พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มาhttp://www.geocities.com/4465/dhamma/dhamma0912.htm


    <TABLE width="97%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    ไตรภูมิ : อบายภูมิ : เปรต : เปรตญาติของพระเจ้าพิมพิสาร ​
    </TD></TR><TR><TD>เปรตญาติของพระเจ้าพิมพิสาร
    <HR SIZE=1></TD></TR><TR><TD>ญาติโยมพุทธบริษัท ทั้งหลาย วันพุธนี้ มีโอกาสมาพบกับ บรรดาท่านพุทธบริษัทตามปกติ แต่ทว่าสำหรับเสียง อันนี้เอาแน่ไม่ได้นะ บรรดาญาติโยมพุทธบริษัท ทั้งหลายเรื่องเสียงนี่ก็ต้องขออภัย ถ้าหากมันดีบ้างไม่ดีบ้างกระแอมกระไอ ขอได้โปรดทราบ ว่าคนพูดอยู่ในลักษณะที่เรียกว่า ท่าทางไม่ดี คำว่าท่าทางไม่ดีในที่นี้ ก็หมายถึงว่าร่างกายมันไม่ดีหลังจากป่วยใหญ่มาแล้ว จนกระทั่งเวลานี้ ร่างกายยังไม่ปกติ จนกระทั่งปีนี้งานก่อสร้างต่างๆ ต้องเพลามือลง เพราะว่า ถ้าขืนทำตามความประสงค์ที่ทำไป ร่างกายทนไม่ไหว การควบคุมงานเป็นไปไม่ได้ตามปกติ
    เอาละเรื่องส่วนตัวขอระงับ จะเป็นที่รำคาญของท่านพุทธบริษัท สำหรับวันนี้ก็จะพูดเรื่องเปรต จะนำบรรดาท่านพุทธบริษัทไปชมเปรตสักนิด ชมกันสัก ๒๐ นาทีเศษๆ อย่าชมมากเลยนะ บรรดาท่านพุทธบริษัท ถ้าขืนชมกันมากก็แค่นั้นแหละ คือ เป็นเปรต แล้วอาตมาเองก็ไม่ทราบชัดนัก สภาวะของเปรตเป็นยังไง จะเล่าให้ฟังโดยละเดียดมันไม่ได้ เพราะตำราหาย ได้บอกมาตั้งแต่วันพุธก่อนแล้วนี่ว่า ตำราเปรตเรียงลำดับ ๑๒ จำพวกมันหายไป ก็เลยมาคุยกันอย่างคร่าวๆ ก็แล้วกัน
    วันนี้จะเล่าเรื่องราวของเปรตญาติของพระเจ้าพิมพิสาร รู้สึกว่ามีเรื่องราวน่าฟัง ที่ว่าน่าฟังก็เรียกว่ามีต้นเหตุ แล้วก็ไล่เบี้ยจากนรกขึ้นมาจนกระทั่งถึงเป็นเปรต สำหรับเปรตพวกอื่นก็เหมือนกัน ถ้าบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทอยากจะทราบก็ถือว่ามีอาการคล้ายคลึงกัน จะเล่าให้ฟังละเอียดนักก็ไม่ได้
    ลองมองไปทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของยมโลกียนรก นั่นเป็นแดนของเปรต ถ้าจะดูสภาพของเปรตแล้วก็จะเห็น เห็นว่าเปรตสะพรั่งไปหมด มีดินแดนสุดลูกหูลูกตา แต่ทว่า จะอธิบายให้ฟังได้ยังไง ทั้งนี้เพราะว่าไม่เข้าใจเรื่องราวของเปรต เอากันยังงี้ดีกว่า มาคุยกันถึงเรื่องเปรตญาติของพระเจ้าพิมพิสาร เพราะมีลำดับดีที่พระพุทธเจ้าตรัส ความจริงเรื่องเปรตญาติของพระเจ้าพิมพิสารนี่เล่ามาหลายครั้ง แต่ไม่มีการบันทึกไว้แน่นอน
    วันนี้เรามาพูดกันให้ละเอียดสักหน่อยว่า ในสมัยหนึ่ง จำชื่อพระพุทธเจ้าไม่ได้ ความจริงพระพุทธเจ้าท่านทรงตรัสไว้ว่า มีพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งมีพระนามว่าอะไรท่านบอกไว้ชัด แต่อาตมาจำไม่ได้ ขอยกไปก็แล้วกัน ขืนมานั่งพรรณนากันอยู่ก็เป็นที่น่ารำคาญ พระพุทธเจ้าองค์หนึ่งมีพระราชโอรส ๔ พระองค์ พระราชามีความเลื่อมใสในองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า และลูกชายก็เลื่อมใสด้วย เวลาที่พระพุทธเจ้าพร้อมไปด้วยพระพุทธสาวกมาพักในพระราชนิเวศน์เขตพระราชฐาน พระราชโอรสทั้ง ๔ ท่านก็เลี้ยงดูพระด้วยความเลื่อมใส
    แต่ว่างานเลี้ยงพระเป็นงานใหญ่ ด้วยพระที่ติดตามพระพุทธเจ้ามีจำนวนหมื่นจำนวนแสน การเลี้ยงพระต้องมีงานหนัก ฉะนั้นพระราชโอรสทั้ง ๔ พระองค์จึงได้มอบงานเลี้ยงพระให้แก่นายเสมียน สมัยนั้นพระเจ้าพิมพิสารพระเจ้าแผ่นดินมคธในสมัยที่พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นนี้ ก็เคยเป็นพระสหาย เป็นนายเสมียน นายเสมียนสมัยนั้น สมัยนี้ควรเรียกว่าเลขานุการ เป็นผู้แทนจัดงานเลี้ยง จัดเงินในคลังออกมาจับจ่ายใช้สอยเลี้ยงพระเลี้ยงคนของพระตามเท่าที่จะมี เรียกว่าเลี้ยงกัน ก็เลี้ยงอย่างดี เมื่อนายเสมียนใช้คนอื่นเขามาทำงานเขาก็ช่วยด้วยดี ทีนี้ต่อไปก็เห็นว่าถ้าเราได้ญาติของเรามาช่วยในการนี้จะดีมาก
    ความจริงนายเสมียนนั้นเป็นคนซื่อสัตย์บริสุทธิ์ ไม่คิดคดไม่คิดโกง หมายความว่า ไม่กินข้าวพระ ไม่กินสบงพระ ไม่กินจีวรพระ ไม่กินบาตรพระ ไม่กินรองเท้าของพระ แล้วก็ไม่กินกุฏิวิหารการเปรียญของพระ ไม่กินโบสถ์ของพระ ไม่เหมือนพระบางประเภท พระบางประเภทกินกัน บางวัดกินหอสวดมนต์เข้าไปตั้ง ๑๐ ปี บางวัดกินโบสถ์ กินศาลาการเปรียญ กินอะไรต่อมิอะไร อันนี้รู้สึกว่าขากรรไกรดีมาก ฟันดี กินอิฐ กินปูน กินทราย กินไม้ท่อน กินไม้เลื่อย กินกันได้ทุกอย่าง แต่ว่านายเสมียนคนนั้น ฟันไม่ดี ขากรรไกรไม่ดีกินไม่ไหว เลยไม่อยาก
    แต่ต่อมาเอาญาติเข้ามา บรรดาญาติทั้งหลายเหล่านี้ซิ เป็นคนฟันดี ขากรรไกรดี ในตอนต้นก็ช่วยงานด้วยดี ด้วยความซื่อสัตย์บริสุทธิ์ พอชักนานๆ เข้า ความเชื่องมันเกิด ความชินมันมี ก็คิดถึงว่าได้เรื่องบาปบุญคุณโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ที่พระพุทธเจ้าเทศน์ ไม่มีความหมาย นรกอยู่ที่ไหน สวรรค์อยู่ที่ไหนฉันมองไม่เห็น คนตายแล้วก็แล้วกันไป แต่เวลาที่เรามีชีวิตอยู่นี้ให้มันมีความสบายก็แล้วกัน นี่ ตัวมิจฉาทิฐิแปลว่าเห็นผิด มองกันแต่ปัจจุบัน
    เมื่ออารมณ์ของแกเป็นยังงี้แกก็เริ่มจัดการตามระเบียบ เงินที่เขาให้มาเลี้ยงพระ ก็กันเข้ากระเป๋าเสียบ้าง ของราคา ๑ บาท ก็มาแจ้งว่าราคา ๖ สลึง หรือ ๒ บาท ของซื้อมา ๑๐ ชิ้น ก็แจ้งว่าซื้อมา ๕ ชิ้น เวลาเขาทำของให้พระ กลิ่นมันดี หอมดีรสอร่อย ก็กินเสียก่อนบ้าง ให้ลูกหลานกินก่อนบ้าง กีดกันเอาของพระไปไว้บ้านบ้าง เวลาพระฉันแล้วก็ดี หรือยังไม่ได้ฉันก็ดี เอาแอบใส่หม้อใส่ไห เอาข้าวใส่กระบุง ใส่หม้อใหญ่ เอาแกงใส่หม้อย่อม เอาไปกินที่บ้าน เอาไปเลี้ยงกันเป็นส่วนตัว ที่ทำมาแบบนี้ปกติไม่ต้องบรรยายมากนัก เป็นอันรู้กันว่าทุจริตก็แล้วกัน คดโกงของสงฆ์
    เมื่อบรรดาบุคคลทั้งหลายเหล่านี้ตาย ตายแล้วนะ นายเสมียนไปเป็นเทวดา แล้วต่อมานายเสมียนก็มาเกิดเป็นพระเจ้าพิมพิสาร นี่คนที่เอาเข้ามานะเขาไม่รู้ไม่เห็นด้วย ไม่เหมือนสมภารบางวัดกับทายก มีความเห็นร่วมกัน กีดกันเงินที่เขาเรี่ยไรมาได้ เอามาเป็นสมบัติส่วนตัว มาแบ่งกันเสียบ้าง แล้วก็เอาไปทำบ้าง บางทีก็ไม่ทำเลย มีงานบอกว่าขาดทุน ขาดทุนก็เล่นเงินกรรมการเข้าไปอีก เรียกว่าเอา ๒ ชั้น เงินที่ได้มาก็โกง เงินที่เขาสำรองทุนมาก็โกง นี่แบบเดียวกัน จะเล่าตัวอย่างให้ฟัง
    เมื่อนายเสมียนไปเป็นเทวดา บรรดาญาติทั้งหลายเหล่านั้นไปไหน? โน่น ย่องไปนรก ไปสู่อเวจีมหานรกสิ้นระยะกัปหนึ่ง นี่ลงไปจริงๆ ไม่ได้ทำท่าจะลงอย่างท่านสุปติฎฐ ทีนี้เมื่อพ้นจากอเวจีมหานรกแล้ว ผ่านนรกบริวาร ๔ ขุมก็แล้ว เมื่อพ้นนรกบริวาร ๔ ขุมแล้ว ก็มายมโลกียนรกอีก ๑๐ ขุม ไล่ตามลำดับ แกเอาหมด คนประเภทนี้แล้วมีจิตอย่างนี้ไม่เหลือ นรกมีกี่ขุมลงหมด พ้นจากนรก ๑๐ ขุมนั่นแล้วก็มาเป็นเป็นคนอีก ๑๒ จำพวก เป็นเปรตระดับมีบาปหนักโทษหนัก พ้นแล้วก็มีโทษเบาขึ้นมาทีละน้อยๆ ในที่สุดในสมัยที่พระพุทธเจ้ามีพระนามว่าพระปทุมุตตระ
    อันนี้แน่หรือไม่แน่ก็ไม่ทราบ ถ้าไม่ใช่พระปทุมุตตระ ก็วิปัสสี ๒ องค์ จำไม่ได้ถนัด อันไหนที่จำได้ก็บอก ที่จำไม่ค่อยได้ก็ไม่บอก รับกันตรงๆ เพราะอาตมาเองก็ไม่ญาณพิเศษ ไม่ใช่พระพุทธเจ้า หรือไม่ใช่พระสาวกองค์สำคัญ จึงจะได้รู้ว่าอะไรผิดอะไรถูกเสมอไป บางทีแน่ใจเหมือนกันแต่ไม่กล้าพูด เกรงว่าจะผิดตำรา เพราะเวลาพูดนี่ไม่ได้เขียนหนังสือมา ไม่ได้เอาตำรามาอ่าน ดูไว้หลายปีแล้วจำได้ ก็เลยนำมาพูดเท่าที่จำได้ ถ้ามันขาดตกบกพร่องไปบ้างก็ขออภัยท่านผู้รับฟังด้วย
    ในเมื่อเป็นเปรต ๑๑ จำพวกแล้ว ก็มาเป็นเปรตจำพวกสุดท้ายเรียกว่า ปรทัตตูปชีวีเปรต เข้าใจว่าสมัยนั้นเป็นสมัยพระปทุมุตตระทศพลพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง เข้าใจว่านะ ถ้าผิดไปก็ขออภัยด้วย บรรดาปรทัตตูปชีวีเปรตพวกนั้นความจริงเป็นเปรตมีกรรมเบาแล้ว เปรต ๑๑ จำพวกได้บอกมาแล้วว่าไม่มีโอกาสจะโมทนาส่วนกุศล หรือสัตว์นรกก็เหมือนกัน คนที่ตายแล้ว ถ้าเลยลงไปนรก หรือเป็นเปรต ๑๑ จำพวก บรรดาญาติโยมที่อยู่ในชาตินี้หรือคนที่มีความหวังดีคิดจะสงเคราะห์ทำบุญส่วนกุศลอุทิศไปให้ อันนี้ไม่มีโอกาส ไม่มีทางที่จะได้โมทนา โปรดจำไว้ด้วย เรียกว่าโมทนาไม่ไหว เพราะว่าไม่มีโอกาส มันทุกข์ทรมานมากเหลือเกิน ทั้งเจ็บทั้งปวดทั้งร้อน ไม่มีเวลายินดีกับอะไรทั้งหมด
    ตานี้พอมาถึงปรทัตตูปชีวีเปรต พวกนี้มีกรรมไม่มาก ไม่มีหนอนกิน ไม่มีไฟไหม้ ไม่มีหอกเสียบแทง แต่ทว่าต้องเดินหิว ไปทางไหนๆ หาอะไรกินไม่ได้ รออย่างเดียว คือใครเขาจะมาทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บ้าง ถ้าใครเขาทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ ได้รับการโมทนาก็มีความสบาย ฉะนั้น เวลาทำบุญ หากว่าท่านทั้งหลายที่ทำบุญแล้วเปล่งวาจาเฉพาะญาติใครเขาทำบุญที่ไหนก็ตาม ต้องเป็นคนที่ทำบุญแล้วได้บุญนะ ถ้าทำบุญแล้วไม่ได้บุญ เปรตพวกนี้ก็ไม่ไปล้อมอยู่สะพรั่งรอบๆ บริเวณนั้น คอยโอกาสที่ได้รับโมทนา ตอนนี้ท่านพุทธบริษัทอาจจะสงสัยว่าทำบุญประเภทใดได้บุญ ทำบุญประเภทใดไม่ได้บุญ บางคนทุนเป็นหมื่นเป็นแสน ทำแล้วไม่ได้บุญ แล้วบรรดาเปรตไม่โมทนา เพราะอะไร เพราะในงานนั้นมีการล้มวัวล้มควายล้มหมูเลี้ยงเหล้า
    ถ้าแบบนี้ไม่มีบุญ เพราะบาปมันเข้าไปขวาง เจตนาที่เป็นกุศลมันก็ไม่มี ถ้าอกุศลมันเข้าไป เวลาจะทำบุญให้ได้บุญจริงๆ ต้องมีอารมณ์สงบ เว้นจากสิ่งที่เป็นบาปทั้งหมด แม้แต่ไข่ที่มีชีวิตเราก็ไม่ทุบ เว้นแต่ไข่ฟางที่ไข่แล้วไม่มีตัวผู้ทับอันนี้เขากล่าวว่าไม่เป็นตัว อาตมาก็ไม่ทราบแน่นักนะ ถ้านักวิจัยฝ่ายวิทยาศาสตร์เขารับรองก็ใช้ได้ ถ้าฟักแล้วไม่เป็นตัว ไอ้ยังงี้ไม่บาป ถ้าลงเป็นตัวละก็บาป อย่างนี้ ไม่ยอมให้มีระหว่างจะทำบุญ แล้วก็เวลาทำ ทำจิตใจให้สบายไม่ห่วงใยอย่างอื่น เวลาพระให้ศีลตั้งใจรับศีลด้วยความเคารพแล้วก็ประพฤติตามศีล เวลาถวายทาน ถวายทานด้วยความเคารพ เวลาพระเทศน์ตั้งใจสดับพระธรรมเทศนาด้วยความเคารพ ทีนี้ เมื่อเคารพจริงๆ จิตสบายอารมณ์จึงจะมีบุญ เปรตทั้งหลายจึงยอมโมทนาส่วนกุศลเพราะคนนั้นมีบุญ ถ้าหากพอเริ่มงานเลี้ยงเหล้า ฆ่าวัวฆ่าควายฆ่าไก่ฆ่าปลา ตอนนี้อกุศลเข้ามาทับหัวใจเสียแล้วกรรมที่เป็นกุศลเข้าไม่ได้ การทำบุญคราวนั้นทั้งคราวหาบุญไม่ได้ อย่างนี้ เปรตไม่โมทนาเคยพบ คำว่าเคยพบในที่นี้ หมายความว่าเคยพบเรื่องราวของเปรตที่รับโมทนาจากญาติไม่ได้
    ตานี้ปรทัตตูปชีวีเปรตพวกนี้ก็เหมือนกัน เมื่อท่องเที่ยวมาตั้งนาน ไม่ทราบว่าสมัยนั้นพระพุทธเจ้าทางพระนามว่าพระปทุมุตตระ ทรงอุบัติขึ้นในโลก ถ้าชื่อผิดละขออภัยนะ บรรดาเปรตพวกนี้ที่เข้าไปหาพระพุทธเจ้า ไปกราบทูลว่าข้าพระพุทธเจ้าข้าอดข้าวนับเวลาเป็นร้อยๆ กัป หรือเป็นแสนกัปเชียวนะพ้นจากนรกมาแล้วน่ะ มันนานเหลือเกิน เวลานี้ ข้าพระพุทธเจ้าเห็นข้าวเข้า ข้าวเขากองไว้ จะกินเข้าไปมันก็เป็นแกลบแล้วก็มีไฟลุก เห็นน้ำอยากน้ำ เป็นแม่น้ำวิ่งเข้าไปจะกินน้ำเพราะกระหายน้ำ เข้าไปน้ำแห้ง น้ำเป็นแกลบ แล้วเป็นไฟลุกกินไม่ได้เป็นอันว่าไม่ได้กินมานานแล้ว จึงกราลทูลถามองค์สมเด็จพระประทีปแก้วว่า เมื่อไรข้าพระพุทธเจ้าจะมีข้าวมีน้ำกินกับเขาสักที
    องค์สมเด็จพระชินสีห์ท่านเป็นพระพุทธเจ้า ความจริงถ้าจะช่วยบุญของท่านก็เหลือหลายเหลือโมทนาส่วนกุศล นี่องค์สมเด็จพระทศพบท่านทรงทราบไม่ใช่อย่างพวกเรา เดาดะไม่เลือกอะไรๆ ก็เรียกว่าใช้ได้มันไม่ถูก พระพุทธเจ้าท่านทรงทราบกฎของกรรมดีว่าเปรตพวกนี้ยังช่วยไม่ได้ ก็ต้องทรงอุเบกขาเข้า คือว่างเฉย แต่ก็มีเมตตา เมื่อเปรตทั้งหลายเหล่านั้นมาทูลถามสมเด็จพระบรมศาสดา พระองค์ก็ทรงทราบด้วยอำนาจพระพุทธญาณว่าหลังจากนี้ไป ๙๑ กัป จะมีพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งนามพระสมณโคดม ทรงอุบัติขึ้นในโลก และญาติเปรตทั้งหลายเหล่านี้ที่เป็นนายเสมียนกำลังเป็นเทวดาอยู่ จะมีพระราชานามว่าพระเจ้าพิมพิสารในประเทศมคร แล้วก็ปรากฏว่าจะเป็นผู้อุปถัมภ์ของพระพุทธเจ้าเป็นพระสหายกันมาก่อน เมื่อทำบุญแล้ว พระเจ้าพิมพิสาร อุทิศส่วนกุศลให้กับเปรตทั้งหลายเหล่านี้ เปรตผู้นี้ได้รับการโมทนาก็จะมีสภาพพ้นจากความเป็นเปรตจะเป็นเทวดาเพราะอำนาจกุศลที่พระเจ้าพิมพิสารให้
    เมื่อองค์สมเด็จพระจอมไตรทรงทราบ จึงได้มีพระพุทธฎีกาตรัสกับเปรตทั้งหลายเหล่านั้นตามที่กล่าวมาแล้ว เมื่อเปรตทราบจากองค์สมเด็จพระประทีปแก้วว่าอีก ๙๑ กัป จะได้กินข้าวกินน้ำมีความสุขก็ดีใจ มีความรู้สึกคล้ายๆ กับว่าเวลา ๙๑ กัปเป็นวันพรุ่งนี้เห็นไหมล่ะ นี่ไม่รู้ว่าอดมาเมื่อไหร่นะ แต่ถอยหลังไปลงนรกเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ มาเป็นเปรตอันดับ ๑ ถึง ๑๑ เมื่อไหร่ก็ไม่รู้ และเป็นเปรตอันดับ ๑๐ ผ่านมาแล้วกี่กัปก็ไม่ทราบ มาพบพระพุทธเจ้าตอนนี้ เหลืออีก ๙๑ กัป จะได้กินข้าวกินน้ำ กัปหนึ่งมีระยะเท่าไรก็พูดมาแล้วในสมัยอเวจีนรก ตอนนั้นพูดมาแล้วตั้ง ๙๑ กัปลองคิดดู ว่ามันต้องทรมานสักเท่าใด แต่เขาอดกันมานานก็ดีใจว่าจะได้มีโอกาสกินข้าวกินน้ำ
    หลังจากนั้นมาเปรตพวกนั้นก็ท่องเที่ยวทนความลำบากมาถึง ๙๑ กัป มาต้นกัปนี้พระพุทธเจ้ามีนามว่า กุกุธสันโธ องค์ที่ ๒ มีนามว่าพระโกนาคม องค์ที่ ๓ มีนามว่า พระพุทธกัสสป เปรตพวกนี้ก็เข้าไปถามทุกท่าน พระพุทธเจ้าแต่ละองค์ก็ทรงพยากรณ์ว่า ว่าพระสมณโคดมอุบัติขึ้นในโลก ญาติของเธอมีนามว่าพระเจ้าพิมพิสารบรมกษัตริย์พระบาทท้าวเธอมีความเลื่อมใสในสมเด็จพระจอมไตรทรงพระนามว่าพระสมณโคดมเมื่อบำเพ็ญกุศล แล้วอุทิศส่วนกุศลให้แก่เธอ พวกเธอได้รับโมทนาแล้วจะพ้นทุกข์ เขาก็มีความสุขใจ ว่านี่เรารอมาได้จากพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าพระปทุมุตตระถึง ๙๑ กัป แล้วก่อนนั้นอีก เพียงระยะกัปนี้เท่านั้นเองเรามีโอกาสจะได้รับความสุข เขาดีใจมากลิงโลดใจมาก
    แล้วต่อมาเมื่อสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ามีนามว่าพระสมณโคดม คือพระพุทธเจ้าองค์นี้ทรงอุบัติขึ้นในโลก แล้วพระเจ้าพิมพิสารก็มีความเลื่อมใส นิมนต์พระพุทธเจ้ามาอยู่ที่พระเวฬุวันมหาวิหารสร้างวัดถวายเป็นวัดแรกในพระพุทธศาสนา แล้วก็เลี้ยงดูพระตลอดเวลาแต่ก็ไม่เคยอุทิศกุศลไม่เคยกรวดน้ำ บรรดาเปรตทั้งหลายเหล่านี้ไปยืนคอย นั่งคอยนอนคอยในบริเวณเขตพระราชฐานของพระเจ้าพิมพิสารทุกวัน ไม่เห็นให้สักที หนักเข้าๆ มันทนอยากไม่ไหว ตั้งใจมาแล้วตั้ง ๙๑ กัป ไม่ใช่ ๙๑ ปีนะ ๙๑ กัป ทีนี้เมื่อตั้งท่าค่อยมาแบบนี้ตอนนี้ก็มาคอยอยู่ข้างๆ ไม่เห็นให้ เลยทนไม่ไหว
    คืนหนึ่งที่พระเจ้าพิมพิสารเข้าไปจะนอนในห้องบรรทมอันเป็นศิริ บรรดาเปรตทั้งหลายเหล่านี้ก็ส่งเสียงร้องให้ปรากฏ เป็นเสียงร้องว่ายังไงก็ไม่ทราบ จะบอกว่าการร้องอย่างงั้นอย่างงี้ ดีไม่ดีอาตมาก็จะเป็นเปรตปลอมไป เรียกว่าร้องไม่ถูกจักหวะเปรต ไม่ได้ยินนี่ว่าเขาร้องกันยังไง เป็นอันว่าร้องไม่เหมือนเสียงธรรมดาที่เคยได้ยินก็แล้วกัน พระเจ้าพิมพิสารแปลกใจ ในตอนเช้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าแต่เช้า ไปกราบทูลให้ทรงทราบว่า เมื่อคืนไม่ทราบว่าเสียงอะไร แปลกประหลาด ข้าพระพุทธเจ้าหวาดใจ องค์สมเด็จพระจอมไตรก็ทรงแจ้งให้ทราบ มีพระพุทธฎีกาว่า มหาราชะ ขอถวายพระพรมหาบพิตรพระราชสมภาร เสียงนั้นไม่ใช่เสียงอะไร เป็นเสียงเปรตญาติของพระองค์ แล้วก็เล่าเรื่องต่างๆ ตามที่กล่าวมาแล้วให้ฟังโดยละเอียด
    พระเจ้าพิมพิสารก็มีความสงสาร จึงนิมนต์องค์สมเด็จพระพิชิตมารพร้องไปด้วยพระสาวกทั้งหลาย ที่อยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ตอนนั้นพระยังรวมกันประมาณ ๕๐๐ รูป เข้าไปฉันในพระราชนิเวศน์ พอพระฉันเสร็จพระเจ้าพิมพิสารก็กรวดน้ำตามพิธีของพราหมณ์ติดมาถึงสมัยนี้ แต่ว่าตามแบบฉบับของพุทธศาสนา การกรวดน้ำท่านเรียกอุทิศ คือมีเจตนาแผ่เมตตาส่งไปให้เจาะจง อุทิศนี้แปลว่าเจาะจงเฉพาะ คือเรียกว่าบุญนี้เราขอให้คนนั้น ขอให้คนนี้ ไม่ต้องใช้น้ำก็ได้ แต่เวลานั้นเป็นพิธีพราหมณ์ ยังติดอยู่มาก พระพุทธศาสนายังเกิดขึ้นใหม่ๆ พระเจ้าพิมพิสารก็นำพระเต้าทองที่มีน้ำ ราดลงไปบนมือของพระพุทธเจ้า กล่าวคำอุทิศว่า อิทังโน ญาตีนัง โหตุ ซึ่งแปลเป็นใจความว่า ขอผลบุญนี้ จงมีแก่ญาติของข้าพเจ้าเพียงเท่านี้ บรรดาเปรตทั้งหลายก็ได้รับโมทนา และอัตภาพแห่งความเป็นเปรตซีดเซียวก็หมดไป มีอาการผ่องใส มีอาการอิ่มเอิบ มีความสุข มีความสบาย มีร่างกายสวยเหมือนเทวดา
    ทีนี้เวลาให้น่ะเขาไม่ได้ให้วัตถุหรอกนะ จะเข้าใจว่าให้ข้าวไปกิน กรวดน้ำให้ข้าวเป็นก้อนๆ ไปกินแกงเป็นถ้วยๆ ขนมเป็นชิ้นๆ ไม่ใช่ยังงั้น เป็นอำนาจของความดี เมื่อได้รับโมทนาแล้ว มีความอิ่มขึ้นมา ไม่ต้องเปิบ อิ่มมีกำลังมีความสุข มีความเยือกเย็นมีความสวยสดงดงาม แต่ทว่าเปรตทั้งหลายเหล่านี้ ในชาติก่อนไม่เคยถวายไตรจีวรไว้ในพระพุทธศาสนา เมื่อได้รับโมทนาแล้วร่างกายเป็นเทวดา ไม่มีผ้านุ่ง ไม่มีเสื้อใส เป็นเทวดาชีเปลือย ก็มีความลำบากใจ ตอนกลางคืนเข้าไปหาพระเจ้าพิมพิสาร คราวนี้ไม่ร้อง ไปยืนให้เห็นยืนสะพรั่ง ร่างกายสวยสดงดงาม แต่ว่าไม่มีผ้านุ่ง ไม่มีเสื้อ ไม่มีอะไรปิดป้องกาย ตอนนี้สงสัยว่าบรรดาพวกเปรตทั้งหลายไปยืนให้พระเจ้าพิมพิสารเห็น น่ากลัวจะหันหลังให้ ถ้าหันหน้าให้คงทุเรศใจมาก
    ตอนเข้า พระเจ้าพิมพิสารมาทูลถามพระผู้มีพระภาคถึงภาพนั้น พระพุทธเจ้า ก็บอกว่าไม่ใช่ใคร เปรตพวกเดิม ได้รับโมทนาแล้วมีความสุขมีกายเป็นเทวดา แต่ขาดเครื่องประดับ เพราะว่าชาติก่อนไม่เคยบำเพ็ญกุศลเรื่องผ้าผ่อนท่อนสไบไว้ในพระพุทธศาสนา พระเจ้าพิมพิสารว่าทำยังไงเขาจึงจะได้ ท่านมีเมตตา พระพุทธเจ้าก็บอกว่าให้พระองค์ถวายผ้าแก่พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ท่านไม่ให้จำกัด แต่พระเจ้าพิมพิสารท่านเป็นกษัตริย์ ท่านรวย เลยถวายผ้าหมดทั้งวัด ถวายอาหารใหม่แล้วถวายผ้าหมดวัด แล้วอุทิศส่วนกุศลให้ บรรดาเทวดาที่มีกำเนิดจากเปรตทั้งหลาย เมื่อได้รับโมทนา มีเครื่องประดับอันเป็นทิพย์แล้ว ก็ไปอยู่ในสถานที่อันจะพึงควรอยู่ เป็นอันว่านับแต่วันนั้นเป็นต้นมา บรรดาเปรตทั้งหลายเหล่านั้นก็ไม่มารบกวนพระเจ้าพิมพิสารอีก
    นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัท ที่นำเรื่องราวนี้มาคุยให้ฟังก็เพื่อจะได้ทราบว่าการทำบาปแล้วไปลงนรก แล้วก็ผ่านนรกมาเป็นเปรตกี่จำพวก มาเป็นปรทัตตูปชีวีเปรต มีความลำบากเท่าไร จะเล่าให้ละเอียดนักก็ไม่ได้เพราะตำราละเอียดไม่มี เอาละสำหรับวันนี้ หวังว่าบรรดาท่านพุทธบริษัทที่รับฟัง และบรรดาพระคุณเจ้าที่รับฟังคงจะเข้าใจ เข้าใจหรือไม่ก็ตามขอยุติไว้เพียงเท่านี้ ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผล จงมีแด่บรรดาท่านพุทธศาสนิกชน และบรรดาพระคุณเจ้าผู้รับฟังทุกท่าน สวัสดี

