อยากทราบ..การฝึกสติกำหนดลมหายใจสร้างบุญได้อย่างไร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Genial, 22 ตุลาคม 2011.

  1. Genial

    Genial Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +82
    การฝึกกำหนดลมหายใจ ภาวนาต่างๆ เห็นมีหลายท่านบอกว่าเป็นการสร้างบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่ ผมสงสัยอ่ะครับว่ามันสร้างบุญได้อย่างไร ในเมื่อเรานั่งอยู่เฉยๆไม่ได้ไปทำอะไร อย่างมากก็ทำให้จิตใจเราสงบ แล้วอย่างนี้มันเป็นการสร้างบุญให้กับเราเหรอครับ คือผมยังรู้น้อยเรื่องธรรมะอยู่ครับ เรียนท่านผู้รู้ชอบตอบทีนะครับ .....ขอบคุณล่วงหน้าครับ
     
  2. moshininja

    moshininja เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +103
    บุญเกิดจากอะไรล่ะ ความสุขเกิดจากอะไรล่ะ สิ่งสำคัญที่สุดของเราคืออะไรล่ะ แล้วเราควรจะฝึกอะไรล่ะ?
     
  3. Kra-Tai

    Kra-Tai สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2011
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +7
    เท่าที่เคยอ่านมานะคะ การกำหนดลมหายใจ ทำให้จิตเราละจากกิเลส เช่นการ คิดไม่ดี หรือละจาก ความ โลภ โกรธ หลง ในช่วงที่เราเอาจิตไปจดจ่ออยู่ที่การกำหนดลมหายใจ
    เพราะจิตเราไม่อยู่กับที่ไม่นิ่ง วิ่งไปวิ่งมาอยู่ตลอดเวลา เมื่อทำบ่อยๆ จนชิน จิตเราก็จะจดจ่อ ระลึกถึงพระรัตนตรัย มีสติ ไม่ว่าจะมีเรื่องมากระทบ เราก็จะมีสติ แก้ปัญหา หาคำตอบในการแก้ปัญหาได้ง่ายดาย (อันนี้เจอมากับตัวค่ะ) และเราก็จะไม่พลาดพลั้งทำผิดบาป อีกค่ะ
     
  4. 5000

    5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,491
    ค่าพลัง:
    +7,121
    จากหนังสือคำสอนหลวงพ่อวัดท่าซุง เล่ม ๙ หน้า ๙๗-๑๑๔
    โดย..หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (พระมหาวีระ ถาวโร) (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

    เขตบุญ

    ทีนี้ มาขอเลี้ยวตรงนี้อีกนิดหนึ่งสำหรับญาติโยมแก่ๆ จะว่าอายุแก่หรือแก่ปฏิบัติก็ตาม มันก็แก่เหมือนกัน
    แก่ฟังก็ใช้ได้ เรียกว่าแก่เหมือนกัน คือญาติโยมแก่ๆ คงจะคิดว่าเอ..นี่หลวงตานี่แกมาทำยังไงของแกนี่
    ก็การเจริญพระกรรมฐานที่จะให้เข้าถึงบุญเขาก็จะต้องภาวนาว่า พุทโธ ธัมโม สังโฆ
    หรือว่าพิจารณาอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็แกมาสอนให้กำหนดเฉพาะลมหายใจเข้าออกเท่านั้นนี่
    แล้วมันจะไปได้บุญได้ทานยังไง ถ้าบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทหรือพระคุณเจ้าทั้งหลายที่กำลังรับฟังอยู่
    ถ้าคิดว่าจะไม่ได้บุญละก็ ขอพระคุณเจ้าโปรดคิดว่า เขตของการบุญน่ะมันอยู่ตรงที่จิตเป็นสมาธินะ
    ตัวบุญน่ะอยู่ที่จิตเป็นสมาธิที่มีอารมณ์ตั้งมั่น ไม่ใช่บุญอยู่ที่องค์ภาวนาอย่างเดียว
    หากว่าเราภาวนาแบบชนิดนกแก้วนกขุนทอง ว่าไปพุทโธ ธัมโม สังโฆ ว่าไปโดยจิตไม่ตั้ง
    อารมณ์ไม่ทรงอยู่ พอว่าไปบ้างพุทโธๆ หรือธัมโม สังโฆก็ตาม หรืออย่างอื่นก็ตาม
    แต่จิตอีกส่วนหนึ่งมันแลบไปสู่อารมณ์อย่างอื่น อย่างนี้ว่าเท่าไรก็ไม่เป็นบุญ การที่พระพุทธเจ้า
    ทรงสอนให้มีการภาวนาด้วยก็เพื่อจะใช้อารมณ์ยึด คือสติให้รู้อยู่ว่านี่เรากำหนดลมหายใจเข้าออก
    หรือว่าเราภาวนาว่ายังไง แล้วก็ควบคุมอารมณ์อยู่เฉพาะอย่างนั้นอย่างเดียวให้เป็นเอกัคคตารมณ์
    คำว่าเอกัคคตารมณ์แปลว่าเป็นหนึ่ง อารมณ์ของเราเป็นหนึ่งไม่มีสอง อย่างนี้จัดว่าเป็นสมาธิ
    คือร่างอย่างเดียว คือตัวรู้อยู่ นี่ว่ากันถึงคำภาวนาเป็นบุญหรือไม่เป็นบุญนะ
    ต้องถือว่าตัวบุญใหม่คือการทรงสมาธิจิต ถ้าสมาธิทรงได้สูงมากเพียงใด นิวรณ์ที่จะมากั้นความดี
    คืออารมณ์ของความชั่ว คำว่า นิวรณ์ ก็ได้แก่อารมณ์ของความชั่ว ก็เข้าสิงจิตได้ยากเพียงนั้น
    ถ้าขณะใดจิตทรงสมาธิที่เรียกกันว่าเป็นฌาน คำว่าฌานนี้ ฌานัง แปลว่า การเพ่ง
    การทรงอยู่ของจิต จิตเพ่งอยู่เฉพาะอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง อันนี้เราเรียกกันว่าฌาน
    อย่างเราภาวนาว่า พุทโธ ก็ดี หรือว่า กำหนดรู้เฉพาะลมหายใจเข้าออกก็ดี
    ขณะนั้นจิตอยู่เฉพาะลมหายใจเข้าหายใจออก จิตไม่ส่ายไปสู่อารมณ์อย่างอื่น อย่างนี้เราเรียกกันว่าฌาน
    แต่ว่าจะเป็นฌานขั้นต้น ขั้นกลาง ขั้นปลายอะไรก็ตาม นั่นเป็นเรื่องอีกอย่างหนึ่ง
    เป็นอาการละเอียดของจิต เป็นอาการทรงของจิต ถ้าจิตทรงได้มากก็จัดว่าเป็นฌานที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔
    ถ้าจิตทรงได้น้อยก็หมายความเรียกว่าฌานที่ ๑
     
