ขอถามเรื่องปัจจัยที่โยมถวายให้ตอนบวชเป็นพระ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย สุเมโธนามะ, 12 สิงหาคม 2012.

  1. สุเมโธนามะ

    สุเมโธนามะ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +56
    เรียนถามทุกท่านครับ อยากทราบว่า ปัจจัยที่โยมนำมาถวายให้ตั้งแต่เริ่มใส่ย่ามตอนบวชเป็นพระใหม่ จนกระทั่งถึงวันสุดท้ายก่อนลาสิกขา หากเรานำเอาปัจจัยทั้งหมดรวบรวมไปสร้างพระพุทธรูปถวายวัดอื่นตามชนบท ส่วนวัดที่เราบวชอยู่ใส่ซองถวายจำนวนหนึ่งเพื่อเป็นการชำระหนี้สงฆ์ เพราะเป็นวัดใหญ่ แบบนี้ทำถูกหรือไม่ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 สิงหาคม 2012
  2. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    เงินที่ได้จากการบวช จะนำปัจจัยทั้งหมดไปสร้างพระ และ เงินส่วนหนึ่งชำระหนี้สงฆ์


    ไม่ผิดครับ เงินนั้นได้มาจากการเป็นพระภิกษุสงฆ์ เราคืนให้แก่สงฆ์


    ... อนุโมทนา สาธุ ...


    .
     
  3. สุเมโธนามะ

    สุเมโธนามะ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +56
    ขอบคุณมากครับ ทีแรกก็กังวลว่าต้องถวายคืนได้เฉพาะวัดที่เราบวชหรือเปล่า ผมคงจะคิดมากจนเกินไป จนลืมไปว่าถวายให้ที่ไหนก็เป็นการคืนให้พระพุทธศาสนาเช่นเดียวกัน
     
  4. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    พระจับเงินผิดศีลหรือไม่ ?
    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #998049; COLOR: #998049" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->ถาม : แล้วอย่างว่างานศพนี่ ที่แจกเงินไม่ถือว่าเป็น..?
    ตอบ : จริง ๆ แล้วผิดจ้ะ แต่คราวนี้ตั้งแต่วันบวชมาหลวงพ่อให้ปฏิญาณตนว่า "ข้าพเจ้าจะรับเงินและทองที่ผู้มีจิตศรัทธาถวาย แต่จะใช้ในสิ่งที่สมควรแก่สมณสารูปเท่านั้น ส่วนที่เหลือจะเข้าร่วมในกองบุญการกุศลเพื่อเพิ่มกุศลให้แก่ผู้ที่ถวาย"

    ในเรื่องของพระ เรารับเงินเองก็ดี คนอื่นรับไว้ก็ดี ถ้าเรารู้อยู่ก็โดนอาบัติเท่ากัน คือศีลขาดเหมือนกัน เพราะฉะนั้น..ไม่ต้องเสียเวลาให้คนอื่นรับแทนหรอก รับแทนหรือว่ารับเองก็โดนเท่ากัน ถ้าอย่างนั้นก็รับเองเสียก็แล้วกัน

    คราวนี้มีอยู่ตรงจุดที่ว่าเรารับเองแต่ว่ากำลังใจเราอย่าไปยึดว่าสิ่งนี้เป็นของเรา หลวงพ่อท่านสอนเสมอว่า "เงินของปีนี้อย่าให้ใช้ถึงปีหน้า ถ้าหากว่าเงินเหลือให้คิดหางานที่ใหญ่กว่าเงินไว้เสมอ" อย่างเช่นว่า เราเหลือเงินอยู่แสนหนึ่ง ก็พยายามคิดทำอะไรที่เกินแสนเข้าไว้ เวลาเงินใหม่เข้ามาจะไม่นึกว่าเป็นของเรา

    ท่านบอกไว้ว่า พระเราเสียง่ายที่สุด ๒ อย่าง อย่างแรก คือ เงิน อย่างที่สอง คือ ผู้หญิง เราต้องระมัดระวังตัวเองอยู่เสมอ เงินทุกบาททุกสตางค์เรารับมาจากใคร จ่ายไปในเรื่องอะไร ต้องทำบัญชีไว้ให้ละเอียด ถึงเวลาถ้าเขามีการตรวจสอบจะต้องชี้แจงเขาได้ ท่านป้องกันไว้ให้หมดแล้ว เพียงแต่ว่าเราจะทำตามได้แค่ไหน เพราะฉะนั้น..ถ้าเป็นพระสายหลวงพ่อนี่ จับสตางค์เป็นปกตินะ..!

