พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>เครื่องทองลงหินบ้านบุ ตำนานมีชีวิตหนึ่งเดียวในไทย</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>9 มีนาคม 2550 09:56 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    http://www.manager.co.th/SMEs/ViewNews.aspx?NewsID=9500000026503
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=right width=1 height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=bottom align=middle background=/images/linedot_hori.gif height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=bottom align=left width=1 height=1>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle width=1 background=/images/linedot_vert.gif>[​IMG]</TD><TD><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=center align=middle width=1 background=/images/linedot_vert.gif>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right width=1 height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle background=/images/linedot_hori.gif height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=left width=1 height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=left height=12>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#cccccc><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle bgColor=#ffffff><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=160><TABLE cellSpacing=4 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=middle>คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>เมตตา เสลานนท์ </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>ตัองทำงานหน้าเตาไฟร้อนระอุ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>ขั้นตอนการตีเหล็กให้ได้รูป</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>วัตถุดิบทองแดง และดีบุก </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle width=165 height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=4 background=/images/linedot_vert3.gif>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=7 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    [​IMG]

    [​IMG][​IMG]

    วิธีบูชาพระบรมครูพระเทพโลกอุดร<O:p</O:p

    จะเป็นภาพถ่ายหรือรูปหล่อของหลวงปู่ท่าน หรือพระพิมพ์ที่หลวงปู่ท่านได้อธิษฐานจิตไว้ย่อมใช้ได้ทั้งสิ้น หลวงปู่ท่านโปรดผู้ประพฤติอยู่ในศีลธรรม ชอบอาหารมังสะวิรัติ ชอบฟังคำสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก ชอบบูชาด้วยดอกมะลิสด น้ำฝน 1 แก้ว เทียนหนักหนึ่งบาท 1 คู่ ธูปหอม 5 ดอก (คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้าหรือหลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปานหรือหลวงพ่อโอภาสี วัดโอภาสี บางมด) ) การปฏิบัติธรรมสังวรณ์ในกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ประกอบด้วยศีล 5 เป็นอย่างน้อย ย่อมเป็นสิ่งพึงพอใจของหลวงปู่และทั้งยังให้ความสุชความเจริญทั้งคดีโลกและคดีธรรมแก่ผู้ปฏิบัติ

    สำหรับพิมพ์อรหันต์ พิมพ์ปิดตา และพิมพ์มหากัจจายนะซึ่งเป็นองค์เดียวกันแต่ปางต่างกันหากจะอาราธนาอย่างพิศดารก็ย่อมกระทำได้ กล่าวคือพิมพ์อรหันต์ใหญ่ พิมพ์อรหันต์กลางและพิมพ์อรหันต์น้อย อยู่ในหมวดพระมหากัจจายนะรูปงามซึ่งเป็นรูปเดิมก่อนการอธิษฐานวรกายให้ต่อท้ายด้วยคาถาดังนี้

    พิมพ์อรหันต์
    อรหันติกัจจายนะเถโร มหาโภโค มหาลาโภ รูปะวะระเชยยะสิทธิเม
    (เชยยะ อ่านว่า ไชยะ ; รูปะวะระ แปลว่า รูปงาม)
    *** โลกุตตะโร ปัญจะ มหาเถโร อะหัง วันทามิตัง สะทา อรหันติกัจจายนะเถโร มหาโภโค มหาลาโภ รูปะวะระเชยยะสิทธิเม ***

    สำหรับสำหรับพิมพ์พระปิดตาซึ่งเป็นปางอธิษฐานวรกายให้สวดพระคาถา โลกุตตะโร ปัญจะ มหาเถโร อะหัง วันทามิตัง สะทา แล้วต่อท้ายด้วยพระคาถาต่อไปนี้
    พิมพ์พระภควัมปติ(ปิดตา)
    ควัมปติ จะ มหาเถโร มหาโภโค มหาลาโภ เชยยะสิทธิเม
    *** โลกุตตะโร ปัญจะ มหาเถโร อะหัง วันทามิตัง สะทา ควัมปติ จะ มหาเถโร มหาโภโค มหาลาโภ เชยยะสิทธิเม ***

    สำหรับพิมพ์พุงพลุ้ยที่นิยมเรียกกันว่า พระสังกัจจายน์ คำนี้ไม่มีศัพท์นี้ในภาษาบาลี ที่ถูกต้องคือ พระมหากัจจายนะ เถระเจ้าอัน
    เป็นปางหลังจากที่นิมิตวรกายแล้ว ให้สวดพระคาถา โลกุตตะโร ปัญจะ มหาเถโร อะหัง วันทามิตัง สะทา แล้วต่อท้ายด้วย พระคาถาต่อไปนี้
    อรหันติกัจจายนะเถโร มหาโภโค มหาลาโภ เชยยะสิทธิเม
    ***โลกุตตะโร ปัญจะ มหาเถโร อะหัง วันทามิตัง สะทา อรหันติกัจจายนะเถโร มหาโภโค มหาลาโภ เชยยะสิทธิเม ***
    จะเห็นว่าตัดเอาคำว่า รูปะวะระออกไปเพราะสิ้นความงดงามแล้ว

    พระพิมพ์ของคณะพระเทพโลกอุดรนั้นทุกรูปแบบทุกพิมพ์ทรงมีอานุภาพครอบจักรวาล อาราธนาทำน้ำมนต์ประสิทธิ์ยิ่งนัก โดยให้นำเอาพระแช่ในภาชนะที่บรรจุน้ำเรียบร้อยแล้ว บูชาด้วยดอกไม้ จุดธูปเทียน แล้วอธิษฐานตามความมุ่งหมาย เสร็จแล้วให้รีบนำพระขึ้นเช็ดน้ำด้วยสำลีหรือผ้าสะอาด ผึ่งลมให้แห้งก่อนนำไปบรรจุตลับ องค์พระจะไม่ละลายลบเลือนและไม่ควรแช่ในน้ำนานเกินควร จงทะนุถนอมให้จงดี เพราะหาไม่ได้อีกแล้ว

    สำหรับท่านที่มีพระอันเป็นทิพยสมบัติอันทรงคุณค่า โดยได้รับสืบทอดมาจากบรรพชนหรือได้รับจากทางใดทางหนึ่งก็ตาม เสมือนมีแก้วสารพัดนึกอยู่กับตัว ไม่จำเป็นต้องขวนขวายในอิทธิวัตถุอื่นอีก<O:p</O:p

    วิธีบูชาพระบรมครูพระเทพโลกอุดร

    คำบูชาบรมครูพระโลกอุดร
    นะโมตัสสะภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯลฯ ( 3 จบ )<O:p</O:p
    โย อะริโย มะหาเถโร อะระหัง อะภิญญาธะโร ปฎิสัมภิทัปปัตโต เตวิชโช พุทธะสาวะโก พะหู เมตตาทิวาสะโน มะหาเถรา นุสาสะโก โส โลกุตตะโร นาโม อัมเหหิ อะภิปูชิโต อิฐะ ฐานูปะมาคัมมะ กุสะเล โน นิโยชะเย ปุตตะเมวะ ปิยัง เทสิ มัคคะผะลัง วะ เทสสะติ ปะระมะสาริกะธาตุ วะชิรัญจา ปิวานิตัง โส โลเก จะ อุปปันโน เอเกเนวะ หิตังกะโร อะยัง โน โข ปุญญะลาโภ อัปปะมัตโต ภะเวตัพโพ สาธุกันตัง อะนุกะริสสามะ ยัง เวเรนะ สุภาสิตัง โลกุตตะโร จะ มหาเถโร เทวะตา นะระปูชิโต โลกุตตะระคุณัง เอตัง อะหัง วันทามิ ตัง สะทา มะหาเถรา นุภาเวนะ สุขัง โสตถี ภะวันตุ เม

    บทสวด แบบย่อหรืออาราธนาพระพิมพ์ (ได้ทุกทรงพิมพ์)<O:p</O:p
    โลกุตตะโร ปัญจะ มะหาเถโร อะหัง วันทามิ ตัง สะทา
    หรือภาวนา ๓ จบ , ๗ จบ , ๙ จบ (เช้า-เย็น ตื่นนอนและก่อนนอน)<O:p</O:p
    โลกุตตะโร ปัญจะ มะหาเถโร อะหัง วันทามิ ตัง สะทา เมตตาลาโภ นะโสมิยะ อะหะพุทโธ

    หมายเหตุ : บทความที่นำมาเสนอนี้ได้รับการอนุญาตในการคัดลอกและเรียบเรียงเพื่อเผยแพรเป็นวิทยาทานจากท่าน อาจารย์ ประถม อาจสาครเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นับเป็นพระคุณและความกรุณาอย่างยิ่ง<O:p</O:p

    ผมขอเสริมนะครับ ท่านสามารถอาราธนาเป็นภาษาไทย ได้นะครับ ถ้ายังจำบทสวดของท่านไม่ได้ครับ

    ท่านที่ห้อยพระหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร ที่ท่านเมตตาเสกให้นั้น หากมีความจำเป็นที่ต้องไปในสถานที่อโคจรทั้งหลาย ผมมีบทสวดที่ใช้ในการนี้มาฝากทุกท่านครับ

    ก่อนที่จะเข้าไปในสถานที่อโคจรให้สวด อิติภะคะโว
    กลับออกมาจากสถานที่อโคจรให้สวด โสภะคะวา

    หรือก่อนที่จะเข้าไปในสถานที่อโคจรให้สวด อะระหัง
    กลับออกมาจากสถานที่อโคจรให้สวด หังระอะ

    บทแผ่เมตตาโบราณ<O:p</O:p
    นะเมตตา โมเมตตา ปะวาเสนตัง อะหังโหมิ สุจิตตาปะมาทาตุ สุจิตโตปะโมทาตุ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    บทแผ่เมตตาอันยิ่งใหญ่<O:p</O:p
    มหาโคตะโมปาทะเกอิ จะอะปาทะเกอิ เมเมตตังเมตตัง

    สำหรับท่านที่ได้บูชาพระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร อธิษฐานจิตไว้ให้นั้น ผมขอเรียนชี้แจงให้ทราบกันนะครับว่า การวางพระพิมพ์หรือวัตถุมงคลต่างๆ ต้องวางไว้ในที่เหมาะสม ควรใช้พวงมาลัยไว้พระพิมพ์ (เป็นการไหว้หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร และเทวดาผู้ที่รักษาพระพิมพ์) พวงมาลัยที่ใช้ไหว้นั้น ต้องเป็นพวงมาลัยที่มีดอกรัก ,ดอกมะลิ ,ดอกกุหลาบ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ แต่ห้ามใช้พวงมาลัยที่เป็นดอกดาวเรืองโดยเด็ดขาด ส่วนการวางพวงมาลัย ควรหาพานมาเพื่อใช้ในการวางพวงมาลัยครับ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    หากท่านใดที่ได้ทำบุญไม่ว่าจะเป็นการทำบุญเรื่องอะไรก็ตาม ควรที่จะกรวดน้ำให้กับผู้เสก,ผู้สร้าง และเทวดาประจำองค์พระพิมพ์ด้วยทุกๆครั้งนะครับ<O:p</O:p
    <!-- / message --><!-- sig -->
    <!-- / message --><!-- sig -->
    **************************************************




    ไหว้ 5 ครั้ง<O[​IMG]</O[​IMG]




    ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( เจริญ ญาณวรเถระ )<O[​IMG]</O[​IMG]




    วัดเทพศิรินทราวาส<O[​IMG]</O[​IMG]

    [​IMG]

    คัดลอกจาก http://www.konmeungbua.com/saha/Lung...pu_armpan.html<O[​IMG]</O[​IMG]

    ในวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ไม่ว่าเวลาไร ตามแต่เหมาะต้องไหว้ให้ได้ 5 ครั้งเป็นอย่างน้อย ในคราวเดียวนั้น ถ้ามีดอกไม้ธูปเทียนก็บูชา ถ้าไม่มีก็มือ 10 นิ้วและปากกับใจ ควรไหว้จนตลอดชีวิต คือ<O[​IMG]</O[​IMG]
    <O[​IMG]</O[​IMG]

    ครั้งที่ 1 พึงนั่งกระโหย่งเท้าประณมมือว่า<O[​IMG]</O[​IMG]
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ 3 หน แล้วว่าพระพุทธคุณ คือ<O[​IMG]</O[​IMG]
    อิติปิโส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสานํ พุทฺโธ ภควาติ ฯ<O[​IMG]</O[​IMG]
    หยุดระลึกถึงพระปัญญาคุณทรงรู้ดีรู้ชอบสิ้นเชิง พระบริสุทธิคุณทรงละความเศร้าหมองได้หมด พระกรุณาคุณทรงสงสารผู้อื่นและสั่งสอนให้ปฏิบัติตามของพระพุทธเจ้า จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ <O[​IMG]</O[​IMG]
    <O[​IMG]</O[​IMG]

