บุคคลย่อมครุ่นคิดถึงสิ่งใด ย่อมถึงการนับเพราะสิ่งนั้น

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย thepkere, 31 กรกฎาคม 2012.

  1. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    ๓. ภิกขุสูตรที่ ๑
    ว่าด้วยเหตุได้ชื่อว่าเป็นผู้กำหนัดขัดเคือง
    และลุ่มหลง

    [๗๔] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
    ที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มี
    พระภาคว่า ขอประทานวโรกาส พระเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาค ทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์
    โดยย่อ ที่ข้าพระองค์ฟังแล้ว พึงเป็นผู้ๆ เดียวหลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มี
    ใจมั่นคงอยู่เถิด.

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ บุคคลย่อมครุ่นคิดถึงสิ่งใด ย่อมถึงการนับเพราะสิ่ง
    นั้น บุคคลย่อมไม่ครุ่นคิดถึงสิ่งใด ย่อมไม่ถึงการนับเพราะสิ่งนั้น.

    ภิ. ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์เข้าใจแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์เข้าใจแล้ว.
    พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าว โดยย่อได้โดยพิสดารอย่างไร?
    ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าบุคคลครุ่นคิดถึงรูป ย่อมถึงการนับเพราะรูปนั้น. ถ้าครุ่นคิด
    ถึงเวทนา ฯลฯ ถ้าครุ่นคิดถึงสัญญา ฯลฯ ถ้าครุ่นคิดถึงสังขาร ฯลฯ ถ้าครุ่นคิดถึงวิญญาณ ย่อม
    ถึงการนับเพราะวิญญาณนั้น. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าบุคคลไม่ครุ่นคิดถึงรูป ก็ไม่ถึงการนับเพราะ
    รูปนั้น ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงเวทนา ฯลฯ ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสัญญา ฯลฯ ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสังขาร ฯลฯ
    ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงวิญญาณ ก็ไม่ถึงการนับเพราะวิญญาณนั้น. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
    เข้าใจเนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยย่อได้ โดยพิสดารอย่างนี้แล.

    [๗๕] พ. ถูกแล้ว ถูกแล้ว ภิกษุ เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวโดยย่อได้
    โดยพิสดารดีนักแล. ดูกรภิกษุ ถ้าบุคคลครุ่นคิดถึงรูป ก็ย่อมถึงการนับเพราะรูปนั้น ถ้าบุคคลครุ่น
    คิดถึงเวทนา ฯลฯ ถ้าครุ่นคิดถึงสัญญา ฯลฯ ถ้าครุ่นคิดถึงสังขาร ฯลฯ ถ้าครุ่นคิดถึงวิญญาณ ก็
    ย่อมถึงการนับเพราะวิญญาณนั้น. ดูกรภิกษุ ถ้าบุคคลไม่ครุ่นคิดถึงรูป ก็ย่อมไม่ถึงการนับเพราะ
    รูปนั้น ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงเวทนา ฯลฯ ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสัญญา ฯลฯ ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสังขาร ฯลฯ
    ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงวิญญาณ ก็ย่อมไม่ถึงการนับเพราะวิญญาณนั้น. ดูกรภิกษุ เธอพึงเห็นเนื้อความ
    แห่งคำที่เรากล่าวโดยย่อ โดยพิสดารอย่างนี้แล.

    [๗๖] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปนั้น เพลิดเพลินอนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค
    ลุกจากอาสนะ ถวายบังคม กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป. ครั้งนั้นแล เธอได้เป็นผู้ๆ เดียว
    หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจมั่นคงอยู่ ไม่นานเท่าไร ก็กระทำให้แจ้งซึ่งที่
    สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลาย ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ
    ต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหม
    จรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ก็ภิกษุนั้นได้เป็น
    พระอรหันต์องค์หนึ่งในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.

    จบ สูตรที่ ๓.
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๗
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
    หน้าที่ ๓๓/๓๑๐ข้อที่ ๗๔ - ๗๖
     
  2. Norlnorrakuln

    Norlnorrakuln เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    3,813
    ค่าพลัง:
    +15,095
    การนับ ในความหมายดังกล่าว คืออย่างไรหนอ? มีคำว่าครุ่นคิดรวมอยู่ด้วย! นี้เป็นธรรมมีความหมายแต่โดยย่อ ที่พระองค์ท่านมุ่งสอนเฉพาะตัวบุคคล!

    ผมขอพิจารณาลองตีความหมายของ การนับ ด้วยปัญญาอันน้อยนิดในที่นี้ว่า อาจหมายถึง การที่จิตส่งออกไปภายนอก เป็นสาเหตุของความครุ่นคิด เป็นเหตุเกิดแห่งภพ เพราะสิ่งนั้นคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่จิตส่งออกไปยึดมั่นถือมั่น นับว่า เป็นบ่อเกิดแห่ง ทุกข์

    ดังนั้นถ้าไม่อยากทุกข์ เพราะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็พึงสังวรจิตตน
    ให้พ้นเหตุของความครุ่นคิดนั้น ด้วยการตามประกอบความเพียรอย่างมีสติ ก็จะไม่เข้าถึง การเกิด อีกเลย!

    การนับ อาจหมายถึง การเกิด ก็ได้....เพราะการเกิดทุกคราว เป็นทุกข์ร่ำไป!
     
