พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เมื่อคิดจะบวช
    ที่มา http://www.salatham.com/

    สิ่งเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ก็ถือว่ามีส่วนสำคัญในการคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมจะมาอยู่ในสมณเพศ การหละหลวมในการพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ที่จะมาบวชให้คนทั่วไปเขากราบไหว้ นับถือ มีส่วนทำให้สถาบันศาสนาสั่นคลอน ดังจะเห็นได้จากสิ่งที่เคยเกิดขึ้นว่า คนเคยต้องโทษจำคุกในคดีอาญามาบวชเป็นพระแล้วก็นอกจากจะไม่อยู่ในศีลแล้วยังก่อคดีอุกฉกรรจ์อีกจนได้
    ผู้ที่จะบวชเป็นสามเณรหรือพระได้ต้องมีคุณสมบัติดังนี้

    ๑.เป็นสุภาพชนที่มีความประพฤติดีประพฤติชอบ ไม่มีความประพฤติเสียหาย เช่นติดสุราหรือยาเสพติดให้โทษเป็นต้น และไม่เป็นคนจรจัด
    ๒.มีความรู้อ่านและเขียนหนังสือไทยได้
    ๓.ไม่เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ
    ๔.ไม่เป็นคนล้มละลาย หรือมีหนี้สินผูกพัน
    ๕.เป็นผู้ปราศจากบรรพชาโทษ และมีร่างกายสมบูรณ์ อาจบำเพ็ญสมณกิจได้ ไม่เป็นคนชราไร้ความสามารถหรือทุพพลภาพ หรือพิกลพิการ
    ๖.มีสมณบริขารครบถ้วนและถูกต้องตามพระวินัย
    ๗.เป็นผู้สามารถกล่าวคำขอบรรพชาอุปสมบทได้ด้วยตนเอง และถูกต้องไม่วิบัติ

    ต่อไปนี้เป็นลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้จะบวชได้แก่

    ๑.เป็นคนทำความผิด หลบหนีอาญาแผ่นดิน
    ๒.เป็นคนหลบหนีราชการ
    ๓.เป็นคนต้องหาในคดีอาญา
    ๔.เป็นคนเคยถูกตัดสินจำคุกฐานเป็นผู้ร้ายสำคัญ
    ๕.เป็นคนถูกห้ามอุปสมบทเด็ดขาดทางพระศาสนา
    ๖.เป็นคนมีโรคติดต่ออันน่ารังเกียจ เช่นวัณโรคในระยะอันตราย
    ๗.เป็นคนมีอวัยวะพิการจนไม่สามารถปฏิบัติกิจพระศาสนาได้
    สิ่งต่างๆ ข้างต้นจะมีเขียนถามไว้ในใบสมัครขอบวชซึ่งต้องไปเขียนที่วัดนั้นๆ

    การเตรียมตัวก่อนบวช

    ผู้จะบวชเรียกว่า อุปสัมปทาเปกข์ หรือ นาค ซึ่งต้องท่องคำบาลีหรือที่เรียกกันว่าขานนาคให้คล่องเพื่อใช้ในพิธี โดยต้องฝึกซ้อมกับพระอาจารย์ให้คล่องก่อนทำพิธีบวชเพื่อจะได้ไม่เคอะเขิน
    นอกจากนี้มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องคิด ต้องเตรียมตัว และทำเมื่อคิดจะบวชดังต่อไปนี้ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าจะต้องทำทั้งหมดเพราะว่าทั้งนี้ให้คำนึงถึงความเหมาะสม และกำลังทรัพย์ด้วย ขั้นตอนบางอย่างไม่จำเป็นต้องมีก็ได้

    เครื่องอัฏฐบริขาร [​IMG]
    ของที่ต้องใช้ในการบวช [​IMG]
    คำขอขมาเพื่อลาบวช [​IMG]
    การบวชนาค แห่นาค [​IMG]
    เครื่องอัฏฐบริขารและเครื่องใช้อื่นๆ ที่ควรมีหรือจำเป็นต้องใช้ได้แก่

    ๑.ไตรครอง ได้แก่ สบง ๑ ประคตเอว ๑ อังสะ ๑ จีวร ๑ สังฆาฏิ ๑ ผ้ารัดอก ๑ ผ้ากราบ ๑
    ๒.บาตร แบบมีเชิงรองพร้อมด้วยฝา ถลกบาตร สายโยค ถุง ตะเคียว
    ๓.มีดโกน พร้อมทั้งหินลับมีดโกน
    ๔.เข็มเย็บผ้า พร้อมทั้งกล่องเข็มและด้าย
    ๕.เครื่องกรองน้ำ (ธมกรก)
    ๖.เสื่อ หมอน ผ้าห่ม มุ้ง
    ๗.จีวร สบง อังสะ ผ้าอาบ ๒ ผืน (อาศัย)
    ๘.ตาลปัตร ย่าม ผ้าเช็ดหน้า ร่ม รองเท้า
    ๙.โคมไฟฟ้า หรือตะเกียง ไฟฉาย นาฬิกาปลุก
    ๑๐.สำรับ ปิ่นโต คาว หวาน จานข้าว ช้อนส้อม ผ้าเช็ดมือ
    ๑๑.ที่ต้มน้ำ กาต้มน้ำ กาชงน้ำร้อน ถ้วยน้ำร้อน เหยือกน้ำและแก้วน้ำเย็น กระติกน้ำแข็ง กระติกน้ำร้อน
    ๑๒.กระโถนบ้วน กระโถนถ่าย
    ๑๓.ขันอาบน้ำ สบู่และกล่องสบู่ แปรงและยาสีฟัน ผ้าขนหนู กระดาษชำระ
    ๑๔.สันถัต (อาสนะ)
    ๑๕.หีบไม้หรือกระเป๋าหนังสำหรับเก็บไตรครอง

    ข้อที่ ๑-๕ เรียกว่าอัฏฐบริขารซึ่งถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดเสียมิได้ มีความหมายว่า บริขาร ๘ แบ่งเป็นผ้า ๕ อย่างคือ สบง ๑ ประคตเอว ๑ จีวร ๑ สังฆาฏิ ๑ ผ้ากรองน้ำ ๑ และเหล็ก ๓ อย่างคือ บาตร ๑ มีดโกน ๑ เข็มเย็บผ้า ๑ นอกจากนั้นก็แล้วแต่ความจำเป็นในแต่ละแห่งและกำลังทรัพย์
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>ของที่ต้องเตรียมใช้ในพิธีคือ

    ๑.ไตรแบ่ง ได้แก่ สบง ๑ ประคตเอว ๑ อังสะ ๑ จีวร ๑ ผ้ารัดอก ๑ ผ้ากราบ ๑
    ๒.จีวร สบง อังสะ (อาศัยหรือสำรอง) และผ้าอาบ ๒ ผืน
    ๓.ย่าม ผ้าเช็ดหน้า นาฬิกา
    ๔.บาตร แบบมีเชิงรองพร้อมด้วยฝา
    ๕.รองเท้า ร่ม
    ๖.ที่นอน เสื่อ หมอน ผ้าห่ม มุ้ง (อาจอาศัยของวัดก็ได้)
    ๗.จานข้าว ช้อนส้อม แก้วน้ำ ผ้าเช็ดมือ ปิ่นโต กระโถน
    ๘.ขันน้ำ สบู่ กล่องสบู่ แปรง ยาสีฟัน ผ้าเช็ดตัว
    ๙.ธูป เทียน ดอกไม้ (ใช้สำหรับบูชาพระรัตนตรัย)
    ๑๐.ธูป เทียน ดอกไม้ *(อาจใช้แบบเทียนแพรที่มีกรวยดอกไม้ก็ได้ เอาไว้ถวายพระอุปัชฌาย์ผู้ให้บวช)
    *อาจจะเตรียมเครื่องจตุปัจจัยไทยธรรมสำหรับถวายพระอุปัชฌาย์และพระในพิธีนั้นอีกรูปละหนึ่งชุดก็ได้ ขึ้นอยู่กับกำลังทรัพย์และศรัทธา
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    คำขอขมาบิดา มารดา และญาติผู้ใหญ่เพื่อลาบวช

    "กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่ข้าพเจ้าได้เคยประมาทล่วงเกินท่านต่อหน้าก็ดี ลับหลังก็ดี ทั้งตั้งใจก็ดี มิได้ตั้งใจก็ดี ขอให้ท่านจงอโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้านับแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนตราบเท่านิพพานเทอญ"
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    การบวชนาคและแห่นาค

    การจัดกระบวนแห่ประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้ คือ
    • หัวโต หรือห้วสิงโต (มีหรือไม่ก็ได้)
    • แตร หรือ เถิดเทิง (มีหรือไม่ก็ได้)
    • ของถวายพระอุปัชฌาย์ คู่สวด
    • ไตรครอง ซึ่งมักจะอุ้มโดยมารดาหรือบุพการีของผู้บวช (มีสัปทนกั้น)
    • ดอกบัว ๓ ดอก ธูป ๓ ดอก เทียน ๒ เล่ม ให้ผู้บวชพนมมือถือไว้ (มีสัปทนกั้น)
    • บาตร และตาลปัตร จะถือและสะพายโดยบิดาของผู้บวช
    • ของถวายพระอันดับ
    • บริขารและเครื่องใช้อย่างอื่นของผู้บวช
    เมื่อจัดขบวนเรียบร้อยแล้วก็เคลื่อนขบวนเข้าสู่พระอุโบสถ เวียนขวารอบนอกขันธสีมา จนครบ ๓ รอบ ก่อนจะเข้าโบสถ์ก็ต้องวันทาเสมาหน้าพระอุโบสถเสียก่อนว่า วันทามิ อาราเม พัทธะเสมายัง โพธิรุกขัง เจติยัง สัพพะ เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต
    เมื่อเสร็จแล้วก็โปรยทานก่อนเข้าสู่พระอุโบสถโดยให้บิดามารดาจูงติดกันไป อาจจะอุ้มข้ามธรณีประตูไปเลยก็ได้ เสร็จแล้วผู้บวชก็ไปกราบพระประธานด้านข้างพระหัตถ์ขวาขององค์พระ รับไตรครองจากมารดาบิดา จากนั้นจึงเริ่มพิธีการบวช
    [​IMG]

    ขั้นตอนและบทที่ต้องท่องจำ
    ใช้ในพิธีบวชแบบมหานิกาย (อุกาสะ)


    รับผ้าไตรอุ้มประนมมือแล้วเดินเข้าไปในที่ประชุมสงฆ์ในพิธี (สังฆนิบาต) แล้ววางผ้าไตรไว้ข้างตัวด้านซ้าย รับเครื่องสักการะถวายพระอุปัชฌาย์ กราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง แล้วอุ้มผ้าไตรประนมมือยืนขึ้นเปล่งวาจาขอบรรพชาว่า

    อุกาสะ วันทามิ ภันเต
    สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต
    มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง
    สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง
    ทาตัพพัง สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ
    อุกาสะ การุญญัง กัตตะวา ปัพพัชชัง เทถะ เม ภันเต
    (นั่งคุกเข่าลง แล้วประนมมือว่า)
    อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ
    ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ
    ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ
    (กล่าว ๓ ครั้งว่า)
    สัพพะทุกขะ นิสสะระณะนิพพานะ สัจฉิกะระณัตถายะ
    อิมัง กาสาวัง คะเหตะวา ปัพพาเชถะ มัง ภันเต
    อะนุกัมปัง อุปาทายะ (เสร็จแล้วพระอุปัชฌาจะมารับผ้าไตร แล้วว่าต่อไป)
    (กล่าว ๓ ครั้งว่า)
    สัพพะทุกขะ นิสสะระณะนิพพานะ สัจฉิกะระณัตถายะ
    เอตัง กาสาวัง ทัตตะวา ปัพพาเชถะ มัง ภันเต
    อะนุกัมปัง อุปาทายะ
    พระอุปัชฌาย์ให้โอวาทและบอก ตะจะปัญจะกะ กัมมัฏฐาน แล้วให้ว่าตามไปทีละบท โดยอนุโลม (ไปข้างหน้า) และปฏิโลม (ทวนกลับ) ดังนี้
    เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ (อนุโลม)
    ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา (ปฏิโลม)
    พระอุปัชฌาย์ชักอังสะออกจากไตรมาสวมให้ผู้บวช แล้วสั่งให้ออกไปครองผ้าครบไตรจีวรตามระเบียบ ครั้นเสร็จแล้วรับเครื่องไทยทานเข้าไปหาพระอาจารย์ ถวายท่านแล้วกราบ ๓ ครั้ง ยืนประนมมือเปล่งวาจาขอสรณะและศีลดังนี้
    อุกาสะ วันทามิ ภันเต
    สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต
    มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง
    สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง
    สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ

    อุกาสะ การุญญัง กัตตะวา
    ติสะระเณนะ สะหะ
    สีลานิ เทถะ เม ภันเต
    (นั่งคุกเข่าขอสรณะและศีลดังต่อไปนี้)
    อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ
    ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ
    ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจาม
    (พระอาจารย์กล่าวคำนมัสการให้ผู้บรรพชาว่าตามดังนี้)
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)
    พระอุปัชฌาย์จะกล่าวว่า เอวัง วะเทหิ หรือ ยะมะหัง วะทามิ ตัง วะเทหิ
    ให้รับว่า อามะ ภันเต แล้วท่านจะว่านำสรณคมน์ก็ให้ว่าตามดังนี้
    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    พอจบแล้วทางพระอุปัชฌาย์จะบอกว่า ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง ก็ให้รับว่า อามะ ภันเต ต่อจากนั้นก็สมาทานสิกขาบท ๑๐ ประการโดยว่าตามท่านไปเรื่อยๆ ดังนี้
    ปาณาติปาตา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
    อทินนาทานา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
    อะพรหมจริยา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
    มุสาวาทา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
    สุราเมรยะมัชชะปมาทัฏฐานา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
    วิกาละโภชนา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
    นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสนา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
    มาลาคันธะวิเลปะนะธารณะมัณฑนะวิภูสะนัฏฐานา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
    อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
    ชาตะรูปะ ระชะตะ ปฏิคคหณา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
    (พระจะกล่าว ๓ ครั้งว่า)
    อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สมาทิยามิ (เสร็จแล้วพึงกราบลง ๑ หน แล้วยืนขึ้นว่าดังนี้)
    วันทามิ ภันเต สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต
    มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง
    สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง
    สาธุ สาธุ อะนุโมทาม(คุกเข่าลงกราบ ๓ ครั้ง)
    ต่อจากนั้นให้รับบาตรอุ้มเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ในสังฆสันนิบาต วางไว้ข้างตัวด้านซ้าย รับเครื่องไทยทานถวายท่านแล้วกราบ ๓ ครั้ง เสร็จแล้วยืนขึ้นประนมมือกล่าวดังนี้
    อุกาสะ วันทามิ ภันเต สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต
    มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง
    สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง
    สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ
    อุกาสะ การุญญัง กัตตะวา นิสสะยัง เทถะ เม ภันเต
    (นั่งคุกเข่า)
    อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ
    ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ
    ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ
    (กล่าว ๓ ครั้งว่า)
    อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ
    พระอุปัชฌาย์จะกล่าวรับว่า โอปายิกัง ปะฏิรูปัง ปาสาทิเกนะ สัมปะเทหิ ผู้บวชพึงรับว่า อุกาสะ สัมปะฏิจฉามิ ๓ ครั้งแล้วว่าดังนี้
    (กล่าว ๓ ครั้งว่า)
    อัชชะตัคเคทานิ เถโร มัยหัง ภาโร อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร (เสร็จแล้วยืนขึ้นว่าดังนี้)
    วันทามิ ภันเต สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต
    มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง
    สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง
    สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ (คุกเข่าลงกราบ ๓ ครั้ง)
    ลำดับต่อไปพระอุปัชฌาย์หรือพระอาจารย์จะเอาบาตรมีสายโยคคล้องตัวผู้ขอบวช แล้วบอกบาตรและจีวร ผู้บวชก็รับเป็นทอดๆไปดังนี้
    <TABLE cellSpacing=0 cols=2 cellPadding=0 width="40%" border=0><TBODY><TR><TD>อะยันเต ปัตโต</TD><TD>(รับว่า) อามะ ภันเต</TD></TR><TR><TD>อะยัง สังฆาฏิ</TD><TD>(รับว่า) อามะ ภันเต</TD></TR><TR><TD>อะยัง อุตตะราสังโค</TD><TD>(รับว่า) อามะ ภันเต</TD></TR><TR><TD>อะยัง อันตะระวาสะโก</TD><TD>(รับว่า) อามะ ภันเต</TD></TR></TBODY></TABLE>จากนั้นพระอาจารย์ท่านจะบอกให้ออกไปข้างนอกว่า คัจฉะ อะมุมหิ โอกาเส ติฏฐาหิ ผู้บวชก็ถอยออกไปยืนอยู่ในที่ที่กำหนดไว้ (ส่วนใหญ่จะเป็นบริเวณทางเข้าโบสถ์) ต่อจากนี้พระอาจารย์จะสวดถามอันตรายิกธรรม ให้รับ นัตถิ ภันเต ๕ ครั้ง และต่อด้วย อามะ ภันเต อีก ๘ ครั้งดังต่อไปนี้
    <TABLE cellSpacing=0 cols=2 cellPadding=0 width="50%" border=0><TBODY><TR><TD>พระจะถามว่า</TD><TD>ผู้บวชกล่าวรับว่า</TD></TR><TR><TD>กุฏฐัง</TD><TD>นัตถิ ภันเต</TD></TR><TR><TD>คัณโฑ</TD><TD>นัตถิ ภันเต</TD></TR><TR><TD>กิลาโส</TD><TD>นัตถิ ภันเต</TD></TR><TR><TD>โสโส</TD><TD>นัตถิ ภันเต</TD></TR><TR><TD>อะปะมาโร</TD><TD>นัตถิ ภันเต</TD></TR><TR><TD>มะนุสโสสิ๊</TD><TD>อามะ ภันเต</TD></TR><TR><TD>ปุริโสสิ๊</TD><TD>อามะ ภันเต</TD></TR><TR><TD>ภุชิสโสสิ๊</TD><TD>อามะ ภันเต</TD></TR><TR><TD>อะนะโณสิ๊</TD><TD>อามะ ภันเต</TD></TR><TR><TD>นะสิ๊ ราชะภะโฏ</TD><TD>อามะ ภันเต</TD></TR><TR><TD>อะนุญญาโตสิ๊ มาตาปิตูหิ</TD><TD>อามะ ภันเต</TD></TR><TR><TD>ปะริปุณณะวีสะติวัสโสสิ๊</TD><TD>อามะ ภันเต</TD></TR><TR><TD>ปะริปุณณันเต ปัตตะจีวะรัง</TD><TD>อามะ ภันเต</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left>กินนาโมสิ</TD><TD>อะหัง ภันเต ...*(ชื่อพระใหม่) นามะ</TD></TR><TR><TD vAlign=top>โก นามะ เต อุปัชฌาโย</TD><TD>อุปัชฌาโย เม ภันเต อายัสสะมา...</TD></TR><TR><TD></TD><TD>*(ชื่อพระอุปัชฌาย์) นามะ</TD></TR></TBODY></TABLE>*หมายเหตุ ผู้บวชจะต้องทราบชื่อทางพระที่พระตั้งให้ใหม่ก่อนวันบวชและต้องจำชื่อพระอุปัชฌาย์ให้ได้ด้วย
    เสร็จแล้วกลับเข้ามาข้างในที่ประชุมสงฆ์ กราบลงตรงหน้าพระอุปัชฌาย์ ๓ ครั้ง นั่งคุกเข่าประนมมือเปล่งวาจาขออุปสมบทดังนี้
    สังฆัมภันเต อุปะสัมปะทัง ยาจามิ
    อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ
    ทุติยัมปิ ภันเต สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ
    อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ
    ตะติยัมปิ ภันเต สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ
    อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ ต่อมาพระอาจารย์สวดสมมติตนถามอันตรายิกธรรม ผู้บวชก็รับว่า นัตถิ ภันเต ๕ ครั้ง และ อามะ ภันเต ๘ ครั้ง บอกชื่อพระใหม่ของตัวเอง และชื่อพระอุปัชฌาย์แบบที่ผ่านมาอย่างละหนึ่งครั้ง เสร็จแล้วก็นั่งฟังพระสวดกรรมวาจาอุปสมบทไปจนจบ พอจบแล้วท่านก็จะเอาบาตรออกจากตัว ให้กราบลง ๓ ครั้ง นั่งพับเพียบฟังพระอุปัชฌาย์บอกอนุศาสน์ไปจนจบ แล้วก็กล่าวรับว่า อามะ ภันเต เสร็จพิธีก็กราบพระอุปัชฌาย์ ๓ ครั้ง ถ้ามีเครื่องไทยทานก็ให้รับไทยทานถวายพระอันดับ เวลากรวดน้ำก็ให้ตั้งใจรำลึกถึงผู้มีพระคุณอุทิศส่วนกุศลแด่ท่าน ขั้นตอนต่อไปก็นั่งฟังพระท่านอนุโมทนาต่อไปจนจบเป็นอันเสร็จพิธี
    [​IMG]

    ขั้นตอนและบทที่ต้องท่องจำใช้ในพิธีบวชแบบธรรมยุต (เอสาหัง)

    รับผ้าไตรอุ้มประนมมือแล้วเดินเข้าไปในที่ประชุมสงฆ์ในพิธี (สังฆนิบาต) แล้ววางผ้าไตรไว้ข้างตัวด้านซ้าย รับเครื่องสักการะถวายพระอุปัชฌาย์ กราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง แล้วอุ้มผ้าไตรประนมมือยืนขึ้นเปล่งวาจาขอบรรพชาว่า

    เอสาหัง ภันเต สุจิระปะรินิพพุตัมปิ
    ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ
    ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ
    ละเภยยาหัง ภันเต
    ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง
    ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง
    ทุติยัมปาหัง ภันเต สุจิระปะรินิพพุตัมปิ
    ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ
    ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ
    ละเภยยาหัง ภันเต
    ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง
    ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง
    ตะติยัมปาหัง ภันเต สุจิระปะรินิพพุตัมปิ
    ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ
    ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ
    ละเภยยาหัง ภันเต
    ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง
    *ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง
    อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหตะวา
    ปัพพาเชถะ มัง ภันเต อะนุกัมปัง อุปาทายะ
    ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหตะวา
    ปัพพาเชถะ มัง ภันเต อะนุกัมปัง อุปาทายะ
    ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหตะวา
    ปัพพาเชถะ มัง ภันเต อะนุกัมปัง อุปาทายะ
    *หมายเหตุ ถ้าบวชเป็นสามเณรให้ละคำว่า ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง ออก
    พระอุปัชฌาย์รับเอาผ้าไตรจากผู้บวชวางไว้ตรงหน้าตัก ให้โอวาทและบอก ตะจะปัญจะกะ กัมมัฏฐาน แล้วให้ว่าตามไปทีละบท โดยอนุโลม (ไปข้างหน้า) และปฏิโลม (ทวนกลับ) ดังนี้
    เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ (อนุโลม)
    ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา (ปฏิโลม)
    พระอุปัชฌาย์ชักอังสะออกจากไตรมาสวมให้ผู้บวช แล้วสั่งให้ออกไปครองผ้าครบไตรจีวรตามระเบียบ ครั้นเสร็จแล้วเข้าไปหาพระอาจารย์ รับเครื่องสักการะถวายท่านแล้วกราบ ๓ ครั้ง นั่งคุกเข่าเปล่งวาจาขอสรณะและศีลดังนี้
    อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ
    ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ
    ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจาม
    (พระอาจารย์กล่าวคำนมัสการให้ผู้บรรพชาว่าตามดังนี้)
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)
    พระอุปัชฌาย์จะกล่าวว่า เอวัง วะเทหิ หรือ ยะมะหัง วะทามิ ตัง วะเทหิ
    ให้รับว่า อามะ ภันเต แล้วท่านจะว่านำสรณคมน์ก็ให้ว่าตามดังนี้
    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    พอจบแล้วทางพระอุปัชฌาย์จะบอกว่า ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง ก็ให้รับว่า อามะ ภันเต ต่อจากนั้นก็สมาทานสิกขาบท ๑๐ ประการโดยว่าตามท่านไปเรื่อยๆ ดังนี้
    ปาณาติปาตา เวรมณี
    อทินนาทานา เวรมณี ิ
    อะพรหมจริยา เวรมณี
    มุสาวาทา เวรมณี
    สุราเมรยะมัชชะปมาทัฏฐานา เวรมณี
    วิกาละโภชนา เวรมณี
    นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสนา เวรมณี
    มาลาคันธะวิเลปะนะธารณะมัณฑนะวิภูสะนัฏฐานา เวรมณี
    อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวรมณี
    ชาตะรูปะ ระชะตะ ปฏิคคหณา เวรมณี
    (และกล่าว ๓ ครั้งว่า)
    อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สมาทิยามิ (เสร็จแล้วรับบาตรอุ้มเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ในที่ประชุมสงฆ์ วางไว้ข้างตัวด้านซ้าย รับเครื่องสักการะถวายท่านแล้วกราบ ๓ ครั้ง นั่งคุกเข่าประนมมือกล่าวดังนี้)
    อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ
    ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ
    ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ
    อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ (ตรงนี้ว่า ๓ ครั้ง)
    พระอุปัชฌาย์จะกล่าวว่า โอปายิกัง ปะฏิรูปัง ปาสาทิเกนะ สัมปาเทหิ ให้รับว่า สาธุ ภันเต ทุกครั้งไป
    อัชชะตัคเคทานิ เถโร มัยหัง ภาโร อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร (กล่าวตรงนี้ ๓ ครั้ง เสร็จแล้วกราบลง ๓ ครั้ง)
    พระอาจาย์จะเอาสายคล้องตัวผู้บวช บอกบาตรและจีวรก็ให้ผู้บวชรับว่า อามะ ภันเต ๔ ครั้งดังนี้ <TABLE cellSpacing=0 cols=2 cellPadding=0 width="40%" border=0><TBODY><TR><TD>อะยันเต ปัตโต</TD><TD>(รับว่า) อามะ ภันเต</TD></TR><TR><TD>อะยัง สังฆาฏิ</TD><TD>(รับว่า) อามะ ภันเต</TD></TR><TR><TD>อะยัง อุตตะราสังโค</TD><TD>(รับว่า) อามะ ภันเต</TD></TR><TR><TD>อะยัง อันตะระวาสะโก</TD><TD>(รับว่า) อามะ ภันเต</TD></TR></TBODY></TABLE>จากนั้นพระอาจารย์ท่านจะบอกให้ออกไปข้างนอกว่า คัจฉะ อะมุมหิ โอกาเส ติฏฐาหิ ผู้บวชก็ถอยออกไปยืนอยู่ในที่ที่กำหนดไว้ (ส่วนใหญ่จะเป็นบริเวณทางเข้าโบสถ์) ต่อจากนี้พระอาจารย์จะสวดถามอันตรายิกธรรม ให้รับ นัตถิ ภันเต ๕ ครั้ง และต่อด้วย อามะ ภันเต อีก ๘ ครั้งดังต่อไปนี้
    <TABLE cellSpacing=0 cols=2 cellPadding=0 width="50%" border=0><TBODY><TR><TD>พระจะถามว่า</TD><TD>ผู้บวชกล่าวรับว่า</TD></TR><TR><TD>กุฏฐัง</TD><TD>นัตถิ ภันเต</TD></TR><TR><TD>คัณโฑ</TD><TD>นัตถิ ภันเต</TD></TR><TR><TD>กิลาโส</TD><TD>นัตถิ ภันเต</TD></TR><TR><TD>โสโส</TD><TD>นัตถิ ภันเต</TD></TR><TR><TD>อะปะมาโร</TD><TD>นัตถิ ภันเต</TD></TR><TR><TD>มะนุสโสสิ๊</TD><TD>อามะ ภันเต</TD></TR><TR><TD>ปุริโสสิ๊</TD><TD>อามะ ภันเต</TD></TR><TR><TD>ภุชิสโสสิ๊</TD><TD>อามะ ภันเต</TD></TR><TR><TD>อะนะโณสิ๊</TD><TD>อามะ ภันเต</TD></TR><TR><TD>นะสิ๊ ราชะภะโฏ</TD><TD>อามะ ภันเต</TD></TR><TR><TD>อะนุญญาโตสิ๊ มาตาปิตูหิ</TD><TD>อามะ ภันเต</TD></TR><TR><TD>ปะริปุณณะวีสะติวัสโสสิ๊</TD><TD>อามะ ภันเต</TD></TR><TR><TD>ปะริปุณณันเต ปัตตะจีวะรัง</TD><TD>อามะ ภันเต</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left>กินนาโมสิ</TD><TD>อะหัง ภันเต ...*(ชื่อพระใหม่) นามะ</TD></TR><TR><TD vAlign=top>โก นามะ เต อุปัชฌาโย</TD><TD>อุปัชฌาโย เม ภันเต อายัสสะมา...</TD></TR><TR><TD></TD><TD>*(ชื่อพระอุปัชฌาย์) นามะ</TD></TR></TBODY></TABLE>*หมายเหตุ ผู้บวชจะต้องทราบชื่อทางพระที่พระตั้งให้ใหม่ก่อนวันบวชและต้องจำชื่อพระอุปัชฌาย์ให้ได้ด้วย
    เสร็จแล้วกลับเข้ามาข้างในที่ประชุมสงฆ์ กราบลงตรงหน้าพระอุปัชฌาย์ ๓ ครั้ง นั่งคุกเข่าประนมมือเปล่งวาจาขออุปสมบทดังนี้
    สังฆัมภันเต อุปะสัมปะทัง ยาจามิ
    อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ
    ทุติยัมปิ ภันเต สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ
    อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ
    ตะติยัมปิ ภันเต สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ
    อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ ถ้ากล่าวพร้อมกันให้เปลี่ยนคำว่า ยาจามิ เป็น ยาจามะ และเปลี่ยน มัง เป็น โน
    ต่อมาพระอาจารย์สวดสมมติตนถามอันตรายิกธรรม ผู้บวชก็รับว่า นัตถิ ภันเต ๕ ครั้ง และ อามะ ภันเต ๘ ครั้ง บอกชื่อพระใหม่ของตัวเอง และชื่อพระอุปัชฌาย์แบบที่ผ่านมาอย่างละหนึ่งครั้ง เสร็จแล้วก็นั่งฟังพระสวดกรรมวาจาอุปสมบทไปจนจบ พอจบแล้วท่านก็จะเอาบาตรออกจากตัว ให้กราบลง ๓ ครั้ง นั่งพับเพียบฟังพระอุปัชฌาย์บอกอนุศาสน์ไปจนจบ แล้วก็กล่าวรับว่า อามะ ภันเต เสร็จพิธีก็กราบ ๓ ครั้ง ถ้ามีเครื่องไทยทานก็ให้รับไทยทานถวายพระอันดับ เวลากรวดน้ำก็ให้ตั้งใจรำลึกถึงผู้มีพระคุณอุทิศส่วนกุศลแด่ท่าน ขั้นตอนต่อไปก็นั่งฟังพระท่านอนุโมทนาต่อไปจนจบเป็นอันเสร็จพิธี
    [​IMG]
     
  2. tum399

    tum399 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    732
    ค่าพลัง:
    +2,908
    ได้รับพระแล้วครับคุณลุง เฝ้ารอไปรษณีย์อยู่ครึ่งวันพอได้ก็ลุ้นว่าจะมีอะไรให้ตื่นเต้นบ้างนะ ปรากฎว่ามีจริงๆ กราบขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งครับ
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เมื่อคิดจะบวช
    ที่มา http://www.salatham.com/

    บทบัญญัติข้อห้ามและศีลของสมณเพศ

    หน้านี้ว่าด้วยข้อห้ามและศีลที่พระพุทธเจ้าได้บัญญัติไว้สำหรับผู้ที่บวชเป็นสามเณรและภิกษุ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องกระทำเมื่ออยู่ในสมเพศ เป็นที่น่าเสียดายว่า ในตำราพิธีการบวชที่มีอยู่หลายเล่มนั้น ทั้งของธรรมยุตและมหานิกายได้เว้นไว้โดยมิได้กล่าวถึงศีลสำหรับพระภิกษุทั้งใหม่และเก่า ซึ่งอาจเป็นเพราะว่ามันมากถึง ๒๒๗ ข้อ อันอาจจะเปลืองเนื้อที่กระดาษหรืออย่างไรไม่ทราบได้ ทำให้พระในปัจจุบันนี้อาจจะละเมิดศีลโดยที่มิควรจะเป็น ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ หรืออาจจะลืมไปแล้วเสียด้วยว่าสิ่งที่กำลังทำอยู่นั้นผิดศีลข้อใด
    ภิกษุไม่ควรฉันเนื้อ ๑๐ อย่างอันได้แก่

    <TABLE cellSpacing=0 cols=2 cellPadding=0 width="40%" border=0><TBODY><TR><TD>๑.เนื้อมนุษย์</TD><TD>๖.เนื้อราชสีห์</TD></TR><TR><TD>๒.เนื้อช้าง</TD><TD>๗.เนื้อหมี</TD></TR><TR><TD>๓.เนื้อม้า</TD><TD>๘.เนื้อเสือโคร่ง</TD></TR><TR><TD>๔.เนื้อสุนัข</TD><TD>๙.เนื้อเสือดาว</TD></TR><TR><TD>๕.เนื้องู</TD><TD>๑๐.เนื้อเสือเหลือง</TD></TR></TBODY></TABLE>[​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    สามเณรต้องถือศีล ๑๐ ข้ออันได้แก่

    ๑.เว้นจากการฆ่าสัตว์ทั้งมนุษย์และเดรัจฉาน
    ๒.เว้นจากการลักทรัพย์
    ๓.เว้นจากการเสพเมถุน
    ๔.เว้นจากการพูดเท็จ
    ๕.เว้นจากการดื่มสุราและเมรัย
    ๖.เว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล (หลังเที่ยงวันไปแล้ว)
    ๗.เว้นจากการฟ้อนรำขับร้องและการบรรเลง ตลอดถึงการดูการฟังสิ่งเหล่านั้น
    ๘.เว้นจากการทัดทรงตกแต่งประดับร่างกาย การใช้ดอกไม้ของหอมเครื่องประเทืองผิวต่างๆ
    ๙.เว้นจากการนอนที่นอนสูงใหญ่และยัดนุ่นสำลีอันมีลายวิจิตร (เว้นจากการนั่งนอนเหนือเตียงตั่งที่มีเท้าสูงเกินประมาณ)
    ๑๐.เว้นจากการรับเงินทอง
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    พระภิกษุต้องถือศีล ๒๒๗ ข้ออันได้แก่

    ศีล ๒๒๗ ข้อที่เป็นวินัยของสงฆ์ ทำผิดถือว่าเป็นอาบัติ สามารถแบ่งออกได้เป็นลำดับขั้น ตั้งแต่ขั้นรุนแรงจนกระทั่งเบาที่สุดได้ดังนี้ ได้แก่

    ปาราชิก มี ๔ ข้อ
    สังฆาทิเสส มี ๑๓ ข้อ
    อนิยต มี ๒ ข้อ (อาบัติที่ไม่แน่ว่าจะปรับข้อไหน)
    นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ ข้อ (อาบัติที่ต้องสละสิ่งของว่าด้วยเรื่องจีวร ไหม บาตร อย่างละ ๑๐ข้อ)
    ปาจิตตีย์ มี ๙๒ ข้อ (ว่าด้วยอาบัติที่ไม่ต้องสละสิ่งของ)
    ปาฏิเทสนียะ มี ๔ ข้อ (ว่าด้วยอาบัติที่พึงแสดงคืน)

    เสขิยะ (ข้อที่ภิกษุพึงศึกษาเรื่องมารยาท) แบ่งเป็น
    สารูปมี ๒๖ ข้อ (ความเหมาะสมในการเป็นสมณะ)
    โภชนปฏิสังยุตต์ มี ๓๐ ข้อ (ว่าด้วยการฉันอาหาร)
    ธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์ มี ๑๖ ข้อ (ว่าด้วยการแสดงธรรม)
    ปกิณสถะ มี ๓ ข้อ (เบ็ดเตล็ด)
    อธิกรณสมถะ มี ๗ ข้อ (ธรรมสำหรับระงับอธิกรณ์)
    รวมทั้งหมดแล้ว ๒๒๗ ข้อ ผิดข้อใดข้อหนึ่งถือว่าต้องอาบัติ การแสดงอาบัติสามารถกล่าวกับพระภิฏษุรูปอื่นเพื่อเป็นการแสดงตนต่อความผิดได้ แต่ถ้าถึงขั้นปาราชิกก็ต้องสึกอย่างเดียว
    [SIZE=+1]ปาราชิก[/SIZE] มี ๔ ข้อได้แก่
    ๑. เสพเมถุน แม้กับสัตว์เดรัจฉานตัวเมีย (ร่วมสังวาสกับคนหรือสัตว์)
    ๒. ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้มาเป็นของตน จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี (ขโมย)
    ๓. พรากกายมนุษย์จากชีวิต (ฆ่าคน)หรือแสวงหาศาสตราอันจะนำไปสู่ความตายแก่ร่างกายมนุษย์
    ๔. กล่าวอวดอุตตริมนุสสธัมม์ อันเป็นความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ น้อมเข้าในตัวว่า ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้ (ไม่รู้จริง แต่โอ้อวดความสามารถของตัวเอง)
    [SIZE=+1]สังฆาทิเสส[/SIZE] มี ๑๓ ข้อ ถือเป็นความผิดหากทำสิ่งใดต่อไปนี้ <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>๑.ปล่อยน้ำอสุจิด้วยความจงใจ เว้นไว้แต่ฝัน</TD><TD>๘.แกล้งใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล</TD></TR><TR><TD>๒.เคล้าคลึง จับมือ จับช้องผม ลูบคลำ จับต้องอวัยวะอันใดก็ตามของสตรีเพศ</TD><TD>๙.แกล้งสมมุติแล้วใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล</TD></TR><TR><TD>๓.พูดจาหยาบคาย เกาะแกะสตรีเพศ เกี้ยวพาราสี</TD><TD>๑๐.ยุยงสงฆ์ให้แตกกัน</TD></TR><TR><TD>๔.การกล่าวถึงคุณในการบำเรอตนด้วยกาม หรือถอยคำพาดพิงเมถุน </TD><TD vAlign=top>๑๑.เป็นพวกของผู้ที่ทำสงฆ์ให้แตกกัน</TD></TR><TR><TD>๕.ทำตัวเป็นสื่อรัก บอกความต้องการของอีกฝ่ายให้กับหญิงหรือชาย แม้สามีกับภรรยา หรือแม้แต่หญิงขายบริการ</TD><TD vAlign=top>๑๒.เป็นผู้ว่ายากสอนยาก และต้องโดนเตือนถึง 3 ครั้ง</TD></TR><TR><TD>๖.สร้างกุฏิด้วยการขอ</TD><TD>๑๓. ทำตัวเป็นเหมือนคนรับใช้ ประจบคฤหัสถ์</TD></TR><TR><TD>๗.สร้างวิหารใหญ่ โดยพระสงฆ์มิได้กำหนดที่ รุกรานคนอื่น</TD><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>[SIZE=+1]อนิยตกัณฑ์ [/SIZE]มี ๒ ข้อได้แก่
    ๑. การนั่งในที่ลับตา มีอาสนะกำบังอยู่กับสตรีเพศ และมีผู้มาเห็นเป็นผู้ที่เชื่อถือได้พูดขึ้นด้วยธรรม ๓ ประการอันใดอันหนึ่งกล่าวแก่ภิกษุนั้นได้แก่ ปาราชิกก็ดี สังฆาทิเสสก็ดี หรือปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุนั้นถือว่ามีความผิดตามที่อุบาสกผู้นั้นกล่าว
    ๒. ในสถานที่ที่ไม่เป็นที่ลับตาเสียทีเดียว แต่เป็นที่ที่จะพูดจาค่อนแคะสตรีเพศได้สองต่อสองกับภิกษุผู้เดียว และมีผู้มาเห็นเป็นผู้ที่เชื่อถือได้พูดขึ้นด้วยธรรม 2 ประการอันใดอันหนึ่งกล่าวแก่ภิกษุนั้นได้แก่ สังฆาทิเสสก็ดี หรือปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุนั้นถือว่ามีความผิดตามที่อุบาสกผู้นั้นกล่าว
    [SIZE=+1]นิสสัคคิยปาจิตตีย์ [/SIZE]มี ๓๐ ข้อ ถือเป็นความผิดได้แก่ <TABLE cellSpacing=0 cols=2 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>๑.เก็บจีวรที่เกินความจำเป็นไว้เกิน ๑๐ วัน</TD><TD>๑๖.นำขนเจียมไปด้วยตนเองเกิน ๓ โยชน์ เว้นแต่มีผู้นำไปให้</TD></TR><TR><TD>๒.อยู่โดยปราศจากจีวรแม้แต่คืนเดียว</TD><TD>๑๗.ใช้ภิกษุณีที่ไม่ใช้ญาติทำความสะอาดขนเจียม</TD></TR><TR><TD>๓.เก็บผ้าที่จะทำจีวรไว้เกินกำหนด ๑ เดือน</TD><TD>๑๘.รับเงินทอง</TD></TR><TR><TD>๔.ใช้ให้ภิกษุณีซักผ้า</TD><TD>๑๙.ซื้อขายด้วยเงินทอง</TD></TR><TR><TD>๕.รับจีวรจากมือของภิกษุณี</TD><TD>๒๐.ซื้อขายโดยใช้ของแลก</TD></TR><TR><TD>๖.ขอจีวรจากคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ เว้นแต่จีวรหายหรือถูกขโมย</TD><TD>๒๑.เก็บบาตรที่มีใช้เกินความจำเป็นไว้เกิน ๑๐ วัน</TD></TR><TR><TD>๗.รับจีวรเกินกว่าที่ใช้นุ่ง เมื่อจีวรถูกชิงหรือหายไป</TD><TD>๒๒.ขอบาตร เมื่อบาตรเป็นแผลไม่เกิน ๕ แห่ง</TD></TR><TR><TD>๘.พูดทำนองขอจีวรดีๆ กว่าที่เขากำหนดจะถวายไว้แต่เดิม</TD><TD>๒๓.เก็บเภสัช ๕ (เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย)ไว้เกิน ๗ วัน</TD></TR><TR><TD>๙.พูดให้เขารวมกันซื้อจีวรดีๆ มาถวาย</TD><TD>๒๔.แสวงและทำผ้าอาบน้ำฝนไว้เกินกำหนด ๑ เดือนก่อนหน้าฝน</TD></TR><TR><TD>๑๐.ทวงจีวรจากคนที่รับอาสาเพื่อซื้อจีวรถวายเกินกว่า ๓ ครั้ง</TD><TD>๒๕.ให้จีวรภิกษุอื่นแล้วชิงคืนในภายหลัง</TD></TR><TR><TD>๑๑.หล่อเครื่องปูนั่งที่เจือด้วยไหม</TD><TD>๒๖.ขอด้ายเอามาทอเป็นจีวร</TD></TR><TR><TD>๑๒.หล่อเครื่องปูนั่งด้วยขนเจียม (ขนแพะ แกะ) ดำล้วน</TD><TD>๒๗.กำหนดให้ช่างทอทำให้ดีขึ้น</TD></TR><TR><TD>๑๓.ใช้ขนเจียมดำเกิน ๒ ส่วนใน ๔ ส่วน หล่อเครื่องปูนั่ง</TD><TD>๒๘.เก็บผ้าจำนำพรรษา (ผ้าที่ถวายภิกษุเพื่ออยู่พรรษา) เกินกำหนด</TD></TR><TR><TD>๑๔.หล่อเครื่องปูนั่งใหม่ เมื่อของเดิมยังใช้ไม่ถึง ๖ ปี</TD><TD>๒๙.อยู่ป่าแล้วเก็บจีวรไว้ในบ้านเกิน ๖ คืน</TD></TR><TR><TD>๑๕.เมื่อหล่อเครื่องปูนั่งใหม่ ให้เอาของเก่าเจือปนลงไปด้วย</TD><TD>๓๐.น้อมลาภสงฆ์มาเพื่อให้เขาถวายตน</TD></TR></TBODY></TABLE>[SIZE=+1]ปาจิตตีย์[/SIZE] มี ๙๒ ข้อได้แก่ <TABLE cellSpacing=0 cols=2 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>๑.ห้ามพูดปด</TD><TD>๔๗.ห้ามขอของเกินกำหนดเวลาที่เขาอนุญาตไว้</TD></TR><TR><TD>๒.ห้ามด่า</TD><TD>๔๘.ห้ามไปดูกองทัพที่ยกไป</TD></TR><TR><TD>๓.ห้ามพูดส่อเสียด</TD><TD>๔๙.ห้ามพักอยู่ในกองทัพเกิน ๓ คืน</TD></TR><TR><TD>๔.ห้ามกล่าวธรรมพร้อมกับผู้ไม่ได้บวชในขณะสอน</TD><TD>๕๐.ห้ามดูเขารบกันเป็นต้น เมื่อไปในกองทัพ</TD></TR><TR><TD>๕.ห้ามนอนร่วมกับอนุปสัมบัน(ผู้ไม่ใช้ภิกษุ)เกิน ๓ คืน</TD><TD>๕๑.ห้ามดื่มสุราเมรัย</TD></TR><TR><TD>๖.ห้ามนอนร่วมกับผู้หญิง</TD><TD>๕๒.ห้ามจี้ภิกษุ</TD></TR><TR><TD>๗.ห้ามแสดงธรรมสองต่อสองกับผู้หญิง</TD><TD>๕๓.ห้ามว่ายน้ำเล่น</TD></TR><TR><TD>๘.ห้ามบอกคุณวิเศษที่มีจริงแก่ผู้มิได้บวช</TD><TD>๕๔.ห้ามแสดงความไม่เอื้อเฟื้อในวินัย</TD></TR><TR><TD>๙.ห้ามบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่ผู้มิได้บวช</TD><TD>๕๕.ห้ามหลอกภิกษุให้กลัว</TD></TR><TR><TD>๑๐.ห้ามขุดดินหรือใช้ให้ขุด</TD><TD>๕๖.ห้ามติดไฟเพื่อผิง</TD></TR><TR><TD>๑๑.ห้ามทำลายต้นไม้</TD><TD>๕๗.ห้ามอาบน้ำบ่อยๆเว้นแต่มีเหตุ</TD></TR><TR><TD>๑๒.ห้ามพูดเฉไฉเมื่อถูกสอบสวน</TD><TD>๕๘.ให้ทำเครื่องหมายเครื่องนุ่งห่ม</TD></TR><TR><TD>๑๓.ห้ามติเตียนภิกษุผู้ทำการสงฆ์โดยชอบ</TD><TD>๕๙.วิกัปจีวรไว้แล้ว (ทำให้เป็นสองเจ้าของ-ให้ยืมใช้) จะใช้ต้องถอนก่อน</TD></TR><TR><TD>๑๔.ห้ามทิ้งเตียงตั่งของสงฆ์ไว้กลางแจ้ง</TD><TD>๖๐.ห้ามเล่นซ่อนบริขารของภิกษุอื่น</TD></TR><TR><TD>๑๕.ห้ามปล่อยที่นอนไว้ ไม่เก็บงำ</TD><TD>๖๑.ห้ามฆ่าสัตว์</TD></TR><TR><TD>๑๖.ห้ามนอนแทรกภิกษุผู้เข้าไปอยู่ก่อน</TD><TD>๖๒.ห้ามใช้น้ำมีตัวสัตว์</TD></TR><TR><TD>๑๗.ห้ามฉุดคร่าภิกษุออกจากวิหารของสงฆ์</TD><TD>๖๓.ห้ามรื้อฟื้นอธิกรณ์(คดีความ-ข้อโต้เถียง)ที่ชำระเป็นธรรมแล้ว</TD></TR><TR><TD>๑๘.ห้ามนั่งนอนทับเตียงหรือตั่งที่อยู่ชั้นบน</TD><TD>๖๔.ห้ามปกปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุอื่น</TD></TR><TR><TD>๑๙.ห้ามพอกหลังคาวิหารเกิน ๓ ชั้น</TD><TD>๖๕.ห้ามบวชบุคคลอายุไม่ถึง ๒๐ ปี</TD></TR><TR><TD>๒๐.ห้ามเอาน้ำมีสัตว์รดหญ้าหรือดิน</TD><TD>๖๖.ห้ามชวนพ่อค้าผู้หนีภาษีเดินทางร่วมกัน</TD></TR><TR><TD>๒๑.ห้ามสอนนางภิกษุณีเมื่อมิได้รับมอบหมาย</TD><TD>๖๗.ห้ามชวนผู้หญิงเดินทางร่วมกัน</TD></TR><TR><TD>๒๒.ห้ามสอนนางภิกษุณีตั้งแต่อาทิตย์ตกแล้ว</TD><TD>๖๘.ห้ามกล่าวตู่พระธรรมวินัย (ภิกษุอื่นห้ามและสวดประกาศเกิน ๓ ครั้ง)</TD></TR><TR><TD>๒๓.ห้ามไปสอนนางภิกษุณีถึงที่อยู่</TD><TD>๖๙.ห้ามคบภิกษุผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย</TD></TR><TR><TD>๒๔.ห้ามติเตียนภิกษุอื่นว่าสอนนางภิกษุณีเพราะเห็นแก่ลาภ</TD><TD>๗๐.ห้ามคบสามเณรผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย</TD></TR><TR><TD>๒๕.ห้ามให้จีวรแก่นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ</TD><TD>๗๑.ห้ามพูดไถลเมื่อทำผิดแล้ว</TD></TR><TR><TD>๒๖.ห้ามเย็บจีวรให้นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ</TD><TD>๗๒.ห้ามกล่าวติเตียนสิกขาบท</TD></TR><TR><TD>๒๗.ห้ามเดินทางไกลร่วมกับนางภิกษุณี</TD><TD>๗๓.ห้ามพูดแก้ตัวว่า เพิ่งรู้ว่ามีในปาฏิโมกข์</TD></TR><TR><TD>๒๘.ห้ามชวนนางภิกษุณีเดินทางเรือร่วมกัน</TD><TD>๗๔.ห้ามทำร้ายร่างกายภิกษุ</TD></TR><TR><TD>๒๙.ห้ามฉันอาหารที่นางภิกษุณีไปแนะให้เขาถวาย</TD><TD>๗๕.ห้ามเงื้อมือจะทำร้ายภิกษุ</TD></TR><TR><TD>๓๐.ห้ามนั่งในที่ลับสองต่อสองกับภิกษุณี</TD><TD>๗๖.ห้ามโจทภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่ไม่มีมูล</TD></TR><TR><TD>๓๑.ห้ามฉันอาหารในโรงพักเดินทางเกิน ๓ มื้อ</TD><TD>๗๗.ห้ามก่อความรำคาญแก่ภิกษุอื่น</TD></TR><TR><TD>๓๒.ห้ามฉันอาหารรวมกลุ่ม</TD><TD>๗๘.ห้ามแอบฟังความของภิกษุผู้ทะเลาะกัน</TD></TR><TR><TD>๓๓.ห้ามรับนิมนต์แล้วไปฉันอาหารที่อื่น</TD><TD>๗๙.ให้ฉันทะแล้วห้ามพูดติเตียน</TD></TR><TR><TD>๓๔.ห้ามรับบิณฑบาตเกิน ๓ บาตร</TD><TD>๘๐.ขณะกำลังประชุมสงฆ์ ห้ามลุกไปโดยไม่ให้ฉันทะ</TD></TR><TR><TD>๓๕.ห้ามฉันอีกเมื่อฉันในที่นิมนต์เสร็จแล้ว</TD><TD>๘๑.ร่วมกับสงฆ์ให้จีวรแก่ภิกษุแล้ว ห้ามติเตียนภายหลัง</TD></TR><TR><TD>๓๖.ห้ามพูดให้ภิกษุที่ฉันแล้วฉันอีกเพื่อจับผิด</TD><TD>๘๒.ห้ามน้อมลาภสงฆ์มาเพื่อบุคคล</TD></TR><TR><TD>๓๗.ห้ามฉันอาหารในเวลาวิกาล</TD><TD>๘๓.ห้ามเข้าไปในตำหนักของพระราชา</TD></TR><TR><TD>๓๘.ห้ามฉันอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน</TD><TD>๘๔.ห้ามเก็บของมีค่าที่ตกอยู่</TD></TR><TR><TD>๓๙.ห้ามขออาหารประณีตมาเพื่อฉันเอง</TD><TD>๘๕.เมื่อจะเข้าบ้านในเวลาวิกาล ต้องบอกลาภิกษุก่อน</TD></TR><TR><TD>๔๐.ห้ามฉันอาหารที่มิได้รับประเคน</TD><TD>๘๖.ห้ามทำกล่องเข็มด้วยกระดูก งา หรือเขาสัตว์</TD></TR><TR><TD>๔๑.ห้ามยื่นอาหารด้วยมือให้ชีเปลือยและนักบวชอื่นๆ</TD><TD>๘๗.ห้ามทำเตียง ตั่งมีเท้าสูงกว่าประมาณ</TD></TR><TR><TD>๔๒.ห้ามชวนภิกษุไปบิณฑบาตด้วยแล้วไล่กลับ</TD><TD>๘๘.ห้ามทำเตียง ตั่งที่หุ้มด้วยนุ่น</TD></TR><TR><TD>๔๓.ห้ามเข้าไปแทรกแซงในสกุลที่มีคน ๒ คน</TD><TD>๘๙.ห้ามทำผ้าปูนั่งมีขนาดเกินประมาณ</TD></TR><TR><TD>๔๔.ห้ามนั่งในที่ลับมีที่กำบังกับมาตุคาม (ผู้หญิง)</TD><TD>๙๐.ห้ามทำผ้าปิดฝีมีขนาดเกินประมาณ</TD></TR><TR><TD>๔๕.ห้ามนั่งในที่ลับ (หู) สองต่อสองกับมาตุคาม</TD><TD>๙๑.ห้ามทำผ้าอาบน้ำฝนมีขนาดเกินประมาณ</TD></TR><TR><TD>๔๖.ห้ามรับนิมนต์แล้วไปที่อื่นไม่บอกลา</TD><TD>๙๒.ห้ามทำจีวรมีขนาดเกินประมาณ</TD></TR></TBODY></TABLE>[SIZE=+1]ปาฏิเทสนียะ[/SIZE] มี ๔ ข้อได้แก่
    ๑. ห้ามรับของคบเคี้ยว ของฉันจากมือภิกษุณีมาฉัน
    ๒. ให้ไล่นางภิกษุณีที่มายุ่งให้เขาถวายอาหาร
    ๓. ห้ามรับอาหารในสกุลที่สงฆ์สมมุติว่าเป็นเสขะ (อริยบุคคล แต่ยังไม่ได้บรรลุเป็นอรหันต์)
    ๔. ห้ามรับอาหารที่เขาไม่ได้จัดเตรียมไว้ก่อนมาฉันเมื่ออยู่ป่า
    [SIZE=+1]เสขิยะ[/SIZE]
    สารูป มี ๒๖ ข้อได้แก่ <TABLE cellSpacing=0 cols=2 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>๑.นุ่งให้เป็นปริมณฑล (ล่างปิดเข่า บนปิดสะดือไม่ห้อยหน้าห้อยหลัง)</TD><TD>๑๔.ไม่พูดเสียงดังนั่งในบ้าน</TD></TR><TR><TD>๒.ห่มให้เป็นนปริมณฑล (ให้ชายผ้าเสมอกัน)</TD><TD>๑๕.ไม่โคลงกายไปในบ้าน</TD></TR><TR><TD>๓.ปกปิดกายด้วยดีไปในบ้าน</TD><TD>๑๖.ไม่โคลงกายนั่งในบ้าน</TD></TR><TR><TD>๔.ปกปิดกายด้วยดีนั่งในบ้าน</TD><TD>๑๗.ไม่ไกวแขนไปในบ้าน</TD></TR><TR><TD>๕.สำรวมด้วยดีไปในบ้าน</TD><TD>๑๘.ไม่ไกวแขนนั่งในบ้าน</TD></TR><TR><TD>๖.สำรวมด้วยดีนั่งในบ้าน</TD><TD>๑๙.ไม่สั่นศีรษะไปในบ้าน</TD></TR><TR><TD>๗.มีสายตาทอดลงไปในบ้าน (ตาไม่มองโน่นมองนี่)</TD><TD>๒๐.ไม่สั่นศีรษะนั่งในบ้าน</TD></TR><TR><TD>๘.มีสายตาทอดลงนั่งในบ้าน</TD><TD>๒๑.ไม่เอามือค้ำกายไปในบ้าน</TD></TR><TR><TD>๙.ไม่เวิกผ้าไปในบ้าน</TD><TD>๒๒.ไม่เอามือค้ำกายนั่งในบ้าน</TD></TR><TR><TD>๑๐.ไม่เวิกผ้านั่งในบ้าน</TD><TD>๒๓.ไม่เอาผ้าคลุมศีรษะไปในบ้าน</TD></TR><TR><TD>๑๑.ไม่หัวเราะดังไปในบ้าน</TD><TD>๒๔.ไม่เอาผ้าคลุมศีรษะนั่งในบ้าน</TD></TR><TR><TD>๑๒.ไม่หัวเราะดังนั่งในบ้าน</TD><TD>๒๕.ไม่เดินกระโหย่งเท้า ไปในบ้าน</TD></TR><TR><TD>๑๓.ไม่พูดเสียงดังไปในบ้าน</TD><TD>๒๖.ไม่นั่งรัดเข่าในบ้าน</TD></TR></TBODY></TABLE>โภชนปฏิสังยุตต์มี ๓๐ ข้อคือหลักในการฉันอาหารได้แก่ <TABLE cellSpacing=0 cols=2 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>๑.รับบิณฑบาตด้วยความเคารพ</TD><TD>๑๖.ไม่เอามือทั้งมือใส่ปากในขณะฉัน</TD></TR><TR><TD>๒.ในขณะบิณฑบาต จะแลดูแต่ในบาตร</TD><TD>๑๗.ไม่พูดในขณะที่มีคำข้าวอยู่ในปาก</TD></TR><TR><TD>๓.รับบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง (ไม่รับแกงมากเกินไป)</TD><TD>๑๘.ไม่ฉันโดยการโยนคำข้าวเข้าปาก</TD></TR><TR><TD>๔.รับบิณฑบาตแค่พอเสมอขอบปากบาตร</TD><TD>๑๙.ไม่ฉันกัดคำข้าว</TD></TR><TR><TD>๕.ฉันบิณฑบาตโดยความเคารพ</TD><TD>๒๐.ไม่ฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย</TD></TR><TR><TD>๖.ในขณะฉันบิณฑบาต และดูแต่ในบาตร</TD><TD>๒๑.ไม่ฉันพลางสะบัดมือพลาง</TD></TR><TR><TD>๗.ฉันบิณฑบาตไปตามลำดับ (ไม่ขุดให้แหว่ง)</TD><TD>๒๒.ไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าว</TD></TR><TR><TD>๘.ฉันบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง ไม่ฉันแกงมากเกินไป</TD><TD>๒๓.ไม่ฉันแลบลิ้น</TD></TR><TR><TD>๙.ฉันบิณฑบาตไม่ขยุ้มแต่ยอดลงไป</TD><TD>๒๔.ไม่ฉันดังจับๆ</TD></TR><TR><TD>๑๐.ไม่เอาข้าวสุกปิดแกงและกับด้วยหวังจะได้มาก</TD><TD>๒๕.ไม่ฉันดังซูดๆ</TD></TR><TR><TD>๑๑.ไม่ขอเอาแกงหรือข้าวสุกเพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน หากไม่เจ็บไข้</TD><TD>๒๖.ไม่ฉันเลียมือ</TD></TR><TR><TD>๑๒.ไม่มองดูบาตรของผู้อื่นด้วยคิดจะยกโทษ</TD><TD>๒๗.ไม่ฉันเลียบาตร</TD></TR><TR><TD>๑๓.ไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่เกินไป</TD><TD>๒๘.ไม่ฉันเลียริมฝีปาก</TD></TR><TR><TD>๑๔.ทำคำข้าวให้กลมกล่อม</TD><TD>๒๙.ไม่เอามือเปื้อนจับภาชนะน้ำ</TD></TR><TR><TD>๑๕.ไม่อ้าปากเมื่อคำข้าวยังมาไม่ถึง</TD><TD>๓๐.ไม่เอาน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวเทลงในบ้าน</TD></TR></TBODY></TABLE>ธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์ มี ๑๖ ข้อคือ <TABLE cellSpacing=0 cols=2 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>๑.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีร่มในมือ</TD><TD>๙.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งรัดเข่า</TD></TR><TR><TD>๒.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีไม้พลองในมือ</TD><TD>๑๐.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่โพกศีรษะ</TD></TR><TR><TD>๓.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีของมีคมในมือ</TD><TD>๑๑.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่คลุมศีรษะ</TD></TR><TR><TD>๔.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีอาวุธในมือ</TD><TD>๑๒.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อยู่บนอาสนะ (หรือเครื่องปูนั่ง) โดยภิกษุอยู่บนแผ่นดิน</TD></TR><TR><TD>๕.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมเขียงเท่า (รองเท้าไม้)</TD><TD>๑๓.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งบนอาสนะสูงกว่าภิกษุ</TD></TR><TR><TD>๖.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมรองเท้า</TD><TD>๑๔.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งอยู่ แต่ภิกษุยืน</TD></TR><TR><TD>๗.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในยาน</TD><TD>๑๕.ภิกษุเดินไปข้างหลังไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่เดินไปข้างหน้า</TD></TR><TR><TD>๘.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อยู่บนที่นอน</TD><TD>๑๖.ภิกษุเดินไปนอกทางไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในทาง</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ปกิณสถะ มี ๓ ข้อ
    ๑. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ยืนถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
    ๒. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในของเขียว (พันธุ์ไม้ใบหญ้าต่างๆ)
    ๓. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ
    [SIZE=+1]อธิกรณสมถะ[/SIZE] มี ๗ ข้อได้แก่
    ๑. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ในที่พร้อมหน้า (บุคคล วัตถุ ธรรม)
    ๒. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยการยกให้ว่าพระอรหันต์เป็นผู้มีสติ
    ๓. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยยกประโยชน์ให้ในขณะเป็นบ้า
    ๔. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยถือตามคำรับของจำเลย
    ๕. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ
    ๖. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยการลงโทษแก่ผู้ผิด
    ๗. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยให้ประนีประนอมหรือเลิกแล้วกันไป
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>ข้อปฏิบัติของภิกษุณี ๘ ประการ (ครุธัมมปฏิคคหณูปสัมปทา)

