อานาปานุสสติกรรมฐาน โดยหลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย ชนะ สิริไพโรจน์, 28 มีนาคม 2010.

  1. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    [​IMG]
    อานาปานุสสติกรรมฐาน<O:p</O:p
    หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง)<O:p</O:p

    ในมหาสติปัฎฐานสูตรอันดับแรกที่องค์พระพุทธเจ้าทรงหยิบเอาอานาปานุสตติกรรมฐานขึ้นมาก่อน
    ถ้าไม่ดีแล้วก็คงไม่ยกนำมาเป็นอันดับแรกก่อนกรรมฐานกองอื่น
    สำหรับอานาปานุสสติกรรมฐาน หมายถึงการกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ใช้ทุกอิริยาบถที่ทรงอยู่
    ให้เอาใจกำหนดจับอานาปานุสสติกรรมฐานเป็นปกติ จิตไม่มีเวลาว่างจากการกำหนดรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก
    ไม่มีอารมณ์เลวเกิดขึ้นไม่มีอกุศลใด ๆ แทรกเข้ามาได้ ขณะใดที่ใจยังตื่นอยู่แม้ตาจะหลับ
    ให้กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกเสมอ เวลาหายใจเข้ารู้อยู่ว่าหายใจเข้า เวลาหายใจออกรู้อยู่ว่าหายใจออก
    ในด้านของสติปัฏฐานสี่ แม้เวลาพูดคุยกันจิตใจก็กำหนดลมหายใจเข้าออกไปด้วย
    แม้ใหม่ ๆ อาจจะลืมบ้างแต่ต้องตั้งใจไว้ทรงสติไว้ว่าเราจะหายใจเข้าหายใจออก
    หายใจเข้ายาวหรือสั้นหายใจออกยาวก็รู้อยู่ แม้พระอรหันต์ก็ไม่ทิ้งลมหายใจ
    แม้พระพุทธเจ้าก็ตรัสแก่พระสารีบุตรว่า "สารีบุตรดูก่อนสารีบุตรเราเองก็เป็นผู้มาก
    ไปด้วยอานาปานุสสติกรรมฐาน" คำว่า "มาก" ก็หมายความว่า พระพุทธเจ้า
    ทรงกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นปกติทั้งนี้เพราะอานาปานุสสติกรรมฐาน
    เป็นกรรมฐานระงับกายสังขารคือเป็นกรรมฐานคลายอารมณ์เครียดของจิตใจ
    และเป็นกรรมฐานคลายอารมณ์เครียดทางร่างกายมีทุกขเวทนา เป็นต้น
    เราทรงอานาปานุสสติกรรมฐานได้ ก็เหมือนกับคนฉีดมอร์ฟีนเป็นยาระงับ
    ระงับเวทนา อานาปานุสติกรรมฐานจงทำให้มาก จงอย่าละ ถ้าใครแสดงอาการเลว
    แสดงว่าคนนั้นทิ้งกำหนดลมหายใจเข้าออก
    <O:p</O:p
    ถ้าการกำหนดลมหายใจเข้าออกว่างเกินไป ก็ใช้คำภาวนาควบเวลาหายใจเข้านึกว่า "พุท"
    เวลาหายใจออกนึกว่า "โธ" พยายามกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกไว้เป็นปกติ
    ทำให้เกิดฌานสมาบัติ ตั้งใจไว้เสมอไม่ว่านั่ง นอน ยืน เดิน อย่างเลวที่สุดระยะต้น
    ภายใน ๑ เดือนจะทรงฌาน ๔ การปฏิบัติก็จะเป็นผลโดยไม่ยุ่งกับอำนาจของความรัก
    ความโลภ ความโกรธ ความหลงผู้ทรงฌานจะไม่มองดูความดีและความเลวของคนอื่น
    ไม่ติใครจะมีความกตัญญูรู้คุณต่อผู้มีคุณ
    ขอจงกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกควบคู่กับการภาวนา "พุทโธ" <O:p</O:p
    จะใช้กรรมฐานกองใดกองหนึ่งก็ตามจงใช้กรรมฐานกองนั้นให้ถึงอรหัตตผล
    ขอเพียงให้มีกำลังใจเข้มแข็ง กำลังใจดูตัวอย่างขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า
    "เลือดและเนื้อของเราจะเหือดแห้งก็ตามทีชีวิตอินทรีย์ของเราจะสลายไปก็ตาม
    ถ้าไม่สำเร็จพระสัมโพธิญาณเพียงใดเราจะไม่ยอมลุกจากที่นี้"
    <O:p</O:p
    ในการปฏิบัติในตอนแรกเราอาจจะรู้สึกว่ายาก คำว่า "ยาก" เพราะว่ากำลังใจของเรายังไม่เข้มแข็ง
    เพราะใจของเราหยาบมาก่อนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแนะนำให้ใช้อานาปานุสสติกรรมฐาน
    เพื่อดับอารมณ์ฟุ้งซ่านของจิตต่อไปจะเจริญสมถะกองไหนก็ตาม หรือวิปัสสนากองใดก็ตาม
    จะเว้นอานาปานุสสติกรรมฐานไม่ได้ อันดับแรกขอให้ทำอานาปานุสสติกรรมฐานถึงฌาน ๔
    ความกลุ้มจะเกิดนิดหน่อยเพราะใหม่ ๆ จะทำให้ใจทรงอยู่ ก็คงจะคิดไปโน่นไปนี่ก็อย่าเพิ่งตกใจ
    ว่าเราจะไม่ดี ถ้าบังเอิญเราทำกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกควบพุทธานุสสติกรรมฐาน
    ไปได้สัก ๑ - ๒นาที จิตนี้เกิดอารมณ์พล่านแล้วต่อมามีความรู้สึกตัว ว่า "โอหนอ
    นี่ใจเราออกไปแล้วหรือ" เราก็ดึงอารมณ์เข้ามาที่อานาปานุสสติกรรมฐานควบคู่กับ
    พุทธานุสสติกรรมฐานใหม่ การทำอย่างนี้จงอย่าทำเฉพาะเวลา พยายามใช้เวลาตลอดวัน
    ไม่ว่าจะทำอะไรที่ไหน อย่างไรใช้เวลาเป็นปกติ เวลาพูดรู้ลมหายใจเข้าออกได้หรือไม่
    เวลาทำงานก็รู้ลมหายใจเข้าออกไปด้วย ลืมบ้างไม่ลืมบ้าง ขอให้มีความตั้งใจของจิต
    ควรจะตั้งเวลาทรงฌานไว้ด้วยเพื่อประโยชน์ในขณะที่จิตของท่านเข้าถึงฌาน

