พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.dhammajak.net/book/dhamma2/index.php

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    งานเพื่อความสุข และแก่นสารของชีวิต
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle>
    โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    ชีวิตนี้เพื่องานงานนี้เพื่อธรรม
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle> ทำไมจึงว่า ชีวิตนี้เพื่องาน งานนี้เพื่อธรรม ความหมายก็ชัดอยู่แล้วเพราะว่าเมื่อท่านอุทิศชีวิตนี้ให้แก่งาน ก็จึงเรียกว่า ชีวิตของท่านนี้เพื่องาน ส่วนที่ว่างานนี้เพื่อธรรม เมื่อมองดูความหมายง่ายที่สุดอย่างผิวเผิน ก็คือ การทำงานนั้นเป็นไปเพื่อความดี เพื่อประโยชน์สุขแก่สังคม ความดีงาม ความเป็นประโยชน์และความสุขของประชาชนหรือของสังคมนั้นก็เป็นเรื่องของธรรม เพราะฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่างานนี้เพื่อธรรม แต่คำว่า งานนี้เพื่อธรรม ยังมีความหมายลึกไปกว่านี้อีก ไม่ใช่เพียงแค่นี้ อย่างไรก็ตามตอนนี้กำลังพูดถึงเรื่องของวันเกิดก็ควรจะโยงเรื่องของชีวิตมาเกี่ยวกับวันเกิด
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    เกิดมาแล้ว ควรใช้ชีวิตอย่างไร ?
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle> ความจริงชีวิตก็เริ่มด้วยการเกิด การเกิดเป็นการเริ่มต้นของชีวิต ผู้ที่เห็นความสำคัญของชีวิตก็ย่อมเห็นว่าการเกิดเป็นเรื่องสำคัญ เพราะถ้าไม่มีการเกิด ชีวิตก็เริ่มต้นและเจริญต่อมาไม่ได้ วันเกิดนั้นในแง่หนึ่งจึงถือว่าเป็นวันของชีวิตและเป็นวันที่เตือนใจเราว่า การเกิด คือ การที่เราได้ชีวิตมา เมื่อเราได้ชีวิตมาแล้วเราจะใช้ชีวิตกันอย่างไรดี วันเกิดอย่างน้อยก็เตือนเราอย่างนี้ เตือนว่าเมื่อเราได้ชีวิตมาแล้วด้วยการเกิดนี้และเมื่อเราเป็นอยู่นี้ เราจะใช้ชีวิตกันอย่างไรดี
    ในเรื่องการใช้ชีวิตนี้คนก็มีความคิดเห็นกันต่างๆ หลายคนก็หลายทัศนะ แต่พูดกว้างๆ ก็อาจจะมีสัก ๕ - ๖ อย่าง
    แบบที่หนึ่ง หลายคนบอกว่า เออ... เราเกิดมาทั้งทีชาตินี้ไม่ยืดยาวนักอยู่กันชีวิตหนึ่ง ในเวลาที่ยังแข็งแรงหาความสุขได้ก็รีบหาความสนุกสนานใช้ชีวิตสำเริงสำราญกันให้เต็มที่ เพราะไม่ช้าไม่นานก็จะตาย ชีวิตก็จะหมดไป นี้คือ ทัศนะของคนพวกหนึ่งซึ่งมีมาแต่โบราณในสมัยพุทธการก็มี ถึงกับจัดเป็นลัทธิเลยทีเดียวเรียกว่า ลัทธิจารวาก ซึ่งจัดเป็นพวกวัตถุนิยมอย่างหนึ่ง
    บางคนมีทัศนะต่างออกไปอีก เขาบอกว่า คนเราเกิดมาเพื่อใช้หนี้กรรม เพราะฉะนั้นการใช้ชีวิตนี้จึงเป็นเพียงการคอยรับผลของกรรมที่ทำมาในปางก่อน ทัศนะแบบนี้แทบจะตรงข้ามกับทัศนะแรก ทัศนะแรกให้หาความสนุกสนานกันเต็มที่ แต่ทัศนะที่สองมองไปในแง่การใช้หนี้กรรม เลยค่อนข้างจะสลดหดหู่หน่อย แต่จะเป็นการมองที่ถูกหรือผิดตอนนี้จะยังไม่วิจารณ์
    ทัศนะแบบที่สาม ถือหลักแบบพระพุทธศาสนาตามคติอย่างหนึ่ง ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสไว้เป็นคำอุปมาท่านบอกว่า เปรียบเหมือนช่างร้อยดอกไม้หรือเรียกง่ายๆ ว่า นายมาลาการผู้ฉลาด เก็บเอาดอกไม้สีสรรวรรณะต่างๆ จากกองดอกไม้กองหนึ่งมาร้อยเป็นพวงมาลามาลัยบ้าง จัดแจกันบ้าง จัดเป็นพานบ้าง ทำให้เป็นรูปร่างต่างๆ ที่สวยงามอย่างหลากหลายได้ฉันใด คนเราเกิดมาแล้วชาติหนึ่งก็ควรใช้ชีวิตนี้ทำความดีให้มากฉันนั้น
    อันนี้เป็นคติที่มองดูชีวิตของคนเรานี้ ว่าเป็นที่ประชุมของส่วนประกอบต่างๆ มากมาย ซึ่งทางพระเรียกว่าขันธ์ห้า และขันธ์ห้าก็ยังแยกย่อยออกไปอีกมากมาย รวมแล้วโดยสาระสำคัญ ก็คือ ส่วนประกอบต่างๆ มากมายทั้งด้านวัตถุและทางจิตใจมารวมกันเข้าเป็นชีวิตของเรา สิ่งเหล่านี้ก็คล้ายๆ กับกองดอกไม้ คือ ยังไม่ดีไม่สวยงาม ไม่ปรากฏคุณค่าอะไรออกมา มันกองอยู่ตั้งอยู่อย่างนั้น จะมองเป็นกองขยะก็ได้ จะมองเป็นกองดอกไม้ที่มีคุณค่าอยู่ในตัวก็ได้ แต่ยังไม่สำเร็จประโยชน์ชัดเจนอะไรออกมามันก็กองอยู่อย่างนั้น
    ทีนี้เราเอาชีวิตของเราที่ตั้งอยู่อย่างนี้ ที่เป็นกลางๆ ไม่ชัดเจนว่าจะมีคุณค่าอย่างไรนี้ เอามาทำความดี ถ้าเราเอาชีวิตนี้มาใช้ทำความดีก็ทำได้มากมาย หรือในทางตรงข้ามจะทำความชั่วก็ทำได้มากมายเช่นเดียวกัน เพราะมนุษย์มีศักยภาพมาก แต่ในทางธรรมถ้าเอาชีวิตนี้มาทำความดีก็จะทำความดีได้มากมาย เราจะเห็นว่า คนที่มีความมุ่งหมายในชีวิตแน่นอนแน่วแน่ในการทำความดี สามารถใช้ชีวิตชาติหนึ่งที่มองเห็นเป็นร่างกายยาววาหนาคืบกว้างศอกเท่านี้นี่เอง ทำสิ่งที่ดีงามได้มากมายมหาศาล สร้างสังคม สร้างชุมชน สร้างประเทศชาติ ตลอดจนสร้างสรรค์อารยธรรมของโลก เป็นความดีงามมากมายเหลือเกิน ก็สามารถทำได้
    ในกรณีนี้เรามองว่ามนุษย์มีศักยภาพในการที่จะทำความดี ตามคตินี้ซึ่งเป็นคติทางพระพุทธศาสนาในธรรมบท ท่านสอนว่า คนเราเกิดมาแล้วควรใช้ชีวิตทำความดีให้มาก ถ้ามองในแง่นี้เราก็จะต้องขวนขวายพยายามทำความดีให้มากที่สุด
    ทีนี้อีกแง่หนึ่ง เป็นความหมายในทางที่ดีเหมือนกัน มองว่าชีวิตของคนเรานี้เป็นเรื่องของการพัฒนาตนเอง การใช้ชีวิตหรือการดำเนินชีวิตก็คือการฝึกฝนพัฒนาตนเอง หรือพัฒนาชีวิตนี้ให้มีความดีงามถึงความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ตามทัศนะแบบนี้ถือว่าคนเราเกิดมาไม่มีความสมบูรณ์ในตัวชีวิต คือ คนเรานี้เมื่อเกิดมาเริ่มต้นก็มีอวิชชา มีความไม่รู้และยังไม่มีความสามารถอะไรต่างๆ แต่เราสามารถพัฒนาชีวิตของเราได้ ฝึกฝนตนเองได้ อันนี้ก็เป็นคติในทางพระพุทธศาสนาอีกนั่นแหละ
    พระพุทธศาสนาถือว่า มนุษย์เป็นสัตว์ที่ฝึกได้และเป็นสัตว์ที่ฝึกได้เป็นพิเศษยิ่งกว่าสัตว์ชนิดใดๆ สัตว์อื่นๆ เช่น ช้าง ม้า และสัตว์ใหญ่น้อยทั้งหลายมากมาย สามารถนำมาฝึกและใช้ทำงานต่างๆ ก็ได้ เล่นละครต่างๆ ก็ได้ แต่ก็ได้แค่ที่มนุษย์จะฝึกให้ ต่างจากมนุษย์ซึ่งถ้าฝึกแล้วจะทำอะไรได้มากมายแสนวิเศษอัศจรรย์ ตามคตินี้ ความวิเศษของมนุษย์อยู่ที่การฝึก คือ ถือว่ามนุษย์เกิดมายังไม่สมบูรณ์ ความสามารถก็ยังไม่สมบูรณ์ สติปัญญาก็ยังไม่สมบูรณ์ คุณธรรมก็ยังไม่สมบูรณ์ เราจึงพยายามพัฒนาให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
    คติอย่างนี้ในระดับสูงสุดเรียกว่าเป็น คติพระโพธิสัตว์ สำหรับคติที่กล่าวก่อนหน้านี้ที่ว่า คนเราเกิดมาควรใช้ชีวิตทำความดีนั้นเป็นคติของชาวพุทธแบบทั่วไป แต่เมื่อจะฝึกฝนตนให้สมบูรณ์ก็เข้าแนวคติพระโพธิสัตว์ คือ พระโพธิสัตว์ย่อมพัฒนาตนให้สุดให้เต็มที่แห่งศักยภาพ
    ศักยภาพของมนุษย์เมื่อพัฒนาเต็มที่ ก็คือ การถึงโพธิ คือ ตรัสรู้เป็นพุทธ ท่านบอกว่ามนุษย์นี้ถ้าไม่ฝึกแล้ว อาจจะต่ำทรามหรือด้อยกว่าสัตว์ทั้งหลาย เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายยังอาศัยสัญชาตญาณได้มากว่ามนุษย์ จะเห็นได้จากการที่สัตว์หลายอย่างพอเกิดมาก็เดินได้ ว่ายน้ำได้ หากินได้ แต่มนุษย์นี้ในขณะที่เกิดมานั้นทำอะไรไม่ได้เลย ทิ้งไว้ก็ตาย สู้สัตว์อื่นไม่ได้ แม้แต่การดำเนินชีวิตก็ต้องสอนทุกอย่างไม่เหมือนสัตว์อื่นๆ ที่มีสัญชาตญาณช่วย
    ถ้ามนุษย์ไม่มีการฝึกก็แพ้สัตว์ทั้งหลาย แต่ถ้าฝึกดีแล้วก็ไม่มีสัตว์ชนิดใดสู้ได้เลย ฝึกได้จนกระทั่งเป็นพุทธถึงที่สุดแห่งศักยภาพ ซึ่งแม้แต่พระพรหมก็เคารพบูชา เรียกว่ามนุษย์สูงสุดกว่าสัตว์ใดๆ แต่มีเงื่อนไขว่าต้องมีการฝึกฝนพัฒนา เป็นอันว่ากรณีนี้เป็นคติโพธิสัตว์ คือ ใช้ชีวิตนี้พัฒนาศักยภาพกันให้เต็มที่
    ต่อมามีอีกคติหนึ่งว่า ชีวิตนี้ควรจะเป็นอยู่ให้ดีที่สุด เสร็จสิ้นสมบูรณ์ในแต่ละขณะ ทุกขณะ หมายความว่า ทำชีวิตให้เต็มเปี่ยมบริบูรณ์ในแต่ละขณะ ข้อนี้เป็นคติสำคัญ เป็นคติพุทธศาสนาเหมือนกัน
    ความจริงคติทั้งสามอย่างหลัง เป็นคติทางพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น อย่างที่บรรยายมาเมื่อกี้ว่าการใช้ชีวิตทำความดีให้มากเป็นคติที่ชาวพุทธทั่วไปถือเป็นหลัก การพัฒนาศักยภาพให้เต็มที่เป็นคติธรรมแนวพระโพธิสัตว์ พอมาถึงข้อนี้ว่าทำชีวิตให้เต็มเปี่ยมสมบูรณ์ในแต่ละขณะทุกขณะไปเลย ก็เป็นคติพระอรหันต์และก็เป็นคติของพระพุทธเจ้าด้วย
    ที่ว่ามานี้ก็เป็นเรื่องของการใช้ชีวิตกันต่างๆ ซึ่งทั้งหมดนั้นก็สืบเนื่องจากการที่ได้มาคำนึงถึงว่า คนเราเกิดมานี้ เมื่อเกิดมาแล้วก็มีการสิ้นสุด ชีวิตนี้มีช่วงเวลาจำกัดไม่ยืนยาว เพราะฉะนั้นจึงควรคิดว่าจะใช้ชีวิตกันอย่างไร แต่ทั้งหมดนั้นก็มามองกันที่ว่ามีการเกิดและมีการตายอยู่หัวท้าย แล้วในระหว่างนั้นจะทำอย่างไร ยกเว้นแต่ข้อสุดท้ายซึ่งเป็นคติที่พิเศษ คือ เลยไปถึงขั้นที่ไม่เกิดไม่ตาย เพราะว่าเมื่อใช้ชีวิตเต็มเปี่ยมในแต่ละขณะแล้ว การเกิด การตายก็ไม่มี นั่นเป็นชีวิตที่สมบูรณ์ เรียกว่า เป็นอมตะอยู่ในตัวเองเลยเพราะคนนั้นจะไม่นึกถึงเรื่องเกิดเรื่องตายอีกต่อไป ทั้งหมดนี้เป็นคติที่ควรจะนำมาใช้ปฏิบัติได้ใครจะเลือกอย่างไร ก็พิจารณาได้ด้วยตนเอง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    ทำงานเพื่ออะไร ?
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle> อย่างไรก็ตาม ในบรรดาคติทั้งหมดนี้ไม่ว่าใครจะเลือกใช้คติใดก็ตาม ถ้าเราวิเคราะห์ชีวิตของเราออกไปในการเป็นอยู่ประจำวันก็ดี ตลอดชีวิตก็ดี โดยเฉพาะในสภาพปัจจุบันนี้เมื่อวิเคราะห์แยกแยะชีวิตให้ละเอียดเพื่อให้เข้าใจชีวิตที่เป็นไป จะเห็นว่าความเป็นไปส่วนใหญ่ในชีวิตของแต่ละคนขึ้นอยู่กับกิจกรรมสำคัญอย่างหนึ่ง คือสิ่งที่เรียกว่า “งาน” งานเป็นเนื้อหาส่วนสำคัญแห่งชีวิตของคน โดยเฉพาะในสมัยปัจจุบันงานครอบคลุมและกำหนดการดำเนินชีวิตของมนุษย์ส่วนมาก
    ในเมื่องานเป็นกิจกรรมหลักของมนุษย์ ดังนั้นถ้าเราจะพูดเกี่ยวกับการใช้ชีวิตให้ละเอียด เราก็ควรจะพูดถึงว่าเราทำงานกันอย่างไร เพราะเราจะเห็นการเป็นอยู่ของมนุษย์ได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เมื่อต้องการทราบว่าคนเขาดำเนินชีวิตอย่างไร ใช้ชีวิตอย่างไร เราก็ไปดูที่การทำงานของเขา แล้วเราก็จะเห็นส่วนสำคัญของชีวิตของเขาทีเดียว แม้แต่คนที่ว่าอยู่เพื่อสำเริงสำราญให้เต็มที่ ไม่คิดมุ่งหมายเรื่องการเรื่องงานอะไรเลย ก็ไม่สามารถที่จะสำเริงสำราญเต็มที่ทั้งชีวิต ซึ่งเป็นไปไม่ได้ การอยู่อย่างนั้นตลอดเวลาเป็นไปไม่ได้ เขาจะต้องมีการทำงานเหมือนกัน
    งานเป็นกิจกรรมส่วนสำคัญของชีวิต เพราะฉะนั้น ถ้าจะดูให้ละเอียดว่าเราใช้ชีวิตกันอย่างไร ก็ต้องมาดูเรื่องการทำงานว่าทำกันอย่างไรด้วย คนเรานั้นมองการทำงานต่างกันไปหลายอย่าง และจากความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของการทำงาน ก็ทำให้เขามีพฤติกรรมการทำงาน เป็นแบบแต่ละแบบของตนไปตามความเข้าใจนั้น
    อย่างแรกที่เห็นชัดที่สุด คนโดยมากมองความหมายของงานว่าเป็นเครื่องมือหาเลี้ยงชีพ ทำให้มีเงินมีทองสำหรับเอามาซื้อหารับประทาน มาจับจ่ายใช้สอยหาความสุขอะไรต่างๆ อย่างน้อยก็ทำให้มีชีวิตอยู่ได้ด้วยปัจจัยสี่ ข้อนี้นับว่าเป็นความหมายของงานสำหรับคนจำนวนมากมายทีเดียว ซึ่งถือตามคตินี้โดดๆ ลำพังอย่างเดียวก็อาจจะเข้ากับคำขวัญที่ว่า งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข ต้องทำงานจึงจะมีเงินและต้องมีเงินจึงจะได้คนมาทำงาน ก็จำกัดเพียงเท่านี้ นี้คือความหมายทั่วๆ ไปในขั้นแรก แต่ยังมีความหมายต่อไปอีก
    สำหรับคนอีกเป็นจำนวนมาก นอกจากความหมายที่หนึ่งแล้วยังมีความหมายที่สองพ่วงมาด้วย ความหมายที่สองนี้ขยายกว้างไกลออกไป คือ มองว่างานนี้จะนำชีวิตของเราไปสู่การมีตำแหน่ง มีฐานะตลอดจนความรุ่งโรจน์หรือความรุ่งเรือง และความนิยมนับถือต่างๆ ที่ทางพระเรียกว่า โลกธรรม ซึ่งก็เป็นความหมายที่สำคัญเหมือนกัน คนในโลกจำนวนมากมองความหมายของงานในแง่นี้
    ต่อไปงานยังมีความหมายอย่างอื่นอีก งานในความหมายหนึ่งทำให้มองกว้างออกไปนอกเหนือจากตัวเอง ในความหมายที่ว่ามาแล้วเรามองจำกัดเฉพาะตัวเอง ที่บอกว่างานเป็นเครื่องเลี้ยงชีวิต ก็เป็นเรื่องของตัวฉัน งานเป็นบันไดไต่เต้าไปสู่ความรุ่งเรือง หรือความสำเร็จ ก็เพื่อตัวฉัน
    แต่ที่จริงงานไม่ใช่แค่ตัวฉันงานเป็นเรื่องที่กว้างกว่านั้น งานเป็นเรื่องที่เป็นไปเพื่อการสร้างสรรค์เป็นไปเพื่อการพัฒนา เป็นกิจกรรมของสังคม เป็นของประเทศ เป็นของโลก โลกจะเป็นไปได้ สังคมจะดำเนินไปได้ ประเทศชาติจะพัฒนาได้จะต้องอาศัยคนทำงาน เพราะฉะนั้นคนที่ทำงาน จึงเท่ากับได้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์พัฒนาสังคมประเทศชาติ ตามความหมายของงานในแง่นี้ พอเราทำงานเราก็นึกทีเดียวว่า ตอนนี้เรากำลังทำการอย่างหนึ่งซึ่งเป็นส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมประเทศชาติ หรือมองว่าเรากำลังทำอะไรอย่างหนึ่งเพื่อประโยชน์สุขของสังคมหรือของประชาชน
    ต่อไป งานยังมีความหมายอีก ในแง่ว่าเป็นสิ่งที่แปรสภาพชีวิตของคน ทำให้คนมีสภาพชีวิตที่แตกต่างกันไป ทำให้การดำเนินชีวิตต่างกันไป สภาพความเป็นอยู่ต่างกันไป คนเป็นกรรมกรก็มีความเป็นอยู่แบบหนึ่งคนเป็นนักวิชาการก็มีสภาพชีวิตอีกแบบหนึ่ง ท่านที่เป็นแพทย์ก็มีสภาพชีวิตไปอีกแบบหนึ่ง เป็นพระภิกษุก็มีสภาพความเป็นอยู่อีกแบบหนึ่ง สภาพความสัมพันธ์ในสังคมก็แปลกกันไป ทั้งหมดนี้ก็เป็นเรื่องของงานที่แบ่งสภาพชีวิตของคนให้แตกต่างกันไป จึงจัดว่าเป็นความหมายอีกอย่างหนึ่งของงาน
    สำหรับบางคนอาจมองว่า งานเป็นสิ่งที่ทำให้ชีวิตมีคุณค่า ถึงกับบอกว่า ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน คนที่กล่าวคติอย่างนี้มองไปในแง่ว่า งานเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ชีวิตมีค่า ถ้าไม่ทำงานที่ดีมีประโยชน์ ชีวิตนี้ก็ไม่มีค่า
    ต่อไปความหมายของงานอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ งานเป็นโอกาสที่จะได้พัฒนา หรือว่าการทำงานคือการพัฒนาตน ความหมายของงานในแง่ที่เป็นการพัฒนาตนนี้ไปสัมพันธ์กับความหมายของการใช้ชีวิตอย่างที่ว่ามา เมื่อกี้นี้ที่พูดว่าดำเนินชีวิตเพื่อพัฒนาตน หรือเพื่อพัฒนาศักยภาพนั้น ที่จริงสาระของมันก็อยู่ที่งานนี่เอง ที่เป็นตัวพัฒนา งานนี้แหละเป็นสิ่งที่พัฒนาชีวิตของเรา พัฒนาให้เรามีความสามารถทำให้เรามีความเชี่ยวชาญ มีความเก่งกาจในทางใดทางหนึ่ง แม้ในด้านการฝึกฝนทางจิตใจหรือในทางคุณธรรมนั้น งานก็เป็นเครื่องมือฝึกฝนคน ทำให้เรามีความขยัน มีความอดทน ทำให้มีระเบียบวินัย ทำให้รู้จักสัมพันธ์กับเพื่อนพ้องผู้ร่วมงาน สิ่งเหล่านี้ล้วนอาศัยงานเป็นเครื่องฝึก
    ถ้าคนรู้จักทำงานเป็น จะสามารถใช้งานเป็นเครื่องมือในการฝึกฝนพัฒนาตนเองได้มากมาย เพราะฉะนั้นในแง่หนึ่ง นักทำงานจะมองว่างานเป็นสิ่งที่ช่วยฝึกฝนพัฒนาตัวของเขา อย่างที่ว่าทำให้ศักยภาพของเขาถึงความสมบูรณ์
    ทั้งหมดนี้ก็เป็นความหมายของงานในแง่ต่างๆ ซึ่งกล่าวได้มากมายหลายนัย นอกจากนี้ก็อาจมีผู้ที่มองความหมายของงานในแง่นี้อีก แต่ในแง่หลักๆ แล้วก็จะเป็นอย่างนี้
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    ควรทำงานกันอย่างไร ?
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle> ทีนี้เมื่อคนทำงานไปตามความหมายและความเข้าใจของเขา ความหมายของงานตามที่เขาเข้าใจนั้นก็มีผลต่อพฤติกรรมในการทำงาน และส่งผลต่อความรู้สึกและต่อสภาพจิตใจในการทำงานของเขาด้วย เราเข้าใจการทำงานอย่างไรเราก็มุ่งหวังผลสนองไปตามความหมายนั้น ถ้าเกิดผลสนองตามความมุ่งหมายเราก็เกิดความพึงพอใจ ถ้าไม่สนองตามความมุ่งหมายก็เกิดความเศร้าเสียอกเสียใจ เพราะฉะนั้น ความเข้าใจในความหมายของงานจึงมีผลกระทบต่อชีวิตจิตใจของเรามาก
    ตัวอย่างเช่น คนที่ทำงานในความหมายที่เป็นเพียงเครื่องมือหาเลี้ยงชีพ ให้ได้ผลตอบแทน ให้ได้ผลประโยชน์ ถ้าหากว่าไม่ได้ผลประโยชน์มาก ผลประโยชน์ที่ได้มาน้อยไป เขาก็จะรู้สึกไม่สมหวัง เกิดความไม่พอใจ เกิดความทุกข์ เพราะว่าความมุ่งหมายในการทำงานของเขา ไปอยู่ที่ตัวผลประโยชน์ตอบแทนคือเรื่องเงินทอง เป็นต้น การที่เขาจะมีความสุขหรือความทุกข์ก็อยู่แค่นั้น
    ทีนี้ ถ้ามองความหมายของงานไปในแง่ว่า เป็นการทำหน้าที่หรือบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคมประเทศชาติ สำหรับคนที่มองอย่างนี้ บางทีแม้ว่าผลประโยชน์ตอบแทนอาจไม่มากนัก แต่ความพึงพอใจของเขาอยู่ที่ว่า งานนั้นทำให้เกิดประโยชน์แก่สังคม ดังนั้น เขาก็มีความสุข ความรู้สึกในจิตใจไปสัมพันธ์กับความเข้าใจความหมายของงาน
    คนที่มองงานในแง่ของการพัฒนาตนหรือพัฒนาศักยภาพ เวลาทำงานก็จะเพลินไปกับงาน เพราะในเวลาที่ทำงานเราได้ฝึกตัวของเราอยู่ตลอดเวลา เราทำงานไปเราก็ได้ความสามารถเพิ่มพูนความชำนาญมากขึ้น ส่วนเรื่องที่ว่าจะได้ผลประโยชน์ตอบแทนมากน้อย เราจะไม่คำนึงถึงนัก เราจะมีความพึงพอใจในการที่ได้พัฒนาตนเองให้ศักยภาพออกผลเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้น การเข้าใจความหมายของงานจึงเป็นสิ่งสำคัญมากต่อสภาพจิตใจ
    ตอนนี้ อยากจะพูดถึงความรู้สึกพื้นฐานทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับเรื่องงานสักนิดหนึ่ง เมื่อเรามองดูความหมายของงาน ถ้ามองดูวัฒนธรรมไทยและนำไปเทียบกับวัฒนธรรมตะวันตก จะเห็นว่ามีความแตกต่างกันอยู่ และความแตกต่างนั้นก็แสดงถึงพื้นฐานทางด้านการสั่งสมฝึกอบรมจิตใจของวัฒนธรรมนั้น ๆ คนไทยเรามองคำว่างานกันอย่างไร ก่อนที่วัฒนธรรมแบบตะวันตกเข้ามา คนไทยเราใช้คำว่า งาน ในความหมายที่ไม่เหมือนปัจจุบัน เรามีงานวัด เรามีงานสงกรานต์ เรามีงานกฐิน เรามีงานทอดผ้าป่า คำว่างานในความหมายของคนไทยเป็นกิจกรรม เพื่อความสนุกสนาน เพื่อความบันเทิง งานวัดเป็นเรื่องสนุกทั้งนั้น มีมหรสพ มีละคร หนัง ลิเก ในงานสงกรานต์เราก็ไปสนุกกัน เอาน้ำไปสาดกัน ไปเล่นอะไรต่ออะไรกันครึกครื้น
    แต่ความจริงงานมีความหมายที่ซ้อนอยู่ลึกกว่านั้นคือ เป็นเรื่องการทำความดี กิจกรรมที่เป็นหลักเป็นแกนของงาน ก็คือ การทำบุญ การกุศล หรือบำเพ็ญความดีบางอย่าง โดยเฉพาะการมาร่วมกันทำประโยชน์บางอย่างเพื่อส่วนรวม แม้แต่งานสงกรานต์ก็มีกิจกรรมที่เป็นการทำบุญทำกุศลอยู่ รวมทั้งการขนทรายเข้าวัด
    ดังนั้น การทำงานจึงมีความหมายในเชิงที่เป็นกิจกรรมในการทำความดีบางอย่าง หรือเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางศาสนา แต่ส่วนหนึ่งที่ปนอยู่ด้วยก็คือความสนุกสนานบันเทิง ซึ่งเป็นส่วนที่หลงเหลือมาถึงปัจจุบันในคนไทยส่วนมาก เป็นอันว่าความหมายของงานที่เป็นไปตามวัฒนธรรมไทยนี้ เหลือมาในรูปของความสนุกสนานเป็นหลัก
    ทีนี้ ในแง่ของสังคมตะวันตก การทำงานแบบตะวันตกเข้ามาพร้อมกับวัฒนธรรมตะวันตกนั่นเอง ความหมายแบบตะวันตกคืออะไร งานในความหมายของตะวันตกนั้นเรียกว่า work และมีความสำคัญที่คู่กับ work เป็นคำที่ตรงข้ามกัน ซึ่งมีค่าเท่ากับ work ซึ่งช่วยให้ความเด่นชัดแก่ความหมายของ work ด้วยคือคำว่า leisure แปลว่า การพักผ่อนหย่อนใจ งานในความหมายของฝรั่ง จึงคู่และตรงข้ามกันกับการพักผ่อนหย่อนใจ เพราะฉะนั้น วัฒนธรรมตะวันตกจึงมองว่างานเป็นเรื่องของความเหน็ดเหนื่อย ลำบากตรากตรำ เป็นเรื่องที่ต้องทนทำด้วยความทุกข์ยากและก็จึงต้องมีสิ่งที่คู่กันเพื่อทดแทน คือ การพักผ่อนหย่อนใจ
    เพราะฉะนั้น ตามวัฒนธรรมของฝรั่งนี้ คนเราต้องทำงาน และเสร็จแล้วก็ไปพักผ่อนหย่อนใจเพื่อเป็นสิ่งที่ช่วยทดแทนชดเชยหรือผ่อนระบาย ดังนั้น งานจึงเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความเครียดได้มาก และถ้าเราตั้งท่าไว้ไม่ดี มีท่าทีของจิตใจที่ไม่ถูกต้อง คือ ไม่มีความรักงาน เราก็จะทำงานด้วยความเหนื่อยหน่ายและอยากจะหนีงาน งานกลายเป็นสิ่งที่หนักหนา ต้องเผชิญ ต้องผจญ ต้องต่อสู้ เพราะฉะนั้นก็จึงต้องหาทางหลีกเลี่ยงไปเสีย เราจะต้องการให้งานเลิกหรือจะหนีไปจากงานเพื่อไปหาการพักผ่อน อันเป็นสิ่งที่จะต้องแก้ไข และจึงต้องมีจริยธรรมที่เข้าชุดเป็นคู่กันเรียกว่า จริยธรรมในการทำงาน (work ethic) คือว่า คนในวัฒนธรรมตะวันตกซึ่งทำงานแบบตะวันตกจะต้องสร้างนิสัยรักงานขึ้นมาให้ได้ พอรักงานก็มีใจสู้ และทนต่อความหนักความเหน็ดเหนื่อยของงานได้
    เป็นอันว่า ความหนักและความเหน็ดเหนื่อยเป็นลักษณะงานแบบตะวันตก คนไทยรับเอาความหมายของคำว่า งาน ในแง่ที่เป็นความหนักน่าเหนื่อยมาจากตะวันตก โดยไม่ได้รับเอานิสัยรักงานมาด้วยแต่เรามีนิสัยรักความสนุกที่สั่งสมมา กับความหมายของงานในวัฒนธรรมของไทยเราเอง ในสภาพของความนุงนังและสับสนของวัฒนธรรมอย่างนี้ ถ้าเราปรับตัวไม่ดี เราจะเสียทั้งสองด้าน คือ ในแง่ของตัวเองเราก็รักความสนุกสนาน ของเก่าที่ว่างานมีความหมายเป็นความสนุกสนาน เรามุ่งอยากได้ความสนุกสนานพอเจองานแบบตะวันตกที่หนักและไม่สนุก ก็อยากจะหนีงานไป เพราะไม่มีนิสัยรักงาน ผลเสียก็จะเกิดขึ้น
    เพราะฉะนั้น ถ้าจะให้ดีก็ต้องแก้ไขให้ถูกต้องความหมายที่ดีของเราในวัฒนธรรมเก่าว่า งานเป็นกิจกรรมเพื่อส่วนรวม เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์อะไรสักอย่างหนึ่ง โดยมีความสนุกสนานเป็นผลพ่วงมาหรือเป็นผลพลอยได้ เราก็รักษาไว้ และในเวลาเดียวกัน งานในความหมายที่ต้องสู้ต้องทำด้วยความเหน็ดเหนื่อยนี้ เราก็ยินดีต้องรับไม่ถอยหนี จะต้องแก้ไขปัญหาให้ได้ว่าทำอย่างไรจึงจะให้การทำงานเป็นไปด้วยดี โดยมีนิสัยรักงานและสู้งานมาช่วยสนับสนุน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    มา http://www.dhammajak.net/book/dhamma2/index.php