    แต่ว่าตอนไปอยู่กับหลวงปู่พระมหาอำพัน ท่านเป็นธรรมยุติ ท่านไม่จับเงิน ถึงเวลาโยมมาถวายอาตมาก็บอกว่า "โยมวางไว้ตรงนั้นแหละจ้ะ" โยมเขาก็วางไว้ พอเขาหันหลังออกไปเราก็หยิบหมับ หลวงปู่ท่านยิ้ม หลวงปู่ท่านรู้อยู่ว่าเราจับเงินเป็นปกติอยู่แล้ว แต่หลวงปู่ท่านอยู่ร่วมกับเขา ท่านจับไม่ได้ เพราะว่าจะเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีกับคนอื่น เขาจะอ้างได้ว่าหลวงปู่ยังจับอย่างนี้ คราวนี้ของเราอยู่กับท่าน เราก็ต้องรักษารูปแบบของท่านเอาไว้ โยมให้ก็อย่ารับ ลับหลังโยมเราค่อยจับ แต่แกล้งเขาไม่ได้นะ

    ที่วัดท่าซุงส่วนใหญ่หลัง ๆ จะมีพระธรรมยุติไปเยอะ เพราะว่าเขารู้ว่าเราไม่รังเกียจเขา บางคนไปซื้อวัตถุมงคล เขาควักย่ามออกมาตั๋วแลกเงิน ๓ เล่ม เขาไม่จับเงิน แต่เขาถือทีละ ๓๐,๐๐๐ เราคนจับเงินมีไม่เท่าเขา

    เสร็จแล้วถึงเวลาก็ฉีกตั๋วแลกเงินให้ ตอนนั้นอาตมาเพิ่งไปรับหน้าที่ใหม่ ๆ ยังไม่เข้าใจว่าเขาจัดการกันอย่างไร ก็ไปกราบถามหลวงพี่ชัยศรี ตอนนั้นท่านดูแลศาลานวราชอยู่ ถามว่า "หลวงพี่ครับ..ผมจะทำอย่างไร ?"

    ท่านก็บอกว่า "รับขึ้นมาแล้วก็ทอนเงินให้เขาตามปกติ" ก็เรียนท่านว่า "แล้วนี่ละครับ ?" ท่านว่า "เดี๋ยวคุณก็เซ็นชื่อตัวเอง แล้วไปเบิกที่ไปรษณีย์ ก็เท่านั้นแหละ.."

    พอดีหลวงตาวัชรชัยเดินเข้ามาถึง หลวงตาถามว่า "อะไรวะ ?" ก็ส่งตั๋วแลกเงินให้ท่านดู บอกว่า "พระท่านไม่จับเงิน ท่านใช้ตั๋วแลกเงินนี่" หลวงตาดูเสร็จ "ไอ้ห่..ก็เงินเหมือนกันแหละวะ.." ปรากฏว่าพระท่านเห็นเราเข้าไปนานเกินไป ท่านก็เลยเดินตามมา เอา "ห่.." ไปเต็มสองรูหูเลย ยืนตีหน้าบอกไม่ถูก..!

    มีอยู่คราวหนึ่งหลวงตาท่านขึ้นไปจำหน่ายวัตถุมงคลเอง พระท่านก็ล้วงซองที่ใส่อยู่ที่หน้าอกออกมา ท่านนี้พกเงิน ไม่ใช่ตั๋วแลกเงิน แต่ว่าใส่ซองไว้ เสร็จแล้วท่านก็เอาไม้เขี่ยออกมา คราวนี้วัตถุมงคลรวมแล้วราคาห้าร้อยกว่า ท่านก็เขี่ยแบงก์ห้าร้อยออกมาสองใบ เป็นหนึ่งพันบาท หลวงตาท่านก็ทอนเงินให้