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="97%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    จากหนังสือไตรภูมิ พระมหาวีระ ถาวโร (หลวงพ่อพระราชพรหมยาน) วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    พุทธประวัติของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์

    http://larndham.net/index.php?showtopic=24011&st=0


    <TABLE width="100%" bgColor=#e4f3f3 border=0><TBODY><TR><TD>ความคิดเห็นที่ 3 : (sushi)</TD><TD>

    </TD><TR><TD colSpan=2>
    "พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ อุบัติในภัททกัปนี้"



    คำว่า "กัป" หมายถึง ระยะเวลาที่ยาวนานเหลือเกินที่กำหนดว่าโลกคือสกลจักวาฬ ประลัยครั้งหนึ่ง คือกำหนดอายุของโลก ท่านให้เข้าใจด้วยอุปามาว่าเปรียบเหมือนมีภูเขาศิลาล้วน กว้าง ยาว สูงด้านละ 1 โยชน์ (๔๐๐ เส้นหรือประมาณ ๑๖ กิโลเมตร) ทุก 100 ปี มีคนนำผ้าเนื้อละเอียดอย่างดีมาลูบครั้งหนึ่ง จนกว่าภูเขานั้นจะสึกหรอสิ้นไป กัปหนึ่งยาวกว่านั้น



    "กัป" ปัจจุบันนี้เรียกว่า "ภัททกัป" หรือ "ภัทรกัป" แปลว่า กัปเจริญ เพราะในภัททกัปจะมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นถึง ๕ พระองค์ คือ



    ๑. พระกกุสันธะ


    ๒. พระโกนาคมนะ


    ๓. พระกัสสปะ


    ๔. พระโคดม (คือพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน)


    ๕. พระศรีอริยเมตไตรย



    ในภัททกัปนี้จักมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในอนาคตอีกหนึ่ง พระองค์คือ "พระศรีอริยเมตไตรย"


    บทนมัสการว่า "นโม พุทธาย" แปลตามศัพท์ว่า "นอบน้อมแต่พระพุทธเจ้า"เป็นคำ กลาง ๆ แต่ก็นับถือกันว่าเป็นบทไหว้พระพุทธเจ้า ๕ ประองค์ น่าจะเพราะนับได้ ๕ อักษร และพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์นั้น ก็หมายถึง พระพุทธเจ้าซึ่งได้อุบัติแล้วและจักอุบัติในภัททกัปนี้



