พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.dhammajak.net/book/dhamma1/index.php

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    ธรรมะฉบับเรียนลัด
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle>
    โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ​
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE borderColor=#f7f7f7 cellSpacing=0 width="80%" align=center border=1><TBODY><TR><TD vAlign=top borderColor=#ffffff align=middle height=2><TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width="100%" border=0><TBODY><TR align=middle bgColor=#99cc00><TD colSpan=2>สารบัญ</TD></TR><TR bgColor=#eeeeee><TD width="50%">[​IMG] เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม </TD><TD>ภาคผนวก </TD></TR><TR bgColor=#fffeee><TD>[​IMG] ปฏิบัติธรรม คืออย่างไร</TD><TD>[​IMG] หลักพุทธธรรมเพื่อการปฏิบัติธรรม </TD></TR><TR bgColor=#eeeeee><TD>[​IMG] หลักการทั่วไปของการปฏิบัติธรรม ชุดที่ ๑</TD><TD>[​IMG] ปฏิบัติธรรม วัดผลอย่างไร </TD></TR><TR bgColor=#fffeee><TD width="50%">[​IMG] หลักการทั่วไปของการปฏิบัติธรรม ชุดที่ ๒</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD> มนุษย์ทุกคนต้องการชีวิตที่ดีและมีความสุขที่แท้จริง และเราก็ดำเนินชีวิตเพียรพยายามทำทุกอย่างเพื่อหาสิ่งนี้ แต่แล้วมนุษย์ก็ประสบปัญหากันอยู่อย่างนี้แหละ เพราะเพียรพยายามไปโดยไม่รู้ไม่เข้าใจว่าชีวิตที่ดีและความสุขที่แท้จริงนั้นคืออะไร ขอรวบรัดว่า หลักในการสร้างชีวิตที่ดีและมีความสุขนี้ไม่มีอะไรมาก ก็คือการเข้าถึงธรรมนั่นเอง เป็นอันเดียวกัน เมื่อใดเราเข้าถึงชีวิตที่ดีมีความสุขที่แท้จริง ก็คือ เข้าถึงธรรม พูดสั้นๆ ว่า เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม เมื่อพูดอย่างนี้แล้วทุกท่านจะได้ไม่หนักใจ คือ จะได้เห็นการก้าวเข้าไปหาธรรม เป็นเรื่องที่ตรงกับจุดหมายของชีวิตของเราอยู่แล้ว
    ถ้าหากท่านใดยืนยันกับตัวเองได้ว่า ฉันเข้าถึงชีวิตที่ดีมีความสุขแท้จริงแล้ว ถ้าท่านยืนยันได้อย่างนั้น ท่านก็บอกกับตัวเองได้เลยว่า ข้าพเจ้าเข้าถึงธรรมแล้ว แต่ท่านจะยืนยันได้หรือเปล่า ถ้าท่านยืนยันไม่ได้ก็ต้องบอกว่า ฉันยังต้องพยายามเข้าถึงชีวิตที่ดีมีความสุขต่อไป นั่นก็คือ ฉันจะต้องเข้าถึงธรรมต่อไป สองอย่างนี้เป็นอันเดียวกัน คือ เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม และเมื่อถึงธรรมก็สุขแท้ พระพุทธศาสนาก็ได้บอกแล้วว่า การเข้าถึงชีวิตที่ดีมีความสุข หรือการเข้าถึงธรรมนั้นมีให้เราเข้าถึงได้อยู่แล้วเป็นขั้นๆ หลายขั้น ซึ่งจัดรวมได้เป็น ๓ ขั้น คือ
    ๑. ขั้นกามอามิส ได้แก่ ชีวิตที่วุ่นวายหรือวนเวียนอยู่กับการหารูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งสัมผัสกาย ที่สวยงาม ไพเราะ หอมหวาน ซู่ซ่า เอร็ดอร่อย มาเสพบริโภคบำรุงบำเรอ ตา หู จมูก ลิ้น และร่างกาย เป็นสุขสนุกสนานเพลิดเพลินอยู่กับสิ่งเหล่านั้น ชีวิตและความสุขขั้นนี้แบ่งซอยออกไปได้เป็น ๒ ระดับ คือ
    ก.) ระดับที่ไร้การศึกษาหรือยังไม่พัฒนา การบำรุงบำเรอตา หู จมูก ลิ้น กาย ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสเนื้อหนังนั้น เป็นเรื่องที่แต่ละคนทำให้แก่ตัวเองและเมื่อหาไป เสพไป ก็ไม่รู้จักอิ่มไม่รู้จักพอ จึงต้องหามาเสพให้มากที่สุด และหามาเติมเรื่อยไป
    สิ่งเสพนั้นอยู่นอกตัวซึ่งจะต้องหาเอามา ความสุขขั้นกามจึงเป็นความสุขจากการได้การเอา เมื่อทุกคนต่างก็หาให้แก่ตัวให้ได้มากที่สุดและให้ยิ่งขึ้นไป ก็ต้องแย่งชิงเบียดเบียนข่มเหงเอารัดเอาเปรียบ ตลอดจนทำลายกัน จนกลายเป็นว่าทุกคนแย่งกันเอา จนอดไปด้วยกันหรือคนที่แข็งแรงกว่าได้เต็มที่เพียงสองสามคน แต่คนอื่นอดแย่ไปหมด รวมแล้วมนุษย์ก็อยู่กันอย่างไม่มีความสงบสุข ชีวิตและความสงบสุขของคนในขั้นกามระดับที่ยังไม่พัฒนานี้ ว่าโดยคุณภาพไม่แตกต่างจากสัตว์ทั้งหลายที่คนดูถูกว่าเป็นชั้นต่ำ เพราะมนุษย์มีมือ สมอง และอุปกรณ์ที่จะใช้แย่งชิงและทำลายกันได้หนักหนากว่า
    ข.) ระดับที่เข้าสู่การศึกษา หรือเริ่มมีการพัฒนา ถึงแม้ว่าแต่ละคนจะแสวงหาทรัพย์สินเงินทอง และยศศักดิ์ ฐานะ ตำแหน่งกันไป เพื่อจะได้มีสิ่งเสพบริโภคและมีโอกาสเสพบริโภคได้มากๆ ท่านก็ไม่ว่า แต่ขอให้มีเครื่องยับยั้งหรืออยู่ในขอบเขตที่จะไม่ก่อปัญหาแก่ชีวิตและสังคมมากเกินไป และให้รู้จักพัฒนาชีวิตขึ้นสู่ขั้นที่สูงขึ้นไปอีก เพื่อจะได้สร้างสรรค์ประโยชน์สุขแก่ชีวิตและสังคมให้มากขึ้น
    เครื่องยับยั้งหรือขอบเขตที่ว่านั้น ก็คือ ศีล โดยเฉพาะในขั้นพื้นฐาน ก็คือ ศีล ๕ ซึ่งอาจจะมาในรูปของกฎหมาย และกติกาสังคมอย่างอื่นๆ ศีลนั้นจะเป็นเครื่องยังยั้ง และเป็นกรอบกั้นทำให้การแสวงหากามอยู่ในขอบเขตที่จะไม่แย่งชิงเบียดเบียนกันเกินไป ทำให้มนุษย์พออยู่กันไปได้ ทำให้สังคมพอมีสันติสุขบ้าง อย่างน้อยแต่ละคนก็พอจะได้พอจะมีวัตถุมาบำรุงความสุขของตัวบ้าง ต่างคนก็มีโอกาสเสวยสุขจากสิ่งบำเรอประสาททั้ง ๕ กันได้ตามสมควร
    ในระดับนี้ ท่านให้เอาทาน มาช่วยเสริมความมั่นคงปลอดภัยและความสงบสุขของสังคม โดยให้มนุษย์รู้จักให้แก่กัน มีการแบ่งปัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เฉลี่ยรายได้ ช่วยเหลือผู้ตกทุกข์หรือยากไร้ พอมีศีลเป็นฐาน และมีทานมาเสริม มนุษย์ก็อยู่ร่วมกันได้ดีขึ้น มีการเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน สังคมมีสันติสุขพอสมควร เมื่อมนุษย์พัฒนามาถึงขั้นนี้ ซึ่งทำให้มีโอกาสได้รับความสุขจากกามามิสที่สนุกสนานหวานอร่อยทั่วๆ กันแล้ว ก็น่าจะเป็นชีวิตและสังคมที่สมบูรณ์ แต่ความจริงไม่เป็นอย่างนั้น เพราะกามอามิสนอกจากหากันเสพกันไม่รู้จักอิ่มไม่รู้จักพอ ซึ่งทำให้เบียดเบียนกดขี่ข่มเหงกันแล้ว ยังมีจุดอ่อนที่ทำให้เกิดปัญหาอย่างอื่นอีก
    ความสุขจากกามอามิสหรือกามามิสนั้น ต้องอาศัยสิ่งที่อยู่นอกตัว เช่น วัตถุบริโภคต่างๆ จึงเป็นความสุขแบบพึ่งพาขึ้นต่อภายนอก ไม่เป็นอิสระแก่ตัว นอกจากนั้นทั้งสิ่งเสพที่อยู่ข้างนอกเหล่านั้น และตัวเราคือคนที่เสพเอง ต่างก็ตกอยู่ภายใต้กฎธรรมชาติแห่งความไม่เที่ยงเปลี่ยนแปลง มีการเกิดดับเสื่อมสลาย
    เมื่อจุดอ่อนเหล่านี้มาบวกเข้ากับลักษณะที่แสวงหา และเสพไม่รู้จักอิ่มไม่รู้จักพอก็ทำให้เกิดปัญหาเพิ่มขึ้นอีก ถึงแม้จะผ่อนเบาปัญหาจากการเบียดเบียนกันลงไปได้แล้ว ก็ยังเจอกับปัญหาของชีวิตจิตใจ ที่พ่วงเอาอาการของความทุกข์เข้ามาแฝงไว้กับความสุขในการเสพกามอามิส เช่น ความหวาดที่มาคู่กับความหวัง ความห่วงหวงระแวงหวั่นใจที่ซ่อนตัวซ้อนอยู่ในการได้ครอบครอง ความชินชาเบื้อหน่ายที่ตามติดมาต่อจากการได้เสพสมปรารถนา การตกเป็นทาสหมดอำนาจในตัวเมื่อหลงใหลเมามัว ความรันทดเมื่ออดหรือหมดหวังและความโศกเศร้าเหี่ยวแห้งใจ เมื่อต้องการสูญเสียหรือพลัดพรากจากไป
    แม้แต่ที่ประพฤติอยู่ในศีล รักษาระเบียบวินัย และทำทานให้ปัน ก็เป็นการฝืนใจ ทำด้วยความจำใจ เพราะการมีศีลทำให้หาและเสพไม่ได้เต็มที่ตามใจอยาก ทานก็ทำให้ต้องเสียสละ เกิดความเสียดาย เพราะฉะนั้น ท่านจึงบอกว่า แค่นี้ยังไม่พอนะ เธอเป็นมนุษย์มีศักยภาพที่จะพัฒนาตัวได้อีก ถ้าพัฒนาเพียงแค่นี้ ยังหนีทุกข์ไม่พ้นหรอก ยังจะเจอทั้งทุกข์นอกและทุกข์ใน เพราะเป็นสุขที่ตั้งอยู่บนสิ่งที่เป็นทุกข์ ฐานมันไม่มั่น ฉะนั้น เราจะต้องพัฒนาชีวิตต่อไป
    มนุษย์ที่มีการศึกษา (ในความหมายที่ถูกต้อง) จึงก้าวต่อไปสู่การพัฒนาในขั้นจิต และขั้นแห่งอิสระภาพด้วยปัญญาและเอาผลจากการพัฒนาในขั้นของจิตใจ และปัญญานั้นมาช่วยแก้ปัญหาของชีวิตในขั้นกามอามิส ทำให้การปฏิบัติต่อกามอามิสเกิดโทษทุกข์ภัยน้อยที่สุดและได้ประโยชน์มากที่สุด พร้อมทั้งมีความสุขในขั้นที่สูงขึ้นไปมาเสริมเพิ่มขึ้นอีกด้วย
    ๒. ขั้นจิตวัฒนะ พอพัฒนาจิตใจให้มีคุณธรรมเกิดมีเมตตาหรือกรุณาขึ้น ก็มีความรักความปรารถนาดีต่อผู้อื่น อยากให้เขามีความสุข แล้วก็อยากทำให้เขามีความสุข ก็เลยให้ สละ แบ่งปันช่วยเขา เมื่อเห็นเขามีความสุข ตัวเองก็มีความสุขด้วย การให้หรือ ทาน แทนที่จะเกิดความเสียดาย ก็กลายเป็นความสุข ก่อนนี้รู้จักแต่ความสุขจากการได้และเอา แต่เดี๋ยวนี้มีความสุขอย่างใหม่เกิดเพิ่มขึ้น คือ ความสุขจากการให้และการสละ การให้หรือเสียกลายเป็นความสุขไปได้ ในเมื่อจิตใจได้พัฒนาเปลี่ยนไป
    จากการพัฒนาจิตเช่นเดียวกัน เกิดมีศรัทธา เชื่อมั่นในสิ่งที่ดีงาม ในการสร้างสรรค์ทำสิ่งที่ดีงาม ก็เอาเงินทองออกมาให้ สละบำเพ็ญประโยชน์ แล้วก็มีความสุขสบายเอิบอิ่มปลาบปลื้มใจ จากการให้หรือเสียสละนั้น ก่อนนี้เคยมองทรัพย์สินเงินทองและยศศักดิ์ตำแหน่งฐานะตลอดจนอำนาจ เห็นความหมายเพียงว่าเป็นเครื่องมือและช่องทางที่จะแสวงหากามอามิสหรือสิ่งเสพต่างๆ มาบำรุงบำเรอตนเองให้มากมายเต็มที่ที่สุดแต่พอได้พัฒนาจิตปัญญาขึ้นบ้างแล้ว ก็มองเห็นความหมายใหม่ว่า ทรัพย์สินเงินทองและยศศักดิ์อำนาจเป็นเครื่องมือขยายโอกาสให้สามารถสร้างสรรค์ความดีงาม และประโยชน์สุขได้กว้างขวางและสำเร็จผลได้ดียิ่งขึ้น
    ถึงจะมีความคิดสร้างสรรค์ดีๆ แต่ขาดทรัพย์ยศ บริวาร ความคิดนั้น ก็ไม่สัมฤทธิ์ผลหรือทำได้เพียงในวงแคบ แต่พอมีทรัพย์ มีอำนาจ มีบริวาร ความคิดที่ดีๆ ก็ออกผล เป็นประโยชน์แผ่ออกไปมากมายกว้างไกล ตอนนี้ทรัพย์และอำนาจที่เคยเป็นเครื่องมือรับใช้ตัณหาหรือความเห็นแก่ตัว ก็กลายมาเป็นอุปกรณ์ของธรรม
    คนที่ยังไม่พัฒนาหรือมีการศึกษาที่ผิด เข้าใจว่าการที่มนุษย์สามารถสร้างสรรค์เทคโนโลยี ประดิษฐ์วัตถุมาเสพบำรุงบำเรอความสุขได้มากที่สุดนั่นแหละ คือ สภาพของสังคมที่พัฒนาแล้ว หรือการมีอารยธรรมอย่างสูง คือสภาพของสังคมที่พัฒนาแล้ว หรือการมีอารยธรรมอย่างสูง แต่เมื่อมีการศึกษาที่ถูกต้องได้พัฒนาตนขึ้นบ้างแล้ว ก็จึงเข้าใจว่าอาการอย่างนั้นหาใช่เป็นลักษณะของอารยธรรม หรือการได้พัฒนาแล้วแต่อย่างใดไม่ การที่ได้พัฒนาหรือความมีอารยธรรมนั้นอยู่ที่การเปลี่ยนแปลงในตัวมนุษย์ ที่ทำให้เขาจัดการกับเทคโนโลยีเป็นต้นเหล่านั้นอย่างถูกต้องต่างหาก
    การพัฒนาในขั้นจิตวัฒนะจะทำให้คนมีจิตใจที่มีคุณภาพ ประกอบด้วยคุณธรรม เช่นเมตตากรุณา ศรัทธา ความกตัญญูกตเวที เป็นต้น มีสมรรถภาพ เป็นจิตใจที่เข้มแข็งมั่นคง ขยันอดทน มีสติรู้จักรับผิดชอบ และมีสุขภาพ เพราะสงบสบาย ผ่อนคลาย เอิบอิ่ม ผ่องใส สดชื่น เบิกบานมีความสุข
    เพียงแค่ได้การพัฒนาในขั้นจิตปัญญามาช่วยแทรกเสริมบ้าง ก็ยังช่วยให้การหาความสุขในขั้นกามอามิสเป็นไปด้วยดีขึ้นมากมาย ทั้งในส่วนชีวิตของบุคคลและในด้านสันติสุขของสังคม และยังได้ความสุขที่ประณีตสูงขึ้นไป มาเพิ่มคุณค่าให้แก่ชีวิตนั้นอีกด้วย การพัฒนาในขั้นจิตวัฒนะโดยตรง จะทำให้จิตเกิดมีคุณสมบัติที่สำคัญ คือ มีพลังมาก (เหมือนปล่อยน้ำให้ไหลไปในท่อหรือรางเดียวไม่กระจัดกระจาย) ใสกระจ่างเอื้อต่อการใช้ปัญญา (เหมือนน้ำนิ่งสนิทไม่ไหวกระเพื่อม ฝุ่นละอองตกตะกอนจึงใสมองเห็นทุกอย่างในน้ำชัดเจน) และสงบสบายมีความสุข (เพราะไม่มีอะไรรบกวน ไม่ขุ่นมัว ไม่ฟุ้งซ่านร้อนรนกระวนกระวาย)
    จิตที่มีคุณสมบัติอย่างนี้ เรียกว่า เป็นกัมมนีย์ คือเหมาะแก่การใช้งาน พร้อมที่จะปลูกฝังคุณธรรมต่างๆ หรือใช้คิดพิจารณาพัฒนาปัญญา ซึ่งเป็นลักษณะของจิตที่มีสมาธิ การพัฒนาในขั้นจิตใจนี้ จึงมีสมาธิเป็นแกน หรือเป็นตัวแทนเลยทีเดียว
    ถ้ามุ่งหน้าเอาจริงเอาจังกับเรื่องสมาธิ ก็ฝึกสมาธิให้แน่วแน่สนิทลึกลงไปอีก จนถึงขั้นเป็นฌานระดับต่างๆ ซึ่งมีทั้งขั้นที่อยู่กับรูปธรรม (รูปาวจร) และขั้นที่อยู่กับอรูปธรรม (อรูปาวจร) ความสุขในขั้นจิตนี้ ประณีตและบริสุทธิ์ขึ้นไปมาก เพราะไม่มีอาการของความทุกข์แบบที่แฝงมากับการเสพกามอามิส เช่น ความหวาด ระแวง เบื่อหน่าย รันทดใจ เป็นต้น
    แม้จะได้ถึงขั้นนี้ท่านก็บอกว่ายังไม่พออีกนั่นแหละ การที่เราจะอยู่ข้างในกับจิตใจของตัวนั้น มันดื่มด่ำไปได้ลึกล้ำก็จริง แต่อาจจะติดเพลินกับสมาธิและผลพลอยได้ของมัน แล้วกลายเป็นพวกหลีกหนีสังคม ไม่เผชิญหน้าความจริง เป็นการหลบทุกข์พ้นปัญหาไปได้ชั่วคราว พอออกจากสมาธิก็เจอกับสภาพเก่ายังมีความยึดติดถือมั่นและถูกธรรมดาของธรรมชาติบีบคั้นเอาได้ ไม่ได้แก้ปัญหาให้เสร็จสิ้นไป เพราะฉะนั้นจะต้องก้าวต่อไปอีกให้ถึงความสมบูรณ์จบสิ้นปัญหา ให้เป็นสุขโดยไม่มีทุกข์เหลืออยู่ แล้วท่านก็บอกขั้นต่อไปอีก
    ๓. ขั้นอิสระหลุดพ้น หมายถึง ชีวิตที่พ้นหรืออยู่เหนือการที่จะถูกบีบคั้นครอบงำด้วยปัญหาไม่ว่าอย่างใดๆ แม้แต่ความเป็นไปของกฎธรรมชาติแห่งความเปลี่ยนแปลง ไม่เที่ยงแท้และเสื่อมสลาย มีความสุขที่ปลอดโปร่งโล่งเบา ไม่มีเงาของความทุกข์รบกวน เรียกว่าเป็นพุทธะ ที่แปลให้เข้าใจกันง่ายๆ ว่า รู้ตื่น และเบิกบาน
    ผู้ที่มีชีวิตและความสุขถึงขั้นนี้ จะมีคุณสมบัติสำคัญอย่างหนึ่ง คือ เป็นผู้ทำกิจเสร็จแล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว ไม่มีอะไรที่จะต้องทำเพื่อตัวเองอีก ปลดเปลื้องตัวเป็นอิสระแล้ว จึงทำเพื่อผู้อื่นได้เต็มที่ เรียกว่า มีกรุณาหรือกาณุณยธรรมที่บริสุทธิ์และสมบูรณ์
    ชีวิตและความสุขขั้นนี้เป็นขั้นที่ถึงได้ด้วยปัญญา ผู้ที่มีชีวิตในขั้นนี้ เป็นผู้มีชีวิตอยู่ด้วยปัญญา ที่รู้เท่าทันความจริงของสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็นอยู่ตามธรรมดาแห่งเหตุปัจจัยของกฎธรรมชาติ หรือรู้เท่าทันกฎธรรมชาตินั้นเอง จนความเป็นไปของธรรมชาติที่มีความเปลี่ยนแปลง เป็นต้น ครอบงำก่อความทุกข์แก่เขาไม่ได้ สิ่งใดไม่เป็นปัญหาก็ไม่ทำให้เป็นปัญหาขึ้นมา สิ่งใดเป็นปัญหาก็แก้ไขด้วยปัญญาที่รู้และทำให้ตรงกับเหตุปัจจัย จนเผชิญได้กับทุกสิ่งโดยไม่มีทุกข์ใดๆ
    เมื่อพัฒนามาจนชีวิตและความสุขถึงขั้นนี้ โดยมีความสดชื่นเบิกบานอยู่เป็นธรรมดาแล้ว ถ้าจะเอาความสุขทางจิตมาใส่อีกก็ไม่ว่า จะมีความสุขทางประสาททั้งห้ามาเสริม ก็ได้ความสุขนั้นเต็มสภาพบริบูรณ์ และทั้งไม่เป็นพิษเป็นภัยแก่ใครด้วย ทุกอย่างอยู่ในภาวะสมดุลพอดีไปหมด เพราะมีปัญญาที่ไร้ทุกข์เป็นตัวควบคุม โดยนัยนี้ เมื่อมีความสุขขั้นสุดท้ายที่ไร้ทุกข์ด้วยปัญญาก็จบสูงสุดถึงจุดหมาย
    ทั้งหมดนี้สรุปได้ว่า ชีวิตและความสุข ๓ ขั้นนั้น พูดโดยย่อคือ
    ๑.) ขั้นกามอามิส (เรียกให้สั้นว่าขั้นกาม ชื่อเต็ม = ขั้นกามาวจร - ท่องเที่ยวไปในกาม) ต้องใช้ศีลเป็นเครื่องควบคุมโดยมีทางสนับสนุน

    ๒.) ขั้นจิตวัฒนะ (ชื่อเต็ม = ขั้นรูปาวจร - ท่องเที่ยว ไปในรูป และอรูปาวจร - ท่องเที่ยวไปในอรูป) มีสมาธิเป็นแกนนำในการพัฒนา
    ๓.) ขั้นอิสระหลุดพ้น (ชื่อเต็ม = ขั้นโลกุตตระ - เหนือโลก หรือขั้นปรมัตถ์ - ประโยชน์สูงสุด) มีปัญญาเป็นตัวชี้ขาดที่จะนำเข้าถึงจุดหมาย
    เป็นอันว่าพระพุทธศาสนาได้แสดงไว้แล้ว เกี่ยวกับหลักการในการเข้าถึงชีวิตที่ดีมีความสุข แล้วก็แบ่งไว้เป็นขั้นเป็นตอนดังที่ได้กล่าวมา ซึ่งที่จริงเป็นเรื่องง่ายๆ ไม่มีอะไรมาก เพราะว่าตัวสาระแท้ๆ ก็แค่นี้เอง คือให้เรามีชีวิตที่ดีมีสุขมีความสุขได้จริง ก็จบเรื่องกัน
    ได้พูดไว้แต่ต้นว่า เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม และเมื่อถึงธรรมก็สุขแท้ หมายความว่า การเข้าถึงชีวิตที่ดีมีความสุข ก็คือการเข้าถึงธรรม จะเข้าถึงธรรมได้ก็ต้องปฏิบัติธรรม การปฏิบัติธรรมนั้นคงไม่ยากอย่างที่หลายคนคิด จึงลองมาดูกัน ว่าปฏิบัติธรรมนั้นคือทำอย่างไร
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    ปฏิบัติธรรม คืออย่างไร
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD> คำว่า ปฏิบัติธรรม นั้น หมายความว่าอย่างไร ปฏิบัติธรรมก็คือ เอาธรรมมาปฏิบัติ เอาธรรมมาใช้ เอามาใช้ดำเนินชีวิตทำการทำงาน คือเอาธรรมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตจริง ทำให้เป็นชีวิตที่ดีมีความสุขนั่นเอง
    เมื่อปฏิบัติธรรมก็หมายถึงว่า เอาธรรมมาใช้ในชีวิตจริง หรือเอามาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิต ถ้ายังไม่ได้ใช้ ก็ไม่เรียกว่าเป็นการปฏิบัติ ว่าถึงตัวคำว่า "ปฏิบัติ" เองนี้ เดิมนั้นแปลว่า "เดินทาง" มาจากภาษาบาลี ของเดิมนี้มีคำคล้ายๆ กับอีกคำหนึ่งคือ "ปฏิปทา"
    "ปฏิปทา" แปลว่าอะไร จะเห็นได้ในคำว่า "มัชฌิมาปฏิปทา" ที่เราแปลกันว่า "ทางสายกลาง" มัชฌิมา แปลว่า สายกลาง และปฏิปทา แปลว่า ทาง ทางคืออะไร ทางนั้น คือ ที่จะเดิน คำว่าปฏิปทา ก็คือ ที่ ที่จะเดิน คำว่า ปฏิปทา กับคำว่า ปฏิบัตินี้ เป็นคำเดียวกัน รากศัพท์อันเดียวกัน ถ้าเป็นกริยา มีรูปเป็น
    ปฏิปชฺชติ แปลว่า ดำเนิน หรือเดินทาง
    เพราะฉะนั้น ปฏิปชฺชติ มาเป็น ปฏิบัติ หรือเป็น ปฏิปทา ก็ตาม ก็แปลว่า การเดินทาง หรือแปลว่า ทางที่เดิน ถ้าเป็นการเดินทางก็นิยมใช้ในรูปว่า ปฏิปตฺติ หรือไทยใช้ว่า ปฏิบัติ ถ้าเป็นทางที่เดินก็นิยมใช้ ปฏิปทา เพราะฉะนั้น เราเอาถ้อยคำสำหรับสิ่งที่เป็นรูปธรรมนั้นเอง มาประยุกต์ใช้ในทางธรรม การเดินทางตามปกตินั้น เป็นการเดินทางภายนอก เป็นการเดินทางด้านวัตถุ เอาเท้าเดิน หรือแม้มีรถแล้ว เอารถวิ่งไป ตลอดจนไปด้วยเครื่องบิน ก็เรียกว่า เป็นการเดินทาง
    ทีนี้ ชีวิตของเราก็เหมือนกัน ชีวิตก็เป็นการเดินทางชนิดหนึ่ง แต่เรามักเปลี่ยนคำพูดจากเดินมาเป็น ดำเนิน ที่จริงเดินกับดำเนินนั้น ก็ศัพท์เดียวกันนั่นแหละเดินก็แปลงมาดำเนิน แล้วเราก็มีการดำเนินชีวิตในการดำเนินชีวิตนั้น ก็เหมือนกับว่าเราเอาชีวิตนี้ไปเดินทาง หรือว่าการเป็นอยู่ของเรานั้นเปรียบเสมือนทาง ถ้าเป็นอยู่อย่างถูกต้อง ก็เรียกว่าเดินทางชีวิตอย่างถูกต้อง คือ ดำเนินชีวิตได้ดี ถ้าเดินทางชีวิตไม่ถูกต้อง ก็เรียกว่าดำเนินชีวิตที่ผิด ในเมื่อปฏิปทา หรือปฏิบัตินี้ แปลว่า การเดินทาง และทางที่เดิน เพราะฉะนั้น การปฏิบัติธรรมก็คือเอาธรรมมาใช้ในการเดินทางชีวิต หรือเอามาช่วยให้ดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องหรือเอามาช่วยในการเดินทางชีวิต เพื่อให้การดำเนินชีวิตนั้นเป็นไปด้วยดี
    หมายความว่า ถ้าเราไม่เอาธรรมมาใช้ การเดินทางชีวิตของเราก็อาจจะผิด อาจจะเขว อาจจะพลาด อาจจะหลง อาจจะไปในทางที่เกิดความเสื่อม ความพินาศ แทนที่จะเป็นทางแห่งความสุข ความเจริญ เราก็เลยเอาธรรมมาช่วย เอาธรรมมาปฏิบัติ ก็คือ เอาธรรมมาใช้ช่วยให้การเดินทางชีวิตนี้ถูกต้อง ได้ผลดีที่ประสงค์ พูดง่ายๆ จึงว่า การปฏิบัติธรรมก็คือการเอาธรรมมาใช้นั่นเอง ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิตของเรา เพราะฉะนั้น การปฏิบัติธรรมก็จึงเป็นเรื่องกว้างๆ ไม่เฉพาะการที่จะปลีกตัวออกจากสังคม ไปอยู่ที่วัด ไปอยู่ที่ป่า แล้วก็ไปนั่งบำเพ็ญสมาธิอะไรอย่างนั้น ไม่ใช่แค่นั้น อันนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่ง เป็นการพยายามนำธรรมมาใช้ในขั้นลึก ในการที่จะฝึกฝนจิตใจอย่างจริงๆ จังๆ
    ถ้าจะเรียกเป็นภาษาสมัยใหม่ การปลีกตัวไปปฏิบัติแบบนั้น ก็เรียกว่า เป็นการปฏิบัติแบบ intensive เป็นการปฏิบัติแบบเข้มข้น หรือลงลึกเฉพาะเรื่อง ที่จริงนั้น การปฏิบัติธรรมต้องมีตลอดเวลา เรานั่งกันอยู่ในที่นี้ ก็ต้องมีการปฏิบัติธรรม คือเอาธรรมมาใช้ เมื่อปฏิบัติสิ่งนั้น ทำสิ่งนั้นอย่างถูกต้อง ก็เป็นการปฏิบัติธรรม เมื่อทำงานหรือทำหน้าที่ของตนอย่างถูกต้องตั้งใจทำให้ดี ให้เกิดคุณประโยชน์ ให้สำเร็จความมุ่งหมายที่ดีงาม ก็เป็นการปฏิบัติธรรม
    ดังนั้น ถ้าตนมีหน้าที่ศึกษาเล่าเรียน แล้วศึกษาเล่าเรียนอย่างถูกต้อง มีความขยันหมั่นเพียร ตั้งใจเล่าเรียน เล่าเรียนให้ได้ผล ก็เป็นการปฏิบัติธรรม เช่น เล่าเรียนโดยมีอิทธิบาท ๔ มีฉันทะ พอใจรักในการเรียนนั้น มีวิริยะ มีความเพียร ใจสู้ มีจิตตะ เอาใจใส่รับผิดชอบ มีวิมังสา คอยไตร่ตรอง ตรวจสอบ ทดสอบ ทดลองให้ได้ผลดียิ่งขึ้นไป อย่างนี้ก็เรียกว่าปฏิบัติธรรม หรือในการทำงานก็เหมือนกัน เมื่อมีอิทธิบาท ๔ เอาอิทธิบาท ๔ มาใช้ในการทำงานนั้น ก็เป็นการปฏิบัติธรรม
    แม้แต่ออกไปในท้องถนน ไปขับรถ ถ้าขับโดยรักษากฎจราจร ขับเรียบร้อยดีไม่ประมาท มีความสุภาพ หรือลึกเข้าไปแม้กระทั่งว่า ทำจิตใจให้สบาย ไม่เครียด มีความผ่องใส สบายใจ ในเวลาที่ขับรถนั้นได้ ก็เป็นการปฏิบัติธรรมในระดับต่างๆ แล้วแต่ว่าใครจะสามารถเอาธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิตหรือในการทำกิจหน้าที่นั้น ให้ได้ผลแค่ไหน เพียงไร ก็เรียกว่า ปฏิบัติธรรมทั้งนั้น เพราะฉะนั้น การปฏิบัติธรรมที่แท้จริงนั้น ต้องมีอยู่ตลอดเวลา เพราะเราทุกคนมีหน้าที่ต้องดำเนินชีวิตให้ดีงามถูกต้อง
    แม้แต่การนั่งฟังปาฐกถานี่ก็มีการปฏิบัติธรรม เมื่อตั้งใจฟัง ฟังเป็นใช้ความคิดพิจารณาไตร่ตรอง สิ่งที่รับฟังนั้นทำให้เกิดปัญญาขึ้น ก็เป็นการปฏิบัติธรรมทั้งนั้น เป็นอันว่า การปฏิบัติธรรมนี้ เป็นเรื่องที่กว้างมาก หมายถึงการนำเอาธรรมมาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่ชีวิต หรือการทำกิจทำงานทำหน้าที่ให้ถูกต้อง ทำทุกเรื่องทุกอย่างให้ถูกต้อง ให้ดี ให้เกิดผลเป็นประโยชน์ เพราะจะได้เข้าถึงชีวิตที่ดีงามมีความสุขที่แท้จริงนั่นเองเป็นการปฏิบัติธรรม
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.dhammajak.net/book/dhamma1/index.php