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    งานเพื่อความสุข และแก่นสารของชีวิต
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle>
    โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    จุดมุ่งหมายของคน หรือจุดมุ่งหมายของงาน ?
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle> จะเห็นว่าความหมายทางจิตใจเป็นเรื่องสำคัญ เราจะสู้งานหรือจะคอยหนีจากงานก็อยู่ที่สภาพจิตใจอย่างที่ว่ามาแล้ว และในการที่จะมีสภาพจิตใจที่เอื้อต่อการทำงานนั้น สิ่งหนึ่งที่จะสนับสนุนให้คนทำงานได้ผลดีก็คือ กำลังใจ พอพูดถึงกำลังใจก็มีปัญหา อีกกำลังใจจะมาได้อย่างไร กำลังใจก็เป็นเรื่องของความสัมพันธ์เชิงวงจรอีก มันย้อนไปย้อนมา ถ้าเรามีกำลังใจเราก็ทำงานได้ดี แต่ทำอย่างไรจึงจะมีกำลังใจ ถ้าทำงานแล้วได้ผลดีก็มีกำลังใจ พองานได้ผลดีมีกำลังใจ ก็ยิ่งทำงาน ยิ่งทำงานก็ยิ่งได้ผลดี ยิ่งได้ผลดีก็ยิ่งมีกำลังใจ อันนี้ก็เป็นเรื่องของการส่งผลย้อนไปย้อนมา
    กำลังใจ เป็นเรื่องสำคัญในการทำงาน แต่การที่จะมีกำลังใจนั้นก็อยู่ที่การเข้าใจความหมายของงานนั้นแหละ คนที่เข้าใจความหมายของงานว่าจะทำให้ได้ผลตอบแทน หรือได้ผลประโยชน์มา ถ้าเขาได้ผลตอบแทนได้ผลประโยชน์มา เขามีกำลังใจแล้วก็ทำงาน แต่ถ้าไม่ได้ผลตอบแทนเป็นอัตราเป็นเงินทองก็ไม่มีกำลังใจ แต่อีกคนหนึ่งมองความหมายของงานว่าว่าเป็นการได้พัฒนาตน หรือเป็นการได้บำเพ็ญประโยชน์แก่สังคม เมื่อเห็นสังคมเจริญก้าวหน้ามีความสงบสุขยิ่งขึ้นเขาก็มีกำลังใจได้ แม้จะไม่ได้ผลตอบแทนเป็นวัตถุมากเท่าไร กำลังใจจึงไปสัมพันธ์กับผลตอบสนองจากงาน ไม่ว่าจะเป็นผลทางวัตถุหรือทางจิตใจ จะเป็นผลแก่ตนเองหรือผลแก่ส่วนรวมก็ตาม แล้วแต่จะมองความหมายของงานอย่างไร
    รวมความว่า กำลังใจเป็นสิ่งสำคัญก็จริง แต่ก็ไม่ใช่เครื่องกำกับที่แน่นอนว่าจะให้เกิดคุณค่าที่เป็นประโยชน์เสมอไป อย่างที่ว่าคนที่ทำงานมุ่งแต่ผลประโยชน์ตอบแทนเป็นเงินทองวัตถุ ถ้าผลตอบแทนน้อยไปไม่ได้มากมาย ก็จะเกิดปัญหาไม่มีกำลังใจในการทำงาน เพราะฉะนั้น เราจะต้องหาอะไรมาช่วยกำลังใจ ให้ได้ผลดียิ่งขึ้น เพื่อให้งานเกิดคุณค่าอย่างแท้จริง สิ่งหนึ่งที่จะมาหนุนคุณค่านี้ได้ก็คือ ศรัทธา ศรัทธาเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก
    ศรัทธา คือ ความเชื่อ ซึ่งในความหมายอย่างหนึ่งก็คือ การเห็นคุณค่าของสิ่งนั้น เมื่อเห็นคุณค่าของสิ่งใด ก็พอใจสิ่งนั้นและใจก็ยึดเหนี่ยวมุ่งไปหาและมุ่งไปตามสิ่งนั้น เมื่อมุ่งไปหาหรือมุ่งหน้าต่อสิ่งนั้นมุ่งจะทำและมุ่งจะตามไป ก็เกิดกำลังขึ้นมา ศรัทธาเป็นพลัง เมื่อเรามีศรัทธาต่อสิ่งใด เราก็จะสามารถอุทิศชีวิตทั้งร่างกายและจิตใจ อุทิศเรี่ยวแรงกำลังของเราให้แก่สิ่งนั้น เพราะฉะนั้น การที่จะให้เกิดกำลังใจในทางที่ดี จึงต้องสร้างศรัทธาขึ้นมา
    ศรัทธาจะเกิดขึ้นได้ด้วยการเข้าใจความหมายนั่นแหละ เช่น ถ้าเราเข้าใจความหมายของงานในแง่ว่าเป็นสิ่งทีมีคุณค่า เป็นเครื่องสร้างสรรค์ทำให้เกิดประโยชน์แก่สังคม เป็นต้น เราก็เกิดศรัทธาในงานเพราะมองเห็นคุณค่าของงานนั้น พอมีศรัทธาอย่างนี้แล้วศรัทธานั้นก็จะส่งเสริมกำลังใจ ในลักษณะที่พ่วงเอาความเป็นคุณเป็นประโยชน์เข้ามาด้วย ไม่ใช่เป็นกำลังใจล้วนๆ ที่เพียงแต่เกิดจากความสมอยากในการได้วัตถุเท่านั้น เพราะฉะนั้น เมื่อมีศรัทธาแล้วกำลังใจทีเกิดขึ้นก็จะเป็นกำลังใจที่ทำให้เกิดสิ่งเรียกว่า ธรรม คือ มีความดีงาม มีคุณประโยชน์พ่วงมาด้วย
    นอกจากมีศรัทธาในงานแล้ว ก็ต้องมีศรัทธาในวิถีชีวิตด้วย เรื่องนี้จึงมีความหมายโยงไปหาชีวิตด้วย ว่าเรามองชีวิตอย่างไร คนที่มองความหมายของชีวิตในแง่ว่า วิถีชีวิตที่ดีก็คือ การหาความสนุกสนานให้เต็มที่ คนอย่างนั้นจะมาศรัทธาในความหมายของงาน ที่เป็นคุณประโยชน์แก่สังคมก็เป็นไปได้ยาก เพราะฉะนั้น ความหมายของงานที่จะทำให้เกิดศรัทธาจึงต้องโยงไปหาความหมายของชีวิตที่ดีด้วย พอมองว่าชีวิตที่ดี คือการที่เราได้ใช้ชีวิตให้เกิดคุณประโยชน์มีค่าขึ้นและการที่ได้พัฒนาตน เป็นต้น พอมองความหมายของงานในแนวเดียวกันนี้ ความหมายของงานนั้นก็มาช่วยเสริมในแง่ที่เกิดความสัมพันธ์อย่างสอดคล้องกัน คือ ความหมายของงานกับความหมายของชีวิต มาสัมพันธ์เสริมย้ำซึ่งกันและกัน แล้วศรัทธาก็จะเกิดขึ้นอย่างมั่นคง อันนี้ก็เป็นเรื่องของศรัทธา
    ทีนี้ มองต่อไปอีกให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เรื่องนี้ไม่ใช่อยู่แค่ศรัทธาเท่านั้น ถ้าเราวิเคราะห์จิตใจของคนที่ทำงานจะเห็นว่า แม้แต่ศรัทธาก็เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่เรียกว่า แรงจูงใจ เมื่อมาทำงานเราก็ต้องมีแรงจูงใจทั้งนั้น ทั้งหมดที่พูดมาก็อยู่ในหลักการของเรื่องแรงจูงใจทั้งสิ้น คนเราจะทำกิจกรรมอะไรก็ต้องมีแรงจูงใจเมื่อมาทำงานเราก็ต้องมีแรงจูงใจให้มาทำงาน แรงจูงใจจึงเป็นหลักใหญ่ ในการแบ่งประเภทของการทำงานแรงจูงใจนั้นมีอยู่ ๒ ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกัน
    แรงจูงใจด้านหนึ่งที่เป็นหลักใหญ่ๆ คือ ความต้องการผลตอบแทน ต้องการผลประโยชน์ต้องการเงินทอง อันนี้เป็นแรงจูงใจที่มุ่งเข้าหาตัวเองเป็นความปราถนาส่วนตัวหรือเห็นแก่ตัว ทางพระท่านเรียกว่า แรงจูงใจแบบตัณหา

