ประสบการณ์ หลวงตาพวง สุขินทริโย วัดศรีธรรมาราม จ.ยโสธร

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย Dragon_king, 23 มีนาคม 2010.

  1. Dragon_king

    Dragon_king เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2009
    โพสต์:
    730
    ค่าพลัง:
    +1,388
    ภาพปฏิหารย์ สุดยอดเลยครับ ของจริง ครับ
    ขุนแฟน สวยครับผม
    เหรียญนั่งพานก็มีเสน่ห์ ดีครับ
     
  2. kengnaja

    kengnaja เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,961
    ค่าพลัง:
    +16,856
    หลวงปู่ท่าเก่งจริงครับพระกัมฐานแถบนั้นนับถือท่านหมด
    เป็นเจ้าคณะจังหวัดที่ไม่ยึดติดกับสิ่งใดๆ
     
  3. Dragon_king

    Dragon_king เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2009
    โพสต์:
    730
    ค่าพลัง:
    +1,388
    [​IMG]
    หลวงตาพวง ท่านเก่งมากครับ ผมนับถือท่านครับ
     
  4. สวนพลู

    สวนพลู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    6,596
    ค่าพลัง:
    +18,651
    เคยอ่านประวัติท่านในหนังสือ เห็นว่าไหมผูกข้อมือท่านดังครับ และหลวงพ่อคูณเคยบอกกับคนที่มาจากยโสธรว่า ให้กลับไปหาหลวงตาพวง ท่านเป็นพระทองคำนะ อ่านมาแบบนี้ครับ ไม่เคยไปหาท่านครับ แต่มีพระท่านในบ้านได้ไงก็ไม่ทราบ
     
  5. kengnaja

    kengnaja เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,961
    ค่าพลัง:
    +16,856
    สมัยก่อนที่ยโสธรจะมีเรื่องของสิ่งลึกลับคือ "ผีแม่ม่าย" กับ "ปอบ" เข้ามารบกวนมีชาวบ้านตาย(ไหลตาย)ไปหลายราย ยังจำได้สมัยเด็กๆชาวบ้านจะทำปลัดขิกไปตั้งไว้หน้าบ้าน ผู้ชายจะพากันนุ่งผ้าถุงและทาเล็บกันโดยเชื่อว่าจะกันผีแม่ม่ายได้ หลวงตาท่านเลยเมตตาทำด้ายเจ็ดสีแจกชาวบ้านเพื่อเป็นกำลังใจให้ชาวบ้าน สมัยนั้นคนแห่ไปเอาที่วัดกันจนทำไม่ทัน แล้วที่ทำให้ด้ายเจ็ดสีนี่ดังคือมีคนตายพอตอนเอาไปเผาแล้วไม่ไหม้ในแขนของผู้ตายมีด้ายเจ็ดสีอยู่ครับ
    ตอนเด็กผมก็มีคล้องแขนไว้คุณพ่อไปเอามาให้เดินไปไหนก็มีแต่คนคล้องไว้ที่แขน ^ ^
    แต่ตอนนี้ที่บ้านเกิดน่าจะมีเหลืออยู่เพราะครอบครัวผมนับถือท่านมาก ถ้าได้กลับบ้านจะไปถ่ายรูปวัตถุมงคลต่างๆของท่านมาให้ชมกันครับ ^ ^
     
  6. Dragon_king

    Dragon_king เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2009
    โพสต์:
    730
    ค่าพลัง:
    +1,388
    หากมีประสบการณ์ดีๆ นำมาแบ่งปันกันอีกนะครับ
     
  7. lynn@nice

    lynn@nice เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    21,458
    ค่าพลัง:
    +19,462
    สวัสดีค่ะ มีอยู่ 1 องค์ค่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_0197.JPG
      IMG_0197.JPG
      ขนาดไฟล์:
      92.5 KB
      เปิดดู:
      515
    • IMG_0198.JPG
      IMG_0198.JPG
      ขนาดไฟล์:
      95.4 KB
      เปิดดู:
      471
    • IMG_0199.JPG
      IMG_0199.JPG
      ขนาดไฟล์:
      89.3 KB
      เปิดดู:
      382
  8. windman

    windman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    994
    ค่าพลัง:
    +742
    ไม่มีสักองค์ แต่จำได้ว่าไปกราบหลวงตาพวงที่ รพ.วิชัยยุทธ์ ใช่องค์เดียวกันไหมครับ

    ผมไม่แน่ใจว่าได้รับสายสิณธ์ตะกรุดข้อมือจากท่านหรือเปล่านะ แต่จะได้แม่น่ว่าจะได้รับของจากมือท่าน
     
  9. รักษ์พระ

    รักษ์พระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2007
    โพสต์:
    440
    ค่าพลัง:
    +3,128
    หากอยากไว้พระที่ท่านอธิษฐานไว้จริงๆลองติดต่อที่กุฎิปัทมราช วัดบรมนิวาส กทมซึ่งเป็นวัดสายกรรมฐานพระป่า เมื่อปี 2549 ได้มีการสร้างพระวัตถุมงคลรุ่น 150 ปีเกิดท่านเจ้าคุณอุบาลี หลวงตาพวงท่านได้มาอธิฐานจิตด้วย พร้อมกับพระกรรมฐานรูปอื่นๆที่เท่าที่ตรวจสอบรายชื่อดูเป็นพระอริยะเจ้าแล้วไม่น้อยกว่า 7 รูป มวลสารดีสุดยอดครับเพราะทางวัดนำเอาอัฐิธาตุและอังคารธาตุของพระกรรมฐานที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมาผสมเป็นมวลสาร
    ผมได้บูชาเอาพิมพ์พระปิดตามา ต่อมาเห็นเป็นเม็ดกลมๆขาวๆผุดขึ้นตามองค์พระมากมายครับ พระรุ่นนี้น่าจะยังมีอยู่ที่วัดนะครับ
     