    หลวงตาทอนเงินท่านทอนแต่แบงก์ย่อย พอวางแบงก์ย่อยลง หลวงตาก็รูดพรืดกระจายเต็มหลังตู้ แล้วก็เดินหายเข้าส้วมไปเลย ปรากฏว่า ท่านรูปนั้นมองซ้ายมองขวา ไม่รู้จะหาใครช่วย จะใช้ไม้เขี่ยก็ไม่ไหว ตั้งกี่ใบก็ไม่รู้ ? ท่านก็รวบหมับ

    หลวงตาวัชรชัยท่านแอบดูอยู่ก็หัวเราะ สมัยบวชใหม่ ๆ หลวงตาท่านร้ายนะ..ท่านแกล้งคนไว้เยอะ ...(หัวเราะ)...วันนี้อาตมาเผาพี่ท่านเอง..!




    เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เรียกว่ากลืนไม่เข้าคายไม่ออกสำหรับพระหลายรูป ตัวอย่างที่ชัดที่สุดก็คือหลวงปู่บุดดา ท่านเป็นพระธรรมยุติ แต่ท่านจับเงิน แล้วไม่มีพระธรรมยุติรูปไหนกล้าว่าหลวงปู่บุดดา

    ทั้ง ๆ ที่พระธรรมยุติท่านจะเคร่งครัดมาก เวลาญาติโยมผู้ชายนวดหลวงปู่บุดดาอยู่ ญาติโยมผู้หญิงก็มองตาละห้อย อยากจะนวดหลวงปู่บ้าง หลวงปู่ก็ยื่นเท้าให้เฉยเลย ไม่มีพระธรรมยุติรูปไหนกล้าว่าหลวงปู่อีกตามเคย

    หลวงปู่ท่านปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเสียจนกลายเป็นปาปมุติ ภาษาพระแปลว่า ผู้เหนือบุญเหนือบาปแล้ว พ้นจากบาปโดยสิ้นเชิงแล้ว ทำจนกระทั่งทุกคนเชื่อมั่นว่าท่านบริสุทธิ์จริง ๆ ก็เลยไม่มีใครกล้าติฉินนินทาหลวงปู่เลยแม้แต่นิดเดียว

    ปี ๒๕๑๗ - ๒๕๑๘ - ๒๕๑๙ วัดท่าซุงเริ่มก่อสร้างโบสถ์ หลวงปู่บุดดาพร้อมด้วยหลวงปู่หลวงพ่ออีกประมาณ ๑๐ องค์ก็ไปช่วยงาน หลวงพ่อท่านนิมนต์ไปพักอยู่ที่วัดท่าซุงเลย คราวนี้พวกเราเคยชินกับคำว่าทำบุญ มักจะเอาแก้วสารพัดนึกก็คือเงินไว้ก่อน

    หลวงปู่บุดดาท่านจะทำอย่างไร ? ลูกศิษย์ท่านก็เอาถุงวางไว้ตรงหน้า พวกเราก็ใส่เงิน ใส่เงิน พอถึงเวลาโยมทำบุญเสร็จเรียบร้อย ลูกศิษย์ก็ผูกปากถุงส่งให้ หลวงปู่บุดดาแหวกย่ามเสียกว้างเชียวนะ กลัวจะกระทบเงิน ลูกศิษย์ก็หย่อนใส่ย่าม

    หลวงพ่อหันมาพอดี "อ๋อ..ไม่อยากได้ใช่ไหม ?" ท่านคว้าหมับเลย หลวงปู่บุดดาสองมือตะครุบหมับ "จับแล้วครับ.." บอกหน้าตาเฉยเลย "จับแล้วครับ.."

    หลวงพ่อบอก "เออ..ต้องอย่างนั้นซิ กะอีแค่ธาตุสี่ ดิน น้ำ ไฟ ลม ปล่อยให้เกาะใจได้ก็อย่าเอาเลย ผมเอาเองก็ได้.."

