า “เราเป็นผู้พึ่งบวชใหม่ ถึงธรรมวินัยไม่นาน ไม่อาจแสดงธรรมแก่ท่านโดยพิสดารได้” อุปติสสะจึงเรียนว่า “ขอจงโปรดแสดงเถิด จะมาก หรือน้อยตามสติกำลัง การใคร่ครวญพิจารณาเป็นภาระของข้าพเจ้า โปรดแสดงแต่ใจความ” พระอัสสชิจึงได้กล่าวเป็นคาถาย่อๆว่า “เย ธมมา เหตุปปภวา เตส เหตุ ตถาคโต เตสญจ โย นิโรโธจ เอว วาที มหาสมโณ” แปลความว่า “ธรรมทั้งหลาย มีเหตุเป็นแดนเกิด พระตถาคตได้ตรัสถึงเหตุเหล่านั้น เมื่อสิ้นเหตุเหล่านั้นจึงดับทุกข์ได้ พระพุทธเจ้าทรงมีวาทะตรัสสอนเช่นนี้เสมอ”
    <O:p</O:p
    อุปติสสะได้ฟัง พอจบคาถาสองบาทต้น ยังไม่ถึงสองบาทหลัง ก็ทราบเนื้อความแทงตลอดได้สำเร็จโสดาปัตติผลในขณะนั้น(คือ พระอัสสชิท่านแสดงอริยสัจสี่โดยย่อ ได้แก่เหตุแห่งความเกิดอันเป็นตัวสมุทัย เหตุแห่งความดับ ได้แก่มรรค สมุทัยเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ มรรคเป็นเหตุให้เกิดนิโรธ เป็นต้น)
    <O:p</O:p
    อุปติสสะซาบซึ้งในธรรมะบทนี้มาก นั่งลงกราบแล้วกราบอีก แสดงคารวะนับถือท่านอัสสชิว่า เป็นอาจารย์องค์แรกที่แท้จริงของท่าน ไม่ว่าท่านอัสสชิจะอยู่ที่ไหน ก่อนนอนทุกคืนพระสารีบุตรจะหันหน้าไปทางทิศนั้น และกราบทำความเคารพเป็นประจำตลอดชีวิตของท่าน
    <O:p</O:p
    อุปติสสะกลับมาแจ้งเรื่องที่พบพระอัสสชิให้สหายฟัง ทั้งสองจึงชวนกันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ก่อนไปได้ไปลาอาจารย์สญชัย และชักชวนให้อาจารย์ไปด้วย สญชัยได้อ้อนวอนหลายครั้งว่า อย่าไปเลย ทั้งสองไม่ยอมฟัง พาบริวารของตนไปเฝ้าพระบรมศาสดาที่วิหารเวฬุวัน แล้วทูลขออุปสมบท พระองค์ก็โปรดให้เป็นภิกษุตามที่ทูลขอ ได้ทรงเทศนาโปรด บริวารของทั้งสองสหายฟังแล้วก็ได้สำเร็จพระอรหันต์หมด ส่วนพระโมคคัลลานะบวชแล้ว ๗ วันจึงสำเร็จ พระสารีบุตรได้สำเร็จ ๑๕ วัน หลังจากอุปสมบท ขณะถวายงานพัดที่เขาคิชกูฏ พระสารีบุตรมีปัญญาเลิศมากกว่าพุทธสาวกทั่วไป ภายหลังพระพุทธองค์ได้แต่งตั้งให้ท่านเป็นพระธรรมเสนาบดีฝ่ายขวา พระโมคคัลลานะเป็นฝ่ายซ้าย ก่อนสิ้นอายุท่านได้ทูลลาไปบ้านเดิมกับพระจุนทเถระน้องชาย ในคืนที่ไปถึงท่านอาพาธหนัก แต่ก็ฝืนความลำบากกายแสดงธรรมแก่มารดาผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิจนมารดาเปลี่ยนใจมานับถือพุทธศาสนา และได้บรรลุโสดาปัตติผลในที่สุด พอใกล้วันรุ่งขึ้นพระสารีบุตรก็ปรินิพพาน พระจุนทเถระทำฌาปนกิจศพเสร็จแล้ว เก็บอัฐิธาตุไปถวายพระบรมศาสดาที่วิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี โปรดให้ก่อเจดีย์บรรจุไว้ ณ ที่นั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2013
  15. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    พระโมคคัลลานะ<O:p</O:p
    เดินขึ้นเขาถัดจากถ้ำพระสารีบุตรไปครู่หนึ่ง ก็ถึงถ้ำที่พระโมคคัลลานะเคยอยู่ทำความเพียร มีทางเดินลัดจากพระคันธกุฏี ลงมาจากยอดเขา พระพุทธองค์โปรดมานั่งคุยธรรมะกับพระโมคคัลลานะที่ถ้ำนี้บ่อยๆ นับว่าเป็นถ้ำศักดิ์สิทธิ์ถ้ำหนึ่ง มีแท่นหินเล็กๆอยู่แท่นหนึ่ง เข้าใจว่าเป็นของดั้งเดิม ที่พระโมคคัลลานะท่านใช้นั่งเป็นประจำ
    <O:p</O:p
    พระโมคคัลลานะเป็นบุตรพราหมณ์โมคัลลานโคตร และนางโมคคัลลี เป็นสกุลที่มั่งคั่งในพราหมณ์คาม แขวงเมืองราชคฤห์ (อยู่ระหว่างนาลันทา กับเขาคิชกูฏ) ใกล้กับบ้านพระสารีบุตร เดิมชื่อโกลิตะ ประวัติชีวิตของท่านในตอนต้นก็คล้ายกับที่กล่าวไว้ในประวัติพระสารีบุตร หลังอุปสมบทแล้ว ๗ วัน ได้หลีกไปทำความเพียรอยู่โดยลำพัง ในป่าใกล้บ้านกัลลวาละมุตตคาม ในแคว้นมคธ ถูกความง่วงครอบงำไม่สามารถรวมจิตให้เป็นสมาธิได้ พระบรมศาสดาทรงทราบ จึงเสด็จไปตรัสบอกอุบายระงับความง่วงให้อันตรธาน แล้วทรงเทศนาสอนเรื่องธาตุกัมมัฏฐาน พระโมคคัลลานะปฏิบัติตามไป ก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในวันที่เจ็ดหลังจากอุปสมบทแล้วนั่นเอง พระพุทธองค์ทรงตั้งไว้ในตำแหน่งอัครสาวกที่สอง รองจากพระสารีบุตร ท่านเป็นเอตทัคคะยอดเยี่ยมทางมีฤทธิ์กว่าภิกษุทั้งปวง และเป็นกำลังอย่างยิ่งแก่พระพุทธศาสนาองค์หนึ่ง สามารถเที่ยวไปในนรก สวรรค์ และตามที่ต่างๆด้วยฤทธิ์ท่านไปเที่ยวนรกสวรรค์มาแล้ว ก็เอาข่าวมาเล่าให้ประชาชนฟัง จนทำให้คนในละแวกบ้านแถบนี้ละการทำชั่วหันมาบำเพ็ญดีทางบุญกุศลมากมาย ท่านได้ทรมานผู้ที่ดุร้ายให้กลายเป็นคนดีดำรงอยู่ในศีลธรรมก็มากราย จนเป็นที่เกลียดชังของเหล่าเดียรถีย์ ถึงกับจ้างพวกโจรให้ไปฆ่าในเวลาท่านอยู่ในตำบลกาฬสิลา แคว้นมคธ พวกโจรทุบตีท่านเหลวแหลก จนเข้าใจว่าตายแล้ว จึงลากไปซ่อนไว้ในพุ่มไม้ และพากันหนีไป แต่ท่านยังหาถึงมรณะไม่ ได้ประสานอัตตภาพด้วยกำลังฌานแล้วเหาะมาเฝ้าพระบรมศาสดา ทูลลาไปปรินิพพาน ณ บ้านเดิม พระพุทธองค์ได้เสด็จไปจัดการฌาปนกิจสรีระของท่าน แล้วรับสั่งให้นำอัฐิธาตุมาบรรจุไว้ในพระเจดีย์ทีโปรดให้สร้างขึ้นริมซุ้มประตูวิหารเวฬุวัน เมืองราชคฤห์
    <O:p</O:p
    พระเจ้าอชาตศัตรูทรงทราบข่าวที่พระโมคคัลลานะถูกโจรฆ่าตาย จึงได้ส่งจารบุรุษนักสืบออกติดตามเรื่อง วันหนึ่งได้พบพวกโจรกำลังเลี้ยงสุรากันเมามาย โจรคนหนึ่งเกิดทะเลาะกับเพื่อนถึงกับต่อยตีกันขึ้น แล้วพูดท้าวความถึงการที่พวกตนได้รับสินจ้างจากพวกเดียรถีย์ให้มาฆ่าพระโมคคัลลานะ ตำรวจจึงจับโจรพวกนี้ส่งพระเจ้าอชาตศัตรู โจรรับสารภาพ จึงรับสั่งให้จับพวกเดียรถีย์ที่เป็นผู้ว่าจ้างกับโจรทั้งหลายผู้รับจ้าง แล้วจองจำตะเวนประจานไปรอบพระนคร และจับฝังในหลุมแค่สะดือ เอาฟางคลุมข้างบน จุดไฟเผาเสียทั้งเป็น
    <O:p</O:p
    ในสมัยที่ท่านอยู่ที่เขาคิชกูฏ พระพุทธองค์ประทับอยู่ที่เวฬุวันมหาวิหาร นครราชคฤห์ตอนนั้น เช้าวันหนึ่งท่านกับพระลักษณะลงจากเขาจะไปบิณฑบาต ท่านได้ยิ้มออกมาระหว่างทาง พระลักษณะถามว่ายิ้มอะไร ท่านว่า เอาไว้ไปถึงวัดเวฬุวันก่อนเถอะ จะเล่าให้ฟัง พอมาถึงวัด ฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว ท่านก็เล่าว่า “ผมลงจากเขาคิชกูฏ ได้เห็นสุจิโลมเปรตผู้ชายมีขนเป็นเข็มเต็มตัวไปหมด เข็มนั้นลอยขึ้นไปบนอากาศแล้วก็ตกลงมาทิ่มแทงตามตัวเปรตนั้นจนร้องครวญครางด้วยความเจ็บปวด”พวกภิกษุที่นั่งฟังอยู่ด้วยกัน หาว่าท่านอวดอุตตริมนุษยธรรม แล้วพากันไปทูลฟ้องพระพุทธองค์ ทรงตรัสว่า กาลก่อนเราก็ได้เคยเห็นเช่น เปรตนั้นเคยเป็นนายสารถีอยู่ในพระนครราชคฤห์นี้เอง ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้นแหละ เขาหมกไหม้อยู่ในนรกหลายพันปี แล้วจึงมาเกิดเป็นเปรต โมคคัลลานะพูดความจริงไม่ต้องอาบัติ
    <O:p</O:p
    พระโมคคัลลานะท่านได้เห็นเปรตบ่อยๆที่เขาคิชกูฏนี้ ยกมาเล่าให้ฟังเพียงเรื่องดียว<O:p</O:p
    เกือบถึงยอดเขาก่อนจะขึ้นไปถึงพระคันธกุฏี ที่นี่มีก้อนหินใหญ่ตั้งอยู่สองข้าง เป็นทางเดินลงเขาข้างหนึ่ง อีกด้านหนึ่งสำหรับขึ้นไปถึงพระคันธกุฏี พระเทวทัตใช้ก้อนหินนี้เป็นที่กำบังคอยแอบดูว่าเมื่อไรพระพุทธองค์จะเสด็จขึ้นมาจากบิณฑบาต พอได้จังหวะก็วิ่งข้ามมาที่ซอกเขาอีกด้านหนึ่ง แล้วกลิ้งก้อนหินลงไป

