เมื่อ 'พระมหาชนก' เผชิญภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย karan20, 18 พฤศจิกายน 2011.

  1. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379
    [​IMG]


    "บุคคลเมื่อกระทำความเพียร แม้จะตายก็ชื่อว่า ไม่เป็นหนี้ในระหว่างหมู่ญาติ เทวดา และบิดามารดา
    อนึ่ง บุคคลเมื่อทำกิจอย่างลูกผู้ชายย่อมไม่เดือดร้อนในภายหลัง"



    ธรรมะนั้นเราควรระวังการใช้ธรรมะแบบกลับหัวกลับหาง
    คือเอาต้นเป็นปลาย เอาปลายเป็นต้น

    พระพุทธศาสนาสอนให้ยอมรับกฏของความเป็นธรรมดา
    เช่น ยอมรับกฎแห่งกรรม เป็นต้น
    แต่ไม่ใช่ปล่อยชีวิตไปตามยถากรรม

    ธรรมะที่ควรนำมาใช้ก่อน คือ ความไม่ประมาท
    ปัจฉิมโอวาทของพระพุทธองค์ก่อนปรินิพาน คือ
    "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราจักขอเตือนพวกท่านให้รู้ว่า สิ่งทั้งหลายที่เกิดมาในโลก มีความเสื่อมสลายเป็นธรรมดา
    ท่านทั้งหลายจงทำหน้าที่อันเป็นประโยชน์แก่ตน และคนอื่น ให้สำเร็จบริบูรณ์ ด้วยความไม่ประมาทเถิด"

    พูดกันแบบภาษาชาวบ้านก็เหมือนกับคำสั่งเสียก่อนตายของพ่อที่ลูก ๆ ต้องจำใส่ใจ
    ยังประโยชน์ตนเองและผู้อื่นด้วยความไม่ประมาท
    ที่ว่า่ไม่ประมาท ก็คือมีสตินั่นเอง

    ธรรมะมีทั้ง ธรรมะสำหรับโลก หรือโลกียะ
    และธรรมะสำหรับเพื่อพ้นไปจากโลก หรือโลกุตตระ ต้องเลือกใช้ให้เหมาะ

    การปลงอนิจจังนี้เป็นหนึ่งในไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    ใช้เจริญวิปัสสนาเพื่อการหลุดพ้นไปจากโลก อันเป็นจุดหมายปลายทาง

    แต่ธรรมะสำหรับโลก หรือการมีชีวิตในโลก ต้องทำความเพียร ทำประโยชน์ก่อน
    ในมรรค 8 มีองค์ที่เรียกว่า สัมมาวายามะ คือมีความเพียรที่ถูกต้อง หรือความเพียรชอบ
    (แสดงว่าความเพียรมี 2 แบบ คือความเพียรที่ถูกต้องและไม่ถูกต้องด้วย)

    ความเพียรชอบ หรือความเพียรที่ถูกต้องเป็นอย่างไร

    ในระดับโลกียะคือความเพียรในการทำกิจการงานต่างๆ
    ครั้นเมื่อพยายามเต็มที่แล้วจึงคิดว่า 'อะไรจะเกิดก็ต้องทำใจ'
    เช่นนี้จึงเรียกว่ามีความเพียรชอบ ย่อมไม่มีเรื่องร้อนใจในภายหลัง
    เพราะมีความเพียรพยายามโดยธรรม เช่นดังคำกล่าวที่พระมหาชนกมีต่อมณีเมขลาเทพธิดา



    พระมหาชนกพิจารณาดูท้องฟ้าและคลื่นลม
    (เทียบได้กับการวิเคราะห์สถานการณ์)
    ท่านมีสติ และเตรียมพร้อมเช่น เสวยน้ำตาลกรวดคลุกเนยจนอิ่มท้อง
    (เทียบได้กับการเตรียมเสบียงอาหาร)
    เอาผ้าชุบน้ำมันพันตัวเพื่อการลอยตัว
    (เทียบได้กับการเตรียมตัว เตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์เพื่อการลอยตัว)
    ปีนขึ้นเสากระโดงเรือ แล้วกำหนดทิศ แล้วกระโจนออกไปไกลจนพ้นฝูงสัตว์ร้ายในน้ำ
    (เทียบได้กับการออกจากพื้นที่เสี่ยงภัย มุ่งสู่ทิศที่ปลอดภัย)
    จากนั้นก็ทำความเพียรว่ายน้ำไปแม้ไม่เห็นฝั่ง
    เมื่อถึงจุดนี้ต่างหากจึงค่อยคิดว่า 'อะไรจะเกิดก็ต้องทำใจ'




    พระมหาชนกนั้น ทรงเพียรแหวกว่ายอยู่ในมหาสมุทร
    จนถึงวันที่ ๗ ได้ทรงสังเกตเห็นพระจันทร์เต็มดวง ก็ทรงรู้ว่าวันนี้เป็นวันอุโบสถ
    จึงใช้น้ำทะเลบ้วนพระโอษฐ์ และทรงสมาทานอุโบสถศีล


    ในวันนั้น นางมณีเมขลาได้มาตรวจตรามหาสมุทร
    ก็เห็นพระมหาชนกโพธิสัตว์ กำลังทรงแหวกว่ายอยู่กลางมหาสมุทรจึงคิดว่า
    “ถ้าพระมหาชนกสิ้นพระชนม์ในมหาสมุทร เราจะมีความผิดอย่างมหันต์”
    จึงรีบเหาะมาสถิตอยู่ในอากาศ เหนือท้องมหาสมุทรตรงที่พระโพธิสัตว์กำลังว่ายน้ำอยู่


    นางเกิดความอัศจรรย์ใจ ว่าแม้ฝั่งก็มองไม่เห็น แล้วพระองค์จะว่ายไปทำไม จึงถามว่า
    “ใครหนอ แม้จะแลไม่เห็นฝั่งก็ยังพยายามว่ายอยู่ท่ามกลางมหาสมุทร
    ท่านเห็นประโยชน์อะไรจึงพยายามว่ายอยู่อย่างนี้”

    พระโพธิสัตว์ จึงตรัสตอบว่า
    “เราเห็นปฏิปทาของโลกและอานิสงส์แห่งความเพียร จึงพยายามเรื่อยไป
    หากไม่พากเพียรแล้วจะพบความสำเร็จได้อย่างไร”


    นางมณีเมขลาได้ฟังความตั้งใจอันแน่วแน่ของพระโพธิสัตว์แล้ว ก็อัศจรรย์
    เกิดกำลังใจใคร่จะฟังธรรมมากพระโพธิสัตว์ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป จึงถามต่ออีกว่า
    “มหาสมุทร ลึกจนประมาณไม่ได้ แม้ฝั่งก็ไม่ปรากฏ
    ความพยายามอย่างลูกผู้ชายของท่านทำไปก็เปล่าประโยชน์
    ไม่ทันถึงฝั่งท่านก็จะต้องตายอย่างแน่นอน ท่านจะเพียรพยายามไปทำไมกัน”


