***กสินใน 1 วัน / อรูปฌาน4 ใน 1 วัน***

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย GluayNewman, 18 ธันวาคม 2011.

  1. GluayNewman

    GluayNewman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +747
    ตามที่เสวนาในวันอาทิตย์ที่ผ่านมา

    คำศัพท์ที่เราคุ้นหู ....สติ
    ศิษย์พี่ของผม (ชื่อเดียวกัน) คุณกล้วย B2
    ได้ขยายความไปถึง "สติสัมปชัญญะ" หรือ "สติปัฏฐาน 4"
    เข้าใจว่าสติจริงๆ ที่จะพาพ้นทุกข์ได้จริง เป็นอย่างไร
    และเข้าใจหลักการปฏิบัติ ว่าปฏิบัติอย่างไร

    ถ้ารู้จักสติตัวจริงแล้ว
    **** ความทุกข์จะจบลง ณ ขณะนั้นเลย ****

    คุณกล้วย B2 ให้คำจำกัดความว่า
    ....."สติบริสุทธิ์ตามธรรมชาติ"...

    ลองฟังกันดูนะครับ Clip แรก เป็นการเกริ่นนำครับ
    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=Uol5-8_qWw8"]http://www.youtube.com/<wbr>watch?v=Uol5-8_qWw8[/ame]
     
  2. GluayNewman

    GluayNewman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +747
    ความคิดปรุงแต่งเป็นต้นเหตุแห่งทุกข์

    สติบริสุทธิ์เป็นคนละสิ่งกับความคิด เป็นสิ่งที่จะทำให้ความคิดตกไป
    แต่ด้วยความคิดที่มันซับซ้อน สติบริสุทธิ์ควรเริ่มฝึกจากการรู้สึกตัว
    จากฐานกายก่อน แล้วจะนำไปรู้ฐานอื่นๆ ตามลำดับสติปัฏฐาน

    ความคิดมันช่างซับซ้อน แม้การตั้งใจจะมีสติ, ตั้งใจจะรู้สึกตัว,
    ตั้งใจจะรู้ได้ทั้งกาย, หรือแม้แต่ไป "ดูจิตใจ" ก็เป็นความคิดแอบแฝงทั้งสิ้น

    คุณกล้วยB2 แสดงกฎ 3 ข้อให้ดูว่า
    การเคลื่อนไหวให้รู้สึกตัวอย่างไร จึงจะเกิดสติบริสุทธิ์...แบบที่รู้ได้ทั้งกาย และรู้หลวมๆ
    อีก 2 ข้อคือ ....การรู้ที่ไม่ให้ความหมาย ไม่เทียบเคียงกับอะไรทั้งสิ้น และไม่วิพากวิจารณ์ พูดอะไรทั้งภายใน ภายนอก

    เมื่อรู้จักสติบริสุทธิ์แล้ว ความคิดปรุงแต่งที่เป็นต้นเหตุแห่งทุกข์จะหยุด


    ************************************

    อีกสิ่งหนึ่ง ที่มักจะเป็นปัญหากัน คือ เมื่อโกรธแล้วไปดูความโกรธ
    .....ความโกรธมันไม่ดับ.....
    เพราะจิตจะถูกมัน "ดูด" หรือไหลเข้าไปในความโกรธ ไปมีปฏิสัมพันธ์กับมัน
    แต่ถ้าโกรธ แล้วมารู้สึกตัว ด้วยสติบริสทธิ์ มันจะเหมือนกับหันหลังให้กับความโกรธ
    ....จิตมันจะทิ้งความโกรธไปเอง......


    มาดู Clip ที่ 2 กันครับ


    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=hje1Pct6Nzk"]http://www.youtube.com/<wbr>watch?v=hje1Pct6Nzk[/ame]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 พฤษภาคม 2012
  3. GluayNewman

    GluayNewman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +747
    สติบริสุทธิ์ตามธรรมชาติ Clip ที่ 3

    == ๒ เรื่องสำคัญของ Clip นี้ ==

    ๑ ) การฝึกความรู้สึกตัวตามธรรมชาติ

    step ที่ 1 ฝึกรู้สึกตัวให้เป็น รู้สึกตัวบริสุทธิ์ รู้เฉยๆ
    Step ที่ 2 ฝึกให้มีกำลัง (ใช้คำว่า เอามาอยู่ในชีวิตประจำวัน)
    Step ที่ 3 มันจะค่อยรู้ได้เองตามธรรมชาติ
    โดยไม่ต้องไปยุ่งกับเค้า หรือไม่ต้องไปตั้งใจดู

    แล้วมันจะค่อยๆ ระลึกรู้ได้เองในบางครั้งได้เอง
    บางครั้งก็เห็นกาย .... บางครั้งก็เห็นจิตที่ปรุงแต่ง

    เมื่อรู้สึกตัวธรรมชาติแบบนี้ จิตมันจะทิ้ง...
    ..... ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมันจะดับ ......

    ***********************************************

    ๒ ) อุปสรรคการปฏิบัติ 3 ด้าน

    1 ความจำจากการอ่าน การศึกษา ที่จะนำไปสู่การเทียบเคียง
    2 ความคิดวิเคราะห์ พยายามหาเหตุผล หาคำตอบ
    3 การสรุปความ โดยเฉพาะสรุปว่าถูกหรือผิด... ใช่หรือไม่ใช่

    ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น
    .....ให้กลับมาอยู่กับความรู้สึกตัว....
    แล้วจะออกจากอุปสรรคได้ครับ

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=AMOlx8Cjezg"]http://www.youtube.com/<wbr>watch?v=AMOlx8Cjezg[/ame]
     
  4. GluayNewman

    GluayNewman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +747
    สติบริสุทธิ์ตามธรรมชาติ Clip ที่ 4

    ความสงสัย เป็นอุปสรรคการปฏิบัติ
    เป็นการคิด โดยไม่รู้สึกตัว จึงพยายามหาคำตอบไม่รู้จบ
    ****************************************

    อาการการหลงดีก็เป็นกิเลสอย่างหนึ่ง
    อยากช่วยเหลือคนอื่น
    รู้สึกห่วงหาอาทรคนอื่น
    และต้องการการให้คนอื่นยอมรับตนเอง

    ***************************************

    ที่สำคัญ อรูปฌานที่ 8 หรือ รูปฌาน 4 มีลักษณะคล้ายกันมาก
    เป็นหนทางแห่งการหลงผิดอีกอย่างหนึ่ง
    ฌานเมื่อมันเปลี่ยนแปลง หรือเสื่อม มันจะกลับมาวุ่นวายเหมือนเดิม
    แต่สติบริสุทธิ์ จะก่อให้เกิดปัญญาบริสุทธิ์ ที่กัดกร่อนกิเลสไปเรื่อยๆ

    http://www.youtube.com/watch?v=UkUHVZXx1hQ&feature=youtu.be

     
  5. GluayNewman

    GluayNewman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +747
    สติสัมปชัญญะมีคุณอนั้นต์ เป็นวิถีทางที่จะพาให้พ้นทุกข์ได้
    ถ้าเรารู้จักมันอย่างถ่องแท้ครับ


    คุณกอบชัย สรุปความหมายของ "สติสัมปชัญญะ" ด้วยบริบทที่ว่า
    "ความรู้สึกตัวบริสุทธิ์ตามธรรมชาติ"
    เป็นสติที่จะพาให้พ้นทุกข์ได้จริงครับ
    เป็น Clip ที่ต่อจากกระทู้ที่แล้ว