  5. kuna

    kuna เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +158
    ภิกษุทั้งหลาย ! อา�นา�ป�านสติอันบุคคลเจริญ
    กระทำ�ให้ม�กแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอ�นิสงส์ใหญ่
    ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำาให้มากแล้ว
    อย่างไร จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ?
    ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า
    หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ
    ตั้งกายตรง ดำารงสติเฉพาะหน้า เธอนั้น มีสติหายใจเข้า
    มีสติหายใจออก :
    เมื่อห�ยใจเข้�ย�ว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว,
    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว;
    เมื่อห�ยใจเข้�สั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น,
    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น;
    เธอย่อมทำาการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
    เฉพ�ะซึ่งก�ยทั้งปวง (สพฺพกายปฏิสำเวที) หายใจเข้า”,
    ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก
    เธอย่อมทำาการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำ�
    ก�ยสังข�รให้รำ�งับ (ปสฺสมฺภยำ กายสงฺขารำ) หายใจเข้า”,
    ว่า “เราเป็นผู้ทำากายสังขารให้รำางับ หายใจออก”;
    เธอย่อมทำาการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
    เฉพ�ะซึ่งปีติ(ปีติปฏิสเวที) ำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้
    พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก”;
    เธอย่อมทำาการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
    เฉพ�ะซึ่งสุข (สุขปฏิสำเวที) หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้
    พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก”;
    เธอย่อมทำาการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
    เฉพ�ะซึ่งจิตตสังข�ร (จิตฺตสงฺขารปฏิสำเวที) หายใจเข้า”,
    ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก”;
    เธอย่อมทำาการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำ�
    จิตตสังข�รให้รำ�งับ (ปสฺสมฺภยำ จิตฺตสงฺขารำ) หายใจเข้า”,
    ว่า “เราเป็นผู้ทำาจิตตสังขารให้รำางับ หายใจออก”;
    เธอย่อมทำาการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
    เฉพ�ะซึ่งจิต (จิตฺตปฏิสเวที) ำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้
    พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก”

    เธอย่อมทำาการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำ�จิต
    ให้ปร�โมทย์ยิ่ง (อภิปฺปโมทยำ จิตฺตำ) หายใจเข้า”, ว่า
    “เราเป็นผู้ทำาจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจออก”;
    เธอย่อมทำาการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำ�จิต
    ให้ตั้งมั่น (สมาทห จิตฺต ำ )ำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำาจิต
    ให้ตั้งมั่น หายใจออก”;
    เธอย่อมทำาการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำ�จิต
    ให้ปล่อยอยู่ (วิโมจย จิตฺต ำ )ำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำา
    จิตให้ปล่อยอยู่ หายใจออก”;
    เธอย่อมทำาการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง
    คว�มไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ� (อนิจฺจานุปสฺสี) หายใจเข้า”, ว่า
    “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำา หายใจออก”;
    เธอย่อมทำาการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง
    คว�มจ�งคล�ยอยู่เป็นประจำ� (วิราคานุปสฺสี) หายใจเข้า”, ว่า
    “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำา หายใจออก”;
    เธอย่อมทำาการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง
    คว�มดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ� (นิโรธานุปสฺสี) หายใจเข้า”, ว่า
    “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำา หายใจออก”
    เธอย่อมทำาการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง
    คว�มสลัดคืนอยู่เป็นประจำ� (ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี) หายใจเข้า”,
    ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำา หายใจออก”;
    ภิกษุทั้งหลาย ! อ�น�ป�นสติ อันบุคคลเจริญแล้ว
    กระทำ�ให้ม�กแล้ว อย่�งนี้แล ย่อมมีผลใหญ่ มีอ�นิสงส์ใหญ่.
    ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่ออานาปานสติ อันบุคคลเจริญ
    ทำาให้มากแล้วอยู่อย่างนี้ ผลอานิสงส์อย่างใดอย่างหนึ่ง
    ในบรรดาผล ๒ ประก�ร เป็นสิ่งที่หวังได้;
    คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน
    หรือว่าถ้ายังมีอุปาทิเหลืออยู่ ก็จักเป็น อน�าคา�มี.


