พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    จากกระทู้ พระสมเด็จ
    <TABLE class=tborder id=post506900 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">วันนี้, 06:48 PM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right> #270 </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>พันวฤทธิ์<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_506900", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    [​IMG]

    เข้ามาครั้งสุดท้ายเมื่อ: วันนี้ 07:23 PM
    วันที่สมัคร: Jul 2006
    ข้อความ: 91 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    ได้ให้อนุโมทนา 110 ครั้ง
    ได้รับอนุโมทนา 829 ครั้ง ใน 89 โพส <!-- End Post Thank You Hack -->
    พลังการให้คะแนน: 100 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    </TD><TD class=alt1 id=td_post_506900 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- message -->อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ manote [​IMG]
    ฮืม!!!!! พี่ Tg 22070 นี่หาได้เยอะจริงๆ ผมก็เจอบ้างแต่ยังไม่กล้าเช่ามามาก กะว่า หากพี่ๆฟันธงว่าไม่ค่อยมีปลอม ผมจะได้ลุยเก็บ ใครมีของแท้ ที่รับประกันว่าดูเนื้อ อย่างไร พิมพ์ อย่างไร มาลงให้รับรู้ด้วยนะครับ หากเจอตามตลาดพระจะได้เก็บถูกพิมพ์ ถูกเนื้อ ถูกตังค์ในกระเป๋าด้วย ฮิฮิฮิ เพราะคนรุ้น้อย นักเลงพระไม่เล่นกัน ชอบๆๆ อย่างนี้ดี พุทธคุณเยี่ยม ราคเช่าไม่สูง ถูกตังค์ในกระเป๋าเหมือน พี่TG22070 ว่า เลย
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    พระในสนามฟันธงไม่ได้เด็ดขาดโดนมามากแล้วเช่นพระสมเด็จปัญจสิริ พระสมเด็จด้านหลังที่เป็น ร5.แบบมีหนวด คนขายบอกว่าจะเอาแบบไหน ขอดูแบบเดียว 1 อาทิตย์จะทำมาให้ เอาแบบโรยทอง ทาทอง ติดพลอย ทาชาด ลงรัก มีครบ รวมถึงคนขายพระสมเด็จริมถนนใหญ่ทางเข้าท่าพระจันทร์ที่ลงทุนฝังพระไว้ใต้ดินที่แหล่งผลิตที่โคราชถึง 5 ปี ขุดขึ้นมาขายองค์ละ 100.- คราบกรุฟองเต้าหู้ครบ
    หลายครั้งที่พบว่ามีคนดาวน์โหลดภาพต่างๆ ในเวบนี้ที่เกี่ยวกับกระทู้พระสมเด็จเพดานโบสถ์ฯ และพระสมเด็จที่เสกโดยหลวงปู่ใหญ่ฯ โดยไม่ทราบวัตถุประสงค์ เป็นจำนวนมาก และจากการเดินสนามครั้งล่าสุดเมื่อเดิน ก.พ.ตอนตี 5 พบพระอย่างว่าทั้งหมดเช่นสมเด็จปัญจสิริฝีมือช่างเมืองชลราคาองค์ละ 2.-น้ำหนัก สี ผงทอง ตัดขอบ รอยย่น ครบ ตรวจดูพลัง โหวงเหวง แขวนไปตายเปล่า ทำพิธีขออาราธนาบารมีเสกใหม่ โอ้โฮ เต็มเสกลเลย อ.ตาดีที่มีรูปในกระทู้นี้ตรวจ ลูกศิษย์ระดับฌาณลาภี 2 คน ตรวจ เดี๋ยวสิ้นเดือนจะไปขอบารมีพระสงฆ์ที่ระยอง ลูกศิษย์ ลพ.ชา กับ ลูกศิษย์ ลพ.ใช่ ที่ระยองตรวจ อีกครั้ง เอาให้มั่นใจไปเลย เพราะรู้แล้วว่าของในสนามผีออกมากวนเยอะมากจริง ๆ ยิ่งพิมพ์รูปเหมือน แบบยืน แบบสะพายกลด ฯลฯ เกลื่อนไปหมด ใช้ไม่ได้จริงๆ ดูรูปอย่างเดียวแล้วฟันธง ฆ่าตัวตายกลางเวบจริงๆ ขออภัยทุกท่าน เพราะไม่อยากให้คนอื่นต้องโดนพวกขายพระปลอมมันกินเงินฟรี
    <!-- / message --></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    จากกระทู้สุดยอดมวลสาร! หลวงปู่ทวด "รุ่นบารมีธรรมสิริ ทองดี" รายได้สร้างกุฏิกัมฐาน
    http://www.palungjit.org/board/showthread.php?p=506977#post506977

    <TABLE class=tborder id=post506924 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">วันนี้, 08:15 PM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right> #405 </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>Dej Amarin<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_506924", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    เข้ามาครั้งสุดท้ายเมื่อ: วันนี้ 08:48 PM
    วันที่สมัคร: Feb 2007
    ข้อความ: 12 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    ได้ให้อนุโมทนา 28 ครั้ง
    ได้รับอนุโมทนา 78 ครั้ง ใน 12 โพส <!-- End Post Thank You Hack -->
    พลังการให้คะแนน: 0 [​IMG][​IMG]


    </TD><TD class=alt1 id=td_post_506924 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- message -->พรุ่งนี้เป็นวันมาฆะบูชา วันเกิดพระธรรม ก่อนออกจากบ้าน จะไปกราบพระท่านกราบ พระที่บ้านก่อนนะครับ
    หาสิ่งใด ในโลกสาม ตามหาเถิด ว่าประเสริฐ เลิศดีแท้ แพ้ทุกสิ่ง พระคุณท่าน นั้นเหนือใคร ใหญ่จริงจัง รวมทุกส่ง นั้นยังแพ้ แม่ทุกคน พระคุณท่าน นั้นประมาณ กาลสิ้นสุด แม้สมมุติ
    เอาแผ่นดิน สิ้นแห่งหน เป็นหมึกก้อน ผ่อนละลาย ในสายชล ทั่วแห่งหน ในสมุทร สุดนที เปรียบเทียบเขา พระสุเมรุ ที่เด่นหล้า เป็นปากกา จุ่มหมึก บันทึกที่ เอาท้องฟ้า เป็นกระดาษ วาดความดี พระคุณนี้ ที่แม่ท่าน นั้นทำมา เขียนพรรณนา สิ้นดินฟ้า มหาสมุทร เขียนจนสุด เขาสุเมรุ ที่เด่นหล้า จึงนับว่า ยิ่งใหญ่กว่า ฟ้าน้ำดิน ลูกราบซำ พระธรรมแท้ ไนแม่แก้ว ลูกรู้แล้ว พระคุณนี้ ไม่มีสิ้น แม้เลี้ยงลูก ด้วยคุณธรรม ค้ำฟ้าดิน ลูกถวิล บูชาล้น จนวันตาย (บ.บุญธรรมมงคล )
    ที่นำกลอนบทนี้มาลงให้อ่านกัน ความหมายของกระผมก็คือ ที่ได้รู้ได้เห็นได้จดจำวันที่เป็นวันเกิดแห่งพระธรรมนั้น แม่เป็นผู้นำมาจึงได้มีวันนี้ ) บูชาแม่ ไม่ตกต่ำ ไม่มีกรรม นำมาเกิด แม่ประเสริฐ
    เลิศล้ำ คำบรรยาย บูชาแม่ทุกวัน จวบจนตัวเราตาย ก็สบายไม่รู้จบ ทุกภพเอย

    <!-- / message --><!-- edit note --></TD></TR></TBODY></TABLE>

    **************************************************

    โมทนาสาธุครับ อาจารย์จเรครับ

    .
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE id=Table5 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left width="100%"><!-- InstanceBeginEditable name="detail_news" --><TABLE id=Table6 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD style="HEIGHT: 29px" vAlign=top align=left><TABLE id=Table7 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width="100%"><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=1 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=message-copyright>วันที่ : 2 มีนาคม 2550
    เวลา : 13:06
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ที่มา http://www.dailynews.co.th/dailynew...ult.aspx?ColumnId=35999&NewsType=2&Template=2

    [​IMG]

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR vAlign=top align=left><TD class=headline-normal>มิตรภาพต่างสายพันธุ์</TD></TR><TR vAlign=top align=left><TD class=messageblack> ในโลกที่มิตรภาพแท้ ๆ ถูกเคลือบแคลงสงสัยด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ นานา ทว่าก็ยังมีมิตรภาพต่างสายพันธุ์ให้ได้น่าชื่นใจ โดยไม่ต้องเสียสมองไปนั่งสงสัย อย่างเจ้าฝาแฝดลูกเสือสุมาตราอายุ 1 เดือน ที่เป็นบัดดี้ติดแจกับเจ้าลิงอุรังอุตังน้อยเพศเมีย วัย 5 เดือน 2 ตัว อย่าได้แยกพวกมันออกจากกันเชียว เพราะคงได้หงอยกันไปเป็นวัน ๆ
    ดอกไม้แห่งมิตรภาพระหว่าง เจ้า "เนีย" และ "เออร์มา" 2 ลูกลิงอุรังอุตังวัย 5 เดือน กับ เจ้า "เดมา" และ "เมอร์นิส" ฝาแฝดลูกเสือตัวน้อย ๆ วัย 1 เดือน เบ่งบานขึ้นที่สวนสัตว์ทามันซาฟารี ประเทศอินโดนีเซีย ในห้องอนุบาลสัตว์ที่มันต้องอยู่ร่วมกัน เป็นการเข้ากันได้ดีอย่างไม่น่าเชื่อ เพราะพฤติกรรมตามธรรมชาติของสัตว์ที่อยู่อาศัยในป่าเขตร้อนอินโดนีเซียสองชนิดนี้นั้นต่างกันสุดขั้ว
    แน่นอน ไม่เพียงมันจะมีความรู้สึกว่าโลกนี้ไม่เหงาและยอมรับการมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์อยู่ร่วมโลก คนแท้ ๆ เห็นแล้วก็อดยิ้มตามไปไม่ได้
    หลังจากที่พวกมันต้องแยกจากแม่ หลังให้กำเนิดพวกมันทั้ง 4 ชีวิตแล้ว พวกมันก็ได้มาอยู่รวมกัน สู้กันบ้างตามประสา บ้างตะปบ หยิกขบกัน แถมบางทีก็มีแหย่ต่อมโมโหกันบ้าง แต่แล้วเมื่อเพลียและอ่อนล้าจากการเล่นอันหนักหน่วง ทั้งหมดนี้ก็นอนกอดก่ายซึ่งกันและกัน หลับปุ๋ยกันไปทั้งแถบ
    ศรี ซูวาร์ณีเจ้าหน้าที่ประจำสวนสัตว์เองก็ยังบอกว่า เป็นเรื่องผิดปกติ และไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ในสัตว์ป่าทั้งสองชนิดนี้ "เหมือนเด็ก ๆ ล่ะค่ะ มันจะเอาแต่เล่นกันอย่างเดียว" เธอบอกอีกว่า พวกมันอยู่เคียงข้างกันและกันมาอย่างนี้เป็นเดือน ๆ แล้ว โดยไม่มีทีท่าอาการของการเป็นปรปักษ์แต่กันแม้แต่นิด
    โดยทั้งเสืออินโดนีเซียและอุรังอุตังต่างก็เป็นสัตว์สายพันธุ์อันตราย ที่ชอบทำร้ายสัตว์อื่น ๆ ให้ต้องหวาดกลัว
    อย่างไรก็ตาม มิตรภาพของทั้งคู่คงได้อยู่ร่วมกันเป็นเวลาสั้น ๆ เท่านั้น เพราะเมื่อมันโตขึ้น สัญชาตญานสัตว์ป่าตามธรรมชาติของพวกมันก็จะออกมา "เมื่อถึงเวลา พวกมันก็ต้องแยกจากกัน ทางเราก็เสียใจอยู่ แต่เราไม่สามารถไปเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามธรรมชาติของพวกมันได้หรอก ซึ่งเสือก็จะเริ่มกินเนื้อเป็นอาหารเมื่อพวกมันอายุได้ประมาณสามเดือนแล้ว" นายสัตวแพทย์กล่าว
    ทั้งนี้นักอนุรักษ์คาดการณ์ว่า เหลือเสือสุมาตราที่มีชีวิตอยู่ น้อยกว่า 700 ตัวแล้ว ขณะที่ลิงอุรังอุตังนั้นเหลือน้อยกว่า 60,000 ตัว เท่านั้น ที่อยู่ในป่าตามธรรมชาติ เนื่องจากพื้นที่ป่าบนเกาะบอร์เนียวและเกาะสุมาตรากว่า 90 เปอร์เซนต์ถูกทำลายจากการตัดไม้นำไปทำท่อนซุง ปัญหารุกป่า และถางป่าแล้วเผา.

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1.jpg
      1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      56.3 KB
      เปิดดู:
      60
    • 2.jpg
      2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      47.1 KB
      เปิดดู:
      52
    • 3.jpg
      3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      41.4 KB
      เปิดดู:
      61
    • 5.jpg
      5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      62.8 KB
      เปิดดู:
      61
    • 6.jpg
      6.jpg
      ขนาดไฟล์:
      37.9 KB
      เปิดดู:
      60
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www2.manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx?NewsID=9480000030817


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>ศัพท์ธรรมคำวัด : พุทธคุณ ๙</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>3 มีนาคม 2548 10:06 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> คำว่า“พุทธคุณ” เป็นคำที่ชาวพุทธคุ้นหูกันเป็นอย่างดี แต่เชื่อว่าหลาย คนยังไม่เข้าใจคำนี้ได้อย่างถูกต้องนัก ดังนั้นจึงขอนำมาอธิบายขยายความไว้ในที่นี้ โดยในพจนานุกรม พุทธศาสน์ ของรองศาสตราจารย์ดนัย ไชยโยธา ได้ให้ความหมายไว้ว่า
    พุทธคุณ ๙ คือ คุณความดีของพระพุทธเจ้า ๙ ประการ ดังที่นักปราชญ์ได้ร้อยกรอง เพื่อใช้เป็นบทสวดสรรเสริญพระคุณอันประเสริฐไว้ดังนี้
    ๑. อรหํ เป็นพระอรหันต์ มีคำแปลและความหมายอย่างน้อย ๔ ประการ ดังนี้
    ๑.๑ เป็นผู้ควร คือ ผู้ทรงสั่งสอนสิ่งใดก็ทรงทำสิ่งนั้นได้ด้วย เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์
    ๑.๒ เป็นผู้ไกล คือ ผู้ทรงไกลจากกิเลสและบาปกรรม เพราะทรงละได้เด็ดขาดแล้วทั้งโลภ โกรธ และหลง
    ๑.๓ เป็นผู้หักซี่กำแพงล้อสังสารวัฏ คือ ผู้ทรงตัดวงจรแห่งการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏได้แล้ว
    ๑.๔ เป็นผู้ไม่มีข้อลี้ลับ คือ ผู้ทรงไม่มีบาปธรรมทั้งที่ลับและที่แจ้ง เป็นผู้ควรแนะนำสั่งสอนผู้อื่น และเป็นผู้ควรได้รับความเคารพของผู้อื่น
    ๒. สมฺมาสมฺพุทฺโธ เป็นผู้ทรงตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง คือ ทรงตรัสรู้อริยสัจ ๔ อันได้แก่ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เป็นการค้นพบด้วยพระองค์เอง ไม่มีครูอาจารย์เป็นผู้สอน
    ๓. วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน เป็นผู้ทรงเพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ คือ มีวิชชา ความรู้ตั้งแต่ความรู้ระดับพื้นฐาน จนกระทั่งความรู้ระดับสูงสุด และมีจรณะความ ประพฤติดีประพฤติได้ตามที่ทรงรู้ เช่น ความสำรวมในศีล เป็นต้น
    ๔. สุคโต เป็นผู้เสด็จไปดี คำว่า“ไปดี” มีความหมายหลายนัยคือ ๑.เสด็จดำเนิน ตามอริยมรรคมีองค์แปด อันเป็นทางเดินที่ดี ๒.เสด็จไปสู่พระนิพพาน อันเป็นสภาวะที่ดียิ่ง ๓.เสด็จไปดีแล้ว เพราะทรงละกิเลสได้โดยสิ้นเชิง ๔.เสด็จไปปลอด ภัยดี เพราะเสด็จไปบำเพ็ญประโยชน์แก่สัตว์โลก
    ๕. โลกวิทู เป็นผู้ทรงรู้แจ้งโลก คือ ทรงรอบรู้โลกทางกายภาพ เช่น โลกมนุษย์ สัตว์โลก สังขารโลก โอกาสโลก และทรงรู้โลกภายในคือ ทุกข์และการดับทุกข์
    ๖. อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ เป็นสารถีผู้ทรงฝึกคนได้อย่างยอดเยี่ยม คือ พระองค์ทรงรู้นิสัย(ความเคยชิน) อุปนิสัย(มีแวว) อธิมุตติ(ความถนัด) อินทรีย์ (ความพร้อม)ของบุคคลระดับต่างๆ และทรงฝึกสอนด้วยเทคนิควิธีการที่เหมาะแก่ความเคยชิน แววถนัด และความพร้อมของเขาให้บรรลุมรรคผลเป็นจำนวนมาก
    ๗. สตฺถา เทวมนุสฺสานํ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย คือ พระองค์ทรงประกอบด้วยคุณสมบัติที่ควรเป็นครูของบุคคลในทุกระดับชั้น เพราะพระองค์ทรงรอบรู้และทรงสอนคนได้ทุกระดับ ทรงสอนด้วยความเมตตา มิใช่เพื่อลาภสักการะและคำสรรเสริญ แต่ทรงมุ่งความถูกต้องและประโยชน์สุขของผู้ฟังเป็น ใหญ่ ทรงสอนให้เหมาะสมกับอัธยาศัยของผู้ฟัง และทรงทำได้ตามที่ทรงสอนนั้นด้วย
    ๘. พุทฺโธ เป็นผู้ตื่น ผู้เบิกบาน คือ พระองค์ทรงตื่นเองจากความเชื่อถือและข้อปฏิบัติทั้งหลายที่ยึดถือกันมาผิดๆ ด้วย ทรงรู้จักฐานะ คือ เหตุที่ควรเป็น เปรียบได้้กับคนตื่นจากหลับแล้วทรงปลุกผู้อื่นให้พ้นจากความหลงงมงายด้วย อนึ่งพระองค์ทรงตื่นแล้วเป็นอิสระจากอำนาจของโลภ โกรธ หลง แล้ว เมื่อทรงตื่นแล้วก็ทรงแจ่มใสเบิกบาน มีพระทัยบริสุทธิ์สะอาด
    ๙. ภควา เป็นผู้มีโชค ผู้ทรงแจกแบ่งธรรม คือพระองค์ทรงเพียบพร้อมไปด้วย คุณธรรมทั้งหลาย อันเป็นผลสัมฤทธิ์แห่งพระบารมีที่ทรงบำเพ็ญมา นับเป็นผู้มีโชคดีกว่าคนทั้งปวง เพราะพระองค์ทรงทำการใดก็ลุล่วงปลอดภัยทุกประการ ส่วน “ภควา” แปลว่า “ทรงแจกแบ่งธรรม” หมายถึง มีพระปัญญาล้ำเลิศ จนสามารถ จำแนกธรรมที่ลึกซึ้งให้เป็นที่เข้าใจง่าย และมีพระกรุณาธิคุณจำแนกแจกจ่ายคำสั่งสอนแก่เวไนยสัตว์ให้รู้ตาม
    พระพุทธคุณทั้ง ๙ ประการนี้ สรุปลงเป็น ๓ ประการคือ
    ๑. พระวิสุทธิคุณ คือ ความบริสุทธิ์ อันได้แก่ พระคุณข้อที่ ๑,๓ และ ๙
    ๒. พระปัญญาคุณ คือ ปัญญา อันได้แก่ พระคุณข้อที่ ๒,๕ และ ๘
    ๓. พระมหากรุณาธิคุณ คือ พระมหากรุณา อันได้แก่ พระคุณข้อที่๔,๖ และ ๗
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ที่มา http://www2.manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx?NewsID=9480000043103

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>ศัพท์ธรรมคำวัด : ธรรมคุณ ๖</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>28 มีนาคม 2548 18:39 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> ฉบับนี้มาต่อกันที่คำว่า “ธรรมคุณ ๖” ซึ่งยังคงเป็นบทสวดสรรเสริญพระธรรมคุณที่เรามักคุ้นกันดีในภาษาบาลี ซึ่งคนส่วนใหญ่มักไม่ค่อย รู้และไม่เข้าใจความหมาย ได้แต่สวดๆตามกันไป ด้วยเหตุนี้ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจดียิ่งขึ้น จึงได้นำอรรถาธิบายของคำนี้ จาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ของ รองศาสตราจารย์ดนัย ไชยโยธา ที่เขียนให้เข้าใจง่ายๆว่า
    คุณของพระธรรม มี ๖ ประการ ดังที่นักปราชญ์ได้ร้อยกรองเป็นบทสวดสำหรับน้อมนำระลึกไว้ในใจ ดังนี้
    ๑. สวากขาโต ภควตา ธัมโม หมายถึง ธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว
    พระองค์ตรัสไว้เป็นความจริงแท้ อีกทั้งงามในเบื้องต้น อันได้แก่ ศีล งามใน ท่ามกลาง อันได้แก่ สมาธิ และงามในที่สุด อันได้แก่ ปัญญา พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์หรือหลักการครองชีวิตอันประเสริฐ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง
    ๒. สันทิฏฐิโก หมายถึง ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง
    ผู้ใดปฏิบัติ ผู้ใดบรรลุ ผู้นั้นย่อมเห็นประจักษ์ด้วยตนเอง ไม่ต้องเชื่อตามคำ บอกเล่าของผู้อื่น ผู้ใดไม่ปฏิบัติ ไม่บรรลุ ผู้อื่นจะบอกก็เห็นไม่ได้
    ๓. อกาลิโก หมายถึง ไม่ประกอบด้วยกาล
    ผู้ปฏิบัติไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา พร้อมเมื่อใดบรรลุได้ทันที บรรลุเมื่อใดเห็นผล ได้ทันที นั่นคือ ให้ผลในลำดับแห่งการบรรลุ ไม่เหมือนผลไม้อันให้ผลตามฤดูกาล
    ๔. เอหิปัสสิโก หมายถึง ควรเรียกให้มาดู
    พระธรรมเป็นคุณอัศจรรย์ดุจของประหลาดที่ควรเชิญชวนให้มาชมและพิสูจน์ หรือท้าทายต่อการตรวจสอบ เพราะเป็นของจริงและดีจริง
    ๕. โอปนยิโก หมายถึง ควรน้อมเข้ามา
    ผู้ปฏิบัติควรน้อมเข้ามาไว้ในใจของตน หรือน้อมใจเข้าไปให้ถึงด้วยการปฏิบัติ ให้เกิดมีขึ้นในใจ
    ๖. ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ หมายถึง อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน
    ผลอันเกิดจากการปฏิบัติธรรมนั้น ทุกคนที่น้อมนำมาปฏิบัติ จะรู้ซึ้งถึงผลแห่ง พระธรรมนั้นด้วยตนเอง ทำให้กันไม่ได้ เอาจากกันไม่ได้ และรู้ได้ประจักษ์ในใจ ของตนเอง
    คุณของพระธรรมข้อที่ ๑ มีความหมายกว้าง รวมทั้งปริยัติธรรม คือ คำสั่งสอนด้วย ส่วนคุณของพระธรรมข้อที่ ๒ ถึงข้อที่ ๖ มุ่งให้เป็นคุณของโลกุตตรธรรม
    ดังนั้น เมื่อทราบความหมายของธรรมคุณ ๖ ทั้งหมดแล้ว การสวดมนต์เพื่อ สรรเสริญพระธรรมคุณในครั้งต่อๆไป คงจะทรงความหมายอย่างเปี่ยมล้น
    อนึ่ง การน้อมนำคุณของพระธรรม เพื่อเจริญธัมมานุสตินั้น มีอานิสงส์มาก ดังที่ ปัญญา ใช้บางยาง ได้บอกไว้ในหนังสือธรรมาธิบาย เล่ม ๑ ว่า
    - ย่อมเป็นผู้มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา
    - ตระหนักและอ่อนน้อมในพระธรรม
    - ย่อมได้ความไพบูลย์แห่งคุณ มีศรัทธา เป็นต้น
    - เป็นผู้มากด้วยปีติปราโมทย์
    - ทนต่อความกลัว ความตกใจ อดกลั้นต่อทุกข์
    - รู้สึกว่าได้อยู่กับพระธรรม
    - เป็นบาทฐานให้บรรลุธรรมอันยิ่ง
    - เมื่อประสบกับวัตถุที่จะพึงล่วงละเมิด หิริโอตตัปปะ ย่อมปรากฏแก่เธอ
    - เมื่อยังไม่บรรลุคุณอันยิ่ง เธอย่อมมีสุคติเป็นที่ไป

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

    ที่มา http://www2.manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx?NewsID=9480000060466

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>ศัพท์ธรรมคำวัด : สังฆคุณ ๙</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>6 พฤษภาคม 2548 18:08 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> คำในกลุ่มนี้อีกคำหนึ่งคือ “สังฆคุณ ๙” ก็เป็นบทสวดสรรเสริญคุณของพระสงฆ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในพระรัตนตรัย ความหมายของคำนี้ รองศาสตราจารย์ดนัย ไชยโยธา ได้เขียนอธิบายไว้ใน พจนานุกรม พุทธศาสน์ ดังนี้
    คุณของพระสงฆ์ หมายถึง คุณความดีที่พระสงฆ์มีอยู่ประจำตน พระสงฆ์ที่มีคุณความดีได้รับยกย่องมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล คือ พระอริยสงฆ์ พระสงฆ์ผู้บรรลุมรรคและผลขั้นต่างๆ สำหรับสมมติสงฆ์ พระสงฆ์โดยสมมติในปัจจุบันนี้ หากมีข้อวัตรปฏิบัติอันน่าเลื่อมใสศรัทธา ก็อนุโลมตามคุณของพระอริยสงฆ์ได้
    สังฆคุณมี ๙ ประการ ๔ ประการแรกเป็นเหตุ และ ๕ ประการหลังเป็นผล ดังต่อไปนี้
    ๑.สุปฏิปันโน พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดีคือ ๑. ปฏิบัติไปตามมัชฌิมาปฏิปทา อันเป็นทางสายกลาง ไม่หย่อนนัก ไม่ตึงเครียดนัก ๒.ปฏิบัติไม่ถอยหลัง ปฏิบัติได้ดีเท่าเดิมหรือก้าวหน้าสูงขึ้นไป ๓.ปฏิบัติตามรอย พระบาทของพระพุทธเจ้า
    ๒.อุชุปฏิปันโน พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติตรง คือ ๑.ไม่ปฏิบัติลวงโลก คือ ปฏิบัติต่อหน้าคนอย่างหนึ่ง ปฏิบัติลับหลังคนอีกอย่างหนึ่ง ๒.ไม่ปฏิบัติเพื่อโอ้อวด คือ ปฏิบัติเพื่อให้คนทั่วไปเห็นว่าตนปฏิบัติเคร่ง ครัดกว่าใครๆ ๓.ปฏิบัติตรงต่อพระพุทธเจ้าและพระสาวกด้วยกัน ไม่อำพรางความในใจ ไม่มีแง่งอน
    ๓.ญายปฏิปันโน พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติถูกทาง คือ ๑.ปฏิบัติมุ่งธรรมเป็นใหญ่ ๒.ปฏิบัติถือความถูกต้องเป็นสำคัญ ๓.ปฏิบัติเพื่อ ความตรัสรู้
    ๔.สามีจิปฏิปันโน พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติสมควร คือ ๑.ปฏิบัติน่านับถือ สมควรได้รับความเคารพ ๒.ปฏิบัติชอบอย่างยิ่ง ๓.ปฏิบัติดีที่สุด
    ๕.อาหุเนยโย พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ควรแก่สิ่งของคำนับ คือ ควรได้รับสิ่งของที่เขานำมาถวาย เพราะท่านมีคุณสมบัติ ๔ ประการดังกล่าว แล้วข้างต้นนั้น ด้วยว่าสิ่งที่เรียกว่าอาหุนะ เป็นของที่ท่านใช้บูชาคุณความดีของคน เมื่อพระสงฆ์ประกอบด้วยคุณสมบัติเช่นนั้น จึงควรแก่อาหุนะ คือ สิ่งของคำนับ
    ๖.ปาหุเนยโย พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ คือ ผู้ปฏิบัติงามเช่นนี้ เมื่อท่านไปในบ้านใดเมืองใด ย่อมเป็นผู้สมควรแก่การต้อน รับเหมือนการต้อนรับแขกผู้มีเกียรติ พระสงฆ์อยู่ในฐานะนั้น
    ๗.ทักขิเณยโย พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ควรแก่ทักษิณา ควรแก่สิ่งของทำบุญ คือ พระสงฆ์ผู้มีคุณสมบัติดังกล่าวย่อมอยู่ในฐานะที่ควรแก่การรับทักษิณาทานที่เขาถวาย เพราะผู้ถวายทานแก่ท่านย่อมได้รับประโยชน์ตามที่ปรารถนา แม้การอุทิศกุศลเพื่อผู้ตาย พระสงฆ์ก็จัดเป็นทักขิไณยบุคคล คือ ควรรับทักษิณาทานนั้นๆ
    ๘.อัญชลีกรณีโย พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ควรแก่การทำ อัญชลี คือ พระสงฆ์เป็นผู้มีคุณความดีอยู่ในสันดาน ย่อมอยู่ในฐานะที่ใครๆควร แสดงความเคารพด้วยการกราบไหว้ เพราะทำให้ผู้ไหว้มีความรู้สึกว่าตนได้ไหว้ผู้ที่มีคุณธรรมสมควรแก่การไหว้ ทั้งเป็นการช่วยให้ผู้ไหว้เจริญด้วยพรทั้ง ๔ ประการ อันได้แก่ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ด้วย
    ๙.อนุตตรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นเนื้อนาบุญของโลก คือ พระสงฆ์เป็นผู้บริสุทธิ์ ทักษิณาที่บริจาคแก่พระสงฆ์ ย่อมมีอานิสงส์มาก เปรียบเหมือนนามีดินดีและน้ำดี พืชที่หว่านไปย่อมให้ผลไพบูลย์ จึงเป็นที่บำเพ็ญบุญของพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.dailynews.co.th/dailynew...ult.aspx?ColumnId=35964&NewsType=2&Template=1

    <TABLE id=Table9 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left height=118><TABLE id=Table1 cellSpacing=0 cellPadding=1 width="100%" border=0><TBODY><TR bgColor=#2b3189><TD class=messageblack vAlign=top align=left bgColor=#ffffff height=32><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=1 width="100%" border=0><TBODY><TR bgColor=#2b3189><TD class=messageblack vAlign=top align=left bgColor=#ffffff>วาซาบิป้องกันฟันผุได้จริงหรือ ?


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD class=messageblack vAlign=top align=left width="100%"><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR></TR><TR><TD class=messageblack vAlign=top align=left>ในการรับประทานอาหารญี่ปุ่น คุณจะเห็นเครื่องปรุงรสสีเขียว ๆ ที่เรียกว่า วาซาบิ แล้วคุณรู้หรือไม่ว่า "วาซาบิ" มีประโยชน์อย่างไร? วันนี้มีคำตอบ
    วาซาบิ เป็นเครื่องปรุงรสสีเขียวมีกลิ่นฉุนและเผ็ด นิยมรับประทานร่วมกับปลาดิบ อาหารยอดนิยมของชาวญี่ปุ่น มีคุณประโยชน์ทางยาหลายอย่าง
    โตชิโอะ ลิยาม่า หัวหน้าทีมวิจัยวาซาบิ พบว่าวาซาบิ สามารถต่อต้านการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิดในร่างกายมนุษย์ และยังกำจัดพยาธิชนิดที่เรียกว่า anisakis ที่อาศัยอยู่ในปลา เมื่อมันผ่านเข้าไปในระบบย่อยอาหาร
    ที่สำคัญ วาซาบิมีสรรพคุณ ในการป้องกันเลือดจับตัวเป็นก้อน เส้นเลือดอุดตัน ลดความเสี่ยง ต่อการเป็นโรคมะเร็ง ป้องกันโรคหอบหืด
    ผลวิจัยล่าสุดพบว่า ช่วยป้องกันฟันผุได้ สารประกอบทางเคมีในวาซาบิที่เรียกว่าโอไซยาเนตส์ จะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ ตลอดจนการผลิตเอนไซม์ ในการก่อตัวของหินปูนที่เป็นต้นเหตุให้เกิดฟันผุ.
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>รายงานพิเศษ : เงินตรา เหตุวิบัติของสงฆ์
    http://www2.manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx?NewsID=4641768013834
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>8 กรกฎาคม 2546 17:17 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> สังคมไทยยุคนี้กำลังปรับตัวเข้าสู่ความเป็นทุนนิยมเต็มรูปแบบตามนโยบายของรัฐบาล ความเจริญ ก้าวหน้าของประเทศมุ่งเน้นด้านเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมเป็นหลัก การปฏิรูปการ ศึกษาก็เน้นให้ตอบสนองนโยบายของรัฐ
    เมื่อวัตถุนิยมมีความเจริญมากขึ้น คุณธรรมในจิตใจของคนไทยจึงเริ่มตก ต่ำลง พฤติกรรมในการมุ่งแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนจึงปรากฏอยู่ในสังคมทุกระดับ ไม่เว้นแม้แต่วงการสงฆ์!!
    มีพระสงฆ์สักกี่รูปที่มีจุดหมายของการครองสมณเพศ เพื่อทำตนให้บรรลุพระนิพพานตามรอยพระพุทธเจ้าส่วนใหญ่ดำรงตนให้มีอาชีพพระสงฆ์อยู่เท่านั้น!!
    อาชีพพระสงฆ์แตกต่างจากอาชีพอื่น คือ เป็นอาชีพที่ตั้งอยู่บนศรัทธาของประชาชน เป็นอาชีพที่มีรูปลักษณะบังคับ ไว้ กล่าวคือต้องเป็นคนสมถะ ดำรงตน อยู่ภายใต้พระธรรมวินัย มีลักษณะการแต่งกายจำเพาะ จนถึงกับมีกฎหมายบังคับใช้เฉพาะด้วย
    ทุกอาชีพล้วนมุ่งแสวงหาเงินตรา เพื่อ มาดำรงชีวิตของตนและครอบครัว ดังนั้น ผู้มีอาชีพพระสงฆ์ย่อมต้องมีพฤติกรรมเช่นนั้นเหมือนกัน อาจแตกต่างกันบ้างใน จุดมุ่งหมายของการใช้เงินที่ตนหามาได้ เพื่อประโยชน์ตนหรือสังคม เครื่องมือใน การแสวงหาเงินตราของพระสงฆ์ คือศรัทธาของประชาชน สิ่งใดที่จะทำให้ประชาชนศรัทธาพระสงฆ์จะทำสิ่งนั้น ตั้งแต่สร้างภาพลักษณะของพระผู้เคร่งพระธรรมวินัย ทำตนเป็นผู้ชำนาญในชีวิตของ มนุษย์ด้วยการกล่าวอ้างพระธรรมวินัยไปตามกระแสโลก รับปรึกษาปัญหาชีวิตด้วยการเป็นหมอดู ตลอดถึงจัดทำวัตถุมงคลเพื่อจำหน่าย นี่ยกมาพอเป็นสังเขป
    ถ้ามีการตรวจสอบบัญชีพระสงฆ์ทั่วประเทศ คงมีความกังขาเกิดขึ้นมากมาย แต่คงมีคำตอบที่เหมาะสมกับบัญชีเหล่านั้นด้วยเจตนาบริสุทธิ์อีกมากมายเช่นกัน ต้องไม่ลืมว่าพระสงฆ์ที่ไม่ใช่ผู้มีอาชีพพระสงฆ์บางรูปนั้น ท่านเป็นกำลังสำคัญ ในการสังคมสงเคราะห์ของประเทศอยู่เหมือนกัน
    เมื่อพระสงฆ์มีเงินตราในความครอบ ครองมากน้อยเท่าไร ความวิบัติย่อมเกิดแก่พระสงฆ์รูปนั้นตามกำลังของเงินที่ตนมี ความห่างไกลจากพระนิพพานย่อม มีมากยิ่งขึ้น ความใกล้ชิดกับฆราวาสวิสัย ย่อมมีมากขึ้น ที่สุดข่าวฉาวคาวโลกีย์ ก็ บังเกิดขึ้นกับพระสงฆ์บางรูป ดังที่ทราบ กันดีตามหน้าหนังสือพิมพ์
    ความเข้าใจในพระวินัยเกี่ยวกับเงินตราของพุทธศาสนิกชน ย่อมส่งผลให้เกิด ความบริสุทธิ์ขึ้นในหมู่สงฆ์ พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติพระวินัยเพื่อบังคับใช้กับพระ สงฆ์ เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่เป็นข้อครหาของประชุมชน ซึ่งพระองค์ประชุมสงฆ์ไต่สวนจนพบสาเหตุแห่งข้อครหานั้นแล้วทรงปรึกษาสงฆ์ที่ประชุมอยู่ ณ ที่นั้น เพื่อบัญญัติพระวินัยขึ้นดังนั้น พระวินัยจึงเป็นเกราะที่จะปกป้องพระสงฆ์ผู้ประพฤติตาม ให้พ้นจากมลทิน ข้อครหาของประชุมชน พระวินัยที่เกี่ยวกับเงินตราที่มาในพระปาติโมกข์มีดังนี้
    ปาราชิก สิกขาบทที่ ๒ ภิกษุถือเอาของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ได้ราคา ๕ มาสก ต้องปาราชิก ราคา ๕ มาสก ในปัจจุบันนี้ คงต้องรอมหาเถรสมาคมกำหนดว่าเท่าไร เพราะราคานี้เป็นราคาทองคำหนัก ๒๐ เมล็ดข้าวเปลือก ถ้าสิ่งของนั้นเป็นเงินตราเท่าราคา ๕ มาสก ภิกษุนั้นก็ขาดความเป็นภิกษุทันที
    นิสสัคคิยปาจิตตีย์ โกสิยวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๘ ภิกษุรับเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นรับก็ดี ซึ่งทองและเงิน หรือยินดีทองและเงินที่เขาเก็บไว้เพื่อตน ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
    สิกขาบทที่ ๙ ภิกษุทำการซื้อขายด้วย รูปิยะ คือของที่เขาใช้เป็นทองและเงิน ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
    ปัตตวรรคที่ ๓ สิกขาบทที่ ๑๐ ภิกษุรู้อยู่ น้อมลาภที่เขาจะถวายสงฆ์มาเพื่อ ตน ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
    นิสสัคคิยปาจิตตีย์ เป็นอาบัติที่ภิกษุผู้ต้องอาบัติ ต้องแสดงความผิดของตนแก่ภิกษุอื่น และสละสิ่งของที่เป็นต้นเหตุของความผิดนั้น
    เพื่อเพิ่มความเข้าใจในพระวินัยเหล่า นี้ ต้องขอนำคำอธิบายที่พระอาจารย์จันทา ถาวโร วัดป่าเขาน้อย อ.วังทรายพูน จ.พิจิตร เทศนาอบรมภิกษุสามเณรในพรรษาเกี่ยวกับนิสสัคคิยปาจิตตีย์ โกสิยวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๘ ว่า “ภิกษุถือเงินก็ดี หรือให้ผู้อื่นถือก็ดี เก็บไว้ก็ดี หรือ ยินดีซึ่งเงินและทองนั้น เงินนั้นเป็นนิสสัคคีย์ พระเป็นปาจิตตีย์ ทีนี้พระองค์ เจ้าให้มีไวยาวัจกร หรือทายกวัดเก็บไว้ให้ ครั้งพุทธกาลโน้นมีอารามิเกหิ คนรักษา วัด ต่อมาเรียกว่าไวยาวัจกรเป็นผู้รักษาของเรานั่นแหละ ให้เขาถือให้ เราอย่าเพิ่ง ถือด้วยตนเอง เราเอาไว้เพียงเพื่อบำรุงปัจจัย ๔ ไม่ได้เอาไว้เพื่อสะสมซึ่งกองกิเลส จะเป็นเหตุให้จิตนั้นเศร้าหมอง ใช้ไม่ได้... พระพุทธเจ้าไม่ให้ยินดีในเงินและทองนั้น เพราะว่าใจของเรายังมีกิเลส อยู่นะ กิเลสครอบงำอยู่จะทำให้สะสมไว้มากๆ นึกว่าได้เงินเท่านั้นหมื่น เท่านี้ แสน จะไปซื้อวัวซื้อควาย ทำไร่ทำนาค้า ขายโน่นนี่ มันก็หลอกลวงไปเสียแล้ว เพราะมีเงินแล้ว เดี๋ยวเดียวก็สึกออกไปนะ ไปอาบน้ำ หนองกระแสแสนย่าน ทั้งอาบ ทั้งดมทั้งกินอยู่นั้น นั่นแหละ มันเป็นอย่างนั้น ฉะนั้น พระองค์เจ้าจึงไม่ให้ยินดีซึ่งเงินและทองที่เขาเก็บไว้เพื่อตนนั้น ยินดีแต่ว่าเป็นปัจจัย ๔ เท่านั้น มันจึงจะใช้ได้ ใจจึงจะไม่เศร้าหมอง จึงจะไม่ไปยึด ไปถือในปัจจัยนั้น นั่นแหละ ได้มาแล้วก็หมดไป ธนบัตรนะ บัตรมาถุงเราแล้วก็บัตรไปถุงคนอื่น ไม่ได้อยู่กับใครทั้งนั้น เป็นของกลางอาศัยชั่วคราว ฉะนั้น จงเห็น ว่าเป็นของกลางเท่านั้น อย่าเห็นว่าเป็นของเฉพาะตนเรา ไม่ดี”
    ผู้เขียนเคยได้ยินว่า มีพระเถระ รูปหนึ่งกล่าวตำหนิพระสังฆาธิการรูปหนึ่งว่า “ท่านเจ้าคุณ ได้ข่าวว่าพระสงฆ์สามเณรในเขตปกครองของท่านจับเงินกันเป็นว่าเล่น ท่านทราบหรือเปล่า?” พระสังฆาธิการท่านนั้นตอบว่า” เกล้ากระผมทราบ แต่จะทำเช่นไรได้ พระสงฆ์สามเณร ยังเด็กใจร้อนไปไหนชอบว่องไว ไม่มีไวยาวัจกรไปด้วย จึงจับเงินทองเอง แต่เงินของเขาก็หมดไป เขาก็แสดงอาบัติทุก ๑๕ วัน แต่พระผู้ใหญ่ที่มีเงินในบัญชีธนาคารนี้จะทำเช่นไรดีขอรับ” ผู้เขียนไม่ทราบว่าพระเถระท่านตอบว่ากระไร รู้เพียงว่าต่อมาทั้งสองรูปนี้ไม่พูดวิสาสะกันอีกจนมรณภาพจากกันไป
    เมื่อพระสงฆ์มีเงินทองมาก ย่อมเป็นที่หมายปองของทุจริตชนที่มุ่งแสวงหาผลประโยชน์จากพระ วิธีที่ชนกลุ่มนี้ชอบปฏิบัติกันคือส่งหญิงสาวเข้าหา ทำ ตัวตีสนิท เพื่อดูดเงินจากพระ ที่สุดก็เกิด ข่าวฉาวขึ้น ทำให้พระรูปนั้นต้องสึกไปพร้อมเงินที่มีอยู่ และส่งผลให้คนที่ไม่ ชอบเรื่องราวเหล่านี้ เกิดความเสื่อมศรัทธา ในพระที่บริสุทธิ์รูปอื่นๆ ด้วย
    แท้จริงแล้ว เงินทองและสมบัติของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาทุกรูป ถือว่าเป็นสมบัติของพระพุทธศาสนา เมื่อพระสงฆ์ที่เป็นเจ้าของหมดสิทธิในการครอบครองจะด้วยมรณภาพหรือลาสึก สมบัตินั้นจะตกแก่วัดที่พระรูปนั้นสังกัดอยู่ ถ้าวัดนั้นกลายเป็นวัดร้าง สมบัตินั้นจะตกเป็นพุทธศาสนสมบัติกลาง ซึ่งเป็น สมบัติของประเทศส่วนหนึ่ง
    เงินทองเป็นของนอกกาย ตายแล้ว ก็เอาไปไม่ได้ แต่ความดีมากคุณธรรมดำรงตนสมกับเป็นศาสนทายาทของพระ พุทธเจ้า จะหนุนนำให้พระสงฆ์รูปนั้นได้บรรลุพระนิพพานในที่สุด
    นรกกับสวรรค์ของพระสงฆ์ห่างกันเพียงเส้นยาแดงเท่านั้นเอง!!
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.dhammajak.net/book/dhamma5/index.php