    ทีนี้ ต่อจากตัณหายังมีอีกเราต้องการความสำเร็จ แต่ความสำเร็จนั้นเป็นความสำเร็จของตัวเรา โดยเฉพาะความสำเร็จของตัวเราในรูปของความยิ่งใหญ่ ในรูปของการได้ตำแหน่งได้ฐานะ เป็นต้น อันนี้ก็เป็นแรงจูงใจในแง่ของตัวเองเหมือนกัน คือ ความต้องการผลประโยชน์ตอบแทนส่วนตัว ในรูปของความสำคัญของตนเอง ความโดดเด่น เช่น มีตำแหน่งใหญ่โต มีฐานะสูง ข้อนี้เรียกว่า แรงจูงใจแบบมานะ มานะนั้นทางพระแปลว่าถือตัวสำคัญ คือ ความอยากให้ตนเองเป็นผู้โดดเด่นมีความสำคัญหรือยิ่งใหญ่ ไม่ใช่มานะในความหมายของภาษาไทยว่าความเพียรพยายาม
    ตกลงว่า แรงจูงใจพวกที่หนึ่งนี้เป็นเรื่องของตัณหาและมานะ ซึ่งสำหรับมนุษย์ปุถุชนก็ย่อมจะมีกันเป็นธรรมดา แต่จะทำอย่างไรให้ประณีต เช่นว่า ความต้องการผลตอบแทน ก็ขอให้อยู่ในขอบเขตเพียงว่าสำหรับให้เป็นอยู่ดีมีความสะดวกสบายพอสมควร ไม่ถึงกับขัดสนในปัจจัยสี่ และไม่ให้เป็นการเบียดเบียนก่อความเดือดร้อนแก่คนอื่น หรือมานะก็อาจจะมาในรูปของความภาคภูมิใจในความสำเร็จของงาน คือ เอาความสำเร็จมาโยงกับงาน ไม่ใช่เป็นเพียงความสำเร็จเพื่อความยิ่งใหญ่ของตน ถ้าหากว่าความสำเร็จไปโยงกับตัวงาน มันก็ยังเป็นเรื่องของความดีงามได้ เรื่องอย่างนี้ทางพระพุทธศาสนาไม่ได้ปฏิเสธ ท่านยอมรับความจริงของปุถุชน แต่ทำอย่างไรจะให้โยงเข้าไปหาแรงจูงใจที่เป็นธรรมให้มากขึ้น
    ทีนี้ แรงจูงใจพวกที่สอง ก็คือ แรงจูงใจ เช่น อย่างศรัทธาที่มีต่องานที่มีคุณค่า เป็นแรงจูงใจที่ต้องการให้ความดีงามเกิดมีหรือปรากฏขึ้น ความต้องการความดีงาม ต้องการความจริง ต้องการสิ่งที่มีคุณค่าเป็นประโยชน์อะไรต่างๆ เหล่านี้ เป็นแรงจูงใจที่ท่านเรียกด้วยคำศัพท์ทางธรรมอีกคำหนึ่งว่าฉันทะ เช่น คนทำงานด้วยความต้องการให้เกิดความสงบสุขความเรียบร้อย ความเป็นระเบียบของสังคม ถ้าทำงานแพทย์ หรือทำงานเกี่ยวกับโภชนาการ ก็อยากให้มนุษย์ในสังคมนี้เป็นคนที่มีสุขภาพดี ร่างกายแข็งแรง อยากให้มีแต่อาหารที่มีคุณค่าแพร่หลายออกไปในสังคมนี้ แรงจูงใจหรือความปรารถนา อย่างนี้ท่านเรียกว่าเป็นแรงจูงใจแบบฉันทะ
    แรงจูงใจนี้สำคัญมาก ถ้ามองอีกแง่หนึ่งจะเห็นว่า แรงจูงใจนี้สัมพันธ์กับสัมฤทธิ์ผลหรือจุดมุ่งหมายซึ่งอาจแบ่งได้เป็น จุดหมายของคน กับ จุดหมายของงาน แรงจูงใจแบบที่หนึ่งที่ต้องการผลตอบแทนเป็นเงินเป็นทอง ต้องการเกียรติฐานะความยิ่งใหญ่นั้นโยงไปหาจุดหมายของคนที่ทำงาน ส่วนแรงจูงใจแบบที่สองจะมุ่งตรงไปยังจุดหมายของงาน
    ตามธรรมดาไม่ว่าเราจะทำงานอย่างไร งานนั้นย่อมมีจุดหมาย เช่นว่า การทำงานแพทย์ก็มีจุดหมายที่จำบำบัดโรค ทำให้คนไข้หายโรค ให้คนมีสุขภาพดีตัวงานนั้นมีความมุ่งหมายที่ชัดเจนและตรงไปตรงมา ถ้าเราทำงานให้การศึกษา เราก็ต้องการผลที่เป็นจุดมุ่งหมายของการศึกษา จุดหมายของงานในการให้การศึกษา ก็คือการที่เด็กและเยาวชนเป็นคนดี มีความรู้มีความประพฤติดี รู้จักดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง ได้พัฒนาตนเองยิ่งขึ้นไป
    งานทุกอย่างมีจุดหมายของมัน แต่คนที่ไปทำงานก็มีจุดหมายของตัวเองด้วย ทีนี้ปัญหาก็อยู่ที่ว่าเมื่อเขาไปทำงานนั้น เขาจะทำงานเพื่อจุดหมายของคน หรือทำงานเพื่อจุดหมายของงาน ถ้าเขาทำงานด้วยแรงจูงใจแบบที่หนึ่ง จุดหมายที่อยู่ในใจของเขาก็จะเป็นจุดหมายของคน คือ ทำงานเพื่อจุดหมายของคน ให้ตนได้นั่นได้นี่ แต่ถ้าเขาทำงานด้วยแรงจูงใจแบบที่สอง เขาก็จะทำงานเพื่อจุดหมายของงาน ให้งานเกิดผลประโยชน์ตามคุณค่าของมัน
    ทีนี้ การเป็นปุถุชนเมื่อยังมีกิเลสก็ต้องประสานประโยชน์ คือ ต้องให้จุดหมายของคนไปสัมพันธ์เชื่อมโยงกับจุดหมายของงาน หมายความว่าต้องให้ได้จุดหมายของงานเป็นหลักไว้ก่อนแล้วจึงมาเป็นจุดหมายของคนทีหลัง คือ ให้จุดหมายจุดหมายของคนพลอยพ่วงต่อมากับจุดหมายของงาน ถ้าเอาแต่จุดหมายของคนแล้ว บางทีงานไม่สำเร็จ และเสียงานด้วย คือ คนนั้นมุ่งแต่จุดหมายคนอย่างเดียว จะเอาแต่ตัวได้เงินได้ทอง ไม่ได้ต้องการให้งานสำเร็จ ไม่ได้ต้องการเห็นผลที่ดีจะเกิดจากงานนั้น ไม่ได้มีความคิดที่จะเอาธุระ หรือเห็นความสำคัญเกี่ยวกับตัวงาน เพราะฉะนั้น จึงพยายามเลี่ยงงานหรือหาทางลัดที่จะไม่ต้องทำงาน ขอให้ได้เงินหรือผลตอบแทนมาก็แล้วกัน
    ตกลงว่า แรงจูงใจแบบหนึ่งสัมพันธ์กับจุดหมายของคน และแรงจูงใจอีกแบบหนึ่งสัมพันธ์กับจุดหมายของงาน ซึ่งจะมีจุดเชื่อมโยงต่อที่แตกต่างกันว่าเมื่อทำงานไปแล้วได้ผลสำเร็จขึ้นมา จะเป็นผลสำเร็จของคนหรือเป็นผลสำเร็จของงาน ถ้าจะทำงานให้ถูกต้องก็ต้องมองไปที่ผลสำเร็จของงาน ไม่ใช่มุ่งเอาแต่ผลสำเร็จของคน ถ้าจะเป็นผลสำเร็จของคนก็เพราะว่าเป็นผลสำเร็จของงานส่งทอดมาอีกต่อหนึ่ง ไม่ใช่ว่างานเป็นเงื่อนไขที่จำใจต้องทำเพื่อผลสำเร็จของคน
    คนจำนวนไม่น้อยหวังผลสำเร็จ หรือผลประโยชน์ของคนอย่างเดียว ถ้าเป็นอย่างนี้ก็จะเป็นปัญหาต่อการพัฒนาประเทศชาติ การพัฒนาประเทศชาติ และการแก้ปัญหาของสังคมก็ยากที่จะบรรลุความสำเร็จ และจะส่งผลต่อไปถึงสภาพจิตใจดังที่ได้พูดมาแล้วว่า สภาพจิตใจกับการทำงานส่งผลย้อนกลับกันไปมา คือ สภาพจิตใจที่ดีส่งผลต่อการทำงานให้ทำงานได้ดี และการทำงานได้ดีมีผลสำเร็จ ก็ส่งผลย้อนกลับไปหาสภาพจิตใจทำให้มีกำลังใจเป็นต้นอีกทีหนึ่ง เช่น เรื่องสภาพจิตใจในด้านแรงจูงใจกับการมุ่งวัตถุประสงค์หรือจุดหมายของคน หรือของงานซึ่งจะส่งผลต่อสภาพจิตใจของคนให้เป็นไปต่างๆ กัน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    ทำงานอย่างไร จึงจะได้ความสุข ?
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle> ในสมัยปัจจุบันโดยเฉพาะในสภาพการทำงานที่มีความหมายแบบตะวันตก ได้มีคำพูดสำคัญคำหนึ่งมาเข้าคู่กับการทำงาน ยิ่งถ้าไม่มีความบากบั่นสู้งานที่เป็นแรงจูงใจที่ถูกต้องในการทำงานแบบตะวันตกด้วยแล้ว ก็จะมีปัญหาอย่างมาก กล่าวคือ งานนั้นจะเป็นสิ่งที่คู่กับความเครียด ความเครียดนี้กำลังเป็นปัญหาสำคัญของอารยธรรมของมนุษย์ในโลกยุคปัจจุบัน ในสังคมตะวันตก ปัจจุบันนี้คนยังมีนิสัยสู้งานที่ได้สะสมมาตั้งแต่อดีตยังติดฝังอยู่ แต่มาในระยะหลังๆ นี้ ความใฝ่ฝันในการบริโภคก็มากขึ้น ความเครียดก็มากขึ้น
    ส่วนในสังคมไทยของเรานี้มีผู้กล่าวว่ามีค่านิยมบริโภคมาก ไม่ค่อยมีค่านิยมผลิต จึงจะยิ่งมีปัญหาหนักกว่าเขาอีก เพราะค่านิยมบริโภคจะขัดแย้งกับกระบวนการทำงาน เนื่องจากการทำงานงานต้องการความอดทน ต้องต่อสู้กับความยากลำบาก ยิ่งเมื่อไม่มีนิสัยสู้งานเป็นพื้นฐานกับความยากลำบาก ยิ่งเมื่อไม่มีนิสัยสู้งานเป็นพื้นฐานรองรับอยู่ด้วย คนที่นิยมบริโภคจะไม่สามารถทนได้ จะจำใจทำ ทำด้วยความฝืนใจ จะรอคอยแต่เวลาที่จะได้บริโภค ความต้องการก็ขัดแย้งกัน และเมื่อความต้องการขัดแย้งกันก็เกิดภาวะที่เรียกว่า เครียด ทำงานด้วยความเครียด
    คนที่มีค่านิยมบริโภคมาก เมื่อต้องทำงานมากก็ยิ่งเครียดมาก โดยเฉพาะคนที่ต้องการผลตอบแทนทางวัตถุ ทำงานไปก็ทำด้วยความกระวนกระวาย เกิดความขัดแย้งในจิตใจมีความกังวลว่าผลตอบแทนที่เราต้องการจะได้หรือเปล่า จะได้น้อยกว่าที่ตั้งความหวังหรือเปล่า หรือว่าเราอาจจะถูกแย่งผลตอบแทนไปหรือถูกแย่งตำแหน่งฐานะไป
    ความห่วงกังวลต่างๆ นี้ทำให้เกิดความเครียดซึ่งเป็นปัญหาทางจิตใจที่สำคัญ โดยเฉพาะเมือจุดหมายของคน กับจุดหมายของงานมีความลักลั่นขัดแย้งกัน เช่น งานเสร็จ เงินยังไม่มา หรือว่าตำแหน่งยังไม่ได้ ล้วนแต่ทำให้เกิดปัญหาและทำให้เกิดความเครียดได้ทั้งสิ้น และปัญหาเหล่านี้รวมทั้งความเครียดนั้น ก็เกิดจากแรงจูงใจประเภทหนึ่งที่เรียกว่า ตัณหามานะ โดยเฉพาะค่านิยมบริโภคและค่านิยมโก้หรูหรา ซึ่งกำลังแพร่หลายอยู่ในสังคมของเราและบางทีก็ถึงกับมองกันว่าเป็นเรื่องที่ดี
    ส่วนแรงจูงใจที่ถูกธรรม คือทำงานด้วยใจที่ใฝ่สร้างสรรค์ มองงานเป็นโอกาสที่จะได้พัฒนาตน ต้องการพัฒนาประเทศชาติหรือประโยชน์แก่สังคม ต้องการผลสำเร็จของงานหรือทำงานเพื่อจุดหมายของงานแท้ๆ แม้แต่คนที่ทำงานด้วยแรงจูงใจแบบนี้ก็สามารถมีความเครียดได้ เพราะมีความเร่งรัดอยากจะรีบร้อนทำ และมีความห่วงกังวลเกรงงานจะไม่เสร็จจิตใจก็ไม่สบาย จึงมีความเครียดได้เหมือนกัน ต่างแต่ว่าจะเป็นความเครียดที่เบากว่าและประณีตกว่า
    เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายที่มีแรงจูงใจไม่ดีก็ตาม มีแรงจูงใจที่ดีก็ตาม ก็ยังมีความเครียดได้ มีปัญหาได้ทั้งนั้น นี้ก็เป็นระดับหนึ่งของสภาพชีวิตจิตใจ ซึ่งเราสามารถแยกความแตกต่างได้ว่า ในฝ่ายหนึ่งแรงจูงใจเพื่อจุดหมายของคนซึ่งมุ่งเอาประโยชน์ส่วนตนด้วยตัณหามานะ มีโทษต่อสังคมและต่อชีวิตมาก ส่วนฝ่ายที่สอง แรงจูงใจเพื่อจุดหมายของงานมีคุณค่ามาก มีคุณประโยชน์ต่อสังคมมาก พัฒนาชีวิตคนได้ดี แต่ก็ยังมีปัญหาได้เหมือนกัน ตกลงทั้งสองอย่างยังมีปัญหาอยู่ ยังต้องแก้ไขกันต่อไป ทำอย่างไรจะแก้ไขให้การทำงานมีส่วนที่เป็นคุณอย่างเดียว เป็นประโยชน์แก่ชีวิตโดยสมบูรณ์อันนี้เป็นขั้นต่อไป
    ต่อมาก็มาถึงขั้นที่ว่า ทั้งทำงานดีและมีความสุขด้วย ซึ่งจะต้องมีการตั้งท่าทีที่ถูกต้อง และตอนนี้จะเป็นเรื่องของการพัฒนาจิตใจ และพัฒนาปัญญาควบคู่ไปกับการทำงาน เมื่อกี้นี้เราเอางามาพัฒนาชีวิตจิตใจของเรา แต่อีกด้านหนึ่งในการทำงานนั้น เราจะต้องพัฒนาชีวิตจิตใจของเราไปด้วย เพื่อเอาชีวิตจิตใจที่ดีไปพัฒนาการทำงาน การทำงานที่จะให้ได้ผลดีและมีความสุขด้วยนั้น มีอะไรหลายแง่ที่จะต้องพิจารณา
    แง่ที่หนึ่งก็อย่างที่ว่าเมื่อกี้ คือ ในการที่จะให้เกิดผลดีต่อชีวิตและสังคม เราก็ต้องมีแรงจูงใจที่ถูกต้อง ต้องการจุดหมายของงาน มีฉันทะ มีความใฝ่ดี มีความใฝ่สร้างสรรค์ และพร้อมกับการมีฉันทะนั้น ก็ต้องมีความรู้เท่าทันความจริง อันนี้เป็นเรื่องของปัญญารู้เท่าทันความจริง อย่างน้อยรู้เท่าทันว่าสิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัย เพียงตั้งท่าที่ของจิตใจแบบรู้เท่าทันขึ้นมาแค่นี้เท่านั้น เราก็จะเริ่มมีความสุขง่ายขึ้นทันที เราจะมองดูสิ่งต่างๆ ด้วยสายตาที่มองเห็นถูกต้องมากขึ้น
    แม้แต่ในการทำงานของเราในขณะที่เรากำลังเร่งงานเต็มที่ ขยันเอาใจใส่เต็มที่ เรากลับจะมีความกระวนกระวายน้อยลงหรือทำงานด้วยความไม่กระวนกระวาย คือ มีความรู้เท่าทันว่าสิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัย ขณะนี้เรากำลังทำเหตุปัจจัย เราก็ทำเหตุปัจจัยให้เต็มที่ด้วยความรู้ที่ชัดเจนที่สุด ส่วนผลนั้นก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย พอวางใจอย่างนี้ก็สบาย ไม่ต้องห่วงกังวลกับผล เราทำเหตุปัจจัยให้ดีก็แล้วกัน
    อันนี้เป็นข้อหนึ่ง กล่าวคือ ควบคู่กับแรงจูงใจที่ถูกต้องหรือฉันทะนั้น ก็ให้มีการรู้เท่าทันความจริงด้วย อย่างน้อยให้ทำใจว่า สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัย มองไปตามเหตุปัจจัย ข้อนี้เป็นท่าทีพื้นฐานตามหลักธรรมที่ว่า ให้มองสิ่งทั้งหลายว่าเป็นไปตามเหตุปัจจัย เป็นการทำใจขั้นหนึ่ง
    ต่อไปแง่ที่สองก็คือ เวลาทำงานเรามักมีความรู้สึกแบ่งแยก หรือแยกตัวออกไปว่า นี่ตัวเรา นี่ชีวิตของเรา นั่นงาน เราจะต้องทำงาน ตลอดจนรู้สึกว่างานเป็นเรื่องเหน็ดเหนื่อยต้องตรากตรำ ไม่มองว่างานนี้แหละเป็นเนื้อแท้ เป็นเนื้อเป็นตัวของชีวิต
    ที่จริงนั้น งานไม่ใช่สิ่งต่างหากจากชีวิต งานที่เราบอกว่าเป็นกิจกรรมของชีวิตนั้น ที่จริงมันเป็นตัวการดำเนินชีวิตของเราเลยทีเดียวในชีวิตของเราที่เป็นไปอยู่นี้ งานนั่นเองคือความเป็นไปของชีวิต เพราะฉะนั้น การทำงานจึงเป็นเนื้อหาหรือเนื้อตัวของชีวิตของเราเอง เมื่อทำงานเราอย่าไปมีความรู้สึกแยกว่า นั่นเป็นงาน เป็นกิจกรรมต่างหากจากชีวิตของเรา การที่ความรู้สึกว่าเราจะต้องไปเหน็ดเหนื่อยตรากตรำ หรือว่ามันเป็นเรื่องหนักเรื่องทนที่เราจะต้องทำงาน ต่อไปรอหน่อยเถอะ เราทำงานเสร็จ
    แล้วจะได้ไปหาเวลาพักผ่อน ความนึกคิดอย่างนี้จะทำให้เกิดความรู้สึกแปลกแยก และเกิดความรู้สึกที่ครุ่นคิดเหมือนถูกกดถูกทับอยู่ อยากจะพ้นไปเสีย เกิดความเครียด เกิดความกังวล เกิดความห่วง เกิดความหวัง
    ในเบื้องต้นคนเราต้องอยู่ด้วยความหวัง แต่พอถึงขึ้นหนึ่งแล้วไม่ต้องหวัง เพราะความหวังสำเร็จจบสิ้นอยู่ในตัว ตอนนี้จะมีความสุขยิ่งกว่าตอนแรกที่มีความหวัง คนที่ไม่มีความหวังเลยจะมีความทุกข์มาก ในขั้นต่อมาเขาจึงมีความสุขด้วยการที่มีความหวัง เขามีความหวังว่า หลังจากนี้แล้วเขาจะได้พบสิ่งที่ปรารถนาแล้วเขาก็หาความสุขได้ จะสบาย เขามีความหวังอย่างนี้ และเขาก็มีความสุข แต่ความหวังนั้นเป็นคู่กันกับความหวาด ซึ่งเป็นเรื่องของความห่วงและความกังวล ดังนั้น พร้อมกับการมีความสุขด้วยความหวังนั้น เขาก็มีความกังวล และเป็นความทุกข์อย่างหนึ่งที่ต้องรอความหวัง
    ส่วนคนอีกชนิดหนึ่งนั้นอยู่เหนือความหวังหรือลอยพ้นเลยความหวังไปแล้ว คือ ไม่ต้องอยู่ด้วยความหวัง ไม่ต้องอาศัยความสุขจากความหวัง หรือว่าความสุขของเขาไม่ต้องขึ้นต่อความหวัง เพราะชีวิตเป็นความสุขตลอดเวลาโดยไม่ต้องหวังเลย และไม่ต้องห่วงกังวล ไม่มีความหวาด เพราะฉะนั้น ถ้าเราจะทำงานให้ได้ผลดี โดยที่ว่าชีวิตก็มีความสุข และมองงานกับชีวิตเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มองว่างานเป็นกิจกรรมที่เป็นเนื้อเป็นตัวของชีวิตแท้ๆ แล้วเราก็ทำงานไปอย่างที่รู้สึกว่ามันเป็นการดำเนินชีวิตของเราเอง และดำเนินชีวิตนั้นให้ดีที่สุด
    ต่อไปอีกด้านหนึ่งก็คือ เมื่อเราทำงานไปไม่ว่าจะมองในความหมายว่า เป็นการพัฒนาตนเองก็ตามเป็นการทำงานเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน หรือของสังคมก็ตาม ในเวลาที่ทำอยู่นั้นสภาพจิตใจอย่างหนึ่งที่ควรจะเกิดขึ้น ก็คือ ความร่าเริงบันเทิงใจ ความเบิกบานใจการทำงานในความหมายบางอย่างก็เอื้อต่อการเกิดสภาพจิตอย่างนี้อยู่แล้ว เช่น ถ้าเรามีศรัทธาในความหมายของงาน ในคุณค่าของงาน เราทำงานไปก็ทำจิตใจของเราให้ร่าเริงได้ง่าย แต่การที่จะให้ร่าเริงนั้น บางทีก็ต้องทำตัวทำใจเหมือนกันไม่ใช่ว่ามันจะเกิดขึ้นมาเฉยๆ เราต้องตั้งท่าทีของจิตใจให้ถูกต้อง บอกตัวเอง เร้าใจตัวเองให้ร่าเริง ทำใจให้ร่าเริงเบิกบานอยู่เสมอ สภาพจิตอย่างนี้ทางพระเรียกว่า มีปราโมทย์
    ทางพระบอกว่า สภาพจิตที่ดีของคนนั้น ก็คือ
    ๑. มี ปราโมทย์ - ความร่าเริงเบิกบานใจ
    ๒. มี ปีติ - ความอิ่มใจ
    ๓. มี ปัสสัทธิ - ความผ่อนคลายหรือ สงบเย็นกายใจ เมื่อผ่อนคลายก็ไม่เครียด
    ข้อที่สามนี้มีความสำคัญมากในยุคปัจจุบัน เป็นข้อที่จะช่วยแก้ปัญหาสภาพจิตที่แผ่ซ่านอยู่ใน
    วัฒนธรรมสมัยใหม่ของยุคอุตสาหกรรม พอมีปัสสัทธิแล้ว