    สรุปแล้ว มีอานิสงส์ใหญ่ 2 ประการ
    คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน
    หรือว่าถ้ายังมีอุปาทิเหลืออยู่ ก็จักเป็น อน�าคา�มี.
    และมีอานิสงส์อีก 7 ประการ คือ
    ๑. การบรรลุอรหัตตผลทันทีในปัจจุบันนี้,
    ๒. ถ้าไม่เช่นนั้น ย่อมบรรลุอรหัตตผลในก�ล
    แห่งมรณะ,
    ๓. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕
    ย่อมเป็นอันตร�ปรินิพพ�ยี (ผู้จะปรินิพพานในระหว่างอายุ
    ยังไม่ถึงกึ่ง),
    ๔. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕
    ย่อมเป็นอุปหัจจปรินิพพ�ยี(ผู้จะปรินิพพานเมื่อใกล้จะสิ้นอายุ)
    ๕. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕
    ย่อมเป็นอสังข�รปรินิพพ�ยี (ผู้จะปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้
    ความเพียรมากนัก),
    ๖. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕
    ย่อมเป็นสสังข�รปรินิพพ�ยี (ผู้จะปรินิพพานโดยต้องใช้
    ความเพียรมาก),
    ๗. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕
    ย่อมเป็นอุทธังโสโตอกนิฏฐค�มี (ผู้มีกระแสในเบื้องบน
    ไปสู่อกนิฏฐภพ).
    ภิกษุทั้งหลาย ! อา�น�าป�นสติ อันบุคคลเจริญ
    แล้ว กระทำ�ให้ม�ากแล้ว อย่�งนี้แล ผลอ�านิสงส์ ๗
    ประกา�รเหล่า�นี้ ย่อมหวังได้ ดังนี้.

    คัดมาจาก หนังสือพุทธวจน วัดนาป่าพง เล่ม 6
    มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๙๗/๑๓๑๔-๑๓๑๖.
     
  6. kuna

    kuna เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +158
    ภิกษุทั้งหลาย ! อา�นา�ป�านสติอันบุคคลเจริญ
    กระทำ�ให้ม�กแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอ�นิสงส์ใหญ่
    ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำาให้มากแล้ว
    อย่างไร จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ?
    ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า
    หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ
    ตั้งกายตรง ดำารงสติเฉพาะหน้า เธอนั้น มีสติหายใจเข้า
    มีสติหายใจออก :
    เมื่อห�ยใจเข้�ย�ว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว,
    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว;
    เมื่อห�ยใจเข้�สั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น,
    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น;
    เธอย่อมทำาการฝึกหัดศึกษาว่า“เราเป็นผู้รู้พร้อม
    เฉพ�ะซึ่งก�ยทั้งปวง (สพฺพกายปฏิสำเวที) หายใจเข้า”,
    ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก
    เธอย่อมทำาการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำ�
    ก�ยสังข�รให้รำ�งับ (ปสฺสมฺภยำ กายสงฺขารำ) หายใจเข้า”,
    ว่า “เราเป็นผู้ทำากายสังขารให้รำางับ หายใจออก”;
    เธอย่อมทำาการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
    เฉพ�ะซึ่งปีติ(ปีติปฏิสเวที) ำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้
    พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก”;
    เธอย่อมทำาการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
    เฉพ�ะซึ่งสุข (สุขปฏิสำเวที) หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้
    พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก”;
    เธอย่อมทำาการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
    เฉพ�ะซึ่งจิตตสังข�ร (จิตฺตสงฺขารปฏิสำเวที) หายใจเข้า”,
    ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก”;
    เธอย่อมทำาการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำ�
    จิตตสังข�รให้รำ�งับ (ปสฺสมฺภยำ จิตฺตสงฺขารำ) หายใจเข้า”,
    ว่า “เราเป็นผู้ทำาจิตตสังขารให้รำางับ หายใจออก”;
    เธอย่อมทำาการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
    เฉพ�ะซึ่งจิต (จิตฺตปฏิสเวที) ำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้
    พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก”