    สติบริสุทธิ์ตามธรรมชาติ Clip ที่ 5
    สรุปความของ Clip นี้นะครับ

    **ลำดับและอุปสรรคของ ความรู้สึกตัวบริสุทธิ์ตามธรรมชาติ**

    1 ความรู้สึกตัวบริสุทธิ์ตามธรรมชาติ จะไม่เกิดขึ้น หากจงใจไป "สร้าง" มันขึ้นมา

    2 ความรู้สึกตัวบริสุทธิ์ตามธรรมชาติ จะเกิดจากการ "กระตุ้น"
    แบบ "ทำเล่นๆ ให้เป็นนิสัย" หรือ "รู้ก็ช่าง ไม่รู้ก็ช่าง"

    3 เมื่อความรู้สึกตัวบริสุทธิ์ตามธรรมชาติ เกิดขึ้น จะมีอาการผ่อนคลาย สบายๆ
    ต้องระวังอุปสรรคคือ "ความยินดี ยินร้าย"

    ความยินดี เกิดเมื่อไปหลงชอบความรู้สึกเบา สบายนั้น ...จนอาจหมายมั่นว่ามันคือ นิพพาน
    เมื่อยินดี ชอบ จึงพยายามรักษามันเอาไว้ ...
    แต่ความรู้สึกตัวบริสุทธิ์ตามธรรมชาติ ก็ยังอยู่ภายใต้กฏไตรลักษณ์
    ....มีเกิด ก็มีดับ....
    เมื่อดับไป สิ่งที่ตามมาคือ ความยินร้าย ไม่สบายใจที่สภาวะมันหายไป

    นี่คืออุปสรรคของความรู้สึกตัวบริสุทธิ์ตามธรรมชาติ
    มันจะไม่บริสุทธิ์ หากเกิดจากการ "สร้าง" หรือ "เกิดแล้วไปตั้งใจรักษามัน" ครับ
    จึงควรระลึกถึง กฎ 3 ข้อใว้ให้ดีๆ

    เชิญฟังคลิ๊ปครับ

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=5N2VTfFAYvc]สติบริสุทธิ์ตามธรรมชาติ05 - YouTube[/ame]
     
  6. GluayNewman

    GluayNewman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +747

    สติบริสุทธิ์ตามธรรมชาติ Clip ที่ 6

    Clip นี้ อธิบายถึง ความรู้สึกตัว หมายถึง ความรู้สึกได้ทั้งกายอย่างหลวมๆ ตามธรรมชาติ
    สิ่งนี้ไม่ได้เกิดจากการจงใจจะสร้างมันขึ้นมา
    หากไปสร้าง มันก็จะกลายเป็นความปรุงแต่ง ที่เกิดจากการอยากมี อยากได้ อยากเป็น
    ไม่ได้เกิดอย่างบริสุทธิ์...ถ้าปรุงแต่ง เราคงทราบกันดี ว่าผลของการปรุงแต่งคืออะไร


    สติบริสุทธิ์ตามธรรมชาติ เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้ว
    ....เพียงเรา "กระตุ้น" ให้ปรากฎขึ้นตามธรรมชาติ
    ก็จะเป็นสติสัมปชัญญะที่จะนำพาเราออกจากความคิดปรุงแต่งได้
    มันจะออกจากความปรุงแต่งได้เองโดยธรรมชาติ

    เมื่อสติธรรมชาติเกิดขึ้นแล้ว (อย่างบริสุทธิ์) ...ให้อยู่กับความบริสุทธิ์นั้น เท่าที่จะอยู่ได้
    อย่าไปจงใจรักษา มิฉะนั้น มันจะเกิดความอยากได้ อยากมี อยากเป็นขึ้นมาอีก
    ความรู้สึกตัวนั้นก็จะไม่บริสุทธิ์ไป...กลายเป็นความปรุงแต่งไปอีก
    นี่ก็คืออุปสรรคของการฝึกฝน

    ******************************************
    ความรู้สึกตัว ไม่ใช่ ความคิด
    เกิดจากการสัมผัส ไม่ใช่ การคิด
    " สัมผัสรู้ อย่า คิดรู้"


    http://www.youtube.com/watch?v=8QcxtkHOuNs&feature=youtu.be

     
  7. dong2002

    dong2002 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    166
    ค่าพลัง:
    +2,600
    ทางเดินมีหลายทาง แต่เป้าหมายเดียวกัน วิธีไปแม้จะทางเดียวกัน ก็อาจพบเจอไม่เหมือนกัน เพราะแต่ละคนมีการเตรียมตัวมาไม่เท่ากัน... สำคัญที่ ในระหว่างการพยายามไปให้ถึงที่หมายเดียวกันนั้น ไม่หลงทาง ไม่เสียเวลาจนเกินไป หรือถอดใจถอนออกไปก่อนหรือไม่ อ่านแล้วพิจารณาดูเถิด หากไม่ผิดสาระแก่นธรรมแล้ว ก็ติดตามพิจารณาศึกษาไป บางทีอ่านได้ข้อคิดบางอย่างจากธรรมที่ผู้อื่นปฏิบัติ
    กรรมฐานมีตั้ง 40 แต่ละชนิดจะสามารถพลิกแพลงไปได้ปลีกย่อยมากมาย ถ้ายังไม่ลองกันให้ครบจนชำนาญ ก็ไม่ควรปรามาสและสดับรับฟังโดยดี สุดท้ายจงวางอุเบกขา เพราะเป็นเรื่องของใครของมัน...

    ***ผมมักจะอ่านอย่างเดียว พอดีบางกระทู้ผมมักเห็นการถกกัน สงสัยกัน เลยขออนุญาตตอบกระทู้บ้างเท่านั้นครับ
     
  8. GluayNewman

    GluayNewman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +747

    เห็นด้วยกับคุณ dong 2002 ครับ



    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--> สติบริสุทธิ์ตามธรรมชาติ Clip ที่ 7

    Clip นี้ สำหรับผู้ที่ศึกษามามาก อ่านมาก พิจารณามาก
    รวมทั้งฝึกมาก ปฏิบัติมากด้วย...
    มันยังมีอุปสรรค "การต้องการยอมรับ" ซ่อนเร้นอยู่...
    มันจะมีความอยาก ที่จะเป็น "ครูบาอาจารย์" หรือ "เจ้าสำนัก" พอกพูนอยู่ในใจ

    คุณกล้วย B2 เตือนไว้ดังนี้ครับ

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=B4rYXwK-HOI"]http://www.youtube.com/<wbr>watch?v=B4rYXwK-HOI[/ame]



     
  9. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ขอแสดงความเห็นเรื่องสติ นิดนึงครับ...ไม่ใช่เรื่องเจตนาหรือตั้งใจที่จะมีสติ หรือ ทำเล่นเล่น จะให้ผลดีเลวต่างกันหรอกครับ...แต่คงเป็นเรื่องขณะนั้นมีสติไม่จริงหรือไม่มีสติมากกว่า..ถ้าเข้าใจรสหรือลักษณะของสติจริงจริง ก็จะรู้ตัวตลอด แม้ขณะที่ระงับโทสะไม่ได้(คนที่รู้ลักษณะหรือรสของสติ ก็จะรู้ทันที)..การรู้ลักษณะของสติแล้ว จะทำให้มากเจริญให้มากก็ไม่มีปัญหาใด..แต่ถ้าไม่รู้ลักษณะของสติก็จะไม่เข้าใจแม้ทำมาก...ทีนี้เจริญสติไม่ได้หวังผลระงับสิ่งใด แต่เป็นการรู้ สภาวะธรรม ที่เกิดกับกายใจจริงจริง...ซึ่งพื้นฐานทางปริยัติต้องมีบ้าง เช่น อย่างนี้ เรียกว่า กาย นี่เวทนา คิด(สังขาร) นี่โทสะ นี่โมหะ..สิ่งเหล่านี้คือ สภาวะธรรม ที่เกิดจากปัจจัยรูป-นาม ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา:cool:
     
  10. GluayNewman

    GluayNewman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +747
    เห็นด้วยครับ

    ที่ผมอยากจะเน้นคือ
    สติ รู้จักสภาวะของกายใจในขณะนั้น
    สัมปชัญญะ รู้สึกตัว เมื่อรู้สึกตัวแล้ว อาการทั้งปวงจะดับหมด
    จิตจะอยู่ในสภาพปกติ ไม่มีทุกข์ มีแต่รู้...

