รบกวนถามเรื่องออกจากสมาธิใหม่ๆ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Dhamma for life, 5 พฤษภาคม 2012.

  1. Dhamma for life

    Dhamma for life สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2012
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +16
    คือผมมีเรื่องรบกวนถามครับ คือเวลาผมนั่งสมาธิ คือผมก็ไม่ได้ทรงอารมณ์ได้ดีมาก พอจะรู้ลมบ้างบางทีก็ลืมลมหายใจ พอรู้สึกตัวก็ดึงกลับมาจับลมใหม่ พอผมออกจากสมาธิ ออกใหม่ๆผมจะรู้สึกแบบจิตไม่คิดอะไรเลย ว่างๆนิ่งๆซึมๆ แล้วพอผมสวดมนต์คือปกติผมสวดมนต์(ออกเสียง)ผมก็จะรู้ว่าสวดอะไรไป แล้วก็จำได้ว่าสวดอะไรไปบ้าง แต่ถ้าสวดหลังจากออกสมาธิใหม่ๆตอนสวดรู้ตัวว่าสวดอะไรออกไปแต่เหมือนกับว่าจิตไม่ไปจับกับบทสวดนั้นๆ คือปากพูดไปแต่เหมือนจิตไม่ไปจับกับสิ่งที่พูดออกไป(คือถ้าผมสวดตอนปกติผมจะมีสมาธิจับอยู่กับบทสวดมนต์นั้นๆ ปากพูดจิตก็รู้ว่าสวดอะไรอยู่ จับทุกคำในบทสวด) รู้สึกว่าจิตไม่คิดอะไร นิ่งๆ ไม่รู้ว่าจะเรียกว่าไม่มีสติหรือเปล่าก็ไม่ทราบแต่ผมก็ยังรู้สึกตัวว่านั่งอยู่ พนมมืออยู่ อาการอย่างนี้จะเป็นตอนออกจากสมาธิใหม่ๆ คือสัก 2-3 นาทีหรือบางทีก็อาจจะถึง 10 นาที(อยู่ที่ว่าจะนั่งสมาธินานแค่ไหน) นับตั้งแต่ออกจากสมาธิ หลังจากนั้นก็จะรู้สึกปกติ อย่างนี้ถือว่าปกติไหมแล้วถ้าไม่ เกิดจากอะไร ควรจะแก้อย่างไร และอีกปัญหาคือ เวลานั่งสมาธิ ผมจะจับแต่ลมหายใจ กำหนดไว้ที่ปลายจมูก แล้วนั่งๆตัวก็จะค่อยๆเอนลงเรื่อยจนเหมือนนั่งหลังค่อม พอรู้สึกก็ดึงตัวขึ้นมา สักพักก็เอนไปอีก เหมือนไม่มีสติกำหนดทั่วตัวพอนั่งหลังก็ตกลงเรื่อย ควรแก้ยังไงดีครับ รบกวนท่านผู้รู้แนะนำผมด้วยว่าควรทำอย่างไร ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ
     
  2. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    <TABLE style="WIDTH: 26%; mso-cellspacing: 1.5pt; mso-yfti-tbllook: 1184" class=MsoNormalTable border=1 cellPadding=0 width="26%"><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: #f0f0f0; PADDING-BOTTOM: 0.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: #f0f0f0; PADDING-LEFT: 0.75pt; PADDING-RIGHT: 0.75pt; BORDER-RIGHT-COLOR: #f0f0f0; BORDER-LEFT-COLOR: #f0f0f0; PADDING-TOP: 0.75pt">
    อัปปนาสมาธิหรือฌาน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ต่อไปนี้จะพูดหรือแนะนำใน อัปปนาสมาธิคำว่า อัปปนาสมาธิ เป็นสมาธิใหญ่ มีอารมณ์
    มั่นคง เข้าถึงระดับฌาน ตั้งแต่ฌานที่หนึ่งถึงฌานที่สี่ แต่ก่อนที่จะพูดถึง อัปปนาสมาธิ ขอย้อน
    มาอธิบายถึงอุปจารสมาธิเล็กน้อยก่อน การที่พูดมาแล้วเป็นการพูดในเรื่องของนิมิตโดยตรง
    ท่านที่ไม่นิยมนิมิตจะไม่เข้าใจ