    ครุธัมมปฏิคคหณูปสัมปทา คือเงื่อนไขอย่างเข้มงวด ๘ ประการที่ภิษุณีจะต้องปฏิบัติตลอดชีวิตอันได้แก่
    ๑.ต้องเคารพภิกษุแม้จะอ่อนพรรษากว่า
    ๒.ต้องไม่จำพรรษาในวัดที่ไม่มีภิกษุ
    ๓.ต้องทำอุโบสถและรับโอวาทจากภิกษุทุกกึ่งเดือน
    ๔.เมื่อออกพรรษาต้องปวารณาตนต่อภิกษุและภิกษุณีอื่นให้ตักเตือนตน
    ๕.เมื่อต้องอาบัติหนัก ต้องรับมานัต (รับโทษ) จากสงฆ์สองฝ่ายคือทั้งฝ่ายภิกษุและภิกษุณี ๑๕ วัน
    ๖.ต้องบวชจากสงฆ์ทั้งสองฝ่าย หลังจากเป็น*สิกขามานาเต็มแล้วสองปี
    ๗.จะด่าว่าค่อนแคะภิกษุไม่ได้
    ๘.ห้ามสอนภิกษุเด็ดขาด
    *สิกขามานาแปลว่า ผู้ศึกษา สตรีที่จะบวชเป็นภิกษุณีต้องเป็นนางสิกขามานาก่อน ๒ ปี​
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ข้อห้ามสำหรับการบวชพระในแบบธรรมยุต

    ห้ามจับปัจจัยที่เป็นเงินเด็ดขาด
    [​IMG]

    บทกิจวัตรเมื่อเป็นพระ

    ๑.ลงอุโบสถ (ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น)
    ๒.บิณฑบาตรเลี้ยงชีพ
    ๓.สวดมนต์ไหว้พระ
    ๔.กวาดอาวาสวิหารลานพระเจดีย์
    ๕.รักษาผ้าครอง
    ๖.อยู่ปริวาสกรรม
    ๗.โกนผม ปลงหนวด ตัดเล็บ
    ๘.ศึกษาสิกขาบทและปฏิบัติพระอาจารย์
    ๙.เทศนาบัติ
    ๑๐.พิจารณาปัจจเวกขณะทั้ง ๔ เป็นต้น (ให้รู้จักข่มใจ เว้นแต่ความจำเป็น ๔ อย่างคือ จีวร บิณฑบาตร เสนาสนะ และเภสัช)
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>>
    วิธีแสดงอาบัติ

    เมื่อใดที่รู้ว่าต้องอาบัติในข้อใดข้อหนึ่ง ต้องแสดงอาบัติกับพระรูปใดรูปหนึ่งเพื่อเป็นพยานดังนี้
    (พระที่พรรษาอ่อนกว่า)
    สัพพา ตา อาปัตติโย อาโรเจมิ (ว่า ๓ ครั้ง)
    สัพพา คะรุละหุกา อาปัตติโย อาโรจามิ (ว่า ๓ ครั้ง)
    อะหัง ภันเต สัมพะหุลา นานาวัตถุกาโย
    อาปัตติโย อาปัชชิง ตา ตุมหะ มูเล ปะฏิเทเสมิ
    (พระที่พรรษาแก่กว่ารับว่า)
    ปัสสะสิ อาวุโส ตา อาปัตติโย
    (พระที่พรรษาอ่อนกว่า)
    อุกาสะ อามะ ภันเต ปัสสามิ
    (พระที่พรรษาแก่กว่ารับว่า)
    อายะติง อาวุโส สังวะเรยยาสิ
    (พระที่พรรษาอ่อนกว่า)
    สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ
    ทุติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ
    ตะติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ
    นะ ปุเนวัง กะริสสาม
    นะ ปุเนวัง ภาสิสสามิ
    นะ ปุเนวัง จินตะยิสสามิ
    (พระที่พรรษาแก่กว่าว่า)
    สัพพา ตา อาปัตติโย อาโรเจมิ (กล่าว ๓ ครั้ง)
    สัพพา คะรุละหุกา อาปัตติโย อาโรเจมิ (กล่าว ๓ ครั้ง)
    อะหัง อาวุโส สัมพะหุลา นานาวัตถุกาโย
    อาปัตติโย อาปัชชิง ตา ตุยหะ มูเล ปะฏิเทเสมิ
    (พระที่พรรษาอ่อนกว่ารับว่า)
    อุกาสะ ปัสสะถะ ภันเต ตา อาปัตติโย
    (พระที่พรรษาแก่กว่าว่า)
    อามะ อาวุโส ปัสสามิ
    (พระที่พรรษาอ่อนกว่ารับว่า)
    อายะติง ภันเต สังวะเรยยาถะ
    (พระที่พรรษาแก่กว่าว่า)
    สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ
    ทุติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ
    ตะติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ
    นะ ปุเนวัง กะริสสามิ
    นะ ปุเนวัง ภาสิสสามิ
    นะ ปุเนวัง จินตะยิสสามิ
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ขั้นตอนและบทท่องจำก่อนสึก

    ไปแสดงตนต่อพระอุปัชฌาย์เพื่อแจ้งความจำนงขอลาสิกขา มีพระสงฆ์นั่งเป็นพยานเข้าประชุมพร้อมกัน ภิกษุเมื่อจะลาสิกขาต้องแสดงอาบัติแล้ว พาดผ้าสังฆาฏิเข้าไปนั่งหันหน้าตรงพระพุทธรูปบนที่บูชา กราบ ๓ ครั้ง ประนมมือ กล่าว นะโม... ๓ จบ แล้วกล่าวดังนี้

    สิกขัง ปัจจักขามิ คิหีติ มัง ธาเรถะ
    (ข้าพเจ้าลาสิกขา ท่านทั้งหลายจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นคฤหัสถ์) สำหรับแบบมหานิกายจะจบเพียงเท่านี้ แต่ในการลาสิกขาบทแบบธรรมยุตจะมีต่อไปอีกคือ
    เมื่อกล่าวเสร็จแล้วกราบพระสงฆ์ผู้มาเป็นพยานลง ๓ ครั้ง แล้วเข้าไปเปลี่ยนผ้าขาวแทนผ้าเหลืองโดยใช้สอดเข้าด้านในผ้าเหลือง แล้วห่มผ้าขาว หันหน้าเข้าหาพระสงฆ์ กราบลง ๓ ครั้ง กล่าวว่า เอสาหัง ภันเต สุจิรปรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ
    อุปาสะกัง มัง สังโฆ ธาเรตุ อัชชตัคเค ปาณุเปตัง สะระณัง คะตัง (ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ปรินิพพานนานแล้วนั้น กับพระธรรม และภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระสงฆ์จงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป)
    เสร็จแล้วพระที่เป็นประธานกล่าวคำให้ศีล ก็ว่าตามท่าน (ตอนนี้ถือว่าเป็นคฤหัสถ์แล้ว) จนท่านสรุปว่า อิมานิ ปัญจะ สิกขาปทานิ นิจจสีลวเสน สาธุกัง รักขิตัพพานิ เราก็รับว่า อาม ภันเต พระท่านก็จะกล่าวต่อว่า สีเลน สุคติ ยันติ... จนจบ เราก็กราบท่านอีก ๓ ครั้ง ถือบาตรน้ำมนต์ออกไปอาบน้ำมนต์ เมื่อพระภิกษุเริ่มหลั่งน้ำพระพุทธมนต์ท่านก็จะเริ่มสวดชัยมงคลคาถาให้ เสร็จแล้วอุบาสกก็ผลัดผ้าขาวอาบน้ำ แล้วก็นุ่งผ้าเป็นคฤหัสถ์ (ปกติจะเป็นชุดใหม่ทั้งหมด เพราะถือเหมือนว่าเป็นการเริ่มชีวิตใหม่เลยทีเดียว) เสร็จแล้วเข้ามากราบพระสงฆ์อีก ๓ ครั้งเป็นอันเสร็จพิธี
    [​IMG]
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เมื่อคิดจะบวช
    ที่มา http://www.salatham.com/

    ทำวัตรเช้า

    เมื่อพระเถระขึ้นศาลาสักการะบูชา พระทุกรูปก็นั่งคุกเข่าพร้อมกัน ว่าแล้วพระเถระจะกล่าวคำอภิวาท
    เริ่มด้วยการบูชาพระรัตนตรัยว่า

    โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
    สวากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม
    สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง
    อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามะ
    สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ
    ปัจฉิมาชะนะตานุกัมปะมานะสา
    อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ
    อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
    (แต่ถ้าแบบธรรมยุตพระเถระจะเริ่มจากที่นี่)
    อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา
    พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
    สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
    ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    สังฆัง นะมามิ (กราบ)

    (เฉพาะแบบธรรมยุต-ผู้สวดนำกล่าวผู้เดียวว่า ยะมัมหะ โข มะยัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา โย โน ภะคะวา สัตถา ยัสสะ จะ มะยัง ภะคะวะโต ธัมมัง โรเจมะ อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง สะสัทธัมมัง สะสาวะกะสังฆัง อะภิปูชะยามะ) ปุพพภาคนมการ

    (ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส)
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)
    พุทธาภิถุติ

    (ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง พุทธาภิถุติง กะโรมะ เส)
    โย โส ตะถาคะโต อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
    วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร
    ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง
    พุทโธ ภะคะวา โย อิมัง โลกัง สะเทวะกัง สะมาระกัง
    สะพรหมะกัง สัสสะมะณะพราหมะณิง ปะชัง สะเทวะมะนุสสัง
    สะยัง อะภิญญา สัจฉิกัตวา ปะเวเทสิ โย ธัมมัง เทเสสิ อาทิกัลยาณัง
    มัชเฌกัลยาณัง ปะริโยสานะกัลยาณัง สาตถัง สะพยัญชะนัง เกวะละปะริปุณณัง
    ปะริสุทธัง พรหมะจะริยัง ปะกาเสสิ ตะมะหัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ
    ตะมะหัง ภะคะวันตัง สิระสา นะมามิ (กราบ)
    ธัมมาภิถุติ

    (ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง ธัมมาภิถุติง กะโรมะ เส)
    โย โส สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
    สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก
    ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ
    ตะมะหัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ ตะมะหัง ธัมมัง สิระสา นะมามิ (กราบ)
    สังฆาภิถุติ

    (ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง สังฆาภิถุติง กะโรมะ เส)
    โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา
    เอสะภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลิกะระณีโย
    อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ
    ตะมะหัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ
    ตะมะหัง สังฆัง สิระสา นะมามิ (กราบ แล้วนั่งราบ)
    รตนัตตยัปปณามคาถา

    (ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง ระตะนัตตะยัปปะณามะคาถาโย เจวะ สังเวคะวัตถุปะริทีปะกะปาฐัญจะ ภะณามะ เส)
    พุทโธ สุสุทโธ กะรุณามะหัณณะโว
    โยจจันตะสุทธัพพะระญาณะโลจะโน
    โลกัสสะ ปาปูปะกิเลสะฆาตะโก
    วันทามิ พุทธัง อะหะมาทะเรนะ ตัง
    ธัมโม ปะทีโป วิยะ ตัสสะ สัตถุโน โย
    มัคคะปากามะตะเภทะภินนะโก
    โลกุตตะโร โย จะ ตะทัตถะทีปะโน
    วันทามิ ธัมมัง อะหะมาทะเรนะ ตัง
    สังโฆ สุเขตาภยะติเขตตะสัญญิโต
    โย ทิฏฐะสันโต สุคะตานุโพธะโก
    โลลัปปะหีโน อะริโย สุเมธะโส
    วันทามิ สังฆัง อะหะมาทะเรนะ ตัง
    อิจเจวะเมกันตะภิปูชะเนยยะกัง วัตถุตตะยัง
    วันทะยะตาภิสังขะตัง ปุญญัง มะยา ยัง
    มะมะ สัพพุปัททะวา มา โหนตุ เว ตัสสะ ปะภาวะสิทธิยา
    สังเวคปริกิตตนปาฐะ

    อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน
    อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
    ธัมโม จะ เทสีโต นิยยานิโก
    อุปะสะมิโก ปะรินิพพานิโก สัมโพธะคามี สุคะตัปปะเวทิโต
    มะยันตัง ธัมมัง สุตวา เอวัง ชานามะ

    ชาติปิ ทุกขา ชะราปิ ทุกขา มะระณัมปิ ทุกขัง
    โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา
    อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข
    ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
    สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา
    เสยยะถีทัง
    รูปูปาทานักขันโธ เวทะนูปาทานักขันโธ
    สัญญูปาทานักขันโธ สังขารูปาทานักขันโธ วิญญาณูปาทานักขันโธ
    เยสังปะริญญายะ ธะระมาโน โส ภะคะวา
    เอวัง พะหุลัง สาวเก วิเนติ
    เอวัง ภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะเกสุ
    อะนุสาสะนี พะหุลา ปะวัตตะติ
    รูปัง อะนิจจัง เวทะนา อะนิจจา สัญญา อะนิจจา
    สังขารา อะนิจจา วิญญาณัง อะนิจจา
    รูปัง อะนัตตา เวทะนา อะนัตตา สัญญา อะนัตตา
    สังขารา อะนัตตา วิญญาณัง อะนัตตา
    สัพเพ สังขารา อะนิจจา สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ
    เตมะยัง โอติณณามหะ ชาติยา ชะรามะระเณนะ
    โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ
    ทุกโขติณณา ทุกขะปะเรตา อัปเปวะนามิมัสสะ เกวะลัสสะ
    ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยา ปัญญาเยถาติ
    จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง
    ภะคะวันตัง สะระณังคะตา
    ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ
    ตัสสะ ภะคะวะโต สาสะนัง ยะถาสะติ ยะถาพะลัง
    มะนะสิกะโรมะ อะนุปะฏิปัชชามะ
    สา สา โน ปะฏิปัตติ
    อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ
    จบทำวัตรเช้า แต่อาจต่อด้วยคาถากรวดน้ำตอนเช้าดังนี้ ปัตติทานคาถา

    ยา เทวะตา สันติ วิหาระวาสินี ถูเป ฆะเร โพธิฆะเร ตะหิง ตะหิง ตา ธัมมะทาเนนะ ภะวันตุ ปูชิตา โสตถิง กะโรนเตธะ วิหาระมัณฑะเล เถรา จะ มัชฌา นะวะกา จะ ภิกขะโว สารามิกา ทานะปะตี อุปาสะกา คามา จะ เทสา นิคะมา จะ อิสสะรา สัปปาณะภูตา สุขิตา ภะวันตุ เต ชะลาพุชา เยปิ จะ อัณฑะสัมภะวา สังเสทะชาตา อะถะโวปะปาติกา นิยยานิกัง ธัมมะวะรัง ปะฏิจจะ เต สัพเพปิ ทุกขัสสะ กะโรนตุ สังขะยัง ฐาตุ จิรัง สะตัง ธัมโม ธัมมัทธะรา จะ ปุคคะลา สังโฆ โหตุ สะมัคโค วะ อัตถายะ จะ หิตายะ จะ อัมเห รักขะตุ สัทธัมโม สัพเพปิ ธัมมะจาริโน วุฑฒิง สัมปาปุเณยยามะ ธัมเม อะริยัปปะเวทิเต (จบแล้วว่า)
    อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา
    พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
    สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆังนะมามิ (กราบ)
    มาตาปิตุอุปัฏฐานัง อะหัง วันทามิ (กราบ)
    คะรุอุปัชฌายะอาจาริยะคุณัง อะหัง วันทามิ (กราบ)
    จบทำวัตรเช้าบริบูรณ์
    [​IMG]

    ทำวัตรเย็น

    เมื่อพระเถระขึ้นศาลาสักการะบูชา พระทุกรูปก็นั่งคุกเข่าพร้อมกัน ว่าแล้วพระเถระจะกล่าวคำอภิวาท
    เริ่มด้วยการบูชาพระรัตนตรัยว่า
    โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
    สวากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม
    สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง
    อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามะ
    สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ
    ปัจฉิมาชะนะตานุกัมปะมานะสา
    อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ
    อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ

    (แต่ถ้าแบบธรรมยุตพระเถระจะเริ่มจากที่นี่)
    อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา
    พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
    สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
    ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    สังฆัง นะมามิ (กราบ)
    (เฉพาะแบบธรรมยุติ-ผู้สวดนำกล่าวผู้เดียวว่า ยะมัมหะ โข มะยัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา โย โน ภะคะวา สัตถา ยัสสะ จะ มะยัง ภะคะวะโต ธัมมัง โรเจมะ อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง สะสัทธัมมัง สะสาวะกะสังฆัง อะภิปูชะยามะ) ปุพพภาคนมการ

    (แบบธรรมยุตผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะทานิ มะยันตัง ภะคะวันตัง วาจายะ อภิคายิตุง ปุพพะภาคะ นะมะการัญเจวะ พุทธานุสสะตินะยัญจะ กะโรมะ เส)
    (แบบมหานิกายผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส)
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต
    อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า ๓ จบแล้วกราบ 3 ครั้ง)
    พุทธานุสสติ

    (ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง พุทธานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส)
    ตัง โข ปะนะ ภะคะวันตัง
    เอวัง กัลยาโณ กิตติสัทโท อัพภุคคะโต
    อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
    วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
    อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
    สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ
    พุทธาภิคีติ

    (ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง พุทธาภิคีติง กะโรมะ เส)
    พุทธะวาระหันตะวะระตาทิคุณาภิยุตโต
    สุทธาภิญาณะกะรุณาหิ สะมาคะตัตโต
    โพเธสิ โย สุชะนะตังกะมะลังวะ สูโร
    วันทามะหัง ตะมะระณัง สิระสา ชิเนนทัง
    พุทโธ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง
    ปะฐะมานุสสติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง
    พุทธัสสาหัสมิ ทาโส (ทาสี) วะ พุทโธ เม สามิกิสสะโร
    พุทโธ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม
    พุทธัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง
    วันทันโตหัง จะริสสามิ พุทธัสเสวะ สุโพธิตัง
    นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง
    เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน
    พุทธัง เม วันทะมาเนนะ ยังปุญญัง ปะสุตัง อิธะ
    สัพเพปิ อันตะระยา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา
    (กราบหนึ่งครั้ง)

    กาเยนะ วาจายะ วะเจตะสา วา
    พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยายัง
    พุทโธ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะ ยันตัง
    กาลันตะเร สังวะริตุง วะพุทเธ ธัมมานุสสติ

    (ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง ธัมมานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส)
    สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
    สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก
    โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูฮีติ
    ธัมมาภิคีติ

    (ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง ธัมมาภิคีติง กะโรมะ เส)
    สวากขาตะตาทิคุณะโยคะวะเสนะ เสยโย
    โย มัคคะปากะปะริยัตติวิโมกขะเภโท
    ธัมโม กุโลกะปะตะนา ตะทะธาริธารี
    วันทามะหัง ตะมะหะรัง วะระธัมมะเมตัง
    ธัมโม โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง
    ทุติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง
    ธัมมัสสาหัสมิ ทาโส วะ ธัมโม เม สามิกิสสะโร
    ธัมโม ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม
    ธัมมัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง
    วันทันโตหัง จะริสสามิ ธัมมัสเสวะ สุธัมมะตัง
    นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง
    เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุ สาสะเน
    ธัมมัง เมวันทะมาเนนะ ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ
    สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา
    กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา
    ธัมเม กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง
    ธัมโม ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง
    กาลันตะเร สังวะริตุง วะ ธัมเม
    สังฆานุสสติ

    (ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง สังฆานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส)
    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา
    เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    อายุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย
    อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสา ติ
    สังฆาภิคีติ

    (ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง สังฆาภิคีติง กะโรมะ เส)
    สัทธัมมะโช สุปะฏิปัตติคุณาทิยุตโต
    โยฏฐัพพิโธ อะริยะปุคคะละสังฆะเสฏโฐ
    สีลาทิธัมมะปะวะราสะยะกายะจิตโต
    วันทามะหัง ตะมะริยานะคะณัง สุสุทธัง
    สังโฆ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง
    ตะติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง
    สังฆัสสาหัสมิ ทาโส วะ สังโฆ เม สามิกิสสะโร
    สังโฆ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม
    สังฆัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง
    วันทันโตหัง จะริสสามิ สังฆัสโสปะฏิปันนะตัง
    นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณัง วะรัง
    เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุ สาสะเน
    สังฆัง เม วันทะมาเนนะ ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ
    สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา
    กาเยนะ วาจายะ เจตะสา วา
    สังเฆ กุกัมมัง ปะกะตัง มายา ยัง
    สังโฆ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง
    กาลันตะเร สังวะริตุง วะ สังเฆ
    จบทำวัตรเย็น
    [​IMG]
     
  5. tum399

    tum399 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    732
    ค่าพลัง:
    +2,908
    ทำไมคนที่อยู่ในนรกไม่ใส่เสื้อผ้าครับ หากทำสังฆทานไปให้แล้วจะได้ใส่เสื้อผ้าไหมครับ
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    นรก

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


    Jump to: navigation, ค้นหา
    <!-- start content -->[​IMG] [​IMG]
    ภาพแสดงนรก วาดโดย Herrad von Landsberg


    นรก (สันสกฤต, บาลี : นรก; อาหรับ: นารฺ, ญะฮันนัม, ศอก็อร; อังกฤษ hell) หมายถึง ภพหนึ่งในคติของศาสนาต่าง ๆ เช่น อิสลาม คริสต์ พุทธและยูได อันเป็นสถานที่ตอบแทนความชั่วของมนุษย์ที่ได้ทำไปเมื่อครั้งที่ยังมีชีวิตอยู่บนโลกนี้
    ในความเชื่อทางพุทธ นรก แปลว่า ภูมิหรือดินแดนที่ปราศจากความเจริญ, หุบเหวแห่งความทุกข์
    นรก เป็นภูมิที่เกิดของผู้ที่ทำบาปกรรมไว้หลังจากตายไปแล้ว เป็นภูมิที่มีแต่ความทุกข์ทรมาน หาความสุขมิได้ เป็นภูมิหนึ่งในจำนวนอบายภูมิ 4 เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า นรกภูมิ
    นรก มีหลายชั้น ตามกรรมของผู้ทำ เช่น โลหกุมภีนรก (นรกหม้อทองแดง) สิมพลีนรก (นรกต้นงิ้ว)
    เรียกการไปเกิดในนรกว่า ตกนรก
    มีอีกคำหนึ่งซึ่งใช้แทนคำว่า นรก และมีความหมายเหมือนกันคือคำว่า นิรย เช่นใช้ว่า
    • นิรยภูมิ (แผ่นดินนรก)
    • นิรยบาล (ผู้ดูแลนรก ผู้คุมนรก)
    [แก้] อ้างอิง


    <TABLE style="BORDER-TOP: #cccccc 3px double; FONT-SIZE: 90%; BACKGROUND: none transparent scroll repeat 0% 0%; BORDER-BOTTOM: #cccccc 1px solid; POSITION: relative" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD> นรก เป็นบทความเกี่ยวกับ ความเชื่อ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.dmc.tv/pages/guide/page07.html
    ปรโลก ฝ่ายทุคติ
    [ 1 ม.ค. 2549 ] - [ คนอ่าน : 2337 ]



    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=black3 vAlign=top>
    ปรโลก ฝ่ายทุคติ



    ปรโลกฝ่ายทุคติ คือสถานที่ที่เต็ม ไปด้วยความทุกข์เรียกว่าอบายภูมิมี 4 แห่ง การแบ่งภูมิต่างๆ ในทุคติอาจเปรียบได้กับ การแบ่งแดนต่างๆ ในเรือนจำ ซึ่งแบ่งแดน กักขังนักโทษตามความหนักเบาของแต่ละคนดังนี้


    1. นรก หรือ นิรยภูมิ



    จัดอยู่ใน อบายภูมิอันดับที่ 1 เป็นดินแดนที่ปราศจาก ความสุขสบาย สัตว์ที่ตกลงไปสู่นรก เพราะ บาปกรรมชั่วที่ตนกระทำไว้เป็นอาจิณกรรม เมื่อตกลงไปแล้วจะได้รับทุกข์ทรมานอย่าง แสนสาหัส ไม่มีเวลาว่างเว้นจากการทัณฑ์ ทรมาน นรก มีที่ตั้งอยู่ใต้เขาตรีกูฏ มีทั้งหมด 8 ขุมใหญ่ ที่เรียกว่า มหานรก และยังมีขุม บริวาร เรียกว่า อุสสทนรก อีก 128 ขุม มี นรกขุมย่อย ที่เรียกว่า ยมโลก อีก 320 ขุม



    </TD><TD class=black3 vAlign=top>[​IMG]





    </TD><TD class=black3></TD></TR><TR><TD class=black3 vAlign=top>



    2. ภูมิ เปรต หรือ เปตติวิสยภูมิ



    จัดอยู่ในอบายภูมิอันดับที่ 2 เป็นดินแดนที่ มีแต่ความเดือดร้อนอดอยาก หิวกระหาย เปรต แบ่งออกเป็นหลายประเภท แต่ที่นิยม แบ่งกันมาก คือ เปรต 12 ตระกูล ที่อยู่ของ เปรต นั้นอยู่ที่ซอกเขาตรีกูฏ และมีปะปน อยู่กับมนุษย์โลกด้วย แต่เป็นภพที่ละเอียดกว่า เหตุที่ทำให้มาเป็น เปรต เพราะได้ทำ อกุศลกรรมประเภทตระหนี่ หวงแหนทรัพย์ เป็นหลัก การเกิดเป็นเปรตนั้นมี 2 ลักษณะ คือ ผ่านมาจากมหานรก อุสสทนรก และยมโลก หรือเกิดจากมนุษย์ผู้กระทำอกุศลกรรม ละโลกแล้วไปเกิดเป็น เปรต



    </TD><TD class=black3 vAlign=center>[​IMG]


    </TD><TD class=black3></TD></TR><TR><TD class=black3 vAlign=top>



    3. อสุรกาย ภูมิ



    จัดอยู่ในอบายภูมิ อันดับที่ 3 เป็นดินแดนที่ปราศจากความ ร่าเริง อสุรกายมีลักษณะคล้ายกับเปรตมาก แยกแยะได้ยาก และอยู่ในภพภูมิเดียวกัน กับเปรต คือ ที่ซอกเขาตรีกูฏ มีรูปร่าง ประหลาดพิลึกกึกกือ เช่น มีหัวเป็นหมู ตัวเป็นคน มีความเป็นอยู่ที่แสนยากลำบาก เช่นเดียวกับเปรต คือ อยู่ด้วยความหิว กระหาย แต่หนักไปทางกระหายน้ำมากกว่าอาหาร ที่ต้องเกิดมาเป็นอสุรกายเพราะ ความโลภอยากได้ของผู้อื่นในทางมิชอบ



    </TD><TD class=black3 vAlign=center>[​IMG]</TD><TD class=black3></TD></TR><TR><TD class=black3 vAlign=top>



    4. ติรัจฉานภูมิ

    เป็นอบายภูมิอันดับสุดท้าย ที่ มีความทุกข์ทรมานน้อยกว่าสัตว์ที่เกิดใน นรก เปรต และอสุรกาย ที่ชื่อ เดียรัจฉาน เพราะมีลำตัวไปทางขวาง อกขนานกับพื้น และจิตใจก็ขวางจากหนทางพระนิพพาน ด้วย ที่อยู่ของสัตว์เดียรัจฉานนี้ อยู่ปะปน กับมนุษย์ทั่วไป



    </TD><TD class=black3 vAlign=center>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    นรก คืออะไร ตายแล้วไปไหน?
    [ 1 ม.ค. 2549 ] - [ คนอ่าน : 40919 ]



    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=left colSpan=2>
    นรก คือ อะไร?




    ตายแล้วไปไหน? สถานที่ที่มนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ต้องเวียนว่ายตายเกิดมีอยู่ 31 ภูมิ หาก อยากจะทราบว่าใครตายแล้วไปไหน หรือ อยากทราบว่า..ตัวเราเองเมื่อตายแล้วจะต้องไปอยู่ที่ใด ก็มีวิธีสังเกตง่ายๆ คือ เมื่อตอนยังมีชีวิตอยู่ เราชอบทำอย่างไร พอตายแล้ว ก็ต้องไปรับผลแห่งการกระทำ ของตนเองอย่างนั้น เรียกได้ว่า “ตายแล้ว ก็ไปสู่ที่ชอบ...ที่ชอบ” เช่น


    </TD><TD>


    </TD></TR><TR><TD class=black3 vAlign=top>


    นรกขุมที่ 1 สัญชีวนรก



    เป็นสถานที่สำหรับพวกที่ชอบฆ่าสัตว์ ชอบบี้มดตบยุงเป็น ประจำ หรือฆ่ามนุษย์ด้วยกัน รวมทั้ง ฆ่าตัวตาย ด้วย ตายแล้วก็ต้องไปตก นรกขุม ที่ 1 ชื่อว่า สัญชีวนรก ซึ่งเกิดขึ้นมาเพื่อรองรับผู้ที่ชอบการฆ่าโดยเฉพาะ ตัวอย่างวีดีโอ: สัญชีวนรก


    </TD><TD class=black3 vAlign=top>[​IMG]









    </TD><TD class=black3></TD></TR><TR><TD class=black3 vAlign=top>



    นรก ขุมที่ 2 กาฬสุตตนรก



    เป็นสถานที่สำหรับพวกที่ชอบลักขโมย ฉ้อโกง ตายแล้วก็ ต้องไปตกนรกขุมที่ 2 ชื่อว่า กาฬสุตตนรก



    </TD><TD class=black3 vAlign=center>[​IMG]</TD><TD class=black3></TD></TR><TR><TD class=black3 vAlign=top>



    นรก ขุมที่ 3 สังฆาฏนรก



    เป็นสถานที่สำหรับพวกที่ชอบประพฤติผิดในกาม ตายแล้ว ก็ต้องไปตกนรกขุมที่ 3 ชื่อว่า สังฆาฏนรก



    </TD><TD class=black3 vAlign=center>[​IMG]</TD><TD class=black3></TD></TR><TR><TD class=black3 vAlign=top>


    นรก ขุมที่ 4 โรรุวนรก



    เป็นสถานที่สำหรับพวกที่ชอบพูดโกหก พูดคำหยาบ พูด ส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ ตายแล้วก็ต้องไป ตกนรกขุมที่ 4 ชื่อว่า โรรุวนรก


    </TD><TD class=black3 vAlign=center>[​IMG]</TD><TD class=black3></TD></TR><TR><TD class=black3 vAlign=top>



    นรก ขุมที่ 5 มหาโรรุวนรก



    เป็นสถานที่สำหรับพวกที่ชอบดื่มสุรา หรือเสพสิ่งมึนเมา ยาเสพติด ตายแล้วก็ต้องไปตกนรกขุมที่ 5 ชื่อว่า มหาโรรุวนรก ตัวอย่างวีดีโอ: มหาโรรุวนรก



    </TD><TD class=black3 vAlign=center>[​IMG]</TD><TD class=black3></TD></TR><TR><TD class=black3 vAlign=top>



    นรก ขุมที่ 6 ตาปนนรก



    เป็นสถานที่สำหรับพวกที่ชอบเล่นการพนันทุกชนิด ตายแล้วก็ต้องไปตกนรกขุมที่ 6 ชื่อว่า ตาปนนรก



    </TD><TD class=black3 vAlign=center>[​IMG]</TD><TD class=black3></TD></TR><TR><TD class=black3 vAlign=top>



    นรก ขุมที่ 7 มหาตาปนนรก



    เป็นสถานที่สำหรับพวกที่ชอบเที่ยวกลางคืน มัวเมาในอบายมุข ตายแล้วก็ต้องไปตกนรกขุมที่ 7 ชื่อว่า มหาตาปนนรก



    </TD><TD class=black3 vAlign=center>[​IMG]</TD><TD class=black3></TD></TR><TR><TD class=black3 vAlign=top>



    นรก ขุมที่ 8 อเวจีนรก



    เป็นสถานที่สำหรับพวกที่ทำอนันตริยกรรม เช่น ฆ่าบิดา มารดา ฆ่าพระอรหันต์ ทำสงฆ์ให้แตก กัน หรือทำพระพุทธเจ้าให้ห้อพระโลหิต ตายแล้วก็ต้องไปตกนรกขุมที่ 8 มีชื่อว่า อเวจีนรก (ถึงแม้จะทำแค่เพียงครั้งเดียว ไม่ว่าด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม ก็ถือเป็นกรรม ที่หนักมาก ต้องตกอเวจีมหานรก ได้รับ ทัณฑ์ทรมานที่แสนสาหัส มีอายุยาวนาน กว่านรกขุมอื่นๆ)


    </TD><TD class=black3 vAlign=center>[​IMG]</TD><TD class=black3></TD></TR><TR><TD class=black3 vAlign=top>


    ในทางตรงกันข้าม ถ้าชอบทำทาน รักษาศีล นั่งสมาธิเจริญภาวนา หรือชอบ บำเพ็ญบุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ ก็จะมีสวรรค์ 6 ชั้น พรหม 16 ชั้น อรูปพรหม 4 ชั้น เป็นที่ไปเสวยผลบุญหลังจากละสังขารในโลกมนุษย์แล้ว
    สำหรับคนที่เป็นประเภทวัดก็เข้า เหล้าก็กิน บุญก็ทำบาปกรรมก็สร้าง อย่าง นี้ก็ต้องไปประเมินผลกันตอนใกล้จะละโลก อีกที ช่วงนั้นเรียกว่า “ศึกชิงภพ” ขึ้นอยู่ว่า บุคคลผู้นั้น มีจิตเกาะเกี่ยวอยู่กับสิ่งที่เป็น บุญหรือเป็นบาป ถ้านึกถึงบุญได้ จิตผ่องใส ในขณะสิ้นลม ก็ได้ไปสู่สุคติภูมิก่อน (แล้ว บาปกรรมที่ทำไว้จะตามมาส่งผลในภายหลัง) แต่ถ้าช่วงนั้นใจนึกถึงสิ่งที่ทำไม่ดีไว้ จิตใจเศร้าหมองในขณะสิ้นลม ก็จะไปสู่ ทุคติภูมิก่อน (แล้วผลบุญตามมาส่งผลใน ภายหลัง)



    </TD><TD class=black3 vAlign=center></TD></TR></TBODY></TABLE>

    สวรรค์ ทำบุญอะไรจึงได้ไปสวรรค์ในแต่ละชั้น
    [ 1 ม.ค. 2549 ] - [ คนอ่าน : 8744 ]



    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=left colSpan=2>
    ยมโลก อุสสทนรก มหานรก ต่างกันอย่างไร ?