    ที่มา : หนังสือ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า โดย ภัทรวรรณ วันทนชัยสุข


    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    <TABLE width="100%" bgColor=#e4f3f3 border=0><TBODY><TR><TD>ความคิดเห็นที่ 4 : (sushi)</TD><TD>

    </TD><TR><TD colSpan=2>
    "พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ ใกล้กาลปัจจุบัน"



    พระพุทธเจ้า ๗ ประองค์ ที่ใกล้กาลปัจจุบันที่สุด และคัมภีร์กล่าวถึงบ่อย ๆ คือ



    ๑. พระวิปัสสี


    ๒. พระสิขี


    ๓. พระเวสสภู


    ๔. พระกกุสันธะ


    ๕. พระโกนาคมนะ


    ๖. พระกัสสปะ


    ๗. พระโคดม (คือพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน)



    "พระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์ ที่พระโคดมพุทธเจ้าทรงพบ"



    พระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์นี้ ๒๔ พระองค์ คือ พระพุทธเจ้าที่ระโคดมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน) ได้ทรงพบและพระโคดมพุทธเจ้าทรงได้รับพยากรณ์ว่า จะได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า นิยมนับรวมพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันเข้ารวมด้วยเรียกว่า "พระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์" นับแต่พระองค์แรกจนถึงพระโคดมพุทธเจ้า มีดังนี้



    ๑. พระทีปังกร


    ๒. พระโกณฑัญญะ


    ๓. พระสุมัคละ


    ๔. พระสุมนะ


    ๕. พระเรวตะ


    ๖. พระโสภิตะ


    ๗. พระอโนมทัสสี


    ๘. พระปทุมะ


    ๙. พระนารทะ


    ๑๐. พระปทุมุตตระ


    ๑๑. พระสุเมธะ


    ๑๒. พระสุชาตะ


    ๑๓. พระปิยทัสสี


    ๑๔. พระอัตถทัสสี


    ๑๕. พระธรรมทัสสี


    ๑๖. พระสิทธัตถะ


    ๑๗. พระติสสะ


    ๑๘. พระปุสสะ


    ๑๙. พระวิปัสสี


    ๒๐. พระสิขี


    ๒๑. พระเวสสภู


    ๒๒. พระกกุสันธะ


    ๒๓. พระโกนาคมนะ


    ๒๔. พระกัสสปะ

    ๒๕. พระโคตมะ (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน)



    จากคุณ : sushi [ ตอบ: 04 ม.ค. 50 [​IMG]18:44 ] แนะนำตัวล่าสุด [​IMG] 16 ม.ค. 50 | สมาชิกลานธรรมถาวร | [​IMG]ตอบ: 135 | ฝากข้อความ | MSN |
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    <TABLE width="100%" bgColor=#e4f3f3 border=0><TBODY><TR><TD>ความคิดเห็นที่ 5 : (sushi)</TD><TD>

    </TD><TR><TD colSpan=2>
    "พระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์ ในพระคัมภีร์ชั้นอรรถกถา"



    ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถาแสดงย้อนหลังพระนามของพระพุทธเจ้ารวมกัน ถึง ๒๘ พระองค์ ซึ่งมักอ้างในบทสวดหรือในการประกอบพิธีหลายอย่างมีดังนี้



    ๑. พระตัณหังกร


    ๒. พระเมธังกร


    ๓. พระสรณังกร


    ๔. พระทีปังกร (รวม ๔ พระองค์อุบัติในกัปหนึ่ง)


    ๕. พระโกณฑัญญะ (เพียงพระองค์เดียวอุบัติในกัปหนึ่ง)


    ๖. พระสุมังคละ


    ๗. พระสุมนะ


    ๘. พระเรวตะ


    ๙. พระโสภิตะ (รวม ๔ พระองค์อุบัติในกัปหนึ่ง)


    ๑๐. พระอโนมทัสสี


    ๑๑. พระปทุมะ


    ๑๒. พระนารทะ (รวม ๓ พระองค์อุบัติในกัปหนึ่ง)


    ๑๓. พระปทุมุตตระ (เพียงพระองค์เดียวอุบัติในกัปหนึ่ง)


    ๑๔. พระสุเมธะ


    ๑๕. พระสุชาตะ (รวม ๒ พระองค์อุบัติในกัปหนึ่ง)


    ๑๖. พระปิยทัสสี


    ๑๗. พระอัตถทัสสี


    ๑๘. พระธรรมทัสสี (รวม ๓ พระองค์อุบัติในกัปหนึ่ง)


    ๑๙. พระสิทธัตถะ (เพียงพระองค์เดียวอุบัติในกัปหนึ่ง)


    ๒๐. พระติสสะ


    ๒๑. พระปุสสะ


    (รวม 2 พระองค์อุบัติในกัปหนึ่ง)


    ๒๒. พระวิปัสสี (เพียงพระองค์เดียวอุบัติในกัปหนึ่ง)


    ๒๓. พระสิขี


    ๒๔. พระเวสสภู (รวม 2 พระองค์อุบัติในกัปหนึ่ง)


    ๒๕. พระกกุสันธะ


    ๒๖. พระโกนาคมนะ


    ๒๗. พระกัสสปะ


    ๒๘. พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ของเราทั้งหลาย


    (รวม ๔ พระองค์อุบัติแล้วในกัปนี้)



    อนึ่ง ในกัปนี้เอง จักอุบัติขึ้นในอนาคตอีกหนึ่งพระองค์ คือ "พระเมตเตยยะ" หรือ "พระศรีอารยเมตไตรย" แต่มักเรียกกันว่า "พระศรีอารย์" ซึ่งจะอุบัติขึ้นหลังจากสิ้นศาสนา พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันแล้ว ในกาลนั้นมนุษย์ มีอายุยืน ๘๐,๐๐๐ ปี


    จะเห็นได้ว่าใน ๑๑ กัปที่ผ่านมาไม่มีกัปใดที่มีพระพุทธเจ้าเกิน ๔ พระองค์ แต่ในกัปปัจจุบันนี้ (คือกัปที่ ๑๒ นับจากพระพุทธเจ้าองค์แรก คือ พระตัณหังกร) จะมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นถึง ๕ พระองค์ รวมทั้งพระศรีอารย์ จึงเรียกว่า "ภัททกัป" หรือ ภัทรกัป" แปลว่า กัปเจริญ




    จากคุณ : sushi [ ตอบ: 04 ม.ค. 50 [​IMG]18:47 ] แนะนำตัวล่าสุด [​IMG] 16 ม.ค. 50 | สมาชิกลานธรรมถาวร | [​IMG]ตอบ: 135 | ฝากข้อความ | MSN |
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    .
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    พุทธประวัติของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์

    http://larndham.net/index.php?showtopic=24011&st=0

    <TABLE width="100%" bgColor=#e4f3f3 border=0><TBODY><TR><TD>ความคิดเห็นที่ 6 : (sushi)</TD><TD></TD><TR><TD colSpan=2>
    "ก่อนพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติ ทรงเลือก ๕ อย่าง"

    ในกาลนั้น พระบรมโพธิสัตว์เจ้า บังเกิดเป็นสันตุสิตเทวราชเสวยทิพยสมบัติอยู่ในรัตนวิมานสวรรค์ ชั้นดุสิตเทวโลก ครั้งนั้นท้าวมหาพรหม และเทวราชในสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้นฟ้า ชวนกันไปเผ้ากราบทูลอาราธนาพระบรมโพธิสัตว์เจ้า ให้จุติลงไปบังเกิดทั้งสองประชากร ให้รู้ธรรม และประพฤติธรรม สมดังที่พระองค์ได้บำเพ็ญบารมีตั้งพระทัยไว้แต่แรก

    พระบรมโพธิสัตว์เจ้า ยังมิได้รับอาราธนาของทวยเทพทั้งหลายทรงพิจารณาดู "ปัญจมหาวิโลกนะ" หมายถึงสิ่งที่พระบรมโพธิสัตว์ทรงพิจารณาข้อตรวจสอบที่สำคัญหรือ "การตรวจดูอันยิ่งใหญ่ ๕ อย่าง" ก่อนที่จะตัดสินพระทัยประทานปฏิญาณรับอาราธนาของเทพยดาทั้งหลาย ว่าจะจุติจากดุสิตเทวโลกไปบังเกิดในพระชาติสุดท้ายที่จะตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้ามี ๕ อย่างคือ ๑. กาล ๒.ทวีป ๓.ประเทศ ๔.ตระกูล ๕.มารดา พระบรมโพธิสัตว์เจ้าทรงเลือกดังนี้

    ๑. กาล ทรงเลือกอายุกาลของมนุษย์
    ๒. ทวีป ทรงเลือกชมพูทวีป
    ๓. ประเทศ ทรงเลือกมัธยมประเทศ
    ๔. ตระกูล ทรงเลือกตระกูลกษัตริย์ศากยวงศ์
    ๕. มารดา ทรงเลือกมารดาที่มีศีลห้าบริสุทธิ์ ได้บำเพ็ญบารมีมาตลอดแสนกัป และกำหนดอายุของมารดา ทรงกำหนดได้พระนางมหามายา

    การที่ทรงเลือก อายุกลมนุษย์ เพราะอายุมนุษย์ขึ้นลงตามกระแสสังขาร บางยุคอายุ ๘ หมื่นปี ๔ หมื่นปี ๒ หมื่นปี อายุกาลของมนุษย์ในยุคนั้น ๑๐๐ ปีตรงตามที่ทรงกำหนดไว้คือต้องไม่สั้นกว่าร้อยปี ต้องไม่ยาวเกินแสนปี ที่ทรงเลือกอายุ ๑๐๐ ปีเพื่อให้เห็นความไม่เที่ยงของสังขาร เหตุที่ไม่ตรัสรู้บนสวรรค์ทั้งนี้เพราะเทวดาไม่เห็นทุกข์มีแต่สุข อายุยืนยาวนานนัก จะไม่เห็นอริยสัจ การตรัสรู้ธรรมและแสดงธรรมได้ผลดีมากในเมืองมนุษย์

    การที่ทรงเลือกชมพูทวีป ซึ่งแปลว่า "ทวีปแห่งต้นหว้า" เพราะมีต้นหว้าขึ้นมากในดินแดนแห่งนี้ แผ่นดินชมพูทวีปในยุคนั้นกว้างใหญ่ไพศาลกว่าประเทศอินเดียในปัจจุปันมากนัก มีดินแดนกินประเทศอื่นในปัจจุบันอีก ๖ ประเทศคือ ๑.ปากีสถาน ๒. บังกลาเทศ ๓. เนปาล ๔.ภูฏาน ๕.สิขิม ๖. บางส่วนของอัฟกานิสถาน (แคว้นกัมโพชะ ในมหาชนบท ๑๖ ปัจจุบันอยู่ในอัฟกานิสถาน)


    จากคุณ : sushi [ ตอบ: 04 ม.ค. 50 [​IMG]18:52 ] แนะนำตัวล่าสุด [​IMG] 16 ม.ค. 50 | สมาชิกลานธรรมถาวร | [​IMG]ตอบ: 135 | ฝากข้อความ | MSN | </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE width="100%" bgColor=#e4f3f3 border=0><TBODY><TR><TD>ความคิดเห็นที่ 7 : (sushi)</TD><TD></TD><TR><TD colSpan=2>
    ชมพูทวีปครั้งพุทธกาลแบ่งเป็นหลายอาณาจักร เป็นมหาชนบท ๑๖ แคว้น และยังปรากฎอีก ๔ แคว้นในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา อาณาจักรเหล่านี้มีพระเจ้าแผ่นดินดำรงยศเป็นมหาราชาบ้าง ราชาบ้างมีอธิบดีบ้าง เป็นผู้ปกครองโดยทรงอำนาจสิทธิขาดบ้างโดยสามัคคีธรรมบ้าง บางคราวตั้งเป็นอิสระ บางคราวตกอยู่ในอำนาจอื่นตามยุคตามสมัย

    คนในชมพูทวีปแบ่งเป็นชนชั้น ที่จัดแบ่งออกไปตามหลักศาสนาพราหมณ์เรียกว่า วรรณะ ๔ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ และศูทรคนในชมพูทวีปสนใจในวิชาธรรมมาก มีคณาจารย์ตั้งสำนักแยกย้ายกันตามลัทธิต่าง ๆ มากมาย เกียรติยศของศาสดาเจ้าลัทธิเจ้าสำนักผู้มีชื่อเสียงในสมัยนั้น ได้รับยกย่องเสมอเกียรติยศของพระเจ้าแผ่นดินหรือมากยิ่งกว่า

    การที่ทรงเลือกมัธยมประเทศ เพราะชมพูทวีปแบ่งเป็น ๒ จังหวัด เหนือ ๑ อาณาเขต อาณาเขตในคือ มัชณิมชนบทหรือมัธยมประเทศเป็นถิ่นกลางที่ตั้งแห่งนครใหญ่ ๆ มีความเจริญรุ่งเรือง มีเศรษฐกิจดี มีประชากรหนาแน่น เป็นศูนย์กลางแห่งการค้าขาย เป็นที่อยู่ของนักปราชญ์ผู้มีความรู้ เป็นที่รวมของการศึกษาและศิลปวิทยาการ เคยเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของพวกอารยันหรืออริยกะ รูปร่างสูง ผิวค่อนข้างขาวเป็นพวกที่มีความเจริญไม่ใช่เจ้าของถิ่นเดิม ทรงกำหนดกรุงกบิลพัสดุเป็นที่บังเกิด ส่วนอาณาเขตนอก เรียกว่าปัจจันตชนบทหรือประเทศปลายแดนเป็นถิ่นที่ยังไม่เจริญ เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของคนพื้นเมืองดั้งเดิม รูปร่างเล็กผิวดำ จมูกแบน เป็นพวกเชื้อสายดราวิเดียนหรือพวกทมิฬในปัจจุบัน

    การที่ทรงเลือกอุบัติในตระกูลกษัตริย์ โดยทรงเลือกพระสุทโธทนะเป็นพุทธบิดา เพระทรงกำหนดว่าเวลานั้นโลกสมบัติว่าตระกูลกษัตริย์ประเสริฐกว่าตระกูลพราหมณ์ และศากยสกุลเป็นตระกูลที่บริสุทธิ์ ๗ ชั่วโคตร ถ้าไม่บริสุทธิ์ก็ยากที่จะมีคนเคารพนับถือ การเผยแผ่ศาสนาจะทำได้ยาก เพราะคนในสมัยนั่นถือชั้นวรรณะกันมากจึงเลือกวรรณะกษัตริย์ ที่สูงสุด เพราะไม่ใช่เพื่อตรัสรู้อย่างเดียว ทรงประประสงค์สั่งสอนธรรมแก่ประชาชนด้วย

    การที่ทรงเลือกมารดา และกำหนดอายุของมารดา มารดาจะต้องมีศีลห้าบริสุทธิ์ ไม่โลเลในบุรุษ ไม่เป็นนักดื่มสุรา ได้บำเพ็ญบารมีมาตลอดแสนกัป ทรงกำหนดได้พระนางมหามายา และทรงทราบว่าพระนางจะมีพระชนม์อยู่ไม่เกิน ๑๐ เดือนไปได้ ๗ วัน พระนางสิริมหามายาเป็นเจ้าหญิงแห่งเทวทหนคร เป็นพระราชบุตรีของพระเจ้าอัญชนะเป็นพระมเหสีของพระเจ้าสุทโธนะแห่งกรุงกบิลพัสดุ์

    พระบรมโพธิสัตว์ทรงเลือกพระมารดาที่บริสุทธิ์ไม่แปดเปื้อนมลทินโทษ มิฉะนั้น จะยากแก่การเผยแผ่ศาสนาจะถูกโจมตี พระนางสิริมหามายา ได้อธิฐานไว้ว่า ขอเป็นมารดาพระพุทธเจ้าเมื่อประสูติ พระบรมโพธิสัตว์เจ้าได้ ๗ วันก็เสด็จทิวงคต เพระสงวนไว้สำหรับประสูติพระพุทธเจ้าองค์เดียว ไปบังเกิดเป็นเทพบุตรสถิตในดุสิตเทวโลกตามประเพณีพระพุทธมารดาไม่ได้เป็นหญิงอย่างเก่า ที่เกิดเป็นหญิงเพระอธิฐานขอเป็นมารดาพระพุทธเจ้า


    จากคุณ : sushi [ ตอบ: 04 ม.ค. 50 [​IMG]18:54 ] แนะนำตัวล่าสุด [​IMG] 16 ม.ค. 50 | สมาชิกลานธรรมถาวร | [​IMG]ตอบ: 135 | ฝากข้อความ | MSN | </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE width="100%" bgColor=#e4f3f3 border=0><TBODY><TR><TD>ความคิดเห็นที่ 8 : (sushi)</TD><TD></TD><TR><TD colSpan=2>
    "พระนามของพระพุทธเจ้า"

    พระพุทธเจ้าในที่นี้หมายถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราทั้งหลายหรือพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันนั้นเอง มีคำเรียกกล่าวนามพระพุทธเจ้าของเรามากมาย ซึ่งพอจะนำมาประมวลไว้ได้ ดังต่อไปนี้