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    ธรรมะฉบับเรียนลัด
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle>
    โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    หลักการทั่วไปของการปฏิบัติธรรม ชุดที่ ๑
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD> เนื้อตัวของการปฏิบัติที่ท่านจัดวางไว้เป็นหลักธรรมหัวข้อต่างๆ นั้น ย่อให้สั้นก็คือสิกขาหรือการศึกษาซึ่งแยกออกไปเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา เรียกว่า ไตรสิกขา ถ้าแยกแบบง่ายๆ โดยเน้นด้านภายนอกสำหรับคฤหัสถ์ก็เป็นทาน ศีล ภาวนา ซึ่งเรียกว่า บุญสิกขา หลักการศึกษา ๓ อย่าง จะเป็นไตรสิกขาหรือ บุญสิกขาก็ตาม ควรจะทบทวนความหมายกันไว้เล็กน้อยพอได้สาระ ขอเริ่มด้วยไตรสิกขาก่อน ไตรสิกขา แปลว่า สิกขา หรือการศึกษา ๓ อย่าง
    ๑. ศีล คือ ความมีระเบียบในการดำเนินชีวิต และในการอยู่ร่วมสังคม หรือพูดให้ง่ายอีกอย่างหนึ่งว่า ได้แก่ ความมีวินัยและการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์กติกาในการอยู่ร่วมกัน เพื่อให้มีความสัมพันธ์ที่ดีในสังคมชีวิตและสังคมจะได้เรียบร้อยราบรื่นไม่สับสนวุ่นวาย ไม่ระสำระส่าย เอื้อโอกาสต่อการที่จะทำอะไรๆ ให้สะดวกได้ผลดี และมีความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป
    ศีลมีหลายระดับ หรือจัดไว้หลายประเภท ให้เหมาะกับสภาพชีวิตและสังคมหรือชุมชนนั้นๆ ในการที่จะปฏิบัติเพื่อเข้าถึงจุดหมายของตน ศีล ๕ เป็นกฎเกณฑ์ความสัมพันธ์พื้นฐานในสังคมเพื่อให้คนอยู่ร่วมกันด้วยดี ไม่เบียดเบียนกัน สังคมจะได้ไม่เดือดร้อน ระส่ำระส่าย เป็นฐานรองรับความมีสันติสุขของสังคม
    ดังนั้น ในหลีกศีล ๕ จึงกำหนดให้มีการไม่เบียดเบียนทำร้าย ไม่ละเมิดต่อชีวิตและร่างกาย ไม่ละเมิดต่อกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ไม่ละเมิดต่อคู่ครองของกันและกัน ไม่ใช้วาจาทำร้ายหลอกลวงกัน และไม่คุกคามต่อความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยของผู้อื่นด้วยความสูญเสีย สติสัมปชัญญะเนื่องจากยาเสพติดที่ทำให้เกิดความประมาท และไม่น่าไว้วางใจ จะเห็นว่าศีล ๕ เป็นมาตรฐานอย่างต่ำสำหรับจัดระเบียบชีวิตและสังคมของมนุษย์ ให้อยู่ในสภาพที่เอื้อโอกาสขั้นพื้นฐาน ในการที่จะสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามหรือทำการพัฒนาไม่ว่าอย่างหนึ่งอย่างใด ทางจิตใจก็ตาม ทางวัตถุก็ตาม
    ศีลเฉพาะกลุ่มเฉพาะหมู่ชน และศีลในระดับที่สูงขึ้นไป จะเป็นการทำตามข้อปฏิบัติต่างๆ ในการฝึกหัดขัดเกลาพฤติกรรมของบุคคล เพื่อสร้างเสริมสภาพชีวิตความเป็นอยู่ และการอยู่ร่วมกันในสังคม ให้สอดคล้องและเอื้อโอกาสแก่การที่จะปฏิบัติให้เข้าถึงภาวะสูงสุด ที่เป็นจุดหมายของบุคคลหรือสังคมนั้น เช่น ศีล ๘ มุ่งฝึกให้มีสภาพชีวิตที่เอื้อต่อการพัฒนาทางจิตใจ จึงเพิ่มการรับประทานอาหารจำกัดเวลา และการหัดลดละการหาความสุขจากสิ่งบันเทิง หรือเครื่องปรนเปรอความสุขทางประสาทสัมผัส ตลอดจนงดการให้เครื่องนั่งนอนฟูกฟูหรูหรา เป็นการฝึกฝนตนให้รู้จักที่จะมีชีวิตที่เป็นอิสระได้มากขึ้น สามารถอยู่ดีมีสุขได้โดยไม่ต้องพึ่งพาหรือขึ้นต่อวัตถุภายนอกมากเกินไป
    ศีล ๘ นั้น เป็นเครื่องเสริมและเอื้อโอกาสยิ่งขึ้นไป ทั้งด้านเวลาและงาน ในการที่จะพัฒนาชีวิตทางด้านจิตใจและปัญญา พูดอีกสำนวนหนึ่งว่า เป็นเครื่องเสริมและเอื้อโอกาสในการบำเพ็ญจิตภาวนา และปัญญาภาวนา ศีลอย่างอื่นๆ ยังมีอีกมาก เช่น ศีลในการฝึกอินทรีย์ คือ ฝึกให้รู้จักใช้ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ โดยเฉพาะ ๕ อย่างแรกให้ดูเป็น ฟังเป็น คือ ดู และฟัง ให้ได้ประโยชน์แก่ชีวิต ไม่ให้เกิดโทษก่อความเสียหาย ความเดือดร้อน หรือความลุ่มหลงมัวเมา และศีลในการเสพ หรือบริโภคสิ่งต่างๆ ให้ได้คุณค่าแท้ ไม่หลงไปในคุณค่าเทียม เป็นต้น

    การมีสภาพชีวิตและการอยู่ร่วมกันที่จัดระเบียบไว้ด้วยดี เรียกว่า ศีล การจัดระเบียบชีวิตและการอยู่ร่วมกันให้เรียบร้อย รวมทั้งตัวระเบียบนั้นเอง เรียกว่าวินัย ข้อปฏิบัติต่างๆ ในการจัดสภาพชีวิตและการอยู่ร่วมในสังคมให้มีระเบียบ เรียกว่า สิกขาบท ข้อปฏิบัติต่างๆ ในการฝึกฝนขัดเกลา พฤติกรรมเพื่อสร้างเสริมสภาพชีวิต ให้สอดคล้องเกื้อกูลต่อการปฏิบัติในแนวทางที่จะเข้าถึงจุดหมายที่ต้องการยิ่งๆ ขึ้นไป เรียกว่า วัตร ทั้งหมดนี้เมื่อเรียกคลุมๆ รวมๆ ก็พูดว่า ศีล
    ๒. สมาธิ หมายถึง การฝึกฝนอบรมจิตใจให้สงบแน่วแน่มั่นคง เพื่อให้เป็นจิตใจที่สามารถทำงานหรือใช้การได้ดี โดยเฉพาะในการคิดพิจารณาให้เกิดปัญญาหรือใช้ปัญญาอย่างได้ผล อนึ่ง จิตใจที่มีสมาธิ จะเป็นจิตใจที่เอื้อหรือเหมาะต่อการพัฒนาของคุณสมบัติต่างๆ เช่น คุณธรรมทั้งหลายที่จะเจริญเพิ่มพูนพ่วงมาด้วยในจิตนั้น
    นอกจากนั้น เมื่อจิตใจสงบมั่นคงแน่วแน่มีสมาธิแล้ว ก็จะอยู่ในภาวะที่ปลอดพ้นจากการรบกวนของความเศร้าหมองขุ่นมัวความเร่าร้อนสับสนวุ่นวายต่างๆ จึงเป็นจิตที่ปลอดโปร่ง เบาสบาย เบิกบาน สดชื่น ผ่องใสเป็นสุข พูดสั้นๆ ว่า เป็นการฝึกฝนพัฒนาจิตใจ ทำให้บุคคลมีสมรรถภาพจิต คุณภาพจิต และ
    สุขภาพจิต
    ๓. ปัญญา ได้แก่ การมีความรู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง และการฝึกฝนอบรมหรือพัฒนาให้มีความรู้ความเข้าใจเช่นนั้น ปัญญามีหลายขั้น หลายระดับ เช่น
    ขั้นเริ่มต้น ก็คือ การรู้เข้าใจสิ่งที่เล่าเรียน สดับตรับฟังหรือข่าวสารข้อมูลต่างๆ และประสบการณ์ที่เข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ตลอดจนความจำหมาย และความรู้สึกนึกคิดที่ปรากฏหรือสั่งสมอยูในใจ ปัญญาทำให้รับรู้และมองดูประสบการณ์นั้นๆ อย่างถูกต้องตรงตามจริง และอย่างบริสุทธ์ ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยความชอบชังยินดียินร้าย ไม่เอนเอียงด้วยอคติต่างๆ
    ขั้นต่อไป ได้แก่ การพิจารณาวินิจฉัยและคิดการต่างๆ ได้ถูกต้องชัดเจน โดยไม่ถูกกิเลส เช่นความเห็นแก่ได้ และความเกลียดโกรธเคียดแค้นชิงชังเป็นตัวครอบงำชักจูง
    ปัญญาอีกด้านหนึ่ง หมายถึง การมองเห็นสิ่งทั้งหลาย ล่วงทะลุถึงเหตุปัจจัยต่างๆ ตลอดจน
    สามารถเชื่อมโยงความรู้ในสิ่งทั้งหลายมาใช้แก้ไขปัญหาและทำการสร้างสรรค์ จัดดำเนินการต่างๆ
    ปัญญาในขั้นสูงสุด หมายถึง ความรู้เท่าทันความเป็นจริงของโลกและชีวิต ที่ทำให้หายติดข้องหมดความถือมั่นในสิ่งทั้งหลาย ซึ่งส่งผลย้อนกลับไปยังจิตใจ ทำให้เกิดความเป็นอิสระหลุดพ้นเป็นอยู่ด้วยความปลอดโปร่งโล่งเบา เบิกบานผ่องใสอย่างแท้จริง
    สิกขา หรือ ศึกษา แปลว่า การฝึกฝนปฏิบัติหรือเรียนให้รู้และฝึกทำให้เป็น หลักไตรสิกขา หรือการศึกษา ๓ อย่างนี้ เป็นการฝึกพัฒนาชีวิต ๓ ด้าน คือ ด้านความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทั้งทางวัตถุ และทางสังคม ด้านจิตใจ และด้านปัญญา ในการกระทำทุกครั้งทุกอย่างไม่ว่าจะแสดงพฤติกรรมอะไรหรือมีกิจกรรมใดๆ ก็ตาม เราสามารถฝึกฝนพัฒนาตนและสำรวจตรวจสอบตนเอง ตามหลักไตรสิกขานี้ ให้มีการศึกษาครบทั้งสามอย่างทั้งศีล สมาธิ และปัญญา พร้อมกันไปทุกครั้งทุกคราว คือ เมื่อทำอะไรก็พิจารณาดูว่า
    พฤติกรรมหรือการกระทำของเราครั้งนี้ มีการเบียดเบียนจะทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่ใครหรือไม่หรือว่าเป็นไปเพื่อความเกื้อกูล ช่วยเหลือ ส่งเสริม และสร้างสรรค์ (ศีล) ในการกระทำเดียวกันนี้ จิตใจของเราเป็นอย่างไร เราทำด้วยจิตใจที่เห็นแก่ตัว มุ่งร้ายต่อใครทำด้วยความโลภ โกรธ หลง หรือไม่ หรือทำด้วยความเมตตา มีความปรารถนาดี ทำด้วยศรัทธาทำด้วยสติ มีความเพียร มีความรับผิดชอบ เป็นต้น และในขณะที่ทำ เรามีสภาพจิตใจเป็นอย่างไร เร่าร้อน กระวนกระวาย ขุ่นมัว เศร้าหมอง หรือว่ามีจิตใจที่สงบ ร่าเริง
    เบิกบาน เป็นสุข เอิบอิ่ม ผ่องใส (สมาธิ)
    การกระทำครั้งนี้ เราทำด้วยความรู้ ความเข้าใจ มองเห็นเหตุผล รู้เข้าใจหลักเกณฑ์และความมุ่งหมายมองเห็นผลดีผลเสีย และหนทางแก้ไขปรับปรุงพร้อมดีแล้วหรือไม่ (ปัญญา) เพราะฉะนั้น คนที่ฉลาดจึงสามารถบำเพ็ญสิกขาคือฝึกฝนพัฒนาตน และสำรวจตรวจสอบวัดผลการพัฒนาตนได้เสมอ ตลอดทุกครั้งทุกเวลา เป็นการบำเพ็ญไตรสิกขาในระดับจุลภาคหรือรอบเล็ก คือ ครบทั้งสามอย่างในพฤติกรรมเดียว หรือในกิจกรรมเดียว พร้อมกันนั้นก็เจริญไตรสิกขาในระดับมหัพภาคหรือรอบใหญ่ คือ ค่อยๆ ทำทีละส่วนไปด้วย ชนิดที่ดูภายนอกก็เหมือนศึกษาไปตามลำดับทีละอย่าง โดยที่การบำเพ็ญไตรสิกขาในระดับจุลภาคนี้ ก็ช่วยให้การเจริญไตรสิกขาในระดับมหัพภาพก้าวหน้าไปด้วยดี แล้วในทางย้อนกลับการเจริญไตรสิกขาในระดับมหัพภาค ก็จะส่งผลให้การบำเพ็ญไตรสิกขาในระดับจุลภาคมีความมั่นคง และสมบูรณ์ยิ่งขึ้นจนเต็มเปี่ยมในที่สุด
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    หลักการทั่วไปของการปฏิบัติธรรม ชุดที่ ๒
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD> ส่วนทาน ศีล ภาวนา ที่เรียกว่า บุญสิกขา ก็มีสาระสำคัญอย่างเดียวกับไตรสิกขานี้เอง
    ๑. ทาน คือ การให้ การเผื่อแผ่แบ่งปัน เพื่อช่วยเหลือกัน เพื่อยึดเหนี่ยวสังคม และเพื่อส่งเสริมความดีงามและการทำสิ่งที่ดี ทานเป็นเครื่องส่งเสริมการอยู่ร่วมในสังคมให้เป็นไปด้วยดีมีระเบียบมั่นคงยิ่งขึ้น พร้อมกันนั้นก็เป็นเครื่องฝึกหัดขัดเกลาทั้งพฤติกรรมภายนอกทางกาย วาจา และฝึกฝนอบรมจิตใจให้เจริญยิ่งขึ้นไปในคุณธรรม และความเอิบอิ่มเบิกบานผ่องใส
    ๒. ศีล ก็มีสาระอย่างศีลในไตรสิกขาข้างต้น
    ๓. ภาวนา แยกเป็นภาวนาในด้านสมาธิ และภาวนาในด้านปัญญา ตรงกับที่ได้บรรยายมาแล้ว
    การปฏิบัติธรรมในความหมายที่เราพูดกันมาก ตามที่นิยมกันในปัจจุบันนี้ เป็นการจำกัดแคบในระดับภาวนา คือ เป็นการปฏิบัติในระดับภาวนาและเน้นที่รูปแบบ เช่น ไปนั่งสมาธิเข้าไปในวัดวิเวก เข้าไปในป่า ก็เลยจะขอพูดเจาะจงเฉพาะระดับนี้เสียทีหนึ่งก่อนว่า ในแง่ที่เรานิยมปฏิบัติธรรม คือ ไปบำเพ็ญสมาธิเป็นต้นนี้ เราจะต้องรู้จักภาวนาเสียก่อนว่ามันเป็นอย่างไร
    ภาวนา นั้น จะต้องแยกจากภาวนาในภาษาไทยก่อน คือ ไม่ใช่เป็นเพียงมามุมมิบๆ แต่ปาก แล้วบอกว่าเป็นภาวนา หรือเอาถ้อยคำในภาษาพระเอามนต์เอาคาถามาท่องมาบ่นแล้วว่าเป็นภาวนา ไม่ใช่อย่างนั้น ภาวนา แปลว่า ทำให้เกิดมีขึ้น ทำให้เป็นขึ้น สิ่งที่ยังไม่เป็นก็ทำให้มันเป็น สิ่งที่ยังไม่มีก็ทำให้มันมีขึ้นเรียกว่าภาวนา เพราะฉะนั้น จึงเป็นการปฏิบัติ ฝึกหัด หรือลงมือทำ ภาวนาจึงแปลอีกความหมายหนึ่งว่า การฝึกอบรม ฝึกนั้น เมื่อยังไม่เป็นก็ทำให้มันเป็น อบรมนั้น เมื่อยังไม่มีก็ทำให้มีขึ้น
    ยิ่งกว่านั้น เมื่อทำให้เกิด ให้มีให้เป็นขึ้นมาแล้ว ก็ต้องทำให้เจริญงอกงามเพิ่มพูนพรั่งพร้อมขึ้นไปด้วยจนเต็มที่
    ภาวนาจึงมีความหมายตรงกับคำว่า พัฒนา ด้วยและจึงแปลง่ายๆ ว่า เจริญ ในภาษาไทยแต่โบราณมาก็นิยมแปลภาวนา ว่า เจริญ เช่น เจริญสมาธิ เรียกว่า สมาธิภาวนา เจริญเมตตา เรียกว่า เมตตาภาวนา เจริญวิปัสสนา เรียกว่า วิปัสสนาภาวนา
    ตกลงว่า ภาวนา แปลว่า การฝึกอบรมหรือการเจริญหรือการทำให้เป็นให้มีขึ้นมา และพัฒนาให้งอกงามบริบูรณ์ การภาวนาในระดับที่เราต้องการในที่นี้แยกเป็น ๒ อย่าง คือ จิตตภาวนา การฝึกอบรมจิตใจอย่างหนึ่ง และปัญญาภาวนา การฝึกอบรมปัญญาอีกอย่างหนึ่ง
    ถ้าใช้ตามนิยมของภาษาสมัยใหม่ เจริญ แปลว่า พัฒนา เพราะฉะนั้น จิตตภาวนา ก็แปลว่า
    การพัฒนาจิต หรือพัฒนาจิตใจ ส่วนปัญญาภาวนา ก็แปลว่า การพัฒนาปัญญา จิตตภาวนานั้น เรียกง่ายๆ ว่า สมถะ บางทีก็เรียกว่า สมถภาวนา สมถะนี้ตัวแก่นของมันแท้ๆ คือ สมาธิ เพราะสมถะนั้นแปลว่า ความสงบ ตัวแก่นของความสงบก็คือสมาธิ ความมีในแน่วแน่ สมถะนั้นมุ่งที่ตัวสมาธิ จะว่าสมาธิเป็นสาระของสมถะก็ได้ ฉะนั้นก็เลยเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สมาธิภาวนา คำว่าจิตตภาวนาก็ดี สมถภาวนาก็ดี สมาธิภาวนาก็ดี จึงใช้แทนกันได้หมด
    ต่อไปอย่างที่สอง ปัญญาภาวนานั้นเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า วิปัสสนาภาวนา การเจริญวิปัสสนา มุ่งให้เกิดปัญญา คือ ปัญญาที่เข้าใจความจริงของสิ่งทั้งหลาย ปัญญาในขั้นที่รู้จักโลกและชีวิตตามความเป็นจริง เรียกว่า วิปัสสนา แปลว่า รู้แจ้ง ไม่ใช้รู้แค่ทำมาหาเลี้ยงชีพได้เท่านั้น แต่รู้สภาวะ รู้สภาพความเป็นจริงของสิ่งทั้งหลาย จึงเรียกว่า วิปัสสนา ซึ่งก็เป็นปัญญาระดับหนึ่งนั่นแหละ เพราะฉะนั้น วิปัสสนาภาวนา ถ้าจะเรียกให้กว้างก็เป็นปัญญาภาวนา ตกลงก็แยกภาวนาเป็น ๒ อย่าง
    อย่างที่หนึ่ง เรียกว่า จิตตภาวนา สมถภาวนาบ้าง สมาธิภาวนาบ้าง
    อย่างที่สอง เรียกว่า ปัญญาภาวนา หรือเรียกให้แคบจำกัดลงไปว่า วิปัสสนภาวนา เอาละเรื่องภาวนาก็ทำความเข้าใจกันง่ายๆ อย่างนี้
    อย่างไรก็ตาม ได้บอกข้างต้นแล้วว่า ทาน ศีล ภาวนานี้ ท่านมุ่งสำหรับคฤหัสถ์ ดังนั้น บุญสิกขาจึงเน้นข้อปฏิบัติขั้นต้นๆ หรือขั้นพื้นฐาน คือ ทานเน้นที่อามิสทาน ได้แก่ การให้วัตถุ ศีลเน้นที่ศีล ๕ หรือขยับขึ้นไปอีกก็เป็นศีล ๘ ส่วนภาวนาในที่นี้ก็เน้นแค่เมตตาภาวนา คือ การเจริญเมตตาหรือไมตรี ที่จะเป็นพื้นฐานแห่งสันติสุขของสังคม ถ้าสามารถทำให้มากกว่านั้นก็ขยายออกไปสู่จิตตภาวนา และปัญญาภาวนาเต็มรูปอย่างที่ว่าข้างต้น
    ทั้ง ๒ ชุด คือ ทาน ศีล ภาวนา กับ ศีล สมาธิ ปัญญา นี้ว่าที่จริงก็เรื่องเดียวกัน แต่ชุดหนึ่งเน้นด้านภายนอก เน้นด้านหยาบ จัดเป็นทาน ศีล และภาวนาโดยขยายด้านนอกเป็น ๒ อย่าง คือ ทาน กับ ศีล เอา ข้างใน ๒ อย่าง คือ สมาธิ และปัญญาไปยุบเป็นภาวนาอย่างเดียว ส่วนชุดศีล สมาธิ ปัญญา นั้น เอาด้านในคือ ภาวนาไปแยกละเอียดเป็นจิตใจ (สมาธิ) กับปัญญา แต่ด้านนอกคือ ทานกับศีลนั้นรวมเป็นอันเดียว เพราะว่าศีลนั้นหลักการก็คืออยู่ร่วมกันด้วยดีกับผู้อื่นในสังคม ส่วนทานก็เป็นองค์ประกอบในการที่จะอยู่ร่วมกันด้วยดีกับผู้อื่นในสังคม ก็เลยมารวมอยู่ในคำว่า ศีล
    เพราะฉะนั้น เมื่อท่านได้ฟังคำว่า ทาน ศีล ภาวนา กับ ศีล สมาธิ ปัญญา นี้ ก็ให้ทราบว่าที่แท้จริงเป็นระบบอันเดียวกัน แต่เราแยกเพื่อให้เห็นจุดเน้นที่ต่างกัน สำหรับคฤหัสถ์จะเน้นด้านนอกจัดเป็นทาน ศีล ภาวนา แต่สำหรับพระสงฆ์จะเน้นด้านในวางหลักเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา
    อนึ่ง ชื่อเรียกก็คล้ายๆ กัน ชุดศีล สมาธิ ปัญญา ทุกท่านรู้จักกันดีแล้วว่าไตรสิกขา ไตร แปลว่า
    ๓ สิกขา คือ การศึกษา รวมเป็นไตรสิกขา แปลว่า การศึกษา ๓ อย่าง ส่วนชุดทาน ศีล ภาวนา เรียกชื่อต่างไปนิดหนึ่งว่า ปุญญสิกขา หรือ บุญสิกขา ก็คือ การฝึกฝนในเรื่องความดี หรือการฝึกหัดทำความดีนั่นเอง
    ปุญญ = ความดี สิกขา = การฝึกอบรม คือ การฝึกฝนปฏิบัติอบรมในเรื่องความดี การทำให้คนเจริญงอกงามขึ้นในความดีต่างๆ ด้วยทาน ศีล ภาวนา รวมแล้วทั้ง ๒ ชุดก็เป็นอันเดียวกัน ต่างกันที่จุดเน้นดังกล่าว
    เมื่อปฏิบัติธรรมตามหลักไตรสิกขา หรือบุญสิกขา ๓ ประการอย่างถูกต้องดีแล้ว ก็จะเข้าถึงชีวิตที่ดีงามมีความสุขที่แท้จริง โดยเข้าถึงธรรมและความสุขทั้ง ๓ ระดับได้จนถึงที่สุดดังได้กล่าวแล้วแต่เบื้องต้น
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.dhammajak.net/book/dhamma1/index.php

