ทางสายกลางคือ ทางที่สั้นที่สุดหรือเปล่า

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย Numtrn, 4 ธันวาคม 2011.

  1. Numtrn

    Numtrn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    1,408
    ค่าพลัง:
    +1,571
    ซ้ายก็อ้อม ขวาก็อ้อม งั้นผ่าไปตรงกลางมันตรงๆซะเลย

    .. ก็ทางสายกลางไม่ใช่เหรอ ท่านทั้งหลายมีความเห็นประการใด?



    เชิญแลกเปลี่ยน ทัศนะตามชอบ ด้วยธรรมเถิด
     
  2. blackangel

    blackangel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,750
    ค่าพลัง:
    +1,919
    ไม่รู้เหมือนครับว่าสั้นที่สุดหรือเปล่า เพราะยังไม่เดินไม่ไปถึงสุดทาง :boo:
    แต่ถ้ามีทางให้เลือกเดิน 3 ทาง ผมก็จะเดินทางสายกลางแหละครับ เพราะพระพุทธเจ้าท่านได้กล่าวเอาไว้
     
  3. blackangel

    blackangel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,750
    ค่าพลัง:
    +1,919
    สายกลางของการปฏิบัติ
    แสดงธรรมโดย
    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย


    ที่มา ��ǧ��;ظ �ҹ���
    [​IMG]พระพุทธเจ้าไม่ให้ประกอบตนติดสุขจนเกินประมาณ

    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสุด ๒ อย่างอันนักบวชไม่พึงส้องเสพ ส่วนสุด ๒ อย่างนั้นคืออะไร คือการประกอบตนให้พัวพันอยู่ในความสุข คือเรื่องเห็นแก่ความสุข เรื่องเห็นแก่ปากแก่ท้อง เรื่องความเห็นแก่หลับแก่นอน เรื่องยินดีในอารมณ์เป็นที่น่าใคร่น่าชอบใจ ทำให้เกิดราคะตัณหา อันนี้เรียกว่าส่วนสุดอันหนึ่งซึ่งเป็นฝ่ายกามสุขัลลิกานุโยค"
    กามะ แปลว่า ความใคร่ สุขัลลิกานุโยค คือ ผูกรัดผู้คนให้ติดอยู่ในความสุขจนเกินประมาณ คนเรานี่สุขหลายก็ไม่ดีต้องให้สุขแต่น้อย พระพุทธเจ้าท่านจึงสอนว่า ให้สาธุชนพึงสละความสุขเพียงเล็กน้อย เพื่อแลกเอาสุขอันยิ่งใหญ่คือพระนิพพาน
    เวลานี้เรามาสวดมนต์ มาฟังเทศน์ บางที โอ๊ย! นั่งนานๆ ปวดแข้งปวดขาเกือบตาย อันนี้แหละคือความทุกข์ ทีนี้ถ้าหากว่าใจเราไม่มั่นคง ไม่เข้มแข็ง ไปยอมแพ้ต่อทุกขเวทนานั้น แล้วสละการฟังธรรม สละการประกอบคุณงามความดี สละการนั่งสมาธิ ก็แสดงว่าจิตของเราตกอยู่ในอำนาจของกามสุขัลลิกานุโยค เรื่องของการยอมแพ้เอาง่ายๆ นี่ พระพุทธเจ้าไม่สรรเสริญ พระองค์ไม่เห็นดีด้วย
    [​IMG]
    เพราะฉะนั้น ในเมื่อฟังธรรมก็ดี ปฏิบัติธรรมก็ดี ถ้าหากว่าทุกขเวทนามันเกิดขึ้นมา ถ้าเราจะเอาชนะมัน ให้บริกรรมภาวนาว่าอย่างนี้ “มึงบ่ตาย กูตาย มึงไม่ตาย กูตาย มึงไม่ตาย กูตาย” แล้วก็รวมลงที่คำว่า “ตายๆๆๆๆ…ตาย” คำเดียว เสร็จแล้วจิตจะสงบ กายเบา จิตเบา กายสงบ จิตสงบ นี่ตอนนี้ผ่านพ้นความเห็นแก่สุขเล็กน้อยแล้วนะนี่
    พอกายเบา จิตเบา กายสงบ จิตสงบ ถ้าแถมเกิดมีปีติขึ้นมาเหมือนตัวจะลอยอยู่บนอากาศ นี่เป็นสุขใหญ่ เป็นสุขเกิดจากปีติ
    เพราะฉะนั้น กามสุขัลลิกานุโยค ประกอบตนให้ติดความสุขจนเกินประมาณซึ่งเรียกว่าไม่พอดี มันทำให้คนเราหย่อนสมรรถภาพ เกิดความอ่อนแอ เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงไม่ให้ประกอบคือไม่ให้ประพฤตินั่นเอง
    [​IMG]พระพุทธเจ้าให้เว้นการทรมานตนโดยเปล่าประโยชน์

    ข้อที่ ๒ อัตตกิลมถานุโยค การประกอบตนคือการทรมานตนให้ได้รับความลำบาก โดยเปล่า ปราศจากประโยชน์ พระพุทธเจ้าท่านเทศน์อย่างนี้ การไม่นั่ง ก็ไม่ยังบุคคลผู้ยังมีกิเลสอยู่ให้หมดกิเลสได้ การไม่นอน ก็ไม่ยังผู้ยังมีกิเลสให้หมดกิเลสได้ การไม่กิน การไม่ดื่ม การทรมานตนบนกองไฟกองเพลิงเพื่อย่างกิเลส ก็ไม่เป็นเหตุให้ผู้ยังมีกิเลสอยู่หมดกิเลสไปได้ อันนี้คือ การทรมานตนแล้วไม่ได้รับประโยชน์อะไรนอกจากความเหน็ดเหนื่อยเปล่า เป็นอัตตกิลมถานุโยค พระองค์ให้เว้น
    [​IMG]
    [​IMG]พระพุทธเจ้าสอนให้เว้นจากส่วนสุด ๒ อย่าง : กามสุขัลลิกานุโยค อัตตกิลมถานุโยค