    ครั้งที่ ๑ ได้ขอให้พระเจ้าอชาตศัตรูใช้ให้นายขมังธนูไปลอบยิงพระองค์ แต่ไม่สำเร็จ<O:p</O:p
    ครั้งที่ ๒ พระเทวทัตเองได้ขึ้นไปกลิ้งก้อนหินลมาจากยอดเขาคิชกูฏ หินแตกกระจาย เศษของมันกระทบข้อเท้าพระองค์จนห้อเลือด<O:p</O:p
    ครั้งที่ ๓ เทวทัตได้ขอให้พระเจ้าอชาตศัตรูปล่อยช้างนาฬาคีรี เพื่อจะให้แทงพระองค์ในขณะเสด็จเข้าไปบิณฑบาตในเมืองราชคฤห์ พระองค์ทรงแผ่เมตตาจนช้างนอนหมอบอยู่แทบพระบาท<O:p</O:p

    กุฏิพระอานนท์อยู่บนยอดเขาคิชกูฏก่อนถึงพระคันธกุฏี คล้ายๆเป็นยามด่านสุดท้ายก่อนจะเข้าถึงพระพุทธองค์ได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2013
  16. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    คุกพระเจ้าพิมพิสาร
    พระเจ้าพิมพิสารได้สิ้นพระชนม์ในวันเดียวกันกับที่อุทัยภัททกุมารประสูติ อชาตศัตรูได้ข่าวเกิดก่อนข่าวตาย ความรักลูกได้อุบัติขึ้นตามธนนชาติ ทำให้นึกถึงพระราชบิดา จึงออกคำสั่งให้ปล่อยพระเจ้าพิมพิสารเป็นอิสระ แต่ก็สายเสียแล้ว อชาตศัตรูจึงแต่ร่ำไห้ เศร้าโศก เหตุเศร้าสลดนี้ยังความตรอมใจให้แก่พระราชชนนีป็นที่สุด แล้วก็สิ้นพระชนม์ตามพระสวามีไปในไม่ช้า พออุทัยภัททกุมารมีพระชนมายุได้ ๓๖ พรรษา ก็ทำปิตุฆาตเช่นเดียวกันอีก<O:p</O:p

    คุกที่ขังพระเจ้าพิมพิสารนั้นอยู่ในระยะที่มองเห็นยอดเขาคิชกูฏพอดี เมื่อตอนถูกขังใหม่ๆ อชาตศัตรูอนุญาตให้พระราชชนนีเข้าเยี่ยมได้องค์เดียว พระนางจึงลอบนำอาหารเข้าไปให้พระเจ้าพิมพิสารเสวยได้ แต่พอเรื่องรู้ไปถึงอชาตศัตรูก็ถูกกวดขันมากขึ้น พระนางก็แอบเอาอาหารทาตัวเพื่อไม่ให้ยามตรวจพบ แต่ในที่สุดก็ถูกจับได้ จึงถูกสั่งห้ามเยี่ยมเด็ดขาด ในห้องขังมีอากาศร้อน และเต็มไปด้วยควันไฟ ทั้งต้องอดอาหาร จึงทำให้พระเจ้าพิมพิสารได้รับทุกข์ทรมานแสนสาหัส แต่พอทอดพระเนตรเห็นชายผ้าเหลืองของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาเสด็จลงจากเขาคิชกูฏเพื่อบิณฑบาตก็เกิดความปิติเบิกบานพระทัย จึงเสด็จเดินจงกรม เจริญวิปัสสนา ทำให้ทรงลืมความทุกข์ไปได้พักหนึ่ง พระเจ้าอชาตศัตรูเห็นพระราชบิดายังคงมีพระชนม์ชีพอยู่ ก็ยิ่งพิโรธหนักขึ้น ถึงกับเตรียมพกมีดสั้นจะเข้าไปประหารด้วยมือตนเอง แต่อำมาตย์ใกล้ชิดห้ามไว้ จึงรับสั่งให้ช่างตัดผงแกล้งเอามีดแทงข้อพระบาทพระเจ้าพิมพิสาร เพื่อจะได้เสด็จเดินจงกรมไม่ได้ แล้วเอาเกลือกับน้ำมันทาแผลย่างไฟ ในที่สุดพระเจ้าพิมพิสารก็เสด็จสวรรคตในคุกนั้นเอง(ในขณะนี้พระบรมศาสดาทรงมีพระชนมายุ ๗๒ พรรษา)<O:p</O:p

    พระนางเขมาเทวี<O:p</O:p
    พระนางเขมาเทวีเป็นมเหสีอีกองค์หนึ่งของพระเจ้าพิมพิสารแห่งเมืองราชคฤห์ พระนางเป็นเบญจกัลยาณี สวยเลิศ พระเจ้าพิมพิสารมีพระประสงค์อยากให้นางได้เข้าเฝ้าพระบรมศาสดาเพื่อฟังธรรมบ้าง แต่นางไม่กล้าเพราะเกรงไปว่าพระพุทธองค์จะทรงตำหนิในรูปโฉมอันงดงามของพระนาง พระเจ้าพิมพิสารจึงหาอุบายที่จะชักจูงพาพระนางเข้าเฝ้าพระบรมศาสดาให้ได้ จึงทรงเสี้ยมสอนสนมรับใช้พระนางให้กล่าวคำชมเชยความงามของวัดเวฬุวันต่างๆนานา จนวันหนึ่งพระนางตัดสินใจเสด็จไปชมสวนรอบๆบริเวณวัด พวกอำมาตย์ทูลว่าพระราชารับสั่งให้เขานำพระนางเข้านมัสการลา ก่อนเสด็จกลับ มิฉะนั้นพวกอำมาตย์จะถูกลงโทษ พระนางก็จนพระทัยเสด็จเข้าไปในวิหาร ประทับนั่งอยู่ห่างๆ ขณะที่พระพุทธองค์กำลังทรงแสดงธรรมอยู่โดยมิได้หันมาทักทายพระนางเลย แต่ที่น่าประหลาดที่สุดคือ ทางเบื้องหลังของพระพุทธองค์ นางสังเกตเห็นว่ามีหญิงสาวสวยยิ่งกว่านางอีก กำลังยินถือพัดหางนกยูงโบกลมถวายพระพุทธ)องค์อยู่ กิริยาท่าทางของหญิงสาวนั้นอ่อนช้อยน่าดู ทำให้พระนางเขมาทรงสนพระทัยเป็นอย่างยิ่ง จะพิศส่วนไหนก็ดูงามละมุนละไมไปตลอด เครื่องทรงของนางก็งดงามประหลาด กระทัดรัด แวววาวเหมือนประดับด้วยเพชรนิลจินดาค่ามหาศาล(คือชมความงามที่สวยเลิศกว่าพระนางเอง) พระนางเขมาเทวีทรงนึกอยู่ในใจว่า ทำไมเธอจึงงามเช่นนี้หนอ มีเสน่ห์ดึงดูด แม้เราซึ่งเป็นสตรีเพศ พอเห็นเข้าก็ยังต้องหลงไหลในรูปโฉมของนางเสียแล้ว ทรงเปรียบเทียบกับตัวเองว่า แม้ตัวเราซึ่งนับว่าสวยอย่างจะหาผู้ใดในแถบนี้เปรียบอีกไม่ได้แล้ว แต่เมื่อมาเทียบกับนางผู้นี้ เราก็เหมือนคนอายุวัย ๔๐ แต่นางเหมือนเด็กสาวราว ๑๕ ปีเท่านั้น
    <O:p</O:p
    เมื่อพระนางเฝ้าดูไปเริ่อยๆ ก็ตกพระทัยด้วยนางผู้งามสดสวยแสนน่ารักนั้นค่อยๆเปลี่ยนจากหน้าตาที่เปล่งปลั่งยิ้มแย้ม กลายเป็นเหี่ยวแห้ง นัยน์ตาที่เคยแวววาวเป็นมันดำก็กลายเป็นมัวฝ้าฟาง ผมอันดำสลวยก็หงิกงอเป็นสีเหลืองแล้วก็หงอกขาวโพลน ผิวพรรณที่ผ่องใสก็แห้งเกรียมเหมือนคนเจ้าโรค และเหี่ยวย่น รูปร่างโซเซผอมลงๆ เหมือนคนหมดกำลังกลายเป็นยายแก่ หน้าตาน่าเกลียด ในที่สุดร่างนั้นก็หมดกำลังล้มลงกลายเป็นศพ เน่าผุพัง น้ำเหลืองไหลเยิ้ม มีกลิ่นสาบเหม็นฟุ้งไปทั่ว แล้วก็มีแร้งกามาจิกกัดกินดึงเอาไส้พุงออกมา ดูน่าเกลียด น่าขยะแขยง พระนางเขมาทรงเบือนพระพักตร์หนี หันไปจ้องดูพระพุทธองค์ก็พอดีจบพระธรรมเทศนา ทรงหันมาตรัสกับพระนางว่า “เขมา เธอได้เห็นความจริงจากนางนั้นแล้วไม่ใช่หรือ จงพิจาณาดูเถิด ร่างกายที่ว่าสดสวยนั้น มันก็เป็นเพียงรังที่อยู่ของหมู่หนอน เป็นอาหารของแร้งกาทั้งสิ้น บุคคลผู้ฉลาดย่อมไม่ติดอยู่ในสังขารร่างกาย ย่อมรู้เท่าทันมายาทั้งปวง เธอจงทำจิตใจให้มั่นคง พิจารณากายให้เห็นตามความเป็นจริง กายคนอื่นเป็นอย่างไร กายของเราก็เป็นอย่างนั้น ผู้ใดยินดีด้วยอำนาจราคะ ผู้นั้นย่อมไม่หลุดพ้น”
    <O:p</O:p
    พระนางเขมาได้น้อมจิตไปตามคำสอนของพระบรมศาสดา จิตของนางก็หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะทั้งปวง ต่อมาพระนางได้เข้าบวชเป็นภิกษุณีในพระพุทธศาสนา พระนางทรงเป็นเอตทัคคะในทางปัญญาสำหรับหญิงทั้งปวง<O:p</O:p

