มรณกรรมที่งดงาม : วาระสุดท้ายของเหล่าบรมครูแห่งจิตวิญญาณชาวธิเบต

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย หนึ่ง99999, 16 ตุลาคม 2008.

  1. หนึ่ง99999

    หนึ่ง99999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,369
    ค่าพลัง:
    +1,922
    <TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed" cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width="85%" height="100%">[​IMG]





    ตามคำสอนซ็อกเช็นของนิกายยิงมาปะในพุทธศาสนาแบบธิเบต ผู้ปฏิบัติธรรมขั้นสูง
    จะเข้าสู่วาระสุดท้ายของชีวิตในลักษณะที่แปลกประหลาด ส่งผลให้ร่างกลับคืนเข้าสู่
    แสงอันเป็นแก่นแท้ที่สร้างธาตุต่าง ๆ ขึ้นมา เป็นรูปแบบการตายที่เรียกว่า " กายรุ้ง "

    ในปี ๑๙๕๒ เกิดกรณีกายรุ้งที่มีชื่อเสียงขึ้นทางภาคตะวันออกของธิเบต โดยมีผู้เห็น
    เหตุการณ์จำนวนมาก ผู้ที่เข้าถึงสภาวะดังกล่าวคือ โซนัม นัมเกียล ชายต่ำต้อย ซึ่งเป็น
    ช่างเร่สลักหินมณีและคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ มีคนพูดกันว่าเขาเคยเป็นพรานล่าสัตว์มาก่อน
    เมื่อครั้งยังหนุ่ม และได้เรียนรู้คำสอนจากอาจารย์ที่ยิ่งใหญ่ท่านหนึ่ง ไม่มีใครรู้ว่า
    จริง ๆ แล้ว ช่างเร่เป็นนักปฏิบัติ เขาจึงเป็น " โยคีผู้ไม่เผยตน " โดยแท้ ก่อนตาย
    บางครั้งเขาจะขึ้นเขาไปนั่งเป็นเงาดำทะมึนตัดกับท้องฟ้า จ้องมองเวิ้งกว้าง โซนัม
    แต่งเพลงให้กับตนเอง นำมาสวดและขับร้องแทนบทเพลงเก่า ๆ ไม่มีใครรู้ว่าเขา
    กำลังทำอะไร ต่อมาเขาล้มป่วยลง ทว่ากลับดูมีความสุขขึ้นอย่างประหลาด ครั้นเมื่อ
    อาการทรุดลง ครอบครัวของเขาจึงเรียกบรรดาอาจารย์และหมอมา ลูกชายโซนัม
    บอกผู้เป็นพ่อว่า ให้จดจำคำสอนทั้งหมดที่ได้ยินได้ฟังมา ทว่าเขากลับยิ้ม แล้วกล่าว
    ว่า " ข้าลืมไปหมดแล้ว ไม่มีสิ่งใดให้จดจำ ทุกสิ่งล้วนเป็นมายา แต่ข้าก็เชื่อมันว่า
    ทั้งหมดนั่นเป็นสิ่งดี "

    ก่อนที่ชายชราจะเสียชีวิตด้วยวัย ๗๙ ปี ได้กำชับว่า " ข้าขอร้องว่า เมื่อข้าตายไปแล้ว
    อย่าเคลื่อนย้ายศพข้าเป็นเวลาหนึ่งอาทิตย์ " ครั้นเมื่อสิ้นลม ครอบครัวของเขาได้ห่อศพ
    เก็บไว้ แล้วเชิญพระและลามะมาประกอบพิธี พวกเขาตั้งศพไว้ในห้องเล็ก ๆ แต่อดผิด
    สังเกตุไม่ได้ว่าเอาศพเข้าไปในนั้นได้อย่างไร ทั้ง ๆ ที่โซนัมเป็นคนร่างสูง ราวกับตัว
    ของเขาเล็กลง ในเวลาเดียวกันนั้นเอง เกิดมีเสงสีรุ้งประหลาดขึ้นรอบบ้าน พอถึงวันที่
    หก พวกเขามองเข้าไปในห้อง ก็เห็นร่างนั้นเล็กลง เล็กลง วันที่แปดหลังชายชราตาย
    ตอนเช้าจึงได้มีการจัดพิธีปลงศพ ทว่าเมื่อสัปเหร่อเก็บศพมาถึงและแก้ห่อผ้าออกดู
    กลับไม่พบอะไรข้างในนอกจากเล็บและผม
    </TD></TR><TR><TD class=smalltext vAlign=bottom width="85%"><TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed" width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=smalltext width="100%" colSpan=2></TD></TR></TBODY></TABLE>[​IMG]






    โยคีธิเบตบางคนสามารถควบคุมปราณ หรืออากาศภายในที่ไหลผ่านจักระหรือศูนย์
    กลางพลังงานของกายละเอียด วันหนึ่ง โยคีแก่กล้าผู้หนึ่งซึ่งเป็นอาจารย์ที่ปลีกวิเวก
    อยู่ในอารามแห่งหนึ่งของแคว้นคัม ได้ขอร้องแก่อุปัฏฐากว่า " ตอนนี้ข้ากำลังจะตาย
    เจ้าช่วยดูปฏิทินหาวันที่เป้นมงคลสักหน่อย " ผู้ดูแลงุนงง แต่ไม่กล้าขัด เขาจึงมองดู
    ปฏิทินแล้วบอกกับท่านว่าวันจันทร์ที่จะถึงเป็นวันฤกษ์ดี " วันจันทร์ ก็อีกสามวันถัดไป
    อืม ข้าคิดว่า ข้าทำได้ " อาจารย์ตอบ ชั่วครู่ต่อมา เมื่ออุปัฏฐากกลับเข้ามาในห้อง ก็
    พบท่านนั่งตัวตรงอยู่ในท่าโยคสมาธิ แน่นิ่งจนดูราวกับว่าท่านได้มรณภาพไปแล้ว
    ไม่มีลมหายใจ แต่ชีพจรยังเต้นอ่อน ๆ เขาจึงตัดสินใจไม่ทำอะไร นอกจากคอย พอ
    ตกบ่าย ๆ จู่ ๆ เขาก็ได้ยินเสียงถอนหายใจยาว โยคีกลับสู่สภาพปรกติ พูดคุยกับผู้ดูแล
    ปรนนิบัติอย่างอารมณ์ดี และขออาหารกลางวันรับประทานอย่างเอร็ดอร่อย ท่านกลั้น
    หายใจตลอดช่วงเช้าที่นั่งสมาธิ ด้วยรู้ว่าอายุขัยของมนุษย์นับตามจำนวนครั้งหายใจ
    ซึ่งมีจำกัด และเนื่องจากท่านจวนจะสิ้นอายุขัยแล้ว จึงกลั้นหายใจเอาไว้เพื่อไม่ให้
    ถึงเฮือกสุดท้าย จนกว่าจะถึงวันที่ฤกษ์ดี หลังอาหารกลางวัน ท่านสูดหายใจลึก ๆ
    อีกครั้ง และกลั้นไว้กระทั่งเย็น วันรุ่งขึ้นและวันถัดไป ท่านก็ทำเช่นนี้อีก ครั้นถึง
    จันทร์ท่านได้เอ่ยถามว่า " วันนี้เป็นวันดีใช่ใหม ? " อุปัฏฐากตอบว่า " ใช่ ขอรับ "
    โยคีจึงบอกว่า " ดี ข้าจะไปวันนี้แหละ " วันนั้น ท่านนั่งสมาธิและจากไปโดยไม่มี
    เค้าว่าเจ็บป่วยหรือปัญหาใด ๆ


    [​IMG]