    อุปจารสมาธิระดับสุดท้าย
    เมื่อจิตเข้าถึงอุปจารสมาธิขั้นสุดท้าย ถ้าผู้ปฏิบัติไม่สนใจในนิมิต หรือสร้างนิมิตให้เกิดขึ้น
    ไม่ได้ ให้สังเกตอารมณ์ใจดังนี้ อารมณ์นี้มีเหมือนกันทั้งท่านที่ถือนิมิตหรือไม่ถือนิมิต คือจะมี
    ความรู้สึกว่ามีอารมณ์ตั้งมั่นทรงตัวดี มีความชุ่มชื่นไม่อิ่มไม่เบื่อในการปฏิบัติ มีอารมณ์เป็นสุข
    เยือกเย็นมาก ซึ่งไม่เคยพบมาเลยในชีวิต และมีอารมณ์เป็นหนึ่ง กำหนดอารมณ์ไว้อย่างไร
    อารมณ์ไม่เคลื่อนจากที่ตั้งอยู่ได้นาน ตอนนี้เป็น ฌาน อารมณ์ที่สังเกตได้คือ
    ๑.รู้ลมหายใจเข้า รู้ลมหายใจออกคำภาวนาทรงตัว ไม่ลืมไม่เผลอไม่ฟุ้งไปสู่เรื่องอื่น
    นอกเหนือจากที่คิดจะภาวนา มีอารมณ์เต็มเปี่ยมด้วยกำลังใจไม่อิ่มไม่เบื่อไม่อยากลุกออกจากที่
    มีความสุขหรรษาเป็นพิเศษ ซึ่งไม่เคยมีความสุขใดในชีวิตที่เคยพบมาก่อนเลยมีอารมณ์ตั้งมั่นดิ่ง
    อยู่ในที่เดียวเป็นพิเศษ (ข้อห้านี้เป็นฌาน)หูได้ยินเสียงทุกอย่างชัดเจนมากที่เข้ามากระทบ
    ประสาทหู เสียงคนหรือเสียงสัตว์ธรรมดาไม่ใช่เสียงทิพย์ แม้แต่เสียงเครื่องขยายเสียงที่มีเสียงดัง
    มาก ตอนนี้ได้ยินทุกอย่างชัดเจนตามปกติแต่ไม่รำคาญในเสียงนั้นเลย คงภาวนาหรือกำหนดรู้ลม
    หายใจเข้าออกได้เป็นปกติเหมือนไม่มีเสียงรบกวนลมหายใจจะเบากว่าเวลาปกติจนสังเกตได้ชัด
    อาการอย่างนี้ท่านเรียกว่า ปฐมฌาน คือฌานที่หนึ่ง
    ๒.เมื่อจิตเป็นสมาธิในฌานที่สองมีความรู้สึกดังนี้คือจะรู้สึกว่าคำภาวนาหายไป
    บางท่านหรือหลายท่านควรจะพูดว่า มากท่านก็คงไม่ผิดเมื่ออารมณ์เข้าถึงฌานที่สองใหม่ๆ
    อารมณ์ยังไม่ชิน เมื่อขณะที่จิตทรงอยู่ในฌานนี้ จะมีความอิ่มเอิบสุขสบาย จะเผลอตัว เมื่อจิต
    มีสมาธิลดลง เพราะกำลังจิตถอยสมาธิ จะลดลงอยู่ที่อุปจารสมาธิ ตอนนี้อารมณ์คิด คือความ
    รู้สึกก็เกิดขึ้น เมื่อจิตตั้งอยู่ในฌานจะไม่สามารถคิดอะไรได้ เพราะเอกัคคตารมณ์คืออารมณ์
    เป็นหนึ่งไม่มีอารมณ์คิดจะทรงตัวเฉยอยู่และไม่มีคำภาวนา คำภาวนานี้ตั้งแต่ฌานที่สองถึงฌาน
    ที่สี่จะไม่มีคำภาวนาเมื่อรู้สึกตัวว่าไม่ได้ภาวนาก็จะคิดว่าตนเองหลับไปหรือเผลอไป ความจริง
    ไม่ใช่ ซึ่งเป็นอาการของฌานที่สอง
    ๓.เมื่อจิตมีสมาธิเข้าถึงฌานที่สามตอนนี้จะรู้สึกว่า ลมหายใจเบาลงมาเกือบไม่รู้สึก
    ว่าหายใจ แต่ความจริงยังรู้สึกถนัดอยู่แต่เบามากนั่นเอง อาการทางร่างกายจะรู้สึกเหมือนเกร็งไป
    ทั้งร่าง แต่ความจริงร่างกายเป็นปกติ แต่ที่มีความรู้สึกอย่างนั้นเป็นอาการของสมาธิ เสียงภายนอก