    [​IMG]


    </TD></TR><TR><TD class=black3 vAlign=top align=justify colSpan=2>



    *มหานรก เป็นนรกขุมใหญ่ มี 8 ขุม อยู่ลึกไปตามลำดับ จากขุมที่ 1 ซึ่งมีขนาดเล็กไปถึงขุมที่ 8 ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุด



    อุสสทนรก เป็นนรกขุมบริวาร อยู่รอบๆ มหานรกขุมใหญ่ทั้ง 4 ทิศ มี 128 ขุม



    ยมโลก เป็นนรกขุมย่อยๆ อยู่รอบนอกของอุสสทนรก มี 320 ขุม รวมทั้งหมด นรกมี 456 ขุม เป็นภพละเอียดอยู่ลึกลงไปใต้เขาพระสุเมรุที่มีเขาตรีกูฏ 3 ลูก รองรับอยู่ เกิดขึ้นด้วยกระแสบาปของมนุษย์ เป็นแดนสำหรับลงทัณฑ์ทรมานกายละเอียดของอดีตมนุษย์ที่ทำบาปอกุศล


    </TD></TR><TR><TD class=black3 vAlign=top align=justify width="68%">


    สภาพของมหานรก



    มีความร้อนแรงมาก ไฟในมหานรกนั้นร้อนแรงกว่าในอุสสทนรกและยมโลกเป็นล้านๆ เท่า ไฟในยมโลกยังมีสีสันคล้ายกับไฟในเมืองมนุษย์ คือ พอ มองออก แต่ไฟในมหานรกนั้นมีเปลวสีดำ ภพของมหานรก ก็ ใหญ่กว่า อายุของสัตว์นรกก็ยืนยาวกว่า หากเปรียบเทียบ กันแล้ว อุสสทนรกกับยมโลกเป็นสถานที่ที่มนุษย์ไปรับผลกรรมที่เป็นเศษกรรมเท่านั้น แต่ในมหานรกนั้นคือ ส่วนเต็มๆ ของกรรม


    </TD><TD class=black3 vAlign=top align=justify width="32%">[​IMG]



    </TD></TR><TR><TD class=black3 vAlign=top align=justify colSpan=2>


    ผู้ที่ตกไปอยู่ในมหานรก คืออดีตมนุษย์หรือสัตว์ที่ทำ กรรมชั่วหนักๆ หรือทำกรรมชั่วอยู่เป็นประจำเมื่อตายแล้ว กระแสบาป จะดึงดูดกายละเอียดลงไปเกิดในมหานรกทันที ไม่ได้มีใครมารับตัวเหมือนไป ยมโลก สัตว์นรกในมหานรกจะถูกลงทัณฑ์ที่แตกต่างหลากหลาย ได้รับความทุกข์ทรมาน อย่างแสนสาหัส มีนายนิรยบาลหรือนางนิรยบาล ซึ่งเป็นธาตุกายสิทธิ์ไม่มีชีวิตจิตใจ เกิดขึ้นด้วยอำนาจของ บาปอกุศล ร่างกายใหญ่โตมโหฬารสูงใหญ่ปานภูเขา มีสีผิวดำมืด เหมือนกับถ่าน คอยลงทัณฑ์ทรมานสัตว์นรก โดยไม่มีเวลาหยุดพักแม้สักวินาทีเดียว จนสิ้นอายุขัยของสัตว์นรกนั้น กว่าจะพ้นจากมหานรกได้ก็ยาวนานมาก ตั้งแต่ 1,620,000 ล้านปีมนุษย์ จนถึง 1 อันตรกัป* เลยทีเดียว ใช้กรรมในมหานรกเสร็จแล้ว ต้องไปรับ ผลกรรมต่อที่อุสสทนรกขุมบริวารอีก


    </TD></TR><TR><TD class=black3 vAlign=top align=justify>



    อุสสทนรก



    เป็นนรกขุมบริวารที่มีขนาดเล็กกว่ามหานรก และการทัณฑ์ทรมาน ก็เบาบางกว่า เช่น เป็นนรกอุจจาระเน่า นรกขี้เถ้าร้อน นรกป่าไม้งิ้ว นรกป่าไม้ใบดาบ เป็นต้น สัตว์นรกที่นี่จะมีความทุกข์น้อยกว่าในมหานรก ไฟนรกร้อนแรงน้อยกว่า และยังพอมีเวลาว่างเว้นจากการทัณฑ์ทรมานบ้างเล็กน้อย ผู้ที่อยู่ในอุสสทนรก มาจากสัตว์นรกที่ใช้กรรมในมหานรกมาเบาบางแล้ว จึงมาใช้ เศษกรรมในอุสสทนรกต่อ เมื่อได้รับทัณฑ์ทรมานอยู่ในอุสสทนรกเป็นระยะเวลายาวนานมาก จนกระทั่งกรรมเบาบาง ก็จะวิ่งหนีทะลุมิติไปเข้าสู่เขตของยมโลก เพื่อไปรับวินิจฉัยบุญบาปในยมโลกต่อไป


    </TD><TD class=black3 vAlign=top align=justify>[​IMG]



    </TD></TR><TR><TD align=left colSpan=2>



    [​IMG]


    </TD></TR><TR><TD class=black3 vAlign=top align=justify colSpan=2>
    ยมโลก



    เป็นนรกขุมย่อยๆ อยู่รอบนอก อุสสทนรก นอกจากจะเป็นสถานที่ลงทัณฑ์ทรมานแล้วยังมีความพิเศษกว่าอุสสทนรกและมหานรก คือ



    1. เป็นสถานที่วินิจฉัยบุญบาปของสัตว์นรกที่มาจากอุสสทนรก ว่าจะให้ไปรับทัณฑ์ทรมานที่นรกขุมไหนต่อ หรือให้ไปเกิดยังภพภูมิต่างๆ เช่น ให้ไปเกิดเป็นมนุษย์หรือไปเกิดเป็นสัตว์เดียรัจฉาน เปรต อสุรกาย เป็นต้น



    2. เป็นสถานที่ตัดสินบุญบาปของผู้ที่ตายจากเมืองมนุษย์ ที่ใจไม่เศร้าหมองแต่ ก็ไม่ผ่องใส เมื่อตัดสินแล้วก็จะส่งไปเกิดตามภพภูมิต่างๆ เช่น ให้ไปเกิดเป็นมนุษย์ใหม่ หรือไปเกิดเป็นสัตว์เดียรัจฉาน เปรต อสุรกาย สัตว์นรก หรือชาวสวรรค์ เป็นต้น



    3. หากมีมนุษย์ผู้ใดทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว แต่ผู้ตายยังอยู่ใน ภพภูมิที่ไม่สามารถรับบุญได้ บุญนั้นจะมาคอยอยู่ที่ยมโลกเพื่อรอส่งผล โดยเฉพาะวันพระ ขึ้น 15 ค่ำ พระจันทร์เต็มดวง ในยมโลกจะหยุดการลงทัณฑ์ทรมานชั่วขณะหนึ่ง หากมีคน ในเมืองมนุษย์ทำบุญอุทิศส่วนกุศลมาให้ บุญนั้นจะถึงแก่สัตว์นรกในทันที ทำให้ระยะเวลาที่ ต้องได้รับทัณฑ์ทรมานสั้นลง หรืออาจพ้นกรรมไปเกิดเป็นมนุษย์หรือไปเกิดในภพภูมิอื่น เราอาจจะถือได้ว่า ยมโลกเป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อระหว่างภพมนุษย์กับ ภพภูมิอื่นๆ ก็ได้ เพราะเป็นที่รองรับสัตว์นรกที่มาจากอุสสทนรก และรองรับกายละเอียด ที่ตายจากเมืองมนุษย์ เพื่อมาตัดสินบุญบาปแล้วส่งไปเกิดในภพภูมิต่างๆ


    </TD></TR><TR><TD class=black3 vAlign=top align=justify>


    เมื่อมนุษย์ตายลง ไม่ใช่ว่าเจ้าหน้าที่จะมารับตัวไปที่ยมโลกทุกรายเสมอไป ผู้ใดทำบุญหรือบาปไว้มาก กำลังบุญหรือบาปนั้น จะดึงดูดไปสู่ภพภูมิที่เหมาะสมเอง แต่ถ้าบุญ ก็ทำบาปก็สร้างปะปนกันไป ในขณะใกล้ตายจิต ไม่ถึงกับเศร้าหมอง แต่ก็ไม่ผ่องใส หรือ ตายด้วยอุบัติเหตุไม่ทันได้รู้ตัว กายละเอียดจะหลุดออกมายืนมองเห็นตัวเอง พูดกับใคร ก็ไม่มีใครพูดด้วย เมื่อนั้นจึงรู้ว่าตัวเองตายแล้ว


    </TD><TD class=black3 vAlign=top align=justify>[​IMG]



    </TD></TR><TR><TD class=black3 vAlign=top align=justify colSpan=2>
    ในระหว่าง 7 วันนั้น ถ้ากาย ละเอียดของผู้ตายนึกถึงบุญที่ตนเคย ทำไว้ได้ ใจก็จะผ่องใสได้ไป เกิดใหม่ในภพภูมิที่เป็นสุคติ แต่ถ้านึกถึงบุญไม่ออก พอครบ 7 วัน ก็จะมีเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นกุมภัณฑ์ นุ่งผ้าหยักรั้งสีแดง ถือโซ่ตรวนและหอก แหลมมารับเอาตัวไป ถ้ากายละเอียดขัดขืน กุมภัณฑ์ซึ่งมีกำลังมากกว่า จะทุบตีลากจูง พาเดินไปไม่กี่ก้าวก็ผ่านอุโมงค์ทะลุมิติไปถึงหน้าประตูยมโลก ไปที่ลานตัดสิน ซึ่งมีสภาพมืด บรรยากาศทึมๆ ร้อนอบอ้าวมาก แต่ก็มืดและร้อนน้อยกว่าในอุสสทนรกและในมหานรกหลายล้านเท่า



    ทั้งสองข้างทางมีเจ้าหน้าที่ยืนเรียงรายถืออาวุธสลับกับประทีปโคมไฟที่ร้อนแรง น่าสะพรึงกลัว หดหู่ และน่าสยดสยอง พอไปถึงโรงพิพากษา ก็ต้องนั่งคุกเข่าต่อหน้าพญายมราช เพื่อทำการไต่ถาม ช่วยให้นึกถึงบุญ และถ้านึกถึงบุญที่เคยทำไว้ได้ เจ้าหน้าที่ก็จะพาไปเกิดใหม่ในสุคติภูมิ แต่ถ้านึกถึง บุญไม่ออกและมีบาปที่ตนเองเคยทำไว้ ก็ต้องถูกส่งไปเกิดในทุคติภูมิ เป็นสัตว์เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย หรือไปรับโทษทัณฑ์ทรมานในขุมนรกของยมโลก โดยมีกุมภัณฑ์ที่มีหน้าที่ ลงทัณฑ์ทรมาน มีร่างกายสูงใหญ่ สูงยิ่งกว่าต้นยางนาสูงๆ สีผิวดำแดง ดำอมเขียวหรือ ดำอมม่วง น่ากลัวมาก แต่ยังดูดีกว่านายนิรยบาลในมหานรก กุมภัณฑ์เหล่านี้เป็นยักษ์ ชนิดหนึ่งอยู่ในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา หมุนเวียนกันมาทำหน้าที่เป็นช่วงๆ




    ---------------------------------------------------


    * มก. ปรมัตถทีปนี เล่ม 44 หน้า 234
    อันตรกัป* นับดังนี้คือ ในสมัยต้นกัปมนุษย์มีอายุยืนถึงอสงไขยปีเป็นอายุกัป ต่อมาอายุของมนุษย์ค่อยๆ ลดลงจนกระทั่งถึง 10 ปี เป็นอายุกัป แล้วอายุของมนุษย์ค่อยเพิ่มขึ้นอีก จนถึงอสงไขยปีเป็นอายุกัปอย่างเก่าอีก ระยะเวลานับแต่อายุไขลงจนไขขึ้นเท่าเดิมดังนี้คู่หนึ่ง เรียกว่า 1 อันตรกัป)



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มีนาคม 2007
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.dmc.tv/pages/guide/page04.html
    ปรโลกและชีวิตหลังความตาย คืออะไร
    [ 1 ม.ค. 2549 ] - [ คนอ่าน : 4104 ]

    ปรโลก และ ชีวิตหลังความตาย คืออะไร

    คำว่า ปรโลก หมายความว่า โลกหน้าหรือโลกอื่นที่ไม่ใช่โลกมนุษย์นี้ โลกนี้และโลกหน้ามีทั้งหมด 31 ภูมิ เป็น สถานที่อยู่ของชีวิตหลังความตาย และเป็นของสากลที่ทุกคนไปอยู่ได้ โดยไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา อุปมา เหมือนผู้ที่กระทำผิดกฎหมาย และต้องเข้าคุก ไม่ว่าผู้นั้นจะมีเชื้อชาติ ศาสนา หรือเผ่าพันธุ์ ใดก็ตาม หากกระทำผิดก็มีสิทธิ์เข้าคุกได้ แสดงให้ เห็นว่า คุกเป็นของสากล เพราะฉะนั้น สถานที่อยู่ของชีวิตหลังความตายหรือปรโลกก็เช่นกัน เป็นของสากล ที่มนุษย์ ทุกคนต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน 31 ภูมิ นี้จนกว่าจะกำจัดกิเลสให้หมดสิ้นไป จึงจะเข้าสู่นิพพาน
    *ปรโลก แบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายใหญ่ๆ คือ ฝ่ายสุคติภูมิ และฝ่ายทุคติภูมิ เป็น สถานที่หมุนเวียนให้กับสรรพสัตว์ทั้งหลาย ที่ประกอบกุศลกรรมและอกุศลกรรม ได้ วนเวียนไปมา เสวยสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ตาม แต่อกุศลและกุศลที่ได้สั่งสมไว้เมื่อครั้ง เป็นมนุษย์
    * มก. อรรถกถาสุปปวาสสูตร เล่ม 44 หน้า 233

    ทำบุญอะไรจึงจะได้ไปสวรรค์ในแต่ละชั้น?
    [ 1 ม.ค. 2549 ] - [ คนอ่าน : 14374 ]


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=black3 vAlign=top>
    ทำบุญอะไรจึงได้ไปสวรรค์ในแต่ละชั้น?



    *สวรรค์



    คือ ภูมิอันเป็นที่อยู่ของเทวดา เป็นโลกที่อยู่อาศัยของกายละเอียดอันเป็นทิพย์ ที่มีรัศมีสว่างไสวรอบกายตลอดเวลา มีทั้งหมด 6 ชั้น



    เหตุที่ทำให้มาเกิดเป็นเทวดาเพราะได้ สร้างบุญกุศลไว้เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ เมื่ออุบัติขึ้นก็ตั้งอยู่ในวัยหนุ่มสาวทันที งดงามตลอดเวลา จนกว่าจะถึงเวลาจุติ ไม่มีความแก่บังเกิดขึ้นเหมือนในเมืองมนุษย์



    วิมานปราสาทคือที่อยู่อาศัยของเทวดา ล้วนมีความวิจิตรงดงาม มีขนาดแตกต่างกัน มี ความเป็นอยู่สะดวกสบาย มีอาหารทิพย์บังเกิด ขึ้น มีบริวารคอยรับใช้ใกล้ชิด เสื้อผ้าเป็นทิพย์ วิจิตรงดงาม บังเกิดขึ้นให้สวมใส่ กิจกรรมแต่ละวันก็มีการเที่ยวเพลิดเพลินบันเทิงอยู่กับการชมสวน



    การสังสรรค์กันระหว่างทวยเทพทั้งหลาย ส่วนจะอุบัติขึ้น ณ สวรรค์ชั้นไหน เป็น เทวดาประเภทใด และอยู่ในฐานะอะไรนั้น ก็ ขึ้นอยู่กับบุญที่ตัวเองสั่งสมมาเมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ ซึ่งได้มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 37 เรื่อง ทานสูตร สรุปย่อได้ดังนี้ ---------------------------------------------------


    * มก. อุโปสถสูตร เล่ม 34 หน้า 382




    </TD><TD class=black3 vAlign=top>[​IMG]










    </TD><TD class=black3 width=15></TD></TR><TR><TD class=black3 vAlign=top>


    เกิดบนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา



    มีจาก หลายสาเหตุ คือ เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ทำบุญไม่ ค่อยเป็นไม่รู้หลักการทำบุญ และไม่ค่อยได้สั่งสม บุญ นานๆ ทำครั้งหนึ่ง เมื่อทำก็ทำน้อย หรือ ทำบุญเอาคุณ บุญที่ได้ก็ไม่บริสุทธิ์ ไม่สมบูรณ์ บาปในตัวก็มีอยู่ แต่ว่าบุญมากกว่า เมื่อละโลกใจนึกถึงบุญก่อนก็ไปสวรรค์ชั้นนี้ ซึ่งตั้งอยู่ ณ เชิงเขาสิเนรุ สวรรค์ชั้นนี้จะมีความหลากหลายมากที่สุด เพราะอยู่ใกล้ชิดกับพื้นมนุษย์มากกว่าสวรรค์ชั้นอื่นๆ และมีบางส่วนที่มีที่อยู่ซ้อนกับภูมิมนุษย์ ที่ได้ชื่อสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา เพราะมีเทพผู้เป็นใหญ่ครองสวรรค์ชั้นนี้อยู่ 4 ท่าน คือ ท้าวธตรฐ ปกครองเทวดา 3 พวก ได้แก่ คนธรรพ์ วิทยาธร กุมภัณฑ์ ท้าววิรุฬหก ปกครองพวกครุฑ ท้าววิรูปักษ์ ปกครองพวกนาค ท้าวเวสสุวรรณ ปกครองพวกยักษ์



    </TD><TD class=black3 vAlign=center>[​IMG]</TD><TD class=black3></TD></TR><TR><TD class=black3 vAlign=top>


    เกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์



    คือเมื่อครั้งเป็นมนุษย์ ทำบุญเพราะเห็นว่าเป็นสิ่งดีงาม เป็นสิ่งที่ควรทำ กระทำแล้วก็สั่งสมบุญ สั่งสมเทวธรรม มีหิริ โอตตัปปะด้วย เมื่อละโลกก็จะไปบังเกิดบนสวรรค์ชั้นนี้ ซึ่งตั้งอยู่ที่หน้าตัดของเขาสิเนรุ ที่ชื่อว่า ดาวดึงส์ เพราะเป็นที่อยู่ของเทพผู้ปกครองภพถึง 33 องค์ โดยมีท้าวสักกเทวราช หรือพระอินทร์ เป็นประธาน และที่สำคัญมีพระธาตุจุฬามณี ซึ่งทุกวันพระเทวดาจะมาประชุมกันที่สุธรรมาเทวสภา เพื่อรับฟังโอวาทจากท้าวสักกะ


    </TD><TD class=black3 vAlign=center>[​IMG]

    </TD><TD class=black3></TD></TR><TR><TD class=black3 vAlign=top>


    เกิดบนสวรรค์ชั้นยามา



    คือเมื่อครั้งเป็นมนุษย์ทำบุญเพราะอยากจะสืบทอดและรักษาประเพณีแห่งความดีงามนั้นไว้ ทำนองว่าวงศ์ตระกูลสร้างสมความดีมาอย่างไรก็อยากจะรักษาประเพณีไว้ หรือผู้หลักผู้ใหญ่สอนอย่างไร บรรพบุรุษทำมาอย่างไรก็ทำอย่างนั้น ทำกันไปตามธรรมเนียม เช่น เห็น ปู่ย่าสร้างโบสถ์ บำรุงวัด สร้างพระประธาน ก็ทำตามนั้นด้วย หรือพระภิกษุที่รักษาพระพุทธศาสนาเอาไว้ ตามธรรมเนียมปฏิบัติ ที่พระต้องมีหน้าที่รักษาพระพุทธศาสนา เมื่อละโลกแล้ว ส่วนใหญ่จะไปบังเกิดบนสวรรค์ชั้นนี้ ซึ่งตั้งอยู่สูงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ขึ้นไป



    </TD><TD class=black3 vAlign=center>[​IMG]</TD><TD class=black3></TD></TR><TR><TD class=black3 vAlign=top>


    เกิดบนสวรรค์ชั้นดุสิต



    หรือในโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันเรียกกันว่า ดุสิตบุรี คือ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ ทำบุญเพื่อปรารถนาสงเคราะห์โลก ปรารถนาให้ชาวโลกมีความสุข มีความคิดที่ยิ่งใหญ่ ไม่ใช่เพื่อตนเองอย่างเดียว แต่เพื่อสงเคราะห์โลก เพื่อนมนุษย์ และสรรพสัตว์ทั้งหลายด้วย เมื่อละโลกแล้วก็จะไปสวรรค์ ชั้นนี้ ซึ่งตั้งอยู่สูงถัดจากสวรรค์ชั้นยามาขึ้นไป



    </TD><TD class=black3 vAlign=center>[​IMG]</TD><TD class=black3></TD></TR><TR><TD class=black3 vAlign=top>


    เกิดบนสวรรค์ชั้นนิมมานรดี



    คือ เมื่อ ครั้งเป็นมนุษย์ เห็นผู้อื่นทำบุญแล้วได้รับ การยกย่อง ส่งเสริม จึงอยากจะทำบุญนั้นบ้าง อยากจะเป็นอย่างนั้นบ้าง เมื่อละโลกแล้ว จะไปบังเกิดบนสวรรค์ชั้นนี้ ซึ่งตั้งอยู่สูงจากสวรรค์ชั้นดุสิตขึ้นไป



    </TD><TD class=black3 vAlign=center>[​IMG]</TD><TD class=black3></TD></TR><TR><TD class=black3 vAlign=top>


    เกิดบนสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี



    คือ เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ ทำบุญด้วยความเลื่อมใส เคารพในทาน ทำแล้วมีความรู้สึกปลื้มใจ ในบุญที่ทำนั้น เมื่อละโลกแล้วจะบังเกิดบนสวรรค์ชั้นนี้ ซึ่งตั้งอยู่สูงจากสวรรค์ชั้นนิมมานรดีขึ้นไป



    </TD><TD class=black3 vAlign=center>[​IMG]</TD><TD class=black3></TD></TR><TR><TD class=black3 vAlign=top>
    ความเป็นอยู่ของชาวสวรรค์แต่ละชั้น จะมีความประณีตยิ่งๆ ขึ้นไปตามลำดับชั้น ถ้าใครทำบุญมามาก จนครบทุกอย่างดังที่กล่าวมาแล้วนั้น ปรารถนาจะไปอยู่ ณ ที่ใด ก็สามารถจะไปสวรรค์ชั้นที่ต้องการได้ เหตุแห่งการกระทำที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นเป็นสาเหตุหลักๆ เป็นภาพรวมของการทำบุญที่ทำให้ไปเกิดในสวรรค์ในแต่ละชั้นแต่อาจ จะมีองค์ประกอบและปัจจัยอย่างอื่นเสริมอีกด้วย



    </TD><TD class=black3 vAlign=center>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    สวรรค์ชั้นดุสิตหรือดุสิตบุรี ดีอย่างไร?

    ทำไมพระบรมโพธิสัตว์ที่จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและนักสร้างบารมีทั้งหลายถึงเลือกที่จะอยู่ชั้นนี้ ?

    สวรรค์ชั้นดุสิตนี้ มีความกว้างใหญ่ไพศาลมาก มีท้าวสันดุสิต ซึ่งบรรลุเป็นพระโสดาบันแล้ว เป็นผู้ปกครองภพ ที่ตั้งของสวรรค์ชั้นดุสิตอยู่สูงขึ้นไปจากยอดเขาสิเนรุ อยู่ในอากาศเหนือสวรรค์ชั้นยามา 42,000 โยชน์ บนสวรรค์จะไม่มีดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ทำให้ไม่มีเงา ไม่มีมุมมืดบนสวรรค์ อยู่ได้ด้วยความสว่างจากวัตถุสิ่งของต่างๆ เช่น กายของเหล่าเทวดา วิมาน สวน สระ สิ่งแวดล้อมต่างๆ มีแต่ความสว่าง จึงไม่ต้องอาศัยดวงอาทิตย์

    ลักษณะของสวรรค์ชั้นดุสิต จะไม่ได้กลมอย่างโลกมนุษย์ แต่จะกลมแบบราบ ถ้ามองจากสวรรค์ชั้น ยามาขึ้นไป จะมองเห็นเป็นแสงสว่าง นุ่มเนียนตา และถ้ามองจากสวรรค์ ชั้นดุสิตขึ้นไป ก็จะเห็นแสงสว่างนุ่ม เนียนตาของสวรรค์ชั้นนิมมานรดี หรือถ้ามองลงไปที่ดาวดึงส์ก็จะเห็น ว่ามีขนาดเล็กนิดเดียว เพราะสวรรค์ชั้นดุสิตใหญ่กว่า

    โครงสร้างของสวรรค์ชั้นดุสิต มีวิมานของท้าวสันดุสิตเป็นศูนย์กลาง ของสวรรค์ชั้นนี้ แล้วแบ่งออกเป็น 4 เขต วนโดยรอบวิมานของท้าวสันดุสิต ดังนี้

    เขตที่ 1 เป็นที่อยู่ของพระอริยเจ้า คือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี ซึ่งอยู่ชั้นในสุด

    เขตที่ 2 เป็นที่อยู่ของนิยตโพธิสัตว์ คือ พระโพธิสัตว์ที่ได้รับการพยากรณ์จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอน ซึ่งวงบุญพิเศษของผู้ที่มีมโนปณิธานจะรื้อสัตว์ขนสัตว์ไปสู่ฝั่งพระนิพพาน ให้หมดจนกระทั่งถึงที่สุดแห่งธรรม ก็จะอยู่ในเขตนี้ด้วย

    เขตที่ 3 เป็นที่อยู่ของอนิยตโพธิสัตว์ คือ พระโพธิสัตว์ที่ยังไม่ได้รับ พยากรณ์เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังต้องสร้างบารมีอีกมาก

    เขตที่ 4 เป็นที่อยู่ของผู้ที่ทำกุศลมาก และมีกำลังบุญมากพอที่จะได้อยู่สวรรค์ชั้นดุสิตนี้ เป็นเขตทั่วไป นอกเหนือจาก 3 เขตแรก

    สวรรค์ชั้นดุสิตนี้ มีความพิเศษกว่าสวรรค์ชั้นอื่นอยู่หลายประการ หนึ่งในความ พิเศษนั้นก็คือ เป็นที่อยู่ของเหล่าพระบรมโพธิสัตว์ที่จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคตจำนวนมาก และเหล่าเทพบุตรที่สร้างบารมีเป็นพระสาวก เพื่อตามพระบรมโพธิสัตว์ลงมาตรัสรู้ในอนาคต แล้วทำไมพระบรมโพธิสัตว์ หรือบัณฑิตทั้งหลายจึงปรารถนาที่จะได้มาบังเกิดบนสวรรค์ชั้นดุสิตนี้ ทั้งที่กำลังบุญของแต่ละท่านนั้นมากมาย ปรารถนาที่จะไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นใดก็ได้ เหตุที่ท่านเลือกสวรรค์ชั้นนี้ มีข้อสังเกตอย่างน้อย 3 ประการ คือ

    1. พระโพธิสัตว์สามารถจุติ ลงมาได้ตามใจปรารถนา หมายความ ว่า โดยปกติเทวดามีเหตุแห่งการจุติ หลายประการ เช่น หมดบุญก็มี หมดอายุขัยก็มี จุติเพราะความโกรธก็มี แต่เหล่าพระบรมโพธิสัตว์ทั้งหลาย ในสวรรค์ชั้นดุสิตนี้ เมื่อจะจุติลงมา สร้างบารมี หรือมาบังเกิดเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็จะนั่งทำสมาธิ อธิษฐานจิต สามารถดับวูบลงมาเกิด ได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่เหนือกฎเกณฑ์ของ ชาวสวรรค์ชั้นอื่นๆ

    2. เนื่องจากสวรรค์ชั้นนี้ มีแต่บัณฑิต มีแต่พระบรมโพธิสัตว์ ล้วนแต่มีอัธยาศัยคล้ายคลึงกัน ที่จะฝึกฝนตนเองและช่วยสรรพสัตว์ไปสู่ฝั่งพระนิพพานไม่ประมาทในการดำรงชีวิตเหมือนชาวสวรรค์ชั้นอื่นๆ มักจะคบหาบัณฑิต พูดคุยสนทนาธรรมกันเพื่อความ เบิกบานใจ และหมั่นไปฟังธรรมในวันพระ ซึ่งท่านท้าวสันดุสิตจะเป็นผู้อัญเชิญพระบรมโพธิสัตว์ที่มีบุญบารมีมากมาแสดงธรรมให้ฟัง

    3. ขนาดอายุทิพย์ของสวรรค์ชั้นดุสิตนี้ คือ 4,000 ปีทิพย์ ซึ่งไม่มากเกินไปและไม่น้อยเกินไป พอเหมาะพอดีที่จะเสวยสุข เพราะท่านจะต้องลงมาสร้างบารมีต่อ ถ้ามี อายุขัยนานเกินไปจะทำให้เสียเวลา

     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.geocities.com/puttakun/narok1.html

    [FONT=AngsanaUPC, BrowalliaUPC, CordiaUPC, DilleniaUPC, EucrosiaUPC, FreesiaUPC, IrisUPC, JasmineUPC, KodchiangUPC, LilyUPC, MS Sans Serif, System]กรรมที่นำไปสู่นรก[/FONT]
    [​IMG]
    <SCRIPT language=JavaScript1.2> markW =100; // pixels wide markH = 120; // pixels high markX =1; // percent right markY =1; // percent down markRefresh = 500; // milliseconds // set common object reference if (!document.all) document.all = document; if (!document.all.waterMark.style) document.all.waterMark.style = document.all.waterMark; wMark = document.all.waterMark.style;wMark.width = markW; wMark.height = markH; navDOM = window.innerHeight; // Nav DOM flag function setVals() { barW = 0; // scrollbar compensation for PC Nav barH = 0; if (navDOM) { if (document.height > innerHeight) barW = 20; if (document.width > innerWidth) barH = 20; } else { innerWidth = document.body.clientWidth; innerHeight = document.body.clientHeight; } posX = ((innerWidth - markW)-barW) * (markX/100); posY = ((innerHeight - markH)-barH) * (markY/100);} function wRefresh(){ wMark.left = posX + (navDOM?pageXOffset:document.body.scrollLeft);wMark.top = posY + (navDOM?pageYOffset:document.body.scrollTop);}function markMe(){ setVals(); window.onresize=setVals;markID = setInterval ("wRefresh()",markRefresh);} window.onload=markMe; // safety for Mac IE4.5 //--> </SCRIPT><FORM name=form1></FORM>

    <TABLE height=43 width="101%" border=0><TBODY><TR><TD width="3%"></TD><TD width="97%"><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>

    <O:p></O:p>
    ท่านสาธุชนทั้งหลาย วันนี้อาตมามีโอกาสพบกับบรรดาท่านพุทธบริษัทตามปกติ สำหรับต่อไปนี้จะเห็นว่าเป็นการสิ้นปีสำหรับพุทธศักราช คือว่าพุทธศักราชนี้เขาเริ่มเลิกกันกลางเดือนหก เปลี่ยนเป็นระบบใหม่ เรียกว่าขึ้นปีใหม่สำหรับพุทธศาสนา แต่ทว่า พ.ศ. ที่เขาใช้กันนั้นจะเปลี่ยนเดือนมกราคมหรือว่าเมษายนก็ตาม เป็นเรื่องของบ้านเมือง แต่ว่าสำหรับเรื่องของพระพุทธศาสนานั้นก็มาเปลี่ยนกันกลางเดือนหก เพราะเป็นเขต เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน ฉะนั้น เมื่อศักราชเปลี่ยนไปใหม่ถึงปีใหม่ก็ชื่อว่าเป็นการขึ้นถึงปีใหม่ของพระพุทธศาสนา ฉะนั้น บรรดาเรื่องราวของหลวงพ่อปานที่อาตมาได้พูดมากับพุทธบริษัทในตอนต้นๆ หรือตอนก่อนมาแล้ว ก็เป็นอันว่าระงับไป ความจริงเรื่องราวทั้งหลายเหล่านั้นยังไม่จบ ถ้าจะพูดกันให้จบอีกสามปีก็ไม่จบ คราวนี้ถ้าหากบรรดาท่านพุทธบริษัทอยากจะทราบว่าไปขมวดจบกันตอนไหน อันนี้บรรดาท่านพุทธบริษัทถ้าอยากจะทราบ โปรดหาหนังสือประวัติของหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยามาอ่าน ซึ่งอาตมาได้เล่าจากการบันทึกและที่บันทึกตุนเข้าไว้ จัดพิมพ์ขึ้น โดยคุณอรอนงค์ คุณะเกษม เป็นเจ้ามือใหญ่ แล้วก็สิบตำรวจพัว ชระเอม จังหวัดสิงห์บุรี ตำบลบางพุทรา อยู่ใกล้ตลาดสิงห์บุรีเป็นผู้ให้ทุนเริ่มต้น แล้วก็คุณสุวัฒน์อีกคนหนึ่ง ลืมนามสกุล ให้ทุนเริ่มต้น ทั้งสองท่านนี้ให้ทุนท่านละ ๔,๐๐๐ บาท หนังสือนี้พิมพ์ ๓,๐๐๐ เล่ม รวมเงินแล้ว ๖๐,๐๐๐ บาท ฉะนั้น หากว่าบรรดาท่านพุทธบริษัทอยากจะทราบความเป็นมาของหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ขอให้ติดต่อที่สิบตำรวจพัว ชระเอม ตำบลบางพุทรา จังหวัดสิงห์บุรีอยู่ใกล้ๆกับจังหวัด อาตมาเองก็ไม่รู้จักบ้านเหมือนกัน ที่บ้านท่านมี แล้วก็ที่อาตมาก็มีอยู่บ้าง แล้วก็ที่คุณสุวัฒน์ เวลานี้ทราบว่าไปเป็นป่าไม้อยู่จังหวัดเชียงใหม่ รายนี้ก็มีอยู่ ๒๕๐ เล่ม ในฐานะที่เป็นเจ้าภาพผู้ออกเงิน เป็นอันว่าเรื่องราวของหลวงพ่อปาน วันบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก็ต้องระงับลงเพียงเท่านี้<O:p></O:p>
    ต่อจากนี้ไป ก็มาเริ่มเรื่องกันใหม่ เริ่มอะไรดี ยังนึกไม่ออก เอายังงี้ก็แล้วกันนะ บรรดาญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย คือว่าเราพูดกันถึงเหตุมานานแล้ว การที่นำเอาเรื่องราวของหลวงพ่อปานและคณะศิษยานุศิษย์ก็ดี หรือว่าพระรุ่นท่าน พระเพื่อนท่านก็ตาม เอามาเล่าให้บรรดาท่านพุทธบริษัทฟัง อันนี้เป็นเหตุ เหตุที่บอกก็บอกว่าถ้าใครทำความดีแบบนั้น ใครทำความชั่วแบบนั้น จะไปสู่อบายภูมิหรือว่าไปสู่สวรรค์ ไปสู่พรหมไปสู่พระนิพพาน นี่เรียกว่าเราเล่าต้นทาง แล้วก็พาดพิงไปถึงปลายทางว่า ถ้าทำแบบนี้ละก็ ท่านจะต้องไปนรกหรือว่าไปสวรรค์ ไปพรหมโลกหรือไปนิพพาน ตอนต้นเรากล่าวกันอย่างนั้น<O:p></O:p>
    คราวนี้ มาว่ากันถึงผล<O:p></O:p>
    ต่อจากนี้ไปจะขอให้เรื่องที่พูดนี้ เรียกกันว่าเรื่อง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มีนาคม 2007
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.navy.mi.th/newwww/code/special/budham/tp/tp1435.htm

    <CENTER><TABLE><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD align=middle>พระสูตร
    มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ วิภังควรรค
    จูฬกัมมวิภังคสูตร

    ว่าด้วย กฎแห่งกรรม
    พระไตรปีฎกภาษาไทย ฉบับหลวง พ.ศ. ๒๕๒๕
    เล่ม ๑๔ ข้อ ๕๗๙-๕๙๗ หน้า ๒๘๗-๒๙๒
    ดูพระสูตรความย่อตอนเดียวกัน โดยคลิกที่ [​IMG] </TD><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG] </CENTER>

    [​IMG] {น.๒๘๗}[๕๗๙] ข้าพเจัาได้สดับมาอย่างนี้ :-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล สุภมาณพ โตเทยยบุตร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วได้ทักทายปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านคำทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
    [๕๘๐] สุภมาณพ โตเทยยบุตร พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พวกมนุษย์ที่เกิดเป็นมนุษย์อยู่ ปรากฏความเลวและความประณีต คือ มนุษย์ทั้งหลายย่อมปรากฏ มีอายุสั้น มีอายุยืน มีโรคมาก มีโรคน้อย มีผิวพรรณทราม มีผิวพรรณงาม มีศักดาน้อย มีศักดามาก มีโภคะน้อย มีโภคะมาก เกิดในสกุลต่ำ เกิดในสกุลสูง ไร้ปัญญา มีปัญญา ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พวกมนุษย์ที่เกิดเป็นมนุษย์อยู่ ปรากฏความเลว และความประณีต ?
    [​IMG] [๕๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมาณพ สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้
    ส. ข้าพระองค์ย่อมไม่ทราบเนื้อความโดยพิสดารของอุเทศที่พระโคดมผู้เจริญ ตรัสโดยย่อ มิได้จำแนกเนื้อความโดยพิสดารนึ้ได้ ขอพระโคดมผู้เจริญ ได้โปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ โดยประการที่ข้าพระองค์ จะพึงทราบเนื้อความแห่งอุเทศโดยพิสดารได้เถิด
    พ. ดูกรมาณพ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจะกล่าวต่อไป
    สุภมาณพ โตเทยยบุตร ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระเจ้าข้า
    <A href="http://www.navy.mi.th/newwww/code/special/budham/tps/tps1435.htm#๓" target=contents>[​IMG] {น.๒๘๘}[๕๘๒] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้ จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง เป็นคนเหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด หมกมุ่นในการประหัตประหาร ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์มีชีวิต เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีอายุสั้น ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุสั้นนี้ คือ เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง เป็นคนเหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด หมกมุ่นในการประหัตประหาร ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์มีชีวิต
    [๕๘๓] ดูกรมาณพ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ละปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางอาชญา วางศาสตราได้ มีความละอาย ถึงความเอ็นดู อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์และภูตอยู่ เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีอายุยืน ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุยืนนี้ คือ ละปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางอาชญา วางศาสตราได้ มีความละอาย ถึงความเอ็นดู อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์และภูตอยู่
    [๕๘๔] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้ จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นผู้มีปกติเบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาสตรา เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีโรคมาก ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคมากนี้ คือ เป็นผู้มีปกติเบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือ ก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาสตรา
    [๕๘๕] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้ จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นผู้มีปกติไม่เบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาสตรา เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไปไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีโรค ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคน้อย คือ เป็นผู้มีปกติไม่เบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาสตรา
    {น.๒๘๙} [๕๘๖] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้ จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นคนมักโกรธ มากด้วยความแค้นเคือง ถูกเขาว่าเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท มาดร้าย ทำความโกรธ ความร้าย และขึ้งเคียดให้ปรากฏ เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีผิวพรรณทราม ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคมากนี้ คือ เป็นคนมักโกรธ มากด้วยความแค้นเคือง ถูกเขาว่าเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท มาดร้าย ทำความโกรธ ความร้าย และขึ้งเคียดให้ปรากฏ
    [๕๘๗] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้ จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่มากด้วยความแค้นเคือง ถูกเขาว่ามากก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาท ไม่มาดร้าย ไม่ทำความโกรธ ความร้าย และความขึ้งเคียดให้ปรากฏ เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนน่าเลื่อมใส ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเป็นผู้น่าเลื่อมใสนี้ คือ เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่มากด้วยความแค้นเคือง ถูกเขาว่ามาก ก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาท ไม่มาดร้าย ไม่ทำความโกรธ ความร้าย ความขึ้งเคียดให้ปรากฏ
    [๕๘๘] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้ จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม มีใจริษยา ย่อมริษยา มุ่งร้าย ผูกใจอิจฉาในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ และการบูชาของคนอื่น เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีศักดาน้อย ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดาน้อย คือ มีใจริษยา ย่อมริษยา มุ่งร้าย ผูกใจอิจฉาในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ และการบูชาของคนอื่น
    [๕๘๙] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้ จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นผู้มีใจไม่ริษยา ย่อมไม่ริษยา ไม่มุ่งร้าย ไม่ผูกใจอิจฉา ในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การ{น.๒๙๐}ไหว้ และการบูชาของคนอื่น เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีศักดามาก ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดามากนี้ คือ มีใจไม่ริษยา ย่อมไม่ริษยา ไม่มุ่งร้าย ไม่ผูกใจอิจฉา ในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ และการบูชาของคนอื่น
    [๕๙๐] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้ จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ย่อมไม่เป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อาศัย เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีโภคะน้อย ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะน้อยนี้ คือ ไม่ให้ข้าว น้ำ ผ้า ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อาศัย เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์
    [๕๙๑] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้ จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ย่อมเป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อาศัย เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึง สุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีโภคะมาก ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะมากนี้ คือ ให้ข้าว น้ำ ผ้า ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อาศัย เครื่องตามประทีป แก่สมณะ หรือพราหมณ์
    [๕๙๒] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้ จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นคนกระด้าง เย่อหยิ่ง ย่อมไม่กราบไหว้คนที่ควรไหว้ ไม่ลุกรับคนที่ควรลุกรับ ไม่ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ ไม่ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง ไม่สักการะ คนที่ควรสักการะ ไม่เคารพคนที่ควรเคารพ ไม่นับถือคนที่ควรนับถือ ไม่บูชาคนที่ควรบูชา เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนเกิดในสกุลต่ำ ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเกิดในสกุลต่ำนี้ คือ เป็นคนกระด้าง เย่อหยิ่ง ย่อมไม่กราบไหว้คนที่ควรไหว้ ไม่ลุกรับคนที่ควรลุกรับ ไม่ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ {น.๒๙๑}ไม่ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง ไม่สักการะคนที่ควรสักการะ ไม่เคารพคนที่ควรเคารพ ไม่นับถือคนที่ควรนับถือ ไม่บูชาคนที่ควรบูชา
    [๕๙๓] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้ จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นคนไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่ง ย่อมกราบไหว้คนที่ควรไหว้ ลุกรับคนที่ควรลุกรับ ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง สักการะคนที่ควรสักการะ เคารพคนที่ควรเคารพ นับถือคนที่ควรนับถือ บูชาคนที่ควรบูชา เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆในภายหลัง จะเป็นคนเกิดในสกุลสูง ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเกิดในสกุลสูงนี้ คือ เป็นคนไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่ง ย่อมกราบไหว้คนที่ควรไหว้ ลุกรับคนที่ควรลุกรับ ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง สักการะคนที่ควรสักการะ เคารพคนที่ควรเคารพ นับถือคนที่ควรนับถือ บูชาคนที่ควรบูชา
    [๕๙๔] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้ จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ย่อมไม่เป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่า อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีปัญญาทราม ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญาทรามนี้ คือ ไม่เป็นผู้เข้าไปหาสมณะ หรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่า อะไรเมื่อทำย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน
    [๕๙๕] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้ จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ย่อมเป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่า อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีปัญญามาก ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญา{น.๒๙๒}มากนี้ คือ เป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์ แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่า อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน
    [๕๙๖] ดูกรมาณพ ด้วยประการฉะนี้แล ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุสั้น ย่อม นำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีอายุสั้น ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุยืน ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีอายุยืน ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคมาก ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีโรคมาก ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคน้อย ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีโรคน้อย ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีผิวพรรณทราม ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีผิวพรรณทราม ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีผิวพรรณงาม ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีผิวพรรณงาม ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดาน้อย ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีศักดาน้อย ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดามาก ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีศักดามาก ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะน้อย ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีโภคะน้อย ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะมาก ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีโภคะมาก ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเกิดในสกุลต่ำ ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนเกิดในสกุลต่ำ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเกิดในสกุลสูง ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนเกิดในสกุลสูง ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญาทราม ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีปัญญาทราม ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญามาก ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีปัญญามาก
    ดูกรมาณพ สัตว์ทั้งหลาย มีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรม เป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีต [​IMG] [๕๙๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ สุภมาณพ โตเทยยบุตร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า แจ่มแจ้งแล้ว พระเจ้าข้า แจ่มแจ้งแล้ว พระเจ้าข้า พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศธรรมโดยปริยายมิใช่น้อย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ หรือเปิดของที่ปิด หรือบอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า ผู้มีตาดีจักเห็นรูปได้ฉะนั้น ข้าพระองค์ขอถึงท่านพระโคดมผู้เจริญ พระธรรม และภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
     
  12. tum399

    tum399 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    732
    ค่าพลัง:
    +2,908
    นรกของชาติอื่นก็ไม่สวมเสื้อผ้าเหมือนกัน คงจะจริงขนาดผู้คุมในนรกยังสวมแค่ผ้าโจงกระเบนแบบสั้นๆ แล้วผู้ตกนรกจะใส่เสื้อผ้าได้อย่างไร

    นรก เป็นภูมิที่เกิดของผู้ที่ทำบาปกรรมไว้หลังจากตายไปแล้ว เป็นภูมิที่มีแต่ความทุกข์ทรมาน หาความสุขมิได้
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.thailex.info/THAILEX/THAILEXTHA/lexicon/น.htm

    นรก
    โลกข้างใต้ แดนหรือภูมิที่คนตายแล้วไปสู่เพื่อการชำระล้างบาป นรกมีจำนวนทั้งหมด ๘ ขุม คือ สัญชีวะนรก กาฬสูตรนรก สังฆาตนรก โรรุวนรก มหาโรรุวนรก ตัปนนรก ปตาปนนรกและอเวจีนรก ขุมสำหรับลงอาชญาแก่พวกที่มีบาปหนักที่สุดคืออเวจี นรกปกครองโดยพระยมเจ้าแห่งความตายซึ่งรู้จักด้วยในชื่อยมราช มีผู้เรียกยมทูตเป็นทูตแห่งความตายซึ่งมีหน้าที่นำวิญญาณของคนตายมาถึงพระยมกับอาลักษณ์พระสุวรรณและพระสุวาลย์สำหรับการพิพากษา ยมทูตมักจะมีเขาบนศีรษะและถือตรีศูลหรืออาวุธอื่นๆ วัดมักจะมีภาพพรรณนาความโหดร้ายของนรกด้วยยมบาล เป็นผู้ฝึกหัดทรมานแก่ผู้ทำชั่ว รูปแบบนี้ใช้เพื่อเข้าฌาน อีกเรียกยมโลกและบาดาล ดูต่อกระทะทองแดง
    [​IMG]
    ยมราช
    ชื่อ่เรียกพระยมผู้เป็นเจ้า เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ในโลกคนตาย ในภาษาสันสกฤตเรียก<U1:p>ยามะ</U1:p>
    <U1:p></U1:p>
    <U1:p>ยมทูต
    ทูตแห่งพระยม เจ้าหน้าที่ผู้นำคนตายไปยังบัลลังก์พระยมและเสมียน ๒ คน กล่าวคือสุวรรณ (ผู้เก็บการกระทำดีของหมู่มนุษย์) และสุวาลย์ (ผู้เก็บการกระทำอกุศลของหมู่มนุษย์) เพื่อรอคำตัดสิน มักแสดงมีเขาบนศีรษะและถือตรีศูลหรืออาวุธอื่น
    [​IMG]
    ยมบาล
    ชื่อผู้รักษานรก เป็นผู้ทำโทษสัตว์นรก ดูต่อกระทะทองแดง
    [​IMG]
    สุวรรณ
    ๑. 'ทอง' เช่น สุวรรณภูมิ ซึ่งแปลว่า ดินแดนแหลมทอง
    ๒. ชื่อเสมียนของพระยมคนหนึ่ง เป็นผู้ช่วยเทพเจ้าแห่งความตาย โดยบันทึกการกระทำดีของหมู่มนุษย์ มักจะแสดงมีปากกาขนนกและสมุด (รูป) ผู้ช่วยอีกคนหนึ่งเรียกว่าสุวาลย์ ส่วนสุวาลย์ เขาบันทึกการกระทำเลวและอกุศลของหมู่มนุษย์ เปรียบเทียบกับอาลักษณ์ของคัมภีร์เวทที่เรียกพระชิตรกุปตะ

    สุวาลย์
    ชื่อเสมียนของพระยมคนหนึ่ง เป็นผู้ช่วยเทพเจ้าแห่งความตาย โดยบันทึกการกระทำเลวและอกุศลของหมู่มนุษย์ มักจะแสดงมีปากกาขนนกและสมุด (รูป) ผู้ช่วยอีกคนหนึ่งเรียกว่า สุวรรณ ส่วนสุวรรณ เขาบันทึกการกระทำดีของหมู่มนุษย์ เปรียบเทียบกับอาลักษณ์ของคัมภีร์เวทที่เรียกพระชิตรกุปตะ


    </U1:p><U1:p></U1:p>
    <U1:p>
    </U1:p>
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    สวรรค์บ้างนะครับ

    ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/สวรรค์
    สวรรค์

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


    Jump to: navigation, ค้นหา
    <!-- start content -->[​IMG] [​IMG]
    ภาพวาดอธิบายสวรรค์จาก กุสตาฟ โดเร


    สวรรค์ (สันสกฤต : สฺวรฺค स्वॅग ; อาหรับ: ญันนะหฺ, ฟิรเดาซฺ ; อังกฤษ heaven; ทั้งอาหรับและอังกฤษยืมมาจากภาษาเปอร์เซีย) หมายถึง ภพหนึ่งในคติของศาสนาต่าง ๆ เช่น อิสลาม คริสต์ พุทธและยูได อันเป็นสถานที่ตอบแทนคุณงามความดีของมนุษย์ที่ได้ทำไปเมื่อครั้งที่ยังมีชีวิตอยู่บนโลกนี้

    [แก้] สวรรค์ ในพระพุทธศาสนา

    สวรรค์ ใน พระพุทธศาสนา (จำแนกออกได้เป็น 6 ชั้น) คือ จาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และ ปรนิมมิตวสวัตดี
    สวรรค์ คือ ภูมิอันเป็นที่อยู่ของเทวดา เป็นโลกที่อยู่อาศัยของกายละเอียดอันเป็นทิพย์ ที่มีรัศมีสว่างไสวรอบกายตลอดเวลา เหตุที่ทำให้มาเกิดเป็นเทวดาเพราะได้ สร้างบุญกุศลไว้เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ เมื่ออุบัติขึ้นก็ตั้งอยู่ในวัยหนุ่มสาวทันที งดงามตลอดเวลา จนกว่าจะถึงเวลาจุติ ไม่มีความแก่บังเกิดขึ้นเหมือนในเมืองมนุษย์ วิมานปราสาทคือที่อยู่อาศัยของเทวดา ล้วนมีความวิจิตรงดงาม มีขนาดแตกต่างกัน มี ความเป็นอยู่สะดวกสบาย มีอาหารทิพย์บังเกิด ขึ้น มีบริวารคอยรับใช้ใกล้ชิด เสื้อผ้าเป็นทิพย์ วิจิตรงดงาม บังเกิดขึ้นให้สวมใส่ กิจกรรมแต่ละวันก็มีการเที่ยวเพลิดเพลินบันเทิงอยู่กับการชมสวน การสังสรรค์กันระหว่างทวยเทพทั้งหลาย ส่วนจะอุบัติขึ้น ณ สวรรค์ชั้นไหน เป็น เทวดาประเภทใด และอยู่ในฐานะอะไรนั้น ก็ ขึ้นอยู่กับบุญที่ตัวเองสั่งสมมาเมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ ซึ่งได้มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 37 เรื่อง ทานสูตร สรุปย่อได้ดังนี้

    สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา มีจาก หลายสาเหตุ คือ เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ทำบุญไม่ ค่อยเป็นไม่รู้หลักการทำบุญ และไม่ค่อยได้สั่งสม บุญ นานๆ ทำครั้งหนึ่ง เมื่อทำก็ทำน้อย หรือ ทำบุญเอาคุณ บุญที่ได้ก็ไม่บริสุทธิ์ ไม่สมบูรณ์ บาปในตัวก็มีอยู่ แต่ว่าบุญมากกว่า เมื่อละโลกใจนึกถึงบุญก่อนก็ไปสวรรค์ชั้นนี้ ซึ่งตั้งอยู่ ณ เชิงเขาสิเนรุ สวรรค์ชั้นนี้จะมีความหลากหลายมากที่สุด เพราะอยู่ใกล้ชิดกับพื้นมนุษย์มากกว่าสวรรค์ชั้นอื่นๆ และมีบางส่วนที่มีที่อยู่ซ้อนกับภูมิมนุษย์ ที่ได้ชื่อสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา เพราะมีเทพผู้เป็นใหญ่ครองสวรรค์ชั้นนี้อยู่ 4 ท่าน คือ ท้าวธตรฐ ปกครองเทวดา 3 พวก ได้แก่ คนธรรพ์ วิทยาธร กุมภัณฑ์ ท้าววิรุฬหก ปกครองพวกครุฑ ท้าววิรูปักษ์ ปกครองพวกนาค ท้าวเวสสุวรรณ ปกครองพวกยักษ์

    สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ คือเมื่อครั้งเป็นมนุษย์ ทำบุญเพราะเห็นว่าเป็นสิ่งดีงาม เป็นสิ่งที่ควรทำ กระทำแล้วก็สั่งสมบุญ สั่งสมเทวธรรม มีหิริ โอตตัปปะด้วย เมื่อละโลกก็จะไปบังเกิดบนสวรรค์ชั้นนี้ ซึ่งตั้งอยู่ที่หน้าตัดของเขาสิเนรุ ที่ชื่อว่า ดาวดึงส์ เพราะเป็นที่อยู่ของเทพผู้ปกครองภพถึง 33 องค์ โดยมีท้าวสักกเทวราช หรือพระอินทร์ เป็นประธาน และที่สำคัญมีพระธาตุจุฬามณี ซึ่งทุกวันพระเทวดาจะมาประชุมกันที่สุธรรมาเทวสภา เพื่อรับฟังโอวาทจากท้าวสักกะ

    สวรรค์ชั้นยามา เกิดบนสวรรค์ชั้นยามา คือ เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ ทำบุญเพราะอยากจะสืบทอดและรักษาประเพณีแห่งความดีงามนั้นไว้ ทำนองว่าวงศ์ตระกูลสร้างสมความดีมาอย่างไร ก็อยากจะรักษาประเพณีไว้ หรือผู้หลักผู้ใหญ่สอนอย่างไร บรรพบุรุษทำมาอย่างไรก็ทำอย่างนั้น ทำกันไปตามธรรมเนียม เช่น เห็น ปู่ย่าสร้างโบสถ์ บำรุงวัด สร้างพระประธาน ก็ทำตามนั้นด้วย หรือพระภิกษุที่รักษาพระ- พุทธศาสนาเอาไว้ ตามธรรมเนียมปฏิบัติ ที่พระต้องมีหน้าที่รักษาพระพุทธศาสนา เมื่อละโลกแล้ว ส่วนใหญ่จะไปบังเกิดบนสวรรค์ชั้นนี้ ซึ่งตั้งอยู่สูงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ขึ้นไป

    สวรรค์ชั้นดุสิต หรือในโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันเรียกกันว่า ดุสิตบุรี คือ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ ทำบุญเพื่อปรารถนาสงเคราะห์โลก ปรารถนาให้ชาวโลกมีความสุข มีความคิดที่ยิ่งใหญ่ ไม่ใช่เพื่อตนเองอย่างเดียว แต่เพื่อสงเคราะห์โลก เพื่อนมนุษย์ และสรรพ-สัตว์ทั้งหลายด้วย เมื่อละโลกแล้วก็จะไปสวรรค์ ชั้นนี้ ซึ่งตั้งอยู่สูงถัดจากสวรรค์ชั้นยามาขึ้นไป

    สวรรค์ชั้นนิมมานรดี คือ เมื่อ ครั้งเป็นมนุษย์ เห็นผู้อื่นทำบุญแล้วได้รับ การยกย่อง ส่งเสริม จึงอยากจะทำบุญนั้นบ้าง อยากจะเป็นอย่างนั้นบ้าง เมื่อละโลกแล้ว จะไปบังเกิดบนสวรรค์ชั้นนี้ ซึ่งตั้งอยู่สูงจากสวรรค์ชั้นดุสิตขึ้นไป
    สวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี คือ เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ ทำบุญด้วยความเลื่อมใส เคารพในทาน ทำแล้วมีความรู้สึกปลื้มใจ ในบุญที่ทำนั้น เมื่อละโลกแล้วจะบังเกิดบนสวรรค์ชั้นนี้ ซึ่งตั้งอยู่สูงจากสวรรค์ชั้นนิมมานรดีขึ้นไป



    [แก้] อ้างอิง

    • มก. อุโปสถสูตร เล่ม 34 หน้า 382

    <TABLE style="BORDER-TOP: #cccccc 3px double; FONT-SIZE: 90%; BACKGROUND: none transparent scroll repeat 0% 0%; BORDER-BOTTOM: #cccccc 1px solid; POSITION: relative" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD> สวรรค์ เป็นบทความเกี่ยวกับ ความเชื่อ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://202.44.204.76/cgi-bin/kratoo.pl/009100.htm

    .... ในพระไตรปิฎก บอกว่ามี นรก และ สวรรค์ จริง..... ###ไม่ธรรมดา ##

    <TABLE width="100%" bgColor=#bbddff border=0><TBODY><TR><TD colSpan=2>
    ปุจฉา –วิสัชนา พุทธศาสนา

    โดย..... ศาสตราจารย์ นายแพทย์จำลอง หะริณสุต

    *****************

    ๔. ปุจฉา นรกสวรรค์มีจริงหรือไม่ ?