    พระนางรูปนันทา<O:p</O:p
    ที่เชตุวันมหาวิหาร ครั้งหนึ่งพระบรมศาสดาได้ทรงเทศนาโปรดพระนางรูปนันทาในเรื่องความงาม เป็นทำนองคล้ายคลึงเช่นเดียวกับที่ได้ทรงโปรดพระนางเขมาเทวี แห่งเมืองราชคฤห์ คือ พระนางรูปนันทาผู้มีความงามเป็นเลิศองค์หนึ่งในขณะนั้น ทรงเป็นราชธิดาของพระนางมหาปชาบดี และทรงเป็นพระน้องนางของพระนันทะ ได้ทรงรำพึงเห็นว่า พระญาติผู้ใหญ่ๆของพระนางได้ทรงเสด็จออกผนวชกันหมดแล้ว จึงตกลงพระทัยเสด็จออกผนวชตามไปด้วย แต่โดยแท้จริง พระนางทรงผนวชเพราะมีเสน่หาในพระญาติเท่านั้น หาใช่เพราะศรัทธาไม่ เมื่อบวชแล้วก็ไม่กล้าเผชิญพระพักตร์พระพุทธองค์ เพราะทรงเกรงจะถูกเทศนาสอนเรื่อง “รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา” วันหนึ่งพระนางประทับหลบมุมฟังพระธรรมเทศนาอยู่ พระพุทธองค์ได้ทรงเนรมิตรูปหญิงสาวสวย เริ่มแต่ถวายงานพัด แล้วก็เปลี่ยนไปเป็นคนแก่ เจ็บ ตาย เป็นต้น เช่นเดียวกับที่ได้ทรงโปรดพระนางเขมาเทวี พระนางรูปนันทาทรงเพลินไปกับภาพเนรมิตนั้น และทรงพิจารณาไปตามลำดับจนถึงสภาพที่หญิงสาวนั้น กลายเป็นซากศพอืดพองขึ้น มีน้ำหนอง และหมู่หนอนไหลออกทางทวารต่างๆ ก็ทรงมีดวงพระเนตรถึงธรรม เห็นอัตตภาพโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยงว่า “หญิงนี้ถึงซึ่งความแก่ เจ็บ ตาย ในที่นี้เอง ความแก่ ความเจ็บ และความตาย จักมาถึงอัตตภาพของเรา แม้อย่างนี้เหมือนกัน” <O:p</O:p

    พระบรมศาสดา ทรงสรุปพระธรรมเทศนาลงดังนี้<O:p</O:p
    อาตุร° อสุจึ ปูตึ<O:p</O:p
    ปสฺส นนฺเท สมุสสย°<O:p</O:p
    อุคฺฆรนฺต° ปคฺฆรนฺต°<O:p</O:p
    พาลาน° อภิปตฺถิต°<O:p</O:p
    “นันทา เธอจงดูซิ กายนี้อาดูรไม่สะอาด เป็นของเน่าเปื่อย มีของปฏิกูลไหลเข้าไหลออกอยู่เสมอ คนพาลเท่านั้นที่ปรารถนาอยากได้”

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2013
  17. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    หมอชีวกโกมารภัจจ์<O:p</O:p
    เกิดที่เมืองราชคฤห์ มารดาชื่อสาละวดี เป็นนางงามประจำเมือง ค่าตัวแพง เป็นลูกไม่มีพ่อ พอเกิดได้กี่วัน ก็ถูกนำไปทิ้งกองขยะข้างถนน เพราะเป็นประเพณีของหญิงงามเมืองในสมัยนั้นว่า ถ้ามีลูกเป็นหญิง จึงจะเลี้ยงไว้เพื่อสืบสกุลตำแหน่งนางงามต่อไป แต่ถ้าเป็นชายจะต้องนำไปทิ้งแม่น้ำ (นางคงสงสารบุตรเหมือนกัน จึงไม่นำไปทิ้งน้ำ แต่นำไปทิ้งกองขยะ เพราะให้ความหวังไว้ว่า คงจะมีคนมาพบเข้าแล้วเก็บเอาไปเลี้ยง จะได้มีชีวิตอยู่ต่อไป) เผอิญเจ้าฟ้าชายอภัยโอรสของพระเจ้าพิมพิสาร และเป็นน้องชายพระเจ้าอชาตศัตรู เสด็จผ่านมาทางนั้นได้ยินเสียงเด็กร้องจึงให้มหาดเล็กเก็บไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม ตั้งชื่อให้ว่า “ชีวกโกมารภัจจ์”<O:p</O:p

    ครั้นชีวกโกมารภัจจ์เจริญวัยขึ้น จึงทูลถามเจ้าชายอภัยว่า ใครเป็นพ่อแม่ของเขา เจ้าชายอภัยตอบว่า ผู้ที่เป็นแม่ของเขาพระองค์ไม่ทราบ แต่ผู้ที่เป็นพ่อนั้น คือพระองค์เอง เพราะได้เลี้ยงเขามาตั้งแต่เกิดใหม่ๆ (ในตำนานกล่าวว่า หมอชีวกมีน้องสาวด้วยคนหนึ่ง ชื่อนางศิริมา ซึ่งเมื่อเติบโตเป็นสาว ได้ดำรงตำแหน่งนางงามประจำเมืองราชคฤห์ และมีเรื่องเล่าว่า นางสวยงามหาหญิงอื่นเปรียบได้ยากพระภิกษุรูปหนึ่งเกิดหลงไหลในตัวนางจนจะบ้าคลั่ง พระพุทธองค์ทรงทราบ ประจวบกับนางศิริมาคนสวยป่วยล้มตายลงโดยกระทันหัน พระองค์จึงขออนุญาตพระเจ้าพิมพิสารบอกขายศพนั้น ก็ไม่มีผู้ใดยอมรับซื้อ แม้กระทั่งให้เปล่าก็ไม่มีใครต้องการ ทำให้ภิกษุสงฆ์องค์นั้นได้สติ รู้สำนึกในกิเลสของตัว และกลับใจได้)<O:p</O:p

    เมื่อเจริญวัยเป็นหนุ่มขึ้น ชีวกโกมารภัจจ์ได้หนีพระบิดาบุญธรรม ออกเดินทางด้วยเท้าเปล่าไปเรียนแพทย์ที่เมืองตักศิลา อาจารย์ใหญ่เห็นบุคลิกลักษณะของเขาสมที่จะเป็นแพทย์ที่ดีได้ ทั้งๆที่ไม่มีเงินค่าเล่าเรียน และเห็นใจในความมุมานะหนีบิดามาจากเมืองไกล เพื่อจะเรียนให้ได้ จึงรับเอาไว้เป็นศิษย์ เขาเล่าเรียนด้วยความเฉลียวฉลาดพากเพียร หาตัวจับได้ยาก อยู่ศึกษาได้ ๗ ปี ก็จะสำเร็จตามหลักสูตร จึงเข้าไปหาอาจารย์ขอรับใบรับรองคุณวุฒิการเป็นแพทย์ อาจารย์ได้ทดสอบความรู้ขั้นสุดท้าย โดยให้เขาไปขุดค้นหาสมุนไพรจากพันธุ์ไม้ป่า ในเขตเมืองตักศิลา และให้นำมาแต่สิ่งที่ใช้ทำยาไม่ได้ ชีวกแพทย์เข้าป่าหาสมุนไพรอยู่นานแรมเดือน ก็ไม่พบพฤกษชาติอันใดเลยที่ไม่ใช่ตัวยา จึงกลับมาเรียนให้อาจารย์ทราบ อาจารย์ก็บอกว่า “เธอได้เรียนจบหลักสูตรแพทย์แล้ว” เขาดีใจมากลาอาจารย์เดินทางกลับเมืองราชคฤห์ทันที พอเดินทางมาได้ไม่นาน เสบียงอาหารที่เตรียมมาก็หมดลง จึงได้ตัดสินใจเข้าไปพักในเมืองสาเกตชั่วคราว เพื่อใช้วิชาชีพแลกกับอาหาร ที่สาเกตมีภรรยารเศรษฐีคนหนึ่งป่วยเป็นโรคโพรงจมูกอักเสบ ทำให้เกิดปวดศีรษะ หายใจไม่สะดวก ได้รับการรักษามามากมายจากหมอผู้เชี่ยวชาญ และมีชื่อเสียงหลายคนก็ไม่หาย เสียเงินเสียทองไปเป็นอันมาก ป่วยอยู่ตั้ง ๗ ปีแล้ว หมอชีวกทราบเข้าจึงไปขันอาสา แต่เศรษฐีบอกว่า หมอแก่มีอายุได้รักษากันมามากแล้วมีแต่เก็บโกยเอาเงินค่ารักษาไป ไม่เห็นโรคจะทุเลาสักที หมอหนุ่มๆจะช่วยอะไรได้ ชีวกโกมารภัจจ์ก็ตอบว่า เอาเถิดจะรักษาให้ก่อน ถ้าไม่หายก็ไม่เอาเงิน ในที่สุดเศรษฐียอมตกลงให้รักษา หมอหนุ่มสำเร็จใหม่ก็ใช้เนยใสสองช้อนโต๊ะ ผสมด้วยตัวยาอีกสองสามอย่างหยอดจมูก ทำให้จมูกโล่ง หายใจสะดวกขึ้น ภายในไม่กี่วัน โรคไซนัสอักเสบของภรรยาเศรษฐีก็หายขาด ได้รับเงินรางวัลรวมหมดด้วยกัน ๑,๖๐๐ กหาปนะ (๑ กหาปนะ ประมาณเท่ากับ ๔ บาท) ตอนนี้หมอกลายเป็นเศรษฐีน้อยๆ เดินทางกลับเมืองราชคฤห์โดยรถม้าได้แล้ว เขาเข้าเฝ้าเจ้าชายอภัย ขอแบ่งเงินที่หามาได้ให้บิดาบุญธรรมของเขา แต่เจ้าชายอภัยกลับสรรเสริญคุณงามความดี ความกตัญญูกตเวทีของหมอ และไม่ยอมรับเงินที่บุตรบุญธรรมมอบให้ ยิ่งกว่านั้นยังมอบที่ดินมหาศาลภายในบริเวณวังของพระองค์ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของหมอชีวกโกมารภัจจ์ เพื่อปลูกบ้านอยู่อาศัยอีกด้วย