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    ธรรมะฉบับเรียนลัด
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle>
    โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    หลักพุทธธรรมเพื่อการปฏิบัติธรรม
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD> เท่านี้ก็เป็นอันได้หลักการแล้ว อาตมาพูดวันนี้ เป็นการรวมหลักการคร่าวๆ เท่านั้นเอง ไม่ได้เข้าเนื้อในลึกซึ้ง ต่อไปนี้ก็จะพูดถึงตัวข้อธรรมในการปฏิบัติไว้บ้าง ข้อธรรมในการปฏิบัตินี้จะเสนอไว้อย่างกว้างๆ ให้เห็นหลักการปฏิบัติธรรมแบบคลุมทุกระดับ
    หนึ่ง หลักการปฏิบัติทั่วไปตลอดสายแบบคร่าวๆ ชุดหนึ่งที่น่าจะนำมาใช้แนะนำทำกันให้มาก ก็คือ หลักมงคล ๓๘ ประการ หลักนี้มีข้อปฏิบัติตั้งแต่ต้นไปตลอด บอกวิธีดำเนินชีวิตตั้งแต่ต้นจนถึงขั้นสูงสุด เริ่มตั้งแต่ อเสวนา จ พาลานํ ปณฺฑิตานญฺจะ เสวนา ไม่คบพาล คบบัณฑิต ก็คือเริ่มด้วยการมีกัลยาณมิตร เข้าหลักเมื่อกี้นี้ทีเดียว พระพุทธเจ้าทรงเอามาประยุกต์แล้ว เริ่มด้วยกัลยาณมิตร ซึ่งเป็นบุพนิมิตของการศึกษาข้อต้น ปูชา จ ปูชนียานํ บูชาคนที่ควรบูชา นี้คือมีทัศนคติและค่านิยมถูกต้องเกี่ยวกับบุคคล ให้ยกย่องบุคคล ด้วยความดีความงาม ไม่ใช่ยกย่องในทางผิด เป็นการส่งเสริมค่านิยมที่ถูกต้อง ทำให้มีทิฏฐิที่ถูกต้อง
    ข้อปฏิบัติอื่น ๆ ก็จะมีไปตามลำดับจนถึง ๓๘ ประการตอนท้ายๆ ก็จะมี อริยสจฺจานทสฺสนํ การเห็นอริยสัจ นิพฺพานสจฺฉิกิริยา จ การทำนิพพานให้แจ้ง จนกระทั่งท้ายสุดจิตของผู้ใดถูกโลกธรรมกระทบแล้วไม่หวั่นไหว เป็นจิตไร้ความโศก ไม่มีธุลี ไม่ขุ่นมัว ไม่ เศร้าหมอง เป็นจิตเกษม ก็จบลงที่จิตปลอดโปร่งผ่องใส ไม่มีความทุกข์ ด้วยประการใดๆ ทั้งสิ้น มงคล ๓๘ ประการนี้มีตั้งแต่ต้นจนสูงสุด จึงว่าเป็นหลักปฏิบัติธรรมหมวดหนึ่งที่มีข้อปฏิบัติตลอดสายแบบคร่าวๆ
    ต่อไป สอง หลักปฏิบัติในระดับสมถะ คราวนี้ต้องการเน้นเฉพาะจุด เมื่อกี้นี้มงคล ๓๘ ประการ เป็นหลักที่ขยายส่วนล่าง คือ ธรรมในส่วนต้นๆ มีการขยายพิสดารหน่อย แต่พอขึ้นมาถึงระดับสูงๆ แล้ว พูดแต่หัวข้อนิดๆ ทีนี้พอเราต้องการเจาะในการปฏิบัติธรรมขั้นจิตตภาวนาหรือสมถะ ท่านก็ให้หลักไว้มากมาย เรียกว่า กรรมฐาน ๔๐ ประการ คือ เทคนิค ๔๐ อย่าง เช่น อนุสสติ ๑๐ มีการระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า ระลึกถึงคุณพระธรรม ระลึกถึงคุณพระสงฆ์ ระลึกถึงจาคะ จนกระทั่งถึงกำหนดลมหายใจ แล้วยังมีการเพ่งกสิณ การบำเพ็ญอัปปมัญญาพรหมวิหาร การเจริญอสุภะ อะไรต่างๆ เหล่านี้ ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของระดับสมถะมีกรรมฐาน ๔๐ ประการ เป็นการลงลึกไปในระดับจิตตภาวนา
    สาม หลักปฏิบัติระดับวิปัสสนา เนื้อหาสาระที่สำคัญท่านเรียกว่า ธรรมที่เป็นภูมิของวิปัสสนา คือ วิปัสสนาภูมิ ตอนนี้ยากหน่อยแล้ว ฟังหัวข้อไว้เฉยๆ อาตมายกเอามาพูดให้ครบไว้เท่านั้นเอง ไม่ต้องถือเป็นสำคัญ วิปัสสนาภูมินั้นก็มีเรื่องขันธ์ห้า เรื่องอายตนะ ๑๒ ซึ่งสอนเรื่องนี้ทราบกันดีอยู่บ้าง ต่อไปเรื่องธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ สองเรื่องนี้ไม่คุ้นหู ต่อไปเรื่องอริยสัจจ ๔ ก็คุ้นหน่อย แล้วก็เรื่องปฏิจจสมุปบาท
    ทั้งหมดนี้เป็นภูมิของวิปัสสนา เมื่อเราเรียนธรรมในพวกนี้ ก็เป็นการเรียนเกี่ยวกับวิปัสสนา
    หลักธรรมสำคัญมาก ที่จะเข้ามาสู่การพิจารณาศึกษาในขั้นนี้ก็คือเรื่องไตรลักษณ์ เมื่อปฏิบัติธรรมตามแนววิปัสสนา ปัญญาเกิดขึ้น ก็จะเห็นไตรลักษณ์ เช่น พิจารณาขันธ์ห้าไป ก็จะเห็นไตรลักษณ์ ตลอดจนถึงข้อสุดท้ายพิจารณาในหลักปฏิจจสมุปบาท ก็จะเห็นไตรลักษณ์เช่นเดียวกัน เพราะปฏิจจสมุปบาทนั้นก็คือหลักแห่งความเป็นไปตามเหตุปัจจัย และสิ่งที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย ก็คือ ขันธ์ ๕ นั่นเอง แม้แต่หลักธรรมอื่นๆ ที่กล่าวถึงมาแล้ว เช่น อายตนะ ๑๒ ก็เป็นแง่ด้านต่างๆ ของเรื่องเดียวกันนี้เอง อยู่ในกระบวนการของความเป็นเหตุปัจจัยนี้ หรือไม่บางอย่างก็เป็นเรื่องของการแก้ปัญหาในกระบวนการ
    ความเป็นไปตามเหตุปัจจัยนั้น ก็ปรากฏเป็นการเปลี่ยนแปลง ทำให้มองเห็นการที่องค์ประกอบทั้งหลายมารวมกันเข้าประชุมกันเข้าเป็นองค์รวม อย่างใดอย่างหนึ่งที่สมมติเรียกว่า เป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ แต่ละส่วนนั้นไม่เที่ยง คงที่ เกิดดับอยู่ตลอดเวลา คงทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตน เรียกว่า เป็นไตรลักษณ์
    ถ้าเข้าใจชัดเจน เห็นแจ้งในไตรลักษณ์ ก็จะรู้เท่าทันโลกและชีวิตตามความเป็นจริง เกิดความสว่างไสว สงบ ปลอดโปร่ง ผ่องใส เบาสบาย หายยึดติดถือมั่นในสิ่งทั้งหลาย มีจิตใจที่หลุดพ้นเป็นอิสระ เป็นสุขอย่างแท้จริง การเป็นอยู่ ท่าทีต่อโลกและชีวิต และการปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลาย จะเป็นไปด้วยปัญญา ไม่ตกอยู่ใต้อำนาจครอบงำและแรงผลักดันของอวิชชาและตัณหาอุปาทานอีกต่อไป เรียกว่า บรรลุผลที่หมายของวิปัสสนา ซึ่งก็คือ จุดหมายของการศึกษา หรือการปฏิบัติธรรมขั้นสุดท้ายนั่นเอง
    ในการปฏิบัติธรรมทั้งหมดนี้ มีตัวธรรมที่เป็นผู้ทำงานซึ่งอาจจะใช้ศัพท์เรียกว่าเป็น คณะทำงานในการปฏิบัติธรรม ก็ได้ เรียกว่า โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ชุดนี้เป็นตัวทำงาน เรื่องต่างๆ ที่พูดมาก่อนนี้ เป็นตัวถูกกระทำ เช่น กรรมฐาน ๔๐ นั้น จะเป็นลมหายใจ หรืออสุภะ หรือกสิณ หรืออะไรก็ตามเป็นตัวถูกกระทำเป็นสิ่งที่เราเอามาใช้กำหนดพิจารณา หรือวิปัสสนาภูมิ เช่น ขันธ์ห้าก็เป็นตัวถูกกระทำ ถูกนำมาพิจารณาเช่นเดียวกัน
    เป็นอันว่า ตัวการปฏิบัติเอง ก็คือ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ซึ่งถ้าพูดขึ้นมาแล้วหลายอย่างก็อาจจะคุ้นหูกันพอสมควร ในที่นี้จะไม่พูดรายละเอียด เพราะจะยืดยาวไปกันใหญ่ แต่จะแนะนำให้รู้จักไว้เท่านั้น ท่านที่ต้องการทราบรายละเอียด ก็ขอให้ไปค้นคว้าต่อ
    โพธิปักขิยธรรม แปลว่า ธรรมที่อยู่ในฝ่ายของโพธิ พูดง่ายๆ ว่า ธรรมที่เป็นพวกของโพธิ คือเกื้อหนุนการตรัสรู้ หรือช่วยสนับสนุนอริยมรรค มี ๓๗ อย่าง จัดเป็น ๗ หมวด คือ
    ๑. “สติปัฏฐาน ๔” แปลว่า การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นตามเป็นจริง คือ ตามที่สิ่งทั้งหลายมันเป็นของมันไม่ใช่ตามความคิดปรุงแต่งของเรา ที่คิดให้มันเป็นหรืออยากให้มันเป็น
    หลักสติปัฏฐานนี้ ก็คือ การเอาสติ มาเป็นตัวนำ เป็นตัวเด่น เป็นตัวทำงาน โดยกำกับจิตตั้งต้นแต่การรับรู้ให้อยู่กับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นเป็นไปอยู่จริง ในขณะนั้น ๆ ที่เรียกว่า อยู่กับขณะปัจจุบัน ไม่เลื่อนไหลล่องลอยไปในอดีต และอนาคต ที่เป็นเรื่องของการคิดปรุงแต่ง และให้สตินั้นเป็นตัวสร้างโอกาสแก่ปัญญาโดยจับสิ่งที่ได้เห็นได้ยินในขณะนั้น ๆ ให้ปัญญารู้เข้าใจตรงไปตรงมา
    สติปัฏฐานทำงานกับทุกสิ่งทุกอย่าง ที่เกิดขึ้นเป็นไปในชีวิตของเราตลอดเวลานี้เอง ท่านจึงจัดแยกสติปัฏฐานออกตามประเภทของสิ่งที่ชีวิตของเราเกี่ยวข้องโดยแบ่งเป็น ๔ ข้อ คือ
    ๑.) กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน ใช้สติตามดูโดยมีปัญญารู้เท่าทันสภาพทางร่างกาย
    ๒.) เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน ใช้สติตามดูโดยมีปัญญารู้เท่าทันความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือไม่สุข ไม่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
    ๓.) จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน ใช้สติตามดูโดยมีปัญญารู้เท่าทันสภาพจิตใจ
    ๔.) ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน ใช้สติตามดูโดยมีปัญญารู้เท่าทันเรื่องราวทั้งหลาย ที่รู้ที่คิดที่เกิดขึ้นในใจ
    ๒. “ปธาน ๔” ปธาน แปลว่า ความเพียร การตั้งใจ ความเพียร หรือการประกอบความเพียร หลักนี้ไม่ค่อยคุ้น ท่านที่ต้องการจะเรียนและปฏิบัติให้ลึกซึ้ง สามารถเริ่มต้นจากหลักการที่กล่าวในที่นี้แล้วไปค้นคว้ารายละเอียดต่อไป หมวดที่ ๒ คือ ปธาน ๔ หมายถึง ความเพียร ๔ ประการ ได้แก่
    ๑.) สังวรปธาน ความเพียรที่จะระวัง หรือปิดกั้นอกุศลธรรม ที่ยังไม่เกิดก็ไม่ให้เกิดขึ้น
    ๒.) ปหานปธาน ความเพียรในการละเลิกกำจัด อกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดสิ้นหายไป
    ๓.) ภาวนาปธาน ความเพียรในการฝึกอบรมทำกุศลธรรม หรือธรรมที่ดี ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
    ๔.) อนุรักขนาปธาน ความเพียรในการรักษาส่งเสริมกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ทำให้เจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์

    ๓. “อิทธบาท ๔” คือ ธรรมให้ถึงความสำเร็จ หรือทางแห่งความสำเร็จ หลักนี้รู้จักกันหมดแล้ว ต้องเอามาใช้ในการปฏิบัติด้วย อย่าลืม อิทธิบาท ๔ เป็นตัวการสำคัญที่จะทำให้เกิดสมาธิ กล่าวคือ
    ฉันทะ (ความพอใจ ; มีใจรัก) = ถ้าเราชอบหรือพอใจในสิ่งใดแล้ว เมื่อทำสิ่งนั้นก็จะเกิดสมาธิได้ง่าย
    วิริยะ (ความพากเพียร ; พากเพียรทำ) = ถ้าเราเห็นสิ่งใดเป็นสิ่งที่ท้าทายมีใจสู้ เมื่อทำสิ่งนั้นก็จะเกิดสมาธิได้ง่าย
    จิตตะ (ความใฝ่ใจ ; เอาจิตฝักใฝ่) = ถ้าเรารู้สึกว่าสิ่งใดสำคัญเราจะต้องรับผิดชอบเอาใจจดจ่ออยู่ เมื่อทำสิ่งนั้นก็จะเกิดสมาธิได้ง่าย
    วิมังสา (ความใคร่ครวญ ; ใช้ปัญญาสอบสวน) = ถ้าเราต้องการทดลองอะไรใจชอบตรวจสอบมันอยู่ เมื่อทำสิ่งนั้นก็เกิดสมาธิได้ง่าย
    ๔. “อินทรีย์ ๕“ แปลว่า ธรรมที่เป็นใหญ่ในการทำหน้าที่เฉพาะแต่ละอย่าง หรือธรรมที่เป็นเจ้าการในการข่มกำราบอกุศลธรรมที่ตรงข้ามกับตน หลักนี้หลายท่านเคยได้ยิน แต่หลายท่านก็ยังไม่เคยได้ยิน เช่น ในคำพูดที่ว่าต้องมีอินทรีย์สม่ำเสมอกัน ต้องปรับอินทรีย์ให้สม่ำเสมอ คนนี้มีอินทรีย์อ่อน คนนี้มีอินทรีย์แก่กล้า ดังนี้เป็นต้น อินทรีย์ ๕ นั้น ได้แก่ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เป็นหลักสำคัญในการปฏิบัติธรรมเหมือนกัน
    ข้อ ๑ ศรัทธา คือ ความเชื่อ ความที่จิตใจพุ่งแล่นไปหาและคล้อยไปตาม เข้าคู่กับข้อ ๕ ปัญญา ความพิจารณาไตร่ตรองมองหาความจริงให้รู้เท่าเข้าใจถึงสภาวะ ถ้าศรัทธาแรงไป ก็น้อมไปในทางที่จะเชื่อง่าย ยอมรับง่าย เชื่อดิ่งไป ตลอดจนงมงาย ถ้าเอาแต่ปัญญา ก็โน้มไปทางที่จะคิดมาก สงสัยเกินเหตุหรือด่วนปฏิเสธ ฟุ้งไปเรื่อย ไม่จับอะไรลงลึก ท่านจึงให้ปรับศรัทธากับปัญญา ให้สม่ำเสมอสมดุลกัน
    ข้อ ๒ วิริยะ คือ ความเพียร มีใจสู้ มุ่งหน้าจะทำให้ก้าวหน้าเรื่อยไป เข้าคู่กับข้อ ๔ สมาธิ คือ ความสงบของจิตใจที่แน่วแน่อยู่ที่ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถูกอารมณ์ต่างๆ รบกวน ถ้าวิริยะแรงไปก็จะเครียดและฟุ้งซ่าน โน้มไปทางล้ำเลยเขต ถ้าเอาแต่สมาธิก็จะสงบสบาย ชวนให้ติดในความสุขจากความสงบนั้น ตลอดจนกลายเป็นเกียจคร้านเฉื่อยชาปลีกตัวออกหาความสบาย ปล่อยปละละเลยหรือไม่เผชิญภาระ ท่านจึงให้เสริมสร้างวิริยะ และสมาธิอย่างสม่ำเสมอสมดุลกัน เพื่อจะได้ประคับประคองกันไปและเป็นเครื่องอุดหนุนกันให้ก้าวหน้าไปในการปฏิบัติ
    ส่วนข้อ ๓ สติ นั้น เป็นตัวคุมตัวเตือน ต้องใช้ในทุกกรณี เช่น เป็นเหมือนยามที่คอยบอกว่า เวลานี้ศรัทธาจะแรงไปแล้ว ปัญญาจะหย่อนไปแล้ว เวลานี้ควรเร่งวิริยะขึ้นมา เพราะทำท่าจะติดในสุขจากสมาธิเสียแล้ว ดังนี้เป็นต้น
    ๕. “พละ ๕” ธรรมที่เป็นกำลังในการต้านทานไม่ให้อกุศลธรรมเข้าครอบงำ ก็ได้แก่ อินทรีย์๕
    นั่นแหละ แต่มาทำหน้าที่เป็นฝ่ายรับ เรียกว่า พละ ๕ หมายความว่า ธรรม ๕ อย่างนี้เมื่อทำหน้าที่เป็นฝ่ายรุก ไปแก้ไขกำจัดอกุศลธรรมเรียกว่าอินทรีย์ ๕ แต่ถ้าทำหน้าที่ฝ่ายรับต้านทานอกุศลธรรมไม่ให้บุกเข้ามาทำลายได้ ก็เรียกว่า เป็นพละ ๕

    ๖. “โพชฌงค์ ๗” แปลว่า องค์ของผู้ตรัสรู้ หรือองค์ประกอบของการตรัสรู้ เป็นกลุ่มธรรมสำคัญในการทำงานให้เกิดโพธิ คือ ปัญญาตรัสรู้ ซึ่งทำให้ทั้งรู้ ทั้งตื่นและทั้งเบิกบาน ได้แก่
    ๑.) สติ ความระลึกได้ เป็นตัวที่จับไว้หรือรวบรวมเอามา ซึ่งสิ่งที่ควรรู้เข้าใจ มานำเสนอให้ปัญญาตรวจตรองพิจารณาอย่างถนัดชัดเจน
    ๒.) ธรรมวิจัย ความเฟ้นธรรม หมายถึง การใช้ปัญญาสอบสวนพิจารณาสิ่งที่สติกำหนดไว้ หรือนำเสนอนั้น ให้รู้เข้าใจเห็นสาระเห็นความจริง
    ๓.) วิริยะ ความเพียร คือ ความแกล้วกล้า กระตือรือร้น รุดหน้าต่อไปในการทำงาน ให้จิตใจไม่หดหู่ ถดถอย หรือท้อแท้
    ๔.) ปีติ ความอิ่มใจ คือ ปลาบปลื้ม ดื่มด่ำ ซาบซึ้ง ฟูใจ ที่เป็นไปพร้อมกับการทำงานก้าวรุดหน้าต่อไป
    ๕.) ปัสสัทธิ ความผ่อนคลายสงบเย็นกายใจ เป็นความเรียบเย็น ไม่เครียด ไม่กระสับกระส่าย เบาสบายซึ่งสืบเนื่องจากปีติ และเป็นองค์ธรรมสำคัญในการรักษาสุขภาพจิต ความเพียรพยายามทำงานการที่พ่วงมาด้วยปัสสัทธิ จะไม่ทำให้คนเป็นโรคจิตอย่างที่เป็นกันมากในหมู่คนทำงานในยุคปัจจุบัน

    ๖.) สมาธิ ความมีใจตั้งมั่น คือ จิตใจแน่วแน่อยู่กับสิ่งที่กำหนดเป็นหนึ่งเดียว อยู่กับกิจ อยู่กับเรื่องที่พิจารณา ไม่วอกแวก ฟุ้งซ่าน
    ๗.) อุเบกขา ความวางทีเฉยดู หมายถึง ความมีใจเป็นกลาง จิตใจเรียบสม่ำเสมอ นิ่งดูไปอย่างพร้อมสบาย ในขณะที่จิตปัญญาทำงานก้าวหน้าไปเรียบรื่นตามกระบวนการของมัน
    ๗. สุดท้ายก็คือ ตัว “มรรคมีองค์ ๘” อันได้แก่ สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ) สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) สัมมากัมมันตะ (ทำการชอบ) สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) สัมมาวายามะ (พยายามชอบ) สัมมาสติ (ระลึกชอบ) สัมมาสมาธิ (จิตมั่นชอบ)
    ว่าที่จริง โพธิปักขิยธรรมก็ขยายจากมรรคมีองค์ ๘ นั่นแหละ หลักสุดท้ายนี้จึงเป็นตัวรวม แต่ขยายออกไปเพื่อให้เห็นประชาชนซึ่งทำหน้าที่ต่างๆ กัน เป็นข้าราชการ เป็นตำรวจ เป็นทหาร เป็นแพทย์ เป็นครู อาจารย์ เป็นพระ ฯลฯ มากมาย เมื่อพูดมาถึงโพธิปักขิยธรรมแล้ว ก็เรียกว่าจบเพราะโพธิปักขิยธรรมเป็นตัวการปฏิบัติ หรือเป็นคณะทำงาน เมื่อคณะทำงานในการปฏิบัติธรรมมาถึงแล้ว ก็ยกให้เป็นหน้าที่ของคณะทำงานนั้น ทำหน้าที่ของเขาต่อไป
    อาตมาทำหน้าที่เป็นผู้แนะนำตัว เมื่อได้แนะนำตัวจนกระทั่งท่านทั้งหลายได้รู้จักคณะทำงานแล้วว่า มีใครบ้าง ได้แก่ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ตัว เมื่อพูดถึงตอนนี้แล้ว ก็จึงเป็นอันว่าจบ ต่อจากนี้ก็ขอให้ท่านไปทำความรู้จักกับคณะทำงาน เมื่อรู้จักกับคณะทำงานแล้ว ก็ขอให้ไปร่วมมือกับคณะทำงานนั้น หรือใช้คณะทำงานนั้นทำงานคือการปฏิบัติธรรมต่อไป หน้าที่ของอาตมาภาพก็จบลงเพียงเท่านี้ ขออนุโมทนาทุกท่านและเจริญพร
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC][/FONT]ปฏิบัติธรรม วัดผลอย่างไร[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC][/FONT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    จาก หนังสือเรื่องปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง หน้า ๖๘–๗๗
    เมื่อเราได้ทุนและเครื่องประกอบในการเดินทางแล้ว ต่อไปนี้ ก็เข้าสู่การเดินตามมรรค ได้บอกแล้วว่า ตัวทางที่เดินก็คือ มรรค มรรคมีองค์ ๘ ประการอันนี้ทราบกันแล้ว ไม่ต้องบรรยายในรายละเอียด และก็ได้บอกแล้วด้วยว่า การฝึกชีวิตให้ดำเนินตามมรรค หรือการทำตัวให้เดินไปตามมรรคนั้นคือสิกขา หรือการศึกษา ดังได้อธิบายแล้วว่า การศึกษากับมรรคสัมพันธ์กันอย่างไร
    ทีนี้ต่อไป ก็จะพูดถึงการตรวจสอบหรือวัดผล เมื่อกี้นี้ได้บอกให้ตรวจสอบด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเองโดยดูว่าโลภ โกรธ หลง มีน้อยหรือมาก ได้ลดละ ให้เบาบางหรือหมดไปหรือยัง แต่นั้นเป็นการตรวจสอบโดยพูดเชิงลบอย่างรวบรัด
    ก.) ดูกุศลธรรมที่เพิ่มขึ้น

    โดยทั่วไปมีการวัดด้วยคุณธรรมต่างๆ ที่งอกงามขึ้นมาแทนอกุศลธรรม คือ จะต้องดูว่า กุศลธรรมเจริญขึ้นมาแทนที่อกุศลแค่ไหน หลักการวัดความเจริญในการเดินตามมรรคหมวดหนึ่งมี ๕ อย่าง
    ประการที่ ๑ ดูว่ามีความมั่นใจ มีความเชื่อมั่นในสิ่งที่เป็นกุศล สิ่งที่เป็นความดีงามมากขึ้นหรือไม่ มีความมั่นใจแม้แต่ใน โพธิสัทธา เชื่อในศักยภาพของตนเองที่จะพัฒนาขึ้นไปหรือไม่ เมื่อมีความเชื่อมันมากขึ้นก็เรียกว่า มีศรัทธามากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี เป็นกุศลธรรมที่เจริญเพิ่มขึ้น โดยสรุป คือดูว่ามีศรัทธา มีความเชื่อ มีความมั่นใจในกุศลธรรมในความดีงามต่างๆ มากขึ้นหรือไม่
    ประการที่ ๒ เมื่อปฏิบัติเดินตามมรรคไป มีระเบียบในการดำเนินชีวิตดีขึ้นไหม มีการประพฤติตนอยู่ในสุจริตดีขึ้นไหม อันนี้เป็นส่วนที่แสดงออกภายนอกในการดำเนินชีวิต เพราะฉะนั้น ต้องเอามาวัดดูด้วยว่าเราดำเนินชีวิตดีขึ้นไหม มั่นคงสุจริตมากขึ้นไหม มีระเบียบวินัยที่ราบรื่นดีไหม มีความสัมพันธ์กับโลกกับมนุษย์กับสังคมดีขึ้นไหม เรียกสั้นๆ ว่ามีศีล ดีขึ้นไหม
    ประการที่ ๓ ดูว่าเรามีความรู้จากการที่ได้สดับได้ค้นคว้าอะไรต่างๆ มากขึ้นไหม ได้เรียนรู้มากขึ้นและกว้างขวางเพียงพอไหมในธรรมที่จะปฏิบัติต่อๆ ไป หรือในสิ่งที่จะนำมาใช้แก้ปัญหาหรือในการพัฒนาตน ได้ประสบการณ์ต่างๆ มาเป็นข้อมูลของความรู้มากขึ้นหรือไม่ เรียกสั้นๆ ว่ามีสุตะ มากขึ้นไหม
    ประการที่ ๔ มีความลดละกิเลสได้มากขึ้นไหมกิเลสต่างๆ โดยเฉพาะความโลภ ความโกรธ ความหลง ความเห็นแก่ตัวนี่ละได้ มีความเห็นแก่ตัวน้อยลงบ้างไหม มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มีน้ำใจ เห็นแก่เพื่อมนุษย์ เห็นแก่ผู้อื่นมากขึ้นไหม มีจิตใจกว้างขวางโปร่งเบามากขึ้นไหม เรียกสั้นๆ ว่ามีจาคะ มากขึ้นไหม
    ประการสุดท้าย คือ ปัญญา ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจในความจริงของสิ่งทั้งหลาย ตรวจสอบว่า เรามีความเข้าใจในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไหม เรารู้เข้าใจถูกต้องตามความเป็นจริงมากเพียงใด เรามองเห็นเหตุปัจจัยและความสัมพันธ์ของสิ่งทั้งหลายชัดเจนดี สามารถนำความรู้มาเชื่อมโยงใช้ในการแก้ปัญหาและสร้างสรรค์พัฒนาให้เป็นผลดีหรือไม่ อันนี้เป็นตัวแกนแท้ที่ต้องการเป็นตัวคุมทั้งหมด
    ตกลงว่า หัวข้อนี้ก็เป็นหลักหนึ่งในการตรวจสอบความเจริญ คือ ดูว่ามีศรัทธามากขึ้นไหม มีศีลมากขึ้นไหม มีสุตะมากขึ้นไหม มีจาคะมากขึ้นไหม และมีปัญญามากขึ้นหรือไม่ หลักนี้เรียกว่า "อริยวัฒิ" แปลว่า ความเจริญของอริยชนความเจริญแบบอารยะ ได้แก่ หลักวัดความเจริญหรือพัฒนาการของอารยชน ถ้ามีความเจริญเพียงว่ามีทรัพย์สินเงินทองมากขึ้นอย่างเดียว แต่มีความเห็นแก่ตัวมากขึ้น อย่างนั้นไม่ถือว่ามีความเจริญในการศึกษา หรือในการพัฒนาชีวิตที่แท้จริง หรือมีโทสะมีความเกลียดชังมีกิเลสต่างๆ มากขึ้น
    ก็เช่นเดียวกัน
    ข.) ดูการทำหน้าที่ต่อธรรมต่างๆ
    ที่จริงหลักตรวจสอบมีหลายอย่าง หลักอย่างหนึ่งเป็นการดำเนินตามอริยสัจ ๔ กล่าวคือ การปฏิบัติธรรมนั้น ได้แก่ การดำเนินตามหลักการแก้ปัญหาด้วยวิธีการของอริยสัจ ๔ ในการปฏิบัติจึงต้องดูว่าเราปฏิบัติหน้าที่ต่ออริยสัจ ๔ ถูกต้องหรือไม่ อริยสัจ ๔ มีหน้าที่ประจำแต่ละข้อ ถ้าปฏิบัติต่ออริยสัจ ๔ แต่ละข้อผิด ก็ถือว่าเราได้เดินทางผิดแล้ว
    อริยสัจข้อที่หนึ่ง ทุกข์ คือ ตัวปัญหา เรามีหน้าที่ต่อมันอย่างไร หน้าที่ต่อปัญหาหรือความทุกข์
    ก็คือหน้าที่ที่เรียกว่า ทำความรู้จัก ท่านเรียกว่า กำหนดรู้ รู้จักว่ามันคืออะไร อยู่ตรงไหน มีขอบเขตเพียงใด เราจะแก้ปัญหา เราจะแก้ความทุกข์ เราต้องรู้ว่าทุกข์คืออะไร ปัญหาของเราคืออะไร ขอบเขตของมันอยู่ที่ไหน อะไรเป็นที่ตั้งของปัญหา ถ้าจับไม่ถูกแล้วก็เดินหนีหน้าไปไม่ได้ จับตัวปัญหาให้ได้เสียก่อน แล้วก็เรียนรู้สิ่งที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับปัญหานั้นทั้งหมด เราไม่มีหน้าที่ที่จะไปสร้างปัญหา เราไม่มีหน้าที่ไปเอาปัญหามาวุ่นวายใจ มาเก็บมากังวลใจมาทำให้เกิดความทุกข์ ไม่ใช่อย่างนั้นเราไม่มีหน้าที่ทุกข์ แต่เรามีหน้าที่รู้จักทุกข์ นี้เป็นประการที่หนึ่งคือรู้จักตัวปัญหาตามที่เป็นจริง
    อริยสัจข้อที่สอง สมุทัย คือ เหตุของทุกข์เรามีหน้าที่อย่างไร หน้าที่ที่จะต้องทำต่อสมุทัย ก็คือสืบสาวค้นหามันให้พบ ให้รู้ว่ากระบวนการที่มันเกิดขึ้นเป็นอย่างไร แล้วละมันให้ได้ แก้ไขกระบวนการให้สำเร็จ คือ กำจัดสาเหตุของปัญหา หรือสาเหตุของความทุกข์ ไม่ใช่กำจัดปัญหา ปัญหานั้นเรากำจัดไม่ได้ เราแก้ปัญหาด้วยการกำจัดเหตุของมัน
    อริยสัจข้อที่สาม นิโรธ คือ ความดับทุกข์ การแก้ปัญหาสำเร็จหรือภาวะปราศจากปัญหาเป็นความมุ่งหมาย การแก้ไขปัญหาสำเร็จคืออะไร จุดหมายที่ต้องการคืออะไร เป็นสิ่งที่เป็นไปได้หรือไม่ กระบวนการแก้เป็นอย่างไร เมื่อรู้ว่ามันคืออะไรและเป็นไปได้แล้วเราก็มีหน้าที่ต่อมัน คือ บรรลุถึง หรือเข้าถึง แต่การที่จะเข้าถึงมัน คือ จะเข้าถึงจุดหมายก็ดี จะกำจัดสาเหตุของปัญหาก็ดี แก้ปัญหาได้ก็ดี จะต้องไปสู่ข้อสุดท้าย คือ มรรค
    อริยสัจข้อที่สี่ มรรค มรรคเป็นทางเดินก็คือข้อปฏิบัติซึ่งเรามีหน้าที่คือ ลงมือทำ เป็นข้อสุดท้าย ต้องลงมือทำตั้งแต่บุพนิมิตของมรรคเป็นต้นไปทีเดียว ธรรมทั้งหมด จัดเข้าในอริยสัจ ๔ ได้ทั้งสิ้น