  10. JKV

    JKV เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    421
    ค่าพลัง:
    +201
    เคยมีฮืออา มีชาวบ้านแอบเห็นท่านเดินข้ามแม่น้ำ (เดินบนน้ำ) ไปบิณทบาทอีกฝั่งหนึ่ง อีกหมู่บ้านหนึ่ง

    [FONT=&quot]ประวัติคร่าวๆๆ[/FONT]
    [FONT=&quot]พรรษาที่ [/FONT][FONT=&quot]1 (พ.ศ. 2491) อุปสมบท ณ โบสถ์น้ำ วัดป่าบ้านหนองโดก ต.ช้างมิ่ง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร โดยมีพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจาร์อ่อน ญาณสิริ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจาร์ฝั้น อาจาโร เป็นอนุสาวนาจารย์ หลังจากอุปสมบทแล้ว ไปจำพรรษาที่วัดป่าท่าสองคอน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร [/FONT]
    [FONT=&quot]พรรษาที่ [/FONT][FONT=&quot]2 (พ.ศ. 2492) ย้ายไปจำพรรษาร่วมกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่วัดป่าบ้านหนองผือ ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ซึ่งเป็นพรรษาสุดท้ายของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต [/FONT]
    [FONT=&quot]พรรษาที่ [/FONT][FONT=&quot]3 (พ.ศ. 2493) หลังจากหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต มรณภาพ และเสร็จงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่มั่นแล้ว ไปจำพรรษากับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ธาตุนาเวง อ.เมือง จ.สกลนคร [/FONT]
    [FONT=&quot]พรรษาที่ [/FONT][FONT=&quot]4-5 (พ.ศ. 2594-2495) จำพรรษาที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ธาตุนาเวง อ.เมือง จ.สกลนคร ร่วมกับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร [/FONT]
    [FONT=&quot]พรรษาที่ [/FONT][FONT=&quot]6 (พ.ศ. 2496) หลวงปู่ฝั้น อาจาโรเกิดนิมิตระหว่างนั่งสมาธิในกลางพรรษาว่าเห็นถ้ำที่สว่างไสว เหมาะแก่การปฏิบัติ จึงได้ไปค้นหาจนพบถ้ำขาม แล้วได้บุกเบิกจนเป็นวัดถ้ำขาม อ.พรรณานิคม จ.สกลนครในปัจจุบัน ในพรรษานั้น หลวงตาพวง สุขินทริโยได้ไปบุกเบิกถ้ำขามและจำพรรษาที่นั่น [/FONT]
    [FONT=&quot]พรรษาที่ [/FONT][FONT=&quot]7-8 (พ.ศ. 2497 - 2498) กลับมาจำพรรษาที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ธาตุนาเวง อ.เมือง จ.สกลนคร [/FONT]
    [FONT=&quot]พรรษาที่ [/FONT][FONT=&quot]9 (พ.ศ. 2499) กลับบ้านศรีฐาน อ.ป่าติ้ว จ.อุบลราชธานี ซึ่งเป็นบ้านเกิด เพราะโยมบิดาเสียชีวิต ประกอบ[/FONT][FONT=&quot]กับพระอาจารย์บุญช่วย ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีฐานในใน ที่เคยเป็นพระอาจารย์สมัยบวชเป็นเณร เกิดอาพาธ จึงอยู่ดูแลรับใช้ปรนนิบัติ [/FONT] [FONT=&quot]พรรษาที่ [/FONT][FONT=&quot]10 (พ.ศ. 2500) พระอาจารย์บุญช่วย ธัมวโร เจ้าอาวาสวัดศรีฐานในใน อ.ป่าติ้ว จ.อุบลราชธานี มรณภาพ ไม่มีพระภิกษุดูแลวัด ชาวบ้านจึงนิมนต์ให้รักษาการเจ้าอาวาสวัดศรีฐานในใน เพื่อดูแลวัด [/FONT]
    [FONT=&quot]พรรษาที่ [/FONT][FONT=&quot]11 (พ.ศ. 2501) ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีฐานในในอย่างเป็นทางการ [/FONT]