    ต่อมาไม่นาน พระเจ้าพิมพิสารทรงเป็นโรคริดสีดวงทวาร ผ้าภูษาที่นุ่งทรงอยู่เปื้อนเลือดแดงเปรอะไปหมด ถึงกับมีคนแอบนินทากันว่า พระเจ้าพิมพิสารมีประจำเดือน ทำให้พระองค์รู้สึกอับอายพวกสนมทั้งหลายมาก เจ้าฟ้าอภัยจึงนำชีวกโกมารภัจจ์เข้าไปถวายการรักษา ด้วยการใช้ยาทา ในไม่ช้าริดสีดวงก็ยุบหายไป พระเจ้าพิมพิสารจึงโปรดตั้งให้เป็นแพทย์หลวงประจำพระราชสำนักต่อไป รวมทั้งให้ถวายการรักษาแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และภิกษุสงฆ์ทั่วไปด้วย

    ยังมีเศรษฐีชาวเมืองราชคฤห์อีกคนหนึ่ง ป่วยเป็นโรคปวดศีรษะเหมือนกัน เป็นอยู่หลายปี ได้หาหมอผู้เชี่ยวชาญมีชื่อเสียงที่สุดหลายท่านในขณะนั้นมารักษาจนหมอทิ้งไข้หมด แถมคนสุดท้ายยังพยากรณ์โรคไว้ด้วยว่า จะตายภายในเจ็ดวันเป็นอย่างช้า อาศัยที่ท่านเศรษฐีเป็นคนใจดี ชาวบ้านรักใคร่เป็นอันมาก จึงมีการเดินขบวนไปร้องทุกข์ต่อพระเจ้าพิมพิสาร ขอพระบรมราชานุยาตให้หมอหลวงไปทำการรักษาไข้รายนี้ หมอชีวกตรวจพบว่าเป็นเนื้องอกในสมอง เขาจึงใช้สว่าน(Trephine) เจาะตรงบริเวณที่สงสัยว่ามีเนื้อร้ายอยู่ ก็ได้พบก้อนเนื้อสองชิ้น จึงตัดออกทิ้งเสีย แล้วเย็บแผลเข้าที่อย่างเดิม ภายในสามสัปดาห์ต่อมา อาการของท่านเศรษฐีก็ดีขึ้นเรื่อยๆจนหายเป็นปกติ หมอได้เอาเงินค่ารักษาจำนวนมากมายส่วนหนึ่งถวายพระเจ้าพิมพิสารเพื่อจะได้ทรงใช้จ่ายในการกุศลสงเคราะห์อย่างหนึ่งอย่างใดตามพระราชอัธยาศัย

    ชื่อเสียงของหมอชีวกโกมารภัจจ์โด่งดังมากขึ้นทุกที ได้รักษาโรคร้ายต่างๆในหลายแคว้นด้วยกันรอบๆกรุงราชคฤห์ เช่น พาราณสี อุชเชนี สาเกต เป็นต้น ที่แตว้นอุชเชนี พระเจ้าปัชโชติ เจ้าเมืองป่วยเป็นวัณโรคร้ายแรง จึงส่งฑูตไปทูลขอแพทย์หลวงประจำราชสำนักพระเจ้าพิมพิสารมาถวายการรักษา พระเจ้าปัชโชติเป็นกษัตริย์ที่ฉุนเฉียว ดุร้ายมาก จนคนทั้งหลายตั้งชื่อให้ใหม่ว่า พระเจ้าจัณฑะปัชโชติ(จัณฑะ แปลว่า ดุร้าย) สมัยนั้นเป็นการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราช ดีไม่ดีอาจรับสั่งประหารชีวิตเอาเสียเฉยๆเวลาทรงพระพิโรธขึ้นมา อีกอย่างหนึ่งคือว่า ทรงมีอัธยาศัยแปลกประหลาดไม่เหมือนคนอื่น คือเป็นโรคไม่ถูกกับเนยใส บังเอิญตัวยาในการรักษาวัณโรคของหมอชีวกจะต้องแทรกเนยใสด้วย หมอรู้สึกหนักใจ เพราะถ้าให้เสวยยาเข้าไปโดยวิธีเอาน้ำตาล หรือส้มมะขามเปียกหุ้มเคลือบตัวยาไว้ ภายหลังคนไข้อาจเรอออกมาเป็นกลิ่นเนยได้ ฉะนั้นก่อนการถวายยา หมอจึงขอสิทธิพิเศษคื
    <O:p</O:p
    ๑) ขอนุญาตให้ใช้พาหนะในวังได้ทุกอย่าง(สมัยนั้นช้างมีประโยชน์มาก บางตัวฝีเท้าเร็วจัดดีเหมือนกัน)<O:p</O:p
    ๒) ขอให้ออกจากวังได้ทุกประตู และเข้าออกได้ทุกเวลา<O:p</O:p

    พอหมอถวายยาเสร็จแล้ว ก็รีบแอบไปขึ้นช้างราชพาหนะตัวโปรดพิเศษ หนีออกจากเมืองอุชเชนีมุ่งสู่กรุงราชคฤห์ทันที และเป็นจริงดังที่หมอคาดไว้ พอพระเจ้าจัณฑปัชโชติเสวยยาลูกกลอนเข้าไปสองหรือสามครั้ง ก็เรอออกมาเป็นกลิ่นเนยใส ทรงพิโรธหมอมาก รับสั่งให้ราชองครักษ์คนสนิทที่มีฝีเท้าจัดออกติดตามทันที และไปทันกันที่เมืองโกสัมพีขณะที่หมอกำลังนั่งกินอาหารอยู่ แต่ราชองครักษ์ก็ถูกหมอหลอกให้กินมะขามป้อมที่หมอใส่สลอดติดปลายเล็บจิ้มลงไป ราชองครักษ์ก็มัวแต่ถ่ายท้อง หมอได้โอกาสรีบหนีกลับกรุงราชคฤห์โดยปลอดภัย ฝ่ายราชองครักษ์พอท้องหยุดถ่าย หายเพลียแล้วก็เดินทางกลับไปทูลพระเจ้าปัชโชติ ตัวเองนึกกลัวอยู่ตลอดเวลาว่า จะต้องถูกลงโทษถึงประหารชีวิตแน่ แต่เรื่องกลับตรงข้าม แทนที่เขาจะถูกพิโรธกริ้วกราด เขากลับได้เห็นพระพักตร์ของพระเจ้าปัชโชติยิ้มแย้มแจ่มใส ตรัสว่า “โรคของเราหายดีแล้ว เราเป็นหนี้ชีวิตต่อหมอชีวกมาก” จึงส่งผ้าเนื้อดีราคาแพงมาก(ผู้ที่จะใช้ผ้าชนิดนี้ได้ก็มีแต่พวกพระราชามหากษัตริย์เท่านั้น) ไปพระราชทานหมอชีวกที่ราชคฤห์ หมอชีวกได้ถวายผ้านี้แด่พระพุทธเจ้าเพื่อใช้เป็นจีวร ในเวลานั้น พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้พระภิกษุสามเณรใช้ผ้าสบงจีวรที่เย็บทำด้วยตนเอง โดยใช้ผ้าห่อศพที่เขาทิ้งไว้ตามป่าช้าบ้าง ตามป่าบ้าง ตามแต่จะหาได้มาเย็บรวมกันเป็นสบงจีวร ทั้งนี้ก็เพื่อให้ประหยัด และเป็นการไม่เบียดเบียนใคร ไม่ต้องการความสวยงามหรูหราตามหลักสันโดษในพระพุทธศาสนานั่นเอง