    วิสัชนา เรื่องนรกสวรรค์ ภูติผีปีศาจ เทวดา พรหม เป็นเรื่องที่คนเราสนใจวิจารณ์และถกเถียงกันมานานแล้ว เป็นเรื่องที่เป็นข้อกังวลตกค้างอยู่ในใจของคนทั่วไป เนื่องจากเป็นเรื่องที่ไม่เห็นชัดแจ้งและเข้าใจค่อนข้างยาก อย่างไรก็ดี คำสอนของพระพุทธเจ้า แสดงไว้ชัดเจนในพระสุตตันตปิฏก โดยแสดงกับภิกษุ เรื่องนรกในเทวทูตสูตร ตรัสกับนางวิสาขาเรื่องสวรรค์ ตรัสกับภิกษุเรื่อง อรูปพรหมในอังคุตตรนิกายติกนิบาต และตรัสเรื่องรูปพรหมในอังคุตตรนิกายจตุกนิบาต นอกจากนั้นแล้วยังมีคำกล่าวถึงนรก สวรรค์ กระจายอยู่ทั่วไปในในพระไตรปิฎก เราในฐานะเป็นพุทธศาสนิกชน ต้องยอมรับรองว่า พระไตรปิฎกนั้นเป็นหลักฐานสำคัญของพระพุทธศาสนาอย่างแน่นอน ทั้งนี้เพราะพระไตรปิฎกได้ประมวลคำสั่งสอนและหลักธรรมของพระองค์ทั้งหมดไว้ และข้อความในนั้นเกือบทั้งหมดเป็นพุทธวจนะหรือคำตรัสของพระพุทธเจ้า พระอานนท์เถรเจ้าผู้เป็นพระพุทธอุปัฎฐาก และเป็นเอกทัคคะในความทรงจำ ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย เมื่อท่านแสดงพระสูตรและพระอภิธรรมในการปฐมสังคายนา เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ ๓ เดือน ท่านได้รับรองไว้อย่างชัดเจน ดังปรากฎในคำขึ้นหน้าพระสูตรอยู่ทั่วไปว่า “เอวัมเมสุตัง” แปลว่า “ข้าพเจ้า (พระอานนท์) ได้สดับมาอย่างนี้” แล้วคำต่อไปก็เป็นคำสอนในพระสูตรอย่างละเอียดต่อไป ฉะนั้น จึงเป็นที่เข้าใจว่าในพระพุทธศาสนา มีกล่าวถึงนรกสวรรค์จริง

    เราเป็นมนุษย์ธรรมดา มีความผิดแผกแตกต่างกับเทวดาและพรหมอย่างมากมาย (เทวดา พรหม และภูติผีปีศาจ มีร่างกายเป็นรูปปรมาณู หนึ่งเมล็ดข้าวเปลือก = 82,301.184 ปรมาณู ในพระพุทธศาสนา) จะไปมีความสามารถรู้และเข้าใจสภาพความเป็นอยู่ของเทวดาและพรหมได้อย่างไร เรานั้นเปรียบเสมือนปลาในท้องทะเลอันกว้างใหญ่ ย่อมไม่สามารถรู้เรื่องบนพื้นดินได้ เปรียบได้กับเรื่องที่เล่ากันว่า ปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำตลอดเวลา ถามเต่าที่ซึ่งชอบอยู่ในน้ำบ้าง ขึ้นไปอยู่บนบกบ้าง ว่าชีวิตอยู่บนบกนี้มันเป็นอย่างไรกัน เต่าก็อธิบายว่า สัตว์บกหายใจด้วยปอด เสือก็วิ่งกระโดด ลิงก็โหนต้นไม้ เวลาหลับนอนก็ฟุบอยู่บนพื้นหรือบนต้นไม้ อธิบายอย่างไรปลาก็ไม่เห็นว่าจะเป็นไปได้อย่างไร เพราะปลาหายใจด้วยเหงือกผ่านน้ำ และมีน้ำล้อมรอบตัวอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้น เราอย่าเพิ่งลงความเห็นอย่างแน่นแฟ้นลงไปว่า สิ่งใดที่เราไม่รู้ไม่เห็นไม่มี ในโลกนี้หรือโลกอื่น ถ้าต้องการจะพิสูจน์เรื่องนรกสวรรค์ให้ได้แจ่มแจ้ง ก็จะต้องทำใจให้กว้าง ค่อย ๆ พิจารณาหาทางดำเนินการพิสูจน์ต่อไป ถ้าเกิดความสนใจ อย่างไรก็ดี เรื่องนรกสวรรค์ในขั้นแรก ๆ นี้ ก็ควรจะทราบว่ามีอะไรอยู่บ้าง

    คน เทวดา พรหม ภูติผีปีศาจ และสัตว์ทั้งหลายที่ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏนั้น จะต้องอยู่ใน ๓๑ ภูมิ (ชั้น) ตั้งแต่ชั้นต่ำที่สุดจนถึงชั้นที่สูงที่สุด ดังนี้

    ภูมิที่ ๑ - ๔ เป็น อบายภูมิ มี ๔ ชั้น คือ

    (๑) สำหรับภูติผีปีศาจ คือ นรก

    (๒) สำหรับสัตว์เดรัจฉาน

    (๓) สำหรับเปรต

    (๔) สำหรับอสุรกาย

    ภูมิที่ ๕ เป็นภูมิสำหรับมนุษย์

    ภูมิที่ ๖ - ๑๑ เป็นภูมิสำหรับเทวดา มี ๖ ชั้น คือ

    (๑) จาตุมหาราชิกา

    (๒) ดาวดึงส์

    (๓) ยามา

    (๔) ดุสิต

    (๕) นิมมานรดี

    (๖) ปรนิมมิตวสวัตตี

    ภูมิที่ ๑ - ๑๑ นี้ เรียกว่า กามาวจรภูมิ คือ สัตว์ในภพภูมินี้ยังมีความปรารถนาที่จะเสพกาม หรือมีระดับจิตใจฝักใฝ่ในกามารมณ์อยู่

    ภูมิที่ ๑๒ - ๒๗ เป็น รูปพรหมภูมิ มี ๑๖ ชั้น เป็นที่อยู่ของพรหมที่มีรูป ภูมิเหล่านี้เรียกว่า รูปาวจรภูมิ

    ภูมิที่ ๒๘ - ๓๑ เป็น อรูปพรหมภูมิ มี ๔ ชั้น เป็นที่อยู่ของพรหมที่ไม่มีรูป ภูมิเหล่านี้เรียกว่า อรูปาวจรภูมิ

    รายละเอียดในเรื่องนี้ มีอยู่ในพระอภิธรรมปิฎก อธิบายโดยละเอียดในอภิธรรมมัตถสังคหะ ปริเฉทที่ ๕ วิถีมุตตสังคหวิภาค

    การที่จะเชื่อว่านรกสวรรค์มีจริงหรือไม่ ? ก็แล้วแต่ความคิด และความเชื่อของแต่ละบุคคล อย่างไรก็ดี คนที่เชื่อเรื่องนี้มักจะไม่ประกอบกรรมชั่ว เพราะกลัวตกนรก และชอบประกอบกรรมดี โดยต้องการเป็นเทวดามากกว่า ท่านล่ะ จะเลือกไปที่ไหนในชาติหน้า
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2> จากคุณ : be heaven [ 30 มิ.ย. 2546 / 02:01:44 น. ]
    [SIZE=-1] [ IP Address : 203.145.27.104 ][/SIZE] </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7453

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>หลวงปู่ขาว อนาลโย ตอบปัญหาธรรม
    โดย สาวิกาน้อย


    การเทศนาสั่งสอนประชาชนพระเณรท่านก็สอนมามากต่อมาก การโต้ตอบปัญหาข้อข้องใจที่มีผู้มาถาม ท่านก็ตอบเพื่อความเข้าใจแก่ประชาชนพระเณรมามากต่อมากเช่นเดียวกัน อันดับต่อไปนี้จึงขอนำปัญหาคำถามคำตอบของท่านมาลงในที่นี่พอประมาณ โปรดอ่านด้วยความพิจารณาหาสาระซึ่งอาจจะเกิดประโยชน์เท่าที่ควร

    ถาม หลวงปู่ครับ ขอประทานโอกาสถามปัญหาปู่พอหายกังวลบ้าง ฟังเทศน์ปู่ก็ฟังมามากพอควรแต่ยังไม่เคยถามปัญหาข้อข้องใจใดๆ กับหลวงปู่บ้างเลย จึงขอกราบเรียนถามบ้างว่า ได้ทราบจากเขาเล่าให้ฟังว่า หลวงปู่เคยสร้างวาสนาบารมีมามากใช่ไหมปู่

    ตอบ จะว่าใช่ก็ใช่ ถ้าจะไม่หาแง่หาเรื่องราวว่าปู่คุยโม้นะ ส่วนมากโลกมักแส่หาโทษมากกว่าหาคุณธรรมที่ควรหากัน ปู่จึงไม่อยากคิดและพูดในเรื่องทำนองนี้ กลัวคนเป็นโทษแทนที่จะเป็นคุณ


    หลาน หลานถามเพื่อเข้าใจประดับใจจริงๆ ปู่ กรุณาโปรดสัตว์ผู้ยากจนเถิด

    หลวงปู่ ถ้าอย่างนั้นก็เชิญถามมา จะเล่าให้ฟังเท่าที่พอเล่าได้


    ถาม ดังที่กราบเรียนถามแล้วว่า ได้ทราบมาว่าปู่เคยสร้างวาสนาบารมีมามากใช่ไหม

    ตอบ ใช่ เชื่อแน่ว่าได้สร้างมามากพอควร ทางโลกเคยเป็นเศรษฐีกฎุมพีมามากต่อมาก ตลอดเคยเป็นพระราชามหากษัตริย์ ก็เคยเป็นมาหลายชาติจนไม่อาจพรรณนาให้จบสิ้นในความเป็นมาของตนได้ ฉะนั้น การท่องเที่ยวในวัฏสงสารเกี่ยวกับการเกิดการตายปู่จึงไม่สงสัย และเบื่อเต็มประตา จึงได้ออกบวชเพื่อแสวงหาความพ้นจากการเกิด - ตาย อันเปรียบเหมือนเรือนจำขังสัตว์ผู้ต้องโทษ


    ถาม แต่ในชาติปัจจุบันนี้ ทำไมปู่จึงมาเกิดในสกุลชาวนา ที่โลกปัจจุบันถือกันว่าเป็นสกุลต่ำต้อยด้อยศักดิ์ศรี ทั้งหน้าที่การงานตลอดผลรายได้ก็ต่ำต้อยน้อยหน้าไม่ทัดเทียมเขา ไม่สมกับเป็นสกุลที่เลี้ยงหนุนคนทั้งแผ่นดินให้มีซีวิตลมหายใจอยู่ได้ตลอดมาบ้างเลย ทำไมปู่จึงไม่ไปเกิดในสกุลพ่อค้ามหาเศรษฐีมีเงินมากๆ และไปเกิดในสกุลเจ้านายผู้สูงศักดิ์ ทรงอำนาจวาสนา วาจาสิทธิ์ขาด คนขยาดกันทั่วดินแดนเล่าปู่

    ตอบ อันสกุลที่ว่าสูงหรือต่ำนั้น บรรดาสัตว์โลกผู้อยู่ใต้อำนาจกฎแห่งกรรม ย่อมมีทางเกิดได้ด้วยกัน อย่าว่าแต่ปู่คนเดียวเลย แม้แต่ภพชาติสูงต่ำนั้นเป็นสายทางเดินของสัตว์โลกผู้มีกรรม จำต้องเดินต้องผ่านเหมือนกันหมด คนมีวาสนามากก็ผ่าน คนมีวาสนาน้อยก็ผ่านภพกำเนิดสกุลต่างๆ ดังกล่าวมา เช่นหลานเป็นพระเจ้าฟ้าเจ้าคุณ มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ หลานจากที่นี่ไปกรุงเทพฯ ด้วยเท้าก็ดี ด้วยรถยนต์ รถไฟก็ดี ด้วยเรือเหาะเรือบินก็ดี หลานจำต้องผ่านดินฟ้าอากาศเย็นร้อนอ่อนแข็งที่สูงๆ ต่ำๆ ซึ่งมีอยู่ตามรายทางเรื่อยไป จนถึงจุดที่หมายคือกรุงเทพฯ โดยไม่อาจสงสัย

    การเกิดในสกุลสูงๆ ต่ำๆ ตลอดภพชาติต่างๆ กันนั้น สัตว์โลกเกิดตาม วาระกรรมของตนมาถึง แม้จะทรงบุญหนักศักดิ์ใหญ่ แต่เมื่อถึงวาระกรรมของตนที่ควรจะเสวยอย่างไร ก็จำต้องเสวยตามรายทางคือภพชาตินั้นๆ เท่าที่ปู่มาเกิดในสกุลชาวนา ปู่ก็ไม่เสียอกเสียใจ ไม่น้อยเนื้อต่ำใจ เพราะปู่คือว่าปู่มาเกิดตามวาระกรรมของปู่เอง ปู่จึงไม่ตำหนิติเตียนบิดามารดาผู้ให้กำเนิด ตลอดญาติมิตรพี่น้องที่เกิดร่วมและใกล้ชิดสนิทกันว่ามาให้โทษปู่ มันเป็นกรรมของใครของเราดังธรรมท่านสอนไว้ไม่มีผิด ไม่มีที่คัดค้าน ปู่ยอมรับธรรมท่านอย่างซึ้งใจไม่มีวันถอนเลย

    (มีคนแทรกถามในเวลาเดียวกันอีกเยอะแยะ แต่จะไม่ขอแยกบุคคล)



    ถาม ปู่ ก็โลกเขาว่าสกุลชาวนาเป็นสกุลต่ำนี่ หลานถึงไม่อยากให้ปู่มาเกิด อยากให้ปู่เกิดในสกุลสูงๆ กว่านี้ หลานๆ จะได้ภูมิใจ

    ตอบ ภูมิใจบ้าๆ บอๆ อะไร สกุลชาวนานั้นมันต่ำต้อยที่ตรงไหน คนทั้งโลกได้อาศัยข้าวในท้องนาของชาวนาตลอดมา จึงพยุงชีวิตร่างกายมารอดมิใช่หรือ ที่ถูกตามความจริง ควรชมเชยว่า สกุลชาวนาคือสกุลเลี้ยงโลก คือสกุลพ่อสกุลแม่ของมนุษย์ทั้งโลก ด้วยความเป็นคนกตัญญูรู้บุญรู้คุณของสิ่งเลี้ยงดูของผู้เลี้ยงดู แล้วสกุลชาวนานั้นต่ำที่ตรงไหนลองว่ามาซิ งานในโลกนี้ งานอะไรจะทุกข์ลำบากยิ่งกว่างานทำนา คราด ไถ ตกกล้า ปักดำ เก็บเกี่ยว รักษานาด้วยการเปิดน้ำ ปิดน้ำ ทำคลองส่งน้ำ ไม่ได้หลับตื่นลืมตาตลอดฤดูกาลทำนา นับแต่เริ่มลงคราดไถจนถึงตี ถึงฟาดนวด ตลอดขนขึ้นใส่ยุ้งใส่ฉางอันเป็นวาระสุดท้ายแห่งมหันตทุกข์ของสกุลชาวนา

    ใครจะอดจะทน ขยันหมั่นเพียร บึกบึนยิ่งกว่าชาวไร่ชาวนาชาวสวนเล่า งานใดที่ดีเด่นพอจะนำมาคุยอวดงานทำนา ทำไร่ ทำสวน การเพาะปลูกต่างๆ ซึ่งล้วนเป็นงานที่ต้องใช้ความอดความทนความบึกบึนกว่างานใดๆ ของโลกมนุษย์ หิวก็ยอมทน กระหายก็ยอมทน ทุกข์ขนาดไหนกับอมอดยอมทน หลังสู้ฟ้า สู้ฝน หน้าสู้ตมสู้โคลน ทนร้อนทนหนาวทนแดดทนฝน ชนิดตกนรกทั้งเป็น กว่าจะได้ข้าวเปลือก เผือกมันมาเลี้ยงคนทั้งโลก ร่างกายแทบบรรลัย จิตใจเหี่ยวห่อชนิดพูดไม่ออกบอกไม่ถูกทั้งสิ้น แล้วจะไปชมใครผู้ใดว่าเก่งกว่าพวกชาวไร่ชาวนาเหล่านี้ จะควรตำหนิว่าชาวนาเป็นสกุลต่ำที่ตรงไหน

    ถ้าตำหนิว่าเขาต่ำจริง เราคนสกุลสูงและสูงๆ ก็อย่ากินข้าวและเผือกมันของเขาซิ มันจะเสียเกียรติของคนลืมตนเย่อหยิ่ง ปล่อยให้ตายเสียจะได้ไม่หนักโลกของชาวนาที่หาข้าวมาให้กิน กินแล้วไม่รู้จักบุญคุณ ยกย่องส่งเสริมกัน นี่คือมนุษย์ประเภทลืมตัวมั่วความเย่อหยิ่งจองหองลำพองตน อย่าถือมาเป็นอารมณ์ ให้หนักใจ จงถือท่านผู้ดีมาเป็นคติตัวอย่าง จะไม่เสียทางเดินเพื่อความเป็นคนดีของ โลกที่ยังต้องการคนดีอยู่มากมาย ถ้ามีแต่คนประเภทลืมตัวมั่วสุมกับสิ่งทำลายสังคม โลกต้องโกลาหลวุ่นวายและฉิบหายวายป่วงได้ไม่สงสัย



    ถาม เท่าที่ปู่มาเกิดในสกุลชาวนาในชาตินี้ ปู่พอใจอยู่หรือ มอง ๆ ดูปู่แล้วไม่เห็นทะเยอทะยานกับอะไรนี่ มากราบเมื่อไร ฟังปู่เทศน์โปรดทีไรเห็นมีแต่ความยิ้มแย้มแจ่มใส เมตตาสงสารลูกหลานตลอด จึงคิดในใจอยากกราบถามบ้างว่า ปู่ยังอยากเกิดในสกุลสงกว่าสกุลชาวนาอยู่หรือเปล่า

    ตอบ คราวเป็นฆราวาสมันก็คิดบ้าๆ เหมือนโลกตื่นลมเขาเหมือนกันว่าตนเป็นลูกชาวนา วาสนาน้อย คิดอยากเป็นเจ้าเป็นนายกับเขาเหมือนกัน อย่างน้อยให้เป็นครูสอนนักเรียนก็ยังดี แต่เราคนจนหาเลี้ยงแม่เลี้ยงน้อง พอรู้สึกตัวว่ามีฐานะยากจนไม่มีเวลาเรียนและไม่มีทุนเรียนหนังสือดังนี้แล้วก็หยุดคิด หยุดกังวลใจกับเรื่องนี้ พอมาบวชปฏิบัติธรรมไปเรื่อย ๆ ความรู้สึกกับธรรมอิ่มซึมซาบเข้าถึงกันวันละเล็กละน้อย ความที่เคยคิดว่าตนเป็นคนอาภัพวาสนาเป็นลูกชาวนาก็ค่อยๆ หายไปๆ จนกลายเป็นความรู้สึกว่า จะเกิดในสกุลใดก็คือสกุลมนุษย์ ที่ต้องตะเกียกตะกายหาเลี้ยงปากเลี้ยงท้องเพื่อความอยู่รอดเหมือนๆ กันไปเรื่อยๆ ตราบเท่าทุกวันนี้ซึ่งแก่มากแล้ว มันเลยมีความรู้สึกไปคนละโลก และรู้สึกไปในแง่ที่โลกเขาไม่ค่อยคิดหรือไม่คิดกันเสียแล้วทุกวันนี้


    ถาม คิดอย่างไรล่ะปู่ คณะหลานอยากฟัง ปู่เมตตาด้วย

    ตอบ เพียงแต่ธาตุขันธ์ซึ่งรับผิดชอบมาแต่วันเกิด รู้เดียงสาภาวะเรื่อยมา แต่ต้นภพชาติ พอมาถึงเดี๋ยวนี้มันก็รับผิดชอบกันไม่ได้อยู่แล้ว ว่าไม่ให้หกให้ล้ม มันก็หกก็ล้ม ก็ซัดก็เซ ก็หกคะเมนเทนเท่ให้เห็นอยู่ทุกเวลาต่อหน้าต่อตา ต้องเป็นภาระของคนอื่นช่วยดูแลรักษา ตลอดอิริยาบถจนถึงวันสุดท้ายคือแตกสลายของขันธ์นี้ แล้วจะให้ปู่ทะเยอทะยานเหาะเหินเดินเมฆไปยินดีอยากได้สมบัติเงินทองสวรรค์วิมานที่ใหนอีกซึ่งล้วนแต่เป็น อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา จะพังทลายด้วยกันทั้งสิ้น ที่ไหนไม่อยู่ใต้อำนาจของกฎ อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา นี้ปู่ต้องการและยินดีกับที่นั่นเท่านั้นทุกวันนี้


    ถาม ที่ไม่อยู่ใต้อำนาจของกฎ อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา นั้น มันคือที่ไหนล่ะ ปู่ หลานก็อยากไปเหมือนกันนี่

    ตอบ เพียงแต่บอกให้ไหว้พระสวดมนต์ภาวนาบ้าง อย่างน้อยเวลาจะหลับนอนยังพากันขี้เกียจ ก็ที่ นั่น ที่ไม่มีกฎ อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา เข้าไปยึดครองนั้นไม่ใช่ที่เป็นที่บรรจุคนขี้เกียจ พระเณรเถรชี คหบดี ขี้เกียจนี่ ถ้าหลานๆ ยังขืนขี้เกียจไหว้พระสวดมนต์ ให้ทานรักษาศีล เจริญเมตตาภาวนาอยู่ ก็จะไปเกิดเรื่องกับสถานที่และผู้คนในที่นั่นเข้าอีกก็จะยุ่งกันใหญ่ ฉะนั้น จงพากันพยายามปรับตัวปรับใจให้เข้าสู่ศีล สู่ธรรม ขจัดความขี้เกียจขี้คร้านออกโดยลำดับก่อนค่อยพิจารณากันใหม่ในขั้นต่อไป


    ถาม คำว่า ที่นั่น ปู่ไม่เห็นบอกหลาน เห็นบอกแต่จะไปทะเลาะกับที่และคนในที่นั่นอย่างเดียว ส่วนที่นั่นคือที่เช่นไร ปู่ยังไม่บอกนี่ หลานกำลังกระหายอยากฟังโปรดด้วยปู่

    ตอบ คือ พระนิพพานอย่างไรล่ะหลาน ไม่มีสกุลใดเลิศประเสริฐกว่าสกุลคือพระนิพพานนี้ ปู่จึงต้องการสกุลนี้อย่างหนักเรื่อยมา แต่ตอนนี้ขันธ์ปู่แก่มากแล้วใจปู่ก็คงจะแก่ชราเช่นขันธ์กระมัง ใจจึงหมดความอยากความต้องการใดๆ ทั้งสิ้น รวมทั้งที่ที่เคยต้องการมากๆ นี้ด้วย ทุกวันนี้ปู่ไม่อยากอะไร ยังมีชีวิตอยู่ปู่ก็ไม่อยาก ตายไปเสียปู่ก็ไม่อยาก ไปนิพพานเสียปู่ก็ไม่อยาก ใจมันหมดความอยากใดๆ เสีย แต่ยังไม่ได้กินได้ดื่มแล้วเวลานี้ จะว่าถูกหรือผิดปู่ก็พูดตามความจริงให้หลานๆ ฟัง จงพากันฟังและพิจารณาด้วยดีนะ

    (ปรากฏว่าหลานๆ ของปู่เงียบเชียบไปตามๆ กัน ดูอาการอายปู่มาก ไม่คิดว่าจะได้ยินคำนี้ขึ้นมา อายที่ถามท่านแบบเด็กๆ เกินไป ปู่เห็นท่าไม่สนิทใจ จึงหาอุบายพูดเลียบๆ เคียงๆ ไปทางอื่นเสียบ้าง เพื่อเปลี่ยนรสเปลี่ยนชาติ แล้วหลานๆ ก็วกกลับไปสกุลชาวนาของปู่อีกเพราะยังไม่หายข้องใจ ที่ปู่เคยเป็นคนทุกข์ลำบากมาแต่เป็นฆราวาส ไม่น่าจะเป็นผู้ทรงศีลทรงธรรมอันล้ำเลิศอย่างนี้ แต่ทำไมปู่จึงเลิศประเสริฐ เป็นที่เคารพเลื่อมใสของปวงชนมากมายนัก)



    ถาม ถ้าอย่างนั้น คำว่าสกุลสูงหรือต่ำก็ไม่มีปัญหาหรืออุปสรรคกับนิสัยวาสนาบารมีของมนุษย์และสัตว์ทั่วไตรภพซิ ใช่ไหมปู่

    ตอบ ใช่ คนเป็นคน สัตว์เป็นสัตว์ คนดีเป็นคนดี คนชั่วเป็นคนชั่ว คนบุญเป็นคนบุญ คนบาปเป็นคนบาป หากสับปนระคนกันในหมู่มนุษย์และสัตว์ทั่วไตรภพมาดั้งเติม ไม่มีใครหรือสิ่งใดลบล้างได้ เพราะนั่นเป็นกฎแห่งกรรมประจำสัตว์โลกมาดั้งเดิม ท่านจึงสอนไม่ให้ประมาทกันและกัน เพราะคำว่า กรรม เป็นสิ่งละเอียดสุขุมมากเกินกว่าสติปัญญาธรรมดา และความรู้ วิชา ของสามัญชนทั่วๆ ไปจะพิสูจน์ให้ถูกต้องหรือตรงตามความจริงแห่งกรรมนั้นๆ ได้

    เรื่องเหล่านี้ลึกลับมากสำหรับสามัญชนทั่วๆ ไป มีพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์เท่านั้นสามารถพิสูจน์สาเหตุแห่งกรรมและผลกรรมนั้นๆ ได้ ดังพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์แสดงไว้เป็นแบบเดียวกันอย่างตายตัวตามหลักความจริงว่า บาปมี บุญมี นรกมี สวรรค์มี นิพพานมี นานแสนนานกี่ล้านกัปนับล้านกัลป์ เรียงตามลำดับของพระพุทธเจ้าที่มาตรัสรู้แต่ละพระองค์เรื่อยมาจนถึงพระพุทธเจ้า สมณโคดม องค์ปัจจุบันของชาวพุทธเรา สัตว์โลกก็ยังไม่มีรายใดยอมรับว่ามี ว่าเป็นตามนั้นด้วยการรู้การเห็นประจักษ์ตน ทั้งนี้เพราะถูกกิเลสตัวมืดมิดปิดทวารมันปิดหูปิดตาปิดใจไว้อย่างมิดชิด เหมือนคนตาบอดหูหนวก ไม่สามารถสัมผัสรับรู้สิ่งที่มีอยู่ทั้งหลาย ด้วยตา ด้วยหูที่บอดหนวกของตนได้ นอกจากโดนเอาๆ แล้วลูบคลำไปตามประสาของคนตาบอดไม่มีอะไรรู้และแยบคายไปกว่านั้น

    ดังคนตาบอดโดนต้นไม้หรือต้นเสา หัวตอ เป็นต้น เจ็บไปเปล่าๆ ไม่มีทางมองเห็นและเข็ดหลาบได้ ตกไปก็โดนอีกเจ็บอีกอยู่ร่ำไปเพราะตาไม่เห็น จะเอาอะไรมาแก้ไขการโดนนั้นว่าจะไม่ให้โดนอีกในกาลต่อไป สัตว์โลกโดนทุกข์ โดนบาปกรรมทั้งหลายที่ตนเข้าใจว่าไม่มีก็เช่นเดียวกัน ทั้งๆ โดนทุกข์ก็มองไม่เห็นทุกข์ และบาปที่โดนว่ามาจากสาเหตุอันใด เพราะไม่มีปัญญาธรรมมาแก้ให้เห็นและหลบไปได้ จำต้องยอมรับทุกข์กันอยู่ร่ำไป



    ถาม ถ้าอย่างนั้นที่เขาว่าบาปไม่มี บุญไม่มี นรกไม่มี สวรรค์ไม่มี ตายแล้วสูญ สัตว์ตายแล้วไม่ได้เกิดอีกต่อไป นั่นก็เพราะกิเลสปิดตาปิดใจเขาละซิปู่ เขาจึงพูดปฏิเสธสิ่งที่มีอยู่เหล่านั้นซึ่งพระพุทธเจ้าองค์เอกตรัสไว้ได้ลงคอ

    ตอบ ใช่ ถูกกิเลสปิด ธรรมท่านมิได้ปิด ท่านเปิดเผยทุกสิ่งทุกอย่างตามความมีความเป็น ท่านไม่ลบล้าง ท่านยอมรับสิ่งมีอยู่ทุกสิ่งทุกอย่างโดยตลอดทั่วถึงมาตามหลักแห่ง สวากขาตธรรม ที่ว่าตรัสไว้ชอบแล้วๆ ไม่มีอะไรเป็นปัญหา ที่ทำให้มีให้เกิดปัญหานั้นคือกิเลสทั้งสิ้นต่างหากเป็นตัวสร้างปัญหาใส่หัวใจสัตว์โลก หลานจงเข้าใจเสียแต่บัดนี้ จะได้หมดปัญหาที่กิเลสเสี้ยมสอน ให้คิด ให้ว่า ว่าธรรมเป็นผู้สร้างปัญหา ธรรมสร้างเหตุการณ์ต่างๆ ธรรมเป็นผู้สร้างทุกข์บนหัวใจสัตว์โลก ความจริงแล้วมันคือกิเลสตัวแสนปลิ้นปล้อนหลอกลวงและต้มตุ๋นตัวฉกาจฉกรรจ์ต่างหาก เป็นตัวสร้างปัญหาให้ยุ่งเหยิงวุ่นวายไม่มีจบมีสิ้นลงได้จากหัวใจสัตวโลก หมดปัญหานี้สร้างปัญหานั้นขึ้นมา หมดทุกข์นั้นแล้ว สร้างทุกข์นี้ขึ้นมา ไม่มีคำว่าหยุดหย่อนผ่อนตัวและพักงานของกิเลส จอมปราชญ์ผู้เห็นเล่ห์เหลี่ยมกลมารยาของมันจึงกำจัดให้หมดสิ้นไปจากใจ และตำหนิประจานมันให้โลกได้ทราบและตื่นตัวตื่นใจ แก้ไขต้านทานความเลวร้ายของมันเรื่อยมา จนถึงจอมปราชญ์องค์ปัจจุบันคือสมณโคดมของชาวพุทธเรา



    (มีต่อ ๑)
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD class=postdetails vAlign=bottom height=40>

    แก้ไขล่าสุดโดย สาวิกาน้อย เมื่อ 02 ก.ย.2006, 9:55 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7453

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>หลวงปู่ขาว อนาลโย ตอบปัญหาธรรม
    โดย สาวิกาน้อย

    ปู่ถาม คณะหลานๆ ยังชอบกินเหล้ากันอยู่หรือทุกวันนี้

    หลาน กินอยู่บ้างเป็นบางครั้งบางคราวปู่ แต่ไม่กินมากและไม่กินตลอดไป กินเพียงเพื่อสมัครสมานใจของหมู่เพื่อนและสังคมเท่านั้น ไม่ถึงกับติดมันปู่


    ปู่ถาม ปู่ขอถามหลานที่เป็นกันเองบ้าง คงไม่โมโหให้ปู่กระมัง

    หลาน ถามเลยปู่ พวกหลานไม่นึกโมโหให้ปู่แหละ นอกจากอาจนึกขบขันและละอายตัวเองในบางตอนที่ถูกปู่สับเขกเอาบ้างในฐานะปู่กับหลาน


    ปู่ถาม ปู่จะขอถามเล็กน้อยเท่านั้นว่า เด็กๆ เขาไม่กินเหล้า ผู้หญิงที่รักศักดิ์ศรีของกุลสตรีตามหลักประเพณีประจำเมืองไทยเรา เธอไม่คิดอุตริกินเหล้ากันเหมือนผู้หญิงจรวดสมัยปัจจุบันนี้ และคนที่เขาไม่กินเหล้าที่กล่าวมาเหล่านี้ หลานๆ ยอมรับว่าเขาเป็นคนดีน่ารัก น่าเอ็นดู น่านับถือ น่าเคารพไหม

    หลาน ยอมรับทั้ง ๓ - ๔ กระทำเลยปู่ แต่น่าหมั่นไส้ผู้หญิงที่ชอบอุตริเป็นนักเลงโตชอบกินเหล้า เอาเหล้าประดับเกียรติ ชอบหา รบเร้าเย้าแหย่ผู้ชายอันเป็นการขายหน้าสกุลราวกับสุนัขหน้าเดือน ๑๑ - ๑๒ (ทางภาคอีสานว่า สุนัขเดือน ๙ ซึ่งเป็นหน้าสุนัขคะนอง) หมดยางอายไร้คุณค่า ไม่น่ารัก ไม่น่าเอ็นดูบ้างเลย นอกจากชวนหมั่นไส้และทุเรศ


    หลวงปู่ เอาละ ปู่ไม่ตำหนิผู้หญิงฝ่ายเดียว เพราะผู้ชายก็มิใช่เทวบุตรอุตตมะมาจากไหน ผู้ชายก็เป็นคนๆ หนึ่งเช่นเดียวกับผู้หญิงนั้นแล ผู้ชายผิด ไม่ดีที่ตรงไหน ปู่ขอพูด ถ้าหลานๆ ไม่โมโหนะ ผู้ชายก็น่าหมั่นไส้ถ้าจะหมั่นนะ แต่ปู่ไม่หมั่นนอกจากสงสารที่เห็นผิดไป

    หลาน พูดเลยปู่ หลานๆ บอกปู่แล้วว่าจะไม่โมโห นอกจากนึกเสียวๆ เพราะกลัวโดนแผลเป็นเข้าเท่านั้น


    ปู่ถาม หลานๆ เคยเห็นพ่อแม่ของเด็กทั้งแผ่นดินนำสุราบาร์เบียร์เครื่องดื่มของมันเมามากรอกปากลูกๆ ป้อนลูกที่เริ่มเกิดใหม่ไหม

    หลาน ไม่เคยเห็นเลยปู่

    หลวงปู่ เมื่อไม่เคยเห็น ลูกๆ ก็ควรยอมรับว่าท่านเป็นพ่อเป็นแม่ที่ดีและฉลาดของคน ของเด็ก ๑๐๐% โดยแท้ ไม่กล้านำสิ่งไม่ดี สิ่งจะทำให้เสียเด็กเสียคนเข้ามากล้ำกรายลูกๆ เลย ส่วนพวกเราที่เจริญเติบโตมาแล้ว ไปเที่ยวเสาะแสวงหากินหาดื่มเครื่องดองของมันเมาซึ่งทำลายจิตใจธาตุขันธ์และคุณค่าของมนุษย์ ตลอดหน้าที่การงานให้ด้อยลงและเสียไป จนกลายเป็นคนไร้ค่าไม่น่านับถือและปรารถนาของสุภาพชนทั่วไปนั้น เป็นคนที่น่าตำหนิทีเดียว วัยปู่เปลี่ยนมานานและมากจนแก่ขนาดนี้แล้ว แต่ใจยังไม่เคยเปลี่ยนจากการตำหนิคนขี้เหล้าเมาสุรา คนสูบฝิ่นกินกัญชายาเสพติดเลย ยังคงตำหนิอยู่อย่างเดิม

    หลานจึงควรระลึกคำพูดของปู่ไว้ภายในใจและพากันนำไปปฏิบัติตามบ้าง หลานจะเป็นคนเต็มตัวโดยหลักธรรมชาติ ไม่ต้องมีอะไรมาเสกสรรให้ดีเพราะสิ่งนั้นให้ดี เพราะสิ่งนี้ ดังเขาเสกสรรกันเกลื่อนแผ่นดิน เช่น เสกสรรปั้นยอว่า คนกินเหล้ามันกล้าหาญดีไม่กลัวใคร ทั้งๆ ที่เคยขี้ขลาดหวาดกลัวเป็นนิสัยมาแต่กำเนิด นั่นถ้าเป็นหมาก็เป็นหมาที่ไม่รู้จักเสือ มันจะต้องตายเพราะเสือกินหัวมัน ถ้าเป็นคนก็เป็นคนที่ไม่รู้จัก ตะบอง ปืน มีด คนนั้นจะต้องตายเพราะตะบองเพราะอาวุธโดยแท้ไม่สงสัย คนเมาเหล้ากล้าหาญก็เป็นคนประเภทหมาไม่รู้จักเสือนั้นแล จึงควรฟังคำสอนของปู่บ้าง การฟังความอยาก ความทะเยอทะยานไม่มีขอบเขตของตนก็เคยฟังและทำตามมันมามากต่อมากแล้ว ผลดีไม่เห็นมี นอกจากผลชั่วติดตัวและน่าตำหนิอยู่ตลอดไป แม้ตายไปแล้วยังไม่มีใครขุดคุ้ยขึ้นมาชมเลย


    ถาม กินเหล้ามันเป็นบาปหรือปู่ ปู่จึงไม่อยากให้หลานกินกัน กลัวหลานจะเป็นหมาไม่รู้จักเสืออย่างนั้นหรือ

    ตอบ การกินเหล้าหรือของมันเมาตลอดสิ่งเสพติดและเสียคนนั้น มันจะเป็นบุญพาคนให้ดีและพาไปสวรรค์นิพพานอย่างไรกัน นอกจากเป็นบาปหาบหามไฟนรกมาเผาตนและครอบครัวตลอดผู้เกี่ยวข้องโดยลำดับเท่านั้น ยังจะพากันนึกและรอคอยให้สุรายาเมาพาเป็นคนดีและพาไปสวรรค์นิพพานอยู่หรือ

    จอมปราชญ์ทั้งหลายท่านตำหนิเป็นเสียงเดียวกันมาแต่กาลไหนๆ ว่า การกินเหล้าเป็นบาป การกินเหล้าเป็นบาปไม่มีชิ้นดีที่น่าชมเชยบ้างเลยเท่านั้น ฉะนั้น หลานจงพากันเข้าใจตามที่ปู่อธิบายให้ฟังด้วยความเมตตาสงสารนี่ หลานๆ ฟังเสียงใครๆ ก็ฟังมามากต่อมากและทำตามเขาจนเสียคน บางรายจนเป็นเศษมนุษย์หมดคุณค่าสาระโดยประการทั้งปวงไปเลยก็มี

    แต่บัดนี้ต่อไปจงพากันใช้ความพินิจพิจารณาฟังเสียงปู่และนำไปเทียบเคียงกับคำพูดทั้งหลายที่เคยได้ยินได้ฟังมา จะมีแง่คิดถูกหนักเบาต่างกันอย่างไรบ้าง แล้วเลือกเฟ้นนำไปปฏิบัติ เพราะลมปากของปู่เป็นเสียงของกระแสธรรมที่ออกมาจากพระทัยที่บริสุทธิ์ของพระพุทธเจ้า ผิดกับลมปากที่กิเลสราคะตัณหาผลิตหรือปรุงให้กินให้พูดออกมาอยู่มาก ทั้งมีเหตุมีผลผิดกันราวฟ้ากับดิน



    ถาม ทำไมปู่ สมัยนี้คนจึงชอบเอาเหล้าประดับเกียรติในสังคมน้อยใหญ่ แม้สังคมเด็กก็มีเหล้าออกเป็นเจ้าหน้าเจ้าตาไม่มีเว้นไปเสียแล้ว เด็กกินแล้วเมาทะเลาะและตีกันอึกทึก เห็นตำตามาแล้ว น่าทุเรศจริงๆ แล้วก็อดคิดถึงผู้ใหญ่ทั้งหลายและผู้ปกครองบ้านเมืองไม่ได้ ว่ากินเหล้ากันเพื่อประโยชน์อะไรและปกครองแบบไหนกัน บ้านเมืองจึงเต็มไปด้วยสิ่งเลวร้าย คนเลวร้ายเกลื่อนกลาดระบาดไปทุกแห่งทุกหน ไม่ว่าบ้านนอกในเมือง ผู้ใหญ่ผู้น้อย ปัญญาชนและคนโง่เขลามันพอๆ กันเวลานี้

    ตอบ การกินเหล้ามันทำให้คนลืมความทุกข์ ความจน ความโง่ ความมีหนี้สินพะรุงพะรังและภาระต่างๆ ได้บ้างในขณะที่เมาสุรา ซึ่งกำลังหน้าหนาหน้าชาหมดความอาย จึงแสดงกิริยาและคำพูดขวางโลกออกมาในท่ามกลางฝูงชนทุกชั้นได้อย่างเต็มกิริยาและเต็มปาก ไม่กระดากอาย กลับเรื่องปกติที่เคยมีในตัว เช่น เคยเห็นคนทุกข์ เป็นต้น มาเป็นคนมีสุข เป็นคนมั่งมี เป็นคนฉลาดผู้ทุกสิงทุกอย่าง มีทุกสิ่งทุกอย่างที่โลกรู้และมีกัน วาดลวดลายออกมาอย่างเต็มตัวไม่กลัวใครจะตำหนิติเตียนและทำลายเพราะไม่มีสติ ความจริงแล้วก็คือการระบายทุกข์ของคนเมานั่นและ

    ด้วยเหตุเหล่านี้เป็นส่วนมากทำให้คนชอบดื่มสุรา ส่วนผลดีที่เกิดจากการดื่มสุราอย่างแท้จริงนั้นยังมองไม่เห็นสำหรับคนตาฝ้าฟางดังปู่นี้ ถ้าจะหาทางออกว่าดื่มสุราแล้ว ทานอาหารได้ดี ทานได้มาก ร่างกายมีกำลังอย่างนี้ คำตอบก็จะตามมาว่า ใครจะเป็นนักกินและกินไม่เลือก กินไม่อัดไม่อั้น กินไม่หยุดไม่ถอย กินได้ทุกสิ่งทุกอย่าง กินได้ทุกเวลานาที กินจุ๊บๆ จิ๊บๆ กินทั้งกลางวันกลางคืน ปากทำงานเคี้ยวกลืนไม่มีว่างยิ่งกว่ามนุษย์ จนเงินเกลี้ยงกระเป๋าเพราะกินไม่มีประมาณ ความพอดีเข้าไปแอบซ่อนได้ ไม่จำต้องเที่ยวหายาบำรุงธาตุ มีสุราเป็นต้นมาบำรุงบำเรอมัน เพราะความกินของมนุษย์เป็นน้ำล้นฝั่งอยู่แล้ว นี่หากถามมาปู่ก็ตอบไปตามประสาพระแก่ ร่างกายแม้จะเอาอะไรในแดนโลกธาตุมาบำรุงมันก็ไม่เหลียวแล มีแต่แย่ท่าเดียว



    ถาม ทำไมปู่พูดเรื่องคนเมาสุราได้อย่างน่าขบขันน่าหัวเราะจริงๆ ทั้งที่ปู่ ไม่ใช่คอสุรามาก่อน ปู่นี้ทั้งน่ารัก ทั้งน่าเคารพเลื่อมใสมากทีเดียว หลานๆ รักปู่มาก

    ตอบ ปู่ก็รักเมตตาลูกหลานเหมือนกัน จึงได้พูดในฐานะลูกหลานสู่กันฟังนี่แหละ อย่าว่าแต่ปู่ที่ไม่ใช่คอสุราที่พูดเรื่องสุราและคนเมาสุราได้เลยหลาน คนทั้งบ้านทั้งเมืองกระทั่งเด็กๆ ที่เขาไม่ดื่มสุราเขาก็พูดเรื่องโทษของสุราและโทษของคนเมาสุราได้ เพราะเรื่องพรรค์นี้มันทิ่มหูแทงตาทำลายจิตใจคนอยู่ทุกแห่งทุกหนและทุกเวล่ำเวลา ใครๆ ก็พบก็โดนอยู่ทั่วไป เป็นแต่เขาไม่พูดเท่านั้นเอง เพราะเอือมระอาที่จะพูดให้เสียน้ำลายเปล่าๆ ไม่เกิดประโยชน์ นอกจากผลเสียจะตามมาจากพวกกินยาพิษไม่เบื่อนี้เท่านั้น ใครๆ จึงเก็บไว้ภายในแบบรู้กันเองโดยไม่ต้องแจกแจง


    ถาม คนมีอำนาจกับคนมีวาสนานี้ต่างกันหรือเหมือนกัน ปู่ เราทั้งหลายเคยได้ยินจนชินหูชินใจว่าคนมีอำนาจ คนมีวาสนาหรือคนมีอำนาจวาสนา แต่ไม่ทราบว่ามีความลึกตื้นหนาบางกว่ากันอย่างไรบ้าง กราบขอความเมตตาปู่อธิบายให้หลานๆ ฟังบ้าง พอเข้าใจและเป็นแนวทางความคิดและการปฏิบัติต่อไป

    ตอบ คำว่า อำนาจ ตามหลักธรรมแล้ว เป็นกิ่งก้านออกมาจากวาสนา คนมีวาสนาบารมีมักเป็นคนมีความดิบความดี ได้เป็นใหญ่เป็นโต เป็นเจ้าเป็นนายมียศสูงส่งตามลำดับ และมีอำนาจสั่งการสั่งงานได้ตามหน้าที่และกฎข้อบังคับกฎหมายบ้านเมือง นี่ท่านว่าคนมีอำนาจวาสนาตามจารีตประเพณีของปราชญ์ที่ท่านดำเนินและทรงกันมา ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา อยู่ใต้ร่มเงาวาสนาบารมีก็ร่มเย็นทั่วหน้ากัน คนที่มีอำนาจวาสนาตามหลักธรรมตัวเองก็สงบชุ่มเย็น กิริยาอาการที่แสดงออกมีสง่าราศี ไม่อาภัพอับเฉา ผู้น้อยก็เคารพรักทั้งต่อหน้าลับหลัง ไม่พากันตั้งข้อรังเกียจเดียดฉันท์และซุบซิบๆ กัน ประชาชนคนธรรมดามองเห็นก็เย็นตาเย็นใจ อยากเข้าใกล้ชิดสนิทสนม ไม่เป็นแบบสุภาพชนเจอคนขี้เมา

    หลานๆ จงสร้างตัวเพื่อเป็นมิตรเป็นมงคลแก่ตัวและผู้อื่นด้วยการวางตัวประพฤติตนในทางที่ถูกที่ควร อย่าแสวงหาความดีความเด่นด้วยการเหยียบย่ำทำลายหัวใจคน เพราะความประพฤตินั้นๆ มันเป็นผลร้ายแก่ตนแทนที่จะเป็นผลดีไปตามความเห่อความคึกคะนองไม่เข้าเรื่องเข้าราวของใจ