    ปี ๑๔๑๙ ขณะอายุ ๖๒ พรรษา ซองขะปะได้ออกแสดงธรรม ณ วัด ดรีปุง ตอนนั้น
    ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ต่างเห็นสายรุ้งปรากฏบนท้องฟ้าใสกระจ่าง พวกเขาถือว่านั่นเป็น
    ลางบ่งถึงวาระสุดท้ายของท่าน ระหว่างเทศจู่ ๆ ซองขะปะก็หยุดขึ้นมากลางคัน โดย
    กล่าวว่าท่านจะพัก นี่เป็นเหตุการณ์ที่ผิดปรกติอย่างมาก ชาวบ้านรู้สึกอีกครั้งว่า นั่น
    เป็นนัยบอกว่าท่านกำลังเตรียมตัวจะละสังขาร การจากไปทั้ง ๆ ที่ยังให้คำสอนไม่ครบ
    ถ้วนนั้น ถือเป็นสิ่งดี เป็นหลักประกันว่าอาจารย์และศิษย์จะกลับมาพบกันอีก เพื่อ
    อบรมสั่งสอนกันต่อไปในชาตินี้และชาติหน้า หลังจากนั้น ท่านได้ไปวัดใหญ่ประจำ
    เมืองลาซาเพื่อสวดมนต์บูชา ก่อนออกจากวัดท่านได้ก้มลงกราบ ซึ่งโดยปรกติแล้ว
    จะกระทำเมื่อไม่สามารถกลับมายังสถานที่นั้นอีก

    วันรุ่งขึ้น ท่านยอมรับว่าตัวเองเจ็บปวด แต่ไม่ชัดเจนเฉียบพลันท่านให้หมวกกับจีวร
    แก่ศิษย์คนหนึ่ง และคำแนะนำแก่ผู้คนในที่นั้นถึงความสำคัญของการมีจิตที่ห่วงใย
    เกื้อกูลผู้อื่น

    วันที่ ๒o เดือนสิบ ซองขะปะได้ประกอบพิธีบูชาครั้งใหญ่ต่อเทพเหรุก ตกกลางคืน
    ก็เพ่งพิจารณาวัชรมนต์ อันเป็นการฝึกหายใจพิเศษแบบตันตระ เช้าตรู่วันที่ ๒๕ ท่าน
    นั่งขัดสมาธิเพ่งพิจารณาสุญญตา พอฟ้าสาง ก็ทำพิธีบูชามณฑลภายใน ทว่าไม่มีใคร
    ที่นั้นเข้าใจเหตุผล จากนั้น ลมหายใจของท่านกก็หยุด ร่างกลับเป็นหนุ่มเหมือนเด็ก
    อายุ ๑๖ ศิษย์หลายคนในที่นั้นแลเห็นแสงรัศมีเลื่อมพรายสาดส่องออกมาจากร่างของ
    ท่าน ซึ่งยืนยันความเชื่อที่ว่าท่านได้เข้าสู่แดนพุทธภูมิ


    มีการปรึกษาผุ้พยากรณ์เพื่อหาวิธีเก็บรักษาร่างที่เหมาะสมที่สุด เมื่อพวกเขาทำนายว่า
    ควรจะบูชาไว้ในสถูป ก็ได้มีการสร้างห้องพิเศษขึ้น ตั้งฐานเงินที่มียอดสถูปเป็นทอง
    ล้ำค่า เป็นเรื่องน่าประหลาดที่จวบจนถึงกลางศตวรรษนี้ ร่างของท่านก็ยังไม่เน่าเปื่อย
    ซองขะปะได้รับการยกย่องจากกรรมาปะองคืที่ ๙ ว่า เป็นผู้ที่ " ช่วยขจัดมิจฉาทิฏฐิ
    ด้วยทรรศนะที่ถูกต้องและสมบูรณ์ "





    ลามะเซเต็น ศิษย์ของจัมยัง เคียนเซ รินโปเช ปรามาจารย์ชาวธิเบตในยุคปัจจุบัน
    ซึ่งเป็นอาจารย์ของคานโดร เซริง โชดรอน คู่ธรรมของท่านจัมยัง ได้มรณภาพใน
    ลักษณะพิเศษ ถึงแม้จะมีวัดอยู่ไกล้ ๆ แต่ท่านกลับปฏิเสธไม่ไปที่นั่น เพราะไม่
    อยากไปรบกวนพวกเขาให้เป็นธุระจัดการเรื่องศพ คานโดรจึงเป็นผู้คอยดูแล
    ปรนนิบัติอาจารย์ชรา ทว่าจู่ ๆ เย็นวันหนึ่ง ลามะเซเต็นได้เรียกคานโดรเข้าไปหา
    ท่านมักจะเรียกนางอย่างเอ็นดูด้วยภาษาถิ่นว่า " อามิ " ซึ่งหมายถึง " ลูกข้า "
    " อามิ มานี่หน่อย ใกล้จะถึงเวลาแล้ว ตอนนี้ ข้าไม่มีอะไรจะแนะนำเจ้าอีก เจ้า
    จงรับใช้ท่านอาจารย์ดังเช่นที่เจ้าได้ทำ " ท่านกล่าวด้วยน้ำเสียงอ่อนโยน

    ทันใดนั้น คานโดรก็หันหลังเตรียมจะวิ่งออกจากกระโจม แต่ลามะคว้าแขนเสื้อ
    นางไว้ แล้วถามว่า " เจ้าจะไปใหน " นางตอบ " ข้าจะไปเรียกรินโปเช "

    " อย่ารบกวนท่านเลย ไม่จำเป็นหรอก " พระชรายิ้ม " สำหรับอาจารย์แล้ว หาได้มี
    ระยะทางใด ๆ อยู่ไม่ " จากนั้นก็เหลือบขึ้นมองท้องฟ้า ก่อนสิ้นใจ

    คานโดรรีบวิ่งไปหาท่านจัมยัง เคียนเซ ขณะที่รินโปเชเข้ามาในกระโจม ท่านมอง
    ใบหน้าของลามะเซเต็นครั้งหนึ่ง จากนั้นก็จ้องมองที่ดวงตาและเริ่มหัวเราะเบา ๆ
    รินโปเชมักจะเรียกลามะเซเต็นด้วยความรักว่า ลาเก็น ( หมายถึง " ลามะเฒ่า " )
    " ลาเก็น อย่าอยู่นสภาวะนั้น ! " ท่านจัมยังเห็นว่าศิษย์ของตนกำลังปฏิบัติสมาธิ
    บางอย่าง ที่ทำให้ผู้ปฏิบัติเข้าสู่ห้วงแห่งสัจจะอันเป็นธรรมชาติเดิมแท้ของจิต
    " ลาเก็น ท่านก็รู้นี่ว่า ถ้าปฏิบัติเช่นนี้ บางครั้งอาจจะเกิดอุปสรรคที่ซับซ้อนได้
    มานี่ ข้าจะชี้แนะให้ "

    ผู้คนในที่นั้นต่างเฝ้าดูเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นด้วยความตะลึงงัน ลามะเซเต็น
    ฟื้นคืนชีวิตขึ้นมา ท่านจัมยัง เคียนเซอยู่ข้าง ๆ ลามะชรา พาท่านเข้าสู่โพวา อันเป็น
    การปฏิบัติที่ช่วยชี้นำทางให้แก่ดวงวิญญาณในชั่วขณะก่อนสิ้นลม การปฏิบัติโพวา
    มีอยู่หลายวิธีด้วยกัน แต่วิธีหนึ่งที่ท่านใช้ในตอนนั้นเพื่อให้บรรลุผลร่วมกับอาจารย์
    คือ การเปล่งเสียงอักขระ " อ " สามครั้ง ขณะที่กล่าว " อ " ครั้งแรกนั้นลามะเซเต็น
    กล่าวด้วยเสียงที่ค่อนข้างดัง พอครั้งที่สองเสียงกลับเบาลง และครั้งที่สามก็เข้าสู่ความ
    เงียบ พระชราได้จากไปแล้ว