    พระมหาชนกตรัสว่า
    “ท่านพูดอะไรอย่างนั้น เราทำความพยายาม แม้จะตายก็พ้นคำครหา
    บุคคลเมื่อกระทำความเพียร แม้จะตายก็ได้ชื่อว่า ไม่เป็นหนี้ในระหว่างหมู่ญาติ กับทั้งบิดามารดาและเทวดา
    อนึ่ง บุคคลเมื่อทำกิจอย่างลูกผู้ชาย ย่อมไม่เดือดร้อนใจในภายหลัง
    ดูก่อนเทพธิดา บุคคลเมื่อทำความเพียร แม้จะตายก็ไม่เป็นหนี้
    ย่อมไม่ถูกติเตียนในระหว่างหมู่ญาติ แม้เทวดาและพรหมก็สรรเสริญ”


    เทพธิดากล่าวแย้งว่า “ท่านมหาบุรุษ การงานอันใด แม้ทุ่มเทจนสุดกำลังแล้ว ก็ยังไม่บรรลุผลสำเร็จ
    การงานนั้นก็นับว่าไร้ผล เป็นความสูญเสียเปล่า ไม่เกิดประโยชน์
    การทำความพยายามในฐานะอันไม่สมควรจนตัวเองต้องตาย
    ความพยายามนั้นจะมีประโยชน์อะไร”


    พระมหาชนกได้สดับแล้ว เมื่อจะทรงยืนยันว่าความเพียรเป็นสิ่งที่ควรทำ
    แม้ชีวิตจะวอดวายไปก็ตาม จึงตรัสต่อไปว่า
    “ดูก่อนนางเทพธิดา ผู้ใดรู้แจ้งว่าการงานที่ทำจะไม่ลุล่วงไปได้
    ถ้าผู้นั้นละความเพียรนั้นเสีย ก็ชื่อว่าไม่รักษาชีวิตของตน
    พึงรู้เถิดว่า นั่นเป็นผลแห่งความเกียจคร้านโดยแท้


    ดูก่อนเทพธิดา คนบางพวกในโลกนี้ มองเห็นผลแห่งความประสงค์ของตน
    จึงประกอบการงานทั้งหลาย ไม่ว่าการงานเหล่านั้นจะสำเร็จหรือไม่ก็ตาม


    ดูก่อนเทพธิดา ท่านก็เห็นประจักษ์แก่ตนแล้วมิใช่หรือ
    คนอื่นๆ จมลงในมหาสมุทรหมดแล้ว มีแต่เราคนเดียวยังว่ายอยู่
    ก็เพราะความเพียรพยายามนี้เอง จึงทำให้เราได้เห็นท่านซึ่งมาสถิตอยู่ใกล้ๆ
    เรานั้นจักพยายามอย่างสุดความสามารถ จะทำความเพียรที่บุรุษควรทำ เพื่อไปถึงฝั่งแห่งมหาสมุทรนี้ให้จงได้”


    เทพธิดาได้สดับพระวาจาที่เต็มไปด้วยความมุ่งมั่นของพระโพธิสัตว์
    ก็รู้สึกอัศจรรย์ในหัวใจที่ปราศจากความย่อท้อของพระมหาชนก
    นึกเลื่อมใสในคำภาษิตของพระองค

    จึงกล่าวสรรเสริญ พร้อมทั้งเชื้อเชิญให้ขึ้นจากมหาสมุทรว่า
    “ท่านใดถึงพร้อมด้วยความพยายามโดยธรรม
    ด้วยกิจคือความเพียรของบุรุษ ไม่ยอมจมลงในห้วงมหรรณพซึ่งกว้างใหญ่ประมาณมิได้เห็นปานนี้
    ท่านนั้นจงไปยังสถานที่ที่ท่านชอบใจเถิด”


    เราจะเห็นได้ว่าผู้มีความเพียรอย่างแท้จริงนั้น
    แม้ทอดสายตาออกไป จะไม่เห็นขอบฝั่งแห่งทะเล
    แต่จิตใจของท่านก็ไม่ท้อแท้ เมื่อรู้ว่าทะเลย่อมมีฝั่ง จึงคิดแต่จะว่ายไปให้ถึงฝั่งให้ได้



    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 พฤศจิกายน 2011
  2. diya

    diya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มกราคม 2010
    โพสต์:
    1,950
    ค่าพลัง:
    +13,031
    ขออนุโมทนาค่ะพี่ karan นำสาระดีๆ มากระตุกต่อมกันล่ะ
     
  3. diya

    diya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มกราคม 2010
    โพสต์:
    1,950
    ค่าพลัง:
    +13,031
    พี่karan คะ สิ่งที่พระมหาชนกกระทำความเพียรนั้น คือเมื่อกำลังจะเกิดเหตุการณ์ขึ้นตรง ณ ขณะปัจจุบันใช่มั้ยคะ diya กำลังสงสัยและเปรียบเทียบว่า ถ้า ณ ขณะนี้พระมหาชนกอยู่กรุงเทพ มีครอบครัวอยู่กรุงเทพ เกิดที่กรุงเทพ มีหน้าที่การงานที่กรุงเทพ ทำงานในสายวิชาที่ร่ำเรียนมา ไม่มีญาติพี่น้องที่ทางอีสาน ไม่ได้เคยไปกราบไหว้ครูบาอาจาร์ยมาก่อนในชีวิต เมื่อพระมหาชนกได้เริ่มตระหนักรู้ถึงภัยพิบัติที่จะเกิดมีขึ้นในภายภาคหน้า พระมหาชนกจะต้องสร้างความเพียรกระทั่งว่าดั้นด้นมุ่งมั่นไปหาทำเลที่อยู่แห่งหนใหม่ ไปหาหน้าที่การงานใหม่ หรือไปได้ทำเลที่แห่งใหม่ก็ไปใช้ชีวิตเป็นเกษตรกรหรืออะไรก็ตามแต่ ทั้งที่ตลอดชีวิตพระมหาชนกไม่เคยผ่านกระบวนเหล่านั้นมาก่อนเลย เช่นนั้นหรือคะ ไปสร้างบ้านแห่งใหม่ทั้งที่ทุนรอนก็ไม่ได้มีมากมาย เพราะชีวิตในกรุงเทพบีบให้ต้องได้มาและใช้ไป อพยพครอบครัวย้ายไปจากถิ่นกำเนิดมาที่เชื่อแน่ว่า ไม่รอดแล้วงานนี้ เหล่านี้หรือคะจึงจะเรียกได้ว่า ครบองค์คุณความเพียร (ทางโลก) แค่ไหนเพียงไรจึงจะพอตอบได้ว่า