    ครั้งที่ 2 ว่าพระธรรมคุณ คือ<O[​IMG]</O[​IMG]
    สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโน สนฺทิฆฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญญูหีติ ฯ<O[​IMG]</O[​IMG]
    หยุดระลึกถึงคุณพระธรรมที่รักษาผู้ปฏิบัติตามไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ <O[​IMG]</O[​IMG]
    <O[​IMG]</O[​IMG]

    ครั้งที่ 3 ว่าพระสังฆคุณ คือ<O[​IMG]</O[​IMG]
    สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสยุคานิ อฏฐปุริสปุคฺคลา เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ อาหุเนยฺโย ปาหุเนยฺโยทกฺขิเนยฺโย อญฺชลิกรณีโย อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺสาติฯ<O[​IMG]</O[​IMG]
    หยุดระลึกถึงคุณ คือ ความปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูก ปฏิบัติชอบ ของพระอริยสงฆ์ จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ<O[​IMG]</O[​IMG]
    นั่งพับเพียบประณมมือตั้งใจถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะไม่ถือสิ่งอื่นยิ่งกว่าจนตลอดชีวิต ว่าสรณคมน์ คือ<O[​IMG]</O[​IMG]
    พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ<O[​IMG]</O[​IMG]
    ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ<O[​IMG]</O[​IMG]
    สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ<O[​IMG]</O[​IMG]
    ทุติยมฺปิ พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ <O[​IMG]</O[​IMG]
    ทุติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ<O[​IMG]</O[​IMG]
    ทุติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ <O[​IMG]</O[​IMG]
    ตติยมฺปิ พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ <O[​IMG]</O[​IMG]
    ตติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ<O[​IMG]</O[​IMG]
    ตติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ <O[​IMG]</O[​IMG]
    <O[​IMG]</O[​IMG]

    ครั้งที่ 4 ระลึกถึงคุณมารดาบิดาของตน จนเห็นชัดแล้ว กราบลงหน 1 ฯ<O[​IMG]</O[​IMG]
    ข้า ฯ ขอ กราบไหว้คุณท่านบิดาและมารดา<O[​IMG]</O[​IMG]
    เลี้ยงลูกเฝ้ารักษา แต่คลอดมาจึงเป็นคน<O[​IMG]</O[​IMG]
    แสนยากลำบากกายไป่คิดยากลำบากตน<O[​IMG]</O[​IMG]
    ในใจให้กังวลอยู่ด้วยลูกทุกเวลา<O[​IMG]</O[​IMG]
    ยามกินพอลูกร้องก็ต้องวางวิ่งมาหา<O[​IMG]</O[​IMG]
    ยามนอนห่อนเต็มตาพอลูกร้องก็ต้องดู<O[​IMG]</O[​IMG]
    กลัวเรือดยุงไรมดจะกวนกัดรีบอุ้มชู<O[​IMG]</O[​IMG]
    อดกินอดนอนสู้ ทนลำบากหนักไม่เบา<O[​IMG]</O[​IMG]
    คุณพ่อแม่มากนักเปรียบน้ำหนักยิ่งภูเขา<O[​IMG]</O[​IMG]
    แผ่นดินทั้งหมดเอามาเปรียบคุณไม่เท่าทัน<O[​IMG]</O[​IMG]
    เหลือที่ จะแทนคุณ ของท่านนั้น ใหญ่อนันต์<O[​IMG]</O[​IMG]
    เว้นไว้ แต่เรียนธรรม์ เอามาสอนพอผ่อนคุณ<O[​IMG]</O[​IMG]
    สอนธรรมที่จริงให้ รู้ไม่เที่ยงไว้เป็นทุน<O[​IMG]</O[​IMG]
    แล้วจึงแสดงคุณ ให้เห็นจริงตามธรรมดา<O[​IMG]</O[​IMG]
    นั่นแหละจึงนับได้ ว่าสนองซึ่งคุณา<O[​IMG]</O[​IMG]
    ใช้ค่าข้าวป้อนมาและน้ำนมที่กลืนกิน ฯ<O[​IMG]</O[​IMG]
    <O[​IMG]</O[​IMG]

    ครั้งที่ 5 ระลึกถึงคุณของบรรดาท่านผุ้มีอุปการคุณแก่ตน เช่น พระมหากษัตริย์และครูบาอาจารย์ เป็นต้นไป จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ<O[​IMG]</O[​IMG]
    ข้า ฯ ขอนอบน้อมคุณแด่ท่านครู ผู้อารี<O[​IMG]</O[​IMG]
    กรุณาและปรานีอุตส่าห์สอนทุก ๆ วัน<O[​IMG]</O[​IMG]
    ยังไม่รู้ ก็ได้รู้ ส่วนของครูสอนทั้งนั้น<O[​IMG]</O[​IMG]
    เนื้อความทุกสิ่งสรรพ์ดีชั่วชี้ ให้ชัดเจน<O[​IMG]</O[​IMG]
    จิตมากด้วยเอ็นดูอยากให้รู้เหมือนแกล้งเกณฑ์<O[​IMG]</O[​IMG]
    รักไม่ลำเอียงเอนหวังให้แหลมฉลาดคม<O[​IMG]</O[​IMG]
    เดิมมืดไม่รู้แน่เหมือนเข้าถ้ำเที่ยวคลำงม<O[​IMG]</O[​IMG]
    สงสัยและเซอะซมกลับสว่างแลเห็นจริง<O[​IMG]</O[​IMG]
    คุณส่วนนี้ควรไหว้ ยกขึ้นไว้ ในที่ยิ่ง<O[​IMG]</O[​IMG]
    เพราะเราพึ่งท่านจริงจึงได้รู้ วิชาชาญ ฯ<O[​IMG]</O[​IMG]

    (บทประพันธ์สรรเสริญคุณมารดาบิดา และ ครูบาอาจารย์ของ ท่านอาจารย์ จางวางอยู่ เหล่าวัตร วัดเทพศิรินทราวาส<O[​IMG]</O[​IMG]

    ลิขสิทธิ์เป็นของ ท่านเจ้าคุณพระโศภนศีลคุณ (หลวงปู่หลุย พาหิยาเถร) วัดเทพศิรินทราวาส)
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    ต่อไปนี้ไม่ต้องประณมมือ ตั้งใจพิจารณาเรื่อง และร่างกายของตนว่า จะต้องแก่ หนีความแก่ไปไม่พ้น จะต้องเจ็บ หนีความเจ็บไปไม่พ้น จะต้องตาย หนีความตายไปไม่พ้น จะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น มีกรรมเป็นของตัว คือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นอนิจจังไม่เที่ยง ไม่แน่นอน เป็นทุกข์ลำบากเดือดร้อน เป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของตน ฯ ครั้งพิจารณาแล้ว พึงแผ่กุศลทั้งปวงมีการกราบไหว้เป็นต้นนี้ อุทิศให้แก่ท่านผู้มีคุณมีมารดาบิดา เป็นต้น ตลอดจนชั้นสูงสุด คือพระมหากษัตริย์ ทั้งเทพยดามนุษย์และสัตว์ทั้งหลายว่า จงเป็นสุข ๆ อย่ามีเวรมีภัยเบียดเบียนกันและกัน รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    การไหว้ 5 ครั้งนี้ ถ้าวันไหนขาด ให้ไหว้ใช้ 5 ครั้งในวันรุ่งขึ้น ถ้านั่งกระโหย่งเท้าไม่ได้ ก็นั่งพับเพียบ ถ้าไม่ได้ ก็นอนไหว้ เมื่อยกมือไม่ขึ้น ก็ปากกับใจ ถ้าทำได้อย่างนี้เป็นเครื่องพยุงตนให้เป็นคนดี ไม่ให้เป็นคนชั่ว และให้ตั้งอยู่ในที่ดี ไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ถ้าผู้ใดประพฤติได้เสมอตลอดชีวิต ผู้นั้นจะอุ่นใจในตัวของตัวเอง มีความเจริญงอกงามไพบูลย์ยิ่ง ๆ ขึ้นเสมอทุกคืนทุกวัน คุ้มครองป้องกันภยันตรายปราศจากความเสียหายที่ไม่เหลือวิสัย และ ตั้งตัวได้ในทางคดีโลกและทางคดีธรรม เต็มภูมิเต็มขั้นของตน ๆ ทุกประการ จบเท่านี้ ฯ

    สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( เจริญญาณวรเถระ )

    http://72.14.235.104/search?q=cache:...h&ct=clnk&cd=7

    [​IMG]

    สมเด็จพระพุทธโฆษจารย์ นามเดิม เจริญ สุขบท เกิดในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2415 ที่จังหวัดชลบุรี เป็นบุตรนาย ทองสุก และนางย่าง

    เมื่ออายุ 8 ปี ได้เป็นศิษย์ของท่านเจ้าคุณชลโธปมคุณมุณี (พุฒ ปุณณกเร) ปฐมวัยอาวาสวัดเขาบางทราย

    เมื่ออายุ 12 ปีได้บรรพชาที่วัดเขาบางทราย และเข้าศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดราชบพิธอุปสมบทเมื่อวันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ.2435 ที่วัดเขาบางทราย จังหวัดชลบุรี พ.ศ.2439 ได้ศึกษาพระวินัยปิฎกในสำนัก สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ที่วัดเทพศิรินทราวาส

    "ตาบุญ (พระยาธรรมปรีชา) ผู้เป็นอาจารย์สอนบาลีของ
    เจ้าพระคุณสมเด็จฯ มอบช้างเผือกส่งเข้ามาให้ "
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยา วชิรญาณวโรรส ออกพระโอษฐ์รับสั่งเมื่อครั้งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวรเร) สอบไล่ภาษาบาลี ในมหามงกุฎราชวิทยาลัยได้ที่ 1ทุกชั้นเป็นลำดับมา

    พ.ศ.2441 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระราชาคณะที่พระอัมราภิลักขิต เป็นผู้อำนวยการศึกษามณฑลปราจีนบุรี ต่อมาได้ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาสได้เลื่อนสมณศักดิ์เรื่อยมา

    พ.ศ.2471 โปรดให้สถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์

    พ.ศ.2476กรรมการเถรสมาคมมีมติให้ท่าน เป็นประธานกรรมการมหาเถรสมาคมบัญชาการคณะสงฆ์แทนพระสังฆราชเจ้าซึ่งสิ้นพระชนม์ ประมวลเกียรติคุณพิเศษสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวรเร)เป็นพระเถระบริหารงานพระศาสนาถึง 5 แผ่นดิน คือแต่รัชกาลที่ 5-9 เป็นพระราชาคณะแต่อายุ 28 ปี เป็นสมเด็จพระราชาคณะแต่อายุ 57 ปี นับเป็นพระเถระที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์พรรษาน้อยกว่า พระเถระหลายรูปเป็นเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส แต่อายุ 28 ปี ถึง 80 ปีรวม 53 ปี นับว่ายาวนานที่สุดไม่มีใครเทียบได้
    เมื่อสอบนักธรรม หรือบาลีจะสอบได้ที่ 1 ทุกชั้นทุกประโยคเป็นรูปเดียวในสังฆมณฑล ดำรงตำแหน่งแม่กองธรรมสนามหลวง แม่กองบาลีสนามหลวง องค์เดียวกัน
    ในวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ.2494เวลา 10.30 น. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวรเระ)มรณภาพด้วยโรคเนื้องอกที่ตับรวมอายุได้ 80 ปี พรรษาที่ 59

    ความคิดเห็นส่วนตัวผม
    ท่านสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถระ) ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต (ตรึก จินตยานนท์) ท่านบอกกับผู้ที่ไปกราบท่านว่า ขอให้ทุกๆวันได้ไหว้ 5 ครั้ง จะได้เป็นศิริมงคลกับตนเอง จะเหมือนกับชื่อของท่าน (เจริญ) ครับ ท่านเจ้าคุณนรเอง ก็มีความเคารพในท่านสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ)มาก โดยท่านเจ้าคุณนรเอง เวลาเดินผ่านกุฎิของท่านสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(เจริญ)ทุกครั้ง ท่านเจ้าคุณนร ก็จะก้มลงกราบที่กุฎิอยู่ทุกครั้งครับ

    .*********************************************.
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ปัจจุบัน ผมมอบพระให้กับผู้ร่วมทำบุญในกระทู้ 2 กระทู้ดังนี้ครับ

    1.เชิญร่วมบริจาคค่าขุดบ่อบาดาล สนส บ่อเงินบ่อทองบัญชีออมทรัพย์ 2030-06304-5 บัญชี รร.พระปริยัติธรรมบ่อเงินบ่อทอง ปริยัติศึกษา บมจ.ธ.กรุงไทย สาขาพนมสารคาม

