ทำสมาธิโดยการระลึกถึงลมหายใจเข้าออก แล้วขนลุก เกิดจากอะไร ?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย jukka, 25 กรกฎาคม 2011.

  1. jukka

    jukka สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +1
    ผมเป็นคนทำอะไรเร็ว คิดน้อย มีปัญหากับความคิด คนแนะนำให้ทำสมาธิโดยการระลึกถึงลมหายใจเข้าออกตลอดเวลาทั้งระหว่าง ตืน นอน ทำงาน.

    ในระหว่างที่ระลึก และรู้สึกได้ถึงลมหายใจ เข้า-ออก นั้น รู้สึกขนลุก น้ำตาไหล และในบางครั้ง ขณะลืมตาอยู่ ก็รู้สึกว่าทุกอย่างรอบตัว ค่อยๆ มืดลง เกิดจากอะไรครับ ใครพอจะทราบบ้าง ว่าเป็นอะไร ดีหรือไม่ แล้วควรจะทำอย่างไร ?
     
  2. perter

    perter เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +187
    อาจเป็นอาการปีติ อย่างหนึ่ง
    ทำต่อไปไม่ต้องสงสัย หรือสนใจสิ่งที่อยู่รอบตัว เป็นกำลังใจให้
     
  3. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    จริงๆ ความมีปัญญาอินทีรย์ คุณก็พอมีอยู่แล้ว แต่ คุณยัง เข้าใจปัญญาอินทีรย์
    ไม่ชัด เลยไม่รู้หน้าที่ของมัน ที่ช่วยให้เรา แทงตลอดไปสู่การเห็นอันยอดเยี่ยมได้

    ปัญญาอินทรีย์นั้น จะเป็น ตัวช่วยให้คุณ ก้าวข้ามสิ่งที่ สังเกต สิ่งที่ถูกสังเกต
    ไปอย่าง ไม่พะพะวงสงสัย มุ่งจะเพิ่มกำลังสติ จากการอาศัยระลึก รู้ถึงสิ่งที่สังเกตุใดๆ

    ปัญญาอินทรีย์ที่ดี จะทำให้ คุณ สังเกตุสรรพสิ่งได้เป็นหมื่น เป็นแสน ภายใต้
    ขณะจิตเพียงเสี้ยววินาที โดยไม่ติดข้อง หรือ หยุดดู หยุดแวะ ในสิ่งที่เห็นเลย

    จะเห็นว่า รู้สึกขนลุก น้ำตาไหล เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว ล้วนแต่
    ผ่านการสังเกต อยู่ในข่ายถูกสังเกตหมดแล้วทั้งสิ้น แล้วคุณก็ไม่ติดใจสงสัย หรือ
    หยุดไปสงสัย

    แต่....คราวนี้คุณไปเจอ กลุ่มหมอกดำๆ ห้อมล้อมเข้ามา แต่จะมีจุดเล็กๆจุดหนึ่ง
    สว่างชัดอยู่จุดนั้น จุดเดียว รอบนั้นมีไอหมอกมาบังหมด อันนี้ คุณไปเห็นแล้ว
    แต่ กลับออกมาสงสัย

    ตอนเห็นไม่ได้สงสัย และ สามารถตามดูการไป การมาของมัน การห้อมล้อม
    ของมัน หากสังเกตได้ชำนาญจะพบว่า สามารถนมสิการ วางใจให้เกิดขึ้นได้
    ด้วย และหากสังเกตดีๆ จะพบว่า มันปลิ้นออกไปทางมิจฉา ได้มากกว่าเข้า
    ทางสัมมา ( โดยการสังเกตความเครียด ความตึง ความแน่น ซึ่งเป็นอกุศลมูลจิต)

    แต่ การเห็น หมอกนั้น ไม่ใช่ทาง มันก็เหมือนการเห็น เย็น ร้อน อ่อน แข็ง
    ตึงไหว ซึ่งเหล่านี้ รับรู้ผ่านอยาตนะอื่น การเห็นหมอกควัน คุณจดจ่อมาที่จักษุ
    อยาตนะ คือ เพิกอยาตนะอื่นแล้วสังเกตแต่ที่สิ่งที่เห็นผ่านทางตา

    เป็นการทำงาน ของสติอินทรีย์ที่กล้าแกร่ง มันจะเผิกสิ่งที่เราไม่ได้สนในสังเกต
    ออกไปได้ แล้วทำให้ สิ่งที่เห็นนั้น ชัดขึ้น ใกล้ขึ้น ไกลขึ้น ก็ได้ หรือน้อม
    เข้ามาเห็นด้วย จักษุภายในไปเลยก็ได้ แต่ไม่ใช่ทาง