    เราได้สร้างความเพียรเพียงพอแล้ว เราไม่ใช่ผู้ประมาท

    ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในจิตที่เป็นกุศลอีกครั้งค่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤศจิกายน 2011
  4. นูร์

    นูร์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +36


    พระโพธิสัตว์ จึงตรัสตอบว่า

    “เราเห็นปฏิปทาของโลกและอานิสงส์แห่งความเพียรจึงพยายามเรื่อยไป
    หากไม่พากเพียรแล้วจะพบความสำเร็จได้อย่างไร”


    นางมณีเมขลาได้ฟังความตั้งใจอันแน่วแน่ของพระโพธิสัตว์แล้ว ก็อัศจรรย์
    เกิดกำลังใจใคร่จะฟังธรรมมากพระโพธิสัตว์ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป จึงถามต่ออีกว่า
    “มหาสมุทร ลึกจนประมาณไม่ได้ แม้ฝั่งก็ไม่ปรากฏ
    ความพยายามอย่างลูกผู้ชายของท่านทำไปก็เปล่าประโยชน์
    ไม่ทันถึงฝั่งท่านก็จะต้องตายอย่างแน่นอน ท่านจะเพียรพยายามไปทำไมกัน”

    พระมหาชนกตรัสว่า
    “ท่านพูดอะไรอย่างนั้น เราทำความพยายาม แม้จะตายก็พ้นคำครหา
    บุคคลเมื่อกระทำความเพียร แม้จะตายก็ได้ชื่อว่า ไม่เป็นหนี้ในระหว่างหมู่ญาติ กับทั้งบิดามารดาและเทวดา
    อนึ่ง บุคคลเมื่อทำกิจอย่างลูกผู้ชาย ย่อมไม่เดือดร้อนใจในภายหลัง
    ดูก่อนเทพธิดา บุคคลเมื่อทำความเพียร แม้จะตายก็ไม่เป็นหนี้
    ย่อมไม่ถูกติเตียนในระหว่างหมู่ญาติ แม้เทวดาและพรหมก็สรรเสริญ”

    เทพธิดากล่าวแย้งว่า “ท่านมหาบุรุษ การงานอันใด แม้ทุ่มเทจนสุดกำลังแล้ว ก็ยังไม่บรรลุผลสำเร็จ
    การงานนั้นก็นับว่าไร้ผล เป็นความสูญเสียเปล่า ไม่เกิดประโยชน์
    การทำความพยายามในฐานะอันไม่สมควรจนตัวเองต้องตาย
    ความพยายามนั้นจะมีประโยชน์อะไร”

    พระมหาชนกได้สดับแล้ว เมื่อจะทรงยืนยันว่าความเพียรเป็นสิ่งที่ควรทำ
    แม้ชีวิตจะวอดวายไปก็ตาม จึงตรัสต่อไปว่า
    “ดูก่อนนางเทพธิดา ผู้ใดรู้แจ้งว่าการงานที่ทำจะไม่ลุล่วงไปได้
    ถ้าผู้นั้นละความเพียรนั้นเสีย ก็ชื่อว่าไม่รักษาชีวิตของตน
    พึงรู้เถิดว่า นั่นเป็นผลแห่งความเกียจคร้านโดยแท้

    ดูก่อนเทพธิดา คนบางพวกในโลกนี้ มองเห็นผลแห่งความประสงค์ของตน
    จึงประกอบการงานทั้งหลาย ไม่ว่าการงานเหล่านั้นจะสำเร็จหรือไม่ก็ตาม

    ดูก่อนเทพธิดา ท่านก็เห็นประจักษ์แก่ตนแล้วมิใช่หรือ
    คนอื่นๆ จมลงในมหาสมุทรหมดแล้ว มีแต่เราคนเดียวยังว่ายอยู่
    ก็เพราะความเพียรพยายามนี้เอง จึงทำให้เราได้เห็นท่านซึ่งมาสถิตอยู่ใกล้ๆ
    เรานั้นจักพยายามอย่างสุดความสามารถ จะทำความเพียรที่บุรุษควรทำ เพื่อไปถึงฝั่งแห่งมหาสมุทรนี้ให้จงได้”
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 พฤศจิกายน 2011
  5. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379
    " มีสติ " คำนี้อีกแล้ว....
    ในช่วงที่ประเทศกำลังประสบภัยพิบัติ
    เราได้ยินบ่อย ๆ ว่า "ขอให้ประชาชนมีสติ" แต่จะมีสักกี่คนเข้าใจ
    คำว่า "สติ" ของพระพุทธเจ้า นั้นหมายถึง "มีความรู้ตัว...รู้ตามจริง...ไ<wbr>ม่เผลอ...ไม่ประมาท"
    ไม่ใช่เพียงแปลว่า ใจเย็นๆ อย่าตกใจ


    เมื่ออยู่ในเรือลำเดียวกับผู้คนที่ต่างก็พยายามประคับประคองฝ่าคลื่นน้ำและลมพายุฝน
    ภัยอันตรายต่างรายล้อมทำเรือสะทือนไปตลอดลำ น้ำทะลักเข้ามามากมาย
    ไม่ว่าคนดีหรือคนเลวย่อมได้รับความกระทบกระเทือนไปตามกัน
    แต่พระอริยะเจ้าเหล่า ๆ นั้น ท่านต่างมีสติ ระลึกถึงพระรัตนตรัย ระลึกถึงศีลที่ตนรักษาบริสุทธิ์
    ไม่ประมาทต่อความตาย ใจจึงอาจไม่กระเทือนไปตามเรือ



    [​IMG]


    ในพระราชนิพนธ์พระมหาชนก
    แม้ขณะพระมหาชนกท่านกำลังว่ายน้ำกลางมหาสมุทร และว่ายน้ำมาแล้วถึง 7 วัน
    เมื่อทราบว่าเป็นวันวันอุโบสถ (วันพระ) ท่านก็สมาทานศีล 8
    แสดงให้เห็นว่าท่านย่อมมีศีล 5 เป็นปกติ และสมาทานศีล 8 ในวันพระ

    ในวันนั้น นางมณีเมขลาได้มาตรวจตรามหาสมุทร
    ก็เห็นพระมหาชนกโพธิสัตว์ กำลังทรงแหวกว่ายอยู่กลางมหาสมุทรจึงคิดว่า
    “ถ้าพระมหาชนกสิ้นพระชนม์ในมหาสมุทร เราจะมีความผิดอย่างมหันต์”