    การตายของลามะเซเต็นแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการควบคุมดวงวิญญาณ

    [​IMG]



    คาลู รินไปเชพยายามลุกขึ้นนั่งด้วยความยากลำบาก ลามะกัลเซ็นรู้สึกว่าบางทีนี่อาจจะ
    ถึงเวลาแล้ว จึงช่วยประคองหลังของท่านรินโปเชในขณะที่ท่านลุกนั่ง ส่วนโบลการ์
    ตุลกู รินโปเชช่วยจับมือที่ท่านยื่นมา คาลู รินโปเชต้องการจะนั่งตัวตรง ทว่าหมอและ
    พยาบาลที่ดูแลไม่อยากให้ทำดังนี้ ท่านจึงผ่อนคลายลงเล็กน้อย กระนั้นก็ยังคงอยู่ในท่า
    ขัดสมาธิ ดวงตาเหม่อมองในลักษณะของการทำสมาธิ ริมฝีปากขยับช้า ๆ ความรู้สึกสุข
    สงบอย่างลึกล้ำอบอวลไปทั่วห้อง และแผ่ซ่านเข้าไปในใจของทุกคน ณ ที่นั้น เปลือก
    ตาของท่านค่อย ๆ หลุบลง แล้วลมหายใจก็หยุด


    ก่อนที่เราจะได้ทันล่วงรู้ ชีวิตก็สิ้นสุด ถึงเวลาต้องตายแล้ว
    ถ้าเราขาดพื้นฐานในการปฏิบัติที่มั่นคง
    เราก็จะตายท่ามกลางความกลัวและความทุกข์ทรมาณ
    อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

    - คาลู รินโปเช -




    หลังจากเป็นเจ้าอาวาสวิทยาลัยตันตระกิวเมมา ๖ ปีและเป็นเจ้าอาวาสวัดนัมเกียล ดรัทซัง
    ขององค์ทะไลลามะมานาน ๑๔ ปี ในที่สุดรินโปเชก็วางมือจากภารกิจในอาราม เพราะ
    อาพาธด้วยโรคหัวใจ ท่านใช้ชีวิตอย่างเงียบ ๆ อุทิศเวลาให้กับการนั่งสมาธิ และรับศิษย์
    เป็นการส่วนตัว วันหนึ่งท่านประกาศแก่ศิษย์คนหนึ่งว่า จะให้คำสอนอย่างเป็นทางการ
    แก่เขาและเพื่อน ๆ ที่เขาต้องการจะเชิญมา ตามคำสัญญาที่ท่านได้เคยให้ไว้เมื่อหลายปี
    ก่อน

    เมื่อถึงวันนั้น ได้มีการจัดเตรียมห้องพิธี ระหว่างการบรรยายธรรม ๑๕ นาที ศิษย์คนดัง
    กล่าวสังเกตุเห็นรินโปเชดูเป็นปรกติดีในขณะที่พูด บางครั้งยังหัวเราะและเล่าเรื่องขบขัน
    ด้วยแต่พอท่านหยุดให้ล่ามแปล ใบหน้ากลับถอดสี ท่านจึงห่อตัวเล็กน้อย หลับตา และ
    สวดมนต์โดยใช้พลังมากกว่าปรกติ หลังจากที่เขาเฝ้าดูอยู่สองสามนาที ก็ชะโงกหน้าเข้า
    ไปถามท่านว่าเป็นอะไรหรือเปล่า ท่านตอบด้วยอาการสงบว่า " ฉันกำลังถูกโรคหัวใจ
    เล่นงาน " จากนั้น ก็กลับมาสอนใหม่ราวกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น พอล่ามพูดต่อ ศิษย์รีบ
    ขอร้อง " คุณพระช่วย เราน่าจะหยุดการสอนเสียเดี่ยวนี้ดีไหมขอรับ " รินไปเชเพ่งพินิจ
    ก่อนตอบว่า " แล้วแต่เธอ เราจะไปต่อหรือเอาไว้คราวหลังก็ได้ " ศิษย์รีบประกาศเลิก
    พิธีแล้วพาอาจารย์กลับไปที่เตียง ท่านนั่งสมาธิ โดยมีพระหลายรูปคอยสวดมนต์ด้วยเ
    สียงทุ้มต่ำอยู่รอบกาย

    เย็นนั้น ท่านนั่งสมาธิต่อโดยไม่ขยับเขยื้อน วันรุ่งขึ้น เมื่อศิษย์มาเยี่ยมที่บ้านพักของท่าน
    ผู้ดูแลออกมาแแจ้งว่า รินโปเชไม่อาจจะรับแขกได้ คืนนั้นระหว่างที่ท่านนั่งสมาธิ ลม
    หายใจและหัวใจก็หยุดเต้น แต่ยังไม่ส่อเค้ามรณภาพอย่างสิ้นเชิง ท่านอยู่ในตุคดัม ( เข้า
    ฌานโดยตั้งจิตอยู่ที่หทัยวัตถุ ) โดยนั่งเช่นนี้นานสามวัน ไม่แสดงอาการว่าได้สิ้นใจไป
    แล้วแต่อย่างใด จากนั้น ศีรษะท่านก็เอียงตกไปด้านข้าง กระบวนการตายเป็นอันสิ้นสุด
    นี่เป็นการตายของโยคีผู้สูงส่ง



    <TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed" cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width="85%" height="100%">[​IMG]




    ขณะที่ทะไลลามะองค์แรกมีพระชนมายุ ๘๓ พรรษาได้ทรงเรียกศิษย์ทั้งหมดมาพบที่โบสถ์
    ประจำอาราม และแจ้งแก่พวกเขาว่าถึงเวลาที่พระองค์จะเสด็จจากไปแล้ว ศิษย์บางคนขอ
    ร้องให้ท่านใช้พลังอำนาจต่ออายุขัย บางคนก็ถามว่าพวกเขาไม่อาจเรียกหมอ หรือกระทำสิ่ง
    ใดเพื่อหยุดยั่งการจากไปของพระองค์ได้เลยหรือ ครั้นเมื่อพระองค์ตอบว่าไม่ต้องทำสิ่งใด
    พวกลูกศิษย์ก็ถามต่อว่า พวกตนจะอ่านมนต์บทพิเศษหลังจากที่พระองค์เสด็จสวรรคแล้ว
    ได้หรือไม่ ทะไลลามะตอบว่า

    จงรำลึกถึงคำสอนของพระพุทธองค์อยู่เสมอ และน้อมนำพระธรรม
    เข้าสู่กระแสจิต เพื่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย จงจดจำหลักธรรมของอาราม
    ทาชิลุนโป พยายามดำเนินชีวิต บำเพ็ญเพียร และให้การอบรมสั่งสอน
    ตามครรลองคลองธรรมที่แท้จริงของพระพุทธองค์ แค่นี้ก้ทำให้ข้า
    สมความปรารถนาแล้ว

    จากนั้น ท่านก็เข้าสู่ตัรตระสมาธิ ลมหายใจและหัวใจหยุดเต้น แต่ยังคงอยู่ในสมาธินานถึง
    ๓o วันโดยไม่แสดงอาการสิ้นพระชนม์ พระศพในร่างชรากลับกลายเป็นหนุ่ม และเปล่ง
    รัศมีเจิดจ้า จนมีเพียงไม่กี่คนที่จ้องมองพระองค์ได้
    </TD></TR><TR><TD class=smalltext vAlign=bottom width="85%"><TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed" width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=smalltext width="100%" colSpan=2></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. หนึ่ง99999

