ใครเชื่อว่าการนิพพานเป็นแบบนี้บ้าง

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย Hikikomori, 24 ตุลาคม 2010.

  1. Tiger Dear's

    Tiger Dear's MY HOMEWORK

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2009
    โพสต์:
    842
    ค่าพลัง:
    +301
    น้องหอดกับอะไร อร่อยจนอยากเห็นหน้าคนทอด (ไก่ย่างห้าดาว)
     
  2. COME&Z

    COME&Z เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,144
    ค่าพลัง:
    +234
    กระทู้นี้ฮาดีว่ะ 5555+ ชอบๆ:cool:
     
  3. อินทร์ธนู

    อินทร์ธนู สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +2
    นิพพาน
    วิชชาแปลว่าความรู้แจ้งทั้งปวง วิมุตติแปลว่าความหลุดพ้น
    วิชาและวิมุตติจึงเป็นความหมายของคำว่า “นิพพาน” นั่นเอง
    แต่วิชชาและวิมุตติจะบริบูรณ์เกิดขึ้นได้เพราะเกิดจากโพชฌงค์ธรรมบริบูรณ์
    และโพชฌงค์ธรรมจะบริบูรณ์ได้เพราะเกิดจากการเจริญสติปัฏฐาน4 นั่นเอง (เป็นข้อความที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ในกุณฑลิยสูตร)


    สรุปได้ว่า เมื่อบุคคลได้เจริญและกระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน 4 เมื่อสติปัฏฐานบริบูรณ์ ย่อมยังให้โพชฌงค์บริบูรณ์และวิชชาวิมุติย่อมบริบูรณ์ตามไปด้วย ซึ่งเท่ากับว่าเมื่อสติปัฏฐานบริบูรณ์ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ ย่อมทำพระนิพพานให้แจ้งได้
    หลักจึงอยู่ที่ว่าต้องเข้าไปเจริญกระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน 4 เพื่อให้สติปัฏฐานบริบูรณ์เท่านั้น โดยลักษณะธรรมธาตุแห่งธรรมมีอยู่เพียง 2 ลักษณะเท่านั้นคือ

    1.สังขตธาตุ คือธรรมธาตุอันมีลักษณะปรุงแต่ง
    2.อสังขตธาตุ คือธรรมธาตุอันมีลักษณะไม่ปรุงแต่ง