    ท่านผู้อ่านสงสัยหรือไม่ว่าจะมีความผิดมหันต์เพราะอะไร

    เรื่องนี้หลวงพ่อพระราชพรหมยาน หรือหลวงพ่อฤาษีวัดท่าซุง ท่านเล่าว่า
    วันอุโบสถพระมหาชนกก็กำหนดสมาทานอุโบสถศีลในน้ำ
    บ้วนปากเพราะเกรงว่าเศษอาหารในปากมันจะมีอยู่
    บ้วนปากจากน้ำทะเล แล้วก็สมาทานอุโบสถในใจ ตั้งใจรักษาอุโบสถ
    วันนั้นเป็นวันพอดีที่นางมณีเมขลามีหน้าที่รักษาทะเล หรือมีหน้าที่รักษามหาสมุทร
    ก็
    ได้รับคำสั่งจากท้าวเวสสุวัณ ถ้าบุคคลใดที่เรือล่มจมคว่ำแตก ลอยน้ำอยู่
    ถ้าบุคคลนั้นประกอบไปด้วยความดี มีกุศลจิตเป็นประจำ
    นางมณีเมขลาต้องช่วยบุคคลนั้นให้พ้นจากอันตราย ถ้าไม่ช่วยจะมีโทษ
    อ้างอิง

    หลวงพ่อหลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ (ศิษย์หลวงพ่อพระราชพรหมยาน) เทศนาว่า
    พวกเรามีคุณพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึก
    บุคคลที่มั่นคงในคุณพระศรีรัตนตรัยจริง ๆ จะไม่เป็นอันตรายด้วยอุบัติเหตุต่าง ๆ ยกเว้นว่าหมดอายุขัย
    และอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า ท้าวจาตุมหาราช ท่านเคยให้พรไว้ว่า
    "บุคคลใดก็ตาม ถ้าตั้งใจปฏิบัติเพื่อความเป็นพระโสดาบันขึ้นไป ท่านจะตามคุ้มครองตลอดชีวิต"

    พวกเราดีในเรื่องที่ว่า ขณะทำสิ่งที่เป็นกองบุญการกุศลแล้ว
    เราก็อุทิศส่วนกุศลให้กับเทพเจ้าที่ปกปักษ์รักษาพวกเรา
    เทพเจ้าทั่วสากลพิภพ ตลอดจนพระยายมราช
    ก็แปลว่าเราต่อสายสัมพันธ์ มีการเชื่อมโยงถึงท่านอยู่ตลอดเวลา
    อย่างไรเสียถ้าถึงเวลาท่านก็ไม่ทิ้งเราแน่ "
    อ้างอิง 1 อ้างอิง 2

    เป็นอันว่าแม้จะยังไม่ได้บรรลุโสดาบัน เพียงแต่มีความตั้งใจจริงจังปฏิบัติเพื่อพระโสดาบัน (โสดาปฏิมรรค)
    คือเป็นผู้กำลังย่างเท้าก้าวไปสู่ความเป็นพระโสดาบัน ก็จะมีเทวดาปกปักษ์รักษา

    ท่านที่เชื่อเรื่องภัยพิบัติใหญ่ที่อาจมีในอนาคต
    และได้ยินได้อ่านคำเตือนของครูบาอาจารย์หลายท่านผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
    นอกจากคำเตือนล่วงหน้าถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ทั้งหลาย
    ท่านผู้อ่านเคยสังเกตจดจำในตอนท้ายของคำเตือนต่าง ๆ เหล่านั้นหรือไม่
    ส่วนใหญ่ท่านต่างบอกตรงกันว่า ผู้มีความดี มีศีลบริสุทธิ์ จะรอดปลอดภัย อ้างอิง

    หากวันใดภัยอันตรายร้ายแรงจนถึงที่สุด
    ทั้งที่เราเพียรพยายามแล้วอย่างเต็มที่ตามกำลังและสติปัญญา
    ท่านผู้อ่านจะเป็นผู้ที่อาจหาญกล้าพอจะประกาศ ต่อเทพ พรหม เทวดา นางฟ้าทั้งหลายหรือไม่ว่า
    " เราเป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้า เราเป็นลูกพระตถาคต เรามีศีล 5 บริสุทธิ์์
    ภยันอันตรายทั้งหลายเหล่านี้จะมีแก่เราไม่ได้
    "

    การยอมรักษาศีลนั้น อันที่จริงคือการยอมให้ศีลรักษาเรา

    ในเวลานั้นต่อให้เราหมดอายุขัยถึงกาลมรณะจริง ๆ อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
    หากเราตายในขณะทรงความเป็นพระโสดาบันเราก็มีที่หวังคือพระนิพพาน
    หรืออย่างเลวที่สุดเราก็ไปพักที่สวรรค์หรือพรหม ส่วนอบายภูมินั้นไม่มีสำหรับเรา
    ขึ้นไปรอพระศรีอาริยเมตไตรยมาโปรดจนบรรลุเป็นพระอรหันต์เข้าพระนิพพานขณะอยู่บนสวรรค์หรือพรหมนั้นเอง
    ไม่ต้องกลับมาเป็นมนุษย์อีก ไม่มีภัยพิบัติและการตายอีกต่อไปสำหรับเรา
    พ้นจากภัยพิบัติในวัฏฏะอันน่าสงสารอย่างถาวรตลอดกาล



    คัดลอกข้อความบางส่วนจาก
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 9)


    .
     
  6. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379

    เป็นคำถามสำคัญทีเดียวครับ

    ถ้าผู้เขียนจะตอบอะไรออกไปก็จะมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและผู้ที่ไม่เห็นด้วย
    เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องของความรู้สึกและบารมี (บารมีแปลว่ากำลังใจ)
    โดยเฉพาะที่ถามว่า
    "แค่ไหนเพียงไรจึงจะพอตอบได้ว่า
    เราได้สร้างความเพียรเพียงพอแล้ว เราไม่ใช่ผู้ประมาท"

    คำว่า 'พอ' นี่ตอบยากครับ
    เพราะ 'พอ' ของแต่ละคนไม่เท่ากัน
    พระโสดาบัน ท่านก็อาจจะ 'พอ' ในระดับหนึ่ง
    พระอนาคามี ท่านก็อาจจะ 'พอ' ในระดับหนึ่ง
    พระอรหันต์ ท่านก็อาจจะ 'พอ' ในระดับหนึ่ง
    พระโพธิสัตว์ ท่านก็อาจจะ 'พอ' ในระดับหนึ่ง

    พระโสดาบัน พระโพธิสัตว์ ยังแบ่งบารมี แบ่งระดับออกไปอีก


    สิ่งที่ต้องระวังคือผู้ที่ประมาทแล้วยังประกาศปฏิปทาของตัวเองคล้ายเป็นพระอรหันต์
    ตัวอย่างเช่น คนที่เคยไม่เชื่อเรื่องภัยพิบัติ
    เมื่อเราเตือนไป บางทีกลับมาสอนให้เรามีสติ บอกเราอีกว่า "อะไรจะเกิดมันก็ต้องเกิด"
    พูดเหมือนเขานั้นปล่อยวางแล้ว ปลงได้ทุกอย่าง
    แต่พอเมื่อมาเจอภัยพิบัติย่อย ๆ เช่นน้ำท่วมอย่างตอนนี้
    ถึงกับมีอาการเครียดอย่างเห็นได้ชัด วิตกจริตมาก ที่ประสบภัยแล้วบางคนก็ฟูมฟาย