    [FONT=&quot]พรรษาที่ [/FONT][FONT=&quot]12-18 (พ.ศ. 2502-2508) จำพรรษาที่วัดศรีฐานใน บูรณะปฏิสังขรณ์วัดศรีฐานในจนมีความเจริญรุ่งเรือง [/FONT]
    [FONT=&quot]พรรษาที่ [/FONT][FONT=&quot]19 (พ.ศ. 2509) ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูฐานานุกรม ที่ราชทินนาม (พระครูใบฎีกา พวง สุขินทริโย) [/FONT]
    [FONT=&quot]พรรษาที่ [/FONT][FONT=&quot]20 (พ.ศ. 2510) จำพรรษาที่วัดศรีฐานใน อ.ป่าติ้ว จ.อุบลราชธานี [/FONT]
    [FONT=&quot]พรรษาที่ [/FONT][FONT=&quot]21 (พ.ศ. 2511) เนื่องจากวัดศรีธรรมาราม อ.ยโสธร จ.อุบลาชธานี ไม่มีเจ้าอาวาส เจ้าคณะจังหวัดและชาวบ้านไปนิมนต์ให้มาเป็นเจ้าอาวาส จึงได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดศรีธรรมาราม อ.ยโสธร จ.อุบลราชธานี [/FONT]
    [FONT=&quot]พรรษาที่ [/FONT][FONT=&quot]22 (พ.ศ. 2512) ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลในเมือง อ.ยโสธร [/FONT]
    [FONT=&quot]พรรษาที่ [/FONT][FONT=&quot]23 (พ.ศ. 2513) ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ที่ราชทินนาม พระครูอมรวิสุทธิ์ [/FONT]
    [FONT=&quot]พรรษาที่ [/FONT][FONT=&quot]24 (พ.ศ. 2514) พัฒนาวัดศรีธรรมาราม อ.ยโสธร จ.อุบลราชธานี [/FONT]
    [FONT=&quot]พรรษาที่ [/FONT][FONT=&quot]25 (พ.ศ. 2515) อ.ยโสธร จ.อุบลราชธานี ยกฐานะเป็นจังหวัด ได้รับแต่งตั้งให้รักษาการในตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดยโสธร (โดยไม่ได้เป็นเจ้าคณะอำเภอมาก่อน) [/FONT]
    [FONT=&quot]พรรษาที่ [/FONT][FONT=&quot]26 (พ.ศ. 2516) ได้รับแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะ ชั้นสามัญ ที่ราชทินนาม พระสุนทรธรรมภาณ และได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าคณะจังหวัดยโสธรอย่างเป็นทางการ [/FONT]
    [FONT=&quot]พรรษาที่ [/FONT][FONT=&quot]27-33 (พ.ศ. 2516-2523) จำพรรษาที่วัดศรีธรรมาราม อ.เมือง จ.ยโสธร [/FONT]
    [FONT=&quot]พรรษาที่ [/FONT][FONT=&quot]34 (พ.ศ. 2524) หลังจากบูรณะซ่อมแซมพระอุโบสถวัดศรีธรรมาราม อ.เมือง จ.ยโสธร เสร็จเรียบร้อย ได้ย้ายไปจำพรรษาที่วัด กม.3 ต.ตาดทอง อ.เมือง จ.ยโสธร [/FONT]
    [FONT=&quot]พรรษาที่ [/FONT][FONT=&quot]35-46 (พ.ศ. 2525-2536) กลับมาจำพรรษาที่วัดศรีธรรมาราม อ.เมือง จ.ยโสธรโดยตลอด พัฒนาวัดศรีธรรมาราม จนเจริญก้าวหน้าและได้รับจนได้รับยกย่องให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างในปี พ.ศ. 2528 และยกระดับเป็นพระอารามหลวง ในปี พ.ศ. 2532 [/FONT]
    [FONT=&quot]พรรษาที่ [/FONT][FONT=&quot]47 (พ.ศ. 2537) ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ราชทินนาม พระราชธรรมและได้รับพระราชทานธรรมจักรทองคำ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในปี พ.ศ. 2537 [/FONT]
    [FONT=&quot]พรรษาที่ [/FONT][FONT=&quot]51 (พ.ศ. 2541) ได้รับแต่งตั้งเป็นรองเจ้าคณะภาค 10 (ธรรมยุต) [/FONT]
    [FONT=&quot]พรรษาที่ [/FONT][FONT=&quot]52 - ปัจจุบัน (พ.ศ. 2542-ปัจจุบัน) สร้างวัดป่าใหม่นิคมพัฒนาราม บ้านนิคม ต.กระจาย อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร และจำพรรษาอยู่ที่นี่จนถึงปัจจุบัน [/FONT]