    สังขตธาตุนั้น คือธรรมอันมีลักษณะปรุงแต่ง ซึ่งเกิดจากอวิชชาความไม่รู้ โดยไม่รู้ว่า ทุกสรรพสิ่งย่อมไม่เที่ยงอยู่แล้ว ทุกสรรพสิ่งย่อมไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน(อนัตตา)อยู่แล้วโดยธรรมชาติของมัน เมื่อไม่รู้ก็เลยเข้าไปยึดมั่นถือมั่นก่อให้เกิดเป็นตัณหาอุปทานจนกลายเป็นตัวตนมีเรา มีเขาขึ้นมา(อัตตา) ซึ่งสังขตธาตุนี้เป็นธรรมซึ่งผิดไปจากความเป็นจริงเนื้อหาแห่งสังขตธาตุไม่ตรงต่อสัจจธรรม ไม่ตรงต่อ “ธรรมชาติ” ตามที่มันควรจะเป็น
    การเข้าไปเจริญหรือกระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน 4 เป็นการปรับกระบวนการให้เป็นไปตามความเป็นจริงซึ่งตรงต่อสัจธรรมคือหลัก “ธรรมชาติ”นั่นเอง เป็นการรู้เท่าทันว่า เมื่อเกิดการปรุงแต่ง(สังขตธาตุ)ตามลักษณะของหมวดธรรมทั้ง 4 ในสติปัฏฐานแล้ว การปรุงแต่งนั้นก็ย่อมไม่เที่ยงดับไปเองโดยสภาพมันเองโดยธรรมชาติของมันอยู่แล้ว
    อสังขตธาตุนั้น คือธรรมอันมีลักษณะไม่ปรุงแต่ง ซึ่งเกิดจากความรู้เห็นตามความเป็นจริงที่ว่า ทุกสรรพสิ่งย่อมไม่เที่ยงอยู่แล้ว ทุกสรรพสิ่งย่อมไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน(อนัตตา) อยู่ แล้วโดยธรรมชาติของมัน อสังขตธาตุนี้เป็นธรรมซึ่งตรงต่อความเป็นจริง เนื้อหาแห่งอสังขตธาตุนี้เป็นเนื้อหาซึ่งตรงต่อสัจธรรมตรงต่อธรรมชาติโดยสภาพมันเองอยู่แล้ว
    การเข้าไปเจริญหรือกระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน4 เป็นการปรับกระบวนการให้เป็นไปตามความเป็นจริงซึ่งตรงต่อสัจจะธรม คือ หลักธรรมชาติ หรือ “สังขตธาตุ”นั่นเอง เป็นการรู้เท่าทันว่าเมื่อเกิดการปรุงแต่ง(สังขตธาตุ)ตามลักษณะธรรมของหมวดธรรมทั้ง4 ในสติปัฏฐานแล้ว การปรุงแต่งนั้นก็ย่อมไม่เที่ยงดับไปเองโดยสภาพมันเองโดยธรรมชาติของมันอยู่แล้ว
    เพราะฉะนั้นการเข้าไปเจริญหรือกระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน4 จึงเป็นการปรับกระบวนการไปสู่ความไม่ปรุงแต่ง(อสังขตธาตุ)ล้วนๆ ไปสู่ “ธรรมชาติล้วน” เมื่อกลายเป็นสภาพแห่งธรรมอันไม่ปรุงแต่งล้วนๆแล้ว เมื่อกลายเป็น “ธรรมชาติล้วนๆ”แล้ว สติปัฎฐานย่อมบริบูรณ์
    สติปัฎฐานจะบริบูรณ์ได้ย่อมเกิดจาก “การตัดได้โดยเด็ดขาด” จากอาการปรุงแต่งทั้งปวง(สมุทเฉจ) จนกลายเป็นสภาพแห่งธรรมอันไม่ปรุงแต่งล้วนๆ จนกลายเป็นสภาพ “ธรรมชาติล้วนๆอันปรุงแต่งไม่ได้แล้ว” สมุทเฉจหรือการตัดได้โดยเด็ดขาดจากการปรุงแต่งทั้งปวงนั้นเป็นอุบายอันแยบยลอันเกิดจากการพิจารณาว่า โดยเนื้อหาทั่วๆไปตามกฎธรรมชาตินั่น

    -จริงๆแล้วโดยธรรมชาติทุกสรรพสิ่งย่อมไม่เที่ยงอยู่แล้ว

    -จริงๆแล้วโดยธรรมชาติทุกสรรพสิ่งเมื่อไม่เที่ยงอยู่แล้วก็ย่อมกลายเป็นความดับสนิทไม่มีเหลืออยู่แล้ว

    -จริงๆแล้วโดยธรรมชาตินั้นความดับสนิทไม่มีเหลืออยู่แล้วย่อมเป็น “ธรรมชาติล้วนๆแห่งความไม่ปรุงแต่งอยู่แล้ว”ซึ่งตรงนี้เรียกว่า ความว่างหรือสูญญตา(ความว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวตน)
    แต่ด้วยความไม่เข้าใจ ความไม่รู้ในกฎธรรมชาติ ก็ทำให้อวิชชาความไม่รู้พาปรุงแต่งเป็นจิตปรุงแต่งลักษณะต่างๆเช่น

    -จิตปรุงแต่งว่า “มีเรา และเรายังไม่หลุดพ้น

    -จิตปรุงแต่งว่า “มีเรา และเรารอให้ อวิชชา ตัณหา อุปทานคลี่คลายเบาบางลงไปจนกว่าจะนิพพาน”บ้าง
    ถ้าหากไปพิจารณาในหมวดจิต ซึ่งพระพุทธองค์ทรงแนะนำไว้ในหมวดจิตในจิตว่า