    เธอย่อมทำาการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำ�จิต
    ให้ปร�โมทย์ยิ่ง (อภิปฺปโมทยำ จิตฺตำ) หายใจเข้า”, ว่า
    “เราเป็นผู้ทำาจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจออก”;
    เธอย่อมทำาการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำ�จิต
    ให้ตั้งมั่น (สมาทห จิตฺต ำ )ำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำาจิต
    ให้ตั้งมั่น หายใจออก”;
    เธอย่อมทำาการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำ�จิต
    ให้ปล่อยอยู่ (วิโมจย จิตฺตตำ ) หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำา
    จิตให้ปล่อยอยู่ หายใจออก”;
    เธอย่อมทำาการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง
    คว�มไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ� (อนิจฺจานุปสฺสี) หายใจเข้า”, ว่า
    “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำา หายใจออก”;
    เธอย่อมทำาการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง
    คว�มจ�งคล�ยอยู่เป็นประจำ� (วิราคานุปสฺสี) หายใจเข้า”, ว่า
    “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำา หายใจออก”;
    เธอย่อมทำาการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง
    คว�มดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ� (นิโรธานุปสฺสี) หายใจเข้า”, ว่า
    “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำา หายใจออก”
    เธอย่อมทำาการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง
    คว�มสลัดคืนอยู่เป็นประจำ� (ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี) หายใจเข้า”,
    ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำา หายใจออก”;
    ภิกษุทั้งหลาย ! อ�น�ป�นสติ อันบุคคลเจริญแล้ว
    กระทำ�ให้ม�กแล้ว อย่�งนี้แล ย่อมมีผลใหญ่ มีอ�นิสงส์ใหญ่.
    ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่ออานาปานสติ อันบุคคลเจริญ
    ทำาให้มากแล้วอยู่อย่างนี้ ผลอานิสงส์อย่างใดอย่างหนึ่ง
    ในบรรดาผล ๒ ประก�ร เป็นสิ่งที่หวังได้;
    คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน
    หรือว่าถ้ายังมีอุปาทิเหลืออยู่ ก็จักเป็น อน�าคา�มี


    สรุปแล้ว มีอานิสงส์ใหญ่ 2 ประการ
    คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน
    หรือว่าถ้ายังมีอุปาทิเหลืออยู่ ก็จักเป็น อน�าคา�มี.
    และมีอานิสงส์อีก 7 ประการ คือ
    ๑. การบรรลุอรหัตตผลทันทีในปัจจุบันนี้,
    ๒. ถ้าไม่เช่นนั้น ย่อมบรรลุอรหัตตผลในก�ล
    แห่งมรณะ,
    ๓. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕
    ย่อมเป็นอันตร�ปรินิพพ�ยี (ผู้จะปรินิพพานในระหว่างอายุ
    ยังไม่ถึงกึ่ง),
    ๔. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕
    ย่อมเป็นอุปหัจจปรินิพพ�ยี(ผู้จะปรินิพพานเมื่อใกล้จะสิ้นอายุ)
    ๕. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕
    ย่อมเป็นอสังข�รปรินิพพ�ยี (ผู้จะปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้
    ความเพียรมากนัก),
    ๖. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕
    ย่อมเป็นสสังข�รปรินิพพ�ยี (ผู้จะปรินิพพานโดยต้องใช้
    ความเพียรมาก),
    ๗. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕
    ย่อมเป็นอุทธังโสโตอกนิฏฐค�มี (ผู้มีกระแสในเบื้องบน
    ไปสู่อกนิฏฐภพ).
    ภิกษุทั้งหลาย ! อา�น�าป�นสติ อันบุคคลเจริญ
    แล้ว กระทำ�ให้ม�ากแล้ว อย่�งนี้แล ผลอ�านิสงส์ ๗
    ประกา�รเหล่า�นี้ ย่อมหวังได้ ดังนี้.

    คัดมาจาก หนังสือพุทธวจน วัดนาป่าพง เล่ม 6
    มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๙๗/๑๓๑๔-๑๓๑๖.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 22 ตุลาคม 2011
  7. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ขอก๊อปปี้มาตอบนะ ว่าแค่นั่งเฉยๆ นิ่งๆ ทำไมถึงได้บุญ

    เพราะเหตุใดจึงกล่าวว่าการสร้างบุญด้วยการภาวนานั้นจะได้บุญอย่างสูงสุด?

    ก็เพราะว่าอำนาจแห่งกฎแห่งกรรมข้อที่เรียกว่า มโนกรรมนั้นมีผลรุนแรงที่สุดทุกๆ อย่างที่เรากระทำลงไปล้วนออกมาจาก “ใจ” ก่อนเป็นอันดับแรก ดังที่มีคำกล่าวว่าใจเป็นนายกายเป็นบ่าว ใจเป็นประธานแต่ทว่าใจนั้นก็เป็นไปได้ตามพลังทั้งทางดีและทางที่ไม่ดี

    พระพุทธองค์ตรัสถึงมรรค 8 ข้อที่สำคัญที่สุดก็คือ “สัมมาทิฐิ” เป็นทางแห่งทางพ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิงคือเห็นว่าผลทุกอย่างในโลกเกิดแต่เหตุ ถ้าไม่ก่อเหตุก็ไม่เกิดผลถ้าเราสามารถจะดับที่ต้นเหตุได้ก็จะดับผลได้เช่นกัน