    แต่อธิบายอาการที่ "ไม่มีทุกข์ มีแต่รู้" นี้ทางตัวอักษรไม่ได้ เป็นปัจจัตตัง ต้องปฏิบัติเอง รู้เองครับ
     
  11. GluayNewman

    GluayNewman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +747
    ขอนำแนวทางที่คุณกล้วย B2 (ผู้บรรยายใน Clip ) มาสรุปให้อ่านกันนะครับ


    วิถีแห่งธรรม 4 ขั้นตอน...

    1. ต้องรู้จักความรู้สึกตัวบริสุทธิ์ตามธรรมชาติ (สติสัมปชัญญะ) ให้เป็นก่อน
    โดยผ่านกระบวนการรับรู้ภายใต้ความรู้สึกที่กายก่อน (รูป) ไม่ใช่รู้นามก่อน (เวทนา จิต ธรรม)

    โดยอาศัย กฏ 3 ข้อเทียบเคียง....

    ๑. ระลึกรู้ รับรู้ ความรู้สึกทั้งกาย รู้หลวมๆ
    ไม่เจาะจงรู้อวัยวะเพียงบางส่วน
    (ผู้มาใหม่อาจจะยากต้องหัดเคลื่อนไหวไม่นั่งนิ่ง
    หรือ เดินจงกลม สร้างจังหวะเหมือน ลพ. เทียน จึงจะรับรู้ได้)
    ๒. รับรู้โดยไม่ตีความหมาย ไม่เทียบเคียง ไม่ให้ความหมาย
    (พูดหรือแสดงข้างใน) ต่อความรู้สึกตัวบริสุทธ์...นี้ทั้งสิ้น
    เช่น อันนี้คือ จิตปภัสสร อันนี้คือจิตเดิมแท้
    ๓. รับรู้โดยไม่พูดกำกับอิริยาบททั้งในใจและออกเสียงทั้งสิ้น
    (เช่น ก้าวซ้าย ก้าวขวา) และทุกๆ กรณี



    2. เมื่อเข้าใจสติบริสุทธ์นี้แล้ว ให้ปลุกเขาบ่อยๆ
    โดยนำไปผูกกับอริยาบททั้ง 4 ในชีวิตประจำวัน
    คือ เมื่อเดินก็รับรู้ ความรู้สึกตัวบริสุทธ์..
    เคลื่อนไหวใดๆ ก็ให้รับรู้ความรู้สึกตัว...

    ในมือใหม่อาจต้องปลุกหรือกระตุ้นการรับรู้หน่อย
    เพราะเขายังไม่มีกำลังทำงานเองได้
    .....โดยให้ฝึกในภาวะปกติ ไม่ใช่มีอารมณ์ ขึ้นมาแล้วค่อยฝึก....
    .....ให้อยู่ในชีวิตประจำวันให้ได้มากๆ.....
    เวลาที่ใช้ในการติดตั้งระบบสติบริสุทธ์..นี้ ประมาณ 1 - 3 เดือน



    3. เมื่อระบบสติบริสุทธ์.. ติดตั้งได้แล้ว(อัตโนมัติ)
    เขาจะเริ่ม รู้เป็น เห็นได้ ด้วยตัวเอง
    เช่น เมื่อเราขยับกายเขาจะรู้สึกตัว
    เมื่อเราคิดไปฟุ้งไปสติเห็นเขาจะรู้สึกตัว....
    และ ออกจากความคิดนั้นเองได้
    โดยไม่ต้องไปทำไปสั่งใดๆ เลย
    และ ความรู้สึกตัวอันนี้ก็ไม่มีภาระของผู้รู้ ผู้ดู ผู้เป็น
    ทีจะต้องรักษาไว้ เขาจะมาเอง ทำงานเอง ไปเอง
    ตามกฏของตรัยลักษณ์ โดยไม่มีการดัดแปลง
    (รู้เห็นรูปนามตามความเป็นจริง)

    ข้อจำกัด คนที่ไม่ได้เริ่มจากสติบริสุทธ์ตามธรรมชาติในฐานกายนั้น จะข้ามขั้นไปเป็นรู้นามเลย (เวทนา จิต ) แต่สติรู้นั้นจะเจือปนความอยากติดไปด้วย

    อุปมาเหมือน เริ่มต้นก็ใส่แว่นสี เมื่อมองจ้องอะไรสีก็ผิดเพี้ยน
    เมื่อเห็นได้ก็ติดใจไม่ยอมถอดแว่นอีก คือเริ่มก็ไม่ตรง
    ลงท้ายก็หลงยึดถือ..... ด้วยเหตุแห่งความอยากเป็น ผู้รู้ ผู้ดู ผู้เป็น ทั้งสิ้น จึงสร้างภาวะเฝ้ามองขึ้นมา....
    การแก้จำเป็นต้องดูรายละเอียดแต่ละรายไป ไม่มียาวิเศษแก้ที่เดียวทั้งหมด

    เมื่อดำเนินชีวิตปกติด้วยสติบริสุทธ์ตามธรรมชาติแล้ว
    ชีวิตจิตใจจะเบาๆ โล่งๆ โปร่งๆ ไม่มีอะไร
    ชีวิตจะได้หยุดได้พักจากอารมณ์
    ความขุ่นมัว อาการปรุง อาการฟุ้ง ทั้งหลายได้จริง ในเวลาไม่นาน..



    4. การพัฒนาขั้นปัญญารู้ธรรม (ไม่ใช่รู้จำ)
    ขั้นนี้อธิบายลำบากครับ เพราะถ้าอธิบายไป
    ก็จะติดกับดักการจดจำของจิตในปุถุชน อย่างแน่นอน
    ผมขอไม่อธิบายรายละเอียดครับ เอาเป็นว่ามี 3 เรื่องที่เกี่ยวพันธ์กันนะครับ

    ๑. การเข้าถึงกลไกลธรรมชาติและความสัมพันธ์ของ รูป นามนี้ จะเกิดขึ้นดังตาเห็น จึงเป็นเหตุให้สิ้นสงสัยในธรรมทั้งปวง ไม่ใช่ตีความหมายหรือจำความหมาย แล้วสรุปมาเป็นความเข้าใจของตนจนฟุ้ง ผู้รู้ร่ำไป

    ๒. จิตวางสมมุติบัญญัติทางโลกด้วยตัวเอง ไม่มีความตั้งใจไม่มีเจตนาทั้งสิ้น ดังเขาทำหน้าที่เองทั้งหมดแบบสะอาดหมดจด เป็นเหตุให้จิตไม่ยึดไม่เกาะไม่เกี่ยวกับความคิดทั้งปวง จิตจึงเป็นอิสระ และจะระลึกถึงคุณแห่งพระพุทธองค์
    หลวงพ่อเทียนนั้นแทบแทรกแผ่นดินกราบในความรู้ตรงรู้จริง และเมตตาที่จะถ่ายทอดไว้ให้ชนรุ่นหลัง...