    หมอชีวกเป็นคนแรกที่ทูลขอให้ทรงรับผ้าที่เขาถวายเพื่อใช้ทำสบงจีวร และก็ทรงรับโดยดุษณีภาพ แต่นั้นมาก็ทรงอนุญาตให้ภิกษุสามเณรใช้ผ้าที่มีผู้นำมาถวายเป็นสบงจีวรได้ แต่ห้ามไปขอเขาเอง หลังจากนี้ไม่นานนัก หมอชีวกได้รับผ้าสักหลาดอย่างดีราคาสูงจากพระเจ้ากาสี(เมืองพาราณสี) ทรงส่งมาพระราชทานเป็นรางวัลแก่หมอ หมอจึงนำขึ้นทูลถวายพระพุทธองค์ ทรงโมทนา และก็อีกครั้งหนึ่งที่ทรงประกาศอนุญาตให้พระภิกษุสงฆ์ใช้ผ้าสักหลาดได้เพื่อใช้กันหนาว(นี่แสดงให้เห็นว่า ผ้าสักหลาดนั้นเป็นของมีมานานแล้ว และเมืองที่ผลิตทำผ้าชนิดนี้ก็คือเมืองกาสี)
    <O:p</O:p
    ในด้านการศาสนา หมอชีวกได้รับเกียรติเป็นแพทย์ประจำองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และภิกษุสงฆ์สามเณรทั่วไป หมอถวายการรักษาพยาบาลโดยมิได้คิดมูลค่าแต่อย่างใด หมอทำด้วยหวังผลบุญกุศลโดยแท้ ครั้งหนึ่งพระพุทธองค์ทรงอาพาธ มีพระประสงค์จะฉันยาถ่าย จึงรับสั่งให้พระอานนท์ไปขอยาหมอชีวก หมอชีวกได้ทูลขอให้ทรงพักผ่อนเสียสองสามวัน พอให้มีพระวรกายแข็งแรง ได้หายเหนื่อยจากงานหนักตรากตรำเสียก่อน แล้วจึงถวายยาระบายชนิดอ่อน คือเป็นยาสูดดมเข้าทางจมูก โดยใช้ตัวยาอบใส่ในก้านบัวสามก้าน ก้านบัวอบยาแต่ละก้าน เมื่อสูดดมเข้าไปแล้ว จะทำให้ถ่ายท้องก้านละ ๑๐ ครั้ง คือระบายสิ่งที่หมักหมม หยาบ กลาง และละเอียด ออกจากร่างกายจนหมด เมื่อทรงถ่ายได้ ๒๙ ครั้ง จึงทรงสรงน้ำ ยานั้นจะถ่ายอีกครั้งหนึ่ง เป็นอันว่าครบ ๓๐ ครั้ง หมดฤทธิ์ยาพอดี หมอได้แนะนำอีกว่า หลังจากฉันยาถ่ายแล้ว ไม่ควรเสวยอาหารที่ปรุงด้วยน้ำต้มผักต่างๆ เพราะน้ำต้มผักจะฟอกล้างลำไส้ ไม่ควรไปล้างลำไส้เพิ่มเติมเข้าอีก หลังจากถ่ายยาใหม่ๆ ควรเสวยแต่อาหารอ่อนที่ย่อยง่ายเท่านั้น

    ในชีวิตที่มีแต่คุณงามความดีของหมอ ได้มีดอกาสกราบถวายที่ดินสวนมะม่วงแปลงหนึ่ง อยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองราชคฤห์นัก สร้างเป็นวัดใหญ่ถวายแด่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพุทธาวาส และสังฆาวาส ให้ชื่อว่า วัดชีวกัมพวัน ซึ่งนับว่าใหญ่พอๆกับวัดเวฬุวัน ที่พระเจ้าพิมพิสารสร้างถวายพระพุทธองค์ อันเคยเป็นที่ประชุมสงฆ์สันนิบาตจำนวน ๑,๒๕๐ รูปมาแล้ว ที่นับว่าสำคัญมากในชีวประวัติของหมอชีวก ก็ได้แก่การชี้แจงชักจูงเอาพระเจ้าอชาตศัตรูให้หันเข้ามารับนับถือพุทธศาสนา จนกลายเป็นองค์ศาสนูปถัมภกที่สำคัญพระองค์หนึ่งในที่สุด พระเจ้าอชาตศัตรูสมัยที่ยังหนุ่มฉกรรจ์อยู่ เกิดหลงผิด ถูกพระเทวทัตใช้ฤทธิ์มนต์คาถา ข่มขู่ ทำให้เลื่อมใสศรัทธาในเทวทัต จนถึงกับยอมมอบตัวเองเป็นสานุศิษย์ ถวายการอุปถัมภ์บำรุงพระเทวทัตอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังถูกเทวทัตยุยงให้ทำปิตุฆาต แล้วสถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินปกครองแคว้นมคธต่อไป แต่ภายหลังก็ทรงกลับตัวได้ หันกลับมาเลื่อมใสนับถือพระบรมศาสดาอย่างชีวิตจิตใจ

    เรื่องมีว่า หลังจากพระเจ้าอชาตศัตรูได้ปลงพระชนม์ชีพพระเจ้าพิมพิสาร ราชบิดาเพราะเชื่อถ้อยคำยุยงของพระเทวทัตแล้ว ต่อมาพระเทวทัตได้ทำลายคณะสงฆ์ให้แตกแยกกันแล้วก็เกิดโรค จึงให้บริวารหามตนไปด้วยคานหามสู่กรุงสาวัตถี เพื่อจะทูลขอให้พระศาสดายกโทษให้ถูกธรณีสูบที่ประตูพระเชตวันมหาวิหาร พระเจ้าอชาตศัตรูทรงทราบข่าวก็เร่าร้อนใจว่า พระเทวทัตเป็นศัตรูต่อพระพุทธองค์แล้วถูกแผ่นดินสูบลงไปในอเวจีมหานรกทั้งเป็น ส่วนตัวเองก็ได้ฆ่าพ่อเพราะอาศัยคำแนะนำของเทวทัต ตัวเราจะถูกธรณีสูบไหมหนอ คิดดังนี้แล้วเกิดกลัวจนบรรทมไม่หลับ เห็นภาพหลอนต่างๆ เช่น ได้เห็นนายนิรยบาลแทงด้วยหอกแหลนหลาว จับลงกะทะทองแดงฝูงสุนัขในนรกพากันแย่งยื้อกัดกินตัวพระองค์ ในวันเพ็ญคืนหนึ่ง แสงจันทร์สาดกระจายไปทั่ว ได้ทรงประชุมมหาอำมาตย์ราชบริพาร ทรงเล่าเรื่องที่กลัดกลุ้มพระทัยในการปลงพระชนม์ชีพพระราชบิดา เพราะพระเทวทัดเสี้ยมสอน แล้วตรัสถามว่า ในเวลากลางคืนเดือนหงายสวยงามอย่างนี้สมควรที่จะไปหาสมณะพราหมณ์ผู้มีศีลธรรมคนใดดี จึงจะสามารถแนะนำทำให้จิตใจสงบลงได้บ้าง อำมาตย์ต่างแนะนำให้ไปหาเดียรถีย์อาจารย์ต่างๆของตน คณาจารย์หกท่านที่นับว่ามีชื่อเสียงที่สุดในสมัยนั้น และกล่าวสรรพคุณมากมายของปูรณะกัสสป มักขสิโคสาลอชิตะเกสกัมพล ปกุธะกัจจายนะ สญชัย เวลัฏฐบุตร และนิครนธ์นาฏบุตร พระเจ้าอชาตศัตรูเคยได้พบเดียรถีย์อาจารย์เหล่านี้มาแล้ว ไม่เคยสนใจในคำสอนของเขาเลย และก็ไม่เคยเกิดศรัทธาสักคนเดียว จึงทรงนิ่งเสีย หมอชีวกได้โอกาสที่จะช่วยทำการเผยแพร่พุทธศาสนา จึงกราบทูลแนะนำให้ไปเฝ้าพระพุทธองค์ พระเจ้าอชาตศัตรูทรงเห็นด้วยกับความคิดของหมอชีวก

    ตกลงคืนนั้นนั่นเอง พระเจ้าอชาตศัตรูได้พากองทหารไปเฝ้าพระบรมศาสดาที่วัดชีวกัมพวัน พระพุทธองค์ทรงตรัสทักทายขึ้นก่อน ถามเรื่องทั่วๆไปเกี่ยวกับพระราชกิจ คือถ้าพระองค์ไม่ทรงปราศัยขึ้นก่อน พระเจ้าอชาตศัตรูอาจช็อคตาย เพราะได้เคยคิดร่วมกับพระเทวทัตมุ่งร้ายพระองค์ต่างๆนานา พอทรงเห็นว่าพระพุทธเจ้าไม่ทรงถือโทษตนก็ดีใจ พระศาสดาทรงเทศน์เรื่องสามัญญผล ความดีที่บุคคลทำไว้ต่างๆกัน พระเจ้าอชาตศัตรูประทับสดับฟังพระธรรมเทศนาจบลงแล้วก็มีความโสมนัสยินดีถวายตัวเป็นอุบาสก นับถือพุทธศาสนา และทรงขอขมาโทษต่อพระพุทธองค์ แล้วเสด็จกลับ แต่นั้นมาพระเจ้าอชาตศัตรูก็ทำบุญทำทาน รักษาศีล และทรงเป็นพระศาสนูปถัมภกสำคัญองค์หนึ่ง