    [FONT=&quot]1. ชาติภูมิ [/FONT]
    [FONT=&quot]หลวงตาพวง สุขินทริโย ถือกำเนิดที่ บ้านศรีฐาน ตำบลศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร ซึ่งเดิมคือ ตำบลกระจาย อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันศุกร์ที่ [/FONT][FONT=&quot]6 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 ตรงกับวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 6 ปีเถาะ มีนามเดิมว่า ด.ช.พวง ลุล่วง เป็นบุตรคนที่ 4 ของนายเนียม และนางบัพพา ลุล่วง มีพี่น้องร่วมบิดา มารดา จำนวน 6 คน เป็นชาย 3 คนและหญิง 3 คน ดังต่อไปนี้ [/FONT]
    [FONT=&quot]1) นายจันทา ลุล่วง อดีตกำนันตำบลกระจาย อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร (ถึงแก่กรรม) [/FONT]
    [FONT=&quot]2) นางผา ละม่อม (ถึงแก่กรรม) [/FONT]
    [FONT=&quot]3) นางสา วันเที่ยง (ถึงแก่กรรม) [/FONT]
    [FONT=&quot]4) หลวงตาพวง สุขินทริโย [/FONT]
    [FONT=&quot]5) หลวงปู่สรวง สิริปุญโญ เจ้าอาวาสวัดจำปาศิลาวาส ต.นาซอ อ. วานรนิวาส จ.สกลนคร [/FONT]
    [FONT=&quot]6) นางจำปา ป้องกัน [/FONT]
    [FONT=&quot]ต้นตระกูลเดิมของหลวงตาพวง สุขินทริโย เป็นชาวนา นับถือศาสนาพุทธมาแต่ดั้งเดิม โยมบิดา มารดา มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ทำบุญตักบาตรหรือถวายภัตตาหารเป็นประจำทุกวันไม่ได้ขาด ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีมาโดยตลอด มีบุตรชายก็ต้องให้บวชพระเสียก่อนทุกคน ทั้งหลวงตาและน้องชายคือหลวงปู่สรวง สิริปุญโญหลังจากบวชตามประเพณีแล้วได้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา จึงครองสมณเพศมาจนถึงปัจจุบัน [/FONT]
    [FONT=&quot]สภาพความเป็นอยู่ของบ้านศรีฐานในสมัยนั้น ชาวบ้านส่วนใหญ่ยึดอาชีพทำนาเป็นหลัก ไม่ได้ทำไร่มันสำปะหลังหรือปลูกปอเช่นในปัจจุบัน ในสมัยก่อนชีวิตความเป็นอยู่ค่อนข้างดี มีสัตว์ป่า ป่าไม้ พืชพรรณ ธัญญาหาร อุดมสมบูรณ์ นอกจากนั้นชาวบ้านศรีฐาน ยังมีอาชีพการทำหมอนขิด ที่มีชื่อเสียง ส่งออกขายทั่วประเทศ เป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง [/FONT]
    [FONT=&quot]ครอบครัวของหลวงตาถือได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง มีความเป็นอยู่สบาย ไม่เดือดร้อน มีอาชีพทำนาเป็นหลัก มีนาอยู่ [/FONT][FONT=&quot]3 แปลง แต่จำไม่ได้ว่ามีแปลงละกี่ไร่ โดยมีลูกๆ ช่วยกันทำนา นอกจากนั้นก็เลี้ยงวัวเลี้ยงควายตามวิถีชีวิตดั้งเดิมของคนในชนบท หลวงตาเองก็ได้ช่วยบิดา มารดา ทำนามาตั้งแต่เด็ก ๆ และหากมีเวลาว่างก็จะนำวัวควายออกไปเลี้ยงเป็นประจำเพื่อแบ่งเบาภาระของโยมบิดามารดา [/FONT]
    [FONT=&quot]2. ปฐมวัย [/FONT]
    [FONT=&quot]บิดามารดาของท่านมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหารเพลทุกวันมิได้ขาด ในวัยเด็กของหลวงตาพวง สุขินทริโย ติดตามบิดา มารดาเข้าวัดเป็นประจำ ทำบุญตักบาตรทุกเช้า หรือไม่ก็นำอาหารไปถวายพระที่วัดแทนบิดามารดา ชีวิตมีความผูกพันกับวัดมาตั้งแต่เล็ก ๆ ได้เห็นการดำรงสมณเพศของภิกษุสามเณรในวัดที่มีความสงบ สำรวม จริยาวัตรที่งดงาม จึงเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาตั้งแต่วัยเยาว์ [/FONT]
    [FONT=&quot]เมื่อ ด.ช.พวง ลุล่วง อายุครบเกณฑ์ บิดามารดาก็ส่งเข้าเรียนชั้นปฐมศึกษาภาคบังคับที่โรงเรียนประชาบาลในหมู่บ้านศรีฐานนั่นเอง ช่วงเวลาที่ว่างจากการเรียน และช่วยเหลือกิจการงานของครอบครัว ด.ช.พวง มักจะไปเที่ยวเล่นในวัดใกล้ ๆ กับโรงเรียน ผิดวิสัยกับเด็กทั่วไป ช่วยพระเณร ปัดกวาดเช็ดถู กุฏิศาลา หรือช่วยกิจการงานต่าง ๆ เช่น ล้างถ้วย ล้างชาม ในวัดศรีฐานใน เป็นประจำ ด้วยอุปนิสัยใจคอของ ด.ช.พวง ลุล่วง ที่มีนิสัยขยัน ขันแข็ง ไม่เกียจคร้าน ว่านอนสอนง่าย อยู่ในโอวาทของบิดามารดา ครูอาจารย์ จึงเป็นที่รักและเอ็นดูของบิดา มารดา ครูบาอาจารย์ และพระเณรในวัดเป็นอย่างมาก [/FONT]
    [FONT=&quot]3. พบพระอาจารย์สอ สุมังคโล [/FONT]
    [FONT=&quot]ชีวิตของ ด. ช.พวง ลุล่วง ในช่วงวัยเยาว์ ได้แวะเวียนมาช่วยพระเณรในวัดศรีฐานใน เป็นประจำ บางครั้งก็พักค้างคืนที่วัด บิดา มารดาเห็นว่าบุตรชายของตนมีความสนใจในพระพุทธศาสนา ก็ส่งเสริมโดยมิได้ห้ามปรามแต่อย่างใด เด็กชายพวงได้พบกับ [/FONT]