    แต่ จะไปห้ามไม่ให้เห็น ก็คงไม่ได้ เนื่องจาก ปัญญาอินทรีย์ดีพอตัว ถึงได้
    นมสิการอานาปานสติได้

    ดังนั้น ให้กลับมาที่ การอ่อนกำลังลงของปัญญาอินทรีย์

    โดยสังเกตจากการ สงสัยว่า นั่นคืออะไร

    ยังไม่ต้องไปรู้หรอกครับว่า นั่นคืออะไร แทงตลอดด้วยปัญญาอินทรีย์
    ก้าวข้ามความสงสัยไว้เนืองๆ เดี๋ยวก็สงสัย เดี๋ยวก็ไม่สงสัย ดุอันนี้แหละ
    จะสามารถเจริญปัญญา จากการหมุนเข้าหา การภาวนาโดย
    ธรรมานุสติปัฏฐานได้

    แล้วอยู่กับ อานาปานสติ ได้ตลอดทั้งวัน ไม่มีการว่างเว้น เพราะ
    คุณคงไม่หยุดหายใจ อ้างว่าไม่มีลมหายใจไว้ดู ไว้เป็นบริกรรม
    ไม่ได้

    * * * * *

    ทีนี้ มีการเสนอคำว่า "สติกล้า" บางคนได้ยินแล้ว ก็จะสำคัญผิดว่า เป็นของดี

    "สติกล้า" กับ "สติบริสุทธิอยู่ด้วยอุเบกขา" จะไม่เหมือนกัน

    สติกล้า คือ เกิน ล้น ไม่เป็นประโยชน์ ต่อการภาวนา เป็นประโยนช์เฉพาะ
    การค้นคว้าในบางเรื่อง แต่ไม่มีประโยชน์ต่อการภาวนา ลองสังเกตว่า สติที่
    กล้า มันเผิกสิ่งๆต่างๆ หมดจริง ไม่กลุ่มรุมจิตจริง แต่ถามว่า เห็นอะไรบ้าง
    เผิกอะไรไปบ้าง จะไม่รู้

    อันนี้ เหมือนอุปมา ใช้คนไปดูลูกหมา คนก็ไปดูลูกหมา แต่พอถามว่า มันมีกี่
    ตัวสีอะไรบ้าง สถานที่เป็นอย่างไร จะตอบไม่ได้ รู้แต่ว่า มีลูกหมาอยู่ตรงนั้น

    แต่หากเป็น "สติบริสุทธิอยู่ด้วยอุเบกขา" มันเผิกสิ่งต่างๆออกเหมือนกัน แต่เวลา
    ถามว่า เห็นอะไรบ้าง จำอะไรได้ไหม จะตอบได้ จะบอกว่า เห็นอะไรบ้าง ทั้ง
    ที่เผิกการสนใจออกไป

    อันนี้ เหมือนอุปมา ใช้คนไปดูลูกหมา คนก็ไปดูลูกหมา แต่พอถามว่า มันมีกี่
    ตัวสีอะไรบ้าง สถานที่เป็นอย่างไร จะตอบได้หมดทุกอย่าง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กรกฎาคม 2011
  4. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    อาการปิติเป็นอาการที่ถามกันมาก.....ซึ่งผู้ปฏิบัติมักจะข้องใจเมื่อเกิดอาการนี้....
    <O:p</O:p

    <TABLE style="WIDTH: 45%; mso-cellspacing: 1.5pt; mso-yfti-tbllook: 1184" class=MsoNormalTable border=1 cellPadding=0 width="45%"><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: #f0f0f0; PADDING-BOTTOM: 0.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: #f0f0f0; PADDING-LEFT: 0.75pt; PADDING-RIGHT: 0.75pt; BORDER-RIGHT-COLOR: #f0f0f0; BORDER-LEFT-COLOR: #f0f0f0; PADDING-TOP: 0.75pt">
    อาการและอารมณ์ของอุปจารสมาธิ<O:p</O:p