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2013
  18. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    พระมหากัสสป
    เป็นบุตรกบิลพราหมณ์กัสสปโคตร ในหมู่บ้านมหาติตถะ แคว้นมคธ ชื่อเดิมว่า ปิปผลิมานพ พ่อแม่จะให้แต่งงาน ปิปผลิมานพเป็นคนไม่ชอบเพศตรงข้าม อยากแต่จะบวชอย่างเดียว จึงพูดบ่ายเบี่ยงให้ช่างทองหล่อรูปเล็กๆเป็นหญิงสาวสวยขึ้นรูปหนึ่ง แต่งตัวให้งามแล้วบอกแม่ว่า ถ้าได้พบหญิงงามอย่างรูปปั้นนี้เมื่อใด ก็จะยอมแต่งงานด้วย เศรษฐีผู้บิดาจึงให้พราหมณ์ ๘ คน นำเอารูปทองเที่ยวไปตามเมืองต่างๆ เมื่อพบสาวใดมีลักษณะเหมือนรูปปั้นนี้ก็ให้เอาทองนั้นหมั้นหมายไว้ก่อน พอถึงเมืองสาคละ แคว้นมคธ สาวใช้นางภัททาเห็นรูปทองเข้าก็ตกใจบอกว่ารูปปั้นนี้เหมือนนายของตนเหลือเกิน พราหมณ์ ๘ คนได้ยินเข้าจึงขอให้สาวใช้พาไปพบนางภัททาที่บ้าน แล้วเอารูปปั้นทองคำนั้นหมั้นสาวไว้ และรีบแจ้งให้เศรษฐีกบิลพราหมณ์ทราบ ปิปผลิมานพไม่มีความประสงค์จะแต่งงานกับหญิงใดๆทั้งสิ้น จึงเขียนหนังสือให้พราหมณ์ถือมาเพื่อแอบให้นางภัททา บอกว่าอย่าได้เสียใจเลย ตัวเขาจะออกบวช นางภัททาก็เช่นกันไม่ประสงค์จะแต่งงานอยากจะออกบวช จึงแอบเขียนสาสน์ถึงปิปผลิมานพ ใจความคล้ายคลึงกันคนเดินสาสน์ทั้งสองทั้งสองข้างมาพบกันกลางทาง เลยเปลี่ยนใจความในสาสน์เสียใหม่ว่า ทั้งสองยินดีเต็มใจจะแต่งงานกัน ในที่สุดก็ต้องแต่งกัน ตั้งแต่วันที่ส่งตัวเข้าเรือนหอ ทั้งสองจะเอาช่อดอกไม้วางคั่นไว้กลาง สัญญากันว่าจะไม่เกี่ยวข้องกันเลย และดอไม้ของใครเหี่ยวก่อนก็แสดงว่าคนนั้นจะออกบวชละ วันหนึ่งปิปผลิมานพพูดกับนางว่า ทรัพย์สมบัติทั้งหมดที่ฉันมีอยู่ ขอมอบให้นาง ฉันจะออกบวชละ นางก็ตอบว่า ฉันก็คอยให้เธอพูดเช่นนี้อยู่เหมือนกัน ตกลงทั้งสองก็ออกบวชพร้อมกัน แยกทางกันไป เกิดพายุใหญ่แผ่นดินไหว อากาศวิปริตเป็นมหัศจรรย์ พระบรมศาสดาประทับอยู่ที่เวฬุวันมหาวิหาร ทรงทราบเหตุที่อากาศเกิดวิปริต จึงเสด็จมาแต่ลำพังพระองค์ เป็นระยะทางกว่า ๒๐ ก.ม. เข้าประทับภายใต้ต้นไทรระหว่างเมืองราชคฤห์ กับนาลันทาต่อกัน ปิปผลิมานพมาพบพระองค์ ทางเปล่งรัศมีงดงามยิ่งนักก็นึกว่า "ท่านผู้นี้คงจะเป็นพระศาสดาของเราแน่ เราจะขอบรรพชากับท่าน" แล้วก็เข้าไปเฝ้ากราบขอบรรพชา พูดอยู่สามครั้งว่า
    "ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงเป็นศาสดาของข้าพเจ้าเถิด ข้าพเจ้าขอเป็นสาวกของพระองค์"
    พระพุทธองค์ก็ทรงบรรพชาให้ด้วยโอวาทสามข้อมีใจความว่า
    "กัสสปะ ท่านพึงศึกษาว่าเราจะเข้าไปตั้งความละอายและความเกรงกลัวอย่างมากต่อภิกษุทุกๆขั้น ๑ เราจะเงี่ยหูฟังธรรมที่เป็นกุศล และพิจารณาเนื้อความของมัน ๑ เราจะไม่ยอมขาดสติกำหนดพิจารณาร่างกายเป็นอารมณ์ ๑ ครั้นแล้วก็เสด็จจาริกต่อไป และเข้าประทับพักผ่อนที่ร่มไม้แห่งหนึ่ง พระมหากัสสปะจึงพับผ้าสังฆาฏิของท่านเป็นสี่ชั้นแล้วปูถวาย พระพุทธองค์ก็เสด็จประทับนั่งบนผ้าสังฆาฏินั้น ทรงลูบคลำผ้าแล้วตรัสว่า
    "กัสสปะ ผ้าสังฆาฏิของเธอนี้อ่อนนุ่มดีมาก"
    พระกัสสปะจึงทูลถวาย
    ตรัสว่า
    "แล้วเธอจะเอาอะไรห่มเล่า"
    พระกัสสปะจึงทูลขอแลกกับผ้าสบงของพระองค์ พระศาสดาจึงตรัสว่า
    "ผ้าบังสุกุลผืนนี้เราใช้เก่าแล้ว เธอจะใช้ได้หรือ ผ้านี้เมื่อเราชักบังสุกุลมาจากร่างศพของนางปุณณทาสีที่ทอดทิ้งอยู่ในอามกสุสานป่าช้าผีดิบ ก็เกิดอาการวิปริตเป็นอัศจรรย์ ครั้งหนึ่ง ผ้านี้ภิกษุผู้มีความบริสุทธิ์น้อยไม่อาจทรงได้ ส่วนผู้ที่มีชาติถือบังสุกุลอยู่ และสามารถจะทำข้อปฏิบัติอันนี้ได้เต็มที่จึงจะใช้ได้" ตรัสแล้วก็ทรงแลกเปลี่ยนผ้ากับพระมหากัสสปะ
    พระมหากัสสปะดีใจอุทานว่า
    "บัดนี้เราได้ผ้าที่พระพุทธเจ้าทรงใช้ เราควรจะทำสิ่งใดให้ยิ่งๆขึ้นไปดีหนอ"

    แล้วพระเถระก็สมาทานธุดงควัตร์ ๑๓ ข้อ ท่านปฏิบัติด้วยความเพียรไม่ประมาท เป็นปุถุชนอยู่ ๗ วัน นับแต่วันที่บรรพชา พออรุณขึ้นในวันที่ ๘ ก็ได้สำเร็จพระอรหันต์พร้อมปฏิสัมภิทา ๔ ต่อมาในภายหลัง พระศาสดาทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเลิศยอดเยี่ยมกว่าภิกษุทั้งหลายผู้ทรงธุดงค์ คือสันโดษยินดีด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ เภสัช ตามมีตามได้

    เมื่อพระพุทธองค์ปรินิพพาน และถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแล้วได้ ๗ วัน ท่านแสดงความดำริในการสังคายนาพระธรรมวินัยให้เป็นหลักฐาน พระอรหันต์สาวกทั้งหลายมีความเห็นชอบด้วย มอบธุระให้ท่านเป็นประธานจัดการตามที่ปรารภ ท่านก็เลือกพระอรหันต์ที่แตกฉานในปฏิสัมภิทา เป็นการกสงฆ์ ๕๐๐ องค์ พระอุบาลีเป็นผู้วิสัชนาพระวินัยปิฎก พระอานนท์เป็นผู้วิสัชนาพระสุตตันตปิฎก กับพระอภิธรรมปิฎก ได้พระเจ้าอชาตศัตรูเป็นศาสนูปถัมภก ประชุมอยู่ ๗ เดือนจึงสำเร็จ ท่านมีอายุ ๑๒๐ ปี จึงดับขันธปรินิพพาน

    พระราธะเถระ
    พระบรมศาสดาขณะประทับอยู่ ณ เวฬุวนาราม มีพราหมณ์คนหนึ่งชื่อ ราธะ มีศรัทธาอุตสาหะใคร่จัอุปสมบท ภิกษุทั้งหลายไม่ยอมสงเคราะห์ช่วยเหลือบรรพชาให้ พราหมณ์เสียใจจนร่างกายซูบผอม พระพุทธองค์ทอดพระเนตรเห็น ตรัสถามได้ความว่า ไม่มีภิกษุใดรับสงเคราะห์อุปการะจริง จึงตรัสถามในที่ประชุมสงฆ์ว่า ผู้ใดระลึกอธิการคุณของราธะพราหมณ์ผู้นี้ได้บ้าง พระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าพระองค์ระลึกได้ว่า เมื่อครั้งเข้าไปบิณฑบาตในเมืองราชคฤห์ พราหมณ์ผู้นี้เคยเอาข้าวใส่บาตรให้ทัพพีหนึ่ง พระพุทธองค์ตรัสว่า ถ้ากระนั้นสารีบุตรจงเป็นผู้อุปสมบทให้พราหมณ์ผู้นี้เถิด พระสารีบุตรทูลถามว่า จะให้พราหมณ์ผู้นี้อุปสมบทอย่างไรเล่า พระบรมศาสดาทรงปรารภเหตุนั้น จึงให้ประชุมสงฆ์ แล้วตรัสให้เลิกสรณคมนุปสัมปทาเสีย ทรงอนุยาตอุปสมบทด้วยบัญญัติ จตุตถกัมมวาจา (คือผู้อุปสมบทจะต้องมีภิกษุรับรอง เรียกว่า พระอุปัชฌาย) กับทั้งวิธีมิให้ถืออุปัชฌาย์ก่อนเป็นต้น แล้วปรารภเหตุนั้นๆ ทรงบัญญัติอุปสมบทวิธีให้เจริญขึ้น จนถึงให้อนุศาสนกรณียากรณียะเป็นที่สุด เป็นวินัยนิยมในการอุปสมบทภิกษุแต่นั้นมา พระราธะได้อุปสมบทในท่ามกลางสงฆ์ ด้วยญัตติจตุตถกัมมเป็นองค์แรกในพระพุทธศาสนา ท่านปฏิบัติตามโอวาทของพระสารีบุตรผู้อุปชฌาย์ ในที่สุดก็ได้บรรลุพระอรหัตตผลเป็นยอดแห่งภิกษุผู้ว่าง่าย