    ทีนี้เมื่อสรุปลงไปในจิตในใจของเราจริงๆ นี่ ความยินดีจนเกินประมาณเป็นกามสุขัลลิกานุโยค ความยินร้ายจนเกินประมาณเป็นอัตตกิลมถานุโยค
    ความยินดี มักทำให้เพลิดเพลินยินดีในวัตถุสมบัติ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส สนุกเพลิดเพลินไปตามสิ่งที่เราชอบใจ อันนั้นเรียกว่า ความยินดีแบบกามสุขัลลิกานุโยค ยินดีในสิ่งที่ยั่วยุให้เกิดกิเลส ตัณหา มานะ ทิฏฐิ จัดเป็นกามสุขัลลิกานุโยคทั้งนั้น
    ส่วนความไม่พอใจในอารมณ์ต่างๆ เช่น ความฟุ้งซ่านรำคาญ ความเบื่อความหน่ายในการที่จะปฏิบัติคุณงามความดี หรือความไม่พอใจในอารมณ์ต่างๆ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ ในเมื่อไม่พอใจมันก็เกิดปฏิฆะ หงุดหงิดใจ ปฏิฆะแสดงฤทธิ์ออกมาเป็นทุสะ ประทุษร้ายใจอันเป็นปกติ เมื่อทุสะคือโทสะทวีกำลัง ทวีกำลังรุนแรงขึ้นมา สีหน้าก็แดง ปากก็เบี้ยว ตาก็แดง หน้าก็บูดบึ้ง อันนี้มันแสดงฤทธิ์มันออกมาแล้ว ทีนี้ในเมื่อมันมีฤทธิ์ขึ้นมาอย่างนี้ ความทุกข์ใจก็บังเกิดขึ้น ทุกข์เพราะความโกรธ ในเมื่อทุกข์มันหนักเข้าก็เรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค การประกอบตนให้พัวพันในสิ่งที่ทรมานจิตใจให้ได้รับความลำบาก
    [​IMG]
    นี่แหละ ทั้งสองอย่างนี้ พระพุทธเจ้าท่านสอนเบญจวัคคีย์อย่าไปประพฤติเช่นนั้น ถ้าขืนไปประพฤติแล้วมันจะติดข้องอยู่ในโลก นั่งโต่งโหม่งอยู่ในโลกนี่แหละ ไปไส (ไหน) ก็ไม่ไป เพราะฉะนั้นพระองค์จึงสอนให้เว้นเสีย
    [​IMG]อริยมรรค ๘ เป็นไปเพื่อการตรัสรู้

    ทีนี้พระองค์ก็ทรงสอนให้ดำเนินตามหลัก คือ อริยมรรค ๘ ประการ
    อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค เสยยะถีทัง สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา
    อริยมรรค ๘ ประการนี้เอง ที่ตถาคตดำเนินมาแล้ว เป็นไปเพื่อการรู้พร้อม เป็นไปเพื่อการตรัสรู้ เป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์สะอาดของจิต จนกระทั่งเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
    อริยมรรค ๘ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ สัมมาวาจา พูดวาจาชอบ สัมมากัมมันตะ การงานชอบ สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ สัมมาสะติ ระลึกชอบ สัมมาสะมาธิ ตั้งใจไว้ชอบ ท่านเรียกว่า อริยมรรค ๘ เมื่อรวมลงไปแล้วก็คือ ไตรสิกขา นั่นเอง ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา

    [​IMG]ศีลเป็นหัวใจของการปฏิบัติธรรม...เป็นเปลือกหุ้มไข่

    ทีนี้ ศีลนี่เป็นหลักสำคัญ เป็นหัวใจของการปฏิบัติธรรม ผู้ปฏิบัติธรรมที่จะให้สำเร็จมรรคผลนิพพานกันจริง ๆ นั้น จะต้องมีศีลบริสุทธิ์ ด้วยกาย วาจา ต้องรักษากาย วาจา ของตนให้บริสุทธิ์สะอาดปราศจากโทษ อย่างต่ำศีล ๕ ข้อนั่นแหละ ศีล ๕ ข้อเป็นการตัดกรรมตัดเวร ศีล ๕ ข้อเป็นการละสิ่งที่จะทำด้วยอำนาจของกิเลส ศีล ๕ ข้อปรับพื้นฐานความเป็นมนุษย์ให้สมบูรณ์ เพราะว่าผู้ที่จะได้สำเร็จมรรคผลนิพพานนี่ จะต้องมีศีลบริสุทธิ์ สมาธิ ปัญญา น่ะไม่สำคัญนะ อย่าไปเข้าใจว่าเป็นเรื่องสำคัญ ศีลต่างหากเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด
    กาย วาจา ของคนเรานี่เปรียบเทียบเหมือนเปลือกสำหรับหุ้มไข่ ส่วนใจเปรียบเหมือนไข่แดงซึ่งถูกเปลือก คือ กาย วาจา หุ้มเอาไว้ ที่เรามาปฏิบัติกิจศาสนานี่เพื่อจะให้เกิดคุณธรรม ให้เจริญงอกงามด้วยคุณธรรม คือ ศีล สมาธิ ปัญญา บริสุทธิ์บริบูรณ์ นี่ เราจะต้องรักษากาย วาจา ให้บริสุทธิ์สะอาด เมื่อกาย วาจา บริสุทธิ์สะอาดแล้ว เปลือกไข่ของเรามันไม่ร้าว ไม่มีรอยบุบ ไข่แดงซึ่งอยู่ภายในเปลือกหุ้ม เอาไปฟักมันก็เป็นตัว ถ้าเปลือกมันบุบมีรอยร้าว เอาไปฟักเท่าไรมันก็มีแต่เน่า ไม่เป็นตัว ประเดี๋ยวเขาก็ไปย่างเป็นไข่ด้านย่างอยู่ที่บ้านพังโคนโน่น
    [​IMG]
    เพราะฉะนั้น ผู้มุ่งหวังที่จะปฏิบัติกิจพระศาสนาให้ตัวเองเจริญรุ่งเรืองด้วยคุณธรรม ต้องศีลบริสุทธิ์สะอาด ไม่ว่าคฤหัสถ์ ไม่ว่าแม่ขาว แม่ชี ไม่ว่าสามเณร ไม่ว่าทั้งภิกษุสงฆ์ เพราะฉะนั้น ศีลนี่จึงเป็นหลักสำคัญ เพราะว่าศีลนี้จะเป็นหลักประกันความปลอดภัยในการประพฤติปฏิบัติ
    [​IMG]สมาธิและปัญญาเป็น “ไข่เน่า” ถ้าขาดศีล