    คนเราเสียคนมามากต่อมากจนไม่อาจนับพรรณนาได้ เพราะความสำคัญตนและทำตนแบบนี้ คำว่า ความดี คนดี ธรรมเครื่องประดับโลกให้มีความสงบร่มเย็น ปราชญ์ผู้ทรงธรรมและพาดำเนินในทางที่ดีมีอยู่ประจำโลก ไม่เคยขาดสูญและไม่เคยล้าสมัย สิ่งเหล่านี้และท่านเหล่านี้แล พยุงโลกให้พอดู ได้พออยู่ กันได้เรื่อยมา มิใช่สิ่งชั่วคนชั่ว เป็นผู้พยุงโลกให้ร่มเย็น นอกจากทำลายโดยถ่ายเดียว หลานๆ อย่าพากันสงสัยและตื่นตามโลกตัณหาตามืดบอด สุกเอาเผากิน จะล่มจมไปกับเขา จะว่าปู่ไม่บอกไม่เตือน สงสารกลัวไฟเหล่านี้จะลุกลามไปมาก จะไม่มีคนดีพยุงบ้านเมือง จึงได้เตือนได้สอนไว้ พอเป็นเบรกห้ามล้อบ้าง จะไม่พากันเหยียบแต่คันเร่งเพื่อลงคลองถ่ายเดียว

    เครื่องดองของมันเมา ยาเสพติดทุกประเภท การพนันขันต่อทุกอย่าง นั่นคือเพชฌฆาตสังหารทรัพย์สมบัติและมนุษย์ให้เสียไปโดยถ่ายเดียว อย่าพากันสนิทเข้าใกล้ชิดติดพันกับมันเป็นอันขาด ปู่ขอห้าม ปู่สงสารที่เห็นมนุษย์ตายทั้งเป็น เหม็นทั้งที่ยังไม่ตายมามากต่อมากแล้ว เพราะสิ่งดังกล่าวสังหารทำลาย ปู่เกิดมานาน ๘๐ กว่าปีแล้ว ทราบเรื่องเหล่านี้ได้ดีพอ จึงกล้าพูดให้ใครต่อใครและหลาน ๆ ฟังอย่างไม่สะทกสะท้านว่าจะผิดไป

    (คนที่มากราบเรียนถามปัญหาหลวงปู่มีมากทั้งหญิงและชาย พระเณร ข้าราชการชั้นและแผนกต่างๆ ส่วนมากเขามักเรียกท่านว่า หลวงปู่หรือปู่ ตามความถนัดใจ จึงกรุณาทราบตามนี้ว่า มิใช่คนเดียวจำพวกเดียวถาม มีหลายคนหลายคณะด้วยกันและถามตอบเรื่อยมาจนถึงวาระสุดท้าย ปัญหาจึงมีแปลกๆ ต่างๆ กันไป ตามทรรศนะของแต่ละรายๆ)



    (มีต่อ ๒)


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top><HR>ปู่ถาม คณะหลานๆ ยังชอบกินเหล้ากันอยู่หรือทุกวันนี้

    หลาน กินอยู่บ้างเป็นบางครั้งบางคราวปู่ แต่ไม่กินมากและไม่กินตลอดไป กินเพียงเพื่อสมัครสมานใจของหมู่เพื่อนและสังคมเท่านั้น ไม่ถึงกับติดมันปู่


    ปู่ถาม ปู่ขอถามหลานที่เป็นกันเองบ้าง คงไม่โมโหให้ปู่กระมัง

    หลาน ถามเลยปู่ พวกหลานไม่นึกโมโหให้ปู่แหละ นอกจากอาจนึกขบขันและละอายตัวเองในบางตอนที่ถูกปู่สับเขกเอาบ้างในฐานะปู่กับหลาน


    ปู่ถาม ปู่จะขอถามเล็กน้อยเท่านั้นว่า เด็กๆ เขาไม่กินเหล้า ผู้หญิงที่รักศักดิ์ศรีของกุลสตรีตามหลักประเพณีประจำเมืองไทยเรา เธอไม่คิดอุตริกินเหล้ากันเหมือนผู้หญิงจรวดสมัยปัจจุบันนี้ และคนที่เขาไม่กินเหล้าที่กล่าวมาเหล่านี้ หลานๆ ยอมรับว่าเขาเป็นคนดีน่ารัก น่าเอ็นดู น่านับถือ น่าเคารพไหม

    หลาน ยอมรับทั้ง ๓ - ๔ กระทำเลยปู่ แต่น่าหมั่นไส้ผู้หญิงที่ชอบอุตริเป็นนักเลงโตชอบกินเหล้า เอาเหล้าประดับเกียรติ ชอบหา รบเร้าเย้าแหย่ผู้ชายอันเป็นการขายหน้าสกุลราวกับสุนัขหน้าเดือน ๑๑ - ๑๒ (ทางภาคอีสานว่า สุนัขเดือน ๙ ซึ่งเป็นหน้าสุนัขคะนอง) หมดยางอายไร้คุณค่า ไม่น่ารัก ไม่น่าเอ็นดูบ้างเลย นอกจากชวนหมั่นไส้และทุเรศ


    หลวงปู่ เอาละ ปู่ไม่ตำหนิผู้หญิงฝ่ายเดียว เพราะผู้ชายก็มิใช่เทวบุตรอุตตมะมาจากไหน ผู้ชายก็เป็นคนๆ หนึ่งเช่นเดียวกับผู้หญิงนั้นแล ผู้ชายผิด ไม่ดีที่ตรงไหน ปู่ขอพูด ถ้าหลานๆ ไม่โมโหนะ ผู้ชายก็น่าหมั่นไส้ถ้าจะหมั่นนะ แต่ปู่ไม่หมั่นนอกจากสงสารที่เห็นผิดไป

    หลาน พูดเลยปู่ หลานๆ บอกปู่แล้วว่าจะไม่โมโห นอกจากนึกเสียวๆ เพราะกลัวโดนแผลเป็นเข้าเท่านั้น


    ปู่ถาม หลานๆ เคยเห็นพ่อแม่ของเด็กทั้งแผ่นดินนำสุราบาร์เบียร์เครื่องดื่มของมันเมามากรอกปากลูกๆ ป้อนลูกที่เริ่มเกิดใหม่ไหม

    หลาน ไม่เคยเห็นเลยปู่

    หลวงปู่ เมื่อไม่เคยเห็น ลูกๆ ก็ควรยอมรับว่าท่านเป็นพ่อเป็นแม่ที่ดีและฉลาดของคน ของเด็ก ๑๐๐% โดยแท้ ไม่กล้านำสิ่งไม่ดี สิ่งจะทำให้เสียเด็กเสียคนเข้ามากล้ำกรายลูกๆ เลย ส่วนพวกเราที่เจริญเติบโตมาแล้ว ไปเที่ยวเสาะแสวงหากินหาดื่มเครื่องดองของมันเมาซึ่งทำลายจิตใจธาตุขันธ์และคุณค่าของมนุษย์ ตลอดหน้าที่การงานให้ด้อยลงและเสียไป จนกลายเป็นคนไร้ค่าไม่น่านับถือและปรารถนาของสุภาพชนทั่วไปนั้น เป็นคนที่น่าตำหนิทีเดียว วัยปู่เปลี่ยนมานานและมากจนแก่ขนาดนี้แล้ว แต่ใจยังไม่เคยเปลี่ยนจากการตำหนิคนขี้เหล้าเมาสุรา คนสูบฝิ่นกินกัญชายาเสพติดเลย ยังคงตำหนิอยู่อย่างเดิม

    หลานจึงควรระลึกคำพูดของปู่ไว้ภายในใจและพากันนำไปปฏิบัติตามบ้าง หลานจะเป็นคนเต็มตัวโดยหลักธรรมชาติ ไม่ต้องมีอะไรมาเสกสรรให้ดีเพราะสิ่งนั้นให้ดี เพราะสิ่งนี้ ดังเขาเสกสรรกันเกลื่อนแผ่นดิน เช่น เสกสรรปั้นยอว่า คนกินเหล้ามันกล้าหาญดีไม่กลัวใคร ทั้งๆ ที่เคยขี้ขลาดหวาดกลัวเป็นนิสัยมาแต่กำเนิด นั่นถ้าเป็นหมาก็เป็นหมาที่ไม่รู้จักเสือ มันจะต้องตายเพราะเสือกินหัวมัน ถ้าเป็นคนก็เป็นคนที่ไม่รู้จัก ตะบอง ปืน มีด คนนั้นจะต้องตายเพราะตะบองเพราะอาวุธโดยแท้ไม่สงสัย คนเมาเหล้ากล้าหาญก็เป็นคนประเภทหมาไม่รู้จักเสือนั้นแล จึงควรฟังคำสอนของปู่บ้าง การฟังความอยาก ความทะเยอทะยานไม่มีขอบเขตของตนก็เคยฟังและทำตามมันมามากต่อมากแล้ว ผลดีไม่เห็นมี นอกจากผลชั่วติดตัวและน่าตำหนิอยู่ตลอดไป แม้ตายไปแล้วยังไม่มีใครขุดคุ้ยขึ้นมาชมเลย


    ถาม กินเหล้ามันเป็นบาปหรือปู่ ปู่จึงไม่อยากให้หลานกินกัน กลัวหลานจะเป็นหมาไม่รู้จักเสืออย่างนั้นหรือ

    ตอบ การกินเหล้าหรือของมันเมาตลอดสิ่งเสพติดและเสียคนนั้น มันจะเป็นบุญพาคนให้ดีและพาไปสวรรค์นิพพานอย่างไรกัน นอกจากเป็นบาปหาบหามไฟนรกมาเผาตนและครอบครัวตลอดผู้เกี่ยวข้องโดยลำดับเท่านั้น ยังจะพากันนึกและรอคอยให้สุรายาเมาพาเป็นคนดีและพาไปสวรรค์นิพพานอยู่หรือ

    จอมปราชญ์ทั้งหลายท่านตำหนิเป็นเสียงเดียวกันมาแต่กาลไหนๆ ว่า การกินเหล้าเป็นบาป การกินเหล้าเป็นบาปไม่มีชิ้นดีที่น่าชมเชยบ้างเลยเท่านั้น ฉะนั้น หลานจงพากันเข้าใจตามที่ปู่อธิบายให้ฟังด้วยความเมตตาสงสารนี่ หลานๆ ฟังเสียงใครๆ ก็ฟังมามากต่อมากและทำตามเขาจนเสียคน บางรายจนเป็นเศษมนุษย์หมดคุณค่าสาระโดยประการทั้งปวงไปเลยก็มี

    แต่บัดนี้ต่อไปจงพากันใช้ความพินิจพิจารณาฟังเสียงปู่และนำไปเทียบเคียงกับคำพูดทั้งหลายที่เคยได้ยินได้ฟังมา จะมีแง่คิดถูกหนักเบาต่างกันอย่างไรบ้าง แล้วเลือกเฟ้นนำไปปฏิบัติ เพราะลมปากของปู่เป็นเสียงของกระแสธรรมที่ออกมาจากพระทัยที่บริสุทธิ์ของพระพุทธเจ้า ผิดกับลมปากที่กิเลสราคะตัณหาผลิตหรือปรุงให้กินให้พูดออกมาอยู่มาก ทั้งมีเหตุมีผลผิดกันราวฟ้ากับดิน



    ถาม ทำไมปู่ สมัยนี้คนจึงชอบเอาเหล้าประดับเกียรติในสังคมน้อยใหญ่ แม้สังคมเด็กก็มีเหล้าออกเป็นเจ้าหน้าเจ้าตาไม่มีเว้นไปเสียแล้ว เด็กกินแล้วเมาทะเลาะและตีกันอึกทึก เห็นตำตามาแล้ว น่าทุเรศจริงๆ แล้วก็อดคิดถึงผู้ใหญ่ทั้งหลายและผู้ปกครองบ้านเมืองไม่ได้ ว่ากินเหล้ากันเพื่อประโยชน์อะไรและปกครองแบบไหนกัน บ้านเมืองจึงเต็มไปด้วยสิ่งเลวร้าย คนเลวร้ายเกลื่อนกลาดระบาดไปทุกแห่งทุกหน ไม่ว่าบ้านนอกในเมือง ผู้ใหญ่ผู้น้อย ปัญญาชนและคนโง่เขลามันพอๆ กันเวลานี้

    ตอบ การกินเหล้ามันทำให้คนลืมความทุกข์ ความจน ความโง่ ความมีหนี้สินพะรุงพะรังและภาระต่างๆ ได้บ้างในขณะที่เมาสุรา ซึ่งกำลังหน้าหนาหน้าชาหมดความอาย จึงแสดงกิริยาและคำพูดขวางโลกออกมาในท่ามกลางฝูงชนทุกชั้นได้อย่างเต็มกิริยาและเต็มปาก ไม่กระดากอาย กลับเรื่องปกติที่เคยมีในตัว เช่น เคยเห็นคนทุกข์ เป็นต้น มาเป็นคนมีสุข เป็นคนมั่งมี เป็นคนฉลาดผู้ทุกสิงทุกอย่าง มีทุกสิ่งทุกอย่างที่โลกรู้และมีกัน วาดลวดลายออกมาอย่างเต็มตัวไม่กลัวใครจะตำหนิติเตียนและทำลายเพราะไม่มีสติ ความจริงแล้วก็คือการระบายทุกข์ของคนเมานั่นและ

    ด้วยเหตุเหล่านี้เป็นส่วนมากทำให้คนชอบดื่มสุรา ส่วนผลดีที่เกิดจากการดื่มสุราอย่างแท้จริงนั้นยังมองไม่เห็นสำหรับคนตาฝ้าฟางดังปู่นี้ ถ้าจะหาทางออกว่าดื่มสุราแล้ว ทานอาหารได้ดี ทานได้มาก ร่างกายมีกำลังอย่างนี้ คำตอบก็จะตามมาว่า ใครจะเป็นนักกินและกินไม่เลือก กินไม่อัดไม่อั้น กินไม่หยุดไม่ถอย กินได้ทุกสิ่งทุกอย่าง กินได้ทุกเวลานาที กินจุ๊บๆ จิ๊บๆ กินทั้งกลางวันกลางคืน ปากทำงานเคี้ยวกลืนไม่มีว่างยิ่งกว่ามนุษย์ จนเงินเกลี้ยงกระเป๋าเพราะกินไม่มีประมาณ ความพอดีเข้าไปแอบซ่อนได้ ไม่จำต้องเที่ยวหายาบำรุงธาตุ มีสุราเป็นต้นมาบำรุงบำเรอมัน เพราะความกินของมนุษย์เป็นน้ำล้นฝั่งอยู่แล้ว นี่หากถามมาปู่ก็ตอบไปตามประสาพระแก่ ร่างกายแม้จะเอาอะไรในแดนโลกธาตุมาบำรุงมันก็ไม่เหลียวแล มีแต่แย่ท่าเดียว



    ถาม ทำไมปู่พูดเรื่องคนเมาสุราได้อย่างน่าขบขันน่าหัวเราะจริงๆ ทั้งที่ปู่ ไม่ใช่คอสุรามาก่อน ปู่นี้ทั้งน่ารัก ทั้งน่าเคารพเลื่อมใสมากทีเดียว หลานๆ รักปู่มาก

    ตอบ ปู่ก็รักเมตตาลูกหลานเหมือนกัน จึงได้พูดในฐานะลูกหลานสู่กันฟังนี่แหละ อย่าว่าแต่ปู่ที่ไม่ใช่คอสุราที่พูดเรื่องสุราและคนเมาสุราได้เลยหลาน คนทั้งบ้านทั้งเมืองกระทั่งเด็กๆ ที่เขาไม่ดื่มสุราเขาก็พูดเรื่องโทษของสุราและโทษของคนเมาสุราได้ เพราะเรื่องพรรค์นี้มันทิ่มหูแทงตาทำลายจิตใจคนอยู่ทุกแห่งทุกหนและทุกเวล่ำเวลา ใครๆ ก็พบก็โดนอยู่ทั่วไป เป็นแต่เขาไม่พูดเท่านั้นเอง เพราะเอือมระอาที่จะพูดให้เสียน้ำลายเปล่าๆ ไม่เกิดประโยชน์ นอกจากผลเสียจะตามมาจากพวกกินยาพิษไม่เบื่อนี้เท่านั้น ใครๆ จึงเก็บไว้ภายในแบบรู้กันเองโดยไม่ต้องแจกแจง


    ถาม คนมีอำนาจกับคนมีวาสนานี้ต่างกันหรือเหมือนกัน ปู่ เราทั้งหลายเคยได้ยินจนชินหูชินใจว่าคนมีอำนาจ คนมีวาสนาหรือคนมีอำนาจวาสนา แต่ไม่ทราบว่ามีความลึกตื้นหนาบางกว่ากันอย่างไรบ้าง กราบขอความเมตตาปู่อธิบายให้หลานๆ ฟังบ้าง พอเข้าใจและเป็นแนวทางความคิดและการปฏิบัติต่อไป

    ตอบ คำว่า อำนาจ ตามหลักธรรมแล้ว เป็นกิ่งก้านออกมาจากวาสนา คนมีวาสนาบารมีมักเป็นคนมีความดิบความดี ได้เป็นใหญ่เป็นโต เป็นเจ้าเป็นนายมียศสูงส่งตามลำดับ และมีอำนาจสั่งการสั่งงานได้ตามหน้าที่และกฎข้อบังคับกฎหมายบ้านเมือง นี่ท่านว่าคนมีอำนาจวาสนาตามจารีตประเพณีของปราชญ์ที่ท่านดำเนินและทรงกันมา ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา อยู่ใต้ร่มเงาวาสนาบารมีก็ร่มเย็นทั่วหน้ากัน คนที่มีอำนาจวาสนาตามหลักธรรมตัวเองก็สงบชุ่มเย็น กิริยาอาการที่แสดงออกมีสง่าราศี ไม่อาภัพอับเฉา ผู้น้อยก็เคารพรักทั้งต่อหน้าลับหลัง ไม่พากันตั้งข้อรังเกียจเดียดฉันท์และซุบซิบๆ กัน ประชาชนคนธรรมดามองเห็นก็เย็นตาเย็นใจ อยากเข้าใกล้ชิดสนิทสนม ไม่เป็นแบบสุภาพชนเจอคนขี้เมา

    หลานๆ จงสร้างตัวเพื่อเป็นมิตรเป็นมงคลแก่ตัวและผู้อื่นด้วยการวางตัวประพฤติตนในทางที่ถูกที่ควร อย่าแสวงหาความดีความเด่นด้วยการเหยียบย่ำทำลายหัวใจคน เพราะความประพฤตินั้นๆ มันเป็นผลร้ายแก่ตนแทนที่จะเป็นผลดีไปตามความเห่อความคึกคะนองไม่เข้าเรื่องเข้าราวของใจ

    คนเราเสียคนมามากต่อมากจนไม่อาจนับพรรณนาได้ เพราะความสำคัญตนและทำตนแบบนี้ คำว่า ความดี คนดี ธรรมเครื่องประดับโลกให้มีความสงบร่มเย็น ปราชญ์ผู้ทรงธรรมและพาดำเนินในทางที่ดีมีอยู่ประจำโลก ไม่เคยขาดสูญและไม่เคยล้าสมัย สิ่งเหล่านี้และท่านเหล่านี้แล พยุงโลกให้พอดู ได้พออยู่ กันได้เรื่อยมา มิใช่สิ่งชั่วคนชั่ว เป็นผู้พยุงโลกให้ร่มเย็น นอกจากทำลายโดยถ่ายเดียว หลานๆ อย่าพากันสงสัยและตื่นตามโลกตัณหาตามืดบอด สุกเอาเผากิน จะล่มจมไปกับเขา จะว่าปู่ไม่บอกไม่เตือน สงสารกลัวไฟเหล่านี้จะลุกลามไปมาก จะไม่มีคนดีพยุงบ้านเมือง จึงได้เตือนได้สอนไว้ พอเป็นเบรกห้ามล้อบ้าง จะไม่พากันเหยียบแต่คันเร่งเพื่อลงคลองถ่ายเดียว

    เครื่องดองของมันเมา ยาเสพติดทุกประเภท การพนันขันต่อทุกอย่าง นั่นคือเพชฌฆาตสังหารทรัพย์สมบัติและมนุษย์ให้เสียไปโดยถ่ายเดียว อย่าพากันสนิทเข้าใกล้ชิดติดพันกับมันเป็นอันขาด ปู่ขอห้าม ปู่สงสารที่เห็นมนุษย์ตายทั้งเป็น เหม็นทั้งที่ยังไม่ตายมามากต่อมากแล้ว เพราะสิ่งดังกล่าวสังหารทำลาย ปู่เกิดมานาน ๘๐ กว่าปีแล้ว ทราบเรื่องเหล่านี้ได้ดีพอ จึงกล้าพูดให้ใครต่อใครและหลาน ๆ ฟังอย่างไม่สะทกสะท้านว่าจะผิดไป

    (คนที่มากราบเรียนถามปัญหาหลวงปู่มีมากทั้งหญิงและชาย พระเณร ข้าราชการชั้นและแผนกต่างๆ ส่วนมากเขามักเรียกท่านว่า หลวงปู่หรือปู่ ตามความถนัดใจ จึงกรุณาทราบตามนี้ว่า มิใช่คนเดียวจำพวกเดียวถาม มีหลายคนหลายคณะด้วยกันและถามตอบเรื่อยมาจนถึงวาระสุดท้าย ปัญหาจึงมีแปลกๆ ต่างๆ กันไป ตามทรรศนะของแต่ละรายๆ)



    (มีต่อ ๒)
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ถาม ปู่ครับ คนสมัยนี้ไม่ว่าเด็กและผู้ใหญ่ การเก็บรักษาและการใช้จ่ายไปตามความจำเป็นที่เรียกว่าเหตุผลพาให้เก็บให้จ่าย รู้สึกว่ามีน้อยเต็มที จะมีก็จำพวกคนเฒ่าคนแก่ที่คนสมัยปัจจุบันตำหนิว่าหัวโบราณเท่านั้น ชอบเก็บรักษาไม่ค่อยจ่ายกับอะไรอย่างง่ายดาย แต่คนสมัยนี้การเก็บรักษามีน้อยมาก แต่การจ่ายรู้สึกมากจนกลายเป็นความสุรุ่ยสุร่าย ไม่นำพากับสมบัติสิ่งของมากกว่าความฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม การเที่ยวก็เก่ง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นความหายนะมักสนใจ ใฝ่ใจ ชอบทำในสิ่งนั้นๆ จนเป็นนิสัย ดูว่าถ้าไม่ได้ทำ อยู่ไม่ได้ ดิ้นรนกระวนกระวายราวกะจะเป็นจะตายจริงๆ ถ้าได้ทำตามชอบใจแล้วดูว่าสนุกรื่นเริง เหมือนกับสิ่งนั้นเป็นสิริมงคลเสียจริงๆ ทั้งที่สิ่งนั้นเป็นสิ่งไม่ดี จะพาให้เสียสมบัติเงินทองและเสียผู้เสียคน ปู่มีความเห็นอย่างไร ขอนิมนต์โปรดลูกหลานด้วย เพื่อว่าจะมีทางเยียวยาได้ ไม่ล่มจมฉิบหายไปตามๆ กันทั้งเขาทั้งเรา

    ตอบ การเก็บรักษานั้น มันมาทีหลังถ้าจะมา นอกจากจะไม่มีทางโผล่หัวขึ้นมาได้ เพราะความอยากมันล้นฝั่งอยู่แล้ว ส่วนมากความอยากจับจ่ายมันมาก่อนเสมอ เพราะความอยากอันเป็นตัวภัยมันอัดแน่นอยู่ภายในใจของสัตว์ไม่มีเวลาบกบางอยู่แล้ว คอยเสาะแสวงหาแต่สิ่งจะมาสนองตลอดเวลาอยู่แล้ว ความสนใจในการเก็บรักษาและการจับจ่ายตามความจำเป็นจึงเกิดได้ยาก และไม่มีทางเกิดได้ถ้าไม่มีธรรมเข้าช่วยหักห้ามความอยากต่างๆ เช่น อยากกิน อยากใช้ อยากประดับตกแต่งร้อยแปดอันหาประมาณไม่ได้ ด้วย มตฺตญฺญุตา สทา สาธุ ความรู้จักประมาณ ย่อมยังประโยชน์ให้สำเร็จแล้ว

    ดังนั้นคนมีธรรมประดับตัว กับคนไม่มีธรรมและไม่สนใจในธรรมเลย ความเป็นอยู่ ความประพฤติ หน้าที่การงาน อัธยาศัยใจคอ ตลอดความสงบสุขภายในตนและครอบครัวอันเกิดจากการจับจ่ายและการเก็บรักษา เกิดจากความประพฤติการกระทำจึงต่างกันมาก ธรรมท่านจึงสอนให้นำธรรมมีความสันโดษยินดีในสมบัติที่มีอยู่ของตนโดยเฉพาะไม่ลุกลาม ความรู้จักประมาณในการกิน การใช้ การประพฤติตัว ตลอดการงานด้านต่างๆ เข้ามาดัดแปลงแก้ไขสิ่งที่ตนเห็นว่าไม่ดีและบกพร่อง และบำรุงส่งเสริมสิ่งที่ดีอยู่แล้วให้เจริญยิ่งขึ้น ไม่ปล่อยตัวไปตามความอยากที่คอยฉุดคอยลากให้ลงทางฝ่ายต่ำอยู่ตลอดเวลา เพราะผู้มีธรรมในใจก็เท่ากับรถมีเบรกห้ามล้อ ไม่เตลิดเปิดเปิงลงคลองลงเหวลงบ่อล่มจมไปท่าเดียว ยังมีธรรมคอยสะกิดและยับยั้งตนไว้ได้ ไม่พังทลายไม่เป็นท่านไปกับสิ่งชั่วร้ายทั้งหลายถ่ายเดียว

    ธรรมต่างหากพาคนให้ดีมีความสงบสุขโดยทั่วกัน สำหรับผู้มีธรรมปฏิบัติตามธรรมได้มาก ความอยาก ความทะเยอทะยานด้วยอำนาจกิเลสราคะตัณหา มิได้พาคนให้ดี มิได้ทำคนให้ดีมีความสงบสุขเจริญรุ่งเรืองและครองความสุขแต่อย่างใด ตรงข้าม มันทำคนให้เป็นเจ้าทุกข์และเสียคนมามากต่อมากจนประมาณไม่ได้แล้ว จึงควรตื่นตัวในความผิดและโทษทัณฑ์ที่เคยได้รับจากกิเลสชักจูงและพาให้ทำ ใจเป็นผู้รับผิดชอบในตัวเรา สติปัญญาเป็นผู้รับผิดชอบในดวงใจ การกระทำอะไรจึงควรนำสติธรรม ปัญญาธรรมมาใช้กับจิตผู้ดำเนินงานอยู่เสมอไม่มีเว้น งานนั้นจะเป็นไปเพื่อความราบรื่นดีงาม ไม่ค่อยผิดพลาดหรือไม่ผิดพลาด ถ้ามีธรรมสองประการนี้กำกับใจและกำกับงาน

    ส่วนมากที่ทำตัวผิดพลาดและผิดพลาดจนเลยขอบเขตแก้ไข ก็เพราะทำตามความอยากของกิเลสตัณหาตัวพาให้ตาฝ้าฟางเสียมากต่อมาก เวลาผิดและได้รับทุกข์ทัณฑ์ต่างๆ แล้วก็มักไปโทษให้ผู้อื่น และโทษให้ดินฟ้าอากาศเพื่อเป็นการออกตัว ทั้งที่มิใช่ทางออกอันชอบธรรมเลย การยอมรับผิดและแก้ตัวในทางที่ถูกที่ดีต่างหาก เป็นทางให้คนอื่นเห็นใจสงสาร และเป็นทางบรรเทาทุกข์ ทางพ้นจากความผิด และโทษทัณฑ์ต่างๆ ได้

    หลานๆ ควรทราบไว้ด้วยว่า เรื่องเหล่านี้มันเป็นไปตามคราว ตามสมัย คือสมัยนี้โลกเจริญทางด้านวัตถุและอารมณ์เครื่องยั่วยวน ใจที่ชอบเสาะแสวงอยู่แล้วจึงเข้ากันได้อย่างสนิทติดจมไม่มีวันอิ่มพอ โลกเจริญ นั้นผิดกันกับ ธรรมเจริญ โลกเจริญคนมีความทุกข์มากไปตามความเจริญของโลก คำว่าโลกเจริญกับกิเลสเครื่องก่อทุกข์เจริญมันกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฉะนั้น โลกเจริญมากเพียงไร คนจึงได้รับทุกข์มากเพียงนั้น

    คำว่า กิเลสๆ นั้นคือสิ่งสกปรกรกรุงรังและกดถ่วงบีบบังคับจิตใจสัตว์โลก การบีบบังคับให้สัตว์โลกแสดงออกทางทวารหรือการกระทำต่างๆ ตลอดผลผลิตจึงเป็นทุกข์แก่สัตว์โลกอย่างแยกไม่ออก ส่วนมากถ้าโลกเจริญ ธรรมมักเสื่อม หรือธรรมเสื่อมจากจิตใจคน ความประพฤติการแสดงออกเป็นลุ่มๆ ดอนๆ ต่อความถูกต้องดีงาม ผิดกับธรรมเจริญในใจคนอยู่มาก คำว่าธรรมเจริญนั้นมิได้หมายถึงการศึกษาเล่าเรียน การท่องบ่นจดจำธรรมได้มาก แม้จำได้กระทั่งพระไตรปิฎกก็ไม่พ้นที่กิเลสจะยึดอำนาจ นำความรู้นั้นๆ มาเป็นเครื่องมือแสวงผลประโยชน์เพื่อมันจนได้ ถ้าไม่มีภาคปฏิบัติ ธรรมตามที่ศึกษาจดจำมาเคลือบแฝงอยู่และเป็นคู่เคียงกันไป

    คำว่า ธรรมเจริญนั้น เจริญที่ใจของผู้ประพฤติธรรม ใจมี หิริ-โอตตัปปะสะดุ้งกลัวต่อบาปกรรมอันลามก ไม่ชินชา ไม่สนิทติดใจในบาปว่าจะพาให้ดีวิเศษวิโสใดๆ ความประพฤติการกระทำมีขอบเขตเหตุผลในสิ่งที่ควรหรือไม่ควร จิตใจมีความเมตตาสงสารเพื่อนมนุษย์และสัตว์ด้วยกัน ไม่ดูถูกเหยียดหยาม ไม่กดขี่ข่มเหง ไม่เอารัดเอาเปรียบ ไม่คดโกงรีดไถ รู้ใจท่านใจเรา สมบัติท่านสมบัติเรา ไม่ล่วงล้ำกล้ำกรายสมบัติและจิตใจของกันและกัน การงานเพื่อตนและส่วนรวมก็สะอาดสุจริต ผลเกิดขึ้นก็สมบูรณ์ไม่รั่วไหลแตกซึม ปฏิบัติได้เพียงที่กล่าวมาก็เรียกว่า ธรรมเจริญในหมู่ชน สังคมย่อมสงบเย็นทั้งส่วนใหญ่ส่วนย่อย เมื่อต่างคนต่างสนใจบำรุงรักษาปฏิบัติธรรมขึ้นที่ใจ ไม่ปล่อยปละละเลยดังที่เป็นและเห็นๆ กันอยู่

    คำว่า โลกเจริญตามความนิยมนั้นมันเจริญด้วยความโลภ ความอยากได้ไม่มีอิ่มพอ เหมือนไฟได้เชื้อ ซึ่งสุดท้ายก็เผาตัวเองนั่นแลก่อนอื่น เจริญด้วยความโกรธ ผูกอาฆาตมาดร้ายหมายจองเวร เจริญด้วยราคะตัณหาความคึกคะนอง น้ำล้นฝั่ง ไม่มีความพอดีเป็นฝั่งเป็นฝาปิดกั้นไว้บ้างเลย เจริญด้วยความลุ่มหลงอันเป็นรากฐานแห่งความประมาทไม่มีประมาณว่าจะรู้สึกตัวเมื่อไร

    คำว่า ธรรมเจริญ ตามความนิยมและยอมรับของปราชญ์นั้น หมายถึงความเจริญทางใจ ใจมีความยุติธรรมทั้งแก่ตนและผู้อื่นสัตว์อื่น ไม่ลำเอียงอันเป็นการบิดเบือนความจริง ผู้มีธรรมเจริญภายในใจย่อมสงบเย็น มีฝั่งมีฝา มีกฎเกณฑ์ด้วยความประพฤติการแสดงออก ไม่ผาดโผนโจนทะยาน ไม่สังหารผู้อื่นอย่างเลือดเย็นเพราะการแสวงผลรายได้ของตน คำว่าโลกเจริญกับธรรมเจริญมีเหตุและผลต่างกันดังกล่าวมา จงพากันนำไปพิจารณาและปฏิบัติตาม ผลดีจะเป็นความสุขความเจริญแก่ตัวเอง ปู่นี้แก่มากแล้ว ไม่หวังความเสื่อมและความเจริญในด้านโดมากกว่าการประคองขันธ์พอถึงวันตายเท่านั้น



    ถาม การบวชในศาสนายากลำบากไหมปู่

    ตอบ ถ้าบวชตามแบบพระพุทธเจ้าแลสาวกท่านก็ยากลำบาก ปู่อยากพูดเต็มปากว่าไม่มีอะไรยากลำบากเกินงานของพระเลย


    ถาม ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ทั้งที่โลกเขามาพบกันคุยกันถึงเรื่องงานการต่างๆ ของโลก ใครพูดออกมาก็น่าฟังพอๆ กัน ว่ายากว่าลำบาก ไม่มีแม้ผู้เดียวว่าง่ายว่าสบายเลย แต่แล้วงานของพระเป็นงานอะไรกัน จึงยากลำบากจนไม่มีอะไรเทียบเล่าล่ะปู่

    ตอบ งานบวชที่ทำตามศาสนธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นงานทวนกระแสของโลก ที่กิเลสวัฏฏวนบงการอยู่รอบจิตรอบทิศรอบด้าน ไม่มีช่องว่างพอหายใจได้สะดวกต่อการบำเพ็ญบ้างเลย เป็นงานทวนกระแสความดึงดูดของกิเลสในโลกทั้งมวล จึงเป็นงานยากลำบากมาก เหมือนกลิ้งครกขึ้นภูเขานั้นแล ลำบากขนาดไหนคิดดูก็พอรู้ได้ ไม่จำต้องบอกต้องแจง


    ถาม ก็เห็นพระท่านบวชอยู่ตามวัด ท่านสบายดี ไม่ต้องวิ่งเต้นขวนขวายหาอะไร ถึงเวลาญาติโยมก็นำมาถวาย ฉันอิ่มแล้ว อยากหลับนอนวันยังค่ำและตลอดรุ่งก็ยังได้ เพราะไม่มีใครไปรบกวนท่านเนื่องจากเขาเคารพนับถือนี่ปู่

    ตอบ ถ้าจะบวชมาเรียนเพียงวิชา “กินแล้วนอน” อย่างเดียวมันก็สบายในขณะนอนหลับอยู่ แต่พอตื่นนอนขึ้นมาละซิ ใจมันดิ้นรนกวัดแกว่ง เพราะกิเลสราคะตัณหาได้รับอาหารจากการกินมาก นอนมาก พอตัว แล้วรบกวนใจ

    การนอนมากมันเป็นเครื่องเสริมธรรมให้เจริญรุ่งเรืองกายในใจเมื่อไร นอกจากมันเสริมกิเลสราคะตัณหาให้มีกำลังกล้า พาวิ่ง พาเหาะ พาบินไปทั่วโลกดินแดน เพื่อหาตัวเมียอย่างเดียว แบบหมุนติ้วเป็นกงจักร อะไรห้ามไม่ยอมอยู่เท่านั้น มันจะเป็นสุขสบายเป็นสวรรค์วิมานเพราะการกินมากนอนมากอะไรกัน อย่าพากันคิดผิดจากคลองธรรมไปซิหลาน การมองกันแบบนั้นมันมองด้วยสายตาโลก สายตากิเลส มิใช่มองด้วยสายตาธรรมเพื่อฆ่ากิเลสนี่



    ถาม จะคิดจะทำอย่างไรปู่ จึงจะถูกต้องตามคลองอรรถคลองธรรมของพระพุทธองค์

    ตอบ ต้องคิดดังที่ปู่บอกละซิว่า การออกบวชเพื่อปฏิบัติธรรมโดยชอบ ก็คือการออกสู่แนวรบกับกิเลสเพื่อชัยชนะข้าศึกศัตรูหมู่กิเลสมาร อันเป็นหมู่มารและเสนามาร ซึ่งต้องรบต้องห้ำหั่นกันเต็มฝีมือและกำลังวังชา สติ ปัญญา ศรัทธา ความเพียรที่มีอยู่ ไม่มีคำว่าออมแรง ใครออมแรงทำเหยาะๆ แหยะๆ คนนั้นต้องแพ้อย่างหมอบราบคาบหญ้าไม่สงสัย

    การเข้าสู่แนวรบ ทางโลกเขาถือว่าเป็นความสุขสบาย หรือไม่มีใครถือว่าเป็นความสุขความสบาย เพราะจะไปฆ่าฟันรันแทงกับข้าศึก จนเห็นดำเห็นแดง เห็นเป็น เห็นตาย เห็นแพ้ เห็นชนะกัน จะไปเอาความสุขมาจากอะไรที่ไหนกัน ก็คนฆ่ากันนี่ มีแต่ความวิตกกังวล ความกลัวเป็นกลัวตายเต็มหัวใจนั่นแล แล้วจะเอาความสุขสบายมาจากไหนกัน

    การบวชเพื่อบำเพ็ญธรรมความดีงาม และเพื่อรื้อถอนกิเลสเชื้อวัฏฏวนขนกองทุกข์ออกจากใจ ก็คือการเข้าสู่สงครามระหว่างกิเลสกับธรรม โดยถือเอาภพเอาใจเราเป็นเวที เป็นสนามรบ ต่อสู้กับกิเลสประเภทต่างๆ ด้วยวิธีเดินจงกรมรบ ยืนรบ นั่งสมาธิภาวนารบ นอนภาวนารบ ด้วยสติ ปัญญา ศรัทธาความเพียรไม่ลดละท้อถอย ทุกอาการของจิตที่เคลื่อนไหวมันเป็นเรื่องของกิเลส มีราคะตัณหาเป็นต้น ไหวตัวเพื่อทำลายเราทั้งสิ้น เมื่อข้าศึกประจันหน้าอยู่ทุกอิริยาบถและทุกอาการที่เคลื่อนไหวของจิตเช่นนี้ นักบวชคือนักรบศิษย์ตถาคต รูปใด องค์ใดจะยอมตัวล้มนอนคอยให้กิเลสสับยำขยำเป็นอาหารอันอร่อยกินเลี้ยงกันเล่า นักบวชลูกศิษย์ตถาคตต้องเตรียมลวดลายคอยรับคอยรบข้าศึกด้วยความเพียร มีสติปัญญาเป็นอาวุธ มีศรัทธา ความเพียรเป็นเครื่องหนุนอยู่ตลอดแนวรบ คืออิริยาบถต่างๆ ไม่เผลอตัว ทั้งตั้งรับ ทั้งรุก ทั้งบุก ทั้งทำลายข้าศึกไม่ให้เข้าใกล้ชิดตัวได้ จะเป็นภัยแก่ตัวเอง

    แล้ว อาการของนักบวชลูกศิษย์ตถาคตที่กล่าวมาเหล่านี้ เป็นอาการแห่งผู้อยู่สบายด้วยการบวชอะไรกัน นอกจากกองทุกข์ล้วนๆ ด้วยงานคือการรบฟันกับกิเลสประเภทต่างๆ เพื่อชัยชนะอย่างยอดเยี่ยมและอยู่เป็นบรมสุข หลังจากกำชัยได้โดยเด็ดขาดไม่มีชิ้นต่อโดยประการทั้งปวงแล้ว บวชแบบนี้ต้องทุกข์ลำบากด้วยกัน นอกจากบวชแบบหมูขึ้นเขียงให้กิเลสสับยำนั้น อาจสบายอยู่บนเขียงขณะที่มีดหั่นยังไม่มาถึงหลังหมู แต่พอมีดหั่นมาถึงแล้ว.....หลานคิดเอาเองก็แล้วอัน ปู่มันแก่แล้ว อธิบายไม่ได้ละเอียดลออนักแหละ



    ถาม โอ้โฮ การบวชนั้นมันยากลำบากถึงขนาดนี้เชียวหรือปู่ หลานๆ นึกว่าบวชแล้วสบาย นับว่าคิดผิดไปมากและนาน เพิ่งจะรู้เรื่องของการบวชว่ายากลำบากวันนี้เอง ต้องขอโทษปู่มากๆ ที่ได้ละลาบละล้วงปู่โดยไม่รู้สึกตัว

    ตอบ ปู่นี่มันชีวิตเดนตายจากการบวชแล้วปฏิบัติธรรมมาโดยลำดับนับแต่ขั้นเริ่มแรกบวชเรื่อยมา ที่พอลืมหูลืมตาอ้าปากพูดได้บ้างก็ตอนแก่แล้วนี่แล จะเพราะกิเลสมันแก่ไปด้วยสังขารเรา หรือว่ามันตายไปหมดทั้งโคตรทั้งแซ่ของมันแล้ว ปู่ก็เข็ดหลาบและเบื่อจะตามหามันอีก เพราะเคยเป็นคู่เดือดคู่แค้นกันมาแต่วันเริ่มออกบวช จนถึงวัยแก่อยู่แล้ว มันเป็นของดิบดีวิเศษวิโสอะไรกว่าธรรมของพระพุทธเจ้า เราพอจะตามหามันให้เพิ่มความเคียดแค้นเข้าไปอีก

    แม้ไม่ตามหามัน แต่บังเอิญเดินทางมาเจอหน้ากันเข้า กลด มุ้ง บาตร ที่สะพายและแบกอยู่บนบ่าปู่อย่างหนักอึ้งนั้น ปู่ยังจะลืมคิดว่ามีบริขารอยู่บนบ่าไป โดดเข้าฟัดกับกิเลสตกเวที ให้บุญมันด้วย กุสลา ธมฺมา อย่างหายห่วงแล้ว จึงจะย้อนมามองดูบ่า บริขารชิ้นไหนตกไปที่ใดขณะที่ฟาดฟันกับกิเลสอยู่นั้น จึงจะไปเที่ยวหาเก็บเอามา พูดถึงกิเลสเมื่อไร ใจปู่มันเป็นบ้าหน้านักรบขึ้นมาทันที เพราะความเคียดแค้นที่มันจับหัวปู่ใส่เข้ากองทุกข์น้อยใหญ่และไสให้ไปเกิดที่นั้นที่นี้ ให้ตกนรกหมกไหม้ ใช้ภพใช้ชาติไม่มีวันจบสิ้นลงได้แต่ไหนแต่ไรมา จนนับภพนับชาติของตัวเพียงคนเดียวไม่จบได้ เนื่องจากมีมากต่อมาก ไม่มีอะไรมากเท่าเลย



    ถาม การเกิด-ตายของคนของสัตว์มีมากขนาดนั้นเชียวหรือปู่

    ตอบ ทำไม่จะไม่มากเล่า ก็กิเลสมันทำนาบนหัวคนหัวสัตว์ มีหน้าแล้งหน้าฝนเมื่อไร มันทำของมันอยู่ตลอดกาลสถานที่เรื่อยมา และยังจะเรื่อยไปไม่มีสิ้นสุดยุติ ถ้าไม่ลากคอมันลงจากหัวใจมาเผาด้วย ตปธรรมให้แหลกแตกกระจายเป็นผุยผงไปเสียเมื่อไร จะต้องถูกมันจับมัดจำจองเข้าสู่ภพน้อยภพใหญ่อยู่ตราบนั้น ไม่มีอะไรมามีอำนาจเหนือมันได้ นอกจากธรรมของพระพุทธเจ้าอย่างเดียว



    (มีต่อ ๓)
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7453

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>หลวงปู่ขาว อนาลโย ตอบปัญหาธรรม
    โดย สาวิกาน้อย</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ถาม ปู่เคยเกิดมากี่ชาติกว่าจะถึงชาติปัจจุบันนี้

    ตอบ ก็บอกแล้วว่านับไม่ได้ จะมาถามพี่ภพกี่ชาติอะไรกันอีก ไม่มีอะไรมากยิ่งกว่าภพชาติของสัตว์รายหนึ่งๆ ที่ตายเก่าตายใหม่ ถ้ารวมกันเข้าโลกมนุษย์มองเห็นแล้วตับแตก ดีฝ่อ ขาหักวิ่งเตลิดเปิดเปิงเอาตัวรอดเพราะความกลัวซากผีที่ตายเก่าใหม่เกลื่อนแผ่นดินถิ่นอาศัยตลอดแดนโลกธาตุ ไม่มีที่จะจรดลงกระทั่งปลายเข็ม จะว่าไง ยังไม่เชื่อความจริงที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้อยู่หรือ แล้วจะเชื่อใครที่ดีเลิศกว่านี้ ถ้าเชื่อกิเลสดังที่เคยเป็นมา ก็ต้องจมลงไปนับภพชาติของตนไม่จบอีกนั่นแล ความจริงเป็นอย่างนี้ ปู่เชื่ออย่างไม่มีเงื่อนไข ใครจะว่าโง่ก็ว่าไป แต่ปู่ไม่ยอมแก้ไขโง่แบบนี้เด็ดขาดจะยอมโง่แบบนี้ตลอดไป


    ถาม จะทำอย่างไรจึงจะพ้นจากการนับชาติไม่จบสิ้นเล่าปู่

    ตอบ ก็ต้องทำความดีมีการบำเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ซึ่งเป็นเหมือนดาบอันคมกล้าตัดกิเลส ตัณหา ตัดภพ ตัดชาติให้เบาบางและสั้นเข้ามา เมื่อบำเพ็ญอยู่โดยสม่ำเสมอไม่ลดละปล่อยวาง ความดีเหล่านี้ย่อมจะมีกำลังกล้าขึ้นโดยลำดับและตัดกิเลสตัดภพชาติให้สั้นเข้ามาจนถึงภพชาติปัจจุบัน และรู้เท่าทันพร้อมทั้งตัดกิเลสอันเป็นเชื้อแห่งภพที่ฝังอยู่ภายในใจให้ขาดกระเด็นออกเป็นผุยผงไม่มีชิ้นต่อกันกับใจอีกเลย แล้วภพชาติจะเรียกโคตรแซ่ที่ไหนจะมาพาให้เกิดแก่เจ็บตายเพื่อหาบหามกองทุกข์น้อยใหญ่อีกต่อไปเล่า ถ้าลงใจได้บริสุทธิ์ล้วนๆ แล้ว เมื่อใจได้ถึงขั้นนี้แล้ว กิเลสอย่างไรก็เรียกไม่กลับแน่นอน ปู่กับกิเลสมันเคยฟัดกันมาอย่างโชกโชนถึงขนาดใครดีใครอยู่ ใครไม่เก่งจงบรรลัย สุดท้ายกิเลสบรรลัย พระพุทธเจ้าบรมศาสดาของพวกเราเพียงสลบเท่านั้น สำหรับปู่เองเมื่อลมหายใจสิ้นเมื่อไร ไม่อยู่ ปู่ต้องไป ขี้เกียจแบกหามธาตุขันธ์อันนี้เต็มประดาแล้ว


    ถาม ปู่จะกลับมาเกิดให้ลูกหลานได้กราบไหว้อีกหรือเปล่า

    ตอบ ฟังธรรมนั่น ฟังให้ดี ฟังเพื่อสติปัญญา อย่าฟังเพื่อกิเลสหัวเราะ ปู่โง่ๆ ยังอดขันไม่ได้ จะสอนอย่างไร สอนโลกจึงจะเข้าใจ ฟังไปเท่าไรๆ ก็ไม่พ้นกิเลสมากอบโกยผลรายได้ไปกินหมด มีแต่ตัวเปล่า กิเลสมันฉลาดดังที่เห็นๆ อยู่นี้แลแต่มันทำสัตว์ให้โง่ไม่มีอะไรเกินมัน


    ถาม คนส่วนมากสงสัยเรื่องบุญ - บาป นรก สวรรค์ นิพพาน ว่าจะมีจริงดังธรรมท่านสอนไว้หรือไม่หนอ พระพุทธเจ้าผู้สอนธรรมเหล่านี้ก็เข้าสู่นิพพานไปนานสองพันกว่าปีแล้ว พระวาจาของพระองค์จะยังศักดิ์สิทธิ์อยู่หรือไม่หนอ ดังนี้มีมากในชาวพุทธเราเองนี่แล สงสัยและพูดกันอยู่ทั่วไป

    ตอบ ข้อนี้ก็น่าเห็นใจ เมื่อไม่รู้ไม่เห็นประจักษ์กับตัวเองตามที่ท่านบอกไว้ ก็อดสงสัยไม่ได้เป็นธรรมดาของคนมีกิเลสตัวมืดมิดปิดทวาร แต่อย่างไรก็ตามถ้าสนใจในเหตุผลอรรถธรรมอยู่แล้วก็มีทางจะรู้จะเห็นและเชื่อได้ไม่สุดวิสัย ข้อสำคัญเราเป็นลูกชาวพุทธ ที่ทรงประกาศสอนธรรมะไว้ ด้วยความถูกต้องแม่นยำตามหลักแห่งสวากขาตธรรม ที่ตรัสไว้ชอบแล้ว ทุกแง่ทุกมุม ไม่มีผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงแม้แต่น้อย จึงควรยกศาสดาเป็นหลักใจไว้ จะดีกว่ายกความสงสัยไว้ทำลายใจ

    ส่วนความเข้าใจว่า บาป บุญ นรก สวรรค์ นิพพานไม่มี นั้นเป็นเรื่องของกิเลสปิดตั้งใจไว้ ไม่ยอมให้สัตว์โลกรู้เห็นสิ่งมีอยู่นั้นๆ ตามความเป็นจริงของสิ่งที่มีที่เป็น ไม่ใช่ดินฟ้าอากาศมาปิด เรื่อง บาป บุญ นรก สวรรค์ นิพพาน เหล่านั้น แม้พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ ตลอดพระสาวกของพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ไม่มีพระองค์ใด องค์ใดเคยรู้เคยเห็นมาก่อนที่ธรรมยังไม่เข้าสู่พระทัยและสู่ใจ ต้องปฏิบัติลูบๆ คลำๆ กำดำกำขาวไปก่อน