    ที่เข้ามากระทบหูเกือบไม่ได้ยินเสียงนั้นเลยได้ยินแต่เบามาก จิตทรงอารมณ์เป็นหนึ่งสงัดดีมาก
    เป็นพิเศษ อย่างนี้เป็นอาการของฌานที่สาม
    ๔.อาการของฌานที่สี่เมื่อจิตเข้าถึงฌานที่สี่ ฌานสี่นี้มีสองขั้นคือ หยาบ กับ ละเอียด
    สำหรับฌานหนึ่ง สอง สาม นั้น แต่ละฌานมีสามชั้นคือ หยาบ กลาง ละเอียด ที่ไม่อธิบายไว้ ก็
    เพราะกลัวจะเฝือ เพราะเมื่อฝึกได้ใหม่ยังไม่มีกำลังใจที่แน่นอน ประเดี๋ยวได้ประเดี๋ยวสลายตัว
    อธิบายละเอียดเข้าแทนที่จะเป็นผลดี จะกลายเป็นอาหารผสมยาพิษไปจุกจิกใจเข้าเลยเลิกดีกว่า
    เป็นอันว่ารู้กันว่าเป็นฌานชั้นที่สี่ก็พอ ฌานอื่นๆ พอรู้ว่าถึงฌานก็พอ จงอย่าลืมว่าเมื่อถึง
    ฌานแล้วเวลาไม่นานก็พลัดจากฌาน คืออารมณ์ลดลงมาที่อารมณ์ปกติ ให้คิดว่าเราถึงฌานได้แล้ว
    จะอยู่นานหรือไม่นานก็ช่าง เป็นอันว่าเราเข้าถึงธงชัยแล้วก็ดีถมไป วันนี้ฌานสลายตัววันหน้าเวลา
    หน้ายังมีอีก เมื่อเรายังไม่ตายเพียงใด เราก็เล่นเพลิดเพลินในฌานให้อารมณ์เป็นสุข เพื่อเพราะ
    กำลังสมาธิไว้เป็นกำลังช่วยตัดกิเลสในโอกาสหน้าต่อไป
    เลอะเทอะมาเสียนาน ตอนนี้เข้าตอนฌานสี่กันเถอะ เมื่อจิตเข้าถึงฌานสี่หยาบตอนนั้นจะมี
    ความรู้สึกว่า ลมหายใจหายไป ไม่รู้สึกว่าหายใจ แต่ที่จริงแล้วลมหายใจยังมีตามปกติแต่ทว่าจิต
    ไม่รับทราบว่าร่างกายทำอะไร หายใจหรือไม่ จิตใจย่อมไม่รับรู้ตามท่านพูดว่าจิตกับประสาทแยก
    กันเด็ดขาด แต่ตอนฌานสี่หยาบนี้จิตแยกออกจากประสาทจริงแต่ยังไปไม่ไกลนัก ฉะนั้นเมื่อมี
    เสียงดังขนาดเครื่องขยายเสียงที่ดังมากๆ ตั้งอยู่ใกล้หูยังพอได้ยินแว่วๆ เหมือนอยู่ไกลกันมาก
    เมื่อจิตเข้าถึงฌานสี่ละเอียด ตอนนี้สบายมาก เพราะไม่รู้อะไรเลย (ไม่ใช่หลับ) ภายใน
    กำลังของจิตเข็มแข็งมาก มีความสว่างโพลง แต่จิตไม่ยอมรับรู้เรื่องของประสาทเลย ไม่ว่า
    เสียงหรือการกระทบกาย จิตไม่ยอมรับทราบด้วยประการทั้งปวง อาการของฌานสี่ที่ละเอียด
    เป็นอย่างนี้
    ที่นำอาการของฌานมากล่าวไว้ที่นี้ก็เพราะว่าการปฏิบัติในหมวดสุกขวิปัสสโก ก็ทรงฌาน
    เหมือนหมวดอื่นเหมือนกัน เพื่อนักปฏิบัติจะได้ทราบอาการเอาไว้ เพราะมีผู้มาถามเรื่องอาการ
    ของฌานนี้นับรายไม่ถ้วน บางรายถามแล้วถามอีกถามบ่อยๆ ชักสงสัยว่าทำจริงหรือเปล่า เพราะ
    ผู้ทำจริงเขาไม่ถามบ่อย เมื่อถามแล้วเอาไปปฏิบัติได้แล้วรู้เรื่องก็ไม่มีเรื่องถามต่อไป<O[​IMG]</O
    **************************************************<O[​IMG]</O