    ส่วนสมาธินั้นมันเป็นดาบสองคม สมาธินี้ ใครบำเพ็ญให้มีพลังแก่กล้า เอาไปเป็นดาบเชือดคอหอยคนก็ได้นะ ส่งกระแสจิต พลังจิตอันมีสมาธิไปบีบหัวใจคนให้หยุดเต้นก็ได้ เพราะฉะนั้นสมาธิที่เป็นไปในแนวทางแห่งสัมมาสมาธิ จะต้องมีศีลเป็นเครื่องประกันความปลอดภัย ถ้าทำสมาธิเพื่อให้เกิดอิทธิฤทธิ์ ทำสมาธิเพื่อให้เกิดลาภเกิดผล ทำสมาธิเพื่อให้คนทั้งหลายยกมือไหว้ ยกย่องสรรเสริญว่าตัวเก่ง อันนั้นเป็นมิจฉาสมาธิ ถ้า ภาวนาแล้ว สา....ธุ สาธุ สาธุ ขอให้คุณพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ดลบันดาลให้ถูกหวยรวยเบอร์ ให้ทำมาค้าขึ้น อันนี้มันเป็นมิจฉาสมาธิ
    เมื่อเราปฏิบัติตรงต่อคำสอนของพระพุทธเจ้า ตรงต่อศีล สมาธิ อันบริสุทธิ์บริบูรณ์แล้ว นอกจากเราจะได้คุณธรรมภายใน คือศีลตัวปกติ สมาธิคือจิตที่มั่นคง ผลพลอยได้มันเกิดมาเอง ทรัพย์สินเงินทองไหลมาเทมา ถึงไม่มากมายก็พอเลี้ยงตัวได้อย่างสบาย เมื่อไม่ได้ก็ไม่เดือดร้อนเพราะมีทรัพย์ภายใน ทรัพย์ภายใน อริยทรัพย์ ก็คือศีล ทรัพย์ภายใน อริยทรัพย์ ก็คือสมาธิที่เป็นสัมมาสมาธิ ทรัพย์ภายใน ก็คือมีสติรู้สึกสำนึกผิดชอบชั่วดี มีหิริ โอตตัปปะ อายต่อบาป สะดุ้งกลัวต่อบาป ไม่กล้าทำบาปทั้งในที่ลับและที่แจ้ง อันนี้ก็เป็นสัมมาสมาธิ
    [​IMG]
    เมื่อมีศีลบริสุทธิ์บริบูรณ์แล้ว อะไรก็เป็นสัมมา ชอบ ชอบ ชอบ ทั้งนั้น ถ้าศีลไม่บริสุทธิ์ บริบูรณ์ ทุศีลแล้ว อะไรๆ มันก็ไม่ชอบ พูดมันก็ไม่ชอบ ทำมันก็ไม่ชอบ คิดมันก็ไม่ชอบ เพราะไม่มีศีลเป็นเครื่องประกันความปลอดภัย เมื่อเป็นเช่นนั้น ศีล ไม่บริสุทธิ์ กาย วาจาไม่บริสุทธิ์ ไปบำเพ็ญสมาธิ แม้สมาธิจะเกิดขึ้น ก็เป็นสมาธิแบบ “ไข่เน่า” คือมันไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้มรรคผลนิพพาน ทีนี้ในเมื่อสมาธิมันเป็นไข่เน่า ปัญญามันก็พลอยเน่าไปด้วย เพราะปัญญามันเกิดจากสมาธิ เพราะฉะนั้น พรหมจรรย์นี่ต้องบำรุงต้น บำรุงโคนให้มันดี ศีลคือโคนต้นของพรหมจรรย์ เมื่อเรารักษาศีล ประพฤติศีลให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ดีแล้ว สมาธิก็กลายเป็นสัมมาสมาธิ ปัญญาเกิดขึ้นก็เป็นสัมมาทิฏฐิคือความเห็นชอบ
    [​IMG]ทรงแสดงอริยสัจ ๔ โปรดเบญจวัคคีย์

    เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอบรมจิตของท่านภิกษุปัญจวัคคีย์ให้มีสติ สัมปชัญญะรู้พร้อมอยู่ที่จิต เพราะท่านตั้งใจนั่งอยู่นิ่งๆ กายของท่านก็เป็นศีล วาจาอยู่นิ่งเงียบไม่พูดไม่จา วาจาก็เป็นศีล เป็นปกติ ใจที่สำรวมตั้งใจฟังธรรมที่พระพุทธองค์ทรงสอน ใจก็เป็นปกติไม่วอกแวกไปในทางไหน เมื่อใจเป็นปกติ มีสติกำหนดรู้อยู่ที่จิต กายกับจิตยังมีความสัมพันธ์กัน อะไรผ่านเข้ามาทางหูก็ได้ยิน เมื่อเบญจวัคคีย์ได้ยินเสียงของพระพุทธเจ้า ก็กำหนดเอาเสียงเป็นอารมณ์ เอาเสียงเป็นสิ่งรู้ของจิต เป็นสิ่งระลึกของสติ เมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบว่าเบญจวัคคีย์มีจิตที่เตรียมพร้อมแล้ว คือเงี่ยโสตประสาทลงรองรับพระธรรมเทศนา พระองค์จึงได้ทรงแสดงอริยสัจ ๔ เริ่มต้นด้วย
    อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง ชาติปิ ทุกขา ชะราปิ ทุกขา มะระณัมปิ ทุกขัง โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี่คือทุกข์ ทุกข์ได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ และความตาย ในเมื่อมีชาติคือความเกิด ก็มีความแก่ มีความแก่ก็มีเจ็บ มีเจ็บแล้วก็มีตาย ในเมื่อยังไม่ตาย กระทบอารมณ์ไม่เป็นที่พอใจ เช่น ความพลัดพราก หรือความสูญเสียสิ่งที่ตนหวงแหน มันก็เกิดโทมนัสน้อยใจ เกิดโศกเศร้า เกิดทุกข์ ปริเทวนารำพันต่างๆ ร้องไห้เสียใจ ลูกตายเสีย เมียตายจาก ไฟไหม้บ้าน ลูกชายลูกสาวขับรถไปชนถึงแก่ความตาย พากันร้องไห้โศกเศร้าเสียใจ อันนี้มันมีสาเหตุมาจากความเกิด เกิดอย่างเดียวเท่านั้นแหละเป็นทางมาของทุกข์ พระพุทธเจ้าท่านจึงชี้ลงไปว่า นี่ทุกข์ ชาติปิ ทุกขา ความเกิดก็เป็นทุกข์ ชะราปิ ทุกขา ความแก่ก็เป็นทุกข์ มะระณัมปิ ทุกขัง ความตายก็เป็นทุกข์ รวมลงแล้วก็ทุกข์เพราะแก่ ทุกข์เพราะเจ็บ ทุกข์เพราะตาย แล้วสรุปลงไปก็ทุกข์เพราะเกิดนั่นเอง พอเกิดขึ้นมาแล้วก็ต้องมีทุกข์ต่างๆ ประดังเข้ามา เพราะฉะนั้น ความเกิดจึงเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดกองทุกข์และเกิดกองสุข
    [​IMG]
    เมื่อพระพุทธเจ้าชี้ทุกข์ คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นต้น ให้ภิกษุเบญจวัคคีย์ได้ฟัง ภิกษุเบญจวัคคีย์ก็มีสติกำหนดรู้ทุกข์ เมื่อรู้แจ้งเห็นจริงในทุกข์แล้ว พระองค์ก็ทรงเตือนว่า ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ทุกข์เป็นสิ่งที่เธอพึงกำหนดรู้ ทุกข์เป็นสิ่งที่เธอกำหนดรู้แล้ว
    ทีนี้ทุกข์ทั้งหลายมันเกิดเพราะตัณหา ตัณหาในใจนี่มันได้แก่อะไร ตัณหาในใจนี่ก็ความยินดี มันเป็นกามตัณหา ตัณหาในใจนี่ก็คือความยินร้าย ไม่พอใจ มันเป็นวิภวตัณหา ถ้ามันไปติดไปข้อง มันก็เป็นภวตัณหา เพราะมันยึด ในเมื่อกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหามีอยู่พร้อม ทุกข์มันก็เกิดขึ้นร่ำไป
    [​IMG]สภาวจิตและการบรรลุธรรมของท่านอัญญาโกณฑัญญะ