    หนึ่ง99999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,369
    ค่าพลัง:
    +1,922
    <TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed" cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width="85%" height="100%">[​IMG]




    ฤดูร้อน ปี ๑๙๘๓ เคียบเจ ลิง รินโปเช พระอาจารย์อาวุโสขององค์ทะไลลามะได้อบรม
    ธรรมะแก่ศิษย์ชาวตะวันตกที่ไกล้ชิดที่สุดห้าคนเป็นเวลานานหนึ่งสัปดาห์ จัมปา เชนแมน
    ซึ่งเป็นหนึ่งในนั้น ยังคงรำลึกถึงหัวข้ออันทรงคุณค่าที่สุดสำหรับลิง รินโปเชได้ นั้นคือ
    โพธิจิตหรือความปรารถนาที่จะตรัสรู้เพื่อประโยชน์สุขของสรรพสัตว์ทั้งหลาย หลังจาก
    นั้นไม่นาน ท่านก็ล้มป่วยด้วยโรคเส้นโลหิตในสมองตีบเป็นครั้งแรก คริสต์มาสปีนั้น
    ศิษย์สี่คนต่างพากันไปที่บ้านพักของลิง รินโปเช ตรงเชิงเขาหิมาลัย ขณะที่พวกเขานั่ง
    อยู่ในห้องชั้นล่างด้วยความดีใจที่พบกันโดยบังเอิญ ก็ได้รับทราบว่ารินโปเชเพิ่งจะจากไป
    การที่ท่านจากไปในวันนี้มีนัยพิเศษสำหรับพวกเขา ลิง รินโเชมักจะให้เกียรติและหยุด
    พักผ่อนในวันหยุดของชาวคริสเตียนเสมอ ๆ

    ท่านมีอายุ ๘๑ พรรษา ในตอนที่มรณภาพ เห็นได้ชัดว่าท่านเข้าถึงสภาวธรรมซึ่งไม่ค่อย
    เป็นที่ปรากฏ ท่านนอนตะแคงขวาเสียชีวิตในท่าสมาธิพิเศษเหมือนท่าพระพุทธเจ้าเสด็จ
    ปรินิพพาน ตามความเชื่อของชาวธิเบต ร่างของผู้ตายจะถูกทิ้งไว้บนเตียงที่ตายอย่างน้อย
    สามวันเพื่อให้ดวงวิญญาณได้ออกจากร่างอย่างสงบ มีวิธีเผชิญกับความตายอยู่หลายวิธี
    ด้วยกัน ถ้าผู้นั้นเป็นนักปฏิบัติที่เชี่ยวชาญ การปฏิบัติดังกล่าวจะช่วยรักษาร่างไม่ให้เสื่อม
    สลายตราบเท่าที่วิญญาณยังคงอยู่ ถ้าผู้ตายมีความสามารถแก่กล้า ก็จะอยู่ในสมาธิดังกล่าว
    ได้นานหลายวัน ท่านลิง รินโปเชปฏิบัติวิธีการที่เรียกว่า สมาธิในแสงกระจ่างแห่งความ
    ตายทั้งสิ้น ๑๓ วัน ศิษย์ชาวสวิสที่ดูแลท่านในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของชีวิต ได้แวะเวียน
    ไปที่ห้องของท่านทุกวันเพื่อตรวจตราความเรียบร้อย เธอยืนยันว่าตลอดระยะเวลานั้น
    สีหน้าของท่านอาจารย์ยังคงงดงาม มีเลือดฝาด ร่างกายไม่แสดงเค้าบ่งบอกว่าท่านได้ตาย
    จากไปใหนใหนเลย มีปรามาจารย์จากธิเบตไม่มากนักที่สามารถเข้าถึงสภาวะพิเศษนี้ได้

    เรื่องราวที่เกิดขึ้นกับเคียบเจ ลิง รินโปเชทำให้องค์ทะไลลามะทรงรู้สึกตื้นตันเป็นอันมาก
    จนตัดสินพระทัยที่จะเก็บรักษาร่างของพระอาจารย์เอาไว้แทนการเผา ทุกวันนี้ รูปหล่อที่
    ครอบร่างของท่านน่าจะประดิษฐานอยู่ที่พระราชวังขององค์ทะไลลามะในเมืองธรรมศาลา
    ประเทศอินเดีย

    <TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed" cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width="85%" height="100%">[​IMG]




    หลังจากใช้ช่วงเวลาอันมีค่าบำเพ็ญเพียรอย่างหนักอยู่ในถ้ำนาน ๒๙ ปี เจตสุน สามเณรี
    ธิเบตก้ได้รับคำร่ำลือว่า เป็นดั่งมณีสารพัดนึก ปี ๑๙๕๙ เธอต้องละทิ้งการปลีกวิเวกและ
    หนีออกจากธิเบต ญาติของเธอช่วยสร้างกระท่อมหลังเล็ก ๆ ที่ทำด้วยหญ้าและโคลนให้
    ซึ่งก็ใหญ่พอสำหรับเจตสุนกับแขกสองคน เนื่องจากเธอได้รับความเคารพนับถือในฐานะ
    ของลามะที่สูงส่งที่สุดนพื้นที่ เก้าวันแรกของทุกเดือนจึงเป็นเวลาที่เธอจะพบปะกับผู้ศรัทธา
    ส่วนช่วงอื่น ๆ ที่เหลือนั้นอุทิศให้กับการบำเพ็ญเพียรภาวนา

    ไม่กี่เดือนก่อนเสียชีวิต เธอได้กล่าวไว้ว่า " ตอนที่ข้าสำเร็จกิจที่พึงปฏิบัติและสมหวัง
    ทุกสิ่งทุกอย่างที่ต้องการแล้ว บัดนี้ ข้าไม่จำเป็นต้องมีชีวิตอยู่อีกต่อไป ข้าจะมีความ
    สุขอย่างยิ่ง ถ้าได้ไปเสียที แต่ก่อนจะไป ข้าต้องเฝ้าองค์ทะไลลามะ เพราะข้ามีคำพูด
    บางอย่างจะกล่าวกับพระองค์ " หลังจากนั้นประมาณหนึ่งเดือน องค์ทะไลลามะก็เสด็จ
    รัฐโอริสา และได้สนทนาแลกเปลี่ยนเป็นการส่วนพระองค์กับสามเณรีเจตสุนอยู่กว่า
    ชั่วโมง เธอออกมาจากการเข้าเฝ้าอย่างมีความสุขยิ่ง พร้อมทั้งกล่าวว่า " ตอนนี้ ความ
    ปรารถนาสุดท้ายของข้าสมหวังแล้ว ข้าพร้อมจะไปเสียที " หลังจากนั้น เจตสุนก็ล้ม
    ป่วย และจากไปในขณะที่อยู่ในสมาธิ สามเณรีธิเบตอีกรูปเล่าให้ฟังว่า ตอนที่เธอ
    มรณภาพนั้น มีเสียงฉาบและกลิ่นหอมอบอวลอยู่ในอากาศ เมื่อถึงเวลาเผาศพ ก็มี
    สายรุ้งปรากฏบนท้องฟ้า
    </TD></TR><TR><TD class=smalltext vAlign=bottom width="85%"><TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed" width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=smalltext width="100%" colSpan=2></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]