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    วินัยชาวพุทธ
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    คำนำ
    ปัจจุบันนี้ คนที่เรียกตัวว่าเป็นชาวพุทธโดยมาก เหมือนเป็นคนไม่มีหลัก ดังจะมีลัทธิว่า ชาวพุทธเป็นคนอิสระเสรี จะเชื่อถือหรือประพฤติตัวอย่างไรก็ได้
    แท้จริงนั้น การที่จะเป็นอะไรหรือเรียกชื่อว่าอย่างไร ก็ต้องมีหลักเกณฑ์ สำหรับเป็นเครื่องกำหนด หรือเป็นมาตรฐาน ดังในหมู่พุทธบริษัทเอง พระภิกษุสงฆ์ก็มีพระธรรมวินัยเป็นมาตรฐาน เริ่มแต่มีศีลเป็นเครื่องกำกับความเป็นอยู่ภายนอก
    ส่วนในฝ่ายคฤหัสถ์ อุบาสกอุบาสิกาก็มีคุณสมบัติและข้อปฏิบัติที่เป็นเครื่องกำหนดเช่นเดียวกัน แต่คงจะเป็นเพราะความเปลี่ยนแปลงในสังคม ทำให้วิถีชีวิตของชาวพุทธผันแปรไป ห่างเหินจากหลักพระศาสนา จนเหมือนว่าไม่รู้จักตัวเอง
    โดยปรารภสภาพเสื่อมโทรมเช่นนั้น จึงได้รวบรวมข้อธรรมที่เป็นหลักในการดำเนินชีวิต สำหรับพุทธศาสนิกชนทั่วไปขึ้นมา เรียกว่า "คู่มือดำเนินชีวิต" ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็นชื่อปัจจุบันว่า ธรรมนูญชีวิต
    อย่างไรก็ตาม หลักธรรมในธรรมนูญชีวิตนั้น ยังมากหลากหลาย ต่อมาจึงได้ยกเฉพาะส่วนที่เป็นแบบแผนของชีวิต คือ "คิหิวินัย" ออกมาย้ำเน้น โดยเริ่มฝากแก่นวกภิกษุในคราวลาสิกขา เพื่อให้ช่วยกันนำไปปฏิบัติเป็นหลัก และเผยแพร่แนะนำผู้อื่น ตั้งแต่ครอบครัวเป็นต้นไป ในการที่จะสร้างสรรค์สังคมชาวพุทธไทย ให้เจริญงอกงามมีสันติสุขสืบไป
    จากนั้นก็ได้เรียบเรียงหลัก "คิหิวินัย" นี้ พิมพ์รวมไว้เป็นส่วนต้นของ ธรรมนูญชีวิต ตั้งชื่อว่า มาตรฐานชีวิตของชาวพุทธ
    "คิหิวินัย" คือ วินัยของคฤหัสถ์ หรือ วินัยชาวบ้าน นี้ เป็นชุดคำสอนเดิม ที่พระพุทธเจ้าตรัสแสดงไว้ใน สิงคาลหสูตร และพระอรรคกถาจารย์ได้สรุปไว้ท้ายคำอธิบายว่า "พระสูตรนี้ ชื่อว่าคิหิวินัย" บ่งชัดถึงความสำคัญของพระสูตรนี้ พร้อมกับเป็นหลักฐานบ่งชี้ว่า ชาวพุทธฝ่ายคฤหัสถ์ก็มีข้อปฏิบัติที่เป็นแบบแผนแห่งชีวิตและสังคมของตน
    เวลานี้ สังคมยิ่งเสื่อมถอย ก้าวลึกลงไปในปลักหล่มแห่งอบายมากยิ่งขึ้น ถ้าจะให้สังคมมีอนาคตที่ควรหวัง ก็ถึงเวลาที่จะต้องลุกขึ้นมาเร่งรื้อฟื้นหลัก "คิหิวินัย" ขึ้นมา ให้เป็นแบบแผนแห่งชีวิตและสังคมชาวพุทธ ถ้าคนไทยตั้งตนอยู่ในคิหิวินัย ก็มั่นใจได้ว่าสังคมไทยจะไม่เพียงฟื้นตัวขึ้นจากวิกฤตเท่านั้น แต่จะก้าวหน้าไปในวิวัฒน์ได้อย่างแน่นอน
    บัดนี้ มองเห็นว่า คิหิวินัย ที่จัดไว้เป็นส่วนต้นของ ธรรมนูญชีวิต ในชื่อว่า "มาตรฐานชีวิตของชาวพุทธ" นั้น รวมอยู่ในหนังสือใหญ่ ยังไม่เด่นเป็นจุดเน้นเท่าที่ควร และเผยแพร่ให้ทั่วถึงได้ยาก จึงนำมาปรับสำนวนให้ง่ายลงอีก แยกพิมพ์เป็นเล่มเล็กต่างหาก และตั้งชื่อใหม่ว่า "วินัยชาวพุทธ"
    หวังว่า การพิมพ์ วินัยชาวพุทธ กล่าวคือคิหิวินัย เล่มนี้ จะสัมฤทธิ์วัตถุประสงค์ที่สัมพันธ์กับธรรมนูญชีวิต กล่าวคือหวังจะให้พุทธศาสนิกชนใช้ "วินัยชาวพุทธ" เป็นเกณฑ์มาตรฐานสำหรับกำกับและตรวจสอบการดำเนินชีวิตของตน แล้วก้าวสู่คุณสมบัติและข้อปฏิบัติใน "ธรรมนูญชีวิต" เพื่อดำเนินให้ดีงาม ประสบความสำเร็จ และเป็นประโยชน์ยิ่งขึ้นจนถึงความสมบูรณ์ ให้ชีวิตและสังคมบรรลุจุดหมาย ที่เปี่ยมพร้อมทั้งด้วยอามิสไพบูลย์ และธรรมไพบูลย์ อย่างยั่งยืนนาน
    พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต)
    ๗ กันยายน ๒๕๔๓
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
    หมวดหนึ่ง
    วางฐานชีวิตให้มั่น
    ชาวพุทธจะต้องดำเนินชีวิตที่ดีงาม และร่วมสร้างสรรค์สังคมให้เจริญมั่นคง ตามหลัก วินัยของคฤหัสถ์ (คิหิวินัย) ดังนี้
    กฎ ๑ : เว้นชั่ว ๑๔ ประการ
    ก. เว้นกรรมกิเลส (บาปกรรมที่ทำให้ชีวิตมัวหมอง) ๔ คือ
    ๑. ไม่ทำร้ายร่างกายทำลายชีวิต (เว้นปาณาติบาติ)
    ๒. ไม่ลักทรัพย์ละเมิดกรรมสิทธิ์ (เว้นอทินนาทาน)
    ๓. ไม่ประพฤติผิดทางเพศ (เว้นกาเมสุมิจฉาจาร)
    ๔. ไม่พูดเท็จโกหกหลอกลวง (เว้นมุสาวาท)
    ข. เว้นอคติ (ความลำเอียง/ประพฤติคลาดธรรม) ๔ คือ
    ๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ (เว้นฉันทาคติ)
    ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง (เว้นโทสาคติ)
    ๓. ไม่ลำเอียงเพราะขลาด (เว้นภยาคติ)
    ๔. ไม่ลำเอียงเพราะเขลา (เว้นโมหาคติ)
    ค. เว้นอบายมุข (ช่องทางเสื่อมทรัพย์อับชีวิต) ๖ คือ
    ๑. ไม่เสพติดสุรายาเมา
    ๒. ไม่เอาแต่เที่ยวไม่รู้เวลา
    ๓. ไม่จ้องหาแต่รายการบันเทิง
    ๔. ไม่เหลิงไปหาการพนัน
    ๕. ไม่พัวพันมั่วสุมมิตรชั่ว
    ๖. ไม่มัวจมอยู่ในความเกียจคร้าน

    กฎ ๒ : เตรียมทุนชีวิต ๒ ด้าน
    ก. เลือกสรรคนที่จะเสวนา คบคนที่จะนำชีวิตไปในทางแห่งความเจริญและสร้างสรรค์ โดยหลีกเว้นมิตรเทียม คบหาแต่มิตรแท้ คือ
    ๑. รู้ทันมิตรเทียม คือ ศัตรูผู้มาในร่างมิตร (มิตรปฏิรูปก์) ๔ ประเภท
    ๑) คนปอกลอก มีแต่ขนเอาของเพื่อนไป มีลักษณะ ๔
    (๑) คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว
    (๒) ยอมเสียน้อย โดยหวังจะเอาให้มาก
    (๓) ตัวมีภัย จึงมาช่วยทำกิจของเพื่อน
    (๔) คบเพื่อน เพราะเห็นแก่ผลประโยชน์
    ๒) คนดีแต่พูด มีลักษณะ ๔
    (๑) ดีแต่ยกของหมดแล้วมาปราศรัย
    (๒) ดีแต่อ้างของยังไม่มีมาปราศรัย
    (๓) สงเคราะห์ด้วยสิ่งที่หาประโยชน์มิได้
    (๔) เมื่อเพื่อนมีกิจ อ้างแต่เหตุขัดข้อง
    ๓) คนหัวประจบ มีลักษณะ ๔
    (๑) จะทำชั่วก็เออออ
    (๒) จะทำดีก็เออออ
    (๓) ต่อหน้าสรรเสริญ
    (๔) ลักหลังนินทา
    ๔) คนชวนฉิบหาย มีลักษณะ ๔
    (๑) คอยเป็นเพื่อนดื่มน้ำเมา
    (๒) คอยเป็นเพื่อนเที่ยวกลางคืน
    (๓) คอยเป็นเพื่อนเที่ยวดูการเล่น
    (๔) คอยเป็นเพื่อนไปเล่นการพนัน
    ๒. รู้ถึงมิตรแท้ หรือ มิตรด้วยใจจริง (สุหทมิตร) ๔ ประเภท
    ๑) มิตรอุปการะ มีลักษณะ ๔
    (๑) เพื่อนประมาท ช่วยรักษาเพื่อน
    (๒) เพื่อนประมาท ช่วยรักษาทรัพย์สินของเพื่อน
    (๓) เมื่อมีภัย เป็นที่พึ่งพำนักได้
    (๔) มีกิจจำเป็น ช่วยออกทรัพย์ให้เกินกว่าที่ออกปาก
    ๒) มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ มีลักษณะ ๔
    (๑) บอกความลับแก่เพื่อน
    (๒) รักษาความลับของเพื่อน
    (๓) มีภัยอันตราย ไม่ละทิ้ง
    (๔) แม้ชีวิตก็สละให้ได้
    ๓) มิตรแนะนำประโยชน์ มีลักษณะ ๔
    (๑) จะทำชั่วเสียหาย คอยห้ามปรามไว้
    (๒) แนะนำสนับสนุนให้ตั้งอยู่ในความดี
    (๓) ให้ได้ฟังได้รู้สิ่งที่ไม่เคยได้รู้ได้ฟัง
    (๔) บอกทางสุขทางสวรรค์ให้
    ๔) มิตรมีใจรัก มีลักษณะ ๔
    (๑) เพื่อนมีทุกข์ พลอยไม่สบายใจ (ทุกข์ ทุกข์ด้วย)
    (๒) เพื่อนมีสุข พลอยแช่มชื่นยินดี (สุข สุขด้วย)
    (๓) เขาติเตียนเพื่อน ช่วยยับยั้งแก้ให้
    (๔) เขาสรรเสริญเพื่อน ช่วยพูดเสริมสนับสนุน

    ข. จัดสรรทรัพย์ที่หามาได้ ด้วยสัมมาชีพ ดังนี้
    ขั้นที่ ๑ ขยันหมั่นทำงานเก็บออมทรัพย์ ดังผึ้งเก็บรวมน้ำหวานและเกสร
    ขั้นที่ ๒ เมื่อทรัพย์เก็บก่อขึ้นดังจอมปลวก พึงวางแผนใช้จ่าย
    - ๑ ส่วน เลี้ยงตัว เลี้ยงครอบครัว ดูแลคนเกี่ยวข้อง ทำความดี
    - ๒ ส่วน ใช้ทำหน้าที่การงานประกอบกิจการอาชีพ
    - ๑ ส่วน เก็บไว้เป็นหลักประกันชีวิตและกิจการคราวจำเป็น

    กฎ ๓ : รักษาความสัมพันธ์ ๖ ทิศ
    ก. ทำทุกทิศให้เกษมสันต์ ปฏิบัติหน้าที่ต่อบุคคลที่สัมพันธ์กับตนให้ถูกต้องตามฐานะทั้ง ๖ คือ ทิศที่ ๑ ในฐานะที่เป็นบุตรธิดา พึงเคารพบิดามารดา ผู้เปรียบเสมือนทิศเบื้องหน้า ดังนี้
    ๑. ท่านเลี้ยงเรามาแล้ว เลี้ยงท่านตอบ
    ๒. ช่วยทำกิจธุระการงานของท่าน
    ๓. ดำรงวงศ์สกุล
    ๔. ประพฤติตนให้เหมาะสมกับความเป็นทายาท
    ๕. เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศให้ท่าน
    บิดามารดาอนุเคราะห์บุตรธิดา ตามหลักปฏิบัติดังนี้
    ๑. ห้ามปรามป้องกันจากความชั่ว
    ๒. ดูแลฝึกอบรมให้ตั้งอยู่ในความดี
    ๓. ให้ศึกษาศิลปวิทยา
    ๔. เป็นธุระเมื่อถึงคราวจะมีคู่ครองที่สมควร
    ๕. มอบทรัพย์สมบัติให้เมื่อถึงโอกาส
    ทิศที่ ๒ ในฐานะที่เป็นศิษย์ พึงแสดงความเคารพนับถือครูอาจารย์ ผู้เปรียบเสมือน ทิศเบื้องขวา ดังนี้
    ๑. ลุกต้อนรับ แสดงความเคารพ
    ๒. เข้าไปหา เพื่อบำรุง รับใช้ ปรึกษา ซักถาม รับคำแนะนำ เป็นต้น
    ๓. ฟังด้วยดี ฟังเป็น รู้จักฟังให้เกิดปัญญา
    ๔. ปรนนิบัติ ช่วยบริการ
    ๕. เรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ เอาจริงเอาจังถือเป็นกิจสำคัญ
    อาจารย์อนุเคราะห์ศิษย์ ตามหลักปฏิบัติดังนี้
    ๑. แนะนำฝึกอบรมให้เป็นคนดี
    ๒. สอนให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
    ๓. สอนศิลปวิทยาให้สิ้นเชิง
    ๔. ส่งเสริมยกย่องความดีงามความสามารถให้ปรากฏ
    ๕. สร้างเครื่องคุ้มภัยในสารทิศ คือ สอนฝึกศิษย์ให้ใช้วิชชาเลี้ยงชีพได้จริง และรู้จักดำรงตนด้วยดี ที่จะเป็นประกันให้ดำเนินชีวิตดีงามโดยสวัสดี มีความสุขความเจริญ
    ทิศที่ ๓ ในฐานะที่เป็นสามี พึงให้เกียรติบำรุงภรรยา ผู้เปรียบเสมือนทิศเบื้องหลัง ดังนี้
    ๑. ยกย่องให้เกียรติสมฐานะที่เป็นภรรยา
    ๒. ไม่ดูหมิ่น
    ๓. ไม่นอกใจ
    ๔. มอบความเป็นใหญ่ในงานบ้าน
    ๕. หาเครื่องแต่งตัวมาให้เป็นของขวัญตามโอกาส

    ภรรยาอนุเคราะห์สามี ตามหลักปฏิบัติดังนี้
    ๑. จัดงานบ้านให้เรียบร้อย
    ๒. สงเคราะห์ญาติมิตรทั้งสองฝ่ายด้วยดี
    ๓. ไม่นอกใจ
    ๔. รักษาทรัพย์สมบัติที่หามาได้
    ๕. ขยัน ช่างจัดช่างทำ เอางานทุกอย่าง
    ทิศที่ ๔ ในฐานะที่เป็นมิตรสหาย พึงปฏิบัติต่อมิตรสหาย ผู้เปรียบเสมือน ทิศเบื้องซ้าย ดังนี้
    ๑. เผื่อแผ่แบ่งปัน
    ๒. พูดจามีน้ำใจ
    ๓. ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
    ๔. มีตนเสมอ ร่วมสุขร่วมทุกข์ด้วย
    ๕. ซื่อสัตย์จริงใจ
    มิตรสหายอนุเคราะห์ตอบ ตามหลักปฏิบัติดังนี้
    ๑. เมื่อเพื่อนประมาท ช่วยรักษาป้องกัน
    ๒. เมื่อเพื่อนประมาท ช่วยรักษาทรัพย์สมบัติของเพื่อน
    ๓. ในคราวมีภัย เป็นที่พึ่งได้
    ๔. ไม่ละทิ้งในยามทุกข์ยาก
    ๕. นับถือตลอดถึงวงศ์ญาติของมิตร
    ทิศที่ ๕ ในฐานที่เป็นนายจ้าง พึงบำรุงคนรับใช้ และคนงานผู้เปรียบเสมือน ทิศเบื้องล่าง ดังนี้
    ๑. จัดงานให้ทำตามความเหมาะสมกับกำลัง เพศ วัย ความสามารถ
    ๒. ให้ค่าจ้างรางวัลสมควรแก่งานและความเป็นอยู่
    ๓. จัดสวัสดีการดี มีช่วยรักษาพยาบาลในยามเจ็บไข้ เป็นต้น
    ๔. มีอะไรได้พิเศษมา ก็แบ่งปันให้
    ๕. ให้มีวันหยุด และพักผ่อนหย่อนใจ ตามโอกาสอันควร
    คนรับใช้และคนงาน แสดงน้ำใจต่อนายงาน ดังนี้
    ๑. เริ่มทำงานก่อน
    ๒. เลิกงานทีหลัง
    ๓. เอาแต่ของที่นายให้
    ๔. ทำการงานให้เรียบร้อยและดียิ่งขึ้น
    ๕. นำความดีของนายงานและกิจการไปเผยแพร่
    ทิศที่ ๖ ในฐานะที่เป็นพุทธศาสนิกชน พึงแสดงความเคารพนับถือต่อพระสงฆ์ ผู้เปรียบเสมือน ทิศเบื้องบน ดังนี้
    ๑. จะทำสิ่งใด ก็ทำด้วยเมตตา
    ๒. จะพูดสิ่งใด ก็พูดด้วยเมตตา
    ๓. จะคิดสิ่งใด ก็คิดด้วยเมตตา
    ๔. ต้อนรับด้วยความเต็มใจ
    ๕. อุปถัมภ์ด้วยปัจจัย ๔
    พระสงฆ์อนุเคราะห์คฤหัสถ์ ตามหลักปฏิบัติดังนี้
    ๑. ห้ามปรามสอนให้เว้นจากความชั่ว
    ๒. แนะนำสั่งสอนให้ตั้งอยู่ในความดี
    ๓. อนุเคราะห์ด้วยความปรารถนาดี
    ๔. ให้ได้ฟังได้รู้สิ่งที่ยังไม่เคยรู้ไม่เคยฟัง
    ๕. ชี้แจงอธิบายทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
    ๖. บอกทางสวรรค์ สอนวิธีดำเนินชีวิตให้มีความสุขความเจริญ
    ข. เกื้อกูลกันประสานสังคม ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ร่วมสร้างสรรค์สังคมให้สงบสุขมั่นคงสามัคคีมีเอกภาพ ด้วยสังคหวัตถุ ๔ คือ
    ๑. ทาน เผื่อแผ่แบ่งปัน (ช่วยด้วยเงินด้วยของ)
    ๒. ปิยวาจา พูดอย่างรักกัน (ช่วยด้วยถ้อยคำ)
    ๓. อัตถจริยา ทำประโยชน์แก่เขา (ช่วยด้วยกำลังแรงงาน)
    ๔. สมานัตตตา เอาตัวเข้าสมาน (ช่วยด้วยร่วมสร้างสรรค์และแก้ปัญหา เสมอกันโดยธรรม และร่วมสุขร่วมทุกข์กัน)


    หมวดสอง
    นำชีวิตให้ถึงจุดหมาย
    ก. จุดหมาย ๓ ชั้น ดำเนินชีวิตให้บรรลุจุดหมาย (อัตถะ) ๓ ขั้น คือ
    ขั้นที่ ๑ ทิฏฐธัมมิกัตถะ จุดหมายขั้นตาเห็น หรือ ประโยชน์ปัจจุบัน
    ก) มีสุขภาพดี ร่างกายแข็งแรง ไร้โรค อายุยืน
    ข) มีเงินมีงาน มีอาชีพสุจริต พึ่งตนเองได้ทางเศรษฐกิจ
    ค) มีสถานภาพดี เป็นที่ยอมรับนับถือในสังคม
    ง) มีครอบครัวผาสุก ทำวงศ์ตระกูลให้เป็นที่นับถือ
    ทั้ง ๔ นี้ พึงให้เกิดมีโดยธรรม และใช้ให้เป็นประโยชน์ ทั้งแก่ตนและผู้อื่น
    ขั้นที่ ๒ สัมปรายิกัตถะ จุดหมายขั้นเลยตาเห็น หรือ ประโยชน์เบื้องหน้า
    ก) มีความอบอุ่นซาบซึ้งสุขใจ ไม่อ้างว้างเลื่อนลอย มีหลักยึดเหนี่ยวใจให้เข้มแข็ง ด้วยศรัทธา
    ข) มีความภูมิใจ ในชีวิตสะอาด ที่ได้ประพฤติแต่การอันดีงามด้วยความสุจริต
    ค) มีความอิ่มใจ ในชีวิตมีคุณค่า ที่ได้ทำประโยชน์ตลอดมาด้วยน้ำใจเสียสละ
    ง) มีความแกล้วกล้ามั่นใจ ที่จะแก้ไขปัญหา นำชีวิตและภารกิจไปได้ ด้วยปัญญา
    จ) มีความโล่งจิตมั่นใจ มีทุนประกันภพใหม่ ด้วยได้ทำไว้แต่กรรมที่ดี
    ขั้นที่ ๓ ปรมัตถะ จุดหมายสูงสุด หรือ ประโยชน์อย่างยิ่ง
    ก) ถึงถูกโลกธรรมกระทบ ถึงจะพบความผันผวนปรวนแปรก็ไม่หวั่นไหว มีใจเกษมศานต์มั่นคง
    ข) ไม่ถูกความยึดติดถือมั่นบีบคั้นจิต ให้ผิดหวังโศกเศร้า มีจิตโล่งโปร่งเบาเป็นอิสระ
    ค) สดชื่อ เบิกบานใจ ไม่ขุ่นมัวเศร้าหมอง ผ่องใส ไร้ทุกข์ มีความสุขที่แท้
    ง) รู้เท่าทันและทำการตรงตามเหตุปัจจัย ชีวิตหมดจดสดใสเป็นอยู่ด้วยปัญญา
    ถ้าบรรลุจุดหมายชีวิตถึงขั้นที่ ๒ ขึ้นไป เรียกว่าเป็น “บัณฑิต”
    ข. จุดหมาย ๓ ด้าน จุดหมาย ๓ ขั้นนี้ พึงปฏิบัติให้สำเร็จครบ ๓ ด้าน คือ
    ด้านที่ ๑ อัตตัตถะ จุดหมายเพื่อตน หรือ ประโยชน์เพื่อตน คือ ประโยชน์ ๓ ขั้นข้างต้น ซึ่งพึงทำให้เกิดขึ้นแก่ตนเองหรือพัฒนาชีวิตของตนขึ้นไปให้ได้ให้ถึง
    ด้านที่ ๒ ปรัตถะ จุดหมายเพื่อผู้อื่น หรือ ประโยชน์ผู้อื่น คือ ประโยชน์ ๓ ขั้นข้างต้น ซึ่งพึงช่วยเหลือผู้อื่นให้ได้ให้ถึงด้วยการชักนำสนับสนุนให้เขาพัฒนาชีวิตของตนขึ้นไปตามลำดับ
    ด้านที่ ๓ อุภยัตถะ จุดหมายร่วมกัน หรือ ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย คือ ประโยชน์สุขและความดีงามร่วมกันของชุมชนหรือสังคม รวมทั้งสภาพแวดล้อมและปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งพึงช่วยกันสร้างสรรค์ บำรุงรักษา เพื่อเกื้อหนุนให้ทั้งตนและผู้อื่นก้าวไปสู่จุดหมาย ๓ ขั้นข้างต้น


    ชาวพุทธชั้นนำ
    ชาวพุทธที่เรียกว่า อุบาสก อุบาสิกา นับว่าเป็นชาวพุทธชั้นนำจะต้องมีความเข้มแข็งที่จะตั้งมั่นอยู่ในหลัก ให้เป็นตัวอย่างแก่ชาวพุทธทั่วไป นอกจากรักษา วินัยชาวพุทธ แล้ว ต้องมี อุบาสกธรรม ๕ ดังนี้
    ๑. มีศรัทธา เชื่อประกอบด้วยปัญญา ไม่งมงาย มั่นในพระรัตนตรัย ไม่หวั่นไหว ไม่แกว่งไกว ถือธรรมเป็นใหญ่และสูงสุด
    ๒. มีศีล นอกจากตั้งอยู่ในศีล ๕ และสัมมาชีพแล้ว ควรถือศีลอุโบสถตามกาล เพื่อพัฒนาตนให้ชีวิตและความสุขพึ่งพาวัตถุน้อยลง ลดการเบียดเบียน และเกื้อกูลแก่ผู้อื่นได้มากขึ้น
    ๓. ไม่ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อกรรม มุ่งหวังผลจากการกระทำด้วยเรี่ยวแรงความเพียรพยายามตามเหตุผล ไม่ตื่นข่าวเล่าลือโชคลางเรื่องขลังมงคล ไม่หวังผลจากการขออำนาจดลบันดาล
    ๔. ไม่แสวงหาพาหิรทักขิไณย์ ไม่ไขว่คว้าเขตบุญขุนขลังผู้วิเศษศักดิ์สิทธิ์ นอกหลักพระพุทธศาสนา
    ๕. ขวนขวายในการทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา ใส่ใจริเริ่มและสนับสนุนกิจกรรมการกุศล ตามหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


    หมายเหตุ :
    - วินัยชาวพุทธ นี้ ปรับให้ง่ายขึ้น ณ ๑๐ ส.ค. ๒๕๔๓ จาก “ภาค ๑ : มาตรฐานชีวิตของชาวพุทธ” ในหนังสือ ธรรมนูญชีวิต ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๔๐ เมื่อเสร็จแล้ว ได้ขอให้ดร.สมศีล ฌานวังศะ ปรับปรุงคำแปลภาษาอังกฤษฉบับเดิม ให้ตรงตามฉบับปรับปรุงนี้
    - วินัยของคฤหัสถ์ คือ คิหิวินัย ได้แก่พระพุทธโอวาทในสิงคาลกสูตร พระไตรปิฎก เล่ม ๑๑ (ที.ปา๑๑/๑๗๒–๒๐๖/๑๙๔–๒๐๗)
    - “อุบาสกธรรม ๕“ มาในพระไตรปิฎก เล่ม ๒๒ (องฺ ปญฺจก. ๒๒/๑


    <TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    คำอาราธนา-คำถวายทาน
    คำอาราธนาศีล ๕
    มะหัง ภันเต, วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ, ติสะระเณนะ สะหะ, ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ.
    ทุติยัมปิ ... (เหมือนข้างบน)
    ตะติยัมปิ ... (เหมือนข้างบน)

    (ถ้าคนเดียว เปลี่ยน มะยัง เป็น อะหัง และ ยาจามะ เป็น ยาจามิ)
    คำสมาทานศีล ๕
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะฯ (๓ จบ)
    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ​
    ทุติยัมปิ พุทธัง ... ทุติยัมปิ ธัมมัง ... ทุติยัมปิ สังฆัง ...
    ตะติยัมปิ พุทธัง ... ตะติยัมปิ ธัมมัง ... ตะติยัมปิ สังฆัง ...

    ๑. ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
    ๒. อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
    ๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
    ๔. มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
    ๕. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
    ..............................
    คำสมาทานศีล ๘
    (คำอาราธนาศีล ๘ เหมือน ศีล ๕ เปลี่ยนเฉพาะ ปัญจะ เป็น อัฏฐะ)
    ตั้ง นะโม และรับ สรณคมน์ เหมือนคำสมาทานศีล ๕

    ๑. ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
    ๒. อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
    ๓. อะพรัหมะจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
    ๔. มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
    ๕. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
    ๖. วิภาละโภชะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
    ๗. นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนะมาลาคันธะวิเลปะนะธาระณะมัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
    ๘. อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.

    อิมานิ อัฏฐะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ.
    คำอาราธนาอุโบสถศีล
    มะยัง ภันเต, ติสะระเณนะ สะหะ, อัฏฐังคะสะมัน นาคะตัง, อุโปสะถัง ยาจามะ.
    ทุติยัมปิ ... (เหมือนข้างบน)
    ตะติยัมปิ ... (เหมือนข้างบน)
    คำสมาทานอุโบสถศีล
    กล่าวเหมือนคำสมาทานศีล ๘ ต่างเฉพาะคำสรุป ดังนี้
    อิมัง อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง, พุทธะปัญญัตตัง อุโปสะถัง, อิมัญจะ รัตติง อิมัญจะ ทิวะสัง, สัมมะเทวะ อะภิรักขิตุง สะมาทิยามิฯ
    .......................
    คำอาราธนาพระปริตร
    วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
    สัพพะทุกขะวินาสายะ ปะริตตัง พฺรูถะ มังคะลัง
    วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
    สัพพะภะยะวินาสายะ ปะริตตัง พฺรูถะ มังคะลัง
    วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
    สัพพะโรคะวินาสายะ ปะริตตัง พฺรูถะ มังคะลัง.​
    คำอาราธนาธรรม
    พฺรัหฺมา จะ โลกาธิปะตี สะหัมปะติ
    กัตอัญชะลี อันธิวะรัง อะยาจะถะ
    สันตีธะ สัตตาปปะระชักขะชาติกา
    เทเสตุ ธัมมัง อะนุกัมปิมัง ปะชัง.
    คำถวายสังฆทาน
    อิมานิ มะยัง ภันเต, ภันตานิ, สะปะริวารานิ, ภิกขุสังฆัสสะ, โอโณชะยามะ, สาธุ โน ภันเต, ภิกขุสังโฆ, อิมานิ, ภัตตานิ, สะปะริวารานิ, ปะฏิคคัณหาตุ, พุทธะสาสะนัสสะ, จิรัฏฐิติยา, เจวะ, อัมหากัญจะ, ทีฆะรัตตัง, หิตายะ, สุขายะ.
    คำแปล
    ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมภวายภัตตาหาร กับทั้งบริวารเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์ จงรับภัตตาหาร กับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อความดำรงยั่งยืนนาน แห่งพระบวรพุทธศาสนา พร้อมทั้งเพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ.
    คำถวายสังฆทานอุทิศผู้ตาย
    อิมานิ มะยัง ภันเต, มะตะกะภัตตานิ, สะปะริวารานิ, ภิกขุ สังฆัสสะ, โอโณชะยามะ, สาธุ โน ภันเต, ภิกขุสังโฆ, อิมานิ, มะตะกะ ภัตตานิ, สะปะริวารานิ, ปะฏิคคัณหาตุ, อัมหากัญเจวะ, มาตาปิตุ อาทีนัญจะ, ญาตะกานัง กาละกะตานัง, ทีฆะรัตตัง, หิตายะ, สุขายะ.
    คำแปล
    ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายภัตตาหารเพื่อผู้ล่วงลับไปแล้ว กับทั้งบริวารเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับภัตตาหารเพื่อผู้ล่วงลับไปแล้ว กับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย แก่ญาติของข้าพเจ้าทั้งหลาย มีมารดาบิดาเป็นต้นผู้ล่วงลับไปแล้วด้วย สิ้นกาลนาน เทอญ.
    คำถวายผ้าป่า
    อิมานิ มะยัง ภันเต, ปังสุกูลจีวะรานิ, สะปะริวารานิ, ภิกขุสังฆัสสะ, โอโณชะยามะ, สาธุ โน ภันเต, ภิกขุสังโฆ, อิมานิ, ปังสุกูละจีวะรานิ, สะปะริวารานิ, ปะฏิคคัณหาตุ, อัมหากัง, ทีฆะรัตตัง, หิตายะ, สุขายะ.
    คำแปล
    ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายผ้าบังสุกุลจีวร กับทั้งบริวารเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับผ้าบังสุกุลจีวร กับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ
    คำกรวดน้ำอย่างสั้น
    ๑) แบบสั้นที่สุด อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ.
    แปล : ขอบุญนี้ จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าเถิด
    ๒) แบบกึ่งคาถา อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ, สุขิตา โหนตุ ญาตะโย.
    แปล : ขอบุญนี้ จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า, ขอญาติทั้งหลายจงเป็นสุขเถิด.

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>ตะลึง! กบ 8 ขาโผล่ที่ฮกเกี้ยน</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>2 มีนาคม 2550 14:05 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=500>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>กบ 8 ขาสายพันธุ์ที่หายาก</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> กบที่เห็นในภาพนี้ถูกพบที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งในเขตเมืองฉวนโจวของฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน) เจ้าชายกบตัวเขียวนี้จะไม่เป็นที่สนใจเลยหากมันจะไม่พิสดารตรงที่มี 8 ขา โดย 4 ขาหน้าก็มีลักษณะเหมือนขาหลังอีก 4 ขา เพียงแต่ไม่สามารถขยับได้เท่านั้น ด้านผู้เชี่ยวชาญระบุว่ากบตัวนี้อาจเป็น “กบวัว”* หรือไม่ก็กบเชื้อพันธุ์สายอเมริกา ซึ่งอาจเป็นเพราะผลกระทบจากพันธุกรรมและสภาวะอากาศที่เปลี่ยนไป จึงทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อ DNA ของกบ จนทำให้รูปร่างของกบผิดเพี้ยนไปจากเดิม ทั้งนี้เจ้ากบน้อยชนิดนี้ยังไม่จัดเป็นสัตว์พันธุ์อนุรักษ์แต่อย่างใด.--โซหูเน็ต

    *กบชนิดหนึ่งที่ตัวใหญ่กว่ากบธรรมดามาก ส่วนบั้นท้ายและขาทั้งสี่จะใหญ่เป็นพิเศษเดิมอยู่แถบอเมริกาเหนือ เสียงร้องเหมือนวัว ชอบกินแมลง ปลาและกุ้งเป็นอาหาร คนมักนำมารับประทาน ส่วนหนังของมันนำมาฟอกเป็นหนังฟอกได้

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=500>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>สาวน้อยในร้านอาหารหยิบจับด้วยความสิเหน่หา</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=438 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=438>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>กบก็อยู่นิ่งให้จับอย่างน่ารักน่าชัง</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=500>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พนักงานในร้านมายืนดูด้วยความสนใจ</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=455 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=455>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>จับมาดูใกล้ๆอีกครั้ง</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948


    ศาสนพิธี



    พิธีี คือ แบบอย่าง แบบแผน หรือรูปแบบต่างๆ ที่พึงปฏิบัติในทางศาสนา โดยเฉพาะพระพุทธศาสนาเรียกว่า ศาสนพิธีี ความจริงเรื่อง ศาสนพิธี เป็นเรื่องที่มีด้วยกันทุกศาสนา และเป็นเรื่องเกิดขึ้นทีหลังศาสนา หมายความว่า มีศาสนาเกิดขึ้นก่อนแล้วจึงมีพิธีต่างๆ เกิดตามมาภายหลัง แม้ศาสนพิธีในพระพุทธศาสนาก็เช่นกัน เกิดขึ้นภายหลังทั้งสิ้นเหตุเกิดศาสนพิธีในพระพุทธศาสนานี้ ก็เนื่องจากมีหลักการของพระพุทธศาสนา ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงวางไว้แต่ในปีที่ตรัสรู้ เพื่อสาวกจะได้ถือเป็นหลักในการออกไปประกาศพระศาสนา อันเรียกว่า "โอวาทปาติโมกข์" ในโอวาทนั้น มีหลักการสำคัญที่ทรงวางไว้เป็นหลักทั่วๆไป ๓ ประการคือ
    ๑. สอนไม่ให้ทำความชั่วทั้งปวง
    ๒. สอนให้อบรมกุศลให้พร้อม
    ๓. สอนให้ทำจิตใจของตนให้ผ่องแผ้ว
    โดยหลักการทั้ง ๓ นี้ เป็นอันว่าพุทธบริษัทต้องพยายามเลิกละความประพฤติชั่วทุกอย่าง จนเต็มความสามารถ และพยายามสร้างกุศลสำหรับตนให้พร้อมเท่าที่จะสร้างได้ กับพยายามชำระจิตใจให้ผ่องใสอยู่เสมอ ด้วยการพยายามทำตามคำสอนในหลักการการนี้ เป็นการพยายามทำดี เรียกว่า "ทำบุญ" และการทำบุญนี้แหละพระพุทธเจ้าทรงแสดงวัตถุ คือที่ตั้งอันเป็นทางไว้โดยย่อ ๆ ๓ ประการ เรียกว่า "บุญกิริยาวัตถุ" คือ
    ๑. ทาน การบริจาคสิ่งของของตนให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
    ๒. ศีล การรักษากายวาจาให้สงบเรียบร้อยไม่ล่วงพุทธบัญญัติ
    ๓. ภาวนา การอบรมจิตใจให้ผ่องใสในทางกุศล

    บุญกิริยานี้เอง เป็นแนวให้พุทธบริษัทปฏิบัติตามหลักการดังกล่าวข้างต้น และเป็นเค้าให้เกิดศาสนพิธีต่างๆ ขึ้นโดยนิยม คือ ในกาลต่อ ๆ มา พุทธบริษัทนิยมทำบุญ ไม่ว่าจะปรารภเหตุใดๆ ก็ให้เข้าหลักบุญกิริยาวัตถุ ๓ นี้ โดยเริ่มต้นมีการรับศีล ต่อไปภาวนาด้วยการสวดมนต์เองหรือฟังพระสวดแล้วส่งใจไปตาม จบลงด้วยการบริจาคทานตามสมควร เพราะนิยมทำบุญเป็นการบำเพ็ญความดีดังกล่าวนี้ และทำในกรณีต่าง ๆ กันตามเหตุที่ปรารภ จึงเกิดพิธีกรรมขึ้นมากประการ เมื่อพิธีกรรมใด เป็นที่นิยมและรับรองปฏิบัติสืบ ๆ มาจนเป็นประเพณี พิธีกรรมนั้นก็กลายเป็นศาสนพิธีขึ้น ฉะนั้น ศาสนพิธีจึงมีมากมาย เมื่อแยกเป็นหมวดก็สงเคราะห์ได้ ๔ หมวด คือ
    [​IMG] ๑. หมวดกุศลพิธี ว่าด้วยพิธีบำเพ็ญกุศล
    [​IMG] ๒. หมวดบุญพิธี ว่าด้วยพิธีทำบุญ
    [​IMG] ๓. หมวดทานพิธี ว่าด้วยพิธีถวายทาน
    [​IMG] ๔. หมวดปกิณกพิธี ว่าด้วยพิธีเบ็ดเตล็ด
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.dhammathai.org/practice/practice1.php

    <TABLE width="80%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>
    ความหมาย

    เรื่องกุศลพิธี เป็นเรื่องพิธีกรรมต่าง ๆ อันเกี่ยวด้วยการอบรม ความดีงามทางพระพุทธ ศาสนาเฉพาะตัวบุคคล คือ เรื่องสร้างความดีแก่ตนทางพระพุทธศาสนา ตามพิธีนั่นเอง ซึ่งพิธี ทำนองนี้มีมากด้วยกัน เมื่อจัดเข้าเป็นหมวดเดียวกัน จึงให้ชื่อหมวดว่า “หมวดกุศลพิธี” ฉะนั้น หมวดกุศลพิธีที่จะกล่าวต่อไปนี้ จะนำกุศลพิธีเฉพาะที่พุทธบริษัทพึงปฏิบัติในเบื้องต้น อย่างสามัญ มาชี้แจงเพียง ๓ เรื่อง คือ

    ก. พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ
    ข. พิธีเวียนเทียนในวันสำคัญทางศาสนา ได้แก่ วันมาฆบูชา , วันวิสาขบูชา , วันอาสาฬหบูชา , วันอัฐมีบูชา
    ค. พิธีรักษาอุโบสถศีล
    <HR SIZE=1>
    ก. พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ

    การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ คือ การประกาศตนของผู้แสดงว่า เป็นผู้รับนับถือ พระพุทธเจ้าเป็นของตน เป็นการแสดงตนให้ปรากฏว่ายอมรับนับถือพระพุทธศาสนาประจำชีวิต ของตนนั้นเอง สมเด็จพระมหาสมอย่างสูง ให้ปรากฏเช่นในบัดนี้ กราบด้วย เบญจางคประดิษฐ์ ท่านว่าใช้ได้ ทำข้อหลัง ดูเหมือน เพียงได้ความรับรองว่าเป็นผู้นับถือ”
    “การปฏิญาณตนเป็นผู้นับถือพระศาสนา ไม่จำทำเฉพาะคราวเดียว ทำซ้ำ ๆ ตามกำลัง แห่งศรัทธาและเลื่อมใสก็ได้ เช่น พระสาวกบางรูป ภายหลังแต่ได้รับอุปสมบท ลั่นวาจาว่า “พระผู้มีพระภาคเป็นพระศาสดาของข้าพระพุทธเจ้า ๆ เป็นสาวก” ดังนี้ก็มี อุบาสกประกาศตน หนหนึ่งแล้ว ประกาศซ้ำอีกก็มี”
    “เมื่อการถือพระศาสนาไม่เป็นเพียงเฉพาะตัว ถือกันทั่วทั้งสกุลและสืบชั้นลงมา มารดา บิดายอมนำบุตรธิดาของตนให้เข้าถึงพระศาสนาที่ตนนับถือตั้งแต่ยังเป็นเด็กอ่อน ไม่รู้จักเดียงสา มีเรื่องเล่าไว้ในอรรถกถาว่า นิมนต์พระสำหรับสกุลไปแล้ว ขอให้ขนาน ชื่อและให้สิกขาบทแก่เด็ก ขอให้ขนานชื่อไม่เคอะ ขอให้สิกขาบทเคอะอยู่ หรือให้พอเป็นพิธีเท่านั้น ธรรมเนียมเมือง เราเจ้านายประสูติใหม่ นำเข้าเมื่อสมโภชเดือน เชิญเสด็จ ออกมาหาพระสงฆ์ถ้าเป็นพระกุมาร พระสังฆเถระผู้พระหัตถ์ด้วยด้ายสายสิญจน์ ถ้าเป็นพระกุมารี พาดสายสิญจน์ไว้มุมเบาะข้างบน แล้วพระสงฆ์สวดอำนวยพระพรด้วยบาลีว่า โส อตฺถลทฺโธ.... หรือ สา อตฺถลทฺธา..... โดยควรแก่ภาวะบุตรธิดา ของสกุลที่ไม่ได้ ทำขวัญเดือน ดูเหมือน นำมาขอให้พระผูกมือให้เท่านั้น ความรู้สึกก็ไม่เป็นไปทางเข้าพระศาสนา เป็นไปเพียงทางรับ มงคลเนื่องด้วยพระศาสนา”
    “นำเข้าพระศาสนาแต่ยังเล็ก เด็กไม่รู้สึกด้วยตนเอง เมื่อโตขึ้นที่เป็นชายจึงนำเข้า บรรพชาเป็นสามเณร และอุปสมบทเป็นภิกษุ ที่เจ้าตัวได้ปฏิญาณและได้ความรู้สึก การนำและ สำแดงซ้ำ อย่างนี้เป็นทัฬหีกรรม คือ ทำให้มั่น เช่นเดียวกับอุปสมบทซ้ำ”
    “เมื่อความนิยมในการบวขเณรจืดจางลง พร้อมกันเข้ากับการส่งเด็กออกไปเรียนในยุโรป ก่อนแต่มีอายุสมควรบวชเณร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชปริวิตก ว่าเด็ก ๆ จักหาได้ความรู้สึกในทางพระศาสนาไม่ จึงโปรดให้พระราชโอรส ผู้มิได้เคยทรงผนวช เป็นสามเณรทรงปฏิญาณพระองค์ เป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนาก่อนเสด็จออกไปศึกษายุโรป ครั้งนั้นใช้คำสำแดงเป็นอุบาสกตามแบบบาลี พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เป็นพระองค์แรกปฏิญาณพระองค์ตามธรรมเนียมที่ทรงตั้งขึ้นใหม่นั้น และใช้เป็นราชประเพณี ต่อมาได้ทราบว่า ผู้อื่นจากพระราชวงศ์ เห็นชอบตามพระราชดำริ ทำตามบ้างก็มี”
    “ธรรมเนียมนี้แม้ได้ใช้นานมาแล้วยังไม่ได้เรียบเรียงไว้เป็นแบบแผน คราวนี้ สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า (รัชกาลที่ ๖) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าจะส่งพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมพฏพงศ์บริพัตร พระโอรสสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนครสวรรค์ วรพินิตกับหม่อมเจ้าอื่น ๆ ออกไปศึกษาในยุโรป สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต มีพระประสงค์จะให้พระโอรสได้ปฏิญาณพระองค์ในพระพุทธศาสนาตามธรรมเนียม ที่พระองค์ ได้เคยทรงมา พระบิดาและพระญาติของ หม่อมเจ้าอื่นก็ทรงดำริร่วมกัน เป็นอันว่า ธรรมเนียมนี้ ยังจักใช้อยู่ต่อไป ข้าพเจ้าจึงเรียบเรียงตั้งเป็นแบบไว้ทีเดียว สำหรับใช้ทั่วไป ไม่เฉพาะเจ้านาย ได้แก้บท “อุบาสก” เฉพาะผู้ใหญ่ผู้ได้ศรัทธาเลื่อมใสด้วยตนเองเป็น “พุทธมามกะ” ที่แปลว่า ผู้รับเอาพระพุทธเจ้าเป็นของตน”
    โดยเหตุนี้ จึงเกิดเป็นประเพณีนิยมแสดงตนเป็นพุทธมามกะขึ้นสืบต่อกันมา แต่ใน ปัจจุบันความนิยมของชาวพุทธในประเทศไทยมีสรุปได้ว่า
    ๑. เมื่อมีบุตรหลานของตนมีอายุพ้นเขตเป็นทารก เจริญวัยอยู่ในระหว่างอายุ ๑๒ ถึง ๑๕ ปี ก็ประกอบพิธีให้บุตรหลานได้แสดงตนเป็นพุทธมามกะ เพื่อให้เด็กสืบความเป็นชาวพุทธ ตามตระกูลวงศ์ต่อไป หรือ
    ๒. เมื่อจะส่งบุตรหลานของตนซึ่งเป็นชาวพุทธอยู่แล้ว ให้ไปอยู่ในถิ่นที่ไม่ใช่ดินแดน ของพระพุทธศาสนา เพื่อการศึกษาหรือเพื่อประโยชน์ใด ๆ ก็ตาม เป็นการที่ต้องจากถิ่นไป นานแรมปี ก็นิยมประกอบพิธีให้บุตรหลานของตนที่จะจากไปนั้น แสดงตนเป็นพุทธมามกะ เพื่อให้เด็กได้รำลึกอยู่เสมอว่าตนเป็นพุทธศาสนิกชน หรือ
    ๓. เมื่อจะปลูกฝังนิสัยเยาวชนให้มั่นคงในพระพุทธศาสนา ส่วนมากทางโรงเรียนที่สอน วิชาทั้งสามัญและอาชีวศึกษาแก่เด็ก ซึ่งตั้งอยู่ในกลุ่มชาวพุทธ นิยมประกอบพิธีให้นักเรียน ที่เข้าศึกษาใหม่ในรอบปี ได้แสดงตนเป็นพุทธมามกะหมู่ คือ แสดงรวมกันเป็นหมู่ ทำปีละ ครั้งในวันที่สะดวกที่สุด เพื่อให้นักเรียนเห็นความสำคัญ ในการที่ตนเป็นชาวพุทธร่วมอยู่กับ ชาวพุทธทั้งหลายและ
    ๔. เมื่อมีบุคคลต่างศาสนาเกิดเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ต้องการจะประกาศตน เป็นชาวพุทธ ก็ประกอบพิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะเพื่อประกาศว่า นับแต่นี้ไปตนยอมรับนับถือ พระพุทธศาสนาแล้ว
    <HR SIZE=1>การแสดงตนเป็นพุทธมามกะตามธรรมเนียมในปัจจุบัน มีระเบียบปฏิบัติที่นิยมกัน ดังต่อไปนี้

    ระเบียบพิธี

    ๑. มอบตัว ผู้ประสงค์จะประกอบพิธี ต้องไปมอบตัวกับพระอาจารย์ที่ตนเคารพนับถือ และมุ่งหมายจะให้เป็นประธานสงฆ์ในพิธีด้วยก่อน ถ้าเป็นเด็กต้องมีผู้ปกครองนำไป แต่ถ้าเป็น พิธีแสดงหมู่ เช่น นักเรียน ให้ครูใหญ่หรือผู้แทนโรงเรียน เป็นผู้นำแต่เพียงบัญชีรายชื่อของ นักเรียนที่จะเข้าพิธีไปเท่านั้นก็พอ ไม่ต้องนำนักเรียน ทั้งหมดไปก็ได้ การมอบตัวควรมีดอกไม้ ธูปเทียนใส่พานไปถวาย พระอาจารย์ตาม ธรรมเนียมโบราณด้วย พึงปฏิบัติดังนี้

    ก. เข้าไปหาพระอาจารย์ ทำความเคารพพร้อมกับผู้นำ (ถ้ามีผู้นำ)
    ข. แจ้งความประสงค์ให้พระอาจารย์ทราบ เมื่อพระอาจารย์รับแล้ว จึง มอบตัว
    ค. การมอบตัว ให้ผู้จะแสดงตนเป็นพุทธมามกะถือพานดอกไม้ธูปเทียน ที่เตรียม ไปนั้น เข้าไปใกล้ ๆ พระอาจารย์ คุกเข่าลงกับพื้น กะว่าเข่าของตนห่างจากตัว พระอาจารย์ ประมาณศอกเศษ แล้วยกพานนั้นน้อมตัวประเคน เมื่อพระอาจารย์รับพาน แล้ว เขยิบกายถอย หลังทั้ง ๆ อยู่ในท่าคุกเข่านั้น ห่างออกมาเล็กน้อย แล้วประนมมือก้มลงกราบ ด้วยเบญจางค ประดิษฐ์ ตรงหน้าพระอาจารย์ ๓ ครั้ง ถ้าเป็นตัวแทนมอบตัวหมู่ ให้ผู้แทน ปฏิบัติเช่นเดียวกัน พร้อมกับถวายบัญชีรายชื่อผู้ที่จะประกอบพิธี
    ฆ. กราบเสร็จแล้วนั่งราบในท่าพับเพียบลงตรงนั้นเพื่อฟังข้อแนะนำ และ นัดหมายของพระอาจารย์จนเป็นที่เข้าใจเรียบร้อย
    ง. เมื่อตกลงกำหนดการกันเรียบร้อยแล้ว ขอเผดียงสงฆ์ต่อพระอาจารย์ ตาม จำนวนที่ต้องการ ไม่น้อยกว่า ๓ รูป รวมเป็น ๔ ทั้งพระอาจารย์
    เมื่อเสร็จธุระนี้แล้ว ให้กราบลาพระอาจารย์ด้วยเบญจางคประดิษฐ์อีก ๓ ครั้ง
    ๒. เตรียมการ ในการประกอบพิธีนี้ต้องมีเตรียมการให้พร้อมทั้ง ฝ่ายสงฆ์และ ฝ่ายผู้แสดงตน คือ
    ก. ฝ่ายสงฆ์ พระอาจารย์ผู้เป็นประธานสงฆ์ที่ได้รับมอบตัว ผู้จะแสดงตน เป็นพุทธมามกะแล้ว ต้องเป็นผู้จัดเตรียมบริเวณพิธีภายในวัดไว้ให้พร้อมก่อนกำหนดนัด เพราะพิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะนี้ ประกอบขึ้นในวัดเป็นเหมาะที่สุด ถ้าไม่จำเป็นแล้ว ไม่ควรทำในที่อื่น บริเวณพิธีในวัดควรจัดในพระอุโบสถได้เป็นดี เพราะเป็นสถานที่สำคัญ อันเป็นหลักของวัด แต่ถ้าในพระอุโบสถไม่สะดวกด้วยประการใด ๆ ควรจัดในวิหาร หรือ ศาลาการเปรียญ หอประชุมแห่งใดแห่งหนึ่งก็ได้ ไม่ควรจัดให้มีในที่กลางแจ้ง ควรตั้งโต๊ะบูชา มีพระพุทธรูปเป็นประธาน ในบริเวณพิธีนั้น ๆ จัดให้สะอาดเรียบร้อยตามธรรมเนียม และให้เด่น อยู่กึ่งกลาง ถัดหน้าโต๊ะบูชาออกมาตรงหน้าพระประธาน ตั้งหรือปูอาสนะสงฆ์ หันหน้าออก ตามพระประธานนั้น อาสนะพระอาจารย์อยู่ข้างหน้าเดี่ยวเฉพาะองค์เดียว อาสนะ พระสงฆ์อยู่ ข้างหลังพระอาจารย์ เรียงแถวหน้ากระดาน ถ้าเป็นการแสดงตนหมู่ ควรเตรียมที่ปักธูปเทียน และที่วางดอกไม้บูชาพระสำหรับผู้แสดงตนไว้ข้างหน้าให้พร้อม ถ้าสถานที่ไม่อำนวยให้จัดเช่นนี้ ได้ก็จัดอาสนะพระอาจารย์และพระสงฆ์ให้อยู่ทางซีกขวา ของพระประธานเป็นด้านข้าง ให้หันหน้า ไปทางซีกซ้ายของพระประธาน วิธีจัดก็ให้อาสนะพระอาจารย์อยู่หน้าอาสนะสงฆ์ เรียงแถวอยู่หลัง พระอาจารย์ เช่นเดียวกับที่กล่าวแล้ว ที่จัด ดังนี้ก็เพื่อให้ผู้แสดงตน เข้าแสดงตนต่อสงฆ์โดยหันหน้า ตรงพระอาจารย์แล้วได้หันมือขวา เข้าหาพระประธาน นับเป็นการแสดงความเคารพอีกประการ หนึ่งด้วย
    ข. ฝ่ายผู้แสดงตน ต้องตระเตรียมผ้าขาวสำหรับนุ่งผืนหนึ่ง ชายควรนุ่ง โจงกระเบน หญิงควรนุ่งจีบแบบผ้าถุง หรือจะตัดเย็บเป็นกระโปรง ก็ได้แล้วแต่เหมาะสม และต้องมีผ้าขาวสำหรับห่มสะไบเฉียงอีกหนึ่งผืน ใช้เหมือนกัน ทั้งชายและหญิง นอกจาก นี้มีเสื้อขาวแบบสุภาพสวมก่อนสะไบเฉียงทั้งชายและหญิง รองเท้าและถุงเท้าไม่ต้องใช้พิธี ถ้าเป็นการแสดงตนหมู่ เช่น นักเรียนหรือข้าราชการ เป็นต้น จะไม่นุ่งขาวห่มขาวตามแบบ ก็ให้แต่งเครื่องแบบของตนให้เรียบร้อยทุกประการ เว้นแต่รองเท้าต้องถอดในเวลาเข้าพิธี อีก ประการหนึ่ง ต้องเตรียมเครื่องสักการะสำหรับถวายพระอาจารย์ในพิธีเฉพาะตน ๆ ด้วย คือ ดอกไม้ ธูปเทียนใส่พาน ๑ ที่ กับดอกไม้ธูปเทียนสำหรับจุดบูชาพระในพิธี ๑ ที่ นอกนั้น จะมี ไทยธรรมถวายพระสงฆ์ในพิธีด้วย ก็แล้วแต่ศรัทธา
    ๓. พิธีการ เมื่อเตรียมการพร้อมทุกฝ่ายดังกล่าวแล้ว ถึงวันนัดประกอบพิธีโดย
    ก. ให้ผู้จะแสดงตนเป็นพุทธมามกะ นุ่งขาว ห่มขาว หรือแต่งเครื่องแบบ ของตนเรียบร้อยแล้วไปยังบริเวณพิธีก่อนกำหนด นั่งรอเวลาในที่ที่ทางวัดจัดไว้
    ข. ถึงเวลากำหนด พระอาจารย์และพระสงฆ์เข้าสู่บริเวณพิธี กราบพระ พุทธรูปประธานแล้ว เข้านั่งประจำอาสนะ
    ค. ให้ผู้แสดงตนเข้าไปคุกเข่าหน้าโต๊ะบูชา จุดธูปเทียนและวางดอกไม้บูชา พระส่งใจระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย เปล่งวาจาว่า
    อิมินา สกฺกาเรน, พุทฺธํ ปูเชมิ.
    ข้าพเจ้าขอบูชาพระพุทธเจ้า ด้วยเครื่องสักการะนี้
    (กราบ)
    อิมินา สกฺกาเรน, ธมฺมํ ปูเชมิ.
    ข้าพเจ้าขอบูชาพระธรรม ด้วยเครื่องสักการะนี้
    (กราบ)
    อิมินา สกฺกาเรน สงฺฆํ ปูเชมิ.
    ข้าพเจ้าขอบูชาพระสงฆ์ ด้วยเครื่องสักการะนี้
    (กราบ)

    ถ้าเป็นการแสดงตนหมู่ ให้หัวหน้าเข้าไปจุดธูปเทียนบูชาคนเดียว นอกนั้นวางดอกไม้ ธูปเทียนยังที่ที่จัดไว้ แล้วนั่งคุกเข่าประนมมือ หัวหน้านำกล่าวคำบูชา ให้ว่าพร้อมๆ กัน การกราบ ต้องก้มลงกราบกับพื้นด้วยเบญจางคประดิษฐ์ทุกครั้ง

    ฆ. เข้าไปสู่ที่ประชุมสงฆ์ตรงหน้าพระอาจารย์ ถวายพานเครื่องสักการะแก่พระ อาจารย์ แล้วกราบพระสงฆ์ตรงหน้าพระอาจารย์นั้น ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง ถ้าแสดง ตนหมู่ ทุกคนคงนั่งคุกเข่าประนมมืออยู่กับที่หัวหน้าหมู่คนเดียว นำสักการะที่เดียวเข้าถวาย แทนทั้งหมู่ แล้วกราบพร้อมกับหัวหน้า
    ง. กราบเสร็จแล้วคงคุกเข่าประนมมือ เปล่งคำปฏิญาณตนให้ฉะฉานต่อหน้าสงฆ์ ทั้งคำบาลีและคำแปล เป็นตอน ๆ ไปจนจบเรื่องปฏิญาณ ดังนี้
    คำนมัสการ
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
    คำแปล
    ข้าพเจ้าขอนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น
    ข้าพเจ้าขอนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น
    ข้าพเจ้าขอนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น
    คำปฏิญาณ
    เอสาหํ ภนฺเต สุจิรปรินิพฺพุตมฺปิ, ตํ ภควนฺตํ สรณํ
    คจฺฉามิ, ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ, พุทธมามโกตํ สงฺโฆ ธาเรต
    คำแปล
    ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น แม้ปรินิพพาน ไปนานแล้ว ทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ เป็นสรณะที่ระลึกนับถือ ขอพระสงฆ์จงจำข้าพเจ้า ไว้ว่าเป็นพุทธมามกะ ผู้รับเอาพระพุทธเจ้าเป็นของตน คือ ผู้นับถือพระพุทธเจ้า
    หมายเหตุ :- ถ้าปฏิญาณพร้อมกันหลายคนทั้งชายหญิง คำปฏิญาณให้เปลี่ยนเฉพาะที่ขีดเส้นใต้ไว้ ดังนี้
    เอสาหํ เป็น ชายว่า เอเต มยํ หญิงว่า เอตา มย
    คจฺฉามิ เป็น คจฺฉาม (ทั้งชายและหญิง)
    พุทฺธมามโกติ เป็น พุทฺธมามกาติ (ทั้งชายและหญิง)
    มํ เป็น โน (ทั้งชายและหญิง)
    คำแปลก็เปลี่ยนเฉพาะคำ “ข้าพเจ้า” เป็นว่า “ข้าพเจ้าทั้งหลาย” เท่านั้น นอกนั้น เหมือนกัน สำหรับหญิงผู้ปฏิญาณคนเดียวว่า เอสาหํ ฯลฯ ถึง พุทฺธมามโกติ เปลี่ยนเป็นว่า พุทฺธมามกาติ ต่อไปไม่เปลี่ยนตลอดทั้งคำแปลด้วย ถ้าหญิงกับชายปฏิญาณคู่กัน เฉพาะคู่เดียว ให้ว่าแบบปฏิญาณคนเดียว คือ ขึ้น เอสาหํ ฯลฯ พุทฺธมามโกติ ชายว่า หญิงเปลี่ยนว่า พุทฺธมามกาติ เท่านั้น นอกนั้น คงรูปตลอด ทั้งคำแปล
    เมื่อผู้ปฏิญาณกล่าวคำปฏิญาณจบแล้ว พระสงฆ์ทั้งนั้นประนมมือรับ “สาธุ” พร้อมกัน ต่อนั้น ให้ผู้ปฏิญาณลดลงนั่งราบแบบพับเพียบกับพื้น แล้วประนมมือ ฟัง โอวาทต่อไป
    จ. ในลำดับนี้ พระอาจารย์พึงให้โอวาทเพื่อให้รู้หัวข้อแห่งพระพุทธศาสนา พอสมควร โดยใจความว่า

    ตัวอย่างโอวาทโดยย่อ

    "ท่านเกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ประกาศ ตนเป็นพุทธมามกะ คือรับว่า พระพุทธเจ้าเป็นที่เคารพนับถืออย่างสูงสุดของตน ในที่พร้อมหน้า แห่งคณะสงฆ์ ซึ่งประชุมพร้อมกันอยู่ ณ ที่นี้ ข้อนี้จัดเป็นลาภอันประเสริฐของท่าน ท่านได้ดี แล้วคือ ได้สัมมาทิฏฐิความเห็นชอบตามหลักแห่งพระพุทธศาสนา
    แท้จริง พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ได้นามว่า รัตนะ เพราะยังความยินดีให้เกิด แก่ผู้เคารพบรรจบเป็น ๓ รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย แก้ว ๓ ประการ เป็นหลักอันสำคัญยิ่งนัก ในพระพุทธศาสนา
    ส่วนข้อปฏิบัติซึ่งพุทธศาสนิกชนจะพึงยึดถือไว้เป็นบรรทัดแห่งความประพฤติย่นย่อ กล่าวตามพระพุทธโอวาท สรุปลงได้ ๓ ประการ คือ
    ๑. ไม่พึงทำบาปทั้งปวง ได้แก่ไม่ประพฤติชั่วด้วย กาย วาจา ใจ
    ๒. บำเพ็ญกุศลให้เกิดมี ได้แก่ประพฤติชอบด้วย กาย วาจา ใจ
    ๓. ทำจิตของตนให้ผ่องใส คือไม่ให้ขุ่นมัวด้วย โลภ โกรธ หลง
    ขอท่านจงตั้งศรัทธาความเชื่อให้มั่นคง ตรงต่อพระรัตนตรัย และจงตั้งใจสมาทาน เบญจศีล ซึ่งจะได้ให้ท่านสมาทาน ณ กาลบัดนี้ "
    (แนวโอวาทนี้ แล้วแต่ความสามารถของพระอาจารย์จะอธิบายขยายความ ได้มากน้อย)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.dhammathai.org/practice/practice2.php

    <TABLE width="80%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>
    ความหมาย

    บุญพิธี ได้แก่ พิธีทำบุญเนื่องด้วยประเพณีในครอบครัวของพุทธศาสนิกชน เป็นประเพณีเกี่ยวกับชีวิตของคนไทยทั่วไป ส่วนมากทำกันเกี่ยวกับเรื่องฉลองบ้าง เรื่องต้องการ สิริมงคลบ้าง เรื่องตายบ้าง ในเรื่องเหล่านี้นิยมทำบุญทางพระพุทธศาสนา เช่น ทำบุญเลี้ยงพระและ ตักบาตร เป็นต้น เพราะประเพณีนิยมดังนี้ จึงเกิดมีพิธีกรรม ที่จะต้องปฏิบัติขึ้นและถือสืบ ๆ กันมาแต่โบราณกาล ฉะนั้น ในเรื่องพิธีทำบุญ หรือเรียกว่า บุญพิธี จึงเป็นเรื่องที่จะต้องศึกษา อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งจะนำมากล่าวในหมวดนี้ โดยแยกเป็น ๒ ประเภท คือ

    ๑. ทำบุญงานมงคล
    ๒. ทำบุญงานอวมงคล
    แต่ละประเภทมีความมุ่งหมายและเหตุผล ตลอดถึงระเบียบปฏิบัติพิธี แตกต่างออกไป เป็นกรณี ๆ อีกหลายอย่าง ดังจะนำมาชี้แจงแต่เพียงที่สำคัญ ๆ ให้เข้าใจต่อไป

    <HR SIZE=1>
    พิธีทำบุญเลี้ยงพระ

    การทำบุญเลี้ยงพระ ตามปกติที่ทำกัน มักนิมนต์พระภิกษุสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ ในสถานที่ที่ประกอบพิธีในตอนเย็น เรียกกันอย่างสามัญว่า สวดมนต์เย็น รุ่งขึ้น เวลาเช้า (บางกรณี เวลาเพล) ถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสงฆ์ที่เจริญพระพุทธมนต์ เมื่อเย็นวานนั้นเรียกกันว่า เลี้ยงพระเช้า (เลี้ยงพระเพล) หรือฉันเช้า (ฉันเพล) และในคราวเดียวกันก็มีการตักบาตรด้วย บางคนมีเวลาน้อย ย่นเวลามาทำพร้อมกัน ในวันเดียว ในตอนเช้าหรือตอนเพลตามความสะดวก โดยนิมนต์พระภิกษุสงฆ์ มาเจริญพระพุทธ มนต์ก่อน จบแล้วถวายภัตตาหารให้เสร็จสิ้นในเวลา เดียวกัน อย่างนี้เรียกว่า ทำบุญเลี้ยงพระ
    การทำบุญเลี้ยงพระนี้ นิยมทั้งในงานมงคลและงานอวมงคลทั่วไป ที่เรียกว่า ทำบุญ งานมงคลนั้น ได้แก่ การทำบุญเลี้ยงพระดังกล่าว เพื่อความสุขความเจริญแก่จิตใจ โดยปรารภ เหตุที่ดีเป็นมูล เกี่ยวกับฉลองความสำเร็จในชีวิต เช่น ฉลองพระบวชใหม่ เป็นต้น หรือเกี่ยวกับ การริเริ่มชีวิตใหม่เพื่อให้เกิดความสำเร็จ ตามปรารถนาด้วยดี ตลอดไป เช่น ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ทำบุญแต่งงาน หรือเรียกว่ามงคลสมรส เป็นต้น ส่วนที่เรียกว่า ทำบุญงานอวมงคล ได้แก่ การทำบุญเลี้ยงพระเพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขโดยปรารภเหตุไม่สู้ดี เนื่องจากมีการตาย ขึ้นในวงญาติ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในครอบครัวจัดการทำบุญขึ้น เพื่อให้สำเร็จเป็นประโยชน์ เกื้อกูล และความสุขแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว และเพื่อเป็นมิ่งขวัญกลาย ๆ แก่ผู้ที่ยังอยู่ งานทำบุญ โดยปรารภเหตุนี้ เรียกว่า ทำบุญงานอวมงคล
    การทำบุญทั้ง ๒ ประเภทนี้ ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติมี ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายทายก ทายิกาผู้ประกอบด้วยต้องการบุญ เรียกว่า ฝ่ายเจ้าภาพ ๑ ฝ่ายปฏิคาหก ผู้รับทานและ ประกอบพิธีกรรมตามความประสงค์ของเจ้าภาพ ซึ่งเป็นพระภิกษุสงฆ์ เรียกว่า ฝ่ายภิกษุสงฆ์อีก ๑ ทั้งสองฝ่ายนี้มีระเบียบปฏิบัติพิธี กำหนดไว้เพื่อความเรียบร้อยโดยเหมาะสมแต่ละประเภท ของงาน เป็นขนบประเพณีสืบมา ดังต่อไปนี้

    ระเบียบพิธี

    ๑. ทำบุญงานมงคล

    พิธีฝ่ายเจ้าภาพ ผู้ที่จะทำบุญเนื่องในงานมงคลต่าง ๆ นั้น ในที่นี้เรียกว่า “เจ้าภาพ” เบื้องต้นจะต้องตระเตรียมกิจการต่าง ๆ ที่ควรทำก่อน ดังนี้
    ก. อาราธนาพระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์
    ข. เตรียมที่ตั้งพระพุทธรูปพร้อมทั้งเครื่องบูชา
    ค. ตกแต่งสถานที่บริเวณพิธี
    ฆ. วงด้ายสายสิญจน์
    ง. เชิญพระพุทธรูปมาตั้งบนที่บูชา
    จ. ปูลาดอาสนะสำหรับพระสงฆ์
    ฉ. เตรียมเครื่องรับรองพระสงฆ์ตามควรแก่ฐานะ
    ช. ตั้งภาชนะสำหรับทำน้ำมนต์
    เมื่อพระสงฆ์มาถึงแล้วตามเวลากำหนด จะต้องปฏิบัติกรณียกิจ ดังต่อไปนี้
    ก. คอยล้างเท้าพระสงฆ์และเช็ดด้วย (ปัจจุบันพระสงฆ์สวมรองเท้า และเท้าไม่สกปรก จึงไม่ต้องล้างเท้าก็ได้)
    ข. ประเคนเครื่องรับรองที่จัดไว้
    ค. ได้เวลาแล้ว จุดเทียนธูปที่โต๊ะบูชา บูชาพระแล้วกราบนมัสการ ๓ ครั้ง
    ฆ. อาราธนาศีล และรับศีล
    ง. ต่อจากรับศีล อาราธนาพระปริตร เสร็จแล้วไหว้หรือกราบแล้วแต่กรณี
    จ. นั่งฟังพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ เมื่อจบแล้ว ถวายน้ำร้อนหรือ เครื่องดื่ม
    อันควรแก่สมณะ แล้วแต่จะจัด

    ในการปฏิบัติพิธีตามหน้าที่ที่กล่าวนี้ มีข้อที่ควรจะเข้าใจ คือ
    ๑. เรื่องการอาราธนาพระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ นิยมไม่กำหนดจำนวนข้างมาก แต่นิยมกำหนดข้างน้อยไว้โดยเกณฑ์ คือไม่ต่ำกว่า ๕ รูป เกิน ๕ ไปก็เป็น ๗ หรือ ๙ ข้อน่าสังเกตก็คือ ไม่นิมนต์พระสงฆ์จำนวนคู่ เพราะถือเหมือนอย่างว่า การทำบุญครั้งนี้ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน แบบเดียวกับครั้งพุทธกาล ซึ่งปรากฏตามบาลีว่า พุทฺธปฺปมุโข ภิกฺขุสงฺโฆ พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข โดยตั้งพระพุทธรูปไว้ข้างหน้าแถวพระสงฆ์ นับจำนวนรวมกับพระสงฆ์เป็นคู่ เว้นแต่ในงานมงคลสมรส มักนิยมนิมนต์พระสงฆ์จำนวนคู่ จุดมุ่งหมาย คือ แบ่งให้ฝ่ายเจ้าบ่าวและฝ่ายเจ้าสาวนิมนต์พระมาจำนวนเท่า ๆ กัน เมื่อมารวมกัน จึงเป็นจำนวนคู่ แต่ในพิธีหลวงในปัจจุบันนี้ มักอาราธนาพระสงฆ์ เป็นจำนวนคู่ เช่น ๑๐ รูป เป็นต้น
    ๒. เรื่องเตรียมที่ตั้งพระพุทธรูปพร้อมทั้งเครื่องบูชา ที่ตั้งพระพุทธรูปพร้อมทั้งเครื่องบูชา ในงานพิธีต่าง ๆ นั้น นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า “โต๊ะบูชา” สิ่งสำคัญของโต๊ะบูชานี้ ประกอบด้วยโต๊ะรอง ๑ เครื่องบูชา ๑ โต๊ะรองเป็นที่รองรับพระพุทธรูป และเครื่องบูชาปัจจุบันนี้นิยมใช้กันทั่วไป เป็นโต๊ะหมู่ซึ่งสร้างไว้โดยเฉพาะ เรียกกันว่า โต๊ะหมู่บูชา มีเป็นหมู่ ๕ หมู่ ๗ และหมู่ ๙ หมายความว่าหมู่หนึ่ง ๆ ประกอบด้วยโต๊ะ ๕ ตัว ๗ ตัว และ ๙ ตัว ก็เรียกว่าหมู่เท่านั้นเท่านี้ ถ้าในที่ที่หาโต๊ะหมู่ไม่ได้ จะใช้ตั่งอะไรที่สมควรซึ่งไม่สูงหรือต่ำเกินไปนักจัดเป็นโต๊ะบูชาในพิธีก็ได้ โต๊ะหรือตั่งนั้นต้องใช้ผ้าขาวปูพื้นก่อน ถ้าหาผ้าขาวไม่ได้จำเป็นจะใช้ผ้าสี ต้องเป็นผ้าสะอาด และยังมิได้ใช้การอย่างอื่น มาเป็น เหมาะสมที่สุด ผ้าอะไรก็ตามถ้าแสดงลักษณะชัดว่าเป็นผ้านุ่งแล้ว ไม่สมควรอย่างยิ่ง
    การตั้งโต๊ะบูชานี้มีหลักว่า ต้องตั้งหันหน้าโต๊ะออกทางเดียวกับพระสงฆ์ คือให้พระ พุทธรูปหันพระพักตร์ออกทางเดียวกับพระสงฆ์นั่นเอง ด้วยมุ่งหมายให้พระสงฆ์ มีพระพุทธรูป เป็นประธาน เว้นแต่จำเป็นเกี่ยวกับสถานที่ซึ่งจะต้องให้พระสงฆ์นั่ง มีเบื้องซ้ายอยู่ทางพระพุทธรูป แล้ว จึงต้องตั้งโต๊ะบูชาหันหน้ามาทางพระสงฆ์ให้พระพุทธรูป หันพระพักตร์หาพระสงฆ์ เป็นอัน ไม่ต้องเข้าแถวกับพระสงฆ์ สำหรับเรื่องทิศทางที่จะประดิษฐานพระพุทธรูปนั้น มักจะให้ผิน พระพักตร์ไปสู่ทิศเหนือ ด้วยถือว่าพระพุทธเจ้า เป็นโลกอุดร มิฉะนั้นก็ให้หันไปทางทิศตะวันออก ด้วยถือว่าเป็นทิศพระ (ในวันตรัสรู้ พระพุทธเจ้าประทับนั่งผินพระพักตร์ไปทางตะวันออก) เป็นพื้น แต่เรื่องนี้เห็นว่า ไม่จำเป็นต้องจำกัดเช่นนั้น จะให้ผินพระพักตร์ไปทิศใด ๆ ก็ไม่เกิดโทษ และไม่มีข้อห้าม เป็นอัน แล้วแต่สถานที่จะอำนวยให้ประดิษฐานได้เหมาะสมก็พึงทำได้ทั้งนั้น
    สำหรับการตั้งเครื่องบูชานั้น ต้องแล้วแต่โต๊ะที่ตั้ง ถ้าเป็นโต๊ะเดี่ยวที่ใช้ตั่ง หรือโต๊ะ ตัวเดียวตั้งแทนโต๊ะหมู่ เครื่องบูชาควรมีแจกันประดับดอกไม้ ๑ คู่ ตั้ง ๒ ข้างพระพุทธรูป ไม่ชิด หรือห่างจนเกินไป ถัดมาแถวหน้าพระพุทธรูป ตั้งกระถางธูปตรงหน้า พระพุทธรูปกับเชิงเทียน ๑ คู่ ตั้งตรงกับแจกัน เพียงเท่านี้ก็สำเร็จรูปเป็นโต๊ะบูชา พอสมควร
    สำหรับโต๊ะหมู่จะแสดงการตั้งโต๊ะหมู่ ๗ เป็นตัวอย่าง ดังนี้
    หลักโต๊ะหมู่ ๗ มีอยู่ว่า ใช้แจกัน ๒ คู่ คู่ ๑ ตั้งบนโต๊ะกลางที่ตั้งพระพุทธรูป ชิดด้านหลัง ๒ ข้างพระพุทธรูปอยู่ตรงมุมทั้ง ๒ ด้านหลัง อีกคู่ ๑ ตั้งบนโต๊ะข้างตัวละ ๑ ชิดมุมด้านหลัง ถือหลักว่าแจกันเป็นพนักหลังสุด จะตั้งล้ำมาข้างหน้าไม่ควร พานดอกไม้ ๕ พาน ตั้งกลางโต๊ะ ทุกโต๊ะ เว้นโต๊ะกลางแถวหน้าซึ่งตั้งกระถางธูป เชิงเทียน ๕ คู่ ตั้งที่โต๊ะข้างซ้ายและขวามือโต๊ะละ ๑ ที่มุมหน้าตรงข้ามกับแจกัน รวม ๒ ซีก ๒ คู่ ตรง กลางตั้งแต่โต๊ะพระพุทธรูปลงมา ๓ ตัว ตั้งตัวละคู่ที่มุมโต๊ะทั้ง ๒ ด้านหน้า รวมอีก ๓ คู่ สำหรับคู่ที่อยู่บนโต๊ะที่ตั้ง พระพุทธรูปนั้นก็จำเป็น เช่น บังพระพุทธรูปหรือชิดพระพุทธรูปเกินไป จะตัดออกเสียคู่หนึ่งก็ได้ แม้โต๊ะหมู่อื่นนอกจากหมู่ ๗ ที่กล่าวนี้ ก็ถือหลักการตั้งเช่นเดียวกัน
    ๓. เรื่องตกแต่งสถานที่บริเวณพิธี นิยมให้สะอาดเรียบร้อยเป็นสำคัญ เพราะเป็นการ ทำบุญต้องการสิริมงคล และออกแขกด้วยความสะอาด เรียบร้อยทุกอย่าง เป็นสิ่งที่ควรกระทำ อย่างยิ่ง ถ้าได้เพิ่มการตกแต่งเพื่อความสวยงามขึ้นอีก ก็เป็นการดียิ่ง ทั้งนี้สุดแต่ฐานะและกำลัง ของตนเป็นสำคัญ
    ๔. เรื่องวงด้ายสายสิญจน์ คำว่า สิญจน์ แปลว่า การรดน้ำ คือ การรดน้ำ ด้วยพิธี สืบเนื่องมาแต่พิธีพราหมณ์ เดิม “สาย” เข้าข้างหน้า เป็นสายสิญจน์ กลายเป็นวัตถุชนิดหนึ่ง ที่นำมาใช้ในงานมงคลต่าง ๆ สายสิญจน์ได้แก่สายที่ทำด้วยด้ายดิบ โดยวิธีจับเส้นด้ายในเข็ด เส้นเดียว จับออกครั้งแรกเป็น ๓ เส้น ม้วนเข้ากลุ่มไว้ ถ้าต้องการให้สายใหญ่ ก็จับอีกครั้งหนึ่ง จะกลายเป็น ๙ เส้น ในงานมงคลทุกประเภท นิยมใช้สายสิญจน์ ๙ เส้น เพราะกล่าวกันว่า สายสิญจน์ ๓ เส้น สำหรับใช้ในพิธีเบิกโลงผี จะนำมาใช้ในพิธีงานมงคลไม่เหมาะสม ถ้าเพ่ง
    การวงสายสิญจน์ มีเกณฑ์ถืออยู่ว่า ถ้าเป็นบ้านมีรั้วรอบให้วงรอบรั้ว ถ้าไม่มีรั้วรอบ หรือมีแต่กว้างเกินไปหรือมีอาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างอื่นที่ไม่เกี่ยวกับพิธี อยู่ร่วมในรั้วด้วยก็ให้วง เฉพาะอาคารพิธีโดยรอบ ถ้าเจ้าภาพไม่ต้องการวงสายสิญจน์ รอบรั้วบ้านหรือรอบอาคารที่ตน ประกอบพิธีทำบุญ จะวงสายสิญจน์ที่ฐานพระพุทธรูป บนโต๊ะบูชาเท่านั้น แล้วโยงมาที่ภาชนะ สำหรับทำน้ำมนต์ก็ได้ การโยงสายสิญจน์จากฐานพระพุทธรูปมายังภาชนะน้ำมนต์ ควรโยง หลบเพื่อไม่ให้ต้องข้ามสายสิญจน์ ในเวลาจุดธูปเทียน เมื่อวงที่ภาชนะสำหรับทำน้ำมนต์แล้ว พึงวางกลุ่มด้ายสายสิญจน์ไว้บนพาน สำหรับรองสายสิญจน์ ซึ่งอยู่ทางหัวอาสน์สงฆ์ใกล้ภาชนะ สำหรับทำน้ำมนต์ การวงสายสิญจน์ถือหลักวงจากซ้ายไปขวาของสถานที่หรือวัตถุ มีข้อที่ถือเป็น เรื่องควรระวังอยู่อย่างหนึ่ง คือ ในขณะที่วงสายสิญจน์อย่าให้สายสิญจน์ขาด
    อนึ่ง สายสิญจน์ที่วงพระพุทธรูปแล้วนี้จะข้ามกรายมิได้เพราะถ้าข้ามกรายแล้ว เท่ากับข้ามพระพุทธรูป เป็นการแสดงควาไม่เคารพต่อพระพุทธรูปทีเดียว หากมีความจำเป็น ที่จะต้องผ่านสายสิญจน์ ก็ต้องลอดมือหรือก้มศีรษะลอดภายใต้สายสิญจน์ผ่านไป
    ๕. เรื่องเชิญพระพุทธรูปมาตั้งบนที่บูชา เป็นกิจที่พึงทำเมื่อใกล้จะถึงกำหนดเวลา ประกอบพิธีพระพุทธรูปนั้นจะเป็นพระปางอะไรก็แล้วแต่จะหาได้ ขอให้เป็นพระพุทธรูปเท่านั้น ไม่ใช่พระเครื่องซึ่งเล็กมากไม่เหมาะแก่พิธี พระพุทธรูป ถ้ามีครอบควรเอาครอบออก ตั้งเฉพาะ องค์พระเท่านั้น และที่องค์พระไม่สมควรจะนำ อะไรที่ไม่เหมาะสมประดับ เช่น พวงมาลัยหรือ ดอกไม้ เป็นต้น ควรให้องค์พระเด่น เป็นสำคัญ เว้นแต่ที่ฐานพระจะใช้พวงมาลัยวงรอบฐาน กลับดูงามดีไม่มีข้อห้าม ดอกไม้บูชามีระเบียบจัดดังกล่าวแล้วในเรื่องตั้งเครื่องบูชา ก่อนที่จะ ยกพระพุทธรูป จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งก็ดี ในขณะที่วางพระพุทธรูปลง ณ ที่บูชาก็ดี ควรจะ น้อมไหว้ ก่อนยก หรือน้อมไหว้ในเมื่อวางลงแล้ว เป็นอย่างน้อย ถ้าถึงกราบได้เป็นงดงาม
    ๖. เรื่องปูลาดอาสนะสำหรับพระสงฆ์ นิยมใช้กันอยู่ ๒ วิธี คือ ยกพื้นอาสน์สงฆ์ ให้สูงขึ้นโดยใช้เตียงหรือม้าวางต่อกันเข้าให้ยาวพอแก่จำนวนสงฆ์ อีกวิธีหนึ่ง ปูลาดอาสนะ บนพื้นธรรมดา อาสน์สงฆ์ชนิดยกพื้นนิยมใช้ผ้าขาวปูลาด จะมีผ้านิสีทนะ (ผ้าปูนั่ง) ปูอีกชั้นหนึ่ง หรือไม่ก็ได้ โดยเฉพาะอาสน์สงฆ์ยกพื้นนี้ มักจัดในสถานที่ที่ฝ่ายเจ้าภาพนั่งเก้าอี้กัน ส่วนอาสนะ ชนิดที่ปูลาดบนพื้นธรรมดา จะใช้เสื่อหรือพรมหรือผ้าที่สมควรปูก็สุดแต่จะมีหรือหาได้ ข้อที่ควร ระวัง คือ อย่าให้อาสนะพระสงฆ์กับอาสนะของคฤหัสถ์ฝ่ายเจ้าภาพเป็นอันเดียวกัน ควรปูลาด ให้แยกจากกัน ถ้าจำเป็นแยกไม่ได้โดยปูเสื่อหรือพรมไว้เต็มห้องสำหรับอาสนะพระสงฆ์ ควรจัด ปูทับเสื่อหรือพรมนั้นอีกชั้นหนึ่งจึงจะเหมาะ
    ๗. เรื่องเตรียมเครื่องรับรองพระสงฆ์ ตามแบบและประเพณี ก็มีหมากพลู บุหรี่ น้ำร้อน น้ำเย็น และกระโถน การวางเครื่องรับรองเหล่านี้มีหลักว่า ต้องวางทางด้านขวามือของพระ ระหว่างรูปหนึ่งกับอีกรูปหนึ่งที่นั่งเรียงกัน ด้านขวามือของรูปใด ก็เป็นเครื่องรับรองของรูปนั้น การวางให้วางกระโถนข้างในสุด เพราะเป็นสิ่งไม่ต้องประเคน ถัดออกมาภาชนะน้ำเย็น ออกมา อีกเป็นภาชนะใส่หมากพลูบุหรี่ ซึ่งรวมอยู่ในที่เดียวกัน เมื่อพระสงฆ์นั่งก็ประเคนตั้งแต่ข้างใน ออกมาหาข้างนอก คือ น้ำเย็น แล้วหมากพลูบุหรี่ ส่วนน้ำร้อนจัดประเคน ตั้งแต่ข้างในออกมา หาข้างนอก คือ น้ำเย็น แล้วหมากพลูบุหรี่ ส่วนน้ำร้อนจัดประเคนภายหลัง ไม่ต้องตั้งประจำ ที่เหมือนอย่าง เครื่องดังกล่าวแล้ว เครื่องรับรองดังกล่าวนี้ ถ้าจำกัด จะจัดรับรอง ๒ รูป ต่อ ๑ ที่ก็ได้ และให้จัดวางตามลำดับ ในระหว่างรูปที่ต้องการให้ใช้ร่วมกัน
    ๘. เรื่องตั้งภาชนะสำหรับทำน้ำมนต์ ควรเตรียมภาชนะเป็นประการแรก ถ้าไม่มีครอบ น้ำมนต์ ซึ่งเป็นของสำหรับใส่น้ำมนต์โดยเฉพาะ จะใช้บาตรของพระหรือขันน้ำ พานรองแทนก็ได้ แต่ขันต้องไม่ใช่ขันเงินหรือทองคำ เพราะเงินและทองเป็นวัตถุ อนามาสไม่ควรแก่การจับต้อง ของพระ ต่อไปก็หาน้ำสะอาดใส่ในภาชนะ ห้ามไม่ให้ใช้น้ำฝน ทั้งนี้เห็นจะเป็นด้วยถือว่า น้ำที่ จะศักดิ์สิทธิ์ขึ้นได้ ต้องมาจากธรณี ส่วนน้ำฝนมาจากอากาศจึงไม่นิยม น้ำที่ใส่ควรใส่แต่เพียง ค่อนภาชนะเท่านั้น ควรหาใบเงินใบทอง ใส่ลงไปด้วยแต่เพียงสังเขปเล็กน้อย (ถ้าหาไม่ได้ จะใช้ ดอกบัวใส่แทนก็ได้ แต่ดอกไม้อื่นไม่ควร) ต้องมีเทียนน้ำมนต์อีกหนึ่งเล่ม ควรเป็นเทียนขี้ผึ้งแท้ ขนาดหนัก ๑ บาทเป็นอย่างต่ำ ติดที่ปากบาตรหรือขอบขัน หรือบนยอดจุกฝาครอบน้ำมนต์ ไม่ต้องจุด แล้วนำไปวางไว้หน้าโต๊ะบูชาให้ค่อนมาทางอาสนะพระสงฆ์ ใกล้กับรูปที่เป็นหัวหน้า เพื่อหัวหน้าจะได้หยดเทียนทำน้ำมนต์ในขณะสวดมนต์ได้สะดวก
    ๙. เรื่อง จุด เทียน ธูป ที่โต๊ะบูชา เจ้าภาพควรจุดเอง ไม่ควรให้คนอื่นจุดแทน เพราะเป็น การนมัสการพระอันเป็นกิจเบื้องต้นของบุญ การจุดควรจุดเทียนก่อน จุดด้วยไม้ขีดหรือเทียน ชนวน อย่าต่อจากตะเกียง หรือไฟอื่น เทียนติดดีแล้ว ใช้ธูป ๓ ดอกจุดต่อที่เทียนจนติดดี จึงปักลงให้ตรง ๆ ในกระถางธูป แล้วตั้งใจบูชาพระ
    ต่อจากนี้จึงดำเนินพิธีไปตามลำดับ คืออาราธนาศีล รับศีลแล้ว อาราธนาพระปริตร วิธีอาราธนาจักกล่าวต่อไปข้างหน้า
    พออาราธนาพระปริตรจบแล้ว พระสงฆ์เริ่มสวดมนต์ ทุกคนที่อยู่ในบริเวณพิธี พึงนั่ง ประนมมือฟังพระสวดด้วยความเคารพ พอพระเริ่มสวดมงคลสูตรขึ้นต้นบท
    อเสวนา จ พาลานํ เป็นต้น เจ้าภาพพึงเข้าไปจุดเทียนน้ำมนต์ที่บาตร หรือครอบน้ำมนต์หน้าพระแล้วประเคนบาตร หรือครอบน้ำมนต์นั้นต่อหัวหน้าสงฆ์ เพื่อท่านจะได้ทำน้ำมนต์ต่อไป