    ในเมื่อภิกษุเบญจวัคคีย์มีสติมีพลังแก่กล้าขึ้นกลายเป็นปัญญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านอัญญาโกณฑัญญะ มีสติมีพลังแก่กล้า สมาธิมีความมั่นคง จิตก็ก้าววูบลงไป นิ่งปุ๊บ สว่างโพล่งขึ้นมา จักขุง อุทะปาทิ จักษุบังเกิดขึ้นแล้ว จักษุคือตาใจบังเกิดขึ้นแล้ว ทีแรกจิตของท่านไม่สงบ นิ่ง รู้ ตื่น เบิกบาน สว่างไสว อันนี้เรียกว่า จักขุง อุทะปาทิ จักษุคือตาในบังเกิดขึ้นแล้ว
    ทีนี้เมื่อมีสติสัมปชัญญะรู้พร้อมอยู่โดยอัตโนมัติ สมาธิก็เป็นเองโดยธรรมชาติ สติก็เป็นเองโดยธรรมชาติ จิตมีพลังทั้งรู้ ตื่น เบิกบาน รู้อยู่ที่จิต ญาณัง อุทะปาทิ ญาณหยั่งรู้ได้บังเกิดขึ้นแล้ว ในตอนแรกนี่รู้ ๆ ๆ ๆ มองเห็นทุกข์ก็รู้ แต่ความจริงถ้ารู้ในขณะนั้น สุข ทุกข์มันไม่มี อย่าไปเข้าใจผิด
    [​IMG]
    ในเมื่อจิตของท่านนิ่ง สงบ รู้ ตื่น เบิกบาน มีญาณหยั่งรู้ นิ่งอยู่เป็นเวลานานพอสมควร พอจิตถอนจากสมาธิส่วนลึก จากอัปปนาสมาธิมานิดหน่อย จิตมันไหวตัว แล้วก็มองย้อนไปถึงอารมณ์ที่ผ่านมา คืออารมณ์ที่เป็นเหตุให้จิตสงบนิ่งเป็นสมาธินั่นแหละ คือตั้งแต่พระองค์แสดงว่า ชาติปิ ทุกขา ชะราปิ ทุกขา มะระณัมปิ ทุกขัง นี่ พอจิตรู้แจ้งเห็นจริงแล้ว มันเข้าไปสู่ความสงบ นิ่ง รู้ ตื่น เบิกบานอยู่เฉยๆ
    ทีนี้พอจิตถอนออกมาจากสมาธิอีกหน่อยหนึ่ง พอรู้สึกว่าไหวตัวพอที่จะคิดอ่านอันใดได้ มันก็ย้อนไปคิดทบทวนสิ่งที่พระพุทธเจ้าเทศน์ให้ฟัง ที่พระพุทธเจ้าว่าทุกข์มันเป็นอย่างนั้น สุขมันเป็นอย่างนี้ ตัณหามันเป็นอย่างนั้น ตัณหามันเป็นอย่างนี้ ทีนี้จิตของท่านอัญญาโกณฑัญญะก็สงบนิ่งลงไปอีกทีหนึ่ง ก็ยังมองเห็นแต่สิ่งที่เกิดดับ เกิดดับ อยู่นั่น จิตไม่หวั่นไหว ความที่จิตเป็นปกติไม่หวั่นไหว รู้ ตื่น เบิกบาน มันเป็นนิโรธะ
    พอจิตสงบนิ่ง รู้ ตื่น เบิกบาน ไม่หวั่นไหว ทุกข์มันก็ดับไปเพราะว่ากายเบาจิตเบา กายสงบจิตสงบ บางทีร่างกายตัวตนไม่มี ทุกข์มันก็ไม่ปรากฏ เพราะมันไม่มีที่เกิด สุขทุกข์มันเกิดเพราะมีกาย ถ้าจิตดวงนี้มีแต่จิตดวงเดียว มันไม่มีอะไรเกิดดอก มีแต่อยู่ซื่อๆ (เฉย ๆ) พอรู้อะไรก็ได้ แต่นิ่งอย่างเดียว ไม่ไหวไม่ติง ไม่มีภาษา ไม่มีสมมติบัญญัติใดๆ ทั้งสิ้น แต่เมื่อมันถอนออกมาแล้วมันจึงจะรู้ว่า ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นดับไปเป็นธรรมดา ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม
    [​IMG]กาย วาจา ใจ ปกติ เป็นแนวทางของอริยมรรค อริยผล

    ทีนี้ลักษณะของศีล สมาธิ ปัญญา ที่เป็นไปในแนวทางอริยมรรค อริยผลนี่ ศีลบริสุทธิ์ด้วยกาย วาจา กายปกติ วาจาปกติ จิตก็พลอยเป็นปกติด้วย กาย วาจา และใจเป็นปกติ นี่มองเห็นทางอริยมรรคแล้ว เพราะความปกติของจิตนั่นมันเป็นกลาง มัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลาง จิตเป็นกลางๆ
    [​IMG]
    พระพุทธเจ้าสอนให้มีสติกำหนดรู้ที่จิต ทีนี้เมื่ออะไรเกิดขึ้นดับไป ก็กำหนดรู้สิ่งนั้น แต่คำว่ากำหนดนี่เป็นแต่เพียงภาษาพูดหรอกนะ แต่เมื่อมันเป็นเองแล้ว เราไม่ได้ตั้งใจจะกำหนดอะไรทั้งสิ้น มันจะปฏิวัติตัวเป็นไปเอง ทุกข์มันก็จะรู้เอง สมุทัยมันก็จะรู้เอง นิโรธมันก็จะปรากฏเอง ลักษณะของนิโรธปรากฏขึ้นนั้น จิตนิ่ง รู้ ตื่น เบิกบาน สว่างไสว ทีนี้ในลักษณะที่มรรคบังเกิดขึ้นนั้น จิตไหวตัว สามารถมีความรู้ผุดขึ้นมาเป็นระยะ ๆ จิตก็มีสติสัมปชัญญะกำหนดรู้ตลอดไป รู้สักแต่ว่ารู้ เห็นสักแต่ว่าเห็น รู้เห็นแล้วก็ปล่อยวางไป ไม่ยึดอะไรให้เป็นปัญหาที่จะทำให้ตัวเองเดือดร้อน ในขณะนั้นสมาธิก็เป็นหนึ่ง ศีลก็เป็นหนึ่ง ปัญญาก็เป็นหนึ่ง
     
  4. ศักยิ์กมล

    ศักยิ์กมล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    824
    ค่าพลัง:
    +1,316
    ขออนุโมทนา กับท่าน blackangel ที่นำสาระดี ๆ มาให้ได้อ่าน สาธุ สาธุ สาธุ