    ๔. ก็มีความสุข จิตใจก็ค่อยสบาย แล้วก็
    ๕. มี สมาธิ อยู่ตัว แน่วแน่ แนบสนิท และมั่นคง ไม่วอกแวก ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่หวั่นไหว เรียบ เสมออยู่กับกิจ อยู่กับงานเหมือนดังกลืนเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับงาน ซึ่งหมายถึงว่าสมาธิในการทำงานก็เกิดขึ้นด้วย
    องค์ประกอบห้าตัวนี้เป็นสภาพจิตของคนที่ปฏิบัติธรรม ดังนั้น ในการเป็นอยู่และในการทำกิจกรรมทุกอย่าง เราจึงปฏิบัติธรรมได้ทั้งนั้น เมื่อเราดำเนินชีวิตถูกต้องทำสิ่งนั้นๆ ได้ถูกต้อง เรามีสภาพจิตทั้งห้าอย่างนี้ก็เรียกว่า เรากำลังปฏิบัติธรรมตลอดเวลา หลายคนไปมองการปฏิบัติธรรมแยกจากชีวิตออกไป ต้องรอเข้าป่า ไปอยู่วัดซึ่งไม่จำเป็น การปฏิบัติธรรมอย่างนั้นอาจเป็น course แบบ intensive แต่ในปัจจุบันคือทุกขณะนี้ เราต้องปฏิบัติธรรมตลอดเวลา ถ้าท่านปฏิบัติได้อย่างนี้ตลอดเวลาแล้ว การปฏิบัติอย่างที่เรียกว่า intensive course ก็ไม่จำเป็นสำหรับบางคนจำเป็น เพราะเขาไม่เคยฝึกตนเลย
    ทีนี้ ถ้าเราฝึกตัวเองตลอดเวลาด้วยการทำงานแบบนี้ เราก็ปฏิบัติธรรมตลอดเวลาอยู่แล้ว เราทำงานไปโดยมีสภาพจิตดี สภาพจิตแบบนี้จะไม่มีปัญหาสุขภาพจิตเลย เพราะมันมันเป็นสุขภาพจิตเองอยู่แล้วในตัว เป็นสุขภาพจิตที่ดีโดยสมบูรณ์ ขอให้มีปราโมทย์ ให้มีปีติ มีปัสสัทธิ มีสุข มีสมาธิเถิด ถ้าทำอย่างนี้แล้วสบาย งานก็ได้ผลด้วย จิตใจก็ดีด้วย ถ้าทำงานอย่างนี้แล้วสบาย งานก็ได้ผลด้วย จิตใจก็ดีด้วย ถ้าทำงานอย่างนี้ก็กลายเป็นทำงานเพื่อธรรมแล้ว และคนอย่างนี้จะไม่ค่อยคำนึงถึงผลตอบแทน ไม่ต้องรอความสุขจากผลตอบแทน คนที่มุ่งผลตอบแทนก็ต้องรอ เมื่อไรเขาได้ผลตอบแทนเป็นเงินเป็นทองแล้วจึงจะมีความสุขได้ ระหว่างนั้นก็ทุกข์แทบตาย ทำงานด้วยความทุกข์และรอความสุขอยู่เรื่อยไป จะได้หรือไม่ได้ก็ยังไม่แน่นอน ไม่มั่นใจแต่ที่ได้อยู่แน่ๆ ก็คือทุกข์ ตรงข้ามกับการปฏิบัติอย่างนี้ที่ได้ทั้งงาน ได้ทั้งความสุขเสร็จไปในตัว
    พอถึงขั้นทำงานอย่างมีความสุขโดยไม่ต้องหวังไม่ต้องห่วงผลตอบแทนแล้ว เราทำงานไป ชีวิตแต่ละขณะก็จะเป็นความเต็มสมบูรณ์ของชีวิตในทุกขณะนั้นๆ ตอนนี้แหละจะถึงจุดรวมที่ทุกอย่างมาอยู่ด้วยกัน ทั้งงาน ทั้งชีวิต และความสุข จะสำเร็จในแต่ละขณะ ตรงนี้แหละเป็นหัวใจสำคัญ ในตอนแรกนั้นเป็นเหมือนว่าเราแยกงานแยกชีวิต แยกความสุขเป็นส่วนๆ แต่พอถึงตอนนี้ทำไปทำมาทุกอย่างมารวมอยู่ด้วยกันทั้งหมด
    ในขณะเดียวตราบใดเรายังแยกเป็นส่วนๆ และแยกตามเวลา ตราบนั้นชีวิตจะต้องดิ้นรนคอยหา และหลบหนีสิ่งเหล่านั้นทีละอย่างๆ อยู่ตลอดเวลา คือ เป็นชีวิตที่ตามหาวันพรุ่งนี้ซึ่งไม่มาถึงสักที แต่ถ้าทำให้เป็นปัจจุบันเสียทุกเวลาก็ครบถ้วนอยู่ด้วยกัน ทุกอย่างก็สมบูรณ์
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    ชีวิต งาน และธรรม : ความประสานสู่เอกภาพ
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle> ในสภาพอย่างนี้ เราจะมองเห็นพัฒนาการของคนในการทำงาน มองเห็นพัฒนาการของชีวิต ในลักษณะที่ว่า ตอนต้นคนจำนวนมากมองแบบปุถุชนว่า งานเพื่อชีวิต คือ เราทำงานเพื่อจะได้ผลตอบแทนมาเลี้ยงชีวิต ชีวิตของเราอาศัยงาน คือ เราอาศัยงานเพื่อให้ชีวิตของเราเป็นอยู่ได้ ต่อมาจะเห็นว่ามีการก้าวหน้าไปอีกขั้นหนึ่งคือ กลายเป็นงานเพื่องาน ตอนนี้งานก็เพื่องานนั่นแหละ คือ เพื่อให้งานนั้นสำเร็จด้วยดี เพื่อจุดมุ่งหมายของงาน ตรงไปตรงมา ที่ว่างานเพื่อชีวิตนั้นเป็นเรื่องของเงื่อนไข ไม่ใช่เป็นเหตุปัจจัย จะต้องมองความเป็นเหตุปัจจัย และการเป็นเงื่อนไขว่าเป็นคนละอย่าง แต่งานเป็นเงื่อนไข
    งานเพื่อเพื่อชีวิตนั้นแท้จริงแล้ว ไม่ใช่ความสัมพันธ์ตามเหตุปัจจัยงาน ไม่ใช่เป็นเหตุปัจจัยของชีวิต แต่งานเป็นเงื่อนไขเพื่อให้ได้ผลตอบแทนมาเลี้ยงชีวิต แต่งานเพื่องานแล้วก็เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยโดยตรงงานอะไรก็เพื่อจุดหมายของงานอันนั้น เช่น งานของแพทย์คือการรักษาโรค ก็เพื่อจุดมุ่งหมายของงาน คือ ทำให้คนหายโรค ทำงานโภชนาการก็เพื่อให้คนได้กินอาหารดีแล้วคนก็จะได้มีสุขภาพดี เป็นจุดหมายของงานโดยตรง งานก็เพื่องาน เมื่อเราทำงานเพื่องานแล้ว ไปๆ มาๆ งานที่ทำนั้นก็กลายเป็นกิจกรรมหลักของชีวิตของเรา กลายเป็นตัวชีวิตของเรา งานเพื่องานก็กลายเป็นชีวิตเพื่องาน ชีวิตของเราก็กลายเป็นชีวิตเพื่องาน ทำงานไป ทำงานมา ชีวิตของเรากลายเป็นชีวิตเพื่องาน
    อนึ่ง พร้อมกับทีว่าเป็นงานเพื่องานนั่นแหละมันก็เป็นธรรมไปในตัว เหมือนอย่างที่บอกว่าทำงานเพื่อประโยชน์สุขแก่สังคม หรือว่าแพทย์ทำให้คนไข้มีสุขภาพดี การให้เกิดประโยชน์สุขแก่สังคม และการช่วยให้คนมีสุขภาพดีก็เป็นตัวธรรม การที่ครูให้การศึกษาแก่เด็กนักเรียน ทำให้นักเรียนมีการศึกษามีสติปัญญา การมีสติปัญญา การที่มีชีวิตที่ดีงามก็เป็นธรรม เพราะฉะนั้น งานนั้นก็เพื่อธรรม
    เมื่อเราเอาชีวิตของเราเป็นงาน เอางานของเราเป็นชีวิตไปแล้ว ก็กลายเป็นว่าชีวิตของเราก็เพื่อธรรม งานก็เพื่อธรรม ซึ่งมองกันไปให้ถึงที่สุด ไม่ใช่แค่เพื่อเท่านั้น คือ ที่ว่างานเพื่องาน งานเพื่อธรรม ชีวิตเพื่องาน ชีวิตเพื่อธรรม อะไรต่างๆ นี้ ในที่สุดทั้งหมดนี้ก็เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เมื่อถึงขั้นนี้ก็ไม่ต้องใช้คำว่า “เพื่อ“ แล้ว เพราะทำไปทำมา ชีวิตก็คืองาน งานก็คือชีวิต และงานก็เป็นธรรมไปในตัว เมื่องานเป็นธรรมชีวิตก็เลยเป็นธรรมด้วย ตกลงว่า ทั้งชีวิตทั้งงานก็เป็นธรรม ไปหมด พอถึงจุดนี้ก็เข้าถึงเอกภาพที่แท้จริงแล้วทุกอย่างก็จะถึงจุดที่สมบูรณ์ในแต่ละขณะอย่างที่กล่าวแล้ว
    ในภาวะแห่งเอกภาพที่ชีวิต งาน และ ธรรม ประสานกลมกลืนเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนั้น คนที่ทำงานก็จะมีชีวิตและงานและธรรมสมบูรณ์พร้อมในแต่ละขณะที่เป็นปัจจุบัน และจะมีแต่ชีวิตและงานที่มีความสุข ไม่ใช่ชีวิตและงานที่มีความเศร้านี้เป็นประการที่หนึ่ง ประการที่สอง ชีวิตนั้นมีคุณค่าเป็นประโยชน์ ไม่มีโทษ และประการที่สาม ชีวิตนี้และงานนั้นดำเนินไปอย่างจริงจัง กระตือรือร้น ไม่เฉื่อยชา ไม่ประมาท ลักษณะของงานอย่างหนึ่งที่เป็นโทษก็คือ ความเฉื่อยชา ความท้อแท้ ขาดความกระตือรือร้น ซึ่งโยงไปถึงสภาพจิตด้วย เมื่อเราได้คุณลักษณะของการทำงาน และชีวิตอย่างที่ว่ามานี้ เราก็ได้คุณภาพที่ดีทั้งสามด้าน คือ ได้ทั้งความสุข ได้คุณประโยชน์ หรือคุณค่า และได้ทั้งความจริงจัง กระตือรือร้น ซึ่งเป็นเนื้อแท้ในตัวงานด้วย
    ถ้าเป็นอย่างนี้แล้ว ชีวิตนั้นก็เป็นชีวิตที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง ซึ่งในแง่ของงานก็เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับงาน แล้วก็เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับประโยชน์ สุขที่จะเกิดแก่ชีวิต และสังคมของมนุษย์ด้วย ชีวิตอย่างนี้จึงมีความหมายเท่ากับประโยชน์สุขด้วย หมายความว่า ชีวิตคือประโยชน์สุข เพราะการเป็นอยู่ของชีวิตนั้น หมายถึงการเกิดขึ้น และการดำรงอยู่ของประโยชน์สุขด้วย
    คนผู้ใดมีชีวิตอยู่อย่างนี้ การเป็นอยู่ของเขาก็คือ ประโยชน์สุขที่เกิดขึ้นแก่เพื่อนมนุษย์ แก่ชีวิต แก่ สังคมตลอดเวลา เพราะฉะนั้น ถ้าผู้เป็นอย่างนี้มีชีวิตยืนยาวเท่าไร ก็เท่ากับทำให้ประโยชน์สุขแก่สังคม แก่มนุษย์ แผ่ขยายไปได้มากเท่านั้น ดังนั้น อายุที่มากขึ้นก็คือประโยชน์สุขของคนที่มากขึ้น แพร่หลายกว้างขวางยิ่งขึ้นในสังคม
    ครั้งหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอัครสาวกฝ่ายขวาของพระพุทธเจ้าถูกถามว่า ถ้าพระพุทธเจ้ามีอันเป็นอะไรไป ท่านจะมีความโศกเศร้าไหม พระสารีบุตรตอบว่า “ถ้าพระพุทธเจ้ามีอันเป็นอะไรไป ข้าพเจ้าจะไม่มีความโศกเศร้า แต่ข้าพเจ้าจะมีความคิดว่า ท่านผู้ทีมีคุณความดีมาก มีประโยชน์มาก ได้ลับล่วงไปเสียแล้ว ถ้าหากท่านดำรงอยู่ในโลกไปได้นานเท่าไร ก็จะยิ่งเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่คนจำนวนมากเท่านั้น” ท่านตอบอย่างนี้ก็หมายความว่า เป็นการตั้งท่าทีที่ถูกต้องต่อกันทั้งต่อตัวของท่านเอง และต่อชีวิตของท่านผู้อื่นด้วย ก็อย่างที่ว่ามาแล้วว่า ชีวิตที่ยืนยาวอยู่ในโลกของคนที่มีคุณสมบัติเช่นนี้ ก็คือ ความแพร่หลายของประโยชน์สุขมากยิ่งขึ้น
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    ชีวิต งาน และธรรม : อิสรภาพภายในเอกภาพ
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle> เท่าที่ได้กล่าวมาในเรื่อง ชีวิตนี้เพื่องาน และงานนี่เพื่อธรรม ทั้งหมดนี้ก็เป็นนัยหนึ่งของความหมายแต่ถ้าจะวิเคราะห์อีกแบบหนึ่ง ชื่อหัวข้อที่ตั้งไว้ก็ได้แยกชีวิตกับงานออกเป็นสองคำ เมื่อกี้เราได้ดึงเอาชีวิตกับงานมารวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแล้ว แต่ถึงอย่างนั้นในแง่ของความเป็นจริงก็เป็นคำพูดคนละคำ ชีวิตก็เป็นอันหนึ่ง งานก็เป็นอันหนึ่ง เพียงแต่เรามาโยงให้เป็นเอกภาพ
    ทีนี้ แง่ที่ชีวิตกับงานเป็นคนละคำ ยังเป็นคนละอย่างและยังมีความหมายที่ต่างกัน ก็คือ งานนั้นมีลักษณะที่จะต้องทำกันเรื่อยไปไม่สิ้นสุด ยังไม่มีความสมบูรณ์เสร็จสิ้นที่แท้จริง เพราะว่างานนั้นสัมพันธ์กับความเปลี่ยนแปลงของกาลเทศะ และของชุมชน สังคมมีความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เพราะฉะนั้นงานจะไม่มีความสมบูรณ์เสร็จสิ้น ต้องมีการเปลี่ยนแปลงต่อไปตามสภาพแวดล้อมของสังคม แต่ชีวิตของคนมีความจบสิ้นในตัว จะไม่ไปกับงานตลอดไป อันนี้ก็เป็นอีกแง่หนึ่ง
    ตามที่พูดไปแล้วแม้ว่าชีวิตกับงานจะเป็นเอกภาพกันได้แล้ว แต่ในแง่หนึ่งก็ยังมีความต่าง อย่างที่ว่า งานสำหรับสังคมนี้คงดำเนินต่อไป แต่ชีวิตของคนมีการจบสิ้นได้ และจะต้องจบสิ้นไป แม้ว่าเราจะไม่สามารถทำให้งานมีความสมบูรณ์เสร็จสิ้น แต่ชีวิตของคนเราแต่ละชีวิตเราควรจะทำให้สมบูรณ์ และชีวิตของเราในโลกนี้เราก็สามารถทำให้สมบูรณ์ได้ด้วย ทำอย่างไรจะให้สมบูรณ์
    ในทางพระพุทธศาสนาได้แสดงหลักเกี่ยวกับจุดหมายของชีวิตได้ ๓ ขั้นว่า ชีวิตที่เกิดขึ้นมานั้นแม้ว่ามันจะไม่มีจุดหมายของมันเอง เราก็ควรทำให้มีจุดหมาย เราอาจจะตอบไม่ได้ว่า ชีวิตนี้เกิดมามีจุดหมายหรือไม่ เพราะเมื่อว่าตามหลักธรรมแล้ว ชีวิตนี้เกิดมาพร้อมด้วยอวิชชา ชีวิตไม่ได้บอกเราว่ามันมีจุดหมายอย่างนั้นอย่างนี้ แต่เราก็สามารถตั้งความมุ่งหมายให้แก่มันได้ด้วยการศึกษาและเข้าใจชีวิต ก็มองเห็นว่าชีวิตนี้จะเป็นอยู่ดี จะต้องมีคุณภาพ จะต้องเข้าถึงสิ่งหรือสภาวะที่มีคุณค่าหรือเป็นประโยชน์แก่มันอย่างแท้จริง ด้วยเหตุนี้ ทางพระจึงได้แสดงไว้ว่า เมื่อเกิดมาแล้วชีวิตของเราควรเข้าถึงจุดหมายระดับต่างๆ เพื่อให้เป็นชีวิตที่สมบูรณ์ ซึ่งเป็นเรื่องที่เราจะต้องทำให้แก่ชีวิตของเราเอง ให้มันมีให้มันเป็นได้อย่างนั้น ประโยชน์หรือจุดหมายนี้ ท่านแบ่งเป็น ๓ ขั้น
    จุดหมายที่หนึ่ง เรียกว่า จุดหมายที่ตามองเห็น จุดหมายของชีวิตที่ตามองเห็น โดยพื้นฐานที่สุด ถ้าพูดด้วยภาษาของคนปัจจุบัน ก็คือ การมีรายได้ มีทรัพย์สินเงินทอง มีปัจจัย ๔ พอพึ่งตัวเองได้ การเป็นที่ยอมรับ และอยู่ร่วมกับคนอื่นได้ เรื่องผลประโยชน์และความจำเป็นต่างๆ ทางวัตถุและทางสังคมเหล่านี้ ชีวิตของเราจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัย เราปฏิเสธไม่ได้ พูดง่ายๆ ก็คือ การพึ่งตัวเองได้ในทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องกระทำให้เกิดให้มี ทุกคนควรที่จะต้องพิจารณาตัวเองว่า ในขั้นที่หนึ่ง เกี่ยวกับการมีทรัพย์ที่จะใช้สอย มีปัจจัยที่พออยู่ได้ การสัมพันธ์ในทางที่ดีกับผู้อื่นในสังคม เรื่องของความอยู่ดี พึ่งตนเองได้ในทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเป็นประโยชน์ที่ตามองเห็นนี้ เราทำได้แค่ไหนบรรลุผลไหม นี่คือขั้นที่หนึ่งที่ท่านให้ใช้เป็นหลักวัด
    ต่อไปขั้นที่สอง จุดหมายที่เลยจากตามองเห็น หรือประโยชน์ซึ่งเลยไกลออกไปข้างหน้า เลยจากที่ตามองเห็น ก็คือด้านในหรือด้านจิตใจ หมายถึง การพัฒนาชีวิตจิตใจ รวมทั้งการมีความสุขในการทำงาน การมองเห็นคุณค่าของงานในแง่ความหมายที่แท้จริงว่าเป็นประโยชน์ ต่อเพื่อนมนุษย์หรือเพื่อสันติสุข ความประพฤติสุจริต พร้อมที่จะเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวมได้ต่างๆ สภาพเหล่านี้ซึ่งทำให้เกิดความมั่นใจและเอิบอิ่มภายในจิตใจ เป็นความสุขที่ลึกซึ้ง นี่เป็นสิ่งที่เลยจากตามองเห็น ซึ่งคนหลายคนแม้นจะมีประโยชน์ที่ตามองเห็นพรั่งพร้อมบริบูรณ์ แต่ไม่มีความสุขที่แท้จริงเลย เพราะพ้นจากที่ตามองเห็นไปแล้ว จิตใจไม่พร้อม ไม่ได้พัฒนาเพียงพอ เพราะฉะนั้น ต้องมองว่าในส่วนที่มองไม่เห็น คือ เลยไปกว่านนั้นยังมีอีกส่วนหนึ่ง แล้วส่วนนั้นเราได้แค่ไหนเพียงไร
    สุดท้าย จุดหมายที่พ้นเหนือโลก หรือจุดหมายแห่งการเข้าถึงอิสรภาพ เรียกว่า ประโยชน์สูงสุด คือ ประโยชน์ในขั้นที่สองนั้น แม้จะเลยจากที่ตามองเห็นประโยชน์ในขั้นที่สองนั้น แม้จะเลยจากที่ตามองเห็นไปแล้ว ก็ยังเป็นเพียงเรื่องของนามธรรมในระดับของความดีต่างๆ ซึ่งแม้จะสูง แม้จะประเสริฐก็ยังมีความยึดความติดอยู่ในความดีความงามต่างๆ เหล่านั้น และยังอยู่ในข่ายของความทุกข์ ยังไม่พ้นเป็นอิสระแท้จริง ส่วนจุดหมายขั้นสุดท้ายนี้ ก็คือการอยู่เหนือสิ่งเหล่านั้นขึ้นไป คือความเป็นอิสระโดยสมบูรณ์ ซึ่งทางพระพุทธศาสนาถือว่า ความเป็นอิสระโดยสมบูรณ์เป็นจุดหมายที่แท้จริงของชีวิต
    ตอนนี้ แม้แต่งานที่ว่าสำคัญ เราก็ต้องอยู่เหนือมันเพราะถึงแม้ว่างานกับชีวิตของเราจะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่ตราบใดที่เรายังมีความติดในงานนั้นอยู่ ยังยึดถือเป็นตัวเรา เป็นของเรา งานแม้จะเป็นสิ่งที่ดีงามมีคุณค่าเป็นประโยชน์ แต่เราก็จะเกิดความทุกข์จากงานนั้นได้ จึงจะต้องมาถึงขั้นสุดท้ายอีกขั้นหนึ่งคือ ความหลุดพ้นเป็นอิสระโดยสมบูรณ์อยู่เหนือสิ่งทั้งปวง แม้แต่สิ่งที่เรียกว่างาน
    ในขั้นนี้เราจะทำงานให้ดีที่สุด โดยที่จิตใจไม่ติดค้างกังวลอยู่กับงาน ไม่ว่าในแง่ที่ตัวเราจะได้ผลอะไรจากงานนั้น หรือในแง่ว่างานจะทำให้ตัวเราได้เป็นอย่างนั้นๆ หรือแม้แต่ในแง่ว่างานของเราจะต้องเป็นอย่างนั้นๆ การมองตามเหตุปัจจัยนั้นเป็นตัวต้นทางที่จะทำให้เรามาถึงขั้นนี้ ในเวลาที่ทำงานเราทำด้วยความตั้งใจอย่างดีที่สุด แต่มีท่าทีของจิตใจที่ว่ามองไปตามเหตุปัจจัย ถ้างานนั้นมันเป็นไปตามเหตุปัจจัย มันก็เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยที่จะให้เป็นไป ไม่ใช่เรื่องของตัวเราที่จะเข้าไปรับกระทบ เข้าไปอยาก เข้าไปยึด หรือถือค้างไว้ เรามีหน้าที่แต่เพียงทำเหตุปัจจัยให้ดีที่สุดด้วยความรู้ที่ชัดเจนที่สุด มีแต่ตัวรู้ คือ รู้ว่าที่ดีงาม ถูกต้องหรือเหมาะควรเป็นอย่างไร รู้ว่าเหตุปัจจัยที่จะให้เป็นอย่างนั้นคืออะไร แล้วทำตามที่รู้คือ ทำเหตุปัจจัยที่รู้ว่าจะเกิดผลเป็นการดีงามถูกต้องเหมาะหรือควรอย่างนั้น
    เมื่อทำเหตุปัจจัยแล้ว มันก็เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยนั้นแหละที่จะทำให้เกิดผลขึ้นมา เราหมดหน้าที่แค่นั้นไม่ต้องมายุ่งในนอกเหตุปัจจัย ไม่ต้องไปอยากไปยึด ตอนนี้ใจของเราก็เรียกว่าลอยพ้นออกมาได้ส่วนหนึ่ง เมื่อใดเราเข้าถึงความจริงโดยสมบูรณ์แล้ว จิตใจของเราก็จะเป็นอิสระอย่างแท้จริง ซึ่งทำให้ทำงานนั้นได้ผลสมบูรณ์ โดยพร้อมกันนั้นก็ไม่ทำให้ตัวเราตกไปอยู่ใต้ความกดทับ หรือในการบีบคั้นของตัวงานนั้นด้วย แต่เราก็คงสุขสบายโปร่งใจอยู่ตามปกติของเรา อันนี้เป็นประโยชน์สูงสุดในขั้นสุดท้ายถ้าสามารถทำได้อย่างนี้ ชีวิตก็จะมีความสมบูรณ์ในตัว
    ดังได้กล่าวแล้วว่า งานไม่ใช่เป็นตัวเรา และก็ไม่ใช่เป็นของเราจริง แต่งานนั้นเป็นกิจกรรมของชีวิตเป็นกิจกรรมของสังคม เป็นสิ่งที่ชีวิตของเราเข้าไปสัมพันธ์เกี่ยวข้องแล้วก็ต้องผ่านกันไปในที่สุด งานนั้นเราไม่สามารถทำให้สมบูรณ์แท้จริงเพราะมันขึ้นกับผลที่มีต่อสิ่งอื่น ขึ้นกับปัจจัยแวดล้อม กาลเทศะ ความเปลี่ยนแปลงของสังคม คนอื่นจะต้องมารับช่วงทำกันต่อไป แต่ชีวิตของเราแต่ละคนนั้นเป็นสิ่งที่ทำให้สมบูรณ์ได้ และเราสามารถทำให้สมบูรณ์แท้จริงเพราะมันขึ้นกับผลที่มีต่อสิ่งอื่น ขึ้นกับปัจจัยสิ่งแวดล้อม กาลเทศะ ความเปลี่ยนแปลงของสังคม คนอื่นจะต้องมารับช่วงทำกันต่อไป แต่ชีวิตของเราแต่ละคนนั้นเป็นสิ่งที่ทำให้สมบูรณ์ได้ และเราสามารถทำให้สมบูรณ์ได้ แม้แต่ด้วยการปฏิบัติงานนี้แหละอย่างถูกต้อง เมื่อเราปฏิบัติต่องานหรือทำงานอย่างถูกต้องมีท่าทีของจิตใจต่องานถูกต้องแล้ว ชีวิตก็จะเป็นชีวิตที่สมบูรณ์ในตัวในแต่ละขณะนั้นนั่นเอง นี่คือ ประโยชน์ในระดับต่างๆ จนถึงขึ้นสูงสุดที่ทางธรรมสอนไว้
    รวมความว่า ภาระที่ชีวิต งาน และธรรม ประสานกลมกลืนเข้าด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว หรือเอกภาพที่กล่าวมานั้น เมื่อวิเคราะห์ลงไปแล้ว ยังแยกได้เป็น ๒ ระดับ
    ในระดับหนึ่ง แม้ว่าในเวลาทำงาน ชีวิตจะเต็มอิ่มสมบูรณ์ในแต่ละขณะนั้นๆ ทุกขณะ เพราะชีวิตจิตใจกลมกลืนเข้าไปในงานเป็นอันเดียวกัน พร้อมทั้งมีความสุขพร้อมอยู่ด้วยในตัว แต่ลึกลงไปในจิตใจก็ยังมีความยึดติดถือมั่นอยู่ว่างานของเราๆ พร้อมด้วยความอยาก ความหวังความหมายมั่น และหวาดหวั่นว่า ขอให้เป็นอย่างนั้นเถิด มันจะเป็นอย่างนั้นหรือไม่หนอ เป็นต้น จึงยังแฝงเอาเชื้อแห่งความทุกข์ซ่อนไว้ลึกซึ้งภายใน เป็นเอกภาพที่มีความแยกต่างหาก ซึ่งสิ่งที่ต่างหากกันเข้ามารวมกัน มีตัวตนที่ไปรวมเข้ากับสิ่งอื่น หรือฝังกลืนเข้าไปในสิ่งนั้นในงานนั้น ซึ่งเมื่อมีการรวมเข้าก็อาจมีการแยกออกได้อีก
    ส่วนในอีกระดับหนึ่ง ความประสานกลมกลืนของชีวิตจิตใจกับงานที่ทำ เป็นไปพร้อมด้วยความรู้เท่านตามความเป็นจริงในธรรมชาติของชีวิตและการงาน เป็นต้น ที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย โดยไม่ต้องอยากยึดมั่นถือสำคัญมั่นหมายให้นอกเหนือ หรือเกิดออกไปจากการกระทำตามเหตุผลด้วยความตั้งใจ และเพียรพยายามอย่างจริงจัง เป็นภาวะอิสรภาพซึ่งเอกภาพเป็นเพียงสำนวนพูด เพราะแท้จริงแล้วไม่มีอะไรแยกต่างหากที่จะต้องมารวมเข้าด้วยกันเนื่องจากไม่มีตัวตน ที่จะเข้าไปรวมหรือแยกออกมาเป็นเพียงความเป็นไป หรือดำเนินไปอย่างประสานกลมกลืนในความสัมพันธ์ของสิ่งทั้งหลาย ที่แท้ก็คือความโปร่งโล่ง เป็นอิสระ เรียกว่าภาวะปลอดทุกข์ไร้ปัญหา เพราะไม่มีช่องให้ความคับข้องติดขัดบีบคั้นเกิดขึ้นเลย
    ฉะนั้น พึงเข้าใจว่า ภาวะที่ชีวิต งาน และธรรม ประสานกลมกลืนเข้าเป็นหนึ่งเดียว ดังได้กล่าวมา ก่อนหน้านี้ซึ่งผู้ทำงานมีชีวิตเต็มสมบูรณ์เสร็จสิ้นไปในแต่ละขณะ ที่เป็นปัจจุบันนั้น ว่าที่จริงแล้วเมื่อถึงขั้นสุดท้ายก็ตรงกันกับภาวะของการมีชีวิตที่เป็นอิสระอยู่พ้นเหนืองาน ที่กล่าวถึงในที่นี้นั่นเอง เพราะความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนั้น หมายถึง ความสัมพันธ์ที่กลมกลืนเสร็จสิ้นผ่านไปในแต่ละขณะไม่ใช่เป็นการเข้าไปยึดติดผูกพันอยู่ด้วยกัน ซึ่งแม้จะอยู่ในขณะเดียวกันก็กลายเป็นแยกต่างหาก จึงมารวมหรือยึดติดกัน
    แต่ในภาวะที่เป็นเอกภาพอย่างสมบูรณ์แท้จริงผู้ที่ทำงาน มีชีวิตเป็นงาน และมีงานเป็นชีวิตในขณะนั้นๆ เสร็จสิ้นไปโดยไม่มีตัวตนที่จะแยกออกมายึดติดในขณะนั้น และไม่มีอะไรค้างใจเลยไปจากปัจจุบัน จึงเป็นอิสรภาพในท่ามกลางแห่งภาวะที่เรียกว่าเป็นเอกภาพนั้นทีเดียว เป็นอันว่าชีวิตเพื่องาน งานนี้เพื่อธรรม และลึกลงไปอีก ชีวิตนี้ก็เป็นงานและงานนี้ก็เป็นธรรม และชีวิตก็เป็นธรรมเองด้วย จนกระทั่งในที่สุดชีวิตนี้ก็มาถึงขั้นสุดท้าย คือ เป็นชีวิตที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับงาน แต่ก็เป็นอิสระอยู่พ้นเหนือแม้แต่งาน ก็เป็นอันว่าถึงความจบสิ้นสมบูรณ์ ถ้าถึงขั้นนี้ก็เรียกว่าเป็นประโยชน์สูงสุดในประโยชน์สามขั้นที่เราจะต้องทำให้ได้
    พระพุทธศาสนาบอกไว้ว่า คนเราเกิดมาควรเข้าถึงประโยชน์ให้ครบสามขั้น และประโยชน์ทั้งสามขั้นนี้แหละคือเครื่องมือ หรือเกณฑ์มาตรฐานที่ใช้วัดผลของตนเองในการดำเนินชีวิต ถ้าเราดำเนินชีวิตของเราไปแล้ว คอยเอาหลักประโยชน์ หรือจุดหมายสามขั้นนี้มาวัดตัวเองอยู่เสมอ เราก็จะเห็นการพัฒนาตนเอง หรือเป็นการสร้างสมความดีก็ตาม หลักประโยชน์สามขั้นนี้ สามารถนำมาใช้ได้เสมอไป ใช้ได้จนถึงขั้นสมบูรณ์เป็นอิสระ จบการพัฒนาอยู่พ้นเหนือการที่จะเป็นทุกข์ แม้แต่เพราะความดี
    วันนี้ อาตมาภาพได้มาพูดในโอกาสอันเป็นสิริมงคล ก็ต้องการให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าเป็นประโยชน์ ประโยชน์ก็คือจุดหมายดังที่กล่าวมานี้ ซึ่งมีถึง ๓ ขั้น ก็ขอให้เราทั้งหลายมาช่วยกันทำให้เกิดประโยชน์ทั้งสามขั้นนี้ ทั้งแก่ชีวิตของตนเอง ทั้งแก่ชีวิตของคนอื่น และแก่สังคมส่วนรวม แล้วอันนี้แหละจะเป็นเครื่องแสดงถึงการที่ธรรมได้เกิดขึ้น และงอกงามสมบูรณ์ในโลก
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    [​IMG]