    ๓. ชีวิตของกายนี้ จะมั่นคงมากๆ ไม่หวั่นไหวใดๆ เลยถึงแม้นความตายในขณะนั้น เป็นเหตุให้ชีวิตที่เหลืออยู่ดำเนินไปบนเส้นทางที่ควรค่าต่อตนต่อโลก
     
  12. GluayNewman

    GluayNewman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +747
    ผมนำเรื่อง กฏ 3 ข้อของคุณกล้วย B2 มาขยายความนะครับ

    ความรู้สึกตัวบริสุทธิ์ตามธรรมชาติ

    step ที่ 1 เริ่มจากกลับมาดูต้วเองว่าอยู่ในอิริยาบทไหน ผ่อนคลายให้สบายๆ ก่อน
    หายใจเข้าออกลึกๆ ให้รู้สึกสบายๆ.....
    แล้วเคลื่อนไหวให้รู้สึกตัวตามธรรมชาติ รู้ได้กว้างๆ หลวมๆ ไม่ใช่รู้เฉพาะเจาะจงอวัยวะใด
    รู้ได้ทั้งกาย

    ทีนี้...ลองยืนขึ้นแล้วบิดตัวไปซ้าย- ขวา ซิครับ เป็นไงครับ รู้สึกได้ทั่วกายๆ ไม๊
    รู้ได้เองหรือเปล่า ต้องไปตั้งใจจะรู้หรือเปล่า ลองถามตัวเองแบบนี้ ...
    รู้ได้เอง ไม่ต้องกำหนดรู้ และรู้ได้ทั้งตัวครับ
    นั่นคือความรู้สึกตัวตามธรรมชาติ ...

    ลองบิดไปมาอีกที แล้วสังเกตุว่า ในขณะที่เคลื่อนไหวมีความคิดหรือเปล่า จิตใจเป็นอย่างไร
    มียินดี ยินร้ายอะไรหรือเปล่า...หรือว่าเฉยๆ
    มันบริสุทธิ์ ไม่มีอะไร ไม่ความคิด ไม่มีอารมณ์

    รู้สึกตัวบริสุทธิ์ตามธรรมชาติ จึงหมายถึง
    รู้สึกตัว = ทั้งตัว
    ตามธรรมชาติ = รู้ได้เอง
    บริสุทธิ์ = ปราศจากความคิดปรุงแต่ง


    *****************************************

    step ที่ 2 เมื่อรู้สึกได้ทั้งกาย รู้หลวมๆ เบา และรู้ได้เองแบบนี้แล้ว ลองนั่งลงแล้ว เคลื่อนไหว เช่นยกมือขึ้นลงสลับกัน
    ทำไปตามธรรมชาติ ไม่ต้องมีความตั้งใจ ไม่ต้องให้ความหมายในการเคลื่อนไหวนั้น
    อย่าให้รู้สึกว่าจะต้องเคลื่อนไหว ไม่ต้องไปเทียบเคียงกับอะไรทั้งสิ้น
    ทั้งไม่ต้องไปเจาะจงดูที่มือเคลื่อนไหวนั้นนะครับ
    ปล่อยให้เคลื่อนไปตามธรรมชาติ

    เคลื่อนไป ให้รู้สึกได้ทั้งกายเหมือนตอนที่ยืนบิดตัว ....รู้หลวมๆ กว้างๆ
    แต่รู้ได้แค่ไหนก็แค่นั้นนะครับ ไม่ต้องตั้งใจจะไปนึก ไปจำ หรือก๊อปปี้ความรู้สึกทั้งตัวตอนที่ยืนบิดนั้นมานะครับ

    และก็ให้รู้ได้เอง ....ทำไปเหมือนทำเล่นๆ... แล้วสังเกตุว่า จิตใจเป็นอย่างไรครับ


    *****************************************

    step ที่ 3 ก็เคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ รู้ก็ช่าง ไม่รู้ก็ช่าง ทำสบายๆ ลืมบ้างก็ช่าง ....
    ไม่ต้องมีการคิดประกอบ หรือ พูดบริกรรมอะไร
    แต่มันจะเผลอคิดบ้าง ก็กลับมาเคลื่อนไหวให้รู้สึกตัวไว้ตาม step 1-2

    -------------------------------------------------------
    ***** ถ้าทำได้ถูกต้อง ทุกอย่างจะดับหมด ความคิดจะน้อยลง หรือไม่คิดเลย จิตใจก็จะเป็นปกติมากๆ ครับ ******
    -------------------------------------------------------
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. GluayNewman

    GluayNewman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +747
    ทำไมต้อง "รู้สึกตัว"

    การที่เราจะพ้นจากความทุกข์ในจิตใจได้
    ไม่ว่าจะเป็นจากความโกรธ ไม่สบายใจ ผิดหวัง เซ็งเป็ด ฯลฯ
    เราก็จะต้องเรียนรู้ว่าทุกสิ่งในโลกนี้มันเป็นเรื่องธรรมดา
    มันก็ต้องมี สุข ทุกข์ สมหวัง ผิดหวัง ขัดแย้ง ดีใจ เสียใจ มีขึ้นมีลง มีสบาย มีป่วย ฯลฯ
    ไม่ก็เปลี่ยนแปลงของมันไปเรื่อย
    เป็นความจริงของชีวิต ซึ่งเมื่อคนเราใช้ชีวิตมา
    ผ่านชีวิตมา และเรียนรู้โลกสักระยะหนึ่ง ก็เข้าใจได้โดยไม่ยาก

    แต่ปัญหาก็คือ ถึงแม้เราเข้าใจชีวิตอย่างไร ... แต่จิตมันไม่ได้เข้าใจตามที่เราคิดไปด้วย
    มันมีสภาพที่เรียกว่า ปรุงแต่ง และ ยึดมั่น
    แม้ปากจะว่า เข้าใจๆ ....แต่เราก็ยังมี ไม่พอใจ โมโห เศร้าโศก รำพัน มันไม่ได้หมดไปด้วยการเข้าใจนั้น
    สรุปว่า ไม่ว่าเราจะเข้าใจโลกเท่าไร จิตก็ไม่ได้ปล่อยความปรุงแต่ง และยึดมั่น ได้เลย


    *****************************************
    ดังนั้น เราจึงตองมีการเรียนรู้ทางจิต ซึ่งไม่ใช่วิธีทางความคิด
    เป็นการที่จิตเรียนรู้ความจริงในโลกตรงนี้ ...ด้วยตัวจิตเอง..ให้จิตสัมผัสกับความจริงเอง
    เป็นวิธีที่บรมครู สมเด็จพระสัมมาสัมพทธเจ้า ทรงค้นพบวิธีการนี้
    และนำมาสอน ต่อๆ กันมามากมาย หลายเทคนิควิธี
    จนมาถึงรุ่นเรา พบครูบาอาจารย์ที่รับทราบวิธีการเรียนรู้ของจิตวิธีหนึ่ง
    นั่นคือ หลวงพ่อเทียน

    การที่จิตจะเรียนรู้ความจริงของโลกได้
    จิตจะต้องบริสุทธิ์ ไม่มีความคิดมาเจือปน มิฉะนั้นก็จะเข้าไปเป็นขบวนการทำความเข้าใจ
    ซึ่งเป็นการคิด แล้วผลลัพท์ก็เป็นอย่างที่อธิบายมาแต่ต้น

    ....เข้าใจ แต่ปล่อยวางไม่ได้....