    ๑.พระบรมโพธิสัตว์, พระโพธิสัตว์ หมายถึงท่านผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งกำลังบำเพ็ญบารมี ๑๐ คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฐาน เมตา อุเบกขา
    ๒.อังคีรส หมายถึง มีรัศมีแผ่ซ่านจากพระกาย เป็นพระนามแรก เมื่อพราหมณ์ ๘ คน ผู้ทำหน้าที่ถวายพระนามและทำนายลักษณะพระกุมาร กล่าวถึงเมือพินิจจากลักษณะแรกพบเห็น
    ๓.สิทธัตถกุมาร เป็นพระนามที่พราหมณ์ ๘ คนผู้ทำหน้าที่ถวายพระนามและทำนายลักษณะพระกุมาร ตั้งถวาย "สิทธัตถ" แปลว่า มีความต้องการสำเร็จ หรือสำเร็จตามที่ต้องการ คือสมประสงค์จะต้องการอะไรได้หมด
    ๔.สิทธัตถะ , เจ้าชายสิทธัตถะ , พระสิทธัตถะ พระนามเดิมของพระพุทธเจ้าก่อนเสด็จออกบรรพชา
    ๕.พระมหาบุรุษ หมายถึง บุรุษผู้ยิ่งใหญ่เป็นคำใช้เรียกพระพุทธเจ้าเมื่อก่อนตรัสรู้
    ๖.โคดม , โคตมะ , พระโคดม ,พระโคตมะ , พระสมณโคดม, โคดมพระพุทธเจ้า หมายถึง ชื่อตระกูลของพระพุทธเจ้า มหาชนเรียกพระพุทธเจ้าตามพระโคตรของพระองค์
    ๗.ตถาคต พระนามอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า เป็นคำที่พระพุทธเจ้าทรงเรียกหรือตรัสถึงพระองค์เอง แปลได้ความหมาย ๘ อย่างคือ ๑. พระผู้เสด็จมาแล้วอย่างนั้น ๒. พระผู้เสด็จไปแล้วอย่างนั้น ๓. พระผู้เสด็จมาถึงตถลักษณะ ๔. พระผู้ตรัสรู้ตถธรรมตามที่มันเป็น ๕. พระผู้ทรงเห็นอย่างนั้น ๖. พระผู้ตรัสอย่างนั้น ๗. พรุผู้ทำอย่างนั้น ๘. พระผู้เป็นเจ้า
    ๘.ตถาคตโพธิสัทธา หมายถึง เชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต
    ๙.ธรรมกาย หมายถึง ผู้มีธรรมในกาย เป็นพระนามอย่างหนึ่งของ พระพุทธเจ้า
    ๑๐.ธรรมราชา คือพระราชาแห่งธรรม หมายถึงพระพุทธเจ้า
    ๑๑.ธรรมสวามิศร, ธรรมสามิสร คือผู้เป็นใหญ่โดยฐานเป็นเจ้าของธรรม หมายถึง พระพุทธเจ้า
    ๑๒.ธรรมสามี คือ ผู้เป็นเจ้าของธรรม เป็นคำเรียกพระพุทธเจ้า
    ๑๓.ธรรมิศราธิบดี คือ ผู้เป็นอธิปดีโดยฐานเป็นใหญ่ในธรรมเป็นคำกวีหมายถึงพระพุทธเจ้า
    ๑๔.บรมศาสดา, พระบรมศาสดา คือ ศาสดาที่ยอดเยี่ยม พระผู้เป็นครูสูงสุด พระบรมครู หมายถึง พระพุทธเจ้า
    ๑๕.พระผู้มีพระภาคเจ้า หมายถึง พระนามของพระพุทธเจ้า
    ๑๖. พระพุทธเจ้า คือ พระผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ แล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตาม, ท่านผู้รูดีรู้ชอบด้วยตนเองก่อนแล้ว สอนประชุมชนให้ประพฤติชอบด้วยกาบ วาจา ใจ
    ๑๗.พระศาสดา หมายถึงผู้สอนเป็นพระนามเรียกพระพุทธเจ้า
    ๑๘. พระสมณโคดม เป็นคำที่คนภายนอกนิยมใช้เมื่อกล่าวถึงพระพุทธเจ้า
    ๑๙.พระสัมพุทธเจ้า, พระสัมมาสัมพุทธเจ้า,พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า,สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ พระผู้ตรัสรู้เอง หมายถึงพระพุทธเจ้า
    ๒๐. ภควา คือ พระนามของพระพุทธเจ้า แปลว่า ทรงเป็นผู้มีโชค คือหวังพระโพธิญาณก็ได้สมหวัง ประกาศพระศาสนาก็ชักจูงผู้คนให้ได้บรรลุธรรมสมปรารถนา มีผู้คิดร้ายก็ไม่อาจทำร้ายได้ คำแปลอีกนัยหนึ่งว่า ทรงเป็นผู้จำแนกแจกธรรม
    ๒๑. มหาสมณะ พระนามหนึ่งสำหรับเรียกสมเด็จพระสัมพุทธเจ้า
    ๒๒. โลกนาถ, พระโลกนาถ เป็นที่พึ่งแห่งโลก หมายถึงพระพุทธเจ้า
    ๒๓.สยัมภู,พระสัมภู พระผู้เป็นเอง คือตรัสรู้ได้เองโดยไม่มีใครสั่งสอน หมายถึง พระพุทธเจ้า
    ๒๔.สัพพัญญู, พระสัพพัญญูสัมพุทธเจ้า หมายถึง ผู้รู้หมด,ผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง คือ พระนามของพระพุทธเจ้า
    ๒๕.พระสุคต,พระสุคโต หมายถึง ผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นพระนามของพระพุทธเจ้า


    ที่มา : หนังสือ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า โดย ภัทรวรรณ วันทนชัยสุข


    จากคุณ : sushi [ ตอบ: 04 ม.ค. 50 [​IMG]18:58 ] แนะนำตัวล่าสุด [​IMG] 16 ม.ค. 50 | สมาชิกลานธรรมถาวร | [​IMG]ตอบ: 135 | ฝากข้อความ | MSN | </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    พุทธประวัติของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์
    http://larndham.net/index.php?showtopic=24011&st=10

    <TABLE width="100%" bgColor=#e4f3f3 border=0><TBODY><TR><TD>ความคิดเห็นที่ 18 : (sushi)</TD><TD></TD><TR><TD colSpan=2>
    25. องค์สมเด็จพระพุทธกุกกุสันธะ – ผู้นำสัตว์ออกจากกันดาร คือ กิเลส

    สถานที่ประสูติ เขมวันราชอุทยานแห่งเขมนคร
    ประสูติในตระกูล พราหมณ์
    พระพุทธบิดา พระนามว่า อัคคิทัตตพราหมณ์
    พระพุทธมารดา พระนามว่า วิสาขาพราหมณี
    พระอัครมเหสี พระนามว่า โสภิณีพราหมณี
    พระราชโอรส พระนามว่า อุตตรกุมาร
    เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ 4,000 ปี
    พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถเทียมม้าอาชาไนย
    รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 80 ศอก
    ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้ซึกใหญ่
    ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
    วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    พระอัครสาวก ได้แก่ พระวิธูรเถร และพระสัญชีวเถร
    พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระพุทธิยะเถร
    พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระสามาเถรี และพระจัมปนามาเถรี
    อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อัจจุคาตะ และสุมนะ มหาอุบาสก
    อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางนันทา และนางสุนันทา มหาอุบาสิกา
    มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 40,000 องค์
    พระวรกายสูง 40 ศอก
    พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 11 โยชน์
    ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 40,000 ปี

    26. องค์สมเด็จพระพุทธโกนาคมนะ – ผู้หักเสียซึ่งข้าศึก คือ กิเลส

    สถานที่ประสูติ โสภวดีราชอุทยานแห่งโสภวดีนคร
    ประสูติในตระกูล พราหมณ์
    พระพุทธบิดา พระนามว่า ยัญญทัตตพราหมณ์
    พระพุทธมารดา พระนามว่า อุตตราพราหมณี
    พระอัครมเหสี พระนามว่า รุจิคัตตาพราหมณี
    พระราชโอรส พระนามว่า สัททวาหกุมาร
    เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ได้ 3,000 ปี
    พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
    รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 20 ศอก
    ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้อุทุมพร (ไม้มะเดื่อ)
    ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 6 เดือน
    วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    พระอัครสาวก ได้แก่ พระภิโยสเถร และพระอุตตรเถร
    พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระโสทิชเถร
    พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระสมุทาเถรี และพระอุตตราเถรี
    อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อุคคะ และโสมเทว มหาอุบาสก
    อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางวรา และนางสามา มหาอุบาสิกา
    มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 30,000 องค์
    พระวรกายสูง 30 ศอก
    พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลประมาณมิได้
    ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 30,000 ปี

    จากคุณ : sushi [ ตอบ: 04 ม.ค. 50 [​IMG]19:55 ] แนะนำตัวล่าสุด [​IMG] 16 ม.ค. 50 | สมาชิกลานธรรมถาวร | [​IMG]ตอบ: 136 | ฝากข้อความ | MSN | </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE width="100%" bgColor=#e4f3f3 border=0><TBODY><TR><TD>ความคิดเห็นที่ 19 : (sushi)</TD><TD></TD><TR><TD colSpan=2>
    27. องค์สมเด็จพระพุทธกัสสปะ – ผู้สมบูรณ์ด้วยสิริ

    สถานที่ประสูติ อิสิปตนมิคทายวันแห่งนครพาราณสี
    ประสูติในตระกูล พราหมณ์
    พระพุทธบิดา พระนามว่า พรหมทัตตพราหมณ์
    พระพุทธมารดา พระนามว่า ธนวดีพราหมณี
    พระอัครมเหสี พระนามว่า สุนันทาพราหมณี
    พระราชโอรส พระนามว่า วิชิตเสนกุมาร
    เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ได้ 2,000 ปี
    พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ปราสาทที่ลอยไปในอากาศ
    รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 15 ศอก
    ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้นิโครธ
    ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน
    วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    พระอัครสาวก ได้แก่ พระติสสเถร และพระภารทวาชเถร
    พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระสัพพมิตตเถร
    พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระอนุฬาเถรี และพระอุรุเวลาเถรี
    อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สุมังคละ และฆฏิการะ มหาอุบาสก
    อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางวิชิตเสนา และนางภัตรา มหาอุบาสิกา
    มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 1 โกฏิ
    พระวรกายสูง 20 ศอก
    พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
    ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 20,000 ปี

    28. องค์สมเด็จพระพุทธโคตมะ – ผู้ประเสริฐแห่งหมู่ศากยราช

    สถานที่ประสูติ กรุงกบิลพัสดุ์
    ประสูติเมื่อ วันเพ็ญ เดือน 6
    ประสูติในตระกูล กษัตริย์ แห่งศากยวงศ์
    พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสุทโธทน
    พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสิริมหามายา
    พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางยโสธรา
    พระราชโอรส พระนามว่า พระราหุลราชกุมาร
    เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ได้ 29 ปี
    พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ม้าอัศวราช
    รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 14 ศอก
    ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้อัสสัตถะ (ไม้ปาเป้ง)
    ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 6 ปี
    วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    พระอัครสาวก ได้แก่ พระติสสเถร และพระโกลิตเถร
    พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระอานนทเถร
    พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระเขมาเถรี และพระอุบลวัณณาเถรี
    อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า จิตตะ และหัตถอาฬวก มหาอุบาสก
    อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางนันทมาตา และนางอุตตรา มหาอุบาสิกา
    พระวรกายสูง 16 ศอก
    พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 1 วา
    ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 80 ปี
    อายุพระศาสนา 5,000 ปี

    จบแล้วจ้ะ <!--emo&:06:-->[​IMG]<!--endemo-->
    จากคุณ : sushi [ ตอบ: 04 ม.ค. 50 [​IMG]19:57 ] แนะนำตัวล่าสุด [​IMG] 16 ม.ค. 50 | สมาชิกลานธรรมถาวร | [​IMG]ตอบ: 136 | ฝากข้อความ | MSN | </TD></TR></TBODY></TABLE>