    ด้วยอำนาจของพุทธานุสสติกรรมฐานหรือด้วยอำนาจของอานาปานุสสติกรรมฐาน <O:p</O:p
    เวลาที่พอจะภาวนาได้ หายใจเข้านึกว่า "พุท" หายใจออกนึกว่า "โธ"
    ถ้าพูดไม่ได้ก็ใช้แต่อานาปานุสสติกรรมฐาน งานก็จะไม่เสีย
    เพราะอานาปานุสสติกรรมฐานเป็นอารมณ์ที่ละเอียด
    ขณะที่จะคิดงานก็วางอานาฯ ครู่หนึ่งใช้การคิดพิจารณา
    แต่ความจริงคนที่คล่องแล้วเค้าไม่ทิ้งอานาปานุสสติกรรมฐาน
    เพราะขณะที่ใช้นั้นใช้ต่ำ ๆ แค่อุปจารสมาธิ ตอนนั้นอารมณ์เป็นทิพย์
    เมื่ออารมณ์จิตเป็นทิพย์ปัญญาก็เกิด เมื่อปัญญาเกิด งานที่ทำก็ไม่มีอะไรยาก <O:p</O:p
    การตั้งเวลา จะใช้การนับก็ดี หายใจเข้าหายใจออก นับเป็นหนึ่ง ถึงสิบ
    และตั้งจิตไว้ว่า ตั้งแต่ 1-10 นี้จะไม่ยอมให้อารมณ์แวบไปสู่อารมณ์อื่น
    ถ้าไปสู่อารมณ์อื่นเมื่อใดเราจะตั้งต้นใหม่ทันที และถ้า 1-10 แล้วอารมณ์จิตดี
    เราก็ไม่เลิก ตั้งต่อไปอีก 10 เมื่อถึง 10 ยังดีอยู่ เราก็ยังไม่เลิกต่อไปอีก 10
    ในระยะใหม่ ๆ เรายังควบคุมไม่ได้ ก็ใช้กำลังใจของสมเด็จพระบรมครูมาใช้
    เราก็จงคิดว่า ถ้า 1-10 นี้ไม่ได้ ก็จะให้มันตายไปซะเลย เมื่อนาน ๆไปไม่ถึงเดือนก็ต้องได้เลยสิบ
    <O:p</O:p
    จิตทรงอารมณ์อานาปานุสสติกรรมฐานแล้ว อารมณ์อื่นก็ไม่สามารถเข้ามาได้ความหยาบในจิตใจหมดไป
    มีแต่ความละเอียด ก็จะมีความตั้งใจในการปฏิบัติงานพยายามใช้กำลังใจให้อยู่ในขอบเขต
    ทำไม่ได้ถือว่าให้มันตายไปเวลานอนก่อนจะนอนก็จับลมหายใจเข้าออกเป็นปกติแล้วก็หลับไป
    ตื่นใหม่ ๆจะลุกหรือไม่ลุกก็ตาม ใช้อารมณ์ใจให้ถึงที่สุดทุกวัน
    <O:p</O:p
    อุปสรรคของอานาปานุสสติกรรมฐานมีมาก เรียกว่าเป็นกรรมฐานที่มีความละเอียด
    อานาปานุสสติกรรมฐานอาศัยลมเป็นสำคัญ ถ้าวันใดลมหายใจหยาบแสดงว่าวันนั้น
    จะปรากฎว่าอาการคุมสมาธิไม่ดี จะมีอาการอึดอัดบางครั้งจะรู้สึกว่าแน่นที่หน้าอก
    หรือว่าหายใจไม่ทั่วท้องถ้าอาการอย่างนี้เกิดขึ้น หรือเกรงว่าอาการอย่างนี้จะมีเมื่อเวลาเริ่มต้น
    ที่จะกำหนดกรรมฐาน ให้เข้าชักลมหายใจยาว ๆ สัก 3-4 ครั้งคือหายใจเข้า หายใจออกยาว ๆ สัก 3-4 ครั้ง