    2.ขอเชิญร่วมสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ณ สำนักสงฆ์ผาผึ้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ บมจ.ธนาคารกรุงไทย สาขาลาดพร้าว 102 บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 189-0-13128-8 ชื่อบัญชี นางพิชญ์สินี ชาญปารีชญา ,นายอุเทน งามศิริ ,นายสิรเชษฏ์ ลีละสุนทเลิศ <!-- / sig -->

    รายละเอียดสามารถดูได้หน้าแรกของทั้งสองกระทู้ครับ

    โมทนาสาธุครับ
    <!-- / message --><!-- sig -->
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=11148
    โดย I am

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=2 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=maintitle vAlign=top> ความประมาท (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ความประมาทเป็นเรื่องใหญ่ ครองชีวิตจิตใจของคนในโลก นอกจากท่านผู้พ้นจากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง เป็นผู้มีบุญได้พบพระพุทธศาสนาแล้ว จะแตกต่างกันก็แต่เพียงผู้ใดจะประมาทมาก ผู้ใดจะประมาทน้อย

    ความประมาทมีโทษใหญ่หลวง ก่อให้เกิดความหายนะได้อย่าฆ่าตัวเองเสียด้วยความประมาท พระพุทธศาสนาสุภาษิตที่อัญเชิญมาเบื้องต้น ที่มีความว่า “ร่างกายของสัตว์ย่อยยับได้ แต่ชื่อและสกุลไม่ย่อยยับ”

    นี้น่าจะเป็นเครื่องช่วยยับยั้งความประมาทได้ แต่ก็จะได้เฉพาะผู้รักชื่อรักสกุลเท่านั้น แต่ไม่มีความหมายสำหรับผู้ไม่เห็นความสำคัญของชื่อเสียงวงศ์ตระกูล ไม่แยแส ไม่ห่วงใย เพราะไม่เห็นไม่เข้าใจเสียด้วย ว่าชื่อเสียงวงศ์สกุลอยู่ที่ไหน ความจริงชื่อเสียงมีความสำคัญยิ่งกว่าชีวิตร่างกาย

    เพราะดังพระพุทธศาสนสุภาษิตที่อัญเชิญมา ร่างกายย่อยยับได้เมื่อชีวิตออกจากร่าง ร่างก็ไม่อาจดำรงอยู่ต่อไปเช่นปกติ ต้องแตกดับลับหาย กลายเป็นดิน นานไปผู้คนที่เคยรักเคยห่วงเคยหวงก็จะหมดความรู้สึกนั้น

    แต่ชื่อเสียงของผู้ที่ร่างกายแตกดับลับพ้นไปจากความรู้สึกนึกคิดของใครทั้งหลายแล้ว จะไม่หายไปพร้อมกับร่างกายแน่นอน ทั้งที่ดีและที่ชั่วจะยังกำรงอยู่ยืนนานนัก เป็นร้อย เป็นพันปี หรือเป็นกี่ร้อยกี่พันปีก็ย่อยยังดำรงอยู่ความชั่วจะปรากฏอยู่ในโลก ให้โลกรู้

    ในทำนองเดียวกัน แม้มีความดี ความดีก็จะปรากฏอยู่ในโลก ให้โลกรู้ หลักฐานรับรองความจริงนี้มีอยู่เป็นที่ประจักษ์แก่ทุกจิตใจ ท่านผู้มีคุณงามความดีในสมัยประวัติศาสตร์ ยังเป็นที่รู้จักเทิดทูนอยู่แม้ในปัจจุบัน

    ส่วนผู้มีความเสื่อมเสียในสมัยประวัติสาสตร์ ก็ยังเป็นที่รู้จักอย่างรังเกียจดูแคลนแม้ในปัจจุบัน นี้ที่พระพุทธศาสนาสุภาษิตกล่าวไว้ ว่าชื่อและสกุลไม่ย่อยยับ

    : แสงส่องใจ เมษายน ๒๕๔๘
    : สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=11141

    โดย I am

    ความโกรธ เกิดจากความคิดปรุงแต่ง (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)

    ความปรุงใจเป็นสิ่งสำคัญ ทำความรู้ความเข้าใจในเรื่องความปรุงของใจเสียก่อน ให้เห็นแน่ชัดเสียก่อนว่า ความโกรธหรือไม่โกรธ ไม่ได้เกิดจากเสียงภายนอกที่มากระทบประสาทหู

    แต่ความโกรธหรือไม่โกรธ ชอบหรือไม่ชอบ เกิดจากความปรุงคิดแท้ๆ ความปรุงคิดของในเรานี้แหละ ที่ทำให้เกิดความชอบหรือไม่ชอบ ความโกรธหรือไม่โกรธ เมื่อความชอบหรือไม่ชอบ โกรธหรือไม่โกรธเกิดได้เพราะความปรุงคิด จึงมิได้เพราะบุคคลภายนอกแต่เกิดจากตัวเองเท่านั้น

    ตัวเองนี้แหละเป็นเหตุให้ชอบหรือไม่ชอบ โกรธหรือไม่โกรธ เวลาเกิดความไม่ชอบหรือความชอบ ความโกรธก็เกิดขึ้นจึงควรมีสติรู้ว่าตนเองเป็นผู้ทำให้เกิด ไม่มีผู้อื่นมาทำ เมื่อใจไม่ส่งออกไปโทษผู้อื่นว่าเป็นเหตุ ใจรับความจริงว่าตนเองเป็นเหตุ ความโกรธก็จะลดน้อยถึงหยุดลงได้ สำคัญต้องมีสติรู้ว่าความโลภ ความโกรธ ความหลง เกิดขึ้นเพราะความปรุงในจิตใจของเราเอง มิได้เกิดขึ้นเพราะบุคคลหรือวัตถุภายนอก

    นี่พูดถึงเมื่อความโกรธเกิดขึ้นแล้ว ให้ดับด้วยการมีสติรู้ความจริงว่าตนเองเป็นผู้ทำ แต่ถ้าพูดถึงการป้องกันมิให้ความโกรธเกิด จะต้องฝึกให้สติเกิดเร็วขึ้นอีก และดังกล่าวแล้วในตอนต้น ๆ จะต้องฝึกให้เกิดเหตุผลและปัญญา รวมทั้งเมตตากรุณาด้วย การฝึกในเรื่องเหล่านั้นจำเป็นต้องทำเมื่อความโกรธยังไม่เกิดขึ้นในจิตใจ หรือเมื่อเกิดแล้วแต่ดับแล้ว

    เมตตากรุณาเป็นความรู้สึกตรงกันข้ามกับความโกรธ ผู้ที่มีเมตตากรุณาในผู้ใดอยู่ ความโกรธในผู้นั้นจะเกิดไม่ได้เพราะเมตตาหมายถึงความปรารถนาให้เป็นสุข กรุณาปรารถนาจะช่วยให้พ้นทุกข์ เมื่อมีความรู้สึกดังกล่าวอยู่ในใจ ความโกรธย่อมเกิดไม่ได้เป็นธรรมดา การเจริญเมตตาจึงเป็นการแก้ความโกรธที่ได้ผล

    ผู้เจริญเมตตาอยู่เสมอ เป็นผู้ไม่โกรธง่าย ทั้งยังมีจิตใจเยือกเย็นเป็นสุข ด้วยอำนาจของเมตตาอีกด้วย ผู้ใดรู้สึกว่าจิตใจเร่าร้อนนัก เมื่อเจริญเมตตาจะได้รู้สึกว่าเมตตามีคุณแก่ตนเองเพียงไร

    แม้เมื่อเจริญเมตตาจะปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข แต่ผู้จะได้รับผลแห่งความสุขก่อนใครทั้งหมด คือตัวผู้เจริญเมตตาเองเช่นเดียวกันการคิดดีพูดดีทำดีทุกอย่าง ผู้ที่ได้รับผลของความดีก่อนใครทั้งหมดคือตัวผู้ทำเอง และได้รับผลของความดีมากกว่าใครทั้งหมดก็คือตัวผู้ทำเอง จึงควรคิดดูน่าจะคิดดีพูดดีทำดีกันเพียงใดหรือไม่

    : ฝึกใจไม่ให้โกรธ
    : สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=11122
    โดย I am

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=2 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=maintitle vAlign=top> แก้กิเลสตัวโทสะ (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)</TD></TR></TBODY></TABLE>

    เมื่อโทสะเกิด ให้มีสติรู้ให้เร็วที่สุดว่ากำลังโกรธ ต่อจากนั้นก็คิดอย่างไรก็ได้ให้เกิดเมตตาในผู้เป็นเหตุให้โทสะเกิด คิดให้เมตตาเขา ให้สงสารเขา เช่นคิดว่าผู้ที่กำลังทำให้เราโกรธนั้นเป็นผู้แตกต่างกับเรา อาจจะแตกต่างด้วยความรู้ความสามารถ แตกต่างด้วยฐานะเครื่องแวดล้อม

    แตกต่างด้วยระดับจิตใจที่สูงต่ำไม่เท่ากันคิดให้เข้าใจ ให้เห็นใจ ไม่ว่าเป็นเหตุจะทำให้เราโกรธเกรี้ยวมากมายสักเพียงไหน แม้เห็นโทษของโทสะ ต้องการจะโดยเสด็จสมเด็จพระบรมครูไปถึงจุดพ้นทุกข์ ก็ต้องพยายามใช้เมตตาให้เกิดเหตุผล จนยอมละเลิกความโกรธแม้มากมายเพียงไหน ในผู้หนึ่งผู้ใดไม่มียกเว้น

    ผู้ประสงค์ที่จะแก้กิเลสตัวโทสะ ต้องอบรมความกรุณาให้มากที่สุด เมื่อจะโกรธผู้ใดก็ตามต้องคิดให้ยิ่งด้วยเมตตาทุกวิถีทาง อย่าคิดให้ความโกรธกำเริบเติบใหญ่ไม่หยุดยั้ง

    เช่นอย่าคิดเป็นอันขาด ว่าเราเป็นใคร มาทำกับเราเช่นนั้นได้อย่างไร ดูถูกกันนี้ ไม่เคารพกันนี่ คิดเช่นนี้เมื่อไร เมื่อนั้นเมตตาเกิดไม่ได้ โทสะดับไม่ได้ ลดก็ไม่ได้ มีแต่จะมากมายท่วมจิตท่วมใจไร้เมตตา ไร้กรุณา อย่างสิ้นเชิง ไฟโทสะก็จะแผดเผาอย่างรุนแรงเช่นกัน และเป็นการเผาไหม้เจ้าโทสะเอง ความจริงเป็นเช่นนี้ ที่พึงพยายามเข้าใจให้ถูกต้อง ก่อนจะถูกไฟโทสะเผาไหม้ พินาศไป

    โทสะหรือความโกรธครอบงำจิตใจผู้ใดก็ตาม จนไร้เมตตา ไร้กรุณา ผู้นั้นอาจคิด อาจพูด อาจทำ ที่ผิดร้ายเป็นบาปอกุศลเพียงใดก็ได้นั่นก็หมายความว่าผู้นั้นกำลังไม่เมตตาตนเองกำลังให้โทษแก่ตนเอง อาจจะร้ายแรงเพียงใดก็ได้

    โทษของความโกรธนั้นอาจจะเพียงเบาๆไม่หนักหนา เป็นบางกรณี แต่บางกรณีก็อาจหนักหนาร้ายแรงถึงชีวิต หรือถึงชื่อเสียงเกียรติยศ แม้ความสามัคคีอันเป็นกำลังสำคัญ ก็ถูกทำลายเสียหายยับเยินได้ เป็นโทษที่เกิดแก่ความโกรธจนขาดเมตตาของตนเอง ที่ให้โทษแก่ตนเอง

    ที่แม้คิดให้ดีแล้วจะต้องรู้สึก ว่าผู้ที่ควรโกรธไม่ใช่ใครอื่น แต่เป็นตัวเองที่ไม่รู้จักใช้ความคิดให้ถูกต้องอย่างมีผู้ปัญญา ที่มีบุญนักหนาได้พบพระพุทธศาสนา อย่าลืมพระพรุณาในสมเด็จพระบรมครู ที่ยิ่งใหญ่จนสามารถประดิษฐานพระพุทธศาสนาขึ้นในโลก ให้เป็นที่พึ่งประเสริฐสุดของโลกได้จนทุกวันนี้

    : แสงส่องใจ วันจักรี
    : สมเด็จพระญาณสังวรฯ
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=11084
    โดย ลูกโป่ง

    การทำงานคือการแก้ปัญหา (หลวงปู่พุทธอิสระ)

    การที่หลวงปู่ให้พวกเราได้ทำงาน
    อย่างน้อยนอกจากจะไม่ทำตนให้เป็นคนเกียจคร้าน
    หลวงปู่ไม่ได้มุ่งหวังว่า จะได้เล็งผลเลิศในการทำงาน
    ไม่ได้มุ่งหวังว่า จะได้ผล หรือเป้าหมายของการทำงาน