    .
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา fwd mail ครับ

    นอนไม่หลับ ทำไงดี ?<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    99 ก็แล้ว 199 ก็แล้ว 999 ก็แล้ว แกะน้อยยังคงกระโดดไปมาในหัว แสดงถึงอาการนอนไม่หลับที่คุณต้องผจญอยู่ทุกคืน แม้จะพยายามสงบสติยังไงก็หลับไม่ได้ ทั้งที่รู้ว่าพรุ่งนี้มีการงานและภาระหน้าที่อีกมากม ายที่ต้อง<O:p</O:p
    สะสาง และ ‘ฉันอยากตื่นขึ้นมาด้วยความสดชื่น’ เพราะรู้ๆกันดีว่าคุณภาพในการนอนเป็นตัวชี้วัดคุณภาพ และประสิทธิภาพในการทำงาน รวมถึงการดำเนินชีวิตของคุณด้วย เพราะฉะนั้นอย่าให้อาการนอนไม่หลับตามมาหลอกหลอนคุณอ ยู่ทุกคืน หาทางจัดการมันให้สิ้นซากดีกว่า<O:p</O:p
    อาการอย่างนี้ นอนไม่หลับชัวร์<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    * นอนหลับยาก ข่มตาเท่าไหร่ก็ไม่หลับ
    * หลับไม่ต่อเนื่อง หลับๆตื่นๆ
    * นอนหลับแบบสะลึมสะลือ ยังพอมีสติแต่เลือนลางเต็มที สะดุ้งผวาเป็นพักๆ
    * นอนหลับแต่ตื่นไว แล้วหลับต่อไม่ได้อีก
    * อ่อนเพลียตลอดวัน ไม่มีสมาธิอารมณ์เสียง่าย
    * เผลอสัปหงกในที่ทำงาน ระหว่างนั่งรอเพื่อน หรือระหว่างขับรถ
    * ตื่นมาแล้วแต่ยังรู้สึกไม่สดชื่น มีอาการปวดหัวมึนๆงงๆจำอะไรไม่ค่อยได้ หลงลืมง่าย
    <O:p</O:p
    ถ้าคุณมีการอย่างข้างต้น WP ขอฟันธงว่า คุณภาพในการนอนของคุณอยู่ในขั้นที่ต้องปรับปรุง เพราะสิ่งเหล่านี้จะส่งผลต่อสุขภาพโดยรวม และประสิทธิภาพในการทำงาน รวมถึงบุคลิกภาพของคุณด้วย คงไม่ดีแน่ถ้าสาว plus จะนั่งสัปหงกในที่ทำงานบ่อยๆ หรือเดินไปหาวไป (อุ๊ยตาย ฉันทำเป็นประจำ)<O:p</O:p
    นอนไม่หลับในแบบของคุณ
    อาการนอนไม่หลับในแต่ละคนจะมีลักษณะแตกต่างกันไปบางค นอาจเป็นชั่วคราวเพียง 2-3 คืน บางคนเป็นสัปดาห์ เป็นเดือน หรือเป็นปีๆก็มี<O:p</O:p
    แบบชั่วคราว มักเกิดในช่วงที่มีเรื่องต้องกังวล หรือใกล้กับวันสำคัญ เช่น อาจมีนัดสัมภาษณ์งาน หรือนัดเดทที่คุณตั้งตารอมานาน แต่พอหลังผ่านเหตุการณ์นั้นไป อาการจะดีขึ้นและนอนหลับเป็นปกติ หรือถ้าใครทนไม่ไหวอาจปรึกษาแพทย์เพื่อขอยาระงับอากา ร แต่ควรใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น ไม่งั้นอาจติดได้ <O:p</O:p
    แบบต่อเนื่อง เป็นอาการนอนไม่หลับที่ติดต่อกันหลายวัน อาจเกิดจากความเครียดจากปัญหาที่สะสม และกินช่วงเวลายาวนาน เช่น คนตกงาน ปัญหาครอบครัว ปัญหาเรื่องเงินทอง แม้ว่าเหตุการณ์เครียดๆจะผ่านพ้นไปแล้วแต่อาการยังไม ่ดีขึ้น ถ้าใครมีอาการเช่นนี้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีระงับปัญหา เพื่อไม่ให้เกิดเป็นอาการเรื้อรัง<O:p</O:p
    แบบเรื้อรัง เกิดจากการนอนไม่หลับที่ต่อเนื่องยาวนาน ปัญหาและสาเหตุจะเริ่มซับซ้อนขึ้น อาจไม่ใช่แค่ความเครียด หรือการวิตกในเรื่องงานหรือปัญหาชีวิต แต่เป็นอาการกลัวการนอน ประมาณว่าใจจดจ่อว่าคืนนี้ฉันจะหลับลงมั้ย เวลานอนจึงเป็นเวลาที่ทุกข์ทรมานสำหรับคนที่มีอาการเ หล่านี้ นอกจากนี้การนอนไม่หลับแบบเรื้อรังยังเกิดจากสาเหตุท างกายภาพอื่นๆ เช่นภาวะหยุดหายใจขณะหลับ กล้ามเนื้อกระตุก ผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจ โรคปอด ซึ่งควรไปพบแพทย์โดยด่วน<O:p</O:p
    นอกจากนี้การนอนไม่หลับยังอาจเป็นเพราะสาเหตุอื่นๆ เช่น ดื่มชากาแฟที่มีกาเฟอีน ยาบางชนิด หรือโรคบางอย่างก็มีผลทำให้เกิดการหลับไม่ปกติ เช่น โรคหัวใจ ปอด โรคปวดไขข้อ การออกกำลังกายหนักๆในช่วงเย็นถึงค่ำ นี่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้นอนไม่หลับ การรับประทานอาหารมื้อเย็นมากเกินไปก็ด้วย (อันนี้ไม่ควรเพราะทำให้อ้วนได้อีก)<O:p</O:p
    ข่าวร้ายสำหรับคนที่ชอบนั่งๆนอนๆบนเตียง นอกจากการนอน การใช้เวลาอยู่บนเตียงมากเกินไป อย่างนั่งเล่น ดู TV ทำงานบนเตียงนอนก็เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้นอนไม่หลับ เพราะพฤติกรรมแบบนี้จะทำให้คุณนอนหลับเป็นพักๆ เวลาที่เข้านอนจริงๆจึงไม่รู้สึกง่วง ที่สำคัญยิ่งคุณกังวลเรื่องการนอนไม่หลับมากเท่าใด ยิ่งทำให้หลับยากเท่านั้น <O:p</O:p
    นอนให้หลับ ทำยังไง
    1. เข้านอนเป็นเวลา และตื่นนอนแต่เช้าให้เป็นเวลา เมื่อถึงเวลานอนหรือง่วงนอนก็ไม่ควรฝืน
    2. ไม่ควรใช้เวลาบนเตียงนอนนานเกินไป หากนอนไม่หลับให้ลุกออกจากเตียง หากิจกรรมเบาๆ ทำเพื่อผ่อนคลาย เมื่อง่วงนอนจึงกลับมานอนอีกครั้ง<O:p></O:p>
    3. ไม่ควรใช้เตียงนอนทำกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวกับการนอนหลับ เช่น คุยโทรศัพท์ ทำงาน นอนเล่น ให้ใช้เตียงนอนเมื่อง่วงเท่านั้น
    4. หลีกเลียงเครื่องดื่มหรือยาที่มีผลต่อการกระตุ้นระบบ ประสาทในช่วงเย็น เช่น ชา กาแฟ
    5. งดรับประทานอาหารมื้อหนักก่อนเข้านอน เพราะร่างกายต้องใช้เวลาในการย่อยประมาณ 2-3 ชั่วโมง
    6. ออกกำลังกายเป็นประจำในช่วงเช้าถึงบ่าย ไม่ควรออกกำลังกายในช่วงค่ำ
    7. หากง่วงหรือเพลียในช่วงบ่าย งีบหลับได้แต่ไม่ควรเกิน 2 ชม. และไม่ควรงีบหลัง 15.00 น. <O:p</O:p
    อดนอนทำให้อ้วนขึ้น
    การอดนอน หรือนอนดึก จะส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น จนมีระดับใกล้เคียงผู้ป่วยเบาหวาน นอกจากนี้ ในช่วงเวลา 4 ทุ่มถึงตี 2 เป็นช่วงที่ร่างกายหลั่งฮอร์โมนเร่งการเติบโต (Growth Hormone) ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาในการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย และควบคุมสัดส่วนของไขมันต่อกล้ามเนื้อ ดังนั้นการอดนอนจึงมีผลต่อฮอร์โมนที่ควบคุมสัดส่วนของไขมันดังกล่าวส่งผลให้อ้วนได้ง่าย<O:p</O:p
    นอกจากนี้การอดนอนทำให้อยากอาหารมากขึ้น และยังส่งผลต่อฮอร์โมนเลปติน ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้ร่างกายรู้สึกอิ่มเร็วหรืออิ่มช้ าตามความต้องการของร่างกาย เมื่อปริมาณเลปตินในร่างกายมีน้อยลง จึงรู้สึกอยากอาหารมากขึ้นแม้ว่าร่างกายจะได้รับพลัง งานเพียงพอแล้ว สังเกตง่ายๆ หากวันใดคุณนอนน้อยหรือนอนดึก วันรุ่งขึ้นคุณจะรู้สึกอ่อนเพลียและหิวบ่อย<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    แต่ละคนต้องการนอนไม่เท่ากัน
    ธรรมชาติของคนเราจะต้องการเวลาในการนอนไม่เท่ากัน บางคนนอนเพียง 4-6 ชม. ก็พอ ในขณะที่คนส่วนใหญ่ต้องการเวลานอนถึง 7-8 ชม. ทั้งนี้แต่ละคนจะมีรอบในการนอนที่ต่างกัน เพราะการนอนของคนเราจะแบ่งเป็นรอบๆสลับกัน โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ช่วง Non-REM (Non-Rapid Eye Movement) เป็นช่วงการนอนที่ไม่มีการกลอกของกล้ามเนื้อตา ช่วงนี้เป็นช่วงที่หลับลึก และร่างกายได้พักผ่อนอย่างจริงจัง อีกช่วงคือ REM (Rapid Eye Movement) เป็นช่วงที่มีการกลอกตาไปมา ร่างกายจะหลับไม่ลึก มีการฝันเป็นเรื่องราว ในแต่ละครั้งที่นอนหลับจะมีวงจร Non-REM และ REM สลับกันไปแบบนี้ โดยปกติ ใน 1 วันร่างกายต้องการการนอนทั้งสองแบบ 5-6 ครั้ง ซึ่งแต่ละคนจะมีช่วงดังกล่าวยาวสั้นแตกต่างกันไป ขึ้นกับเพศ วัย อายุ และกิจกรรมในแต่ละวัน<O:p</O:p
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    สัมมนาและบทความทางวิชาการ
    http://www.geocities.com/buddhistworld/page0403.html

    <TABLE borderColor=#660000 height=120 cellSpacing=2 cellPadding=2 width=182 align=center border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    บทเรียนพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย
    โดย ปวัตติกาล

    ........เริ่มเมื่อย้อนไปยังยุคสมัยพุทธกาลนั้น พระพุทธศาสนาได้เจริญถึงขีดสุด เพราะปรากฎว่ามีประชาชนทั่วชมพูทวีป ได้หันมานับถือ พระพุทธศาสนาอย่างมากมาย ท่ามกลางลัทธิที่มีอยู่ก่อนเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแคว้นมคธ โกศลและกาสีซึ่งเป็นแคว้น ที่ยิ่งใหญ ่ที่สุดในสมัยนั้น ก็มีผู้หันมานับถือพระพุทธศาสนา เป็นจำนวนมาก ไม่ว่า จะเป็นกษัตรยิ์ พราหมณ์ แพศย์ หรือศูทร
    พระพุทธศาสนาสามารถหยั่งรากลง สู่จิตใจของประชาชนในดินแดนต่างๆ เหล่านี้อย่างมั่นคง ลาภสักการะได้เกิดขึ้น ในพระพุทธศาสนา อย่างจะประมาณมิได้ทั้งนี้เพราะพระภิกษุสงฆ์ ซึ่งเป็นสาวกที่เป็นพระอรหันต์ขีณาสพมีอยู่มากมาย จึงทำให้การประกาศพระพุทธศาสนา ดำเนินไปได้อย่างรวดเร็ว กว้างขวาง แม้เมื่อพระพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว ใหม่ๆพระพุทธศาสนา ก็ยังคงเจริญรุ่งเรืองต่อไปอีกนาน ศาสนาอื่นๆ แม้จะมีอยู่มากมายหลายศาสนาด้วยกันในขณะนั้นเช่น ศาสนาเชน ศาสนาพราหมณ์ เป็นต้นแต่ศาสนาเหล่านี้ยังห้า่ี่ไม่ธิอิทธิพลเหนือศาสนาพุทธ

    ........"ดูก่อน อานนท์ เมื่อเราตถาคตปรินิพพานล่วงไปแล้ว
    ธรรมะและวินัยจักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย "

    พระพุทธดำรัส ก่อนหน้าจะเสด็จปรินิพพาน เพียงเล็กน้อย หมายความว่า พระพุทธองค์มิได้ทรงตั้งผู้ใดผู้หนึ่งเป็นทายาทดำรง ตำแหน่งพระศาสดา แทนพระองค์แต่ทรงให้ถือว่าพระพุทธบริษัทสีทุกคนเป็นศาสนทายาท และพระศาสดาก็คือพระธรรมวินัย หากผู้ใดสงสัยเรื่องใดๆ ก็ให้ศึกษาค้นคว้าเอา และผู้ใดปรารถนาที่จะปฏิบัติบำรุงพระศาสดา ก็ให้ปฏิบัติบำรุงพระธรรมวินัยนั้นซึ่งการที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงตั้งบุคคลเป็นพระศาสดาแทน อย่างนี้ เคยมีผู้ตั้งข้อสังเกตไว้พิจารณาดังนี้
    .
    ๑.ทำให้พระศาสนาดำรงอยู่อย่างเป็นอิสระแก่ตัวเอง ไม่ตกอยู่ใต้อิทธิพลของเอกชนคนใดคนหนึ่ง ที่จะมาใช้อำนาจ ดัดแปลงแก้ไข ศาสนาไปอย่างความพอใจของตนไป

    ๒.เป็นการตัดปัญหาในอนาคต ผู้ที่จะมาแย่งกันเป็นศาสดาซึ่งจะเป็นเรื่องไม่ดีขึ้นได้ในวงการศาสนาหากพิจารณาอีกแง่หนึ่ง คือการบริหารศาสนาจักรเป็นเรื่องน่าคิดอยู่มาก ที่วิธีการนี้ทำให้ไม่มีการแตกแยกในทางทิฎฐิ หรือความคิดเห็น เพราะทุกๆ คนมีสิทธิ
    ที่จะตีความในพระธรรมวินัยได้โดยตรง และเมื่อต่างคนต่างคิดหนักเข้า ความเห็นก็แยกกันทั้งๆ ที่รักพระศาสน า เมื่อความเห็นแตกแยก เสียแล้ว ตัวบุคคลก็มีอันพลอยแตกแยกตามไปด้วย การแยกนิกายกัน หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานก็ด้วยเหตุแห่งความเห็นนี้เหมือนกัน

    ........นอกจากนี้ประการสำคัญสุดการไม่มีศาสดา เป็นตัวบุคคลนั้นทางศาสนาจักร ก็ไม่มีีตัวแทนชั้นสุดยอด ที่จะเข้าเจรจา กับฝ่ายอาณาจักร นครเกิดการขัดแย้งหรือมีความจำเป็นเกิดขึ้นฝ่ายอาณาจักรเอง ก็ไม่ทราบว่าจะติดต่อกับใคร กลายเป็น พระองค์ไหนอยู่ใกล้ ก็ตาม องค์นั้นโดยไม่รู้ว่าฝ่ายไหนหรือท่านผู้ใด เป็นพระแท้พระเทียม เพราะฉะนั้นการที่ ี่ไม่ทรงตั้งพระศาสดานั้น แม้จะเป็นผลดีอย่างมหาศาล แต่ก็เปิดช่องไว้ให้น้ำซึมเข้า "ศาสนนาวา" อยู่บ้างเหมือนกัน แต่ก็สรุปว่าไม่มีวิธีใดจะดีไปกว่า ที่ทรงทำไปดังนั้นเลยเหตุใดพระพุทธศาสนา จึงอยู่ในชมพูทวีปไม่ได้

    ..........ในวงการพระพุทธศาสนานั้นได้เริ่มตั้งเค้าความรวนเราขึ้น ตั้งแต่ก่อนพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ซึ่งตอนปลาย พุทธสมัยมีเหตุการที่น่าสนใจ หลายประการ เช่นเมื่อพระพุทธองค์ทรงนำพระสาวก ประกาศศาสนามาได้ประมาณ๓๕ ปีแล้วพระศาสนาได้รุ่งเรืองในชมพูทวีปอย่างสูงสุด แว่นแคว้นมหาอำนาจทั้งสี่ในยุคนั้น คือ มคธ โกศลวังสะและอวันตี เป็นดินแดน พุทธศาสนา ทั้ง สิ้น แคว้นเล็กแคว้นน้อยไม่มีปัญหา
    ตำแหน่งพระศาสดาที่พระพุทธองค์ทรงดำรงอยู่นั้น เป็นตำแหน่งที่สูง ยิ่งกว่าตำแหน่งพระราชาใดๆ ทั้งสิ้น ในฐานะเป็นจุดสุดยอดแห่งความเคารพนับถือ ของมหาชนเพราะฉะนั้น จึงมีพระสาว กใจอกุศล เกิดขึ้นอยากจะได้ครองตำแหน่งนั้น ที่ว่านี้คือพระเทวทัตที่ได้เพียรพยายาม เลียบเคียงของครองตำแหน่ง ศาสดาอยู่หลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ

    ..........พระเทวทัตนั้นบวช นานแก่พรรษาแต่ไม่พยายามละกิเลส ยิ่งอยู่นานกิเลสยิ่งพอกพูนขึ้น หนักเข้าก็ลุอำนาจ แก่ความมักใหญใฝ่สูง เข้าเกลี้ยกล่อม พระเจ้าอชาตศัตรู ราชโอรสาของพระเจ้าพิมพิสาร จัดอำมาตย์สอพลอ เข้าร่วมยุแหย่ด้วยปุโรหิตบางคน เคยเป็นพราหมณ์ เจ้าลัทธิใหญ ่ซึ่งตกอับ และมีความจงเกลียด จงชังพระศาสดาอยู่ในใจ ก็รวมหัวกับพระเจ้าอาชาตศัตรูแย่งราชบัลลังก ์จนสำเร็จ เหตุการณ์รุนแรง ถึงที่สุดก่อนพระพุทธเจ้า ปรินิพพานราว ๗-๘ ปี ทรงถูกปลงพระชนม์ถึง ๓ ครั้ง
    ครั้งที่หนึ่งส่งนักแม่นธนูไปดักยิงพระพุทธองค์
    ครั้งที่สองปล่อยช้างตกมันเข้าทำลาย ตามวิธีการของการประหารสมัยนั้น
    ครั้งที่สามงัดก้อนหินจากยอดเขา ลงหวังใส่พระพุทธองค์ ขณะเสด็จพุทธดำเนิน ผ่านซอกเขาแห่งหนึ่งระหว่างตัวเมืองราชคฤห์กับยอดเขาคิชกูฎ แต่พวกมารได้แพ้ภัยทุกคราวไป
    นอกจากนี้พระเทวทัตได้ยุยงให้พระสงฆ์ที่หย่อนปัญญา มีความไม่พอใจในวินัยบัญญัติของพระพุทธเจ้าหลายประการ รวมความว่าคณะสงฆ์ ได้เกิดรอยร้าวมาแต่ครั้งนั้นแล้วด้วยน้ำมือของพระเทวทัตพระมหาเถระชั้นผู้ใหญ่อย่างพระสารีบุตรเถระ และพระโมคคัลลานเถระ ได้นิพพานไปก่อน พระพุทธองค์ทำให้โฉมหน้าพระพุทธศาสนาเปลี่ยนแปลงไป จากหลักฐาน ในจาตุมสูตร พระพุทธเจ้าทรงยกย่องพระอัครสาวกทั้งสองว่า สามารถอยู่ในฐานะ ที่จะบริหาร คณะสงฆ์เสมอด้วย พระองค์ทีเดียว หากพระอัครสาวกทั้งสองไม่นิพพานไปก่อน ระบบการบริหารคณะสงฆ์อาจจะมีรูป มีสังฆปรินายกรูปเดียวก็ได้

    ........เมื่อพระอัครสาวกทั้งสองนิพพานไปแล้วพระมหาเถระรูปอื่นไม่ได้รับการยกย่องในฐานะดังกล่าวรูปแบบการปกครอง พระพุทธศาสนา จึงต้องให้พระสงฆ์ยึดถือพระธรรมวินัยที่พระองค์ทรงบัญญัติแสดงแล้ว เป็นศาสดาแทนพระองค์อย่างที่เป็นอยู่ทางฝ่ายคฤหัสถ์ ผู้ที่มีบทบาทสำคัญ ในการอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาเช่น พระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าปเสนทิโกศล พระเจ้าสุทโธทนะ ได้สวรรคตและนิพพานไปก่อนไม่นานนัก ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี นางอุตราอุบาสิกา เป็นต้น ก็ได้สิ้นชีวิตไปก่อนพระพุทธเจ้าทำให้ผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาขาดไปหลายท่าน พระพุทธศาสนาได้เผยแพร่ออกไปได้ไกลมาก ทำให้การติดต่อสอบทานความรู้ความเข้าใจ ในพระธรรมวินัยไม่สะดวกเท่าที่ควร ทั้งคนที่เข้ามาบวชเรียน ก็มีเจตนาแตกต่างกัน อีกทั้งได้แสดงความคิดเห็น ของฝ่ายตนเอง ออกมาในโอกาสต่างๆ ทว่าความแตกแยกขึ้นรุนแรง คงไม่เกิดขึ้น หรือถึงแม้จะเกิดขึ้น ก็สามารถระงับลงไปได้ ทั้งนี้มิได้แสดงว่าบุคคลประเภทนี้จะหมดไปก็หาไม่ เป็นเพียงสงบอยู่ชั่วคราวเท่านั้นเอง