    คำถามที่ว่า
    "แค่ไหนเพียงไรจึงจะพอตอบได้ว่า เราได้สร้างความเพียรเพียงพอแล้ว เราไม่ใช่ผู้ประมาท"
    เป็นคำถามสำคัญครับ เข้าใจถามพร้อมยกสถานการณ์สมมติอีกด้วย
    ถามกันแบบนี้ เหมือนจะถามหาเฉลยข้อสอบกันเลยทีเดียว ^___^

    ต่อให้เป็นข้อสอบแบบปรนัย (คือมีตัวเลือกให้กา) ก็ยังหาคำเฉลยที่ตรงใจคนถามยาก
    แล้วนี่เป็นข้อสอบแบบอัตนัย (เขียนตอบแบบไม่มีตัวเลือก)
    คงต้อง 'อัตตาหิ อัตโนนาโถ' แล้วกระมัง ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนนะ

    เพราะสิ่งที่เรียนมาเรียกว่า 'ปริยัติ' ที่เราต้อง 'ประยุกต์' เองเพื่อ 'ปฏิบัติ'
    และ 'ความตาย' คือการสอบใหญ่ครั้งสำคัญ
    แต่พวกเราในยุคนี้อาจจะโชคดีหน่อยที่มีภัยพิบัติคอยมาเตือนว่าการสอบใกล้เข้ามาแล้ว
    ในขณะที่คนในยุคอื่นอาจเพลิดเพลินกับชีวิตจนหลงลืมความตาย

    อย่างไรก็ตามอย่าลืมว่าเราอาจตายก่อนมีภัยพิบัติก็ได้
    อย่างไรก็ตามอย่าลืมว่าแม้รอดจากภัยพิบัติ เราก็ตายอยู่ดี
    ตายหมดทั้งโลก เกิดมาเท่าไหร่ก็ตายเท่านั้น ทุกคนต้องตาย ตายหมดไม่มีใครเหลือ
    แม้โลกนี้ในที่สุดก็ต้องแตกสลายตัวไป ไม่มีอะไรเหลือและไม่มีอะไรจะเหลือ


    คำถามที่ว่า
    "แค่ไหนเพียงไรจึงจะพอตอบได้ว่า เราได้สร้างความเพียรเพียงพอแล้ว เราไม่ใช่ผู้ประมาท"
    คำตอบอาจไม่ใช่คำตอบแบบเสื้อผ้าสำเร็จรูป
    แต่น่าจะเป็นคำตอบแบบเสื้อผ้าสั่งตัดตามขนาดกำลังใจของแต่ละบุคคล

    สมมติว่าแนะนำให้อพยพ แต่ละคนก็จะคิดต่างกัน
    คนไม่อยากอพยพอาจจะคิดว่า
    บางคนบอกว่าอพยพไม่ได้หรอก โรงงานกิจการของเขามีอยู่มากมาย
    บางคนบอกว่า เขาไม่มีทรัพย์สินอะไรเลยหรือมีน้อย จะไปได้อย่างไร
    บางคนบอกว่ามีเด็กและคนแก่อพยพไม่ได้หรอก
    ส่วนคนอยากจะอพยพอาจจะคิดว่า
    บางคนก็บอกว่างั้นเดี๋ยวเขาจะขายทรัพย์สินกิจการ หรือแบ่งออกกระจายทรัพย์สินไปไว้ในที่ปลอดภัยแล้วอพยพ
    บางคนก็บอกว่าสบายมากเลยเพราะตอนนี้ไม่มีทรัพย์สินอะไร อพยพได้เลย
    บางคนบอกว่าเขามีเด็กและคนแก่ ต้องรีบคิดหาทางเตรียมอพยพแล้ว

    พิจารณาดูแบบนี้แล้วเห็นว่า คนเรามักจะมีเหตุผลมาสนับสนุนในสิ่งที่ตัวเองอยากทำ

    ถ้าเป้าหมายเราใหญ่พอ อุปสรรคจะเป็นเรื่องเล็ก

    แต่ถ้าเป้าหมายเล็ก อุปสรรคจะเป็นเรื่องใหญ่
    เราลองถามตัวเราดูว่าอยากจะรอดจากภัยพิบัติไปเพื่ออะไร ? เป้าหมายคืออะไร

    เพราะกลัวสูญเสียทรัพย์สิน ครอบครัวและคนรัก
    เพราะอยากให้วงศ์ตระกูลของเราสืบต่อไป
    เพราะอยากจะมีโอกาสเป็นกำลังสำคัญให้บ้านเมือง
    เพราะอยากช่วยงานพระโพธิสัตว์หรือพระเจ้าจักรพรรดิ
    เพราะอยากอยู่ช่วยงานพระศาสนา
    (หลวงพ่อฤาษีวัดท่าซุง ท่านเคยพูดประมาณว่า...อย่าลืมว่าไม่มีชาวบ้าน ตายกันหมด พระก็อดนะ) ^_^

    ผู้เขียนคิดว่าส่วนใหญ่เราจะมีหลาย ๆ ความรู้สึกปนกัน
    แต่มันอาจจะมีความรู้สึกหนึ่งที่ใหญ่กว่า หนักแน่นกว่าความรู้สึกอื่น

    ถ้าอยากรอดจากภัยพิบัติเพราะกลัวสูญเสียทรัพย์สินและพลัดพรากจากครอบครัวและคนรัก
    แบบนี้จะตัดสินใจลำบาก เพราะถ้าอพยพก็ต้องสูญเสียทรัพย์สิน (บางส่วน)
    และพลัดพรากจากครอบครัวและคนรัก (บางส่วน)
    หากจะอยู่รอภัยพิบัติก็อาจต้องสูญเสียทรัพย์สินและพลัดพรากจากครอบครัวและคนรัก
    จึงตัดสินใจอะไรไม่ถูก เพราะกลัวการสูญเสีย
    ไม่ว่าจะตัดสินใจอย่างไร สุดท้ายก็ต้องสูญเสียอยู่ดี
    และไม่ว่าอย่างไร ถึงในที่สุดเมื่อต้องตาย ก็สูญเสียอยู่ดี

    หากเรามาลองคิดดูดี ๆ บางทีก็สงสัยว่าเราต้องสูญเสียแบบนี้มาแล้วกี่อสงไขย
    และยังจะต้องสูญเสียแบบนี้ต่อไปอีกกี่ชาติ หากเรายังไม่เข้าสู่พระนิพพาน