    การที่จิตบริสุทธิ์ไม่มีความคิดมาเจือปน ก็ทำให้จิตได้สัมผัสกับความจริงโดยตรง
    ไม่ต้องผ่านคนกลางคือ ความคิด จิตจะได้เรียนรู้เต็มๆ ...
    หลวงตามหาบัว ท่านใช้คำว่า ...รู้ล้วนๆ


    *****************************************
    หลวงพ่อเทียน ท่านสอนวิธีรู้สึกตัวให้เรา
    เพื่อให้เราออกจากความคิด เมื่อรู้สึกตัว จิตรู้ที่กาย มันจะวางความคิดไปเอง
    เพื่อ่ให้จิตเกิดความบริสุทธิ์ ไม่เจือด้วยความคิด
    จิตจะบริสุทธิ์ทีละน้อยๆ จิตก็ได้เรียนรู้ ไปทีละน้อย
    พร้อมทั้งวางความคิดที่จะปรุงแต่งให้เกิดอารมณ์ต่างๆ ไปด้วยในเวลาเดียวกัน


    (สำคัญรู้สึกตัว ต้องฝึกให้ถูกวิธีด้วยครับ...ดู "กฏ 3 ข้อ "
    และ Clip สติบริสุทธิ์ตามธรรมชาติ ของคุณกล้วยB2)



    เพราะฉะนั้น เมื่อจิตวางความคิดได้

    อานิสงค์แรก คือพ้นจากอารมณ์ในปัจจุบัน คือ หายโกรธ หายเศร้า หายเครียด ได้
    แรกๆ อาจใช้เวลาหน่อย แต่พอชำนาญแล้ว หลวงพ่อเทียนบอกว่า รู้ปุ๊ป ดับปั๊ป เลยครับ
    จิตบริสุทธิ์ มีความปกติ รู้ ตื่น และเบิกบาน
    อารมณ์ไม่ขุ่นมัว สติปัญญาก็คล่องแคล่วครับ ไม่ตกอยู่ใต้อิทธิพลของอารมณ์
    นี่เป็นอานิสงค์แรก


    อานิสงค์ที่สอง เมื่อฝึกจนชำนาญ จนเป็นนิสัย
    จิตก็จะเกิดการเรียนรู้โลก สัมผัสความจริง ก็จะ "เข้าถึง" ความจริง (ไม่ใช่การเข้าใจ)
    เมื่อเข้าถึงความจริงได้ ...ก็เกิดการหยุดปรุงแต่ง และปล่อยวางความยึดมั่นไปเอง
    คล้ายๆ กับที่เราเข้าใจเรื่องต่างๆ ที่ติดค้างคาในใจ ...เข้าใจแล้วก็เบาใจไป ..แบบนั้น
    ส่วนจิตเมื่อเข้าถึง แล้วค่อยๆ ถอนความยึดมั่น มันจะวางอารมณ์ได้ลึกซึ้งกว่าการเข้าใจ

    ปัญหาต่างๆ ทางอารมณ์ ก็ค่อยๆ หมดไป ...หมดไปจริงๆ หมดไปเองด้วย
    อย่างนี้จึงเรียกว่า...ผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง... (เพราะเข้าถึงด้วยจิต)



    การที่รู้สึกตัวได้ตามธรรมชาติ เมื่อเราฝึกมากเข้า มันจะกลายเป็นนิสัย ติดตัวไปเอง
    จนเป็นอัตโนมัติเอง คล้ายการขับรถ ....คือมันจะเป็นไปเอง กลมกลืนไปกับชีวิตเรา
    นั่นก็ทำให้จิตบริสุทธิมากขึ้นเรื่อยๆ เรียนรู้ได้เองเป็นอัตโนมัติขึ้นเรื่อยๆ
    สติบริสุทธิ์เกิดบ่อยแค่ไหน จิตก็บริสุทธิ์บ่อยแค่นั้น ก็ได้เรียนรู้มากขึ้นๆ ลึกซึ้งขึ้น
    เรียนรู้จนถึงความจริงในที่สุด โดยการรู้เองอย่างแจ่มแจ้ง
    แล้วก็หมดความยึดมั่น...ก็หมดปัญหา หมดความทุกข์


    *****************************************
    ถามว่ารู้อะไร ...ก็รู้ความเป็ธรรมดาของโลก ที่เรา เข้าใจๆ กันอยู่นี่แหละครับ
    ไม่ได้รู้อะไรวิเศษเลิศเลอ เพียงแต่รู้แล้วปล่อยวางได้จริง

    ปล่อยได้แม้ชีวิต แม้อัตตาของตัวเอง หมดสิ้นทุกอย่าง ไม่มีอะไรจะให้ทุกข์

    นี่คือคำตอบว่า ทำไมต้อง "รู้สึกตัว" ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 พฤษภาคม 2012
  14. GluayNewman

    GluayNewman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +747
    สภาวะ vs ผัสสะ

    ผู้ปฏิบัติ บางที รู้ธรรมะมาก เข้าใจลึกซึ้ง
    และเห็นสภาวะธรรมแปลก พิศดาร เหนือปกติ ....ก็เข้าใจว่าปฏิบัติธรรมได้ก้าวหน้า มีธรรมะเกิดในจิตใจ

    แต่ขอให้พิจารณาว่า ถ้าธรรมะเกิดในใจจริง กิเลสต้องลด ความทุกข์ต้องน้อยลงนะครับ...ธรรมะแท้ต้องเป็นทางพ้นทุกข์
    พูดตรงๆ เลยว่า การ รู้ธรรมะมากๆ หรือ เกิดสภาวะต่างๆ ยังบอกอะไรกับเราไม่ค่อยได้
    และอาจเป็นหนทางแห่งความหลงตัวเองด้วย ....หากคิดเข้าข้างตัวเอง ซึ่งโดยธรรมชาติ คนเรามักเป็นอย่างนั้น


    *******************************************************************************
    สิ่งที่จะบอกเราชัดเจนที่สุดคือ ดูที่เวลาผัสสะ ครับ
    เราอาจอธิบายธรรมะได้อย่างน่าฟังมากๆ ลึกซึ้งไปถึง อธิบายสภาวะนิพพานกันเลย
    หรืออาจมีสภาวะธรรมที่ฟังแล้วดูพิเศษ น่าศรัทธามากๆ

    แต่.....
    เวลาตื่นเช้ามา ฝันไม่ดี อารมณ์ไม่ดีด้วยหรือเปล่า
    ตื่นแล้ว นานไม๊ กว่าจะหายงัวเงีย
    เวลารถติด หงุดหงิดหรือเปล่า
    เวลาคนขับรถปาดหน้า อารมณ์เป็นยังไง
    เวลาทำงานยุ่งๆ เสร็จงานแล้วมึนไม๊ เครียดแค่ไหน
    เวลาจะทำอะไรแล้วติดขัดปัญหา ไม่ได้ดั่งใจ อารมณ์เป็นยังไง
    เวลาขัดแย้งกับคนอื่น จบเร็วแค่ไหน จิตใจเป็นยังไง
    เวลาได้เถียงกับคนอื่น จิตใจเป็นยังไง
    เวลาไปใช้บริการต่างๆ ต้องรอนาน หรือบริการไม่ดี อารมณ์เสียหรือเปล่า
    เวลาดูหนัง ดูละคร ฟังข่าว อินกับมันแค่ไหน
    เวลาฝนตกหนัก แดดร้อน หงุดหงิดแค่ไหน
    เจอใครพูดไม่ถูกหู หรือมาวิจารณ์เราทางลบ จิตใจเป็นยังไง
    เวลาโดนปัญหารุม แล้วท้อไม๊ ท้อนานแค่ไหน
    เวลาอยากได้อะไร หรืออยากทำอะไร แล้วไม่สมใจ ร้อนรนแค่ไหน
    เวลาครุ่นคิดสงสัยอะไร กังวล และวนเวียนอยู่กับมันแค่ไหน
    เวลาใครมาพูดธรรมะ หรือการเมืองคนละขั้วกับเรา จิตใจมันปรี๊ดขึ้นแค่ไหน
    เวลาไปค้างแรมที่ไหน เรื่องมากไม๊ กินยาก นอนยาก ฯลฯ
    เวลาใครมาชื่นชมเรา จิตใจมันฟูแค่ไหน
    เวลาได้วิจารณ์อะไร อารมณ์แรงขนาดไหน
    เวลาได้แกล้งคนแรงๆ หรือได้ข่มคนอื่น จิตใจเป็นยังไง
    เวลาไม่ได้เข้าเน็ต เล่นเฟซบุ๊ค กระวนกระวายแค่ไหน
    เวลารู้สึกว่าไม่มีอะไรทำ เบื่อ หรือ เหงาแค่ไหน
    เวลาปฏิบัติธรรมเกิดสภาวะแปลกๆ ดีๆ แล้ว ยินดีกับมันหรือเปล่า
    หรือเวลาปฏิบัติแล้ว ไม่สงบ ไม่ได้อารมณ์ปฏิบัตินี่ ทุกข์ใจหรือไม่
    ... ฯลฯ