    -- สิ่งทั้งหลายในโลกนี้ตามที่สัมพันธ์กับมนุษย์หรือที่มนุษย์ต้องเกี่ยวข้องประเภทหนึ่งนั้น จัดเข้าในจำพวกที่เรียกว่าทุกข์ ซึ่งเป็นปัญหาและสิ่งที่ต้องเผชิญ
    -- สิ่งทั้งหลายในโลกนี้ประเภทที่สอง จัดเข้าในจำพวกสิ่งที่เป็นโทษ ก่อทุกข์ภัย หรือเป็นสาเหตุของปัญหา
    -- สิ่งทั้งหลายในโลกนี้ประเภทที่สาม จัดเข้าในจำพวกสิ่งที่พึงประสงค์ หรือเป็นจุดหมาย และ
    -- สิ่งทั้งหลายประเภทที่สี่ จัดเข้าในจำพวกสิ่งที่จะต้องทำหรือ เป็นวิธีปฏิบัติ
    และเราก็มีหน้าที่ปฏิบัติต่อมันให้ถูกต้อง อย่างที่หนึ่งทำความรู้จัก กำหนดให้ถูก อย่างที่สองกำจัดสาเหตุ อย่างที่สามคือเข้าถึงจุดหมาย และอย่างที่สี่คือลงมือทำหรือลงมือเดินทาง หลักการนี้ใช้ในการปฏิบัติธรรมเหมือนกัน คือในเวลาที่ไปเกี่ยวข้องกับธรรม ก็ควรจะจัดให้ถูกด้วยว่าธรรมนั้นอยู่ในประเภทไหนใน ๔ ข้อนี้ เมื่อจัดเข้าถูกต้องแล้ว เราก็จะปฏิบัติถูกหน้าที่ว่า หน้าที่ต่อข้อนั้นคือเราจะต้องทำอะไรอย่างไร
    ธรรม ๔ ประเภทนั้น หรือสิ่งทั้งหลายทั้งปวงนั้น มีชื่อเรียกเฉพาะตามหน้าที่ที่เราพึงปฏิบัติต่อมัน คือ
    ๑. สิ่งทั้งหลายที่เป็นทุกข์ เป็นปัญหา เป็นที่ตั้งของปัญหาหรือเป็นจุดเกิดปัญหา เมื่อมนุษย์ปฏิบัติต่อมันไม่ถูกต้อง เรียกว่า ปริญไญยธรรม คือสิ่งที่จะต้องกำหนดรู้ หรือทำความรู้จัก ตัวอย่างเช่น ร่างกาย จิตใจ ชีวิต โลก ความผันผวน ปรวนแปร วิปโยค โศกเศร้า ผิดหวัง ความรู้สึกสุขหรือทุกข์ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ความคิด ความจำ ความเปลี่ยนแปลง ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ฯลฯ (ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ไตรลักษณ์ และธรรมอื่นทำนองนี้)
    ๒. สิ่งทั้งหลายที่เป็นจำพวกเหตุก่อทุกข์ หรือสาเหตุของปัญหา เรียกว่า ปหาตัพพธรรม คือสิ่งที่จะต้องละเลิก แก้ไข กำจัด ตัวอย่างเช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ความเห็นแก่ตัว ความถือตัว ความเย่อหยิ่ง ความเกียจคร้าน ความเกลียดชัง ความริษยา ความเบื่อหน่าย ความท้อแท้ ความเฉื่อยชา ความฟุ้งซ่าน ความระแวง ความประมาท ความโง่เขลา ฯลฯ (อกุศลมูล กิเลส ตัณหา มานะ ทิฏฐิ อวิชชา อุปาทาน สังโยชน์ นิวรณ์ และธรรมอื่นทำนองนี้)
    ๓. สิ่งทั้งหลายที่พึงประสงค์ เป็นจุดหมายที่ควรทำให้สำเร็จ หรือควรได้ควรถึง เรียกว่า
    สัจฉิกาตัพพธรรม คือสิ่งที่จะต้องเข้าถึงหรือประจักษ์แจ้ง ตัวอย่างเช่น ความสงบ ความร่มเย็น
    ความบริสุทธ์ ความปลอดโปร่งโล่งเบา ความผ่องใส ความเบิกบาน ความไร้ทุกข์ ความสุขที่แท้ สุขภาพ
    ภาวะปลอดพ้นปัญหา ความเป็นอิสระ หรืออิสรภาพ ฯลฯ ( วิชชา วิมุตติ วิสุทธิ สันติ นิพพาน และธรรมอื่น ทำนองนี้)
    ๔. สิ่งทั้งหลายที่เป็นข้อปฏิบัติ เป็นวิธีการ เป็นข้อปฏิบัติ เป็นวิธีการ เป็นสิ่งที่ต้องทำต้องบำเพ็ญ เพื่อก้าวไปให้ถึงจุดหมาย เรียกว่า ภาเวตัพพธรรม คือสิ่งที่จะต้องทำให้มีให้เป็นขึ้น ให้เจริญงอกงามเพิ่มพูนขึ้นหรือ ต้องลงมือทำ ลงมือปฏิบัติ ตัวอย่างเช่น เมตตา ไมตรี หรือมิตรภาพ กรุณา ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความเสียสละ ความขยันหมั่นเพียร ความมีกำลังใจ ฉันทะ ศรัทธา สติ สมาธิ ปัญญา สัมปชัญญะ ฯลฯ (มรรค ไตรสิกขา สมถะ วิปัสสนา และธรรมอื่นทำนองนี้)
    รายละเอียดของธรรม ๔ ประเภท หรือการจักประเภทสิ่งทั้งหลายในโลกมีอย่างไร จะไม่กล่าวในที่นี้แต่พูดง่ายๆ ว่าหลักนี้ท่านให้ใช้ในการตรวจสอบวัดผลสำเร็จในการศึกษาหรือการปฏิบัติธรรมว่า
    -- สิ่งที่ควรกำหนดรู้ เราได้กำหนดรู้หรือรู้จักแล้วหรือไม่

    -- สิ่งที่ควรแก้ไขกำจัด เราได้แก้ไขกำจัดแล้วหรือยัง

    -- สิ่งที่ควรประจักษ์แจ้ง เราได้ประจักษ์แจ้งแล้วแค่ไหนและ
    -- สิ่งที่ควรปฏิบัติจัดทำให้เกิดให้มีขึ้นจนบริบูรณ์ เราได้ปฏิบัติจัดทำแล้วเพียงใด
    ค.) ดูสภาพจิตที่เดินถูกระหว่างทาง
    ในการปฏิบัติธรรม คือ ดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง หรือฝึกฝนพัฒนาตนไปนั้น ระหว่างการปฏิบัติ พัฒนาหรือศึกษาก้าวหน้าไปเรื่อยๆ ควรจะสังเกตดูสภาพจิตใจของตนไปด้วยว่าเป็นอย่างไร ในกรณีทั่วไป ถ้าไม่มีเหตุพิเศษ เมื่อปฏิบัติถูกต้องจิตเดินถูกทางก้าวหน้าดี ก็จะเกิดมีสภาพจิตที่ดีงามสอดคล้องกัน ซึ่งเป็นทั้งคุณสมบัติของจิตนั้น และเป็นลักษณะของการปฏิบัติที่ได้ผล ลักษณะของจิตที่เดินถูกทางนั้น ที่ควรสังเกตมี
    ๕ อย่าง ซึ่งเป็นปัจจัยส่งทอดต่อกันตามลำดับ คือ

    ๑. ปราโมทย์ ได้แก่ ความแช่มชื่น ร่าเริง เบิกบานใจ
    ๒. ปีติ ได้แก่ ความอิ่มใจ ความปลาบปลื้มใจ ใจฟูขึ้น
    ๓. ปัสสัทธิ ได้แก่ ความรู้สึกผ่อนคลายกายใจ ใจเรียบรื่น ระงับลง เย็นสบาย
    ๔. สุข ได้แก่ ความสุข ความคล่องใจ โปร่งใจ ไม่มีความติดขัด บีบคั้น
    ๕. สมาธิ ได้แก่ ความมีใจตั้งมั่น สงบ อยู่ตัว อยู่กับงานที่ทำหรือเรื่องที่เกี่ยวข้อง ไม่วอกแวก
    ไม่ฟุ้งซ่าน
    พอสมาธิเกิดขึ้น จิตใจก็มีสภาพเหมาะแก่งานที่ท่านเรียกว่าเป็นกัมมนีย์ พร้อมที่จะเอาไปใช้สร้างสรรค์พัฒนา คิดการและเป็นที่ทำงานของปัญญาอย่างได้ผลดี และสมาธิก็อาศัยองค์ธรรม ๔ อย่างแรกนั่นแหละช่วยเกื้อหนุน และทำให้เกิดขึ้น สภาพจิต ๕ อย่างนี้ เป็นทั้งคุณสมบัติที่ดีงามโดยตัวของมันเอง และเป็นเครื่องหมายของความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม จึงควรพยายามทำให้เกิดขึ้น และการทำสภาพจิตเหล่านี้ให้เกิดขึ้น ก็เป็นการปฏิบัติธรรมอยู่ในตัว
    เพียงแค่ข้อ ๑ มีปราโมทย์ ทำใจให้แช่มชื่นเบิกบานไว้มากๆ เมื่อปราโมทย์นั้นเกิดจากการปฏิบัติที่ถูกต้อง จิตเดินดีแล้ว ท่านให้ความมั่นใจว่าจะลุถึงสันติบรมธรรมที่เป็นจุดหมาย ดังคาถาธรรมบท ที่ ๓๗๖, ๓๘๑ ว่า
    ตโต ปาโมชฺชพหุโล ทุกฺขสฺสนฺตํ กริสฺสติ
    . . . ลำดับนั้น เธอผู้มากด้วยปราโมทย์ จักทำทุกข์ให้หมดสิ้น
    ปราโมชฺชพหุโล ภิกขุ ปสนฺโน พุทฺธสาสเน อธิคจฺเฉ ปทํ สนฺตํ สงฺขารูปสมํ สุขํ
    ภิกษุผู้เลื่อมใสในคำสอนของพระพุทธเจ้า มากด้วยปราโมทย์ จะพึงบรรลุสันติบท ที่สงบระงับสังขารเป็นสุข

    - จบ -​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=3846

    พุทธวิธีเตรียมตัวก่อนตาย
    โดย พระธรรมสิงหบุราจารย์
    (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม)

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top><HR>[​IMG]

    พุทธวิธีเตรียมตัวก่อนตาย
    โดย พระธรรมสิงหบุราจารย์
    (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม)



    ขอเจริญพรท่าน ดร.พินิจ รัตนกุล ผู้อำนวยการศูนย์ศาสนศึกษา
    มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยบรรดาญาติพี่น้องผู้ใคร่ธรรมสัมมาปฏิบัติทุกท่าน
    อาตมาขออนุโมทนาแก่ท่าน ดร.พินิจ รัตนกุล
    ที่มองเห็นการณ์ไกลนิมนต์อาตมาให้บรรยายเรื่อง
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=1888&start=0&postdays=0&postorder=asc&highlight=

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top><HR>
    [​IMG]
    สมาธิในชีวิตประจำวัน
    โดย พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต)

    วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
    แขวงกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร


    สมาธิ คือ ความตั้งใจมั่นอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เรากำหนดใจว่า จะทำให้สำเร็จ ใจเราปักหลักอยู่กับเรื่องนั้นเท่านั้น สมาธิมีความหมายอีกอย่างหนึ่งว่า เอกัคคตา แปลว่า คิดเรื่องเดียว เลือกเรื่องที่ท่านจะทำ ลองกำหนดตารางเวลา ผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพนั้นจะกำหนดเวลา เป็นช่วงๆ อันไหนเรื่องด่านเรื่องสำคัญแล้วก็ทุ่มเททำเรื่องนั้นจนหมดเวลา หรือเสร็จเรื่องแล้วจึงค่อยเปลี่ยนหรือสวิชต์ไปเรื่องอื่น เขาคิดทีละเรื่อง ไม่ใช่ให้เรื่องต่างๆ เข้ามาพันกันจนยุ่งไปหมด

    การมีสมาธิหมายความว่าเรากำลังคิดเรื่องอะไรก็มีสติในเรื่องนั้น ใจอยู่กับเรื่องนั้นเพียงเรื่องเดียว อย่างที่หลวงพ่อเทียนท่านสอนให้ทำ สมาธิด้วยกายคตาสติ คือ กำหนดดูมือที่ขึ้นและลง ขึ้นก็รู้ ลงก็รู้ มีสติกับ การเคลื่อนไหวของมือในปัจจุบันตลอดเวลา ไม่วอกแวกไปไหนเลย สติที่ติดตามการเคลื่อนไหวของมืออย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดสมาธิ มือในปัจจุบันขณะอยู่ตรงไหน สติรู้ทันหมด หรือในการฝึกสติตามการเดินว่า ซ้ายย่างหนอ ขวาย่างหนอ สำหรับคนเริ่มฝึกขั้นแรก เขายกเท้าซ้ายแล้วก็วาง ยกเท้าขวาแล้วก็วางให้มีสติตามทันการเคลื่อนไหว คนที่ฝึกขั้นสูงสติรู้ปัจจุบันละเอียดขึ้นอีก ยก - ย่าง - เหยียบ อย่างนี้เป็นต้น

    เมื่อฝึกสติมากขึ้น สติจะตามทันทุกอย่าง ทันแม้กระทั่งความคิดของตัวเอง เวลาที่จิตโกรธ เราจะรู้ทันและใส่เบรกให้กับตัวเองได้ จุดประสงค์ที่แท้จริงต้องมาถึงขั้นที่ว่า ถ้าเกิดโกรธหรือกลัวขึ้นมาก็สามารถที่จะห้ามความโกรธหรือปลุกปลอบใจได้ ถ้าหากว่าเราเริ่มจะขุ่นมัว สติจะเป็นเครื่องตรวจสอบตนเอง รู้ทันแม้กระทั่งความคิดของตนเองได้ เพราะฉะนั้นคนที่มักโกรธควรเจริญสติจะได้ใจเย็นลง สติเป็นตัวกระบวน การฝึกอยู่กับปัจจุบัน เช่น กำหนดลมหายใจเข้าออก ลมถูกปลายจมูกก็รู้ ลมหายใจเข้าก็รู้ หายใจออกก็รู้ อย่างนี้เป็นต้น ไม่วอกแวกไปที่อื่น สติอยู่กับลมหายใจเข้าออกเท่านั้นเรียกว่า อานาปานสติ คือ สติกำหนดลม หายใจเข้าและออก เมื่อทำสติเช่นนี้ต่อเนื่องจะเกิดสมาธิคือปักใจอยู่กับลมหายใจอย่างเดียว

    สมาธิมี 3 ขั้นด้วยกัน คือ

    1. ขณิกสมาธิ สมาธิชั่วขณะ
    2. อุปจารสมาธิ สมาธิเกือบจะแน่วแน่
    3. อัปปนาสมาธิ สมาธิแน่วแน่

    ขั้นที่ 1 เรียกว่า ขณิกสมาธิ เป็นสมาธิขั้นต้นสำหรับชาวบ้าน สมาธิชั่วขณะที่ทำสิ่งนั้นๆ เช่น อยู่กับขณะของลมหายใจเข้า - ออก แน่วแน่อยู่กับเรื่องนั้น สมาธิที่ใช้ทั่วไปในชีวิตประจำวันเราอ่านหนังสือหนึ่งเล่มจนจบได้ต้องมีขณิกสมาธิ ในการที่ท่านฟังบรรยายนี้เข้าใจจะต้องมีขณิกสมาธิทุกคน ถ้าไม่มีสมาธิขั้นนี้เรียนอะไรไม่ได้

    ใครมีขณิกสมาธิมากก็จะมีกระแสจิตที่แรงกล้า เพราะสมาธิคือการรวมพลังให้กับกระแสจิต อย่างที่ท่านมองใครสักคนหนึ่งท่านมองอย่างตั้งใจก็คือระดมความคิดไปที่เขา การระดมกระแสจิตไปนั้นก็คือ สมาธินั่นเอง ในขณะนั้นท่านมองอย่างโกรธ มองอย่างรักหรือมองอย่างเมตตา กระแสสมาธิจึงมีอยู่หลากหลาย อย่างเช่น ท่านแผ่เมตตาก็คือทำสมาธินั่นเอง นึกถึงใครด้วยเมตตากรุณาคือความรักความสงสาร ก็เป็นกรรมฐานอย่างหนึ่ง

    พระพุทธเจ้าเองนิยมใช้การกำหนดลมหายใจ เข้า - ออก ที่เรียกว่า อานาปานสติ หลวงพ่อเทียนใช้กายคตาสติรู้ทันการเคลื่อนไหวของมือ คิดอยู่เรื่องเดียว มองจะต้องให้เห็น คือรู้ทันปัจจุบัน ปรากฏว่า บางคนทำแล้ววอกแวก เพราะแทนที่จะไปดูมือ ไปดูเส้นลายมือ คิดว่าเส้นลายมือเรามันขาด เส้นโชคเมื่อไรจะขึ้นสักทีหนอ มือซีดเหลือเกิน จิตวิ่งไปเรื่องไหนต่อเรื่องไหน พอให้กำหนดลมหายใจเข้า - ออก เป็นหวัดเสียแล้ว คิดไปเรื่องโน้นเรื่องนี้ ฟุ้งซ่านไปหมด

    สมาธิขั้นสูงขึ้นไปเกือบจะเป็นฌาน เรียกว่า อุปจารสมาธิ แปลว่าใกล้ จะแน่วแน่ ขั้นนี้สามารถกำจัดนิวรณ์ทั้งห้าคือ กามฉันทะ (ความพอใจใน กาม) พยาบาท (ความขัดเคือง) ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม) อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและรำคาญใจ) และวิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) อุปจารสมาธิยังไม่เรียกว่าฌาน เพราะยังไม่มีองค์ฌานทั้งห้า

    สมาธิขั้นสูงสุดเรียกว่า อัปปนาสมาธิ หมายถึงสมาธิแน่วแน่ เป็นสมาธิของผู้เข้าฌาน มีองค์ฌานทั้งห้า คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา พระพุทธเจ้าเวลาเข้าฌานสมาบัติ ฟ้าผ่าลงมาใกล้ๆ ก็ไม่ได้ยิน จิตแน่วแน่มาก อันนี้เราทำในชีวิตประจำวันไม่ได้ เพราะเสียงจะเป็นข้าศึกเป็นปฏิปักษ์ต่อสมาธิ ผู้ต้องการบรรลุสมาธิขั้นนี้อาจต้องเข้าป่า แต่สำหรับคนที่จะบรรลุเป็นพระอรหันต์ไม่จำเป็นต้องได้อัปปนาสมาธิก่อน ท่านทำขณิกสมาธิแล้วเข้าวิปัสสนาไปเลย

    ความต่างของสมาธิและวิปัสสนาอยู่ตรงที่ สมาธิเป็นเรื่องของความแน่วแน่ของจิต วิปัสสนาเป็นเรื่องของปัญญา วิปัสสนาคือเอาจิตไป ดูอนิจจัง ความไม่เที่ยง เกิด - ดับๆ ของจิต หรือความรู้สึกเช่น เมื่อครู่นั่งแล้วมีความสุข ตอนนี้มีความทุกข์ สุขทุกข์ไม่เที่ยงคือเห็นไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ถ้าเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เรียกว่า วิปัสสนา เป็นเรื่องของปัญญา แต่ถ้าเป็นเรื่องของสมาธิในชีวิตประจำวันหรือเป็นเรื่อง ความสงบนิ่งแห่งจิต เป็นเรื่องจิตคิดน้อยที่สุดจนหยุดคิด ท่านจะมีความสุขสงบมีพลังในการทำงาน เป็นประโยชน์ในชีวิตทั่วไป แล้วทำให้ท่านไม่เครียด

    คนเครียดคือคนแบกเรื่องหนักไว้เต็มหัว พรุ่งนี้หรือมะรืนนี้จะถึงวันงาน กังวลว่านี่ก็ยังไม่ได้ทำ นั่นก็ยังไม่ได้ทำ คิดจะทำเรื่องหนึ่งก็มีเรื่องนี้มาเรื่องนั้นมากวนใจ เช่น ไปอยู่ที่ทำงานรู้สึกเครียดก็หอบงานกลับไปทำที่บ้าน พอกลับบ้านก็หอบงานกลับไปทำที่ทำงาน อยู่ที่ทำงานก็ห่วงบ้านจนต้องโทรศัพท์กลับไปที่บ้าน พอไปอยู่ที่บ้านก็โทรศัพท์กลับไปที่ทำงาน หรือตอนทำงานก็วางแผนพักร้อน ตอนไปพักร้อนก็หอบเอางานไปทำด้วย และพอกลับไปที่ทำงานก็วางแผนพักร้อนต่อไป

    อะไรก็ไม่รู้ ทำอะไรไม่จริงสักอย่าง ใจวุ่นวายสับสน คนที่ไม่เครียด ก็คือทำทีละเรื่อง ที่ละอย่าง อันไหนจำเป็นรีบด่วนก็ทำ หรือที่เราเรียกว่าการจัดลำดับความสำคัญนั่นเอง คนที่มีระเบียบในชีวิตบางคนทำงานได้หลายเรื่องในวันเดียวกัน ข้อสำคัญต้องมีระเบียบว่า ขั้นนี้เราทำให้เต็มที่ เสร็จแล้วจึงจับงานอื่นขึ้นมาทำ ทำทีละเรื่องๆ เหมือนกับยกเก้าอี้ทีละตัว ถ้าท่านพยายามยกทีละ 10 ตัว ก็ยกไม่ไหว

    นโปเลียนมหาราชเป็นผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพคนหนึ่ง จิตแพทย์เขียนเล่าไว้ว่า ตอนนโบเลียนมีอำนาจวาสนารบเก่งมาก ตีชนะเกือบทั่วยุโรปจนถึงรัสเซีย รบก็เก่ง และเป็นนักบริหารที่เก่งในยามสงบ บริหารการคลังเยี่ยมเงินเต็มคลัง พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 กับพระนางมารีอังตัวเนตใช้เงินหมดเลย ไม่มีเงินเหลือ แต่นโปเลียนสามารถทำเงินให้เต็มคลัง ไปรบที่ไหนเขียนจดหมายถึงมเหสี เขียนจดหมายสั่งงานได้ มีจดหมาย และบันทึกของนโปเบียนเก็บไว้เป็นหลักฐาน ในปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ถึง 80,000 ฉบับ บางฉบับแปลมาเป็นภาษาไทย คือเรื่องจดหมายรักนโปเลียน เขาเอาเวลาที่ไหนมาทำเรื่องต่างกันได้ เรื่องเศรษฐกิจกับการรบมันคนละอย่าง

    จิตแพทย์สงสัยว่านโปเลียนทำได้อย่างไร ตอนนั้นนโปเลียนถูกจับปล่อยเกาะ จิตแพทย์ก็ยังอุตส่าห์นั่งเรือไปสัมภาษณ์ นโปเบียนก็ขยายความลับบอกว่า เราฝึกคิดทีละเรื่อง ทำเรื่องไหนนึกคิดเรื่องนั้นเท่านั้น คือทำสมาธินั่นเอง มีสติจดจ่ออยู่กับเรื่องนั้น เขาไม่ได้เรียนรู้วิธีทำสมาธิแบบพุทธเขาฝึกด้วยวิธีของตนเอง เขาบอกว่า ฝึกจินตนาการให้หัวสมองเขาเหมือนกับตู้มีลิ้นชักหลายลิ้นชัก แต่ละลิ้นชักเก็บไว้ 1 เรื่อง เท่านั้น เรื่องสงครามเก็บไว้ลิ้นชักนี้ เรื่องจดหมายเก็บไว้ลิ้นชักนั้น เรื่องอื่นเก็บไปลิ้นชักอื่น และจะคิดเรื่องไหนก็เปิดลิ้นชักนั้นออกมาเท่านั้น ปิดลิ้นชักอื่นให้หมด ไม่ให้มันตีกัน และเวลาหยุดคิดก็ปิดลิ้นชักอื่นให้หมดเลย

    นโปเลียนกล่าวว่าถ้าไม่เชื่อจะทดลองทำให้ดู เราจะไม่คิดอะไรเลย ว่าแล้วก็หลับตาเอนกายลงนอนไม่ถึง 5 นาที นโปเลียนหลับสนิทเลย จิตแพทย์อัศจรรย์ใจ จับชีพจรดูลมหายใจแล้วเห็นว่าเขาหลับจริง หลอกหมอไม่ได้หรอก นโปเลียนทำได้เพราะฝึกคิดทีละเรื่อง ทำทีละอย่างให้ดี หมดเวลาก็หยุดทำ

    มีเรื่องเล่าทำนองเดียวกันว่า นายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง ขณะที่ต่างชาติยกทหารบุกเข้ามา ปรากฏว่าในรั้วในวังตกใจกันใหญ่เลย วิจารณ์กันว่าจะรบดีไหม ท่านนายกรัฐมนตรีไม่ประกาศสงครามสักที ยังอึมครึมกันอยู่จนกระทั่งเวลาเลี้ยงอาหารค่ำงานใหญ่มีเจ้าหญิงร่วมเสวย เขาก็คุยกันเรื่องสงครามว่า รัฐบาลจะรบหรือไม่รบ แต่นายกรัฐมนตรีนั่งรับประทานเฉยไม่พูดกับใคร คนก็วิจารณ์กันรอบๆ โต๊ะ ในที่สุดเจ้าหญิงองค์หนึ่งทนไม่ได้ ถามท่านนายกรัฐมนตรีตรงๆ ว่า ท่านยังมัวรออะไรอยู่ละ ท่านนากยกฯ ก็ทูลตอบว่า กำลังรอของหวานรายการต่อไป

    นี่เป็นสมาธิฝึกมีระเบียบในชีวิต พวกที่เครียดจนเป็นโรคกระเพาะ กินไม่ได้ นอนไม่หลับ ควรฝึกคิดทีละเรื่องเหมือนนโปเลียน หัดสร้างระเบียบให้กับชีวิตตนเอง

    การทำสมาธิก็คือมีสติอยู่กับเรื่องเฉพาะหน้านั้น และเอาจิตใจตามเรื่องนั้นอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสายเหมือนกับกระแสน้ำที่อยู่ในเขื่อน แล้วปล่อยออกมาทางเดียวจะเป็นพลังผลิตกระแสไฟฟ้าได้ ถ้ากระแสจิตซัดส่ายไปหลากหลายจะไม่มีพลังพอจะแก้ปัญหา บางครั้งถ้าท่านมีปัญหาอะไรคิดไม่ออก ให้นอนหลับตื่นเช้าขึ้นมา สมองจะปลอดโปร่ง ความคิดของท่านสดใสขึ้น ไอเดียต่างๆ จะเกิดขึ้น นักคิดหลายคนได้ความคิดที่ดีตอนเช้ามืดเมื่อสมองปลอดโปร่ง เพราะได้พักตอนนอนหลับ กระแสจิตมีพลัง



    ....................................................