    แต่เดิมก่อนหน้านี้ การบรรพชาอุปสมบทกุลบุตรสำเร็จได้ด้วย ๒ วิธีคือ
    ๑)เอหิภิขุอุปสัมทา สำเร็จด้วยพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างเดียว
    ๒)ทรงอนุญาตให้พระภิกษุอาจารย์อุปสมบทกุลบุตรได้ด้วยสรณคมนพจน์ทั้งสาม คือ ให้โกนผม และหนวดออกก่อนแล้ว ให้นุ่งห่มผ้าย้อมฝาด และกระทำผ้าห่มเฉียงบ่าข้างหนึ่ง แล้วให้กราบพระภิกษุทั้งหลาย และให้นั่งยองๆประณมมือ แล้วให้รับสรณคมห์ ตั้งแต่พุทธ° สรณ° คฺจฉามิ จนถึง ตติยมฺปิ สงฺฆ° สรณ° คฺจฉามิ เท่านี้ให้ถูกถ้วนทุกประการ กุลบุตรนั้นก็เป็นอุปสัมปัน สำเร็จด้วยสรณคมมนุปสัมปทา

    ตะโปนที
    สมัยพุทธกาลเรียกว่า ตะโปธาร หรือตะโปนที เป็นแม่น้ำลำธารเล็กๆที่มีน้ำแร่อุ่นอยู่เสมอ บ่อนี้อยู่ติดกับวัดเวฬุวัน นอกเมืองราชคฤห์ พระพุทธองค์ และภิกษุสงฆ์ใช้เป็นที่สรงน้ำทุกวัน พระเจ้าพิมพิสารทรงสั่งเด็ดขาดให้ปิดเปิดประตูเมืองตามเวลา ใครจะเข้าออกภายหลังประตูเมืองปิดแล้วไม่ได้ วันหนึ่งพระเจ้าพิมพิสารเสด็จเงียบแต่ลำพัง ตั้งพระทัยว่า จะลงสรงน้ำแร่ศักดิ์สิทธิ์ที่บ่อนี้ แต่ลงสรงไม่ได้ เพราะมีภิกษุสงฆ์จำนวนมากออกจากวัดเวฬุวัน ผลัดกันลงเล่นน้ำดำผุดดำว่ายอย่างสนุกสนาน พระเจ้าพิมพิสารเฝ้าคอยอยู่ พระก็ยังไม่ขึ้นจากบ่อสักที จนค่ำประตูเมืองปิด ท่านเป็นกษัตริย์ที่รักษาระเบียบวินัยเคร่งครัด ไม่ยอมทำลายคำสั่งของพระองค์เอง โดยอาจรับสั่งให้ทหารเปิดประตูเมืองให้ก็ได้ แต่พระองค์ก็ไม่ทรงแสดงอาการพิโรธโกรธแค้นอันใด เพราะทรงเกรงพระทัยพระพุทธเจ้าอย่างยิ่ง จึงเสด็จไปเฝ้าพระพุทธองค์เพื่อฟังธรรม และขออาศัยบรรทมด้วยคืนหนึ่ง พระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า การที่พระสงฆ์ลงเล่นน้ำเป็นเวลานานเช่นนี้ ไม่สมควรอย่างยิ่ง จนเป็นเหตุให้พระเจ้าแผ่นดินไม่ได้สรงน้ำทันเวลา และกลับเข้าภายในพระนครไม่ได้ หากเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงขึ้น เช่น คนคิดกบฏจับพระราชาเพื่อแย่งชิงราชสมบัติ คนทั้งหลายจะติฉินนินทาได้ จึงทรงบัญญัติห้ามมิให้ภิกษุสงฆ์ลงอาบน้ำแล้วว่ายไปมาเล่นกันในสถานที่เปิดเผย และสำหรับพระสงฆ์ในมัชฌิมประเทศ(มัชฌิมประเทศ หมายถึงจังหวัด หรือนครที่อยู่ในส่วนกลางๆของดินแดน ส่วนปัจจันตประเทศเป็นหัวเมืองที่อยู่ในชนบทคล้ายๆบ้านนอกชายแดนเรียกว่าไกลจากความเจริญ) ห้ามมิให้ลงอาบน้ำทุกวัน ให้อาบน้ำ ๑๕ วันต่อครั้งหนึ่ง ส่วนในปัจจันตประเทศทรงอนุญาตให้อาบได้ทุกวัน ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ไปรบกวนความสุขของชาวบ้าน เพราะชาวบ้านเป็นผู้ครองเรือน ต้องทำมาหากินจึงมีความจำเป็นต้องอาบน้ำมากกว่าภิกษุสงฆ์

    ปัจจุบันตะโปนทีได้กลายเป็นสถานที่อาบน้ำร้อนศักดิ์สิทธิ์ มีท่อน้ำร้อนหลายท่อ ไหลอยู่เรื่อย มีควันไออุ่นลอยให้เห็น ชาวอินเดียถือว่าเป็นน้ำแร่ศักดิ์สิทธิ์ ด้วยอำนาจพระพรหมบันดาลให้เป็นน้ำยาเพื่อดื่ม และอาบ แก้สารพัดโรค สุดแท้แต่จะอธิษฐานให้แก้โรคอะไร ตะโปนทีจึงคล้ายที่พักฟื้น และเมืองตากอากาศเล็กๆแห่งหนึ่ง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2013
  19. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    นาลันทา
    เป็นที่ตั้งมหาวิทยาลัย หรือสถานศึกษาพุทธศาสนาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก สามารถบรรจุพระสงฆ์นักศึกษาได้นับจำนวนหมื่น นับแต่ปีพ.ศ. ๑๐๐๐ ถึง ๑๗๐๐ มีอาจารย์มีชื่อเสียงโด่งดังหลายท่าน อาทิเช่น ท่านศีลภัทร์ สันตรักษิตา และอติสาทิฆัมพร เป็นต้น เมืองนี้เดิมเป็นที่กำเนิดของพระโมคคัลลานะ และพระสารีบุตร พระพุทธองค์ได้เสด็จมาที่นี่หลายครั้ง ปัจจุบันมีพิพิธภัณฑสถานตั้งอยู่ มีพระพุทธรูปงามๆหลายองค์ที่เก็บมาจากซากสลักหักพังของตัวมหาวิทยาลัย นอกจากนั้นยังมีซากสลักหักพังของนาลันทา ปรากฎอยู่ในบริเวณอาณาเขตที่กว้างใหญ่ไพศาลสุดสายตา

    หลังจากเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วประมาณ ๒๐๐ ปีเศษ ต่อมาพระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงทำนุบำรุงฟื้นฟูพระพุทธศาสนาจนนับได้ว่าเจริญรุ่งเรืองที่สุดจนจะเรียกว่าเป็นศาสนาประจำชาติก็ว่าได้ ทำให้เป็นที่อิจฉาริษยาของคณาจารย์ในศาสนาอื่นๆทั่วไป จนกระทั่งในที่สุดกองทัพมุสลิมบุกโจมตีอินเดียได้เกือบทั้งหมด เว้นอัสัม และบอมเบย์ กองทหารมุสลิมยกพลพรรคเข้าตะลุมบอนฆ่าฟันพระภิกษุสงฆ์ นักศึกษานับพันๆ แล้วทำลายโบสถ์วิหารเจดีย์ ปูชนียสถานในมหาวิทยาลัยจนเกือบหมดสิ้น พระที่ถูกฆ่าตายเกลื่อนกลาดก็ถูกเขาขุดดินกลบกองเป็นภูเขาย่อมๆ ต่อมาเขาตั้งหน่วยสอดแนม หรือแนวที่ห้า คอยดูว่าใครจะแสดงตนเป็นผู้นับถือพุทธศาสนาบ้าง เขาก็จับฆ่าหมด ปู่ย่าตายายที่สอนลูกหลานให้รักษาศีล สวดมนต์ไหว้พระก็จะถูกทารุณกรรมอย่างหนัก ชั่วชีวิตคนคนเดียว คือ ๕๐ หรือ ๖๐ ปีเท่านั้น อนุชนรุ่นหลังก็แทบจะไม่รู้จักคำว่า พุทธศาสนา เลย เรียกว่าพุทธศาสนาได้ถูกกลืนหายหมดไปจากอินเดียนับแต่นั้นมา ในที่สุดก็เป็นมุสลิมไปทั่วอินเดีย แม้ฮินดูซึ่งเป็นฝ่ายพราหมณ์ เจ้าของบ้านดั้งเดิมแท้ๆ ก็ยังถูกมุสลิมแทรกแซงทั่วไปหมด

    แคว้นมคธนับว่าเป็นที่ที่สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา ดังนี้คือ
    ๑) ตลอดเวลา ๖ ปี ที่ทรงแสวงหาโมกขธรรม ก่อนได้ตรัสรู้นั้น พระองค์ประทับอยู่ในแคว้นมคธ

    ๒) ตรัสรู้ที่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม และทรงประกาศพุทธศาสนา ตั้งหลักได้มั่นคงที่แคว้นนี้เป็นแห่งแรก

    ๓) พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ และพระมหากัสสป เป็นต้น เป็นชาวมคธ

    ๔) วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา คือ เวฬุวนาราม หรือเวฬุวัน

    ๕) การทำสังคายนาร้อยกรองพระธรรมวินัย สองในสามครั้งที่ทำในอินเดียก็ทำกันที่แคว้นมคธ

    ๖) ประมาณ ๒๐๐ ปีเศษ หลังจากดับขันธปรินิพพาน พระเจ้าอโศกมหาราชเป็นใหญ่ในอินเดีย ได้ย้ายเมืองหลวงไปอยู่เมืองปาตลีบุตร(ปัตนา) ได้ทรงเผยแผ่พุทธศาสนาไปยังดินแดนต่างๆทั้งใน และนอกประเทศอินเดีย และพระพุทธศาสนาก็มั่นคงมากอยู่ในแคว้นมคธนี้ตลอดมา จนกระทั่งปี พ.ศ. ๑๗๔๓ พุทธศาสนาได้ถูกทำลายลงโดยราบคาบจากฝีมือของพวกมุสลิมชาติเตอร์ก
    ที่เมืองปาตลีบุตร(ปัตนาในปัจจุบันนี้) ได้มีการขุดสำรวจที่กุมรหาร์(Kumrahar) เข้าใจกันว่า จะเป็นที่ตั้งวัดอโศการาม อันเป็นวัดที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ และได้เป็นที่ชุมนุมสงฆ์ทำสังคายนาครั้งที่สาม ภายใต้การอุปถัมภ์ของพระเจ้าอโศกมหาราช