    เข้าศึกษาได้ตั่งแต่เริ่มต้น...ทั้งหมด....ได้ที่นี่....หนังสือเล่มนี้เนื้อหาเพียงพอสำหรับผู้ที่จะปฏิบัติด้วยตนเอง....รวบรวมวิธี...และอาการทางสมาธิ...ทั้งหมด....ควรศึกษาให้เข้าใจสัก 1 รอบ(ไม่ยาวนัก)แล้วปฏิบัติได้เลย....คำถามทางสมาธิส่วนใหญ่ที่ถามในบอร์ดมักอยู่ที่นี่.......

    วิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองแบบง่ายๆ....โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน ( ฤาษีลิงดำ )...

    http://www.palungjit.org/smati/books/index.php?cat=7 <O[​IMG]</O< font><!-- google_ad_section_end -->
     
  3. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    อาการที่เกิดขึ้นเป็นอาการปกติครับ....เป็นอาการที่จิตใช้กำลังของสมาธิที่ค่อนข้างที่จะสูงกว่าอุปจารสมาธิ....ในส่วนของบทความที่ผมขึ้นไว้ข้างบนนั้นอย่างไรให้คุณลองตรวจสอบสภาวะที่เคยผ่านมาก่อนหน้านั้นว่าเป็นอย่างไรบ้าง....

    ปัญหาเรื่องการสวดมนต์ปกติถ้าคุณลองสังเกตสภาวะคือตอนที่คุณสวดสติรู้ในบทสวด รู้ว่าสวดอันนั้นเป็นจิตที่อยู่ในขั้นของขนิกสมาธิ อุปจารสมาธิ...พอมาถึงเวลาหลังการปฏิบัตินั้น คุณมาสวดจิตไม่ได้สนใจในคำสวดนี้อันนี้จะอยู่ในช่วงของอุปจารสมาธิและปฐมฌาน.....สภาวะมันจะเหมือนกับว่าติดๆดับ....สนใจบ้างไม่สนใจบ้าง....จิตมันเคลื่อนๆขึ้นๆลงๆ.....แต่สิ่งที่คุณบอกว่าปากสวดแต่จิตไม่สน อันนี้เป็นการบ่งบอกว่าจิตคุณไม่ได้สนใจในคำสวดจริง...ฉะนั้นจิตมันก็จะสลับกันรู้ไปเป็นขณะๆ...เดี๋ยวก็ไปนิ่งเดี๋ยวก็ออกมาสวดเป็นขณะๆ...เหมือนสภาวะเดียวกันกับตอนคุณฝึกภาวนาแล้วจิตไปที่อื่นคุณก็ลากมาอยู่ที่ลมหายใจ....อันนี้เป็นวิถีจิตเดียวกัน...เพราะว่าธรรมชาติของจิตจะรับรู้สถาวะอะไรได้เพียงอารมณ์เดียว...แต่มันสลับกันรู้.....