    [​IMG][​IMG]

    วิธีบูชาพระบรมครูพระเทพโลกอุดร<O:p</O:p

    จะเป็นภาพถ่ายหรือรูปหล่อของหลวงปู่ท่าน หรือพระพิมพ์ที่หลวงปู่ท่านได้อธิษฐานจิตไว้ย่อมใช้ได้ทั้งสิ้น หลวงปู่ท่านโปรดผู้ประพฤติอยู่ในศีลธรรม ชอบอาหารมังสะวิรัติ ชอบฟังคำสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก ชอบบูชาด้วยดอกมะลิสด น้ำฝน 1 แก้ว เทียนหนักหนึ่งบาท 1 คู่ ธูปหอม 5 ดอก (คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้าหรือหลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปานหรือหลวงพ่อโอภาสี วัดโอภาสี บางมด) ) การปฏิบัติธรรมสังวรณ์ในกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ประกอบด้วยศีล 5 เป็นอย่างน้อย ย่อมเป็นสิ่งพึงพอใจของหลวงปู่และทั้งยังให้ความสุชความเจริญทั้งคดีโลกและคดีธรรมแก่ผู้ปฏิบัติ

    สำหรับพิมพ์อรหันต์ พิมพ์ปิดตา และพิมพ์มหากัจจายนะซึ่งเป็นองค์เดียวกันแต่ปางต่างกันหากจะอาราธนาอย่างพิศดารก็ย่อมกระทำได้ กล่าวคือพิมพ์อรหันต์ใหญ่ พิมพ์อรหันต์กลางและพิมพ์อรหันต์น้อย อยู่ในหมวดพระมหากัจจายนะรูปงามซึ่งเป็นรูปเดิมก่อนการอธิษฐานวรกายให้ต่อท้ายด้วยคาถาดังนี้

    พิมพ์อรหันต์
    อรหันติกัจจายนะเถโร มหาโภโค มหาลาโภ รูปะวะระเชยยะสิทธิเม
    (เชยยะ อ่านว่า ไชยะ ; รูปะวะระ แปลว่า รูปงาม)
    *** โลกุตตะโร ปัญจะ มหาเถโร อะหัง วันทามิตัง สะทา อรหันติกัจจายนะเถโร มหาโภโค มหาลาโภ รูปะวะระเชยยะสิทธิเม ***

    สำหรับสำหรับพิมพ์พระปิดตาซึ่งเป็นปางอธิษฐานวรกายให้สวดพระคาถา โลกุตตะโร ปัญจะ มหาเถโร อะหัง วันทามิตัง สะทา แล้วต่อท้ายด้วยพระคาถาต่อไปนี้
    พิมพ์พระภควัมปติ(ปิดตา)
    ควัมปติ จะ มหาเถโร มหาโภโค มหาลาโภ เชยยะสิทธิเม
    *** โลกุตตะโร ปัญจะ มหาเถโร อะหัง วันทามิตัง สะทา ควัมปติ จะ มหาเถโร มหาโภโค มหาลาโภ เชยยะสิทธิเม ***

    สำหรับพิมพ์พุงพลุ้ยที่นิยมเรียกกันว่า พระสังกัจจายน์ คำนี้ไม่มีศัพท์นี้ในภาษาบาลี ที่ถูกต้องคือ พระมหากัจจายนะ เถระเจ้าอัน
    เป็นปางหลังจากที่นิมิตวรกายแล้ว ให้สวดพระคาถา โลกุตตะโร ปัญจะ มหาเถโร อะหัง วันทามิตัง สะทา แล้วต่อท้ายด้วย พระคาถาต่อไปนี้
    อรหันติกัจจายนะเถโร มหาโภโค มหาลาโภ เชยยะสิทธิเม
    ***โลกุตตะโร ปัญจะ มหาเถโร อะหัง วันทามิตัง สะทา อรหันติกัจจายนะเถโร มหาโภโค มหาลาโภ เชยยะสิทธิเม ***
    จะเห็นว่าตัดเอาคำว่า รูปะวะระออกไปเพราะสิ้นความงดงามแล้ว

    พระพิมพ์ของคณะพระเทพโลกอุดรนั้นทุกรูปแบบทุกพิมพ์ทรงมีอานุภาพครอบจักรวาล อาราธนาทำน้ำมนต์ประสิทธิ์ยิ่งนัก โดยให้นำเอาพระแช่ในภาชนะที่บรรจุน้ำเรียบร้อยแล้ว บูชาด้วยดอกไม้ จุดธูปเทียน แล้วอธิษฐานตามความมุ่งหมาย เสร็จแล้วให้รีบนำพระขึ้นเช็ดน้ำด้วยสำลีหรือผ้าสะอาด ผึ่งลมให้แห้งก่อนนำไปบรรจุตลับ องค์พระจะไม่ละลายลบเลือนและไม่ควรแช่ในน้ำนานเกินควร จงทะนุถนอมให้จงดี เพราะหาไม่ได้อีกแล้ว

    สำหรับท่านที่มีพระอันเป็นทิพยสมบัติอันทรงคุณค่า โดยได้รับสืบทอดมาจากบรรพชนหรือได้รับจากทางใดทางหนึ่งก็ตาม เสมือนมีแก้วสารพัดนึกอยู่กับตัว ไม่จำเป็นต้องขวนขวายในอิทธิวัตถุอื่นอีก<O:p</O:p

    วิธีบูชาพระบรมครูพระเทพโลกอุดร

    คำบูชาบรมครูพระโลกอุดร
    นะโมตัสสะภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯลฯ ( 3 จบ )<O:p</O:p
    โย อะริโย มะหาเถโร อะระหัง อะภิญญาธะโร ปฎิสัมภิทัปปัตโต เตวิชโช พุทธะสาวะโก พะหู เมตตาทิวาสะโน มะหาเถรา นุสาสะโก โส โลกุตตะโร นาโม อัมเหหิ อะภิปูชิโต อิฐะ ฐานูปะมาคัมมะ กุสะเล โน นิโยชะเย ปุตตะเมวะ ปิยัง เทสิ มัคคะผะลัง วะ เทสสะติ ปะระมะสาริกะธาตุ วะชิรัญจา ปิวานิตัง โส โลเก จะ อุปปันโน เอเกเนวะ หิตังกะโร อะยัง โน โข ปุญญะลาโภ อัปปะมัตโต ภะเวตัพโพ สาธุกันตัง อะนุกะริสสามะ ยัง เวเรนะ สุภาสิตัง โลกุตตะโร จะ มหาเถโร เทวะตา นะระปูชิโต โลกุตตะระคุณัง เอตัง อะหัง วันทามิ ตัง สะทา มะหาเถรา นุภาเวนะ สุขัง โสตถี ภะวันตุ เม

    บทสวด แบบย่อหรืออาราธนาพระพิมพ์ (ได้ทุกทรงพิมพ์)<O:p</O:p
    โลกุตตะโร ปัญจะ มะหาเถโร อะหัง วันทามิ ตัง สะทา
    หรือภาวนา ๓ จบ , ๗ จบ , ๙ จบ (เช้า-เย็น ตื่นนอนและก่อนนอน)<O:p</O:p
    โลกุตตะโร ปัญจะ มะหาเถโร อะหัง วันทามิ ตัง สะทา เมตตาลาโภ นะโสมิยะ อะหะพุทโธ

    หมายเหตุ : บทความที่นำมาเสนอนี้ได้รับการอนุญาตในการคัดลอกและเรียบเรียงเพื่อเผยแพรเป็นวิทยาทานจากท่าน อาจารย์ ประถม อาจสาครเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นับเป็นพระคุณและความกรุณาอย่างยิ่ง<O:p</O:p

    ผมขอเสริมนะครับ ท่านสามารถอาราธนาเป็นภาษาไทย ได้นะครับ ถ้ายังจำบทสวดของท่านไม่ได้ครับ

    ท่านที่ห้อยพระหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร ที่ท่านเมตตาเสกให้นั้น หากมีความจำเป็นที่ต้องไปในสถานที่อโคจรทั้งหลาย ผมมีบทสวดที่ใช้ในการนี้มาฝากทุกท่านครับ

    ก่อนที่จะเข้าไปในสถานที่อโคจรให้สวด อิติภะคะโว
    กลับออกมาจากสถานที่อโคจรให้สวด โสภะคะวา

    หรือก่อนที่จะเข้าไปในสถานที่อโคจรให้สวด อะระหัง
    กลับออกมาจากสถานที่อโคจรให้สวด หังระอะ

    บทแผ่เมตตาโบราณ<O:p</O:p
    นะเมตตา โมเมตตา ปะวาเสนตัง อะหังโหมิ สุจิตตาปะมาทาตุ สุจิตโตปะโมทาตุ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    บทแผ่เมตตาอันยิ่งใหญ่<O:p</O:p
    มหาโคตะโมปาทะเกอิ จะอะปาทะเกอิ เมเมตตังเมตตัง

    สำหรับท่านที่ได้บูชาพระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร อธิษฐานจิตไว้ให้นั้น ผมขอเรียนชี้แจงให้ทราบกันนะครับว่า การวางพระพิมพ์หรือวัตถุมงคลต่างๆ ต้องวางไว้ในที่เหมาะสม ควรใช้พวงมาลัยไว้พระพิมพ์ (เป็นการไหว้หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร และเทวดาผู้ที่รักษาพระพิมพ์) พวงมาลัยที่ใช้ไหว้นั้น ต้องเป็นพวงมาลัยที่มีดอกรัก ,ดอกมะลิ ,ดอกกุหลาบ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ แต่ห้ามใช้พวงมาลัยที่เป็นดอกดาวเรืองโดยเด็ดขาด ส่วนการวางพวงมาลัย ควรหาพานมาเพื่อใช้ในการวางพวงมาลัยครับ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    หากท่านใดที่ได้ทำบุญไม่ว่าจะเป็นการทำบุญเรื่องอะไรก็ตาม ควรที่จะกรวดน้ำให้กับผู้เสก,ผู้สร้าง และเทวดาประจำองค์พระพิมพ์ด้วยทุกๆครั้งนะครับ<O:p</O:p
    <!-- / message --><!-- sig -->
    <!-- / message --><!-- sig -->
    **************************************************




    ไหว้ 5 ครั้ง<O[​IMG]</O[​IMG]




    ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( เจริญ ญาณวรเถระ )<O[​IMG]</O[​IMG]




    วัดเทพศิรินทราวาส<O[​IMG]</O[​IMG]

    [​IMG]

    คัดลอกจาก http://www.konmeungbua.com/saha/Lung...pu_armpan.html<O[​IMG]</O[​IMG]

    ในวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ไม่ว่าเวลาไร ตามแต่เหมาะต้องไหว้ให้ได้ 5 ครั้งเป็นอย่างน้อย ในคราวเดียวนั้น ถ้ามีดอกไม้ธูปเทียนก็บูชา ถ้าไม่มีก็มือ 10 นิ้วและปากกับใจ ควรไหว้จนตลอดชีวิต คือ<O[​IMG]</O[​IMG]
    <O[​IMG]</O[​IMG]

    ครั้งที่ 1 พึงนั่งกระโหย่งเท้าประณมมือว่า<O[​IMG]</O[​IMG]
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ 3 หน แล้วว่าพระพุทธคุณ คือ<O[​IMG]</O[​IMG]
    อิติปิโส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสานํ พุทฺโธ ภควาติ ฯ<O[​IMG]</O[​IMG]
    หยุดระลึกถึงพระปัญญาคุณทรงรู้ดีรู้ชอบสิ้นเชิง พระบริสุทธิคุณทรงละความเศร้าหมองได้หมด พระกรุณาคุณทรงสงสารผู้อื่นและสั่งสอนให้ปฏิบัติตามของพระพุทธเจ้า จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ <O[​IMG]</O[​IMG]
    <O[​IMG]</O[​IMG]