    แต่หลวงปู่มุ่งหวังว่า ให้เราได้เปลี่ยนอุปนิสัยจิตใจของตน
    ให้เป็นคนโอบอ้อมอารี มีน้ำใจเอื้ออาทร
    เผื่อแผ่ และก็แกร่ง เข้มแข็ง อดทนต่ออุปสรรคและสิ่งที่ไปเผชิญ
    และหัดใช้ปัญญาใช้สมองพิจารณา
    แก้ไขปัญหาแยกแยะก่อนหลัง
    ไม่ใช่ทำโดยใช้สีข้างเข้าสี และเอาอารมณ์ตัวเองเป็นใหญ่
    จนลืมไปว่าผลประโยชน์ของคนอื่นควรจะมีด้วยหรือไม่
    แล้วก็สังคมของพระศาสนาเนี๊ยะ เขาอยู่ร่วมรวมกันด้วย
    ความสมัครสมานฉันท์สามัคคี กลมเกลียว
    เขาให้เกียรติและยอมรับกัน โดยคุณธรรม ศีลธรรม
    แล้วก็พรรษากาล อย่าลืมว่า หลวงปู่พูดว่าคุณธรรม ศีลธรรม
    แล้วก็พรรษากาล ให้มากไปด้วยพรรษามากมาย

    นั่นหมายถึง แก่จนถึงขนาดไหน ก็แล้วแต่ ถ้าไม่มีคุณธรรม ไม่มีศีลธรรม
    ก็ไม่ได้หมายถึงว่า จะเป็นที่ยอมรับของสังคมได้ทุกคนเสมอไป
    แต่ถ้าพวกเราทั้งหลายมีคุณธรรม มีศีลธรรมไม่จะเป็นต้องอยู่จนแก่
    ก็สามารถจะเป็นที่ยอมรับของคนในสังคมทั้งหลายได้

    เวลาที่หลวงปู่เข้าไปร่วมประชุมพระสังฆาธิการ
    พระทั้งจังหวัด 275 วัด แต่ละวัดเขาให้การยอมรับ
    หลวงปู่ โดยฐานะเป็นผู้นำโดยคุณธรรม โดยศีลธรรม
    ซึ่งหลวงปู่ไม่ได้เอาป้ายเขียนติดไว้ที่หน้าอก

    แต่เพราะเรามีวิถีทาง มีการแสดงออกในการเป็นตัวของตัวเอง
    จนได้เป็นที่ยอมรับของพระทั้งจังหวัด
    ในฐานะที่เป็นเยี่ยงและอย่างที่ดี ควรที่จะทำตาม
    สมภารเจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะภาค ยกย่องว่า
    วัดอ้อน้อย เป็นเยี่ยงและอย่างในการพัฒนา
    ความเป็นผู้นำของบุคคลในอาวาส
    เล่าให้พวกเราฟังก็ไม่ได้มุ่งหวังว่า ให้พวกเราได้จิตใจพองโต
    แต่พูดให้ฟังโดยฐานะว่า
    สิ่งที่หลวงปู่สอนพวกเรา นั่นคือ สิ่งที่หลวงปู่ทำ
    หลวงปู่ไม่ได้เป็นผู้นำ โดยฐานะที่คอยจะสั่งแล้วก็ใช้
    จริงๆแล้วสมภารหรือผู้นำเนี๊ยะ ควรจะนั่งเฉยๆ
    มีปากก็ให้ใช้ มีนิ้วก็ให้ชี้ ปล่อยให้คนอื่นเขาไปทำบ้าง
    นี่คือสิ่งที่เขาอบรมกันในที่ประชุม
    หลวงปู่ก็เลยยกมือค้านขึ้นมาว่า ถ้ามีปากเอาไว้ใช้ มีนิ้วเอาไว้ชี้
    และถ้าเผอิญไอ้คนที่มันจะมารับคำสั่งใช้ และรับคำสั่งชี้
    มันไม่มีแล้วจะทำอย่างไร วัดนั้น อาวาสนั้น มันไม่รกเป็นรังหนู
    เป็นที่อยู่ของงู ของเสือไปหรอกเหรอ
    เพราะฉะนั้น การทำตนเป็นผู้นำ นอกจากจะ ทำดีให้คนอื่นเขาทำตาม

    จึงควรจะได้รับเรียกขานว่า เป็นผู้นำโดยกมลสันดาน และจิตใจ
    ในขณะเดียวกันก็ การที่ให้พวกเราได้มีโอกาสลงมือทำทุกอย่าง
    ด้วยตัวของพวกเราเอง ก็เพื่อจะฝึกปรืออบรม
    บ่มนิสัยจิตใจของตน ให้เป็นคนแกร่งและกล้า
    อดทนอดกลั้นต่ออุปสรรค และปัญหาทั้งปวงที่รุมเร้า ทั้งกายและใจ

    จงมีคติเตือนไว้ในหัวใจอยู่เสมอว่า
    การทำงานทุกอย่าง ก็คือ การสมัครใจเข้าไปแก้ปัญหา
    งาน คือ ตัวปัญหาเมื่อใดที่เราแก้ปัญหาได้หนึ่งเรื่อง
    เราก็ฉลาดได้หนึ่งครั้ง เมื่อใดที่เราทำงานได้หนึ่งอย่าง
    เท่ากับเราแก้ปัญหาได้หนึ่งเรื่อง
    และเราสามารถแก้ได้ทุกเรื่องทุกอย่าง
    ก็เท่ากับว่าเราฉลาดได้ทุกเรื่อง ทุกอย่าง

    เพราะฉะนั้น ถ้าคิดว่างาน คือ การแก้ปัญหา
    การแก้ปัญหา คือ วิถีทางนำเอาชีวิตเข้าไปสู่การเรียนรู้

    และเบิกวิถีชีวิตของเรา ให้มีประสบการณ์ทางวิญญาณ
    ที่กว้างไกลมากขึ้นไปอีก ถ้าทุกคนสามารถสำคัญและมีสามัญสำนึก
    ในการคิดอย่างนี้ การทำงานแต่ละอย่าง
    มันจะเป็นการทำงานที่เต็มเปี่ยมไปด้วยมีความสุข
    มีความรู้สึกที่มีชีวิตวิญญาณ มีเสรีภาพ มีอิสระ
    และช่างเต็มเปี่ยมไปด้วยพลังอำนาจ
    ของการเรียนรู้และหล่อหลอมจิตใจให้รวมเป็นหนึ่งเดียวกัน
    กับงานที่ลงมือกระทำ มันจะเป็นการทำงานได้อย่างสนุกโดยไม่เบื่อหน่าย
    และก็จดจ่อ จริงจัง จับจ้อง อย่างตั้งใจ
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=11084
    โดย ลูกโป่ง

    การทำงานคือการแก้ปัญหา (หลวงปู่พุทธอิสระ)

    แต่ถ้าหากว่าทำโดยความรู้สึกเกียจคร้าน
    และไม่อยากจะลงมือกระทำ
    อย่าว่าแต่งานคนอื่นเลย แค่งานตัวเอง ล้างหน้าแปรงฟัน ขี้ เยี่ยวตด
    มันก็ช่างเป็นภาระอันหนักยิ่ง มันไม่อยากจะทำไปทั้งนั้น
    ถ้ามีชีวิตอยู่ในลักษณะนี้ เปลืองอากาศบริสุทธิ์ๆ

    คนดีๆ เขาจะมาเกิดบ้าง ก็ไม่ได้เกิด
    หรือเกิดก็มีอากาศไม่บริสุทธิ์เสียแล้ว เพราะเราเป็นตัวรกสถานที่
    รกบรรยากาศ ทำให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่เป็นมลภาวะ
    ตายเสียดีกว่า เพราะอยู่ก็ไม่ได้สร้างประโยชน์
    ให้เกิดขึ้นต่อโลก ต่อตน และก็สังคมสักเท่าไหร่
    การที่พวกเราจะลงมือช่วยกันทำงาน
    นอกจากจะได้ประสบการณ์ทางวิญญาณที่กว้างไกล
    วิถีทางของชีวิตที่แกร่งกล้า มันเป็นการฝึกปรืออบรมบ่มนิสัย

    ดัดกายวาจาใจของตน ให้เป็นคนโอบอ้อมอารี มีน้ำใจ
    เอื้ออาทรและเผื่อแผ่
    เราจะรู้จักคนได้จากการทำงาน
    เราจะเรียนรู้คนได้จากวิถีทางของการทำงาน
    เราจะรู้ว่าคนๆ นี้ มีน้ำใจกับเรามากแค่ไหน

    มีใจโอบอ้อมและเอื้ออาทร เผื่อแผ่ต่อสังคม
    และคนอยู่ร่วมได้มากอย่างไร
    ก็ต้องดูว่า วิธีที่เขาทำงานกับเรา กับสังคมและส่วนรวม ทำอย่างไร
    เราจะดูว่าคนๆ นี้ เป็นคนเห็นแก่ตัว เอารัดเอาเปรียบ เกียจคร้าน
    คอยหลบๆ อู้ๆ มากน้อยแค่ไหนอย่างไร ก็ดูได้ด้วยการทำงาน
    เราจะดูว่าคนดีหรือคนเลว ก็ดูได้จากการทำงาน

    พระพุทธเจ้าสอนให้ดูคนสะอาด นั่นคือ ดูคนดี
    ก็ดูจากการทำงานว่า การทำงานอันนั้น
    จะสามารถทำแล้วยังประโยชน์ให้เกิด ทั้งผู้ทำและผู้รับการกระทำหรือไม่
    ทั้งตนและคนอื่น รวมทั้งส่วนรวมหรือเปล่า
    ถ้าการงานอันใดทำแล้ว ทำให้เกิดโทษต่อคนอื่น
    และเอาแต่ประโยชน์ตนเป็นใหญ่
    พระศาสดาทรงเรียกงานนั้นว่า สกปรก
    เพราะฉะนั้น เราจะเห็นน้ำใจของคน
    รู้จักหน้าตาแท้จริงของผู้คนที่อยู่ใกล้
    แล้วเข้าใจ สังคมรอบข้างตัวเองได้
    ก็ต่อเมื่อตัวเรา ตัวเขาร่วมกันกระทำงาน
    หรือต่างฝ่ายต่างลงมือกระทำงาน

    ตัวอย่างเช่น ถ้าเรากำลังจะยกของหนัก เพื่อนเดินผ่านมา
    เห็นแล้วก็ยิ้มใส่ แล้วก็สะบัดตูดไป
    เฉยไว้แล้วดีเอง แล้วเราก็ยกของหนักต่อไป
    บอกได้เลยว่า ไอ้นั่นไม่ใช่เพื่อนเรา
    ไม่ใช่เพื่อนผู้ร่วมทุกข์ ร่วมสุขของเรา
    มันจะร่วมแต่สุข แต่เวลาทุกข์มันยิ้มแล้วก็ สะบัดตูด

    นั่นไม่ใช่เพื่อน สถานการณ์สร้างวีรบุรุษ
    เรื่องที่ยากที่สุดสร้างมิตรแท้
    อะไรที่เป็นเรื่องยาก ถ้าเพื่อนของเราหรือคนอยู่ใกล้
    แวดวงสังคมของเรา เข้ามาช่วยเหลือเอื้ออาทร
    ถือว่าคนๆ นั้น เป็นมิตรของเรา

    แต่ถ้ามีเรื่องยาก คนทั้งหลายกลัวลำบาก เพื่อนเราก็เปิดหนี
    อย่างนั้นแสดงว่า ไอ้นั่นไม่ใช่มิตรของเรา
    นอกจากจะไม่ใช่มิตรแล้ว บางครั้งมันอาจจะคิดเป็นศัตรูกับเราด้วย
    ในบางทีก็ได

    เพราะฉะนั้น เราจะดูคนที่เห็นแก่ตัวหรือคนมีน้ำใจ
    ก็ดูตรงการทำงาน

    ชั่วชีวิตหลวงปู่จึงมีแต่งาน
    จะเห็นว่าหลวงปู่ไม่เคยหยุดนิ่ง
    ไม่มีวันใดที่หลวงปู่จะนั่งเฉยๆ สบายๆ ไม่ต้องทำอะไร


    ข้อมูลจาก... ธรรมะจากหลวงปู่
    http://www.dhamma-isara.org/dhamchap_6_1.html
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.dhamma-isara.org/monthly_june_01.html

    ความเพียรและอุดมการณ์อันซื่อตรง
    วัดอ้อน้อย อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
    อาทิตย์ 1 มิถุนายน 2546
    หลวงปู่พุทธะอิสระ