    และ ขอขอบคุณ คุณ numtrn เจ้าของกระทู้ที่เปิดกระทู้จนนำมาซึ่งสาระดี ๆ
     
  5. 90

    90 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    227
    ค่าพลัง:
    +67
    ไม่มีสองข้าง ก็ไม่มีกลาง ทางสายกลางยาวแค่ใหน ทางสองข้างก็ยาวแค่นั้น เพราะมีทางสองข้างเลยทำให้รู้ว่า ทางสายกลางมันอยู่ตรงใหน สุขนานไปก็เซ็ง ทุกข์นานไปก็เบื่อ ไม่ทุกข์เกินไปไม่สุขเกินไปแหละมันดี พอสบายๆไม่ต้องกลางเป้ะ มันเกร็งมันเครียดเกินไป ในโลกแห่งมายา จริงกับลวงมันปนกันจนยากแยกแยะ คิดอย่างไรก็ไม่รู้ หยุดคิดแหละจึงจะรู้
     
  6. เทียนฟ้า

    เทียนฟ้า สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +2

    อนุโมทนาสาธุค่ะ *** ภาพสวยมาก ***
     
  7. blackangel

    blackangel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,750
    ค่าพลัง:
    +1,919
    เอาจริงๆนะครับ ตามความเข้าใจและมุมมองของผมก็คือ ผมจะทำความเข้าใจตามที่ ครูอาจารย์ต่างๆท่านกล่าวมาและก็ต้องสอดคล้องกับคำสอนของพระพุทธเจ้าด้วย เพื่อเป็นแนวทางต่อไป พอได้อ่านได้ฟังก็พิจารณาตามก็โอปนยิโก น้อมเข้ามาสู่ใจ

    เพราะการที่เราคิดหรือเข้าใจเองบางอย่างอาจจะทำให้เราหลงผิดทางก็เป็นได้ อีกทั้งถ้าเราสำคัญตนผิดว่าไปว่าสื่งที่เรารู้มานั้นถูกต้องแน่นอนแล้วไปแนะนำบอกกล่าวหรือสั่งสอนคนอื่น ก็จะเป็นการบอกทางผิดให้แก่ผู้นั้นไปอีก ก็ในเมื่ิอทางเดินก็มีอยู่ คนเดินก็มีอยู่ คนไปถึงแล้วก็มีอยู่ แผนที่ก็มีอยู่ ผมก็เลยพยายามที่จะเรียนรู้และเข้าใจตามทางที่มีอยู่ ถึงแม้ว่าจะยังเดินไปไม่ถึงก็ตาม


    ดังนั้นในเมื่อที่ผมเข้าใจอยู่แล้วก็เป็นดังนี้ ผมก็เลยชอบที่จะยกเอาพระพุทธพจน์ ยกเอาคำครูอาจารย์ต่างๆมามากกว่า แต่ส่วนมากจะยกเอาพระพุทธพจน์มาซะมากกว่า

    แต่ถ้าให้ผมสรุปย่อๆก็คือ พระพุทธเจ้าท่านแนะนำให้เดินในทางสายกลาง ตามมรรคมีองค์ 8 เพราะว่า
    กามสุขัลลิกานุโยค > การหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุข
    อัตตกิลมถานุโยค > การทรมานกาย
    การปฏิบัติก็เหมือนดังเช่น สายพิณหย่อนไปก็ไม่ดี ตึงไปก็ไม่ดี

    แล้วจากมรรค 8 นี้ก็ยังเชื่อมโยงไปยังหลักธรรมคำสอนในเรื่องอื่นๆเพื่อที่จะทำให้
    เกิด สัมมาทิฏฐิิ คือ
    ความเข้าใจถูกต้อง
    สัมมาสังกัปปะ
    คือ ความใฝ่ใจถูกต้อง
    สัมมาวาจา
    คือ การพูดจาถูกต้อง
    สัมมากัมมันตะ
    คือ การกระทำถูกต้อง
    สัมมาอาชีวะ
    คือ การดำรงชีพถูกต้อง
    สัมมาวายามะ
    คือ ความพากเพียรถูกต้อง
    สัมมาสติ
    คือ การระลึกประจำใจถูกต้อง
    สัมมาสมาธิ
    คือ การตั้งใจมั่นถูกต้อง

    ไม่ว่าจะ อริยสัจ4 ไตรลักษณ์ ขันธ์5 ปฏิจจสมุปบาท อิทธิบาท4 พรหมวิหาร4 โลกธรรม8 ศีล สมาธิ ปัญญา มหาสติปัฏฐานสูตร กรรมฐาน 40 แล้วก็อย่างอื่นที่ไม่ได้กล่าวมา
     
  8. เรอเน่

    เรอเน่ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    167
    ค่าพลัง:
    +8
    ภาพสวยงามมากๆครับ ขออนุโมทนา สาธุกับธรรมะที่ท่านยกมาประกอบกระทู้ ท่านทำดีแล้ว ขอชื่นชม..
     
  9. haihui

    haihui สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    57
    ค่าพลัง:
    +2
    ภาพสวยมากๆเลยครับ ผมก็เน้นทางสายกลางครัล ปลงๆหลายๆสิ่ง :boo:
     
  10. แจ๊กซ์69

    แจ๊กซ์69 ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    3,142
    ค่าพลัง:
    +1,960
    สายกลาง หรือ เกาะกลางถนน
    [​IMG]
     
  11. Numtrn

    Numtrn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    1,408
    ค่าพลัง:
    +1,571

    แต่เดินทางนี้(ขับรถ) ตำรวจ จับ 5 5 5 !!!
     