    เมื่อเรามีความเห็นชอบอย่างถูกต้องเที่ยงตรงแล้วเรื่องของการคิดหรือ “ดำริชอบ” จะมาเองเมื่อมีความคิดชอบแล้วก็จะส่งผลไปยังมรรคผลข้ออื่นๆ ให้ดีตาม

    อำนาจแห่งจิตหรือมโนกรรมนั้นมีตัวอย่างที่น่าสนใจในสมัยพุทธกาลจะเล่าให้ฟังอีกสักเรื่อง

    ในสมัยพุทธกาลมีพระภิกษุรูปหนึ่งเมื่อท่านมรณภาพลงแล้วก็จะมีพระอีกรูปหนึ่งนำจีวรไปใช้ แต่พระพุทธเจ้าทรงห้ามเอาไว้เสียก่อนและรับสั่งว่า พระภิกษุผู้เป็นเจ้าของจีวรนั้นได้กลับมาเกิดมาเป็นเล็นเกาะอยู่ที่จีวรที่ท่านได้ซักตากเอาไว้ เพราะจิตของท่านเมื่อกำลังจะมรณภาพลง (อาสันนกรรม) ผูกพันอยู่กับจีวรผืนนี้ที่เพิ่งจะได้มาและท่านชอบมาก หากพระภิกษุรูปใดได้นำจีวรนี้ไปใช้เล็นตัวนั้นก็จะโกรธเพราะท่านยังหวงอยู่ส่งผลให้เกิดบาปกรรมทางใจขึ้นอีกและท่านก็ไม่อาจจะไปเสวยผลแห่งกรรมดีที่ได้ทำไว้ได้

    เพียงจิตที่ขุ่นเคืองแม้เพียงเล็กน้อยเช่นนี้ยังมีอานุภาพเช่นนี้พระพุทธองค์จึงสั่งสอนอยู่เสมอว่าให้ทำความดีละเว้นความชั่วและ ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากเย็นที่สุดในหลักธรรมคำสอนทั้งปวง

    นี่เองคือเหตุผลที่ว่าเหตุใดการเจริญภาวนาซักฟอกจิตให้สะอาดเป็นบุญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดก็เพราะใจมีอำนาจแรงเหนือทุกสิ่งนี่เองสัตว์ทั้งปวงจะไปสู่ภพใดก็เป็นเพราะจิตก่อนตายเป็นสุขหรือทุกข์

    การเจริญภาวนานั้นเป็นหนทางไปสู่มรรคผลและนิพพานได้เพราะการที่จิตสะอาดจนหมดกิเลสหมดความต้องการทั้งหลายแล้วย่อมไม่เหลืออะไรติดเกาะในจิต จิตก็ว่างเปล่าไม่อาจกลับไปเกิดใหม่ได้อีกหลุดพ้นไปโดยปริยาย หากลำพังเพียงแค่การทำทานหรือรักษาศีลนั้นยังไม่มีบุญบารมีที่มากพอที่จะกำจัดกิเลสได้อย่างสิ้นเชิง

    พระพุทธองค์กล่าวเอาไว้ว่า

    แม้จะรักษาศีล 227 ข้อให้ไม่ด่างพร้อยถึง 100 ปีก็สู้การทำสมาธิภาวนาเพียงแค่ชั่วไก่กระพือปีกหรือช้างกระดิกหูไม่ได้”

    ที่มา : [url=http://torthammarak.wordpress.com/2011/06/29/การสร้างบุญด้วยการเจริญภาวนา
     
  8. Banditzth

    Banditzth สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +18
    แบบว่า เมื่อเราเอาสมาธิไปจดจ่อกับ ลมหายใจ จนเป็นขณิกสมาธิ คือ ภาวะสมาธิ ขั้นแรกสุด บุคคลที่เริ่มฝึกสมาธิแรกๆจำเป็นต้อง ใช้เวลา20นาทีเป็นอย่างน้อยถึงจะเข้าสู่ สมาธิที่ แปรสภาพเป็น บุญได้ อิอิ.. พอสมควรแก่เวลาสมาธิแล้ว ข้อควรทำคือการ แผ่เมตตา เพราะนี้ทำให้บุญมหาศาล จริงๆ
     
  9. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    .......... สนับสนุน ข้อความนี้ครับ...:cool:
     
  10. Genial

    Genial Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +82
    ถ้าอย่างนั้น การเจริญสติ คือการทำให้จิตบริสุทธิ์ จิตอันบริสุทธิ์ก็คือบุญใช่ไหมครับ เมื่อเราทำทาน อย่างการตักบาตร จิตเราก็บริสุทธ์ นั่นก็คือบุญ และถ้าเราทำบาป จิตก็จะด่างหม่นหมอง ซึ่งนั่นก็คือบาป ที่สะสมอยู่ในจิตเรา และดวงจิตนี้จะเป็นตัวนำพาไปสู่ภพภูมิต่างๆ ตามที่ได้กระทำมา ...ผมเข้าใจถูกใช่มั้ยครับ?
     