    เพื่อเป็นการระบายลมหยาบออกไปจากกนั้นก็กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก อย่าบังคับให้หนัก ๆ หรือเบา หรือยาว ๆ สั้น ๆ <O:p</O:p
    การเจริญอานาปานุสสติกรรมฐานต้องการสติสัมปชัญญะเป็นใหญ่ อาการของลมหายใจปล่อยไปตามสบาย ๆ
    แค่รู้ไว้เท่านั้น ว่าหายใจยาว หรือสั้น ก็รู้อยู่และอีกแบบหนึ่งคือ กำหนด 3 ฐาน คือ เวลาหายใจเข้า ลมกระทบจมูก
    กระทบหน้าอกศูนย์เหนือสะดือ เวลาหายใจออกกระทบศูนย์เหนือสะดือ กระทบหน้าอกกระทบจมูกหรือริมฝีปาก
    คนริมฝีปากเชิดจะกระทบริมฝีปาก ริมฝีปากงุ้มจะกระทบจมูกเป็นความรู้สึก จงอย่าบังคับลมหายใจให้แรง
    ปล่อยไปตามปกติความรู้สึกมีเพียงว่ากระทบจมูกอย่างเดียว ถ้ารู้ความสัมผัสจมูกก็แสดงว่าจิตทรงได้แค่อุปจารสมาธิ
    ถ้าสามารถรู้การสัมผัส 2 ฐาน คือหายใจเข้ากระทบจมูกกระทบหน้าอก และหายใจออกรู้กระทบหน้าอก
    กระทบจมูก 2 จุดนี้ แสดงว่าจิตเข้าถึงอุปจารสมาธิ ถ้ารู้ถึง 3 ฐาน หายใจเข้ากระทบจมูก กระทบหน้าอก
    กระทบศูนย์เหนือสะดือ และเวลาหายใจออกกระทบศูนย์เหนือสะดือ กระทบหน้าอก กระทบจมูกรู้ได้ชัดเจน
    อย่างนี้แสดงว่าจิตเข้าถึงปฐมฌาน ถ้าอารมณ์จิตละเอียดยิ่งไปกว่านั้นฌานที่ 2 ที่ 3 อย่างนี้ลมหายใจเข้าหายใจออก
    จะเหมือนกระแสน้ำไหลเข้าไหลออกทั้งหายใจเข้าและหายใจออก อย่างนี้แสดงว่าจิตเข้าถึงปฐมฌานละเอียด
    หรือว่าฌานที่ 2 ที่ 3 สำหรับปฐมฌานลมยังหยาบอยู่ แต่รู้สึกว่าจะเบากว่าอุปจารสมาธิ พอถึงฌานที่ 2
    จะรู้สึกว่าลมหายใจเบาลงอีก ไปถึงฌานที่ 3 ลมหายใจที่กระทบรู้สึกว่าจะเบามากเกือบจะไม่มีความรู้สึก
    ถ้าเข้าถึงฌานที่ 4 ก็จะมีความรู้สึกว่าไม่หายใจเลยแต่ความจริงร่างกายหายใจเป็นปกติที่ความรู้สึกน้อยลงไป
    ก็เพราะจิตกับประสาทห่างกันออกมาตั้งแต่ปฐมฌานจิตก็ห่างจากประสาทไปนิดหนึ่ง มาถึงฌานที่ 2
    จิตก็ห่างจากประสาทมากอีกหน่อย พอถึงฌานที่ 3 จิตก็ห่างจากประสาทมากเกือบจะไม่มีความสัมผัสกันเลย
    ถึงฌานที่ 4 จิตปล่อยประสาทไม่รับรู้การกระทบกระทั่งทางประสาททั้งหมด จึงไม่รู้สึกว่าเราหายใจ