    ๑o


    เมื่อปรามาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ของธิเบต จัมยัง เคียนเซ รินโปเช ซึ่งบางครั้งเรียกกันว่า
    " ท่านอาจารย์ของอาจารย์ทั้งหลาย " ล้มป่วยนั้นท่านอยู่ระหว่างจากริกในสิกขิม
    พระลามะชั้นผู้ใหญ่ หัวหน้านิกายต่าง ๆ พากันมาเยี่ยมเยียนและสวดมนต์ ประกอบ
    พิธีสืบชะตาให้ตลอดวันตลอดคืน ศิษย์ของท่านรินโปเชอ้อนวอนให้ท่านอยู่ต่อ
    เพราะว่ากันว่าปรามาจารย์ผู้สูงส่งมีอำนาจที่จะตัดสินใจละสังขารไปเมื่อใดก็ได้
    ขณะที่ท่านนอนซมอยู่กับเตียง ยอมรับไมตรีจิตทุกอย่างนั้น ท่านได้แต่หัวเราะ
    ตอบว่า " เอาล่ะ ข้าจะพูดให้เป็นมงคลว่า ข้าจะอยู่ " ทว่าท่านได้กล่าวเป็นนัย ๆ
    ครั้งแรกกับองค์เกียลวัง กรรมาปะว่าท่านกำลังจะตาย โดยบอกภาระกิจที่ท่าน
    มาปฏิบัติชาตินี้ในชาตินี้ได้ลุล่วงแล้ว ท่านจึงตัดสินใจจะจากโลกนี้ไป รินโปเช
    สิ้นใจหลังจากที่มีข่าวว่า จึนเข้ายึดครองอารามใหญ่สามแห่งในธิเบต คือ เชร่า
    ดรีปุง และกานเด็น

    สิบวันก่อนท่านจะมรณภาพ ได้เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ในพระสูตรบอกว่านี่เป็น
    สัญญาณชี้ว่า อีกไม่นานจะมีอรหันต์ดับขันธ์ ท่านจัมยัง เคียนเซตายตอนตี ๓ ของ
    วันที่ ๖ เดือนห้าตามปฏิธินธิเบตในปี ๑๙๕๙ ตามธรรมเนียมจะไม่มีการเปิดเผย
    ในระหว่างที่อาจารย์ยังคงอยู่ในสมาธิหลังจากสิ้นชีวิต ความลับนี้ถูกปกปิดอยู่นาน
    สามวัน ไม่มีใครรู้ว่าท่านล่วงลับ รู้เพียงแต่ว่าอาการท่านทรุด พอถึงวันที่สามหลัง
    จากรินโปเชถึงแก่กรรมตามนัยทางการแพทย์ ท่านได้ออกจากสมาธิ จู่ ๆ จมูกก็
    แฟบลง หน้าซีด ศีรษะเอียงตกไปด้านข้างเล็กน้อย ก่อนหน้านั้นร่างยังมีเรี่ยวแรง
    ทรงตัวได้ หลังจากชำระศพและแต่งกายให้แล้ว ก็ได้นำร่างท่านไปยังโบสถ์ใน
    พระราชวัง ฝูงชนพากันมาคารวะศพ ต่อมามีคนจำนวนมากบอกเล่าด้วยความ
    ประหลาดใจว่า ได้เห็นแสงสีขาวจ้าแผ่ไปทั่ว แม้แต่โคมไฟฟ้าสี่ดวงข้างนอกก็ยัง
    ถูกแสงประหลาดนี้ปกคลุม อาจารย์คนหนึ่งอธิบายว่า ปรากฏการณ์แสงดังกล่าว
    ถือเป็นเครื่องบ่งชี้ว่ามีผู้บรรลุสู่พุทธภาวะ


    [​IMG]
    ภาพ ปรามาจารย์ คูไค


    ๑๑

    เมื่อใกล้ถึงวาระสุดท้าย ท่านคุไคหรือรู้จักในนามโคโบ ไดชิ เอาแต่นั่งสมาธิ ไม่ยอม
    แตะต้องอาหาร ผู้ก่อตั้งพุทธศาสนานิกายชินกอนที่ถ่ายทอดแบบลับเฉพาะนี้ได้ทำนาย
    ไว้ว่า ตนเองจะเสียชีวิตในวันที่ ๒๑ เดือนที่สาม ไม่นานก่อนสิ้นใจ ท่านบอกกับศิษย์
    ว่า " ข้าจะอยู่ได้อีกไม่นาน จงอยู่กันอย่างสงบ และรักษาคำสอนของพระพุทธองค์ให้ดี
    ข้ากำลังจะกลับไปอยู่ที่ขุนเขาชั่วนิรันดร์ " โคโบ ไดชิเผชิญกับความแปรปรวนครั้ง
    ใหญ่หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่าความตาย ขณะนอนตะแคงขวา ท่านหมดลมในวันที่
    ๒๓ เดือนสาม ปี ๘๓๕
    [​IMG]

    ๑๒

    เช้าวันหนึ่งในเดือนพฤศจิกายนอันหนาวเหน็บ ปี ๑๙๘๑ ตรีจัง รินโปเชได้เรียกปัลเด็น
    เซลิง เลขาประจำตัวเก่าแก่มาที่ข้างเตียง " ข้าจะไม่เดินทางไปมุนกอดแล้ว " ท่านประกาศ
    ด้วยน้ำเสียงแหบทุ้ม ปัลเด็น เซริงน้ำตาคลอ ทว่าพยายามกลบเกลื่อนไว้ " จะให้ผมยก
    เลิกตั๋วรถไฟหรือเปล่าครับ ? " เลขาถาม พระอาจารย์รุ่นหลังวัย ๘๑ ขององค์ทะไลลามะ
    ไม่ตอบในทันที แต่กลับจ้องมองไปที่ภาพพระบฏ ( ภาพเขียนพระพุทธเจ้า ) อีกด้านหนึ่ง
    ของห้อง แล้วนับลูกประคำ " เก็บตั๋วไว้ " ในที่สุดท่านก็เอ่ยขึ้น " ข้ามีนัดที่นั่น " วันถัดมา
    ท่านก็มรณภาพ ชาวธิเบตเชื่อว่า ท่านจะไปเกิดใหม่ที่ชุมชนธิเบตอพยพมุนกอดทางตอน
    ใต้ของอินเดีย



    </TD></TR><TR><TD class=smalltext vAlign=bottom width="85%">[​IMG]

    ๑๓


    ว่ากันว่ามิลาเรปะที่หลาย ๆ คนถือว่าเป็นโยคีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของทิเบตนั้น จงใจดื่มยาพิษ
    จากผู้ริษยาที่แสร้งทำเป็นชื่นชม ปฏิปทาที่เปี่ยมไปด้วยความกรุณานี้ ทำให้ผู้คิดร้ายสำนึก
    ผิดในการกระทำของตนด้วยใจจริง และกลับกลายมาเป็นศิษย์ ขณะนั้นท่านรู้ตัวอีกไม่ช้า
    ก้จะจากโลกนี้ไป จึงได้ส่งสาสน์เรียกเหล่าสานุศิษย์และผู้แสวงหาคนอื่น ๆ มาพบ แล้ว
    เทศน์เรื่องสัจธรรมให้ทุกคนฟัง หลังจากแสดงธรรมไปได้พักหนึ่ง ท่านก็กล่าวว่า

    พวกเจ้าทั้งหลายมาที่นี่ในวันนี้ ก็เพราะกรรมดีที่สั่งสมไว้แต่ชาติปางก่อน
    และในชาตินี้ ระหว่างเราต้องมีความผูกพันอันศักดิ์ศิทธิ์และบริสุทธิ์
    บางอย่างอยู่ จึงทำให้มาอยู่ร่วมกันได้ ... ข้าขอให้พวกเจ้าจงจดจำโอวาท
    ของข้า และน้อมนำคำสอนไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันอย่างดีที่สุดเท่าที่
    จะทำได้ ถ้าเจ้าทำเช่นนั้น ไม่ว่าข้าจะเข้าถึงพุทธภาวะอย่างสมบูรณ์
    ณ ที่ใดก็ตาม เจ้าจะเป็นคนแรกที่ได้รับสัจธรรมจากข้า จงวางใจในสิ่งนี้เถิด