    -เมื่อจิตปรุงแต่งว่า จิตยังไม่หลุดพ้น ก็ให้รู้ชัดว่า จิตยังไม่หลุดพ้น

    -เมื่อจิตปรุงแต่งว่า จิตหลุดพ้น ก็ให้รู้ชัดว่า จิตหลุดพ้น
    โดยความเป็นจริงแล้ว โดยธรรมชาติทุกสรรพสิ่งย่อมไม่เที่ยงอยู่แล้ว ย่อมดับสนิทไม่มีเหลืออยู่แล้ว คือธรรมชาติล้วนๆแห่งความไม่ปรุงแต่งอยู่แล้ว ซึ่งมันย่อมเป็นเนื้อหาแห่งความหลุดพ้นอยู่แล้วโดยสภาพธรรมชาติของมันนั่นเอง
    แต่เพราะความไม่เข้าใจหลักธรรมชาติตรงนี้ อวิชชาความไม่รู้ของเราก็จะพาเราปรุงแต่งว่า “มีเรา และเรายังไม่หลุดพ้น” อยู่ร่ำไปแต่พุทธองค์ก็ทรงชี้ให้เห็นว่า “เมื่อจิตปรุงแต่งว่าจิตยังไม่หลุดพ้น ก็ให้รู้ชัดว่า จิตยังไม่หลุดพ้น”
    เป็นการรู้ชัดซึ่งเป็นธรรมชาติแห่งสติว่า จิตที่ปรุงแต่งว่าจิตยังไม่หลุดพ้นนี้ ย่อมไม่เที่ยงอยู่แล้วโดยธรรมชาติมันเอง ย่อมกลายเป็นความดับสนิทไม่มีเหลืออยู่แล้วโดยธรรมชาติ และย่อมไปสู่ “ธรรมชาติล้วนๆแห่งความไม่ปรุงแต่ง” ซึ่งเป็นเนื้อหาแห่งความหลุดพ้นอยู่แล้ว


    สรุปโดยแท้จริงแล้วความว่างอันเป็นสูญญตา(ความว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน) เป็นเนื้อหาแห่งความหลุดพ้นอยู่แล้วโดยธรรมชาติมันเอง เป็นธรรมชาติล้วนๆอันปรุงแต่งไม่ได้แล้ว
    การที่จิตปรุงแต่งเป็นจิตลักษณะต่างๆ เช่นการที่จิตปรุงแต่งว่ามีเราและเรายังไม่หลุดพ้น “การที่จิตปรุงแต่งว่า มีเราและเรารอให้อวิชชา ตัณหา อุปทาน คลี่คลายเบาบางลงไปจนกว่าจะนิพพานบ้างนั้น มันก็ล้วนเป็นการปรุงแต่งเพื่อปิดบัง “พระนิพพานอันเป็นเนื้อหาแห่งความหลุดพ้นโดยธรรมชาติอยู่แล้ว”ทั้งสิ้น


    เมื่อจิตปรุงแต่งทุกชนิดไม่เที่ยงดับไปเองอยู่แล้วตามธรรมชาติ มันก็กลายเป็นความดับสนิทไม่มีเหลือ มันก็กลายเป็นความหลุดพ้นอยู่แล้วโดยเนื้อหาธรรมชาติ มันก็กลายเป็นพระนิพพานอยู่แล้วโดยเนื้อหามัน


    เมื่อความว่างอันเป็นสูญญตานั้นแหละคือความหลุดพ้นอยู่แล้วคือพระนิพพานอยู่แล้วโดยเนื้อหามันเอง เพราะฉะนั้นจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องปรุงแต่งใดๆเข้าไปจัดการ “ธรรมชาติ” เพื่อให้เกิดพระนิพพานตามความไม่รู้ ไม่เข้าใจของตนขึ้นมาอีก


    เมื่อเข้าใจว่าความว่างอันเป็นสูญญตาคือความหลุดพ้นอยู่แล้ว คือพระนิพพานอยู่แล้วโดยเนื้อหามันเอง เพราฉะนั้นจึงไม่มีความจำเป็นใดๆที่จะเข้าไปปรุงแต่งว่า นี้คือความหลุดพ้น นี้คือจิตหลุดพ้น ขึ้นมาอีกเช่นกัน ซึ่งมันจะกลายเป็น อวิชชาตัวสุดท้ายที่เข้าไปติดกับดักของมัน


    พระพุทธองค์ทรงชี้ให้เห็นว่า “เมื่อจิตปรุงแต่งว่า จิตหลุดพ้น ก็ให้รู้ชัดว่า จิตหลุดพ้น” เป็นการรู้ชัดซึ่งเป็นธรรมชาติแห่งสติว่า “จิตที่ปรุงแต่งว่าจิตหลุดพ้น” ซึ่งเป็นอวิชชาตัวสุดท้ายนี้ย่อมไม่เที่ยงอยู่แล้วโดยธรรมชาติมันเอง ย่อมกลายเป็นความดับสนิทไม่มีเหลืออยู่แล้ว โดยธรรมชาติ และย่อมไปสู่ “ธรรมชาติล้วนแห่งความไม่ปรุงแต่ง” ซึ่งเป็นเนื้อหาแห่งความหลุดพ้นอยู่แล้ว