    ถ้าเป้าหมายเราใหญ่พอ อุปสรรคจะเป็นเรื่องเล็ก
    ถ้าเป้าหมายเป็นไปเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม
    เช่น อยากอยู่ช่วยงานพระศาสนาหรืออยากช่วยงานพระโพธิสัตว์หรือพระเจ้าจักรพรรดิ
    หากเป้าหมายเป็นแบบนี้ เชื่อว่าอุปสรรคต่าง ๆ ย่อมเป็นเรื่องเล็ก

    การบรรลุุหรือทรงอารมณ์แบบพระโสดาบันเป็นขั้นต่ำจึงมีความสำคัญ
    เพื่อเตรียมตัวเตรียมใจก่อนภัยพิบัติ ขณะที่มีภัยพิบัติ และหลังจากภัยพิบัติ (ถ้าหากรอด)
    พระโสดาบันที่มีกำลังใจหนักแน่นตั้งใจจะไปพระนิพพานนั้น
    ย่อมคิดถึงความตายและเห็นว่าเราเป็นผู้ไม่มีอะไร
    ทรัพย์ที่มีอยู่ก็ใช้ไปรักษาไว้ไม่ได้ละทิ้ง แต่ก็พร้อมจะสละเมื่อมีเหตุสมควร
    จิตใจของพระโสดาบันหวั่นไหวได้ แต่ก็สงบได้ในที่สุด
    เพราะมีพระรัตนตรัยและพระนิพพานเป็นที่พึ่งที่ระลึก

    การอพยพไม่ใช่คำตอบสำหรับทุกคน
    บางคนก็มีความเพียรที่จะไม่อพยพ เขาก็หาทางป้องกันแก้ไขกันไป
    บางคนก็มีความเพียรที่จะอพยพ เขาก็เตรียมการกันไป
    แต่ละคนมีเป้าหมายในชีวิตต่างกัน แต่สุดท้ายตายเหมือนกัน




    คำถามที่ว่า
    "แค่ไหนเพียงไรจึงจะพอตอบได้ว่า เราได้สร้างความเพียรเพียงพอแล้ว เราไม่ใช่ผู้ประมาท"
    คำตอบ อาจจะไม่ใช่ว่าต้องทำอย่างไร หรือต้องได้ผลอย่างไร
    เพราะความเพียรแบบพระมหาชนกนั้น แม้ไม่มีผลเป็นความสำเร็จก็ยังมีความเพียร
    ด้วยว่าความเพียรนั่นล่ะเป็นความสำเร็จ มีผลเสร็จอยู่ในตัวของมันเอง

    แม้ไม่มีผลเป็นความสำเร็จ แต่จะว่าไม่มีผลเลยก็ไม่ได้
    เพราะความเพียรจะเป็นบารมีติดตามไป
    ท่านจิตโตท่านสอนประมาณว่า....
    บารมีทางโลกกับบารมีทางธรรมนั้นใช้อารมณ์เดียวกัน เพียงแต่เป้าหมายต่างกัน

    ดังนั้นเมื่อเรามีความเพียร ไม่ว่าสุดท้ายผลจะเป็นอย่างไร
    แต่ความเพียรจะเป็นบารมีติดตามเราไป
    ในที่สุดก็เปลี่ยนเป้าหมายของความเพียร เป็นความเพียรเพื่อพระนิพพาน



    สิ่งที่ระวังคือ 'ฟุ้งในความเพียร'
    คือมีความเพียรแต่ไม่ยอมรับกฏของความเป็นธรรมดา


    บอกแล้วว่าตอบให้ถูกใจยากนะ....
    เพราะมันเป็นเรื่องของความรู้สึกและกำลังใจ



    (สถานการณ์สมมติตามที่ท่านถามมา)
    ถ้า ณ ขณะนี้พระมหาชนกอยู่กรุงเทพ มีครอบครัวอยู่กรุงเทพ เกิดที่กรุงเทพ มีหน้าที่การงานที่กรุงเทพ
    ทำงานในสายวิชาที่ร่ำเรียนมา ไม่มีญาติพี่น้องที่ทางอีสาน
    ไม่ได้เคยไปกราบไหว้ครูบาอาจาร์ยมาก่อนในชีวิต

    เมื่อพระมหาชนกได้เริ่มตระหนักรู้ถึงภัยพิบัติที่จะเกิดมีขึ้นในภายภาคหน้า
    พระมหาชนกจะต้องสร้างความเพียรกระทั่งว่าดั้นด้นมุ่งมั่นไป
    เริ่มศึกษาวิชาอื่น ๆ บ้างได้แล้วมั้ง ทำอาหาร นวดไทย
    การเกษตรแบบพอเพียง สร้างบ้านดิน มีสอนฟรีหรือเก็บเงินไม่กี่ร้อยบาทก็มี
    คนต่างจังหวัด เวลาเข้ามาทำงานกรุงเทพ ก็ต้องหัดภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ เขายังทำได้
    ถามเพื่อน ๆ สิ ว่าใครมาจากต่างจังหวัดบ้าง ถ้าไม่มีก็หาเพื่อนใหม่บ้าง
    ไปทำกิจกรรมจิตอาสาก็มีเพื่อน เพื่อนในเว็บก็มี ไม่มีเงินเราก็ขอออกแรง
    เริ่มไปกราบไหว้พระบ้างก็ดี ลองทำตัวเองให้เป็นพระ
    ขั้นต่ำคือทรงอารมณ์พระโสดาบัน
    พระมหาชนกนี่ท่านสมาทานศีล 8 ในวันพระนะ
    แสดงว่าปกติท่านต้องทรงศีล 5 เป็นปกติ


    1.(เป้าหมาย) หาทำเลที่อยู่ แห่งหนใหม่ ไปหาหน้าที่การงานใหม่
    หรือไปได้ทำเลที่แห่งใหม่ก็ไปใช้ชีวิตเป็นเกษตรกรหรืออะไรก็ตามแต่
    (อุปสรรค)ทั้งที่ตลอดชีวิตพระมหาชนกไม่เคยผ่านกระบวนเหล่านั้นมาก่อนเลย เช่นนั้นหรือคะ
    ลองนึกถึงคนต่างจังหวัดที่เข้ามาทำงานในเมืองกรุงนะ
    ไม่มีบ้าน ไม่มีญาติ ไม่เคยใช้ชีวิตในเมือง

    ไม่ต้องดูไกลถึงพระมหาโพธิสัตว์ในอดีตก็ได้
    ดูพระมหาโพธิสัตว์ปัจจุบันนี่ล่ะ
    ท่านเป็นพระเจ้าแผ่นดินนะ แต่ลำบากลำบนไปถิ่นทุรกันดารยิ่งกว่าเรา
    นั่นขนาดพระเจ้าแผ่นดินนะ ผู้เขียนรู้สึกว่าตัวเรานี่ไม่ได้เศษของท่านเลย