  12. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    หนทางแห่งการดำเนินบนทางสายกลาง คือ มรรค8

    แล้วอะไรคือหนทางสุดโต่งทั้งสองข้าง ก็คือสมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์

    อารมณ์ความใคร่ปรารถนา ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่เรียก "อิฏฐารมณ์"
    ได้แก่ "กามตัณหา ภวตัณหา" เป็นเหตุให้เกิดทุกข์
    สุดโต่งไปในทาง "กามสุขัลลิกานุโยค"

    เช่นกัน อารมณ์ความไม่อยากมีอยากเป็น ไม่อยากแก่ ไม่อยากเจ็บ ไม่อยากตาย ไม่อยากพลัดพรากจากสิ่งที่ตนรักตนพอใจ
    ไม่อยากมีในภพ ไม่อยากมีสัญญา ไม่อยากมีรูป จึงไปเกิดในอสัญญีภูมิ และอรูปภูมิ เรียกว่า เป็นการฝืนกฏของไตรลักษณ์
    จึงเป็นอารมณ์ฝ่าย "อนิฏฐารมณ์" จัดอยู่ใน "อัตตกิลมถานุโยค"


    เครื่องแก้ ก็คือ สัมมาทิฏฐิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ธันวาคม 2011
  13. Numtrn

    Numtrn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    1,408
    ค่าพลัง:
    +1,571
    ช่วยขยาย

    สัมมาทิฐิ ที่เป็นมโนสุจริตหมายถึง ความเห็นถูกต้อง 10 อย่าง คือ
    1. เห็นว่าการให้ทานมีผลจริง (หมายถึงการให้ในระดับแบ่งปันกัน)
    2. การบวงสรวงมีผลจริง(หมายถึงการให้ในระดับสงเคราะห์กันมีผล)
    3. การเคารพบูชามีผลจริง (หมายถึงการยกย่องบูชาบุคคลที่ควรบูชามีผลดีจริง)
    4. ผลวิบากของกรรมดีกรรมชั่วมีจริง
    5. คุณของมารดามีจริง (หมายถึงมารดามีพระคุณต่อบุตรอย่างยิ่ง บุตรควรตั้งใจตอบแทนพระคุณท่านอย่างเต็มที่)
    6. คุณของบิดามีจริง (หมายถึง บิดามีพระคุณต่อบุตรอย่างยิ่ง บุตรควรตั้งใจตอบแทนพระคุณท่านอย่างเต็มที่)
    7. โลกนี้มี (หมายถึง โลกนี้มีคุณเป็นอย่างยิ่ง เหมาะสำหรับใช้สร้างบุญบารมี)
    8. โลกหน้ามี (หมายถึง โลกหน้ามีจริง ตายแล้วไม่สูญ ความเป็นไปของโลกหน้า เป็นผลมาจากโลกนี้)
    9. พวกโอปปาติกะ (ผุดขึ้นเกิด) มี (หมายถึง สัตว์ที่ผุดขึ้นเกิดแล้วโตทันทีมีจริง อาทิเช่น ในภูมิทุคติ ได้แก่ สัตว์นรก เปรต อสุรกาย ในภูมิสุคติ ได้แก่ เทวดา พรหม อรูปพรหม)
    10. สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบจนบรรลุมรรคผลนิพพาน รู้แจ้งเห็นจริงด้วยตนเองแล้วสอนให้ผู้รู้ตามด้วยมีจริง
     
  14. Norlnorrakuln

    Norlnorrakuln เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    3,813
    ค่าพลัง:
    +15,095
    ขออนุโมทนา กับคุณ blackangel [​IMG] ด้วย สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ ขอให้เจริญ
    ในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป (โดยส่วนตัวเราก็มีศรัทธาในธรรมของหลวงพ่อพุธ ฐานิโย เช่นกัน )

    ทางสายกลางคือทางที่ดีที่สุด สำหรับนักเดินทางที่มีจุดหมาย คือ พระนิพพาน
    แต่เป็นทางกันดารสำหรับผู้ปรารถนาในภพ เพราะทางสายเอก หรือทางสายกลางนี้
    มันต้องขึ้นที่สูง คือ มันทวนกระแสกิเลส ทวนกระแสโลกธรรม
    เป็นทางดำเนินของผู้มีความเพียรในธรรมสัมมาปฏิบัติ จะพึงออกจากภพ(แดนเกิด)โดยสวัสดิภาพ
    หาใช้ทางวกไปวนมา หลงทางอยู่ในวัฎฎะสงสารไม่.
    ทางดำเนินนอกพระศาสนา ให้ถึอว่าเป็น ทางสายตรี สายโท ไปแล้วกัน แต่มิใช่สายเอกแน่คือยังพอสร้างบารมีได้อยู่แต่ยังไม่ตรงเป๊ะ (ตอบตามความเข้าใจนะนี่)
     
  15. Numtrn

    Numtrn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    1,408
    ค่าพลัง:
    +1,571
    กลางๆ ท่านว่าคือความพอดี

    แต่บางที่ ความพอดีของเรา กับความพอดีของเขา มันไม่เท่ากัน


    แล้วจะตัดสิน ความพอดี กลางๆ จากตรงไหน ?
     
  16. เลิกตาย

    เลิกตาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2010
    โพสต์:
    213
    ค่าพลัง:
    +416
    ทางที่ประเสริฐที่สุดคือ อริยมรรค
    บทที่ประเสริฐที่สุดคือ บท4 คืออริยสัจ4
    ธรรมที่ประเสริฐที่สุดคือ วิราคะ
    สัตว์สองเท้าที่ประเสริฐที่สุดคือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
     
  17. suriyanvajra

    suriyanvajra Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    281
    ค่าพลัง:
    +67
    ผู้น้อยเอาความพอดีของเรา เพราะผู้ปฏิบัติธรรมเป็นตัวเรา
    หากเอาของเขาก็คงจะเหมาะกับการปฏิบัติของเขา
    ซึ่งไม่แน่จะเหมาะกับตัวเราหรือเปล่า