    .........พระเถระทั้งหลายในสมัยพุทธกาลและหลังพุทธกาล ต่างมีความรับผิดชอบต่อพระพุทธศาสนาสูงได้พยายามรักษา ป้องกันพระธรรมวินัยไว้ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น พระจุนทเถระ ปรารถนานิรวาณของท่านมหาวีระ จนสาวกแตกแยกกัน เป็นสองฝ่าย จึงได้เสนอให้มีการสังคายนาพระธรรมวินัย จนพระสารีบุตรเถระได้รับพุทธานุมัติให้จัดทำ แต่ทำไม่สำเร็จเพราะท่านนิพานเสียก่อน

    ........หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานเพียง ๗ วัน ภิกษุทั้งหลายเมื่อได้ทราบข่าวต่างก็แสดงตัวออกมาแตกต่างกันคือ ท่านเป็นพระอริยบุคคล มีสติอดกลั้นด้วยคิดว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง คนจะได้สิ่งที่เที่ยงจากสังขารทั้งหลายแต่ที่ไหน ฝ่ายท่านที่ยังมีราคะ โทสะ โมหะอยู่ได้แสดงความเศร้าโศกเพราะปิยวิปโยคอย่างหนักว่า " พระผู้มีพระภาคปรินิพพานเร็วนัก พระสุคตเสด็จปรินิพพานเร็วนัก จักษุแห่งโลกหายไปจากโลกเร็วนัก " แต่พระสุภัททวุฑฒบรรพชิต ผู้บวชเมื่อแก่ เพราะความขัดสนทางอาชีพกลับกล่าวด้วยเหตุผลที่ต่างกันออกไปว่า พวกเราพ้น จากมหา สมณะนั้น ด้วยดี แล้ว เพราะเมื่อก่อนท่าน ได้เบียดเบียนเรา ด้วยการตักเตือนว่านี่ควร นี่ไม่ควร สำหรับพวกเธอทั้งหลาย บัดนี้พวกเราสบายแล้ว พวกเราต้องการทำสิ่งใด กทำสิ่งนั้นไม่ต้องการทำสิ่งใดก็ไม่ต้องทำสิ่งนั้น ดังนี้ถือว่าเป็นการจ้วงจาบ ขาดความเคารพ ต่อพระธรรมวินัย ผู้แสดงตนเป็นขบถ ต่อพระศาสนาดีที่ว่า เป็นสมัยที่พระมหาเถระ ผู้ใหญ่ยังอยู่พร้อมหน้ากันมากเช่นพระมหากัสสปะ พระอุบาลี พระอนุรุธ พระอานนท์เป็นต้น ได้รวบรวมคณะสงฆ ์เข้าไว้ในความสามัคคียับยั้งเหตุการณ์ไม่ดีไว้ได้

    ........หลังจากถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแล้ว จึงมีการระงับความวุ่นวายครั้งแรกนี้พระมหากัสสปเถระจึงนำเรื่องน ี้ เข้าที่ประชุมสงฆ์พร้อมกับเสนอ ให้มีการสังคายนา พระธรรมวินัย โดยใช้การรกสงฆ์ ๕๐๐ รูป เป็นพระอรหันต์ล้วนๆ เพื่อประกอบกันเป็นพระสังคีติกาจารย์ และกำหนดให้ทำสังคายนา ที่สัตตบรรณคูหา ข้างเวภารบรรพต กรุงราชคฤห์ การสังคายนาครั้งแรกนั้นมีผลดี ๒ ประการคือ ได้ร้อยกรองพระธรรมวินัยเข้าเป็นหมวดหมู่ และซักซ้อมความเข้าใจให้ถูกต้องตรงกัน อีกทั้งเป็นเหตุให้พระสาวกชั้นผู้ใหญ่ได้รวมกลุ่มกันบริหาร กิจการพระศาสนา ให้เจริญก้าวหน้า สืบมาเหตุการณ์ทางพระพุทธศาสนา ในช่วง ๙๐ ปีนี้ ไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัด ว่าเป็นอย่างไรบ้าง แต่การถือปฏิบัติ พระวินัยแตกต่างกัน จากหลังปฐมสังคายนา มีการสืบต่อกันมาทั้ง ๒ สายคือ

    ๑สายพระสังคีติกาจารย์ในคราวปฐมสังคายนาซึ่งรักษาพระวินัยตามพระพุทธบัญญัติิอย่างเคร่งครัดไม่ยอมให้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข
    ๒ สายพระปุราณะ ซึ่งปฏิบัติบางประการของพระสังคีติกาจารย์ดังกล่าวแล้ว การปฏิบัติพระวินัยแตกต่างกันมาปรากฎเด่นดัง หลังจากพระเจ้ากาฬาโศก ราชเสวยราชในกรุงเวลาลีถึงปีที่แ ๑๐ความแตกแยกในด้านศีลและทิฎฐิได้ปรากฎเด่นชัดขึ้นจนไม่อาจจะหาทางประนีประนอมกันได้จนพระเถราจารย์
    ที่สืบสายมาจากพระสังคีติกาจารย์ในคราวปฐมสังคายนาต้องจัดการ ชำระพระธรรมวินัยและสังคายนา
    ครั้งที่ ๒ ขึ้นล่วง ๑๐๐ ปีผ่านไป

    ........เป็นช่วงที่พระพุทธศาสนายังดำรงอยู่ได้อย่างครบถ้วน ในดินแดนนี้ แต่เนื่องจากประชาชนพลเมืองต่างพากันทำนุบำรุงพระศาสนาเรียกได้ว่า อุดมสมบูรณ์เกินไป เป็นผลให้พวกอลัชชีเข้ามาบวชอาศัยศาสนากันมากขึ้น มีพระเทียมเพิ่มจำนวนมากเข้า จนมีอิทธิพลครอบคลุมศาสนาจักรทั้งหมด ก็เกือบกล่าวได้เฉพาะท ี่แขวงเมืองเวสาลี ที่พระศาสดาทรงจำพรรษาสุดท้ายนั่นเอง พวกอลัชชีได้กำเริบเสิบสานมากมีความเห็น
    วิปริต ผิดแผกไปประพฤติผิดวินัย๑๐ ประการ เรียกว่าวัตถุ ๑๐ ประการ โดยกลับอ้างว่าไม่เป็นการผิดพระวินัยบัญญัติ

    ........ซึ่งภิกษุวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีคงประพฤติมานานแล้ว เพราะเป็นที่ยอมรับนับถือของชาวบ้าน ทำให้ไม่มีความรู้สึกว่า ท่านเหล่านั้นทำผิดแต่ประการใด จึงมีการถวายทองเงินแก่พระภิกษุโดยการประเคนให้ท่านรับ อย่างวัตถุที่เป็นกัปปิย ะ ทั้งหลายเวลานั้นพระสงฆ์ที่เคร่งครัดธรรมวินัย ในแคว้นต้องได้รับความลำบากมาก ถูกอิทธิพลพวกอลัชชีเบียดเบียนเอา พระเถระอรหันต์ฝ่ายเคร่งครัดวินัยรูปหนึ่งคือ พระยสกากัณฑกบุตร
    ชาวเมืองโกสัมพีได้ไปที่เมืองเวสาล ีและได้พบเห็น พระภิกษุวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีนำถาดทอดสำริดเต็มด้วยน้ำ มาวางไว้ที่โรงอุโบสถ และประกาศเชิญชวน ให้ชาวบ้าน บริจาคเงินใส่ลงในถาดนั้นนั่นเองโดยบอกว่าพระยังมีความต้องการ ด้วยเงินทอง
    พระเถระนั้นแม้จะห้ามปรามไม่ให้มีการถวายเงินทองในทำนองนั้น พระภิกษุวัชชบุตรก็ไม่เชื่อฟัง ทั้งชาวบ้านเองก็คงถวายตาม ท ี่เคยปฏิบัติมา พระเถระจึงจึงตำหนิทั้งพระวัชชีบุตรและชาวบ้านที่ถวายเงินทอง และรับเงินทองในลักษณะนั้น เมื่อพระภิกษ วัชชีบุตรได้รับเงินแล้ว นำมาแจกกัน ตามลำดับพรรษา นำส่วนของพระยสกากัณฑบุตรมาถวายท่านพระเถระไม่ยอมรับและตำหนิอีก

    ..........ดังนี้แล้วทำให้ภิกษุวัชชีบุตรจึงไม่พอใจที่พระเถระไม่ยอมรับและตำหนิจึงได้ประชุมกันจึงฉวยโอกาสลงปฏิสาราณีย กรรม คือการลงโทษให้ไปขอขมาคฤหัสถ์ โดยกล่าวว่าพระเถระรุกรานชาวบ้าน ซึ่งพระเถระก็ยินยอมไปขอขมา โดยนำภิกษุอนุทูตไปเป็นพยานด้วย ที่สำนักของอุบาสกและพระเถระได้ชี้แจงพระวินัยให้ฟัง และบอกให้ชาวบ้านเหล่านั้นให้ทราบว่า การกระทำ ของภิกษุวัชชีบุตรนั้นเป็นความผิดหลังการชี้แจง ทำให้อุบาสกอุบาสิกาเข้าใจแล้ว คนเหล่านั้นก็เกิดความเลื่อมใส ในพระเถระและอาราธนา ให้ท่านอยู่จำพรรษา ณ วาลุการามโดยพวกเขาจะอุปัฎฐาก บำรุงและได้อาศัยท่านบำเพ็ญกุศลต่อ ไปภิกษุที่ไปเป็นอนุทูต ไปกับพระเถระได้กลับมาแจ้งเรื่องทั้งปวง ให้ภิกษุวัชชีบุตรทราบ ภิกษุเหล่านี้กลับหวังจะใช ้พวกมาก บีบบังคับพระเถระด้วยการลงอุกเขปนียกรรมแก่ท่านได้พากันยกพวก ไปล้อมกุฏิของพระเถระซึ่งท่านทราบล่วงหน้า เสียก่อน จึงได้หลบออกไปจากที่นั้น

    ........พระยสกากัณฑบุตรพิจารณาเห็นว่า เรื่องนี้หากปล่อยไว้เนิ่นนานไป พระธรรมวินัยจะเสื่อมถอยลง พวกอธรรมวาทีอวินัยวาที ได้พวกแล้วจักเจริญขึ้นจึงได้แจ้งให้พระที่อยู่ในเมืองนั้นๆ ทราบคือ เมืองปาฐา เมืองอวันตี และทักขิณาบถเพื่อจะได้ร่วมกันแก้ไข พระสาณสัมภูตวาสีเถระ เมื่อทราบและมีวินิจฉัยเห็นเช่นเดียวกับ พระยสกากัณฑบุตรทุกประการ

    ........ในที่สุดมติของที่ประชุม พระเถระอรหันต์จำนวน ๑๔๐ รูป มีความเห็นร่วมกันว่า เรื่องนี้จะต้องมีการชำระให้เรียบร้อยโดยให้ไปอาราธนา พระเรวตเถระซึ่งเป็นพระอรหันต์ที่เป็นพหูสูตรชำนาญในพระวินัยทรงธรรมวินัยมาติกาฉลาดเฉียบแหลม มีความละอายบาปรังเกียจบาป ใคร่ต่อสิกขาและเป็นนักปราชญ์ให้เป็นประธานในการวินิจฉัยตัดสิน เรื่องวัตถุ ๑๐ ประการนี้

    พระเรวตเถระหยั่งรู้ด้วยญาณว่า อธิกรณ์นี้หยาบช้า กล้าแข็งไม่ควรท้อถอยที่จะชำระ แต่เพราะไม่ต้องการที่จะคลุกคล ีด้วยหมู่คณะ จึงหลีกไปพักอยู่ที่โสเรยยนครและเมื่อพระสาณสัมภูตวาสี นำเรื่องวัตถุ ๑๐ เรียนถวายให้ทราบ และขอให้ท่านวินิจฉัยทีละข้อ ปรากฏว่าทุกข้อที่พระภิกษุกลุ่มดังกล่าว ได้กระทำนั้น เป็นความผิดทางพระวินัยทั้งหมด จึงตกลงต้องชำระเรื่องนี้ และจัดการสังคายนาพระธรรมวินัย ตามที่เคยมาแล้วในคราวปฐมสังคายนา ฝ่ายภิกษุวัชชีบุตร เมื่อทราบการตระเตรียมงาน เพื่อการชำระอธิกรณ์นี้ก็ร้อนใจจึงพยายามหาพวกเพื่อป้องกันตนเอง โดยตกลงให้พระเรวตเถระ ช่วยเหลือเช่นเดียวกัน โดยส่งภิกษุกลุ่มหนึ่งพร้อมด้วยบริขารเป็นอันมากเพื่อเป็นบรรณาการ ซึ่งท่านปฏิเสธออกมา อย่างนุ่มนวล
    ........เมื่อเข้าทางพระเถระไม่สำเร็จจึงเข้าไปหาพระศิษย์ของท่านพร้อมด้วยบรรณาการเช่นเดียวกัน ในชั้นแรกท่านก็ปฏิเสธ แต่ทนการรบเร้าไม่ไหวจึงรับจีวรไว้ผืนหนึ่งและเข้าไปหาพระเรวตเถระพร้อมกับขอให้ท่านช่วยสนับสนุน พระเถระทราบเรื่อ งถึงกับขับไล่พระอลัชชี และอัปเปหิพระอุปัฏฐากผู้เจรจาครั้งนี้ด้วยหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานเพียง ๗ วัน ภิกษุทั้งหลายเมื่อได้ทราบข่าวต่างก็แสดง ตัวออกมาแตกต่างกันคือท่านเป็นพระอริยบุคคล มีสติอดกลั้นด้วยคิดว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง คนจะได้สิ่งที่เที่ยงจากสังขารทั้งหลายแต่ที่ไหน ฝ่ายท่านที่ยังมีราคะ โทสะ โมหะอยู่ได้ ้แสดงความเศร้าโศก เพราะปิยวิปโยคอย่างหนักว่า " พระผู้มีพระภาคปรินิพพานเร็วนัก พระสุคตเสด็จปรินิพพานเร็วนักจักษุแห่งโลกหายไปจากโลกเร็วนัก" แต่พระสุภัททวุฑฒบรรพชิต ผู้บวชเมื่อแก่ เพราะความขัดสนทางอาชีพกลับกล่าวด้วยเหตุผลที่ต่างกันออกไปว่า " พวกเรา พ้นจากมหาสมณะนั้นด้วยดีแล้ว เพราะเมื่อก่อนท่านได้เบียดเบียนเราด้วยการตักเตือนว่านี่ควร นี่ไม่ควร สำหรับพวกเธอทั้งหลาย บัดนี้พวกเราสบายแล้ว พวกเราต้องการทำสิ่งใดก็ทำสิ่งนั้นไม่ต้องการทำสิ่งใดก็ไม่ต้องทำสิ่งนั้น"

    ........ดังนี้ถือว่าเป็นการจ้วงจาบขาดความเคารพต่อพระธรรมวินัย ผู้แสดงตนเป็นขบถต่อพระศาสนาดีที่ว่า เป็นสมัยที่พระมหาเถระผู้ใหญ่ยังอยู่พร้อมหน้ากัน มาก เช่น พระมหากัสสปะ พระอุบาลี พระอนุรุธ พระอานนท์ เป็นต้น ได้รวบรวมคณะสงฆ์เข้าไว้ในความสามัคคี ยับยั้งเหตุการณ์ไม่ดีไว้ได้หลังจา กถวาย พระเพลิง พระพุทธสรีระแล้ว จึงมีการระงับความวุ่นวายครั้งแรกนี้ พระมหากัสสปเถระจึงนำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมสงฆ์ พร้อมกับเสนอให้มีการสังคายนา พระธรรมวินัย โดยใช้การรกสงฆ์ ๕๐๐ รูป เป็นพระอรหันต์ล้วนๆ เพื่อประกอบกันเป็นพระสังคีติกาจารย์ และกำหนดให ้ทำสังคายนาที่สัตตบรรณคูหา ข้างเวภารบรรพต กรุงราชคฤห์

    การสังคายนาครั้งแรกนั้นมีผลดี ๒ ประการคือได้ร้อยกรองพระธรรมวินัยเข้าเป็นหมวดหมู่และซักซ้อมความเข้าใจ ให้ถูกต้องตรงกัน อีกทั้งเป็นเหตุให้พระสาวกชั้นผู้ใหญ่ได้รวมกลุ่มกัน บริหารกิจการพระศาสนาให้เจริญก้าวหน้าสืบมาเหตุการณ์ทางพระพุทธศาสนา ในช่วง ๙๐ ปีนี้ ไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัดว่าเป็นอย่างไรบ้าง แต่การถือปฏิบัติพระวินัย แตกต่างกัน จากหลังปฐมสังคายนา มีการสืบต่อกันมาทั้ง ๒ สายคือ