    ดังพระพุทธเจ้าของเราก็เคยทราบในพระประวัติว่า ทรงบำเพ็ญทดลองหลายวิธี จึงทรงพบเงื่อนแห่งความถูกต้อง อันเป็นสายทางที่จะให้ตรัสรู้ธรรม วิธีนั้นคืออานาปานสติ กำหนดลมหายใจเข้าออก โดยมีพระสติปัญญาสังเกตในวิธีการที่ทรงบำเพ็ญ จนปรากฏผลเป็นความสงบเย็นและแน่พระทัยว่าถูกทาง ปฐมยามก็ทรงบรรลุบุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติถอยหลัง ที่ไม่เคยบรรลุมาก่อนได้ ประจักษ์พระทัยหายสงสัยโดยไม่มีใครบอกเล่า มัชฌิมยามก็ทรงบรรลุ จุตูปปาตญาณ ทรงรู้ความจุติและความเกิดของสัตว์ทั้งหลายไม่มีประมาณได้โดยไม่มีใครบอกเล่า พอปัจฉิมยามก็ทรงบรรลุ อาสวักขยญาณ ญาณความรู้แจ้งความสิ้นไปแห่งอาสวกิเลสทั้งมวล ไม่มีหลงเหลือในพระทัยเลย พร้อมด้วย วิชชา ๓ อภิญญา ๖ เป็นต้น ทะลุถึงโลกวิทู รู้แจ้งโลกในและโลกนอกตลอดทั่วถึง หายสงสัยโดยประการทั้งปวง สิ่งใดมีทั้งดีและชั่วตลอดธรรมอันประเสริฐเลิศเลอเหนือโลกสงสารก็ทรงรู้เห็น และยอมรับว่ามีว่าเป็นไม่ทรงลบล้าง และทรงปฏิบัติตามสิ่งที่มีที่เป็นนั้นๆ ตามที่ทรงเห็นควรว่าจะควรปฏิบัติต่อสิ่งนั้นๆ อย่างไรบ้าง และทรงสั่งสอนมวลสัตว์ด้วยวิธีการที่ทรงปฏิบัติและทรงรู้ทรงเห็นมา เป็นศาสนธรรมที่คงเส้นคงวาด้วยความถูกต้องแม่นยำมาตลอดปัจจุบันคือวันนี้

    เพราะความจริงไม่ขึ้นอยู่กับกาลสถานที่ ไม่เกี่ยวกับการยังทรงพระชนม์อยู่และปรินิพพานของพระพุทธเจ้าแลสาวกทั้งหลาย แต่ขึ้นอยู่กับความจริงที่เคยมีเคยเป็นอย่างไร ก็มีอยู่เป็นอยู่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าแลสาวกทั้งหลายได้ทรงปฏิบัติและรู้เห็นบาป บุญ นรก สวรรค์ นิพพาน มาแล้วอย่างเต็มพระทัย จึงทรงนำความจริงนั้นๆ มาประกาศธรรมสอนโลก และทรงเป็นศาสดาเต็มองค์ รู้เห็นธรรมเต็มพระทัย มิได้มีอะไรปลอมแปลงแฝงอยู่ในพระทัยบ้างเลยแม้น้อย ดังนั้นสิ่งที่รู้ที่เห็นและที่สั่งสอนจึงเป็นของจริงเต็มส่วน ควรแก่การปฏิบัติตามด้วยความหายสงสัยกังวลอย่างยิ่ง

    ถ้าลงพระพุทธเจ้าเป็นที่ลงใจเชื่อไม่ได้แล้ว จะไปเชื่อใครได้ในไตรภพ คนๆ นั้นก็นับว่าหมดหวังและหมดทางเยียวยารักษา ถ้าเป็นโรคก็สุดวิสัย คอยแต่ลมหายใจเท่านั้น ถ้าจะเตรียมหีบเตรียมโลงก็ควรแล้ว เดี๋ยวจะเน่าเฟะเต็มบ้าน ที่กล่าวมาเหล่านี้คือข้อยืนยันของพระพุทธเจ้าที่เป็นศาสดาและนำธรรมมาสอนโลก

    ส่วนกิเลสตัวพาสัตว์โลกให้สวมแว่นตาดำมองอะไรเป็นหลังหมีไปทั้งตัวนั้น มันมีคุณสมบัติอะไร สัตว์โลกจึงเชื่อมันเอานักหนา ถึงกับไม่ยอมรับความจริงอะไรจากธรรมบ้างเลย กิเลสหมดทั้งโคตรแซ่พ่อแม่ลูกเต้าเหล่าหลานเหลนของมันมีกิเลสตัวใดโคตรแซ่ใดบ้างอุตริเกิดไปเห็น สวรรค์ นิพพาน แม้เพียงขณะสายฟ้าแลบ พอจะมีแก่ใจมาบอกและชักชวนสัตว์โลกให้ไปสวรรค์ นิพพาน กันบ้าง มีแต่มันหลอกมันต้มตุ๋นสัตว์โลก ฉุดลากสัตว์โลกให้ไปตกนรกทั้งเป็นทั้งตายเรื่อยมาแต่ต้นกำเนิดของมันโน่น ทั้งที่มันปฏิเสธว่านรกไม่มี แต่แล้วก็มันนั่นแลจับสัตว์โยนลงหม้อนรกทั้งเป็นทั้งตายด้วยความใจดำน้ำโสโครกที่สุด ไม่มีอะไรจะเป็นจอมหลอกลวงสัตว์โลกอย่างแยบยลยิ่งกว่ากิเลสชนิดต่างๆ

    ความมุ่งหมายของกิเลสเป็นอย่างนี้ คือ ถ้ามันจะบอกสัตว์โลกตามความจริงว่าบาป บุญ นรก สวรรค์ นิพพาน มี สัตว์โลกก็จะตะเกียกตะกายละบาป บำเพ็ญบุญเพื่อหลีกนรก ไปสวรรค์ นิพพานจากมันเสียหมด มันก็จะขาดผลรายได้จากสัตว์โลกอย่างพินาศขาดสูญ ฉะนั้น มันจึงปิดหูปิดตาปิดใจสัตว์โลกไว้อย่างมิดตัว ไม่ให้มองเห็น บาป บุญ นรก สวรรค์ นิพพานนั้นได้เลย มันปิดไว้หมด ดังนั้นแม้สิ่งเหล่านี้จะตั้งขวางหน้าอยู่ก็ตามสัตว์โลกจึงไมมีทางรู้เห็นได้ เช่นเดียวกับคนที่ถูกมัดตาไว้อย่างมิดชิด แม้จะนำวัตถุหรือสีแสงต่างๆ มาวางขวางหน้าไว้ก็ไม่สามารถมองเห็นได้ฉะนั้น กิเลสมันผูกมัดตาใจของสัตว์โลกไว้ก็เช่นเดียวกัน

    ดังนั้นชาวพุทธเราจงพยายามแก้สิ่งมัดตาของมันออกด้วยการปฏิบัติจิตภาวนาเป็นสำคัญ ให้สติปัญญาเกิดภายในใจ จะพังม่านหรือกำแพงแห่งความมืดบอดที่มันปิดให้ออกได้โดยลำดับจนหมดสิ้นไป มองเห็น บาป บุญ นรก สวรรค์ นิพพานอย่างทะลุปรุโปร่งประจักษ์ใจหายสงสัยโดยไม่ต้องมีใครมาบอกแหละ หลังจากนั้นจะได้เห็นกลหลอกลวงของกิเลส วิชาต้มตุ๋นของกิเลสได้อย่างชัดเจนหายสงสัย

    ฟังซิ หลานๆ อยากฟัง ปู่พูดให้ฟังอย่างเปิดใจ ใครจะว่าบ้า ปู่ก็ไม่โกรธให้เขา เพราะทราบแล้วว่าเขาคนนั้นคือเครื่องมือทำลายของกิเลส ที่มันพาทำลายศาสนธรรม และทำลายจิตใจสัตว์โลกมามากต่อมากแล้ว ปู่จึงไม่หลงกลมัน ไม่ตื่นมัน แม้มันจะยกมาทั้งโคตรแซ่ มาด่าปู่ ปู่ก็ไม่โกรธ นอกจากจะหัวเราะขบขันเพลงกล่อมของมันที่ร่ายออกมาเพียงตื้นๆ ผิวเผินนิดเดียวเท่านั้น มิได้ลืกซึ้งกว้างขวางและไพเราะจับใจเหมือนศาสนธรรมอันประเสริฐเลิศเลอเหนือโลกทั้งสามเลย ทั้งเป็นธรรมรื้อขนสัตว์โลกขึ้นจากนรกเมืองคนและนรกเมืองผีที่กิเลสตบตาปิดใจว่าสิ่งเหล่านี้ไม่มีมามากต่อมากแล้ว บาป บุญ นรก สวรรค์นิพพาน เหล่านี้เป็นของมีมาดั้งเดิม กิเลสทุกประเภทจะเสกสรรให้มีขึ้นและจะลบล้างทำลายให้ฉิบหายไปไม่ได้ เพราะเป็นของธรรมชาติและมีอยู่ดั้งเดิม ปราศจากสิ่งใด ผู้ใดไปก่อไปสร้างไปปรุงไปแต่งไปลบล้างทำลาย

    บาป บุญ นรก สวรรค์ นิพพาน อยู่เหนืออำนาจกิเลสที่จะไปอาจเอื้อมทำลายได้ แต่อยู่ตามหลักธรรมชาติของตน หลานๆ และชาวพุทธผู้เรียนและปฏิบัติธรรมอันเป็นธรรมมีอำนาจและสว่างกระจ่างแจ้ง เหนือกิเลสทั้งปวง จงเรียนและปฏิบัติให้ถึงใจ ถึงธรรม อย่ามัวมั่วสุมอยู่ในห้องขังของกิเลสให้มันกดขี่บังคับและร้องเพลงขับกล่อมให้เราเคลิ้มหลับไม่มีวันตื่นจากหลับจากหลงอยู่ร่ำไปนัก จะเสียใจให้ตัวเองภายหลัง จะว่าปู่ไม่บอก

    ปู่น่ะเห็นทุกข์ที่มันโยนให้แบกหามอย่างล้นหัวใจไม่มีที่เก็บมาแล้ว กลัวหลาน ๆ และชาวพุทธทั้งหลายจะแบกหามทุกข์ที่มันโยนมาให้แบกหามไม่มีวันปลงวางต่อไปได้ตลอดอนันตกาลและไม่มีวันจบสิ้นลงได้ จึงได้เตือนแล้วเตือนเล่า ราวกับว่าตะโกนบอกว่าอันตรายอันใหญ่หลวงมาแล้ว รีบพากันหาที่หลบภัยโดยด่วน เดี๋ยวอันตรายจะเข้าถึงตัว ที่หลบภัย คือ ศีล ทาน การกุศลทุกประเภทจงจับให้มั่น ถ้าอยากแคล้วคลาดปลอดภัย อย่าดื้อรั้นเชื่อกิเลสจนไม่ยอมฟังเสียงธรรมตะโกนบอก จงรีบฟังรีบตั้งตัวด้วยการประพฤติปฏิบัติธรรมเสียแต่บัดนี้จะไม่สียกาลเวลาไปเปล่า



    ถาม ฟังปู่เทศน์โปรดคราวนี้ ราวกับฟ้าดินถล่มทีเดียวแหละ หลานชื่นใจ ไม่เสียชาติเกิด ได้ดื่มธรรมที่ปู่เทศน์โปรดวันนี้อย่างถึงใจ แต่ยังมีข้อสงสัยอยู่นิดๆ ปู่ ขอได้โปรดเมตตาด้วย

    ตอบ โปรดละไรอีก ก็โปรดมามากต่อมากจนไม่มีอะไรจะไปรดแล้ว เหลือแต่ขันธ์ที่หาบใจแขม่วๆ รอเวลาจะแตกดับอยู่เท่านั้น จะให้ไปรดเรื่องอะไรว่ามา


    ถาม คำว่า บาป บุญ นรก สวรรค์ นิพพาน เหล่านี้ มีอยู่โลกไหนกันแน่ ปู่

    ตอบ มีอยู่ในท่ามกลางแห่งโลกมนุษย์ แต่มิใช่มนุษย์มิใช่สัตว์ มิใช่เปรต ผี เทวบุตร เทวดา อินทร์ พรหม มิใช่ ต้นไม้ ภูเขา มิใช่ดิน น้ำ ลม ไฟ มิใช่วัตถุแร่ธาตุต่างๆ ในโลกสมมุติ นิพพานมีอยู่ในวิมุตติสถาน แต่มิใช่มีอยู่ในชื่อที่ว่า นิพพาน

    นิพพาน และวิมุตติธรรมที่กล่าวถึงเหล่านี้ มีอยู่ตามหลักธรรมชาติของตน มิได้ขึ้นอยู่กับวัตถุ บุคคลใด สิ่งใดทั้งสิ้น สิ่งที่จะรับทราบธรรมเหล่านี้ได้ มิใช่ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมิใช่วิชาทางโลกทุกๆ แขนง และเรียนวิชาธรรมจนจบพระไตรปิฎกแต่มิได้ปฏิบัติ ตลอดเครื่องพิสูจน์ใดๆ ที่โลกใช้กัน มีใจเท่านั้นที่ปรับตัวด้วยหลักธรรม คือ ด้วยการปฏิบัติจิตภาวนาดังพระพุทธเจ้าและสาวกทั้งหลายท่านปฏิบัติและรู้เห็นประจักษ์พระทัยและใจมาแล้วมากต่อมากจนไม่อาจนับอ่านจำนวนท่านได้ ท่านเหล่านี้แม้พระองค์และองค์เดียวมิได้ถามกันและถามใครเลย ทรงปฏิบัติจิตภาวนาโดยหลักธรรมที่จะทำให้รู้ให้เห็น ก็ทรงรู้ทรงเห็น และรู้เห็นขึ้นกับตนเอง

    ฉะนั้น การที่จะแก้ความสงสัยให้หายในบาป บุญเป็นต้นนั้น ต้องพิสูจน์กันด้วยการปรับจิตใจโดยการปฏิบัติธรรม มีจิตภาวนาเป็นสำคัญ จนรู้เห็นประจักษ์ใจแล้ว ความสงสัยแม้จะเคยครองหัวใจมาตั้งกัปตั้งกัลป์หรือตั้งแต่วันเกิดก็ดับวูบลงในทันที มิได้อ้างกาลเวลาที่เคยยึดครองหัวใจมาเลย เช่นเดียวกับความมืดแม้จะเคยมืดมาตั้งกัปตั้งกัลป์ก็ตาม เพียงเปิดไฟสว่างจ้าขึ้นเท่านั้น ความมืดก็หายไปเองโดยมิได้อ้างกาลเวลาที่เคยมืดมาฉะนั้น

    การรู้เห็นบาปบุญเป็นต้น ตลอดสัจธรรมทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน ไม่จำต้องมีกาลสถานที่มาเกี่ยวข้องและกีดกัน ความจริงเท่านั้นจะเปิดความจริงขึ้นมาให้ผู้ปฏิบัติจริง ได้รู้เห็นความจริงที่มีอยู่ทั้งหลายได้ประจักษ์แจ้งโดยไม่อ้างกาลว่าสมัยโน้นสมัยนี้ เพราะกรรมเป็นปัจจุบันธรรมตลอดมาแต่กาลไหนๆ แม้สวากขาตธรรมที่ตรัสไว้ก็เป็นปัจจุบันธรรมสดๆ ร้อนๆ ควรแก่การนำมาพิสูจน์สิ่งลี้ลับทั้งหลาย ซึ่งก็เป็นปัจจุบันธรรมเช่นเดียวกันได้อย่างไม่มีปัญหา

    ที่เป็นปัญหาอันใหญ่โตในหัวใจสัตว์ไม่ให้มองเห็นความจริงทั้งหลายได้ ก็มีกิเลสตัวทำให้มืดบอดอย่างเดียวเท่านั้น พาสร้างบาปและลงนรก ทั้งที่มันโกหกว่าบาปไม่มี นรกไม่มี แต่สัตว์โลกโดนไม่หยุดหย่อนผ่อนคลายบ้างเลย ส่วนบุญ สวรรค์ นิพพานไม่ต้องกล่าวถึงเพราะเป็นธรรมชาติที่มันไม่ต้องการให้สัตว์โลกคิดและสนใจอยู่แล้ว ทั้งนี้เพราะขาดผลรายได้และนโยบายของมัน

    ว่าไง ที่นี่ ปู่ได้อธิบายให้จนหมดพุงแล้ว จะเชื่อหรือไม่เชื่อ ธรรมก็มีเท่านี้ไม่สามารถจะอธิบายให้ละเอียดกว่านี้ได้ ประการหนึ่งจงทำความเข้าใจไว้ว่า คำว่า บาปมี บุญมี นรกมี สวรรค์มี นิพพานมีนั้น ธรรมชาติเหล่านี้มีอยู่ทำนองเดียวกันกับคำว่า ”ธรรมมีอยู่” แต่ไม่สามารถสัมผัสธรรมชาติเหล่านี้ด้วยตา หู จมูก ลิ้น กายได้ เพราะมิใช่วิสัยของกันและกัน มันเป็น อฐานะ คือเป็นไปไม่ได้ มีใจเท่านั้นสามารถสัมผัสได้แต่ผู้เดียว เมื่อปรับใจด้วยภาคปฏิบัติให้เหมาะสมกับธรรมชาตินั้นและธรรมขั้นนั้นๆ แล้ว ความจริงก็มีเท่านี้



    (มีต่อ ๔)


    ถาม ทำไม สมัยนี้คนชอบทำบาป ทุจริตกันมาก ปู่ ดูตั้งหน้าตั้งตาทำกันเป็นล่ำเป็นสันจริงๆ ใครไม่ทำบาป ทุจริต เท่ากับไม่เต็มคน กลายเป็นคนขาดบาท ขาด เต็งไป

    ตอบ ปู่บวชมาไม่เคยทำบาปด้วยเจตนาเลยแม้นิดเดียว พระเณรในวัดปู่นี้ ก็ตั้งหน้าทำบุญกุศลบำเพ็ญภาวนากันอย่างเป็นเนื้อเป็นหนังจริงๆ ถ้าเป็นตามคำตำหนิที่เขาว่าไม่เต็มคน ปู่และพระเณรในวัดนี้ก็ไม่เต็มพระเต็มเณร คงขาดบาทขาดสลึงไปดังคำตำหนิ แต่ธรรมวินัยของปู่และพระเณรไม่ขาดบาทสลึง ปู่และพระเณรก็ไม่เดือดร้อน พระขาดบาทขาดสลึงเหล่านี้ ก็เห็นอยู่กันสงบสุขดีนี่ ไม่เห็นดิ้นรนกระวนกระวายอันเป็นลักษณะพระเณรบ้าๆ บอๆ เพราะขาดบาทขาดตาเต็งเลย ตำหนิก็ให้เขาตำหนิไป ทำบาป ทุจริต ก็ตามนิสัยของเขา แต่เราอย่าตำหนิ อย่าทำกับเขาก็แล้วกัน จะกลายเป็นคนเกินบาทก็ยิ่งจะไปกันใหญ่

    ลองคิดดูก็แล้วกัน สมมุติว่ามีเงินจริงตามกฎหมายรับรองอยู่ ๕ บาทและมีเงินปลอมรวมอยู่ด้วย ๑๐ บาท หลานจะเอาเงินจำนวนไหน



    หลาน เอาจำนวนเงินจริง ๕ บาท ปู่

    ปู่ ทำไมไม่เอาจำนวน ๑๐ บาทเล่า


    หลาน ไม่เอาเพราะเอามาแล้วก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร ดีไม่ดีลูกเขาจับก็ยิ่งจะเป็นโทษใหญ่เพิ่มเข้าอีก ส่วนเงินจริงได้มาเท่าไรก็สำเร็จประโยชน์ตามจำนวนของมัน ทั้งไม่เกิดโทษแต่อย่างใด มีมากเท่าไรยิ่งดี

    ปู่ นี่แหละหลาน ระหว่างคนดี คนสุจริต กับคนชั่ว คนทุจริตก็เช่นเดียวกับเงินปลอม แม้มีจำนวนมาก กับเงินจริงแม้มีจำนวนน้อย ใคร ๆ เขาไม่ปรารถนาคนชั่วคนทุจริต แต่คนดีคนสุจริต (ไม่ว่าจะ) มีมากน้อย (เพียงใด) โลกต้องการและปรารถนากัน คนชั่วคนทุจริต (ไม่ว่าจะ) มีมากน้อย (เพียงใด) ย่อมเป็นภัยแก่ส่วนรวมตลอดประเทศชาติ มิใช่ของดี ยิ่งมีมากและมีอำนาจอิทธิพลมากเท่าไรก็ยิ่งทำความชั่วเสียหายได้มาก ดีไม่ดี คนและสมบัติทั้งประเทศอาจอยู่ในเงื้อมมือหรืออยู่ในปากในท้องเขาหมด บ้านเมืองล่มจมได้เพราะคนชั่วคนทุจริตไม่อาจสงสัย ส่วนคนดีคนทุจริตมีมากน้อยย่อมเป็นคุณแก่ส่วนรวมตลอดประเทศชาติ ยิ่งมีอำนาจและอิทธิพลมากก็ยิ่งทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมและประเทศชาติได้มาก ใครก็ต้องการและปรารถนากันทั่วโลก

    ฉะนั้น คนประเภทนั้นจึงมิใช่เป็นคนดีวิเศษและน่านับถืออะไรเลย แม้เขาจะไปเที่ยวคดโกงรีดไถมาได้มากเพียงไร ก็อย่าหลงยินดีและอัศจรรย์เขา นั่นคือสมบัติเป็นพิษแก่ตัวเอง ครอบครัวตลอดไปถึงลูกหลานเหลนไม่มีประมาณ นั่นเป็นสมบัติกาฝากคอยดูดซึมผู้เป็นเจ้าของใหัเสียคนไปโดยลำดับทั้งปัจจุบันและอนาคตไม่มีจบสิ้น นั่นคือสมบัติปลอมย่อมเป็นโทษทัณฑ์แก่ผู้แสวงมามากน้อยเช่นเดียวกับธนบัตรปลอมที่มีมากน้อยในครอบครองนั่นและอย่าไปหลงยินดี ซึ่งเท่ากับหลงจับไฟ จะร้อนและแผดเผาเจ้าของไม่มีจบสิ้นลงได้



    ถาม คนที่มั่งมีเพราะการแสวงหาดังกล่าวมาก็เห็นเขาอยู่สบาย ยังมีหน้ามีตามีคนเคารพนับถือมากมายนี่ปู่

    ตอบ การมีหน้ามีตา มีคนเคารพนับถือนั้น มิใช่ฐานะจะไปลบล้างบาปกรรมที่เขาทำได้ หน้าต้องเป็นหน้า ตาต้องเป็นตา เคารพนับถือก็ทราบว่าเคารพนับถือ แต่ชั่วต้องเป็นชั่ว บาปต้องเป็นบาป ทุจริตต้องเป็นทุจริต โทษต้องเป็นโทษ ไฟต้องเป็นไฟ จะนำมาลบล้างกันไม่ได้

    ถ้าได้ธรรมะก็มิใช่ธรรม ธรรมต้องเป็นบ๋อยของกิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลง ราคะตัณหาไปนานแล้ว บาปต้องไม่มีเพราะถูกการทำชั่วทุจริตสังหารเอาเกลี้ยง สัตว์โลกไม่ต้องมีทุกข์มีบาปติดตัว นรกก็แตก ถูกกิเลสทำลายหายสูญ

    แต่ความจริงไม่เป็นเช่นความเสกสรรนั้น ต้องเป็นความจริงตลอดไปไม่เป็นอื่น เพราะความจริงไม่เคยเป็นน้อยและอยู่ใต้อำนาจของผู้ใด ฉะนั้น ธรรมจึงเป็นธรรมเสมอมา ไม่มีอะไรลบล้างได้

    ด้วยเหตุนี้หลานปู่ จงเป็นหลานปู่ อย่าเป็นหลานชั่ว หลานทุจริต ทำลายบาปกรรมและหม้อนรกให้แตก และอย่าเป็นหลานของความโลภมากได้เท่าไรไม่พอ เที่ยวคดโกง ทุจริต รีดไถด้วยเล่ห์กลต่างๆ เวลาตายสมบัติปลอมกองมหึมาเท่าภูเขายังจะตามเผาผลาญเข้าอีกให้ลงนรกหลุมไหน ใครๆ ไม่อาจมีญาณทราบได้

    จึงรีบระวังตัวกลัวบาป เดินตามจอมปราชญ์ผู้มีปรีชาญาณอันแหลมคมเสียแต่บัดนี้ ยังมีชีวิตอยู่ก็ดี เป็นสุขใจ เวลาตายไปก็เป็นสุข ความดีที่สร้างมาตามสนับสนุนให้มีแต่ความสุขความสำราญบานใจ ไม่มีฟืนไฟบาปกรรมตามแผดเผา เพราะความเชื่อพระพุทธเจ้าและทำตามศาสนธรรมอันเป็นทางราบรื่นดีงาม จัดเป็นคนฉลาดโดยธรรม นำตัวไปสุคติคือโลกทิพย์ไม่สงสัย ดีกว่าคนเสนียดจัญไรหลายร้อยเท่าพันทวี ซึ่งดีแต่คุยโม้โอ้อวดด้วยลวดลายว่าฉลาดแหลมคม เวลาเข้าตาจนแล้วกไม่ผิดอะไรกับนักโทษในเรือนจำ

    หลานจำไว้ให้ถึงใจอย่าได้ลืมว่า ไม่มีใครฉลาดแหลมหลักนักปราชญ์ชาติอาชาไนย มองเห็นการณ์ใกล้และการณ์ไกลยิ่งกว่าพระพุทธเจ้า จงยึดท่านเป็นหลักชีวิตจิตใจ อย่าได้ลดละปล่อยวาง จะเป็นสิริอุดมมงคลแก่หลานเองและส่วนรวมไม่มีประมาณ ปู่นี้แก่มากแล้ว ไม่นานก็จะตาย ลูกหลานจะได้สืบศาสนาไปนาน โลกจะไม่ว่างจากความสงบสุขและความเป็นปึกแผ่นมั่นคงสืบๆ กันไป เอาละขอจบเสียที



    ถาม ในธรรมท่านสอนพระว่าให้ยินดีในความสันโดษ มักน้อย ดังในสัลเลขธรรม ๑๐ ประการ ฆราวาสถ้าปฏิบัติตามธรรมสันโดษและความมักน้อยจะครองชีพไปตลอดไหม บางครอบครัวมีลูกมาก ญาติ มิตรเพื่อนฝูงมาก ถ้าหาได้น้อยไม่พอกินพอใช้จะไม่เดือดร้อนแก่ครอบครัวเช่นนั้นหรือปู่ ส่วนครอบครัวที่มีลูกน้อยคน ผู้เกี่ยวข้องที่ควรเลี้ยงดูมีน้อยก็พอทำเนาไม่เดือดร้อน โปรดชี้แจงให้หายข้องใจด้วยเถิด

    ตอบ ธรรมท่านไม่ได้สอนให้คนขี้เกียจอ่อนแอท้อแท้เหลวไหลในการงาน เพื่อหารายได้มาเลี้ยงตนและครอบครัว แต่ท่านสอนให้มีความขยันหมั่นเพียรและอดทนไม่เลือกงานอันเป็นที่มาแห่งผล เพื่อรายได้เพียงพอกับความเป็นอยู่ใช้สอยไม่ฝืดเคือง ท่านสอนว่า

    จงเป็นบุคคลที่ถึงพร้อมด้วยความขยันหมั่นเพียร หนักเอาเบาสู้ ไม่จับๆ วางๆ เหยาะๆ แหยะๆ ในการทำงาน ๑

    ได้สมบัติมามากน้อยให้มีการเก็บรักษา ไม่จ่ายสุรุ่ยสุร่ายแบบหาขอบเขตเหตุผลไม่ได้ ๑

    การเลี้ยงชีพในครอบครัวให้พอเหมาะพอดีกับความจำเป็น ไม่ฟุ่มเฟือยจนเลยฐานะและความจำเป็น ๑

    ไม่คบเพื่อนฝูงที่เป็นพาล ผลาญทรัพย์ คอยแต่จะกัด จะแทะ จะเคี้ยว จะกลืนสมบัติและความประพฤติให้ลงเหวลงบ่อ ๑

    ธรรมที่ ท่านสอนไว้อย่างมั่นเหมาะทุกแง่ทุกมุม เราไม่คว้าเอากิเลสตัวอวดดีมาทำลายธรรมเหล่านี้ให้พินาศฉิบหายไป เราต้องตั้งตัวได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร ด้วยการเก็บรักษาทรัพย์และจ่ายทรัพย์ตามความจำเป็น ด้วยการเลี้ยงชีพพอประมาณไม่ฝืดเคืองและฟุ่มเฟือย ด้วยความไม่สมัครรักชอบในคนพาลสันดานเลว ความประพฤติเหลวแหลกแหวกแนว เราต้องเป็นคนดีมีผลจากทรัพย์และศีลธรรมประจำตัว ไม่กลัวใครตำหนิและดูถูกเหยียดหยามโดยประการใดๆ

    ธรรมสันโดษ คือความยินดีในสมบัติมากน้อยที่มี และอยู่ในความครอบครองของตน นี่ก็เป็นความพอดีเหมาะสมอย่างยิ่งแล้วสำหรับมนุษย์ที่อยู่ร่วมโลกกัน คำว่าความยินดีในสมบัติที่มีอยู่ของตนนั้น แม้สมบัติจะมีมาก กองเท่าภูเขา ธรรมท่านก็ไม่ได้ห้ามว่าไม่ให้ยินดีเพราะมากเกินไป แต่ท่านห้ามไม่ให้ยินดีและเสาะแสวงสมบัติที่นอกไปจากของมีอยู่ของตัวต่างหาก เช่น ไร่นา ที่ดิน สมบัติพัสถานของตนมีเท่าไร ก็ให้ยินดีเท่าที่มีเท่านั้น ไม่ให้ไปเที่ยวยินดีในสมบัติของคนอื่น

    ยิ่งเป็นเมียเขาด้วยแล้ว ถ้าไม่อยากหัวแบะอย่าไปแหยมเป็นอันขาด แม้แต่ปู่เองยังจะเป็นเพชฌฆาตฆ่าคนได้โดยไม่คาดคิดมาก่อนจะว่ายังไง ยังเหลือเพียงเส้นยาแดงเท่านั้นจะฟันคอคนให้ขาดสะบั้น แล้วก็ตกนรกทั้งเป็นในตะราง ครั้งเขามาเป็นชู้กับเมียปู่น่ะ จงทราบว่าไม่มีอะไรจะเด็ดขาดและเฉียบขาดเท่าใจคน เมื่อถึงเหตุการณ์และเวลาอันเฉียบขาดแล้ว ปู่เคยประจักษ์กับตัวมาแล้ว

    ฉะนั้น จงเชื่อธรรมสันโดษ ยินดีเฉพาะเมียผัวของตัวเท่านั้น อย่าไปเยื่อใยใฝ่ใจกับเมียผัวของเขา ถ้าไม่อยากคอขาดและเป็นผีไม่มีเจ้าน่ะ ปู่จะบอกชัดๆ อย่างนี้ให้หลานๆ พากันจดจำ ธรรมสันโดษ กับ ความมักน้อยในหญิงชาย ไปรักษาตัวและปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัดด้วยธรรมสองข้อนี้ อย่าให้มันดิ้นได้เป็นอันขาด ยิ่ง อปฺปิจฺฉตา ความมักน้อยด้วยแล้วยิ่งเหมาะมากกับฆราวาสผู้โลเลในราคะตัณหา อิ่มไม่เป็น นำมาปฏิบัติ ธรรมนี้ท่านให้ยินดีเฉพาะคู่ครองคือผัว-เมียของตนโดยเฉพาะเท่านั้น ไม่ให้ยินดีให้ใจกับชายอื่นหญิงอื่นเป็นอันขาด ธรรมท่านช่วยรักษาหัว รักษาคอของเราให้คงทนไปด้วยกัน ไม่ให้หัวกับคอพลัดพรากจากกันด้วยคมมีดคมขวานเพราะความมักมาก อยากไม่มีวันอิ่มพอทำลาย

    ปกติมนุษย์หญิงชายในโลก มีหลายปาก หลายใจ ก็มีปากเดียว ใจดวงเดียวนั้นแล แต่มันกินไม่เลือกราวกับมีร้อยปาก พันปาก อะไรๆ ก็จะกิน ก็จะกิน อะไรๆ ก็จะเอา ก็จะเอา ไม่มีคำว่า ท้องเรามีท้องเดียว ปากชนิดตัณหาถือบังเหียนกระตุกเชือกนี้มันไม่คำนึงถึงท้องและเหตุผลใดๆ ทั้งสิ้น มีแต่จะกินให้สมอยาก ปากด่าให้สมกับความเคียดแค้นโมโหท่าเดียว ใจก็มีใจเดียวนั่นแหละ แต่ความคิดความอยาก มันผลักดันให้แตกแขนงออกไปเป็นหมื่นเป็นแสนใจ จนไม่สามารถคัดเลือกได้ว่าความคิดนี้เป็นดี ความคิดนี้เป็นชั่ว เพราะมันกลมกลืนกันจนมองหาตัวจริง ใจจริงไม่เจอโน่น จึงต้องนำธรรมสองข้อคือ ความสันโดษ ยินดีในสิ่งที่มีอยู่ของตน และความมักน้อยในอารมณ์แห่งราคะตัณหา มาปิดปาก ปิดใจ ไม่ให้มันดิ้นรนขนทุกข์มาเผาตนและครอบครัว เพราะไฟตัณหานี้ร้อนมากยิ่งกว่าไฟอื่นใด ร้อนเข้าถึงตับถึงปอดถึงขั้วหัวใจ เครื่องในพังทลายเพราะมันนี้ไม่อาจสงสัย

    หลานๆ จงจำไว้ให้ถึงใจ ปฏิบัติให้ถึงความจริงของธรรมสองข้อนี้ จะพากันอยู่ด้วยความสงบสุขเย็นใจทั้งครอบครัวผัว-เมีย ลูกเล็กเด็กแดง สถานที่อยู่ สมบัติ เงินทอง สิ่งของใช้สอย จะเย็นไปตามๆ พ่อบ้านแม่เรือนที่เป็นคนดีมีธรรมประดับใจ



    ถาม หลานๆ พอใจธรรมสองข้อนี้มาก ประทับใจจริงๆ อยากให้คนอื่นๆ เขาฟังบ้าง จะได้ธรรมนี้ไว้ป้องกันตัวในเวลาฉุกเฉิน เพราะเรื่องคนหลายปากหลายใจนี้นับวันมีมาก ถ้าไม่มีธรรมนี้เป็นยาประจำบ้านก็น่ากลัวจมูกพัง เพราะหวัด.....นี้ชุกชุมไม่มีฤดูกาลสถานที่เลยทุกวันนี้ ทั้งไม่เว้นชาติชั้นวรรณะ ฐานะมีหรือจนคนโง่หรือคนฉลาดตลอดเพศวัยเลย ต่างตั้งหน้าตั้งตาส่งเสริมหวัดประเภทหน้าด้านสันดานเลวนี้อย่างออกหน้าออกตา แถมยังว่าเป็นเกียรติอีกด้วย สิ่งเหล่านี้ระบาดทั่วดินแดนแทบไม่มีสถานที่กาลเวลาเหลืออยู่แล้วทุกวันนี้ น่าวิตกต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันจริง ๆ เฉพาะเด็กวัยรุ่นนั้นน่าวิตกและน่าสงสารมากที่จะกลายเป็นเด็กเกเรไปตามโรคพรรค์นี้กันเสียหมด จึงอดคิดไม่ได้เมื่อได้ฟังธรรมสองข้อนี้จากปู่แล้ว แล้วจะแก้ไขอย่างไรจึงจะมีผลดีต่อผู้ใหญ่และส่วนรวมตลอดเด็กๆ ที่ราวกับว่าเตรียมพร้อมเพื่อจะลงเหวลงบ่อลึกกันอยู่แล้วเวลานี้ ปู่โปรดด้วย

    ตอบ ใจที่หมดคุณค่าในธรรมที่มีคุณค่ามาก ย่อมทำได้ทุกอย่างบรรดาสิ่งต่ำทรามทั้งหลายโดยไม่สะทกสะท้าน เวลาผลของความต่ำทรามเกิดก็ไม่สะทกสะท้านเกิดได้กับบุคคลทุกชาติชั้นวรรณะและเพศวัย ไม่เลือกว่าเป็นบุคคลเช่นไร เกิดได้ทั้งนั้น ไม่ลำเอียง ขอแต่ทำลงไปเท่านั้น ผู้จะแก้โรคหมดคุณค่าเหล่านี้ก็คือคน ธรรมเครื่องแก้ที่ท่านสอนไว้ก็มีอยู่กับทุกคนที่จะนำมาแก้ ไม่มีอะไรผู้ใดได้เปรียบเสียเปรียบ ถ้าตัวผู้ทำไม่ยอมเสียเปรียบให้ตัวเองเพราะความไม่เอาไหน ความไม่สนใจแก้สิ่งต่ำทรามที่เกิดที่มีอยู่ภายในตนเสียเท่านั้น ถ้าอย่างนั้นก็ไม่มีใครช่วยได้ แม้พระพุทธเจ้าก็ไม่ทรงช่วยได้ อย่าว่าแต่ปู่ที่พูดน้ำลายฟุ้ง ปากแฉะอยู่ขณะนี้เลย เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน เมื่อช่วยใครไม่ได้ก็จงหันมามองตัวเอง ช่วยตัวเองอย่าให้เสียไปกับสิ่งไม่ดีทั้งหลายที่เขาเสียกัน


    ถาม ก็น่าจะเป็นอย่างนั้น ปู่ ตกลงก็ไม่พ้นคำว่า “ตัวใคร ตัวเรา” อยู่โดยดีแหละ ซึ่งก็น่าจะขัดต่อธรรมที่สอนให้มีเมตตากรุณาต่อกัน หรือปู่มีความเห็นอย่างไรก็สุดแต่จะโปรด

    ตอบ เมื่อเขาไม่ยินดีกับการช่วยเหลือ ก็ยังจะหน้าด้านไปช่วยเขาอยู่หรือ มีธรรมหน้าด้าน ให้คนเมตตาหน้าด้านนำไปช่วยเขาไหมล่ะ ถ้าไม่มี อย่าหาญทำ กิเลสตัวหยาบๆ จะหัวเราะเอา จะว่าปู่ไม่บอก

    คนไข้เต็มโรงพยาบาล หมอช่วยไว้ให้ทุกคนไหม ยังมีรายเล็ดลอดตายไปต่อหน้าต่อตาหมอจนได้เรื่อยมามิใช่หรือ โรคที่ทำให้คนตายต่อหน้าหมอนั่น มันฟังเสียงหมอเสียงยาเมื่อไร แล้วเมตตาเราเก่งกว่าพระเมตตาของพระพุทธเจ้าเชียวหรือ จึงจะสามารถช่วยใครๆ ได้ทั่วโลกทั้งที่เขาไม่สนใจกับการช่วยเหลือใดๆ เลย นี่แหละหลาน ที่สัตว์ไม่ไปนิพพานกับพระพุทธเจ้าก็เพราะเหตุนี้ พิจารณาเองเถอะอย่าให้แจงไปมาก ปู่แก่แล้ว มีแต่ลมหายใจแขม่วๆ อยู่เท่านั้นเอง



    ถาม ขอบพระคุณปู่มาก ที่นี่หลานพอเข้าใจวิธีปฏิบัติต่อตัวเองและผู้อื่นได้พอประมาณ หลานยอมรับผิดที่ห่วงคนอื่น มากเกินเหตุผลอรรถธรรมที่ควรเป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้

    พูดมาถึงตอนนี้ก็ทำให้สงสารปู่ ตลอดครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ที่ท่านอุตส่าห์เมตตาแนะนำสั่งสอน ทั้งที่บางครั้งสุขภาพไม่ค่อยดี ยังอุตส่าห์ต้อนรับสั่งสอน แต่คนที่ไปหาท่านมีหลายประเภท หลายนิสัย หลายความต้องการดังที่ท่านว่า นานาจิตตัง นั่น แล

    ตอบ ใช่ บางพวกก็ตั้งหน้าตั้งตาไปหาศีลหาธรรมจริงๆ ที่น่าสงสาร แต่บางพวกก็พากันไปเที่ยวตากอากาศเปลี่ยนอารมณ์ในวัด แล้วก็เที่ยวจุ้นจ้าน พูดคุยกันไม่ออมปาก ปล่อยตามอารมณ์ ส่งเสียงอึกทึกครึกโครมทั่วบริเวณวัด จนลืมคิดว่าที่นั่นเป็นวัดและมีครูอาจารย์พระเณรบำเพ็ญธรรมอยู่ที่นั่น ท่านอาจรำคาญได้ คิดแต่ความสนุกสนานรื่นเริงไปตามลัทธินิสัยของตน บางพวกก็ไปด้วยเสียงเล่าลือว่าท่านเก่งทางนั้นทางนี้ แล้วก็ตื่นข่าว พากันไปเพื่อได้ของดีจากท่านมาอวดกัน เมื่อไปก็รบกวนขอนั้นขอนี่ท่าน เมื่อท่านบอกว่าไม่มี ก็ดื้อรั้นเถียงท่านว่า ท่านมี แล้วเซ้าซี้ขอจนน่ารำคาญ เมื่อไม่ได้ดังใจ บางรายก็พาลทะเลาะกับพระแล้วกลับไป ก่อนไปก็พูดทิ้งท้ายในลักษณะบาดหมางสาปแช่งต่างๆ ว่า ต่อไปจะไม่มาเหยียบวัดนี้อีกจนวันตาย พระอะไรอย่างนี้ ขออะไรๆ ก็ว่าไม่มีๆ จะหวงไว้กินสมบัติอะไรก็ไม่รู้

    ตามธรรมดาของพระผู้มีธรรมประจำใจอยู่แล้ว ท่านไม่เห็นอะไรยิ่งกว่าธรรม ตลอดอิริยาบถท่านคิดฝักใฝ่ใคร่ธรรมอยู่โดยสม่ำเสมอ ไม่สนใจและเผลอไผลคิดไปโน้นไปนี้ ว่าคนนั้นจะมาหา คนนี้จะมาเยี่ยม จะมาหรือไม่ก็เป็นเรื่องเป็นอัธยาศัยของแต่ละคน ท่านไม่กังวลกับอะไรมากกว่าการแสวงหาธรรมด้วยการปฏิบัติ มีเดินจงกรมบ้าง นั่งสมาธิภาวนาบ้าง ยืนรำพึงในธรรมทั้งหลายบ้าง ให้สติอยู่กับตัว ไม่ปล่อยใจให้เลื่อนลอยไปตามอารมณ์ ท่านมีความสำรวมระวังอยู่ทุกอิริยาบถนอกจากหลับเท่านั้น นอกนั่นเป็นท่าแห่งความเพียรเพื่อละกิเลสแลกองทุกข์ทั้งมวลโดยตลอด ท่านจึงไม่ต้องการสิ่งรบกวนต่างๆ



    (มีต่อ ๕)
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7453

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>หลวงปู่ขาว อนาลโย ตอบปัญหาธรรม
    โดย สาวิกาน้อย</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ถาม ที่เขามาหาปู่ มีหลายพวกดังปู่เล่าเรื่องของคนมาวัดทั่วๆ ไปหรือเปล่า

    ตอบ ทำไม่จะไม่มี มีดังที่เล่าให้ฟังนี่แหละอยากพูดว่าแทบทุกวันไป บางพวกก็มาขอบัตรขอเบอร์ เวลาพูดอรรถพูดธรรมะให้ฟังเขาไม่สนใจ คอยแต่จะจับเอาไปตีเป็นเบอร์กันเท่านั้น พวกนี้พวกแสวงความร่ำรวยในทางลัด อยากเป็นเศรษฐี มีเงินล้านด้วยการถูกบัตรถูกเบอร์ อรรถธรรม บุญ - บาปอะไรไม่สนใจ บางพวกก็แบกคัมภีร์มาเที่ยวไล่พระให้จน ถือว่าตนรู้หลักนักปราชญ์ฉลาดพอตัว แต่ส่วนมากมักไม่กลัวบาป เพราะความทะนงตัวว่าเรียนรู้มากรู้หมด หาได้รู้ไม่ว่าตนกำลังเป็นช้างใหญ่ที่ถูกกิเลสตัวเย่อหยิ่งจองหองคว้าคอมาเป็นเครื่องมือถือเป็นพาหนะนั่งบนตะพองหลัง มาอวดดีอวดเก่งกับพระ พระแม้แสนโง่ท่านก็รู้ได้ เพราะท่านดูกิเลสต่อสู้กับกิเลส ด้วยความเพียรอยู่ทุกเวลาไม่ลดละ มีสติปัญญาเป็นเครื่องมือสอดส่องและทำลายข้าศึกบนหัวใจ ไม่ก้มหัวลงให้มันขึ้นนั่งอย่างง่ายดาย เมื่อเห็นกิเลสนั่งบนหัว

    ใครก็ตามมาอวดดี อวดเด่น อวดมั่ง อวดมี อวดฉลาด หรืออวดอะไรก็ตามอันเป็นเรื่องของกิเลสพองตัว ท่านจึงอดสังเวชอยู่ภายในไม่ได้ ส่วนมากคนไปวัดมักจะไปดูและจับผิดพระ ไปคอยให้คะแนนพระและคอยตัดคะแนนพระด้วยวิธีการติพระ ชมพระ ว่าวัดนั้นเป็นอย่างนั้น องค์นั้นเป็นอย่างนั้น แต่ไม่สนใจคอยสอดส่องดูตัวเองว่าดีหรือชั่วประการใดบ้าง ไม่คอยติตัวเอง นอกจากหาเรื่องป่าๆ เถื่อนๆ มาชมตัวเอง ให้เขาว่าดีและนับถือกันไปลมๆ แล้งๆ คนเราถ้ามีการสังเกตสอดส่องความประพฤติชั่ว - ดีของตัวบ้าง ย่อมมีที่ดัดแปลงแก้ไขให้เป็นคนดี เป็นที่เคารพนับถือของผู้อื่นได้อย่างน่าชมและสนิทใจ บางพวกก็แฝงตัวฟิตปั๋งรัดกุมเต็มอัตราศึก มองเห็นหมดกระทั่งขน นั่งพับเพียบแบบชาวพุทธทั้งหลายไม่ได้ จะลดอัตราศึก คือ กางเกงแตกระเบิด เป็นอันตราย ดูไม่ได้ เพราะพิสดารเกินมนุษย์ เมื่อแต่งเต็มยศแห่งอัตราศึกแล้ว ดูลักษณะท่าทางราวกับจะเหาะบินทั้งที่ไม่มีปีก

    นี่แลหลาน กิเลสมันทำคนให้ผิดปกติและพิสดารเกินมนุษบ์มนาเทวดาทั้งหลายอย่างนี้ หลานๆ ลูกชาวพุทธจงพากันทำความเข้าใจกับมันไว้เสมออย่างลืมตัว ไม่งั้นเราต้องเป็นเครื่องมือให้มันขับขี่ราวกับยวดยานพาหนะหรือราวตุ๊กตาเคลื่อนที่โตยไม่อาจสงสัย

    ปู่นี้เกิดมานาน กิเลสขึ้นขี้รดบนหัวใจมานาน การต่อสู้กับมันมาก็นานและหนักมากแทบไม่มีอะไรเทียบเท่าเสมอได้ ในบางครั้ง จึงพอรู้เรื่องวิชากลลวงของมันได้บ้าง พอมาเล่าให้ลูกหลานฟังเพื่อเป็นคติและพยายามกำจัดมันบ้าง แม้ยังมีกิเลสเช่นเดียวกับคนทั่วไป แต่ความมีธรรมแทรกในใจอยู่บ้างก็ยังมีหิริ - โอตตัปปธรรม คนเราไม่ปล่อยตัวแบบลูกโป่งบนอากาศโดยถ่ายเดียว ไม่ทราบจะตกทิศทางใดไม่มีจุดมีหมาย นั่นมันเกินไปสำหรับมนุษย์ที่โลกถือว่ามีศักดิ์ศรีสูงกว่าสัตว์

    จงพากันพยายามระมัดระวังตัวสมกับเราเป็นผู้รับผิดชอบเรา สมัยนี้สิ่งที่จะทำให้เป็นคนมีมากจนพรรณนาไม่จบ ซึมซาบหลั่งไหลเข้ามาทุกทิศทุกทางจากทั่วโลก คนที่เขานำสิ่งทำลายมนุษย์ผู้โง่เขลามาแจกจ่าย เขาได้เงิน แม้ในเขาจะต่ำจะทราม แต่เขาก็ไม่เคยสนใจกับความต่ำความสูงยิ่งกว่าสิ่งที่เขาต้องการอยู่แล้ว ฉะนั้น คนโง่จึงเสียเปรียบและเป็นเหยื่อของคนฉลาดร่ำไป ไม่อาจมีอะไรมาแก้ให้ตกไปได้ นอกจากผู้มีธรรม คือ สติธรรม ปัญญาธรรม ซึ่งเหนือความฉลาดของโลกอยู่มาก จนเทียบกันไม่ได้เป็นเครื่องหลบหลีกผ่อนคลาย สิ่งทำลายจิตใจและสมบัติให้เสียนั้น สังเกตดูก็รู้ก็เห็นเพราะมีเต็มไปหมดแม้ในป่าในเขาอย่างว่าแต่ในบ้านในเมืองที่มีคนมากเล๊ย ขอแต่คนมีอยู่ที่ไหน สิ่งทำลายเหล่านี้ต้องมีอยู่กับคนจนได้ ทั้งนี้เพราะคนไปเสาะแสวงหามันมาเอง สิ่งเหล่านี้แสดงออกได้หลายทาง โดยคนโง่อย่างพวกเราไม่อาจทราบได้ นอกจากเพลิดเพลินและเคลิ้มหลับไปกับเพลงกล่อมของมัน เพราะมีมากต่อมากจนพรรณนาไม่จบ ลบล้างไม่ลงเนื่องจากความชอบและติดใจมีมาก

    สิ่งดังกล่าวนี้บางอย่างก็หยาบโลน และลดหลั่นกันลงมาจนถึงขั้นสุภาพละเอียดลออสามารถกล่อมได้ทั้งผู้ใหญ่แลเด็กๆ ทำให้เสียคนได้ตามส่วนของมันและวัยของผู้ถูกกล่อมมีอยูทั้งที่ลับและที่เปิดเผยธรรมดาทั่วๆ ไปโดยไม่อาจคิดว่ามันเป็นภัยหรือมีส่วนเป็นภัยต่อส่วนรวมไม่มีประมาณ ผู้นำสิ่งเหล่านี้เข้ามาส่วนมากมักมีแต่ผู้มีปัญญาหาเงินในทางนี้ตลอดผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่แทบทั้งนั้น ตาสีตาส ไม่มีปัญญาแสวงหามาได้แหละ