    ครั้งที่ 2 ว่าพระธรรมคุณ คือ<O[​IMG]</O[​IMG]
    สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโน สนฺทิฆฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญญูหีติ ฯ<O[​IMG]</O[​IMG]
    หยุดระลึกถึงคุณพระธรรมที่รักษาผู้ปฏิบัติตามไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ <O[​IMG]</O[​IMG]
    <O[​IMG]</O[​IMG]

    ครั้งที่ 3 ว่าพระสังฆคุณ คือ<O[​IMG]</O[​IMG]
    สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสยุคานิ อฏฐปุริสปุคฺคลา เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ อาหุเนยฺโย ปาหุเนยฺโยทกฺขิเนยฺโย อญฺชลิกรณีโย อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺสาติฯ<O[​IMG]</O[​IMG]
    หยุดระลึกถึงคุณ คือ ความปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูก ปฏิบัติชอบ ของพระอริยสงฆ์ จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ<O[​IMG]</O[​IMG]
    นั่งพับเพียบประณมมือตั้งใจถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะไม่ถือสิ่งอื่นยิ่งกว่าจนตลอดชีวิต ว่าสรณคมน์ คือ<O[​IMG]</O[​IMG]
    พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ<O[​IMG]</O[​IMG]
    ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ<O[​IMG]</O[​IMG]
    สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ<O[​IMG]</O[​IMG]
    ทุติยมฺปิ พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ <O[​IMG]</O[​IMG]
    ทุติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ<O[​IMG]</O[​IMG]
    ทุติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ <O[​IMG]</O[​IMG]
    ตติยมฺปิ พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ <O[​IMG]</O[​IMG]
    ตติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ<O[​IMG]</O[​IMG]
    ตติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ <O[​IMG]</O[​IMG]
    <O[​IMG]</O[​IMG]

    ครั้งที่ 4 ระลึกถึงคุณมารดาบิดาของตน จนเห็นชัดแล้ว กราบลงหน 1 ฯ<O[​IMG]</O[​IMG]
    ข้า ฯ ขอ กราบไหว้คุณท่านบิดาและมารดา<O[​IMG]</O[​IMG]
    เลี้ยงลูกเฝ้ารักษา แต่คลอดมาจึงเป็นคน<O[​IMG]</O[​IMG]
    แสนยากลำบากกายไป่คิดยากลำบากตน<O[​IMG]</O[​IMG]
    ในใจให้กังวลอยู่ด้วยลูกทุกเวลา<O[​IMG]</O[​IMG]
    ยามกินพอลูกร้องก็ต้องวางวิ่งมาหา<O[​IMG]</O[​IMG]
    ยามนอนห่อนเต็มตาพอลูกร้องก็ต้องดู<O[​IMG]</O[​IMG]
    กลัวเรือดยุงไรมดจะกวนกัดรีบอุ้มชู<O[​IMG]</O[​IMG]
    อดกินอดนอนสู้ ทนลำบากหนักไม่เบา<O[​IMG]</O[​IMG]
    คุณพ่อแม่มากนักเปรียบน้ำหนักยิ่งภูเขา<O[​IMG]</O[​IMG]
    แผ่นดินทั้งหมดเอามาเปรียบคุณไม่เท่าทัน<O[​IMG]</O[​IMG]
    เหลือที่ จะแทนคุณ ของท่านนั้น ใหญ่อนันต์<O[​IMG]</O[​IMG]
    เว้นไว้ แต่เรียนธรรม์ เอามาสอนพอผ่อนคุณ<O[​IMG]</O[​IMG]
    สอนธรรมที่จริงให้ รู้ไม่เที่ยงไว้เป็นทุน<O[​IMG]</O[​IMG]
    แล้วจึงแสดงคุณ ให้เห็นจริงตามธรรมดา<O[​IMG]</O[​IMG]
    นั่นแหละจึงนับได้ ว่าสนองซึ่งคุณา<O[​IMG]</O[​IMG]
    ใช้ค่าข้าวป้อนมาและน้ำนมที่กลืนกิน ฯ<O[​IMG]</O[​IMG]
    <O[​IMG]</O[​IMG]

    ครั้งที่ 5 ระลึกถึงคุณของบรรดาท่านผุ้มีอุปการคุณแก่ตน เช่น พระมหากษัตริย์และครูบาอาจารย์ เป็นต้นไป จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ<O[​IMG]</O[​IMG]
    ข้า ฯ ขอนอบน้อมคุณแด่ท่านครู ผู้อารี<O[​IMG]</O[​IMG]
    กรุณาและปรานีอุตส่าห์สอนทุก ๆ วัน<O[​IMG]</O[​IMG]
    ยังไม่รู้ ก็ได้รู้ ส่วนของครูสอนทั้งนั้น<O[​IMG]</O[​IMG]
    เนื้อความทุกสิ่งสรรพ์ดีชั่วชี้ ให้ชัดเจน<O[​IMG]</O[​IMG]
    จิตมากด้วยเอ็นดูอยากให้รู้เหมือนแกล้งเกณฑ์<O[​IMG]</O[​IMG]
    รักไม่ลำเอียงเอนหวังให้แหลมฉลาดคม<O[​IMG]</O[​IMG]
    เดิมมืดไม่รู้แน่เหมือนเข้าถ้ำเที่ยวคลำงม<O[​IMG]</O[​IMG]
    สงสัยและเซอะซมกลับสว่างแลเห็นจริง<O[​IMG]</O[​IMG]
    คุณส่วนนี้ควรไหว้ ยกขึ้นไว้ ในที่ยิ่ง<O[​IMG]</O[​IMG]
    เพราะเราพึ่งท่านจริงจึงได้รู้ วิชาชาญ ฯ<O[​IMG]</O[​IMG]

    (บทประพันธ์สรรเสริญคุณมารดาบิดา และ ครูบาอาจารย์ของ ท่านอาจารย์ จางวางอยู่ เหล่าวัตร วัดเทพศิรินทราวาส<O[​IMG]</O[​IMG]

    ลิขสิทธิ์เป็นของ ท่านเจ้าคุณพระโศภนศีลคุณ (หลวงปู่หลุย พาหิยาเถร) วัดเทพศิรินทราวาส)
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    ต่อไปนี้ไม่ต้องประณมมือ ตั้งใจพิจารณาเรื่อง และร่างกายของตนว่า จะต้องแก่ หนีความแก่ไปไม่พ้น จะต้องเจ็บ หนีความเจ็บไปไม่พ้น จะต้องตาย หนีความตายไปไม่พ้น จะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น มีกรรมเป็นของตัว คือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นอนิจจังไม่เที่ยง ไม่แน่นอน เป็นทุกข์ลำบากเดือดร้อน เป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของตน ฯ ครั้งพิจารณาแล้ว พึงแผ่กุศลทั้งปวงมีการกราบไหว้เป็นต้นนี้ อุทิศให้แก่ท่านผู้มีคุณมีมารดาบิดา เป็นต้น ตลอดจนชั้นสูงสุด คือพระมหากษัตริย์ ทั้งเทพยดามนุษย์และสัตว์ทั้งหลายว่า จงเป็นสุข ๆ อย่ามีเวรมีภัยเบียดเบียนกันและกัน รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    การไหว้ 5 ครั้งนี้ ถ้าวันไหนขาด ให้ไหว้ใช้ 5 ครั้งในวันรุ่งขึ้น ถ้านั่งกระโหย่งเท้าไม่ได้ ก็นั่งพับเพียบ ถ้าไม่ได้ ก็นอนไหว้ เมื่อยกมือไม่ขึ้น ก็ปากกับใจ ถ้าทำได้อย่างนี้เป็นเครื่องพยุงตนให้เป็นคนดี ไม่ให้เป็นคนชั่ว และให้ตั้งอยู่ในที่ดี ไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ถ้าผู้ใดประพฤติได้เสมอตลอดชีวิต ผู้นั้นจะอุ่นใจในตัวของตัวเอง มีความเจริญงอกงามไพบูลย์ยิ่ง ๆ ขึ้นเสมอทุกคืนทุกวัน คุ้มครองป้องกันภยันตรายปราศจากความเสียหายที่ไม่เหลือวิสัย และ ตั้งตัวได้ในทางคดีโลกและทางคดีธรรม เต็มภูมิเต็มขั้นของตน ๆ ทุกประการ จบเท่านี้ ฯ

    สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( เจริญญาณวรเถระ )

    http://72.14.235.104/search?q=cache:...h&ct=clnk&cd=7

    [​IMG]

    สมเด็จพระพุทธโฆษจารย์ นามเดิม เจริญ สุขบท เกิดในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2415 ที่จังหวัดชลบุรี เป็นบุตรนาย ทองสุก และนางย่าง

    เมื่ออายุ 8 ปี ได้เป็นศิษย์ของท่านเจ้าคุณชลโธปมคุณมุณี (พุฒ ปุณณกเร) ปฐมวัยอาวาสวัดเขาบางทราย

    เมื่ออายุ 12 ปีได้บรรพชาที่วัดเขาบางทราย และเข้าศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดราชบพิธอุปสมบทเมื่อวันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ.2435 ที่วัดเขาบางทราย จังหวัดชลบุรี พ.ศ.2439 ได้ศึกษาพระวินัยปิฎกในสำนัก สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ที่วัดเทพศิรินทราวาส

    "ตาบุญ (พระยาธรรมปรีชา) ผู้เป็นอาจารย์สอนบาลีของ
    เจ้าพระคุณสมเด็จฯ มอบช้างเผือกส่งเข้ามาให้ "
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยา วชิรญาณวโรรส ออกพระโอษฐ์รับสั่งเมื่อครั้งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวรเร) สอบไล่ภาษาบาลี ในมหามงกุฎราชวิทยาลัยได้ที่ 1ทุกชั้นเป็นลำดับมา

    พ.ศ.2441 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระราชาคณะที่พระอัมราภิลักขิต เป็นผู้อำนวยการศึกษามณฑลปราจีนบุรี ต่อมาได้ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาสได้เลื่อนสมณศักดิ์เรื่อยมา

    พ.ศ.2471 โปรดให้สถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์

    พ.ศ.2476กรรมการเถรสมาคมมีมติให้ท่าน เป็นประธานกรรมการมหาเถรสมาคมบัญชาการคณะสงฆ์แทนพระสังฆราชเจ้าซึ่งสิ้นพระชนม์ ประมวลเกียรติคุณพิเศษสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวรเร)เป็นพระเถระบริหารงานพระศาสนาถึง 5 แผ่นดิน คือแต่รัชกาลที่ 5-9 เป็นพระราชาคณะแต่อายุ 28 ปี เป็นสมเด็จพระราชาคณะแต่อายุ 57 ปี นับเป็นพระเถระที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์พรรษาน้อยกว่า พระเถระหลายรูปเป็นเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส แต่อายุ 28 ปี ถึง 80 ปีรวม 53 ปี นับว่ายาวนานที่สุดไม่มีใครเทียบได้
    เมื่อสอบนักธรรม หรือบาลีจะสอบได้ที่ 1 ทุกชั้นทุกประโยคเป็นรูปเดียวในสังฆมณฑล ดำรงตำแหน่งแม่กองธรรมสนามหลวง แม่กองบาลีสนามหลวง องค์เดียวกัน
    ในวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ.2494เวลา 10.30 น. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวรเระ)มรณภาพด้วยโรคเนื้องอกที่ตับรวมอายุได้ 80 ปี พรรษาที่ 59

    ความคิดเห็นส่วนตัวผม
    ท่านสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถระ) ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต (ตรึก จินตยานนท์) ท่านบอกกับผู้ที่ไปกราบท่านว่า ขอให้ทุกๆวันได้ไหว้ 5 ครั้ง จะได้เป็นศิริมงคลกับตนเอง จะเหมือนกับชื่อของท่าน (เจริญ) ครับ ท่านเจ้าคุณนรเอง ก็มีความเคารพในท่านสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ)มาก โดยท่านเจ้าคุณนรเอง เวลาเดินผ่านกุฎิของท่านสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(เจริญ)ทุกครั้ง ท่านเจ้าคุณนร ก็จะก้มลงกราบที่กุฎิอยู่ทุกครั้งครับ

    .*********************************************.
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ตามคำขอของเพื่อนครับ
    คำบูชาหรือบทสวดขององค์พระสิวลีเถระเจ้า ,องค์พระอนุรุทเถระเจ้า ,องค์พระอุปคุตเถระเจ้า ,หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร และสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี
    แต่ว่าเลือกใช้กันเองนะครับ ผมไม่มีความเห็นว่าจะใช้บทไหนครับ

    คำบูชาพระสีวลี

    http://www.palungjit.org/board/showthread.php?t=22224


    คำบูชาพระสีวลี (พระฉิม)<O:p</O:p


    อิมินา สักกาเรนะ สีวะลีเถรัง อะภิปูชะยามิ<O:p</O:p
    เมื่อบูชาแล้วกำหนดภาวนาในใจว่า<O:p</O:p
    สีวลี จะ มะหาเถโร อินโท พรัมมาจะ ปูชิตัง สัพพะลาภัง ประสิทธิเม เถรัสสะ อานุภาเวนะ สัพพะโสตถี ภะวันตุเม ฯ<O:p</O:p
    <O:p</O:p


    คาถาพระฉิมพลี (พระสีวลี)<O:p</O:p

    ฉิมพะลี จะ มหาเถโร ยักขาเทวาภิปูชิโต โสระโห ปัจจะยาทิมหิ อะหัง วันทามิ สัพพะทา<O:p</O:p
    ฉิมพะลี จะ มหาเถโร เทวะตานะระปูชิโต โสระโห ปัจจะยาทิมหิ มหาลาภัง กะโรนตุ เม ลาเภนะ อุตตะโม โหติ โส ระโห ปัจจะยาทิมหิ มหาลาภัง สะทา โสตถิง ภะวันตุ เม ฯ<O:p</O:p
    ราชะปุตโต จะ โย เถโร ฉิมพะลี อิติรัสสุโต ลาเภนะ อุตตะโม โหติ ยัง ยัง ชะนะปะทัง ยาตินิคะเม ราชะธานิโย สัพพัตถะ ปูชิโต โหติ เถรัสสะ ปาเท วันทามิ เถรัสสานุภาเวนะ สัพพะลาโภ ภะวันตุ เม ฯ<O:p</O:p
    ฉิมพะลีนันทะ ฉิมพะลีเถรัสสะ เอตถะตัง คุณัง สัพพะธะนัง สุปะติฏฐิตัง สาริกะธาตุ พุทธะรูปัง อะหัง วันทามิ สัพพะทา ฯ<O:p</O:p
    <O:p</O:p


    หัวใจพระสิวลี<O:p</O:p

    นะ ชาลีติ ประสิทธิลาภา<O:p</O:p

    <O:p</O:p
    หัวใจพระฉิมพลี<O:p</O:p
    นะชาลิติ ปะสิทธิลาภา ปะสันนะจิตตา สะทา โหติ ปิยัง มะมะ สัพเพชะนา พะหูชะนา สัพเพ ทิสา สะมาคะตา กาละโภชนา วิกาละโภชนา อาคัจฉันติ ปิยัง มะมะ ฯ
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    คำอธิฐานขอลาภจากพระสีวลี<O:p</O:p


    (โดยหลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ จังหวัดลำปาง)<O:p</O:p

    นโม ๓ จบ<O:p</O:p


    สิวะ ลีมะหา เถรัง วันทามิหัง ( ๓ จบ )<O:p</O:p

    มะหาสิวะลี เถโร มะหาลาโภ โหติ มะหาสิวะลี เถโร ลาภัง เม เท ถะ<O:p</O:p


    คำบูชาขอลาภพระสิวลี (ประจำวัน)<O:p</O:p


    วันอาทิตย์ ( ๖ จบ )<O:p</O:p

    ฉิมพะลี จะ มหานามัง สัพพะลาภัง ภะวิสสะติ เถรัสสานุภาเวนะ สะทา โหนติ ปิยัง มะมะ ฯ<O:p</O:p

    วันจันทร์ ( ๑๕ จบ )<O:p</O:p

    ยัง ยัง ปุริโสวา อิตถีวา ทูเรหิวา สะมีเปหิวา เถรัสสานุภาเวนะ สะทา โหนติ ปิยัง มะมะ ฯ<O:p</O:p

    วันอังคาร ( ๘ จบ )<O:p</O:p

    ฉิมพะลี จะ มหาเถโร โสระโห ปัจจะยาทิมหิ เชยยะลาโภ มหาลาโภ สัพพะลาภา ภะวันตุ สัพพะทา ฯ<O:p</O:p

    วันพุธ ( ๑๗ จบ )<O:p</O:p

    ทิตติตถะภะเวราชา ปิยาจะ คะระตุเม เย สารัตติ นิรันตะรัง สัพพะสุขาวะหา ฯ<O:p</O:p

    วันพฤหัสบดี ( ๑๙ จบ )<O:p</O:p

    ฉิมพะลี จะ มหาเถโร ยักขาเทวาภิปูชิโต โสระโห ปัจจะยาทิมหิ อะหัง วันทามิ สัพพะทา ฯ<O:p</O:p

    วันศุกร์ ( ๒๑ จบ )<O:p</O:p

    ฉิมพะลี จะ มหาเถโร เทวะตานะระปูชิโต โสระโห ปัจจะยาทิมหิ มหาลาภัง กะโรนตุ เม ลาเภนะ อุตตะโม โหติ สัพพะลาภะ ภะวันตุ สัพพะทา ฯ<O:p</O:p

    วันเสาร์ ( ๑๐ จบ)<O:p</O:p

    ฉิมพะลี จะ มหานามัง อินทาพรหมา จะ ปูชิตัง สัพพะลาภัง ปะสิทธิ เม เถรัสสานุภาเวนะ สะทา สุขี ปิยัง มะมะ ฯ<O:p</O:p
    หมายเหตุ -ในวงเล็บหมายถึงการให้ภาวนาจำนวน………จบ<O:p</O:p
    -ถ้าจะขอลาภเป็นพิเศษ ก็ สวดคำบูชาพระสิวลี นำก่อน หลังจากนั้นจึงสวด คำบูชาขอลาภพระสิวลี (ประจำวัน) ที่จะขอลาภนั้น ตามกำลังวัน<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    คำบูชาพระสิวลี<O:p</O:p

    (ใช้สวดนำทุกวัน)<O:p</O:p

    นะชาลีติประสิทธิลาภา ปะสันนะจิตตา สะทา โหนติ ปิยังมะมะ สัพเพชะนา พะหูชะนา สัพเพทิศา สะมาคะตา กาละโภชะนา วิกาละโภชนา อาคัจฉันติ ปิยังมะมะ<O:p</O:p
    ธัมมะจักกัง ปะทัง สุตวา พุชฌิตะวา อัตตังปะทัง สันติ อะระหาโลเก โลกานัง หิตะการะณาภันเต คะวัมปะตินามะ ตีสุ โลเก สุปากะโต พรหมะปุตโต มะหาเถโร อะระโห เชฏฐะโก มุนิ นัตถิ เถโร สะโม อินทะคันธัพพา อะสุรา เทวาสักโก พรหมาภิปูชิโต นะโม พุทธัสสะ คะวัมปติสสะ นะโม ธัมมัสสะ คะวัมปะติสสะ นะโม สังฆัสสะ คะวัมปะติสสะ สุกขาสุกขะ วะรัง ธัมมัง ธัมมะจักกัง ปะวะรัง วะรัง ฯ<O:p</O:p

    <!-- / message --><!-- sig -->

    พระคาถาพระอนุรุธเถรเจ้า
    http://www.palungjit.org/board/showthread.php?t=26235


    <TABLE class=tborder id=post185903 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">29-01-2006, 01:27 AM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right>#1 </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>MBNY<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_185903", true); </SCRIPT>
    Administrator
    สมาชิกยอดฮิต

    [​IMG]

    เข้ามาครั้งสุดท้ายเมื่อ: วันนี้ 12:17 PM
    วันที่สมัคร: Sep 2004
    ข้อความ: 2,114 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    ได้ให้อนุโมทนา 19,768 ครั้ง
    ได้รับอนุโมทนา 4,715 ครั้ง ใน 770 โพส <!-- End Post Thank You Hack -->
    พลังการให้คะแนน: 5000 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]



    </TD><TD class=alt1 id=td_post_185903 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- icon and title -->พระคาถาพระอนุรุธเถรเจ้า
    <HR style="COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->พระคาถาพระอนุรุธเถรเจ้า

    มัยหังปุตโต ปุญญะวากะตา
    ภินิหาโร ภะวิสสะติ เทวะตะหิ ปาติง
    ปูเรตวา ปูวาปะหิตา ภะวิสสะตีติ

    พระคาถาบทนี้เป็นพระคาถาของพระอนุรุธะเถระเจ้า เป็น
    พระคาถาที่ท่านโบราณาจาริย์หวงแหนปิดบังกันมาก อำนาจ
    ของมนต์พระคาถาบทนี้ผู้ใดได้เล่าบ่นจำเริญไว้ประจำหมั่นทำบุญ
    ตักบาตร์เป็นนิจสินแล้วสวดพระคาถานี้อธิษฐาน ปรารถนา เอาสิ่ง
    ซึ่งตน พึ่งประสงค์ สิ่งนั้น จะพลัน อุบัติให้ได้ด้วย อำนาจเทพยดา
    บรรดาลให้เป็นไปภาวนาพระคาถาบทนี้แล้วไซร้จะคิดทำอย่างไร
    อย่าพูดคำว่า "ไม่มี-ไม่ได้" เพราะอำนาจของพระคาถานี้จะดล
    บรรดาลให้ได้สำเร็จดุจเยี่ยงเดียวกับอนุรุทธะ กุมาร ซึ่งท่านไม่เคย
    รู้จักคำว่า "ไม่มี" เลยตลอดชนมายุของท่านแล

    http://www.dhamdee.com/board/index.php?act=ST&f=1&t=199
    <!-- / message --><!-- sig -->
    </TD></TR></TBODY></TABLE>



    คำบูชา พระอุปคุต
    หรือ พระบัวเข็ม
    <O:p</O:phttp://www.palungjit.org/board/showthread.php?t=21900