    ๑๐. ข้อปฏิบัติวันเลี้ยงพระ ถ้าเลี้ยงพระในวันรุ่งขึ้น การเตรียมเครื่องรับรองพระสงฆ์ พึงจัดอย่างวันสวดมนต์เย็น เมื่อพระภิกษุสงฆ์มาพร้อมตามเวลาแล้ว เจ้าภาพพึงจุดธูปเทียน เครื่องนมัสการบูชาพระแล้วอาราธนาศีลและรับศีลอย่างเดียวกับวันก่อน เสร็จแล้วไม่ต้องอาราธนา พระปริตร พระสงฆ์จะเริ่มสวดถวายพรพระเอง ถ้ามีการตักบาตรด้วย พึงเริ่มลงมือตักบาตร ขณะพระสงฆ์สวดถึงบท พาหุํ และให้เสร็จก่อน พระสงฆ์สวดจบ เตรียมยกบาตรและภัตตาหาร มาตั้งไว้ให้พร้อม พอสวดจบก็ประเคนให้ พระฉันได้ทันที ถ้าไม่มีตักบาตรเจ้าภาพก็นั่งประนมมือ ฟังพระสวดไปพอสมควรแล้ว เตรียมตั้งภัตตาหารเมื่อพระสวดจวนจบ
    แต่ถ้าเป็นงานวันเดียว คือ สวดมนต์ก่อนฉัน การตระเตรียมต่าง ๆ ก็คงจัดครั้งเดียว พระภิกษุสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ก่อน แล้วสวดถวายพรพระต่อท้าย เจ้าภาพพึงนั่งประนมมือฟัง เมื่อพระสงฆ์สวดถึงบทถวายพรพระ จึงเตรียมภัตตาหารไว้ให้พร้อม พอพระสวดจบก็ยกประเคน ได้
    สุดท้ายพิธี เมื่อพระภิกษุสงฆ์ฉันอิ่มแล้ว ถวายเครื่องไทยธรรม ต่อนั้น พระสงฆ์ อนุโมทนา ขณะพระว่าบท ยถา... ให้เริ่มกรวดน้ำให้เสร็จก่อนจบบท ยถา... พอพระว่าบท สพฺพีติโย... พร้อมกัน ถึงประนมมือรับพรตลอดไปจนจบ แล้วส่งพระกลับ
    อนึ่ง การเลี้ยงพระในพิธีทำบุญเลี้ยงพระนี้ มีประเพณีโบราณสืบเนื่องกันมานาน อย่างหนึ่ง คือ ประเพณีถวายข้าวพระพุทธ เห็นจะเนื่องมาจากถือว่า พระสงฆ์ที่นิมนต์มาฉัน ในพิธีนั้นมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขตามหลักพระบาลีที่กล่าวมาแล้ว ฉะนั้นการถวายภัตตาหาร แก่พระสงฆ์ ก็ต้องถวายองค์ประมุข คือ พระพุทธเจ้าด้วย แม้พระองค์ปรินิพพานไปนานแล้ว ก็จำต้องทำการถวายต่อพระพักตร์พระพุทธรูป ให้เป็นกิริยาสำเร็จรูปสมตามเจตนานั้น เหตุนี้ ในงานทำบุญ ไม่ว่างานมงคลหรืองานอวมงคล จึงนิยมถวายภัตตาหารแด่พระพุทธรูปด้วย ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า ถวายข้าวพระพุทธ ถ้ามีตักบาตรก็ต้องตั้งบาตรพระพุทธไว้หัวแถว ด้วยเช่นกัน ข้าวพระพุทธที่ถวายนั้นนิยมจัดอย่างเดียวกับที่ถวายพระสงฆ์เมื่อเสร็จภัตกิจแล้ว ข้าวพระพุทธนั้นตกเป็นของมรรคนายกวัด หรืออุบาสกอุบาสิกาผู้มาในงาน แต่บางงานเนื่องด้วยที่ จำกัดหรือจะเป็นเพราะเรียวลงตามกาลเวลา หรือความง่ายของบุคคลหาทราบไม่ เจ้าภาพจึง จัดสำรับพระพุทธเพียงสำรับเล็ก ๆ ก็มี การถวายนี้เป็นหน้าที่ของเจ้าภาพ พึงใช้ผ้าขาวปูบนโต๊ะ ที่จะนำมาตั้งรองข้าวพระพุทธ หรือปูบนพื้นราบก็ได้ ตรงหน้าโต๊ะบูชาแล้วตั้งสำรับคาวหวาน พร้อมทั้งข้าวน้ำให้บริบูรณ์บนโต๊ะหรือบนพื้นผ้านั้น เสร็จแล้วจุดธูป ๓ ดอก ปักในกระถางธูป หน้าโต๊ะบูชา นั่งคุกเข่าประนมมือ ตรงหน้าที่ตั้งข้าวพระพุทธและโต๊ะบูชา ว่านโม ๓ จบ แล้วว่า คำถวาย ดังนี้ “อิมํ สูปพฺยญฺชนสมฺปนฺนํ สีลีนํ โอทนํ, อุทกํ วรํ พุทฺธสฺส ปูเชมิ” จบแล้วกราบ ๓ ครั้ง ต่อนี้จึงจัดถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์ ตามวิธีที่กล่าวแล้ว
    เมื่อเสร็จภัตกิจ และพระสงฆ์อนุโมทนาเสร็จจนกลับหมดแล้ว ถ้ามีการเลี้ยงแขก ผู้มา ในงานต่อก็เป็นหน้าที่ของอุบาสกหรืออุบาสิกา ผู้รู้ธรรมเนียมวัดจะลาข้าวพระพุทธนั้น มา รับประทาน การลาข้าวพระพุทธมีนิยมดังนี้ ผู้ลาพึงเข้าไปนั่ง คุกเข่าหน้าสำรับ ที่หน้าโต๊ะบูชานั้น กราบ ๓ ครั้งก่อน แล้วประนมมือกล่าวคำว่า “เสสํ มงฺคลา ยาจามิ” แล้วไหว้ ต่อนั้นยกข้าว พระพุทธออกไปได้เลย
    พิธีฝ่ายภิกษุสงฆ์ เริ่มต้นเมื่อพระสงฆ์รับนิมนต์ไปในงานทำบุญแล้ว ถึงวันกำหนด ถ้าเจ้าภาพกำหนดจะมารับ พึงเตรียมตัวไว้ให้พร้อมก่อนถึงเวลา พอมีคนมารับ ก็ให้ไปได้ทันที ควรไปตามกำหนดให้ถึงที่งานก่อนเวลาพอสมควร อย่าให้ก่อนมากนัก เพราะเกี่ยวด้วยการ เตรียมการของเจ้าภาพอาจยังไม่พร้อมก็ได้ จะเป็นเหตุให้เจ้าภาพ อึดอัดในการที่ยังไม่พร้อม จะรับรอง และอย่าให้กระชั้นเวลาจนเกินไป เพราะจะทำให้เจ้าภาพกระวนกระวาย
    การไปในงานต้องนุ่มห่มให้เรียบร้อยเป็นสมณสารูป ตามแบบนิยมของวัด ควรมีพัด ไปด้วยทุกรูป และควรใช้พัดงานมงคลไม่ใช่พัดงานศพ พัดงานศพที่ถือเป็นข้อห้ามอย่างจริงจัง นั้นคือ พัดที่มีอักษรปรากฏว่า ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ... ในงานฌาปนกิจศพ... เพราะพัดงานศพใช้สำหรับงานอวมงคลเท่านั้น ถ้าขัดข้อง เพราะเหตุจำเป็นจริง ๆ อย่างใด อย่างหนึ่ง ไม่สามารถจะนำพัดไปได้ทุกรูป (สำหรับ พระสงฆ์วัดเดียวกันทั้งหมด) ก็ควรมีไปเฉพาะ หัวหน้ารูปเดียว เพราะพัดที่ต้องนำไปนี้ จำต้องใช้ในคราว
    ก. ให้ศีล เฉพาะหัวหน้า
    ข. ขัด สคฺเค และขัดตำนาน เฉพาะรูปที่นั่งอันดับที่ ๓
    ค. อนุโมทนาท้ายพิธี ต้องใช้ทุกรูป และ
    ฆ. ถ้ามีการบังสุกุลอัฐิประกอบด้วย ก็ต้องใช้ทุกรูปเช่นกัน
    เรื่องการนำพัดไปในงานทำบุญนี้ บางแห่งถือกันว่า ถ้าพระสงฆ์มีพัดไปในงาน ทุกรูป เป็นการให้เกียรติแก่เจ้าภาพด้วย
    เมื่อไปถึงที่งานแล้ว ได้เวลาเจ้าภาพจะนิมนต์เข้าที่ ขณะขึ้นนั่งบนอาสนะที่เจ้าภาพจัด ปูไว้ ควรพิจารณาเสียก่อน ถ้าเป็นอาสนะผ้าขาวไม่ควรขึ้นเหยียบ หรือทำอาการใด ๆ ให้ฝ่าเท้า ถูกผ้าขาวสกปรกด้วย ควรคุกเข่าบนผ้าขาวเดินเข่าเข้าไปยังที่นั่ง ถ้าไม่ใช่อาสนะผ้าขาว ควรปฏิบัติโดยอาการที่เหมาะสมเรียบร้อยน่าดูเป็นเหมาะที่สุด ให้เข้านั่งกันตามลำดับไว้ ระยะให้พองาม นั่งแบบพับเพียบให้ได้แถวได้แนว ดูเข่าให้เสมอกันและนั่งอย่างผึ่งผาย ไม่ควรนั่งงอหลังหรือเท้าแขน เข้าที่แล้ววางพัดไว้ทางหลังด้านขวามือ
    เมื่อเจ้าภาพเริ่มอาราธนาศีล พระเถระผู้เป็นหัวหน้าพึงคลี่กลุ่ม สายสิญจน์แล้วส่งต่อกัน ไปจนถึงรูปสุดท้าย พออาราธนาศีลถึงวาระที่ ๓ ว่าตติยมฺปิ... ผู้เป็นหัวหน้าพึงตั้งพัดเตรียมให้ศีล การจับพัดให้จับด้วยมือขวาที่ด้ามถัดคอพัดลงมา ๔ - ๕ นิ้ว หรือกะว่าจับตรงส่วนที่สามตอนบน ของด้ามพัด ใช้มือกำด้ามด้วยนิ้วทั้ง ๔ เว้นนิ้วแม่มือ เฉพาะนิ้วแม่มือยกขึ้นแตะด้ามให้ทาบ ตรงขึ้นไปตามด้ามพัดนั้น นำสายสิญจน์ขึ้นพาดไว้บนนิ้วชี้ ตั้งพัดให้ตรงหน้า ปลายด้ามอยู่กึ่งกลาง อย่าให้ห่างตัวหรือชิดตัวมากนัก และอย่าตั้งนอกสายสิญจน์ ดูหน้าพัดให้หันออกข้างนอก ให้พัดตั้ง ตรงได้ฉากเป็นงาม พอจบคำอาราธนาศีลก็ตั้ง นโม ให้ศีลทันที ให้ไปถึงตอนจบไตรสรณคมน์ ไม่ต้องว่า “ติสรณคมนํ นิฏ€ิตํ” เพราะคำนี้ใช้เฉพาะในพิธี สมาทานศีลจริง ๆ เช่น สมาทาน อุโบสถศีล ในการรับศีลเป็นพิธีอย่างในงานทำบุญนี้ ไม่ต้องว่าพึงให้ศีลต่อไตรสรณคมน์ไปเลย ทีเดียว, พอให้ศีลจบก็วางพัด ถ้าไม่ได้นำพัด ไปทุกรูป ให้ส่งพัดต่อให้รูปที่ ๓ เตรียมขัด สคฺเค
    พอเจ้าภาพอาราธนาพระปริตรถึงครั้งที่สาม รูปที่ต้องขัด สคฺเค เตรียมตั้งพัด แบบเดียว กับที่กล่าวแล้ว พออาราธนาจบก็เริ่มขัดได้ พอขัดจบพระสงฆ์ทุกรูปยกสายสิญจน์ขึ้นประนมมือ พร้อมกัน ใช้ง่ามนิ้วแม่มือทั้งสองรับสายสิญจน์ไว้ในระหว่างประนมมือ แล้วหัวหน้านำว่า นโม และนำสวดมนต์บทต่าง ๆ ไปตามแบบนิยม
    การเจริญพระพุทธมนต์ในงานมงคล มีกำหนดเป็นหลัก ดังนี้
    เจ็ดตำนานใช้ในงานมงคลทั่วไป
    สิบสองตำนาน ธรรมจักร มหาสมัยใช้ในงานมงคลบางอย่าง สุดแต่เจ้าภาพ ประสงค์ หรือสุดแต่พระสงฆ์เห็นเป็นการสมควร ที่ถือกันมาเป็นธรรมเนียม เช่น ในงานทำบุญอายุใหญ่ สวดธรรมจักรและเจ็ดตำนานย่อ งานมงคลสมรส สวดมหาสมัย และเจ็ดตำนานย่อ
    ในการเจริญพระพุทธมนต์งานมงคลทุกแบบ มีตั้งภาชนะน้ำมนต์ไว้ด้วยก็เพื่อให้ พระสงฆ์ทำน้ำมนต์ในขณะสวด การทำน้ำมนต์นิยมว่าเป็นหน้าที่ของหัวหน้าสงฆ์ เจ้าภาพจะจุด เทียนน้ำมนต์ตั้งแต่เริ่มสวดมงคลสูตร พอสวดรตนสูตร ถึงตอน ขีณํ ปุราณํ นวํ นตฺถิ สมฺภวํ... หัวหน้าสงฆ์พึงใช้มือขวา ปลดเทียนน้ำมนต์ออกจากที่ปัก ถ้าที่น้ำมนต์เป็นครอบ พึงเปิดฝาครอบ แล้วจับเทียน ควบกับสายสิญจน์ เอียงให้หยดลงในน้ำทีละหยด ๆ พร้อมกับสวด พอสวดถึงคำว่า นิพฺ ในคำว่า นิพฺพนฺติ ธีรา ยถายมฺปทีโป ก็ให้จุ่มเทียนลงดับในน้ำมนต์ทันที พอถึงคำว่า ปทีโป จึงยกขึ้น แล้ววางหรือติดเทียนไว้ตามเดิม (นี้กล่าวตามธรรมเนียม แต่ก่อน แต่ในปัจจุบัน พอสวดถึง
    เย สุปฺปยุตฺตา... เตรียมปลดเทียนน้ำมนต์ และเริ่มหยดเรื่อยไปดับตรงคำว่า นิพฺ เช่นเดียวกันก็มี) เป็นอันเสร็จพิธีทำน้ำมนต์ ต่อนั้นจึงสวดมนต์ต่อไปจนจบ

    อนึ่ง ในงานมงคล เมื่อตั้งน้ำมนต์ในขณะเจริญพระพุทธมนต์แล้ว เสร็จพิธี หรือเสร็จ การเลี้ยงพระในวันฉัน มักมีประเพณีขอให้พระสงฆ์พรมน้ำพระพุทธมนต์ ให้เจ้าภาพ และบริเวณ สถานที่บ้านเรือนเป็นต้นด้วย ถ้าเจ้าภาพประสงค์ให้มีการพรมน้ำพระพุทธมนต์ต่อท้าย เจ้าภาพ จะต้องเตรียมสิ่งสำหรับพรม คือ หญ้าคา หรือก้าน มะยมมัดเป็นกำไว้ให้พร้อม การใช้หญ้าคา เป็นประเพณีติดมาแต่คติพราหมณ์ ซึ่งมีเรื่องเล่าไว้ในคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์ว่า เมื่อครั้ง อสูรกับเทวดาร่วมกันกวน เกษียรสมุทรให้เป็นน้ำอมฤตขึ้นสำเร็จ พวกเทวดาหาอุบายกีดกัน ไม่ให้พวกอสูรได้ดื่ม น้ำอำมฤตนั้น จึงเกิดวิวาทถึงรบราฆ่าฟันกันเป็นการใหญ่ ในการรบกันนั้น น้ำอมฤตได้ กระเซ็นตกมาบนหญ้าคา ๒ - ๓ หยด โดยเหตุนี้เองพวกพราหมณ์จึงถือว่าหญ้าคา เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพราะเป็นสิ่งที่กำจัดให้ตายได้ยาก เลยนำมาใช้ในพิธีการ
    ต่าง ๆ หลายอย่าง ติดมา จนทุกวันนี้

    สำหรับชาวพุทธที่ติดประเพณีพราหมณ์ ก็ถือว่าหญ้าคาเป็นหญ้ามงคล เพราะปรากฏ เป็นพุทธบัลลังก์ที่พระพุทธเจ้าประทับใต้ร่มโพธิพฤกษ์ในวันตรัสรู้ จึงนิยมใช้ หญ้าคากันสืบต่อมา
    ส่วนที่ใช้ก้านมะยมอีกอย่างหนึ่ง เห็นจะเป็นความนิยมเกิดขึ้นในภายหลัง และอาจจะ นิยมเฉพาะในประเทศไทย อย่างเดียวกับที่ชาวจีนนิยมใช้ก้านทับทิมพรมน้ำมนต์ เรื่องใช้ก้าน มะยมในหมู่ชาวไทยนี้ ได้ทราบอธิบายของเกจิอาจารย์มาว่า ท่านถือว่า “ไม้มะยม” มีชื่อพ้องกัน กับ “ยมทัณฑ์” คือ ไม้อาญาสิทธิ์ของพญายม ผู้เป็นเจ้าของภูตผีปีศาจ ไม้ยมทัณฑ์นั้น สามารถปราบหรือกำจัดภูตผีปีศาจได้ทุกทิศทุกทาง ชาวไทยเราถือเคล็ดที่ชื่อพ้องกันนี้นำมา ใช้สำหรับพรมน้ำพระพุทธมนต์ เพื่อขับไล่ เสนียดจัญไร และเพื่อให้มีความขลังหรือศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น ในการใช้ก้านมะยมนี้ จึงนิยมเพิ่มเติมอีกว่า ต้องใช้ ๗ ก้านมัดรวมกัน โดยถือว่าได้จำนวน เท่ากันกับหัวข้อธรรม ในโพชฌงคสูตร ซึ่งเป็นธรรมโอสถวิเศษ และเท่าจำนวนพระปริตร ๗ ตำนาน ที่พระสงฆ์สวดในงานมงคลนั้นด้วย แต่จะอย่างไรก็ตาม เรื่องใช้ก้านมะยมพรมแทน หญ้าคาที่นิยมมาเดิม เห็นจะเป็นเพราะในถิ่นที่เจริญแล้ว เช่น ในเมือง เป็นต้น หาหญ้าคาได้ยาก เพราะไม่มีป่า แต่ต้นมะยมมีอยู่ตามบ้านในเมืองไทยนี้ทั่วไป จึงดัดแปลงมาเพื่อใช้สิ่งที่หาได้ง่าย เป็นประมาณนั่นเอง
    <HR SIZE=1> ๒. ทำบุญงานอวมงคล
    การทำบุญงานอวมงคล หมายถึง การทำบุญเกี่ยวกับเรื่องการตายดังกล่าวแล้ว นิยมทำกันอยู่ ๒ อย่างคือ ทำบุญหน้าศพ ที่เรียกกันว่าทำบุญ ๗ วัน ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน หรือทำบุญหน้าวันปลงศพ อย่างหนึ่ง ทำบุญอัฐิหรือทำบุญปรารภการตาย ของบรรพบุรุษ หรือผู้ใดผู้หนึ่ง ในวันคล้ายกับวันตายของท่านผู้ล่วงลับไปแล้วอย่างหนึ่ง ทั้งสองอย่างนี้ มีระเบียบ ที่จะพึงปฏิบัติ ดังนี้
    ก. งานทำบุญหน้าศพ
    พิธีฝ่ายเจ้าภาพ ในงานทำบุญหน้าศพ มีกิจกรรมที่ควรตระเตียมไว้เป็น เบื้องต้น ส่วนใหญ่คล้ายกับงานทำบุญมงคล แต่มีข้อแตกต่างอยู่บางประการ คือ
    ๑. อาราธนาพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ มีจำนวนนิยม ๘ รูป หรือ ๑๐ หรือกว่า นั้นขึ้นไป แล้วแต่กรณี ในเรื่องอาราธนาพระสงฆ์สำหรับทำบุญงานอวมงคล ไม่ใช้คำอาราธนาว่า ่”ขออาราธนาเจริญพระพุทธมนต์” เหมือนอย่างทำบุญงานมงคล แต่ใช้คำอราธนาว่า “ขออราธนา สวดพระพุทธมนต์”
    ๒. ไม่ตั้งน้ำวงด้าย หมายความว่า ไม่ต้องตั้งภาชนะน้ำสำหรับทำน้ำมนต์ และไม่มี การวงด้ายสายสิญจน์
    ๓. เตียมสายโยงหรือภูษาโยงต่อจากศพไว้ เพื่อใช้บังสุกุลสายโยงนั้น ก็ใช้สายสิญจน์ นั่นเอง แต่ไม่เรียกว่าสายสิญจน์เหมือนงานมงคล เรียกว่า สายโยง ถ้าไม่ใช้สายสิญจน์โยง มีหลักที่ต้องระวังอย่างหนึ่ง คือ จะโยงในที่สูงกว่าพระพุทธรูป ที่ตั้งในพิธีไม่ได้ และจะปล่อย ให้ลาดมากับพื้นที่เดินหรือนั่งก็ไม่เหมาะเพราะสายโยงนี้ เป็นสาย ที่ล่ามโยงออกมาจากกระหม่อม ของศพ เป็นสิ่งเนื่องด้วยศพ จึงต้องล่ามหรือโยงให้สมควร
    ส่วนการปฏิบัติกรณียกิจ ในเมื่อพระสงฆ์มาถึงตามกำหนดแล้วก็คล้ายกับงานมงคล
    สำหรับข้อปฏิบัติในวันเลี้ยงพระ ก็เช่นเดียวกับที่กล่าวแล้วในงานมงคล มีแต่เพียงว่า ในงานมงคล หลังจากพระสงฆ์ฉันเสร็จแล้ว นิยมให้มีบังสุกุล แล้วจึงถวายไทยธรรม เมื่อพระสงฆ์ อนุโมทนาพึงกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลต่อไป
    พิธีฝ่ายภิกษุสงฆ์ ต้องใช้พัดที่เกี่ยวกับงานศพเป็นเหมาะสม เพราะงานอวมงคล เป็นเรื่องเกี่ยวกับการตายทั้งสิ้น ถ้าไม่มี จะใช้พัดงานอื่นก็ได้ เช่น พัดงานฉลองต่าง ๆ การสวดมนต์ ในงานอวมงคลนี้ (สวดมนต์เย็นและฉันวันรุ่งขึ้น) มีระเบียบนิยมเหมือนกัน ในตอนต้นและตอนท้าย ทุกงาน ต่างกันแต่ตอนกลาง ซึ่งมีนิยมเฉพาะงาน ๆ ดังนี้
    ๑. ทำบุญศพ ๗ วัน สวดอนัตตลักขณสูตร
    ๒. ทำบุญศพ ๕๐ วัน สวดอาทิตตปริยายสูตร
    ๓. ทำบุญศพ ๑๐๐ วัน หรือทำบุญหน้าวันปลงศพสวดธรรมนิยามสูตร
    ๔. ทำบุญศพในวาระอื่นจากที่กล่าวนี้จะสวดสูตรอื่นใดนอกจากที่กล่าวนี้ก็ได้ แล้วแต่ เจ้าภาพประสงค์หรือหัวหน้านำสวด แต่มีธรรมเนียมอยู่ว่า ไม่สวดเจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน ธรรมจักร มหาสมัย
    ในการสวดนี้ มีระเบียบปฏิบัติ คือ เมื่อพระหัวหน้าให้ศีลและเจ้าภาพอาราธนา สวดพระปริตรจบแล้ว ไม่ต้องขัด สคฺเค พระทุกรูปประนมมือพร้อมกันแล้ว หัวหน้านำสวด
    ก. นมการปาฐะ (นโม......)
    ข. สรณคมนปาฐะ (พุทฺธํ สรณํ.....)
    ค. ปัพพโตปมคาถาและอริยธนคาถา (ยถาปิ เสลา....)
    พอจบตอนนี้ ทั้งหมดลดมือลง แล้วรูปที่นั่งอันดับ ๓ ตั้งพัดขัดบทขัดของสูตร ที่กำหนด สวดตามงานสูตรใดสูตรหนึ่ง เมื่อขัดจบวางพัด ทุกรูปประนมมือพร้อมกันอีก หัวหน้านำสวดสูตร ที่ขัดนำนั้น จบสูตรแล้ว นำสวดบทท้ายสวดมนต์ของงานอวมงคลต่อ คือ
    ก. ปฏิจจปมุปบาท (อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา....)
    ข. พุทธอุทานคาถา (ยทา หเว....)
    ค. พุทเทกรัตตคาถา (อตีตํ นานฺวาคเมยฺย....)
    ฆ. ภวตุ สพฺพมงฺคลํ....
    ถ้าสวดธรรมนิยามสูตร ใช้สวดติลักขณาทิคาถา (สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ฯเปฯ เต โลเก ปรินิพฺพุตาติ) ก่อนสวดปฏิจจสมุปบาท
    เมื่อพระสวดมนต์จบแล้ว ถ้ามีการชักผ้าบังสุกุลต่อท้าย เจ้าจะลากสายโยงหรือภูษาโยง แล้วทอดผ้า พอทอดถึงรูปสุดท้าย พระสงฆ์ก็ตั้งพัดพร้อมกัน (อย่าข้าสายโยง หรือภูษาโยง เพราะ จะถือว่าเป็นการข้ามศพ) การตั้งพัดในพิธีชักบังสุกุลของพระให้ใช้มือซ้ายจับพัดแล้วใช้มือ ขวาจับผ้าบังสุกุล
    ในกรณีที่เจ้าภาพบำเพ็ญกุศลเพียงสดมนต์ ไม่มีการเลี้ยงพระ ไม่ต้องสวดบทถวาย พรพระ เมื่อพระสงฆ์รับไทยธรรมแล้ว หากไม่มีการรีบด่วน ในการอนุโมทนาด้วยบทวิเสส อนุโมทนา พึงใช้บท “อทาสิ เม” เพราะศพยังปรากฏอยู่
    ข. งานทำบุญอัฐิ
    พิธีฝ่ายเจ้าภาพ พึงจัดตระเตียมทำนองเดียวกับงานทำบุญหน้าศพที่กล่าวแล้ว ทุกประการ ต่างแต่เพียงงานนี้เป็นงานทำบุญหน้าอัฐิหรือรูปที่ระลึกของผู้ที่ล่วงลับ เป็นต้น เจ้าภาพต้องเตรีมที่ตั้งอัฐิหรือที่ตั้งรูประลึกนั้น ๆ ต่างหากจากโต๊ะบูชา จะใช้โต๊ะหมู่หรือโต๊ะอื่นใด ที่สมควรก็ได้ ให้มีออกไม้ตั้งหรือประดับพองามตามแต่จะพึงจัดได้ และตั้งกระถางธูปกับเชิงเทียน ๑ คู่ ที่หน้าโต๊ะอัฐิหรือรูปนั้นด้วยเพื่อบูชา จะใช้พานหรือกระบะเครื่องห้าสำหรับบูชาแทนก็ได้ ข้อสำคัญให้ดูงามเด่นพอควร เป็นใช้ได้
    พิธีฝ่ายภิกษุสงฆ์ ส่วนใหญ่ก็พึงปฏิบัติเช่นเดียวกับงานทำบุญหน้าศพ ต่างแต่ การสวดมนต์ นิยมใช้สูตรอื่นนอกจากอนัตตลักขณสูตร อาทิตตปริยายสูตร และธรรมนิยามสูตร ที่ใช้สำหรับงานทำบุญศพ ๗ วัน ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน หรือหน้าวันปลงศพดังกล่าวแล้ว (ในปัจจุบัน สวดธรรมนิยามสูตรก็มี) ทั้งนี้แล้วแต่หัวหน้าสงฆ์ จะกะนัดหมาย หรือเจ้าภาพจำนง หมาย เช่น สติปัฏฐานปาฐะ เป็นต้น
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.dhammathai.org/practice/practice3.php

    <TABLE width="80%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>
    ความหมาย

    พิธีถวายทานต่าง ๆ เรียกว่า ทานพิธี ในที่นี้จะกว่าเฉพาะทานพิธีสามัญ ที่จำเป็น และนิยมบำเพ็ญกันอยู่ทั่วไป และจะกล่าวเฉพาะระเบียบปฏิบัติกับคำถวาย ของฝ่ายทายกเท่านั้น

    การถวายทาน คือ การถวายวัตถุที่ควรให้เป็นทาน ในพระพุทธศาสนา เรียกวัตถุที่ควร ให้เป็นทานนี้ว่า “ทานวัตถุ” ท่านจำแนกไว้ ๑๐ ประการ คือ (๑) ภัตตาหาร (๒) น้ำรวม ทั้งเครื่องดื่มอันควรแก่สมณบริโภค (๓) ผ้าเครื่องนุ่งห่ม (๔) ยานพาหนะ สงเคราะห์ ปัจจัยค่าโดยสารเข้าด้วย (๕) มาลัยและดอกไม้เครื่องบูชาชนิด ต่าง ๆ (๖) ของหอม หมายถึง ธูปเทียนบูชาพระ (๗) เครื่องลูบไล้ หมายถึง เครื่อง สุขภัณฑ์สำหรับชำระร่างกายให้สะอาด มีสบู่ถูกตัว เป็นต้น (๘) เครื่องที่นอนอันควรแก่สมณะ (๙) ที่อยู่อาศัย มีกุฏิเสนาสนะ และ เครื่องสำหรับเสนาสนะเช่น เตียง ตู้ โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น (๑๐) เครื่องตามประทีป มีเทียน จุดใช้แสงตะเกียง น้ำมันตะเกียงและไฟฟ้า เป็นต้น ทั้ง ๑๐ ประการนี้ควรแก่การถวายเป็นทาน แก่ภิกษุสามเณร เพื่อใช้สอย หรือบูชาพระตามสมควร แต่การถวายทานนี้มีนิยม ๒ อย่าง คือ
    ๑. ถวายเจาะจงเฉพาะรูปนั้นรูปนี้อย่างหนึ่ง เรียกว่า ปาฏิบุคลิกทาน
    ๒. ถวายไม่เจาะจงรูปใด มอบเป็นของกลางให้สงฆ์จัดเฉลี่ยกันใช้สอยเอง อีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า สังฆทาน
    สำหรับปาฏิบุคลิกทานไม่จำต้องมีพิธีกรรมอะไรในการถวาย เพราะผู้ถวายเกิดศรัทธา จะถวายสิ่งไร แก่ภิกษุหรือสามเณรรูปใด ก็จัดสิ่งนั้นมอบถวายเฉพาะรูปนั้น เป็นรายบุคคล สำเร็จเป็นทานแล้ว และผู้รับปาฏิบุคคลทาน จะอนุโมทนาอย่างไรนั้น ก็เป็นเรื่องส่วนบุคคลเช่นกัน
    แต่สำหรับสังฆทาน เป็นการถวายสงฆ์เกี่ยวกับพระสงฆ์ส่วนรวมในวัด จัดเป็น การสงฆ์ไม่ใช่การบุคคลดังกล่าว จึงเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องด้วยพิธีกรรม โดยเฉพาะการถวาย และการอนุโมทนาของสงฆ์ย่อมมีพิธีปฏิบัติ ฉะนั้นในหมวดนี้ จึงจะกล่าวทานพิธีเฉพาะส่วน ที่ถวายเป็นการสงฆ์อย่างเดียว และทานที่ถวายสงฆ์นั้น แม้มีกำหนดวัตถุเป็น ๑๐ ชนิดแล้ว ก็มีนิยมถวายวัตถุใน ๑๐ ชนิดนั้นเป็นรายการ ๆ แยกคำถวายต่างกันออกไปอีกมากมาย แต่จะเป็นถวายอะไรก็ตาม เมื่อสงเคราะห์ก็อยู่ในปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต ๔ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานเภสัช ทั้งนั้น และการถวายก็มีนิยมเป็น ๒ คือ ถวายในกาลที่ควรถวายสิ่งนั้น ๆ เรียกว่า กาลทาน ๑ ถวายไม่เนื่องด้วยกาลหรือนอกกาลอีก ๑ ซึ่งมีระเบียบปฏิบัติ ดังนี้
    <HR SIZE=1>
    ระเบียบพิธี

    ๑. หลักสำคัญของการถวายทานเป็นการสงฆ์มีอยู่ว่า ต้องตั้งใจถวายเป็นสงฆ์จริง ๆ อย่าเห็นแก่หน้าบุคคลผู้รับว่า เป็นภิกษุหรือสามเณร เป็นพระสังฆเถระ หรือพระอันดับ ถ้ามิฉะนั้นแล้วจะเป็นเหตุให้จิตใจไขว้เขว เกิดความยินดียินร้าย ไปตามบุคคลผู้รับ ซึ่งจะเสีย พิธีสังฆทานไป ควรทำใจว่าผู้รับจะเป็นบุคคลชนิดใด ๆ ก็ตาม เมื่อเป็นผู้รับในนามของสงฆ์ ซึ่งสงฆ์จัดมา หรือเป็นผู้มาถึงเฉพาะหน้า ในขณะตั้งใจถวายสงฆ์แล้ว ก็ถวายทานนั้น ๆ อุทิศให้ เป็นสงฆ์จริง ๆ
    ๒. ตระเตรียมทานวัตถุที่ต้องการถวายให้เสร็จเรียบร้อย ตามศรัทธาและทันเวลาถวาย ถ้าเป็นภัตตาหาร จีวร และคิลานเภสัช ซึ่งเป็นวัตถุยกประเคนได้ จะเป็นของถวายเนื่องด้วยกาล หรือไม่ก็ตาม ต้องจัดให้ถูกต้องตามนิยมของทานชนิดนั้น ๆ แต่ถ้าเป็นเสนาสนะหรือเครื่องเสนาสนะ ซึ่งต้องก่อสร้างกับที่และเป็นของใหญ่ใช้ติดที่ ก็ต้องเตรียมการตามสมควร
    ๓. เผดียงสงฆ์ คือ แจ้งความประสงค์ที่จะถวายทานนั้น ๆ ให้สงฆ์ทราบ ถ้าเป็น ภัตตาหาร หรือ จีวร คิลานเภสัช ซึ่งมีจำนวนจำกัดไม่ทั่วไปแก่สงฆ์ ผู้รับให้ตามจำนวนต้องการ และนัดแนะสถานที่กับกำหนดเวลาให้เรียบร้อยด้วย
    ๔. ในการถวายทานนั้น ถ้ามีพิธีอื่นประกอบด้วย ก็เป็นเรื่องของพิธีแต่ละอย่าง ๆ ไป เฉพาะพิธีถวายทานเมื่อถึงกำหนด ฝ่ายทายกพึงดำเนินพิธี ดังนี้
    ก. จุดธูปเทียนหน้าที่บูชาพระ ถ้ามีตั้งอยู่ด้วย
    ข. อาราธนาศีล และรับศีล
    ค. ประนมมือกล่าวว่าคำถวายทานนั้น ๆ ตามแบบ
    ในการกล่าวคำถวายนี้ ทุกครั้ง ต้องตั้ง นโมก่อน ๓ จบ ถ้าถวายรวมกันมากคน ควรว่า นโม พร้อมกันก่อน แล้วหัวหน้ากล่าวนำคำถวายให้ผู้อื่นว่าตามเป็นคำ ๆ ทั้งคำบาลีและคำแปล จนจบ แต่คำแปลในบางกรณีที่มีคำถวายบาลียืดยาวจะเว้นไม่กล่าวก็ได้ ต่อนั้นถ้าเป็นของควร ประเคนก็ประเคน จะประเคนสิ่งของประเภทอาหารแต่เที่ยงแล้วไปหาได้ไม่ อนึ่ง เสนาสนะหรือ วัตถุที่ใหญ๋โต ไม่สามารถจะยกประเคนได้ ถ้าประสงค์จะประเคน ใช้น้ำหลั่งลงบนมือของสงฆ์ผู้เป็น ประธานในพิธี ก็ถือว่าได้ประเคนแล้ว
    ๕. พระสงฆ์ที่ได้รับอาราธนา เพื่อรับสังฆทานตามธรรมเนียมของทานนั้น ๆ แล้ว บางพวก ในขณะที่ทายกกล่าวคำถวายทานประนมมือ เป็นอาการแสดงถึงการรับทานโดยเคารพ เมื่อทายกกล่าวคำถวายจบแล้ว เปล่งวาจา สาธุ พร้อมกัน บางพวก เมื่อทายกกล่าวคำถวายจบ แล้วจึงประนมมือ เปล่งวาจา สาธุ ทั้งนี้ สุดแต่จะควร สถานใดกล่าวไว้ตามที่เคยเห็นเท่านั้น เมื่อเสร็จการประเคนแล้ว พึงอนุโมทนาด้วยบท
    ก. ยถา....................................................................................
    ข. สพฺพีติโย.............................................................................
    ค. บทอนุโมทนาโดยควรแก่ทาน..................................................
    ฆ. ภวตุ สพฺพมงฺคลํ.................................................................
    ๖. ขณะพระสงฆ์อนุโมทนา ทายกพึงกรวดน้ำ เมื่อพระเริ่มบท ยถา... พอถึงบท สพฺพีติโย... เป็นต้นไป พึงประนมมือรับพรไปจนจบ แล้วกราบ ๓ หน เป็นอัน เสร็จพิธีถวายทาน
    [​IMG] คำถวายสังฆทาน (ประเภทสามัญ)
    อิมานิ มยํ ภนฺเต ภตฺตานิ, สปริวารานิ, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ, อิมานิ, ภตฺตานิ, สปริวารานิ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.
    คำแปล
    ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ภัตตาหาร กับทั้งบริวารเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับภัตตาหาร กับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญฯ

    <HR SIZE=1>

    คำถวายต่างๆ

    [​IMG] คำถวายสังฆทาน (ประเภทมตกภัตอุทิศผู้ตาย)
    อิมานิ มยํ ภนฺเต มตกภตฺตานิ, สปริวารานิ, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ, อิมานิ, มตกภตฺตานิ, สปริวารานิ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากญฺเจว, มาตาปิตุ อาทีนญฺจ าตกานํ, กาลกตานํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.
    คำแปล
    ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายมตกภัตตาหาร กับทั้งบริวาร เหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับมตกภัตตาหาร กับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้า ทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย แก่ญาติของข้าพเจ้าทั้งหลาย มีมารดาบิดา เป็นต้น ผู้ทำกาละล่วงลับไปแล้วด้วย สิ้นกาลนานเทอญ ฯ

    <HR SIZE=1>
    [​IMG] คำถวายสลากภัต
    เอตานิ มยํ ภนฺเต, สลากภตฺตานิ, สปริวารานิ, อสุกฏฺ€าเน, €ปิตานิ, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, เอตานิ, สลากภตฺตานิ, สปริวารานิ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.
    คำแปล
    ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายสลากภัตตาหารกับทั้งบริวาร ทั้งหลาย ซึ่งตั้งไว้ ณ ที่โน้นนั้น แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ ซึ่งสลากภัตตาหาร กับทั้งบริวารเหล่านั้น ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ

    <HR SIZE=1>
    [​IMG] คำถวายข้าวสาร
    อิมานิ มยํ ภนฺเต ตณฺฑุลานิ, สปริวารานิ, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ อิมานิ, ตณฺฑุลานิ, สปริวารานิ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ ทีฆรตฺตํ หิตาย สุขาย.
    คำแปล
    ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายข้าวสารกับทั้งเครื่องบริวาร ทั้งหลายเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับข้าวสารกับทั้งเครื่องบริวารทั้งหลาย เหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและ ความร่มเย็นเป็นสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนาน เทอญ ฯ