    คัดลอกมาจาก
    หนังสือคนเก่งและดีต้องมีความสุข
    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=436
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.salatham.com/do-donts/38virtues.htm

    มงคล ๓๘ ประการ

    มงคล คือเหตุแห่งความสุข ความก้าวหน้าในการดำเนินชีวิต ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ให้พุทธศาสนิกชนได้พึงปฏิบัติ นำมาจากบทมงคลสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสตอบปัญหาเทวดาที่ถามว่า คุณธรรมอันใดที่ทำให้ชีวิตประสบความเจริญหรือมี "มงคลชีวิต" ซึ่งมี ๓๘ ประการได้แก่
    <TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width="90%" bgColor=lightyellow><TBODY><TR><TD>๑. การไม่คบคนพาล</TD><TD>๑๔.ทำงานไม่ให้คั่งค้าง</TD><TD>๒๗.มีความอดทน</TD></TR><TR><TD>๒. การคบบัญฑิต</TD><TD>๑๕.การให้ทาน</TD><TD>๒๘.เป็นผู้ว่าง่าย</TD></TR><TR><TD>๓. การบูชาบุคคลที่ควรบูชา</TD><TD>๑๖.การประพฤติธรรม</TD><TD>๒๙.การได้เห็นสมณะ</TD></TR><TR><TD>๔. การอยู่ในถิ่นอันสมควร</TD><TD>๑๗.การสงเคราะห์ญาติ</TD><TD>๓๐.การสนทนาธรรมตามกาล</TD></TR><TR><TD>๕. เคยทำบุญมาก่อน</TD><TD>๑๘.ทำงานที่ไม่มีโทษ</TD><TD>๓๑.การบำเพ็ญตบะ</TD></TR><TR><TD>๖. การตั้งตนชอบ</TD><TD>๑๙.ละเว้นจากบาป</TD><TD>๓๒.การประพฤติพรหมจรรย์</TD></TR><TR><TD>๗. ความเป็นพหูสูต</TD><TD>๒๐.สำรวมจากการดื่มน้ำเมา</TD><TD>๓๓.การเห็นอริยสัจ</TD></TR><TR><TD>๘. การรอบรู้ในศิลปะ</TD><TD>๒๑.ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย</TD><TD>๓๔.การทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน</TD></TR><TR><TD>๙. มีวินัยที่ดี</TD><TD>๒๒.มีความเคารพ</TD><TD>๓๕.มีจิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม</TD></TR><TR><TD>๑๐.กล่าววาจาอันเป็นสุภาษิต</TD><TD>๒๓.มีความถ่อมตน</TD><TD>๓๖.มีจิตไม่เศร้าโศก</TD></TR><TR><TD>๑๑.การบำรุงบิดามารดา</TD><TD>๒๔.มีความสันโดษ</TD><TD>๓๗.มีจิตปราศจากกิเลส</TD></TR><TR><TD>๑๒.การสงเคราะห์บุตร</TD><TD>๒๕.มีความกตัญญู</TD><TD>๓๘.มีจิตเกษม</TD></TR><TR><TD>๑๓.การสงเคราะห์ภรรยา</TD><TD>๒๖.การฟังธรรมตามกาล</TD><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>​

    ๑. การไม่คบคนพาล
    ท่านว่าลักษณะของคนพาลมี ๓ ประการคือ
    ๑.คิดชั่ว คือการมีจิตคิดอยากได้ในทางทุจริต มีความพยาบาท และมิจฉาทิฏฐิ คือเห็นผิดเป็นชอบ
    ๒.พูดชั่ว คือคำพูดที่ประกอบไปด้วยวจีทุจริตเช่น พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ และพูดเพ้อเจ้อ
    ๓.ทำชั่ว คือทำอะไรที่ประกอบด้วยกายทุจริตเช่น การฆ่าสัตว์ ลักขโมย ฉ้อโกง ฉุดคร่าอนาจาร ประพฤติผิดในกาม​
    รูปแบบของคนพาล มีข้อควรสังเกตุคือ
    ๑. ชอบแนะนำไปในทางที่ผิด หรือที่ไม่ควรแนะนำ อาทิเช่น แนะนำให้ไปเล่นการพนัน ให้ไปลักขโมย ให้กินยาบ้า ให้เสพยา ชวนไปฉุดคร่าอนาจารเป็นต้น เหล่านี้ถือว่าเป็นพาล
    ๒. ชอบทำในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระ อาทิเช่น ไม่ทำงานตามหน้าที่ของตนให้เรียบร้อย แต่กลับชอบจะไปก้าวก่ายยุ่งกับหน้าที่การงานของผู้อื่น หรือไปจับผิดเพื่อนร่วมงาน แกล้ง ยุยง นินทาว่าร้ายกันและกันเป็นต้น
    ๓. ชอบทำผิดโดยเห็นสิ่งผิดเป็นของดี อาทิเช่น การสูบยาได้เป็นฮีโร่ เห็นคนที่ซื่อสัตย์เป็นคนโง่ไม่กินตามน้ำ ชอบรับสินบน ทุจริตในหน้าที่ หรือช่วยพวกพ้องให้พ้นจากความผิดเป็นต้น
    ๔. จะโกรธเคืองเมื่อพูดเตือน อาทิเช่น การเตือนเรื่องการเที่ยวเตร่ เตือนเรื่องการดื่มเหล้า กลับบ้านดึก เตือนเรื่องการคบเพื่อนเป้นต้น คนพวกนี้จะโกรธเมื่อได้รับการตักเตือน และไม่รับฟัง
    ๕. ไม่มีระเบียบวินัย อาทิเช่น ไม่เข้าคิวตามลำดับก่อนหลัง แต่ชอบแซงคิวอย่างหน้าด้านๆ ทิ้งขยะลงคลอง หรือข้างทาง ไม่เคารพกฏหมายของบ้านเมือง หรือของท้องถิ่นเป็นต้น​
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๒. การคบบัญฑิต
    บัณฑิต หมายถึงผู้ทรงความรู้ มีปัญญา มีจิตใจที่งาม และมีการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง รู้ดีรู้ชั่ว (ไม่ใช่คนที่จบปริญญาโดยนัย) มีลักษณะดังนี้คือ​
    ๑. เป็นคนคิดดี คือการไม่คิดละโมบ ไม่พยาบาทปองร้ายใคร รู้จักให้อภัย เชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ ความกตัญญูรู้คุณเป็นต้น
    ๒. เป็นคนพูดดี คือวจีสุจริต พูดจริง ทำจริงไม่โกหก ไม่พูดหยาบ ถากถาง นินทาว่าร้าย
    ๓. เป็นคนทำดี คือทำอาชีพสุจริต มีเมตตา ทำทานเป็นปกตินิสัย อยู่ในศีลธรรม ทำสมาธิภาวนา รูปแบบของบัณฑิต มีข้อควรสังเกตุคือ
    ๑. ชอบชักนำในทางที่ถูกที่ควร อาทิเช่นการชักนำให้เลิกทำในสิ่งที่ผิด ตักเตือนให้ทำความดีอย่างเช่น ให้เลิกเล่นการพนันเป็นต้น
    ๒. ชอบทำในสิ่งที่เป็นธุระ อาทิเช่นการทำหน้าที่ของตนให้ลุล่วง และใช้เวลาที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ ไม่ก้าวก่ายเรื่องของผู้อื่นเว้นแต่จะได้รับการร้องขอ
    ๓. ชอบทำและแนะนำสิ่งที่ถูกที่ควร อาทิเช่นการพูดและทำอย่างตรงไปตรงมา แนะนำการทำทานที่ถูกต้อง ทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อคนอื่น
    ๔. รับฟังดี ไม่โกรธ อาทิเช่นเมื่อมีคนมาว่ากล่าวก็ไม่ถือโทษ หรือโกรธ หรือทำอวดดี แต่จะรับฟังแล้วนำไปพิจารณาโดยยุติธรรม แล้วนำมาแก้ไขปรับปรุง
    ๕. รู้ระเบียบ กฏกติกามรรยาทที่ดี อาทิเช่นการรักษาระเบียบวินัยขององค์กร เพื่อให้หมู่คณะมีความเป็นระเบียบ และการดำเนินงานไม่สับสน หรือการรักษาความสะอาด ปฏิบัติ และเคารพกฏของสถานที่ ไม่ทำตามอำเภอใจ
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๓. การบูชาบุคคลที่ควรบูชา
    การบูชา คือการแสดงความเคารพบุคคลที่เรานับถือ ยกย่อง เลื่อมใสในบุคคลคนนั้น ซึ่งการบูชาแบ่งออกเป็น ๒ อย่างคือ​
    ๑. อามิสบูชา คือการบูชาด้วยสิ่งของเช่น การนำเงินให้พ่อแม่ไว้ใช้จ่าย หรือมอบทรัพย์สินให้พ่อแม่ หรือการนำดอกไม้ ธูปเทียนไปบูชาพระก็ถือเป็นอามิสบูชาเป้นต้น
    ๒.ปฏิบัติบูชา คือการบูชาด้วยการเจริญสมาธิภาวนา การฝึกจิตให้ไม่ฟุ้งซ่าน เห็นความจริงในความเป็นไปของโลกเป็นต้น บุคคลที่ควรบูชา มีดังนี้คือ
    ๑.พระพุทธเจ้า (คงไม่ต้องอธิบาย)
    ๒.พระปัจเจกพระพุทธเจ้า หมายถึงพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา
    ๓.พระมหากษัตริย์ผู้ตั้งอยู่ในทศพิศราชธรรม
    ๔.บิดามารดา
    ๕.ครูอาจารย์ ที่มีความรู้ดี มีความสามารถ และประพฤติดี
    ๖.อุปัชฌาย์ หรือผู้บังคับบัญชาที่มีความประพฤติดี ตั้งอยู่ในธรรม
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๔. การอยู่ในถิ่นอันสมควร
    ถิ่นอันสมควรควรประกอบด้วยสิ่งแวดล้อม ๔ อย่างได้แก่
    ๑.อาวาสเป็นที่สบาย หมายถึงอยู่แล้วสบาย เช่นสะอาด เดินทางไปมาสะดวก อากาศดี เป็นแหล่งชุมชน ไม่มีแหล่งอบายมุขเป็นต้น
    ๒.อาหารเป็นที่สบาย หมายถึงอาหารการกินอุดมสมบูรณ์ เช่นมีแหล่งอาหารที่สามารถจัดซื้อหามาได้ง่าย เป็นต้น
    ๓.บุคคลเป็นที่สบาย หมายถึงที่ที่มีคนดี จิตใจโอบอ้อมอารี ถ้อยทีถ้อยอาศัย มีศีลธรรม ไม่มีโจร นักเลง หรือใกล้แหล่งอิทธิพลเป็นต้น
    ๔.ธรรมะเป็นที่สบาย หมายถึงมีที่พึ่งด้านธรรมะ มีที่ฟังธรรมเช่น มีวัดอยู่ในละแวกนั้น มีโรงเรียน หรือแหล่งศึกษาหาความรู้เป็นต้น​
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๕. เคยทำบุญมาก่อน
    ขึ้นชื่อว่าบุญนั้น มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้คือ
    ๑. ทำให้กาย วาจา และใจ สะอาดได้
    ๒. นำมาซึ่งความสุข
    ๓. ติดตามไปได้ หมายถึงบุญจะติดตัวเราไปได้ตลอดจนถึงชาติหน้า
    ๔. เป็นของเฉพาะตน หมายถึงขอยืม หรือแบ่งกันไม่ได้ ทำเองได้เอง
    ๕. เป็นที่มาของโภคทรัพย์ทั้งหลาย คือว่าผลของบุญจะบันดาลให้เกิดขึ้นได้เองโดยไม่ได้หวังผล
    ๖. ให้มนุษย์สมบัติ ทิพย์สมบัติ และนิพพานสมบัติแก่เราได้ หมายถึงความสมบูรณ์ตั้งแต่ทางโลก จนถึงนิพพานได้เลย
    ๗. เป็นปัจจัยให้ถึงซึ่งนิพพาน ก็คือเป็นปัจจัยในการส่งเสริมให้บรรลุถึงนิพพานได้เร็วขึ้นเมื่อปฏิบัติ
    ๘. เป็นเกราะป้องกันภัยในวัฏสังสาร หมายถึงในวงจรการเกิด แก่ เจ็บ ตาย หรือที่เรียกว่าเวียนว่ายตายเกิดนั้น บุญจะคุ้มครองให้ผู้นั้นเกิดในที่ดี อยู่อย่างมีความสุข หรือตายอย่างไม่ทรมาน ขึ้นอยู่กับกำลังบุญที่สร้างสมมา การทำบุญนั้นมีหลายวิธี แต่พอสรุปได้สั้นๆดังนี้คือ
    ๑.การทำทาน
    ๒.การรักษาศีล
    ๓.การเจริญภาวนา
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๖. การตั้งตนชอบ
    หมายถึงการดำเนินชีวิตอย่างมีเป้าหมาย ด้วยความถูกต้องและสุจริต อยู่ในสัมมาอาชีพ มีแผนการที่จะไปให้ถึงจุดหมายนั้นด้วยความไม่ประมาท มีการเตรียมพร้อม และมีความอดทนไม่ละทิ้งกลางคัน​
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๗. ความเป็นพหูสูต
    คือเป็นผู้ที่ฟังมาก เล่าเรียนมาก เป็นผู้รอบรู้ โดยมีลักษณะดังนี้คือ
    ๑.รู้ลึก คือการรู้ในสิ่งนั้นๆ เรื่องนั้นๆอย่างหมดจดทุกแง่ทุกมุม อย่างมีเหตุมีผล รู้ถึงสาเหตุจนเรียกว่าความชำนาญ
    ๒.รู้รอบ คือการรู้จักช่างสังเกตในสิ่งต่างๆ รอบตัว เช่นเหตุการณ์แวดล้อมเป็นต้น
    ๓.รู้กว้าง คือการรู้ในสิ่งใกล้เคียงกับเรื่องนั้นๆ ที่เกี่ยวข้องกัน สัมพันธ์กันเป็นต้น
    ๔.รู้ไกล คือการศึกษาถึงความเป็นไปได้ ผลในอนาคตเป็นต้น ถ้าอยากจะเป็นพหูสูตก็ควรต้องมีคุณสมบัติดังว่านี้คือ
    ๑.ความตั้งใจฟัง ก็คือชอบฟัง ชอบอ่านหาความรู้ และค้นคว้าเป็นต้น
    ๒.ความตั้งใจจำ ก็คือรู้จักวิธีจำ โดยตั้งใจอ่านหรือฟังในสิ่งนั้นๆ และจับใจความให้ได้
    ๓.ความตั้งใจท่อง ก็คือท่องให้รู้โดยอัตโนมัติ ไม่ลืม ในสิ่งที่เป็นสาระสำคัญ
    ๔.ความตั้งใจพิจารณา ก็คือการรู้จักพิจารณา ตรึกตรองในสิ่งนั้นๆอย่างทะลุปรุโปร่ง
    ๕.ความเข้าใจในปัญหา ก็คือการรู้อย่างแจ่มแจ้งในปัญหาอย่างถ่องแท้ด้วยปัญญา
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๘. การรอบรู้ในศิลปะ
    ศิลปะ คือสิ่งที่แสดงออกถึงความงดงาม และมีความสุนทรีย์ โดยลักษณะของมันมีดังนี้คือ
    ๑.มีความปราณีต
    ๒.ทำให้ของดูมีค่ามากขึ้น
    ๓.ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
    ๔.ไม่ทำให้เกิดกามกำเริบ
    ๕.ไม่ทำให้เกิดความพยาบาท
    ๖.ไม่ทำให้เกิดความเบียดเบียน ถ้าท่านอยากเป็นคนมีศิลปะ ควรต้องฝึกให้มีคุณสมบัติเหล่านี้ไว้ในตัวคือ
    ๑.มีศรัทธาในความงดงามของสิ่งต่างๆ
    ๒.หมั่นสังเกตและพิจารณา
    ๓.มีความปราณีต อารมณ์ละเอียดอ่อน
    ๔.เป็นคนสุขุม มีความคิดสร้างสรรค์
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๙. มีวินัยที่ดี
    วินัย ก็คือข้อกำหนด ข้อบังคับ กฏเกณฑ์เพื่อควบคุมให้มีความเป็นระเบียบนั่นเอง มีทั้งวินัยของสงฆ์และของคนทั่วไป สำหรับของสงฆ์นั้นมีทั้งหมด ๗ อย่างหรือเรียกว่า อนาคาริยวินัย ส่วนของบุคคลทั่วไปก็มี ๑๐ อย่าง คือการละเว้นจากอกุศลกรรม ๑๐ ประการ
    อนาคาริยวินัยของพระมีดังนี้
    ๑.ปาฏิโมกขสังวร คือการอยู่ในศีลทั้งหมด ๒๒๗ ข้อ การผิดศีลข้อใดข้อหนึ่งก็ถือว่าต้องโทษแล้วแต่ความหนักเบา เรียงลำดับกันไปตั้งแต่ ขั้นปาราชิก สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต เป็นต้น (ความหมายของแต่ละคำมันต้องอธิบายเยอะ จะไม่กล่าวในที่นี้)
    ๒.อินทรียสังวร คือการสำรวมอายตนะทั้ง ๕ และกาย วาจา ใจ ให้อยู่กับร่องกับรอย โดยอย่าไปเพลิดเพลินติดกับสิ่งที่มาสัมผัสเหล่านั้น
    ๓.อาชีวปาริสุทธิสังวร คือการหาเลี้ยงชีพในทางที่ชอบ นั่นก็คือการออกบิณฑบาตร ไม่ได้เรียกร้อง เรี่ยไรหรือเที่ยวขอเงินชาวบ้านมาเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของตัวเอง
    ๔.ปัจจยปัจจเวกขณะ คือการพิจารณาในสิ่งของทั้งหลายถึงคุณประโยชน์โดยเนื้อแท้ของสิ่งของเหล่านั้นอย่างแท้จริง โดยใช้เพื่อบริโภค เพื่อประโยชน์ ความอยู่รอด และความเป็นไปของชีวิตเท่านั้น วินัยสำหรับฆราวาส หรือบุคคลทั่วไป เรียกว่าอาคาริยวินัย มีดังนี้ (อกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ)
    ๑.ไม่ฆ่าชีวิตคน หรือสัตว์ไม่ว่าน้อย ใหญ่
    ๒.ไม่ลักทรัพย์ ยักยอกเงิน สิ่งของมาเป็นของตัว
    ๓.ไม่ประพฤติผิดในกาม ผิดลูกผิดเมีย ข่มขืนกระทำชำเรา
    ๔.ไม่พูดโกหก หลอกลวงให้หลงเชื่อ หรือชวนเชื่อ
    ๕.ไม่พูดส่อเสียด นินทาว่าร้าย ยุยงให้คนแตกแยกกัน
    ๖.ไม่พูดจาหยาบคาย ให้เป็นที่แสลงหูคนอื่น
    ๗.ไม่พูดจาไร้สาระ หรือที่เรียกว่าพูดจาเพ้อเจ้อไม่มีสาระ เหตุผล หรือประโยชน์อันใด
    ๘.ไม่โลภอยากได้ของเขา คือมีความคิดอยากเอาของคนอื่นมาเป็นของเรา
    ๙.ไม่คิดร้าย ผูกใจเจ็บ แค้น ปองร้ายคนอื่น
    ๑๐.ไม่เห็นผิดเป็นชอบ เช่น เห็นว่าพ่อแม่ไม่มีความสำคัญ บุญหรือกรรมไม่มีจริงเป็นต้น
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๑๐.กล่าววาจาอันเป็นสุภาษิต
    คำว่าวาจาอันเป็นสุภาษิตในที่นี้มิได้หมายถึงเพียงว่าต้องเป็นคำร้อยกรอง ร้อยแก้ว เป็นคำคมบาดใจมีความหมายลึกซึ้งเท่านั้น แต่รวมถึงคำพูดที่ดี มีประโยชน์ต่อผู้ฟัง ซึ่งสรุปว่าประกอบด้วยลักษณะดังนี้
    ๑.ต้องเป็นคำจริง คือข้อมูลที่ถูกต้อง มีหลักฐานอ้างอิงได้ ไม่ได้ปั้นแต่งขึ้นมาพูด
    ๒.ต้องเป็นคำสุภาพ คือพูดด้วยภาษาที่สุภาพ มีความไพเราะในถ้อยคำ ไม่มีคำหยาบโลน หรือคำด่า
    ๓.พูดแล้วมีประโยชน์ คือมีประโยชน์ต่อผู้ฟังถ้าหากนำแนวทางไปคิด หรือปฏิบัติในทางสร้างสรรค์
    ๔.พูดด้วยจิตที่มีเมตตา คือพูดด้วยจิตใจที่มีความปรารถนาดีต่อผู้ฟัง มีความจริงใจต่อผู้ฟัง
    ๕.พูดได้ถูกกาลเทศะ คือพูดในสถานที่เหมาะสม และในเวลาที่เหมาะสม โดยความเหมาะสมจะมีมากน้อยเช่นไรก็ขึ้นอยู่กับเรื่องที่พูด​
    [​IMG]
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.salatham.com/do-donts/38virtues.htm