  11. chantima

    chantima เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2008
    โพสต์:
    747
    ค่าพลัง:
    +407
    การที่เราทำสมาธิ จิตที่นิ่งของเราปราศจากการปรุงแต่งใดๆของกิเลส
    จึงเกิดเป็นพลังบุญ และนี่ก็คือเหตุผลว่าทำไมนั่งสมาธิถึงได้บุญ
    สมาธิเป็นกิริยาของใจ ถ้าถนัดอย่างไหนก็ทำอย่างนั้น จะนั่ง
    ยืน เดิน หรือนอน (ขอยกเครดิตความรู้นี้ให้กับครูบาอาจารย์ศศิริยะ แห่งเรือนพญานาคค่ะ)
     
  12. chura

    chura เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    688
    ค่าพลัง:
    +1,971
    การเจริญภาวนา เป็นบุญใหญ่ เพราะเป็นบุญที่พาข้ามภพข้ามชาติพาสู่พระนิพพาน
    ซึ่งเป็น "อริยะทรัพย์" จึงเป็นทรัพย์ที่มีค่ามากกว่าการทำบุญประเภทอื่น

    ส่วนการทำบุญทำทาน อานิสงค์ที่ได้คือขัดเกลากิเลส แต่ใจต้องตั้งไว้ที่การเสียสละ
    ของเพื่อเป็นทาน ไม่ใช่ขอนั่นขอนี้เป็นสิ่งตอบแทน ส่วนอานิสงค์การทำบุญทำทาน
    ทำให้เรามีทรัพย์สมบัติติดตัวไม่ลำบากในภพชาติต่อไป แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่อริยทรัพย์
    หรือทรัพย์ที่จะพาข้ามภพข้ามชาติเหมือนการเจริญภาวนา ฉะนั้นการทำทานจึงไม่ได้เป็น
    มหากุศลครับ ^^
     
  13. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    เพราะผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งกรรม.(การกระทำของเรา)...เจตนาเป็นกรรม(การกระทำของเรา)......การเจริญสติ หรือ สัมมาสติ จะเห็น ปัจจัยนาม-รูป (กาย-ใจ)ตามความเป็นจริง...คำว่าจิตบริสุทธิ์ ไม่ได้มีบัญญัติไว้แบบแน่นอนว่าหมายความว่าอย่างไร...แต่การที่มีสติสัมปชัญญะที่ระลึกว่าสิ่งนี้เป็นกุศล เกิดกับกายใจเรา สิ่งนี้เป็นอกุศล(โลภะโทสะโมหะ..นิวรณ์เป็นต้น)....ซึ่งเป็นต้นทางแห่งการเข้าใจ รูป-นาม นี้ว่าเป็นปัจจัยแก่กันอย่างไร ตามความเป็นจริง..เพื่อความพ้นทุกข์ และความเข้าใจถึง อริยสัจ4........ซึ่งอาจจะเป็นความเข้าใจที่ลึกซึ้งที่เป็นกุศลมากกว่าบาป บุญเสียอีก สำหรับผู้ ภาวนา ที่ ต้องการพ้นทุกข์ ครับ({)
     
  14. chura

    chura เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    688
    ค่าพลัง:
    +1,971
    การเจริญภาวนา จัดเป็น อิรยทรัพย์ หรือบุญที่พาข้ามภพข้ามชาติก็จริงอยู่ แต่ก็ไม่ควร
    ละเลยการทำบุญประเภทอื่นๆด้วย เช่นผู้ที่เอาแต่เจริญภาวนามาในอดีตชาติแต่ยังไม่
    ถึงพระนิพพาน บางท่านมาเกิดในชาตินี้สามารถเจริญภาวนาต่อได้ง่าย แต่ขาดปัจจัย
    หรือทรัพย์สินบริวาร นี่ก็แสดงว่าขาดการทำบุญประเภทอื่นๆด้วย ฉนั้นแล้วถึงเราจะ
    ทำบุญใหญ่ด้วยการเจริญภาวนา แต่ไม่ควรปรามาสบุญอื่นๆว่าบุญเล็กน้อยเลยไม่ใส่ใจ
    บุญแต่ล๊ะประเ้ภทย่อมมีอานิสงค์ต่างๆกัน ฉนั้นทำให้หมดทุกประเภทครับถ้ามีกำลัง ^^
     
  15. naroksong

    naroksong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    412
    ค่าพลัง:
    +1,135
    ก่อนจะศึกษาว่าทำไม อานาปานสติจึง ทำให้เกิดบุญตามความเข้าใจของผม ควรศึกษาคำว่าบุญกุศลก่อน

    บุญกุศล โดยทั่วไป บุญ กับ กุศลมีความหมายเหมือนกัน แต่ก็มีความต่างกันดังนี้

    บุญจะหมายถึง ปุญญาภิสังขาร จะเป็นสิ่งอำนวยความสุขให้ขันธ์ 5 ในอนาคตกาล เช่นทำให้รวย สวย เป็นต้น

    ส่วนกุศลหมายถึง สิ่งที่ทำลายเครื่องกางกั้นจิต เช่น กามฉันทะ พยาบาท หรือพูดง่ายๆ คือเป็นสิ่งที่ช่วยยกระดับพัฒนาจิตนั้นเอง