    ๑ สายพระสังคีติกาจารย์ในคราวปฐมสังคายนา ซึ่งรักษาพระวินัยตามพระพุทธบัญญัติอย่างเคร่งครัด ไม่ยอมให้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข
    ๒ สายพระปุราณะ ซึ่งปฏิบัติบางประการของพระสังคีติกาจารย์ดังกล่าวแล้ว การปฏิบัติพระวินัยแตกต่างกัน มาปรากฎเด่นดังหลัง จากพระเจ้ากาฬาโศกราชเสวยราชในกรุงเวลาลีถึงปีที่ ๑๐ ความแตกแยกในด้านศีลและทิฎฐิ ืิได้ปรากฎเด่นชัดขึ้น จนไม่อาจจะหาทางประนีประนอมกันได้ จนพระเถราจารย์ที่สืบสายมาจากพระสังคีติกาจารย ์ในคราวปฐมสังคายนา ต้องจัดการชำระพระธรรมวินัยและสังคายนาครั้งที่ ๒ ขึ้นล่วง ๑๐๐ ปีผ่านไป

    .......เป็นช่วงที่พระพุทธศาสนายังดำรงอยู่ได้อย่างครบถ้วนในดินแดนนี้ แต่เนื่องจากประชาชนพลเมืองต่างพากัน ทำนุบำรุงพระศาสนา เรียกได้ว่า
    อุดมสมบูรณ์เกินไป เป็นผลให้พวกอลัชชีเข้ามาบวชอาศัยศาสนากันมากขึ้นมีพระเทียมเพิ่มจำนวนมาก เข้าจนมีอิทธิพลครอบคลุมศาสนจักร ทั้งหมดก็เกือบกล่าวได้เฉพาะที่แขวงเมืองเวสาลี ที่พระศาสดาทรงจำพรรษาสุดท้ายนั่นเองพวกอลัชชีได้กำเริบเสิบสานมาก มีความเห็นวิปริตผิดแผก ไปประพฤติผิดวินัย ๑๐ประการเรียกว่าวัตถุ๑๐ประการโดยกลับอ้างว่าไม่เป็นการผิดพระวินัยบัญญัติ ซึ่งภิกษุวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลี คงประพฤติมานานแล้วเพราะเป็นที่ยอมรับนับถือของชาวบ้าน ทำให้ไม่มีความรู้สึกว่าท่านเหล่านั้น ทำผิดแต่ประการใด จึงมีการถวายทองเงินแก่พระภิกษุ โดยการประเคน ให้ท่านรับอย่างวัตถุที่เป็นกัป-ปิยะทั้งหลายเวลานั้นพระสงฆ์ที่เคร่งครัด ธรรมวินัยในแคว้นต้องได้รับความลำบากมาก ถูกอิทธิพลพวกอลัชชีเบียดเบียนเอา พระเถระอรหันต์ฝ่ายเคร่งครัดวินัยรูปหนึ่ง คือ พระยสกากัณฑก- บุตร ชาวเมืองโกสัมพีได้ไปที่เมืองเวสาลี และได้พบเห็นพระภิกษุวัชชีบุตร ชาวเมืองเวสาลีนำถาด ทอดสำริด เต็มด้วยน้ำ มาวางไว้ที่โรงอุโบสถและประกาศเชิญชวน ให้ชาวบ้านบริจาคเงินใส่ลงในถาดนั้น นั่นเอง โดยบอกว่าพระยังมีความต้องการด้วยเงินทอง พระเถระนั้นแม้จะห้ามปราม ไม่ให้มีการถวายเงินทอง ในทำนองนั้น พระภิกษุวัชชีบุตรก็ไม่เชื่อฟัง ทั้งชาวบ้านเองก็คงถวายตามที่เคยปฏิบัติมา พระเถระจึงจึงตำหนิทั้งพระวัชชีบุตร และชาวบ้านที่ถวายเงินทองและรับเงินทองในลักษณะนั้น เมื่อพระภิกษุวัชชีบุตรได้รับเงินแล้วนำมาแจกกันตามลำดับพรรษา นำส่วนของพระยสกากัณฑบุตรมาถวายท่าน พระเถระไม่ยอมรับและตำหนิอีก

    ........ดังนี้แล้วทำให้ภิกษุวัชชีบุตรจึงไม่พอใจที่พระเถระไม่ยอมรับและตำหนิจึงได้ประชุมกันฉวยโอกาส ลงปฏิสาราณียกรรมคือการลงโทษให ้ไปขอขมาคฤหัสถ์ โดยกล่าวว่าพระเถระรุกรานชาวบ้านซึ่งพระเถระก็ยินยอมไปขอขมา โดยนำภิกษุอนุทูตไปเป็นพยานด้วย ที่สำนักของอุบาสก และพระเถระได้ชี้แจงพระวินัย ให้ฟังและบอกให้ชาวบ้าน เหล่านั้นให้ทราบว่า การกระทำของ ภิกษุวัชชีบุตร นั้นเป็นความผิดหลังการชี้แจง ทำให้อุบาสกอุบาสิกาเข้าใจแล้ว คนเหล่านั้นก็เกิดความเลื่อมใสในพระเถระและอาราธนาให้ท่าน อยู่จำพรรษา ณ วาลุการาม โดยพวกเขาจะอุปัฎฐาก บำรุงและได้อาศัย ท่านบำเพ็ญกุศลต่อ ไปภิกษุที่ไปเป็นอนุทูตไปกับพระเถระได้กลับมา แจ้งเรื่องทั้งปวงให้ภิกษุวัชชีบุตรทราบ ภิกษุเหล่านี้กลับหวัง จะใช้พวกมากบีบบังคับพระเถระด้วยการลงอุกเขปนีย-กรรมแก่ท่านได้พากันยกพวกไปล้อมกุฏิ ของพระเถระซึ่งท่านทราบล่วงหน้า เสียก่อนจึง ได้หลบออกไปจากที่นั้น

    ..........พระยสกากัณฑบุตรพิจารณา เห็นว่า เรื่องนี้หากปล่อยไว้เนิ่นนานไปพระธรรมวินัยจะเสื่อมถอยลงพวกอธรรมวาที อวินัยวาที ได้พวกแล้วจักเจริญขึ้น จึงได้แจ้งให้พระที่อยู่ในเมืองนั้นๆ ทราบคือ เมืองปาฐา เมืองอวันตี และทักขิณาบถ เพื่อจะได้ร่วมกันแก้ไข พระสาณสัมภูตวาสีเถระเมื่อทราบ และมีวินิจฉัยเห็นเช่นเดียวกับพระยสกากัณฑบุตรทุกประการ

    ในที่สุดมติของที่ประชุมพระเถระอรหันต์จำนวน ๑๔๐ รูป มีความเห็นร่วมกันว่า เรื่องนี้จะต้องมีการชำระให้เรียบร้อยโดยให้ไปอาราธนาพระเรวตเถระ ซึ่งเป็นพระอรหันต์ที่เป็นพหูสูตรชำนาญในพระวินัย ทรงธรรมวินัยมาติกาฉลาดเฉียบแหลม มีความละอายบาปรังเกียจบาปใคร่ต่อสิกขาและเป็นนักปราชญ์ ให้เป็นประธานในการวินิจฉัยตัดสิน เรื่องวัตถุ ๑๐ ประการนี้

    .........พระเรวตเถระหยั่งรู้ด้วยญาณว่า อธิกรณ์นี้หยาบช้า กล้าแข็งไม่ควรท้อถอยที่จะชำระ แต่เพราะไม่ต้องการที่จะคลุกคล ีด้วยหมู่คณะ จึงหลีกไปพักอยู่ที่โสเรยยนคร ละเมื่อพระสาณสัมภูตวาสี นำเรื่องวัตถุ ๑๐ เรียนถวายให้ทราบ และขอให้ท่าน วินิจฉัย ทีละข้อ ปรากฏว่าทุกข้อที่พระภิกษุกลุ่มดังกล่าวได้กระทำนั้น เป็นความผิดทางพระวินัยทั้งหมด จึงตกลงต้องชำร ะ เรื่องน ี้ และจัดการสังคายนาพระธรรมวินัย ตามที่เคยมาแล้วในคราวปฐมสังคายนาฝ่ายภิกษุวัชชีบุตร เมื่อทราบการ ตระเตรียมงาน เพื่อการชำระอธิกรณ์นี้ ก็ร้อนใจจึงพยายามหาพวกเพื่อป้องกันตนเอง โดยตกลงให้พระเรวตเถระ ช่วยเหลือเช่นเดียวกัน โดยส่งภิกษุกลุ่มหนึ่ง พร้อมด้วยบริขารเป็นอันมากเพื่อเป็นบรรณาการ ซึ่งท่านปฏิเสธออกมา อย่างนุ่มนวล เมื่อเข้าทางพระเถระไม่สำเร็จจึงเข้าไปหาพระศิษย์ของท่าน พร้อมด้วยบรรณาการ เช่นเดียวกัน ในชั้นแรกท่านก็ปฏิเสธแต่ทนการรบเร้าไม่


     
  7. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,024
    เพื่งเคยเข้ามาอ่านได้ความรู้เยอะเลย หลายเรื่องเลยค่ะ..ขอบคุณนะคะ
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE width="99%" border=0><TBODY><TR><TD height=20>
    ความสำคัญและการรักษาพระไตรปิฎกhttp://www.geocities.com/buddhism4u/tripidok/tripidok2.html


    </TD></TR><TR><TD height=111>
    พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) เก็บเพชรจากคัมภีร์พระไตรปิฎก โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร

    2542 หน้า 17-44


    </TD></TR><TR><TD height=66><HR>ก่อนจะพูดถึงพระไตรปิฎก ควรทำความเข้าใจกันก่อนว่า พระพุทธศาสนาคืออะไร

    พระพุทธศาสนา ก็คือคำสอนของพระพุทธเจ้า การที่เรานับถือพระพุทธศาสนา ก็คือนับถือคำสอนของพระพุทธเจ้า

    ขอให้นึกย้อนหลังไปถึงสมัยพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้าออกประกาศพระศาสนา ยังไม่มีพระพุทธศาสนา ท่านทั้ง
    หลายที่มาเป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้า ก็คือต้องการมาฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า เพราะเหตุที่ต้องการฟังคำสั่งสอนของ
    พระพุทธเจ้า ก็จึงเป็นผู้ฟังที่เราเรียกว่าเป็นสาวก คำว่าสาวกนั้น ก็แปลว่าผู้ฟังนั่นเอง

    เมื่อฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่เรียกว่าพระพุทธศาสนาแล้ว ก็ไปปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระองค์ การฟังคำ
    สั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วปฏิบัติตามนั้น ก็เป็นพระพุทธศาสนาอีก พระพุทธศาสนาจึงมีความหมายทั้งเป็นคำสั่งสอน
    ของพระพุทธเจ้า และการปฏิบัติตามคำสั่งสอนนั้น
    ถึงความหมายขยายไกล
    ก็จับหัวใจพระพุทธศาสนาไว้ให้ได

    ต่อมาก็มีการจัดตั้งเป็นชุมชน เป็นสถาบัน เป็นองค์กร หมายความว่า คนมารวมกันเรียน มาฟังคำสั่งสอน ขยายออก
    ไป เรียกว่าเล่าเรียนคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แล้วก็ปฏิบัติ ทำกันอย่างเป็นจริงเป็นจัง เป็นจำนวนมาก ก็ต้องมีการจัดสรรดู
    แลต่างๆ เพื่อให้คนทั้งหลายที่มาอยู่รวมกันเพื่อวัตถุประสงค์อย่างนี้ ได้เรียนได้ฟัง แล้วก็ได้ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธ
    เจ้าอย่างได้ผล การจัดสรรดูแลให้มีการเล่าเรียน สดับฟัง และปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็เรียกว่าเป็นพระพุทธ
    ศาสนาด้วย ความหมายของพระพุทธศาสนาก็เลยกว้างขวางออกไป

    พอถึงขั้นจัดตั้ง การดูแลให้มีการเล่าเรียนและปฏิบัติ ก็เลยรวมไปถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นมาเป็นชุมชน เป็นองค์
    กร เป็นสถาบันหรืออะไรๆ ที่กว้างขวางออกไป ความหมายของพระพุทธศาสนาก็ขยายออกไป เป็นอย่างที่เราเข้าใจใน
    ปัจจุบันนี้ จนกระทั่งไปๆ มาๆ ก็เลยลืมไปเลย ไม่รู้ว่าตัวพระพุทธศาสนาคืออะไร อยู่ตรงไหน ถ้าไม่ทบทวนกันไว้ให้ดี ต่อ
    ไปก็จับไม่ถูก ว่าที่แท้นั้นพระพุทธศาสนาก็อยู่ที่จุดเริ่ม คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้นเอง

    เพราะฉะนั้น จะต้องจับตัวพระพุทธศาสนาไว้ ให้อยู่ที่คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าให้ได้ ไม่ว่าอะไรก็ตาม ถ้ามีการ
    ปฏิบัติ มีการเชื่อถือกันไปมากมาย ใหญ่โต แต่เสร็จแล้วไม่ใช่คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ก็ไม่ใช่พระพุทธศาสนา

    ที่ว่ามานี้เป็นเรื่องแรกที่ต้องทำความเข้าใจก่อน เป็นอันว่า คนที่มาหาพระพุทธศาสนา ก็คือต้องการคำสั่งสอนของ
    พระพุทธเจ้า เราไม่เอาอะไรอย่างอื่น เราไม่ได้ต้องการคำสั่งสอนของคนอื่น เป็นต้น

    เมื่อเราต้องการคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ถ้าเป็นสมัยพุทธกาล จะทำอย่างไร เราก็ไปฟังพระพุทธเจ้า ถ้าอยู่ในวัด
    เดียวกับพระองค์ ก็ไปหาไปเฝ้าพระองค์ ไปที่ธรรมสภาที่พระพุทธเจ้าตรัสแสดงธรรม ไปฟังพระองค์ หรือซักถามพระองค์
    ทูลถามปัญหาต่าง ๆ ให้พระองค์ตรัสตอบให้ ถ้าอยู่ไกลก็เดินทางมา บางคนมาจากต่างประเทศ ขี่ม้า หรือว่านั่งเกวียน เดิน
    ทางกันมาเป็นวัน เป็นเดือน ก็เพียงเพื่อมาฟังพระพุทธเจ้าสั่งสอน
    จุดเริ่มความคิดรวบรวมรักษาพระพุทธศาสนา
    ต้นแบบของการสังคายนา

    ต่อมา พระพุทธเจ้าปรินิพพาน พระองค์จากเราไปแล้ว ถ้าเราต้องการพระพุทธศาสนา คือคำสั่งสอนของพระพุทธ
    เจ้า เราจะเอาจากที่ไหน พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ถ้าไม่มีการรวบรวมบันทึกคำสั่งสอนของพระองค์ไว้ พระพุทธ
    ศาสนาก็เป็นอันว่าหมดสิ้น

    ฉะนั้น เรื่องต่อไปนี้สำคัญมาก คือการรวบรวมและบันทึกจารึกคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไว้ ต่อจากนั้นก็นำสืบ
    ทอดกันมาจนถึงยุคปัจจุบัน ว่าทำอย่างไร พวกเราเวลานี้จึงโชคดีที่มีโอกาสรู้จักพระพุทธศาสนา

    ขอย้อนไปเล่าว่า แม้แต่เมื่อพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ พระพุทธเจ้าเองและพระสาวกองค์สำคัญ โดยเฉพาะ
    พระสารีบุตร ก็ได้คำนึงเรื่องนี้ไว้แล้วว่าเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ถ้าไม่มีการรวบรวมประมวลคำสอนของพระ
    องค์ไว้ พระพุทธศาสนาก็จะสูญสิ้น ดังนั้น ทั้งๆที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ก็ได้มีการริเริ่ม เป็นการนำทางไว้ให้เป็น
    ตัวอย่างแก่คนรุ่นหลังว่า ให้มีการรวบรวมคำสอนของพระองค์ ซึ่งเราเรียกว่าสังคายนา

    สังคายนา ก็คือการรวบรวมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไว้ แล้วทรงจำไว้เป็นแบบแผนอันเดียวกัน คือรวบรวมไว้
    เป็นหลัก และทรงจำถ่ายทอดสืบมาเป็นอย่างเดียวกัน ตัวอย่างในสมัยพุทธกาลก็มี เป็นพระสูตรหนึ่งเลย

    ตอนนั้นก็ปลายพุทธกาลแล้ว นิครนถนาฏบุตรผู้เป็นศาสดาของศาสนาเชนได้สิ้นชีวิตลง สาวกของท่านไม่ได้รวบ
    รวมคำสอนไว้ และไม่ได้ตกลงกันไว้ให้ชัดเจน ปรากฏว่าเมื่อศาสดาของศาสนาเชนสิ้นชีวิตไปแล้ว สาวกลูกศิษย์ลูกหาก็
    แตกแยกทะเลาะวิวาทกันว่า ศาสดาของตนสอนว่าอย่างไร