    [FONT=&quot]พระอาจารย์สอ สุมังคโล พระลูกวัดในวัดศรีฐานใน มีอายุเพียง [/FONT][FONT=&quot]26 ปี แม้จะบวชได้เพียง 6 พรรษา แต่พระอาจารย์สอ สุมังคโล เป็นพระที่เคร่งครัดในพระวินัย มีความรู้แตกฉานทั้งทางด้านปริยัติและมีวัตรปฏิบัติที่เข้มงวด เคารพครูบาอาจารย์ มีจิตใจแน่วแน่ในการปฏิบัติธรรมเพื่อหลุดพ้นและตั้งใจอบรมสั่งสอนอุบาสกอุบาสิกา จนเป็นที่นับถือของคนทั่วไป [/FONT]
    [FONT=&quot]พระอาจารย์สอ สุมังคโล ได้เห็นถึงความสนใจในพระพุทธศาสนาของเด็กชายพวง ลุล่วง นอกจากนั้นท่านยังได้เห็นแววของเด็กชายพวง ลุล่วงว่าเป็นเด็กที่ว่านอนสอนง่าย เชื่อฟัง และปฏิบัติตามคำแนะนำสั่งสอนได้เป็นอย่างดี เห็นทีจะมีวาสนา บารมี สั่งสมมาแต่ชาติปางก่อน จึงเมตตาอบรมสั่งสอนให้รู้หลักในการปฏิบัติต่อครูบาอาจารย์ สอนให้สวดมนต์ นั่งวิปัสสนากรรมฐาน จนกระทั่งเด็กชายพวง สามารถสวดมนต์ ทำวัตรเช้า-เย็น ได้ตั้งแต่ยังไม่บวชเณรเสียอีก [/FONT]
    [FONT=&quot]ในช่วงเวลานั้นเองที่พระอาจารย์สอ กำลังจะไปศึกษาปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล พระอาจารย์องค์สำคัญในสายวิปัสสนากรรมฐาน และเป็นอาจารย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ขณะนั้นหลวงปู่เสาร์ จำพรรษาอยู่ที่วัดดอนธาตุ ซึ่งเป็นวัดบนเกาะกลางลำน้ำมูล ในอำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี พระอาจารย์สอต้องการคนติดตามไปอุปัฎฐากในระหว่างการเดินทาง เพราะโดยปกติแล้วพระสายกรรมฐาน ไม่สามารถถือเงินได้ ท่านจึงได้เอ่ยปากขอกับพ่อเนียม บิดาของ ด.ช.พวง เพื่อให้ ด.ช.พวงติดตามไปรับใช้ในช่วงที่จะธุดงค์ ไปปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่เสาร์ [/FONT]
    [FONT=&quot]ด.ช.พวง ลุล่วง ในวัย [/FONT][FONT=&quot]14 ปี จบชั้นประถมศึกษาภาคบังคับพอดี ยังไม่มีภาระหน้าที่อะไรที่สำคัญนอกจากช่วยงานที่บ้าน พ่อเนียมจึงกลับมาถามว่าอยากไปธุดงค์รับใช้ปรนนิบัติพระอาจารย์สอหรือไม่ ด.ช.พวง ทราบความประสงค์ของพระอาจารย์สอ และด้วยความอยากจะไปดูความเจริญในจังหวัดอุบลราชธานี จึงตัดสินใจติดตามพระอาจารย์สอในการเดินทางไปปฏิบัติธรรมร่วมกับหลวงปู่เสาร์ในทันทีโดยมิได้ลังเล [/FONT]
    [FONT=&quot]4. ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล [/FONT]
    [FONT=&quot]หลังจากที่ได้รับอนุญาตจากบิดามารดา ให้ติดตามปรนนิบัติรับใช้พระอาจารย์สอ สุมังคโล แล้ว การออกธุดงค์ติดตามพระอาจารย์สอก็เริ่มต้นขึ้น ด้วยการเดินทางจาก อ.คำเขื่อนแก้ว (ในสมัยนั้น) ไปยัง อ.พิบูลมังสาหาร จ. อุบลราชธานี โดยมีจุดหมายปลายทาง คือการปฏิบัติธรรมร่วมกับหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล [/FONT]
    [FONT=&quot]ในสมัยนั้นยังไม่มีรถประจำทางต้องอาศัยรถของกรมทางหลวงไปลงที่อำเภออำนาจเจริญ เพื่อขึ้นรถประจำทางไปยังตัวเมืองอุบลราชธานี แวะพำนักที่วัดบูรพารามในเมืองอุบลราชธานี หลังจากนั้นก็ลงเรือไฟต่อไปยังอำเภอพิบูลมังสาหาร แวะพักที่วัดภูเขาแก้ว รุ่งเช้าข้ามลำน้ำมูลไปวัดดอนธาตุ ใช้เวลาการเดินทางกว่า [/FONT][FONT=&quot]3 วันกว่าจะถึงวัดของหลวงปู่เสาร์ ต้องผ่านเส้นทางที่ทุรกันดารเต็มไปด้วยอุปสรรคและความลำบาก แต่ด้วยจิตใจที่มีความเด็ดเดี่ยวมุ่งมั่น ไม่ย่อท้ออุปสรรค และด้วยบุญบารมีที่สะสมมาตั้งแต่อดีตชาติ การออกเดินธุดงค์ในครั้งนี้จึงนับว่าเป็นการสร้างความเข้มแข็งในจิตใจให้กับเด็กชายพวง ลุล่วงมากขึ้นไปอีก [/FONT]
    [FONT=&quot]เมื่อเดินทางร่วมกับพระอาจารย์สอ สุมังคโล มาถึงวัดดอนธาตุ ซึ่งเป็นวัดที่หลวงปู่เสาร์ได้สร้างขึ้น และจำพรรษาเป็นวัดสุดท้ายในบั้นปลายชีวิตของท่าน วัดแห่งนี้ตั้งอยู่บนเกาะอยู่กลางลำน้ำมูลใน อ.พิบูลมังสาหาร ไม่มีสะพาน มีน้ำล้อมรอบทุกทิศทาง การเดินทางจะต้องไปโดยเรือเท่านั้น มีภูมิประเทศที่เป็นสัปปายะ เหมาะแก่การปฏิบัติธรรมเป็นอย่างยิ่ง พระอาจารย์สอ สุมังคโล ก็ได้พาไปฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่เสาร์ เพื่อเรียนรู้ข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ อันเป็นพื้นฐานของการปฏิบัติในเวลาต่อมา [/FONT]