    ฉะนั้น ปู่จึงวิตกอนาคตของลูกหลานบ้านเมืองว่าจะเป็นไปอย่างไร เมื่อการฟื้นฟูกับการทำลายไม่สมดุลกันดังที่รู้ๆ เห็นๆ อยู่นี้ ส่วนมากมักมีแต่การทำลาย เพราะเป็นสิ่งที่ชอบและทำได้ง่าย ไม่ว่าสิ่งใดเมื่อชอบใจย่อมทำได้ง่ายแม้สิ่งนั้นจะทำยากเหมือนสิ่งดีงามทั่วๆ ไปก็ตาม ทั้งนี้มันขึ้นอยู่กับจิตใจเป็นสำคัญ ถ้าลงใจได้ชอบและติดพันในทางใด สิ่งใด หรือผู้ใดแล้ว การใกล้ชิดติดพันและการกระทำหากเป็นคู่เคียงคู่ควรกันไปเอง เอาละปู่เหนื่อย ขอพักผ่อนขันธ์ที่ชราเต็มแก่แล้ว



    ถาม วันนี้เพื่อนๆ พามาเยี่ยมปู่ ทราบกิตติศัพท์กิตติคุณของปู่ฟุ้งขจรมานานแล้ว เมื่อมีโอกาสได้มาหาทำงานทางนี้ เพื่อนเห็นว่าเป็นคนชอบธัมมะธัมโมเลยชวนมา จึงได้มีวาสนามากราบปู่

    ปู่ถาม มาหาทำงานอะไร

    ผู้ตอบ ตามแต่จะได้งานทำ ส่วนมากก็ชอบทำงานสูงบ้าง นั่นแหละปู่

    ปู่ งานอะไรที่สูงน่ะ งานราชการแผนกต่างๆ ที่นิยมกันก็งานที่กินเงินเดือนหลวง นับแต่เป็นคูรสอนนักเรียนขึ้นไปจนถึงนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นงานสูงส่งและมีเกียรติ์มาก นั่นแลที่นิยมกันว่าเป็นงานสูงและสูงส่งมากเพราะเป็นงานเด่นในแผ่นดิน

    ในหลักธรรมทางพุทธศาสนาที่ท่านนิยมกันมาประจำแผ่นดินว่าเป็นงานสูงส่ง งานมีเกียรติสูง ได้แก่งานที่ทำและการแสวงหาด้วยความสุจริตยุติธรรม ไม่ฉ้อไม่โกง ไม่ฉกลักปล้นจี้กดขี่รีดไถคดโกงใคร ไม่คอรัปชั่น ฉ้อราษฎร์เบียดบังหลวงเหล่านี้จัดว่าเป็นงานสะอาด เป็นงานสูงส่ง เป็นงานมีเกียรติเป็นคนมีเกียรติสูง แม้ตาสีตาสาทำไร่ทำนา ทำสวน คราดไถ ขุดดิน ฟันไม้ หาฟืน เผาถ่านมาขายก็เป็นงานสูงส่งเพราะทำด้วยมือสะอาด ทำด้วยความสุจริตยุติธรรม ไม่เบียดเบียนทำลายผู้ใด ใครๆ ไม่รังเกียจ ไม่เกลียดชัง นอกจากเห็นใจและสงสารไปตามๆ กัน

    หลานน่าจะคิดผิดไป เพราะไม่แยกแยะงานว่างานใดเป็นไปเพื่อถูกหรือเพื่อผิด งานใดเป็นไปเพื่อสุจริตยุติธรรม หรือเป็นไปเพื่อทุจริตผิดใจมนุษย์และทำลายชาติบ้านเมือง ควรแยกงานดังปู่พูดไว้เบื้องต้นนั้นก่อนซิหลาน งานคดโกง รีดไถ ฉ้อราษฎร์บังหลวง เป็นต้นนั้น คืองานต่ำ งานไม่สะอาด งานสกปรกรกเก้าอี้ งานเบียดเบียนทำลาย งานที่คนรังเกียจทั้งแผ่นดิน งานทำลายสมบัติและจิตใจมนุษย์ หนักไปกว่านั้นก็เป็นงานทำลายชาติให้ล่มจม มิใช่งานที่สูงส่งและน่าชมเชยสรรเสริญอะไรเลย ความจริงโลกเขาไม่นิยมหรอก หากแต่ผู้สกปรกเพราะมือและใจไม่สะอาดเขานิยมกันเองต่างหาก



    ถาม ทำไมโลกจึงนิยมรักชอบกันนักหนาว่า งานราชการเป็นงานสูงส่งเป็นงานมีเกียรติยศชื่อเสียงเล่าปู่

    ตอบ อันงานราชการตามหลักปกครองนั้นสูงส่งและมีเกียรติยศชื่อเสียงจริง แต่ผู้นำงานในวงราชการเป็นสำคัญเพราะมีทั้งคนดีคนชั่ว คนมือสะอาดและมือสกปรกสับสนกันอยู่ในวงราชการ นั่นซิหลาน ถ้าผู้นั้นทำไม่ถูกตามหลักปกครองแห่งกฎหมายบ้านเมือง ก็ไม่จัดว่าผู้นั้นสูงส่ง มีเกียรติยศชื่อเสียง ตรงข้ามประชาชนเรียกว่าเป็นผู้ไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ที่ประชาชนมอบความไว้วางใจใหั ยังกลับทำลายสมบัติและจิตใจประชาชนได้ลงคอ จะเรียกว่าสูงส่งได้อย่างไร นอกจากเขาจะเรียกคนประเภทนั้นว่า ยักษ์ทำลายชาติอยู่ในวงราชการที่มีเกียรติที่น่าเสียดายให้คนสะอาดมือดีครองเท่านั้น คนที่ทำงานสุจริตไม่คิดคดทรยศต่อหน้าที่ต่างหากเป็นผู้สูงส่งและมีเกียรติยศชื่อเสียงในวงราชการงานแผ่นดิน

    หลานต้องเข้าใจตามธรรมที่ปู่อธิบายนี้ แล้วที่ไหนงานใด ถ้ามีรายได้เลี้ยงตัวให้ทำเถิด อย่าเป็นคนเลือกงาน ผลรายได้จะฝืดเคืองไม่คล่องตัว จะเกิดความอดอยากขาดแคลนหากินไม่ทันกับปากกับท้องที่รบกวนอยู่แทบตลอดเวลา ควรรีบหางานที่บริสุทธิ์สะอาดทำ จะไม่เป็นคนว่างงาน ปากท้องจะว่างงานไปด้วย แล้วจะเป็นทุกข์แก่เรานั้นแล



    ถาม ปู่เวลาคนตายทำไมต้องนิมนต์พระมาสวด กุสลา มาติกา บังสุกุลให้ เมืองไทยเรามีทั่วประเทศ ไม่สวดไม่ได้หรือ หลานสงสัย ต้องขอประทานโทษถ้าเป็นความเข้าใจผิด แต่หลานมิได้ปักใจว่าที่ทำนั้นไม่ถูก เป็นแต่เพียงสงสัยจึงกราบเรียนถามปู่พอให้เข้าใจในเรื่องราวและหายสงสัยเท่านั้นเอง

    ตอบ ไม่สวดก็ได้ ใครจะทำโทษ คนที่เขาไม่นับถือศาสนาพุทธเราเขายังไม่เห็นสวด กุสลา มาติกา เวลาคนตาย


    ถาม สวดเพื่ออะไรปู่

    ตอบ สวดให้บุญคนตายยังไงเล่า เวลาคนนั้นมีชีวิตอยู่เขาขี้เกียจทำบุญเวลาเขาตายแล้วญาติๆ กลัวเขาตกนรก ก็ช่วยนิมนต์พระมาสวดส่งบุญให้เขา บางทีอาจพ้นนรกได้


    ถาม แน่ใจไหมล่ะปู่ ว่าเขาจะได้บุญจากญาติๆ ทำส่งให้ไม่ตกนรก

    ตอบ แน่หรือไม่แน่ก็เพราะความรักสงสารกัน จำต้องทำเพื่อไว้ดีกว่าปล่อยตามบุญตามกรรม


    ถาม ในครั้งพระพุทธเจ้า เวลาคนตายแล้วนิมนต์พระไปสวด กุสลา มาติกา ดังนี้ไหมปู่

    ตอบ มี แต่ท่านไปปลงกรรมฐาน พิจารณาซากศพที่ตายแล้วเป็นอสุภะ อสุภัง ทุกฺขํ อนิจฺจํ อนตฺตา เกิดมาแล้วต้องตาย ไม่จีรังยั่งยืน กลายเป็นซากเป็นศพ เปื่อยเน่าผุพังหาสาระแก่นสารไม่ได้ แล้วนึกน้อมเข้ามาสู่ตัวว่าจะต้องเป็นเช่นเดียวกันเพื่อได้สติปัญญาจากซากศพนั้น ไม่ประมาท บางรายได้สำเร็จมรรคผลเพราะการพิจารณาซากศพนั้นก็มี ท่านจึงสอนให้พระไปเที่ยวกรรมฐานตามป่าช้า ซึ่งถือเป็นธุดงควัตรเรื่อยมาจนปัจจุบันนี้ นี่มีในธุดงค์ ๑๓ ข้อ ค้นดูก็ยังได้


    ถาม ทุกวันนี้ไม่เห็นพระไปเยี่ยมป่าช้าดังครั้งพุทธกาลท่านทำกัน เห็นเฉพาะเวลาคนตายแล้วเขานิมนต์ท่านมาสวด กุสลา มาติกา เท่านั้น

    ตอบ ถึงไม่ปรากฏเห็นก็ยังมี พระธุดงคกรรมฐานท่านทำเป็นประจำมิได้ขาด แต่ท่านมิได้เที่ยวประกาศให้ใครๆ ทราบ เนื่องจากเป็นงานของท่านโดยเฉพาะมิใช่งานสวดกินข้าวต้มขนมตามที่เขานิมนต์เวลาคนตายนี่นา


    ถาม สมัยนี้ยังมีพระไปกรรมฐานป่าช้าอยู่หรือปู่ นึกว่าหมดสมัยไปแล้ว

    ตอบ สมัยบ้าอะไร เอาอะไรมาพูด ธรรมมีสมัยเมื่อไร นอกจากพวกบ้าสมัย ตื่นสมัยเท่านั้น จึงจะอุตริพูดว่าเที่ยวป่าช้าหมดสมัยไปแล้ว พระธุดงคกรรมฐานท่านมิใช่บ้าตื่นสมัย อย่ามาพูดในที่นี่ เดี๋ยวพระธุดงค์จะแตกวัดกันเสียหมดจะว่าไม่บอก โน่นไปพูดกับพวกบ้าตื่นสมัยด้วยกันโน่น


    ถาม โอ้โฮ ตายจริง หลานพูดผิดไป ต้องขอประทานโทษมากๆ ด้วยปู่ มันหลุดปากออกมายังไง อันสมัยๆ บ้าๆ นี่ มันชินปากชินใจจึงหลุดออกมาอย่างง่ายดายราวกับไม่ได้คิด คล่องปากจริงสิ่งที่ไม่ให้คล่องอย่างนี้ บทพานั่งภาวนา พุทโธ ไม่เห็นได้เรื่อง คอยแต่จะคิดไปร้อยแปด น่าโมโหจริงๆ ขอประทานโทษ ย้อนถามเรื่องสวด กุสลา มาติกา อีกเล็กน้อย นั่นมีความหมายว่าอย่างไร ปู่

    ตอบ มีความหมายได้หลายอย่าง การสวด กุสลา มาติกา ถือเป็นคติตัวอย่างมาจากพระพุทธองค์เสด็จโปรดพระมารดาชั้นดาวดึงส์สวรรค์ ฉะนั้น เวลาคนตายจึงนำธรรมะที่พระองค์เคยสวดโปรดพระมารดามาสวดให้แก่ผู้ตายในสมัยนี้จนเป็นธรรมเนียมเรื่อยมา


    ถาม เวลาตาย ไม่สวดธรรมนี้จะขัดข้องประเพณีของชาวพุทธเราไหม

    ตอบ น่าจะไม่ขัดข้อง ถ้าเจ้าของศพไม่ขัดข้องตัวเองว่าไม่ได้ทำดังชาวบ้านเขาทำกัน ส่วนผู้ตายไม่มาเกี่ยวข้องทั้งจะสวดหรือไม่สวดเพราะหมดหนทางจะมาแสดงตน


    ถาม เวลาพระท่านสวด กุสลา มาติกา ให้ ผู้ตายจะได้รับไหมปู่

    ตอบ ปู่ยังไม่เคยตายและยังไม่เคยมีใครมาสวด กุสลา มาติกา ให้ปู่ จะไปรู้อย่างไรว่าได้รับหรือไม่ได้รับ ถ้าถามเก่งๆ อย่างนี้ก็ไปถามผู้ที่เขาตายแล้วดูซิว่าเขาได้รับไหม แล้วค่อยมาบอกปู่


    ถาม อีกแล้วปู่นี่ รวดเร็วจริง หลานก็เซ่อจริงหาถามไม่เข้าเรื่อง ความจริงคิดจะถามว่า ในธรรมท่านบอกว่าผู้ตายได้รับไหมต่างหาก

    ตอบ ในธรรมท่านมิได้บอกไว้ว่า เวลาคนตายแล้วให้ไปสวด กุสลา มาติกา ให้ บอกแต่การทำบุญอุทิศส่วนกุศลถึงผู้ตาย ผู้ตายที่ควรได้รับกุศลทานของญาติที่อุทิศให้ก็มี ไม่อยู่ในฐานะจะรับได้ก็มี


    ถาม ที่รับผลบุญของชาติไม่ได้เพราะเหตุไรปู่

    ตอบ เพราะฐานะที่จะได้รับไม่อำนวย เช่นผู้ชายไปเกิดเป็นมนุษย์ เป็นสัตว์เดียรัจฉาน เป็นเปรต ๑๑ จำพวก และไปสวรรค์ นิพพาน เสียก็ไม่ใช่ฐานะจะมารับ


    ถาม จำพวกไหนที่มารับได้ปู่

    ตอบ จำพวก ปรทัตตูปชีวีเปรต จำพวกเดียวที่อยู่ในฐานะมารับได้ นอกนั้นไม่ปรากฏ


    ถาม ถ้าญาติถวายทานอุทิศให้ผู้ตาย แด่ผู้ตายมารับไม่ได้ บุญที่ญาติอุทิศจะตกแก่ใครล่ะปู่

    ตอบ บุญจะไปตกแก่นักโทษในเรือนจำได้อย่างไร ก็ต้องตกเป็นของผู้ทำอยู่โดยดีละซี เพราะบุญเป็นธรรมชาติละเอียดอ่อนมากเกินกว่าความคิดคาดคะเนด้นเดาจะตามรู้ตามเห็นได้ ดังนั้นท่านจึงสอนให้ทำบุญเสียแต่เมื่อยังมีชีวิตอยู่ บุญจะได้ติดตัวไปด้วย ไม่ต้องหวังพึ่งใครอันเป็นของไม่แน่นอน


    ถาม ที่นิมนต์มาสวด กุสลา มาติกา นั้นมีผลอย่างไรแก่ผู้ตายบ้าง ปู่

    ตอบ อย่าว่าแต่ผู้ตายจะได้รับผลจากการสวด กุสลา มาติกา เลย แม้คนเป็นที่นั่งห้อมล้อมอยู่ด้วยขวดเหล้าในบริเวณนั้น ไม่สนใจกับการสวด กุสลา มาติกา ของพระ ก็ไม่เกิดประโยชน์อะไรขึ้นมา การสวดต่างๆ ก็สักแต่สวดแต่ทำไปอย่างนั้นเอง ไม่ผิดอะไรกับนกขุนทองพูดว่า “แก้วเจ้าขา” ส่วนแก้วเป็นอย่างไรก็ไม่สนใจทราบ ต่อไปจึงน่ากลัวศาสนาจะกลายเป็นเครื่องมือของโลกไปหมด ไม่มีธรรมคือความจริงแฝงอยู่เลยในพิธีต่างๆ จะมีแต่ประเพณีตามใจชอบเกลื่อนไปหมดนั่นแล

    เอาละถามมาก ตอบไปมาก เขาจะว่าปู่เป็นบ้ากันทั้งเมือง เรื่องก็จะไปกันใหญ่



    (มีต่อ ๖)


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top><HR>ถาม ปู่ครับพวกหลานมากราบเยี่ยมปู่ เพราะได้ยินกิตติศัพท์เกียรติคุณปู่มานาน แต่จะไม่ขอรบกวนอะไรมาก มีข้องใจอยู่อย่างหนึ่งที่คนเขาว่า “ตายแล้วสูญ” ไม่ได้เกิดเป็นอะไรต่อไปอีกเลยตลอดไป ความจริงที่ศาสนาสอนให้เป็นอย่างไร ปู่

    ตอบ คัมภีร์กิเลสสอนไว้ว่า บาปไม่มี บุญไม่มี นรกไม่มี สวรรค์ไม่มี นิพพานไม่มี สัตว์ทั่วโลกธาตุตายแล้วสูญสิ้นโดยประการทั้งปวง ไม่มีชิ้นส่วนเหลือเป็นสาระพอให้เกิดต่อไปอีกได้ เหล่านี้เคยมีผู้ถามมามากต่อมากแล้ว และก็ได้ตอบไปมากต่อมากเช่นเดียวกัน

    ในธรรมของพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ ตรัสสอนไว้เป็นแบบเดียวกันอย่างตายตัวว่า บาปมี บุญมี นรกมี สวรรค์มีและนิพพานมี สัตว์ทั่วแดนโลกธาตุที่ยังมีกิเลส อวิชชาครองใจ เวลาตายแล้วต้องเกิดอีกวันยังค่ำ เว้นพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ผู้สิ้นกิเลสโดยสิ้นเชิงแล้วเท่านั้น นอกนั้นเป็นจำพวกตกอยู่ในแหล่งแห่งความเกิดแล้วตายเล่าตลอดไปจนกว่าจะทำใจซึ่งเป็นที่ฝังจมของเชื้อแห่งภพชาติให้สิ้นจากเชื้อนี้โดยสิ้นเชิงแล้ว จึงจะสิ้นสุดยุติการเกิด - ตายอย่างหมดเยื่อใย ให้หลานเลือกเฟ้นเอาเอง จะเอาคัมภีร์กิเลสที่ชื่อว่า “คัมภีร์แสนปลิ้นปล้อนหลอกลวงสัตว์” ก็ได้ จะเอาคัมภีร์ธรรมทีชื่อว่า “คัมภีร์เด็ดเพชรน้ำหนึ่งในการสังหารกิเลส” ก็ได้ หรือจะเอาเป็นคาถาว่ากิเลสทุกประเภท สรณํ คจฺฉามิ ขึ้นชื่อว่ากิเลสแล้วเราคว้าหมดก็ได้ พุทธํ ธมฺมํ สงฺฆํ สรณํ คจฉามิ ขึ้นชื่อว่าพระรัตนตรัยแล้วเราน้อมรับหมดก็ได้



    ถาม โอ้โฮ คัมภีร์ของปู่นี้พิสดารจริง เพิ่งได้ยินนี่เอง ไปเขียนมาจากไหนปู่ หลานไม่เคยได้ยินใครพูดมาก่อนเลย

    ตอบ เรียนมาจากป่าจากเขา จากถ้ำ เงื้อมผา ป่าช้า ป่าชัฏ ซอกห้วย ริมธาร และจากความอดอยากขาดแคลน จากความเดนตายในการเรียนการปฏิบัติ ตามจี้ ไม่ใช่ได้มาอย่างสะดวกสบายดังผู้มาเยี่ยมทั้งหลายที่ถามเอาๆ ถ้าอยากรู้คาถาเหล่านี้ประจักษ์กับตัวเอง ไม่ต้องแบกความสงสัยอันหนักหน่วงต่อไป ว่าตายแล้วเกิดอีก หรือตายแล้วสูญ ก็ต้องปฏิบัติด้วยจิตภาวนาตามธรรมที่ท่านสอนไว้ เมื่อการปฏิบัติและผลสมบูรณ์แล้ว คำว่าตายแล้วเกิด หรือตายแล้วสูญ จะไม่นอกเหนือไปจากการพิสูจน์ด้วยข้อปฏิบัติไปได้เลย ต้องรู้ต้องเห็นเพราะเป็นหนทางให้รู้ให้เห็นความจริงโดยตรง

    พระพุทธเจ้าแลพระอรหันต์ทั้งหลายเป็นจำนวนล้านๆ ล้วนพิสูจน์จากธรรมปฏิบัติ จิตภาวนาทั้งสิ้น ท่านจึงรู้ได้เห็นได้โดยไม่ต้องถามกันและถามใคร แล้วนำธรรมเหล่านั้นมาสอนโลก โดยผลัดเปลี่ยนกันมาจนถึงพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันคือพระสมณโคดมของพวกเราชาวพุทธ ให้ได้กราบไหว้บูชาและปฏิบัติตามอยู่เวลานี้ จะสงสัยไปไหน กิเลสเคยหลอกโลกให้สงสัยและล่มจมมามากต่อมากและนานแสนนานแล้ว ทำไมจึงไม่พากันเบื่อหน่ายอิ่มพอในโทษของมันบ้าง พอได้ลืมตาอ้าปากเข้าสู่ธรรมดวงประเสริฐเลิศในไตรภพ



    ถาม ที่ว่าตายแล้วสูญนั้น เป็นกลหลอกลวงของกิเลสหรือปู่

    ตอบ ใช่ ร้อยทั้งร้อยล้วนเป็นกลลวงของกิเลสทั้งนั้น ธรรมท่านมิได้หลอกลวงใคร นอกจากปลุกสัตว์โลกให้ตื่นจากหลับจากหลงไปตามกิเลสเท่านั้นธรรมท่านไม่หลอกสัตว์ ธรรมท่านเมตตาสัตว์ ธรรมท่านจริงจังต่อสัตว์ผู้ทุกข์ยากอยากให้พ้นทุกข์พ้นภัยถ่ายเตียว


    ถาม การเกิด เกิดได้ทั่วๆ ไปหรือเกิดได้ในคนในสัตว์ชนิดเดียว ปู่ เช่นเคยเกิดเป็นคนแล้วต้องมาเกิดเป็นคนซ้ำๆ อีกอยู่ทำนองนั้น หรืออาจไปเกิดเป็นสัตว์อื่นๆ กำเนิดอื่นๆ เป็นเทวดา อินทร์ พรหมก็ได้ โปรดเมตตาด้วย ปู่

    ตอบ ตามแต่วิบากดี-ชั่วของสัตว์แต่ละรายทำไว้ผลักดันและหนุนค้ำให้ไปเกิดในกำเนิดต่างๆ ทั้งต่ำแลสูง อวิชชาคือกิเลสตัวฝังลึกอยู่ในใจเป็นเชื้อพาให้สัตว์เกิดวิบากดี-ชั่วพาให้เกิดในกำเนิดต่ำสูง ทุกข์สุขมากน้อยตามกำลังวิบากนั้นๆ สัตว์จะไปเกิดเอาตามความต้องการของตนย่อมไม่ได้ ต้องไปตามวิบากดี-ชั่วเรื่อยมาและเรื่อยไปอยู่ทำนองนี้ ถ้ามีบุญก็ไปสูงและเป็นสุข ถ้ามีบาปก็ไปต่ำและเป็นทุกข์ ถ้ามีบุญมากก็ไปสูงมากและสุขมากตามวิบากบุญ ถ้ามีบาปมากก็ไปต่ำมากและทุกข์มากตามวิบากบาปผลักไสไป

    จงทราบให้ถึงใจ ปู่พูดอย่างตั้งใจว่า อวิชชาในจิตนั้นแล เป็นตัวยืนโรงที่พาให้สัตว์เกิด-ตาย เกิด-ตาย วกเวียนไปมาไม่มีเวลาจบสิ้นลงได้ ถ้าอยากจบสิ้นการเกิด-ตาย จงทำลายอวิชชาภายในใจออกให้หมด เมื่ออวิชชาสิ้นซาก การเกิด-ตายก็สิ้นซากไปตามๆ กันอย่างไม่มีปัญหา แต่การตายแล้วสูญนั้น มันเพลงอัศจรรย์ของอวิชชากล่อมสัตว์โลกให้ตาบอดต่างหาก ไม่มีความจริงแม้ ๑ เปอร์เซ็นต์แฝงอยู่เลยมันโกหก ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์แท้ๆ จงจำ จงเข็ดหลาบในเพลงของมัน อย่าหาญไปลอง ถ้าไม่อยากตาบอดตลอดกัปกัลป์ จะว่าปู่ไม่บอก

    ปู่สงสารรีบบอกอยู่โต้งๆ นี่แหละ ฟังนะ คำว่า ตายสูญไม่มี อย่าเชื่อ อวิชชาอุตริร่ายมนต์โกหกสัตว์โลก แต่คำว่าตายแล้วเกิด นั่นมีทั่วแดนโลกธาตุ พระธรรมท่านประกาศยืนยันเรื่อยมา จงเป็นที่ลงใจและมั่นใจ อย่ารวนเร เดี๋ยวอวิชชาคว้าไปต้มยำขยำกับน้ำพริก จะว่าปู่ไม่ฉุดไม่คว้าเอาไว้ ปล่อยให้จมไปกับมัน เอาละพอกินพอใช้ขนาดนี้แล้ว ไป ปู่เหนื่อย



    ถาม กราบเรียนถามปู่บ้างเล็กน้อย ขอประทานโทษด้วยที่มารบกวนเวลาและธาตุขันธ์ปู่ เรื่องที่ให้สงสัยมีอยู่ว่า เมืองไทยเราเป็นเมืองพุทธศาสนาคนนับถือศาสนาพุทธอย่างน้อย ๘๐% แต่ผลที่แสดงออกทุกสถานที่กาลเวลา มีแต่ผลลบที่ขัดแย้งกับคนไทยที่นับถือพระพุทธศาสนา แต่ละวันเวลาแสดงออกแต่สิ่งไม่ดีเช่นการปล้นจี้ ล้วงกระเป๋า ตระบัด ยักยอก ตีชิงวิ่งราว คดโกง รีดไถ ร้อยแปดล้วนเป็นของไม่ดีและขัดต่อศีลธรรมของชาวพุทธ จึงทำให้สงสัยว่า การนับถือศาสนานั้นนับถืออย่างไรกัน เรื่องถึงได้เป็นอยู่อย่างนี้ จะแก้ไขอย่างไรจึงจะตรงกับเป้าหมายของพุทธศาสนาที่มุ่งหมายให้ผู้นับถือเป็นคนดีมีความสงบสุขทั่วหน้ากัน กรุณาปู่ช่วยเมตตาชี้แจงด้วย

    ตอบ คำว่านับถือศาสนากับการปฏิบัติตามหลักศาสนธรรมนั้นมันต่างกัน หลาน การนับถือนั่นคือความยอมรับว่าดี ไม่ขัดไม่แย้งไม่แข่งดีแข่งเด่น ไม่ดูหมิ่นเหยียดหยาม ความเทิดทูนไว้บนหัวหรือบนเศียรเกล้า แม้จะปฏิบัติตามไม่ได้ แต่ก็ไม่นำกิริยาที่แข็งกระด้างอวดอ้างว่าตัวดีตัวเก่งเข้าไปกล้ำกรายศาสนา ยกศาสนาไว้บูชาบนหัวใจอยู่เสมอ นี่เรียกว่าความนับถือศาสนา

    ส่วนการปฏิบัตินั้น คือ ปฏิบัติตามหลักศีล หลักธรรม ด้วยกายวาจาใจ ไม่ล่วงเกินฝ่าฝืนหลักของศีลธรรมที่ห้ามไว้ปฏิบัติตามสิ่งที่ศาสนาอนุญาตเท่านั้น เช่น อุบาสก อุบาสิกา และพระ เณร ผู้ตั้งใจปฏิบัติรักษาศีลธรรมกันจริงจัง ท่านปฏิบัติตามจริงๆ ไม่ล่วงเกินฝ่าฝืนสิกขาบทน้อยใหญ่ใดๆ ทั้งสิ้น ท่านเคารพแทนองค์ศาสดาผู้ประสาทศาสนธรรมไว้ นี่เรียกว่าการปฏิบัติ

    การนับถือ แต่มิได้ปฏิบัติตามหลักตลธรรม คนเรา ย่อมหลวมตัวทำในสิ่งนอกเหนือศีลธรรมได้ดังที่รู้ๆ เห็นๆ กันอยู่ นั่นคือเขามิได้ปฏิบัติศีลธรรม เป็นเพียงนับถือเฉยๆ เช่นเวลาเดินผ่านหน้าวัด หรือมองเห็นพระก็ยกมือไหว้เสียทีแล้วเดินผ่านไป มิได้ตั้งหมัดตั้งมวยวางลวดลายเสือโคร่งเสือดาวใส่ท่าน อันเป็นการดูถูกเหยียดหยาม กิริยาที่เขายกมือไหว้เป็นต้นเรียกว่าแสดงความนับถือ

    คนที่นับถือศาสนา แม้พกอาวุธเต็มตัวเดินผ่านวัดเขายังนั่งลงยกมือไหว้พระก่อนผ่านไป แต่กิริยาแห่งการนับถือเหล่านั้นมิได้ลบล้างความไม่ดีที่เขาจะทำและกำลังทำอยู่ได้เลย เพราะมิใช่กิริยาที่แสดงออกเพื่อความลบล้าง เขาเพียงยอมรับนับถือเท่านั้นไม่ได้ปฏิบัติตามศาสนา

    ฉะนั้น เรื่องความเลวร้ายทั้งหลายมีการปล้นจี้เป็นต้น จึงมีอยู่ตามปกติและอาจเพิ่มมากขึ้นตามคนประเภทนี้มีมากและความคล่องตัวแห่งการกระทำ

    ส่วนการปฏิบัติตามหลักศีลธรรมนั้น จะไม่มีเรื่องเลวร้ายนี้เกิดขึ้นได้เลย แม้เรื่องย่อยๆ นอกจากความผิดพลาดที่ไม่มีเจตนาเท่านั้น ซึ่งอาจมีได้เพราะเป็นเหตุสุดวิสัย เช่นยางรถระเบิดกลางทางขณะที่รถวิ่งสวนกันมา หรือรถที่ตามหลังมาติดๆ ห้ามล้อไม่อยู่หรือระเบิดในที่ชุมนุมชนและรถรามาก ย่อมมีทางผิดพลาดและเกิดเหตุการณ์ได้ไม่เลือกกาลสถานที่ นอกจากเหตุสุดวิสัยแล้ว ผู้ปฏิบัติตามหลักศาสนธรรมจะไม่ทำ อันการปล้นจี้ซึ่งเป็นสิ่งเลวร้ายหยาบโลนมากนั้น นับว่าห่างไกลกับผู้มีศีลธรรมมากไม่ต้องพูดถึง อย่างไรท่านเหล่านี้จะไม่ลงใจทำได้ลงคอเลย

    บ้านเมืองและทรัพย์สมบัติสงบเย็นทุกหย่อมหญ้านั่นแล สมบัติเงินทองของมีค่าจะทิ้งไว้ที่ไหนก็ทิ้งไว้ได้ ราวกับบ้านเรือนของตน นั้นแล ต่างคนต่างมีความรู้สึกและปฏิบัติอย่างเดียวกัน แบบเดียวกัน ตามหลักศีลธรรมอันเดียวกัน โลกย่อมสงบร่มเย็น มองเห็นหน้ากันทักทายกันด้วยความสนิทจิตใจเมตตาอารี ไม่ถือดีถือเด่นอันเป็นเรื่องของกิเลสพองตัวยั่วธรรมและความดี คนดีทั้งหลายมีความเยื่อใยไมตรีสนิทสนมราวกับอวัยวะอันเดียวกันด้วย สมานัตตตาธรรม ความไม่ถือตัวเป็นเครื่องสมัครสมาน จะไปไหนไปได้ อยู่ไหนอยู่ได้ไม่มีภัย เพราะต่างคนต่างมีจิตใจกลมกลืนไปด้วยอภัยธรรม เมตตาธรรม กรุณาธรรม มุทิตาธรรม ความพลอยยินดีไม่อิจฉาริษยาเมื่อคนอื่นได้ดี อุเปกขาธรรม ให้ความสม่ำเสมอ ไม่มองกันในแง่ร้ายหมายโทษโกรธเคือง มีความเคารพรักกันทั้งผู้ใหญ่ผู้น้อยตามลำดับลำดา

    ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมจึงเป็นผู้ทำประโยชน์แก่ส่วนรวมและแก่โลกได้เป็นอย่างดีอย่างเด่นในปวงชน นี่แล การนับถือศาสนาเฉยๆ กับการปฏิบัติศาสนามีผลผิดกันดังที่กล่าวมา ถ้าอยากให้บ้านเมืองสงบร่มเย็น ต่างคนก็จะต้องปฏิบัติตัวตามหลักศีลธรรม ไม่ล่วงเกินฝ่าฝืน ซึ่งเป็นการทำลายตนและศีลธรรมไปด้วยในตัวของผู้นั้น

    ถ้ามีแต่อยากให้บ้านเมืองมีความสงบร่มเย็น ปราศจากโจรผู้ร้าย แต่ตัวเองกลับเป็นโจรผู้ร้าย เป็นผู้ก่อกวนทำลายบ้านเมืองและทรัพย์สมบัติของประชาชนเสียเองแล้ว จะหาความสงบร่มเย็นมาจากไหน แม้แผ่นดินสลายแต่ความชั่วจากคนชั่วก็ไม่สลายไปตาม สัตว์บุคคลมีอยู่บนอากาศ พวกเลวร้ายนี้ก็จะตามไปก่อกวนทำลายให้สมบัติเงินทองและจิตใจคนและสัตว์ให้พินาศขาดสูญอยู่นั่น และเนื่องจากความชั่วมิได้ขึ้นอยู่กับดินฟ้าอากาศ แต่ขึ้นอยู่กับคนโดยเฉพาะ คนทำดีคนจึงร่มเย็น โลกทำดีโลกจึงร่มเย็น เรื่องความจริงมีดังที่กล่าวมา

    ดังนั้น ถ้าอยากเห็นความวิเศษศักดิ์สิทธิ์ของศาสนธรรม ผู้นับถือศาสนาจึงควรปฏิบัติตามหลักของศาสนา อย่าเพียงนับถือเฉยๆ ราวกับเด็กเล่นตุ๊กตากลางสนามหญ้า เพราะศาสนามิใช่ตุ๊กตาพอจะถูกบีบถูกคันโยนไปเหวี่ยงมาอยู่เฉยๆ แต่ศาสนาเป็นธรรมศักดิ์สิทธิ์วิเศษสมนามจริงๆ ถ้าอยากทราบความศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาและของตัวเอง ก็จงปฏิบัติ จงพิสูจน์กันตรงนี้ อย่าถือศาสนาเพื่อเป็นข้อแก้ตัวและประดับเกียรติ จะไม่ผิดกับลิงได้แก้ว เด็กได้ตุ๊กตา

    เฉพาะพุทธศาสนากระเทือนโลกมาได้ ๒๕๖๐ กว่าปีนี้แล้ว (นับเวลายังทรงพระชนม์เข้าด้วย) ได้กระเทือนจิตใจของเราชาวพุทธบ้างหรือยัง จงตั้งปัญหาถามตัวเอง อย่าไปถามใครเพราะไม่มีใครรู้ยิ่งกว่าเรารู้ เราว่าบกพร่องหรือสมบูรณ์ในด้านศีลธรรม ถ้าทุกคนสนใจตั้งปัญหาถามตนดังที่กล่าวมา ความดัดแปลงแก้ไขตัวเองและสังคมตลอดส่วนรวมจะตามมา เพื่อจุดสมบูรณ์พูนผล ผู้คนต่างจะค่อยสงบสุขเย็นใจขึ้นโดยลำดับไม่อาจสงสัย เพราะศาสนธรรมเป็นเครื่องยืนยันรับรองความสงบสุขของโลกมามากต่อมากแล้ว นอกจากผู้นับถือเก็บศาสนาเข้าตู้ ดองไว้ราวกับผักและผลไม้เสียเท่านั้น ศาสนาจึงออกแสดงความจริงอันศักดิ์สิทธิ์วิเศษเต็มตามคุณภาพที่มีอยู่ของตนไม่ได้

    ธรรมเครื่องทำลายสิ่งชั่วร้ายทั้งหลายมีหลายประเภท กิเลสชนิดหยาบโลนคือราคะตัณหา ความคึกคะนองน้ำล้นฝั่ง ก็นำศีลข้อ กาเมสุ มิจฉาจาร เข้าปราบ ซึ่งปราบได้ทุกประเภทของราคะตัณหา ไม่มีตัณหาตัวไหนจะเก่งกล้าเลยศีลข้อเด็ดๆ นี้ไปได้ถ้านำมาปราบ นอกจากปล่อยตัวให้ราคะตัณหามันปราบราบโดยไม่คิดต่อสู้ เพื่อกู้ชาติมนุษย์อันสูงศักดิ์ไว้เท่านั้น ก็ไม่มีใครช่วยไต้ ปล่อยให้เป็นเศษมนุษย์ไปต่อหน้าต่อตาที่น่าเสียดายและทุเรศ ข้อโลภมากปากกว้างพุงโตกว่าภูเขาก็นำธรรมข้อธรรมสันโดษหรือความมักน้อยมาปราบก็อยู่เอง ไม่กล้าหือได้ หรือจะนำ มรณัสสติ ข้อระลึกถึงความตายมาปราบ ว่าจะมัวแต่โลภอยู่นั้น ไม่มองดูความตายที่อ้าปากจะกลืนหมดทั้งตัวอยู่ทุกลมหายใจบ้างหรือ ตายแล้วเคยเห็นใครรื้อขนครอบครัวสมบัติเงินทองกองมหึมาไปด้วยได้เล่า รู้หรือยังว่าความโลภมันหลอกให้ลืมตายลืมป่าช้านั่นน่ะ กิเลสตัวโลภมากๆ มันเคยพาผู้ใดให้มีความสุขสบายมีไหม เห็นแต่โลกมากเท่าไรยิ่งทุกข์มากเท่านั้น ได้เท่านี้แล้วมันต้องหลอกว่าให้ได้เท่านั้นๆ จนตาย ก็ตายไปเปล่า ไม่มีคำว่าอิ่มพอจากกิเลสตัวโลภมาก กระตุกเจ้าของเพียงที่กล่าวมานี้ กิเลสตัวโลภมหาภัยก็สงบลงไม่กล้าลุกลามปามไปมากเลย นี่แลธรรมปราบกิเลสตัวโลภมาก

    ถ้าอยากมีความสุขจงพากันนำไปปราบกิเลสตัวไฟลามทุ่งให้ดับมอดลง ใจจะเป็นสุขอย่างไม่คาดไม่ฝัน ที่จะให้มีความสุขเพราะความโลภมากจนให้เพียงพอนั้น จนวันตายก็ตายไปเปล่าทั้งที่หิวโหยด้วยความอยากความโลภอยู่นั่นแล จะไม่มีวันพอตลอดกัปกัลป์หรือเลยนั้นไปเป็นแสนกัปล้านกัลป์ เพราะสัตว์ในแดนโลกธาตุนี้ ไม่เคยมีสัตว์โลกรายใดมีความสุขเพราะความโลภมากและเพราะมันพอตัว อิ่มตัว นอกจากลดความโลภลงด้วยธรรมโดยลำดับจนไม่มีเหลือภายในใจเท่านั้น จึงจะถึงหนองอ้อแห่งความสุขอันแท้จริงว่า อ้อ ใจไม่มีความโลภสุขอย่างอัศจรรย์อย่างนี้ละหรือ ใจไม่มีความอิจฉาริษยาผู้อื่นมีความสุขอัศจรรย์อย่างนี้หรือ ใจไม่มีราคะตัณหาน้ำล้นฝั่งท่วมหัวใจ บีบบังคับขยี้ขยำหัวใจเป็นความสุขอัศจรรย์อย่างนี่หรือ หนองอ้อ อุทานความสุขจะผุดขึ้นที่ใจดวงนั้นเองในทันทีทันใดที่กิเลสตัวมหาภัยทั้งหลายเหล่านี้หลุดลอยไปจากใจ

    ฉะนั้น การนำธรรมะมาปฏิบัติ ธรรมก็ศักดิ์สิทธิ์ในตัวเรา แม้เราเองก็ศักดิ์ลิทธิ์ต่อตัวเองและยังจะเป็นที่เคารพนับถือและเป็นที่ยึดเหนี่ยวของผู้อื่นอีกมากมายจนถึงขั้นหาประมาณไม่ได้โน่นแล นี่คือผลแห่งการปฏิบัติธรรมเห็นผล อยัมภทันตา ผิดกับการนับถือเฉยๆ ลอยๆ อยู่มาก จงจดจำเอาไปปฏิบัติเพื่อความศักดิ์สิทธิ์แก่ตัวเองก็พอตัวแล้ว



    (มีต่อ ๗)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    ถาม แหมความโลภมากอยากไม่มีความพอดีเป็นเบรกห้ามล้อนี้ มันทำคนให้เสียคนได้จริงๆ นะท่านปู่ ธรรมวันนี้ถึงใจนับแต่เกิดมาก็มีวันนี้ที่ปู่นำความโลภออกประกาศโทษให้กระผมรู้และเข้าใจอย่างลึกซึ้งจริงๆ

    ตอบ ราคะ ตัณหา ความโลภ ความโกรธ เมื่อเทียบทางโลกแล้วก็คือตัวมหาภัย มหาอำนาจบีบหัวใจสัตว์นั้นแล จะเป็นบุญเป็นคุณอะไรเพราะมันทั้งสามนี้ที่มันสนุกเรืองอำนาจก็เพราะสัตว์โลกเคารพบูชามันนั่นเอง เวลานี้ทั่วโลกกำลังเทิดทูนและบูชามันอย่างเปิดเผยและออกหน้าออกตา ไม่สะดุดใจกระดากอายธรรมเครื่องปราบมันบ้างเลย อะไรๆ ก็เป็นศิลปะไปหมด ปู่ก็ไม่ทราบว่า ศิลปะมันคืออะไร มันคือการเห่าหอนอึกทึกทั่วบ้านทั่วเมืองในฤดูเดือน ๑๒ นั่นหรือ มันคือตัวโลภมากๆ จนหมดยางอาย พลิกกิน คว่ำกิน หงายกิน กินทั้งสันทั้งคม กินทั้งขึ้นทั้งล่อง กินไม่อดไม่อั้น ขอแต่มีช่องกินนั้นหรือ หรือมันคือตัวแดงๆ ตาแดงๆ เหมือนพริกสุก เวลามันแสดงฤทธิ์เต็มที่กับสิ่งที่ไม่พอใจนั้นหรือ นี่หรือศิลปะๆ ที่โลกนิยมกันน่ะ


    หลาน มิใช่ ท่านปู่ คำว่าศิลปะคือความฉลาดรอบรู้ในสิ่งต่างๆ รอบตัว หรือเรียกว่าศิลปวิทยา ความรู้ในแง่ต่างๆ เช่นช่างจักสาน ช่างบ้านช่างเรือน ช่างวิชาชีพแขนงต่างๆ เหล่านี้รวมแล้วเขาเรียกว่าศิลปะ

    ปู่ถาม อย่างนั้นหรือ ปู่เกิดมาแก่แดดแก่ลมเปล่าๆ ไม่รู้ศิลปะกับเขา ทางโลกก็เคยครองอยู่หลายปีก่อนออกบวช แต่สมัยนั้นไม่เคยสนใจกันในคำว่า ศิลปะละแปะเหมือนคนสมัยปัจจุบัน ซึ่งรู้ไปเสียทุกแง่ทุกมุม แต่สังเกตดูคนสมัยปู่โน้นเขามีความสุขกันอย่างธรรมชาติ สุขเรียบๆ สุขไม่แพรวพราวผาดโผนเหมือนคนสมัยนี้ ดูแล้วผิดกันอยู่มาก ถ้าเป็นอาหารก็อาหารธรรมชาติ ไม่มีหลายรสหลายชาติเหมือนอาหารในสมัยปัจจุบันซึ่งหลากรสหลากสีที่สุด คนโง่ๆ อย่างปู่เลยไม่รู้จักกินกับเขา ทั้งไม่รู้เป็นคาวเป็นหวานด้วย ที่สามารถปรุงอาหารหวานคาวได้หลายรสหลายชาติเช่นนี้ก็เรียกว่า ศิลปะ ใช่หรือเปล่า

    หลาน ใช่ จัดเป็นแขนงหนึ่งของศิลปะแหละท่านปู่

    หลวงปู่ สำหรับปู่เองซึ่งแก่จวนจะเข้าอู่อยู่แล้วมันเฉยๆ ไม่กระตือรือร้นกับสิ่งเหล่านี้ มีอะไร กินอะไรที่ไม่กังวลสิ้นเปลืองก่อความทุกข์ความฉิบหายมากเกินความพอดีแล้ว พอกินพอใช้ทั้งนั้น แล้วก็เป็นสุขดี ไม่หมุนตัวเป็นเกลียวไปกับมัน คนเราเมื่อหาความสบาย อะไรมันสบายก็ควรใฝ่ใจและหมุนตัวไปทางนั้น ถ้าเห็นโทษของกิเลสตัวฟุ้งเฟ้อเห่อเหิมตามทางของชาวพุทธ นอกจากจะเห็นคุณค่าของมันที่พาโลกให้เป็นกังหันหน้าซีดเซียวมองกันไม่ทั่วหน้า ฆ่ากันราวกับใบไม้ร่วง ก็เป็นกรรมของสัตว์เอง แม้ธรรมเครื่องแก้กิเลสแลกองทุกข์มีอยู่ก็ช่วยอะไรไม่ได้ ถ้าเจ้าของไม่นำออกมาช่วยตัวเอง เช่นเดียวกับปืนมีอยู่แต่ไม่นำออกมาต่อสู้เสือที่กำลังคำราม ปล่อยให้เสือกัดตายเปล่าๆ ฉะนั้น


    ถาม ขอกราบถามปู่เรื่องพระธุดงคกรรมฐาน ได้ทราบเขาเล่าลือว่าพระธุดงคกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ทางภาคอีสานมีมากกว่าภาคอื่นๆ ใช่ไหมปู่

    ตอบ ดูจะมีมากดังคำเขาเล่าลือ เพราะป่าทางภาคอีสานยังมีอยู่มากพอหลบซ่อนตัวบำเพ็ญภาวนาได้สะดวก ประการสำคัญผู้ให้กำเนิดกรรมฐานในสมัยปัจจุบันคือท่านหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ท่านก็เป็นคนภาคอีสาน เวลาบวชแล้วท่านมักบำเพ็ญอยู่ทางภาคอีสานมากกว่าภาคอื่นๆ ยิ่งวาระสุดท้ายแห่งอายุท่านก็อยู่ภาคอีสานและมรณภาพที่ภาคนี้ทั้งสององค์ เวลาท่านยังมีชีวิตอยู่ก็ได้ให้การอบรมพระเณรเป็นจำนวนมาก ฉะนั้น พระธุดงคกรรมฐานจึงมักมีอยู่ทางภาคอีสานมากกว่าภาคอื่นๆ


    ถาม เวลานี้ยังมีมากอยู่หรือเปล่า

    ตอบ ยังมีมากอยู่ แต่ครูอาจารย์ที่ประชาชนพระเณรเคารพนับถือรู้สึกร่วงโรยไปมาก องค์นั้นร่วงไป องค์นี้ร่วงไปซึ่งมีแต่องค์สำคัญๆ ทางจิตภาวนาแทบทั้งสิ้น


    ถาม เวลานี้ยังมีองค์ใดบ้างที่สำคัญทางจิตภาวนา ปู่จะพอเมตตาบอกลูกหลาน

    ตอบ เรื่องเมตตานั้น เมตตา แต่ไม่อาจบอกได้ เพราะท่านไม่ใช่ปลาเน่าพอจะประกาศขายทอดตลาดนี่


    ถาม ก็เห็นท่านพูดกันอยู่ว่า องค์นั้นเป็นอย่างนั้น องค์นั้นดีทางนั้น องค์นั้นดีทางโน่น สำหรับปู่ทำไมบอกไม่ได้

    ตอบ ปู่ไม่มีภูมิในทางทำนายทายทักท่านผู้ใดได้ แม้ปู่เองยังไม่เห็นทำนายตัวเองได้ว่าจะตายเมื่อไร ร่างกายแก่มากขนาดนี้แล้ว ซึ่งน่าจะพอทำนายตัวเองได้ จะไปอวดเก่งเที่ยวทำนายท่านผู้อื่นอย่างไรกัน เพราะธรรมไม่เหมือนโลก ไม่เหมือนภาพยนตร์ พอจะประกาศโฆษณาให้คนมาชมแบบภาพยนตร์นี่


    ถาม เมื่อไม่ประกาศบ้าง พระธุดงคกรรมฐานท่านจะรู้ได้อย่างไรว่า ครูอาจารย์องค์ใดดีทางใด องค์ใดมีความรู้ความสามารถทางสมถวิปัสสนา วิชาวิมุตติ องค์ใดได้ขั้นใดภูมิใด พระธุดงค์ทั้งหลายจึงจะมาศึกษาอบรมกับอาจารย์องค์นั้นๆ ได้ถูกต้องไม่ผิดพลาด

    ตอบ พระธุดงคกรรมฐานผู้แสวงหาความรู้ความฉลาด แต่ถ้าจะโง่ขนาดนั้น ก็ไม่ควรอยู่ให้หนักศาสนา เพราะพระพุทธเจ้ามิได้สอนคนสอนพระให้โง่ แต่สอนเพื่อความฉลาดทุกแง่ทุกมุมแห่งธรรมที่ตรัสไว้ชอบแล้ว อย่างหลวงปู่เสาร์หลวงปู่มั่น ไม่เห็นท่านประกาศตัวเองว่ารู้และฉลาดในธรรมแง่ใด ท่านชอบบำเพ็ญตนอยู่แต่ในป่าในเขาเป็นประจำจนเป็นนิสัย ราวกับท่านไม่เคยเกิดกับบ้านอยู่กับเมืองเลย แต่ครูอาจารย์ใดล่ะ จะมีลูกศิษย์ลูกหาทั้งพระเณรและประชาชนฆราวาสมากกว่าท่านทั้งสองนี้ ท่านเหล่านี้รู้ได้อย่างไรจึงพากันหลั่งไหลไปศึกษาอบรมกับท่านจนกระทั่งท่านละขันธ์ ลูกศิษย์ท่านมีมากทั่วประเทศไทยกระทั่งประเทศลาวโน่น ท่านเหล่านั้นรู้ได้อย่างไร