    วันนี้อากาศขมุกขมัว ฝนคงจะตก ไม่รู้จะพูดเรื่องอะไร แต่มีสิ่งหนึ่งที่คิดไว้ในใจ สองสามวันมานี่ได้มีโอกาส
    ออกมานั่งที่หน้าหอพระกรรมฐาน ทุกวัน ได้เห็นพระใหม่เห็นเณรใหม่ เห็นพระเก่าเห็นเณรเก่า หลวงปู่มานั่งทำงานตั้งแต่เช้ากลับเข้าไปอีกทีก็เย็น ๆ นั่งเขียนไปก็ดูลูกหมี ดูนกกินมะม่วงกินกล้วย แล้วก็หันไปมองพระใหม่ เณรใหม่ มีอยู่วันหนึ่งเขาก็เข้ามาหาสองสามรูป มาลาสึก บอกว่าลางานมา 15 วัน อีกสององค์ก็บอกว่าจะไปเรียนต่อ เพราะว่าได้เวลามหาวิทยาลัยเปิด ก็ถามพวกเขาว่าได้อะไรกลับไปบ้าง เขาก็คุยว่าเขาได้เยอะ ได้บ้างพอสมควร ไม่รู้ว่าพูดปลอบใจพวกเขาหรือปลอบใจเรา แต่ก็ได้ขอโทษพวกเขาที่ไม่มีเวลาจะสอน เพราะว่าพักหลังไม่ค่อยได้อยู่วัดออกไปแสดงธรรมตลอด ตอนอยู่วัดก็สุขภาพไม่ค่อยดี ก็ไม่ค่อยมีเวลาได้ออกมาสอนแต่ก็ไม่ใช่นอน ก็ทำงานเบา ๆ เขียนหนังสือบ้าง
    ตอบปัญหาบ้าง ก็เลยบอกกับเขาว่าขออภัยที่ไม่ได้ออกมาอบรมสั่งสอน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่ได้มองพวกเขา
    • มองผู้บวชใหม่
    ตอนที่พวกเขาเริ่มบวชใหม่ ๆ มานุ่งขาวห่มขาว เขาขยันนะ กวาดลานวัด ล้างส้วม ทำความสะอาด เช็ดถูดูแล
    เรียกว่ามาดี มีความดี ตั้งใจมาแต่บ้าน อยู่ไปอยู่มาพอได้บวชแล้วนี่ความดีอันนั้น ก็ค่อย ๆ เลือนหายไป
    ก็นึกตลก ๆ กับหมีสองตัวที่เขาเลี้ยงไว้ เดินผ่านมามันก็ทำหูตูบหางลีบ ทำวิงวอนเหมือนกับอ้อนวอนขอร้อง
    ให้เราปล่อยมัน พอปล่อยแล้วมันก็วิ่งตาม เลียแข้งเลียขา กระโดดขึ้นมานอนตัก กัดมือกัดเท้าเล่นด้วย แต่พอสักพักมันเริ่มตีจากเอาใจเราแค่ชั่วครู่หลังจากนั้นมันก็ตีจากวิ่งขึ้นต้นไม้ไป
    มานึกว่าพระใหม่ที่เข้ามาบวชใหม่ ๆ อีตอนที่เข้ามายังไม่ได้บวชก็มาทำดีให้เขาดู ว่าเราเป็นผู้อ่อนควรแก่การงาน ทำกิจกรรมทุกเรื่อง ฝนตกแดดออกไม่ย่อท้อ แต่พอผ้าเหลืองได้ห่มแล้ว ผมร่วงจากหัวแล้ว ฝนตกก็กลัวละลาย แดดออกก็กลัวร้อน ตอนสาย ๆ ก็หนีหายเข้ากุฏิ ก็ทำให้เห็นว่า ความดีนี้ ถ้าคนทนทำ คือขยันทำ และก็ทำอย่าง
    ต่อเนื่อง ทำอย่างประติดประต่อ ทำอย่างไม่ลดละ ไม่ทอดธุระ ไม่วางธุระ ที่สุดแล้วผลของความดีต้องปรากฏ แต่ถ้าเมื่อใดที่ใครก็ตามที่คิดดีก็ตาม พูดดีก็ตาม และอยากจะทำดี แต่ทำแค่นาทีสองนาที นาน ๆ ทำที
    ไม่ได้ทำถี่ ๆ มันคงจะเป็นดีไปไม่ได้
    • บารมีของโพธิสัตว์
    และมานึกย้อนกลับเข้ามาหาตัวเองว่า พักหลังนี้สุขภาพของตัวเองมันแย่ ร่างกายนี้มันก็เก่าเหมือนดั่งของใช้
    ที่ชำรุดติดไปด้วยกาว เหมือนกับกระโถนใบนี้มันชำรุดไปเมื่อไรไม่รู้เขาก็เอากาวมาติดไว้ เหมือนดั่งของใช้ที่ชำรุดแล้วติดไว้ด้วยกาว อายุขัยของกาวมันก็ไม่นานเดี๋ยวมันก็ต้องเสื่อม เราก็มานั่งนึกถึง
    พระพุทธเจ้า พระองค์ทรงอายุ 80 ปี ทำงานทุกอย่างเพื่อหวังให้สรรพสัตว์ พ้นทุกข์ ก่อนที่จะมาเป็นพระพุทธเจ้า พระองค์ก็ทรงทำอย่างต่อเนื่องบำเพ็ญทศบารมี เริ่มต้นจาก ทานบารมี ภพชาติใด ๆ ก็ไม่วายที่จะบริจาคทาน ถึงที่สุดก็บริจาคลูกเมีย บริจาคชีวิตตนเป็นทาน แล้วก็ทำจนกระทั่งผลของทานที่ทำกลายเป็นบารมี
    ที่ยิ่งใหญ่ส่งให้มีขุมสมบัติทั้ง 8 ขุมปรากฏขึ้นขณะที่ทรงเกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ
    ศีลบารมี พระองค์ก็ทรงหมั่นสั่งสมบารมีใช้เวลาสี่อสงไขยแสนมหากัลป์ ซื่อตรงต่อการปฏิบัติศีล แม้กระทั่งเลือดเนื้อ
    และชีวิตที่จะหายไปก็ไม่ยอมให้หาย ด่างพร้อย หรือขาด พระองค์ทรงมีความเพียรอันเลิศที่จะตั้ง ที่จะทำ
    เนกขัมมะบารมี คือการเป็นผู้ถือบวช โดยไม่เบียดเบียนตนและคนอื่นให้เดือดร้อน บวชทั้งกายและใจ หมั่นศึกษา คำว่าถือบวช แม้กระทั่งเกิดเป็นเดรัจฉานเกิดเป็นช้างนาราคีรี ก็เห็นธงชัยพระอรหันต์มาห่มอยู่ในรูปกายของนายพราน
    ที่ต้องมายิงตนให้ตาย ก็ศรัทธาเลื่อมใสในผ้าเหลืองนั้นไม่กล้าทำร้ายนายพราน เพราะมีหัวใจที่มั่นอยู่ในธรรมะ หรือเนกขัมมะ คือบวชรักษาศีล ชีวิตจะตายก็ไม่อาวรณ์ขอรักษาคุณงามความดีและเนกขัมมะปฏิบัติ ใช้เวลาสี่อสงไขยแสนมหากัลป์เหมือนกัน
    นอกจากเจริญเนกขัมมะแล้วยังเจริญปัญญาบารมี ขันติ สัจจะ วิริยะ อธิฐาน เมตตา และอุเบกขา บารมีเหล่านี้
    พระองค์ทรงทนทำหรือเปล่า ไม่ทน แต่ทรงมีความเพียรพยายามที่จะกระทำ เพราะความเพียรอย่างต่อเนื่อง
    ประติดประต่อ จึงทำให้มนุษย์ธรรมดา ๆ เป็นศาสดาที่ยิ่งยง
    เรามานึกถึงตัวเราเอง ว่าเอ..สุขภาพเราก็เสื่อมโทรม ร่างกายก็ชำรุดเหมือนของเก่า หลายครั้งที่นึกว่า เราจะหมดใจที่จะทำคุณงามความดี หรือหมดใจที่จะบำเพ็ญบารมีต่อไป แต่พอนึกถึงทศบารมี 10 ประการที่พระศาสดาทรงบำเพ็ญมาอย่างต่อเนื่อง มันทำให้มีกำลังใจรุกรบต่อสู้ สามารถเอาชนะความพ่ายแพ้
    ท้อแท้หรือท้อถอยได้และทำคุณงามความดีได้อย่างต่อเนื่อง มีแรงบันดาลใจที่จะทำ ทำให้มีพลังที่จะลุกขึ้น
    มาทำกิจกรรมการงาน ได้อย่างไม่หวั่นหวาด ไม่เกรงกลัว ไม่สะดุ้งผวา
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ต่อครับ

    ที่มา http://www.dhamma-isara.org/monthly_june_01.html


    ความเพียรและอุดมการณ์อันซื่อตรง
    วัดอ้อน้อย อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
    อาทิตย์ 1 มิถุนายน 2546
    หลวงปู่พุทธะอิสระ

    • ข้อแตกต่างระหว่างสามัญสัตว์ พระโพธิสัตว์ และผู้รู้อริยสัจ
    เลยนึกมาถึงว่าพวกพระใหม่ที่เข้ามาบวช ตอนใหม่ ๆ ที่เข้ามาสมัคร ก็แสดงให้ชาวบ้านให้สังคมพระศาสนา
    อุปัชฌาย์ ดูว่าตนเป็นคนดี ขยันหมั่นเพียรอ่อนน้อมถ่อมตน แต่พอไปแล้วอะไรมันเปลี่ยน ที่จริงแล้วเขาไม่รู้สึกตัว
    ว่าเขาเปลี่ยน มันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ ทำดีไม่ค่อยทน ทำดีไม่นาน นาน ๆ จะทำสักที มันก็เลยมีข้อแตกต่าง​

    ระหว่างสามัญสัตว์ พระโพธิสัตว์ และผู้รู้อริยสัจ
    ถ้าเมื่อใดก็ตามที่สามัญสัตว์ทำดีได้นาน ทำทานได้ทน

    ทำชีวิตของตนให้ไม่ต้องมืดมน และไม่ต้องทนทำดี คือมีดีตลอดเวลา

    เมื่อนั้นก็ถือว่าสามัญสัตว์นั้นก็กลายเป็นพระโพธิสัตว์ เป็นผู้รู้อริยสัจ

    เพราะฉะนั้นก็ถือว่าคำสอนของพระพุทธเจ้าในวาระสุดท้ายว่า "เธอทั้งหลายจงยังประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท"

    ดูจะเป็นเรื่องจริง นั่นก็แสดงว่าตอนที่ท่านมาสมัครเป็นนาค ท่านไม่ประมาท ท่านพยายามทำดี แต่พอบวชเข้าไปแล้วเหมือนกับคนที่เดินบนสะพานที่เข้าไปสู่เรือ เดินจากตลิ่งไปหาเรือก็มีสะพานทอด ขณะที่เดินบนสะพานก็ระมัดระวัง นั่นหมายถึงตอนที่เป็นนาคขยันหมั่นเพียรระมัดระวังพฤติกรรม ขืนเดินผิดก็ตกสะพานไม่ได้ขึ้นเรือ แต่พอขึ้นเรือแล้วความระวังมันไม่มีแล้วเพราะเรือมันกว้างมาก ดิ้นก็ได้
    ตีลังกาก็ได้ นั่งก็สบาย ลุกก็ผ่อนคลาย อยู่ตรงไหน ก็ดูจะสบายไปหมด ก็เลยทำให้ประมาท ทำให้ไม่ระมัดระวังพฤติกรรมปล่อยชีวิตให้เลอะเลือน เปรอะเปื้อนเสียหาย ไม่เป็นไปตามคำสอนครั้งสุดท้าย
    ของพระพุทธเจ้าว่า ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่านต้องถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเท่านั้น เมื่อใดที่ประมาทนี่ไม่เจอประโยชน์ ขาดประโยชน์ เสียประโยชน์ ไม่ได้ประโยชน์และก็หมดประโยชน์
    ชั่วชีวิตหลวงปู่พยายามถามตัวเองอยู่เสมอว่า เราเมาไหม เราประมาทไหม เราปล่อยเวลาให้หายใจเข้า หายใจออกทิ้งไปฟรี ๆ ไหม เรามีชีวิตอยู่เพื่อให้ใครได้อะไรจากเราไปหรือไม่ หรือหวังจะได้อะไรจากใคร เพราะฉะนั้นเมื่อถามตัวเองอยู่อย่างนี้ตลอด มันก็เลยทำให้ไม่เมา ไม่ไร้สาระ มีชีวิตอยู่อย่างพยายาม​

    จะสร้างสาระให้ได้มากที่สุด
    ลูกหลานก็เหมือนกันนะ ทำดีไม่ต้องมีมาดหรอก

    ธรรมะไม่ต้องรู้เยอะ ไม่ต้องรู้ถึง 84000 ข้อ

    ขอสักข้อหนึ่ง แต่ทำตลอด ทำให้จริง..