    <HR SIZE=1>
    [​IMG] คำถวายเภสัชทานมีน้ำผึ้งเป็นต้น
    สรโท นามายํ ภนฺเต, กาโล สมฺปตฺโต, ยตฺถ ตถาคโต, อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ, สารทิกาพาเธน อาพาธิกานํ, ภิกฺขูนํ, ปญฺจ เภสชฺชานิ, อนุญฺาสิ, สปฺปึ, นวนีตํ, เตลํ, มธุํ ผาณิตํ, มยนฺทานิ, ตกฺกาลสทิสํ สมฺปตฺตา ตสฺส ภควโต, ปญฺตฺตานุคํ, ทานํ ทาตุกามา, เตสุ ปริยาปนฺนํ, มธุํ จ, เตลํ จ, ผาณิตํ จ, ภิกฺขูนญฺเจว, สามเณรานญฺจ, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, อยฺยา ยถาวิภตฺตา, มธุทานํ จ, เตลํ จ, ผาณิตํ จ, ปฏิคฺคณฺหนฺตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.
    คำแปล
    ข้าแด่พระสงฆ์ผู้เจริญ บัดนี้สรทกาลมาถึงแล้ว ในกาลใดเล่า พระตถาคต อรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้า ทรงอนุญาตเภสัช ๕ อย่าง คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย แก่ภิกษุ ทั้งหลายผู้อาพาธ ด้วยโรคเกิดในสรทกาล บัดนี้ข้าพเจ้าทั้งหลาย มาถึงกาลเช่นนี้แล้ว ปรารถนา จะถวายทานตามพระพุทธานุญาต ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น จึงถวายน้ำผึ้งกับน้ำมันและน้ำอ้อย อันนับเข้าในเภสัช ๕ อย่างนั้น แก่ภิกษุและสามเณรทั้งหลาย ขอพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายจงรับ มธุทาน เตลทาน และผาณิตทาน ของข้าพเจ้าทั้งหลาย ตามที่แจกถวายแล้วนั้น เพื่อประโยชน์ และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ

    <HR SIZE=1>
    [​IMG] คำถวายเสนาสนะ กุฏิ วิหาร
    อิมานิ มยํ ภนฺเต, เสนาสนานิ, อาคตานาคตสฺส, จาตุทฺทิสสฺส, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ, อิมานิ, เสนาสนานิ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.
    คำแปล
    ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายเสนาสนะเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ผู้มีในทิศทั้ง ๔ ที่มาแล้วก็ดี ยังไม่มาก็ดี ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ เสนาสนะเหล่านี้ ของข้าพเจ้า ทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ

    <HR SIZE=1>
    [​IMG] คำถวายศาลาโรงธรรม
    มยํ ภนฺเต, อิมํ สาลํ, ธมฺมสภาย, อุทฺทิสฺส, จาตุทฺทิสสฺส, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ, อิมํ สาลํ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.
    คำแปล
    ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายศาลาหลังนี้แก่พระภิกษุสงฆ์ที่มี ในทิศทั้ง ๔ อุทิศเพื่อเป็นสถานที่แสดงธรรม ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ ศาลาหลังนี้ของข้าพเจ้า ทั้งหลายเพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ

    <HR SIZE=1>
    [​IMG] คำถวายผ้าวัสสิกสาฎก
    อิมานิ มยํ ภนฺเต, วสฺสิกสาฏิกานิ, สปริวารานิ, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ, อิมานิ, วสฺสิกสาฏิกานิ, สปริวารานิ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.
    คำแปล
    ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ผ้าอาบน้ำฝน กับทั้งบริวาร เหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ ผ้าอาบน้ำฝน กับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้า ทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ

    หมายเหตุ :- ถ้าไม่มีเครื่องบริวารถวายพ่วงด้วย ก็ตัดคำบาลีว่า “สปริวารานิ” และคำแปลว่า “กับทั้งบริวาร” ออกเสียทุกแห่ง
    <HR SIZE=1>
    [​IMG] คำถวายผ้าจำนำพรรษา
    อิมานิ มยํ ภนฺเต, วสฺสาวาสิกจีวรานิ, สปริวารานิ, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ, อิมานิ, วสฺสาวาสิกจีวรานิ, สปริวารานิ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.
    คำแปล
    ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าจำนำพรรษา กับทั้งบริวาร เหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับผ้าจำนำพรรษา กับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้า ทั้งหลายเพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ

    <HR SIZE=1>
    [​IMG] คำถวายผ้าอัจเจกจีวร
    อิมานิ มยํ ภนฺเต, อจฺเจกจีวรานิ, สปริวารานิ, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ, อิมานิ, อจฺเจกจีวรานิ, สปริวารานิ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย สุขาย.
    คำแปล
    ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าอัจเจกจีวรกับทั้งบริวารเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับผ้าอัจเจกจีวร กับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ

    <HR SIZE=1>
    [​IMG] คำถวายผ้าป่า
    อิมานิ มยํ ภนฺเต, ปํสุกูลจีวารานิ, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โฮโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ, อิมานิ, ปํสุกูลจีวรานิ, สปริวารานิ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย สุขาย.
    คำแปล
    ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าบังสุกุลจีวร กับทั้งบริวาร เหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับผ้าบังสุกุลจีวร กับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อ ประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ

    <HR SIZE=1>
    [​IMG] คำถวายผ้ากฐิน (แบบ ๑)
    อิมํ, สปริวารํ, กฐินจีวรทุสฺสํ, สงฺฆสฺส, โอโณชยาม, (ว่า ๓ จบ)
    คำแปล
    ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ผ้ากฐินจีวร กับทั้งบริวารนี้ แก่พระสงฆ์ ฯ

    <HR SIZE=1>
    [​IMG] คำถวายผ้ากฐิน (แบบ ๒)
    อิมํ ภนฺเต สปริวารํ, กฐินจีวรทุสฺสํ, สงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, สงฺโฆ, อิมํ, สปริวารํ, กฐินจีวรทุสฺสํ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, ปฏิคฺคเหตฺวา จ, อิมินา ทุสฺเสน, ก€ินํ, อตฺถรตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.
    คำแปล
    ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐินจีวร กับทั้งบริวาร นี้แก่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐินกับทั้งบริวารนี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย ครั้นรับแล้วจงกราน กฐินด้วยผ้านี้ เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ

    <HR SIZE=1>
    [​IMG] คำถวายธูปเทียนดอกไม้เพื่อบูชา
    อิมานิ มยํ ภนฺเต, ทีปธูปปุปฺผวรานิ, รตนตฺตยสฺเสว, อภิปูเชม, อมฺหากํ, รตนตฺตยสฺส ปูชา, ทีฆรตฺตํ, หิตสุขาวหา, โหตุ, อาสวกฺขยปฺปตฺติยา.
    คำแปล
    ข้าแต่พระคุณเจ้าทั้งหลายผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอบูชาธูปเทียนและดอกไม้ อันประเสริฐเหล่านี้ แก่พระรัตนตรัย กิริยาที่บูชาแก่พระรัตนตรัยนี้ จงเป็นผลนำมาซึ่งประโยชน์ และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนาน จงเป็นไปเพื่อให้ถึงซึ่งพระนิพพาน เป็นที่สิ้นไป แห่งอาสวกิเลส เทอญ ฯ

    <HR SIZE=1>
    [​IMG] คำถวายกระทงสำหรับลอยประทีป
    มยํ อิมินา ปทีเปน, อสุกาย, นมฺมทาย, นทิยา, ปุลิเน €ิตํ, มุนิโน, ปาทวลญฺชํ, อภิปูเชม, อยํ, ปทีเปน, มุนิโน ปาทวลญฺชสฺส, ปูชา, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย, สํวตฺตตุ.
    คำแปล
    ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอบูชา ซึ่งรอยพระพุทธบาท ที่ตั้งอยู่เหนือหาดทราย ในแม่น้ำ ชื่อนัมมทานทีโน้น ด้วยประทีปนี้, กิริยาที่บูชารอยพระพุทธบาท ด้วยประทีปนี้ ขอจงเป็นไป เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ

    <HR SIZE=1>
    [​IMG] คำถวายธงเพื่อบูชา
    มยํ อิมินา, ธชปฏาเกน, รตนตฺตยํ, อภิปูเชม, อยํ ธชปฏาเกน, รตนตฺตยปูชา, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย, สํวตฺตตุ.
    คำแปล
    ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอบูชา ซึ่งพระรัตนตรัย ด้วยธงแผ่นผ้านี้ กิริยาที่บูชาพระรัตนตรัย ด้วยธงแผ่นผ้านี้ ขอจงเป็นไป เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ

    <HR SIZE=1>
    [​IMG] คำถวายเวจกุฎี
    มยํ ภนฺเต, อิมํ วจฺจกุฏึ, อาคตานาคตสฺส, จาตุทฺทิสสฺส, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ อิมํ, วจฺจกุฏึ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.
    คำแปล
    ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายเวจกุฎีหลังนี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ผู้มีในทิศทั้ง ๔ ที่มาแล้วก็ดี ยังไม่มาก็ดี ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับเวจกุฎีหลังนี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ

    <HR SIZE=1>
    [​IMG] คำถวายสะพาน
    มยํ ภนฺเต, อิมํ, เสตุํ, มหาชนานํ, สาธารณตฺถาย, นิยฺยาเทม, สาธุ โน ภนฺเต, สงฺโฆ, อิมสฺมึ, เสตุมฺหิ, นิยฺยาทิเต, สกฺขิโก โหตุ, อิทํ, เสตุทานํ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย, สํวตฺตตุ.
    คำแปล
    ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอมอบถวาย ซึ่งสะพานนี้ เพื่อประโยชน์ ทั่วไป แก่มหาชนทั้งหลาย ขอพระสงฆ์จงเป็นพยาน แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ในสะพานที่ ข้าพเจ้าทั้งหลายได้มอบให้แล้วนี้ ขอเสตุทานนี้ จงเป็นไป เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้า ทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ

    <HR SIZE=1></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.dhammathai.org/practice/practice4.php

    <TABLE width="80%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>
    ความหมาย

    พิธีกรรมที่จะกล่าวในบทนี้เป็นพิธีเบ็ดเตล็ดเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติบางประการ ในการ ประกอบพิธีต่าง ๆ ที่กล่าวแล้วในหมวดต้น ๆ มาชี้แจงเพื่อความรู้ และเพื่อเป็นทางปฏิบัติ แต่จะกล่าวเฉพาะเรื่องที่มิได้ชี้แจงไว้ข้างต้นเพียง ๕ เรื่องเท่านั้น คือ

    ๑. วิธีแสดงความเคารพพระ
    ๒. วิธีประเคนของพระ
    ๓. วิธีทำหนังสืออาราธนา และทำใบปวารณาถวายจตุปัจจัย
    ๔. วิธีอาราธนาศีล อาราธนาพระปริตร อาราธนาธรรม
    ๕. วิธีกรวดน้ำ
    จะได้แสดงวิธีปฏิบัติต่อไปตามลำดับ

    <HR SIZE=1>
    ๑. วิธีแสดงความเคารพพระ

    ความมุ่งหมายของการแสดงความเคารพพระ ก็เพื่อแสดงให้ปรากฏว่า ตนมีความนับถือ ด้วยกายและใจจริง การแสดงให้ปรากฏนี้ส่วนใหญ่แสดงออกทางกาย ซึ่งส่อซึ้งถึงน้ำใจอย่างเด่นชัด พระที่ควรแก่การแสดงความเคารพ ได้แก่ พระพุทธรูปรือปูชนียวัตถุ มีพระสถูปเจดีย์ เป็นต้น ๑ พระภิกษุสามเณรผู้ทรง เพศอุดมกว่าตน ๑ การแสดงความเคารพต่อพระดังกล่าวนี้ จะนำมาชี้แจงในที่นี้เพียง ๓ วิธี คือ
    ก. ประนมมือ
    ข. ไหว้
    ค. กราบ
    ประนมมือ ตรงกับหลักที่กล่าวไว้ในบาลีว่า “ทำอัญชลี” คือ การกระพุ่มมือทั้งสอง ประนม ให้ฝ่ามือทั้งสองประกบกัน นิ้วทุกนิ้วของมือทั้งสองแนบชิดตรงกัน ไม่มีเหลื่อมล้ำกว่ากัน หรือกางให้ห่าง ตั้งกระพุ่มมือ ที่ประนมด้วยอาการนี้ไว้ในระหว่างอก ให้ตั้งตรงขึ้นข้างบน มีลักษณะ คล้ายดอกบัวตูม แนบศอกทั้งสองข้าง ชิดชายโครง ไม่ให้กางห่างออกไป แสดงอาการอย่างนี้ เรียกว่าประนมมือ เป็นการแสดง ความเคารพ เวลาสวดมนต์ หรือฟังพระสวดและฟังเทศน์ เป็นต้น แสดงอย่างเดียวกัน ทั้งชายทั้งหญิง
    ไหว้ ตรงกับที่กล่าวไว้ในบาลีว่า “นมัสการ” หรือ “วันทา” คือการยกมือที่ประนม แล้วขึ้น พร้อมกับก้มศีรษะลงเล็กน้อย ให้มือประนมจดหน้าผาก นิ้วหัวแม่มือ ทั้งสองอยู่ระหว่างคิ้ว อย่างนี้เรียกว่า ไหว้ ใช้แสดงความเคารพพระ ในขณะนั่งเก้าอี้ หรือยืนอยู่ ไม่ใช่นั่งราบกับพื้น แสดงอย่างเดียวกันทั้งชายและหญิง

    <HR SIZE=1>
    ๒. วิธีประเคนของพระ

    การประเคนของพระ คือ การถวายของให้พระได้รับถึงมือ ของที่ประเคนนั้น ต้องเป็น ของที่คนเดียวพอยกได้อย่างธรรมดา ไม่ใช่ของหนัก หรือใหญ่โตจนเกินไป ไม่มีวัตถุอนามาส คือ เงินทอง หรือของกะไหล่ด้วยเงินแท้หรือทองแท้ปนอยู่ด้วย เพราะเป็นของไม่เหมาะแก่ภาวะ ของพระที่จะรับได้ และถ้าเป็นของเคี้ยวของฉัน ต้องประเคนได้เฉพาะในกาล เวลาวิกาลตั้งแต่ เที่ยงแล้วไปจนถึงย่ำรุ่งวันใหม่ ไม่ควรนำมาประเคน วิธีประเคนนั้นพึงปฏิบัติ ดังนี้
    ก. พึงนำของประเคนเข้าไปให้ใกล้พระผู้รับ ประมาณ ๑ ศอก (ไม่ถึงศอก หรือไม่ เกินศอกคืบก็ได้) จะนั่งหรือยืนแล้วแต่สถานที่ที่พระนั่งอยู่นั้นอำนวย
    ข. จับของที่ประเคนด้วยมือทั้งสองก็ได้ มือเดียวก็ได้ ยกให้สูงขึ้นเล็กน้อย แล้วน้อม ถวายพระซึ่งท่านจะยื่นมือทั้งสองออกมาจับ ถ้าผู้ถวายเป็นสตรี พึงวางของลงบนผ้ากราบ ที่พระปูรับอยู่ข้างหน้า เสร็จแล้วพึงไหว้หรือกราบแล้วแต่กรณี หนหนึ่ง
    หลักสำคัญของการประเคนนี้ ต้องแสดงออกด้วยความเคารพ ไม่ใช่เสือกไส หรือทิ้ง ให้โดยไม่เคารพ

    <HR SIZE=1>
    ๓. วิธีทำหนังสืออาราธนาและทำใบปวารณาถวายจตุปัจจัย

    การอาราธนาพระ ก็คือการนิมนต์พระสงฆ์ไปประกอบพิธีต่าง ๆ ต้องทำให้เป็น กิจจะลักษณะ แต่ปางก่อนใช้อาราธนาด้วยวาจาเป็นพื้น แต่ในปัจจุบันนี้มีนิยม ทำหนังสืออาราธนา ความมุ่งหมายก็เพื่อแจ้งกำหนดงานและรายการให้พระสงฆ์ทราบ หนังสืออาราธนานี้ เรียกกันว่า ฎีกานิมนต์พระ มีข้อความที่จะแสดงเป็นตัวอย่าง ดังนี้
    “ขออาราธนาพระคุณเจ้า (พร้อมด้วยพระสงฆ์ในวัดนี้อีก...รูป) เจริญพระพุทธมนต์ (หรือสวดพระพุทธมนต์ หรือแสดงพระธรรมเทศนาแล้วแต่กรณี) ในงาน.....ที่บ้านเลขที่..... ตำบล.....อำเภอ......กำหนดวันที่.....เดือน......พ.ศ.......เวลา.....น.
    (หากจะอาราธนาให้รับอาหารบิณฑบาต เช้า หรือ เพล ให้บอกด้วย ถ้าต้องการ ตักบาตรหรือปิ่นโต ก็ต้องบอกไว้ในฎีกาให้นำไปด้วย)
    ถ้างานนั้นมีเรือหรือรถรับส่ง ก็ให้หมายเหตุบอกไว้ท้ายฎีกานั้น เพื่อพระจะได้ทราบ ล่วงหน้า การวางฎีกานิมนต์พระนี้ ถ้าเป็นพระวัดเดียวกัน ไม่ต้องทำฎีกานิมนต์ เป็นรายองค์ ก็ได้ เป็นแต่ระบุจำนวนพระหรือรายชื่อพระที่ต้องการให้ทางวัดจัดนิมนต์ ต่อให้ก็ได้
    และในการถวายไทยธรรมแก่พระสงฆ์ ที่นิมนต์มาประกอบพิธีต่าง ๆ ก็มี นิยมถวายค่า จตุปัจจัยเป็นพิเศษจากไทยธรรมอีกส่วนหนึ่งด้วยในการถวายค่าจตุปัจจัยนี้ นิยมทำใบปวารณา ถวาย คือ ถวายด้วยใบปวารณาความมุ่งหมายก็เพื่อสงเคราะห์ ให้ภิกษุได้รับค่าจตุปัจจัยนั้น โดยชอบด้วยวินัย ใบปวารณานี้ มีแบบนิยมเป็นฉบับ ดังนี้
    “ขอถวายจตุปัจจัยอันควรแก่สมณบริโภค แด่พระคุณเจ้าเป็น มูลค่า.....บาท ....สต. หากพระคุณเจ้าต้องประสงค์สิ่งใดอันควรแก่สมณบริโภคแล้ว ขอได้โปรดเรียกร้องจากกัปปิยการก ผู้ปฏิบัติของพระคุณเจ้า เทอญ”
    ใบปวารณานี้ นิยมกลัดติดกับผ้าที่ทอดในงานอวมงคล หรือถวายเฉพาะใบ หรือไม่ ก็ใส่ซองแล้วรวมถวายไปกับเครื่องไทยธรรมในทุก ๆ งาน ส่วนเงินค่าจตุปัจจัยนั้น มอบไปกับ กัปปิยการก คือศิษย์ผู้มากับพระนั้น

    <HR SIZE=1>
    ๔. วิธีอาราธนาศีล อาราธนาพระปริตร

    อาราธนาธรรม
    การอาราธนา คือ การเชื้อเชิญพระสงฆ์ในพิธีให้ศีล ให้สวดพระปริตร หรือให้แสดงธรรม เป็นธรรมเนียมมีมาแต่ดั้งเดิมที่จะต้องอาราธนาก่อน พระสงฆ์จึงจะประกอบพิธีกรรมนั้น ๆ และการอาราธนาที่ถือเป็นธรรมเนียมกันมาก็มี ๓ กรณีเท่านั้น
    วิธีอาราธนา นิยมกันว่า ถ้าพระสงฆ์นั่งบนอาสนะยกสูงเจ้าภาพและแขกนั่งเก้าอี้ ผู้อาราธนาเข้าไปยืนระหว่างเจ้าภาพกับแถวพระสงฆ์ตรงกับรูปที่ ๓ หรือที่ ๔ ห่างแถวพระสงฆ์ พอสมควรหันหน้าไปทางโต๊ะที่บูชา ประนมมือไหว้พระพุทธรูปก่อนแล้วยืนประนมมือตั้งตัวตรง กล่าวคำอาราธนาตามแบบที่ต้องการ ถ้าพระสงฆ์นั่งอาสนะต่ำธรรมดา เจ้าภาพและแขกอื่น ก็นั่งกับพื้น ผู้อาราธนาต้องเข้าไปนั่งคุกเข่าต่อหน้าแถวพระสงฆ์ตรงหัวหน้า กราบพระที่โต๊ะบูชา ๓ ครั้งก่อน แล้วประนมมือตั้งตัวตรง กล่าวคำอาราธนาที่ต้องการตามแบบ คือ
    พิธีสวดมนต์เย็น อาราธนาศีล อาราธนาพระปริตร
    พิธีเลี้ยงพระ อาราธนาศีล
    พิธีถวายทานทุกอย่าง อาราธนาศีล
    พิธีเทศน์ ถ้าเทศน์ต่อจากสวดมนต์ ตอนสวดมนต์ไม่ต้องอาราธนาศีล เริ่มต้นด้วย อาราธนาพระปริตร แล้วอาราธนาศีล ตอนพระขึ้นเทศน์ รับศีลแล้วอาราธนาธรรมต่อ แต่ถ้า สวดมนต์กับเทศน์ไม่ได้ต่อเนื่องกัน ถือว่าเป็นคนละพิธี ตอนสวดมนต์ก็อาราธนา ตามแบบ พิธีสวดมนต์เย็นที่กล่าวแล้ว ตอนเทศน์ก็เริ่มต้น ด้วยอาราธนาศีลก่อน จบรับศีลแล้วจึงอาราธนา ธรรม
    พิธีสวดศพต่าง ๆ เช่น สวดแจง สวดพระอภิธรรม เป็นต้น ถ้าไม่มีพิธีอื่นนำ หน้าให้ อาราธนาศีลก่อน ถ้ามีพิธีอื่นนำหน้าแล้วไม่ต้องอาราธนาศีล
    คำอาราธนาศีล ๕ ในพิธีการ
    มยํ ภนฺเต
    วิสุํ วิสุํ รกฺขนตฺถาย
    ติสรเณน สห
    ปญฺจ สีลานิ ยาจาม
    ทุติยมฺปิ..........
    ตติยมฺปิ..........
    คำอาราธนาพระปริตร
    วิปตฺติปฏิพาหาย สพฺพสมฺปตฺติสิทฺธิยา
    สพฺพทุกฺขวินาสาย ปริตฺตํ พฺรูถ มงฺคลํ
    วิปตฺติปฏิพาหาย สพฺพสมฺปตฺติสิทฺธิยา
    สพฺพภยวินาสาย ปริตฺตํ พฺรูถ มงฺคลํ
    วิปตฺติปฏิพาหาย สพฺพสมฺปตฺติสิทฺธิยา
    สพฺพโรควินาสาย ปริตฺตํ พฺรูถ มงฺคลํ ฯ
    คำอาราธนาธรรม
    พฺรหฺมา จ โลกาธิปตี สหมฺปติ
    กตฺอญฺชลี อนฺธิวรํ อยาจถ
    สนฺตีธ สตฺตาปฺปรชกฺขชาติกา
    เทเสตุ ธมฺมํ อนุกมฺปิมํ ปชํ ฯ
    <HR SIZE=1>
    ๕. วิธีกรวดน้ำ

    เมื่อจะกรวดน้ำเพื่ออุทิศส่วนบุญ ต้องคำนึงถึงประเพณีที่มีมาแต่โบราณกาลด้วยวิธีนิยม ทำกันดังนี้ คือ เริ่มต้นเตรียมน้ำสะอาดใส่ภาชนะไว้พอสมควร จะเป็นคณฑี ขวดเล็ก แก้วน้ำ หรือขัน อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ พอพระสงฆ์เริ่ม อนุโมทนาด้วยบท ยถา... ก็เริ่มกรวดน้ำ โดยตั้งใจ นึกอุทิศส่วนบุญ มือขวาจับ ภาชนะน้ำริน ใช้มือซ้ายประคอง แล้วว่าบทกรวดน้ำในใจไปจนจบ การหลั่งน้ำกรวด ถ้าเป็นพื้นดินควรหลั่งลงในที่สะอาดหมดจด ถ้าอยู่บนเรือนหรือสถานที่ ที่ไม่ใช่พื้นดิน ต้องหาภาชนะอื่นที่สมควร เช่น ถาดหรือขัน เป็นต้น รองน้ำกรวดไว้เสร็จแล้วจึงนำไป เทลงดินตรงที่สะอาด อย่าใช้กระโถนหรือภาชนะสกปรกรองเป็นอันขาด เพราะน้ำที่กรวดเป็น สักขีพยานในการทำบุญของตนว่าทำด้วยใจสะอาดจริง ๆ
    คำกรวดน้ำที่นิยมว่ากันในเวลากรวดทั่ว ๆ ไป มีอยู่ ๓ แบบ คือ แบบสั้น แบบย่อ และแบบยาว ว่าเฉพาะคำบาลีเท่านั้น ดังนี้
    คำกรวดน้ำแบบสั้น (คำอุทิศของพระเจ้าพิมพิสาร)
    อิทํ เม ญาตีนํ โหตุ (ว่า ๓ จบ)
    หากจะเดิมพุทธภาษิตต่อว่า “สุขิตา โหนฺตุ ญาตโย” ก็ได้
    คำแปล
    ขอบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าเถิด
    “ขอญาติทั้งหลายจงเป็นสุข ๆ เถิด”
    คำกรวดน้ำแบบย่อ เรียกคาถาติโลกวิชัย
    ยงฺกิญฺจิ กุสลํ กมฺมํ กตฺตพฺพํ กิริยํ มม
    กาเยน วาจามนสา ติทเส สุคตํ กตํ
    เย สตฺตา สญฺญิโน อตฺถิ เย จ สตฺตา อสญฺิโน
    กตํ ปุญฺผลํ มยฺหํ สพฺเพ ภาคี ภวนฺตุ เต
    เย ตํ กตํ สุวิทิตํ ทินฺนํ ปุญฺผลํ มยา
    เย จ ตตฺถ น ชานนฺติ เทวา คนฺตฺวา นิเวทยุํ
    สพฺเพ โลกมฺหิ เย สตฺตา ชีวนฺตาหารเหตุกา
    มนุญฺํ โภชนํ สพฺเพ ลภนฺตุ มม เจตสา.
    คำแปล
    กุศลกรรมซึ่งเป็นกิริยาควรทำอันหนึ่งด้วยกายวาจาใจ อันจะเป็นเหตุนำไปให้เกิดใน สวรรค์ชั้นไตรทศเทพ ข้าพเจ้าได้ทำแล้ว ขอสัตว์ซึ่งมีสัญญา และไม่มี สัญญาทุกหมู่เหล่า จงเป็นผู้มีส่วนได้รับผลบุญที่ข้าพเจ้ากระทำแล้วนั้น เหล่าสัตว์ที่รู้ผลบุญอันที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว ขอจงเป็นผู้มีส่วนได้รับผลบุญที่ข้าพเจ้าอุทิศให้ ในบรรดาสรรพสัตว์จำพวกใด ไม่รู้ข่าวถึง บุญข้าพเจ้ากระทำแล้ว ขอเทพยดาทั้งหลายจงนำไปบอกแก่สัตว์จำพวกนั้น ขอสัตว์ทุกหมู่ ในชีวโลก ซึ่งเสพอาหารเป็นเครื่องเลี้ยงชีพ จงได้เสวยซึ่งโภชนะอันพึงใจ ด้วยอำนาจเจตนา อุทิศของ ข้าพเจ้านี้เถิด ฯ

    คำกรวดน้ำแบบยาว เป็นคาถาของเก่า
    อิมินา ปุญฺญกมฺเมน อุปชฺฌายา คุณุตฺตรา
    อาจริยูปการา จ มาตา ปิตา จ ญาตกา (ปิยา มมํ)
    สุริโย จนฺทิมา ราชา คุณวนฺตา นราปิ จ
    พฺรหฺมมารา จ อินฺทา จ โลกปาลา จ เทวตา
    ยโม มิตฺตา มนุสฺสา จ มชฺฌตฺตา เวริกาปิ จ
    สพฺเพ สตฺตา สุขี โหนฺตุ ปุญฺญานิ ปกตานิ เม
    สุขญฺจ ติวิธํ เทนฺตุ ขิปฺปํ ปาเปถ โว มตํ
    อิมินา ปุญฺญกมฺเมน อิมินา อุทฺทิเสน จ
    ขิปฺปาหํ สุลเภ เจว ตณฺหุปาทานเฉทนํ
    เย สนฺตาเน หินา ธมฺมา ยาว นิพฺพานโต มมํ
    นสฺสนฺตุ สพฺพทาเยว ยตฺถ ชาโต ภเว ภเว
    อุชุจิตฺตํ สติปญฺญา สลฺเลโข วิริยมฺหินา
    มารา ลภนฺตุ โนกาสํ กาตุญฺจ วิริเยสุ เม
    พุทฺธาธิปวโร นาโถ ธมฺโม นาโถ วรุตฺตโม
    นาโถ ปจฺเจกพุทฺโธ จ สงฺโฆ นาโถตฺตโร มมํ
    เตโสตฺตมานุภาเวน มาโรกาสํ ลภนฺตุ มา.
    คำแปล
    ด้วยผลบุญที่ข้าพเจ้ากระทำนี้ ขอพระอุปัชฌาย์ผู้มีพระคุณอันยิ่งใหญ่ไพศาล อีกทั้ง อาจารย์ผู้ได้สั่งสอนข้าพเจ้ามา ทั้งมารดาบิดาและคณาญาติทั้งสิ้น ตลอดจน พระอาทิตย์พระจันทร์ และพระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นใหญ่ในเอกเทศแห่งเมทนีดล และนรชนผู้มีคุณงามความดี ทั้งหลาย ทุกถิ่นฐาน อีกท้าวมหาพรหมกับหมู่มาร และท้าวมัฆวานเทวราช ทั้งเทพเจ้าผู้ฉกาจรักษา โลกทั้ง สี่ทิศ และพญายามราชอีกมวล มิตรสหาย ทั้งผู้ขวนขวายวางตนเป็นกลาง และผู้เป็นศัตรู ของข้าพเจ้าทุก ๆ เหล่า จงมีความเกษมสุขนิราศภัย ขอบุญที่ข้าพเจ้ากระทำไว้ด้วยไตรทวาร จงบันดาลให้สำเร็จไตรพิธสุข ถึงความเกษมปราศจากทุกข์ คือ พระอมตมหานฤพานโดยพลัน อีกโสดหนึ่งนั้น ด้วยบุญกรรมนี้และอุทิศเจตนานี้ ขอให้ข้าพเจ้าบรรลุทันทีซึ่งการตัดขาด ตัณหาอุปาทาน ธรรมอันชั่วในสันดานจงพินาศไปหมด จนตราบเท่าถึงนิพพาน สิ้นกาลทุกเมื่อ เทียว แม้ว่าข้าพเจ้ายังจะท่องเที่ยวไปเกิดในภพใด ๆ ก็ขอให้มีจิตซื่อตรง ดำรงสติปัญญาไว ชาญฉลาด ให้มีความเพียรกล้าสามารถขัดเกลากิเลสให้สูญหาย ขอหมู่มารเหล่าร้ายอย่าได้ กล้ำกรายสบโอกาส เพื่อทำให้ข้าพเจ้าพินาศคลายความ เพียรได้ อนึ่งไซร้ พระพุทธเจ้าผู้เป็น ที่พึ่งอันยิ่งอย่างประเสริฐ พระธรรมเป็นที่พึ่งอัน ล้ำเลิศยิ่งประมาณ พระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง อันไพศาล และพระสงฆ์เป็นที่พึ่งอัน อุดมยิ่งประมาณของข้าพเจ้านี้ ด้วยอานุภาพอันอุดมดีพิเศษ สูงสุดของพระรัตนตรัย ขออย่าให้หมู่มารได้โอกาสทุกเมื่อไป เทอญ ฯ

    นอกจากคำกรวดน้ำทั้ง ๓ แบบตามที่กล่าวมาแล้ว ยังมีคำกรวดน้ำอีกแบบหนึ่ง เป็น พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๔ เรียก ปัตติทานคาถา ดังนี้
    ปุญฺสฺสิทานิ กตสฺส ยานญฺานิ กตานิ เม
    เตสญฺจ ภาคิโน โหนฺตุ สตฺตานนฺตาปฺปมาณกา
    เย ปิยา คุณวนฺตา จ มยฺหํ มาตาปิตาทโย
    ทิฏฺฐา เม จาปฺยทิฏฺฐา วา อญฺเ มชฺฌตฺตเวริโน
    สตฺตา ติฏฺฐนฺติ โลกสฺมึ เตภุมฺมา จตุโยนิกา
    ปญฺเจกจตุโวการา สํสรนฺตา ภวาภเว
    าตํ เย ปตฺติทานมฺเม อนุโมทนฺตุ เต สยํ
    เย จิมํ นปฺปชานนฺติ เทวา เตสํ นิเวทยุํ
    มยา ทินฺนาน ปุญฺานํ อนุโมทนเหตุนา
    สพฺเพ สตฺตา สทา โหนฺตุ อเวรา สุขชีวิโน
    เขมปฺปทญฺจ ปปฺโปนฺตุ เตสาสา สิชฺฌตํ สุภา.
    คำแปล
    สัตว์ทั้งหลายไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ จงเป็นผู้มีส่วนแห่งบุญอันข้าพเจ้าทำแล้ว ณ บัดนี้ ด้วย แห่งบุญทั้งหลายอื่นอันข้าพเจ้าทำแล้วด้วย เหล่าใดเป็นที่รักและมีคุณ มีมารดาและบิดา ของข้าพเจ้าเป็นต้น เหล่าที่ข้าพเจ้าเห็นแล้ว หรือแม้ที่ข้าพเจ้าไม่ได้เห็น แล้วเหล่าอื่น ที่เป็น ผู้มัธยัสถ์เป็นปานกลางและเป็นผู้มีเวร สัตว์ทั้งหลายตั้งอยู่ในโลก เป็นไปในภูมิสาม เป็นไป ในกำเนิดสี่ มีขันธ์ห้า มีขันธ์หนึ่ง มีขันธ์สี่ท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยและภพใหญ่ ความให้ส่วนบุญ ของข้าพเจ้าอันสัตว์ทั้งหลายเหล่าใดรู้แล้ว สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น จงอนุโมทนาเองเถิด ส่วนสัตว์ ทั้งหลายเหล่าใดยังไม่รู้ซึ่ง ความให้ส่วนบุญของข้าพเจ้านี้ ขอเทพยดาทั้งหลาย พึงบอกแก่สัตว์ ทั้งหลายเหล่านั้นให้รู้ (แล้วอนุโมทนา) เพราะเหตุคืออนุโมทนาซึ่งบุญทั้งหลายอันข้าพเจ้าได้ให้แล้ว ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร เป็นผู้ดำรงชีพโดยสุขทุกเมื่อเถิด จงถึงซึ่งบทอันเกษม คือพระนิพพาน ขอความปรารถนาที่ดีงามของสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นจงสำเร็จ เถิด ฯ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.dhammajak.net/book/dhamma6/index.php