    เมื่อพิจารณาได้อย่างเข้าใจถ่องแท้แล้วว่า “ความว่างหรือสูญญตานั้นก็คือเนื้อหาแห่งความหลุดพ้นอันคือพระนิพพานอยู่แล้ว” จิตปรุงแต่งในหมวดสติปัฏฐาน 4 ก็ล้วนเป็นจิตปรุงแต่งที่บังพระนิพพาน(อันเป็นเนื้อหาธรรมชาติแห่งความหลุดพ้นโดยสภาพมันเอง) อยู่แล้วทั้งสิ้น เมื่อจิตปรุงแต่งในหมวดสติปัฏฐาน 4 ไม่เที่ยงอยู่แล้ว ดับไปเองอยู่แล้ว มันย่อมกลายเป็นความดับสนิทไม่มีเหลืออยู่แล้วนั่นคือความว่าง หรือสูญญตา ซึ่งมันก็คือเนื้อหาแห่งความหลุดพ้นอันเป็นพระนิพพานอยู่แล้ว “การปล่อยให้ความว่างหรือสุญญตา มันคงเนื้อหามันอยู่อย่างนั้นโดยธรรมชาติของมัน” มันจึงกลายเป็นธรรมชาติล้วนๆอันปรุงแต่งๆไม่ได้แล้ว มันจึงกลายเป็นพระนิพพานอยู่แล้ว
    การปล่อยให้ความว่างหรือสูญญตา มันคงเนื้อหามันอยู่อย่างนั้นโดยธรรมชาติของมัน” จึงเป็นการตัดได้โดยเด็ดขาดจาการปรุงแต่งทั้งปวง(สมุทเฉจ) อันทำให้สติปัฏฐานบริบูรณ์
    เมื่อสติปัฏฐานบริบูรณ์ย่อมยังโพชฌงค์ให้บริบูรณ์ไปด้วย
    เมื่อโพชฌงค์บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติบริบูรณ์ไปด้วย
    จึงหลุดพ้นด้วยประการฉะนี้ (วิมุติญาณทัสสนะ)..............................................นิพพาน.
    ไม่มีอะไรให้แบก ไม่มีอะไรให้ปล่อย ไม่มีอะไรให้วาง
    ความว่างคือ พระนิพพานอยู่แล้ว
     
  4. wacaholic

    wacaholic เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2010
    โพสต์:
    502
    ค่าพลัง:
    +214
    นิพพาน ไร้รูป ไร้ร่าง จึงยากที่จะสัมผัส รู้ ได้ด้วยอารมณ์อยากรู้ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ที่ปรุงแต่งมาจากสมอง

    นิพพาน ไม่ต้องปรุง ไม่ต้องเสริม เติมแต่งด้วยอารมณ์

    นั่นก็คือ นิพพานแท้ นิพพานอยู่แล้วตั้งแต่เริ่ม

    ธรรมชาติแห่ง พุทธะ นั้นบริสุทธิ์ตั้งแต่เริ่ม ใสอยู่แล้ว สว่างอยู่แล้ว สะอาดอยู่แล้ว

    [​IMG]


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. Delphi

    Delphi Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +59
    นิพพาน คือ หลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง

    คนที่ศึกษาธรรมะ ให้คิดถึงนิพพานเป็นเป้าหมาย คือ ต้องการสิ้นสุดจากการเวียนว่ายตายเกิด

    คนที่บรรลุธรรมถึงขั้นสามารถไปสู่นิพพานแล้ว แม้แต่นิพพานก็จะไม่สนใจครับ (หลวงพ่อฤาษีลิงดำเคยว่าไว้) เพราะไม่เหลือความอยากใดๆ

    ผมคิดว่า คนที่สามารถมองเห็นภพชาติตัวเองในอดีต (จากการนั่งสมาธิหรือวิปัสสนาฯ) ได้รู้ว่าต้องเกิดมาแล้วนับชาติไม่ถ้วน เกิดแล้วตาย เกิดแล้วตาย เกิดแล้วตาย... หากมีบุญบารมีก็อาจจะอยากไปให้ถึงนิพพาน (สิ้นสุดการเวียนว่ายตายเกิด)
     

แชร์หน้านี้

Loading...