    ทำอย่างประติดประต่อทำอยู่ทุกลมหายใจ..

    ทุกเวลานาที่ทีเลือนไป ไม่มีอะไรที่ไม่ลุประโยชน์ไม่สำเร็จผล

    ตรงกันข้ามกับผู้ที่รู้ธรรมะมากเป็นหลายพันข้อ แต่ก็ทำไม่ได้สักข้อนี่ก็น่าเสียดาย เรียกว่าทำดีไม่นาน ขี้คร้าน

    จะทำ ถ้าทำดีได้นาน ๆ ไม่เกียจคร้านที่จะทำ สุดท้ายมันก็ทำลายความเลวระยำ ชีวิตก็ไม่เป็นทางเลวร้าย
    เสียหายเหลวไหล เพราะฉะนั้นถ้ารู้จักขยันที่จะทำดีนาน ๆ และทำให้ได้ทุกกาลทุกเวลา ศีลข้อเดียวก็วิเศษแล้ว ไม่ต้องพูดถึงเรื่องสมาธิเรื่องปัญญา​
    • พบความสุข ความสงบ เมื่อหัวใจเรามีธรรม
    อย่างที่เคยพูดเป็นประจำว่า เรามีธรรมเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นเกราะ มีธรรมเป็นเครื่องป้องกัน
    คนมีธรรมในใจ จะสุขและสงบ หรือไม่ก็สงบและสุข อย่าลืมว่าหลวงปู่พูดว่าคนมีธรรมในใจจะสุขและสงบ ความสุขมันแสดงออกมาว่าเกิดจากความสงบ ไม่ใช่ความสุขที่ได้มาจากความแลกได้แลกเสีย
    ไม่ใช่ความสุขที่ต้องมีวัตถุ บุคคล สัตว์ ตัวตนเราเขา แต่เป็นความสุขที่เกิดจากความสงบ คนมีธรรมจึงเป็นผู้ที่พบความสุขอย่างแท้จริง
    แต่คนที่มีธรรมเมา ถึงจะมีทรัพย์มหาศาล ถ้าทรัพย์นั้นสูญสลาย มีอันต้องล่มสลายเสียหายแตกร้าว ​

    ฉิบหาย หายไป ความสุขนั้นมันก็หยุดลง มันก็หมดลง มันก็หายไป แล้วสิ่งที่ได้ก็คือความเสียดายอาลัยอาวรณ์ แต่ตรงกันข้าม
    คนที่หาความสุขจากความสงบนี่ไม่ต้องเสียอะไร เพราะเขาไม่อยากได้อะไร

    เหตุที่ไม่ต้องเสียอะไรและไม่อยากได้อะไร นี่แหละพระพุทธเจ้าทรงเรียกว่า

    ผู้มีชีวิตอยู่ในมรรควิถี หรือมรรคาปฏิปทา คือผู้เดินทางสายกลาง

    ไม่อยากได้อะไรแล้วก็ไม่ต้องสูญเสียอะไร.. แต่ก็มีความพึงพอใจกับสิ่งที่ตนเองมี

    นั่นคือความหมายของคนที่มีชีวิตอย่างมีความสุขที่เกิดจากความสงบ

    แล้วความสงบมันเกิดขึ้นได้อย่างไร ความสงบก็เกิดได้จากหัวใจเรามีธรรมสักข้อ ทำธรรมะให้เป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นเกราะเป็นเครื่องกำบังเป็นที่อาศัย เป็นที่วางของหัวใจ เป็นที่อาศัยของจิตวิญญาณ ธรรมข้อเดียวเท่านั้นแหละลูกไม่จำเป็นต้องหลายข้อ ขอสักข้อหนึ่งในหลายหมื่นหลายพันข้อ เอาสักข้อเดียวและเป็นข้อเดียวที่เป็นที่พึ่งของเราได้ เป็นเกราะ ของเราได้เป็นเครื่องป้องกันภัยได้ เป็นเครื่องดำรงชีวิตอยู่ได้

     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    จบครับ
    ที่มา http://www.dhamma-isara.org/monthly_june_01.html



    ความเพียรและอุดมการณ์อันซื่อตรง
    วัดอ้อน้อย อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
    อาทิตย์ 1 มิถุนายน 2546
    หลวงปู่พุทธะอิสระ


    • ความเพียรและอุดมการณ์อันซื่อตรง
    ถามตัวเองว่าเราเองเป็นผู้ที่มีความเพียรอย่างซื่อตรงไหม ที่พระพุทธเจ้า ทรงสอนว่า วิริเย ทุกขมเจติ บุคคลล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร เรามีไหม เรามีเพียรแค่บางครู่บางคราวหรือเพียรอยู่ตลอดเวลา ความเพียรที่มีอยู่เป็นความเพียรที่ดำริชอบ คือดำริออกจากกาม หรือเป็นความเพียรที่มุ่งหวังด้วยคำว่าเห็นชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ สมาธิชอบ สติชอบ เจรจาชอบ หรือเปล่า
    ถ้าเป็นความเพียรในมรรคาปฏิปทา หรือมรรควิถี
    ก็ถามกลับมาว่าสิ่งที่เราเพียรอยู่นี้ทำให้เรามีความสงบและความสุขไหม
    ถ้าเพียรแล้วสรุปว่ามันไม่สงบ ไม่สุข น่าจะไม่ใช่มรรคาปฏิปทา ไม่น่าจะใช่มรรควิถี
    มันน่าจะเป็นวิถีอื่นไป ที่ไม่ใช่วิถีแห่งผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ควรกระทำ

    หลวงปู่ยกเรื่องนี้ขึ้นมาเพื่อชี้ให้ลูกหลานเห็นว่า หาได้ยากกับการที่มนุษย์ สัตว์ทั้งหลายจะมีความเพียรใหญ่โต
    มโหฬารเท่าพระโพธิสัตว์ และพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หาได้ยากที่จะมีความเพียรและมีอุดมการณ์อันซื่อตรง แล้วยืนหยัดอยู่ในอุดมการณ์อันซื่อตรงนั้นอย่างไม่หวั่นไหว ไม่หวาดผวา แม้จะแลกเนื้อและชีวิตก็ไม่ทำให้ท่าน
    ต้องหยุดต่อความเพียรและทำลายอุดมการณ์ ถ้าพระใหม่ก็ตาม พระเก่าก็ตาม ลูกหลานญาติโยมชาวบ้านก็ตาม แต่เพียงมีอุดมการณ์ และมีความเพียรในอุดมการณ์ของตนอย่างซื่อตรง ไม่ต้องถึงขนาดพระพุทธเจ้า
    ชีวิตหนึ่งมี 60 ปี 70 ปี 100 ปี เพียรสักครึ่งชีวิต ซื่อตรงสักครึ่งชีวิต ในวิถีแห่งการทำดีในมรรคาปฏิปทา
    ก็สุดวิเศษแล้ว ชีวิตนี้ก็มีความหวัง มีวาสนา มีบารมี มีความรุ่งเรืองเจริญ สมค่ากับการได้เป็นเจ้าของชีวิต
    และได้เกิดเป็นคน ไม่ต้องถึงครึ่งอาจประมาณ 1 ส่วน 4 ก็ยังดีกว่าไม่มีเลย แล้วทำมันต่อเนื่องประติดประต่อ
    ไม่ใช่ต้องไปอดทนทำจนความลำบากเกิดขึ้น นั่นไม่ใช่ ทำดีให้ต่อเนื่อง พูดง่าย ๆ เราก็จะมีความรู้สึกว่าชีวิตนี้มีสาระ
    • ผลของความดี
    มันเป็นเรื่องจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าเวลาเราปลูกข้าวเราทนรอผลของเมล็ดข้าวที่จะออก เรารอได้เป็นปีเป็นเดือน ถ้าปลูกมะม่วงต้องรอ 3 ปี 5 ปี กว่าจะได้กินลูก ปลูกมะพร้าว 5 ปีขึ้นกว่าจะได้กินลูก แต่เวลาเราทำดีสักอย่าง มันเป็นเรื่องลำบากมากที่จะรอ รอผล แล้วเราก็ไม่อยากที่จะรอ แล้วเราก็เลิกทำ พอไม่เห็นผลเราก็เลิกทำไปเลย
    คุณลองหลับตานึกว่า ปลูกมะม่วง 1 ต้น กว่าจะโตกว่าจะออกผลเราต้องรดน้ำกี่ที ดูแลกี่ครั้งใส่ปุ๋ยกี่รอบเรายังทำได้ แต่เวลาเราทำดีสักอย่างคิดดีสักอย่างทำไมไม่ขยันดูแลรดน้ำ พรวนดินรักษาใส่ปุ๋ย ทำมันทีเดียวแล้วก็ทิ้ง
    สะบัดก้นหนีไป แล้วเราก็มาบอกกับชาวบ้านว่าทำดีไม่เห็นได้ดีเลย ผลของความดีไม่มีแล้ว อย่างนี้เป็นต้น
    มันเหมือนกับดีมันไม่ทน มันไม่ทนอยู่กับเรามันหายไปอยู่กับคนอื่น เราลองมานึกดูในมุมกลับว่า
    ถ้าเราขยันทำดีเท่า ๆ ที่ขยันปลูก รดน้ำมะม่วง มีหรือว่าวันหนึ่งเราจะไม่ได้รับผล
    เหมือนกับที่เรารับผลมะม่วง
    แต่เป็นเรื่องประหลาดที่เราไม่ค่อยสนใจ ไม่ขยันที่จะทำให้ดีมันอยู่กับเรา
    ดีไม่ดี เรากับดีก็บอกเลิกกันไปเลยแล้วก็ไปพูดกันว่าทำดีไม่มีผล ทำชั่วได้ผลกว่า อะไรอย่างนั้นไป
    ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป นั่นเป็นคำพูดของคนอัปรีย์จัญไร เพราะหัวใจไม่มีดีต่างหาก
    • ปลูกต้นดี รดน้ำทุกนาที
    มันเป็นอย่างนั้นเพราะว่าเราไม่ขยันที่จะรดน้ำพรวนดินต้นดี ถ้าเปรียบดี เป็นต้นไม้ เราก็แค่อยากเห็นว่าหน้าตา
    ของต้นดี เป็นอย่างไร พอได้เห็นแล้วร้องอ๋อ.. แล้วก็เลิกหนีไป ส่วนมันจะขึ้นอยู่ในดินใจของใครก็ช่างมันเถอะ
    แต่ไม่ใส่ใจที่จะเอาต้นดีนั้นมาปลูกในนาใจของเรา ถึงมันบังเอิญลมเพลมพัดเขามายัดใส่ให้เราก็ตาม ให้มันขึ้นตามมีตามเกิด เขาเรียกว่าศรัทธาหัวเต่า ใครชวนก็ไป ไม่ชวนกูก็ไม่ไป มันเป็นอะไรที่ยากมาก
    ถ้าหลวงปู่เป็นคนอย่างนั้น วันนี้ไม่มีวัดอ้อน้อย วันนี้ไม่มีหลวงปู่นั่งอยู่ตรงนี้ เพราะว่าปล่อยให้ต้นดีมันเฉาไป
    ในเนื้อนาใจ เหลือไว้แต่ต้นหญ้ารกอัปรีย์จัญไรขึ้นมาแทน ถ้าหลวงปู่ไม่ขยันจะรดน้ำพรวนดินโพธิศรัทธา
    โพธิธรรม และเมล็ดพืชแห่งต้นโพธิ์ที่ขึ้นอยู่ในนาใจ ให้มันงอกงามเจริญแผ่กิ่งก้านสาขาออกไปได้ วันนี้เราคงไม่เห็นวัดอ้อน้อยที่ร่มเย็นงามสง่า วันนี้คงไม่เป็นหลวงปู่มานั่งพูดนั่งบ่นให้พวกเราฟังกัน แล้วก็คงไม่เห็นใครต่อใครมาร่วมใจกันทำดี ปลูกต้นดีให้เกิดขึ้น
    เราชอบชวนกันมาปลูกต้นรัก ปลูกต้นมะลิ ต้นมะม่วงต้นมะพร้าว ชวนกันมาปลูก ถ้าเราชวนกันมาปลูกต้นดีบ้าง มันน่าจะได้อะไรดี ๆ ให้มีอยู่ในชีวิตนี้อย่างมากมาย ลองหัดมาปลูกต้นดีในใจเราบ้างแล้วก็รดน้ำทุกนาที จะได้อิงอาศัยต้นดีที่มีให้มันให้ดอกให้ผลแก่เรา เราจะได้ประโยชน์จากต้นดีที่มีในใจ
    เหมือนดั่งที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย พระมหาโพธิสัตว์เจ้า ทั้งหลาย
    และพระอริยะเจ้าทั้งหลาย ผู้เสพย์เสวยผลแห่งต้นดีที่พระองค์นั้น ๆ ได้ปลูกแล้ว เจริญแล้วงอกงามแล้วในเนื้อนาใจของพระองค์ท่าน
    เราลูกหลานของท่าน ของพระองค์ก็ต้องเดินรอยตามพระองค์
    ช่วยปลูกต้นดี รดน้ำพรวนดินให้มี ในเนื้อนาใจที่ดี ให้ต้นดีมันเจริญงอกงาม
    นาน ๆ รดสักทีก็ยังกว่าไม่รดเลย..
    นาน ๆ หันไปมองสักทีก็ยังดีกว่าไม่เหลียวแลมันเลย..
    ฝากลูกหลานให้ช่วยกันบำรุงต้นดี ในเนื้อนาใจที่ดี รักษาต้นดีให้รุ่งเรืองเจริญ