    [FONT=&quot]หลวงตาเล่าให้ฟังว่า "หลวงปู่เสาร์มีอุปนิสัยไม่ค่อยพูด ชอบสันโดษ ท่านจะเทศน์สั่งสอนเมื่อจำเป็น ในช่วงที่หลวงตาอยู่กับท่านนั้น สุขภาพของท่านไม่ค่อยแข็งแรง การอบรมสั่งสอนญาติโยม ตลอดจนพระเณรต่าง ๆ ท่านได้มอบให้หลวงพ่อดี ฉันโน ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของท่าน (ปัจจุบันมรณภาพแล้ว) ให้อบรมสั่งสอนแทน" [/FONT]
    [FONT=&quot]หลวงปู่เสาร์เป็นพระอาจารย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ในการออกธุดงค์ช่วงแรกๆ ของหลวงปู่มั่น ท่านทั้งสองมักจะออกธุดงค์ไปด้วยกัน ตามจังหวัดต่าง ๆแถบภาคอีสาน ท่านชอบไปไหนมาไหนด้วยกันทั้งในและนอกพรรษา พอถึงช่วงกลางอายุของท่าน เวลาจำพรรษามักแยกกันอยู่ แต่ไม่ห่างไกลกันนัก เพราะต่างฝ่ายต่างมีลูกศิษย์จำนวนมาก จำเป็นต้องแยกกันอยู่เพื่อให้มีที่อยู่อาศัยอย่างเพียงพอ [/FONT]
    [FONT=&quot]พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน ได้บันทึกคำบอกเล่าของพระอาจารย์มั่นเกี่ยวกับพระอาจารย์เสาร์ ในหนังสือประวัติพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ ไว้น่าสนใจว่า เดิมหลวงปู่เสาร์ ปรารถนาเป็นพระปัจเจกพระพุทธเจ้า เวลาออกบำเพ็ญ พอเร่งความเพียรเข้ามาก ๆ ในรู้สึกประหวัด ๆ ถึงความปรารถนาเดิมเพื่อเป็นพระปัจเจกพระพุทธเจ้า แสดงออกเป็นเชิงอาลัย เสียดาย ไม่อยากไปนิพพาน ท่านเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อความเพียรเพื่อความรู้แจ้งซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ ท่านเลยอธิษฐาน ของดจากความปรารถนานั้น และขอประมวลมาเพื่อความรู้แจ้งซึ่งพระนิพพานในชาตินี้ ไม่ขอเกิดมารับความทุกข์ทรมานในภพชาติต่าง ๆ อีกต่อไป พอท่านปล่อยวางความปรารถนาเดิมแล้ว การบำเพ็ญเพียรรู้สึกสะดวกและเห็นผลไปโดยลำดับ ไม่มีอารมณ์เครื่องเกาะเกี่ยวเหมือนแต่ก่อน สุดท้ายท่านบรรลุถึงแดนแห่งความเกษมดังใจหมาย แต่การแนะนำสั่งสอนผู้อื่น ท่านไม่ค่อยมีความรู้แตกฉานกว้างขวางนัก ทั้งนี้อาจเป็นไปตามภูมินิสัยเดิมของท่านที่มุ่งเป็นพระปัจเจกพระพุทธเจ้า ซึ่งตรัสรู้เองชอบ แต่ไม่สนใจสั่งสอนใครก็ได้ นอกจากนั้นท่านยังไม่ชอบพูด ชอบเทศน์ เวลาจำเป็นต้องเทศน์ ท่านก็เทศน์เพียงหนึ่งหรือสองประโยคเท่านั้น แล้วก็ลงธรรมาสน์ไป ประโยคที่ท่านเทศน์ซึ่งพอจับใจความได้ว่า "ให้พากันละบาปและบำเพ็ญบุญ อย่าให้เสียลมหายใจไปเปล่า ที่ได้มีวาสนาเกิดมาเป็นมนุษย์" และ "เราเกิดเป็นมนุษย์ มีความสูงศักดิ์มาก แต่อย่านำเรื่องของสัตว์มาประพฤติ มนุษย์ของเราจะต่ำลงกว่าสัตว์ และจะเลวกว่าสัตว์อีกมาก เวลาตกนรกจะตกหลุมที่ร้อนกว่าสัตว์มากมาย อย่าพากันทำ" แล้วก็ลงธรรมาสน์ไปกุฏิ ไม่สนใจกับใครอีกต่อไป [/FONT]
    [FONT=&quot]ลักษณะท่าทางของหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล มีความสง่าผ่าเผยน่าเคารพเลื่อมใสมาก ผู้ที่พบเห็นจะเกิดความรู้สึกสบายใจ เย็นใจ ไปหลายวัน ประชาชนและพระเณรเคารพเลื่อมใสท่านมาก ท่านก็มีลูกศิษย์มากมายเหมือนหลวงปู่มั่น ด.ช.พวง ลุล่วง มีโอกาสเป็นศิษย์ของหลวงปู่เสาร์ ในช่วงที่ติดตามพระอาจารย์สอ สุมังคโล ในครั้งนี้เช่นกัน [/FONT]
    [FONT=&quot]5. หลวงปู่เสาร์พาไปนครจำปาศักดิ์ [/FONT]
    [FONT=&quot]ระหว่างที่ ด. ช.พวง ลุล่วง ได้พำนักอาศัยอยู่กับหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล นั้น เป็นช่วงที่หลวงปู่เสาร์มีพรรษามาก สุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง แต่ด้วยความกตัญญูต่อครูบาอาจารย์ของหลวงปู่เสาร์ ท่านตั้งใจจะไปกราบอัฐิและบำเพ็ญกุศลให้กับอุปัชฌาย์ของท่าน [/FONT]
    [FONT=&quot]อุปัชฌาย์ของหลวงปู่เสาร์เป็นชาวลาว แต่ได้มาเรียนหนังสือและพำนักอยู่ที่ จ. อุบลราชธานี ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง และได้บวชให้หลวงปู่เสาร์ หลังจากนั้นท่านได้กลับไปจำพรรษาบ้านเดิมของท่านที่อำเภอท่าเปลือย แขวงจำปาศักดิ์ ประเทศลาว และไม่ได้ติดต่อหรือไปมาหาสู่กัน เพราะเป็นช่วงที่สถานการณ์บ้านเมืองในเวลานั้นไม่ปกติ ไม่สามารถข้ามฝั่งไปมาหาสู่กันได้เช่นเดิม จวบจนพระอุปัชฌาย์มรณภาพ หลวงปู่เสาร์ก็ไม่ได้มีโอกาสได้ไปทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับอาจารย์ของท่าน จนกระทั่งสถานการณ์บ้านเมืองดีขึ้น ประเทศไทยได้แขวงนครจำปาศักดิ์มาเป็นของไทย มีข้าราชการตลอดจนทหารเข้าไปดูแล มีการคมนาคมไปมาหาสู่กันตลอด หลวงปู่เสาร์จึงปรารถนาที่จะไปกราบอัฐิและทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้อุปัชฌาย์ เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวที [/FONT]