    <O:p</O:p
    อาการที่เข้าถึงอุปจารสมาธิ <O:p</O:p

    เมื่อกำหนดรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก จิตจะมีความสงบสงัดดีขึ้นดีกว่าอุปจารสมาธิมีความชุ่มชื่นมีความสบาย
    แต่ทรงได้ไม่นาน อาจจะ 1 -2 - 3 นาทีในระยะต้น ๆ แต่บางวันก็ทรงได้นานหน่อย เมื่อจิตมีความสุข รื่นเริง
    อาการของปิติมี 5 อย่าง ที่จะเรียกว่า อุปจารสมาธิจิตที่เข้าถึงอุปจารสมาธิก็คือจิตมีปิติ และจิตเข้าถึงสุข

    ถ้าเข้าถึงสุขก็เรียกว่าเต็มอุปจารสมาธิ อาการของจิตที่ควรแก่การพิจารณา คือ <O:p</O:p
    • มีขนลุกซู่ซ่า ขนพองสยองเกล้า จงอย่าสนใจกับร่างกายพยายามสนใจกับอารมณ์ที่ทรงไว้ <O:p</O:p
    • น้ำตาไหล เวลาเริ่มทำสมาธิน้ำตาไหล ใครพูดอะไรก็น้ำตาไหล บังคับไม่อยู่ <O:p</O:p
    • อาการโยกโคลง โยกหน้าโยกหลัง <O:p</O:p
    • มีอาการสั่นเคลิ้ม คล้ายเหมือนปลุกพระ บางคนมีอาการตัวลอย ไม่ใช่เหาะ เป็นปิติ <O:p</O:p
    • อาการซาบซ่าน ซู่ซ่าในกาย ตัวกายเบาโปร่ง มีความรู้สึกเหมือนตัวใหญ่ หน้าใหญ่ตัวสูง<O:p</O:p
    ปิติเมื่อเกิดขึ้น เราจะมีอารมณ์เป็นสุขซึ่งเป็นความสุขที่อธิบายไม่ได้ เป็นความสุขสดชื่น
    ปราศจากอามิสอาการอย่างนี้จิตเข้าถึงอุปจารสมาธิในอันดับขั้นสูงสุดเป็นการเต็มในขั้นกามาวจรสวรรค์
    ขณิกสมาธิเป็นปัจจัยให้เกิดในกามาวาจรสวรรค์เมื่อเต็มขั้นกามาวจรแล้ว ถ้าเลยจากนี้ก็เป็นอาการของพรหม <O:p</O:p