    และคำถามที่สำคัญที่สุด
    *** หากมีอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นในจิตใจ จากเหตุการณ์เหล่านี้
    พอมีสติ รู้สึกตัวขึ้นมาแล้ว แล้วมันหายไป หรือบรรเทาเบาบางไปได้แค่ไหน ***


    นี่แหละครับ เป็นแบบทดสอบเบื้องต้น ไว้เป็นตัวเช็คอย่างดี ว่าเรา "รู้ธรรมะ" หรือ "มีธรรมะ"
    *** ให้ดูเวลาผัสสะ อย่าเชื่อสภาวะ ***

    แบบนี้ล่ะครับ โยนิโสมนสิการ ตัวจริง (ไม่ใช่การไปคิด ใคร่ครวญพิจารณาธรรม....... แบบนั้นเป็นแค่ การทำความเข้าใจ)

    *******************************************************************************
    คำถามเหล่านี้ เป็นผัสสะที่เราเจอกันกับคนห่างตัว ไม่ใช่คนใกล้ตัวด้วยนะครับ
    ถ้าแบบทดสอบเบื้องต้น ยังมีผลออกมาไม่ดี
    ... ผัสสะกับคนใกล้ตัว จะยิ่งกว่านี้เยอะ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 พฤษภาคม 2012
  15. kimberly

    kimberly เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2006
    โพสต์:
    1,627
    ค่าพลัง:
    +5,233
    ควรยึดเป็นแบบอย่าง โมทนากับข้อความนี้ค่ะ..
     
  16. GluayNewman

    GluayNewman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +747
    สวัสดีครับคุณอิ่มสบาย
    ขอตอบคำถามนะครับ

    1 เมื่อมีสิ่งมากระทบ(ผัสสะ) ถ้าไม่ใช่ผัสสะจากคนใกล้ตัว เป็นผัสสะประมาณที่ผมตั้งคำถามไว้ตามหัวข้อ ...สถาวะ vs ผัสสะ...โดยส่วนมากจิตจะปกติครับ ไม่ค่อยเกิดความยินดียินร้ายสักเท่าไร

    แต่ถ้าเกิดอารมณ์ใดๆ มีสติรู้ กลับมารู้สึกตัว อารมณ์นั้นก็จะดับไปครับ

    สำหรับผัสสะกับคนใกล้ตัว เช่น พ่อแม่ เพื่อนสนิท แฟน อันนี้ยังมียินดี ยินร้ายอยู่พอสมควรครับ รู้สึกตัวแล้วบางทีก็ไม่ดับในทันที...ต้องใช้เวลา แต่ก็รู้ได้ และ โดยทั่วไปจิตจะไม่ปรุงอารมณ์ให้เกิดมาก เช่น กลายเป็นโทสะแรงๆ นะครับ


    สาเหตุ เพราะว่า เมื่อเรารู้สึกตัวแล้ว จิตจะออกจากอารมณ์ครับ เป็นความลับทางธรรมชาติที่คนไม่ค่อยทราบกัน...
    ยกตัวอย่าง เวลาเราคิดอะไรเพลินๆ แล้วมีคนมาทัก รู้สึกตัวขึ้นมา ความคิดนั้นก็จะดับไป...

    สิ่งนี้หลวงพ่อเทียนเป็นผู้ค้นพบ และนำมาให้เราฝึกฝนกันครับ

    เมื่อออกจากอารมณ์ได้ จะเกิดการมีสติ และรู้เฉยๆ
    เวลามีอะไรที่เกิดขึ้นมาในจิตเราจะทราบ ...เมื่อรู้สึกตัวไว้ จิตจะรู้อย่างเดียว มีความตั้งมั่น ไม่ไปปรุงแต่งกับอารมณ์ที่เกิด อารมณ์มันจะดับไปเองตามกฏอนิจจัง

    ผลคือ ทำให้จิตใจปกติ ไม่มียินดี ยินร้าย พร้อมกับเรียนรู้ความจริงตามธรรมชาติว่า ความปรุงแต่งเป็นไตรลักษณ์ นี้ไปด้วยในตัวครับ


    ------------------------------------
    ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความเพียร ที่เราฝึกได้ถูกทาง และชำนาญแค่ไหนด้วยครับ มีสติบ่อย รู้สึกตัวให้ชัด จิตก็จะเป็นปกติมากขึ้นได้เรื่อยๆ และบ่อยขึ้นเรื่อยๆ

    ***************************************************************************



    2 เมื่อพูดคุยกับคนอื่น หรือแม้แต่ทำงาน ก็ใช้ความคิดครับ
    ความคิดเป็นธรรมชาติที่ทุกคนต้องใช้ แต่การที่เรามาฝึกสติ ฝึกรู้สึกตัว เพื่อที่จะไม่ให้ความคิดปรุงแต่งมาครอบงำจิต แล้วปรุงแต่งให้เกิดกิเลสได้นะครับ

    ถ้าจิตไ่ม่ได้ปรุงแต่งแล้ว ความคิดที่เราคิดก็เป็นความคิดที่ไม่ประกอบด้วยกิเลส เป็นความคิดที่บริสุทธิ์ จะคิดได้ดี คิดได้ไว และคิดมีประโยชน์มากกว่าความคิดที่ถูกปรุงแต่งตามกิเลส..... คิดเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นได้มาก ไม่คิดแบบเห็นแก่ตัวครับ



    หวังว่าคำตอบคงจะเป็นประโยชน์บ้างนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2012
  17. GluayNewman

    GluayNewman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +747
    อย่าปฏิบัติผิด และอย่ายึดความคิดว่าตัวเองถูก

    จากประสบการณ์ที่ผิดๆ จนนับไม่ถ้วนของผม
    ผมจึงต้องการจะเตือนเพื่อนผู้ปฏิบัติธรรมทุกๆ ท่านว่า
    ...อย่าปฏิบัติผิด และอย่ายึดความคิดว่าตัวเองถูก...

    **************************************************

    1 อย่าปฏิบัติผิด เพราะถ้าผิดแล้ว

    1.1 มันเสียเวลาชีวิตครับ
    1.2 เสียเวลาชีวิตยังไม่เท่าไหร่ ถ้าปฏิบัตินานๆ แล้วมันจะเกิดการ "ติด"

    เวลาติด เช่น ติดสงบ ติดเพ่ง ติดฟุ้งธรรมะ ติดวิเคราะห์ ติดสงสัย ติดสภาวะต่างๆ
    (คือรู้แล้ว ไม่วาง) ฯลฯ แบบนี้
    นอกจากเสียเวลาปฏิบัติ แล้วต้องเสียเวลาแก้ด้วยนะครับ

    แก้นี้ เรื่องใหญ่เลยนะครับ ...ถ้าติดแล้วไม่เจอครูบาอาจารย์ที่รู้จริง แกะไม่ออกง่ายๆ นะครับ
    จิตเราเวลาไปยึดอะไรแล้ว ยิ่งเป็นสภาวะที่เราไปตั้งใจฝึกมันด้วย มันจะวางยาก
    ถ้าใครเคยติดอะไรมา จะรู้ว่า แกะยาก ใช้เวลานานด้วย กว่าจะหลุด...