    <TABLE borderColor=#f7f7f7 width="80%" align=center border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff bgColor=#f7f7f7><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    ทำอย่างไรจะหายโกรธ (ป.อ. ปยุตฺโต)
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    ความนำ
    พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาแห่งเมตตาการุณย์ พระพุทธเจ้ามีพระคุณข้อใหญ่ประการหนึ่ง คือ พระมหากรุณา ชาวพุทธทุกคนได้รับการสั่งสอนให้มีเมตตากรุณา ให้ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่นด้วยกายวาจา และมีน้ำใจปรารถนาดี แม้แต่เมื่อไม่ได้ทำอะไรอื่น ก็ให้แผ่เมตตาแก่เพื่อนมนุษย์ตลอดจนสัตว์ทั้งปวงขอให้อยู่เป็นสุขปราศจากเวรภัยกันโดยทั่วหน้า
    อย่างไรก็ตาม เมตตา มีคู่ปรับสำคัญอย่างหนึ่งคือความโกรธ ความโกรธเป็นศัตรูที่คอยขัดขวางไม่ให้เมตตาเกิดขึ้น คนบางคนเป็นผู้มักโกรธ พอโกรธขึ้นมาแล้วก็ต้องทำอะไรรุนแรงออกไป ทำให้เกิดความเสียหาย ถ้าทำอะไรไม่ได้ ก็หงุดหงิดงุ่นง่านทรมานใจตัวเองในเวลานั้นเมตตาหลบหาย ไม่รู้ว่าไปซ่อนตัวอยู่ที่ไหน ไม่ยอมปรากฏให้เห็น ส่วนความโกรธทั้งที่ไม่ต้องการแต่ก็ไม่ยอมหนีไป บางทีจนปัญญาไม่รู้จะขับไล่หรือกำจัดให้หมดไปได้อย่างไร
    โบราณท่านรู้ใจและเห็นใจคนขี้โกรธจึงพยายามช่วยเหลือ โดยสอนวิธีการต่างๆ สำหรับระงับความโกรธ วิธีการเหล่านี้มีประโยชน์ไม่เฉพาะสำหรับคนมักโกรธเหล่านั้นแต่เป็นคติแก่ทุกคน ช่วยให้เห็นโทษของความโกรธ และมั่นในคุณของเมตตายิ่งขึ้น จึงขอนำมาเสนอพิจารณากันดู วิธีเหล่านั้นท่านสอนไว้เป็นขั้นๆ ดังนี้
    พระธรรมปิฎก ป.อ. ปยุตฺโต
    (ปัจจุบันได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ที่ พระพรหมคุณาภรณ์)
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    ขั้นที่ ๑ นึกถึงผลเสียของความเป็นคนมักโกรธ
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD> ก. สอนตนเองให้นึกว่า พระพุทธเจ้าของเราทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ และทรงสอนชาวพุทธให้เป็นคนดีเมตตา เรามัวมาโกรธอยู่ไม่ระงับความโกรธเสีย เป็นการไม่ปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์ ไม่ทำตามอย่างพระศาสดา ไม่สมกับเป็นศิษย์ของพระพุทธเจ้า จงรีบทำตัวให้สมกับที่เป็นศิษย์ของพระองค์ และจงเป็นชาวพุทธที่ดี
    ข. พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า คนที่โกรธเขาก่อนก็นับว่าเลวอยู่แล้ว คนที่ไม่มีสติรู้เท่าทันหลงโกรธตอบเขาไปอีก ก็เท่ากับสร้างความเลวให้ยืดยาวเพิ่มมากขึ้น นับว่าเลวหนักลงไปกว่าคนที่โกรธก่อนนั้นอีก เราอย่าเป็นทั้งคนเลว ทั้งคนเลวกว่านั้นเลย
    ค. พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนต่อไปอีกกว่าเขาโกรธมา เราไม่โกรธตอบไป อย่างนี้เรียกว่าชนะสงครามที่ชนะได้ยาก เมื่อรู้ทันว่าคนอื่นหรืออีกฝ่ายหนึ่งเขาขุ่นเคืองขึ้นมาแล้ว เรามีสติระงับใจไว้เสีย ไม่เคืองตอบ จะชื่อว่าเป็นผู้ทำประโยชน์ให้แก่ทั้งสองฝ่าย คือ ช่วยไว้ทั้งเขาและทั้งตัวเราเอง เพราะฉะนั้น เราอย่าทำตัวเป็นผู้แพ้สงครามเลย จงเป็นผู้ชนะสงครามและเป็นผู้สร้างประโยชน์เถิด อย่าเป็นผู้สร้างความพินาศวอดวายเลย
    ถ้าคิดนึกระลึกอย่างนี้แล้วก็ยังไม่หายโกรธให้พิจารณาขั้นที่สองต่อไปอีก
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    ขั้นที่ ๒ พิจารณาโทษของความโกรธ
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD> ในขั้นนี้มีพุทธพจน์ตรัสสอนไว้มากมาย เช่นว่า “คนขี้โกรธจะมีผิวพรรณไม่งาม คนขี้โกรธนอนก็เป็นทุกข์ ฯลฯ คนโกรธไม่รู้เท่าทันว่าความโกรธนั้นแหละคือภัยที่เกิดขึ้นข้างในตัวเอง พอโกรธเข้าแล้วก็ไม่รู้จักว่าอะไรเป็นประโยชน์ โกรธเข้าแล้วมองไม่เห็นธรรม เวลาถูกความโกรธครอบงำ มีแต่ความมืดตื้อ คนโกรธจะผลาญสิ่งใด สิ่งนั้นทำยากก็เหมือนทำง่าย แต่ภายหลังพอหายโกรธแล้ว ต้องเดือดร้อนใจเหมือนถูกไฟเผา”
    “แรกจะโกรธนั้น ก็แสดงความหน้าด้านออกมาก่อนเหมือนมีควันก่อนจะเกิดไฟ พอความโกรธแสดงเดชทำให้คนดาลเดือดได้ คราวนี้ละไม่มีกลัวอะไร ยางอายก็ไม่มี ถ้อยคำไม่มีคารวะ ฯลฯ คนโกรธฆ่าพ่อฆ่าแม่ของตัวเองก็ได้ ฆ่าพระอรหันต์ ฆ่าคนสามัญก็ได้ทั้งนั้น ลูกที่แม่เลี้ยงไว้จนได้ลืมตามองดูโลกนี้แต่มีกิเลสหนา พอโกรธขึ้นมาก็ฆ่าได้แม้แต่แม่ผู้ให้ชีวิตนั้น ฯลฯ”
    “กาลีใดไม่มีเท่าโทสะ” ฯลฯ “เคราะห์อะไรเท่าโทสะไม่มี”
    ความโกรธมีโทษก่อผลร้ายให้มากมาย อย่างพุทธพจน์นี้เป็นตัวอย่าง แม้เรื่องราวในนิทานต่าง ๆ และชีวิตจริงก็มีมากมาย ล้วนแสดงให้เห็นว่าความโกรธมีแต่ทำให้เกิดความเสียหายและความพินาศ ไม่มีผลดีอะไรเลยจึงควรฆ่ามันทิ้งเสีย อย่าเก็บเอาไว้เลย ฆ่าอะไรอื่นแล้วอาจจะต้องโศกเศร้าเสียใจ แต่ “ฆ่าความโกรธแล้วนอนเป็นสุข ฆ่าความโกรธแล้วไม่โศกเศร้าเลย”
    พิจารณาโทษของความโกรธทำนองนี้แล้วก็น่าจะบรรเทาความโกรธได้ แต่ถ้ายังไม่สำเร็จก็ลองวิธีต่อไปอีก
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    ขั้นที่ ๓ นึกถึงความดีของคนที่เราโกรธ
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD> ธรรมดาคนเรานั้น ว่าโดยทั่วไป แต่ละคน ๆ ย่อมมีข้อดีบ้าง ข้อเสียบ้าง มากบ้างน้อยบ้าง จะหาคนดีครบถ้วนบริบูรณ์ ไม่มีข้อบกพร่องเลย คงหาไม่ได้หรือแทบจะไม่มี บางทีแง่ที่เราว่าดี คนอื่นว่าไม่ดี บางทีแง่ที่เราว่าไม่ดี คนอื่นว่าดี เรื่องราว ลักษณะหรือการกระทำของคนอื่นที่ทำให้เราโกรธนั้น ก็เป็นจุดอ่อนหรือข้อบกพร่องของเขาอย่างหนึ่ง หรืออาจเป็นแง่ที่ไม่ถูกใจเรา เมื่อจุดนั้นแง่นั้นของเขาไม่ดีไม่ถูกใจเรา ทำให้เราโกรธ ก็อย่ามัวนึกถึงแต่จุดนั้น แง่นั้นของเขา พึงหันไปมองหรือระลึกถึงความดีหรือจุดอื่นที่ดีๆ ของเขา เช่น
    คนบางคน ความประพฤติทางกายเรียบร้อยดี แต่พูดไม่ไพเราะ หรือปากไม่ดี แต่ก็ไม่ได้ประพฤติเกะกะระรานทำร้ายใคร
    บางคนแสดงออกทางกายกระโดกกระเดกไม่น่าดู หรือการแสดงออกทางกายเหมือนไม่มีสัมมาคารวะ แต่พูดจาดี สุภาพ หรือไม่มีก็อาจพูดจามีเหตุมีผล หรือบางคนปากร้ายแต่ใจดีหรือสัมพันธ์กับคนอื่นไม่ค่อยดี แต่เขาก็รักงานตั้งใจทำหน้าที่ของเขาดี หรือคราวนี้เขาทำอะไรไม่สมควรแก่เรา แต่ความดีเก่า ๆ เขาก็มีเป็นต้น
    ถ้ามีอะไรที่ขุ่นใจกับเขา ก็อย่าไปมองส่วนที่ไม่ดี พึงมองหาส่วนที่ดีของเขาเอาขึ้นมาระลึกนึกถึง ถ้าเขาไม่มีความดีอะไรเลยที่จะให้มองเอาจริง ๆ ก็ควรคิดสงสาร ตั้งความกรุณา แต่เขาว่าโธ่ ! น่าสงสาร ต่อไปคนคนนี้คงจะต้องประสบผลร้ายต่าง ๆ เพราะความประพฤติไม่ดีอย่างนี้ นรกอาจรอเขาอยู่ ดังนี้เป็นต้น พึงระงับความโกรธเสีย เปลี่ยนเป็นสงสารเห็นใจหรือคิดช่วยเหลือแทน
    ถ้าคิดอย่างนี้ ก็ยังไม่หายโกรธ ลองวิธีขั้นต่อไปอีก
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    ขั้นที่ ๔ พิจารณาว่า ความโกรธ คือการสร้างทุกข์ให้ตัวเอง
    และเป็นการลงโทษตัวเองให้สมใจศัตรู
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD> ธรรมดาศัตรูย่อมปรารถนาร้าย อยากให้เกิดความเสื่อมและความพินาศวอดวายแต่กันและกัน คนโกรธจะสร้างความเสื่อมพินาศให้แก่ตัวเองได้ทั้งหลายอย่าง โดยที่ศัตรูไม่ต้องทำอะไรให้ลำบากก็ได้สมใจของเขา เช่น ศัตรูปรารถนาว่า “ขอให้มัน (ศัตรูของเขา) ไม่สวยไม่งาม มีผิวพรรณไม่น่าดู” หรือ “ขอให้มันนอนเป็นทุกข์ ขอให้มันเสื่อมเสียประโยชน์ ขอให้มันมันเสื่อมทรัพย์สมบัติ ขอให้มันเสื่อมยศ ขอให้มันเสื่อมมิตร ขอให้มันตายไปตกนรก” เป็นต้น เป็นที่หวังได้อย่างมากว่า คนโกรธจะทำผลร้ายเช่นนี้ให้เกิดแก่ตนเองตามปรารถนาของศัตรูของเขา ด้วยเหตุนี้ ศัตรูที่ฉลาดจึงมักหาวิธีแกล้งยั่วให้ฝ่ายตรงข้ามโกรธ จะได้เผลอสติทำการผิดผลาด เพลี่ยงพล้ำ
    เมื่อรู้เท่าทันเช่นนี้แล้ว ก็ไม่ควรจะทำร้ายตนเองด้วยความโกรธ ให้ศัตรูได้สมใจเขาโดยไม่ต้องลงทุนอะไร
    ในทางตรงข้าม ถ้าสามารถครองสติได้ จึงกระทบอารมณ์ที่น่าโกรธก็ไม่โกรธ จิตใจไม่หวั่นไหว สีหน้าผ่องใส กิริยาอาการไม่ผิดเพี้ยน ทำการงานธุระของตนไปได้ตามปกติ ผู้ที่ไม่ปรารถนาดีต่อเรานั่นแหละจะกลับเป็นทุกข์ ส่วนทางฝ่ายเราประโยชน์ที่ต้องการก็จะสำเร็จ ไม่มีอะไรเสียหาย
    อาจสอนตัวเองต่อไปอีกว่า
    “ถ้าศัตรูทำทุกข์ให้ที่ร่างกายของเจ้า แล้วไฉนเจ้าจึงมาคิดทำทุกข์ให้ที่ใจของตัวเอง ซึ่งมิใช่ร่างกายของศัตรูสักหน่อยเลย”
    “ความโกรธ เป็นตัวตัดรากความประพฤติดีงามทั้งหลายที่เจ้าตั้งใจรักษา เจ้ากลับไปพะนอความโกรธนั้นไว้ ถามหน่อยเถอะ ใครจะเซ่อเหมือนเจ้า”
    “เจ้าโกรธว่าคนอื่นทำกรรมที่ป่าเถื่อน แล้วไยตัวเจ้าเองจึงมาปรารถนาจะทำกรรมเช่นนั้นเสียเองเล่า”
    “ถ้าคนอื่นอยากให้เจ้าโกรธ จึงแกล้งทำสิ่งไม่ถูกใจให้ แล้วไฉนเจ้าจึงช่วยทำให้เขาสมปรารถนา ด้วยการปล่อยให้ความโกรธเกิดขึ้นมาได้เล่า”
    “แล้วนี่ เจ้าโกรธขึ้นมาแล้ว จะทำทุกข์ให้เขาได้หรือไม่ก็ตาม แต่แน่ๆ เดี๋ยวนี้เจ้าก็ได้เบียดเบียนตัวเองเข้าแล้วด้วยความทุกข์ใจ เพราะโกรธนั่นแหละ”
    “ศัตรูอาศัยความแค้นเคืองใด จึงก่อเหตุไม่พึงใจขึ้นได้ เจ้าจงตัดความแค้นเคืองนั้นเสียเถิด จะมาเดือดร้อนด้วยเรื่องไม่เป็นเรื่องไปทำไม”
    จงพิจารณาถึงขั้นปรมัตถ์ก็ได้ว่า
    “ขันธ์เหล่าใดก่อเหตุไม่พึงใจแก่เจ้า ขันธ์เหล่านั้นก็ดับไปแล้ว เพราะธรรมทั้งหลายเป็นเพียงชั่วขณะ แล้วทีนี้เจ้าจะมาโกรธให้ใครกันในโลกนี้”
    “ศัตรูจะทำทุกข์ให้แก่ผู้ใด ถ้าไม่มีตัวตนของผู้นั้นมารับทุกข์ ศัตรูนั้นจะทำทุกข์ให้ใครได้ ตัวเจ้าเองนั่นแหละเป็นเหตุของทุกข์อยู่ฉะนี้ แล้วทำไม่จะไปโกรธเขาเล่า
    ถ้าพิจารณาอย่างนี้ก็ยังไม่หายโกรธก็ลองพิจารณาขั้นต่อไป
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    ขั้นที่ ๕ พิจารณาความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD> พึงพิจารณาว่า ทั้งเราและเขาต่างก็มีกรรมเป็นสมบัติของตน ทำกรรมอะไรไว้ก็จะได้รับผลของกรรมนั้น เริ่มด้วยพิจารณาตัวเองว่าเราโกรธแล้วไม่ว่าจะทำอะไร การกระทำของเรานั้นเกิดจากโทสะ ซึ่งเป็นอกุศลมูล กรรมของเราก็ย่อมเป็นกรรมชั่วซึ่งก่อให้เกิดผลร้าย มีแต่ความเสียหาย ไม่เป็นประโยชน์ และเราจะต้องรับผลของกรรมนั้นต่อไป
    อนึ่ง เมื่อเราจะทำกรรมชั่วที่เกิดจากโทสะนั้น ก่อนเราจะทำร้ายเขา เราก็ทำร้ายแผดเผาตัวเราเองเสียก่อนแล้ว เหมือนเอามือทั้งสองกอบถ่านไฟจะขว้างใส่คนอื่น ก็ไหม้มือของตัวก่อน หรือเหมือนกับเอามือกอบอุจจาระ จะไปโปะใส่เขา ก็ทำตัวนั่นแหละ ให้เหม็นก่อน
    เมื่อพิจารณาความเป็นเจ้าของกรรมฝ่ายตนเองแล้ว ก็พิจารณาฝ่ายเขาบ้างในทำนองเดียวกัน เมื่อเขาโกรธเขาจะทำกรรมอะไรก็เป็นกรรมชั่ว และเขาก็จะต้องรับผลกรรมของเขาเองต่อไป กรรมชั่วนั้น จะไม่ช่วยให้เขาได้รับผลดีมีความสุขอะไร มีแต่ผลร้าย เริ่มตั้งแต่แผดเผาใจของเขาเองเป็นต้นไป
    ในเมื่อต่างคนต่างก็มีกรรมเป็นของตน เก็บเกี่ยวผลกรรมของตนเองอยู่แล้ว เราอย่ามัวคิดวุ่นวายอยู่เลย ตั้งหน้าทำแต่กรรมที่ดีไปเถิด
    ถ้าพิจารณากรรมแล้ว ความโกรธก็ยังไม่ระงับ พึงพิจารณา ขั้นต่อไป
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ต่อครับ

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    ขั้นที่ ๖ พิจารณาพระจริยาวัตรในปางก่อนของพระพุทธเจ้า
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD> พระพุทธเจ้าของเรานั้น กว่าจะตรัสรู้ ก็ได้ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งหลายมาตลอดเวลายาวนานนักหนา ได้ทรงบำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่น โดยยอมเสียสละแม้แต่พระชนมชีพของพระองค์เอง เมื่อทรงถูกข่มเหงกลั่นแกล้งเบียดเบียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ก็ไม่ทรงแค้นเคืองทรงเอาดีเข้าตอบ ถึงเขาจะตั้งตัวเป็นศัตรูถึงขนาดพยายามปลงพระชนม์ ก็ไม่ทรงมีจิตประทุษร้าย บางครั้งพระองค์ช่วยเหลือเขา แทนที่เขาจะเห็นคุณเขากลับทำร้ายพระองค์ แม้กระนั้นก็ไม่ทรงถือโกรธ ทรงทำดีต่อเขาต่อไป
    พุทธจริยาเช่นที่ว่ามานี้ เป็นสิ่งที่มนุษย์ทั่วไปยากที่จะปฏิบัติได้ แต่ก็เป็นแบบอย่างที่ดี ซึ่งชาวพุทธควรจะนำมาระลึกตักเตือนสอนใจตน ในเมื่อประสบเหตุการณ์ต่าง ๆ ว่า ที่เราถูกกระทบกระทั่งอยู่นี้ เมื่อเทียบกับที่พระพุทธเจ้าทรงประสบมาแล้ว นับว่าเล็กน้อยเหลือเกิน เทียบกันไม่ได้เลย
    ในเมื่อเหตุการณ์ที่พระพุทธเจ้าทรงประสบนั้น ร้ายแรงเหลือเกิน พระองค์ยังทรงระงับความโกรธไว้ มีเมตตาอยู่ได้ แล้วเหตุไฉนกรณีเล็กน้อยอย่างของเรานี้ ศิษย์อย่างเราจะระงับไม่ได้ ถ้าเราไม่ดำเนินตามพระจริยาวัตรของพระองค์ ก็น่าจะไม่สมควรแก่การที่อ้างเอาพระองค์เป็นพระศาสนาของตน
    พุทธจริยาวัตร เกี่ยวกับความเสียสละ อดทน และความมีเมตตากรุณาของพระพุทธเจ้าอย่างที่ท่านบันทึกไว้ในชาดก มีมากมายหลายเรื่อง และส่วนมากยืดยาว ไม่อาจนำมาเล่าในที่นี้ได้ จะขอยกตัวอย่างชาดกง่าย ๆ สั้น ๆ มาเล่าพอเป็นตัวอย่าง
    ครั้งหนึ่ง พระโพธิสัตว์อุบัติเป็นพระเจ้ากรุงพาราณสี มีพระนามว่าพระเจ้ามหาสีลวะ ครั้งนั้นอำมาตย์คนหนึ่งของพระองค์ทำความผิดถูกเนรเทศ และได้รับไปรับราชการในพระเจ้าแผ่นดิน แคว้นโกศล อำมาตย์นั้นมีความแค้นเคืองติดใจอยู่ ได้ให้โจรคอยเข้ามาปล้นในดินแดนของพระเจ้าสีลวะอยู่เนือง ๆ เมื่อราชบุรุษจับโจรได้ พระเจ้าสีลวะทรงสั่งสอนแล้วก็ปล่อยตัวไป เป็นเช่นนี้อยู่เสมอ
    ในที่สุดอำมาตย์ร้ายนั้นก็ใช้เหตุการณ์เหล่านี้ยุยงพระเจ้าโกศลว่า พระเจ้าสีลวะอ่อนแอ ถ้ายกทัพไปรุกราน คงจะยึดแผ่นดินพาราณสีได้โดยง่าย พระเจ้าโกศลทรงเชื่อ จึงยกกองทัพไปเข้าโจมตีพาราณสี พระเจ้าสีลวะไม่ทรงประสงค์ให้ราษฎรเดือดร้อน จึงไม่ทรงต่อต้าน ทรงปล่อยให้พระเจ้าโกศลยึดราชสมบัติจับพระองค์ไป พระเจ้าโกศลจับพระเจ้าสีลวะได้แล้ว ก็ให้เอาไปฝังทั้งเป็นในสุสานถึงแค่พระคอ รอเวลากลางคืนให้สุนัขจิ้งจอกมากินตามวิธีประหารอย่างในสมัยนั้น
    ครั้นถึงเวลากลางคืน เมื่อสุนัขจิ้งจอกเข้ามา พระเจ้าสีลวะ ทรงใช้ไหวพริบและความกล้าหาญ เอาพระทนต์ขบที่คอสุนับจิ้งจอกตัวที่เข้ามาจะกัดกินพระองค์ เมื่อสุนัขนั้นดิ้นรนรุนแรง ทำให้สุนัขตัวอื่นหนีไป และทำให้ดินบริเวณหลุมฝันนั้นกระจุยกระจายหลวมออกจนทรงแก้ไขพระองค์หลุดออกมาได้ ในคืนนั้นเองทรงเล็ดลอดเข้าไปได้จนถึงห้องบรรทมของพระเจ้าโกศล พร้อมด้วยดาบอาญาสิทธิ์ของพระเจ้าโกศลเอง ทรงไว้ชีวิตพระเจ้าโกศลและพระราชทานอภัยโทษ เพียงทรงกู้ราชอาณาจักรคืนแล้ว ให้พระเจ้าโกศลสาบาน ไม่ทำร้ายกันทรงสถาปนาให้เป็นพระสหายแล้วให้พระเจ้าโกศลกลับไปครองแคว้นโกศลตามเดิม
    อีกเรื่องหนึ่ง พระโพธิสัตว์อุบัติเป็นวานรใหญ่อยู่ในป่า ครานั้นชายผู้หนึ่งตามหาโคของตนเข้ามาในกลางป่าแล้วพลัดตกลงไปในเหวขึ้นไม่ได้ อดอาหารนอนเขม่วสิ้นหวังสิ้นแรงพอดีในวันที่สิบ พญาวานรมาพบเข้า เกิดความสงสารจึงช่วยให้ขึ้นมาจากเหวได้
    ต่อมา เมื่อพญาวรนรซึ่งเหนื่ออ่อนจึงพักผ่อนเอาแรง และนอนหลับไป ชายผู้นั้นเกิดความคิดชั่วร้ายขึ้นว่า “ลิงนี้มันก็อาหารของคนเหมือนสัตว์ป่าอื่นๆ นั่นแหละ อย่ากระนั้นเลย เราก็หิวแล้ว ฆ่าลิงตัวนี้กินเสียเถิด กินอิ่มแล้วจะได้ถือเอาเนื้อมันติดตัวไปเป็นเสบียงด้วยจะได้มีของกินเดินทางผ่านไปที่กันดารไปได้” คิดแล้วก็หาก้อนหินใหญ่มาก้อนหนึ่ง ยกขึ้นทุ่มหัวพญาวานร ก้อนหินนั้นทำให้พญาวานรบาดเจ็บมาก แต่ไม่ถึงตาย
    พญาวานรตื่นขึ้นรีบหนีขึ้นต้นไม้ มองชายผู้นั้นด้วยน้ำตานอง แล้วพูดกับเขาโดยดีทำนองให้ความคิดว่า ไม่ควรทำเช่นนั้น ครั้นแล้วยังเกรงว่าชายนั้นจะหลงหาทางออกจากป่าไม่ได้ ทั้งที่ตนเองก็เจ็บปวดแสนสาหัส ยังช่วยโดดไปตามต้นไม้นำทางให้ชายผู้นั้นออกจากป่าไปได้ในที่สุด
    แม้พิจารณาถึงอย่างแล้ว ความโกรธก็ยังไม่ระงับ พึงลองพิจารณาวิธีต่อไป
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    ขั้นที่ ๗ พิจารณาความเคยเกี่ยวข้องกันในสังสารวัฏ
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD> มีพุทธพจน์แห่งหนึ่งว่า ในสังสาระ คือการเวียนว่ายตายเกิดที่กำหนดจุดเริ่มต้นมิได้นี้ สัตว์ที่ไม่เคยเป็นมารดา ไม่เคยเป็นบิดา ไม่เคยเป็นบุตร ไม่เคยเป็นธิดากัน มิใช่หาได้ง่าย เมื่อเป็นเช่นนี้หากมีเหตุโกรธเคืองจากใคร พึงพิจารณาว่าท่านผู้นี้บางทีจะเคยเป็นมารดาของเรา ท่านผู้นี้บางทีจะเคยเป็นบิดาของเรา
    ท่านที่เป็นมารดานั้นรักษาบุตรไว้ในท้องถึง ๑๐ เดือน ครั้นคลอดออกมาแล้ว เลี้ยงดูไม่รังเกียจแม้แต่สิ่งปฏิกูลทั้งหลาย เช่น อุจจาระ ปัสสาวะ น้ำลาย น้ำมูก เป็นต้น เช็ดล้างได้สนิดใจ ให้ลูกนอนแนบอกเที่ยวอุ้มไป เลี้ยงลูกมาได้
    ส่วนท่านที่เป็นบิดา ก็ต้องเดินทางลำบากตรากตรำเสี่ยงภัยอันตรายต่างๆ ประกอบการค้าขายบ้าง สละชีวิตเข้าสู้รบในสงครามบ้าง แล่นเรือไปในท้องทะเลบ้าง ทำงานยากลำบากอื่นๆ บ้าง หาทางรวบรวมทรัพย์มาก็ด้วยคิดจะเลี้ยงลูกด้วย
    ถึงแม้ไม่ใช่เป็นมารดาบิดา ก็อาจะเป็นพี่เป็นน้องเป็นญาติเป็นมิตร ซึ่งได้เคยช่วยเหลือเกื้อกูลกันมา ได้ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน การที่จะทำใจร้ายและแค้นเคืองต่อบุคคลเช่นนั้นไม่เป็นการสมควร
    ถ้าพิจารณาอย่างนี้แล้วก็ยังไม่หายโกรธก็อาจพิจารณา ตามวิธีในข้อต่อไปอีก
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    ขั้นที่ ๘ พิจารณาอานิสงค์ของเมตตา
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD> ธรรมที่ตรงข้ามกับความโกรธ ก็คือ เมตตา ความโกรธมีโทษก่อผลร้ายมากมาย ฉันใด เมตตา ก็มีคุณ ก่อให้เกิดผลดีมาก ฉันนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ควรที่จะระงับความโกรธเสีย แล้วตั้งจิตเมตตาขึ้นมาแทน ให้เมตตานั้นแหละช่วยกำจัดและป้องกันความโกรธไปในตัว
    ผู้มีเมตตาย่อมสามารถเอาชนะใจคนอื่น ซึ่งเป็นชัยชนะที่เด็ดขาด ไม่กลับแพ้ ผู้ตั้งอยู่ในเมตตาชื่อว่าทำประโยชน์ทั้งแก่ตัวเองและผู้อื่น เมตตาทำให้จิตใจสดชื่น ผ่องใสมีความสุขดังตัวอย่างในที่แห่งหนึ่ง พระพุทธเจ้าตรัสแสดงอานิสงส์ของเมตตาไว้ ๑๑ ประการ คือ หลับก็เป็นสุข ตื่นก็เป็นสุข ไม่ฝันร้าย เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย เทวดารักษา ไฟ พิษ และศัสตราไม่กล้ำกรายจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิได้รวดเร็วสีหน้าผ่องใส ตายก็มีสติไม่หลงฟั่นเฟือน เมื่อยังไม่บรรลุคุณธรรมที่สุงกว่า ย่อมเข้าถึงพรหมโลก
    ถ้ายังเป็นคนขี้โกรธอยู่ ก็นับว่ายังอยู่ห่างไกลจากการที่จะได้อานิสงส์เหล่านี้ ดังนั้น จึงควรพยายามทำเมตตาให้เป็นธรรมประจำใจให้จงได้ โดยหมั่นฝึกอบรมทำใจอยู่เสมอๆ
    ถ้าจิตใจเมตตายังไม่เข้มแข็งพอ เอาชนะความโกรธยังไม่ได้ เพราะสั่งสมนิสัยมักโกรธไว้ยาวนาน จนกิเลสตัวนี้แน่นหนา พึงลองพิจารณาใช้วิธีต่อไป
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    ขั้นที่ ๙ พิจารณาโดยวิธีแยกธาตุ
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD> วิธีการข้อนี้ เป็นการปฏิบัติใกล้แนววิปัสสนา หรือเอาความรู้ทางวิปัสสนามาใช้ประโยชน์ คือ มองดูชีวิตนี้ มองดูสัตว์ บุคคล เรา เขา ตามความเป็นจริงว่า ที่ถูกที่แท้แล้วก็เป็นแต่เพียงส่วนประกอบทั้งหลายมากมายมาประชุมกันเข้า แล้วก็สมมติเรียกกันไปว่าเป็นคน เป็นสัตว์ เป็นฉัน เป็นเธอ เป็นเรา เป็นเขา เป็นนาย ก. นาง ข. เป็นต้น ครั้นจะชี้ชัดลงไปที่ตรงไหนว่าเป็นคน เป็นเรา เป็นนาย ก. นาง ข. ก็หาไม่พบ มีแต่ส่วนที่เป็นธาตุแข็งบ้าง ธาตุเหลวบ้าง เป็นรูปขันธ์บ้าง เป็นเวทนาขันธ์บ้าง เป็นสัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ หรือวิญญาณขันธ์บ้าง หรือเป็นอายตนะต่างๆ เช่น ตาบ้าง หูบ้าง จมูกบ้าง เป็นต้น
    เมื่อพิจารณาตามความจริงแยกให้เป็นส่วน ๆ ได้อย่างนี้แล้ว พึงสอนตัวเองว่า “นี่แหละเธอเอ๋ย ก็ที่โกรธเขาอยู่น่ะโกรธอะไร โกรธผมหรือโกรธขน หรือโกรธหนัง โกรธเล็บ โกรธกระดูก โกรธธาตุดิน โกรธธาตุน้ำ โกรธธาตุไฟ โกรธธาตุลม หรือโกรธรูป โกรธเวทนา โกรธสัญญา โกรธสังขาร โกรธวิญญาณ หรือโกรธอะไรกัน” ในที่สุดจะหาฐานที่ตั้งของความโกรธไม่ได้ ไม่มีที่ยึดที่เกาะให้ความโกรธจับตัว
    อาจพิจารณาต่อไปในแนวนั้นอีกว่าในเมื่อคนเรา ชีวิตเราเป็นแต่เพียงสมมติบัญญัต ความจริงก็มีแต่ธาตุ หรือขันธ์ หรือนามธรรมและรูปธรรมต่าง ๆ มาประกอบกันเข้า แล้วเราก็มาติดสมมตินั้น ยึดติดถือมั่นหลงวุ่นวายทำตัวเป็นหุ่นถูกชักถูกเชิดกันไป การที่เขาโกรธ กระฟัดกระเฟียด งุ่มง่าน เคืองแค้นกันไปนั้น มองลงไปให้ถึงแก่นสาร ให้ถึงสภาวะความเป็นจริงแล้วก็เหลวไหลไร้สาระทั้งเพ ถ้ามองความจริงทะลุสมมติบัญญัติลงไปได้ถึงขั้นนี้แล้ว ความโกรธก็จะหายตัวไปเอง
    อย่างไรก็ตาม คนบางคนจิตใจและสติปัญญายังไม่พร้อม ไม่อาจพิจารณาแยกธาตุออกไปอย่างนี้ได้หรือสักว่าแยกไปตามที่ ได้ยินได้ฟังได้อ่านมา แต่มองไม่เห็นความจริงเช่นนั้นก็แก้ความโกรธไม่สำเร็จ ถ้าเป็นเช่นนั้น ก็พึงดำเนินการตามวิธีต่อไป
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    ขั้นที่ ๑๐ ปฏิบัติทาน คือ การให้หรือการแบ่งปันสิ่งของ
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD> ขั้นนี้เป็นวิธีการในขั้นลงมือทำเอาของของตนให้แก่คนที่เป็นปรปักษ์ และรับของของปรปักษ์มาเพื่อตน หรืออย่างน้อยอาจให้ของของตนแก่เขาฝ่ายเดียว ถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นควรมีปิยวาจา คือ ถ้อยคำสุภาพไพเราะ ประกอบเสริมไปด้วย
    การให้หรือแบ่งปันกันนี้ เป็นวิธีแก้ความโกรธที่ได้ผลชะงัด สามารถระงับเวรที่ผูกกันมายาวนานให้สงบลงได้ ทำให้ศัตรูกลายเป็นมิตรเป็นเมตตากรุณาที่แสดงออกในการกระทำ ท่านกล่าวถึงอานุภาพยิ่งใหญ่ของทาน คือการให้นั้นว่า
    “การให้เป็นเครื่องฝึกคนที่ยังฝึกไม่ได้ การให้ยังสิ่งประสงค์ทั้งปวงให้สำเร็จได้ ผู้ให้ก็เบิกบานขึ้นมาหาด้วยการให้ ฝ่ายผู้ได้รับก็น้อมลงมาพบด้วยปิยวาจา”
    เมื่อความโกรธเลือนหาย ความรักใคร่ก็เข้ามาแทน ความเป็นศัตรูกลับกลายเป็นเป็นมิตรไฟพยาบาทก็กลายเป็นน้ำทิพย์แห่งเมตตา ความแผดเผาเร่าร้อนด้วยทุกข์ที่เร้ารุมใจ ก็กลายเป็นความสดชื่นผ่องใสเบิกบานใจด้วยความสุข
    วิธีทั้ง ๑๐ ที่ว่ามาเป็นขั้นๆ นี้ ความจริงมิใช่จำเป็นต้องทำไปตามลำดับเรียงรายข้ออย่างนี้ วิธีใดเหมาะได้ผลสำหรับตน ก็พึงใช้วิธีนั้น ตกลงว่า วิธีการท่านก็ได้แนะนำไว้อย่างนี้แล้ว เป็นเรื่องของผู้ต้องการแก้ปัญหา จะพึงนำไปใช้ปฏิบัติให้เกิดประโยชน์แท้จริงต่อไป*
    .....................
    * เรื่องนี้ เขียนตามแนวคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ ภาค ๒ หน้า ๙๓–๑๐๖ แต่แทรกเสริมเติมและตัดต่อเรียบเรียงใหม่ตามที่เห็นสมควร ของเดิมมี ๙ วิธี ในที่นี้ขยายออกเป็น ๑๐ วิธี และเนื้อหาเก่า ท่านมุ่งสอนพระภิกษุผู้บำเพ็ญเมตตากรรมฐาน ในที่นี้เขียนปรับความให้เหมาะแก่คนทั่วไป
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    <TABLE width="80%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE borderColor=#f7f7f7 width="80%" align=center border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff bgColor=#f7f7f7><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    ประวัติย่อของผู้เขียน
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD> พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) มีถิ่นเกิดในจังหวัดสุพรรบุรี บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๒ ปี ที่วัดบ้านกร่าง อำเภอศรีประจันต์
    เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้เข้าฝึกวิปัสสนา เมื่อจบการฝึกที่จัดขึ้นแล้ว พระอาจารย์ผู้นำปฏิบัติได้ชวนไปอยู่ประจำในสำนักวิปัสสนาแต่โยมบิดาไม่ยินยอม
    จากนั้นได้ย้ายเข้ามาอยู่ที่วัดพระพิเรนทร์ กรุงเทพมหานคร เรียนพระปริยัติธรรมจนสอบเปรียญธรรม ๙ ประโยคได้ขณะยังเป็นสามเณร จึงได้รับการอุปสมบทในพระบรมราชานุเคราะห์ เป็นนาคหลวง ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๐๔ สอบได้ปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ ๑) จากมหาจุฬาฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๕ และสอบได้วิชาชุดครู พ.ม. เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๖

    การบำเพ็ญศาสนกิจ
    พ.ศ. ๒๕๐๗ เริ่มเป็นอาจารย์สอนในชั้นปริญญาตรีพุทธศาสตรบัณฑิต ของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และบางปี บรรยายที่คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และในโครงการศาสนาเปรียบเทียบ มหาวิทยาลัยมหิดล
    เคยดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    เคยเป็นเจ้าอาวาสวัดพระพิเรนทร์ กรุงเทพมหานคร
    พ.ศ. ๒๕๑๕ บรรยายวิชาพุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทย ที่ University Museum, University of Pennsylvania สหรัฐอเมริกา
    พ.ศ. ๒๕๑๙ บรรยายวิชาการพุทธศาสนาที่ Swarthmore College, Pennsylvania
    พ.ศ. ๒๕๒๔ บรรยายวิชาการพระพุทธศาสนา ในหลักสูตรของ Divinity Faculty และ Arts Faculty, Harvard University
    ปัจจุบันเป็นเจ้าอาวาสวัดญาณเวศวัน ต.บางกระทึก อ.สามพราน จ.นครปฐม

    ๑๓ สถาบันการศึกษา ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
    พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ม.มหาจุฬาฯ), ศิลปศาสตร-(ม.ธรรมศาสตร์), ศึกษาศาสตร–(ม.ศิลปกร), ศิลปศาสตร-(ม.เกษตรศาสตร์), อักษรศาสตร-(จุฬาลงกรณ์ฯ), ศิลปศาสตร-(ม.มหิดล), การศึกษา-(ม.ศรีนครินทรวิโรฒ), ปรัชญา-(ม.รามคำแหง),ศึกษาศาสตร-(ม.สงขลานครินทร์), ตรีปิฎกาจารย์กิตติมศักดิ์ (นวนาลันทาฯ อินเดีย),อักษรศาสตร-(ม.มหิดล), วิทยาศาสตร์-(ม.เชียงใหม่), ศาสนศาสตร-(ม.มหามกุฎฯ)
    ประกาศเกียรติคุณและรางวัล
    พ.ศ. ๒๕๒๕ ประกาศเกียรติคุณ ในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา ในการฉลอง ๒๐๐ ปี กรุงรัตนโกสินทร์
    พ.ศ. ๒๕๓๒ พระราชทานโล่รางวัล “มหิดลวรานุสรณ์”
    พ.ศ. ๒๕๓๗ รางวัล “การศึกษาเพื่อสันติภาพ” จากองค์การยูเนสโก (UNESCO Prize for Peace Education)
    พ.ศ. ๒๕๓๘ เป็น “ผู้ทรงคุณวุติทางวัฒนธรรม” คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
    พ.ศ. ๒๕๔๔ รางวัล “สาโรช บัวศรี ปราชญ์ผู้ทรงศีล” จาก ม.ศรีนครินทรวิโรฒ
    พ.ศ. ๒๕๔๔ มีพระบรมราชาโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็น ศาสตราจารย์พิเศษ ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    ผลงานทางพระพุทธศาสนาและวิชาการทั่วไป
    งานหลักด้านหนึ่ง คือ การบรรยายปาฐกถา และธรรมเทศนา ทั้งภายในประเทศและในที่ประชุมนานาชาติ ซึ่งมีผู้ขอนำไปพิมพ์เป็นหนังสือแจกจ่ายกว้างขวางออกไป
    งานพิมพ์มากว่า ๒๕๗ เรื่อง เช่น พุทธธรรม, พจนานุกรมพุทธศาสตร์ : ฉบับประมวลธรรม, พจนานุกรมพุทธศาสตร์ : ฉบับประมวลศัพท์, ธรรมนูญชีวิต, พุทธศาสนาในฐานะเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์, นิติศาสตร์แนวพุทธ, Thai Buddhism in the Buddhist World, Buddhist Economics เป็นต้น
    นอกจากนั้น พระธรรมปิฎกได้รับนิมนต์เป็นที่ปรึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล ในการจัดทำพระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์สำเร็จสมบูรณ์เป็นฉบับแรกของโลก
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    พระป่า

    ที่มา http://www.dhammajak.net/watpa/pa01.php

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#99cc00 height=23>พระป่า</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=20 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 width="94%" align=center bgColor=#f7f7f7 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top height=61>
    พระภิกษุในพระพุทธศาสนาแบ่งออกได้เป็นสองฝ่ายคือ ฝ่ายคันถธุระ และฝ่ายวิปัสสนาธุระ ฝ่ายคันถธุระ ศึกษาพระปริยัติธรรม คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเพื่อให้เกิดความรอบรู้ในหลักธรรม เพื่อนำไปประพฤติปฏิบัติ และสั่งสอนผู้อื่นต่อไป พระภิกษุฝ่ายนี้เมื่อศึกษาแล้วจะเกิดปัญญาที่เรียกว่า สุตตามยปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดจากการเรียนรู้จากภายนอกโดยการฟังการเห็นเป็นต้น ส่วนใหญ่พระภิกษุฝ่ายคันถธุระ มักจะอยู่ที่วัดในเมืองหรือหมู่บ้าน เพื่อความสะดวกในการแสวงหาความรู้เพื่อตนเองจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ และได้ใช้ความรู้นั้น ๆ สั่งสอนผู้อื่นได้ง่าย ได้บ่อยครั้งและได้เป็นจำนวนมาก จึงเรียกพระภิกษุฝ่ายนี้อีกอย่างหนึ่งว่าเป็นฝ่ายคามวาสี หรือพระบ้าน

    อีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่าฝ่ายวิปัสสนาธุระ นำเอาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไปประพฤติปฏิบัติอย่างเคร่งครัด จริงจังโดยเน้นที่การฝึกจิตในด้านสมาธิ เพื่อให้เกิดปัญญาในลักษณะของภาวนามยปัญญา อันเป็นความรู้ที่แท้จริงตามหลักของพระพุทธศาสนา เป็นปัญญาที่เกิดจากภายในผุดเกิดขึ้นเองเมื่อได้ปฏิบัติสัมมาสมาธิ จนถึงระดับหนึ่งคือ จตุตถฌานแล้วกระทำในในให้แยบคายน้อมไปไปสู่ที่ใต้ต้นวิชชาสาม ซึ่งจะเป็นความรู้ตามความเป็นจริงในระดับหนึ่ง ตามกำลังความสามารถของผู้ปฏิบัตินั้น ๆ อันเป็นหนทางนำไปสู่ความหลุดพ้นจากวัฏสงสาร ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางอันสูงสุดของพระพุทธศาสนา การปฏิบัติเพื่อให้บรรลุผลดังกล่าวจำเป็นต้องหาที่สงบสงัด ห่างไกลต่อการรบกวนจากภายนอกในรูปแบบต่าง ๆ ดังนั้นพระภิกษุฝ่ายนี้จึงออกไปสู่ป่าเขา แสวงหาสถานที่ เพื่อให้เกิดสัปปายะแก่ตนเองที่จะบำเพ็ญสมาธิภาวนาอย่างได้ผล จึงเรียกพระภิกษุฝ่ายนี้ว่า ฝ่ายอรัญวาสี หรือพระป่า หรือพระธุดงค์

    ในสมัยพุทธกาล พระภิกษุทุกรูปจะเป็นพระป่า พระผู้มีพระภาคสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกำชับให้ภิกษุสาวกของพระองค์ ให้ออกไปสู่โคนไม้ คูหาหรือเรือนร้าง เพื่อปฏิบัติสมาธิภาวนา

    พระพุทธเจ้าประสูติในป่า คือที่ป่าลุมพินีวัน ณ เขตติดต่อแดนระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวทหะ ตรัสรู้ที่ใต้ต้นอัสสัตถพฤกษ์ ในป่าริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เขตกรุงสาวัตถี แคว้นมคธ ทรงแสดงพระปฐมเทศนาที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงกรุงพาราณสี และเข้าสู่ปรินิพพานที่ป่าในเขตกรุงกุสินาราย ตลอดระยะเวลา ๕๑ ปี พระพุทธเจ้าได้ทรงจาริกไปสั่งสอนเวไนยสัตว์ และเสด็จประทับอยู่ในป่า เมื่อมีผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาสร้างวัดถวายก็จะสร้างวัดในป่า เช่น เชตวัน เวฬุวัน อัมพวัน ลัฏฐิวัน ชีวกัมพวัน มัททกุจฉิมฤคทายวัน อันธวัน และนันทวัน เป็นต้น คำว่าวันแปลว่าป่า พระพุทธองค์จะประทับอยู่ในวัดดังกล่าวตอนช่วงพรรษา ปีหนึ่งไม่เกินสี่เดือน นอกจากนั้นจะเสด็จจาริกนอนตามโคนไม้ตามป่า

    พระป่าของไทย
    พระป่าของไทย หมายถึงพระที่อยู่ตามธรรมชาติเช่นเดียวกับ พระบรมศาสดาอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระสาวกตั้งแต่สมัยพุทธกาล เป็นผู้ที่บรรพชาอุปสมบทถูกต้องครบถ้วนตามพระธรรมวินัย ไม่ผิดกฏหมายของบ้านเมือง บวชด้วยความเลื่อมใสศรัทธาอย่างเปี่ยมล้นและบริสุทธิ์ใจในบวรพุทธศาสนา เมื่อบวชแล้วก็มุ่งมั่นบำเพ็ญเพียร ตามหลักพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด เพื่อให้บรรลุธรรม อันนำไปสู่การพ้นจากวัฏสงสาร ทำให้พ้นจากกองทุกข์ อันเป็นจุดหมายอันสูงสุดของพระพุทธศาสนา

    ในสมัยสุโขทัยต่อเนื่องมายังสมัยอยุธยา เรามีพระภิกษุฝ่ายคามวาสี เน้นทางด้านคันถธุระ และฝ่ายอรัญวาสีเน้นทางด้านวิปัสสนาธุระ ดังจะเห็นได้ในประวัติศาสตร์ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ครั้งที่กระทำสงครามยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาแม่ทัพพม่า ได้ชัยชนะ แต่แม่ทัพนายกองหลายคนกระทำการบกพร่องได้รับการพิจารณาโทษ สมเด็จพระนพรัตน์แห่งวัดป่าแก้วและคณะ ได้เสด็จมาแสดงธรรมเพื่อให้ทรงยกโทษประหารแก่ แม่ทัพนายกองเหล่านั้น โดยยกเอาเหตุการณ์ตอนที่พระพุทธองค์ผจญพญามาร ในคืนวันที่ จะทรงตรัสรู้มาเป็นอุทาหรณ์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงปิติโสมนัส ซาบซึ้งในพระธรรมที่สมเด็จพระนพรัตน์วัดป่าแก้ว ทรงแสดงยิ่งนักตรัสว่า "พระผู้เป็นเจ้าว่านี้ควรหนักหนา" และได้ทรงพระราชทานอภัยโทษประหารแก่แม่ทัพนายกองเหล่านั้น

    จะเห็นว่าสมเด็จพระนพรัตน์วัดป่าแก้ว เป็นพระภิกษุฝ่ายอรัญวาสี จึงได้ชื่อนี้ และอยู่ที่วัดป่า แต่ก็มิได้ตัดขาดจากโลกภายนอก เมื่อมีเหตุการณ์สำคัญที่ฝ่ายพระภิกษุสงฆ์สมควรที่จะออกมาสงเคราะห์ฝ่ายบ้านเมือง หรืออาจจะกล่าวโดยรวมว่า ฝ่ายศาสนจักรสงเคราะห์ฝ่ายอาณาจักร ท่านก็สามารถกระทำกิจนี้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ อย่างผู้ที่แตกฉานในพระไตรปิฎก ดังนั้น พระภิกษุสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสีผู้ปฏิบัติวิปัสสนาธุระ จะต้องมีความรู้ทางคันถธุระเป็นอย่างดีมาก่อน จะได้ปฏิบัติวิปัสสนาธุระได้อย่างถูกต้องตรงทาง คุณสมบัติข้อนี้ได้มีตัวอย่างมาแล้วแต่โบราณกาล

    ในสมัยรัตนโกสินทร์ มีพระภิกษุที่เป็นแบบอย่างของพระป่าในปัจจุบัน เป็นที่รู้จักกันดีคือ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท จันทร์) อดีตเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส กรุงเทพ ฯ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ทั้งสามท่านมีกิตติศัพท์เป็นที่เลื่องลือ ในดินแดนแห่งพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ทั้งในประเทศไทย ประเทศลาว และประเทศพม่า สำหรับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็นพระภิกษุที่มีศิษย์เป็นพระป่ามากที่สุดสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ท่านได้บรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๖ และมรณภาพ เมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๙๖ นับจากปี พ.ศ.๒๔๖๐ จนมรณภาพท่านได้ออกสั่งสอนศิษย์เป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ขั้นต้นจนถึงขั้นสูงสุด โดยเน้นภาคปฏิบัติที่เป็นจิตภาวนาล้วน ๆ ตามแนวทางพระอริยมรรคมีองค์แปด เมื่อกล่าวโดยย่อได้แก่ ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
    [​IMG]
    ปัจจัยสี่ของพระป่า
    ปัจจัยที่จำเป็นสำหรับพระภิกษุในพระพุทธศาสนา เพื่อให้พอเหมาะแก่การดำรงชีวิตอยู่สำหรับการปฏิบัติธรรม พระพุทธเจ้าทรงประทานไว้สี่อย่าง พระป่าของไทยได้นำมาประพฤติปฏิบัติจนถือเป็นนิสัยคือ

    ๑. การออกเที่ยวบิณฑบาตมาเลี้ยงชีพตลอดชีวิต การบิณฑบาตเป็นงานสำคัญประจำชีวิต ในอนุศาศน์ท่านสั่งสอนไว้มีทั้งข้อรุกขมูลเสนาสนะ และข้อบิณฑบาต การออกบิณฑบาต พระผู้มีพระภาคทรงถือเป็นกิจจำเป็นประจำพระองค์ ทรงถือปฏิบัติเพื่อโปรดเวไนยสัตว์อย่างสม่ำเสมอตลอดมาถึงวันปรินิพพาน

    การบิณฑบาต เป็นกิจวัตรที่อำนวยประโยชน์แก่ผู้บำเพ็ญเป็นเอนกปริยาย กล่าวคือ เวลาเดินบิณฑบาตไปในละแวกบ้าน ก็เป็นการบำเพ็ญเพียรไปในตัวตลอดเวลาที่เดิน เช่นเดียวกับเดินจงกรมอยู่ในสถานที่พักประการหนึ่ง เป็นการเปลี่ยนอิริยาบถในเวลานั้นประการหนึ่ง ผู้ที่บำเพ็ญทางปัญญาโดยสม่ำเสมอ เมื่อเวลาเดินบิณฑบาต เมื่อได้เห็นหรือได้ยินสิ่งต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาสัมผัสทางทวารย่อมเป็นเครื่องเสริมสติปัญญา และถือเอาประโยชน์จากสิ่งนั้น ๆ ได้โดยลำดับประการหนึ่ง เพื่อตัดความเกียจคร้านของตนที่ชอบแต่ผลอย่างเดียว แต่ขี้เกียจทำเหตุที่คู่ควรแก่กันประการหนึ่ง และเพื่อตัดทิฏฐิมานะถือตน รังเกียจต่อการโคจรบิณฑบาต อันเป็นลักษณะของการเป็นผู้ขอ