    ตั้งแต่นั้นมาหลวงปู่บุดดาจับเงินมาตลอด แล้วก็ไม่มีพระธรรมยุติรูปไหนกล้าว่าหลวงปู่ นั่นแหละ..หลวงพ่อท่านทำให้รู้ว่า เรื่องทั้งหลายเหล่านี้ จริง ๆ แล้วสำคัญตรงใจ แต่ว่าสิ่งใดก็ตามที่พระพุทธเจ้าท่านห้ามเอาไว้ เราต้องเคารพและปฏิบัติตาม

    เพียงแต่ว่า ก่อนที่พระพุทธเจ้าท่านจะปรินิพพาน ได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า “อานันทะ ดูก่อน..อานนท์ หลังจากตถาคตนิพพานไปแล้ว สิกขาบทเล็กน้อยที่ไม่เหมาะสมกับยุคสมัย ให้สงฆ์พร้อมใจกันสวดเพิกถอนสิกขาบทนั้นได้” คือว่าศีลข้อไหนถ้าไม่เหมาะกับยุคสมัย ให้พระพร้อมใจกันยกเลิกได้ แต่คราวนี้ว่า พระทั้งหมดท่านเคารพพระพุทธเจ้า ก็เลยไม่มีใครกล้าแตะต้องมาตลอด

    หลวงพ่อบอกว่า "ฉันดูมาตลอดแล้ว สองร้อยยี่สิบเจ็ดข้อ มีข้อจับเงินข้อเดียวที่น่าถอนทิ้งที่สุด เพราะว่าพระไปไหนก็จำเป็น ขึ้นรถขึ้นราก็จำเป็น ซื้อข้าวซื้อของ ซื้ออาหารก็ต้องใช้เงิน เจ็บไข้ได้ป่วยไปหาหมอก็ต้องใช้เงิน.." แต่พระท่านเคารพพระพุทธเจ้าจึงไม่มีใครเพิกถอน

    หลวงพ่อเองท่านเลยให้พระวัดท่าซุง..ไม่ทราบว่ารุ่นอื่นเป็นอย่างไร แต่รุ่นอาตมาบวช ๓๖ รูป รุ่นนั้นท่านให้ปฏิญาณตัวเลย ท่านใช้คำว่า "เราจะจับเงินและทอง (บอกให้รู้เลยว่า ไม่ให้ก็จะเอานะ...(หัวเราะ)...) ที่ผู้มีจิตศรัทธาถวาย แต่จะใช้ในสิ่งที่สมควรแก่สมณสารูปเท่านั้น ส่วนที่เหลือจะผลักเข้ากองบุญการกุศล เพื่อเพิ่มบุญให้แก่ผู้ที่มาถวาย" บอกชัดเลยจ้ะ เพราะฉะนั้น..อาตมาจึงรับเงินอย่างสบายใจที่สุด

    ถาม : แล้วมีข้อจำกัดไหมครับ ?
    ตอบ :อย่าพกเงินเกิน ๕ ล้าน มากไปจะหนัก ...(หัวเราะ)..มีข้อจำกัดไหม..ไม่มี

    สนทนากับพระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ
    ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ เดือนตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๔

    <!-- / message --><!-- edit note -->
    <!-- / message --><!-- edit note -->
     
  5. สุเมโธนามะ

    สุเมโธนามะ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +56
    ขอบคุณ คุณเฮียปอมากครับ ในเมื่อมันเป็นเหตุจำเป็นที่ทำให้ต้องรับปัจจัยไว้ ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร คือตั้งแต่เดินลงมาจากโบสถ์ญาติโยมก็เดินแห่กันเข้ามายื่นซองใส่ลงไปในย่ามเลย และตอนเขาถวายในงานศพนี่ก็เหมือนกัน แต่กระผมไม่ได้ยินดียินร้ายกับมันเลย เพราะตั้งใจไว้ตั้งแต่วันแรกที่บวชแล้วว่า หากมีเหตุจำเป็นต้องได้รับปัจจัย จะไม่นำติดตัวออกมาหลังจากลาสิกขา แม้แต่บาทเดียว เลยให้โยมเพื่อนนำไปฝากธนาคารไว้เพื่อสร้างพระพุทธรูปและชำระหนี้สงฆ์ครับ หากจะผิดก็คงไม่มีข้อแก้ตัว แต่ขอยืนยันว่าไม่ได้มีเจตนาเพื่อนำไปสู่หนทางแห่งความเสื่อมเลยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 สิงหาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...