    +++++++++++++++++++++++++


    แล้วยังไง ถึงจะรู้ว่าปฏิบัติได้ถูกทางครับ..
    เรื่องนี้คงต้องพิจารณากันก่อนว่า ทางที่จะปฏิบัติมีความน่าเชื่อถือได้แค่ไหน
    ใช้สติปัญญษของเราที่มี ไตร่ตรองดูให้รอบคอบ
    เมื่อโอเคแล้ว ก็คือ ...ลองปฏิบัติดู ต้องลองกับตัวเองจริงๆ
    ปฏิบัติโดยตั้งใจ ใส่ใจ สอบถาม และทำความเข้าใจให้ตรงกับคำสอนที่สุด

    เวลาไม่เกิน 6 เดือน ก็พิสูจน์ได้ครับ ...ว่า ใช่ หรือ ไม่ใช่
    โดยใช้หลักตัดสินธรรมวินัย 8 ประการเทียบเคียงดูได้ครับ
    ตามนี้ครับ
    ลักษณะตัดสินธรรมวินัย

    หรือเอาอย่างง่ายๆ ก็ได้ ...ถ้าความทุกข์ไม่ลดลง ปัญหาต่างๆ ในจิตใจไม่เบาบางลง
    ผ่านไป 6 เดือนก็แล้ว ทนปฏิบัติต่อ ปีนึงก็แล้ว....
    ยังวนเวียนๆ อยู่กับทุกข์เรื่องเดิมๆ หรือดีขึ้นเรื่องนึง ไปทุกข์กับอีกเรื่องหนึ่ง
    ....เปลี่ยนวิธีเถิดครับ.....ในเมืองไทยมีครูบาอาจารย์ มีสำนักมากมาย
    อย่าติดยึดกับครูบาอาจารย์ ว่าท่านสอนดี มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จัก
    มีลูกศิษย์ลูกหามาก ลูกศิษย์ก็เล่าสภาวะกันอย่างพิศดาร น่าศรัทธายิ่งนัก ฯลฯ

    เอาความรู้สึกตัวเองเป็นหลัก ตามกาลามสูตร ครับ ชัวร์ที่สุด
    ถ้ามันไม่บรรเทาทุกข์ จะดีเลิศขนาดไหน ก็ไม่ควรปฏิบัติตาม

    ....ระวัง อย่าให้ ศรัทธา มาบัง ปัญญานะครับ...

    เพราะบางทีท่านอาจจะดัง แต่สอนไม่ตรงทางก็มี (คงพอจะเห็นกันอยู่)
    หรือบางที ท่านสอนตรง แต่เราไม่เก็ท ไม่ตรงจริตกับวิธีท่านก็เป็นได้

    **************************************************

    2 อย่ายึดว่าตัวเองถูก

    แม้จะเป็นไปตามหลักตัดสินธรรมวินัย 8 ประการ หรือ ความทุกข์จะลดลงก็ตาม
    รู้แล้ว มั่นใจว่าทางนี้ ถูกแล้ว ก็ให้ระวังความคิดว่า "ฉันปฏิบัติถูก"
    ถ้าไปสรุปแบบนี้ ไม่รีบกลับมารู้สึกตัว ปล่อยให้ความคิดนี้ครอบงำจิตใจ

    แม้จะถูก แต่ไปยึดความถูก ....มันจะผิดทันทีครับ
    ผิดตรงไหนเหรอ... มันจะปรุงอัตตาไงครับ
    ....เดินทางถูกดีๆ แต่มีอัตตา ก็ผิดทันที...

    ทีนี้ จะมี ฉันถูก เธอผิด มันจะเกิดการขัดแย้งขึ้นในเบื้องต้น
    และก็จะกลายเป็นความปรุงแต่ง เป็นฉันรู้ ฉันถูก ฉันเก่ง
    จนกระทั่งฉันเเป็นครูบาอาจารย์ เป็นอริยบุคคลในที่สุด

    ติดอัตตาเต็มๆ ...ติดอัตตานี่ หนักที่สุด
    ถ้าติดมากถึงขั้นไม่รับฟังใครแล้ว...อาจถึงกับโมฆะไปเลยทั้งชาติก็ได้ครับ...
    ที่พระพุทธเจ้าท่านเรียกว่า โมฆะบุรุษ

    ระวังนะครับ ...ยิ่งปฏิบัติไป อารมณ์จะยิ่งละเอียด จะพบสภาวะที่ลึกซึ้งไปเรื่อยๆ
    ถ้าไปคิดสรุป หรือเทียบเคียง ว่าคือสภาวะนั้น สภาวะนี้ แม้นิดเดียว
    ก็เป็นเหตุให้ติดหลงได้โดยไม่รู้ตัว...
    ธรรมะแท้ ไม่มีอะไรเลยครับ.... รู้แล้ววางหมด

    +++++++++++++++++++++++++

    ผมเคยมีครูบาอาจารย์ที่อารมณ์ดี ใจดีมากๆ ไม่เคยเห็นท่านโกรธเลย ยิ้มทั้งได้ทั้งวัน
    ไม่หวังลาภยศเงินทองชื่อเสียง / กินง่าย นอนง่าย / ไม่ขัดแย้งกับใคร / อยู่คนเดียวไม่คุยกับใครก็ได้
    ไม่โอดโอยเรื่องความเจ็บป่วย / ไม่หวั่นแม้ความตาย ...ท่านจากไปอย่างสงบ
    สภาวะอารมณ์ขนาดนี้... แต่ท่านก็ยังติด ยังไม่พ้นอัตตาเลยครับ
    เป็นอัตตาที่ละเอียดมากๆ...


    ปฏิบัติไปๆ แล้วจะทราบว่าจิตเราลึกซึ้ง ซับซ้อนขนาดไหน
    สภาวะธรรมมันละเอียดมากขึ้นๆ ลึกซึ้ง ซับซ้อนอย่างคาดไม่ถึงครับ..
    และที่สำคัญ เป็นสภาวะที่ดีๆ ทั้งนั้นเลย
    บางทีเจอสภาวะสุดนิ่ง ขนาดผัสสะแรงๆ จิตก็ไม่สะเทือน
    ไม่ใช่สภาวะแบบโหลยโท่ย แบบอธิบายธรรมะเก่ง แต่ปรี๊ดง่าย...

    -------------------------------------------------

    เพราะฉะนั้น ผมถึงไดให้ระวัง 2 ข้อนี้ให้ดี มันจะก่อปัญหาตามที่ผมกล่าวมาได้

    และผมก็ศรัทธาวิธีการของหลวงพ่อเทียนมากๆ
    เพราะรู้สึกตัวลูกเดียว ไม่เกี่ยวกับความคิดนึกอะไรๆ ทั้งสิ้น
    อะไรๆ ก็ไม่เอา ...รู้สึกตัวแล้วดับหมด...จิตไม่เอา ไม่เป็น อะไรซักอย่าง
    รู้แล้ววางได้ ...โอกาศพลาดจึงน้อยครับ ...

    -------------------------------------------------
     
  18. GluayNewman

    GluayNewman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +747
    ที่คุณอิ่มสบายรวบรวมมานั้น ถูกต้องทั้งหมดเลยครับ
    อนุโมทนาด้วยครับ...


    ผมขอเสริมสำหรับผู้ปฏิบัติธรรมที่เป็น "มืออาชีพ" แล้ว...