    แล้วเราจะกลัวอะไร เอาไงเอากัน


    ท่านศึกษาเรื่องน้ำ เรื่องการเกษตร สอนเรื่องเศรษฐกิจแบบพอเพียง
    เราแค่เดินตามท่านนะ ไม่ต้องลำบากคิดแล้ว แค่ทำตาม ลอกข้อสอบเลย
    ลองดูตัวอย่าง โจ จันได อ้างอิง
    ยังมีท่านอื่น ๆ อีกนะ บางท่านจบปริญญาโท
    บางท่านเคยทำงานกับองค์การนาซ่า แต่กลับมาใช้ชีวิตในชนบท



    2.
    (เป้าหมาย) ไปสร้างบ้านแห่งใหม่
    (อุปสรรค)ทั้งที่ทุนรอนก็ไม่ได้มีมากมาย เพราะชีวิตในกรุงเทพบีบให้ต้องได้มาและใช้ไป
    อพยพครอบครัวย้ายไปจากถิ่นกำเนิดมาที่เชื่อแน่ว่า ไม่รอดแล้วงานนี้
    ลองนึกถึงคนต่างจังหวัด คนจีนที่อพยพเข้ามานะ
    หางานทำ เช่าบ้านอยู่
    ถ้าภัยพิบัติเกิดจริง เชื่อเถอะว่า เราไม่ได้ลำบากคนเดียว
    บางคนที่กลัวลำบากอาจจะยิ่งลำบากกว่าเรา
    ทนได้ไหม พ.ศ. 2555 - 2560
    ถ้าเชื่อว่าต่อไปประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางความเจริญของพระพุทศาสนาและเทคโนโลยี
    ก็อย่าไปคิดว่าเราต้องไปทำเกษตรตลอดไป
    พอภัยพิบัติทุกอย่างคลี่คลายเราก็อาจได้กลับมาทำงานในสายงานที่ถนัด
    หรือถ้าไม่มีอะไรเกิดขึ้นเราก็กลับมาใช้ชีวิตตามปกติ
    แต่อย่างไรเสียถ้าไม่สร้างเขื่อนก็ต้องย้ายเมืองหลวงหนีน้ำทะเลที่จะหนุนสูงขึ้นเรื่อย ๆ

    คนที่มีทรัพย์มากไม่ได้แปลว่าเขาจะทำใจได้ง่ายกว่าคนมีทรัพย์น้อย
    คนไม่ว่ามีทรัพย์มากหรือน้อยก็ทำใจยากพอกันถ้าไม่ยอมรับกฏของความเป็นธรรมดา

    บางคนมีทรัพย์มากยิ่งมีภาระมากอาจจะยอมรับกฏของธรรมดายากกว่า


    3.เหล่านี้หรือคะจึงจะเรียกได้ว่า ครบองค์คุณความเพียร (ทางโลก)
    แค่ไหนเพียงไรจึงจะพอตอบได้ว่า

    เราได้สร้างความเพียรเพียงพอแล้ว เราไม่ใช่ผู้ประมาท
    ตอบไปแล้ว
    สรุปตอบว่า ทำให้เต็มที่ตามกำลังของร่างกายและสติปัญญาแห่งตน
    เพียรด้วยความบริสุทธิ์ คือยอมรับผลไม่ว่าสุดท้ายจะเป็นอย่างไร ยอมรับกฏของความเป็นธรรมดา



    “ขอจงมีความเพียรที่บริสุทธิ์ ปัญญาที่เฉียบแหลม กำลังกายที่สมบูรณ์”
    พระราชปรารภ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากพระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก




    คำถามที่ว่า
    "แค่ไหนเพียงไรจึงจะพอตอบได้ว่า เราได้สร้างความเพียรเพียงพอแล้ว เราไม่ใช่ผู้ประมาท"

    พระโสดาบันคือผู้ไม่ประมาท เป็นผู้เริ่มเข้าสู่กระแสพระนิพพาน

    พระโสดาบันจะเป็นเหมือนอุปกรณ์ยังชีพที่เราจำเป็นต้องมีในยุคภัยพิบัติ
    ไม่ใช่เพียงเพื่อให้รอด แต่เพื่อรักษาใจเราหลังจากที่รอดและในกรณีที่ไม่รอด

    ตอบแล้วอาจไม่ถูกใจ หรือได้คำตอบที่ไม่อิ่มใจ
    เพราะเป็นเรื่องของความรู้สึกและกำลังใจ




    กระทู้ที่น่าสนใจเพื่อเพิ่มกำลังใจและเป็นแรงบันดาลใจ

    คลิกที่นี่...รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง


    คลิกที่นี่...คำถามสำคัญสำหรับการอพยพ....จะไปใช้ชีวิตอย่างไรในชนบท



    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 พฤศจิกายน 2011
  7. bjeed

    bjeed เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    40
    ค่าพลัง:
    +155
    ขอบคุณมากสำหรับคำแนะนำดี ๆ
    คิดตามและทำใจคล้อยตาม
    เหมือนย่อยมาให้แลัว
    โมทนาด้วยค่ะ
     
  8. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif][​IMG][/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]
    [/FONT]

    ในรูปมีข้อความปรากฏว่า....

    พยากรณ์ สำหรับ
    ออกเดินทาง
    จากเมืองจัมปา
    ในวันที่ ๒๐ เมษายน
    ไปสุวรรณภูมิ
    โดยสวัสดิภาพ

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]


    [/FONT]
    ฤกษ์ออกเดินทางของพระมหาชนกคือวันที่ 20 เมษายน





     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 พฤศจิกายน 2011
  9. diya

    diya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มกราคม 2010
    โพสต์:
    1,950
    ค่าพลัง:
    +13,031
    เพิ่งหากระทู้นี้เจอ ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในจิตที่เป็นกุศลด้วยค่า
     
  10. diya

    diya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มกราคม 2010
    โพสต์:
    1,950
    ค่าพลัง:
    +13,031
    โหหห ขอบพระคุณค่ะตอบเคลียร์ได้ใจ เริ่มมองเห็นใจตอนนี้เลยอ่ะ


    ...เราลองถามตัวเราดูว่าอยากจะรอดจากภัยพิบัติไปเพื่ออะไร ? เป้าหมายคืออะไร

    เพราะกลัวสูญเสียทรัพย์สิน ครอบครัวและคนรัก
    เพราะอยากให้วงศ์ตระกูลของเราสืบต่อไป
    เพราะอยากจะมีโอกาสเป็นกำลังสำคัญให้บ้านเมือง
    เพราะอยากช่วยงานพระโพธิสัตว์หรือพระเจ้าจักรพรรดิ
    เพราะอยากอยู่ช่วยงานพระศาสนา
    (หลวงพ่อฤาษีวัดท่าซุง ท่านเคยพูดประมาณว่า...อย่าลืมว่าไม่มีชาวบ้าน ตายกันหมด พระก็อดนะ) ^_^