    เมื่อได้อะไรมาจากบิณฑบาตก็ฉันอย่างนั้น พอยังอัตภาพให้เป็นไป ไม่พอกพูนส่งเสริมกายให้มาก อันจะเป็นข้าศึกต่อความเพียรทางใจให้ก้าวหน้าไปได้ยาก การฉันหนเดียวในหนึ่งวันก็ควรฉันเถิดแต่พอประมาณ ไม่ให้มากเกินไป และยังต้องสังเกตด้วยว่าอาหารชนิดใดเป็นคุณแก่ร่างกาย และเป็นคุณแก่จิต เพื่อให้สามารถปฏิบัติสมาธิภาวนาได้ด้วยดี

    ๒. การถือผ้าบังสุกุลจีวรตลอดชีวิต ในสมัยพุทธกาล พระผู้มีพระภาคทรงสรรเสริญพระมหากัสสปะว่า เป็นผู้เลิศในการทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร

    ผ้าบังสุกุล คือผ้าที่ถูกทอดทิ้วไว้ตามป่าช้า เช่นผ้าห่อศพ หรือผ้าที่ทิ้งไว้ตามกองขยะ ซึ่งเป็นของเศษเดนทั้งหลาย ไม่มีใครหวงแหน พระภิกษุเอามาเย็บติดต่อกันตามขนาดของผ้าที่จะทำเป็นสบง จีวร สังฆาฏิ ได้ประมาณแปดนิ้วจัดเป็นผ้ามหาบังสุกุล ผ้าบังสุกุลอีกประเภทหนึ่งที่เป็นรองลงมา ผู้ที่มีจิตศรัทธานำผ้าที่ตนได้มาด้วยความบริสุทธิ์ไปวางไว้ในสถานที่พระภิกษุเดินจงกรมบ้าง ที่กุฏิบ้าง หรือทางที่ท่านเดินผ่านไปมา แล้วหักกิ่งไม้วางไว้ที่ผ้า หรือจะจุดธูปเทียนไว้ พอให้ท่านรู้ว่าเป็นผ้าถวายเพื่อบังสุกุลเท่านั้น

    ๓. รุกขมูลเสนาสนัง ถือการอยู่โคนไม้ในป่าเป็นที่อยู่อาศัย มหาบุรุษโพธิสัตว์ก่อนทรงตรัสรู้ในระหว่างที่แสวงหาโมกขธรรมอยู่หกปี ก็ได้มีความเป็นอยู่อย่างนี้มาโดยตลอด ดังนั้น พระพุทธองค์จึงทรงแนะนำพระสาวกให้เน้นการอยู่ป่าเป็นส่วนใหญ่ จำทำให้การปฏิบัติธรรมก้าวหน้ากว่าการอยู่ที่อื่น

    ๔. การฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่าตลอดชีวิต เป็นการฉันยาตามมีตามได้ หรือเที่ยวแสวงหายาตามป่าเขา อันเกิดตามธรรมชาติเพื่อบรรเทาเวทนาของโรคทางกายเท่านั้น
    [​IMG]
    กิจวัตรของพระป่า
    กิจวัตรที่สำคัญในพระพุทธศาสนา เป็นแนวปฏิบัติของพระป่า ที่ปฏิบัติอยู่เป็นประจำมีอยู่สิบประการคือ
    ๑. ลงพระอุโบสถในอาวาสหรือที่ใด ๆ มีพระภิกษุตั้งแต่สี่รูปขึ้นไป ต้องประชุมกันลงฟังพระปาฏิโมกข์ ทุก ๑๕ วัน (ครึ่งเดือน)
    ๒. บิณฑบาตเลี้ยงชีพตลอดชีวิต
    ๓. ทำวัตรสวดมนต์ เช้า - เย็นทุกวัน เว้นแต่เจ็บไข้อาการหนัก พระป่าจะทำวัตรสวดมนต์เอง ไม่ได้ประชุมรวมกันทำวัตรสวดมนต์เหมือนพระบ้าน
    ๔. กวาดเสนาสนะ อาวาส ลานพระเจดีย์ ลานวัด และบริเวณใต้ต้นมหาโพธิ ถือเป็นกิจวัตรสำคัญ เป็นเครื่องมือขจัดความเกียจคร้านมักง่ายได้เป็นอย่างดี พระวินัยได้แสดงอานิสงส์ไว้ ห้าประการ คือ หนึ่งในห้าประการนั้นคือ
    ผู้กวาดชื่อว่าเป็นผู้ดำเนินตามคำสั่งสอนของพระศาสดา เบื้องหน้าแต่ตายเพราะทำลายขันธ์ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
    ๕. รักษาผู้ไตรครองคือ สังฆาฏิ จีวร และสบง
    ๖. อยู่ปริวาสกรรม
    ๗. ปลงผม โกนหนวด ตัดเล็บ
    ๘. ศึกษาสิกขาบท และปฏิบัติอาจารย์
    ๙. แสดงอาบัติคือ การเปิดเผยโทษที่ตนทำผิดพระวินัยที่เป็นลหุโทษ แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งให้ทราบ และสัญญาว่าจะสำรวมระวังมิให้เกิดทำผิดเช่นนั้นอีก
    ๑๐. พิจารณาปัจจเวกขณะทั้งสี่ ด้วยความไม่ประมาท คือ พิจารณาสังขาร ร่างกาย จิตใจ ให้เป็นของไม่เที่ยงถาวรที่ดีงามได้ยาก ให้เห็นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพื่อเป็นอุบายทางปัญญาอยู่ตลอดเวลาในอิริยาบถทั้งสี่ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน

    ธุดงควัตรของพระป่า
    ธุดงค์ที่พระผู้มีพระภาคให้ปฏิบัติเพื่อขจัดกิเลสที่ฝังอยู่ภายใจจิตใจของปุถุชน มีอยู่ ๑๓ ข้อ ดังนี้
    ๑. ปังสุกูลิกังคะ ถือใช้แต่ผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
    ๒. เตจีวริกังคะ ถือใช้ผ้าเพียงสามผืนเป็นวัตร
    ๓. ปิณฑปาติกังคะ ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
    ๔. สปทานจาริกังคะ ถือการเที่ยวบิณฑบาตไปตามแถวเป็นวัตร เพื่อเป็นความงามในเพศสมณะในทางมรรยาท สำรวมระวังอยู่ในหลักธรรม หลักวินัย
    ๕. เอกาสนิกังคะ ถือการฉันมื้อเดียวเป็นวัตร เพื่อตัดกังวลในเรื่องการฉันอาหารให้พอเหมาะกับเพศสมณะให้เป็นผู้เลี้ยงง่าย ไม่รบกวนคนอื่นให้ลำบาก
    ๖. ปัตตปิณฑิกังคะ คือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร ฉันเฉพาะในบาตร เพื่อขจัดความเพลิดเพลินในรสอาหาร
    ๗. ขลุปัจฉาภัตติกังคะ ถือการห้ามฉันภัตอันนำมาถวายเมื่อภายหลังเป็นวัตร
    ๘. อารัญญิกังคะ ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
    ๙. รุกขมูลิกังคะ ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร ข้อนี้ตามแต่กาลเวลาและโอกาสจะอำนวยให้
    ๑๐. อัพโภกาลิกังคะ ถือการอยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร ข้อนี้ก็คงตามแต่โอกาส และเวลาจะอำนวยให้
    ๑๑. โสสานิกังคะ ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร ขึ้นอยู่กับผู้ปฏิบัติให้เหมาะกับเวลาและโอกาส
    ๑๒. ยถาสันถติกังคะ ถือการอยู่เสนาสนะแล้วแต่เข้าจัดให้ มีความยินดีเท่าที่มีอยู่ไม่รบกวนผู้อื่น อยู่ไปพอได้บำเพ็ญสมณธรรม
    ๑๓. เนสัชชิกังคะ ถือการ ยืน เดิน นั่ง อย่างเดียว ไม่นอนเป็นวัตร โดยกำหนดเป็นคืน ๆ ไป

    เครื่องบริขารของพระป่า
    เครื่องบริขารของพระป่า ตามพระวินัยกล่าวไว้มีสองชนิด คือ บาตรดินเผา และบาตรเหล็ก ปัจจุบันใช้บาตรเหล็กที่ระบมด้วยไฟ เพื่อป้องกันสนิม

    สบงหรือผ้านุ่ง จีวรหรือผ้าห่ม และสังฆาฏิ เป็นบริขารที่จำเป็นสำหรับพระภิกษุ ผ้าเหล่านี้พระป่าจะทำกันเองตั้งแต่การตัดเย็บ ย้อมด้วยน้ำแก่นขนุนเรียกว่า ย้อมด้วยน้ำฝาด

    บริขารอื่นนอกจากบริขารแปดแล้ว ก็มีกลดพร้อมมุ้งกลด ในฤดูฝนสามารถใช้แทนร่มในเวลาออกบิณฑบาต นอกจากนี้ก็มีผ้าอาบน้ำฝนใช้นุ่งอาบน้ำ ผ้าอาบน้ำฝนนี้จะใช้หินแดงที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาฝนเป็นสีสำหรับย้อม ผ้าที่ย้อมด้วยหินแดงนี้ จะมีสีแดงเป็นส่วนใหญ่ หินแดงนี้ยังใช้ผสมกับสีแก่นขนุนเพื่อย้อมสบงจีวร และสังฆาฏิได้อีก นอกจากนี้ผ้าปูที่นอน ผ้านิสีทนะสำหรับใช้ปูนั่ง ผ้าอังสะ ผ้าเช็ดหน้าเช็ดปาก ย่ามสำหรับใส่ของ เมื่อถึงเวลาออกเที่ยววิเวกตามป่า ตามเขา ตามถ้ำ ท่านจะซักย้อมผ้าของท่านเพื่อให้สีทนทาน บางทีไปนานสองสามเดือน ก็จะเคี่ยวแก่นขนุนเก็บติดตัวไปด้วย

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#99cc00 height=23>การเข้าเป็นพระป่า</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=20 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 width="94%" align=center bgColor=#f7f7f7 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top height=61>
    การเริ่มต้นชีวิตแบบพระป่าอาจทำได้สองวิธีคือ วิธีที่หนึ่ง บวชเป็นพระภิกษุเสียก่อนในที่อื่นแล้วขอไปพำนักในวัดป่า วิธีนี้เป็นวิธีที่พระภิกษุส่วนมากผ่านเข้าสู่วัดป่า ทั้งนี้เพราะสมภารวัดป่าส่วนมาก ไม่ได้รับอนุญาตให้เป็นพระอุปัชฌาย์

    วิธีที่สองคือ วิธีผ้าขาวคือ เป็นผู้ที่ปวารณาตัวเป็นอุบาสก ถือศีลแปด และอาศัยอยู่ในวัดทำหน้าที่เป็นลูกศิษย์พระ และฝึกปฏิบัติไปด้วย ต้องทำหน้าที่ให้เรียบร้อยเป็นที่พอใจของสมภารหรืออาจารย์ที่เป็นผู้ปกครอง จึงจะได้รับอนุญาตให้บวช บางคนเป็นผ้าขาวอยู่สองสามเดือนก็ได้บวช แต่บางคนก็อยู่เป็นปี บางคนเริ่มด้วยเป็นผ้าขาวน้อยตั้งแต่อายุยังน้อยสิบหรือสิบเอ็ดขวบ พอรู้เรื่องวัดดีก็บวชเป็นเณรเมื่ออายุครบก็บวชเป็นพระภิกษุ

    เป็นที่น่าสังเกตว่าวัดป่ามักไม่ใคร่มีลูกศิษย์พระ ทั้งนี้เพราะลูกศิษย์ถือแค่ศีลห้า และบางทีก็ทำได้ไม่ครบถ้วน มักจะรบกวนการปฏิบัติของพระด้วยประการต่าง ๆ พระป่าจึงไม่ใคร่นิยม

    การอยู่วัดป่า
    วัดป่าไม่เหมือนวัดบ้าน ความรู้สึกที่ได้รับเมื่อเข้าสู่เขตวัดป่าคือ ความร่มรื่น ซึ่งเกิดจากต้นไม้น้อยใหญ่ที่เป็นสวนป่าในวัด ประการต่อมาคือความสะอาด และมีระเบียบ ถนนและทางเดินจะเตียนโล่งไม่มีเศษกิ่งไม้ใบไม้ร่วงหล่นเกลื่อนกลาด ทั้งที่มีต้นไม้ขึ้นอยู่หนาแน่นโดยรอบ ประการต่อมาคือความเงียบ บางเวลาเงียบมากจนได้ยินเสียงใบไม้ตกได้อย่างชัดเจน เสียงคนพูดคุยกันดัง ๆ แบบที่ได้ยินกันตามบ้านจะไม่มีเลย เวลาที่พระป่าจะคุยกันก็มีเฉพาะเวลาเตรียมฉันจังหัน เวลานัดดื่มน้ำเวลาบ่าย และเวลาพร้อมกันปัดกวาดถนนหนทางและลานวัด พระภิกษุทุกท่านจะพูดกันด้วยเสียงค่อยมาก จะไม่พบว่ามีการตะโกนคุยกันสนุกสนานเฮฮา เลย
    [​IMG]
    กุฏิพระป่า
    พระป่ามักไม่ค่อยเอาใจใส่กับที่อยู่อาศัยนอกเหนือไปจากขอให้บังแดดบังฝน และกันลมหนาวได้พอสมควรเท่านั้น กุฏิส่วนมากสร้างขึ้นชั่วคราวมีพื้นเป็นไม้ฟาก ซึ่งทำจากไม้ไผ่นำมาทุบแล้วแผ่ออกให้แบน หลังคามุงด้วยหญ้าหรือใบไม้ เวลาใช้ไม้กระบอกหรือไม้แบบที่ใช้ทำเสาเข็ม ฝาผนังเป็นกระดาษเหนียวกรุระหว่างตะแกรงที่สานด้วยไม้ไผ่ บานประตูหน้าต่างเป็นแบบเดียวกับฝาผนังเปิดโดยวิธีเลื่อนหรือใช้ไม้ค้ำ กุฏิแบบนี้หน้าร้อนจะเย็นสบายเพราะลมเข้าได้ทุกทาง แต่หน้าฝนมักเปียกเพราะหลังคาหรือฝาผนังรั่ว ในหน้าหนาวลมเย็นจะเข้าได้ทุกทาง ทำให้เย็นจัด

    เมื่อมีผู้มีจิตศรัทธามากขึ้น กุฏิของพระป่าก็ค่อย ๆ เปลี่ยนจากกุฏิชั่วคราวเป็นกึ่งถาวร และถาวร อย่างไรก็ตามกุฏิของพระป่ามักจะมีลักษณะคล้าย ๆ กัน ต่างกันแต่ขนาดและวัสดุก่อสร้าง กุฏิชั่วคราวมักจะเตี้ยยกพื้นสูงประมาณ ๕๐ เซนติเมตร เพียงให้พ้นจากการรบกวนของสัตว์ เช่น งู หรือหนู ถ้าเป็นกุฏิถาวรมักทำใต้ถุนสูงพอเข้าไปอาศัยหรือยืนได้ ตามธรรมดาจะมีอยู่ห้องหนึ่งเป็นที่จำวัด หรือนั่งสมาธิภาวนา และเก็บสิ่งของเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ขนาดเฉลี่ยกว้างด้านละประมาณสองเมตรครึ่ง มีเฉลียงสำหรับนั่งพักหรือรับแขก ขนาดพอสมควรแก่การใช้งาน ถ้าสร้างกว้างใหญ่มากก็จะผิดพระวินัย

    โดยทั่วไปภายในกุฏิมักจะมีแต่กลดพร้อมมุ้งกลด เสื่อปูนอน เครื่องอัฐบริขาร ผ้าห่มนอน จีวร ตะเกียง หรือเทียนไขและหนังสือ ที่หัวนอน อาจมีหิ้งพระตั้งรูปพระอาจารย์ต่าง ๆ อย่างอื่น ๆ ก็มีขวดน้ำ และแก้วน้ำ

    กุฏิแต่ละหลังผู้อยู่อาศัยต้องระวังรักษาเองให้อยู่ในสภาพที่สะอาดเรียบร้อยทั้งตัวกุฏิ และบริเวณกุฏิ บนกุฏิสิ่งของต่าง ๆ ต้องวางเป็นที่ และมีระเบียบ พระป่าปฏิบัติตามพระวินัยอย่างเคร่งครัด ต้องรักษาเสนาสนะคือ ที่อยู่อาศัย และบริเวณให้สะอาด ทุกเช้าตั้งแต่ยังไม่สว่าง พระป่าทุกท่านจะหยุดนั่งสมาธิในตอนเช้า จัดการปัดกวาดกุฏิ พอรุ่งสางก็ช่วยกันกวาดถูศาลาการเปรียญ การถูพื้นจะใช้เปลือกมะพร้าวห้าวมาทุบตัดครึ่งแล้วนำไปถูพื้น เมื่อทำนาน ๆ ไปจะให้พื้นกระดานเป็นมันจนลื่น

    ทุกวันเวลาบ่ายประมาณ สามโมง ถึงสี่โมงเย็น จะเป็นเวลากวาดวัดของวัดป่าส่วนมากการกวาดจะใช้ไม้กวาดด้ามไม้ไผ่ยาว ต้องใช้แรงในการกวาดมาก เป็นการออกกำลังที่ดียิ่งในแต่ละวัด นอกเหนือจากการเดินจงกรม และเดินบิณฑบาต การถูศาลาและการกวาดลานวัดทุกวันทำให้พระป่าแข็งแรง และมีสุขภาพดีเป็นประโยชน์ในทุกด้าน

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#99cc00 height=23>กิจวัตรของพระป่า</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=20 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 width="94%" align=center bgColor=#f7f7f7 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top height=61>
    สังคมแบบพระพุทธศาสนา
    พระพุทธศาสนาเป็นตัวอย่างของสังคมประชาธิปไตย และสังคมนิยม ตั้งแต่เริ่มเข้ามาบวชเป็นสมาชิกของวัดก็ต้องผ่านการลงมติของคณะสงฆ์เสียก่อน สิ่งของต่าง ๆ ที่มีผู้ถวายแก่วัด จะเป็นสมบัติส่วนของคณะสงฆ์ ภิกษุผู้ใดจะเอาไปเป็นของส่วนตัวไม่ได้ ทุกคนมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมกัน ถ้าเกิดมีกรณีพิพาทกันก็ต้องตั้งกรรมการขึ้นมาพิจารณามีระบบอาวุโส มีการคารวะระหว่างกัน การดำเนินการดังกล่าวถือเป็นการสมัครใจไม่มีการบังคับ ถ้าไม่พอใจก็ออกจากสังคมนี้ไป

    ในวัดป่าได้ใช้ระบบดังกล่าวอย่างเคร่งครัด เมื่อมีลาภสิ่งใดมาสู่วัด สมภารจะเป็นผู้สั่งให้แจกจ่ายหรือเก็บไว้เป็นสมบัติส่วนกลาง พระภิกษุรูปใดขาดแคลนก็จะได้รับไปก่อนหรือได้รับมากกว่ารูปอื่น อาหารที่บิณฑบาตได้ จะนำมารวมกันก่อน แล้วจึงแจกไปให้ทั่วกัน ผ้าที่ได้จากกฐินหรือผ้าป่าก็นำมาไว้เป็นกองกลาง ภิกษุรูปใดมีจีวรเก่า และชำรุดมากแล้ว สมภารจเป็นผู้สั่งจ่ายให้ตามความจำเป็น ปัจจัยที่มีผู้นำมาถวายวัด จะนำเข้าบัญชีของวัด

    การขบฉัน พระป่าถือหลักฉันน้อยเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างที่เร่งความพากเพียร เช่นระหว่างพรรษา ยิ่งฉันน้อยลงไปอีก บางรูปไม่ฉันเสียหลายวัน ท่านว่าทำให้จิตโปร่งและภาวนาได้ดี นอกจากระวังไม่ฉันมากแล้ว ท่านยังระวังไม้ให้ติดรสอาหารอีกด้วย โดยหลักเลี่ยงอาหารที่รสอร่อย เพราะเกรงว่าจะติดสุขในเวลาฉัน ต้องพิจารณาตามแบบที่พระพุทธเจ้าสอน คือ ให้กินเพื่ออยู่ ท่านจะเงียบสงบระหว่างฉัน ไม่พูดจากัน เพราะท่านต้องเพ่งพิจารณาอาหารด้วย

    [​IMG]
    วัดป่าสายหลวงปู่มั่น มีระเบียบเกี่ยวกับการฉันเป็นอย่างเดียวกัน คือ ฉันมื้อเดียวในตอนสาย ฉันอาหารที่ได้จากบิณฑบาต และฉันในบาตร มีเฉพาะน้ำและสิ่งที่ใช้ดื่มเท่านั้นที่ใส่ถ้วยไว้นอกบาตรได้ ดังนั้นพระป่าต้องออกบิณฑบาตทุกวัน นอกจากอาพาธหรือเดินไม่ได้ ธรรมดาวัดป่าจะอยู่ห่างจากหมู่บ้าน เพื่อให้พ้นจากการรบกวนจากคน สัตว์ และเสียง แต่จะต้องไม่ไกลเกินไปจนเดินไปบิณฑบาตไม่ไหว โดยมากจะอยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณสองถึงสามกิโลเมตร พอจะเดินไปกลับได้ภายในหนึ่งชั่วโมงครึ่ง ตามปกติจะออกจากวัดประมาณ หกโมงเช้าเศษ หลังจากทำความสะอาดตอนเช้าเสร็จ ก่อนจะออกบิณฑบาตต้องจัดบาตรให้พร้อมโดยผูกมัดบาตรให้แน่น และเรียบร้อย ท่านจะสะพายบาตรไปบิณฑบาต เวลาออกจากวัดจะเดินไปเป็นกลุ่ม พระภิกษุผู้น้อยจะอยู่ข้างหน้า พระผู้ใหญ่อยู่ข้างหลัง พอเข้าเขตบ้านพระภิกษุข้างหน้าจะหยุดคอยให้พระผู้ใหญ่นำเดินเข้าหมู่บ้านเป็นแถวเรียงหนึ่ง ตามลำดับอาวุโส และรับอาหารอย่างเป็นระเบียบน่าดู เมื่อรับไปทั่วแล้วก็วกกลับวัด บางทีพระผู้น้อยจะรับบาตรของพระผู้ใหญ่ไปสะพายแทน บางทีชาวบ้านขออาสาสะพายหรืออุ้มบาตรไปส่งจนถึงวัด
    [​IMG]
    การฉันภัตตาหารพระภิกษุทุกรูปจะขึ้นไปรวมบนศาลาที่นั่งฉัน แล้วเข้าที่นั่งฉันจัดอาหารลงบาตร ที่นั่งนั้นได้จัดปูอาสนะไว้เรียบร้อยก่อนออกบิณฑบาต การนั่งจะเรียงตามอาวุโส พระภิกษุทุกรูปจะถ่ายบาตรเอาอาหารใส่ลงในถาดที่วางไว้เป็นของกลาง พระภิกษุที่เป็นเจ้าหน้าที่ยกถาดไปถวายให้สมภารก่อนแล้ว จึงส่งต่อไปตามลำดับ อาหารที่เลือกไว้แต่ละรูป จะจัดลงในบาตรเพื่อจะฉันต่อไป เสร็จแล้วเอาผ้าปิดปากบาตรไว้ คอยจนเสร็จพร้อมกัน พระภิกษุที่เป็นประธานว่าบท ยถา..สัพพี เสร็จแล้วจึงเปิดผ้าคลุมบาตรขึ้นพร้อมกัน พิจารณาอาหารในบาตรตามหลักที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ เช่น ให้สำนึกว่าฉันภัตตาหาร เพื่อให้คลายทุกข์ที่เกิดจากความหิว ไม่ใช่เพื่อความมีรสอร่อย ฯลฯ เสร็จแล้วจึงเริ่มฉันระหว่างนั้นไม่มีการพูดจากัน เพราะต่างก็พิจารณาไปเรื่อย ๆ เมื่อฉันเสร็จก็เช็ดถูพื้นศาลาตรงบริเวณที่ตัวนั่ง ยกบาตรออก เก็บเครื่องปูลาดเข้าที่ อาหารเหลือก้นบาตรเทลงถาดมอบให้แก่ผู้ที่ต้องการ นำบาตรไปล้างและเช็ดถูจนสะอาดแล้วคว่ำผึ่งแดดให้แห้ง
    บาตรเป็นบริขารที่สำคัญยิ่งสำหรับพระป่า จะไปไหนต้องเอาไปด้วยเสมอ บาตรมักจะใหญ่กว่าบาตรของพระบ้าน แต่เป็นเพราะท่านถือธุดงค์ฉันในบาตร ถ้าบาตรแคบจะฉันไม่สะดวก นอกจากนั้นเวลาท่านเดินทางยังใช้บาตรบรรจุเครื่องอัฐบริขารต่าง ๆ แล้วสะพายไปจึงต้องรักษาบาตรให้สะอาด แล้วผึ่งแดดให้แห้งสนิท ต้องรักษาไม่ให้เกิดสนิม
    การอบรมและการปฏิบัติ
    การอบรมของพระป่า ดำเนินตามหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา อย่างเคร่งครัด สิ่งที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งคือพระอาจารย์ ซึ่งเป็นผู้ที่พระป่าต้องพยายามเสาะหาอย่างยิ่ง เพื่อให้ได้อุปนิสัยใจคอที่เข้ากันได้ แม้กระทั่งคำพูดและวิธีการพูดที่ทำให้เข้าใจกันง่าย ในการปฏิบัติภาวนานั้น เป็นการยากที่ผู้ปฏิบัติจะฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ นานาไปจนถึงจุดหมายปลายทางได้โดยลำพังตนเอง จำเป็นต้องมีอาจารย์คอยช่วยแนะนำ อาจารย์ที่ดีย่อมให้โอกาสแก่ศิษย์ทุกคน ตั้งใจอบรมสั่งสอน แนะช่องทางสำหรับการก้าวหน้า เอาใจใส่ในทุกข์สุขการกินอยู่ การเจ็บไข้ได้ป่วย และความต้องการอื่น ๆ ให้ความอนุเคราะห์ทุก ๆ อย่าง ท่านต้องทำตัวเป็นทั้งพระอาจารย์และพ่อแม่ และศิษย์ก็ตอบแทนท่านอย่างกับอาจารย์ และบิดามารดารวมกัน เวลาพูดถึงอาจารย์ พระป่าจะเรียกท่านว่า พ่อแม่ ครู อาจารย์ ทุกครั้ง การปฏิบัติอาจริยวัตรก็เป็นไปโดยสมบูรณ์แบบเสมอ
    ศีล จากวัดป่าจะเน้นเรื่องศีล พระป่าทุกรูปจะต้องรักษาศีลอย่างบริสุทธิ์ไม่ให้มีด่างพร้อย ในไตรสิกขา ศีลเป็นข้อที่ง่ายที่สุด และเท่ากับเป็นเครื่องทดสอบพระภิกษุ เพราะการรักษาศีลต้องการเพียงความตั้งใจเท่านั้น ถ้าผู้ใดรักษาศีลให้บริสุทธิ์ไม่ได้ ผู้นั้นก็ไม่มีหวังที่จะก้าวหน้าไปถึงธรรมชั้นสูง ศีลเป็นเครื่องรองรับหรือเป็นฐานของสมาธิ ทำให้สมาธิเกิดง่าย และตั้งอยู่โดยมั่นคง ศีล ๒๒๗ ข้อ พระป่าไม่เพียงแต่รักษาทุกข้อ แต่ท่านรักษาถึงทุกตัวอักษรทีเดียว

    ภาวนา ในวัดป่าการไหว้พระสวดมนต์รวมกันนั้นมีน้อยโดยมากกระทำเฉพาะวันพระที่มีการสวดปาฏิโมกข์ ในวันธรรมดาต่างรูปต่างสวดในกุฏิของตนเอาตามความพอใจ ตามธรรมดาพอฉันเสร็จจัดการเรื่องบาตรเรียบร้อยแล้ว กลับถึงกุฏิก็จะทำการภาวนา ส่วนมากมักเริ่มด้วยการเดินจงกรม เพื่อแก้อาการง่วง ซึ่งอาจเกิดขึ้นภายหลังอาหาร ใกล้ ๆ กับกุฏิทุกหลังจะมีทางเดินจงกรมสร้างไว้ มีขนาดกว้างประมาณ ๑ เมตร ยาวประมาณ ๑๐ - ๑๕ เมตร เป็นทางตรงและรักษาไว้สะอาด มีหลักสำหรับแขวนหรือตั้งโคมในเวลากลางคืน เพื่อจะได้มองเห็นทางไม่ไปเหยียบสัตว์ให้ตายหรือถูกงูกัด ระหว่างเดินจงกรมอาจบริกรรมคาถา หรือพิจารณาเกี่ยวกับสังขารร่างกาย จุดประสงค์เพื่อให้เกิดความสงบเกิดสมาธิ และเกิดปัญญา ระยะเวลาในการเดินแล้วแต่บุคคล อาจจะเป็นหนึ่งชั่วโมงไปจนถึงสี่ชั่วโมง เมื่อหยุดเดินก็เข้าที่ภาวนา พอเมื่อยหรือง่วงก็ออกมาเดินอีกสลับกันไปจนถึงเวลาดื่มน้ำร่วมกันในตอนบ่าย

    การดื่มน้ำตอนบ่ายอาจเป็นน้ำอัฐบาน กาแฟ น้ำหวาน อย่างใดอย่างหนึ่ง เสร็จแล้วกวาดวัด กวาดวัดเสร็จก็สรงน้ำ ซักสบง และอังสะ แล้วเอาไปตาก ต่อจากนั้นเป็นเวลาว่าง จะทำอะไรก็ได้ บางท่านอาจเข้าที่ภาวนาต่อ บางวัดท่านอาจารย์ขึ้นศาลาเทศน์สั่งสอนในตอนหัวค่ำทุกคืน เสร็จแล้วนั่งภาวนาพร้อมกันประมาณหนึ่งชั่วโมงแล้วจึงแยกย้ายกลับกุฏิ และปฏิบัติต่อไปตามลำพัง โดยมากจะเดินจงกรม สลับกับการนั่งสมาธิ เช่นเดียวกับตอนกลางวันจนถึงห้าทุ่ม หรือสองยามจึงนอน ประมาณตีสามตื่นขึ้นนั่งสมาธิจนสว่าง ภายหลังจากนั้นก็เตรียมออกบิณฑบาต เป็นการจบรอบกิจวัตรประจำวันโดยทั่วไป

    สำหรับบางรูปที่กำลังเร่งความเพียรมาก อาจไม่นอนเลยจะนั่งกับเดินตลอดคืน ตอนกลางวันหลังจังหันแล้วจึงนอนสองสามชั่วโมงแล้วปฏิบัติต่อ บางรูปถือธุดงค์เนสัชชิกังคะไม่ลงนอนเลย กระทำแต่อิริยาบถสามคือ นั่ง ยืน เดิน ไม่นอน ถ้าง่วงก็นั่งหลับ เป็นวิธีหัดให้จิตมีกำลังเข้มแข็ง การฝึกอย่างอื่นก็มี เช่น อดอาหารซึ่งได้ผลสองต่อคือจิตเข้มแข็งและจิตเบา ภาวนาได้ผลดีกว่าธรรมดา บางรูปอดจนผ่ายผอม เพราะเห็นว่าอดแล้วไม่ง่วง จิตปลอดโปร่ง พิจารณาปัญหาต่าง ๆ ได้ดีกว่าธรรมดา

    ในการภาวนา ส่วนมากใช้บริกรรมพุทโธ บางทีก็รวมกับอานาปานสติ เช่น หายใจ้เข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ อาจารย์ทุกท่านคอยติดตามการดำเนินของการปฏิบัติอยู่เสมอ โดยการซักถามปรากฏการณ์ทางจิตของศิษย์ จึงสามารถดัดแปลงแก้ไขการปฏิบัติให้เหมาะกับภาวะของแต่ละคน ช่วยให้ได้ผลดีขึ้นไปตามลำดับ

    หลักสำคัญประการหนึ่งที่เน้นอยู่เสมอคือ ธรรมะทั้งหลายอยู่ในกายของเราเอง ในการพิจารณาให้ส่งจิตเข้าไปในกาย ศึกษาภายในกายไม่ให้ส่งออกไปภายนอก เพราะนอกจากไม่ได้ประโยชน์แล้ว ยังจะเกิดการล่องลอยของจิตอีกด้วย

    ระหว่างเข้าพรรษาเป็นโอกาสที่พระป่า จะได้ศึกษาเล่าเรียนกับอาจารย์ของตนอย่างใกล้ชิด และได้ผลเต็มที่เพราะได้อยู่ด้วยกันถึงสามเดือนเต็ม พอออกพรรษารับกฐินแล้วทั้งอาจารย์และศิษย์ต่างก็ออกธุดงค์ เพื่อเสาะแสวงหาที่สำหรับภาวนา

    กฐินของวัดป่า จะทอดกันอย่างไม่มีพิธีรีตองอะไร มีแต่ผ้าขาวสำหรับเย็บจีวร และอัฐบริขาร บริวางกฐินจะมีอะไรบ้างก็แล้วแต่ศรัทธา การทอดก็มีแต่พระภิกษุสงฆ์ชุมนุมกันบนศาลา ทายก และทายิกาขนของไปกองไว้ข้างหน้าพระ ประธานยกผ้าขาวขึ้นกล่าวคำถวาย พระภิกษุสงฆ์รับผ้าไปทำพิธีกรานกฐิน เสร็จแล้วประเคนของที่เหลือเป็นเสร็จพิธี ต่อไปพระภิกษุจะจัดการตัดและย้อมจีวรตามแบบ ใช้เวลาไม่ช้าก็เสร็จ อนุโมทนาแล้วก็หมดธุระ ต่อจากนั้นต่างก็ออกเดินทางไปสู่จุดหมายในป่าเขา และถ้ำที่วิเวก เพื่อกระทำการชำระจิตให้บริสุทธิ์ ตามวิธีที่พระพุทธเจ้าสอนไว้

    การออกธุดงค์อาจต่างรูปต่างไป หรือไปเป็นหมู่ก็ได้ พระภิกษุที่พรรษายังอ่อนต้องไปกับ อาจารย์ท่านใดท่านหนึ่ง การท่องเที่ยวกัมมัฏฐาน นอกจากจะได้พบที่สัปปายะเหมาะแก่การปฏิบัติภาวนาแล้ว ยังได้ฝึกหัดจิตใจให้มีความอดทนเข้มแข็ง และไว้วางใจตนเองด้วย ยิ่งไปกว่านั้นการธุดงค์ยังเป็นการอบรมให้ยึดมั่นในไตรสรณาคม คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และมีความเพียรมาก

    อันตรายของพระป่า
    พระพุทธเจ้าทรงเตือนสาวกของพระองค์ให้ระวังอันตรายสี่ประการ คือ ความเบื่อหน่ายต่อคำสอนของอาจารย์ประการหนึ่ง ความเห็นแก่ปากแก่ท้องประการหนึ่ง ความเพลิดเพลินในกามคุณประการหนึ่ง และความรักในสตรีประการหนึ่ง พระป่าต้องอาศัยอาจารย์ที่เข้มงวดกวดขัน คอยเตือนสติไม่ให้ปล่อยตนตกเป็นอันตรายทั้งสี่ดังกล่าว สมภารจะควบคุมทั้งเครื่องอุปโภคและบริโภคไม่ปล่อยให้ฟุ่มเฟือยฟุ้งเฟ้อ จำกัดการติดต่อกับคนภายนอกที่อาจจะชวนให้เขว บางวัดห้ามอ่านหนังสือพิมพ์ เพราะเกรงจะดึงความสนใจไปภายนอก ส่วนวิทยุและโทรทัศน์นั้นเป็นอันห้ามขาด

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#99cc00 height=23>ความหวังของพระป่า</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=20 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 width="94%" align=center bgColor=#f7f7f7 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top height=61>
    พระป่าเพียรบำเพ็ญสมณธรรม ด้วยอิทธิบาทสี่ และสัมมัปปธานสี่ จะต้องอดทนต่อความเป็นอยู่ซึ่งล้วนแล้วแต่ตรงกันข้ามกับความสุขสบาย ต้องระมัดระวังทุกฝีก้าว ไม่ทำผิดพระวินัย และผิดระเบียบของวัด สำหรับระเบียบของวัดพอจะยกตัวอย่างได้ดังนี้

    ๑.เวลาออกบิณฑบาตห้ามคุยกัน ให้ภาวนากำหนดจิตของตน ตั้งอยู่ในความไม่ประมาททุกเมื่อ
    ๒.กลับจากบิณฑบาตถึงวัดแล้ว ขณะนั่งจัดบาตรอยู่ห้ามคุยกัน
    ๓.เมื่อได้ยินระฆังสัญญาณ ให้พร้อมกันออกมาทำกิจวัตรปัดกวาดสถานที่
    ๔.ถ้าหมู่เดียวกันทำผิดศีลธรรม ให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ถ้าว่าไม่ฟังให้ร้องเรียนครูอาจารย์ให้ทราบโดยด่วน อย่าถือว่าเป็นการฟ้องร้อยกัน
    ๕.เมื่อผู้อื่นนั่งภาวนากำหนดจิตของท่านอยู่ อย่าไปเพ่งโทษท่านว่าหมู่รังเกียจตน
    ๖.เมื่อทำกิจวัตรสรงน้ำเสร็จแล้ว ห้ามคุยกันบนกุฏิ เว้นไว้แต่ไปศึกษาธรรม และไปดูแลความเจ็บป่วยของกันและกัน
    ๗.เมื่อมีกิจของสงฆ์เกิดขึ้นอย่าเมินเฉย ต้องเอาธุระช่วยดูแล ถ้าใครไม่เอาใจใส่ท่านปรับอาบัติทุกกฏ
    ๘.ห้ามเก็บอาหารไว้ฉันตอนเพล เพราะจะทำให้เสียระเบียบพระธุดงค์กัมมัฏฐาน
    ๙.เวลาไปต้อนรับแขกที่มาสู่วัด ต้องห่มจีวรให้เรียบร้อย
    ๑๐.เมื่อได้ยินสัญญาณที่ศาลาการเปรียญ ต้องรีบไปให้ถึงภายใน ๑๐ นาที เมื่อถึงแล้วห้ามคุยกันในกิจที่ไม่จำเป็น ให้นั่งภาวนากำหนดจิตของตน เมื่อเห็นผู้อื่นไม่พูดด้วยอย่าหาว่าท่านรังเกียจ ให้เข้าใจว่าท่านกำลังกำหนดจิตของท่านอยู่
    ๑๑.ช่วยกันรักษาของสงฆ์ที่มีอยู่ตามศาลาและกุฏิ ใครไม่เอื้อเฟื้อในของสงฆ์ท่านปรับอาบัติเท่ากับละเมิดของสงฆ์
    ๑๒.ของสิ่งใดที่มีผู้เอามาถวาย มีเจ้าหน้าที่เก็บไว้ ถ้าจะใช้ต้องได้รับอนุญาตจากผู้เก็บเสียก่อน

    นอกจากต้องระวังตัวไม่ให้ทำผิดพระวินัย และไม่ผิดระเบียบของวัดแล้ว พระป่ายังต้องพากเพียรฝึกอบรมจิตของตน เพื่อยังกิเลสให้เบาบางไปตามลำดับ จุดหมายปลายทางที่สุดยอดคือความหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ถ้าพลาดจากนั้นก็ขอให้ได้อริยธรรมชั้นใดชั้นหนึ่ง ตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป ซึ่งจะประกันว่าจะไม่ต้องไปเกิดในทุคติภพ ความมุ่งมาดดังกล่าวเป็นความจริงจังของพระป่า

    ข้อควรทราบบางประการเกี่ยวกับพระป่า
    การทำบุญบริจาคทานกับพระป่านั้น ควรทราบว่าอะไรทำและอะไรไม่ควรทำ อะไรไม่ควรบริจาคทานทำบุญกับพระป่า อะไรสมควรที่ท่านจะบริโภคได้ อาหารอะไรควรฉันเวลาไหน

    เวลาและประเภทของโภชนาหารที่พระภิกษุรับประเคนได้

    ๑. ของที่ควรถวายแก่พระป่าตอนเช้า ได้แก่ โภชนาหารห้าอย่างคือ ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลาและเนื้อ
    ๒. ของที่พระป่ารับประเคนได้ ฉันได้ทั้งในตอนเช้า ตอนเย็น ตอนกลางคืน และท่านเก็บไว้ฉันได้เจ็ดวัน ได้แก่ น้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำตาล น้ำหวาน เนยใส เนยข้น
    ๓. ของที่พระป่ารับประเคนได้ ทั้งตอนเช้า ตอนเย็น ตอนกลางคืน และฉันได้ทุกเวลา ถ้ามีเหตุจำเป็นได้แก่ยารักษาโรค
    ๔. ของที่พระป่ารับประเคนได้ และฉันได้ในตอนบ่าย ตอนเย็น และตอนกลางคืน ได้แก่น้ำปานะ ซึ่งทำจากผลไม้ที่ไม่ใช่เป็นมหาผล ผลไม้ที่ควรใช้ทำน้ำปานะถวายพระป่า ได้แก่ มะนาว พุทรา ลูกหว้า ส้มเขียวหวาน ส้มเช้ง มะขาม มะปรางดิบ กล้วยดิบมีเมล็ด ฯลฯ น้ำที่ใช้ทำน้ำปานะควรต้มให้สุกเสียก่อน แล้วตั้งทิ้งไว้ให้เย็น วิธีทำน้ำปานะโดยสังเขปคือ นำผลไม้มาแกะเอาเมล็ดออก แล้วคั้นเอาแต่น้ำผลไม้ จากนั้นนำมากรองด้วยผ้าขาวเจ็ดครั้ง แล้วจึงนำมาผสมด้วยพริกหรือเกลือ หรือน้ำตาล หรือยาสมุนไพรต่าง ๆ ตามต้องการ น้ำปานะที่ผสมเสร็จแล้วนี้ห้ามนำไปต้มให้สุกอีก น้ำปานะจะประเคนพระได้ตั้งแต่เที่ยงวัน ถึงเที่ยงคืนก็หมดอายุกาล เพราะน้ำปานะนั้นจะกลายเป็นเมรัยไป จึงห้ามภิกษุสามเณรฉันเป็นอันขาด