    หลายวันต่อมา เมื่อศิษย์ต้องการจะอธิษฐานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อขอให้ท่านหายดี ท่านกลับ
    ตอบว่าความเจ็บป่วยของโยคีควรจะเป็นกำลังใจให้เขาก้าวต่อไป ไม่ใช่ภาวนาเพื่อขอให้หาย
    ป่วย เขาควรใช้ความเจ็บป่วยพัฒนาจิตวิญญาณ และพร้อมเสมอที่จะเผชิญกับความทุกข์
    ทรมาณหรือแม้แต่ความตาย ท่านยังพูดต่อไปว่า " เวลานั้นจะมาถึงก็ต่อเมื่อร่างที่มีจิตซึ่ง
    พัฒนาแล้วเข้าสู่ภูมิแห่งโอภาส ไม่จำเป็นต้องมีพิธีกรรมใด ๆ "

    เมื่อมีศิษย์ถามเรื่องการจัดพิธี ท่านบอกว่า ... เทนที่จะสร้างสถูป จงบ่มเพาะศรัทธาต่อ
    พระธรรทั้งหลาย แล้วประดับประดาด้วยธงแห่งเมตตา จงสวดมนต์ทุกวันแทนการรำลึก...
    ชิวิตนั้นสั้นนัก เจ้าไม่ล่วงรู้ถึงเวลาที่จะตายดอก ฉะนั้น จงบำเพ็ญเพียรภาวนา

    ในตอนนั้น โยคีผู้ยิ่งใหญ่พำนักอยู่ที่ชูบาร์ อาการป่วยของท่านทรุดลง เมื่อศิษย์เอก
    สองคนถามท่านว่าจะไปสู่ภพภูมิใด และจะให้เขาสวดมนต์อุทิศไปที่ใด ท่านตอบว่า
    " จงอุทิศคำภาวนาของเจ้าไปที่ใดก็ได้ที่เจ้ารู้สึกว่าดีที่สุด ไม่ว่าเจ้าจะสวดอยู่ ณ ที่ใด
    ตราบใดที่เจ้ามีความตั้งใจจริง ข้าก็จะอยู่ที่นั่นกับเจ้า ฉะนั้น จงตั้งใจสวดอย่างแน่วแน่
    ข้าจะไปสู่แดนสุขาวดีเป็นที่แรก " แล้วมิลาเรปะก็ขับขานบทเพลงให้ศิษย์เอกทั้งสองฟัง

    หลังจากนั้น ดูเหมือนท่านจะดำดิ่งเข้าสู่ฌาน และไม่ตื่นขึ้นอีกเลย โยคีผู้ยิ่งใหญ่
    แห่งทิเบตถึงแก่กรรมในปี ๑๑๓๕ ขณะอายุ ๘๔ ปี

    เจ้าควรหาทางเตรียมตัวที่จะตาย !
    จงมั่นใจและพร้อมรับมือเมื่อเวลานั้นมาถึง
    แล้วเจ้าจะไม่กลัว ไม่เสียใจ

    - มิลาเรปะ -<TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed" width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=smalltext width="100%" colSpan=2></TD></TR><TR><TD class=smalltext id=modified_3996 vAlign=bottom></TD><TD class=smalltext vAlign=bottom align=right></TD></TR></TBODY></TABLE>[​IMG]

    ๑๔


    ขณะที่กรรมปะองค์ที่ ๑๖ เสด็จเยือนอเมริกาเป็นครั้งสุดท้ายในปี ๑๙๘o มีประกาศ
    ออกมาว่าท่านเป็นมะเร็งร้ายแรง ระหว่างที่ท่านใช้ชีวิตช่วงสุดท้ายอยู่ในโรงพยาบาล
    อิลลินอยส์ ๑๘ วันนั้น พวกศิษย์รายงานว่า " พระองค์ยังคงเบิกบานอย่างยิ่ง ไม่เคย
    ละทิ้งพระราชกรณียกิจอันยิ่งใหญ่เพื่อประโยชน์สุขของสรรพสัตว์ทั้งหลาย "

    ไม่นานก่อนที่ท่านจะสวรรคตในวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๑๙๘๑ ได้มีศิษย์ชาวตะวันตก
    คนหนึ่งไปเยี่ยมคารวะท่านเป็นครั้งสุดท้าย ในตอนที่เขาก้มศีรษะลงเพื่อรับพร ก็เกิด
    น้ำตาไหลพรากไม่หยุด ขณะนั้นองค์กรรมาปะทรงแตะผมเขาเบา ๆ เมื่อเขาหยุดร้อง
    ไห้และเงยหน้าขึ้น ก็พบว่าพระองค์กำลังจ้องมองเข้ามาในดวงตาของเขา แล้วแย้ม
    สรวลน้อย ๆ ก่อนตรัสว่า " ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้น " คำพูดดังกล่าวเรียบง่ายและสงบนิ่ง
    ทว่าสอดแทรกสัจธรรมแห่งความไม่เที่ยงอันลึกซึ้งให้แก่ศิษย์อีกครา

    แพทย์ชาวตะวันตกที่ดูแลท่าน รู้สึกประหลาดใจที่คนไข้ไม่เคยปริปากบ่นเรื่องความ
    เจ็บปวด หรือแสดงทีท่าว่าเจ็บปวดเลย ที่น่าทึ่งในมุมมองทางการแพทย์ ก็คือ ความ
    จริงที่ว่าพระหทัยของพระองค์ยังคงอุ่นเมื่อสัมผัส ทั้ง ๆ ที่สวรรคตไปแล้ว ๒๔ ชั่วโมง
    ๔๘ ชั่วโมง หรือแม้กระทั่ง ๗๒ ชั่วโมง เขากล่าวว่า " ในฐานะแพทย์ ผมไม่มีคำ
    อธิบายในเรื่องนี้ " แต่ตามความเชื่อของชาวธิเบต นี่เป็นสัญญาณของการเข้าสู่สมาธิ


    โรงพยาบาลอิลลินอยส์อนุญาติให้ร่างของท่านอยู่ในห้องต่ออีกสองวัน เพื่อประกอบ
    พิธีศักดิ์สิทธิ์ตามคำขอของศิษย์ นี่อาจเป็นครั้งแรกของโรงพยาบาลเลยก็ว่าได้ ซิตู
    รินโปเชชำระพระศพ ก่อนจะเขียนมนต์คุ้มกันลงไป ในขณะที่พระเริ่มประกอบพิธี
    บูชานอกห้อง

    หลังจากนั้น ก็มีการส่งพระศพขึ้นเครื่องบินกลับมายังรุมเต็กซึ่งเป็นวัดของท่านใน
    สิกขิม และจัดเตรียมพิธีการถวายพระเพลิงตามประเพณี โดยนำร่างของท่านไป
    ประดิษฐานไว้ที่ห้องพิเศษ ในท่านั่งขัดสมาธิ ห่อด้วยผ้าแพรและผ้าปักดิ้น มีผู้คน
    จำนวนมากพากันมาคารวะพระศพ ขณะที่ทางวัดก็ลงมือสร้างสถูปหรือซอร์เตน
    อันเป็นสัญลักษณ์ของการรู้แจ้ง ทั้งกาย วาจา ใจ - เป็นการด่วน เพื่อบรรจุพระศพ
    ขององค์กรรมาปะในระหว่างพิธีถวายพระเพลิง