    บุญเป็นกุศลทุกครั้งหรือไม?
    ตอบ ไม่ เช่นทำบุญแต่กลับอธิฐานชาตินี้กูสู้มันไม่ได้ ชาติหน้าขอให้กูได้ฆ่ามันมั่ง เป็นต้น แต่กุศลเมื่อเกิดขึ้นจะเป็นบุญทุกครั้ง เช่นเกิด เมตตาจิต กรุณาจิต ยังไม่ต้องช่วยก็เป็นบุญแล้ว

    การฝึกฝนจิตให้มีสติกับลมหายใจเข้าออกจึงเป็นทั้งบุญเป็นทั้งกุศล

    ผู้เจริญสั่งสมอานาปานสติย่อมเป็นผู้มีชีวิตเยือกเย็นเป็นสุข จะทำสิ่งใดก็บริบูรณ์ด้วยด้วยสติอันไพบูรณ์ สามารถละมโนทุจริต ได้อย่างฉับไว มีกายใจมั่นคง ท่าทางองอาจผ่าเผย มากล้นด้วยบุญกุศล

    ถ้าบุคคลมีใจอันโทษประทุษร้ายแล้ว กล่าวอยู่
    ก็ตาม ทำอยู่ก็ตาม ทุกข์ย่อมไปตามบุคคลนั้น เพราะทุจริต
    ๓ อย่างนั้น เหมือนล้อหมุนไปตามรอยเท้าโคผู้ลากเกวียนไปอยู่

    ถ้าบุคคลมีใจผ่องใส กล่าวอยู่ก็ตาม
    ทำอยู่ก็ตาม สุขย่อมไปตามบุคคลนั้นเพราะสุจริต ๓ อย่าง
    เหมือนเงามีปรกติติดตามไป

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 ตุลาคม 2011
  16. Darkever

    Darkever เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 เมษายน 2011
    โพสต์:
    450
    ค่าพลัง:
    +333
    การทำใจให้สงบ ช่วงนั้นไม่มีกิเลศเลย
    เพราะสมาธิกดกิเลศหยาบๆเอาไว้ได้ทั้งหมด
    เรียกว่า มีอารมณ์ "คล้าย" พระอรหันต์

    ถ้าเทียบกับการทำบุญแล้ว
    คนทำบุญ ขณะที่ทำบุญ กิเลศ
    ก็ยังมีเต็มเปี่ยมด้วยซ้ำ
     
  17. Kra-Tai

    Kra-Tai สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2011
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +7
    หากเราเห็นคนอื่นทำบุญ และเรายินดีในบุญของผู้อื่นคือ โมทนาบุญนั้นด้วย เราก็จะได้บุญนั้นเช่นกัน เพราะจิตเราน้อมไปทางที่ดี เห็นไหมล่ะคะว่าแค่ทำจิตใจให้ดีอยู่เฉยๆ ก็ได้บุญเช่นกัน ฉะนั้นจิตเรานี้สำคัญที่สุด การภาวนา การกำหนดลมหายใจ การฝึกสติ ล้วนเป็นการฝึกให้จิตเราอยู่ในทางที่ดีค่ะ
     
  18. ภูทยานฌาน

    ภูทยานฌาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    129
    ค่าพลัง:
    +188
    บุญจากการภาวนา

    บุญจากการภาวนา
    หลวงปู่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องของการปฏิบัติบูชามาก เนื่องจากประโยชน์ที่จะได้รับในขณะที่ปฏิบัติสมาธินั้น ได้บุญพร้อมถึง ๓ องค์คือ ทาน ศีล และภาวนา..(หลวงปู่ดู่)

    สำหรับ การเจริญภาวนา ในขั้น บุญกิริยาวัตถุ นี้ โดยทั่วไป ท่านหมายเอาเพียง มหากุศลธรรมดา แต่หากว่าผู้ใด ได้ศึกษา ข้อปฏิยัติ ให้มีความเข้าใจ ก่อนลงมือปฏิบัติ แล้วพากเพียรปฏิบัติ ให้ถูกต้อง ตามแนวทาง ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงไว้ ก็สามารถเป็นบันได ให้ก้าวไปถึงฌาน หรือมรรคผลได้
    (รายละเอียดในมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ สติปัฏฐานสูตร ข้อ ๑๓๑ - ๑๕๒ และทีฆนิกาย มหาวรรค สติปัฏฐานสูตร ข้อ ๒๗๓ - ๓๐๐)
     
  19. Fabreguz

    Fabreguz เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    645
    ค่าพลัง:
    +1,911
    ผมขออธิบาย ง่ายๆตามหลักพื้นฐานที่ศึกษามา จะได้เข้าใจง่ายๆนะครับ