  3. ballbeamboy2

    ballbeamboy2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    1,622
    ค่าพลัง:
    +1,618
    สงสัยมานานแล้วครับ คําว่าพิสดารนี่ คือไร แน่ครับ
     
  4. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    ๑๐. เจตนาสูตรที่ ๓

    พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
    เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมจงใจ
    ย่อมดำริ และย่อมครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นย่อมเป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ
    เมื่อมีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว
    ตัณหาจึงมี เมื่อมีตัณหา คติในการเวียนมาจึงมี เมื่อมีคติในการเวียนมา จุติและอุปบัติจึงมี
    เมื่อมีจุติและอุปบัติ ชาติ ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงมี ความเกิดขึ้น
    แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ
    แต่ยังครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นย่อมเป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อมีอารัมณ
    ปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ตัณหาจึงมี
    เมื่อมีตัณหา คติในการเวียนมาจึงมี เมื่อมีคติในการเวียนมา จุติและอุปบัติจึงมี เมื่อมีจุติและ
    อุปบัติ ชาติชราและมรณะโสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงมี ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์
    ทั้งมวลนี้ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ และไม่ครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้น
    ย่อมไม่เป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อไม่มีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่ง
    วิญญาณจึงไม่มี เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งมั่นแล้วไม่เจริญขึ้นแล้ว ตัณหาจึงไม่มี เมื่อไม่มีตัณหา
    คติในการเวียนมาจึงไม่มี เมื่อไม่มีคติในการเวียนมา จุติและอุปบัติจึงไม่มี เมื่อไม่มีจุติและ
    อุปบัติ ชาติ ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสต่อไปจึงดับ ความดับแห่งกอง
    ทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้

    จบ สูตรที่ ๑๐

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๖
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
    หน้าที่ ๖๕/๒๘๘ข้อที่ ๑๔๙ - ๑๕๐
     
  5. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    "พิศดาร" เป็นคำที่ใช้แทนคำว่า "วิตถาเรน(แผ่ไป)" ซึ่งเป็นเนื้อความในบาลี

    ถ้าจะให้แปลเป็นไทย ก็คือ "ลัดสั้น !!"

    โดยมากจะปรากฏร่วมกับคำว่า "สงฺขิตเตน" ซึ่งแปลว่าว่า "โดยย่อแล้ว"

    ***************

    ดังนั้น สาวกทั่วไปบางท่านอาจจะกล่าวว่า "ลัดสั้น" ไม่มี ก็ขอให้พิจารณา
    "พุทธวัจนะ" ดูก่อนว่า จะบอกว่าไม่มีเพื่อ ปิดบังซ่อนเร้นสัทธรรม หรือไม่


    ***************

    แต่ถ้า ปุถุชนที่เป็นพวก "มโนหยุมหยิม" ก็อาจจะดัดแปลงให้เข้าทางตน แทนที่
    จะแปรว่าลัดสั้น ก็ไปแปลว่า "อุตริมนุษยธรรม" ชนิดต่างๆ กลบพิศดารให้เป็น
    พิลึกพิลั่น เพื่อให้รองรับเรื่องที่ว่าด้วย "ฌาณวิสัย" ที่เป็น "อจิณไตย" ซึ่ง
    หมายถึง ยาว และ อ้อมไปไกล ไปนู้นนนนนนน!!!
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 สิงหาคม 2012
  6. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ทีนี้ หากจะให้เป็น ภาษาปฏิบัติ วิตถาเรน พิศดาร จะเป็นอย่างไร

    ก็เวลา ปฏิบัติธรรมอยู่ ตามที่ปฏิบัติอยู่ทุกวัน แล้ว ชักรู้สึกว่ามัน
    กว้างออกไป ไกลออกไป เห็นหนทางเหมือนว่า มันมีอีกเยอะ เยอะ
    มาก แล้วเกิด ดำริ ขึ้นว่า จะเรียนความจริงเหล่านี้อย่างไรให้ครบ
    หมดหนอ

    เมื่อนั้น ก็ยกพิจารณา เห็นขันธ์5ไม่ใช่ตน ไม่ใช่ของๆตน ไปเลย ณ เวลานั้นๆ

    แล้วจะพบว่า ที่มี"ดำริ"เห็นว่ากล้าวงไกล ศึกษาไม่หมด จะถูกรวบย่อเข้ามา
    กลายเป็นเรื่องที่จุด ที่ต่อม ทันที หยุดการครุ่นคิดว่ามีเยอะมาก เอาไว้ได้ รวบ
    ย่อ(สังขิตตะ)เข้ามาอย่าง รวดเร็ว ลัดสั้น(วิตถาร,พิสดาร)

    ยกตัวอย่างเช่น

    คุณอยู่ต่างประเทศ แต่เกิด เจ็บป่วยเดินไม่ได้ อาจจะถึงขั้นสิ้นไปกันเลย
    ปฏิปทาของครูสอนไว้ว่า หากเจ็บป่วยแบบนี้ให้บวงสรวง เอาขนมปังมา
    วางหน้าโบสถ์ ก็ท่าตอนนี้อยู่ต่างประทเศ จะมาวางก็ไม่ได้ จะลุกมาวาง
    ก็ไม่ได้ ถ้ามาแล้ว ก็ไม่รู้ว่าปีนี้น้ำจะท่วมไหม .....เนี่ยะ จะเกิด "ดำริ"
    เห็นว่า มีอุปสรรคนานา จะรอเวลาทำอย่างไรหนอ

    ถ้าตรึกแบบนี้ปั๊ป ก็เอาเลย ตรึกไปว่า ขันธ์5ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของๆเรา
    แค่นี้เอง ก็จะเกิด การย่นย่อระยะทาง การแทงตลอด ถึงพร้อมทิฏฐิ รู้
    เท่าเอาทัน เข้ามาที่จุด ที่ต่อม ทันที วิตถารเรนด้วยประการฉะนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 สิงหาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...