    [FONT=&quot]พระอาจารย์สอ สุมังคโล พร้อมด้วยเด็กชายพวง ลุล่วง จึงขอติดตามคณะหลวงปู่เสาร์ไปนครจำปาศักดิ์ในครั้งนี้ด้วย คณะติดตามประกอบด้วย พระเณรและลูกศิษย์จำนวน [/FONT][FONT=&quot]13 คน คือ พระอาจารย์ดี ฉันโน พระอาจารย์กอง พระอาจารย์กงแก้ว ขันติโก(ขณะนี้จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าหนองสูง จ. มุกดาหาร) พระอาจารย์สอ สุมังคโล พระอาจารย์บัวพา พระอาจารย์บุญมี พระละมัย สามเณรพรหมา และลูกศิษย์อีก 5 คน ซึ่งรวมทั้ง ด.ช.พวง ลุล่วง ในปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่เพียง 3 ท่าน ได้แก่ หลวงตาพวง หลวงปู่บุญมี ซึ่งขณะนี้อยู่ที่ จ.กาฬสินธุ์ และอีกคนหนึ่งเป็นโยม ชื่อบุญมี ขณะนี้อยู่ที่ จ.สงขลา [/FONT]
    [FONT=&quot]หลวงปู่เสาร์ได้พาคณะออกเดินทางจากวัดดอนธาตุ ไปทางช่องเม็ก อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี โดยรถประจำทาง ถนนหนทางสมัยนั้นยังไม่ดีนัก รถยนต์ต้องวิ่งไต่ตามตลิ่งริมแม่น้ำโขง ส่วนอีกฝั่งจะเป็นภูเขาที่เรียกว่า ภูมะโรง หนทางเต็มไปด้วยความทุรกันดารยากลำบาก [/FONT]
    [FONT=&quot]เมื่อถึงนครนครจำปาศักดิ์ คณะได้พักอยู่ที่วัดศิริอำมาตย์ และได้เดินทางต่อโดยเรือไฟล่องลงตามแม่น้ำโขง ไปยังเกาะดอนเจดีย์ที่ตั้งอยู่กลางแม่น้ำโขง โดยใช้เวลาทั้งวัน เกาะดอนเจดีย์เป็นเกาะใหญ่อยู่กลางแม่น้ำโขง มีชาวบ้านอาศัยอยู่ถึง [/FONT][FONT=&quot]2 หมู่บ้าน มีวัดที่อุปัชฌาย์ของพระอาจารย์เสาร์จำพรรษาอยู่และมรณภาพที่นั่น [/FONT]
    [FONT=&quot]เมื่อเดินทางไปถึงก็พบเจดีย์เล็ก ๆ อันเป็นที่เก็บอัฐิของอุปัชฌาย์ มีพื้นที่ประมาณ [/FONT][FONT=&quot]20 ตารางเมตร ตั้งอยู่กลางทุ่งนาห่างจากวัดประมาณ 200 เมตร หลวงปู่เสาร์ก็ได้พาญาติโยมแถบนั้นมาร่วมทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้อุปัชฌาย์ของท่านสมดังเจตนา ท่านและคณะพำนักอยู่ที่เกาะดอนเจดีย์ประมาณหนึ่งสัปดาห์ หลวงปู่เสาร์ก็ได้พาคณะออกเดินทางต่อโดยนั่งเรือแจวขนาดนั่งได้ 6-7 คน มีฝีพายสองคนอยู่หัวเรือและท้ายเรือ ขนสัมภาระต่างๆลงเรือหลายลำ พาล่องแม่น้ำโขงไปยังแก่งหลี่ผี ซึ่งเป็นสถานที่ที่อยู่กลางแม่น้ำโขง มีลักษณะเหมือนภูเขาลูกหนึ่งขวางกั้นแม่น้ำโขง แม่น้ำทั้งสายไหลข้ามภูเขาไปด้านหลังตกลงเป็นน้ำตกขนาดความสูง 30 - 40 เมตร มีเกาะแก่งเป็นร้อย ๆ แห่ง ชาวบ้านเรียกว่าหลี่ผี ซึ่งแปลว่าที่ดักปลาของภูติผี บริเวณดังกล่าวเวลาพูดอะไรจะไม่ได้ยินเพราะเสียงน้ำตกดังมาก ถ้าหากจะพูดกันต้องพูดกันใกล้ๆจึงจะได้ยิน [/FONT]
    [FONT=&quot]สมัยที่ฝรั่งเศสปกครองนั้น ยังไม่มีถนนหนทางที่สะดวกและไม่สามารถเดินทางผ่านประเทศไทยได้ การคมนาคมติดต่อจะต้องขนของหรือสัมภาระโดยเรือใหญ่จากประเทศกัมพูชามาจอดที่ท่าเรือหลี่ผี แล้วจะต้องใช้รถไฟขนถ่ายสัมภาระต่อไปยังแขวงสุวรรณเขตหรือปากเซ มีรถไฟอยู่สองขบวนสำหรับส่งของ ส่วนรถยนต์ไม่ค่อยมี มีแต่สามล้อ สำหรับโดยสาร [/FONT]
    [FONT=&quot]ขณะนั้นหลวงปู่เสาร์มีอายุได้ [/FONT][FONT=&quot]82 ปี สุขภาพไม่แข็งแรงอยู่แล้ว เริ่มอาพาธมากขึ้น มีอาการเหนื่อย ฉันอาหารไม่ได้ คณะลูกศิษย์จึงได้พาท่านกลับมายังอำเภอท่าเปลือย ซึ่งมีแพทย์ไทยรวมทั้งอุปกรณ์การแพทย์ที่พร้อมกว่า [/FONT]
    [FONT=&quot]เมื่อถึงอำเภอท่าเปลือย หลวงปู่เสาร์ก็ได้มอบหมายให้พระอาจารย์ดี ฉนโน เป็นผู้ไปจัดหาสถานที่ปักกลดบริเวณเชิงเขา เพื่อจะให้คณะได้อาศัย รุกขมูล บำเพ็ญเพียรภาวนาในบริเวณนี้ หลวงตาพวงเล่าให้ฟังว่า "ขณะนั้นฝนตกชุก ที่พักก็ใช้ใบไม้มามุงเป็นปะรำกั้นแดด แต่กั้นฝนไม่ได้ ไปอยู่สองสามวันแรกฝนตก นั่งทั้งคืนไม่ได้นอน แต่หลวงปู่เสาร์ก็พาพักอยู่เกือบหนึ่งเดือน" [/FONT]
    หน้าที่ ๑