    ขณะที่จิตเข้าถึงอุปจารสมาธิ อาจจะเป็นขั้นต้น กลาง ปลาย ก็ตามอุปจารต้นเรียกว่า ขนพอง สยองเกล้า
    น้ำตาไหล ร่างกายโยกโคลง นี่เรียกว่าอุปจารสมาธิขั้นต้นอุปจารสมาธิขั้นกลาง คือ กายสั่นเทิ้ม
    คล้ายกับอาการปลุกพระ หรือมีร่างกายลอยขึ้น ตัวเบา ตัวใหญ่ มีจิตใจสบาย เรียกว่าอุปจารสมาธิขั้นกลาง
    ถ้ามีจิตใจเป็นสุขบอกไม่ถูกเรียกว่าอุปจารสมาธิขั้นสูงสุด

    จะเป็นอุปจารสมาธิอันดับใดก็ตาม ในขณะนี้จะมีอาการแปลก ๆ เกิดขึ้น นั่นคือบางครั้งเห็นแสงสีต่าง ๆ เกิดขึ้น
    สีแดง สีเขียว สีเหลืองบางครั้งก็เหมือนกับใครมาฉายไฟที่หน้า บางครารู้สึกว่ามีแสงสว่างทั่วกายถ้าอาการอย่างนี้เกิดขึ้น
    จงทราบไว้ว่าเป็นนิมิตของอานาปานาสติกรรมฐานแต่บางทีก็มีภาพคน อาคาร สถานที่เกิดขึ้นแต่อาการอย่างนี้
    จะเกิดขึ้นชั่วครู่แล้วก็หายไป ตอนนี้ขอให้จงอย่าสนใจกับแสงสีใด ๆทั้งหมด อะไรจะเกิดขึ้นก็ช่าง
    ทำความรู้สึกไว้เสมอว่าเราเจริญกรรมฐานต้องการอารมณ์จิตเป็นสุข ต้องการอารมณ์เป็นสมาธิ
    ทำความรู้สึกว่าเรายังดีไม่พอ ยังไม่เข้าถึงปฐมฌาน <O:p</O:p
    ถ้าเข้าถึงปิติส่วนใดส่วนหนึ่งก็ตามอาการอย่างใดอย่างหนึ่งที่ปรากฎขึ้น ขณะที่กำลังทำงานก็ดี
    เดินอยู่ก็ดีเราเหนื่อยก็นั่งพัก กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกทันที จิตใจเป็นสุขอาการเหนื่อยจะหายอย่างรวดเร็ว
    เพราะอานาปานุสสติกรรมฐานเป็นการระงับทุกขเวทนาทางกายจุดหนึ่งและขณะที่เหนื่อยอยู่หาที่พัก
    แม้จะมีเสียงดังก็ตาม จับลมหายใจเข้าออกทันทีพอจับปรับอาการอย่างใดอย่างหนึ่งที่ปิติ
    แสดงว่าเข้าถึงสมาธิได้อย่างรวดเร็วควรจะพยายามไว้อย่างสม่ำเสมอ ทำให้เราคล่องในการทรงสมาธิ
    เวลาที่จิตถึงฌานสมาบัติเราสามารถจะเข้าฌานได้ตามอัธยาศัยถ้าเข้าฌานโดยต้องการเวลาเพื่อที่จะให้เกิดฌานนั้น
    แสดงว่ายังใช้ไม่ได้การทรงสมาธิต้องคล่องที่ตามพระบาลีท่านกล่าวว่า จิตเข้าถึงนวสี คำว่านวสีคือการคล่อง
    ในการเข้าฌานและออกฌาน
    <O:p</O:p
    ฉะนั้นการฝึกสมาธิจงอย่าหาเวลาแน่นอน ไม่ว่าจะทำอะไร นั่ง เดิน นอนกิน จิตจับลมหายใจเข้าออกให้ทรงตัว
    อย่าปล่อยจิตให้ว่างจากสมาธิการก้าวเดินก็อาจจะก้าวขวาก็พุท ก้าวซ้ายก็โธ เวลากินก็รู้ว่าตัก กำลังเคี้ยวกำลังกลืน
    เป็นการทรงสมาธิได้ดี เวลานอนก่อนจะหลับ ใช้อานาปานุสสติกรรมฐานขณะที่หลับจะถือว่าเป็นผู้ทรงฌาน
    จิตจะเข้าถึงปฐมฌาน หรือสูงกว่านั้นจึงจะหลับถ้าตายระหว่างนั้นก็จะเป็นพรหม
    เวลาตื่นก็จะตื่นหรือลุกก็ได้จับลมหายใจเข้าออกทันที เพื่อให้สมาธิจิตทรงตัว
    เป็นการรวบรวมกำลังใจสูงสุด <O:p</O:p
    เมื่อผ่านอุปจารสมาธิแล้ว จิตจะมีความสุขมีความเยือกเย็นโดยฌานแบ่งออกเป็น 4 อย่าง <O:p</O:p
    ปฐมฌานอาการมีองค์ 5 มีวิตก วิจาร ปิติสุข เอตคตา คำว่า วิตก ได้แก่อารมณ์นึก