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <O:p</O:p
    อาการของอุปจารสมาธิคือปีติได้แก่อารมณ์ความอิ่มใจเมื่อทำมาถึงตอนนี้อารมณ์
    จะชุ่มชื่นมาก อารมณ์สะอาดเยือกเย็น มีความเป็นสุขอย่างยอดเยี่ยมไม่เคยพบความสุข
    อย่างนี้มาก่อนเลยในชีวิตตอนนี้เวลาภาวนาลมหายใจจะเบากว่าปกติมาก อารมณ์เป็นสุข
    ร่างกายของนักปฏิบัติที่เข้าถึงระดับนี้ผิวหนังจะนวลขึ้นเพราะอารมณ์ที่มีความสุขแต่อาการ
    ทางร่างกายนี่สิที่ทำให้นักปฏิบัติตกใจกันมากนั่นก็คือ
    ๑.อาการขนลุกซู่ซ่าเมื่อเกิดอาการอย่างนี้หรืออย่างอื่นที่กล่าวถึงต่อไปจะมีอารมณ์
    ใจเป็นสุขขอให้ทุกท่านปล่อยอาการอย่างนั้นไปตามสภาพของร่างกาย จงอย่าสนใจเมื่อสมาธิ
    สูงขึ้นหรือลดตัวลงต่ำกว่านั้น อาการอย่างนั้นก็จะหมดไปเองอาการขนลุกพองถ้ามีขึ้นพึงควร
    ภูมิใจว่าเราเข้าถึงอาการของปีติระดับหนึ่งแล้ว อย่ากังวลอาการของร่างกาย
    ๒. อาการของปีติขั้นที่ ๒ได้แก่อาการน้ำตาไหล
    ๓.อาการของปีติขั้นที่ ๓คือร่างกายโยกโคลงโยกไปข้างหน้าบ้างข้างหลังบ้าง
    บางคราวโยกแรง จนศีรษะใกล้ถึงพื้น
    ๔.อาการของปีติขั้นที่ ๔ตามตำราท่านว่าตัวลอยขึ้นบนอากาศแต่ผลของการปฏิบัติ
    ไม่แน่นัก บางรายก็เต้นเหมือนปลุกตัว บางรายก็ตัวลอยขึ้นบนอากาศเมื่อลอยไปแล้ว ถ้าสมาธิ
    คลายตัวก็กลับมาที่เดิมเอง(อย่าตกใจ)
    ๕. อาการของปีติขั้นที่ ๕คือมีอาการแผ่ซ่านในร่างกายซู่ซ่าเหมือนมีลมไหลออก
    ในที่สุดเหมือนตัวใหญ่และสูงขึ้นหน้าใหญ่แล้วมีอาการเหมือนลมไหลออกจากกายในที่สุด
    ก็มีความรู้สึกว่าตัวหายไปเหลือแต่ท่อนหัว
    อาการทั้งหมดนี้ เมื่อเกิดขึ้นอารมณ์ใจจะมีความสุข ฉะนั้นนักปฏิบัติให้ถืออารมณ์ใจ
    เป็นสำคัญอย่าตกใจในอาการตามที่กล่าวมาแล้วนั้นพอสมาธิสูงถึงระดับฌานก็จะสลายตัว
    ไปเองปีตินี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วอารมณ์จะเป็นสุขคือถึงระดับที่สี่ ที่จะเข้าถึงปฐมฌาน ต่อไปก็
    เป็นปฐมฌานเพราะอยู่ชิดกัน

    <O:p</O:p**************************************************<O:p</O:p

    เข้าศึกษาได้ตั่งแต่เริ่มต้น...ทั้งหมด....ได้ที่นี่....หนังสือเล่มนี้เนื้อหาเพียงพอสำหรับผู้ที่จะปฏิบัติด้วยตนเอง....รวบรวมวิธี...และอาการทางสมาธิ...ทั้งหมด....ควรศึกษาให้เข้าใจสัก 1 รอบ(ไม่ยาวนัก)แล้วปฏิบัติได้เลย....คำถามทางสมาธิส่วนใหญ่ที่ถามในบอร์ดมักอยู่ที่นี่.......

    วิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองแบบง่ายๆ....โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน ( ฤาษีลิงดำ )...

    http://www.palungjit.org/smati/books/index.php?cat=7 <O:p</O:p<!-- google_ad_section_end -->
     
  5. jukka

    jukka สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +1
    อ่านข้อความนี้แล้ว ผมยังไม่เข้าใจครับ เป็นศัพท์ที่แปลได้ยาก ไม่เข้าใจความหมาย.. ผมจะพยามอ่านอีกหลายๆครั้ง เผื่อจะเข้าใจขึ้นมาบ้าง ขอบพระคุณในความกรุณาครับ
     
  6. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    อย่าไปเอา สัญญาขันธ์นำหน้า ครับ

    ของแบบนี้ เดี๋ยวมันจะ แจ้งแก่จิต แก่ใจ เอง เวลาที่ปฏิบัติ

    สมมติว่า ฟังประโยคนี้แล้ว ยัง "งง" อีก

    อันนี้ สงสัยว่า

    ต้องแนะนำว่า ลองหาฟังธรรมะ ที่กล่าวว่า "ให้หาจิต หาใจ ให้เจอก่อน"

    ซึ่งน่าจะเป็น เทศนาของหลวงปู่เทสก์ เทสรังษี

    พอเข้าใจ ว่า หาใจ หาอย่างไร คราวนี้ จะสดับธรรมะ โดยไม่เอา
    สัญญาขันธ์นำหน้าเพื่อทำความเข้าใจ มันจะค่อยๆ หายไป

    จนรู้ว่า "ธรรมะ" นั้นอ่านที่ "ใจ" จึงรู้

    ไม่ใช่ อ่านที่ตัวหนังสือแล้วจะรู้

    * * * *

    ถ้ายากอีก ก็ช่วยไม่ได้ครับ ต้อง โทษชื่อ ที่คุณใช้เป็น นามแฝง แล้วหละ
     
  7. jukka

    jukka สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +1
    มีบ้างในบางครั้งรู้สึกว่าไม่มีตัว ไม่มีหน้าตัก เป็นความรู้สึกว่าเบา.. แต่ไม่ได้เป็นไปตามขั้นตอนที่กล่าวมานะครับ อย่างมากก็ รู้ว่ามืด แล้วก็เบา ผมก็คิดไปว่า คงเป็นเพราะนั่งนาน (ไม่ถึง 10นาที) ไม่เปลี่ยนท่าจนทำให้รู้สึกชาไปเอง... ?

    เป็นขั้นเป็นตอนดีครับ พอเข้าใจได้ครับ ขอบพระคุณมากครับ
     
  8. jukka

    jukka สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +1
    ขอบคุณในกำลังใจครับ
     
  9. perter

    perter เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +187
    ประสบการณ์ที่เจอ มันเป็นผลของการทำสมาธิ ซึ่งจะแตกต่างกันไปเป็นประสบการณ์
    ของแต่ละบุคคล ก็อย่าทิ้งนะ น่าจะมาถูกทางแล้ว เราเชื่อว่าทุกอย่างจะมีการปรับสภาพ
    ให้ดีขึ้น อาการของปีตินั้นไม่จำเป็นว่าต้องเกิดขึ้นทุกตัว เมื่อปีติเกิดจะทำให้เราสุขมาก
    เป็นตัวเลี้ยงจิตได้ดี ให้ตามดู สังเกตุ พิจารณาดู ไปก่อน
     
  10. Darkever

    Darkever เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 เมษายน 2011
    โพสต์:
    450
    ค่าพลัง:
    +333
    เป็นสมาธิที่เร็วมาก เพาะอาการดังกล่าว เป็นอาการของสมาธิ
    ถ้านึกถึงลมแล้ว เกิด แปลว่าสมาธิเร็วมาก
     
  11. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,465
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,012
    ลองฟังอันนี้ดูครับคุณ พุทธสมาธิ จะได้เข้าใจครับ

    อาการของปีติ - Buddhism Audio

    อาการของปีติ

    <hr style="color:#FFFFFF; background-color:#FFFFFF" size="1">
    Artist: ศจ.อุบาสิกา คุณรัญจวน อินทรกำแหง
    <fieldset class="fieldset"> <legend>ไฟล์แนบข้อความ</legend> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="3"> <tbody><tr> <td width="20"><input id="play_8721" name="Music" value="attachment.php?attachmentid=8721" type="RADIO">ฟัง</td> <td>[​IMG]</td> <td>035 อาการของปีติ.mp3 (2.48 MB, 5393 views)</td></tr></tbody></table></fieldset>
     
  12. nichaojung

    nichaojung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    392
    ค่าพลัง:
    +8,247
    แล้วถ้าเกิดปิติแล้ว ต้องทำยังไงต่อไปคับ นั่งต่อไป ภาวนาต่อไปหรือควรพิจารณาคับ
     
  13. tanawass

    tanawass Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    335
    ค่าพลัง:
    +37

แชร์หน้านี้

Loading...