    *************************************
     
  12. minie20

    minie20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +161
    ส่งใบอนุโมทนาไปที่อยู่อะไร แจ้งด้วย ทำบุญทุกเดือน2ปีมาแล้ว เดือนละ 100 อยู่แล้ว เอาใบอนุโมทนาของเดิมส่งไปให้ได้ใหม่
     
  13. minie20

    minie20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +161
    ไม่ทราบว่าต้องส่งใบอนุโมทนาไปให้ที่อยู่ไหน ทำบุญทุกเดือน100 บาท มา2ปีแล้ว เอาใบเดิมสะสมส่งไปให้ได้ไหม
     
  14. minie20

    minie20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +161
    ช่วยส่งมาที่ julie 11/18-19ห้อง 2111 ถนนพระราม3ซอย 57 ช่องนนทรี ยานนาวา กท 10120
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ช่วยแจ้งให้ทราบด้วยว่า ทำบุญที่ไหน (สนส.บ่อเงินบ่อทอง หรือ สนส.ผาผึ้ง(สร้างพระเจดีย์) ) โมทนาสาธุครับ

    .
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ผมขอชื่อ - นามสกุลด้วยครับ เพราะว่าต้องเขียนชื่อ - นามสกุลลงในใบอนุโมทนาบัตรครับ

    โมทนาสาธุครับ
    .
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    จากกระทู้ ขอความเมตตาช่วยต่อชีวิตพระเณร
    บัญชีออมทรัพย์ 2030-06304-5 บัญชี รร.พระปริยัติธรรมบ่อเงินบ่อทอง ปริยัติศึกษา บมจ.ธ.กรุงไทย สาขาพนมสารคาม


    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ toe [​IMG]
    โต..(กุมารน้อย) เช้าวันนี้ขอนำเอาภาพวันทำบุญเมื่อวันอาทิตย์ ที่ 11/3/50 มาให้ทุกท่านได้อนุโมทนาบุญ..นะ..จ๊ะ..

    [​IMG]
    ผู้ว่าการๆ นิคมคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย คุณอุทัย จันทิมา เป็นประธานนำถวายกองผ้าป่า สร้างศาลาปฏิบัติ ยอดปัจจัย 57,100 บ.
    [​IMG]
    คุณโยมนก..(แป้ง)ผู้ประสานงานบุญครั้งนี้ (คนใส่เสื้อสีเขียว)

    [​IMG]
    คณะคุณโยมถวายพุ่มและปัจจัยแด่..พระคุณเจ้า

    [​IMG]
    หลวงพ่อ..ท่านมอบพระแม่กวนอิมจากประเทศจีน (เมืองเสฉวน)เป็นอนุสรณ์แก่ท่านผู้ว่า ฯ
    [​IMG]
    คุณโยมที่ดอนเมืองนำภัตตาหารมาถววาย..และถวายร่วมสร้างห้องน้ำ...(มากันหนึ่งคันรถตู้)
    [​IMG]
    พระภิกษุ-สามเณร ให้พร..ญาติโยมกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล
    [​IMG]
    คณะคุณโยมที่โคกปีบ (จ. ปราจีน) ถวายห้องน้ำ ที่อาคารเรียนพระ-เณร(คณะโยมท่านนี้..มาถวายครั้งเมื่อย้ายโรงเรียนมาตั้งใหม่ๆ..ตอนนั้พระ อ. ท่านมีเงินติดตัวมา 6,000 บ. เท่านั้น แต่ต้องรับภาระเลี้ยงพระ-เณร เกิบร้อยรูป..ก็ใช้เงินของคุณโยมคณะนี้หมุนเวียนการใช้จ่ายค่าอาหารเลี้ยงพระเณร..จึงมีวันนี้ได้ (อนุโมทนา..สาธุ..เป็นอย่างยิ่ง)
    พระอาจารย์ท่านอิ่มทิพย์(ไม่ใช่น้ำมันพืชนะขอรับ)
    เห็น ญาติโยม เณรน้อย พระใหญ่ มีความสุข
    ท่านก็อิ่มสุขแล้วครับ..อิอิ
    กราบนมัสการพระคุณเจ้า..ท่านมีเมตตา ช่วยแจ้งข่าวให้ทราบเป็นระยะๆ.....(ข้อความจากคุณเม้าตาอิน) ขอบคุณและขอบใจ..อนุโมทนาบุญ..กับคุณเม้าตาอิน..เป็นอย่างยิ่ง..ที่ค่อยเป็นพีเลี้ยงให้แก่..กุมารน้อย..ตนนี้เป็นอย่างดียิ่ง..อาตมาภาพ..ก็จะพยายามสื่อสารให้ทุกๆ ท่านได้รับทราบข้อมูลทางนี้..นะ..จ๊ะ..เพราะการการศึกษาของพระภิกษุ-สามเณร ต้องอาศัยญาติโยมได้ช่วยสงเคราะห์..จึงจะอยู่รอด..เมื่อญาติโยมได้ทราบข้อมูลก็จะได้ช่วยกันสนับสนุน..เพื่อดำรงค์ไว้ซึ่งพระพุทศาสนาของเราท่านทั้งหลาย...สาธุ..สาธุ..สาธุ..ลากลับอาศรมก่อน..ถ้ายังมีลมหายใจเข้า-ออก อยู่จะได้มารายงานต่อ..นะ..จ๊ะ<!-- / message --><!-- sig -->
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    โมทนาสาธุกับทุกๆท่านครับ

    .
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    คาถามหาลาภ<O:p</O:p
    หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค จังหวัดพระนครศรีอยุธยา<O:p</O:p
    (นะโม ๓ จบ)<O:p</O:p

    นะมามีมา มะหาลาภา อิติพุทธัสสะ สุวัณณังวา ระชะตัง มะณีวา ธะนังวา พีชังวา อัตถังวา ปัตถังวา เอหิ เอหิ อาคัจเฉยยะ อิติมีมา นะมามิหัง<O:p</O:p
    ใช้สวดภาวนาก่อนนอน ๓ จบ และตื่นนอนเช้า ๓ จบ เป็นการเรียกทรัพย์เรียกลาภ

    คาถาเสริมทรัพย์<O:p</O:p

    หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค จังหวัดพระนครศรีอยุธยา<O:p</O:p
    (นะโม ๓ จบ)<O:p</O:p

    พุทธะ มะอะอุ นะโม พุทธายะ ( ว่า ๑ จบ)<O:p</O:p
    วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย พุทธัสสะ มาณีมามะ พุทธัสสะ สะวาโหม<O:p</O:p
    ใช้สวดภาวนาก่อนนอน ๓ จบ ตื่นนอนเช้า ๓ จบ เวลาใส่บาตร จบขันข้าว ๑ จบ แล้วให้ระลึกถึงพระรัตนตรัยและพระปัจเจกโพธิ อย่าได้เว้น นอกนั้นว่างเมื่อไหร่ท่องเมื่อนั้น จะบังเกิดโภคทรัพย์มากมาย
    <O:p</O:p
    <O:p</O:pคาถามหาอำนาจ<O:p</O:p

    หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค จังหวัดพระนครศรีอยุธยา<O:p</O:p
    เอวัง ราชะสีโห มะหานาทัง สีหะนาทะกัง สีหะนะเม สีละเตเชนะ นามะ ราชะสีโห, อิทธิฤทธิ์ พระพุทธัง รักษา สาระพัดศัตรู อะปะราธะยัง, อิทธิฤทธิ์ พระธัมมัง รักษา สาระพัดศัตรู อะปะราธะยัง, อิทธิฤทธิ์ พระสังฆัง รักษา สาระพัดศัตรู อะปะราธะยัง<O:p</O:p
    ใช้เสกน้ำล้างหน้าทุกเช้า จะมีอำนาจคนยำเกรง ศัตรูพ่ายแพ้<O:p</O:p
    <O:p</O:p


    คาถาอิทธิฤทธิ์<O:p</O:p

    หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค จังหวัดพระนครศรีอยุธยา<O:p</O:p

    พุทโธ พุทธัง นะกันตัง อะระหัง พุทโธ นะโม พุทธายะ<O:p</O:p
    เป็นคาถาป้องกันตัว เมื่อเผชิญหน้ากับศัตรูที่มีศาสตราวุธร้ายแรงทุกชนิด ทั้งมีด ไม้ ปืน หรือระเบิด ให้ภาวนา ดังนี้<O:p</O:p

    อุทธัง อัทโธ นะโม พุทธายะ<O:p</O:p

    <O:p</O:p


    คาถาเงินล้าน<O:p</O:p

    พระราชพรหมยาน วัดท่าซุง<O:p</O:p

    (นะโม ๓ จบ)<O:p</O:p
    พรหมา จะ มหาเทวา สัพเพยักขา ปะรายันติ พรหมา จะมหาเทวา อะภิลาภา ภะวันตุ เม มหาปุญโญ มหาลาโภ ภะวันตุ เม มิเตพาหุหะติ พุทธะมะอะอุ นะโมพุทธายะ วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย พุทธัสสะ มามีมามะ พุทธัสสะ สวาโหม สัมปติจฉามิ<O:p</O:p
    (ภายหลังให้เพิ่มบทต้นว่า นาสังสิโม บทต่อท้ายว่า เพ็ง ๆ พา ๆ หา ๆ ฤา ๆ ) (บูชา ๙ จบ ตัวคาถาต้องว่าหมด)<O:p</O:p
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9500000026814

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>เที่ยว “อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม” สุขกาย เพลินใจ ได้ความรู้ </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>7 มีนาคม 2550 17:08 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พระพุทธรูปกลางแจ้งในลานพระ 3 สมัย</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> จำได้ว่าเมื่อวารวันครั้งเป็นเด็ก "ผู้จัดการท่องเที่ยว" นั่งดูละครโทรทัศน์เรื่อง "ห้องหุ่น" ก็เกิดความหวาดกลัวในตัวหุ่นขี้ผึ้งอยู่มาก และแม้เมื่อมีการนำมาทำซ้ำใหม่ไม่กี่ปีที่ผ่านมาก็ยังคงหวาดกลัวอยู่เช่นเคย

    แต่นั่นคือหุ่นขี้ผึ้งในละครที่ผิดแผกแตกต่างออกไปจากหุ่นขี้ผึ้งใน "อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม" ที่ อ.บางแพ จ.ราชบุรี เพราะหุ่นขี้ผึ้งในนี้ต่างก็สวยงามน่ายล โดยทางผู้จัดสร้างอุทยานฯ ต้องการให้เป็นสถานที่พักใจแก่คนทั่วไป พร้อมนำเสนอแง่มุมด้านศิลปะ วัฒนธรรม และวิถีความเป็นอยู่ที่งดงาม และเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้แก่ทุกคน

    อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม มีพื้นที่ 42 ไร่ มีหุ่นขี้ผึ้งกว่า 50 ตัว รวมไปถึงงานประติมากรรมปูนปั้นประเภทต่างๆ อย่างที่บริเวณลานจอดรถตรงทางเข้าก็จะมีรูปปั้นของพระพิฆเนศวรให้สักการะเพื่อความเป็นสิริมงคลก่อน ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเข้าชมอุทยานฯก็ว่าได้

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=320 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=320>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ในกุฏิพระสงฆ์ภาคกลาง</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> จากนั้นเมื่อเดินลึกเข้าไปจะเป็นจุดขายบัตร ซึ่งถือว่าเป็นหน้าด่านที่แท้จริง สำหรับราคาบัตรก็ถือว่าไม่แพงจนเกินไปสำหรับคนไทย