    มงคล ๓๘ ประการ

    ๑๑.การบำรุงบิดามารดา
    ท่านว่าพ่อแม่นั้นเปรียบได้เป็นทั้ง ครูของลูก เทวดาของลูก พรหมของลูก และอรหันต์ของลูก ความหมายโดยละเอียดมีดังต่อไปนี้คือ
    • ที่ว่าเป็นครูของลูก เพราะว่าท่านได้คอยอบรมสั่งสอนลูก เป็นคนแรกก่อนคนอื่นใดในโลก
    • ที่ว่าเป็นเทวดาของลูก เพราะว่าท่านจะคอยปกป้อง คุ้มครอง เลี้ยงดู ประคบประหงมมาตั้งแต่อ้อนแต่ออก บำรุงให้เติบใหญ่เป็นอย่างดี ไม่ให้เกิดอันตรายต่อลูกในทุกด้าน
    • ที่ว่าเป็นพรหมของลูก เพราะว่าท่านมีพรหมวิหาร ๔ นั่นก็คือ มีเมตตา หมายถึงความเอ็นดู ความปรารถนาดีต่อลูกในทุกๆด้าน ไม่มีที่สิ้นสุด มีกรุณา หมายถึงให้ความกรุณาต่อลูก ลูกอยากได้อะไรก็หามาให้ลูก ให้การศึกษาเล่าเรียน ส่งเสียเท่าที่มีความสามารถจะให้ได้ มีมุทิตา หมายถึงความรักที่ยอมสละได้แม้ชีวิตของตัวเองเพื่อลูก ยอมเสียสละได้ทุกอย่าง และมีอุเบกขา หมายถึงการวางเฉย ไม่ถือโกรธเมื่อลูกประมาท ซน ทำผิดพลาดเพราะความไร้เดียงสา หรือเพราะความไม่รู้
    • ที่ว่าเป็นอรหันต์ของลูก เพราะว่าท่านมีคุณธรรม ๔ ประการอันได้แก่
      • เป็นผู้มีอุปการะคุณต่อลูก คืออุปการะเลี้ยงดูมาด้วยความเหนื่อยยาก กว่าจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่
      • เป็นผู้มีพระเดชพระคุณต่อลูก คือให้ความอบอุ่นเลี้ยงดู ปกป้องจากภยันตรายต่างๆ นานา
      • เป็นเนื้อนาบุญของลูก คือลูกเป็นส่วนหนึ่งของกรรมดีที่พ่อแม่ได้ทำไว้ และเป็นผู้รับผลบุญที่พ่อแม่ได้สร้างไว้แล้วทางตรง
      • เป็นอาหุไนยบุคคล คือเป็นเหมือนพระที่ควรแก่การเคารพนับถือและรับของบูชา เพื่อเทอดทูนไว้เป็นแบบอย่าง
    การทดแทนพระคุณบิดามารดาท่านสามารถทำได้ดังนี้
    ระหว่างเมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่ ก็เลี้ยงดูท่านเป็นการตอบแทน ช่วยเหลือเป็นธุระเรื่องการงานให้ท่าน ดำรงวงศ์ตระกูลให้สืบไปไม่ทำเรื่องเสื่อมเสีย รวมทั้งประพฤติตนให้ควรแก่การเป็นสืบทอดมรดกจากท่าน ครั้นเมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ก็ทำบุญอุทิศกุศลให้ท่าน ส่วนการเป็นลูกกตัญญูต่อพ่อแม่ในคำสอนของพระพุทธเจ้าท่านกล่าวว่าไว้ดังนี้​
    ๑.ถ้าท่านยังไม่มีศรัทธา ให้ท่านถึงพร้อมด้วยศรัทธา คือพยายามให้ท่านมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา เชื่อในเรื่องการทำดี
    ๒.ถ้าท่านยังไม่มีศีล ให้ท่านถึงพร้อมด้วยศีล คือพยายามให้ท่านเป็นผู้รักษาศีล ๕ ให้ได้
    ๓.ถ้าท่านเป็นคนตระหนี่ ให้ท่านถึงพร้อมด้วยการให้ทาน คือพยายามให้ท่านรู้จักการให้ด้วยเมตตาโดยไม่หวังผลตอบแทน
    ๔.ถ้าท่านยังไม่ทำสมาธิภาวนา ให้ท่านถึงพร้อมด้วยปัญญา คือพยายามให้ท่านหัดนั่งทำสมาธิภาวนาให้ได้​
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๑๒.การสงเคราะห์บุตร
    คำว่าบุตรนั้น มีอยู่ ๓ ประเภทได้แก่
    ๑.อภิชาติบุตร คือบุตรที่มีความดี คุณธรรม และความสามารถเหนือกว่าบิดา มารดา
    ๒.อนุชาตบุตร คือบุตรที่มีความดี คุณธรรม และความสามารถเสมอบิดา มารดา
    ๓.อวชาตบุตร คือบุตรที่มีความดี คุณธรรม และความสามารถต่ำกว่าบิดา มารดา การที่เราเป็นพ่อ เป็นแม่ของบุตรนั้น มีหน้าที่ที่ต้องให้กับลูกของเราคือ
    ๑.ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว
    ๒.ปลูกฝัง สนับสนุนให้ทำความดี
    ๓.ให้การศึกษาหาความรู้
    ๔.ให้ได้คู่ครองที่ดี (ใช้ประสพการณ์ของเราให้คำปรึกษาแก่ลูก ช่วยดูให้)
    ๕.มอบทรัพย์ให้ในโอกาสอันควร (การทำพินัยกรรม ก็ถือว่าเป็นสิ่งถูกต้อง)
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๑๓.การสงเคราะห์ภรรยา
    เมื่อว่าด้วยเรื่องคนที่จะมาเป็นคู่ครองของชาย หรือที่เรียกว่าจะมาเป็นภรรยานั้น ในโลกนี้ท่านแบ่งลักษณะของภรรยาออกเป็น ๗ ประเภทได้แก่
    ๑.วธกาภริยา หมายถึงภรรยาเสมอด้วยเพชรฆาต เป็นพวกที่มีจิตใจคิดไม่ดี ชอบทำร้าย ชอบด่าทอสาปแช่ง คิดฆ่าสามี หรือมีชู้กับชายอื่น
    ๒.โจรีภริยา หมายถึงภรรยาเสมอด้วยโจร เป็นคนล้างผลาญ สร้างหนี้สิน หาได้เท่าไรก็ไม่พอ หรือเอาเรื่องในบ้านไปโพทนาให้คนข้างนอกรับรู้ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง
    ๓.อัยยาภริยา หมายถึงภรรยาเสมอด้วยนาย เป็นคนชอบข่มสามีให้อยู่ในอำนาจ ไม่ให้เกียรติสามีเมื่ออยู่ต่อหน้าผู้อื่น ชอบสั่งการหรือเอาแต่ใจตัวเอง เห็นสามีเป็นคนไร้ความสามารถ แต่ตัวเองเป็นผู้นำ
    ๔.มาตาภริยา หมายถึงภรรยาเสมอด้วยแม่ คือผู้ที่มีความรักต่อสามีอย่างสุดซึ้ง ไม่เคยทอดทิ้งแม้ยามทุกข์ยาก ป่วยไข้ ไม่ทำให้มีเรื่องสะเทือนใจ
    ๕.ภคินีภริยา หมายถึงภรรยาเสมอด้วยน้องสาว คือผู้ที่มีความเคารพต่อสามีในฐานะพ่อบ้าน แต่ขัดใจกันบ้างตามประสาคนใกล้ชิดกันแล้วก็ให้อภัยกัน โดยไม่คิดพยาบาท เดินตามแนวทางของสามี ต้องพึ่งพาสามี
    ๖.สขีภริยา หมายถึงภรรยาเสมอด้วยเพื่อน ต่างคนต่างก็มีอะไรที่เหมือนกัน ความสามารถพอกัน ไม่จำเป็นต้องพึ่งพากัน ไม่ค่อยยอมกัน เป็นตัวของตัวเอง แต่ก็รักกันและช่วยเหลือกันโดยต่างคนต่างทำหน้าที่ของตัวเอง
    ๗.ทาสีภริยา หมายถึงภรรยาเสมอด้วยคนรับใช้ คือภรรยาที่อยู่ภายใต้คำสั่งสามีโดยไม่มีข้อโต้แย้ง สามีเป็นผู้เลี้ยงดู สั่งอะไรก็ทำอย่างนั้นแม้จะไม่เห็นด้วยก็ไม่ออกความเห็น อดทนทำงานตามหน้าที่ตามแต่สามีจะสั่งการ แม้ถูกดุด่า เฆี่ยนตีก็ยังทนอยู่ได้โดยไม่โต้ตอบ
    ท่านว่าคนที่จะมาเป็นสามี ภรรยาได้ดีหรือคู่สร้างคู่สมนั้นควรต้องมีคุณสมบัติดังนี้
    ๑.สมสัทธา คือมีศรัทธาเสมอกัน
    ๒.สมสีลา คือมีศีลเสมอกัน
    ๓.สมจาคะ คือมีการเสียสละเหมือนกัน
    ๔.สมปัญญา คือมีปัญญาเสมอกัน
    เมื่อได้แต่งงานกันแล้ว แต่ละฝ่ายก็มีหน้าที่ที่ต้องทำดังนี้
    สามีมีหน้าที่ต่อภรรยาคือ
    ๑.ยกย่องนับถือว่าเป็นภรรยา คือการแนะนำเปิดเผยว่าเป็นภรรยา ไม่ปิดบังกับผู้อื่น และให้เกียรติภรรยาในการตัดสินใจเรื่องต่างๆด้วย
    ๒.ไม่ดูหมิ่น คือไม่ดูถูกภรรยาเมื่อทำไม่เป็น ทำไม่ถูก หรือเรื่องชาติตระกูล การศึกษาว่าต่ำต้อยกว่าตน แต่ต้องสอนให้
    ๓.ไมประพฤตินอกใจภรรยา คือการไปมีเมียน้อยนอกบ้าน เลี้ยงต้อย หรือเที่ยวเตร่หาความสำราญกับหญิงบริการ
    ๔.มอบความเป็นใหญ่ให้ในบ้าน คือการมอบธุระทางบ้านให้กับภรรยาจัดการ รับฟังและทำตามความเห็นของภรรยาเกี่ยวกับบ้าน
    ๕.ให้เครื่องแต่งตัว คือให้ความสุขกับภรรยาเรื่องการแต่งตัวให้พอดี เพราะสตรีเป็นผู้รักสวยรักงามโดยธรรมชาติ ฝ่ายภรรยาก็มีหน้าที่ต้องตอบแทนสามีคือ
    ๑.จัดการงานดี คืองานบ้านการเรือนต้องไม่บกพร่อง ดูแลด้านความสะอาด ทำนุบำรุงรักษา ด้านโภชนาการให้เรียบร้อยดี
    ๒.สงเคราะห์ญาติสามีดี คือให้ความเอื้อเฟื้อญาติฝ่ายสามี เท่าที่ตนมีกำลังพอทำได้ ไม่ได้หมายถึงเรื่องทรัพย์สินเงินทองอย่างเดียว
    ๓.ไม่ประพฤตินอกใจสามี คือไม่คบชู้ หรือปันใจให้ชายอื่น ซื่อสัตย์ต่อสามีคนเดียว
    ๔.รักษาทรัพย์ให้อย่างดี คือรู้จักรักษาทรัพย์สินไว้ไม่ให้หมดไปด้วยความสิ้นเปลือง แต่ก็ไม่ถึงกับตระหนี่
    ๕.ขยันทำงาน คือไม่เกียจคร้านเอาแต่ออกงาน นอน กิน หรือเที่ยวแต่อย่างเดียว ต้องทำงานบ้านด้วย
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๑๔.การทำงานไม่ให้คั่งค้าง
    ว่าด้วยสาเหตุที่ทำให้งานคั่งค้างนั้นสรุปสาเหตุได้เพราะว่า
    ๑.ทำงานไม่ถูกกาล
    ๒.ทำงานไม่ถูกวิธี
    ๓.ไม่ยอมทำงาน
    หลักการทำงานให้เสร็จลุล่วงมีดังนี้
    ๑.ฉันทะ คือมีความพอใจในงานที่ทำ
    ๒.วิริยะ คือมีความตั้งใจ พากเพียรในงานที่ทำ
    ๓.จิตตะ คือมีความเอาใจใส่ในงานที่ทำ
    ๔.วิมังสา คือมีการคิดพิจารณาทบทวนงานนั้นๆ​
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๑๕.การให้ทาน
    การให้ทาน คือการให้ที่ไม่หวังผลตอบแทนโดยหมายให้ผู้ได้รับได้พ้นจากทุกข์ แบ่งออกเป็น ๓ อย่างได้แก่
    ๑.อามิสทาน คือการให้วัตถุ สิ่งของ หรือเงินเป็นทาน
    ๒.ธรรมทาน คือการสอนให้ธรรมะเป็นความรู้เป็นทาน
    ๓.อภัยทาน คือการให้อภัยในสิ่งที่คนอื่นทำไม่ดีกับเรา ไม่จองเวร หรือพยาบาทกัน
    การให้ทานที่ถือว่าเป็นความดี และได้บุญมากนั้นจะประกอบด้วยปัจจัย ๓ ประการอันได้แก่
    ๑.วัตถุบริสุทธิ์ คือเป็นของที่ได้มาโดยสุจริต ไม่ได้ไปยักยอกมา โกงมา หรือได้มาด้วยวิธีแยบยล
    ๒.เจตนาบริสุทธิ์ คือมีจิตยินดี ผ่องใสเบิกบาน ไม่รู้สึกเสียดายสิ่งที่ให้ ตั้งแต่ก่อนให้ ขณะให้ และหลังให้
    ๓.บุคคลบริสุทธิ์ คือให้กับผู้รับที่มีศีลธรรม ตัวผู้ให้เองก็ต้องมีศีลที่บริสุทธิ์ การให้ทานที่ถือว่าไม่ดี และยังอาจเป็นบาปกรรมถึงเราทางอ้อมอีกด้วยได้แก่
    ๑.ให้สุรา ยาเสพย์ติด เป็นต้น (ถ้าเขาเมาแล้วขับรถชนตาย เราก็มีส่วนบาปด้วย)
    ๒.ให้อาวุธ (ถ้าอาวุธนั้นถูกเอาไปใช้ประหัตประหาร บาปก็มาถึงเราด้วย)
    ๓.ให้มหรสพ คือการบันเทิงทุกรูปแบบ
    ๔.ให้สัตว์เพศตรงข้ามเพื่อผสมพันธุ์ อันนี้รวมถึงการจัดหาสาวๆ ไปบำเรอผู้มีอำนาจหรือผู้น้อยด้วยเป็นต้น
    ๕.ให้ภาพลามก หรือสิ่งพิมพ์ลามก เพราะทำให้เกิดความกำหนัด เกิดกามกำเริบ (เมื่อดูแล้วเกิดไปฉุดคร่า ข่มขืนใคร บาปก็ตกทอดมาถึงเราด้วย)
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๑๖.การประพฤติธรรม
    การประพฤติธรรม ก็คือการปฏิบัติให้เป็นไป แบ่งออกได้เป็น ๒ อันได้แก่
    กายสุจริต คือ
    ๑.การไม่ฆ่าสัตว์ หมายรวมหมดตั้งแต่สัตว์เล็กสัตว์ใหญ่ และมนุษย์
    ๒.การไม่ลักทรัพย์ หมายรวมถึงการคอรัปชั่น ไปหลอกลวง ปล้นจี้ชาวบ้านด้วย
    ๓.การไม่ประพฤติผิดในกาม หมายรวมถึงการคบชู้ นอกใจภรรยา และการข่มขืนด้วย
    วจีสุจริต คือ
    ๑.การไม่พูดเท็จ คือการพูดแต่ความจริง ไม่หลอกลวง
    ๒.การไม่พูดคำหยาบ คือคำที่ฟังแล้วไม่รื่นหู เกิดความรู้สึกไม่สบายใจรวมหมด
    ๓.การไม่พูดจาส่อเสียด การนินทาว่าร้าย
    ๔.การไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล คือการพูดที่ไม่เป็นสาระ หาประโยชน์อันใดมิได้
    มโนสุจริต คือ
    ๑.การไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น คือการนึกอยากได้ของเขามาเป็นของเรา
    ๒.การไม่คิดพยาบาทปองร้ายผู้อื่น คือการนึกอยากให้คนอื่นประสพเคราะห์กรรม คิดจะทำร้ายผู้อื่น
    ๓.การเห็นชอบ คือมีความเชื่อความเข้าใจในความเป็นจริง ความถูกต้องตามหลักคำสอนตามแนวทางพระพุทธศาสนา​
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๑๗.การสงเคราะห์ญาติิ
    ลักษณะของญาติที่ควรให้การสงเคราะห์ เมื่ออยู่ในฐานะดังนี้คือ
    ๑.เมื่อยากจนหาที่พึ่งมิได้
    ๒.เมื่อขาดทุนทรัพย์ในการค้าขาย
    ๓.เมื่อขาดยานพาหนะ
    ๔.เมื่อขาดอุปกรณ์ทำมาหากิน
    ๕.เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย
    ๖.เมื่อคราวมีธุระการงาน
    ๗.เมื่อคราวถูกใส่ความหรือมีคดี การสงเคราะห์ญาติ ทำได้ทั้งทางธรรมและทางโลกได้แก่
    ในทางธรรม ก็ช่วยแนะนำให้ทำบุญกุศล ให้รักษาศีล และทำสมาธิภาวนา
    ในทางโลก ก็ได้แก่
    ๑.ให้ทาน คือการสงเคราะห์เป็นทรัพย์สิน หรือเงินทองเพื่อให้เขาพ้นจากทุกข์หรือความลำบากตามแต่กำลัง
    ๒.ใช้ปิยวาจา คือการพูดเจรจาด้วยถ้อยคำที่อ่อนโยน สุภาพ และประกอบไปด้วยความปรารถนาดี
    ๓.มีอัตถจริยา คือการประพฤติตนให้เป็นประโยชน์กับเขา อาจช่วยเหลือด้วยแรงกาย กำลังใจ หรือด้วยความสามารถที่มี
    ๔.รู้จักสมานัตตตา คือการวางตัวให้เหมาะสม อย่างเสมอต้นเสมอปลาย ร่วมทุกข์ร่วมสุข ไม่ถือตัว
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๑๘.ทำงานที่ไม่มีโทษ
    งานที่ไม่มีโทษ ประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้
    ๑.ไม่ผิดกฏหมาย คือทำให้ถูกต้องตามกฏหมายของบ้านเมือง
    ๒.ไม่ผิดประเพณี คือแบบแผนที่ปฏิบัติกันมาแต่เดิม ควรดำเนินตาม
    ๓.ไม่ผิดศีล คือข้อห้ามที่บัญญัติไว้ในศีล ๕
    ๔.ไม่ผิดธรรม คือหลักธรรมทั้งหลายอาทิเช่น การพนัน การหลอกลวง ส่วนอาชีพต้องห้ามสำหรับพุทธศาสนิกชนได้แก่
    ๑.การค้าอาวุธ
    ๒.การค้ามนุษย์
    ๓.การค้ายาพิษ
    ๔.การค้ายาเสพย์ติด
    ๕.การค้าสัตว์เพื่อนำไปฆ่า
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๑๙.ละเว้นจากบาป
    บาปคือสิ่งที่ไม่ดี เสีย ความชั่วที่ติดตัว ซึ่งไม่ควรทำ ท่านว่าสิ่งที่ทำแล้วถือว่าเป็นบาปได้แก่ อกุศลกรรมบถ ๑๐ คือ
    ๑.ฆ่าสัตว์
    ๒.ลักทรัพย์
    ๓.ประพฤติผิดในกาม
    ๔.พูดเท็จ
    ๕.พูดส่อเสียด
    ๖.พูดคำหยาบ
    ๗.พูดเพ้อเจ้อ
    ๘.โลภอยากได้ของเขา
    ๙.คิดพยาบาทปองร้ายคนอื่น
    ๑๐.เห็นผิดเป็นชอบ​
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๒๐.สำรวมจากการดื่มน้ำเมา
    ว่าด้วยเรื่องของน้ำเมานั้น อาจทำมาจากแป้ง ข้าวสุก การปรุงโดยผสมเชื้อ หรืออะไรก็แล้วแต่ที่ดื่มแล้วทำให้มึนเมา เช่นเบียร์ ไวน์ ไม่ใช่แค่เหล้าเท่านั้น ล้วนมีโทษอันได้แก่
    ๑.ทำให้เสียทรัพย์ เพราะต้องนำเงินไปซื้อหาทั้งๆที่เงินจำนวนเดียวกันนี้สามารถนำเอาไปใช้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างอื่นได้มากกว่า
    ๒.ทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท ซึ่งนำไปสู่ความวุ่นวาย เจ็บตัว หรือถึงแก่ชีวิต และคดีความ เพราะน้ำเมาทำให้ขาดการยับยั้งชั่งใจ
    ๓.ทำให้เกิดโรค โรคที่เกิดเนื่องมาจากการดื่มสุราล้วนแล้วแต่บั่นทอนสุขภาพกายจนถึงตายได้เช่น โรคตับแข็ง โรคหัวใจ โรคความดัน
    ๔.ทำให้เสียชื่อเสียง เมื่อคนเมาไปทำเรื่องไม่ดีเข้าเช่นไปลวนลามสตรี ปล่อยตัวปล่อยใจ ก็ทำให้วงศ์ตระกูล และหน้าที่การงานเสี่อมเสีย
    ๕.ทำให้ลืมตัวไม่รู้จักอาย คนเมาทำสิ่งที่ไม่ควรทำ ทำสิ่งที่คนมีสติจะไม่ทำ เช่นแก้ผ้าเดิน หรือนอนในที่สาธารณะเป็นต้น
    ๖.ทอนกำลังปัญญา ทานแล้วทำให้เซลล์สมองเริ่มเสื่อมลง ก็จะทำให้สุขภาพและปัญญาเสื่อมถอย ความสามารถโดยรวมก็ด้อยลง​
    [​IMG]
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.salatham.com/do-donts/38virtues.htm

    มงคล ๓๘ ประการ

    ๒๑.ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย
    ธรรมในที่นี้ก็คือหลักปฏิบัติที่ทำแล้วมีผลในทางดีและเป็นจริงที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงโปรดแนะทางไว้
    คนที่ประมาทในธรรมนั้นมีลักษณะที่สรุปได้ดังนี้คือ
    ๑.ไม่ทำเหตุดี แต่จะเอาผลดี
    ๒.ทำตัวเลว แต่จะเอาผลดี
    ๓.ทำย่อหย่อน แต่จะเอาผลมาก สิ่งที่ไม่ควรประมาทได้แก่
    ๑.การประมาทในเวลา คือการปล่อยให้เวลาล่วงเลยไปโดยไม่ทำอะไรให้เกิดประโยชน์ หรือผลัดวันประกันพรุ่งเป็นต้น
    ๒.การประมาทในวัย คือคิดว่าอายุยังน้อย ไม่ต้องทำความเพียรก็ได้เพราะยังต้องมีชีวิตอยู่อีกนานเป็นต้น
    ๓.การประมาทในความไม่มีโรค คือคิดว่าตัวเองแข็งแรงไม่ตายง่ายๆ ก็ปล่อยปละละเลยเป็นต้น
    ๔.การประมาทในชีวิต คือการไม่กำหนดวางแผนถึงอนาคต คิดอยู่แต่ว่ายังมีชีวิตอยู่อีกนานเป็นต้น
    ๕.การประมาทในการงาน คือไม่ขยันตั้งใจทำให้สำเร็จ ปล่อยตามเรื่องตามราว หรือปล่อยให้ดินพอกหางหมูเป็นต้น
    ๖.การประมาทในการศึกษา คือการไม่คิดศึกษาเล่าเรียนในวัยที่ควรเรียน หรือขาดความเอาใจใส่ที่เพียงพอ
    ๗.การประมาทในการปฏิบัติธรรม คือการไม่ปฏิบัติสมาธิภาวนาหรือศึกษาหลักธรรมให้ถ่องแท้ เพราะคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัวเป็นต้น
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๒๒.มีความเคารพ
    ท่านได้กล่าวว่าสิ่งที่ควรเคารพมีอยู่ดังนี้
    ๑.พระพุทธเจ้า
    ๒.พระธรรม
    ๓.พระสงฆ์
    ๔.การศึกษา
    ๕.ความไม่ประมาท คือการดำเนินตามหลักธรรมคำสอนพระพุทธศาสนาอื่นๆ ด้วยความเคารพ
    ๖.การสนทนาปราศรัย คือการต้อนรับอาคันตุกะผู้มาเยือนด้วยความเคารพ​
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๒๓.มีความถ่อมตน
    ความอ่อนน้อมถ่อมตน คือ การไม่แสดงออกถึงความสามารถที่ตัวเองมีอยู่ให้ผู้อื่นทราบเพื่อข่มผู้อื่น หรือเพื่อโอ้อวด การไม่อวดดี เย่อหยิ่งจองหอง แต่แสดงตนอย่างสงบเสงี่ยม
    ท่านว่าไว้ว่าโทษของการอวดดีนั้นมีอยู่ดังนี้คือ
    ๑.ทำให้เสียคน คือไม่สามารถกลับมาอยู่ในร่องในรอยได้เหมือนเดิม เสียอนาคต
    ๒.ทำให้เสียมิตร คือไม่มีใครคบหาเป็นเพื่อนด้วย ถึงจะมีก็ไม่ใช่เพื่อนแท้
    ๓.ทำให้เสียหมู่คณะ คือถ้าต่างคนต่างถือดี ก็ทำให้ไม่สามารถตกลงกันได้ ในที่สุดก็ไม่ถึงจุดหมาย หรือทำให้เป็นที่เบื่อหน่ายของคนอื่น
    การทำตัวให้เป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตนนั้นมีหลักดังนี้คือ
    ๑.ต้องคบกัลยาณมิตร คือเพื่อนที่ดีมีศีลมีธรรม คอยตักเตือนหรือชักนำไปในทางที่ดีที่ถูกที่ควร
    ๒.ต้องรู้จักคิดไตร่ตรอง คือการรู้จักคิดหาเหตุผลอยู่ตลอดถึงความเป็นไปในธรรมชาติของมนุษย์ ต่างคนย่อมต่างจิดต่างใจ และรวมทั้งหลักธรรมอื่นๆ
    ๓.ต้องมีความสามัคคี คือการมีความสามัคคีในหมู่คณะ อลุ่มอล่วยในหลักการ ตักเตือน รับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างมีเหตุผล ท่านว่าลักษณะของคนถ่อมตนนั้นมีดังนี้
    ๑.มีกิริยาที่นอบน้อม
    ๒.มีวาจาที่อ่อนหวาน
    ๓.มีจิตใจที่อ่อนโยน
    สรุปแล้วก็คือ สมบูรณ์พร้อมด้วยกาย วาจา และใจนั่นเอง
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๒๔.มีความสันโดษ
    คำว่าสันโดษไม่ได้หมายถึงการอยู่ลำพังคนเดียวอย่างเดียวก็หาไม่ แต่หมายถึงการพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ ในของของตัว ซึ่งท่านได้ให้นิยามที่เป็นลักษณะของความสันโดษเป็นดังนี้ คือ
    ๑.ยถาลาภสันโดษ หมายถึงความยินดีตามมีตามเกิด คือมีแค่ไหนก็พอใจเท่านั้น เป็นอยู่อย่างไรก็ควรจะพอใจ ไม่คิดน้อยเนื้อต่ำใจในสิ่งที่ตัวเองเป็นอยู่
    ๒.ยถาพลสันโดษ หมายถึงความยินดีตามกำลัง เรามีกำลังแค่ไหนก็พอใจเท่านั้น ตั้งแต่กำลังกาย กำลังทรัพย์ กำลังบารมี หรือกำลังความสามารถเป็นต้น
    ๓.ยถาสารูปสันโดษ หมายถึงความยินดีตามควร ซึ่งโยงใยไปถึงความพอเหมาะพอควรในหลายๆเรื่อง เช่นรูปลักษณ์ของตนเอง และรวมทั้งฐานะที่เราเป็นอยู่​
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๒๕.มีความกตัญญู
    คือการรู้คุณ และตอบแทนท่านผู้นั้น บุญคุณที่ว่านี้มิใช่ว่าตอบแทนกันแล้วก็หายกัน แต่หมายถึงการรำลึกถึงพระคุณที่เคยให้ความอุปการะแก่เราด้วยความเคารพยิ่ง ท่านว่าสิ่งของหรือผู้ที่ควรกตัญญูนั้นมีดังนี้
    ๑.กตัญญูต่อบุคคล บุคคลที่ควรกตัญญูก็คือใครก็ตามที่มีบุญคุณควรระลึกถึงและตอบแทนพระคุณ เช่น บิดา มารดา อาจารย์เป็นต้น
    ๒.กตัญญูต่อสัตว์ ได้แก่สัตว์ที่มีคุณต่อเราช่วยทำงานให้เรา เราก็ควรเลี้ยงดูให้ดีเช่นช้าง ม้า วัว ควาย หรือสุนัขที่ช่วยเฝ้าบ้านเป็นต้น
    ๓.กตัญญูต่อสิ่งของ ได้แก่สิ่งของทุกอย่างที่มีคุณต่อเราเช่น หนังสือที่ให้ความรู้แก่เรา อุปกรณ์ทำมาหากินต่างๆ เราไม่ควรทิ้งคว้าง หรือทำลายโดยไม่เห็นคุณค่า​
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๒๖.การฟังธรรมตามกาล
    เมื่อมีโอกาส เวลา หรือตามวันสำคัญต่างๆ ก็ควรต้องไปฟังธรรมบ้างเพื่อสดับตรับฟังสิ่งที่เป็นประโยชน์ในหลักธรรมนั้นๆ และนำมาใช้กับชีวิตเราเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น ท่านว่าเวลาที่ควรไปฟังธรรมนั้นมีดังนี้คือ
    ๑.วันธรรมสวนะ ก็คือวันพระ หรือวันที่สำคัญทางศาสนา
    ๒.เมื่อมีผู้มาแสดงธรรม ก็อย่างเช่น การฟังธรรมตามวิทยุ การที่มีพระมาแสดงธรรมตามสถานที่ต่างๆ หรือการอ่านจากสื่อต่างๆ
    ๓.เมื่อมีโอกาสอันสมควร อาทิเช่นในวันอาทิตย์เมื่อมีเวลาว่าง หรือในงานมงคล งานบวช งานกฐิน งานวัดเป็นต้น คุณสมบัติของผู้ฟังธรรมที่ดีควรต้องมีดังนี้คือ
    ๑.ไม่ดูแคลนในหัวข้อธรรมว่าง่ายเกินไป
    ๒.ไม่ดูแคลนในความรู้ความสามารถของผู้แสดงธรรม
    ๓.ไม่ดูแคลนในตัวเองว่าโง่ ไม่สามารถเข้าใจได้
    ๔.มีความตั้งใจในการฟังธรรม และนำไปพิจารณา
    ๕.นำเอาธรรมนั้นๆไปปฏิบัติให้เกิดผล
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๒๗.มีความอดทน
    ท่านว่าลักษณะของความอดทนนั้นสามารถจำแนกออกได้เป็นดังต่อไปนี้คือ
    ๑.ความอดทนต่อความลำบาก คือความลำบากที่ต้องประสพตามธรรมชาติ ซึ่งอาจมาจากสภาพแวดล้อมเป็นต้น
    ๒.ความอดทนต่อทุกขเวทนา คือทุกข์ที่เกิดจากสังขารของเราเอง เช่นความไม่สบายกายเป็นต้น
    ๓.ความอดทนต่อความเจ็บใจ คือการที่คนอื่นทำให้เราต้องผิดหวัง หรือพูดจาให้เจ็บช้ำใจ ไม่เป็นอย่างที่หวังเป็นต้น
    ๔.ความอดทนต่ออำนาจกิเลส คือสิ่งยั่วยวนทั้งหลายถือเป็นกิเลสทั้งทางใจและทางกายอาทิเช่น ความนึกโลภอยากได้ของเขา หรือการพ่ายแพ้ต่ออำนาจเงินเป็นต้น วิธีทำให้มีความอดทนคือ มีหิริโอตัปปะ
    ๑.หิริ ได้แก่การมีความละอายต่อบาป การที่รู้ว่าเป็นบาปแล้วยังทำอีกก็ถือว่าไม่มีความละอายเลย
    ๒.โอตัปปะ ได้แก่การมีความเกรงกลัวในผลของบาปนั้นๆ
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๒๘.เป็นผู้ว่าง่าย
    ท่านว่าผู้ว่าง่ายนั้นมีลักษณะที่สังเกตได้ดังนี้คือ
    ๑.ไม่พูดกลบเกลื่อนเมื่อได้รับการว่ากล่าวตักเตือน คือการรับฟังด้วยดี ไม่ใช่แก้ตัวแล้วปิดประตูความคิดไม่รับฟัง
    ๒.ไม่นิ่งเฉยเมื่อได้รับการเตือน คือการนำคำตักเตือนนั้นมาพิจารณาและแก้ไขข้อบกพร่องนั้นๆ
    ๓.ไม่จับผิดผู้ว่ากล่าวสั่งสอน คือการที่ผู้สอนอาจจะมีความผิดพลาด เนื่องจากความประมาท เราควรให้อภัยต่อผู้สอน เพราะการจับผิดทำให้ผู้สอนต้องอับอายขายหน้าได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ดีงาม
    ๔.เคารพต่อคำสอนและผู้สอน คือการรู้จักสัมมาคารวะต่อผู้ทำให้คำสอน และเคารพในสิ่งที่ผู้สอนได้นำมาแนะนำ
    ๕.มีความอ่อนน้อมถ่อมตน คือไม่แสดงความยะโส ถือตัวว่าอยู่เหนือผู้อื่นเพราะสิ่งที่ตัวเองเป็นตัวเองมี
    ๖.มีความยินดีต่อคำสอนนั้น คือยอมรับในคำสอนนั้นๆ ด้วยความยินดีเช่นการไม่แสดงความเบื่อหน่ายเพราะเคยฟังมาแล้ว เป็นต้น
    ๗.ไม่ดื้อรั้น คือการไม่อวดดี คิดว่าของตัวเองนั้นผิดแต่ก็ยังดันทุรังทำต่อไปเพราะกลัวเสียชื่อ เสียฟอร์ม
    ๘.ไม่ข้ดแย้ง เพราะว่าการว่ากล่าวตักเตือนหรือสั่งสอนนั้นก็คือ สิ่งที่ตรงข้ามกับที่เราทำอยู่แล้ว เราควรต้องเปิดใจให้กว้างไม่ขัดแย้งต่อคำสอน คำวิจารณ์นั้นๆ
    ๙.ยินดีให้ตักเตือนได้ทุกเวลา คือการยินดีให้มีการแสดงความคิดเห็นตักเตือนได้โดยไม่มีข้อยกเว้นเรื่องเวลา
    ๑๐.มีความอดทนต่อการเป็นผู้ถูกสั่งสอน คือการไม่เอาความขัดแย้งในความเห็นเป็นอารมณ์ แต่ให้เข้าใจเจตนาที่แท้จริงของผู้สอนนั้น การทำให้เป็นคนว่าง่ายนั้นทำได้ดังนี้
    ๑.ลดมานะของตัว คือการไม่ถือดี ไม่ถือตัว ความไม่สำคัญตัวเองว่าเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ อาทิเช่นถือตัวว่าการศึกษาดีกว่าเป็นต้น
    ๒.ละอุปาทาน คือการไม่ยึดถือในสิ่งที่เรามี เราเป็น หรือถือมั่นในอำนาจกิเลสต่างๆ
    ๓.มีสัมมาทิฏฐิ คือมีปัญญาที่เห็นชอบ การเห็นถูกเห็นควรตามหลักอริยสัจ ๔ เชื่อเรื่องความไม่เที่ยง เชื่อในเรื่องบุญเรื่องบาปเป็นต้น
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๒๙.การได้เห็นสมณะ
    คำว่าสมณะแปลตรงตัวได้ว่า ผู้สงบ (หมายถึงผู้อยู่ในสมณเพศ) ท่านว่าคุณสมบัติของสมณะต้องประกอบไปด้วย ๓ อย่างคือ
    ๑.ต้องสงบกาย คือมีความสำรวมในการกระทำทุกอย่าง รวมถึงกิริยา มรรยาท ตามหลักศีลธรรม
    ๒.ต้องสงบวาจา คือการพูดจาให้อยู่ในกรอบของความพอดี มีความสุภาพสงบเสงี่ยมในคำพูดและภาษาที่ใช้ เป็นไปตามข้อปฏิบัติ ประเพณี
    ๓.ต้องสงบใจ คือการทำใจให้สงบปราศจากกิเลสครอบงำ ไม่ว่าจะเป็น โลภ โกรธ หลง หรือความพยาบาทใดๆ ตั้งมั่นอยู่ในสมาธิภาวนา
    การได้เห็นสมณะมีอยู่ดังนี้คือ
    ๑.เห็นด้วยตา ความหมายก็ตรงตัวคือการเห็นจากการสัมผัสด้วยสายตาของตนเอง แล้วมีความประทับใจในความสำรวมในกาย
    ๒.เห็นด้วยใจ เนื่องจากความสำรวมกาย วาจา ใจของสมณะจะช่วยโนัมน้าวจิตใจของเราให้โอนอ่อนผ่อนตาม และรับฟังหลักคำสอนด้วยใจที่ยินดี ซึ่งนั่นก็หมายถึงการเปิดใจเราให้สมณะได้ชี้นำนั่นเอง
    ๓.เห็นด้วยปัญญา หมายความถึงการรู้โดยการใช้ปัญญาใคร่ครวญ พิจารณาในการสัมผัสและเข้าถึงและรับรู้ถึงคำสอนของสมณะผู้นั้น และรู้ว่าท่านเป็นผู้ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรมอย่างแท้จริง เมื่อเห็นแล้วก็ต้องทำอย่างนี้คือ
    ๑.ต้องเข้าไปหา คือเข้าไปขอคำแนะนำ ชี้แนะจากท่าน หรือให้ความเคารพท่าน
    ๒.ต้องเข้าไปบำรุงช่วยเหลือ คือการช่วยเหลือท่านในโอกาสอันควร เพื่อแบ่งเบาภาระของท่าน
    ๓.ต้องเข้าไปฟัง คือการรับฟังคุณธรรม หลักคำสอนของท่านมาไว้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาชีวิต
    ๔.หมั่นระลึกถึงท่าน คือการระลึกถึงความดีที่ท่านมีแล้วนำมาเป็นตัวอย่างกับตัวเราเอง
    ๕.รับฟังรับปฏิบัติ คือการรับคำแนะนำของท่านมาปฏิบัติทำตามเพื่อให้เกิดผล ครั้นเมื่อติดขัดก็ใคร่แก้ไขเพื่อให้รู้จริงเห็นจริงตามนั้น
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๓๐.การสนทนาธรรมตามกาล
    การได้สนทนากันเรื่องธรรม ทำให้ขยายขอบเขตการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความรู้ และได้รู้ในสิ่งใหม่ๆ ที่เราอาจนึกไม่ถึง หรือเป็นการเผื่อแผ่ความรู้ที่เรามีให้แก่ผู้อื่นได้ทราบด้วย
    ก่อนที่เราจะสนทนาธรรม ควรต้องพิจารณาและคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้คือ
    ๑.ต้องรู้เรื่องที่จะพูดดี
    ๒.ต้องพูดเรื่องจริง มีประโยชน์
    ๓.ต้องเป็นคำพูดที่ไพเราะ
    ๔.ต้องพูดด้วยความเมตตา
    ๕.ต้องพูดจาโอ้อวด ยกตนข่มท่าน ข้อปฏิบัติเมื่อมีการสนทนาธรรม
    ๑.มีศีลธรรม คือการเป็นผู้ที่รักษาศีล ๕ หรือศีล ๘ เป็นนิจศีลอยู่แล้ว การเป็นผู้ปฏิบัติถือเป็นหน้าที่ขั้นต้นในการเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี
    ๒.มีสมาธิดี คือการมีจิตใจจดจ่ออยู่กับเรื่องที่สนทนา ไม่ว่อกแวก พร้อมทั้งเป็นผู้ที่หมั่นเจริญสมาธิภาวนาด้วย
    ๓.แต่งการสุภาพ คือการแต่งตัวให้เหมาะสมกับยุคสมัย อยู่ในกรอบประเพณีของสังคมแวดล้อม ณ ที่นั้นๆ ถูกกาลเทศะ
    ๔.มีกิริยาสุภาพ คือมีความสุภาพในท่วงท่าไม่ว่าจะเดิน นั่ง ยืน หรือการกระทำใดๆ การที่มีกิริยางดงาม สุภาพย่อมโน้มน้าวจิดใจผู้พบเห็นให้เกิดความประทับใจที่ดี
    ๕.ใช้วาจาสุภาพ คือการใช้ถ้อยคำที่สุภาพในการสนทนา ไม่ใช้คำหยาบคาย หรือก้าวร้าว
    ๖.ไม่กล่าวค้านพระพุทธพจน์ คือการไม่นำเอาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามาเป็นข้อสงสัย หรือกล่าวค้าน เพราะสิ่งที่กล่าวไว้ในพระพุทธพจน์ย่อมเป็นความจริงตลอดกาล
    ๗.ไม่ออกนอกประเด็นที่ตั้งไว้ คือการพูดให้อยู่ในหัวข้อที่ตั้งไว้ ไม่พูดแบบน้ำท่วมทุ่งผักบุ้งโหรงเหรง
    ๘.ไม่พูดนานจนน่าเบื่อ คือการเลือกเวลาที่เหมาะสมตามสถานการณ์ เนื่องจากเรื่องบางเรื่องอาจไม่จำเป็นต้องขยายความมากเกินไป
    [​IMG]
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.salatham.com/do-donts/38virtues.htm