    ที่เราจะกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก วิจารได้แก่ รู้ว่าเวลานี้เราหายใจเข้าหรือออก ยาวหรือสั้น
    หรือในกรรมฐาน 40 ก็จะรู้ว่าเวลานี้กระทบจมูก หน้าอก ศูนย์เหนือสะดือ <O:p</O:p
    ปิติ ความเอิบอิ่มใจ มีความชุ่มชื่น เบิกบานไม่มีความเบื่อในการเจริญพระกรรมฐาน
    เอตคตา มีอารมณ์เดียวคือในขณะนั้นจิตจับเฉพาะลมหายใจเข้าออกปกติ จิตจะไม่รับอารมณ์ส่วนอื่น <O:p</O:p
    ความรู้สึกในขณะที่จิตเข้าถึงปฐมฌาน จิตจะจับลมหายใจเข้าออกลมหายใจจะเบามีความสุขสดชื่น
    หูได้ยินเสียงภายนอกชัดเจนแจ่มใส แต่ไม่รำคาญในเสียงกำลังจิตสำหรับผู้ที่เข้าถึงปฐมฌาน
    ในเบื้องแรกยังไม่มั่นคงในขณะที่จับลมหายใจเข้าออก จะมีสภาพนิ่งคล้ายเราเคลิ้ม คิดว่าเราหลับ
    แต่ไม่หลับมีอาการโงกหน้าโงกหลัง แต่จริง ๆ แล้วตัวตั้งตรงพอสักครู่จะมีอาการหวิวคล้ายตกจากที่สูง
    นั่นคือเป็นอาการจิตหยาบอารมณ์หยาบของปฐมฌาน เป็นจิตพลัดจากฌานไม่สามารถผ่านไปได้
    จงอย่าสนใจพยายามรักษาอารมณ์ปกติไว้ ได้เท่าไหร่เอาเท่านั้น <O:p</O:p
    ฌานที่ 2 มีองค์ 3 ตัดวิตก วิจาร เหลือปิติ สุข เอตคตา จิตจะไม่สนใจ มีความเบาลง มีความนิ่งสนิท
    ถ้าภาวนากำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก คำภาวนาจะหายไป จิตจะตั้งอารมณ์ทรง มีความเอิ่มอิ่มมีอารมณ์สงัด
    แต่ถ้าเราไปที่อุปจารสมาธิก็จะมาคิดว่า เอ...เราเผลอไปแล้วเหรอเราไม่ได้ภาวนาเลย ความจริงนั่นไม่ใช่ความเผลอ
    เป็นอาการของจิตทรงสมาธิสูงขึ้น
    <O:p</O:p
    ฌานที่ 3 มีองค์ 2 มีอาการสุข และเอตคตาตัดปิติหายไป อาการของฌานนี้ จิตมีความสุข มีอารมณ์ตั้งดีกว่าฌานที่ 2
    และร่างกายเหมือนมีอาการนั่งหรือยืนตรงเป๋งสำหรับลมหายใจจะเบามากเกือบไม่มีความรู้สึก หูได้ยินเบามาก
    แม้ว่าเสียงนั้นจะดังฌานที่ 4 จะมีความรู้สึกว่าเราไม่ได้หายใจมีอารมณ์เด็ดเดี่ยวตั้งมั่น มีความมั่นคง
    ไม่มีความรู้สึกภายนอก ไม่ว่ายุงจะกัดเสียงก็ไม่ได้ยิน จิตนิ่งเฉย ๆ มีเอตคตาและอุเบกขาเอตคตาหมายความว่า
    ทรงอารมณ์เป็นหนึ่ง อุเบกขา หมายความว่าเฉย ไม่รับสัมผัสอารมณ์ใดๆ ทั้งหมด <O:p</O:p
    แต่ความจริงแล้วการปฏิบัติจงอย่าสนใจว่า ตอนนี้เข้าถึงฌานอะไรถือว่าวันนี้ได้ดีเพียงไร พอใจเท่านั้น
    คิดว่าเป็นผู้สะสมความดี ทรงอารมณ์สมาธิถ้าจิตตั้งได้ก็จะมีอาการเป็นสุข เวลาเจริญสมาธิจิต
    ไม่ว่ากรรมฐานกองใดก็ตามเวลานี้อยู่ในฌานใด อย่าไปตั้งว่าเราจะต้องได้ฌานนั้น ฌานนี้ จะทำให้ไม่ได้อะไรเลย
    ให้มีความพอใจแค่ที่ได้ เป็นการฝึกจิตเข้าถึงอุเบกขารมณ์ ทำให้ต่อไปจิตจะทรงฌาน 4 ได้ง่าย <O:p</O:p
    การปฏิบัติที่จะให้ได้ผลจริง ๆ ใช้ตลอดทุกอิริยาบถอย่าทิ้งลมหายใจเข้าออก พยายามนึกลมหายใจเข้าออกเสมอ
    แต่หากว่างานนั้นไม่เหมาะที่จะดูลมหายใจเข้าออกเราก็ใช้จิตจับอยู่ที่งานว่าเวลานี้เราทำอะไร
    เป็นการฝึกอารมณ์ของสมาธิไปในตัว