    แต่ตัวเรานี้ก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ดังนั้นคงต้องหมั่นสังเกตตนเอง
    เอาไปเอามา มันก็คงมีซักวัน ที่พอดีของเราไปพ้องกับพอดีของเขาได้
    และก็คงมีอีกหลายวัน ที่ทั้งเราและเขาเปลี่ยนความพอดีของตนเองไป

    ความพอดีมักเปลี่ยนไปเมื่อมีทุกข์ ดังนั้นการสังเกตตนเองเมื่อมีทุกข์จะทำให้เราได้เข้าใจตนเองมากขึ้น และรู้จักตนเองได้ชัดเจนขึ้นว่าพอดีที่เหมาะสมกับตนนั้นประมาณไหนค่ะ
     
  18. Numtrn

    Numtrn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    1,408
    ค่าพลัง:
    +1,571


    เป็นคำตอบที่ดีมากจริงๆ

    "ความพอดีมักเปลี่ยนไปเมื่อมีทุกข์"


    ตีความได้ว่า ทางสายกลาง มิใช่ การผ่ามันไปตรงๆ โดยไม่สนว่า ขวากหนามอุมสรรคข้างหน้าจะใหญ่เกินตัวของเราหรือไม่

    ทางสายกลาง อาจหมายถึง เส้นทางที่พอเหมาะพอดีกับตัวเรา โดยไม่เกิดทุกข์ คือ เดินหน้าไปด้วยปัญญา


    ก่อนตรัสรู้ พระพุทธเจ้า ท่านเลิกทรมาณกาย






     
  19. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ทางสายกลาง คือไม่ตึงเกินไป ไม่หย่อนเกินไป พอดีๆ

    ถ้าไปเปรียบกับการตั้งสายเครื่องดนตรี

    ถ้าตั้งสายได้ตรงแล้ว เล่นแล้วเสียงออกมาไพเราะ เขาตั้งสายครั้งเดียวพอ

    แล้วบรรเลงไปเรื่อยๆ มันจะไม่เพี้ยน คือรู้ว่าเสียงนี้ใช่ เสียงนี้เพี้ยนถึงจะเรียกว่าตั้งเครื่องเป็น

    พอเล่นไปนานๆ เสียงเริ่มเพี้ยนก็รู้ว่าเพี้ยน ก็รู้ว่าต้องตั้งสายกันใหม่ ให้ถูกต้องตามเดิม

    แต่ถ้าตั้งเครื่องสายไม่เป็น ไม่รู้ว่านี่ตึงนี่หย่อน ไม่รู้ว่าเสียงมันเพี้ยนหรือไม่เพี้ยน

    เล่นไปนานแค่ไหนก็ยังจับต้นชนปลายไม่ถูก ไม่รู้ว่านี้เพี้ยน นี้ตรง ก็ปรับนู่นแต่งนี่

    มันก็ไม่พอดีซะที เปลี่ยนไปเรื่อยๆ หาจุดที่พอดีจริงๆไม่เจอ เล่นยังไงก็ขาดความไพเราะ

    ไม่ก้าวหน้า ไม่มีพัฒนาการ ก็ย่ำรอยเดิม มั่วไปเรื่อยๆ ลองผิดลองถูกกันไปเรื่อยๆ ยังไม่รู้ถูกไม่รู้ผิด

    ****************

    ทางสายกลางจริงๆ มันต้องพอดีในทุกสถานการณ์ ไม่เปลี่ยนไปมาตามเรื่องที่มากระทบ

    อารมณ์ร้อนมากระทบ ใจก็ไม่ร้อนตามไปด้วย

    อารมณ์หดหู่เศร้าเสียใจมากระทบ ใจก็ไม่หลงตามไปด้วย

    สิ่งที่เรารู้ได้ง่ายๆคือ ใจเรายังไม่กลางอย่างแท้จริง เพราะมันยังเป๋ไปเป๋มาตามอารมณ์ที่มากระทบ

    ถ้ามั่นคงในทางสายกลางของตัวเองแล้ว ที่เหลือคือการพิสูจน์ว่า

    ใจเราเป็นกลางจริงในทุกสถานการณ์หรือเปล่า = ทางสายกลาง

    ทางสายกลาง ไม่รู้ว่าจะเป็นทางที่สั้นที่สุดหรือเปล่านะ ต้องลองพิสูจน์ด้วยตัวเอง

    แต่คงจะใช้เวลานานซักหน่อย เพราะต้องหัดเดินทางหลายๆสาย แล้วเอามาเปรียบเทียบกันอีกทีถึงจะรู้

    แต่ถ้ามั่นใจในทางสายกลางแล้ว ไม่สงสัยในทางอื่นๆ ก็คงเดินทางถึงหมายได้เร็ว

    ไม่ต้องเสียเวลาพิสูจน์ในทางอื่นๆ ก็พิสูจน์เฉพาะทางสายกลาง ว่า...

    จะพาไปถึงจุดหมายปลายทางได้โดยสวัสดิภาพ จริงหรือไม่

    *********************

    ไม่ต้องบินให้สูงอย่างใครเขา...
    จงบินเอาเท่าที่เราจะบินไหว
    ท่าที่บินไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร
    แค่บินไปให้ถึงฝัน เท่านั้นพอ

    เครดิต คุณปังตอ<!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ธันวาคม 2011
  20. Numtrn

    Numtrn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    1,408
    ค่าพลัง:
    +1,571
    ใจเราเป็นกลางจริงในทุกสถานการณ์หรือเปล่า = ทางสายกลาง


    มันยากตรงนี้นี่แหละ เพราะ คุณธรรมมักจะเขว เมื่อตัวเราเสียผลประโยชน์

     

แชร์หน้านี้

Loading...