    การมีสติ รู้กายใจ
    จิตจะเห็นกายใจ โดยไม่หลงไปกับสิ่งที่มากระทบ ตามที่คุณอิ่มสบายได้ยกมานะครับ
    เมื่อผัสสะภายนอก ตากระทบรูป หูกระทบเสียง ฯลฯ...ไปถึงกายกระทบสัมผัส เย็นร้อน อ่อน แข็ง หรือแม้แต่ความคิดต่างๆ ที่เกิดขึ้น
    รู้กายใจ ก็มีสติตั้งมั่นอยู่ ไม่หลงไปกับความยินดี ยินร้ายที่เกิดขึ้น

    แต่ผัสสะละเอียดที่เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติมืออาชีพ คือ สภาวะธรรม

    บางที แม้จะกล่าวว่า มีสติอยู่กับกายใจ แต่จิตก็ยังไหลไปกับสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นได้
    ตรงนี้จะปรุง "เรารู้" อย่างแนบเนียนที่สุด
    เพราะสภาวะธรรมเป็นเรื่องละเอียดมากๆ


    ยกตัวอย่างเช่น ผู้ปฏิับัติ เห็นการเกิดดับของอารมณ์, เห็นความเปลี่ยนแปลง, เห็นทุกข์, เห็นกายกับจิตแยกกัน, หีือแม้แต่เห็นความว่าง
    เมื่อไป ตามดู ตามรู้ เฝ้าดู ตามประคับประคอง สภาวะนั้นไว้ นั่นก็คือการเผลอไปปรุง หลุดจากการมีสติ รู้สึกตัวแล้ว จิตไปอยู่กับการดูสภาวะ ...จะเป็นจุดเริ่มต้นจาการมี เราผู้ดู
    ...ในที่สุด จะแอบปรุงอัตตา ...เรารู้...

    ...ไม่หลงไปดูสิ่งภายนอก แต่หลงดูสิ่งภายใน...

    ถ้าไม่กลับมามีสติ รู้สึกตัวที่กายไว้ ไปพยายามดู ไปรู้สภาวะธรรม จะเกิดการวิเคราะห์ ให้ความหมาย ว่าเป็นขั้นโน้นนี้ เทียบตามคำครูบาอาจารย์บ้าง เทียบจากตำราบ้าง เกิดความยึดมั่นในสภาวะธรรม โดยไม่รู้ตัว
    การไปตามดู ตามรู้ สภาวะธรรม จิตจะปรุงแต่งไปเรื่อยๆ ไปเกิดสภาวะธรรมใหม่ๆ ขึ้นเรื่อยๆ ก็ปรุง เรารู้ ขึ้นเรื่อยๆ

    สุดท้าย ก็จะมีความมั่นหมายว่าตนก้าวหน้า ไปจนบรรลุธรรม...เป็นอัตตาละเอียด ที่ผมเห็นคนติดมาเยอะแล้ว...รวมทั้งผมในสมัยก่อนด้วยครับ

    -----------------------------------------------------------------------
    เทคนิคของหลวงพ่อเทียน ให้รู้สึกตัว อยู่กับกายไว้ เพราะกายไม่ปรุงแต่ง
    เมื่อเกิดสภาวะใดก็ตาม กลับมารู้สึกตัวไว้ สภาวะจะดับ กลับสู่จิตที่เป็นปกติ

    คือรู้สึกที่่ตัวทั้งกายให้เป็น ให้มั่นคงไว้ เมื่อจิตปกติ ปราศจากการปรุงแต่งใดๆ แล้วเราจะเห็นธรรมชาติของนา<wbr>มธรรมอารมณ์ ความคิด การเกิดดับ แบบไม่ปรุงแต่ง แทรกแซง ดัดแปลง วิเคราะห์ เทียบคียงใดๆ ....รู้ได้เอง โดยไม่มีเจตนาไปตามรู้ ตามดู
    หากยังอยู่กับการเฝ้าตามสภาวะ รับรองปรุงสภาวะนู้นนี้ต่อแน่ๆ ...ลองสังเกตุดูได้ครับ


    ...ธรรมะแท้ ไม่มีอะไรเลยครับ
    รู้แล้วทิ้ง...
    มีแต่ "รู้ล้วนๆ"

    ทุกสิ่งจะต้องกลับสู่นิโรธ คือ ความดับหมด...ถ้ามีอะไรแม้แต่นิดเดียว ไม่ว่าจะเป็นสภาวะอันวิจิตรขนาดไหน แม้ภาวะว่างสุดๆ ที่เข้าใจว่าเป็นนิพพาน นั้นคือจิตยังไม่ดับหมดจริงๆ...ยังปรุงอยู่ครับ

    ...บางทีหลักการถูก เริ่มต้นถูก แต่พลาดในระหว่างทาง...
    วางกิเลสหยาบ ไปยึดกิเลสละเอียดครับ


    จึงนำมาเล่าสู่กันไว้ เพื่อให้พิสูจน์ดูกับตนเอง ตามหลักกาลามสูตร ...ไม่ต้องเชื่อก่อนครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มิถุนายน 2012
  19. patoy

    patoy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +151
    ขออนุโมทนาด้วย ส่วนตัวแล้วเคยมาอ่านหลายครั้งแต่ไม่ค่อยจะเข้าใจ พอ ได้กลับมาอ่านซ้ำอีก ทำให้คิดถึงคำว่า"ปล่อยวาง"ขึ้นมา ที่ท่านกำลังจะบอกมาตลอดนี้คือการปล่อยวางอย่างมีสติ มีสติกับเหตุการณ์ปัจจุบันอย่างไม่ประมาท เมื่อมีอารมณ์ใดมากระทบให้รู้อารมณ์นั้น แล้วปล่อยวางอารมณ์นั้นเสีย เพื่อให้สติอยู่กับปัจจุบัน ถ้าเปรียบกับการขับรถให้รู้ว่าขับรถ ด้วยปัญญาจะทำให้เรารู้ว่า ถ้าเราไม่ประมาท ถ้าทำตามกฏจราจรเราจะปลอดภัย (นั้นคือการมีสติ) ถ้ามีผู้อื่นแซงเราปาดหน้ารถเราทำให้เราโกรธเราเฉยเสียหรือปล่อยวางไป ทำให้เราอยู่กับสติ คิดถึงแต่ความปลอดภัย การไม่เสียทรัพย์สิน การไม่เจ็บตัวเป็นลาภอันประเสริฐ ที่เข้าใจมานี้ใช่หรือไม่ค๊ะ

    เหมือนกับการทำไม่รู้ไม่ชี้จังเลย เคยนั่งสมาธิภาวนาพุทโธ นั่งจนปวดๆมากแรกๆทนไม่ได้ก็ต้องหยุด มาซัก 2-3 เดือนไปไม่ถึงไหน วันนึงเกิดฮึดสู้มาใช้คำว่า"ช่างมัน" ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ สุดท้ายจากปวด ปวดมาก จนชา คำภาวนาหาย แล้วก็หายปวดจริงๆ ผ่านมาเกือบจะ20ปี แล้วทำได้หนเดียวจริง ๆ จน ป่านนี้ยังเรียกกลับไม่ได้เลย แย่จัง

    ถ้าข้าฯ เข้าใจผิดขออภัยด้วย แต่ก็อยากหาทางเดินกลับบ้านได้ เพราะปัจจุบันนี้พระเกจิหรือท่านผู้ปฏิบัติบอกทางเดินให้ได้ แต่ก็คงไม่มีเกจิท่านใดจะบอกทางเดินที่ถูกจริตกับเราได้ มีทางให้แต่เดินไม่ได้ จึงอยากศึกษาทางที่สามารถเดินได้ ขอบพระคุณอย่างยิ่ง
     
  20. GluayNewman

    GluayNewman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +747
    ช่วงนี้แม่เข้าโรงพยาบาล ขอเวลาสักพัก มีเวลาแล้วจะมาตอบข้สงสัยนะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...