    วิธีการต่อสู้คือ <O:p</O:p
    1. ต่อสู้กับความเหนื่อยจิตจับสมาธิจับลมหายใจเข้าออก ดูว่าจิตจะทรงตัวไหม ถ้าจิตไม่ทรงตัวเราจะไม่เลิก
    เป็นการระงับความเหนื่อย ดับความร้อนไปในตัว เมื่อจิตเข้าถึงสมาธิเล็กน้อยความเหนื่อยก็จะคลายตัว
    พอจิตเข้าถึงอุปจารสมาธิก็จะหายเหนื่อยทันทีความร้อนความกลุ้มก็จะหายไป <O:p</O:p
    2. การต่อสู้กับเสียงขณะที่เราพบเสียงที่เค้าคุยกันเสียงดัง ลองทำจิตจับลมหายใจเข้าออกว่าเรารำคาญเสียงไหม
    หรือลองเปิดเสียงทีวี วิทยุฟังแล้วกำหนดอานาปานุสสติกรรมฐานหูได้ยินเสียงชัด แต่จิตของเราไม่รำคาญในเสียงนั้น
    ก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทำไปหูไม่ได้ยินเสียงเลยนั่นยิ่งดี พยายามต่อสู้เสมอ จนมีอารมณ์ชินเมื่อเราเจอเสียงที่พอใจหรือไม่พอใจก็ตาม
    เราเข้าสมาธิได้ทันทีทันใดเป็นการฝึกจิตให้คล่องในการเข้าสมาธิ ถ้าทำได้อย่างนี้จะทำให้อารมณ์จิตทรงตัว <O:p</O:p
    3. ต่อสู้กับอารมณ์ที่ไม่ชอบใจต้องพยายามระงับด้วยกำลังของสมาธิ คิดว่าใครจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา
    เป็นเรื่องของเขาเวลาที่เราได้รับคำด่าอย่าเพิ่งโกรธใช้จิตพิจารณาดูก่อนว่าเรื่องที่เค้าด่านั้นจริงหรือไม่จริง
    ถ้าไม่ตรงความจริงก็ยิ้มได้ ว่าคนที่ด่าไม่น่าเลื่อมใส ด่าส่งเดชหรือถ้าพบอารมณ์ที่เราไม่พอใจ
    ก็จับอารมณ์ให้จิตทรงตัว ไม่ว่าเค้าจะด่าว่าอะไรเรารักษาอารมณ์ที่เป็นสุขไว้ ถือว่าอารมณ์ความสุข
    เป็นปัจจัยเข้าถึงพระนิพพานโดยง่ายเป็นอารมณ์แบบสบาย ๆ