    ตลอดช่วงเจ็ดสัปดาห์นี้ มีการประกอบพิธีปัดรังควานอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสวดมนต์
    ให้พระองค์ไปประสูตรใหม่โดยเร็ว เพื่อประโยชน์สุขของสรรพสัตว์ทั้งมวล พุทธศาสนิก
    ชนหลายพันคนจากทุกนิกายไหลกันมาร่วมงาน ต่างเดินเรียงแถวผ่านสถูปเพื่อแสดงความ
    เคารพ และถวายผ้าไหมขะตะสีขาวตามธรรมเนียม ในขณะที่ใกล้จุดพระเพลิงนั้น ได้มี
    สายรุ้งปรากฏบนท้องฟ้ากระจ่างสีครามเหนืออาราม

    ระหว่างที่เพลิงกำลังลุกไหม้ ผู้ถ่ายทำภาพยนต์สารคดีหลายคนรายงานว่า เห็นยอดชอร์เต็น
    ปะทุ มีคนหนึ่งเห็นอะไรบางอย่างสีดำ ๆ ลอยขึ้นไปในอากาศโดยไม่กลับลงมาอีก ต่อมา
    รินโปเชรูปหนึ่ง อธิบายว่า สิ่งนั้นคือยอดกะโหลกขององค์กรรมาปะ และว่า เหล่าฑากินี
    ( เทพธิดาที่ช่วยปัดเป่าทุกข์ ) กำลังรอรับเสด็จพระองค์อยู่บนท้องฟ้าเหนือวัด นี่เป็นสัญญาณ
    แสดงให้เห็นว่า พระองค์ได้เสด็จไปประทับอยู่กับพวกฑากินีแล้ว </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. หนึ่ง99999

    หนึ่ง99999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,369
    ค่าพลัง:
    +1,922
    [​IMG]

    ๑๕


    วันขึ้นปีใหม่วันแรกของชาวทิเบต ในปี ๑๙๘๔ ลามะทุปเท็น เยเชมีอาการหัวใจโต
    หลังจากที่ต้องอดทนมานานกว่าสิบปี ลิ้นหัวใจที่ผิดปรกติสองลิ้นขยายใหญ่ขึ้นเป็น
    สองเท่า ในทางการแพทย์สมัยใหม่ถือเป็นเรื่องน่าทึ่งที่ท่านยังคงมีชีวิตรอด ครั้งหนึ่ง
    ท่านเคยบอกว่าท่านมีชีวิตอยู่ได้ " ก็ด้วยพลังของมนตรา "

    สี่เดือนก่อนที่ท่านจะมรณภาพ พวกลูกศิษย์เริ่มทราบว่าจริง ๆ แล้ว ท่านป่วยหนักเพียงใด
    วันที่ ๓ มกราคม หลังจากลามะเยเชนอนพักอยู่ที่โรงพยาบาลในเดลีมานานครึ่งเดือน
    ศิษย์คนหนึ่งก็ได้คะยั้นคะยอขอให้ท่านมีชีวิตต่อไป ท่านยอมทำตาม ทว่า " ขึ้นอยู่กับ
    กรรมและการสวดอธิษฐานอย่างหนักของศิษย์ " ไม่กี่วันต่อมา อาจารย์ที่รักยิ่งท่านหนึ่ง
    ของลามะแนะให้ท่านเปิดเผยอาการ เพื่อศิษย์จะได้บุญ

    ต้นเดือนกุมภาพันธ์ มีการตัดสินใจว่าจะส่งตัวท่านไปผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจที่โรงพยาบาล
    ในแคลิฟอร์เนีย ระหว่างที่รอให้ร่างกายของท่านฟื้นคืนกำลังพอที่จะเข้ารับการผ่าตัด ลามะ
    ก็เป็นอัมพฤษ์ซีกซ้าย มีการอธิษฐานและสวดมนต์บทพิเศษตามคัมภีร์ทิเบต เพื่อคุ้มครอง
    ไม่ให้ท่านเป็นอัมพฤกษ์ไปมากกว่านี้ ถึงแม้อัมพฤกษ์จะสงบลง แต่อาการของท่านกลับ
    ทรุดหนักขึ้น

    คืนก่อนจากไป ลามะเยเชมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ท่านพูดคุยและหัวเราะกับพยาบาล
    ฉันสตรอเอบร์รี่ ประมาณตี ๔ ท่านขอให้ประกอบพิธีกรรมพิเศษที่เรียกว่าเหรุกสาธนา
    ซึ่งช่วยให้ท่านสามารถนั่งสมาธิได้ หลังตี ๕ เศษ หัวใจท่านจึงหยุดเต้น ตลอดวันนั้น
    ผู้ที่อยู่กับท่านนั่งสวดมนต์ทั้งวัน ๕ โมงเย็นบรรยากาศภายในห้องที่เงียบสงบถูกทำลาย
    ด้วยเสียงสวดมนต์เหรุกดังสนั่น และ มีประกาศว่า " บัดนี้ การเข้าสมาธิของลามะจบ
    สิ้นแล้ว " นั่นเป็นวันขึ้นปีใหม่วันแรกของชาวทิเบตซึ่งตรงกับวันที่ ๓ มีนาคม ๑๙๘๔
    ๑๖


    เชอเกรียม ตรุงปะ รินโปเชเป็นบุคคลสำคัญที่สุดท่านหนึ่ง ที่ได้นำพุทธศาสนาแบบทิเบต
    เข้าไปเผบแผ่ในดินแดนตะวันตก ท่านถึงแก่กรรมเมื่อปี ๑๙๘๗ ขณะอายุ ๔๗ ปี ทว่าได้
    ทิ้งมรดกชิ้นสุดท้าย เป็นคำสอนและชุมชนศิษย์-ผู้ปฏิบัติที่เติบโตขึ้นรอบกายท่าน

    " การเกิดดับคือท่วงทำนองของชีวิต " นั่นเป็นคำสั่งเสียที่รินโปเชเขียนทิ้งไว้ ซึ่งมีการนำ
    มาอ่านในภายหลังจากที่ท่านเสียชีวิต " ภาระกิจของฉันลุล่วงแล้ว ฉันได้กระทำหน้าที่
    อย่างเต็มที่เท่าที่สถานการณ์จะเอื้ออำนวย ตอนนี้ฉันจึงตายอย่างมีความสุข... โดยรวม ๆ
    แล้ว หลักธรรมและการปฏิบัติคือสาระสำคัญ ไม่ว่าฉันจะอยู่ที่นี่หือไม่ก็ตาม ไม่ว่าพวก
    ท่านจะอ่อนหรือแก่ ก็ควรเรียนรู้ความไม่เที่ยงจากการตายของฉัน "
    [​IMG]

    ๑๗



    ในขณะที่ดิลโก เคียนเซ รินโปเช อายุ ๑๕ ปี ท่านได้ให้สัญญากับอาจารย์ก่อนที่ท่าน
    จะสิ้นใจว่า ท่านยินดีจะสอนธรรมะให้แก่ผู้ที่ร้องขอ รินโปเชใช้เวลาในการตระเตรียม
    สำหรับภารกิจนี้ โดยปลีกวิเวกอยู่ในที่สงัดและถ้ำกลางป่าไกล้ ๆ กับบ้านเกิดในเนปาล
    ถึง ๑๓ ปี หลังจากนั้น ท่านได้บอกกับครูคนที่สองว่า ท่านอยากจะอุทิศชีวิตที่เหลือให้
    กับการปลีกวิเวกปฏิบัติกรรมฐานอย่างจริงจัง แต่ท่านได้รับคำตอบว่า " ถึงเวลาที่เจ้าจะ
    เผยแผ่และถ่ายทอดธรรมะอันล้ำค่าทั้งหลายที่เจ้าได้รับมานี้แก่ผู้อื่นแล้ว " วิถีแห่งจิต
    วิญญาณน้อมนำเคียนเซ รินโปเชไปสู่ ปัญญาญาณอันลึกซึ้ง ช่วยให้ท่านเป็นเสมือนน้ำพุ
    แห่งปัญญาและความเมตตากรุณาของสรรพสัตว์ทั้งปวง ตราบจนกระทั่งวาระสุดท้าย
    ในปี ๑๙๙๑