    การตั้งบูชา นิยมการตั้งบูชาบนฐานรองรับ อยู่กลางภาชนะใส่น้ำ เป็นการจำลองคล้ายกับท่านจำพรรษาอยู่ในมหาสมุทร แล้วใช้ดอกมะลิลอยในน้ำบูชา และต้องตั้งต่ำกว่าพระพุทธ เนื่องจากเป็นพระอรหันต์ สาวกของพระพุทธเจ้า<O:p
    <O:p
    คำบูชาพระอุปคุต<O:p

    อุปะคุตโต จะ มะหาเถโร สัมพุทเธนะ วิยากะโต มารัญจะ มาระพะลัญจะ โส อิทานิ มะหาเถโร นะมัสสิตะวา ปะติฎฐิโต อะหัง วันทามิ อิทาเนวะ อุปะคุตตัง จะ มาหาเถรัง ยัง ยัง อุปัททะวัง ชาตัง วิธัง เสติ อะเสสะโต มะหาลาภัง ภะวันตุเม ฯ <O:p
    หรือ (แบบย่อ) อุปะคุตโต จะ มะหาเถโร ยักขาเทวา นะระปูชิโต โสระโห ปัจจะ ยาทิมปิ มะหาลาภัง ภะวันตุเม ฯ<O:p</O:p


    (เกิดโชคลาภและคุ้มกันภัยภิบัติอันตรายทั้งปวง)<O:p</O:p

    <O:p</O:p





    คำบูชาพระมหาอุปคุต<O:p</O:p

    นโม ๓ จบ<O:p</O:p

    พระมหาอุปคุตโต พระมหาอุปคุตตัง จะมหาเถโร สัพเพชะนา พะหูชะนา อิถีชะนา มามังพุทธะจิตตัง จะมหาลาโภ พุทธะธัมโม จะมหาลาภัง พุทธะสังฆัง จะมหาสัจจัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม ฯ<O:p</O:p
    อุปคุตตะ จะมหาเถโร สัพพะเสน่หาปุพชิโต โสระโห อุปะคุตะ ปัจจะยา ธิมะหิ อุตตะโม โหติ สัพพะทุกขะ สัพพะภะยะ สัพพะโรคะ พุทธา ธัมมา สังฆา อานุภาเวนะ วินาสสันติ ฯ<O:p</O:p


    (นิยมสวดบูชาพระบัวเข็ม หรือ พระธาตุอุปคุต)<O:p</O:p

    <O:p</O:p





    คำบูชาขอลาภพระอุปคุต<O:p</O:p

    มหาอุปคุตโต จะมหาลาโภ พุทโธลาภัง สัพเพชะนา พะหูชะนา ราชาปุริโส อิถีโยมานัง นะโมโจรา เมตตาจิตตัง เอหิจิตติจิตตัง ปิยังมะมะ สะเทวะกัง สะพรหมมะกัง มะนุสสานัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม ฯ<O:p</O:p
    เอหิจิตติ จิตตังพันธะนัง อุปะคุตะ จะมหาเถโร พุทธะสาวะกะ อานุภาเวนะ มาระวิชะยะ นิระภะยะ เตชะปุญณะตา จะเทวะตานัมปิ มะนุสสานันปิ เอหิจิตตัง ปิยังมะมะ อิมังกายะ พันธะนัง อะทิถามิ ปะอัยยิสสุตัง อุปัจสะอิ ฯ<O:p</O:p
    <O:p</O:p



    วิธีสวดขอลาภ<O:p</O:p

    ให้จุดธูปเทียนบูชา พร้อมกับดอกไม้หอม เครื่องหอมน้ำหอมต่างๆ เทหยดใส่ในขันน้ำมนต์ ณ ที่บูชาพระในร้านค้าขาย หรืออาคารสำนักงาน แล้วอธิษฐานขอให้กลิ่นควันธูปเทียน ลมพัดไปทางไหน ของให้ดลใจผู้คนเข้ามาอุดหนุนตลอด ขอให้ดำเนินกิจการด้วยความราบรื่น มีความสำเร็จสมปรารถนาทุกประการ เมื่ออธิษฐานจุดธูปเทียนบูชาแล้ว ให้สวด นะโม ๓ จบ และสวดคำบูชาขอลาภพระอุปคุต จบ แล้วทำน้ำมนต์สวดด้วย คำบูชาขอลาภพระมหาอุปคุต อีก ๑ จบ เสร็จแล้ว เอาน้ำมนต์ประพรมร้านค้า และสินค้าในร้านค้า หรือทำธุรกิจ ก็ให้เอาน้ำมนต์ประพรมภายในสำนักงานและอุปกรณ์ต่างๆ ที่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำธุรกิจนั้นทั้งหมด<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    คาถาพระมหาอุปคุตผูกมาร<O:p</O:p

    นโม ๓ จบ<O:p</O:p

    มหาอุปคุตโต มหาอุปคุตตัง กายะพันทะนัง อมยิสะ พุทธังทะเถโร ธัมมังทะเถโร สังฆังทะเถโร ปะอัยยะสุตัง อุปัจสะอิ อิมังกายะพันทะนัง อะทิถามิ ฯ<O:p</O:p
    (คาถาพระมหาอุปคุตผูกมาร มีอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์มาก เสกด้วยสายสิญจน์ทำเป็นมงคลสวมคอ หากปลุกเสกครบ ๑๐๘ ครั้งสามารถป้องกันภูตผีปีศาจทั้งปวง และป้องกันอุปัทวอันตรายต่างๆ ถ้าเสก ๓ - ๗ คาบ ผูกคอหรือคล้องคอคนถูกผีเจ้าเข้าสิง จะเจ็บปวดร้องครวญครางโหยหวยอย่างน่าเวทนา ถ้าจะให้ผีที่สิงอยู่ออกไป ให้ถอดหรือแก้ด้ายผูกคอออก แล้วเอาด้ายนี้ตีปัดตามตัวคนที่ถูกผีสิงอยู่ ผีจะอยู่ไม่ได้จะเผ่นออก และไม่กล้ากลับมารบกวนคนในบ้านอีก และยังมีการปลุกเสกในทางพิชิตโรคาพาธได้วิเศษนัก)<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    คำบูชาพระบัวเข็ม<O:p</O:p

    นโม ๓ จบ<O:p</O:p

    กิจจะมาคะอุปคุตโต อะมะหาเถโร สัมพุทเธวิยาคะโต มาระรัญจะ โสอิทานิ จะมะหาเถโร นะมัดปะสิทตะวาปะ ถิติโกอหัง วันทามิ พาเนวะอุปคุตตัง จะมะ หาเถรัง ยังยังอุปัทธะวังชาติ วิทังเสนติ อะเสสะโต นโมพุทธายะ<O:p</O:p
    พระบัวเข็มจะมะหาเถโร สัพพะลาภังภะวันตุเม อิติปิโสภะคะวา พุทโธชัยโย ธัมโมชัยโย สังโฆชัยโย เมตตา ฉิมพาลีจะมะหา เถโร สัพพะลาภัง ตะวันตุเม ฯ<O:p</O:p
    ชัยยะตัง ปัตถะพีตับภัง สามินโท โสราชาปูเชมิ ฯ<O:p</O:p


    หรือ<O:p</O:p




    จิตติจิตติ มิตติเอหิมะมะ อุปปะคุตโต จะมะหาเถโร นานาปาระมิ สัมมะปัณโน อิติปิโสภะคะวา มะอะอุเมตตา จะมะหาราชา สัพพะสะเนหา จะปูชิตา สัพพะทุกขัง มะหาลาภัง สัพพะโกพัง วินาสสันติ
    <!-- / message --><!-- sig -->

    วิธีบูชาพระบรมครูพระเทพโลกอุดร<O:p</O:p

    จะเป็นภาพถ่ายหรือรูปหล่อของหลวงปู่ท่าน หรือพระพิมพ์ที่หลวงปู่ท่านได้อธิษฐานจิตไว้ย่อมใช้ได้ทั้งสิ้น หลวงปู่ท่านโปรดผู้ประพฤติอยู่ในศีลธรรม ชอบอาหารมังสะวิรัติ ชอบฟังคำสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก ชอบบูชาด้วยดอกมะลิสด น้ำฝน 1 แก้ว เทียนหนักหนึ่งบาท 1 คู่ ธูปหอม 5 ดอก (คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้าหรือหลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปานหรือหลวงพ่อโอภาสี วัดโอภาสี บางมด) ) การปฏิบัติธรรมสังวรณ์ในกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ประกอบด้วยศีล 5 เป็นอย่างน้อย ย่อมเป็นสิ่งพึงพอใจของหลวงปู่และทั้งยังให้ความสุชความเจริญทั้งคดีโลกและคดีธรรมแก่ผู้ปฏิบัติ

    สำหรับพิมพ์อรหันต์ พิมพ์ปิดตา และพิมพ์มหากัจจายนะซึ่งเป็นองค์เดียวกันแต่ปางต่างกันหากจะอาราธนาอย่างพิศดารก็ย่อมกระทำได้ กล่าวคือพิมพ์อรหันต์ใหญ่ พิมพ์อรหันต์กลางและพิมพ์อรหันต์น้อย อยู่ในหมวดพระมหากัจจายนะรูปงามซึ่งเป็นรูปเดิมก่อนการอธิษฐานวรกายให้ต่อท้ายด้วยคาถาดังนี้

    พิมพ์อรหันต์
    อรหันติกัจจายนะเถโร มหาโภโค มหาลาโภ รูปะวะระเชยยะสิทธิเม
    (เชยยะ อ่านว่า ไชยะ ; รูปะวะระ แปลว่า รูปงาม)
    *** โลกุตตะโร ปัญจะ มหาเถโร อะหัง วันทามิตัง สะทา อรหันติกัจจายนะเถโร มหาโภโค มหาลาโภ รูปะวะระเชยยะสิทธิเม ***

    สำหรับสำหรับพิมพ์พระปิดตาซึ่งเป็นปางอธิษฐานวรกายให้สวดพระคาถา โลกุตตะโร ปัญจะ มหาเถโร อะหัง วันทามิตัง สะทา แล้วต่อท้ายด้วยพระคาถาต่อไปนี้
    พิมพ์พระภควัมปติ(ปิดตา)
    ควัมปติ จะ มหาเถโร มหาโภโค มหาลาโภ เชยยะสิทธิเม
    *** โลกุตตะโร ปัญจะ มหาเถโร อะหัง วันทามิตัง สะทา ควัมปติ จะ มหาเถโร มหาโภโค มหาลาโภ เชยยะสิทธิเม ***

    สำหรับพิมพ์พุงพลุ้ยที่นิยมเรียกกันว่า พระสังกัจจายน์ คำนี้ไม่มีศัพท์นี้ในภาษาบาลี ที่ถูกต้องคือ พระมหากัจจายนะ เถระเจ้าอัน
    เป็นปางหลังจากที่นิมิตวรกายแล้ว ให้สวดพระคาถา โลกุตตะโร ปัญจะ มหาเถโร อะหัง วันทามิตัง สะทา แล้วต่อท้ายด้วย พระคาถาต่อไปนี้
    อรหันติกัจจายนะเถโร มหาโภโค มหาลาโภ เชยยะสิทธิเม
    ***โลกุตตะโร ปัญจะ มหาเถโร อะหัง วันทามิตัง สะทา อรหันติกัจจายนะเถโร มหาโภโค มหาลาโภ เชยยะสิทธิเม ***
    จะเห็นว่าตัดเอาคำว่า รูปะวะระออกไปเพราะสิ้นความงดงามแล้ว

    พระพิมพ์ของคณะพระเทพโลกอุดรนั้นทุกรูปแบบทุกพิมพ์ทรงมีอานุภาพครอบจักรวาล อาราธนาทำน้ำมนต์ประสิทธิ์ยิ่งนัก โดยให้นำเอาพระแช่ในภาชนะที่บรรจุน้ำเรียบร้อยแล้ว บูชาด้วยดอกไม้ จุดธูปเทียน แล้วอธิษฐานตามความมุ่งหมาย เสร็จแล้วให้รีบนำพระขึ้นเช็ดน้ำด้วยสำลีหรือผ้าสะอาด ผึ่งลมให้แห้งก่อนนำไปบรรจุตลับ องค์พระจะไม่ละลายลบเลือนและไม่ควรแช่ในน้ำนานเกินควร จงทะนุถนอมให้จงดี เพราะหาไม่ได้อีกแล้ว

    สำหรับท่านที่มีพระอันเป็นทิพยสมบัติอันทรงคุณค่า โดยได้รับสืบทอดมาจากบรรพชนหรือได้รับจากทางใดทางหนึ่งก็ตาม เสมือนมีแก้วสารพัดนึกอยู่กับตัว ไม่จำเป็นต้องขวนขวายในอิทธิวัตถุอื่นอีก<O:p</O:p

    วิธีบูชาพระบรมครูพระเทพโลกอุดร

    คำบูชาบรมครูพระโลกอุดร
    นะโมตัสสะภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯลฯ ( 3 จบ )<O:p</O:p
    โย อะริโย มะหาเถโร อะระหัง อะภิญญาธะโร ปฎิสัมภิทัปปัตโต เตวิชโช พุทธะสาวะโก พะหู เมตตาทิวาสะโน มะหาเถรา นุสาสะโก โส โลกุตตะโร นาโม อัมเหหิ อะภิปูชิโต อิฐะ ฐานูปะมาคัมมะ กุสะเล โน นิโยชะเย ปุตตะเมวะ ปิยัง เทสิ มัคคะผะลัง วะ เทสสะติ ปะระมะสาริกะธาตุ วะชิรัญจา ปิวานิตัง โส โลเก จะ อุปปันโน เอเกเนวะ หิตังกะโร อะยัง โน โข ปุญญะลาโภ อัปปะมัตโต ภะเวตัพโพ สาธุกันตัง อะนุกะริสสามะ ยัง เวเรนะ สุภาสิตัง โลกุตตะโร จะ มหาเถโร เทวะตา นะระปูชิโต โลกุตตะระคุณัง เอตัง อะหัง วันทามิ ตัง สะทา มะหาเถรา นุภาเวนะ สุขัง โสตถี ภะวันตุ เม

    บทสวด แบบย่อหรืออาราธนาพระพิมพ์ (ได้ทุกทรงพิมพ์)<O:p</O:p
    โลกุตตะโร ปัญจะ มะหาเถโร อะหัง วันทามิ ตัง สะทา
    หรือภาวนา ๓ จบ , ๗ จบ , ๙ จบ (เช้า-เย็น ตื่นนอนและก่อนนอน)<O:p</O:p
    โลกุตตะโร ปัญจะ มะหาเถโร อะหัง วันทามิ ตัง สะทา เมตตาลาโภ นะโสมิยะ อะหะพุทโธ

    หมายเหตุ : บทความที่นำมาเสนอนี้ได้รับการอนุญาตในการคัดลอกและเรียบเรียงเพื่อเผยแพรเป็นวิทยาทานจากท่าน อาจารย์ ประถม อาจสาครเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นับเป็นพระคุณและความกรุณาอย่างยิ่ง<O:p</O:p

    ผมขอเสริมนะครับ ท่านสามารถอาราธนาเป็นภาษาไทย ได้นะครับ ถ้ายังจำบทสวดของท่านไม่ได้ครับ

    ท่านที่ห้อยพระหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร ที่ท่านเมตตาเสกให้นั้น หากมีความจำเป็นที่ต้องไปในสถานที่อโคจรทั้งหลาย ผมมีบทสวดที่ใช้ในการนี้มาฝากทุกท่านครับ

    ก่อนที่จะเข้าไปในสถานที่อโคจรให้สวด อิติภะคะโว
    กลับออกมาจากสถานที่อโคจรให้สวด โสภะคะวา

    หรือก่อนที่จะเข้าไปในสถานที่อโคจรให้สวด อะระหัง
    กลับออกมาจากสถานที่อโคจรให้สวด หังระอะ

    สำหรับท่านที่ได้บูชาพระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร อธิษฐานจิตไว้ให้นั้น ผมขอเรียนชี้แจงให้ทราบกันนะครับว่า การวางพระพิมพ์หรือวัตถุมงคลต่างๆ ต้องวางไว้ในที่เหมาะสม ควรใช้พวงมาลัยไว้พระพิมพ์ (เป็นการไหว้หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร และเทวดาผู้ที่รักษาพระพิมพ์) พวงมาลัยที่ใช้ไหว้นั้น ต้องเป็นพวงมาลัยที่มีดอกรัก ,ดอกมะลิ ,ดอกกุหลาบ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ แต่ห้ามใช้พวงมาลัยที่เป็นดอกดาวเรืองโดยเด็ดขาด ส่วนการวางพวงมาลัย ควรหาพานมาเพื่อใช้ในการวางพวงมาลัยครับ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    หากท่านใดที่ได้ทำบุญไม่ว่าจะเป็นการทำบุญเรื่องอะไรก็ตาม ควรที่จะกรวดน้ำให้กับผู้เสก,ผู้สร้าง และเทวดาประจำองค์พระพิมพ์ด้วยทุกๆครั้งนะครับ<O:p</O:p


    คาถาสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)<O:p</O:p

    นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ มะอะอุ อิสวาสุ อาปามะจะปะ ทิมะสังอังขุ สังวิทาปุกะยะปะ สะธะวิปิปะสะอุ อะสังวิสุโลปุสะพุภะ นะมะนะอะ นอ กอ นะกะ กอ ออ นอ อะ นะอะกะอัง อิติอะระหัง พุทธังสะระณังคัจฉามิ อิติอะระหังธัมมังสะระณังคัจฉามิ อิติอะระหังสังฆังสะระณังคัจฉามิ ตะติอุนิ จิเจรุนิ จิตตังเจตะสิกกัง รูปังนิพพานัง นามะรูปัง ทุกขัง นะมะรูปังอนิจจัง นามะรูปังอนัตตา อะยังอัตตะภาโว อะสุจิ อะสุภัง อะระหังหรินังหัคคะตา สัมมาสัมพุทโธ พุทธะสังมิ มังคะลังโวเจติ อิติอะระหัง อะระหังพุทโธ นะโมพุทธายะ<O:p</O:p

    พุทธมังคลคาถาถือเป็นอีกหนึ่งบทคาถาของท่านสมเด็จพระพุฒาจารย์โต คำว่าพุทธมังคลคาถานี้ คือการนมัสการบูชาพระอรหันต์แปดทิศซึ่งล้วนแต่เป็นพระมหาเถระที่ยิ่งใหญ่ทั้งสิ้น <O:p</O:p



    คาถาบูชาพระสมเด็จ


    ปุตตะกาโม ละเภ ปุตตัง
    ธะนะกาโม ละเภ ธะนัง
    อัตถิ กาเย กายะญายะ
    เทวานัง ปิยะตัง สุตะวา<O:p</O:p


    คาถาอารธนาพระสมเด็จ
    โตเสนโต วะระธัมเมนะ
    โตสัฏฐาเน สิเว วะเร
    โตสัง อะกาสิ ชันตูนัง
    โตสะจิตตัง นะมามิหัง<O:p</O:p


    คาถาสืบสร้างทางสวรรค์และนิพพาน

    พุทธะ พุทธา พุทเธ พุทโธ พุทธัง อะระหัง พุทโธ อิติปิโส ภะคะวา นะโมพุทธายะ
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    คำบูชาพระสังกัจจายน์<O:p</O:p
    การบูชาพระสังกัจจายน์นิยมใช้ดอกบัวหรือดอกไม้สีขาวที่มีกลิ่นหอม เช่น ดอกมะลิ ดอกพุด ดอกจำปี ฯลฯ นิยมใช้ ๓ ดอก หรือ ๗ ดอก , และน้ำเย็นสะอาด ๑ แก้ว ในวันพระหรือวันเกิดของผู้เป็นเจ้าของพระควรถวายภัตตาหารในถาดเล็กๆ หรือ ถวายผลไม้ในวันนั้นๆ ถ้าเป็นร้านค้าจะถวายทุกวันจะดีมาก<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    คำบูชาพระสังกัจจายน์<O:p</O:p

    นโม ๓ จบ<O:p</O:p

    กัจจานะจะมหาเถโร พุทโธ พุทธานัง พุทธะตัง พุทธัญจะ พุทธะสุภา สิตัง พุทธะตังสะมะนุปปัตโต พุทธะโชตัง นะมามิหัง ปิโยเทวะ มะนุสสานัง ปิโยพรหม นะมุตตะโม ปิโยนาคะ สุปันนานัง ปิยินทะริยัง นะมามิหัง สัพเพชะนา พะหูชะนา ปุริโสชะนา อิถีชะนา ราชาภาคินิ จิตตัง อาคัจฉาหิ ปิยังมะมะ ฯ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    หรือ นโม ๓ จบ<O:p</O:p
    ธัมมะจักกัง ประทังสุตะวา พุชฌิตะวา อัตตังปะทัง สันติเก อะระหาโลเก โลกานังหิตะการะณา ภันตาตันเต กัจจายะนะ นามะ ตีสุโลเกสุ ปากะโต พรหมะปุตโต มะหาเถโร อะระโห เชฏฐโกมุนิ นัตถิเถโร สะโมอินทะคันธัพพา อะสุราเทวะ สักโก พรหมาภิปูชิโต นะโมพุทธัสสะ กัจจายะนะมะหา เถรัสสะ นะโมธัมมัสสะ กัจจายะนะหาเถรัสสะ นะโมสังฆัสสะ กัจจายะนะมะหาเถรัสสะ สุขาสุขะวะรังธัมมัง ธัมมะจักกัง ปะวะรัง นิฎฐิตัง ฯ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    คำบูชาขอลาภพระสังกัจจายน์<O:p</O:p
    นโม ๓ จบ<O:p</O:p

    กัจจายะนะมะหาเถโร เทวะตานะระปูชิโต โสระโห ปัจจะยาทิมหิ มะหาลาภัง ภะวันตุ เม ลาเภนะ อุตะโมโหติ โสระโหปัจจะยาทิมหิ มะหาลาภัง สัพพะลาภา สะทาโสตถิ ภะวันตุ เม ฯ<O:p</O:p
    <O:p</O:p