    เนื้อสัตว์ที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามภิกษุสามเณรฉัน
    มีอยู่สิบอย่างด้วยกันคือ เนื้อมนุษย์ เนื้อช้าง เนื้อเสือเหลือง เนื้อเสือโคร่ง เนื้อเสือดาว เนื้อหมี เนื้อราชสีห์ เนื้องู เนื้อสุนัข เนื้อม้า
    [​IMG]
    พระพุทธศาสนากับป่าไม้
    จากพุทธประวัติเราจะพบว่ามีความเกี่ยวเนื่องกับป่าไม้หลายประการด้วยกันคือ
    ศากยวงศ์ของพระพุทธเจ้าจัดตั้งขึ้นโดยพระราชโอรส และพระราชธิดาของพระเจ้าโอกากราช ณ ป่าไม้สัก ใกล้ภูเขาหิมาลัย อันเป็นที่อยู่ของกบิลดาบสมาก่อน ได้สร้างเมืองขึ้นในป่าไม้สักให้ชื่อว่ากบิลพัสดุ์
    โกลิยวงศ์ อันเป็นราชวงศ์ของพระนางสิริมหามายา พระพุทธมารดา ก็มีความเป็นมาเนื่องด้วยป่าไม้กระเบา มีราชธานีชื่อ กรุงเทวทหะ
    เมื่อพระนางสิริมหามายาทรงพระครรภ์จวนประสูติพระโอรส พระนางได้เดินทางเพื่อไปประสูติพระโอรส ณ กรุงเทวทหะ แต่เมื่อไปถึง ลุมพินีวัน ซึ่งเป็นป่าที่ตั้งอยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ และกรุงเทวทหะ พระนางก็ประสูติพระโพธิสัตว์ ณ ที่นั้น
    ในสมัยที่ทรงพระเยาว์ พระโพธิสัตว์มักใช้เวลาส่วนหนึ่งเที่ยวจาริกไปตามป่าเชิงภูเขาหิมาลัย จนสัตว์ป่ามีความคุ้นเคยเดินตามพระองค์ไปเป็นฝูง ด้วยความสนิทสนมคุ้นเคยเป็นที่อัศจรรย์
    ตลอดระยะเวลาหกปี ที่พระโพธิสัตว์ได้เที่ยวศึกษาแสวงหาทางเพื่อความตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ได้ประทับศึกษาอยู่ในป่าต่าง ๆ แม้ในเวลาตรัสรู้ก็ทรงเลือกเอาป่าในตำบล อุรุเวลาเสนานิคมเป็นที่บำเพ็ญเพียรจนตรัสรู้ภายใต้ต้น อัสสัตถพฤกษ์ แล้วประทับเสวยวิมุติสุข ณ ต้นไทร ต้นเกด ตามลำดับ

    เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ พระธัมมจักกัปวัตตนสูตร แก่ ปัญจวัคคีย์ ก็ทรงแสดงที่ ป่าอิสิปนมฤคทายวัน อันเป็นสวนป่า และทรงแสดงพระธรรมเทศนาอีกเป็นอันมาก ณ ป่าอิสิปนมฤคทายวันแห่งนั้น จนเกิดพระอรหันต์ขึ้นในโลกคราวแรกติดต่อกันถึงหกสิบรูป
    ทรงแสดงพระธรรมเทศนา อนุบุพพิกถา และอริยสัจสี่ โปรดพระเจ้าพิมพิสาร และบริวาร จำนวนรวมกัน ๑๒๐,๐๐๐ ท่าน ณ ลัฏฐิวัน อันเป็นป่าเช่นเดียวกัน
    พระอารามแห่งแรกในพระพุทธศาสนาคือ เวฬุวัน คือป่าไผ่ที่พระเจ้าพิมพิสารทรงถวายให้เป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า และพระสงฆ์ หลังจากที่พระองค์ได้ฟังธรรมเทศนาจนบรรลุมรรคผลเป็นพระอริยบุคคลแล้ว พระอารามอีกแห่งหนึ่งในกรุงราชคฤห์คือ ชีวกัมพวัน เป็นป่าไม้มะม่วงที่หมอชีวกโกมารภัจถวายเป็นพระอาราม สำหรับพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ และที่ในกรุงราชคฤห์นั้น ยังมีป่าที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าอีกเป็นอันมาก เช่น มัททกุจฉิมฤคทายวัน

    ในแคว้นกาสี แคว้นโกศล อันเป็นที่ตั้งของพระอารามคือพระเชตวัน บุพพาราม มีป่าเป็นอันมาก นอกจากเชตวัน คือ ป่าของเจ้าเชต ที่ท่านอนาถบิณทิกเศรษฐีซื้อเพื่อสร้างเป็นพระอารามถวายพระพุทธเจ้าแล้วยังมีอันธวัน และนันทวัน ที่พระพุทธเจ้า และพระภิกษุสงฆ์ ได้ไปพักอาศัยในป่าเหล่านั้น
    ในแคว้นวัชชี และแคว้นสักกะ มีชื่อป่ามหาวันอยู่ทั้งสองแห่ง ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระสูตรเป็นอันมากแก่พระภิกษุบ้าง เทวดาบ้าง พระราชา พราหมณ์ คฤหบดีบ้างในโอกาสที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับในป่านั้น
    ตามปกติพระพุทธเจ้าจะเสด็จหลีกออกจากหมู่คณะ ไปประทับสงบอยู่ในป่าระยะสั้น ๆ เจ็ดหรือสิบห้าวันทุกครั้งจะเสด็จเข้าไปประทับในป่า เช่นคราวที่พระภิกษุทะเลาะกันที่เมืองโกสัมพี พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปประทับอยู่ที่ป่า รักขิตวัน อยู่กับช้างและลิงที่เราเรียกพระพุทธรูปปางนี้ว่าปางป่าลิเลยกะ

    การอยู่ป่าเป็นวัตรจัดเป็นนิสัย คือปัจจัยเครื่องอาศัยชีวิตของนักบวชในพระพุทธศาสนา และแม้นักบวชในลัทธิอื่นก็ถือแนวเดียวกัน พระพุทธเจ้ากับพระภิกษุสงฆ์ในสมัยพุทธกาลล้วนแล้วแต่อาศัยอยู่ในป่าเป็นส่วนมาก ยิ่งท่านที่ต้องการ เจริญกรรมฐาน หรือที่ใช้คำว่าเจริญสมณธรรมด้วยแล้ว เสนาสนะป่าเขา เงื้อมเขา ถ้ำ เป็นสถานที่ที่เกื้อกูลต่อการปฏิบัติเจริญสมณธรรม พระพุทธเจ้าทรงยกย่องสรรเสริญป่าไว้โดยนัยต่าง ๆ เป็นอันมาก
    เมื่อพระพุทธเจ้าทรงเสด็จดับขันธปรินิพพาน ก็ทรงปรินิพพาน ณ สาลวโนทยาน คือ สวนป่าสาละของกษัตริย์มัลละ แห่งเมืองกุสินารา
    [​IMG]
    ป่าไม้ในฐานะเป็นที่ตั้งแห่งบุญ ในสคาถวรรค สังยุตตนิกาย พระพุทธเจ้ารับสั่งตอบเทวดาที่มากราบทูลถามว่า
    "ชนเหล่าใด สร้างสวนดอกไม้ ผลไม้ ปลูกหมู่ไม้ สร้างสะพาน และให้โรงเป็นทาน บ่อน้ำทั้งบ้านที่พักอาศัย ชนเหล่านั้นย่อมมีบุญ เจริญในกาลทุกเมื่อ ทั้งกลางวันและกลางคืน ชนเหล่านั้นตั้งอยู่ในธรรม สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นผู้ไปสวรรค์"

    ป่าไม้ในฐานะที่เป็นสิ่งที่ควรอนุรักษ์ ในพระพุทธศาสนา
    มีบทบัญญัติทางพระวินัยที่ห้ามมิให้พระภิกษุกระทำการอะไรเป็นการทำลายสภาพของป่า และต้นไม้ เช่น

    พระภิกษุรูปใดตัดทำลายต้นไม้ ถ้าเป็นต้นไม้มีเจ้าของหวงแหน ท่านปรับอาบัติในฐานอทินนาทานคือ การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ ถ้าเป็นการตัดกิ่งต้นไม้ของตนหรือของวัด ท่านปรับอาบัติในข้อที่เป็นการพรากภูติคามคือ หักรานกิ่ง ใบ ดอกของต้นไม้ แม้แต่การทำลายต้นไม้ที่เป็นเมล็ดที่ปลูกได้ แง่ง กิ่งของต้นไม้ ล้วนปรับเป็นอาบัติทั้งสิ้น

    และเพื่อเป็นการอนุรักษ์สภาพของป่า และต้นไม้ ได้มีบทบัญญัติทางพระวินัย ห้ามพระภิกษุถ่ายปัสสาวะอุจจาระ บ้วนน้ำลายลงน้ำ ในของสดเขียวทั้งเล็กและใหญ่ รวมถึงการทิ้งสิ่งสกปรกลงในน้ำ ในของสดของเขียวทั้งหลายอันเป็นหลักปฏิบัติที่ช่วยในการอนุรักษ์ธรรมชาติ และสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี

    ความเชื่อในเรื่องที่มีเทพารักษ์ สิงสถิตอยู่ในป่า ต้นไม้ ที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา จึงเป็นประโยชน์และเอื้ออำนวยที่สำคัญในการอนุรักษ์ป่า ต้นไม้

    ยิ่งไปกว่านั้น พระวินัยยังกำหนดให้พระภิกษุที่สร้างกุฏิอยู่ตามป่า ไม่ให้ทำลายต้นไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต และแม้แต่ได้รับอนุญาตก็ตัดทำลายเองไม่ได้ และยังต้องระมัดระวังไม่ให้กุฏิพังลงมาทับต้นไม้ในป่า ดังนั้นวันในพระพุทธศาสนา จึงเรียกว่า อาราม แปลว่าสถานที่ทำใจให้รื่นรมย์ โดยเน้นไปที่สวนไม้ดอกไม้ผล ไม้ที่ให้ร่มเงา วัดหลักในพระพุทธศาสนาจึงมีคำลงท้ายว่า วัน ที่แปลว่าป่า เช่น เวฬุวัน เชตวัน ชีวกัมพวัน และแม้แต่นิโครธาราม ก็เป็นป่าที่มีต้นไทรขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#99cc00 height=23>ปฏิปทาพระธุดงคกรรมฐาน</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=20 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 width="94%" align=center bgColor=#f7f7f7 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top height=61>
    <TABLE borderColor=#ff0000 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top colSpan=2 height=188>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="30%">[​IMG]</TD><TD width="70%"> พระภิกษุ ฝ่ายที่มุ่งศึกษาธรรม โดยการกระทำ หรือลงมือปฏิบัติ และพำนักอยู่ ตามป่าเขาที่สงบ สงัด สะดวกต่อการปฏิบัติจึงเรียกว่า พระฝ่ายอรัญวาสี พระธุดงคกรรมฐาน หรือ พระป่า
    พระภิกษุ ที่ได้รับการยกย่องนับถือว่า เป็นพระบุพพาจารย์ใหญ่แห่งกองทัพธรรมพระกรรมฐานในประเทศไทย ได้แก่ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตผู้ได้บำเพ็ญความเพียร ในขั้นเอกอุ จนบรรลุถึงธรรมชั้นสูงสุด
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2 height=20> พระป่า หรือพระธุดงคกรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต มีต้นเค้าดั้งเดิม ประมาณว่า เริ่มแต่ พระอาจารย์สีทา ชัยเสโน อดีตเจ้าอาวาสวัดบูรพา อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
    สำหรับพระเถระผู้มีบทบาท ในการสร้างหลักปักธงชัย พระกรรมฐาน ในแผ่นดินที่ราบสูง แดนอีสานได้แก่ ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล วัดเลียบ อุบลราชธานี
    และ หลวงปู่มั่น ภูริทัตตมหาเถร ซึ่งกาลต่อมา ได้ให้การอบรม สั่งสมบารมีธรรม แก่พระภิกษุสามเณร จนมีศิษย์ เป็นพระธุดงคกรรมฐาน ผู้ทรงคุณธรรม สัมมาปฏิบัติ ออกจาริกธุดงค เผยแผ่ธรรมนำศรัทธาสาธุชน ได้ผลดี เป็นอันมาก ต่อกิจการงานพระศาสนาสร้างสำนักป่า วัดวา ศาสนสถานในพระพุทธศาสนา ตามแบบที่เรียกว่า "วัดป่า" ที่เน้นธรรมชาติ ความเรียบง่าย สะอาด สงบ สว่างด้วยแสงธรรม
    </TD></TR><TR><TD width="48%" height=20> </TD><TD width="52%"> </TD></TR><TR><TD height=20>[​IMG]</TD><TD> พระสายนี้ ชาวบ้านศรัทธาเรียกว่า พระธุดงคกรรมฐานหรือพระป่าสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ซึ่งดำเนินปฏิปทา ตามแนวพ่อแม่ครูอาจารย์
    พระป่าพระธุดงคกรรมฐาน จะปฏิบัติต่อครูอาจารย์ ที่เรียกท่าน ด้วยความเคารพอย่างสูงว่า "พ่อแม่ครูอาจารย์" ด้วยความเคารพนับถือ ดุจบิดรมารดาแลครูอาจารย์
    ผู้เป็นพ่อแม่ ครูอาจารย์ ก็จะปกครอง อบรมดูแล ลูกศิษย์ ด้วยความเมตตาดุจพ่อแม่ แลครูอาจารย์ เช่นกัน[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC][/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC]
    [/FONT]
    </TD></TR><TR><TD height=20> </TD><TD> </TD></TR><TR><TD colSpan=2 height=20> ประมาณปี พ.ศ.2459 เป็นต้นมา พระป่าสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เริ่มทยอย เพิ่มจำนวนมากขึ้น ขยายงานการเผยแผ่ ในภาคอีสาน โดยเฉพาะ ทางจังหวัดอุดรธานี หนองคาย นครพนม สกลนคร อุบลราชธานี นครราชสีมา ขอนแก่น และตามภูมิภาคต่าง ๆ ที่รังสีธรรม แห่งกองทัพธรรมพระกรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ได้แผ่ไปถึง
    พระป่าทุกองค์ จะต้องรักษาศีล อย่างบริสุทธิ์ ในกระบวนไตรสิกขา ศีลสมาธิปัญญานั้น ศีล เป็นข้อที่ง่ายที่สุดและเท่ากับ เป็นเครื่องทดสอบ สมณะเพศ เพราะการรักษาศีล ต้องการศรัทธา ความตั้งใจ ถ้าผู้ใดรักษาศีล ให้บริสุทธิ์ไม่ได้ ก็อย่าหวังเลย ที่จะก้าวหน้า ในทางธรรมชั้นสูง
    ศีล เป็นฐานที่ตั้งแห่งสมาธิ ทำให้บังเกิดสมาธิ และตั้งมั่น ศีลจะต้องดีก่อน สมาธิจึงจะดีได้ นอกจากนั้น ในการจาริกธุดงค แสวงหา ที่สัปปายะ สำหรับอบรมจิต ต้องฟันฝ่าอุปสรรค นานาประการ พระป่าจึงเชื่อว่าศีลที่บริสุทธิ์ จะเป็นเกราะป้องกัน ที่ดีที่สุด
    </TD></TR><TR><TD height=20> พระธุดงคกรรมฐาน หรือพระป่าสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต แต่ละรูป ตามประวัติได้ เคยบุกป่าฝ่าดงไปตามป่าเขา เผชิญกับสิงสาราสัตว์ ที่ดุร้าย ผจญกับภัยธรรมชาติ และมนุษย์ที่ตั้งตนเป็นศัตรู แต่ด้วยศีลที่บริสุทธิ์ของท่าน ได้เป็นเกราะแก้ว คุ้มกันพิทักษ์ รักษาพระคุณเจ้า ประสพสวัสดิภาพ ด้วยดีด้วยศีล ด้วยบุญกุศล
    </TD><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD height=20> </TD><TD> </TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=2 height=20> พระป่าสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นสุปฏิปันโน ที่มีปฏิปทา คือข้อวัตรข้อปฏิบัติต่างๆ ที่น่าเลื่อมใสศรัทธา เป็นปฏิปทา ที่ทำได้ไม่ง่าย เพราะเป็นปฏิปทา ที่ทวนกระแสโลก ทั้งทางกาย วาจา และใจ ซึ่งหลักปฏิปทานี้ คือ ธุดงควัตร 13 ขันธวัตร 14 เป็นเครื่องบำเพ็ญทางกาย และมี กรรมฐาน 40 เป็นเครื่องบำเพ็ญทางใจ สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันไป ในอริยาบทต่าง ๆ ของความเพียร ทั้งนี้เพราะธุดงควัตร 13 และวัตรต่าง ๆ ตลอดจนกรรมฐานทั้งมวล ล้วนเป็นธรรม เครื่องอบรมบ่มนิสัย ที่ติดกายมา ตั้งแต่ครั้งเป็นฆราวาส และเป็นธรรม ที่จะทำลายล้างข้าศึกภายในใจ คือกิเลสตัณหา ให้หมดสิ้นไป

    การถือธุดงค์ ของพระป่า พระธุดงคกรรมฐาน เป็นเจตนา ที่แสดงออก เพื่อประหารกิเลส ของตน เกี่ยวเรื่อง เครื่องนุ่งห่ม อาหารการขบฉัน ที่อยู่อาศัย และความเพียร ด้วยข้อปฏิบัติ "ธุดงควัตร"
    สรุปพระภิกษุฝ่ายอรัญวาส ในพระพุทธศาสนา พระภิกษุ แบ่งออกได้เป็นสองฝ่าย คือ
    o ฝ่ายปริยัติ ได้แก่ พระภิกษุ ที่มุ่งศึกษาศาสนธรรม จากตำราจากคัมภีร์ ส่วนมาก พำนักอยู่ที่วัด ในเมือง หรือชุมชน จึงเรียกว่า พระฝ่ายคามวาสี หรือพระบ้าน
    o พระภิกษุอีกฝ่ายหนึ่ง มุ่งศึกษาโดยการกระทำ หรือลงมือปฏิบัติ และพำนักอยู่ ตามป่าตามเขา ที่สงบ สงัด สะดวกต่อการปฏิบัติ จึงเรียกว่า พระฝ่ายอรัญวาสี หรือ พระป่า หรือ พระธุดงคกรรมฐาน
    พระภิกษุ ได้รับการยกย่อง นับถือว่า เป็นพระบุพพาจารย์ใหญ่ แห่ง กองทัพธรรมพระธุดงคกรรมฐาน ในประเทศไทย ได้แก่ท่านหลวงปู่มั่น ภูริทัตตตมหาเถร ผู้ได้บำเพ็ญความเพียรในขั้นเอกอุจนบรรลุ ถึงธรรมชั้นสูงสุด ดังมีหลักฐานปรากฎ คืออัฐิของท่านกลายเป็น พระธาตุดังที่มีบรรยาไว้ว่าเป็นลักษณะของพระอรหันตสาวก ซึ่ง ปัจจุบันได้นำมาประดิษฐาน ณ วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ท่านเป็นพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานที่มีลูกศิษย์จำนวนมาก อาทิ[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC]
    [/FONT]
    </TD></TR><TR><TD height=20>[​IMG]</TD><TD>หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จ.อุดรธานี
    หลวงปู่ดุลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์
    หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร
    หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
    หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย
    หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่
    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี
    หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย วัดเขาสุกิม จ. จันทบุรี
    หลวงปู่วิริยังค์ สิรินธโร วัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ เป็นต้น[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC]
    [/FONT]
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2 height=20> พระคุณเจ้าทั้งหลายนี้ได้สืบต่อการปฏิบัติข้อวัตรตามแนวทางของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ในกาลต่อมาเมื่อศิษย์ในสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตหลายองค์ถึงแก่มรณภาพอัฐิของท่าน ก็ได้ แปรสภาพ ไปในทำนองเดียวกับ ของพระอาจารย์มั่น อาทิ อัฐิธาตุ ของหลวงปู่ขาว อนาลโย ของท่าน พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ประกอบกับ ความเค่งครัด ในวินัย และศีลาจารวัติ ได้เสริมสร้าง ศรัทธา ของ ประชาชน ในการปฏิบัติกรรมฐาน เพิ่มมากขึ้น และเป็นเหตุแห่ง การฟื้นฟู วัดป่า และชักจูงให้ มีผู้บวช เป็นพระป่า พระสายปฏิบัติกรรมฐาน เพิ่มมากขึ้น เช่นกัน

    สำหรับ ผู้ที่เคยเข้าไป สัมผัสวัดป่า เป็นครั้งแรก ความรู้สึก ที่กระทบจิตใจ เมื่อย่างเข้า ถึงเขต วัดป่าคือ "ความร่มรื่น" ซึ่งเกิดจากต้นไม้น้อยใหญ่ภายในวัด สิ่งกระทบใจประการที่สอง คือ ความสะอาด และมีระเบียบ "ความสงบเงียบ" ไม่อึกทึกพลุกพล่าน ต้นไม้ ธรรมชาติ จะได้รับการรักษา ให้ยืนย คงอยู่

    กุฏิเสนาสนะ ที่พำนักของพระป่า จะปลูกสร้าง อย่างเรียบง่าย สมถะ ด้วยวัสดุพื้น ๆ เว้นแต่ บางแห่ง ที่มีคณะศรัทธา ญาติโยม สร้างถวาย ก็อาจใช้วัสดุ หรือการก่อสร้าง ที่พิถีพิถัน แต่บางแห่ง ท่านก็ไม่ยอมให้สร้างใหญ่โต หรือพิถีพิถัน เกินไป เพราะแกรงว่า จะทำให้ พระ คุ้นกับความสบาย จน "ติดสุข" ไม่อยากออกไป เผชิญความลำบาก ในการออกเดินธุดงค์ ซึ่งเป็นภารกิจ ที่สำคัญ ของพระป่า

    โดยทั่วไป ภายในกุฏิ ของพระป่า จะมีเพียงกลด พร้อมด้วยมุ้งกลด เสื่อ ปูนอน เครื่องอัฐบริขาร ผ้าห่มนอน จีวร ตะเกียง หรือเทียนไข และหนังสือ ที่หัวนอน อาจมีหิ้งพระ รูปพระอาจารย์ต่างๆ ส่วนของมีค่า อุปกรณ์ อำนวยความสะดวกสบายนั้น ท่านไม่สะสม กุฏิแต่ละหลัง ผู้พำนักอาศัย ต้องรักษา ให้สะอาด ทั้งในกุฏิ และบริเวณ

    พวกชาวเมือง ที่ได้ไปเยือนวัดป่าครั้งแรก มักจะแปลกใจว่า นี่ท่านทำอย่างไร วัดจึงสะอาดฉะนี้ ทั้งๆ ที่ มีต้นไม้ เต็มไปหมด ทุกแห่ง ทางเดินของท่าน ก็โล่งเตียน ห้องน้ำ ก็สะอาด ศาลา ก็สะอาด คำตอบคือ พระป่า ท่านปฏิบัติ ตามพระวินัย ท่านต้องรักษา เสนาสนะ ที่อยู่อาศัย และบริเวณ ให้สะอาด ทุก ๆ วัน เวลาประมาณ บ่ายสามโมง เป็นเวลา ปัดกวาดลานวัด ซึ่งปกติท่าน สมภาร หรือ ประธานสงฆ์ ก็จะลงมือกวาด ด้วย ยกเว้น ก็แต่ ผู้อาพาธ เท่านั้น งานปัดกวาดนี้ ใช้แรงมาก เพราะ ไม้กวาดหนัก และด้ามยาวกว่า จะแล้วเสร็จ ก็เหงื่อท่วมตัว ซึ่งเท่ากับ เป็นการออกกำลังกาย ไปในตัว พระป่าท่าน เดินจงกรม เดินบิณฑบาต ทุกวัน ถูศาลา ทุกวัน และกวาดวัด ทุกวัน ท่านจึงแข็งแรง และสุขภาพดี

    พระพุทธศาสนา เป็นตัวอย่าง ของประชาธิปไตย ตั้งแต่เริ่มเข้ามาบวช เป็นสมาชิกของวัด ก็ต้อง ผ่านการลงมติ ของคณะสงฆ์ เสียก่อน ข้าวของต่างๆ ที่มีผู้ถวายแก่วัด ย่อมเป็นของกลาง ใครจะ นำไป เป็นประโยชน์ ส่วนตัว ไม่ได้ ทุกคน มีส่วนที่จะ ได้รับประโยชน์ จากของสงฆ์ ถ้ามีการพิพาทกัน ก็ต้อง ตั้งกรรมการ พิจารณา เหล่านี้ เป็นตัวอย่าง ของประชาธิปไตย แต่เป็นแบบพุทธ คือ เป็นการสมัครใจ ไม่บังคับ ถ้าไม่พอใจ ก็ไปที่อื่นเสีย แล้วก็ยังมีคาราวะ มีอาวุโส มีบารมี มีกรรม มีวิบาก ไม่ใช่ทุกคน เท่ากันหมด อาหารที่บิณฑบาต มาได้ จะนำมารวมกันก่อน แล้วจึงแจกไป ให้ทั่วถึง

    พระป่า ท่านมีคติ อีกอย่างหนึ่ง คือ ไม่ว่าวันไหน จะบิณฑบาต ได้ภัตตาหาร มากน้อย เท่าใด ต้อง ฉันแต่น้อย แต่พอดี แม้จะมีอาหาร ล้นเหลือ ก็จะไม่ฉัน จนอิ่มตื้อ เพราะ ถ้าทำเช่นนั้น จะง่วง ภาวนา ไม่ได้ นอกจาก ระวังไม่ฉันมากแล้ว พระป่า ท่านยังระวัง ไม่ให้ติด รสอาหาร ด้วย โดยการหลีกเลี่ยง อาหารที่อร่อย ทั้งนี้ เพราะเกรงว่าจะ "ติดสุข" นั่นเอง ในเวลาฉัน ต้องพิจารณา ตามแบบ ที่พระพุทธเจ้า ทรงสอน พูดง่าย ๆ คือว่า กินเพื่ออยู่ เพื่อประทังชีวิต ประทังความหิว ท่านจึงเงียบสงบ ระหว่างฉัน ไม่สนทนาพาที อะไรกัน เพราะท่านต้อง พิจารณาอาหาร ไปด้วย

    กิจวัตร ของพระป่า คือ ตื่นนอน ตั้งแต่ตีสาม หรือตีสี่ เพื่อปฏิบัติภาวนา สวดมนต์ ทำวัตรเช้า ทำกิจส่วนตัว แล้วเตรียมตัว ออกบิณฑบาต ครั้นรุ่งอรุณ พระป่า จากอรัญญวาสี จะออกบิณฑบาต เป็นแถว เป็นแนว เป็นระเบียบ

    บรรยากาศ ยามรุ่งอรุณ กลิ่นไอธรรมชาติ ความบริสุทธิ์ ของชนบท ดวงหน้า ที่เอิบอิ่มใน บุญกุศล ของชาวบ้าน เป็นภาพชีวิต อันประทับใจ ผู้ได้สัมผัส พระป่าจะต้อง ออกบิณฑบาต ทุกวัน นอกจาก อาพาธ หรือเดินไม่ได้ ตามปกติ วัดป่า ต้องอยู่ ห่างหมู่บ้าน เพื่อให้พ้นจาก การรบกวน คน สัตว์ และ เสียงอึกทึก แต่ต้องไม่ไกล เกินไป จนเดินไปบิณฑบาต ไม่ไหว โดยมาก เว้นระยะห่าง จากหมู่บ้าน ประมาณ 2-3 กิโลเมตร ซึ่งพอจะเดินไปกลับ ได้ภายใน หนึ่งชั่วโมง

    ารอบรม พระป่า ตามวัดต่างๆ ในสายท่าน พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต จะอาศัยหลัก อย่างเดียวกัน แต่การปฏิบัติ แตกต่างกันไป ตามความเห็น และความถนัด ของท่านอาจารย์ ทุกวัด มีการเน้นเรื่อง ศีล พระป่า ทุกองค์ จะต้องรักษาศีล อย่างบริสุทธิ์

    ในการะบวนไตรสิกขา ศีลเป็นข้อที่ ง่ายที่สุด และเท่ากับ เป็นเครื่องทดสอบ พระภิกษุ เพราะ การรักษาศีล ต้องการเพียง ความตั้งใจ เท่านั้น ถ้าผู้ใด รักษาศีล ให้บริสุทธิ์ ไม่ได้ ผู้นั้น ก็ไม่มีหวัง ที่จะก้าวหน้า ไปถึงธรรมชั้นสูง ศีลเป็นเครื่องรองรับ หรือเป็นฐาน ของสมาธิ ทำให้สมาธิ เกิดง่าย และตั้งอยู่ โดยมั่นคง ศีลต้องดีก่อน สมาธิ จึงจะดีได้

    นอกจากนั้น ในการออกธุดงค์ แสวงหา ที่สัปปายะ สำหรับอบรมจิต จะต้องฝ่าอันตราย ต่าง ๆ นานา พระธุดงคกรรมฐาน หรือพระป่า ท่านมีความเชื่อมั่นว่า ศีลที่บริสุทธิ์ จะเป็นเกราะกำบัง ที่ดีที่สุด พระอาจารย์ชั้นผู้ใหญ่ แต่ละองค์ มีประวัติ บุกป่าฝ่าดง ไปในแดนสัตว์ร้าย เช่น เสือ ช้าง และงู ทนแดด ทนฝน ทนลมหนาว ต้องผจญกับ มนุษย์ ที่ถูกอวิชชาครอบงำ…. แต่เพราะท่าน รักษาศีลบริสุทธิ์ สัตว์ร้าย หรือคนร้าย ตลอดจน สภาวอากาศ ที่แปรปรวน ก็ไม่อาจ ทำอันตรายท่านได้ เพราะฉะนั้น พระป่า ที่จะออกธุดงค์ จะต้องแน่ใจว่า ศีลของท่าน บริสุทธิ์จริง ๆ เพื่อให้มั่นใจ ในข้อนี้ และแน่ใจว่า จะไม่พลั้งเผลอ ท่านจึงรักษาศีล ให้บริสุทธิ์อยู่ เสมอ

    ในวัดป่า จะมีการไหว้พระ สวดมนต์ร่วมกัน การสวดมนต์ มีผลให้ใจสงบลง เป็นการเตรียม สำหรับ การภาวนาต่อไป ตามปกติ เมื่อฉันเสร็จ จัดการชำระล้าง ทำความสะอาด บาตร เรียบร้อยแล้ว พระป่า ท่านจะกลับกุฏิ มาลงมือภาวนา ส่วนมาก มักจะเริ่มด้วยการ เดินจงกรม เพื่อแก้อาการง่วง ซึ่งอาจเกิดขึ้น ภายหลังฉันอาหาร ใกล้ ๆ กับกุฏิ ทุกหลัง จะมีลานเดินจงกรม กว้างประมาณ 1 เมตร ยาวประมาณ 10-15 เมตร ระหว่างเดิน อาจบริกรรมภาวนา หรือพิจารณา เกี่ยวกับสังขาร ร่างกาย จุดประสงค์ เพื่อให้เกิดความสงบ เกิดสมาธิ หรือปัญญา เมื่อหยุดเดิน ก็เข้าที่นั่งภาวนา พอเมื่อย หรือ ง่วง ก็ออกมาเดินอีก สลับกันไป ในการภาวนา พระป่า สายท่าน พระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล และ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต จะใช้บริกรรม "พุทโธ" รวมกับอานาปานสติ เช่น หายใจเข้านึก พุท หายใจออกนึก โธ หายใจเข้านึก พุท หายใจออกนึก โธ ซึ่งวิธีเหล่านี้ ใช้กันโดยทั่วๆ ไป

    ครูบาอาจารย์ จะคอยติดตาม การดำเนินของการปฏิบัติ อยู่เสมอ โดยการซักถาม ปรากฎการณ์ ทางจิต ของศิษย์ จึงสามารถ ดัดแปลงแก้ไข การปฏิบัติ ให้เหมาะสม กับภาวะ ของแต่ละคน ช่วยให้ได้ ผลดีขึ้น ไปเรื่อย ๆ ถ้าหากมีอะไร แทรกแซงขึ้นมา เช่น นิมิตเห็น ภูตผีปีศาจ หรือยักษ์ เห็นมาร อาจารย์ ก็จะชี้แจง ให้ทราบความหมาย ของนิมิตนั้น ๆ และบอกวิธี ที่จะป้องกัน ไม่ให้เกิดขึ้น ต่อไป หลักสำคัญ ประการหนึ่ง ซึ่งท่านอาจารย์ ในสายของท่าน พระอาจารย์มั่น เน้นอยู่เสมอ คือ "ธรรมะทั้งหลาย อยู่ภายในกาย ของเราเอง"

    ในการพิจารณา ให้ส่งจิต เข้าภายในกาย ไม่ให้ส่งออก ไปภายนอก เพราะนอกจาก จะไม่ได้ ประโยชน์แล้ว ยังจะเกิดการล่องลอย ของจิตอีกด้วย การแสดงธรรมของ พระป่า ไม่มีพิธีรีตองอะไร มากนัก แต่จะเน้นที่ เนื้อหาสาระ ใช้ภาษา สำนวน ที่ฟังง่าย เข้าใจง่าย ตรงไปตรงมา

    การอบรมจิต แนะนำ การเจริญภาวนา วิปัสสนากรรมฐาน เป็นภาระกิจ ที่ครูอาจารย์ จะต้องให้การ อบรม แนะนำแก่ศิษย์ ทั้งที่เป็นพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา และชาวบ้านทั่วไป

    ปฏิปทาศีลาจารวัตร ของครูบาอาจารย์ใหญ่ พระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และสานุศิษย์ของท่าน อีกหลายองค์ เป็นประทีปนำทาง ให้พระป่า มีความวิริยะ อุตสาหะ ในการบำเพ็ญ ความเพียร เพราะเห็นแสงสว่าง ข้างหน้า ขอเพียงให้เดินโดยถูกทาง ถูกวิธี ไม่ย้อท้อ ต่อความยากแค้น และอุปสรรคทั้งมวล

    พระป่า พระธุดงค์กรรมฐาน เป็นผู้ชูธงชัย แห่งกองทัพธรรม ของพระพุทธองค์ เป็นผู้ วีรอาจหาญ เป็นนักรบ ที่จะสู้ กับกิเลสตันหา ความดิ้นรน ทะยานอยาก เพื่อมุ่งสู่จุดหมาย คือ มรรคผล นิพพาน ตามรอยพระยุคลบาท พระบรมศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้รู้. ผู้ตื่น. ผู้เบิกบาน.
    ..................
    อ้างอิงข้อมูลจาก
    - วิปัสสนากรรมฐานอีสาน
    - หอมรดกไทย

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#99cc00 height=23>ธุดงควัตร 13 ประกอบด้วย</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=20 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD> 1. ถือการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
    2. ถือการนุ่งห่มผ้าสามผืนเป็นวัตร
    3. ถือการบิณฑบาตเป็นวัตร
    4. ถือการบิณฑบาตไปโดยลำดับแถวเป็นวัตร
    5. ถือการฉันจังหันมื้อเดียวเป็นวัตร
    6. ถือการฉันในภาชนะเดียวคือฉันในบาตรเป็นวัตร
    7. ถือการห้ามภัตตาหารที่เขานำมาถวายภายหลังเป็นวัตร
    8. ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
    9. ถือการอยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร
    10. ถือการอยู่อัพโภกาสที่แจ้งเป็นวัตร
    11. ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร
    12. ถือการอยู่ในเสนาสนะตามมีตามได้เป็นวัตร
    13. ถือเนสัชชิกังคธุดงค์ คือการไม่นอนเป็นวัตร
    การถือธุดงคบำเพ็ญได้ด้วยการสมาทานคือด้วยอฐิษฐานใจ หรือแม้นด้วยการเปล่งวาจา คุณประโยชน์ของธุดงควัตร คือ การยังชีพโดยบริสุทธิ์ มีผลเป็นสุข เป็นของไม่มีโทษ บำบัดความทุกข์ของผู้อื่นเสีย เป็นของไม่มีภัย เป็นของไม่เบียดเบียน มีแต่เจริญฝ่ายเดียว ไม่เป็นเหตุให้เสื่อม ไม่มีมารยาหลอกลวงไม่ขุ่นมัว เป็นเครื่องป้องกัน เป็นเหตุให้สำเร็จสิ่งที่ปรารถนา กำจัดเสียซึ่งศัสตราทั้งปวง มีประโยชน์ในทางสำรวมเป็นเครื่องสมควรแก่สมณะ ทำให้สงบยิ่ง เป็นเหตุให้หลุดพ้น เป็นเหตุให้สิ้นราคะ เป็นการระงับเสียซึ่งโทสะทำโมหะให้ พินาศไปเป็นการกำจัดเสีย ซึ่งมานะ เป็นการตัดเสีย ซึ่งวิตกชั่ว ทำให้ข้ามความสงสัยได้ กำจัดเสียซึ่งความเกียจคร้าน กำจัดเสีย ซึ่งความไม่ยินดีในธรรม เป็นเหตุให้มีความอดทน เป็นของชั่งไม่ได้เป็นของหาประมาณมิได้ และทำให้สิ้นทุกข์ทั้งปวง

    อานิสงส์ การปฏิบัติธุดงควัตร ทำให้พระป่าที่จาริกไป ตามป่าเขา พำนักตามโคนไม้ เพิงผาและ ตามถ้ำเป็นอยู่อย่างสมถะ เสียสละ ลดละอุปโภคบริโภค ทำให้จิตของท่าน เป็นอิสระพ้นจาก พันธนาการเครื่องร้อยรัดขัดขวาง สู่ความเบาสบาย สงบเอื้อต่อการเจริญสมาธิภาวนา บำเพ็ญความเพียร การท่องไป ในป่าที่ดารดาษ ไปด้วยสิงสาราสัตว์ ภัยอันตราย เป็นการฝึกจิต หลอมใจ ให้เข้มแข็ง มีสติระลึกรู้ มีบทบริกรรม พุทโธ อยู่กับสายลมหายใจ การเจริญสติ ก่อให้เกิดสมาธิ และจิตตานุภาพ พระธุดงคกรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตจะผ่านการประหารกิเลส ด้วยธุดงควัตร จิตของพระคุณเจ้า จึงมั่นคง เข้มแข็งด้วย ศีลสมาธิปัญญาศรัทธาความเพียร

    พระป่า สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ผู้มอบกายถวายชีวิต ในพระพุทธศาสนา ดำเนิน เดินตามทางรอยธรรม พ่อแม่ครูอาจารย์ ธุดงคจาริกไป ตามวนาป่าเขา เพื่อผลานิสงส์ ในการเพิ่มพูน บารมีธรรมแห่งพระบรมศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อมรรคผล นิพพาน เพื่อสงเคราะห์โลก แลสรรพสัตว์ เป็นเนื้อนาบุญของพระพุทธศาสนา เป็นขุนพลกล้า แห่งกองทัพธรรมพระกรรมฐาน ที่มีคุณูปการ อเนกอนันต์ ตราบนิรันดร์สมัย
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=720

    ธรรมะกับชีวิตประจำวัน ::
    วิธีบรรเทาความโศก

    โดย admin


    ความโศกเป็นอาการอย่างหนึ่งของจิต เมื่อกระทบกับอารมณ์อันไม่พึงปรารถนา มีความเสียใจเป็นตัวนำ อันเกิดขึ้นเพราะความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง มีความเสื่อมญาติ เป็นต้น หรือเพราะต้องทุกข์ร้อนด้วยเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ให้มีอาการใจแห้งอยู่ภายใน คือ ขาดความชุ่มชื่นในดวงจิต เหมือนต้นไม้หรือใบไม้ที่เหี่ยวแห้ง เพราะขาดน้ำหรือถูกแดดแรงเกินไป อาการแห่งจิตดังกล่าวนี้แหละเรียกว่าความโศก หรือบางทีก็เรียกรวมว่า
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.dhammajak.net/pictures/phramalai/index.php

    ภาพเขียนโดย
    พระเทวาภินิมมิต จิตรกรเอกกรมศิลปกร


    <TABLE width="80%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle><TABLE borderColor=#dddddd cellSpacing=6 cellPadding=1 bgColor=#ffffff border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff bgColor=#f7f7f7 height=270>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=middle></TD></TR><TR><TD align=middle>
    <TABLE borderColor=#f7f7f7 height=80 cellSpacing=2 width="100%" border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff align=middle bgColor=#f7f7f7>ภาพที่ 1

    พระมาลัยเทวะเถระโปรดยมโลก
    ซึ่งพระยายมและนายนิริยะบาลไต่สวนผู้ตาย
    เปิดบัญชีดู ถ้าทำบุญส่งสวรรค์ ทำบาปส่งนรก

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE width="80%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle><TABLE borderColor=#dddddd cellSpacing=6 cellPadding=1 bgColor=#ffffff border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff bgColor=#f7f7f7 height=270>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=middle></TD></TR><TR><TD align=middle>
    <TABLE borderColor=#f7f7f7 height=80 cellSpacing=2 width="100%" border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff align=middle bgColor=#f7f7f7>ภาพที่ 2

    โปรดนรกปาณาติบาต
    คือผู้ขาดเมตตา กระทำปาณาติบาต
    ฆ่าสัตว์ผู้มีคุณโดยตรงหรือโดยอ้อมเป็นต้น ให้เสวยกรรม

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE width="80%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle><TABLE borderColor=#dddddd cellSpacing=6 cellPadding=1 bgColor=#ffffff border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff bgColor=#f7f7f7 height=270>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=middle></TD></TR><TR><TD align=middle>
    <TABLE borderColor=#f7f7f7 height=80 cellSpacing=2 width="100%" border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff align=middle bgColor=#f7f7f7>ภาพที่ 3

    โปรดนรกอทินนาทาน
    คือผู้โลภประพฤติอทินนาทาน เช่นลัก ขโมยของพระสงฆ์
    หรือฉ้อโกงและทำลายทรัพย์สินผู้มีคุณเป็นต้น
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE width="80%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle><TABLE borderColor=#dddddd cellSpacing=6 cellPadding=1 bgColor=#ffffff border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff bgColor=#f7f7f7 height=270>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=middle></TD></TR><TR><TD align=middle>
    <TABLE borderColor=#f7f7f7 height=80 cellSpacing=2 width="100%" border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff align=middle bgColor=#f7f7f7>ภาพที่ 4

    โปรดนรกกาเม
    คือบุพพกรรมสัตว์ที่กระทำกาเมสุมิจฉาจารไว้
    ย่อมเสวยผลกุศลกรรมนั้นตามโทษ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE width="80%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle><TABLE borderColor=#dddddd cellSpacing=6 cellPadding=1 bgColor=#ffffff border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff bgColor=#f7f7f7 height=270>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=middle></TD></TR><TR><TD align=middle>
    <TABLE borderColor=#f7f7f7 height=80 cellSpacing=2 width="100%" border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff align=middle bgColor=#f7f7f7>ภาพที่ 5

    โปรดนรกมุสาวาท
    คือเหล่าสัตว์นรกที่มักกล่าวเท็จ หลอกลวง
    และด่าว่าบิดามารดา ครูบาอาจารย์ พระสงฆ์เป็นต้น
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE width="80%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle><TABLE borderColor=#dddddd cellSpacing=6 cellPadding=1 bgColor=#ffffff border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff bgColor=#f7f7f7 height=270>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=middle></TD></TR><TR><TD align=middle>
    <TABLE borderColor=#f7f7f7 height=80 cellSpacing=2 width="100%" border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff align=middle bgColor=#f7f7f7>ภาพที่ 6

    โปรดนรกสุรา
    คือพวกสัตว์นรกที่เสพย์สุราเป็นอาจิณ ดื่มแล้วด่าว่า
    บิดามารดา ครูบาอาจารย์ พระสงฆ์องคเจ้า ทำร้ายฆ่าฟันเป็นต้น
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE width="80%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle><TABLE borderColor=#dddddd cellSpacing=6 cellPadding=1 bgColor=#ffffff border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff bgColor=#f7f7f7 height=270>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=middle></TD></TR><TR><TD align=middle>
    <TABLE borderColor=#f7f7f7 height=80 cellSpacing=2 width="100%" border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff align=middle bgColor=#f7f7f7>ภาพที่ 7

    สัตว์นรกสั่งพระมาลัย
    เพื่อจดจำความทุกข์ทรมานของตน
    นำไปบอกแก่ญาติให้ทำบุญแล้วกวาดน้ำ อุทิศกุศลส่งไปให้ด้วย
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มีนาคม 2007

แชร์หน้านี้

Loading...