    รินโปเชตระหนักในอนิจจังและความตายเป็นอย่างดีเสมอมา เมื่อใดที่มีผู้นิมนต์หรือ
    ขอร้องให้ท่านกลับไปอีก ท่านจะกล่าวว่า " ถ้าข้ายังอยู่ ข้าก็จะไป " ท่านยังคงมีพลัง
    วังชา แม้ในภายหลังจากที่มีอายุ ๘o ปีแล้ว ทว่าต้นปี ๑๙๙๑ ก็เริ่มส่อเค้าสุขภาพไม่ดี
    ให้เห็นเป็นครั้งแรก ระหว่างสอนอยู่ที่พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าในประ
    เทศอินเดีย ถึงกระนั้น ท่านก็ยังดำเนินการสอนจนจบหลักสูตร และเดินทางขึ้นไป
    ยังธรรมศาลา เพื่อให้คำสอนที่สำคัญแก่องค์ทะไลลามะเป็นเวลาหนึ่งเดือน

    ต่อมาเมื่อท่านกลับถึงเนปาลในฤดูใบไม้ผลิ สุขภาพก็เสื่อมถอยอย่างเห็นได้ชัด ท่าน
    ผ่ายผอมลงและต้องการพักผ่อนมากขึ้น โดยส่วนใหญ่จะสวดมนต์และเข้ากรรมฐาน
    เงียบ ๆ ให้เวลากับผู้ที่มีความจำเป็นต้องการพบท่านเพียงไม่กี่ชั่วโมงในแต่ละวัน แทน
    ที่ท่านจะเดินทางไปทิเบต กลับเลือกที่จะไปปลีกวิเวก ณ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในภูฐาน
    เป็นเวลาสามเดือนครึ่ง ปีนั้นท่านพูดเป็นนัย ๆ หลายครั้งว่าจะจากโลกนี้ไปในไม่ช้า
    บางครั้งก้พูดเล่นว่า " ข้าจะตายเสียตอนนี้เลยดีใหม ? " ครั้งหนึ่งท่านเขียนถึงศิษย์
    ใกล้ชิดคนหนึ่งว่า " เราจะพบกันที่ขุนเขาสีทองอร่าม ( พุทธภูมิของปัทมสัมภวะ
    ปรามาจารย์ผู้นำพุทธศาสนาเข้ามาเผยแผ่ยังทิเบต ) "

    หลังจากเก็บตัวอยู่ในภูฐาน ดูเหมือนสุขภาพของเคียนเซ รินดปเชจะดีขึ้น ท่านได้ไป
    เยี่ยมเยียนและพูดคุยกับศิษย์หลายคนที่กำลังปลีกวิเวกถึงเรื่องคุรุที่แท้จริง ซึ่งอยู่เหนือ
    การเกิดดับหรือปรากฏการณ์ทางรูปลักษณ์ ท่านได้รับเชิญจากพระมารดาของราชินี
    ภูฐานให้ไปเยือนกาลิมปง ด้วยเฮลิคอปเตอร์ที่จัดเตรียมไว้ แต่ท่านยืนกรานจะรอนแรม
    ไปทางถนน เพื่อแวะพบศิษย์เก่าแก่คนหนึ่งระหว่างทาง

    หลังกลับถึงภูฐานได้ไม่นาน รินโปเชก็มีอการป่วยไข้อีกครั้ง ท่านแทบจะไม่ฉันหรือ
    ดื่มอะไรเลยอยู่ ๑๒ วัน สี่วันก่อนจากไป ท่านเขียนใส่กระดาษแผ่นหนึ่งว่า " ข้าจะ
    ไปวันที่ ๑๙ " สองวันต่อมา ตรุลชิก รินโปเช ผู้เป็นทั้งศิษย์ที่ไกล้ชิดที่สุดและ
    กัลยาณมิตรของท่านได้เดินทางมาจากเนปาล ทั้งสองพบกันอย่างมีความสุข พลบค่ำ
    อีกวัน คือ วันที่ ๒๗ กันยายน ๑๙๙๑ ( วันที่ ๑๙ ตามปฏิธินทิเบต ) ท่านได้ขอให้
    อุปัฏฐากช่วยประคองขึ้นนั่ง แล้วหลับไปอย่างสงบ พอถึงเช้ามืด ลมหายใจของ
    ท่านก็หยุด จิตหลอมละลายเข้าสู่สุญญตภาวะ

    ศพของท่านถูกเก็บรักษาไว้เป็นเวลาหนึ่งปี ด้วยวิธีดองศพเก่าแก่ตามคำขอของศิษย์
    จากทิเบตและทั่วโลก ทุก ๆ วันศุกร์ ( วันที่ท่านมรณภาพ ) ตลอดช่วงเจ็ดสัปดาห์แรก
    มีการจุดตะเกียงเนย ๑ooo ,ooo ดวงบูชาที่สถูปโพธนารถ ใกล้ ๆ กับอารามเชเช็น
    ในประเทศเนปาล

    เมื่อถึงวันฌาปนกิจในเดือนพฤศจิกายนปี ๑๙๙๒ ที่ประเทศภูฐาน ได้มีการประชุมเพลิง
    สรีระท่านใกล้ ๆ กับเมืองปาโร ตลอดพิธีศพที่จัดขึ้นสามวัน มีพระลามะสำคัญ ๆ กว่า
    ๑oo รูป ราชนิกูล และรัฐมนตรีในภูฐาน ศิษย์ชาวตะวันตก ๕oo คน ตลอดจนผู้เลื่อมใส
    ศรัทธาอีกจำนวนมากราว ๕o,ooo คน เข้าร่วมงานด้วย นับเป็นการชุมนุมที่ไม่เคยปรากฏ
    มาก่อนในประวัติศาสตร์ภูฐาน มรณกรรมของท่านก็เช่นเดียวกับอาจารย์อื่น ๆ เป็นเสมือน
    โอวาทธรรมสุดท้ายที่แสดงถึงความไม่เที่ยง

    จงอย่าลืมว่าชีวิตนี้จักจบสิ้นลงอย่างรวดเร็ว
    ดุจอสนีบาตที่แลบแปลบในยามฤดูร้อน หรือมือที่โบกสะบัด
    ตอนนี้เจ้ามีโอกาสได้ปฏิบัติธรรมแล้ว
    ฉะนั้น อย่าเสียเวลาแม้เพียงสักขณะไปกับสิ่งอื่นใด
    ทว่าจงทุ่มเทแรงกายแรงใจทั้งหมดให้กับการปฏิบัติธรรม
     
  4. suriyanvajra

    suriyanvajra Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    281
    ค่าพลัง:
    +67
    ขอบพระคุณในธรรมทานค่ะ
     
  5. CHOTIYA

    CHOTIYA เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,006
    ค่าพลัง:
    +359
    อือ พรุ่งนี้หรือชาติหน้า อะไรจะมาถึงก่อนกัน ท่านจัมยัง เคนเซ รินโปเช สอนไว้
     

แชร์หน้านี้

Loading...