    มงคล ๓๘ ประการ

    ๓๑.การบำเพ็ญตบะ
    ตบะ โดยความหมายแปลว่า ทำให้ร้อน ไม่ว่าด้วยวิธีใด การบำเพ็ญตบะหมายความถึงการทำให้กิเลส ความรุ่มร้อนต่างๆ หมดไป หรือเบาบางลง ลักษณะการบำเพ็ญตบะมีดังนี้ ๑.การมีใจสำรวมในอินทรีย์ทั้ง ๖ (อายตนะภายใน ๖ อย่าง) ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ไม่ให้หลงติดอยู่กับสัมผัสภายนอกมากเกินไป ไม่ให้กิเลสครอบงำใจเวลาที่รับรู้อารมณ์ผ่านอินทรีย์ทั้ง ๖ (อินทรีย์สังวร)
    ๒.การประพฤติรักษาพรหมจรรย์ เว้นจากการร่วมประเวณี หรือกามกิจทั้งปวง
    ๓.การปฏิบัติธรรม คือการรู้และเข้าใจในหลักธรรมเช่นอริยสัจ เป็นต้น ปฏิบัติตนให้อยู่ในศีล และถึงพร้อมด้วยสมาธิ และปัญญา โดยมีจุดหมายสูงสุดที่พระนิพพาน กำจัดกิเลส ละวางทุกสิ่งได้หมดสิ้นด้วยปัญญา
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๓๒.การประพฤติพรหมจรรย์
    คำว่าพรหมจรรย์หมายความถึง การบวชซึ่งละเว้นเมถุน การครองชีวิตที่ปราศจากเมถุน การประพฤติธรรมอันประเสริฐ ท่านว่าลักษณะของธรรมที่ถือว่าเป็นการประพฤติพรหมจรรย์นั้น (ไม่ใช่ว่าต้องบวชเป็นพระ) มีอยู่ดังนี้คือ
    ๑.ให้ทาน บริจาคทานไม่ว่าจะเป็นทรัพย์ สิ่งของ เงินทอง หรือปัญญา
    ๒.ช่วยเหลือผู้อื่นในกิจการงานที่ชอบ ที่ถูกที่ควร (เวยยาวัจจมัย)
    ๓.รักษาศีล ๕ คือไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักขโมย ไม่ทำผิดในกาม ไม่พูดปด ไม่ดื่มน้ำเมา (เบญจศีล)
    ๔.มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขากับคนที่เราต้องพบปะด้วยทุกคน (อัปปมัญญา)
    ๕.งดเว้นจากการเสพกาม (เมถุนวิรัติ)
    ๖.ยินดีในคู่ของตน คือการมีสามีหรือภรรยาคนเดียว (สทารสันโดษ)
    ๗.เพียรพยายามที่จะละความชั่ว ไม่ท้อถอยในความบากบั่น (วิริยะ)
    ๘.รักษาซึ่งศีล ๘ คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักขโมย ไม่ร่วมประเวณี ไม่พูดปด ไม่ดื่มน้ำเมา ไม่บริโภคอาหารตั้งแต่เที่ยงวันเป็นต้นไป ไม่ฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรี ดูการละเล่น ใช้ของหอมหรือเครื่องประดับ ไม่นอนบนที่สูงใหญ่ หรูหรา (อุโบสถ)
    ๙.ใช้ปัญญาเห็นแจ้งใน ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค (อริยธรรม)
    ๑๐.ศึกษาปฏิบัติในศีล สมาธิ ปัญญา ให้รู้แจ้งเห็นจริง (สิกขา)
    *ขออธิบายเพิ่มเติมว่าข้อ ๕ ที่บอกว่าให้งดเว้นการเสพกาม แต่ข้อ ๖ ให้ยินดีในคู่ของตนนั้น เพราะว่าการประพฤติพรหมจรรย์ในที่นี้หมายถึง บุคคลทั่วไปที่อาจมีครอบครัวแล้ว ก็ประพฤติพรหมจรรย์ได้โดยการงดเว้นการร่วมประเวณี เช่นในวันสำคัญๆเป็นต้น​
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๓๓.การเห็นอริยสัจ
    อริยสัจ หมายถึงความจริงอันประเสริฐ หลักแห่งอริยสัจมีอยู่ ๔ ประการตามที่ท่านได้สั่งสอนไว้มีดังนี้
    ๑.ทุกข์ คือความไม่สบายกายไม่สบายใจ ความเป็นจริงของสัตว์โลกทุกผู้ทุกนามต้องมีทุกข์ ๓ ประการคือ การเกิด ความแก่ ความตาย นอกจากนี้ก็มีความทุกข์ที่เป็นอาการ หรือเกิดจากสภาพแวดล้อมสรุปได้ดังนี้คือ
    -ความโศกเศร้า (โสกะ)
    -ความรำพันด้วยความเสียใจ (ปริเทวะ)
    -ความเจ็บไข้ได้ป่วย (ทุกขะ)
    -ความเสียใจ (โทมนัสสะ)
    -ความท้อแท้ สิ้นหวัง คับแค้นใจ (อุปายาสะ)
    -การตรอมใจ ผิดหวังจากสิ่งที่ไม่รัก (อัปปิเยหิ สัมปโยคะ)
    -การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก (ปิเยหิ วิปปโยคะ)
    -ความหม่นหมองเมื่อปรารถนาแล้วไม่ได้สิ่งนั้น (ยัมปิจฉัง นลภติ)
    ๒.สมุทัย คือเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ นอกจากเหตุแห่งทุกข์ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ต้นตอของทุกข์ก็อยู่ที่ใจของเราด้วยนั่นก็คือความอยาก ท่านว่าเป็นตัณหา ๓ อย่าง ซึ่งแบ่งออกได้เป็นดังนี้คือ
    -ความอยากได้ หมายรวมถึงอยากทุกอย่างที่นำมาสนองสัมผัสทั้ง ๕ และกามารมณ์ (กามตัณหา)
    -ความอยากเป็น คือความอยากเป็นโน่นเป็นนี่ (ภวตัณหา)
    -ความไม่อยากเป็น คือความไม่พอใจในสิ่งที่ตัวเองเป็นอยู่ (วิภวตัณหา)
    ๓.นิโรธ คือความดับทุกข์ ภาวะที่ตัณหาดับสิ้นไป ความหลุดพ้น หรือหมายถึงภาวะของพระนิพพานนั่นเอง
    ๔.มรรค คือข้อปฏิบัติ หรือหนทางที่นำไปสู่การดับทุกข์ การเดินทางสายกลางเพื่อไปให้ถึงการดับทุกข์ คือ มรรคมี ๘ ประการ คือ
    -ความเห็นชอบ เช่นความศรัทธาในเบื้องต้นต่อหลักธรรม คำสอน เช่นการเชื่อว่ากรรมดีกรรมชั่วมีจริงเป็นต้น (สัมมาทิฏฐิ)
    -ความดำริชอบ หรือความคิดชอบ มีความคิดที่ถูกต้องตามหลักธรรม เช่นการใช้ปัญญาพิจารณาความไม่เที่ยงของสังขาร หรือการไม่คิดอยากได้ของเขามาเป็นของเราเป็นต้น (สัมมาสังกัปปะ)
    -เจรจาชอบ คือการปฏิบัติตามหลักธรรม ไม่พูดโกหก ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อเป็นต้น (สัมมาวาจา)
    -ทำการชอบ หรือการมีการกระทำที่ไม่ผิดหลักศีลธรรม เช่นไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์เป็นต้น (สัมมากัมมันตะ)
    -เลี้ยงชีพชอบ คือการทำมาหากินในทางที่ถูก ไม่เบียดเบียนหรือทำความเดือดร้อนให้กับสัตว์หรือผู้อื่น อยู่ในหลักธรรมที่กำหนด เช่น ไม่มีอาชีพค้ามนุษย์ หรืออาชีพค้าอาวุธเป็นต้น (สัมมาอาชีวะ)
    -ความเพียรชอบ คือการหมั่นทำนุบำรุงในสิ่งที่ถูกต้อง อาทิเช่นการพยายามละกิเลสออกจากใจ หรือการพยายามสำรวม กาย วาจา ใจให้ดำเนินตามหลักธรรมของท่านเป็นต้น (สัมมาวายามะ)
    -ความระลึกชอบ คือมีสติตั้งมั่นในสิ่งที่ถูกต้องตามหลักธรรม เช่นการพึงระลึกถึงความตายที่ต้องเกิดกับทุกคนเป็นต้น (สัมมาสติ)
    -จิตตั้งมั่นชอบ คือมีจิตที่มีสมาธิ ไม่ว่อกแวกหรือคิดฟุ้งซ่าน และการทำสมาธิภาวนาตามหลักการที่ท่านได้บัญญัติแนะนำเอาไว้ (สัมมาสมาธิ)​
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๓๔.การทำให้แจ้งในพระนิพพาน
    นิพพาน คือ ภาวะของจิตที่ดับกิเลสได้หมดสิ้น หลุดจากอำนาจกรรม และไม่ต้องวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏอีก ซึ่งก็คือพ้นจากทุกข์นั่นเอง
    ท่านว่าลักษณะของนิพพานมีอยู่ ๒ ระดับดังนี้คือ
    ๑.การดับกิเลสขณะที่ยังมีเบญจขันธ์เหลืออยู่ หรือการเข้าถึงนิพพานขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ -สอุปาทิเสสนิพพาน
    ๒.การดับกิเลสที่ไม่มีเบญจขันธ์เหลืออยู่เลย คือการที่ร่างกายเราแตกดับแล้วไปเสวยสุขอันเป็นอมตะในพระนิพพาน (ตรงนี้ไม่สามารถอธิบายให้กระจ่างมากไปกว่านี้ได้) -อนุปาทิเสสนิพพาน การที่จะเข้าถึงพระนิพพานได้ ก็ต้องปฏิบัติธรรมและเจริญสมาธิภาวนาจนถึงขั้นสูงสุด
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๓๕.มีจิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม
    คำว่าโลกธรรม มีความหมายถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นอยู่เป็นประจำบนโลกนี้ ซึ่งเราไม่ควรมีจิดหวั่นไหวต่อสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ท่านว่าลักษณะของโลกธรรมมี ๔ ประการคือ
    ๑.การได้ลาภ เมื่อมีลาภผลก็ย่อมมีความเสื่อมเป็นธรรมดา มีแล้วก็ย่อมหมดไปได้ เป็นแค่ความสุขชั่วคราวเท่านั้น
    ๒.การได้ยศ ยศฐาบรรดาศักดิ์ล้วนเป็นสิ่งสมมุติขึ้นมาทั้งนั้น เป็นสิ่งที่คนยอมรับกันว่าเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ พอหมดยศก็หมดบารมี
    ๓.การได้รับการสรรเสริญ ที่ใดมีคนนิยมชมชอบ ที่นั่นก็ย่อมต้องมีคนเกลียดชังเป็นเรื่องธรรมดา การถูกนินทาจึงไม่ใช่เรื่องผิดปกติ
    ๔.การได้รับความสุข ที่ใดมีสุขที่นั่นก็จะมีทุกข์ด้วย มีความสุขแล้วก็อย่าหลงระเริงไปจนลืมนึกถึงความทุกข์ที่แฝงมาด้วย การทำให้จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม มีวิธีดังนี้คือ
    ๑.ใช้ปัญญาพิจารณา โดยตั้งอยู่ในหลักธรรมของพระพุทธศาสนา พิจารณาอยู่เนืองๆ ถึงหลักธรรมต่างๆ
    ๒.เจริญสมาธิภาวนา ใช้กรรมฐานพิจารณาถึงความเป็นไปในความไม่เที่ยงในสรรพสิ่งทั้งหลายในโลก และสังขาร
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๓๖.มีจิตไม่โศกเศร้า
    ท่านว่ามีเหตุอยู่ ๒ ประการที่ทำให้จิตเราต้องโศกเศร้าคือ
    ๑.ความโศกเศร้าที่เกิดเนื่องมาจากความรัก รวมถึงรักสิ่งของ ทรัพย์สินเงินทองด้วย
    ๒.ความโศกเศร้าที่เกิดจากความใคร่ การทำให้จิตใจไม่โศกเศร้านั้น มีข้อแนะนำดังนี้
    ๑.ใช้ปัญญาพิจารณาอยู่เนืองๆ ถึงความไม่เที่ยงในสิ่งของทั้งหลาย และร่างกายของเรา
    ๒.ไม่ยึดมั่นในตัวตน หรือความจีรังยั่งยืน ในคนหรือสิ่งของว่าเป็นของเรา
    ๓.ทุกอย่างในโลกล้วนเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกขณะ แม้ร่างกายเราก็ใช้เป็นที่อาศัยชั่วคราวเท่านั้น
    ๔.คิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างล้วนไม่เที่ยงด้วยกันทั้งนั้น
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๓๗.มีจิตปราศจากกิเลส
    กิเลส ก็คือสิ่งที่ทำให้เกิดความเศร้าหมอง ซึ่งได้แก่ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ท่านได้แบ่งประเภทของกิเลสออกเป็นดังนี้ คือ
    ๑.ราคะ สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็น
    -ความโลภอย่างแรงจนแสดงออกมา เช่นการลักขโมย ปล้น จี้ ข่มขืนกระทำชำเรา เป็นต้น (อภิชฌาวิสมโลภะ)
    -ความเพ่งเล็งจะเอาของคนอื่นมาเป็นของตัว มีใจอยากได้ของคนอื่นแต่ยังไม่ถึงกับแสดงออก (อภิชฌา)
    -ความอยากได้ในทางไม่ชอบ เช่นการยอมรับสินบน การทุจริตเพื่อแลกกับการมีทรัพย์เป็นต้น (ปาปิจฉา)
    -ความมักมากเห็นแก่ได้ ด้วยการเอามาเป็นของตนจนเกินพอดี เอาประโยชน์ใส่ตัวโดยไม่คำนึงถึงคนอื่น (มหิจฉา)
    -ความยินดีในกาม ก็คือยังไม่สามารถละกิจกรรมทางเพศได้ ยังมีความรู้สึก มีแรงกระตุ้น มีความพอใจในเรื่องเพศ (กามระคะ)
    -ความยินดีในรูปธรรมอันปราณีต ก็คือติดอยู่ในอารมณ์ของรูปฌาณ ปรารถนาในรูปของภพเมื่อทำสมาธิขั้นสูงขึ้นไป (รูปราคะ)
    -ความยินดีในอรูปฌาณ ก็คือติดอยู่ในอารมณ์ของอรูปฌาณเมื่อทำสมาธิถึงภพของอรูปพรหม (อรูปราคะ)
    ๒.โทสะ สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็น
    -พยาบาท คือการผูกใจอาฆาต มีใจที่ไม่หวังดี การจองเวร
    -โทสะ คือการคิดประทุษร้าย เนื่องด้วยมีใจพยาบาทแล้วก็มีใจคิดหมายทำร้าย
    -โกธะ คือความโกรธ ความเดือดร้อนใจ ซึ่งล้วนเป็นเหมือนไฟที่เผาตัวเอง
    -ปฏิฆะ คือความขัดใจ ความไม่พอใจอันทำให้อารมณ์หงุดหงิด
    ๓.โมหะ สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็น
    -ความเห็นผิดเป็นชอบ เช่นการไม่เชื่อในเรื่องบาป เรื่องบุญเป็นต้น (มิจฉาทิฐิ)
    -ความหลงผิด ไม่รู้ตามความเป็นจริง (โมหะ)
    -การเห็นว่ามีตัวตน เช่นการเชื่อในสิ่งที่มองเห็นด้วยตาเปล่าเท่านั้น (สังกายทิฏฐิ)
    -ความสงสัย คือสงสัยในพระธรรม คำสั่งสอนในเรื่องการปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ (วิจิกิจฉา)
    -การยึดถืออย่างงมงาย เช่นการไปกราบไหว้สัมพเวสีที่อยู่ตามต้นไม้ ขอลาภเป็นต้น (สีลัพพตปรามาส)
    -ความถือตัว คือการสำคัญตัวเองผิดว่าเป็นอย่างโน้นเป็นอย่างนี้ (มานะ)
    -ความฟุ้งซ่าน คือการที่จิตใจว่อกแวก คิดไม่เป็นสาระ ไม่อยู่กับร่องกับรอย ไม่มีสมาธิ หรือการทำสมาธิไม่นิ่ง (อุทธัจจะ)
    -ความไม่รู้จริง คือการที่รู้แค่ผิวเผิน หรือการทึกทักเอาเอง ไม่ปฏิบัติตามหลักพระธรรม ยังไม่เกิดปัญญา (อวิชชา) โทษของการมีกิเลสดังกล่าวข้างต้นพอสรุปได้สั้นๆ ดังนี้คือ
    ๑.ราคะ มีโทษน้อย แต่คลายช้า
    ๒.โทสะ มีโทษมาก แต่คลายเร็ว
    ๓.โมหะ มีโทษมาก แต่คลายช้า
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๓๘.มีจิตเกษม
    เกษม หมายถึงมีความสุข สบาย หรือสภาพที่มีจิตใจที่เป็นสุข มีจิดเกษมก็คือว่ามีจิตที่เป็นสุขในที่นี้หมายถึงการละแล้วซึ่งกิเลส ที่ท่านว่าไว้ว่าเป็นเครื่องผูกอยู่ ๔ ประการคือ
    ๑.การละกามโยคะ คือการละความยินดีในวัตถุ สิ่งมีชีวิตทั้งหลายเรียกว่ากามคุณซึ่งประกอบด้วย รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส
    ๒.การละภวโยคะ คือการละความยินดีในภพ โดยให้เห็นว่าสิ่งใดๆในโลกล้วนไม่เที่ยงแท้ หรือคงอยู่ตลอดไป
    ๓.การละทิฏฐิโยคะ คือการละความยินดีในความเห็นผิดเป็นชอบ โดยให้ดำเนินตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่กล่าวมาแล้ว
    ๔.การละอวิชชาโยคะ คือการละความยินดีในอวิชชาทั้งหลาย ความไม่รู้ทั้งหลาย โดยให้มุ่งปฏิบัติเพื่อปัญญาที่รู้แจ้งเห็นจริง​
    [​IMG]
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://modernine.mcot.net/view.php?news_id=972&tk=art

    [​IMG]
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=3 width="95%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD>เปิดตำนานพุทธศาสนา กับแรงศรัทธาแห่ง..ลูกนิมิตร</TD></TR><TR vAlign=top><TD class=th_normal>
    พุทธศาสนิกชนที่เข้าไปในวัด ส่วนใหญ่คงจะรู้สึกชินตา กับแท่นหินในซุ้มที่ตั้งอยู่รอบๆ โบสถ์ที่เราเรียกกันว่า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • art972.jpg
      art972.jpg
      ขนาดไฟล์:
      22 KB
      เปิดดู:
      1,184
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://modernine.mcot.net/view.php?news_id=979&tk=art


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=3 width="95%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD> เผยเคล็ดลับง่ายๆ 7 วิธี ที่ทำชีวิตให้มีความสุข</TD></TR><TR vAlign=top><TD class=th_normal>
    มนุษย์เราทุกคนล้วนอยากมีชีวิตที่ดี และมีความสุขด้วยกันทั้งนั้น แต่ก็น่าแปลกว่า ในขณะที่เราต้องการ “ ความสุข ” หรือ “ ความสบายกายสบายใจ ” นั้น มนุษย์เรากลับดำเนินชีวิตที่พาตัวเราเอง ไปสู่หนทางแห่งความทุกข์เสียเป็นส่วนใหญ่ เช่น มีเงินเดือนพออยู่พอกินอยู่แล้ว แต่อยากจะเป็นเจ้าของ พวกเครื่องอำนวยความสะดวก หรือความทันสมัยทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นรถ มือถือ เครื่องคอมพิวเตอร์ กระเป๋าเสื้อผ้าแบรนด์เนม จนต้องตั้งหน้าตั้งตาหาเงินตัวเป็นเกลียว หัวเป็นน็อต เพื่อให้ได้ของเหล่านี้มา ทำให้ตัวเองต้องลำบากหรือเป็นหนี้เป็นสิน และมีทุกข์ไม่จบสิ้น ดังนี้เป็นต้น ถ้าในทางพุทธศาสนา เขาก็ว่ากิเลส ตัณหา ความอยากมี อยากเป็น อยากได้ หรือไม่อยากมี ไม่อยากเป็น และไม่อยากได้นั่นเอง ที่ทำให้คนเราเป็นทุกข์ ซึ่งพระพุทธองค์ ก็ทรงมีแนวทางให้พุทธศาสนิกชนได้เลือกปฏิบัติ เพื่อความหลุดพ้นความทุกข์ในระดับต่างๆ กัน แต่ในที่นี้ กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จะขอนำ “เคล็ดลับแห่งความสุข” ที่แม้มิใช่ธรรมะโดยตรง แต่ก็เป็นกลวิธีที่เราทุกคน สามารถนำไปปฏิบัติเพื่อให้เกิด “ความสุขในเบื้องต้น” ได้อย่างง่ายๆ ดังนี้ 1. เขาบอกว่า เคล็ดลับของความสุขข้อแรกคือ ต้องรู้จักการ เป็น “ ผู้ให้ ”การ“ ให้ ” ในที่นี้ จะเป็นสิ่งของ ความรู้ น้ำใจ ข้อแนะนำ หรือสิ่งอื่นใดก็ได้ที่เป็นประโยชน์ และไม่เป็นโทษต่อผู้รับ พระพุทธเจ้าบอกว่า “ผู้ให้ ย่อมผูกไมตรีไว้ได้ ” นั่นก็หมายความว่า ใครก็ตามที่เป็น “ผู้ให้ ” ย่อมสร้างไมตรีให้เกิดขึ้นในใจของผู้รับ ทำให้เกิดความรู้สึกที่ดี และเป็นมิตรต่อกัน ถ้าใครเคย “ให้” จะรู้ว่าใบหน้าที่เบิกบาน ยินดีของผู้รับ จะทำให้เราผู้ให้เกิดความสุข และปลื้มปีติเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว ในยุทธภพเขาว่า “ ความสุขเป็นสิ่งประหลาดยิ่ง มันหาได้ลดน้อยลง เพราะท่านแบ่งปันแก่ผู้อื่นไม่ ท่านยิ่งแบ่งปันกับผู้อื่นมากขึ้น ความสุขที่ท่านมียิ่งเพิ่มพูน ”
    2. หากัลยาณมิตร การมีเพื่อนที่ดี ย่อมทำให้ชีวิตของเรามีความสุข และมีความหมายยิ่งขึ้น เพราะอย่างน้อยเมื่อเราประสบความสำเร็จ ก็มีเพื่อนร่วมแสดงความยินดีด้วยอย่างจริงใจ หรือหากผิดหวัง พลาดพลั้งในชีวิต กัลยาณมิตรก็จะช่วยปลุกปลอบให้กำลังใจ หรือคอยแนะนำช่วยเหลือ ทำให้เราไม่รู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยวในโลกกว้างใบนี้ ในยุทธจักรเขาว่า “ท่ามกลางลมหนาวและพายุร้าย หากที่นั่นมีสหาย ทั้งหมดจะกลายเป็นลมหายใจอันอบอุ่น ที่ซึ่งมีมิตรแท้ จักอบอุ่นและเจิดจ้าตลอดกาล ”
    3. ใช้ชีวิตเรียบง่าย ถ้าพูดแบบสมัยนี้ก็คือ ให้ดำรงชีวิตแบบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ รู้จักความเพียงพอ โดยเฉพาะในเรื่องปัจจัยสี่ อันได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค บางคนอาจจะสงสัยว่า เพียงพอในเรื่องยารักษาโรคนี่เป็นอย่างไร ก็คงต้องบอกว่าในปัจจุบัน หลายคนกินยาสารพัดทั้งที่จำเป็นและไม่จำเป็น เพราะมีให้เลือกมากมาย ดังนั้น จึงต้องรู้จักประมาณตนในทุกเรื่อง อย่าตกเป็นทาสของลัทธิบริโภคนิยม ที่ต้องวิ่งตามโลกไม่ได้หยุดได้หย่อน เพราะจะทำให้เราเหนื่อยเกินไป และสร้างความท้อแท้ให้แก่ชีวิตได้ง่าย ยุทธจักรเขาบอกว่า “ในโลกนี้ก็มีแต่คนที่รู้จักพอ จึงสามารถได้ลิ้มรสความเบิกบานที่แท้จริง”
    4. คาดหวังให้น้อยลง ชีวิตคนเราที่เป็นทุกข์สารพัดทุกวันนี้ ส่วนหนึ่งมาจากการ “คาดหวัง” เช่น หวังว่าจะสอบได้ที่ 1, หวังว่าจะได้ตำแหน่ง, หวังว่าเขาจะรักเรา, หวังว่าจะได้มรดก, หวังว่าเจ้านายจะขึ้นเงินเดือน, หวังว่าพ่อจะซื้อรถให้ ฯลฯ ความคาดหวังเหล่านี้ทำให้เราต้องพบกับ “ความผิดหวัง” อยู่เสมอ และทำให้เราหดหู่ ห่อเหี่ยวใจเมื่อไม่สมปรารถนา ดังนั้น หวังได้ แต่หวังให้น้อยลง และจงตั้ง “ความหวัง” ในสิ่งที่เป็นไปได้ และไม่ยากจนเกินความสามารถของเรา หากไม่ได้ดังหวังก็ต้องหัด “ปลง” เสียบ้าง ในยุทธภพจึงสอนว่า “ คนผู้หนึ่งขอเพียงปลงได้ตก ในโลกก็ไม่มีเรื่องใดควรคู่ให้ปวดร้าวกลัดกลุ้มอีก ”
    5. จง "ละ “ ความโกรธ เกลียด ” ลงบ้าง หลายๆ ครั้งในชีวิตเราอาจจะต้องเจอะเจอกับบุคคล เหตุการณ์หรือสถานที่ที่เราไม่พึงใจ ทำให้เราเกิดความรู้สึกโกรธ เกลียดในสิ่งที่พบ อยากจะหลีกลี้หนีห่าง แต่บางครั้งก็ไม่อาจจะหลบไปได้ ต้องทนอยู่กับคนหรือสิ่งที่เราเกลียดอยู่เสมอ ทำให้เกิดความเครียด และทุกข์ใจ ดังนั้น วิธีแก้ตรงจุดที่สุด คือ ต้องลดความโกรธหรือความเกลียด ที่เป็นสาเหตุให้เกิดทุกข์ให้น้อยลง ด้วยการอย่ามัวแต่เพ่งจับผิด แต่ให้ใช้หลักเมตตา และให้อภัย โดยเฉพาะกับคน หรือสัตว์ หรือหากยังทำใจเมตตาไม่ได้ อย่างน้อยก็ให้ “วางเฉย” คิดเสมอว่าอย่าให้สิ่งเหล่านี้ มามีอิทธิพลเหนือจิตใจเรา ซึ่งคนในยุทธภพเขาว่า “ความเปลี่ยนแปลง และการประสบกับสิ่งที่ไม่พอใจ คือชีวิตของคน หากท่านเข้าใจชีวิตคนอย่างถ่องแท้ ความเศร้าเสียใจของท่านจะลดน้อยลง และความสุขในใจจะเกิดขึ้น”
    6. จง “ รักและพอใจงานที่ทำ ” เพราะมันเป็นส่วนสำคัญ และกินเวลาเกือบครึ่งค่อนของชีวิตของเรา หากเราไม่ “รักงาน” ของเราแล้ว ชีวิตที่เหลือคงเป็นทุกข์ไม่จบสิ้น และเราก็ต้องจมปลักไปกับความเบื่อที่ยาวนาน การที่เราจะรักงานที่เราทำได้ เราจะต้องพยายามศึกษาหาความรู้ในงานของเรา เพื่อให้รู้จักงานของเราอย่างถ่องแท้ จนพัฒนางานให้ก้าวหน้า อันจะนำมาซึ่งความสำเร็จ และความภาคภูมิใจให้แก่ตัวเราเองได้ ยุทธจักรเขาว่า “ โชคของคน ย่อมไม่ร่วงหล่นลงมาจากฟ้าเอง ”
    7. ทำตน “ใฝ่รู้” อยู่เสมอ เช่น อ่านหนังสือทุกชนิด เรียนคอมพิวเตอร์ อบรมภาษา ฯลฯ เพราะจะทำให้เราไม่ล้าสมัย หรือตกยุค แต่จะรู้สึกกระปรี้กระเปร่า มีชีวิตชีวาอยู่ตลอดเวลา ไม่เป็นคนอมทุกข์ เหงาหงอย เพราะมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เข้ากับใครก็ได้ แวดวงยุทธจักรเขาว่า “คมดาบ ยิ่งฝนยิ่งแหลมคม คน ไยมิเป็นเช่นเดียวกัน ”
    เคล็ดลับแห่งความสุขข้างต้น เป็นเรื่องง่ายๆ ไม่ยาก แต่เคล็ดลับของเคล็ดลับก็คือ ความตั้งใจที่จะเริ่มปฏิบัติตามกฎที่ว่า มิฉะนั้นแล้ว ความสุขที่เราปรารถนา ก็ยังจะเป็นทุกข์ที่เราเรียกหามันอยู่ทุกวัน เพราะความสำเร็จทั้งปวงก็ล้วนเริ่มต้นมาจากหยดน้ำเล็กๆ หาใช่เริ่มจากมหาสมุทรไม่