    วิธีการก็คือคุณปฏิบัติแล้วถอยกำลังฌานปกติถ้าทำถูกต้องจะไม่ซึมนะครับ.....ถ้าซึมนี้มีวิธีแก้คือถ้าถอยออกแล้วให้ถอยให้หมดอย่าครึ่งๆกลางๆ....เช่นเมื่อสวดจิตจะกำหนดรู้ในบทสวดจะไม่ทรงอารมณ์อีกอารมณ์หนึ่งนั้น.....ถ้ารู้ว่าปฏิบัติแล้วซึม....ให้คุณกำหนดต้นจิตสติรู้อารมณ์ว่าตอนนี้ซึม....รู้ตามสถาวะธรรมตามความเป็นจริง...เดี๋ยวจะถอยออกมาเอง....และสิ่งที่ต้องการให้เพิ่มเติมก็คือ เพิ่มอริยาบทในการภาวนาให้มากขึ้น.....ควรที่จะปฏิบัติแบบว่าถ้าคุณนั่งแล้วใช้เวลานาน...พอถอนออกจากสมาธิจะไม่ใช้อริยาบทนั่ง หรือ นิ่ง...แต่เปลี่ยนเป็นอริยาบทเคลื่อนไหว เช่น เดินจงกรมก่อน เพื่อให้เลือดใหลเวียนดี...เมื่อสามารถคุมกำลังจิตให้ถอนออกมาได้แล้ว...ค่อยกลับสู่อริยาบทนั่ง(ไม่ว่าจะสวดมนต์ก็ตาม)ใหม่อีกครั้ง......

    อย่างนี้หละครับ.....การปฏิบัติบางครั้งเราต้องหาจังหวะที่เหมาะสมกับตัวเองนะครับ.....ถ้ามันซึมก็ถอนรู้ไปตรงๆว่าจิตมันซึม..แล้วใช้อริยาบทเคลื่อนไหว..อย่างนี้หละครับ.....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤษภาคม 2012
  4. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    อันนี้แยกสองอัน

    อันที่ทำ อานาปานสติ อันนั้น มี การวางอารมณ์พลาด สมาธิที่ได้ กลายเป็น มิจฉาสมาธิ

    ซึ่ง จะผิดตั้งแต่เริ่มออกตัวสตาร์ท คุณ ไปวางสัญญาล่วงหน้าว่า จะต้องเป็นอารมณ์สงบ
    ทำให้ จิตใจ ทั้งใจ ทั้งกาย คล้อยหาสภาพธรรมที่ทำให้ จมนิ่ง ( ฝากสังเกตด้วยนะ อะไร
    ก็ตามที่เรา สร้างสัญญาล่วงหน้า เวลา พลาดเป้า มันจะตามด้วยการถามว่า แล้วจะแก้
    อย่างไร สัญญาที่สร้างไว้จะสบกับ ผล เนี่ยะ สัญญา มันหรอกให้ปฏิบัตินะ สังเกตด้วย
    แล้วจะค่อยๆมี ปฏิภาณ ไหวพริบ ขึ้นมา )

    กายจึงโน้มไปข้างหน้า เพราะ กายที่โน้มไปข้างหน้าสำหรับบางคน เป็นอาการ แสวงหา
    หรือ ไขว่คว้า สภาพธรรมจมนิ่ง ไม่สัดส่าย โยกโคลง