    หัดฝึกจิตกระทบอารมณ์ที่เราไม่พอใจระงับความอยากด้วยกำลังของฌาน
    กำลังของฌานระงับกิเลสได้ทุกอย่าง โลภะ(ความโลภ)
    ราคะ(ความรัก) โทสะ(ความโกรธ) โมหะ(ความหลง) ระงับได้ทุกอย่างแต่มีอารมณ์หนัก
    เมื่ออารมณ์จิตของเรามีการทรงตัวจริง ๆ อารมณ์แห่งความสุขจะยืนตัวกับจิตของเราจะไม่หวั่นไหว
    เมื่อเห็นวัตถุที่สวยงาม ไม่ทะเยอทะยานจากอาการที่ได้ลาภสักการะไม่หวั่นไหวเมื่อมีคนยั่วให้โกรธ
    สิ่งที่ยึดมั่นว่าเป็นเราของเราก็ไม่มีความจริงกำลังสมาธิสามารถกดกิเลสทุกตัวให้จมลงไปได้
    แต่อย่าลืมว่ากิเลสมันไม่ตายถูกฝังไว้ ถ้าเผลอเมื่อไหร่ก็โดนเล่นงานเมื่อนั้นสำหรับคนที่ทรงจิตถึงฌาน ๔
    หรือทรงอารมณ์สมาธิถึงฌานใดฌานหนึ่ง จนกระทั่งมีอารมณ์ชินมักจะมีอาการเผลอคิดว่าเราเป็นพระอรหันต์
    เพราะไม่พอใจทั้งหมด ไม่เอาทั้งรัก โลภโกรธ หลง แต่ถ้ากำลังใจตกลง ทั้งรัก โลภ โกรธ หลงก็เข้ามาหา
    เพราะเป็นแค่ฌานโลกีย์เท่านั้น แต่ถ้าเราสามารถระงับได้ก็ควรจะพอใจเพราะกิเลสสามารถกดลงไปได้
    ไม่ช้าก็สามารถจะห้ำหั่นให้พินาศด้วยอำนาจของวิปัสสนาญาณ <O:p</O:p

    เว็บทางนิพพาน เว็บไซด์ เผยแพร่ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น<O:p</O:p
    ที่รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน<O:p</O:p
    ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่
    www.tangnipparn.com<O:p</O:p

    <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p>ขอเชิญแวะเยี่ยมชมและโมทนาบุญเว็บศูนย์พุทธศรัทธา


    [​IMG]</O:p><O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กุมภาพันธ์ 2012
  2. sinfadza

    sinfadza Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +37
    ขออนุโมทนาสาธุกับเจ้าของกระทู้ และผู้ที่ได้เข้ามาอ่านและได้นำไปปฏิบัติตามจนเกิดผลจะเป็นผลบุญกุศลอันแรงกล้า ขออนุโมทนาด้วยครับ สาธุ สาธุ สาธุ
     
  3. นักรบธรรม

    นักรบธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    969
    ค่าพลัง:
    +1,174
    อ่านบ่อยๆ ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่าก็จะเริ่มจำอาการต่างๆ ได้
    กะว่าจะไปหาที่่สงัดทำเพิ่มเติมอีกสักหน่อย

    ปกติก็ทำตลอดเข้าห้องน้ำยังทำสมาธิเลย ขอรับ ท่าน

    อนุโมทนาด้วย
     
  4. ปารดา27

    ปารดา27 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +75
    โมทนาสาธุค่ะ ...หากจิตดวงนี้ไม่เลวเกินไปนัก จะพยายามและตั้งสติระลึกรู้ให้ดีที่สุดค่ะ
     
  5. keamcau

    keamcau Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +36
    ระเอียดมากครับ ระเอียดฝึกตามได้ในขณะที่อ่านเลยครับ โมทนาสาธุครับ ต้องฝึกให้ได้บ่อยๆๆๆ ต้องพยายาม
     

แชร์หน้านี้

Loading...