    ขอขอบคุณข้อมูลข่าว : อมรรัตน์ เทพกำปนาท กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม

    อัพเดทโดย : ศศิวิมล


    </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=th_normal>อัพเดตเมื่อ 2007-02-26 เวลา 00:38:30 </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://modernine.mcot.net/view.php?news_id=977&tk=art


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=3 width="95%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD>เตือนนั่งหน้าจอคอมฯ นาน 10 ชม./วัน เร่งสายตาเสื่อมเร็วขึ้น</TD></TR><TR vAlign=top><TD class=th_normal>
    สาธารณสุข คาดขณะนี้มีคนไทยวัยแรงงานไม่ต่ำกว่า 14 ล้านคน มีปัญหาสายตาผิดปกติ เตือนหนุ่มสาวที่นั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์นานวันละ 10 ชั่วโมง หรือดูทีวี อาจทำให้สายตาเสื่อมเร็วขึ้น แนะควรหยุดพักสายตาทุก 2 ชั่วโมง รับประทานอาหารที่มีวิตามินเอสูง เช่น ตับ ไข่แดง นม ผลไม้สีเหลืองและผักสีเขียว นพ.มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงผลสำรวจด้านสายตาของ สธ.รอบ 7 ปีที่ผ่านมา โดยตรวจวัดสายตากลุ่มวัยแรงงาน ที่มีประมาณ 45 ล้านคน พบว่าร้อยละ 30 มีสายตาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้างผิดปกติ มองแผ่นภาพวัดสายตาได้ไม่สมบูรณ์ คาดว่าขณะนี้มีคนไทยไม่ต่ำกว่า 14 ล้านคน สายตาผิดปกติ ต้องเร่งให้ความรู้ในการถนอมดวงตา การป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับดวงตา
    นอกจากนี้ ยังพบว่าวัยหนุ่มสาวในปัจจุบัน ใช้เวลานั่งหน้าคอมพิวเตอร์ประมาณวันละ 10 ชั่วโมง นอกจากจะมีอาการแสบตา เคืองตา ปวดรอบ ๆ ดวงตา บางรายเป็นมากจะปวดศีรษะอย่างรุนแรง วิงเวียน คลื่นไส้ มักเกิดในช่วงที่ใช้สายตา หรือมีงานเร่งด่วน อาการเหล่านี้จะดีขึ้นเมื่อได้พักผ่อนสายตาแล้ว และการนั่งนาน ๆ ยังเป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น ปวดหลัง เท้าบวม เป็นต้น ดังนั้น ผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ ควรหยุดพักสายตาทุก 2 ชั่วโมง ครั้งละประมาณ 15 นาที และลุกเดินไปมาบ้าง เพื่อช่วยให้เลือดหมุนเวียนได้ดีขึ้น
    ส่วนการนั่งดูทีวี ควรดูในห้องที่มีแสงสว่างพอควร และนั่งห่างจากทีวีประมาณ 5 เท่า เช่น จอทีวี 14 นิ้วควรนั่งห่างประมาณ 6 ฟุต หากประชาชนมีปัญหาสายตา ควรปรึกษาจักษุแพทย์ เพื่อตรวจวัดความผิดปกติ และเลือกแว่นตาให้เหมาะสม นอกจากนี้ยังมีอาหารที่ช่วยบำรุงสายตา เช่น ตับ ไข่แดง นม ฟักทอง แครอท และผักใบเขียว เนื่องจากมีวิตามินเอสูง ช่วยในการมองเห็นโดยเฉพาะในที่สลัว และดูแลรักษาความสะอาดของดวงตาอย่างสม่ำเสมอ จะเป็นการป้องกันสายตาเสื่อมได้

    ข้อมูลข่าว : สำนักข่าวไทย

    อัพเดทโดย : ศศิวิมล

    </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=th_normal>อัพเดตเมื่อ 2007-02-22 เวลา 22:49:02 </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://modernine.mcot.net/view.php?news_id=965&tk=art

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=3 width="95%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD>แนะ 7 วิธี ป้องกันสาวๆ ถูกละเมิดทางเพศวันวาเลนไทน์</TD></TR><TR vAlign=top><TD class=th_normal>นพ.นรังสันต์ พีรกิจ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่าในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นวันวาเลนไทน์หรือวันแห่งความรัก ซึ่งจะมีการเลี้ยงสังสรรค์ดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ และอาจมีการละเมิดทางเพศโดยการใช้ยาสลบ หรือยานอนหลับผสมในเครื่องดื่มได้ อย.จึงขอเตือนผู้หญิงว่า เมื่อได้รับยาสลบหรือยานอนหลับแล้วจะป้องกันตัวเองได้ยาก ทางที่ดีควรป้องกันตนเองโดยยึดหลัก 7 ไม่ คือ

    1.ไม่ไปร่วมงานคนเดียว ควรมีเพื่อนที่ไว้ ใจได้ไปด้วย,

    2.ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หากต้องดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ให้ดื่มพอประมาณ เพื่อให้มีสติอยู่ตลอดเวลา,

    3.ไม่รับเครื่องดื่มจากคนที่ไม่รู้จักดี หรือไม่สามารถเชื่อใจได้,

    4.ไม่ดื่มเครื่องดื่มแก้วเดียวกับผู้อื่น,

    5.ไม่ดื่มอย่างรวดเร็วเพราะหากเครื่องดื่มถูกใส่ยาลงไป จะได้มีเวลาที่จะระวังตัวได้ทัน,

    6.ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่อยู่ในภาชนะที่มีปากกว้าง เช่น อ่างใส่พั้นซ์ เพราะง่ายต่อการถูกใส่ยา หรืออาจถูกใส่ยาไปแล้ว และ

    7.ไม่ควรละสายตาจากเครื่องดื่มของตน หากต้องเข้าห้องน้ำหรือออกไปเต้นรำ กลับมาแล้วควรเปลี่ยนแก้วใหม่ทันที อย่างไรก็ตาม เมื่อดื่มเครื่องดื่มแล้วพบว่ารสหรือกลิ่นของเครื่องดื่มเปลี่ยนไป ควรหลีกเลี่ยงการดื่มต่อ และเมื่อดื่มแล้วมีอาการแปลก ๆ หรือรู้สึกเมาหลังจากดื่มไปได้เพียงเล็กน้อย ให้รีบขอความช่วยเหลือจากเพื่อนที่ไว้ ใจ ปฏิเสธความช่วยเหลือจากคนแปลกหน้า เพราะอาจจะเป็นคนที่ลอบวางยาได้


    ข้อมูลข่าว : สำนักข่าวไทย

    อัพเดทโดย : ศศิวิมล

    </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=th_normal>อัพเดตเมื่อ 2007-02-13 เวลา 22:33:41 </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://modernine.mcot.net/view.php?news_id=969&tk=art


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=3 width="95%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD> เตือนเผากระดาษเงิน-ทอง ระวังสูดดมสารตะกั่วฝุ่นควันอันตราย</TD></TR><TR vAlign=top><TD class=th_normal>
    กรมอนามัยเตือนประชาชนช่วงตรุษจีนนี้ ระวังภัยสารเคมีจากการเผากระดาษเงินกระดาษทอง และจุดธูปเทียน ทั้งสารตะกั่ว สารเบนซิน และฝุ่นละออง เกินมาตรฐานอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ มีผลก่อโรคมะเร็งและไตวาย แนะเผานอกอาคาร และเผาทีละน้อย กันเด็กห่างพื้นที่เผา จุดธูปเทียนในห้องควรเปิดประตูหน้าต่างพัดลมระบายฝุ่นควัน นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า การเผากระดาษเงินกระดาษทองและธูป เทียน ซึ่งปฏิบัติกันมากในช่วงเทศกาลตรุษจีนนั้น เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เพราะกระดาษเงิน-ทอง ธูป เทียน และประทัด ผลิตจากวัตถุดิบที่มักมีส่วนผสมของสารเคมี เมื่อถูกเผาจะก่อไอระเหยสารพิษ อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพผู้จุด ผู้เผา หรือผู้ที่อยู่ข้างเคียง นอกจากนี้ การเผากระดาษเงิน-ทองจำนวนมากในเวลาเดียวกัน จะสร้างไอระเหยของสารตะกั่วฟุ้งกระจาย สู่บรรยากาศจำนวนมากด้วย ทั้งนี้ จากการตรวจวิเคราะห์พบว่า ในพื้นที่ 1 ตารางนิ้วของกระดาษเงิน-ทอง มีปริมาณตะกั่ว 1.74-4.31 ไมโครกรัม
    “หากเผากระดาษในที่อับไม่ระบายอากาศ ผู้ที่ได้สูดดมควันสารระเหยเข้าไป จะทำให้ระดับตะกั่วในเลือดสูงขึ้น และเมื่อตะกั่วสะสมในร่างกายจำนวนมาก จะก่อให้เกิดโรคโลหิตจาง เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ชักกระตุก หมดสติ ไตทำงานผิดปกติและไตวายได้ โดยเฉพาะเด็กจะได้รับผลกระทบมากกว่าผู้ใหญ่ ยิ่งถ้ามีการสะสมในเด็ก จะเกิดผลต่อการพัฒนาการทางสมอง ทำให้ความสามารถในการเรียนรู้ และไอคิวต่ำกว่าปกติ” นพ.ณรงค์ศักดิ์ กล่าว
    นพ.ณรงค์ศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า ส่วนในเทียนยังพบสารตะกั่วอีกด้วย โดยเนื้อเทียน 1 กรัม มีปริมาณสารตะกั่วในช่วง 0.25-0.67 ไมโครกรัม ซึ่งหากจุดเป็นจำนวนมากหรือจุดทิ้งไว้นานจะทำให้ปริมาณสารตะกั่วในบรรยากาศเพิ่มขึ้น เป็นอันตรายเมื่อสูดดมเช่นกัน สำหรับการจุดธูปจำนวนมากในเวลาเดียวกันและจุดทิ้งไว้เป็นเวลานาน จะทำให้ปริมาณฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน และเมื่อจุดนานเกิน 15 นาที จะทำให้มีสารเบนซิน ที่มีความเข้มข้นในช่วง 1.817-104.307 ส่วนในล้านส่วน ซึ่งเกินเกณฑ์ปลอดภัย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ที่กำหนดไว้เพียง 10 ส่วนในล้านส่วน อันส่งผลให้เกิดโรคมะเร็งสะสมในร่างกายของผู้จุดหรือผู้ที่สูดเข้าไป
    “เพื่อป้องกันตนเองและบุคคลรอบข้าง ให้พ้นจากภัยสารเคมีจากการเผากระดาษเงิน-ทอง การจุดธูปเทียน ควรไปทำการเผากระดาษนอกอาคารที่พักอาศัย และเผาทีละน้อย เพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายของเขม่าเถ้ากระดาษ และไม่ควรเผาขณะที่มีเด็ก หรือมีผู้คนเดินผ่านไปมา ส่วนการป้องกันอันตรายจากธูปเทียน ควรเปิดประตู หน้าต่างทุกครั้ง รวมทั้งเปิดพัดลมเพื่อช่วยระบายอากาศหรือควันธูปเทียน และห้ามเด็กหรือบุคคลในบ้าน เข้าไปพักผ่อนนอนหลับในห้องและบริเวณที่มีการจุดธูปเทียน และเมื่อธูปเทียนดับแล้วควรทิ้งเวลาสักระยะหนึ่ง ก่อนเข้าไปใช้ห้องหรือบริเวณดังกล่าว นอกจากนี้ ควรตระหนักและระมัดระวังอุบัติเหตุอัคคีภัยด้วย” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว

    ข้อมูลข่าว : สำนักข่าวไทย

    อัพเดทโดย : ศศิวิมล

    </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=th_normal>อัพเดตเมื่อ 2007-02-16 เวลา 23:02:31 </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ปัจจุบัน ผมมอบพระให้กับผู้ร่วมทำบุญในกระทู้ 2 กระทู้ดังนี้ครับ

    1.เชิญร่วมบริจาคค่าขุดบ่อบาดาล สนส บ่อเงินบ่อทองบัญชีออมทรัพย์ 2030-06304-5 บัญชี รร.พระปริยัติธรรมบ่อเงินบ่อทอง ปริยัติศึกษา บมจ.ธ.กรุงไทย สาขาพนมสารคาม

    2.ขอเชิญร่วมสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ณ สำนักสงฆ์ผาผึ้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ บมจ.ธนาคารกรุงไทย สาขาลาดพร้าว 102 บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 189-0-13128-8 ชื่อบัญชี นางพิชญ์สินี ชาญปารีชญา ,นายอุเทน งามศิริ ,นายสิรเชษฏ์ ลีละสุนทเลิศ <!-- / sig -->

    รายละเอียดสามารถดูได้หน้าแรกของทั้งสองกระทู้ครับ

    โมทนาสาธุครับ
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    พระพิมพ์ชุดพิเศษ 2
    พระวังหน้า พระสิวลีเถระเจ้า ,พระอนุรุทเถระเจ้า,พระอุปคุตเถระเจ้าและหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร อธิษฐานจิตให้ครับ


    มีพระพิมพ์ 6 พิมพ์ดังนี้
    [​IMG]

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    1.พระสมเด็จวังหน้า เนื้อจูซาอั้ง (สีแดง) ปิดทองร่องชาด จำนวน 20 องค์ มอบพระพิมพ์ 1 องค์ให้กับผู้ร่วมทำบุญ 1,800 บาท <O:p</O:p

    2.พระสมเด็จวังหน้า เนื้อสีขาว ปิดทองร่องชาด จำนวน 20 องค์ มอบพระพิมพ์ 1 องค์ให้กับผู้ร่วมทำบุญ 1,500 บาท <O:p</O:p

    3.สมเด็จวังหน้า เนื้อปัญจศิริ จำนวน 30 องค์ มอบพระพิมพ์ 1 องค์ให้กับผู้ร่วมทำบุญ 1,300 บาท

    [​IMG]<O:p</O:p
    4.พระพิมพ์พุทธประวัติ เนื้อสีขาว จำนวน 15 องค์ มอบพระพิมพ์ 1 องค์ให้กับผู้ร่วมทำบุญ 1,200 บาท <O:p</O:p
    5.พระพิมพ์พุทธประวัติ เนื้อสีขาวแตกลายงา จำนวน 10 องค์ มอบพระพิมพ์ 1 องค์ให้กับผู้ร่วมทำบุญ 1,100 บาท

    [​IMG]<O:p</O:p
    6.พระพิมพ์ปิดตาวังหน้าสองหน้า จำนวน 30 องค์ มอบพระพิมพ์ 1 องค์ให้กับผู้ร่วมทำบุญ 1,000 บาท

    เมื่อโอนแล้วแจ้งยอดเงินและชื่อที่อยู่เพื่อจัดส่งไว้ในกระทู้ หรือส่งข้อความส่วนตัวมาที่ผม แล้วผมจะจัดส่งให้ครับ

    ขอขอบพระคุณและโมทนาสาธุกับทุกท่านที่เมตตาครับ
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    จากกระทู้ พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้...
    http://www.palungjit.org/board/showt...22445&page=101

    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]

    (ร่วมทำบุญ"งานบุญคุณแผ่นดิน"และจัดตั้งโรงทานเพื่อทำอาหารเลี้ยงพระสงฆ์จำนวน ๕,๐๐๐ รูป และ ภาพบรรยากาศงาน "บุญคุณแผ่นดิน" 16 ธ.ค. 49 ณ ทุ่งลุมพลี )

    ในงานบุญคุณแผ่นดินที่ผ่านมา ผมเองได้บูชาตะกรุดยันต์พิชัยสงครามมา 1 ดอก ตะกรุดแบบที่ผมบูชามานี้พระอาจารย์นพวรรณท่านสร้างไว้แค่ 50 ดอกเท่านั้น วิธีใช้ให้เขียนชื่อ - นามสกุล และดวงตนเองใส่ในแผ่นทองหรือแผ่นเงิน แล้วสอดไว้ในตะกรุด เพื่อเสริมบารมีของตนเอง ผมมีแค่ 1 ดอกเท่านั้น แต่ผมจะนำมาให้บูชาเพื่อนำเงินไปสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ที่สำนักสงฆ์ศรีชัยผาผึ้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ ผมให้บูชาดอกละ 15,000.-บาทครับ (ผมบูชามา 1,500 บาท แต่เนื่องจากว่าตะกรุดนี้สร้างโดยพระอาจารย์นพวรรณ มีการจารยันต์พิชัยสงครามทุกอย่าง พระอาจารย์นพวรรณเป็นผู้ที่ศึกษาเรื่องพิชัยสงครามมามาก และตะกรุดนี้ผ่านพิธีพุทธาภิเษางานบุญคุณแผ่นดิน และมีแค่ 50 ดอกเท่านั้น) เท่าที่ผมฟังจากพระอาจารย์นพวรรณ ท่านบอกว่าท่านจะไม่สร้างอีกแล้ว ตะกรุดนี้จึงหาได้ยาก ผู้ที่ครอบครองไว้จึงหวงแหนกันครับ

    ***** หรือ 1.หากท่านใดร่วมทำบุญสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง รวมแล้วไม่ต่ำกว่า 80,000.-บาท กรณีท่านร่วมทำบุญเองไปเรื่อยๆโดยขอรับพระพิมพ์หรือ2.กรณีไปชักชวนท่านอื่นๆมาร่วมทำบุญ อาจจะเป็นการจัดผ้าป่าไปที่ สนส.ผาผึ้ง ฯลฯ รวมแล้วไม่ต่ำว่า 120,000.-บาท (และผมต้องตรวจสอบได้ครับ) ผมขอมอบตะกรุดดอกนี้ให้ฟรีครับ *****

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]และที่สำคัญ ตะกรุดดอกนี้ พระสิวลีเถระเจ้า ,พระอนุรุทเถระเจ้า ,พระอุปคุตเถระเจ้า และหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร ท่านอธิษฐานจิตให้ด้วยครับ [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    เมื่อท่านใดมีความประสงค์ที่ต้องการจะได้ตะกรุดดอกนี้ ให้โอนเงินเพื่อร่วมสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ณ สำนักสงฆ์ผาผึ้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ บมจ.ธนาคารกรุงไทย สาขาลาดพร้าว 102 บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 189-0-13128-8 ชื่อบัญชี นางพิชญ์สินี ชาญปารีชญา ,นายอุเทน งามศิริ ,นายสิรเชษฏ์ ลีละสุนทเลิศ เมื่อโอนแล้วแจ้งยอดเงินและชื่อที่อยู่เพื่อจัดส่งไว้ในกระทู้ หรือส่งข้อความส่วนตัวมาที่ผม แล้วผมจะจัดส่งให้ครับ

    ขอขอบพระคุณและโมทนาสาธุกับทุกท่านที่เมตตาครับ<!-- / message --><!-- attachments -->




    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]

    *******************************************

    วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2550

    จากกระทู้(ร่วมทำบุญ"งานบุญคุณแผ่นดิน"และจัดตั้งโรงทานเพื่อทำอาหารเลี้ยงพระสงฆ์จำนวน ๕,๐๐๐ รูป และ ภาพบรรยากาศงาน "บุญคุณแผ่นดิน" 16 ธ.ค. 49 ณ ทุ่งลุมพลี )

    ในงานบุญคุณแผ่นดิน เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2549 นั้น ผมได้รับแจกพระพิมพ์ และได้บูชาผ้ายันต์หลวงพ่อเพชร มา ผมมีความประสงค์จะมอบให้กับผู้ที่ร่วมทำบุญร่วมสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ณ สำนักสงฆ์ผาผึ้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ บมจ.ธนาคารกรุงไทย สาขาลาดพร้าว 102 บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 189-0-13128-8 ชื่อบัญชี นางพิชญ์สินี ชาญปารีชญา ,นายอุเทน งามศิริ ,นายสิรเชษฏ์ ลีละสุนทเลิศ ดังนี้

    1.พระพิมพ์ พระอาจารย์นพวรรณ อธิษฐานจิตเดี่ยว (มีจำนวน 1 องค์)
    มอบให้ผู้ร่วมทำบุญ 300 บาท

    [​IMG]

    พระอาจารย์นพวรรณ ผู้อธิษฐานจิตพระพิมพ์
    [​IMG]

    2.หลวงปู่ทวด วัดช้างไห้ (มีจำนวน 1 องค์)
    มอบให้ผู้ร่วมทำบุญ 200 บาท

    [​IMG]

    ผู้อธิษฐานจิต
    [​IMG]

    3.เหรียญ 50 สตางค์ (มีจำนวน 1 เหรียญ)
    มอบให้ผู้ร่วมทำบุญ 200 บาท หมดแล้ว (คุณพุทธันดร จองและร่วมบริจาคเงินแล้ว)

    [​IMG]

    ปู่ฤาษีเกตุแก้ว องค์ขวาสุด ผู้อธิษฐานจิตเหรียญ 50 สตางค์
    [​IMG]


    4.ผ้ายันต์หลวงพ่อเพชร วาจาสิทธิ์ (มีจำนวน 1 ผืน)
    มอบให้ผู้ร่วมทำบุญ 500 บาท

    [​IMG]

    เมื่อร่วมบุญและโอนเงินแล้ว ขอความกรุณาแจ้งให้คุณนักเดินทางทราบด้วย คุณนักเดินทางจะเป็นผู้ส่งพระพิมพ์และวัตถุมงคลให้

    โมทนาสาธุครับ


    .
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เชิญร่วมบริจาคค่าขุดบ่อบาดาล สนส บ่อเงินบ่อทอง

    <HR style="COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->[​IMG]

    [​IMG]


    เนื่องจากสำนักสงฆ์บ่อเงินบ่อทอง ยังขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค ปัจจุบัน ต้องซื้อน้ำจากเอกชนทีละหลายคันรถ ทำให้แต่ละเดือนต้องมีค่าใช้จ่ายมากพอสมควร หลวงพ่อแผนจึงมีดำริที่จะขุดบ่อบาดาลเพื่อนำน้ำจากธรรมชาติมาใช้ แต่ก็ยังขาดแคลนปัจจัยที่จะนำมาเป็นค่าใช้จ่าย ซึ่งต้องใช้งบประมาณทั้งสิ้นประมาณ 45,000 บาท หากท่านใดประสงค์จะช่วยเหลือ ก็สามารถบริจาคโดยการโอนเงินเข้าบัญชีด้านล่างได้เลยครับ

    โรงเรียนปริยัติธรรม สำนักสงฆ์บ่อเงินบ่อทอง เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาได้ก็ด้วยทุกท่านได้เมตตาช่วยเหลือ จนถึงปัจจุบันผ่านมา 1 ปีเต็มแล้ว ผมหวังว่าทุกท่านโปรดเมตตาช่วยเหลืออีกต่อไปคนละเล็กละน้อย อีกไม่นานโรงเรียนแห่งนี้ก็จะเสร็จสมบูรณ์ ถึงตอนนั้นสถานที่แห่งนี้จะกลายเป็นแหล่งการศึกษาเพื่อพระ-เณร และเด็กด้อยโอกาส และผลิตบุคคลากรที่มีคุณภาพออกมาเป็นกำลังสำคัญ ของพระพุทธศาสนาและประเทศชาติ

    คุณ sithiphong ได้มอบพระพิมพ์มามอบให้ผู้ร่วมบริจาคทำบุญ เพื่อเป็นที่ระลึกถึงความเมตตาที่ท่านได้หยิบยื่นให้สำนักสงฆ์บ่อเงินบ่อทอง ดังนี้ครับ

    1. พระพิมพ์สมเด็จวังหน้า เนื้อผงสีขาว ลงรักปัดด้วยผงทอง

    [​IMG]
    ขนาด 2.4 x 3.8 ซม เสกโดยหลวงปู่พระโสณเถรเจ้าและหลวงปู่อิเกสาโร
    มอบให้ผู้ร่วมบริจาค 1,000 บาท

    2. พระพิมพ์ไกเซอร์เล็ก เนื้อขาว

    [​IMG]
    ขนาด 2.2 x 3.2 ซม เสกโดยหลวงปู่อิเกสาโร
    มอบให้ผู้ร่วมบริจาค 500 บาท

    3. พระพิมพ์สมเด็จเจ้าคุณกรมท่าคะแนนร้อย เนื้อขาวลงรักสีน้ำเงิน, แดง และดำ

    [​IMG]
    ขนาด 2.5 x 3.8 ซม เสกโดยสมเด็จโตและหลวงปู่อิเกสาโร
    มอบให้ผู้ร่วมบริจาค 300 บาท

    4. พระพิมพ์จิตรลดาจิ๋ว เนื้อปัญจสิริ

    [​IMG]
    ขนาด 1.4 x 2 ซม เสกโดยหลวงปู่พระอุตรเถรเจ้า อิทธิคุณแรงมากแต่มีขนาดเล็ก เหมาะสำหรับผู้หญิงและเด็ก
    มอบให้ผู้ร่วมบริจาค 800 บาท

    5. พระพิมพ์สมเด็จผงยาวาสนาคะแนนร้อยแบบธรรมดา

    [​IMG]
    ขนาด 2.5 x 3.8 ซม เสกโดยคณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรทั้ง 5 องค์ เท่าที่ทราบนอกจากพระพิมพ์ผงยาจินดามณี(สีเทาดำ)แล้ว พิมพ์นี้เป็นอีกพิมพ์ที่เสกโดยหลวงปู่ทั้ง 5 องค์ จัดว่าเป็นสุดยอดของพระพิมพ์กรุวังหน้า
    มอบให้ผู้ร่วมบริจาค 2,200 บาท



    การบริจาค
    โอนเงินเข้าบัญชีต่อไปนี้
    พระมหาแผน ฐิติธัมโม 01-9408541
    สำนักสงฆ์บ่อเงินบ่อทอง
    ประเภทบัญชี : ออมทรัพย์
    หมายเลขบัญชี : 203-0-06304-5
    ธ.กรุงไทย สาขาพนมสารคาม
    ชื่อบัญชี : ร.ร.ปริยัติธรรมบ่อเงินบ่อทอง

    เมื่อโอนแล้วแจ้งยอดเงินและชื่อที่อยู่เพื่อจัดส่งไว้ในกระทู้ หรือส่งข้อความส่วนตัวมาที่ผม แล้วผมจะจัดส่งให้ครับ

    ขอขอบพระคุณและโมทนาสาธุกับทุกท่านที่เมตตาครับ
    <!-- / message --><!-- attachments -->
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อานิสงส์การสร้างพระเจดีย์<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    1.ย่อมเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ ไม่เป็นผู้มัวเมาในชีวิต<O:p</O:p
    2.ย่อมเป็นที่รักของมนุษย์ และเทวดาทั้งหลาย<O:p</O:p
    3.เมื่อใกล้ดับขันธ์ ย่อมไม่หลงลืม
    <O:p</O:p
    4.ย่อมได้เกิดในประเทศที่เหมาะสม สำหรับการสร้างบารมีในพระพุทธศาสนา<O:p</O:p
    5.ย่อมไปบังเกิดในสวรรค์ เมื่อยังไม่หมดกิเลส<O:p</O:p
    6.ย่อมได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุมรรคผล นิพพานได้โดยง่าย<O:p</O:p
     

แชร์หน้านี้

Loading...