    ส่วนจิตก็จะคล้อยตาม สัมปชัญญะขาด เผลอน้อมไปตามกาย ทำให้ จิตจมนิ่ง ทื่อ ไปด้วย

    ซึ่ง....ตรงนี้ใหม่ๆ ก็จะเป็นแบบนี้ ไม่ต้องแก้ ให้ ระลึกรู้ รสโทษของ การมึน การเฉย
    ชา ที่ออกจากสมาธิแบบนี้เอาไว้ จดจำอารมณ์เอาไว้ ไม่ต้องไป ยินดี ยินร้าย

    ****************************

    ทีนี้ มาอารมณ์ที่สอง คือ สวดมนต์ อันนี้ ถือว่า ทำแล้วได้ สัมมาสมาธิยอดเยี่ยม

    คือ พอเสร็จกิจการวางอารมณ์เคล้าเคลียรในการสวดมนต์ จิตเกิดการ แยกสภาวะ
    ออกมาเป็น จิต แยกกันกับ สังขารธรรม อันมี กายสังขาร(ร่างกาย พนมมือ มัน
    จะเห็นว่า เป็นกองสังขาร แยกกันกับจิต)

    วจีสังขาร คือ บรรดาคำสวดมนต์ที่จบไปหมดแล้ว ล้วนแต่ ตกเป็น สังขารที่เรียกว่า
    วจีสังขาร แยกกันกับ จิต ไม่ใช่จิต แต่สิ่งที่คุณยังแยกไม่ได้ คือ มโนสังขาร กำลัง
    สมาธิคุณไม่มากพอ ทำให้ นิวรณ์ความลังเล สงสัย เริ่มครอบงำ หาก ทันหรือ แยก
    มโนสังขารได้อีกกองหนึ่ง คุณจะเห็นเลยว่า ใจที่ไหลไปตรึก ไปคิด นั่นคือ มโนสังขาร
    เป็น สังขารที่3 หากเห็นสภาวะ สังขารได้ครบสามกอง แยกกันกับจิต สัมมาสมาธิจะ
    บริบูรณ์

    บริบูรณ์ที่จะ จำแนกได้ว่า อารมณ์ที่ออกจากสมาธิการทำอานาปานสติ อันนั้นไม่ใช่
    ไม่ดีเท่า อารมณ์สมาธิที่ได้จากการสวดมนต์ ( กล่าวแบบนี้ ไม่ได้บอกว่า ต่อไปนี้
    ให้สวดมนต์อย่างเดียวนะ อย่าโลภ!!! )

    สังเกตนะว่า มันเริ่มเอามาใช้ประโยชน์ ดังนั้น ประสบการณ์การภาวนา ทุกอย่างมีค่า

    ไม่ว่าจะสว่าง หรือ มืด หรือ ขาว หรือ ดำ หรือแม้แต่ กลางๆ

    เมื่อปฏิบัติให้มากๆ เนืองๆ การภาวนาสมาธิในรูปแบบต่างๆ จะค่อยปรับตัวดีขึ้นได้
    ด้วยการไตร่ตรอง ใคร่ครวญแยบคาย ใน คุณ และ โทษ

    สมาธิที่แนบแน่น จะเป็น สมาธิที่เข้าออกโดยไม่รู้สึกว่า ได้เข้า ได้ออก กล่าวคือ
    เราจะไม่เอาความแตกต่างของการเข้า การออก มาเป็นใหญ่ เพราะ ว่ามันไม่ได้
    เกี่ยวอะไรกับ "จิตหนึ่ง" พูดง่ายๆ เวลาชำนาญสมาธิ จะรู้สึกว่า ราบเรียบเสมอ
    กันหมดทั้งก่อนเข้า ระหว่างเข้า และ ออก ( ยกเว้นการอยู่ในสมาธิ อันนี้ จะต้อง
    เสพให้มากๆ ในรสที่แตกต่างเหล่านั้น เพราะมันเป็น งานอีกงานหนึ่ง ถือว่า ไม่เสีย
    หาย แต่ถ้า ออกมาแล้ว เกิดการเห็นความแตกต่างในคุณชาติ อันนั้น ถือว่า เริ่มเสีย
    หาย เริ่มผลิกไปสู่อธิโมกข์ นิกันติ )
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤษภาคม 2012
  5. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    อีกอย่างหนึ่ง