    ๗) ลัฏฐิวัน ที่ซึ่งพระพุทธองค์เสด็จประทับเมื่อเสด็จมากรุงราชคฤห์ครั้งแรกหลังจากการตรัสรู้

    ๘) ก.ยอดเขาคิชกูฏ มีซากพระคันธกุฏีเหลืออยู่ พระพุทธองค์ทรงชอบใช้เป็นที่เสด็จประทับพักผ่อนมากแห่งหนึ่ง เพราะอากาศบริสุทธิ์สบาย

    ข.ถ้ำสุกรขาตา ก่อนถึงยอดเขาคิชกูฏ ที่ซึ่งพระสารีบุตรได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ขณะถวายงานพัดเมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมแก่หลานชายพระสารีบุตรซึ่งมาตามหาลุง

    ค.ถ้ำพระโมคคัลลานะบนเขาคิชกูฏ

    ๙) วัดชีวกัมพวัน อารามสวนมะม่วงของหมอชีวกโกมารภัจจ์ที่ซึ่งพระเจ้าอชาตสัตรูได้เสด็จมาเฝ้าสารภาพความผิดต่อพระพุทธองค์ และได้ทรงแสดงสามัญญผลสูตรถวาย

    ๑๐) ตะโปทา บ่อน้ำร้อนใกล้กับวัดเวฬุวัน ซึ่งมีเรื่องเกี่ยวข้องอยู่หลายเรื่อง

    ๑๑) ปิปผลิคูหา ถ้ำที่พระมหากัสสปชอบใช้เป็นที่พำนัก และพระบรมศาสดาเคยเสด็จมาเยี่ยม

    ๑๒) ถ้ำสัตตบัณณคูหา อยู่เหนือถ้ำปิปผลิคูหาชึ้นไป ณ ไหล่เขาเวภาระ สถานที่ซึ่งพระอรหันต์สังคีติกาจารย์ทั้งหลายประชุมกันทำปฐมสังคายนา

    ๑๓) อัมพลัฏฐิกา สถานที่ทรงแสดงพรหมชาลสูตร(อยู่ระหว่างกุ่งกลางราชคฤห์กับนาลันทา)

    ๑๔) พหุปุตตกวิโครธ อยู่ระหว่างราชคฤห์ กับนาลันทา ที่ซึ่งพระมหากัสสปได้พบ และได้รับอุปสมบทจากพระพุทธองค์

    ๑๕) ป่าสีตวัน ที่ซึ่งอนาถบิณฑิกะเศรษฐีมหาอุบาสกได้พบ และเข้าเฝ้าพระพุทธองค์เป็นครั้งแรก

    ๑๖) กาฬสิลา ที่ซึ่งพระโมคคัลลานะถูกพวกโจรเหล่าร้ายทุบตีจนปรินิพพาน

    ๑๗) อินทสาลคูหา แห่งภูเขาเวทิยะ ที่ซึ่งพระพุทธองค์ทรงแสดงสักกปัญหสูตรแด่ท้าวสักกะ

    ๑๘) ปาสาณกเจดีย์ที่ซึ่งศิษย์ ๑๖ คนของพาวสีพราหมณ์เข้าเฝ้าพระพุทธองค์ และทูลถามปัญหา ๑๖ ข้อ(โสฬสปัญหา)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2013
  20. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    พรรษาที่ ๒ - ๔
    เสด็จประทับ ณ เวฬุวันมหาวิหาร เมืองราชคฤห์ ในระหว่างพรรษาที่ ๓ อนาถบิณฑกะเศรษฐีพ่อค้าผู้มั่งคั่งแห่งเมืองสาวัตถี มีธุระเกี่ยวกับการค้า และเยี่ยมญาติมิตร ได้เดินทางมาเมืองราชคฤห์ ได้เข้าเฝ้าพระพุทธองค์ที่ป่าสีตวัน ขณะเสวยภัตตาหาร และได้ฟังพระธรรมเทศนาในเวลาต่อมา เกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธองค์อย่างล้นพ้น จึงเข้าไปกราบทูลอัญเชิญเสด็จโปรดชาวเมืองสาวัตถีบ้าง พระบรมศาสดาทรงหาโอกาสเสด็จจาริกเป็นการชั่วคราวเพื่อโปรดมหาชนในเมืองสาวัตถีตามคำทูลเชิญ ท่านอนาถบิณฑกะเศรษฐีจึงได้เตรียมหาซื้อที่ดินเพื่อจัดสร้างวัดถวาย เป็นที่พำนักแด่พระศาสดา ภิกษุสงฆ์ต่อไป

    เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระยะวัสสากาล มีดังนี้

    ๑) พระโมคคัลลานะ พระสารีบุตรออกบวช และได้สำเร็จพระอรหันต์ใน ๗ วัน และ ๑๕ วันตามลำดับ หลังากบวชแล้ว
    ๒) เสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ พระเจ้าสุทโธทนะได้ทรงทราบว่า พระโอรสของพระองค์บรรลุอมตธรรมแล้ว และเสด็จมาพำนักอยู่ที่เมืองราชคฤห์เพื่อเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์ จึงส่งอำมาตย์มาทูลเชิญเสด็จเมืองกบิลพัสดุ์รวม ๙ ครั้งด้วยกัน แต่พระพุทธองค์ทรงยับยั้งไว้ พอครั้งที่ ๑๐ พระเจ้าสุทโธทนะส่งกาฬุทายีอำมาตย์ ผู้เป็นสหชาติผู้เกิดวันเดียวกับพระพุทธองค์ มาทูลเชิญเสด็จเป็นครั้งสุดท้าย จึงเสด็จไปกรุงกบิลพัสดุ์ พวกพระญาติมีทิฏิมานะมาก ไม่ก้มกราบแสดงความเคารพ เพราะถือว่ามีอายุน้อยกว่า และเป็นชั้นลูกหลาน พระองค์จึงทรงแสดงปาฏิหาริย์เนรมิตเดินจงกรมบนอากาศแล้วแสดงธรรม ทรงบันดาลให้ฝนโบกขรพรรษตกลงมาในหมู่ที่ประชุมแห่งพระญาติ พระเจ้าสุทโธทนะทรงมีจิตศรัทธาเลื่อมใสเป็นอันมาก พวกพระญาติเห็นเป็นมหัศจรรย์เกิดความเลื่อมใส จึงทรงเทศนาเวสสันดรชาดกให้ฟัง เป็นที่ซาบซึ้งยินดีทั่วกัน

    วันรุ่งขึ้นพระองค์เสด็จเยี่ยมพระนางพิมพายโสธรา พร้อมด้วยพระโมคคัลลานะ พระสารีบุตร แล้วตรัสแสดงธรรมแก่มหาชนในกรุงกบิลพัสดุ์

    พระนันทกุมาร
    วันที่ ๓ ที่พระองค์เสด็จเมืองกบิลพัสดุ์ เป็นวันวิวาหมงคลสมรสระหว่างพระนันทกุมาร(คือพระโอรสพระเจ้าสุทโธทนะ กับนางมหาประชาบดี เป็นอนุชาต่างมารดาของพระองค์) กับนางชนปทกัลยาณี สาวสวยสุดแห่งกบิลพัสดุ์ พระพุทธองค์เสด็จไปในงานพิธี เสร็จแล้วพระนันท์ตามไปส่ง ทรงมอบบาตรให้ถือ พระนางชนปทกัลยาณีประทับอยู่บนปราสาทเปิดพระแกลเห็นนันทกุมารถือบาตรตามเสด็จไป จึงร้องเตือนว่า เจ้าพี่กลับมาเร็วๆนะ นันทกุมารชำเลืองมองดูนางด้วยความรัก และเป็นห่วง หัวใจเต้นแรง แต่ก็ไม่อาจกลับได้ เพราะมีความเคารพในพระศาสดามากพระพุทธองค์ทรงดำเนินนำไปถึงที่พัก แล้วให้นันทกุมารบวช พระนันทกุมารบวชแล้วก็นึกอยู่แต่คำที่พระนางสั่งให้รีบกลับ มองเห็นเหมือนนางมายืนอยู่ใกล้ๆ ก็คิดจะกลับวัง พอคิดว่าจะกลับก็เห็นเหมือนพระพุทธองค์มาประทับอยู่ข้างหน้า ทรงทราบดีด้วยญาณปัญญา จึงตรัสว่า "เราไปเที่ยวเทวโลกกันเถอะ" จึงทรงสอนให้ตั้งจิตมั่น แล้วเนรมิตด้วยพุทธานุภาพ พาพระนันทไปถึงวิมานของพระอินทร์ พร้อมด้วยเทพอัปสรมากมายในดาวดึงส์ พระนันทก็เพลิดเพลินอยู่ พระพุทธองค์ตรัสถามว่า นางฟ้าพวกนี้กับชนปทกัลยาณี ไหนจะสวยกว่ากัน
    พระนันท์: นางอัปสรสวยกว่าแยะ เทียบกันไม่ได้เลย

    พระพุทธองค์: นางอัปสรเหล่านี้ พระภิกษุที่ตั้งใจบำเพ็ญสมณธรรมได้กันง่ายๆ

    พระนันท์: ถ้าทรงรับประกันจะให้ได้จริงๆแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าจะตั้งใจบำเพ็ญสมณธรรม

    [​IMG]
    ตั้งแต่นั้นมา พระนันท์ก็ตั้งใจเจริญสมณธรรมทั้งกลางวัน และกลางคืน ไม่นานเท่าใดก็ได้สำเร็จพระอรหันต์ จึงมากราบทูลว่า ที่ทรงสัญญาว่าจะให้ได้นางอัปสรห้าร้อยนางนั้น ไม่เอาแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าปลดเปลื้องออกจากข้อนั้นได้แล้ว

    พระนันท์มีชื่อว่า สำรวมอินทรีย์ รักษาตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ได้อย่างดี จะดูมองไปทางทิศไหนๆ ก็แลดูโดยไม่ปล่อยสติสัมปชัญญะ มีความระลึกรู้สึกตัวอยู่เสมอ

    แหล่งข้อมูลภาพ: http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=truthoflife&month=30-12-2010&group=19&gblog=6
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...