    บุญ เกิดจาก กาย วาจา ใจ(จิตอันเดียวกัน) ใจคิดดี วาจาก็จะพูดดี กายก็ทำดี

    ถ้าใจมีกิเลส เช่น โลภ โกรธ หลง มาก... ก็จะพูดไม่ดี เพ้อเจ้อ หยาบคาย โกหก ส่อเสียด บ้าง และสุดท้าย กาย ก็ลงมือทำสิ่งที่ไมดีตามกำลังกิเลส คือจิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว เมื่อไม่มีสติ กายก็ลงมือทำตามกิเลส เช่น ข่มขืนหญิง,เมาสุรา,โกหก,ฆ่าคน สัตว์,ลักขโมย ฉ้อโกง นี่คือผิดศีล เพราะการขาดสติ..... และอะไรละที่จะทำให้กำลังสติของเราเข้มแข็ง นั่นก็คือ การปฏิบัติภาวนา ลำดับขั้นการทำบุญ ทาน ศีล ภาวนา สำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้ ทาน คือการให้ การสละ สละในที่นี้คือการสละความตระหนี่ในใจ ความยึดมั่นถือมั่นว่านี่ของเรา สละออกบ่อยๆ เมื่อจิตคลายแล้ว ความมีเมตตาจะเกิดขึ้นในใจมาก ศีล คือกรอบความบริสุทธิ์ของใจคือการไม่เบียดเบียนผู้อื่น ผู้ที่มีศีลบริสุทธิ์ทำบุญ ในปริมาณที่เท่ากับ ผู้ทุศีล ผู้ที่มีศีลบริสุทธิ์ย่อมได้บุญมากกว่า...
    ภาวนา คือ สมถะ และ วิปัสสนากรรมฐาน สมถะ คือความสงบนิ่งของจิต ยิ่งนั่งได้สงบนิ่งดิ่งลึกจิตก็จะเข้าสู่ความสงบ เข้าสู่ภวังค์ หรือณาน ได้ (อันนี้ไปศึกษาต่อเอง) ตัวสมถะนี่แหละ ที่ทำให้สติเราเข้มแข็งขึ้นเพื่อที่จะไปคุมกาย คุมใจ มิให้บกพร่องในศีล วิปัสสนาคือมีสติรู้ทัน ความโกรธ ความโลภ ความหลงที่เกิดขึ้นในใจ แล้วไม่ไปทำตาม คือรู้ทัน......... ตัววิปัสสนา นี่แหละทำให้เกิดปัญญา....... สรุปแล้วลงที่ว่า การปฏิบัติภาวนา ไม่ว่า สมถะ หรือ วิปัสสนา ให้ผลในระดับจิตใจ เพื่อยกระดับจิตเป็นการสั่งสมอริยทรัพย์ทางใจ เปรียบเสมือนการทำความสะอาดจิต จนกว่าจะบรรลุพระอรหันต์ มุ่งสู่พระนิพพาน..... การทำบุญในระดับ ทาน ศีล อาจได้ผลในทาง โลกียะคือ ความสุขที่เป็นของหยาบมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ความสุขในระดับสวรรค์ เป็นต้น..... แต่การภาวนาเป็นบุญในระดับโลกุตระซึ่งทำให้หลุดพ้น จากการเวียนว่ายตายเกิด เดี๊ยวเกิดเป็นคน เดียวเป็นสัตว์เดรัจฉาน งู สุนัข ปลา นก มด เยอะแยะ เผลอทำผิด อาจตกลงอบายภูมิ มีเปรต อสูรกาย.. หรือหนักกว่านั้นทำผิดมากก็ลงนรก แม้แต่การทำภาวนา ได้ณาน ตายไปได้เกิดในชั้นพรหม มีสุขเป็นทิพย์ แต่ถ้ายังไม่ละโลภ โกรธ หลง เมื่อหมดอายุขัย ก็ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอยู่ดี......... สุดท้าย ขอให้ตั้งใจรักษาศีล 5 ให้บริสุทธิ์ ให้ทาน ฟังธรรม ตามกาลสมควร และปฏิบัติภาวนา เพื่อให้รู้ทัน โลภ โกรธ หลง .... ใครด่าแบบสุดๆ ก็ เฉยๆได้ รู้ทันความโกรธปะทุในจิต แต่เราไม่ด่าตอบได้ ... รู้ทัน สิ่งกระทบ เพื่อละกิเลส ตัด ปล่อยวาง.... เวลาทำบุญก็อษิฐาน ขอให้ตนมีสัมมาฐิฎิทุกภพชาติ ปฏิบัติตนจนกว่าจะหมดทุกข์ มุ่งสู่พระนิพพาน อีกนิดนึง แม้แต่การให้ทาน การคิดก็มีผลต่อบุญเช่นกัน การให้ทานโดยไม่หวังผลไม่หวังสิ่งตอบแทน ย่อมมีผลมากกว่าทำเพื่อหวังผล เอาหน้า อย่างแน่นอน..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2011
  20. ธรรมภัฎ

    ธรรมภัฎ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2009
    โพสต์:
    463
    ค่าพลัง:
    +734
    ก็ยังหาคำตอบไม่ได้เหมือนกันนะว่า บุญมันเป็นตัวยังไง ใหญ่เล็กดำขาวหรืออย่างไรกัน

    ที่เห็นก็มีแต่แสงวิ่งไปวิ่งมาเวลาตัวเราเองหรือคนอื่นคิด นึกหรือทำความดี อันนั้นมั้งคงเป็นสิ่งที่เขาเรียกว่าบุญ

    ส่วนบุญจากการภาวนานั้น ผีมันบอกว่า มันเอาตัวนี้ตัวเดียวมันก็พอแล้ว สบายแล้ว เพราะมันใหญ่มากเลย

    เออ...ให้มันไปแล้ว มันก็สวยมาเยอะแล้วเหมือนกัน

    เจริญธรรม
     

แชร์หน้านี้

Loading...