    <<<หน้าต่อไป >>>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 พฤศจิกายน 2011
  11. kengnaja

    kengnaja เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,961
    ค่าพลัง:
    +16,856
    สมเด็จสรงน้ำปี 46 ครับ
    [​IMG][​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1012505.JPG
      P1012505.JPG
      ขนาดไฟล์:
      82.5 KB
      เปิดดู:
      3,166
    • P1012506.JPG
      P1012506.JPG
      ขนาดไฟล์:
      83.9 KB
      เปิดดู:
      3,161
  12. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,731
    แต่ก่อนไปกราบท่านบ่อยมากค่ะ ระยะหลังๆไม่ได้ไปเลยจนท่านละสังขาร
    ที่บ้านมีวัตถุมงคลของท่านเยอะเหมือนกันค่ะ ด้วยความศรัทธาท่าน...
     
  13. คนยโสธร

    คนยโสธร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2009
    โพสต์:
    537
    ค่าพลัง:
    +491
    หลวงตา อยู่วัดศรีธรรมาราม ไหม7 สีของหลวงตาดังมากครับ สมณศักดิ์ สูงสุด พระเทพสังวรญาณ รองเจ้าคณะภาค10 (ธรรมยุติ)
     
  14. one22

    one22 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +11
    เหรียญหลวงตาพวง และหลวงพ่อคูณ
    พ่อตาได้นำเหรียญของหลวงพาพวงและหลวงพ่อคูณ ติดกาวตาช้างแล้วไปแปะไว้ที่หน้ารถ เหรียญของหลวงตาพวงติดแน่นสนิดดี แต่เหรียญของหลวงพ่อคูณที่ติดแปะไว้ข้างกันกับ ไหลหล่นไม่ยอมติดสักที่ พ่อตาคิดว่า คงต้องวางไว้ที่อื่น ที่ห่างจากเหรียญหลวงตาพวง พอนำเหรียญหลวงพ่อคูณไปติดไว้ที่อื่นกับ วางติดสนิด ดี

    พ่อตาแกแปลกใจมาก ว่าทำไหมเหรียญที่ติดใกล้กัน กับติดกาวตราช้างไม่อยู่
    คิดว่าเหรียญของพระอริยะทั้งสองคงไม่อยากอยู่ใกล้กัน
     
  15. samnoom

    samnoom สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2013
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +2
    ผมเคยเป็นลูกศิษย์วัดท่านตอนเด็กๆครับ ช่วงประมาณปี 37 เพราะพี่ชายไปบวชเรียนที่วัดศรีธรรม ท่านเป็นพระที่ใจดีมากๆ ขนาดพวกผมเล่นเอาเทียนมาต้ม แล้วเอาน้ำหยดลงไป เหมือนมังกรพ่นไฟ เกือบทำกุฏิไหม้ ท่านไม่ว่าอะไรเลย ตอนนั้นมีหลวงพี่เณรร่วมวีรกรรม 4-5 รูป วัตถุมงคลท่านที่สร้างในช่วงปี 37-39 ผมก้อได้มีส่วนช่วยในการกดพิมพ์อีกต่างหาก ก็เลยเก็บวัตถุมงคลท่านไว้เยอะพอสมควร แต่ตอนนั้นยังเด็กอ่ะนะครับ เลยไม่สนใจเก็บจริงๆจังๆ พอโตขึ้นหน่อย ช่วงเรียนมัธยม จึงได้เริ่มรวบรวมวัตถุมงคลท่าน ด้วยว่าเป็นศิษย์วัดจึงมีวัตถุมงคลท่าน เยอะพอสมควร เช่น แม่พิมพ์พระผงรุ่น ถิ่นกำเนิด เป็นแม่พิมพ์ยางพารา พระผงรูปเหมือนรุ่น 1-2 รูปเหมือนบูชาหน้าตักประมาณ 5 นิ้วรุ่นแรก ปี 2533 แผ่นยันต์จารย์ที่ยาวเป็นเมตรเลยทีเดียวตอนนี้ใส่กรอบขึ้นหิ้งเรียบร้อย และอีกหลายรายการครับ ไว้วันหลังจะถ่ายรูปมาอวดกันนะครับ
     
  16. อาณัติ

    อาณัติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2006
    โพสต์:
    6,077
    ค่าพลัง:
    +22,253
    กราบหลวงตาพวง สุขินทริโย วัดศรีธรรมาราม

    ท่านเมตตามาให้กำลังใจ สาธุ สาธุ สาธุ..........
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • _5_795.jpg
      _5_795.jpg
      ขนาดไฟล์:
      47.4 KB
      เปิดดู:
      293
  17. Lo_olLo

    Lo_olLo เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,803
    ค่าพลัง:
    +11,953
    เมื่อปี 2548 มีโอกาสได้ไปกราบนมัสการท่านเหมือนกันครับ และสอบถามท่านพร้อมนำเหรียญ รุ่นแรก ของท่านให้ท่านดู ซึ่งท่านก็เมตตาพิจารณาและจารให้

    - และท่านก็เล่าว่า เหรียญรุ่นแรกนี้ลูกศิษย์สร้างถวายจำนวนการสร้าง 2000 เหรียญมีเนื้อเดียวคือ ทองแดง ท่านว่าแจกหมดภายใน 3 วันหลังวันงาน

    - ผู้เขียนสอบถามว่า หลวงตาจัดพิธีพุทธาภิเษกในวันแจกหรือครับ ท่านว่า บ่ ใส่ในบาตร เต็มบาตรหนึ่ง(บาตรพระนะครับ) แล้วก็กำสวดเฉยๆ

    - ผู้เขียนถาม...เอาพระไว้กุฎิ สวดหลายวันไหมครับก่อนงาน ท่านว่า เกือบเดือน

    (ข้อมูลทั้งหมด เป็นการสนทนากับ หลวงตาพวง เมื่อปี 2548 ครับ 11 ปีที่แล้วนั้นเองครับ)

    [​IMG]

    เหรียญของผู้เขียนขอให้ท่านเมตตาจารให้ เมื่อ 11 ปีก่อนครับ

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1-tile.jpg
      1-tile.jpg
      ขนาดไฟล์:
      33.7 KB
      เปิดดู:
      3,842
    • RIMG0022.JPG
      RIMG0022.JPG
      ขนาดไฟล์:
      58 KB
      เปิดดู:
      3,148
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤษภาคม 2016

แชร์หน้านี้

Loading...