    ดูจาก การร้อยเรียงคำพูด ประสบการณ์การภาวนา ออกมาเป็นคำถาม
    เท่าที่เห็นนี่ ต้องถือว่า มีอินทรีย์ภาวนาใช้ได้

    คำว่า มีอินทรีย์ภาวนาใช้ได้ หมายถึง สามารถลุยได้โดยไม่ต้องอาศัย
    ปริยัติธรรมใดๆ เพิ่มเติม ได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง

    สามารถหาที่สงบ ที่วิเวก แล้ว ปฏิบัติธรรมให้มากๆ การใคร่ครวญพิจารณา
    หรืออินทรีย์ภาวนาที่มีอยู่แล้ว จะค่อยๆ จำแนกธรรมออกมาได้มากขึ้น ละเอียด
    ขึ้น ปราณีติขึ้น

    คำถาม จะชัด และ คมกว่านี้ได้อีกเยอะ

    เมื่อ คำถาม ชัด และ คม ถึงเวลานั้น ก็ควรเห็น สมณะ เข้าหาสมณะ กันไปเลย
    จะได้ไม่ต้องสาระวนกับ เรื่องรายละเอียดปลีกย่อยที่ไม่เกี่ยวกับการภาวนา
     
  6. ปุณบพิธ

    ปุณบพิธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,102
    ค่าพลัง:
    +2,134
    ด้วยปัญญาหางอึ่งของผม...

    ติดสุข ครับ

    จิตของคนเรา มันจับได้ทีละอย่าง แต่มันสลับไปมาเร็วมาก
    อาการที่ปากพูด แต่ใจไปจับความนิ่ง คือการที่ กำลังส่วนใหญ่ของจิต หรือ สติ มันยังไปจับอยู่กับอารมณ์ เอกัคคตาค้างอยู่ ไม่ยอมมารับรู้สภาวะตามความเป็นจริงครับ... หากถอนกำลังของสติ กำลังของจิตส่วนใหญ่ ออกมาจากอารมณ์ตัวนี้ได้ สภาวะต่างๆ ในร่างกายจะชัดขึ้น เราจะสนใจสิ่งที่เกิดตามความเป็นจริง ไม่ใช่ไปแอบเสพอารมณ์ค้างจากสมาธิครับ

    ทางแก้ ขออภัย ผมเองเจอแล้ว รู้ตัวมันแล้ว แต่ยังสลัดไม่หลุดเหมือนกันครับ
     
  7. Dhamma for life

    Dhamma for life สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2012
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +16
    ขอบคุณสำหรับคำแนะนำของทุกท่านครับ
     
  8. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    อาการของสมาธิ ที่ถูกต้อง คือ เบา แคล่วคล่องว่องไว และ ตื่นรู้

    เมื่อออกจากสมาธิแล้ว ก็ตื่นรู้ สงบ ไม่แข็งทื่อ อยู่ในสมาธิก็ตื่นรู้สงบ เบา แต่ทรงตัวได้ไม่วิ่งวุ่น

    นี่จึงเรียกว่า สัมมาสมาธิ คือ รู้ทั้งในฌาณและนอกฌาณ เป็นปกติ ทั้งสองสภาวะ


    ที่จขกท ทำมา เรียกว่าตกภวังค์ ไม่เป็นสมาธิ ให้ฝึกสติให้มากขึ้น ฝึกปลุกตนให้ตื่นอยู่เสมอ
    คอยสังเกตุ การตื่นรู้ กับการตกภวังค์ แยกให้ชัด แล้วเจริญสมาธิให้ตื่นรู้
     
  9. อโศ

    อโศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,689
    ค่าพลัง:
    +5,830
    อาการตกภวังค์ ขาดสติ

    แก้โดยการเจริญคำภาวนาบริกรรม "พุทโธ"
     

แชร์หน้านี้

Loading...