    ผู้เขียนคิดว่าส่วนใหญ่เราจะมีหลาย ๆ ความรู้สึกปนกัน
    แต่มันอาจจะมีความรู้สึกหนึ่งที่ใหญ่กว่า หนักแน่นกว่าความรู้สึกอื่น

    ถ้าอยากรอดจากภัยพิบัติเพราะกลัวสูญเสียทรัพย์สินและพลัดพรากจากครอบครัวและคนรัก
    แบบนี้จะตัดสินใจลำบาก เพราะถ้าอพยพก็ต้องสูญเสียทรัพย์สิน (บางส่วน)
    และพลัดพรากจากครอบครัวและคนรัก (บางส่วน)
    หากจะอยู่รอภัยพิบัติก็อาจต้องสูญเสียทรัพย์สินและพลัดพรากจากครอบครัวและคนรัก
    จึงตัดสินใจอะไรไม่ถูก เพราะกลัวการสูญเสีย
    ไม่ว่าจะตัดสินใจอย่างไร สุดท้ายก็ต้องสูญเสียอยู่ดี
    และไม่ว่าอย่างไร ถึงในที่สุดเมื่อต้องตาย ก็สูญเสียอยู่ดี...

    คำตอบตอนนี้ออกมาว่า "เฉยๆ" ค่ะ ไม่ได้รู้สึกว่า...อยาก...เป็นผู้รอดจากภัยพิบัติ ไม่ว่าจะเพราะอะไรในอะไร
    อาการเฉยๆ แม้จะมีมากกว่าความอยากเพื่อการอยู่รอดเพื่อเหตุผลต่างๆ ดังกล่าวมา แต่ก็ไม่อยากเป็นผู้วางเฉย
    ปราศจากปัญญาปฏิบัติ (บางทีจิตส่วนลึกคงขลาดกลัวและกังวลว่ารอดแล้วคงต้องเหนื่อยอีกยาวเลยตรู)
    และสัญชาติญาณมนุษย์จะไม่ปล่อยให้นิ่งเฉยเมื่อวันแห่งภัยมาเยือน

    ยอมรับว่าอย่างไรก็ต้องตาย รอดก็ตายทีหลัง ไม่รอดก็ตายก่อน หรือจะตายเด๋วนี้ พรุ่งนี้ก่อนผจญภัยก็เป็นได้
    รู้สึกเหนื่อยหน่ายกับการเกิด รู้สึกแค่ว่าควรต้องตายให้ไป แต่ ณ จุดนั้นแค่รู้สึกคงไม่ได้
    ยังต้องเพียรไปด้วยไม่ประมาทในสังสารวัฏ

    ขอพี่karanหรือผู้รู้แนะนำเพิ่มเติมด้วยนะคะ ขออนุโมทนาสาธุการ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 พฤศจิกายน 2011
  11. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379

    ระวังอย่าให้มีอารมณ์ฟุ้ง ทำในสิ่งที่ควรทำ ตามกำลังของเรา
    ฝึกยอมรับกฏของความเป็นธรรมดา

    ถ้าใจเศร้าหมองให้จับภาพพระ ระลึกถึงพระนิพพานให้ใจเป็นสุข


    ทบทวนไฟล์เสียง MP3 บ่อย ๆ
     
  12. diya

    diya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มกราคม 2010
    โพสต์:
    1,950
    ค่าพลัง:
    +13,031
    แหะแหะ รับแซ่บค่ะ ยอมรับว่าช่วงนี้เหินห่างไฟล์เสียงเจงๆๆๆ
     
  13. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379
    ไม่ประมาทคือระลึกถึงความตายเป็นมรณานุสติ

    ถ้าอยากรอด ก็ต้องเตรียมตัวเพื่อที่จะรอด
    แต่ก็ต้องเตรียมตัวเื่ผื่อว่าไม่รอดด้วย

    ถ้าอยากตายก็ควรเตรียมตัวที่จะตาย
    แต่ก็ต้องเตรียมตัวเผื่อว่าไม่ตายด้วย (รอดจากภัยพิบัติ)


    จริงอยู่เราทุกคนต้องตาย
    แต่ควรตายอย่างมีสติรู้ตัว ไม่ใช่ตายอย่างประมาทขาดสติ หลงตัว ลืมตัว

    สำหรับสาวกภูมิ ควรเป็นพระโสดาบัน ผู้ตายครั้งนี้เป็นการตายครั้งสุดท้าย
    หรืออย่างน้อยคือผู้ปิดอบายภูมิและเข้าสู่กระแสพระนิพพาน ตายอีกไม่เกิน 7 ครั้ง

    ขอพวกเราท่านอย่าเป็นผู้กลับมาตายซ้ำแล้วซ้ำเล่าอีก


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤศจิกายน 2011
  14. izeberry

    izeberry เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2010
    โพสต์:
    340
    ค่าพลัง:
    +1,482
    น่าสนใจมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
     
  15. ชาวศิวิไล

    ชาวศิวิไล สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2011
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +1
    ขอขอบคุณทุกข้อความคับ

    [​IMG]
     
  16. อนิจฺจํ

    อนิจฺจํ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    1,374
    ค่าพลัง:
    +2,949

    อืม....

    20 เมษายน
    หรือจะเป็นจุดเริ่มต้น...???

     
  17. มณีกาญจน์

    มณีกาญจน์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +76

    จะพยายามปฏิบัติตามท่านผู้รู้แนะนำ
    ขอกำลังใจ (บารมี) จากท่านด้วย
     
  18. อธิฎฐาน

    อธิฎฐาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    430
    ค่าพลัง:
    +1,610
    [​IMG]

    สังเกตว่ามีภาพปูอยู่ด้วย เหตุการณ์จะเกิดขึ้นในรัฐบาลปูหรือเปล่าคะ
     
  19. อธิฎฐาน

    อธิฎฐาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    430
    ค่าพลัง:
    +1,610
    [​IMG]

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทาน ส.ค.ส.ปี พ.ศ.2555 แก่ปวงชนชาวไทย เนื่องในโอกาสวาระดิถีขึ้นปีใหม่

    ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
     
  20. Heureuse

    Heureuse เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2008
    โพสต์:
    857
    ค่าพลัง:
    +3,446
    ไม่น่าเชื่อว่า ส.ค.ส พระราชทานของปีนี้จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับพระมหาชนกพอดี
     

แชร์หน้านี้

Loading...