    ให้ตนไปรู้ไปเห็นเอง ฟังเอง สังเกตเอง ทุกแง่ทุกมุม บรรดาอาการที่แสดงออกจากท่านนั้นแล มันถนัดชัดเจนดี ดีกว่าตื่นข่าวกันแบบลมๆ แล้งๆ สุดท้ายก็หาตัวหาตนไม่ได้เป็นไหนๆ พระธุดงคกรรมฐานสายหลวงปู่มั่นมาดั้งเดิมนั้นท่านเป็นธรรมไม่มีโลกเข้าแฝงเลย ไม่พูดพล่ามเรื่องอะไรๆ เกี่ยวกับอรรถกับธรรมอย่างง่ายดาย ท่านพูดเฉพาะพวกเดียวกันที่มีความรู้ทางจิตภาวนาคล้ายคลึงกันและไว้ใจกัน

    ท่านจะพูดเรื่องธรรมปฏิบัติล้วนๆ ต่อกัน ใครรู้เห็นอย่างไรจากการปฏิบัติจิตภาวนา ท่านคุยธรรมปฏิบัติกันอย่างเอาจริงเอาจัง ฟังแล้วเพลินไม่อยากให้จบลงอย่างง่ายๆ เรื่องที่ท่านจะพูดธรรมภายในใจเช่น สมถะ - วิปัสสนา สมาธิ สมาบัติ มรรคผลนิพพานที่ตนรู้ตนเห็นให้ใครๆ ฟังแบบพล่ามๆ นั้น อย่าฝันลมฝันแล้งว่าจะได้ยินจากท่านง่ายๆ ก็ท่านไม่พูดนี่ ท่านทำตัวราวกับพระเซ่อบัดซบนั่นแล ถ้ายังไม่สนิทกัน สมมุติมีใครไปตีสนิทในขณะที่ไปพบเห็นท่านครั้งแรก ปากบอนอวดรู้ตู้พระไตรปิฎกเต็มพุง พูดคุยอวดท่านเรื่องสมาธิ สมาบัติ มรรคผลนิพพาน ทิพโสต ทิพยจักษุ ตลอดอภิญญาพิสดารต่างๆ ท่านจะปิดปากอย่างสนิทเลย แต่จะคอยฟังแง่หนักเบาแห่งธรรมจากผู้มาคุยด้วยทุกๆ ระยะไม่คลาดเคลื่อนเลื่อนลอยจนจบ

    หากเป็นธรรมเกิดจากภาคปฏิบัติจริงๆ และเจตนาเป็นธรรมของผู้มาคุยด้วย ท่านจะช่วยแนะให้ตามลำดับแห่งจุดที่ผู้นั้นยังบกพร่องโดยที่ตนไม่รู้ไม่เข้าใจ แต่จะถามท่านสุ่มสี่สุ่มห้านั้นท่านไม่เล่นด้วย และหาทางออกตัวโดยอุบายต่างๆ เช่น ผมหรืออาตมาไม่รู้ไม่เข้าใจเป็นต้น และปิดปากเงียบ นี่คือนิสัยของพระธุดงคกรรมฐานที่ท่านเป็นธรรมและรักสงวนธรรม โดยมากท่านปฏิบัติกันอย่างนี้ แม้จะรู้เห็นธรรมมากน้อยลึกตื้นหยาบละเอียดเพียงไร ท่านจะพูดคุยในวงและคณะของท่านโดยเฉพาะ ท่านไม่ประกาศโฆษณาตนและธรรมแบบโลกๆ เพราะท่านทราบว่าโลกกับธรรมนั้นต่างกัน แม้จะอยู่ด้วยกัน ท่านจึงรักสงวนธรรม

    ส่วนพวกเราประเภทขายก่อนซื้อ เน่าก่อนสุก สุกก่อนห่าม พล่ามก่อนรู้ พอมาเจอกัน เป็นยังไงจิตถึงไหนแล้ว ถึงพรหมโลกหรือยัง ได้ไปเที่ยวสวรรค์ไหมคืนนี้ ได้ไปดูสัตว์นรกบ้างไหมคืนนี้ ได้ตรวจดูจิตผมไหมคืนนี้ ได้ตรวจดูจิตคน.....นั้นไหม ที่เขามาขอให้ตรวจดูให้น่ะ ผมเองยังเลยเพราะยุ่งกับตรวจดูกรรมของ.....เขา เขามาให้ตรวจดูให้ คืนนี้ยังจะต้องตรวจดูกรรมเวรของ.....เขา คนนี้กรรมหนามาก ระโยงระยางด้วยสายกรรมสายเวรจนแทบมองไม่เห็นตัวจริง คุ้ยเขี่ยตัดฟันกันยกใหญ่กว่าจะได้ความจริงออกมาบอกเขา คนนี้ต้องให้เขาทำบุญอุทิศให้เจ้ากรรมนายเวร โรคเขาจึงจะบรรเทา แต่หายนั้นไม่หายแน่ เพราะเขายังมีกรรมหนักมาก ปกติผมหรืออาตมาไม่ว่างต้องช่วยเพื่อนมนุษย์ตลอดทั้งวันทั้งคืน ต้องแนะต้องบอกให้เขาสะเดาะเคราะห์เพราะระยะนี้ดวงเขาไม่ดีเลย ดาวอะไรต่อดาวอะไรทับกันยุ่งหมด และต้องแนะต้องบอกหลายด้านหลายทาง เพราะคนหนึ่งๆ ล้วนหาบเคราะห์หาบกรรมมาให้เราดู เราช่วยแทบเป็นแทบตาย ท่านไม่ได้เหมือนพวกเราชาวฉลาดก่อนโง่ดังที่กล่าวมา

    พระธุดงคกรรมฐานองค์ใดรายใดก็ตามแสดงออก จะเป็นสมัยหลวงปู่มั่นยังอยู่หรือปัจจุบันนี้ก็ตาม องค์นั้นรายนั้นจะอยู่กับหมู่คณะไม่ได้ พระท่านรังเกียจอย่างน้อยท่านก็ซุบซิบกัน มากกว่านั้นก็ทำเรื่องขึ้นหาครูอาจารย์เพื่อเรียกมาชำระอธิกรณ์ นรก - สวรรค์ให้สั้นไปจากวัด จากหมู่คณะ เพราะแบบนี้มันแบบหากิน มิใช่แบบหาอรรถหาธรรมดังพระพุทธองค์แลสาวกพาหา เข้าใจไหม อย่าว่าปู่ดุนะ เราพูดตามความจริงของวงกรรมฐานสายหลวงปู่เสาร์หลวงปู่มั่นท่าน



    ถาม แหมซึ้งมากปู่ วันนี้ฟังการปฏิบัติธรรมของวงพระธุดงคกรรมฐานสายหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น อย่างตั้งใจและเป็นคติไปนาน แต่ก่อนปู่ไม่เห็นเล่าวงพระธุดงค์เหล่านี้ให้หลานๆ ฟังบ้าง

    ตอบ ใครมาก็พูด ใครมาก็พล่าม ใครมาหาก็ฟุ้งบ้าน้ำลายทะลุฟ้า เรื่องพระธุดงคกรรมฐานสายหลวงปู่เสาร์ ปู่มั่น ไม่ทราบเขามาหาเพื่อเรื่องราวอะไร ตะกี้นี้ก็พูดกันอยู่แล้วสดๆ ร้อนๆ ยังจะเป็นผู้รับเหมาเรื่องเหล่านั้นเสียเองอะไรกัน การพูด ควรพูดเรื่องอะไรที่เหมาะกับกาลสถานที่บุคคลค่อยพูด ไม่ใช่ใครมาหาก็จะพูดแต่เรื่องเดียว เขาก็เอือมกันทั่วโลกละซิ นี่หลานๆ ถามก็พูดกันไปตามเรื่องราวที่อยากทราบอย่างนั้นเอง


    ถาม ครั้งพุทธกาลเที่ยวธุดงคกรรมฐาน กับสมัยนี้ที่คณะธุดงค์ของปู่เสาร์ ปู่มั่นและปู่เที่ยว ต่างกันหรือเหมือนกันปู่

    ตอบ ถ้าดูตามพุทธประวัติ สาวกประวัติ ตลอดท่านจารึกไว้ในคัมภีร์ก็คิดว่า เป็นปฏิปทาที่ลูกศิษย์เดินตามครู แต่จะพูดว่าเหมือนครั้งพุทธกาลนั้น ปู่ไม่อาจเอื้อม เพราะระหว่างพญาราชสีห์กับหนูนั้นผิดกันมาก จึงไม่ควรนำมาเทียบกันการกราบไหว้ท่านปฏิบัติตามธรรมที่ท่านทรงเมตตาสั่งสอนนั้นเห็นว่าเป็นสามีจิกรรมเหมาะสมแล้ว จึงตะเกียกตะกายปฏิบัติกันไปดังที่เห็นๆ กันอยู่นี้แหละ



    (มีต่อ ๘)

     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7453

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>หลวงปู่ขาว อนาลโย ตอบปัญหาธรรม
    โดย สาวิกาน้อย
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top><HR>[​IMG]

    ถาม ที่ปู่ว่าธรรมได้มาจากความอดอยากขาดแคลนและเดนตายนั้น อดอยากอย่างไร ปู่ไม่มีใครใส่บาตรให้ฉันอย่างนั้นหรือ

    ตอบ เรื่องคนใส่บาตรนั้นมี พระกรรมฐานไปอยู่ที่ไหน ตามธรรมดาแล้ว ไม่อดอยากด้วยปัจจัยสี่ เพราะเขาเคารพเลื่อมใสเป็นพื้นเพของใจอยู่แล้ว ที่ว่าอดอยากขาดแคลนนั้น เป็นเพราะท่านฝึกท่านทรมานท่านเองเพื่ออรรถเพื่อธรรม ที่ท่านมุ่งมั่นอยากรู้อยากเห็น ท่านจึงฝึกทรมานด้วยการปฏิบัติโดยวิธีต่างๆ เช่น เอาอาหารแต่น้อยแม้มีมาก ฉันน้อยๆ แม้อาหารมีมาก ไม่ฉันทั้งไม่ไปบิณฑบาตเป็นวันๆ ไปเป็นครั้งคราว เพื่อเร่งภาวนาให้หนักขึ้น


    ถาม ไม่อดอาหาร ไม่ผ่อนอาหาร ไม่อดอยากขาดแคลน ภาวนาไม่ได้หรือปู่

    ตอบ ภาวนาได้ แต่จะได้ผลเพียงไรหรือไม่นั้นเป็นอีกกรณีหนึ่ง ดังชาวบ้านเขาภาวนากันเขาก็ไม่อดไม่ผ่อนอาหารไม่ทรมานมากเขาก็ภาวนาได้ แต่ผลของเขาเป็นอย่างไร ปู่ไม่ถามเขา


    ถาม การฝึกทรมานด้วยวิธีต่างๆ ดังที่กล่าวมานั้นได้ผลอย่างไรบ้างปู่

    ตอบ การฉันน้อยและการไม่ฉันเป็นวันๆ ไปนั้น ทำให้ไม่โงกง่วง ตั้งสติได้ดีใจสงบได้ง่ายกว่าฉันตามปกติ ปัญญาคล่องตัวดีกว่าปกติ นี่หมายถึงผู้ถูกกับจริตนิสัยร่างกายลดกำลังลงกว่าปกติย่อมไม่ทับจิตมาก การฝึกจิตทั้งด้านสมถะและด้านวิปัสสนาก็ง่ายกว่ากัน ท่านจึงมันทรมานอยู่เสมอ เพื่อการดำเนินจิตได้สะดวกและรวดเร็วกว่าที่ไม่ฝึกทรมานดังที่กล่าวมา


    ถาม พระธุดงคกรรมฐานท่านชอบฝึกทรมานตน อยู่แบบอดๆ อยากๆ อย่างนี้เหมือนกันหมดหรือ

    ตอบ ไม่หมด แต่ส่วนมากท่านมักทรมานกันด้วยความพอใจ สมัครใจ ไม่มีใครบังคับ การฝึกทรมานดังที่กล่าวมา จิตใจสงบ ร่างกายก็เบา ไม่กดถ่วงใจให้คิดฟุ้งซ่านไปในทางที่ผิดที่เป็นข้าศึกต่อธรรม เมื่อใจสงบ คนเราย่อมสะดวกสบายไม่ดิ้นรน สติปัญญาพอมีทางคิดอ่านไตร่ตรอง อรรถธรรม ไม่เป็นความคิดความปรุงที่กิเลสควบคุมรุมกัดรุมทึ้งไปเสียหมด ยังพอปรากฏเป็นอรรถเป็นธรรมขึ้นมาให้ได้ชมบ้างสมกับมาแสวงธรรม


    ถาม ถ้าใจไม่สงบ ท่านคิดอรรถคิดธรรมไม่ได้หรือจึงต้องฝึกให้ใจสงบก่อนแล้วค่อยคิดอรรถคิดธรรมตอนจิตสงบแล้ว

    ตอบ เรื่องคิด คิดได้ แต่พอคิดธรรมติดมือขึ้นมา กิเลสที่รุมล้อมอยู่รอบหัวใจคว้าเอาไปกิน เจ้าของมองไม่ทัน เพราะกิเลสตัวสัญญาอารมณ์มันรวดเร็วมากเกินกว่าสติปัญญาธรรมดาโลกๆ จะตามทัน ฉะนั้น ท่านจึงสอนให้ฝึกอบรมจิตให้สงบด้วยสมถะก่อน พอมีทางยับยั้งตั้งตัวได้บ้างแล้วก็สอนให้พิจารณาทางปัญญา การที่จิตสงบนั้นผลเป็นความเย็น ไม่ดิ้นรน กวัดแกว่ง จิตเชื่อง ถ้าเป็นน้ำก็สงบนิ่งเมื่อนานเข้าก็ใสสะอาด จิตที่สงบ จากอารมณ์กวนใจก็ทำนองเดียวกัน

    เมื่อนำออกพิจารณาทางด้านปัญญา ย่อมไม่ดิ้นรนกวัดแกว่ง ตั้งหน้าทำหน้าที่ตามสติที่ควบคุมและสั่งงานในการพิจารณา การพิจารณาส่วนมากถือกายเป็นเป้าหมายแห่งการพิจารณา โดยความเป็น อสุภะ อสุภัง ปฏิกูลโสโครกไม่สวยงามบ้าง ในขั้นเริ่มต้น พิจารณากลับไปกลับมา จนเป็นที่เข้าใจว่าเป็นอสุภะ ไม่งาม เป็นปฏิกูลจริงๆ ตาม ความพิจารณา หลายครั้งหลายหนใจย่อมยอมจำนนต่อปัญญาและเชื่อว่าเป็นอย่างนั้นจริงๆ จิตก็ยิ่งมีความสง่างามแพรวพราวและอาจหาญไป โดยลำดับของการพิจารณา เมื่อพิจารณาไปมากจิตมีความอ่อนเพลีย ก็นำจิตเข้าพักสงบอารมณ์ในสมาธิ ทำสลับกันไปตามวาระของการทำงานและหยุดงาน


    ถาม มีบางอาจารย์สอนว่า ให้พิจารณาปัญญาไปเลย ไม่จำเป็นในการทำสมถะ คือความสงบใจก่อน นั่นจะไม่ขัดกันหรือปู่

    ตอบ ถ้าเราไม่ไปขัดเขาและเขาก็ไม่มาขัดการปฏิบัติของเรา ก็ไม่มีอะไรขัด เขาชอบทำอย่างนั้นก็เป็นเรื่องของเขา เราทำเช่นนี้ก็เป็นการปฏิบัติของเรา และเพื่อเราเองมิได้เพื่อใคร เพราะธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นสมบัติกลาง ใครจะแสวงหาด้วยวิธีใดก็ได้ ไม่มีใครห้ามและกีดขวาง ส่วนถูกหรือผิดนั้น ต่างเป็นผู้รับผิดชอบของตัวเอง ผู้อื่นมิใช่ฐานะจะเข้าไปเกี่ยวข้อง ถ้าเขาไม่ขอให้เกี่ยวข้อง เรื่องก็มีเท่านั้น หลานสงสัยอะไรและเป็นกังวลกับใคร เวลานี้ปู่พูดกับหลาน ปู่สอนหลานต่างหาก มิได้สอนใครพอจะนำเรื่องของผู้อื่นเข้ามาเป็นกังวลใจให้ยุ่งไปเปล่าๆ


    หลาน เห็นเขาสอนกันอย่างนั้น หลานสงสัยที่ไม่เข้ากันกับที่ปู่สอนอยู่เวลานี้ จึงได้เรียนถาม ถ้าผิดก็ขอประทานโทษด้วย หลานไม่เข้าใจจริงๆ ในเรื่องการภาวนานี้ ปู่

    ถาม การทำทุกรกิริยาของพระพุทธเจ้า โดยทรงอดพระกระยาหารไม่เสวย ๔๙ วัน กับที่พระธุดงคกรรมฐานท่านอดอาหาร ไม่ฉันเป็นวันๆ และหยุดฉันเป็นพักๆ ไปนั้น ผิดกันกับที่พระองค์ทรงทำหรือไม่

    ตอบ พูดการอดไม่ฉันของพระธุดงค์กับพระองค์นั้น ไม่ผิดกันคือไม่ฉันเหมือนกัน แต่ผิดกันนั้นผิดตรงที่พระองค์หวังความตรัสรู้ธรรมด้วยการอดพระกระยาหารอย่างเดียว ไม่มีจิตภาวนาเข้าช่วย ส่วนพระธุดงค์ท่านอดเพื่อภาวนาสะดวก และหวังรู้ธรรมจากการภาวนา มิได้หวังรู้ธรรมจากการอดอาหารอย่างเดียว


    ถาม เวลาอดอาหารไม่ฉันนั้น ท่านอดกี่วันปู่ ท่านจึงฉัน

    ตอบ เอาแน่ไม่ได้ ตามแต่องค์ที่ท่านจะอดฉัน เพราะเป็นอัธยาศัยของแต่ละรายๆ ไป แม้องค์เดียวกันนั้น อดบางครั้งก็น้อยวัน เช่น ๓ - ๔ - ๕ วัน หรืออาทิตย์หนึ่ง บางครั้งท่านอดเป็นอาทิตย์ๆ จึงฉันก็มี องค์อื่นๆ ก็เช่นกัน เอาแน่ไม่ได้ ตามแต่ผลแห่งการภาวนาของท่านจะอำนวย


    ถาม เวลาอดอาหารเช่นนั้น หิวมากไหมปู่

    ตอบ ถ้าอยากทราบก็ลองอดดูซิจะรู้เอง ไม่จำต้องถามผู้อื่น แม้ถามก็ไม่เกิดประโยชน์ จึงไม่ตอบ


    ถาม โอ้โฮ ! น่าสงสารท่านจับใจ ของเคยกินไม่กินต้องเป็นทุกข์แน่ๆ ยิ่งอดหลายๆ วันด้วยแล้วน่าจะสลบไปในบางครั้งนะปู่

    ตอบ อาจเป็นไปได้ในบางรายและบางครั้งถ้าธาตุขันธ์ไม่สมบูรณ์ แต่ความสนใจพระท่านไม่ได้อยู่กับความเมื่อยหิวอ่อนเพลียมากไปกว่าความมุ่งมั่นต่อการรู้ธรรมเห็นธรรมที่กำลังบำเพ็ญอยู่อย่างขะมักเขม้นในเวลาเช่นนั้น ซึ่งเหมือนเข้าสู่สงครามระหว่างกิเลสกับธรรมภายในใจ


    ถาม เวลาอดอาหาร ได้ฉันอะไรแทนบ้างไหม ปู่

    หลวงปู่ถาม ฉันอะไร ?

    หลาน ก็ฉันน้ำอ้อย น้ำตาล ฉันโกโก้ กาแฟ หรือ ฉันผลไม้สุกชนิดต่างๆ ที่พอมีพอหาได้นั่นแหละ

    ตอบ ถ้ายังจะกลัวตายเที่ยวฉันผลไม้ชนิดต่างๆ อยู่ก็อย่าอดให้ขายหน้าตัวเองและพระศาสนาละซิ พูดอะไรอย่างนั้น ผลไม้ก็คืออาหารเราดีๆ นี่เอง จะฉันได้อย่างไรในเวลาวิกาล แม้ที่ฉันได้ในเวลาวิกาล เช่น โกโก้ กาแฟ น้ำอ้อย น้ำตาล น้ำส้ม น้ำหวาน เพียงจะหาถ่ายรูปไว้ดูต่างหน้าเวลาหิว ก็ยังไม่มีจะว่ายังไง ยังจะบึนไปหามันที่ไหนให้ยุ่งเข้าไปอีก พูดกับคนไม่เคยอดเคยหิวนี่มันลำบาก เลยออกนอกลู่นอกทางไปกันใหญ่แล้วนี่


    ถาม ขอประทานโทษปู่มากๆ หลานไม่รู้จริงๆ จึงได้ถามซอกแซกออกนอกลู่นอกทางไป แล้วท่านจะฉันอะไรพอเยียวยาธาตุขันธ์ในเวลาเมื่อยหิว อ่อนเพลียมากเพราะไม่ได้ฉันหลายๆ วัน

    ตอบ จะฉันอะไรนอกจากน้ำในกาน้ำเท่านั้น ก็ท่านไม่วุ่นวายเหมือนผู้ถามนี่นา ท่านอดเพื่อภาวนาท่านจึงมีแต่ตั้งหน้าภาวนาอย่างเดียว ไม่ยุ่งกับอะไรทั้งสิ้นในเวลาเช่นนั้น เพราะท่านอดเพื่อทน เพื่อต่อสู้ท่านไม่ได้อดเพื่อความอ่อนแอ ท้อแท้ล้มเหลว จิตท่านเข้มแข็งแม้ร่างกายธาตุขันธ์จะอ่อนกำลังลงบ้าง ถ้าจิตท่านเหมือนที่ถามยุ่งอยู่เวลานี้ ท่านไม่อดให้เสียเวลาไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น


    ถาม เวลาอดหลายๆ วัน การภาวนาของท่านน่าจะดีท่านจึงทนได้ ถ้าเป็นอย่างหลานต้องคว้าใบไม้สดใบไม้แห้งเข้าใจว่าเป็นผักแน่ๆ

    ตอบ ก็ท่านไม่ใช่พระใบไม้สดใบไม้แห้งละซิ ท่านถึงอดถึงทนได้เพื่อประโยชน์อันไพศาล ซึ่งดีกว่าอาหารหวานคาวที่กินอยู่ทุกวันเวลาเป็นไหนๆ พวกที่เห็นขี้ดีกว่าไส้ก็ทำไม่ได้ ผู้ที่เห็นไส้ดีว่าขี้ก็ทำไม่หวั่นไหว ตายเป็นตาย ขอให้ได้ครองอรรถครองธรรมอย่างอดใจแล้ว พระธุดงค์แต่ละองค์กว่าจะได้ธรรมครองใจก็แทบไปแทบอยู่นั่นแล จะว่าเป็นของง่ายดายหรือ เวลาชีวิตท่านเหลือเดนตายออกมา ใครๆ จึงชมแต่ผลท่านว่าท่านดีอย่างนั้น อย่างนี้

    บทเวลาท่านจะตายอยู่ในป่าในเขา ในทางจงกรม ในที่นั่งสมาธิภาวนา ในความเพียรท่าต่างๆ ไม่เห็นคิดกันบ้าง เราเป็นชาวพุทธต้องมองเหตุบ้างซิ มองแต่ผลอย่างเดียวจะเกิดประโยชน์อะไร เกิดมาทั้งชาติก็มีแต่กินกับนอนและเที่ยวเตร็ดเตร่เร่ร่อนหาหัวนอนปลายเท้าไม่ได้ เป็นอยู่อย่างจำเจ จะหาความอบอุ่นแก่จิตใจได้ที่ไหน ก็มีแต่ความรุ่นร้อนเผาใจละซิ วันคืนหนึ่งๆ ผ่านไปต้องคิดหาสารคุณ อย่ามีแต่ความสนุกเฮฮา ตื่นลมตื่นแล้งกันไปไม่มีสาระอะไรติดตัวติดใจ จะหวังพึ่งอะไรมนุษย์เราซึ่งมิใช่ท่อนฟืนมันมีหัวใจดวงรู้ๆ ครองร่างอยู่กับทุกคน ทำไมไม่เหลียวแล จะหวังพึ่งอะไรถ้าพึ่งใจตัวเองไม่ได้แล้ว พึ่งลมหายใจ ลมก็หมดไป

    พึ่งร่างกาย กายก็แตก พึ่งน้ำในกาย น้ำก็สลาย พึ่งไฟในกาย ไฟก็กระจาย กายทั้งร่างมีแต่เรื่องแตกกระจาย แล้วจะพึ่งอะไร พึ่งบ้าน บ้านก็จะพัง พึ่งสมบัติ เงินทองก็ล้วนแต่สิ่งจะพังทลาย ยังเพลินเมามัวมั่วสุมอยู่หรือ มนุษย์เราตัวฉลาดแท้ๆ ไม่สมควรกับความเป็นดังที่กล่าวมา ความดีมีอยู่ แสวงหาซิ มนุษย์ทั้งหลายท่านหาความดีได้ ทำไมเราหาไม่ได้ เวลาไพล่ไปหาความเลวทรามต่ำช้าทำไมหาได้ สิ่งเหล่านั้นมันวิเศษวิโสอะไร ถ้ามันพาคนให้วิเศษมนุษย์พากันวิเศษเลิศโลกไปนานแล้วไม่จมปลักดังที่เห็นกันอยู่นี้เลย จึงไม่ควรเพลิดเพลิน ไม่ควรมัวเมาไม่เข้าเรื่องอยู่เปล่าๆ อะไรดีมีสาระรีบแสวงหา

    เวลาตายจะมีที่ยึดที่เกาะไม่เป็นไฟทั้งกองไปเสียถ่ายเดียว คนหมดที่พึ่งหมดที่อาศัย เป็นคนดีวิเศษละหรือ ในโลกเห็นๆ กันอยู่ยังจะสงสัยอะไรอยู่อีก ถ้าไม่อยากจมน่ะ

    เห็นไหมปู่เวลาเผ็ดร้อนแผดเผาปู่เอาจริง เพราะสงสารมนุษย์ที่มัวเพลิดเพลินกับเงาไม่เข้าเรื่องราวกับเด็กอมมือ ตายแล้วก็ล่มจมกันที่น่าเสียดายและสงสารมาก แต่ช่วยอะไรไม่ได้ พากันทำตัวเหมือนสัตว์ที่เขาขังไว้ต้มแกงเป็นอาหารยังมัวเพลินกันอยู่ ดูซิ สัตว์ที่เขากำลังจูงไปฆ่า มันรู้ตัวเมื่อไรยังเพลินกัดหญ้าไปตามทางถ้ามันรู้จะไม่เพลินกัดหญ้าเป็นอันขาด นอกจากมันจะไล่ขวิดไล่ชนคนที่จูงมันพุงทะลุไปในเวลานั้นเท่านั้น คนที่เชื่อธรรมที่ให้ความปลอดภัยไร้ทุกข์แก่สัตว์โลกก็เป็นคนประเภทสัตว์ที่รู้ตัวว่าเขากำลังจูงไปฆ่านั่นเอง จะไม่ประมาทนอนใจ รีดไถกอบโกยกันแบบสัตว์กัดกินหญ้าตามทางในเวลาที่เขาจูงไปฆ่า จะงดสิ่งเลวร้ายมหาภัยแก่ตน และผู้อื่นทันทีไม่ชักช้า ก้มหน้าทำแต่ความดีงามสุจริตยุติธรรมต่อกันถ่ายเดียวโลกก็สงบร่มเย็นเพราะต่างเห็นใจกัน

    นี่พูดเรื่องพระธุดงค์ เลยธุดงค์เข้าบ้านเข้าเมืองไปหมดแทนที่จะธุดงค์เข้าป่าเขาอย่างเดียวดังพระธุดงคกรรมฐานท่านเที่ยวไปเอาละเหนื่อยมาก เพราะเร่งเครื่องมากลืมความแก่ไป


    หลาน อัศจรรย์ธรรมปู่จนขนลุก ปู่ไปเอามาจากไหน เวลาพูดเป็นน้ำไหลไฟสว่างไปทีเดียว ไม่มีติดมีข้องเลย และอัศจรรย์พระธุดงค์ท่านที่อดทนมากผิดกับชาวบ้านราวฟ้ากับดินทีเดียว

    ถาม วันนี้พวกลูกหลานมาจากกรุงเทพฯ มาขอพรปีใหม่เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ครอบครัวและหน้าที่การงาน ขอหลวงปู่ได้โปรดพรปีใหม่แก่ลูกหลานด้วยเถิด

    ตอบ คำว่า พร ธรรมท่านแปลว่า ประเสริฐ สิ่งใดดี สิ่งใดประเสริฐขอให้ลูกหลานพากันแสวงหาและขวนขวายให้เกิดให้มีขึ้นในตน และครอบครัวของตน ตลอดส่วนรวมไม่มีประมาณ เพราะคำว่าของดี ของประเสริฐนั้น มีอยู่ไหน มีอยู่กับผู้ใด มีอยู่กับครอบครัวใด สังคมใด ที่นั้น ผู้นั้น ครอบครัวนั้น สังคมนั้น ย่อมชุ่มเย็นเป็นสิริมงคล



    (มีต่อ ๙)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ถาม คำว่า ของดี ของประเสริฐ ที่ปู่กล่าวถึงนั้นได้แก่อะไรบ้างปู่ พวกหลานยังไม่เข้าใจ ได้ยินแต่พ่อแม่ คนเฒ่าคนแก่และพระตลอดครูอาจารย์ที่เคารพนับถือตามวัดต่างๆ ดังที่พวกลูกหลานมาขอศีลของพรกับหลวงปู่วันนี้แหละ ส่วนที่ลึกซึ้งยิ่งกว่านี้ยังไม่เข้าใจกันเลยหลวงปู่

    ตอบ หลักใหญ่ที่โลกยอมรับกันก็คือ ธรรม เช่น เขาขอความเป็นธรรมเป็นต้น เพราะธรรมเป็นที่ลงใจของโลก พอได้ยินว่าธรรมเท่านั้น ใจของแต่ละคนก็ชุ่มเย็นทั้งที่ยังไม่รู้ไม่เข้าใจเลยว่า ธรรมดีอะไร ฉะนั้นลูกหลานมาวันนี้ ปู่จึงจะมอบธรรมเป็นพรให้แทนพรทั้งหลาย เพราะคำว่าพรอันประเสริฐ นั้นก็ได้แก่ธรรมที่โลกยอมรับนับถือและกราบไหว้บูชานี้แล ปู่จะให้พรอย่างย่อๆ พอดีแก่เวลา ขอให้ลูกหลานรับไปปฏิบัติกันเถิด จะเกิดความสงบร่มเย็นแก่ตัวเราและครอบครัวอย่างประจักษ์ธรรมย่อที่จะให้ดังนี้คือ

    การที่เราฆ่าเขา เขาฆ่าเรา และการฆ่าสัตว์ทุกชนิดที่ครองตัวอยู่ด้วยชีวิต เป็นอัปมงคลความล่มจมแก่ตนผู้ฆ่าและแก่เขาที่ถูกฆ่าเหล่านั้น อย่างยิ่งชนิดไม่มีอะไรเปรียบได้เลยเพราะทุกๆ ชีวิตมีคุณมากสำหรับตัวทุกๆ ราย ไม่ควรไปแตะต้องทำลาย จงหยุดจงงดกรรมอันโหดร้ายทารุณต่อกันนี้เสีย นี่เป็นพรข้อที่ ๑

    สมบัติเงินทองของคู่ใจ ใครก็รักสงวน การทำลายสมบัติของคู่ใจให้พลัดพรากจากตัวเขา เป็นความโหดร้ายทารุณของผู้ทำ แก่สมบัติและจิตใจเขาอย่างยิ่งไม่มีอะไรเปรียบเทียบได้ แม้เคยทำมาก็จงหยุดจงงดอย่างเด็ดขาดอย่าทำต่อไป นี่เป็นพรข้อที่ ๒

    ลูกหลานเขาเมียเขาผัวเขาคือสมบัติในหัวอกที่รักสงวนอย่างยิ่งกว่าสิ่งใด ไม่ควรล่วงเกินเป็นอันขาด จงรักษาอธิปไตยของกันและกัน ด้วยการเทียบหัวใจเขาหัวใจเราใส่กัน มนุษย์หัวขาดจากคอ ตับพุงทะลุแตกกระจายจากกันในชั่ววินาทีก็เพราะโทษของการล่วงล้ำข่มขืนเป็นต้นเหตุอันสำคัญ จงเห็นโทษมหาวินาศนี้อย่างถึงใจและไม่สนใจใยดีกับกรรมอันลามกนี้ หัวกับคอจะได้อยู่กันอย่างสนิทไม่พรากกัน นี่เป็นพรข้อที่ ๓

    มุสาคือการโกหกตบหูตบตาหลอกลวงผู้อื่นให้ผิดจากปกติคือความมีความเป็นจริง ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งเสียหายแต่น้อยจนถึงขั้นล่มจมฉิบหาย เป็นคำไม่ควรพูดไม่ควรโกหกอย่างยิ่งในวงมนุษย์ด้วยกัน ปากโกหกเป็นปากที่ขาดบาทสลึงคนโกหกเป็นคนขาดบาทขาดเต็ง มนุษย์เต็มบาทเต็มเต็งไม่ควรพูดโกหกมุสา จงพูดแต่ความสัตย์ความจริงเพื่อประโยชน์อันสมบูรณ์ต่อกัน นี่เป็นพรข้อที่ ๔

    สุราของมึนเมา เคยทำมนุษย์ให้ขาดบาทขาดสลึง เสียผู้เสียตน เสียการ เสียงาน เสียสมบัติเงินทองมามากต่อมากแล้วจนประเมินโทษของมันไม่ได้ เราเป็นมนุษย์เต็มบาทเต็มเต็ง มิใช่มนุษย์ขาดเฟื้องขาดสลึง จึงไม่ควรนำสุรามาทำลายอวัยวะ สติปัญญาอันเป็นสมบัติมีค่าในตัวเราให้ด้อยลงและเสียไปอย่างยิ่งสุราเป็นสิ่งบั่นทอนและทำลายมนุษย์สมบัติของมนุษย์และการงานของมนุษย์โดยถ่ายเดียว คือ เสียทรัพย์ ก่อความทะเลาะวิวาท เกิดโรค ถูกตำหนิติเตียน กิริยามารยาทราวกับหมาขี้เรือนที่ใครๆ รังเกียจ ไม่สมควรแก่ปกติชนหญิง - ชาย ไม่รู้จักอาย หน้าหนาหน้าชาหมดยางอาย ลดคุณค่ามนุษย์หมดคุณค่าในตัวมนุษย์ผู้กินสุรา เมาสุรา ความเป็นบ้าหาได้ง่ายในสุราและคนเมาสุรา หลานๆ จงรู้ว่า นี่คือยาพิษ ไม่ควรสนใจใฝ่ฝันกับสุราและนำมาดื่มมากิน เดี๋ยวเป็นบ้ากันทั้งโลกนี่เป็นพรข้อที่ ๕

    ที่ปู่มอบให้แก่หลานๆ วันซึ่งตรงกับวันขึ้นปีใหม่และจงพากันเป็นคนใหม่ ต่อไปจากคนคนเก่าด้วยการฝึกหัดเปลี่ยนแปลงตนใหม่จากที่เคยไม่ดีให้เป็นคนดีต่อไป เอาละพอ


    หลาน การตะเกียกตะกายมาหาหลวงพ่อวันนี้ เพราะข่าวเล่าลือมานานว่า หลวงพ่อเป็นพระองค์สำคัญทางภาคอีสานองค์หนึ่งและเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่นด้วยอยากพบเห็นอยากกราบไหว้บูชา อยากฟังคำสนทนา อยากฟังธรรมเทศนาโปรดตามแต่หลวงพ่อจะสะดวกโปรดได้ กระผมยินดีทั้งนั้น ที่สำคัญและอยากพบเห็น อยากกราบไหว้อย่างยิ่งก็คือ องค์ท่านหลวงปู่ขาวนี่แล เพราะร่ำลือมานาน วันนี้สมใจปลื้มปิติอย่างบอกไม่ถูกเลยทีเดียวแหละปู่

    ปู่ถาม มาเห็นแล้วเป็นยังไง สมคำเล่าลือไหมล่ะ

    หลาน สมอย่างบอกใครไม่ได้ แต่ตื้นตันหัวอกเลยขณะนี้ ทั้งนี้เพราะเคยทราบแต่ในตำราว่าพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายท่านบำเพ็ญและบรรลุมรรคผลนิพพานอยู่ในที่ต่างๆ กัน เช่นในป่า ในถ้ำ ในเขาในครั้งโน่น อ่านแล้วให้เกิดความคิดต่างๆ เกี่ยวกับมรรคผลนิพพานในครั้งโน้น และหิวกระหายอยากฟังการบำเพ็ญและการบรรลุมรรคผลนิพพานของพระในครั้งนี้ ว่ามีท่านผู้บำเพ็ญและบรรลุธรรมได้เหมือนครั้งโน้นหรือเปล่านา

    บุญยังพอมีก็มาได้ยินเรื่องของหลวงปู่มั่น ปู่เสาร์ และได้ยินเรื่องครูอาจารย์ทั้งหลาย สายของท่านปู่เสาร์ ปู่มั่นนี้ จนถึงเรื่องของหลวงปู่องค์ที่กราบเฝ้าอยู่เวลานี้ ทำให้เกิดความปลื้มปีติจนพูดไม่ออกบอกไม่ถูก มันเต็มตื้นอยู่ภายในน่ะปู่ เพียงได้โอกาสจะมาเยี่ยมหลวงปู่เท่านั้น ทุกสิ่งทุกอย่าง ตลอดผู้เกี่ยวข้อง สิ่งเกี่ยวข้องมันตกออกในทันทีทันใด ภายในกายในใจเบาไปหมด ราวกับตัวจะเหาะลอย ที่เป็นทั้งนี้เพราะซาบซึ้งในพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่ประทานไว้แก่สัตว์โลก เป็นคำสั่งสอนเสมอต้นเสมอปลาย คงเส้นคงวาทั้งฝ่ายมรรคและฝ่ายผล ไม่ผิดหวังแก่ผู้ปฏิบัติธรรมว่าจะไม่มีผลตอบแทนที่ควรแก่เหตุ ที่ยังมีข้อสงสัยอยู่บ้างก็ตรงที่คนสมัยโน้นกับคนสมัยนี้ ดูว่ามีกิเลสหนา - บางต่างกันอยู่มาก เฉพาะอย่างยิ่งผู้สนใจปฏิบัติธรรมอย่างแท้จริงยังรู้เห็นธรรมได้ยากกว่าครั้งพุทธกาลอยู่มาก ต้องลำบากลำบนมากกว่าจะรู้จะเห็นธรรม ดังในประวัติของหลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ ที่ท่านพระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน เรียบเรียงไว้ กระผมได้อ่านจนจบหลายเที่ยวไม่เคยเบื่อเลย หลวงปู่มั่นท่านลำบากมากกว่าจะรู้เห็นธรรม ทั้งนี้ก็กราบเรียนตามความรู้สึกเท่านั้น ส่วนความจริงจะเป็นอย่างไรนั้นก็ขอความเมตตาชี้แจงจากหลวงปู่ด้วยจะเป็นพระคุณอย่างสูงแก่กระผมด้วย

    ปู่ตอบ ฟังคุณพูดเกี่ยวกับศาสนธรรมที่ประทานไว้กับคนมีกิเลสหนาบางในสมัยโน่นกับสมัยนี้ต่างกันก็น่าฟัง เรายังไม่ต้องพูดถึงท่านผู้สนใจปฏิบัติธรรม แต่ขอพูดเรื่องผู้ไม่สนใจแสวงธรรม แต่สนใจแสวงหากิเลสมากกว่าธรรมก่อน

    คนสมัยโน้น แม้ผู้ไม่สนใจแสวงธรรม แต่การแสวงสิ่งที่เป็นกิเลสมาพอกพูนหัวใจก็ไม่มากนัก ไม่แสวงหาหลายแง่หลายทาง หลายเล่ห์ หลายเหลี่ยม หลายสันพันคม เหมือนคนสมัยนี้ ในสายตาดูว่าแสดงกันอย่างออกหน้าออกตาเด่นดังจริงๆ ทั้งอยากมั่งมี ทั้งอยากเด่นอยากดัง ทั้งอยากให้คนเคารพนับถือ ทั้งอยากให้เขาล่ำลือว่าตัวเก่งกล้าสามารถหมดทุกด้านทุกทาง จนไม่เป็นอันกินอยู่หลับนอนได้สนิท ทั้งสิ่งยั่วยวนกวนใจเพื่อเบิกทางกว้างของกิเลสโลภะ ราคะตัณหา ตาเป็นไฟ ก็นับวันขยายตัวมากขึ้นตามๆ กัน

    เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้ผู้มีนิสัยสนใจต่อธรรมทั้งหลาย พยายามเที่ยวเสาะและบำเพ็ญก็ย่อมแหวกว่ายสิ่งเกี่ยวข้องซึ่งรุมล้อมอยู่รอบตัวออก และบำเพ็ญด้วยความลำบากอยู่เป็นธรรมดา

    ฉะนั้น ที่ว่าคนครั้งโน้นกับครั้งนี้มีกิเลสหนา-บางต่างกันก็ไม่น่าจะผิด เพราะสิ่งส่งเสริมให้ฝ่ายต่ำมีกำลังมีมากกว่าสิ่งส่งเสริมทางฝ่ายธรรมให้เจริญ คนจึงมีทุกข์มากลำบากทั่วดินแดน แม้ที่อยู่ในป่าในเขาก็ไม่เว้น เพราะสิ่งพาให้เป็นฟืนเป็นไฟมันวิ่งประสานทั่วถึงกัน ส่วนกรรมนั้นก้าวไม่ค่อยออกหรือก้าวไม่ออกเพราะไม่มีใครพาก้าว สุดท้ายก็ให้กิเลสต้มยำเอาสดๆ ร้อนๆ ต่อหน้าต่อตาว่า มรรคผลนิพพานไม่มี มีแต่ชื่อในตำราที่สอนไว้และเขียนไว้เท่านั้น

    นั่นฟังซิคุณ กิเลสมันออกลวดลายเห็นไหม ความจริงผู้เช่นนั้นมันมิได้มองดูธรรมพอชั่วกะพริบตายิ่งกว่าการเถ่อมองกิเลส วิ่งตามกิเลสจนตาแห้งขาปูดบวมเลย แล้วก็ทำตัวเป็นเครื่องมืออย่างเอกของกิเลสให้ออกทำลายธรรมและทำลายหัวใจประชาชนชาวพุทธโดยหารู้ตัวไม่ น่าทุเรศไม่น้อยเลยถ้าจะทุเรศน่ะ


    ถาม คนชนิดนี้ที่เป็นเครื่องมือของกิเลสเพื่อทำลายธรรมและหัวใจประชาชนมีอยู่หรือปู่

    ตอบ จะไม่มีอย่างไร นอกจากไม่พูดกันว่า มีเต็มแผ่นดินเท่านั้น ก็อยู่ไปสังเวชไปในวงผู้ดีมีธรรมและทรงธรรมคือมรรคผลนิพพานทั้งหลาย ทั้งนี้เพราะคนมีธรรมย่อมมี หิริโอตตัปปะในใจ ไม่พูดสุ่มสี่สุ่มห้า ไม่พูดแบบสุ่มเดาเกาหมัดเพราะไม่มีขี้เรื้อนบ่อนทำลาย ไม่เหมือนคลังกิเลสที่ไม่สนใจในธรรม มันพูดได้ทั้งนั้นในเรื่องเสียๆ หายๆ เพราะไม่มี หิริโอตตัปปะ ในหัวใจ จะเอาอะไรมากระดากอาย มีแต่ตัวหน้าด้านสันดานทำลาย ถือเป็นความสนุกให้เขามองหน้าแย็บหนึ่งก็ว่าตัวเด่น ใครจะได้รับความเสียหายเพราะตัวเองไม่คำนึง

    แม้ธรรมก็เป็นธรรม มรรคผลนิพพานก็เป็นมรรคผลนิพพานอยู่นั่นแล มิได้เอนเอียงหรือถลอกปอกเปิกไปเพราะปากสกปรกก็จริง แต่ผู้กำลังสนใจธรรมปฏิบัติ ธรรมเพื่อมรรคผลนิพพานซึ่งยังไม่เคยรู้เคยเห็นธรรมนั่นซิ มีส่วนเสียด้วยลมปากสกปรกอันนี้ได้ ท่านผู้รู้ผู้ทรงมรรคผลนิพพานอยู่เต็มหัวใจแล้ว ท่านจะหวั่นไหวอะไรกับปากกิเลสตัวทำลายนี้เล่า คนเราพอใจแสวงหาอะไรก็ได้ก็มีสิ่งนั้น แสวงหากิเลสก็ได้ก็มีกิเลส แสวงมากก็มีมาก ขึ้นอยู่กับการเสาะแสวง แสวงธรรมก็ได้ก็มีธรรม แสวงมากก็มีมากจนสมบูรณ์ในหัวใจ ดังพระพุทธเจ้าและสาวกท่านแสดงกันและได้มาเป็นสรณะของชาวพุทธเรา คือท่านผู้แสวงธรรม รู้เห็นธรรมและทรงธรรมแท้ โดยหลักธรรมชาติมิใช่ธรรมจดจำ แต่เป็นธรรมแท้จริงในหัวใจ

    คำว่าธรรมมีอยู่ตลอดอนันตกาลนั้น พึงทราบว่าธรรมมิใช่ ดิน น้ำ ลม ไฟ แร่ธาตุต่างๆ มิใช่ อากาศ อวกาศ มิใช่สิ่งทั้งมวลในแดนสมมุติ ธรรมคือธรรม มิใช่สิ่งดังกล่าว เครื่องพิสูจน์ธรรมก็มิใช่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ซึ่งเป็นวิสัยเพียงดูรูปฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส สัมผัสเย็นร้อนอ่อนแข็ง ซึ่งอยู่ในฐานะของตนที่จะรับรู้สัมผัสได้เท่านั้น มิได้ลึกซึ้งกว้างขวางพอจะสามารถหยั่งรู้เห็นธรรมดังกล่าวนั้นได้ สิ่งที่สามารถสัมผัสรับรู้ธรรมทุกขั้นทุกภูมิได้ มีใจดวงเดียวนี้เท่านั้น ใจจึงเป็นของคู่ควรแก่ธรรมทั้งหลายทั้งหยาบ กลาง ละเอียด จนถึงวิมุติธรรม นอกนั้นไม่มีอะไรสามารถสัมผัสรับรู้ธรรมได้ พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระสาวกของพระพุทธเจ้าทุกๆ องค์ทรงรู้ธรรมเห็นธรรมด้วยใจมิใช่ด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย เลย ใจจึงเป็นภาชนะอันเหมาะสมกับธรรมทุกชั้นทุกภูมิอย่างยิ่ง เมื่อได้รับการปรับปรุงแก้ไขและการบำรุงรักษาโดยถูกทาง เช่นการปฏิบัติจิตภาวนาเป็นต้น


    ถาม คำว่าธรรมมีอยู่นั้น มีอยู่ที่ไหน ปู่

    ตอบ มีอยู่ที่ธรรม ถ้าใจปฏิบัติธรรมมีสมถะ - วิปัสสนาธรรม เป็นต้น ธรรมก็สัมผัสที่ใจ รู้กันที่ใจ เกิดที่ใจ และธรรมก็อยู๋ที่ใจ เช่น สมาธิ ผู้ปฏิบัติจิตภาวนา ต้องทำที่ใจและรู้สมาธิขึ้นที่ใจ จากนั้นใจนั้นก็มีสมาธิ สมาธิก็อยู่ที่ใจดวงนั้น แม้วิปัสสนาตลอดวิมุตติหลุดพ้นก็เป็นไปกับใจในทำนองเดียวกันกับสมาธิเกิดที่ใจนี้ด้วยเหตุนี้

    ธรรมจึงไม่อยู่ที่ไหน นอกจากอยู่กับธรรมและอยู่กับใจของผู้ทำให้เกิดให้มีเท่านั้น ฉะนั้นธรรมแท้จึงมิได้อยู่ในวงสมมุติ นอกจากสัญญาธรรม คือธรรมในความจำเป็นธรรมในขอบข่าย ของสมมุติจึงอยู่ในสมมุติ เพราะสมมุติพาอยู่พาไปพาให้เสื่อม พาให้เจริญพาให้ทันสมัย พาให้ล้าสมัย ธรรมแท้มิได้อยู่ในขอบข่ายแห่งสมมุติ จึงไม่มีคำว่า ล้าหรือทันสมัย


    ถาม แหม ละเอียดและน่าอัศจรรย์มากนะปู่ ธรรมที่ฟังวันนี้กระผมยังไม่เคยฟังจากที่ใดผู้ใดมาก่อนเลย เพิ่งได้ฟังวันนี้อย่างจุใจที่หิวกระหายมานาน ธรรมแท้ที่กล่าวถึงนี้ ถ้าผู้ไม่รู้ก็พูดไม่ได้พูดไม่ถูก พูดไม่เป็น เพราะไม่ใช่ธรรมคาดคะเน ธรรมด้นเดา แต่เป็นธรรมของจริงจากใจโดยแท้ ดังธรรมในพระทัยของพระพุทธเจ้าและธรรมในใจของสาวกท่าน อัศจรรย์จริง สมใจ วันที่มาวันนี้ ธรรมนี้คนกิเลสหนาๆ ดังพวกกระผมจะมีทางรู้ได้ไหมปู่

    ตอบ ขณะยังมีกิเลสหนาๆ ไม่ว่าใครๆ รู้ไม่ได้ทั้งสิ้น แม้พระพุทธเจ้าก็ยังรู้ไม่ได้ ขณะจะรู้และขณะรู้กิเลสต้องเบาบางและกิเลสต้องหมดสิ้นไปจากใจเพราะธรรมปฏิบัติสังหารทำลาย ฉะนั้น ท่านจึงสอนให้อบรมฝึกฝนจิตใจชำระจิตใจซึ่งเป็นการชะล้างกิเลสในขณะเดียวกัน จนกิเลสสิ้นจากใจแล้วย่อมรู้ได้ทุกคน เพราะธรรมไม่มีคำว่าลำเอียง



    >>>>> จบ >>>>>



    .........................................................

    คัดลอกมาจาก ::
    หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ขาว อนาลโย
    และคัดลอกบางส่วนจากหนังสืออนาลโยวาท
    http://www.dharma-gateway.com/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...