    การเดินชมอุทยานฯ นั้นแรกเริ่มเดิมที "ผู้จัดการท่องเที่ยว" ตั้งใจไว้ว่าจะเดินชมเอง หากทว่ามีเหตุบังเอิญให้ต้องไปเดินรวมหมู่กับเด็กๆ นักเรียนเป็นโขยงเลยได้อานิสงส์มีไกด์คอยทำหน้าที่เป็นผู้นำทางและบรรยายเรื่องราวต่างๆให้ฟังด้วย ซึ่งเรื่องที่ได้ฟังก็สร้างความตะลึงได้มากพอควร เมื่อรู้ว่าผืนดินแห่งนี้เดิมมีสภาพเป็นทุ่งนาและป่าเมื่อนำมาทำเป็นอุทยานฯทางเจ้าของผู้ก่อตั้งก็ได้เลี่ยงต้นไม้ใหญ่ให้คงอยู่ในสภาพเดิมกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ มีบางส่วนที่ปลูกเพิ่ม เช่น ต้นประดู่ ต้นจั๋งจีน และพืชจำพวกสมุนไพรบางส่วนเท่านั้น

    ส่วนที่เที่ยวภายในแบ่งเป็นจุดเที่ยวทั้งหมด 6 จุด ด้วยกัน เริ่มจากจุดแรกเมื่อผ่านด่านจำหน่ายบัตรเข้ามาแล้วที่จะได้พบก็คือส่วนของ "อาคารเชิดชูเกียรติ" ซึ่งเป็นอาคารที่นำเสนอเรื่องราวรูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งไฟเบอร์กลาสของบุคคลสำคัญท่านต่างๆพร้อมเกียรติประวัติ คุณค่าความดี ที่เป็นแบบอย่างทั้งชาวไทยและต่างประเทศ

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=320 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=320>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>เด็กๆให้ความสนใจกับหุ่นขี้ผึ้งของ ครูมนตรี ตราโมท</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ภายในอาคารแบ่งเป็น 2 ชั้น แต่ขณะนี้เปิดให้เข้าชมเฉพาะชั้นแรกเท่านั้น ก่อนจะเข้าไปชมหุ่นขี้ผึ้งของท่านต่างๆจะเจอรูปถ่ายพร้อมชีวประวัติโดยย่อแปะไว้ให้อ่านเป็นข้อมูลพื้นฐานตรงบริเวณทางเดิน เมื่อเข้าไปบุคคลสำคัญท่านแรกที่เราจะได้พบคือ

    ศ.มล.ปิ่น มาลากุล ผู้มีบทบาทในเรื่องการศึกษา และเป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์บรรยากาศจำลองจากห้องทำงาน ศ.มล.ปิ่น อยู่ในท่านั่งอ่านหนังสือพิมพ์อย่างยิ้มแย้ม ใครที่ไม่มีความรู้มาก่อนหรือมาเที่ยวเพียงลำพังก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะระหว่างที่เราเดินดูในแต่ละห้องนั้น จะมีระบบบรรยายเสียง 2 ภาษา ไทย-อังกฤษ คอยให้ข้อมูลอยู่ตลอดเวลา

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=250 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=250>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>หุ่นขี้ผึ้งในถ้ำชาดก</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ในห้องถัดมาก็จะพบ ศ.สัญญา ธรรมศักดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี ลักษณะของหุ่นไกด์สาวสวยผู้นำทางบอกเสียงดังฟังชัดว่าได้มาจากคำบอกเล่าของลูกชาย อีกห้องถัดมาติดๆกันเป็นห้องของ ศ.ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย

    ระหว่างทางที่เดินนั้นเราก็พบม้านั่งอยู่ตัวหนึ่งมีคุณลุงกำลังนั่งอ่านหนังสือพิมพ์อยู่อย่างสบายอารมณ์พยายามเพ่งพินิจมองอยู่เหมือนกันว่าเอ...แกเป็นบุคคลสำคัญที่เราหลงลืมไปหรือเปล่าหว่า และเหมือนไกด์สาวของเราจะล่วงรู้ความในจึงเล่าให้ฟังว่าหุ่นขี้ผึ้งตัวนี้จำลองแบบมาจากช่างปั้นท่านหนึ่งชื่อ อ.โต ขำเดช ที่สร้างขึ้นเพื่อไว้หลอกคนดูให้เดาว่าเป็นหุ่นหรือคนจริงๆ

    ในห้องต่อมาก็เป็นห้องของ ครูมนตรี ตราโมท ศิลปินแห่งชาติซึ่งกำลังนั่งอยู่ในภวังค์ครุ่นคิดแต่งบทเพลงบนโต๊ะตัวโปรดที่ได้รับความอนุเคราะห์มาจากทายาทของท่าน ส่วนลักษณะของแบบบ้านที่จำลองนั้นก็คือเป็นบ้านโสมส่องแสงของท่านนั้นเอง

    นอกจากนี้ก็ยังมีหุ่นขี้ผึ้งของ สืบ นาคะเสถียร วีรบุรุษแห่งผืนป่าห้วยขาแข้ง และบุคคลสำคัญระดับโลกอย่าง โฮจิมินท์ ผู้นำคนสำคัญของเวียดนาม แม่ชีเทเรซ่า เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพปี 1972 เหมาเจ๋อตุงกับเติ้งเสี่ยวผิง นั่งสนทนากันในห้องซึ่งไกด์ของเราเรียกว่า "คู่คิดปฏิวัติ" ทั้งนี้ระหว่างที่ออกจากอาคารเชิดชูเกียรติเพื่อจะไปชมยังจุดที่ 2 นั้นไกด์สาวก็ได้ชี้ชวนให้ดูสิ่งที่เรียกว่าเป็น อันซีนของอุทยานนั้นก็คือ "ต้นโพธิ์อุ้มตาล" ที่ยืนต้นสูงตระหง่านสร้างความแปลกใจให้แก่ผู้มาเยือน

    จากนั้นเราจึงเข้าสู่จุดที่2คือ "ลานพระสามสมัย" ที่ภายในมีผลงานประติมากรรมพระพุทธรูป 3 สมัย ทั้ง เชียงแสน สุโขทัย และอยุธยา ซึ่งการสร้างองค์พระแต่ละรูป เกิดจากความศรัทธาของกลุ่มช่างปั้น องค์พระมีขนาด 6 ศอก 9 นิ้ว (129นิ้ว)หล่อด้วยทองเหลืองและรมดำ โดดเด่นอยู่ท่ามกลางความร่มรื่นของไม้ใหญ่

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=320 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=320>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>รูปปั้นผู้หญิงนั่งหวีผมอยู่หน้ากระจกในบ้านไทยภาคกลาง</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> หลังไหว้พระขอพรเสร็จแล้ว ไกด์ก็พากลุ่มเด็กนักเรียนบวกกับเด็กโข่งอย่างเราไปชมยังจุดต่อไปที่เรียกว่า "ถ้ำชาดก" เป็นถ้ำจำลองจัดแสดงแสงเสียงเกี่ยวกับพระชาติสุดท้ายของพระเวสสันดร เรื่องการให้ทานอย่างไม่มีเงื่อนไข ซึ่งใช้หุ่นขี้ผึ้งในการเล่าเรื่อง อย่างตอนชูชกขอสองกุมารหรือตอนชูชกท้องแตกตาย อันนี้แหละทำได้เหมือนจนอดขนลุกไม่ได้ แต่เด็กๆ ไม่ยักกะกลัวบางคนพอไกด์เผลอก็เอามือไปจิ้มไส้ชูชกเล่นก็มี

    เดินมาได้เพียงไม่เท่าไหร่ก็รู้สึกเหนื่อยแล้วพอดีที่เดินถึงจุดพักที่ชื่อว่า "บ้านน้ำสมุนไพร" แวะกินน้ำกินท่านั่งพักสักครู่ จากนั้นจึงรุดหน้าต่อไปยัง "กุฏิพระสงฆ์" ที่มีลักษณะเป็นหมู่เรือนไทยแบ่งเป็น 4 ภาคและมี "หอสวดมนต์" ซึ่งมีความพิเศษตรงที่เข้าเรือนด้วยการเข้าไม้แบบมอญชั้นบนมีพระอริยสงฆ์กำลังทำวัตรอยู่หลายรูป

    ในส่วนของกุฏินั้นจะมีหุ่นขี้ผึ้งของพระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงในไทยกุฏิละ 2 รูป อย่างเช่น กุฏิพระภาคกลางก็จะมีหุ่นขี้ผึ้งของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) และสมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโนทัย) ตั้งแสดงอยู่บนเรือน งานนี้ไหว้ซ้ายที ขวาที มือเป็นระวิงขอพรจนไม่รู้จะขออะไร

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=320 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=320>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ทัศนียภาพอันร่มรื่นภายในอุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> มาถึงตอนนี้เพิ่งจะรู้สึกตัวว่ารอบด้านมีแต่ความเงียบเหงาเปล่าเปลี่ยวเอกา ตายล่ะ!หลงกับไกด์สุดสวยและพวกเด็กๆ เข้าแล้วสิ แต่ไม่เป็นไร เพราะตอนนี้ไม่มีความรู้สึกกลัวหุ่นขี้ผึ้งหลงเหลืออีกแล้ว ฉะนั้นเดินดูเองก็ได้สบายมาก จึงเดินสูดอากาศบริสุทธิ์ไปพลางเดินเล่นฟังเสียงเพลงบรรเลงที่ทางอุทยานเปิดไว้ให้อินกับบรรยากาศโดยแอบซุกซ่อนเครื่องเสียงไว้ตามขอนไม้จำลองริมทาง

    จนมาโผล่ที่ "บ้านไทย 4 ภาค" ซึ่งจำลองตามลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่เด่นชัดจาก 4 ภาค ของไทย สะท้อนถึงเรื่องราวของวัฒนธรรมการดำเนินชีวิตของแต่ละภาค โดยใช้หุ่นขี้ผึ้งเป็นตัวเหล่าเรื่องให้เห็นถึงวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของแต่ละภาคได้อย่างลงตัว

    เมื่อได้เวลาอันสมควรซึ่งก็คือเวลาใกล้ปิดทำการนั้นเอง จึงได้เวลาล่ำลาอุทยานฯกลับบ้านเสียที ด้วยการเข้าไปกราบไหว้พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ที่ "ลานพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร" ซึ่งถือได้ว่าเป็นจุดสุดท้ายของอุทยาน พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรองค์นี้ อยู่ใน ลักษณะท่านั่งที่เรียกว่าปางมหาราชลีลาเป็นปางสุดท้ายที่เป็นชายก่อนมาเป็นเจ้าแม่กวนอิม มีขนาดความสูง 3.5 เมตร

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=320 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=320>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรปางมหาราชลีลา</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> แรกเริ่มเดิมทีก็เพียงตั้งใจอยากมาดูให้รู้ว่าเขามีอะไร เพราะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ค่อนข้างใหม่ของจังหวัดราชบุรีเปิดมาได้ไม่ถึงปี แต่เมื่อได้เข้ามาเยี่ยมชมแล้ว "ผู้จัดการท่องเที่ยว" กลับเปลี่ยนความคิดจากคนกลัวหุ่นกลายเป็นคนรักหุ่น (ขี้ผึ้ง) ขึ้นมาเสียดื้อๆ ซึ่งใครอยากรู้ว่าหุ่นขี้ผึ้งที่อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยามมีมนต์แค่ไหนก็คงตามไปพิสูจน์เอาเอง

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    การเดินทางมา "อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม" จ .ราชบุรี ให้วิ่งมาตามเส้นถนนเพชรเกษม จนถึง 4 แยกบางแพแล้วเลี้ยวไปทางที่จะไป อ.ดำเนินสะดวก ขับเลยแยกมาไม่ไกลจะเจอ "วัดหลวง" อยู่ฝั่งซ้ายมือเตรียมกลับรถ อุทยานตั้งอยู่เยื้องๆ วัดฝั่งขวามือ

    อัตราค่าเข้าชมอุทยานฯ ผู้ใหญ่ 50 บาท เด็กและพระสงฆ์ 20 บาท ส่วนชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ 200 บาท เด็ก 100 บาท เวลาจำหน่ายบัตร วันจันทร์-วันศุกร์ 09.00-16.30น. วันเสาร์-อาทิตย์และวันนักขัตฤกษ์เปิด 08.30-17.00น. ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ โทร.0-3238-1401-3


    ที่พักในจังหวัดราชบุรี ร้านอาหารในจังหวัดราชบุรี สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึกจังหวัดตรัง

    อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง
    "สวนผึ้ง"เมืองงามท่ามกลางขุนเขา
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  20. pasit_99

    pasit_99 การเวียนว่ายตายเกิดนั้นน่ากลัว

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,669
    ค่าพลัง:
    +3,460
    ทำบุญ พระพิมพ์สมเด็จเจ้าคุณกรมท่าคะแนนร้อย

    ขอจอง พระพิมพ์สมเด็จเจ้าคุณกรมท่าคะแนนร้อย เนื้อขาวลงรักสีแดง 1 องค์ครับ จะโอนให้เย็นนี้ครับ (12/3/50)
    ภาษิต ภัทรมูล
     

แชร์หน้านี้

Loading...