    คำบูชาพระภควัม ( ภควัมบดี หรือ พระปิตตา )<O:p</O:p

    ธัมมะจักกัง ปะทังสุตตะวา พุชฌิตตะวา อัตตังปะทัง สันติเก อะระหาโลเก โลกานัง หิตะการะนา ภันเตควันปิติ นามะตี สุโลเก สุปากะโต พรหมะปุตโต มหาเถโร อะระหะโต เชฏฐะโก มุนินัตถิ เถโร สะโมอินทะ คันธัพพา อะสุรา เทวา สักโก พรหมาภิ ปูชิโต นะโมพุทธัสสะ ควัมปะติสะ นะโมธัมมัสสะ ควัมปะติสะ นะโมสังฆัสสะ ควัมปะติสะ สุขา สุขะวะรัง ธัมมัง ธัมมะ จักกัง ปะวะรัง นัฏฐิตัง ฯ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    คำบูชาหลวงปู่ทวด วัดช้างไห้ จ.ปัตตานี<O:p</O:p
    นโม ๓ จบ
    นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา ( ๓ จบ )<O:p</O:p

    ให้บูชาท่านด้วยธูปแขก ๙ ดอก มะลิขาว ๙ ดอก แล้วจึงสวดขอบารมีต่าง ๆ <O:p</O:p


    คาถาพระพุทธเจ้าชนะมาร พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต<O:p</O:p
    วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร<O:p</O:p

    นโม ๓ จบ<O:p</O:p

    ปัญจะ มาเร ชิโน นาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จะตุสัจจัง ปะกาเสติ ธัมมะจักกัง ปะวัตตะยิ เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เม ชะยะมังคะลัง ฯ<O:p</O:p
    <O:p</O:p


    สัพพสิทธิคาถา พระภิกษุพระยานรรัตนราชมานิต<O:p</O:p
    วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพ ฯ<O:p</O:p

    @ อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ อุตตะมัง ธัมมะมัชฌะคา มหาสังฆัง ปะโพเธสิ อิจเจตัง ระตะนัตตะยัง เอตัสสะอานุภาเวนะ กะตะปุญญัสสะ เจตะสา สัพพะโรคะ วินิมุตโต สัพพะสันตา ปะวัฑฒิโฒ สัพพะเวระมะติก กันโต ยถาทีโป จะนิพพุโต นิพพุโต จะตุวัง ภะวะ ชะยะสิทธิ ธะนังลาภัง โสตถิ ภาคคะยัง สุขัง พะลัง สิริอายุจะ วัญโณจะ โภคังวุฑฒี จะยะ สะวา สะตะวัสสาจะ อายุจะ ชีวะสิทธี ภะวันตุ เต <O:p</O:p

    ( สวดให้ตนเอง เปลี่ยนจาก เต เป็น เม )<O:p</O:p

    @ โส อัทธะลัทโท สุขิโต วิรุฬโห พุทธะสาสะเน อะโรโค สุขิโต โหหิ สะหะ สัพเพหิ ญาติภิ สา อัทธะลัทธา สุขิตา วิรุฬหา พุทธะสาสะเน อะโรคา สุขิตา โหหิ สะหะ สัพเพหิ ญาติภิ เต อัทธะลัทธา สุขิตา วิรุฬหา พุทธะสาสะเน อะโรคา สุขิตา โหถะ สะหะ สัพเพหิ ญาติภิ ยะถาวาริวะหา ปูรา ปะริปูเรนติ สาคะรัง เอวะเมวะ อิโตทินนัง เปตานังอุปะกัปปะติ อิจฉิตัง ปัตถิตัง ตุมหัง ขิปปะเมวะ สะมิชณะตุ สัพเพ ปูเรนตุ สังกัปปา จันโท ปัณณาระโสยะถา มะณีโชติระโสยะถา สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ มาเต ภะวะ วันตะรา โย สุขี ทีฆายุโก ภะวะ อะภิวาทะนะสีลิสสะ นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ อายุวัณโณ สุขัง พะลัง ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะพุทธา สัพพะธัมมา สัพพะ สังฆานุภาเวนะ สทาโสตถิ ภะวัน ตุ เต <O:p</O:p

    ( สวดให้ตนเอง เปลี่ยนจาก เต เป็น เม )<O:p</O:p

    พระเมตตา พระมหาเสน่ห์ พระมหานิยม อุดมลาภ พระมหาลาภ พระมหาอุด อยู่ยงคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด อุปัทอันตราย หายตัวได้<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    @ สิทธะมัตถุ สิทธะมัตถุ สิทธะมัตถุ อิทังพะลัง เอตัสสมิง ระตะนัตตะยัสสมิง สัมปะสาทะนะ เจตะโส<O:p</O:p
    ผลแห่งจิตอันเลื่อมใสในคุณพระรัตนตรัย จงห่างไกลโรคาพาธ ผ่านพ้นอุปสรรค แคล้วคลาดอุปัทวันตราย หายตัวได้ ศัตรูหมู่ร้ายเปลี่ยนแปลงกลับใจมาเคารพรักภักดี กลับร้ายมาเป็นดี กลับใจมาเป็นมิตรไม่คิดร้าย กลับช่วยขวนขวายให้สำเร็จประโยชน์กิจ ทั้งทิฎฐธรรมสัมปรายภพ และปรมัตถ์ประโยชน์ ชาตินี้ชาติหน้า และพ้นจากสังสารวัฏฏ์ชาติทุกข์ ประสพโชคดีมีความสุขความเจริญ ก้าวหน้าทั้งทางโลกทางธรรม พร้อมทั้งโลกสมบัติและโลกุตรสมบัติ มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ ประสพสุขสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลพูลผลชนมาสุขทุกประการ เจริญยิ่งๆด้วย อายุวรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ ถึงพร้อมเต็มเปี่ยมบริบูรณ์ สมบูรณ์ด้วยอิฏฐารมภ์ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข สิริ โภคะ ธนะ คุณสารสมบัติทุกประการ ประสงค์ใดจงสำเร็จ สมประสงค์ ทุกประการทั่วกัน เทอญ ฯ <O:p</O:p
    (จาก อนุสรณ์พระราชทานเพลิงศพ เจ้าคุณนรฯ วันอังคารที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๕ )

    <O:p</O:p

    คำบูชาหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร<O:p</O:p
    นโม ๓ จบ<O:p</O:p

    อะกะ อะธิ อะธิ อะกะ ธิอะ กะอะ<O:p</O:p

    วันทามิ อาจาริยัญจะ หิรัญญะ นามะกัง ถิรัง สิทธิ ทันตัง มหาเตชัง อิทธิ มันตัง วะสาทะรัง ( สิทธิ พุทธัง กิจจัง มะมะ ผู้คนไหลมา นะชาลี ติ สิทธิ ธัมมัง จิตตัง มะมะ ข้าวของไหลมา นะชาลี ติ สิทธิ สังฆัง จิตตัง มะมะ เงินทองไหลมา นะชาลี ติ ฉิมพลี จะ มหาลาภัง ภะวันตุ เม )<O:p</O:p
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    สำหรับคุณ thongchat ผมจะจัดส่งพระสมเด็จเนื้อจูซาอั้ง 1 องค์และสมเด็จเนื้อปัญจสิริ 1 องค์ให้นะครับ ผมขอชื่อ - นามสกุล และที่อยู่ด้วยครับ

    โมทนาสาธุครับ

    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มีนาคม 2007
  8. ไอ้ใบ้

    ไอ้ใบ้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 เมษายน 2005
    โพสต์:
    2,254
    ค่าพลัง:
    +7,241
    เรียนคุณสิทธิพงศ์

    วันนี้โอนเงินบริจาค สนส.บ่อเงินบ่อทองไม่ทันค่ะ คนที่ธนาคารหยั่งกับหนอน อ้อยรอคิวไม่ไหวเดี๋ยวทำงานไม่ทัน พรุ่งนี้แล้วกันค่ะ:cool:
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948

    ไม่มีปัญหาครับ โมทนาสาธุครับ

    .
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948

    วันพรุ่งนี้ ผมจะจัดส่งพระพิมพ์ให้ครับ

    โมทนาสาธุครับ

    .
     
  11. teerachaik

    teerachaik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +435
    ผมเริ่มสนใจและนับถือบูชาหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรจาก website ที่นี้ หลังจากได้อ่านเรื่องราว ไม่ทราบยังทราบหมดหรือยัง ครับ.
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948

    จากประวัติของหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรทั้ง 5 พระองค์ที่ได้ลงนั้น เป็นการอธิบายของท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร ที่ท่านอาจารย์ประถม อาจสาครได้พบได้เจอกับหลวงปู่ทั้ง 5 พระองค์ ซึ่งเป็นการอธิบายว่าหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรคือใครบ้าง แต่ในเรื่องอื่นๆนั้น ผมเองไม่ได้นำมาลงเพราะว่าเยอะมาก พิมพ์ไม่ไหวครับ แต่ทางคณะผมจะมีการจัดทำหนังสือประวัติหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรกันอยู่ หนังสือเล่มนี้ไม่มีการวางขายตามท้องตลาดครับ

    .
     
  13. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    เป็นหนังสือที่อ่านสนุกครับ ทำให้รู้ที่มาที่ไปความเป็นมาของหลวงปู่บรมครูทั้ง 5 พระองค์ แต่เดิมคนทั่วไปจะเข้าใจว่ามีเพียงองค์เดียว คือ องค์ที่ 3 หลวงปู่อิเกสาโร หรืออีกหลายพระนาม ในเล่มนี้ จะทราบว่าท่านมีศิษย์ในดง และนอกดงเป็นผู้ใดกันบ้าง เท่าที่ก่อนพบเรื่องราวของหลวงปู่ทั้ง 5 พระองค์ ผมไม่ทราบจะไปหาอ่านที่ไหนดี? แบบรู้หมดไม่ต้องหาอ่านแบบขยักๆ รู้จริงบ้างไม่จริงบ้าง เสียเวลาไปมากกว่าจะพบของจริงครับ...

    เรื่องหนังสือวิเคราะห์พระพิมพ์ของอจ.ประถมนั้น ต้องขอกล่าวคำว่าเป็นความโชคดี และเป็นวาสนาสำหรับ"คุณอ้อย ขุนท้าว"ครับที่ได้รับหนังสือเล่มนี้เป็นท่านสุดท้าย(ขนาดคุณหนุ่มตื้อแบบสุดๆแล้วครับ) ที่เหลืออีก 6-7 เล่มท่านบริจาคให้หอสมุดแห่งชาติทั้งหมดแล้วครับ และได้รับคำยืนยันจากท่านอจ.ว่าไม่มีการพิมพ์เพิ่มอีกแต่ประการใด ต่อไปพระพิมพ์วังหน้า และเจ้าคุณกรมท่าจะหายากขึ้น เพราะ ตำราไม่มีให้ดูในท้องตลาดแล้วครับ(ปกติก็ไม่มีอยู่แล้ว) ต่อไปคนที่รู้จริงนอกจากศิษย์วงในแล้ว ก็ไม่ทราบจริงๆครับว่า ท่านใดจะเป็นผู้ที่ให้ข้อเท็จจริงได้กระจ่างบ้างแบบไม่ใช่พุทธพาณิชย์ครับ...
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    พระคาถาแก้วสารพัดนึก พระราชสังวราภิมณฑ์
    ( หลวงปู่โต๊ะ อินทสุวณโณ )<O:p</O:p

    วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ<O:p</O:p

    นโม ๓ จบ<O:p</O:p

    พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ<O:p</O:p

    นะโม เม สัพพะพุทธานัง อุปปันนานัง มะเหสินัง ตัณหังกะโร มะหาวีโร เมธังกะโร มะหายะโส สะระณังกะโร โลกะหิโต ทีปังกะโร ชุตินธะโร โกณฑัญโญ ชะนะปาโมกโข มังคะโล ปุริสาสะโภ สุมะโน สุมะโน ธีโร เรวะโต ระติวัฑฒะโน โสภิโต คุณะสัมปันโน อะโนมะทัสสี ชะนุตตะโม ปะทุโม โลกะปัชโชโต นาระโท วะระ สาระถี ปะทุมุตตะโร สัตตะสาโร สุเมโธ อัปปะฏิปุคคะโล สุชาโต สัพพะโล กัคโค ปิยะทัสสี นะราสะโภ อัตถะทัสสี การุณิโก ธัมมะทัสสี ตะโมนุโท สิทธัตโถ อะสะโม โลเก ติสโส จะ วะทะตัง วะโร ปุสโส จะ วะระโท พุทโธ วิปัสสี จะ อะนูปะโม สิขี สัพพะหิโต สัตถา เวสสะภู สุขะทายะโก กะกุสันโธ สัตถะวาโห โกนาคะมะโน ระณัญชะโห กัสสะโป สิริสัมปันโน โคตะโม สักยะปุงคะโว <O:p</O:p
    * พุทโธ สัพพัญญุตะญาโณ มหาชนา นุกัมปะโก ธัมโม โลกุตตะโร วะโร สังโฆ มัคคะผะลัฏโฐ จะ<O:p</O:p
    ** อินทะสุวัณณะ เถโร จะ อิจเจตัง ระตะนัตตะยัง เอตัสสะ อานุภาเวนะ สัพพะทุกขา อุปัททะวา อันตะรายา จะ นัสสันตุ ปุญญะลาภะ มะหาเตโช สิทธิกิจจัง สิทธิลาโภ สัพพะโสตถี ภะวันตุ เม ติ<O:p</O:p
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    พระคาถาเมตตาหลวง (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)<O:p</O:p

    พระญาณสิทธาจารย์
    วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม ต.กลางดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา<O:p</O:p

    วิธีการสวด<O:p</O:p

    ให้ไหว้พระ อรหัง สัมมาสัมพพุทโธ , นโม ๓ จบ , พุทธัง ฯลฯ เป็นคำเริ่มต้นก่อน<O:p</O:p

    <O:p</O:p

    คำสวดให้เมตตาตน<O:p</O:p

    อะหัง สุขิโต โหมิ, นิททุกโข โหมิ, อะเวโร โหมิ, อัพพะยาปัชโฌ โหมิ, อะนีโฆ โหมิ, สุขี อัตตานัง ปริหะรามิ,<O:p</O:p

    .คำสวดแผ่เมตตา (ย่อ)<O:p</O:p

    .สัพเพ สัตตา อะเวรา อัพพะยาปัชณา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ<O:p</O:p
    .สัพเพ ปาณา อะเวรา อัพพะยาปัชณา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ<O:p</O:p
    .สัพเพ ภูตา อะเวรา อัพพะยาปัชณา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ <O:p</O:p
    .สัพเพ ปุคคะลา อะเวรา อัพพะยาปัชณา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ<O:p</O:p
    .สัพเพ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพพะยาปัชณา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ<O:p</O:p
    .สัพพา อิตถิโย อะเวรา อัพพะยาปัชณา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ<O:p</O:p
    .สัพเพ ปุริสา อะเวรา อัพพะยาปัชณา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ<O:p</O:p
    .สัพเพ อะริยา อะเวรา อัพพะยาปัชณา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ<O:p</O:p
    .สัพเพ อะนะริยา อะเวรา อัพพะยาปัชณา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ<O:p</O:p
    ๑๐.สัพเพ เทวา อะเวรา อัพพะยาปัชณา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ<O:p</O:p
    ๑๑.สัพเพ มนุสสา อะเวรา อัพพะยาปัชณา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ<O:p</O:p
    ๑๒.สัพเพ วินิปาติกา อะเวรา อัพพะยาปัชณา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ<O:p</O:p

    <O:p</O:p

    .คำสวดแผ่กรุณา (ย่อ)<O:p</O:p

    .สัพเพ สัตตา สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ <O:p</O:p
    .สัพเพ ปาณา สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ<O:p</O:p
    .สัพเพ ภูตา สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ <O:p</O:p
    .สัพเพ ปุคคะลา สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ <O:p</O:p
    .สัพเพ อัตตะภาวะปะริยาปันนา สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ<O:p</O:p
    .สัพพา อิตถิโย สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ<O:p</O:p
    .สัพเพ ปุริสา สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ<O:p</O:p
    .สัพเพ อะริยา สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ<O:p</O:p
    .สัพเพ อะนะริยา สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ<O:p</O:p
    ๑๐.สัพเพ เทวา สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ<O:p</O:p
    ๑๑.สัพเพ มนุสสา สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ<O:p</O:p
    ๑๒.สัพเพ วินิปาติกา สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ<O:p</O:p
    <O:p</O:p


    .คำสวดแผ่มุทิตา (ย่อ)<O:p</O:p

    .สัพเพ สัตตา ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ<O:p</O:p
    .สัพเพ ปาณา ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ<O:p</O:p
    .สัพเพ ภูตา ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ<O:p</O:p
    .สัพเพ ปุคคะลา ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ<O:p</O:p
    .สัพเพ อัตตะภาวะปะริยาปันนา ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ<O:p</O:p
    .สัพพา อิตถิโย ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ<O:p</O:p
    .สัพเพ ปุริสา ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ<O:p</O:p
    .สัพเพ อะริยา ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ<O:p</O:p
    .สัพเพ อะนะริยา ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ<O:p</O:p
    ๑๐.สัพเพ เทวา ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ<O:p</O:p
    ๑๑.สัพเพ มนุสสา ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ<O:p</O:p
    ๑๒.สัพเพ วินิปาติกา ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ<O:p</O:p
    <O:p</O:p


    .คำสวดแผ่อุเบกขา (ย่อ)<O:p</O:p

    .สัพเพ สัตตา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะ พันธุ กัมมะปะฏิสะระณา ยัง, กัมมัง , กะริสสันติ กัลละยาณัง วา ปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    .สัพเพ ปาณา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะ พันธุ กัมมะปะฏิสะระณา ยัง, กัมมัง , กะริสสันติ กัลละยาณัง วา ปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    .สัพเพ ภูตา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะ พันธุ กัมมะปะฏิสะระณา ยัง, กัมมัง , กะริสสันติ กัลละยาณัง วา ปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    .สัพเพ ปุคคะลา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะ พันธุ กัมมะปะฏิสะระณา ยัง, กัมมัง , กะริสสันติ กัลละยาณัง วา ปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    .สัพเพ อัตตะภาวะปะริยาปันนา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะ พันธุ กัมมะปะฏิสะระณา ยัง, กัมมัง , กะริสสันติ กัลละยาณัง วา ปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    .สัพพา อิตถิโย กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะ พันธุ กัมมะปะฏิสะระณา ยัง, กัมมัง , กะริสสันติ กัลละยาณัง วา ปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    .สัพเพ ปุริสา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะ พันธุ กัมมะปะฏิสะระณา ยัง, กัมมัง , กะริสสันติ กัลละยาณัง วา ปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    .สัพเพ อะริยา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะ พันธุ กัมมะปะฏิสะระณา ยัง, กัมมัง , กะริสสันติ กัลละยาณัง วา ปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    .สัพเพ อะนะริยา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะ พันธุ กัมมะปะฏิสะระณา ยัง, กัมมัง , กะริสสันติ กัลละยาณัง วา ปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ๑๐.สัพเพ เทวา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะ พันธุ กัมมะปะฏิสะระณา ยัง, กัมมัง , กะริสสันติ กัลละยาณัง วา ปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ๑๑.สัพเพ มนุสสา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะ พันธุ กัมมะปะฏิสะระณา ยัง, กัมมัง , กะริสสันติ กัลละยาณัง วา ปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ๑๒.สัพเพ วินิปาติกา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะ พันธุ กัมมะปะฏิสะระณา ยัง, กัมมัง , กะริสสันติ กัลละยาณัง วา ปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    อานิสงส์เมตตาพระท่านบอกไว้ว่า สุขัง สุปติ หลับตื่นชื่นตา เสวยสุขอนันต์ ไมฝันลามกร้ายกาจ ปีศาจมนุษย์ชื่นชมหฤหรรษ์ เทวาทุกชั้นช่วยชูรักษา หอก ดาบ ยาพิษ ไฟลุก เข้ามา ครั้นถึงองค์พระโยคาย้อนกลับยับเป็นผง ใจร้ายใจบาปสันดานชั่วหยาบ ระงับดับลงด้วยพรหมวิหารา องค์พระโยคาสุกใส ใครเป็นพิศวง เมื่อตายไปไม่หลงเหมือนคนสามานย์ ส่งผลถึงอัครฐานตราบเท่านิพพานแล<O:p</O:p
     
  17. teerachaik

    teerachaik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +435
    เรียนคุณ sithiphong
    ผมสนใจ พิมพ์สมเด็จกรมเจ้าคุณท่าคะแนนร้อย และพิมพ์ วังหน้า
    ไม่ทราบยังมีอยู่หรือเปล่าครับ
    คุณพ่อท่านสนใจเรื่องพระอยากให้ท่านดูครับ
    ผมจะบริจาคให้กับ วัดพระพุทธบาท จำนวน 3000 บาท
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ปัจจุบันนี้ ผมมอบพระให้กับผู้ร่วมทำบุญใน 2 กระทู้นี้ครับ
    คือ

    1.เชิญร่วมบริจาคค่าขุดบ่อบาดาล สนส บ่อเงินบ่อทอง
    บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 2030-06304-5 ชื่อบัญชี รร.พระปริยัติธรรมบ่อเงินบ่อทอง ปริยัติศึกษา บมจ.ธ.กรุงไทย สาขาพนมสารคาม

    2.ขอเชิญร่วมสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ณ สำนักสงฆ์ผาผึ้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ บมจ.ธนาคารกรุงไทย สาขาลาดพร้าว 102 บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 189-0-13128-8 ชื่อบัญชี นางพิชญ์สินี ชาญปารีชญา ,นายอุเทน งามศิริ ,นายสิรเชษฏ์ ลีละสุนทเลิศ

    รายละเอียดอยู่ทั้ง 2 กระทู้ครับ

    โมทนาสาธุครับ
    .
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ผมได้ส่งพระพิมพ์ให้แล้วครับ เมื่อเวลา 10.02 น. หากได้รับพระพิมพ์แล้ว ผมขอความกรุณาช่วยแจ้งให้ทราบด้วยครับ

    ขอบคุณและโมทนาสาธุครับ

    .
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 5 คน ( เป็นสมาชิก 5 คน และ บุคคลทั่วไป 0 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"></TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>sithiphong, littlelucky, nemesis_2523, vichian, wichitt </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ขอให้มีความสุขกับการอ่านนะครับ บทสวดบทไหนชอบสามารถนำไปใช้ได้เลยครับ

    โมทนาสาธุครับ
    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...