    ครั้งนั้น ท่านพระจุนทเถระได้นำข่าวนี้มากราบทูลแด่พระพุทธเจ้า และพระองค์ได้ตรัสแนะนำให้พระสงฆ์ทั้งปวง
    ร่วมกันสังคายนาธรรมทั้งหลายไว้เพื่อให้พระศาสนาดำรงอยู่ยั่งยืนเพื่อประโยชน์สุขแก่พหูชน (ที.ปา.๑๑/๑๐๘/๑๓๙)

    เวลานั้น พระสารีบุตรอัครสาวกยังมีชีวิตอยู่ คราวหนึ่งท่านปรารภเรื่องนี้แล้วก็กล่าวว่า ปัญหาของศาสนาเชนนั้น
    เกิดขึ้นเพราะว่าไม่ได้รวบรวมร้อยกรองคำสอนไว้ เพราะฉะนั้นพระสาวกทั้งหลายทั้งปวงของพระพุทธเจ้าของเรานี้ ควรจะ
    ได้ทำการสังคายนา คือรวบรวมร้อยกรองประมวลคำสอนของพระองค์ไว้ให้เป็นหลัก เป็นแบบแผนอันหนึ่งอันเดียวกัน

    เมื่อปรารภเช่นนี้แล้วพระสารีบุตรก็ได้แสดงวิธีการสังคายนาไว้เป็นตัวอย่าง โดยท่านได้รวบรวมคำสอนที่พระพุทธ
    เจ้าทรงแสดงไว้เป็นข้อธรรมต่างๆ มาแสดงตามลำดับหมวด ตั้งแต่หมวดหนึ่ง ไปจนถึงหมวดสิบ คือเป็นธรรมหมวด ๑
    ธรรมหมวด ๒ ธรรมหมวด ๓ ไปจนถึงธรรมหมวด ๑๐ เมื่อพระสารีบุตรแสดงจบแล้ว พระพุทธเจ้าก็ได้ประทานสาธุการ
    (ที.ปา.๑๑/๒๒๕-๓๖๓/๒๒๔-๒๘๖)

    หลักธรรมที่พระสารีบุตรได้แสดงไว้นี้ จัดเป็นพระสูตรหนึ่งเรียกว่าสังคีติสูตร แปลง่ายๆ ว่าพระสูตรว่าด้วยการ
    สังคายนา หรือสังคีติ

    นี้เป็นตัวอย่างที่พระอัครสาวกสูงสุด คือพระสารีบุตรได้กระทำไว้ แต่ท่านพระสารีบุตรเอง ได้ปรินิพพานก่อนพระ
    พุทธเจ้า เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วก็เป็นอันว่าพระสารีบุตรไม่ได้อยู่ที่จะทำงานนี้ต่อ แต่ก็มีพระสาวกผู้ใหญ่ที่ได้
    ดำเนินงานนี้ต่อมาโดยไม่ได้ละทิ้ง กล่าวคือพระมหากัสสปเถระ ซึ่งตอนที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานนั้น เป็นพระสาวกผู้ใหญ่
    มีอายุพรรษามากที่สุด
    เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพาน งานรักษาพระพุทธศาสนาก็เริ่มทันที

    พระมหากัสสปเถระนั้นทราบข่าวปรินิพพานของพระพุทธเจ้า เมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้วได้ ๗ วัน ขณะที่ท่าน
    กำลังเดินทางอยู่พร้อมด้วยหมู่ลูกศิษย์จำนวนมาก

    เมื่อได้ทราบข่าวนั้น ลูกศิษย์ของพระมหากัสสปะจำนวนมากซึ่งยังเป็นปุถุชนอยู่ ก็ได้ร้องไห้คร่ำครวญกัน ณ ที่นั้น
    ก็มีพระภิกษุที่บวชเมื่อแก่องค์หนึ่ง ชื่อว่าสุภัททะ ได้พูดขึ้นมาว่า ท่านทั้งหลายจะร้องไห้กันไปทำไม พระพุทธเจ้า
    ปรินิพพานนี้ก็ดีไปอย่าง คือว่า ตอนที่พระองค์ยังอยู่นั้น พระองค์ก็คอยดูแล คอยกวดขัน ตรัสห้ามไม่ให้ทำสิ่งโน้นสิ่งนี้ แนะ
    นำให้ทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ พวกเราก็ลำบาก ต้องคอยระมัดระวังตัว ทีนี้ พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้วนี่ พวกเราคงจะทำอะไรได้
    ตามชอบใจ ชอบอะไรก็ทำ ไม่ชอบอะไรก็ไม่ทำ

    พระมหากัสสปเถระได้ฟังคำนี้แล้ว ก็นึกคิดอยู่ในใจ แต่ไม่ได้กล่าวออกมา คือท่านนึกคิดว่า พระพุทธเจ้าปรินิพพาน
    ไปใหม่ๆ แค่นี้ ก็ยังมีคนคิดที่จะทำให้เกิดความแปรปรวน หรือประพฤติปฏิบัติให้วิปริตไปจากพระธรรมวินัย ท่านก็เลยคิด
    ว่าควรจะทำการสังคายนา

    ท่านวางแผนไว้ในใจว่าจะชักชวนพระเถระผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นพระอรหันต์ทั้งหลายที่มีอยู่สมัยนั้น ซึ่งล้วนทันเห็นพระ
    พุทธเจ้า ได้ฟังคำสอนของพระองค์มาโดยตรงเป็นผู้รู้คำสอนของพระพุทธเจ้า และได้อยู่ในหมู่สาวกที่เคยสนทนาตรวจ
    สอบกันอยู่เสมอ รู้ว่าอะไรเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า จะชวนให้มาประชุมกัน มาช่วยกันแสดง ถ่ายทอด รวบรวม
    ประมวลคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แล้วตกลงวางมติไว้ ก็คือคิดว่าจะทำสังคายนา

    แต่เฉพาะเวลานั้น ท่านต้องเดินทางไปที่ปรินิพพาน และจัดการเรื่องการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระให้เสร็จเสีย
    ก่อน ท่านจึงเดินทางไปยังเมืองกุสินารา แล้วก็เป็นประธานในการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ ในพระราชูปถัมภ์ของ
    กษัตริย์มัลละทั้งหลาย

    เมื่องานจัดการเรื่องพระพุทธสรีระเสร็จแล้ว พระมหากัสสปเถระก็ดำเนินงานตามที่ท่านได้คิดไว้ คือได้ชักชวนนัด
    หมายกับพระอรหันต์ผู้ใหญ่ เพื่อจะทำการสังคายนา

    ต่อจากนั้นก็เป็นเรื่องของงานใหญ่แห่งการสังคายนา ซึ่งมีการเตรียมการถึง ๓ เดือน ซึ่งได้ที่ประชุมที่ถ้ำสัตตบรรณ
    คูหา ณ ภูเขาชื่อเวภาระ เมืองราชคฤห์ พระเจ้าแผ่นดินตอนนั้นทรงพระนามว่าอชาตศัตรู ซึ่งได้ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์การ
    สังคายนา ตั้งแต่การจัดเตรียมสถานที่

    เมื่อจะทำสังคายนา ก็มีการคัดเลือกตัวบุคคลที่จะเข้าร่วมประชุม จึงคัดเลือกได้พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ ที่เห็นร่วมกัน
    ว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติ มีความรู้ความสามารถ เช่นเป็นหัวหน้าหมู่คณะ เป็นผู้ได้จำคำสอนของพระพุทธเจ้าไว้ได้มากและชัด
    เจน ในการประชุมนี้ พระมหากัสสปเถระทำหน้าที่เป็นประธาน โดยเป็นผู้ซักถาม

    คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น พระพุทธเจ้าเองทรงแบ่งไว้เป็น ๒ ส่วน เรียกว่าธรรมส่วนหนึ่ง และวินัยส่วนหนึ่ง

    ธรรม คือหลักคำสอนว่าด้วยความจริงของสิ่งทั้งหลาย พร้อมทั้งข้อประพฤติปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำตรัส
    แสดงไว้โดยสอดคล้องกับความจริงนั้น

    ส่วนวินัย คือประมวลพุทธบัญญัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ต่างๆ ในการเป็นอยู่ หรือกฎระเบียบต่างๆ ของสงฆ์ ที่จะดำรง
    ไว้ซึ่งภาวะอันเกื้อหนุนให้ภิกษุและภิกษุณีประพฤติปฏิบัติตามธรรมนั้นอย่างได้ผลดี และรักษาพระศาสนาไว้ได้

    ด้วยเหตุนี้จึงเรียกพระพุทธศาสนา ด้วยคำสั้นๆ ว่า ธรรมวินัย

    ฝ่ายธรรมนั้น ผู้ที่ได้ฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอยู่ตลอดเวลา เพราะติดตามพระองค์ไป อยู่ใกล้ชิด เป็นผู้
    อุปัฏฐากของพระองค์ ก็คือพระอานนท์ ที่ประชุมก็ให้พระอานนท์เป็นผู้นำเอาธรรมมาแสดงแก่ที่ประชุม หรือเป็นหลักของ
    ที่ประชุมในด้านธรรม

    ส่วนด้านวินัย พระพุทธเจ้าทรงยกย่องพระอุบาลีไว้ว่าเป็นเอตทัคคะ ที่ประชุมก็คัดเลือกพระอุบาลีให้มาเป็นผู้นำใน
    ด้านการวิสัชนาเรื่องของวินัย

    ทั้งหมดนี้เราก็เรียกกันง่ายๆ ว่า สังคายนาพระธรรมวินัย

    เมื่อได้ตัวบุคคลเรียบร้อยแล้ว ก็เริ่มประชุมกัน อย่างที่กล่าวแล้วว่า ที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา โดยมีพระอรหันต์ ๕๐๐
    องค์ เริ่มการประชุมเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วได้ ๓ เดือน การประชุมดำเนินอยู่เป็นเวลา ๗ เดือน จึงเสร็จสิ้น แสดงว่า
    เป็นงานที่ใหญ่มาก

    เรื่องการทำสังคายนาครั้งแรกนี้ ท่านเล่าไว้ในพระไตรปิฎกด้วย ผู้ต้องการความละเอียดสามารถไปอ่านได้เอง
    (วินย.๗/๖๑๔-๖๒๘/๓๗๙-๓๙๔)
    เมื่อสังคายนาพระธรรมวินัย
    ก็ทำให้พระพุทธศาสนาเถรวาทเกิดขึ้นมา

    วิธีการสังคายนา ที่เรียกว่าวิธีการร้อยกรองหรือรวบรวมพระธรรมวินัย หรือประมวลคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
    ก็คือ นำเอาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามาแสดงในที่ประชุม แล้วก็มีการซักถามกัน จนกระทั่งที่ประชุมลงมติว่าเป็นอย่าง
    นั้นแน่นอน เมื่อได้มติร่วมกันแล้วในเรื่องใด ก็ให้สวดพร้อมกัน

    การสวดพร้อมกันนั้น แสดงถึงการลงมติร่วมกันด้วย และเป็นการทรงจำกันไว้อย่างนั้นเป็นแบบแผนต่อไปด้วย
    หมายความว่า ตั้งแต่นั้นไป คำสอนตรงนั้นก็จะทรงจำไว้อย่างนั้น เมื่อจบเรื่องหนึ่งก็สวดพร้อมกันครั้งหนึ่ง อย่างนี้เรื่อยไป
    ใช้เวลาถึง ๗ เดือน

    การสวดพร้อมกันนั้นเรียกว่า สังคายนา เพราะคำว่า
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ความสำคัญและการรักษาพระไตรปิฎก (จบครับ)
    http://www.geocities.com/buddhism4u/tripidok/tripidok2.html

    ต้องเข้าใจให้ชัด
    แค่ไหนใช่ แค่ไหนไม่ใช่สังคายนา

    การสังคายนานั้นต้องให้รู้ว่าเป็นการที่จะรักษาคำสอนเดิมเอาไว้ให้แม่นยำที่สุด ไม่ใช่ว่าพระภิกษุที่สังคายนามีสิทธิ์
    เอาความคิดเห็นของตนใส่ลงไป การสังคายนา ก็คือ การมาทบทวนซักซ้อมตรวจสอบคัมภีร์ให้ตรงตามของเดิม และซัก
    ซ้อมตรวจสอบคนที่ไปทรงจำ หรือไปนับถืออะไรต่างๆ ที่อาจจะผิดเพี้ยนไป ให้มาทบทวนตัวเอง ให้มาซักซ้อมกับที่
    ประชุม ให้มาปรับความเห็น ความเชื่อ การปฏิบัติของตน ให้ตรงตามพระไตรปิฎกที่รักษากันมาอย่างแม่นยำ ที่เป็นหลัก
    กลางนี้

    บางคนเข้าใจผิดว่า ในการสังคายนานี้ ผู้ที่เข้าร่วมสังคายนา จะไปปรับไปแต่งไปทำอะไรกับพระไตรปิฎก ดีไม่ดี
    อาจจะถึงกับเข้าใจว่ามาแต่งพระไตรปิฎกกันใหม่ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปไกล ซึ่งแสดงว่าไม่รู้จักการสังคายนา
    และไม่รู้เรื่องอะไรเลย

    เพราะฉะนั้น จะต้องย้ำกันว่า การสังคายนาพระไตรปิฎก ก็คือ การมาทบทวนตรวจสอบซักซ้อมกันในการที่จะ
    รักษาพระไตรปิฎกของเดิมที่ท่านสังคายนาไว้ ในการสังคายนาครั้งที่ ๑ เมื่อ ๓ เดือน หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว
    ว่าเป็นอย่างไร ก็ให้คงอยู่อย่างนั้น อย่างแม่นยำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ อะไรที่คลาดเคลื่อน ใครทรงจำผิดไป ก็ให้มาปรับเข้า
    กับของเดิมของแท้นี้เสีย เพราะว่าเมื่อเรารักษาคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็คือเราจะต้องเอาคำตรัสของพระองค์ของเดิมไว้ให้
    ได้ ถ้าคำสอนคำตรัสเดิมหมดไป ก็คือพระพุทธศาสนาหมดไปแล้ว

    แต่เราก็ต้องรู้ด้วยว่า ในพระไตรปิฎกไม่ใช่มีเฉพาะคำตรัสของพระพุทธเจ้าอย่างเดียว คำของพระสาวกก็มี เช่นคำ
    ของพระสารีบุตรที่ได้แสดงวิธีสังคายนาเป็นตัวอย่างไว้นั้น ก็เป็นพระสูตรอยู่ในพระไตรปิฎก ชื่อ สังคีติสูตร แต่ธรรมะที่
    พระสารีบุตรนำมาสังคายนาไว้ในสังคีติสูตรนั้น ก็คือคำตรัสของพระพุทธเจ้า หรือธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้นั่น
    เอง นอกจากนั้นก็มีคำสนทนากับผู้อื่น ซึ่งมีคำของผู้อื่นอยู่ด้วยในนั้น

    หลักคำสอนอะไรเก่าๆ ก่อนพุทธกาล ที่พระพุทธเจ้าทรงยอมรับ ทรงนำมาเล่าให้นับถือปฏิบัติกันต่อไป ก็มาอยู่ใน
    พระไตรปิฎกด้วย อย่างเรื่องชาดก เฉพาะส่วนที่เป็นตัวคำสอนแท้ๆ

    คัมภีร์ที่นิพนธ์แม้หลังพุทธกาลก็มีบ้าง อย่างในสมัยสังคายนาครั้งที่ ๓ สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระโมคคัลลี
    บุตรติสสเถระ ประธานสังคายนา ท่านได้เห็นว่า พระในสมัยนั้นบางพวกมีความเชื่อถือวิปริตผิดแผกแตกออกไป ท่านก็
    เรียบเรียงคัมภีร์ขึ้นมาเล่มหนึ่ง เพื่อวินิจฉัยความเชื่อถือ หรือการสั่งสอนที่ผิดพลาดเหล่านั้นแต่การวินิจฉัยนั้นก็เป็นเพียงว่า
    ท่านมาเชื่อมโยง โดยยกเอาคำสอนคำตรัสของพระพุทธเจ้าที่โน้น ที่นี่ ในเรื่องเดียวกันนั้น มารวมกันไว้เป็นหลักฐานอ้างอิง
    เพื่อแสดงให้เห็นว่า เรื่องนั้นพระพุทธเจ้าตรัสว่าอย่างไร เพื่อจะวินิจฉัยความเชื่อหรือคำสอนของผู้ที่เชื่อผิดพลาดไปนั้น
    อย่างนี้ก็กลายเป็นคัมภีร์ใหม่ แต่แท้จริง ก็เป็นการนำเอาพุทธพจน์ในเรื่องนั้นๆ มารวมไว้ในอีกลักษณะหนึ่ง โดยมีเรื่องราว
    หรือข้อคิด หรือข้อพิจารณาอะไรอย่างหนึ่งเป็นแกน

    แต่ก็อย่างที่กล่าวแล้วว่า พระไตรปิฎกนี้เป็นประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ถือว่าเป็นมาตรฐาน เป็นของส่วน
    รวมที่พระสงฆ์ทั้งหมดโดยเฉพาะท่านที่เป็นครูอาจารย์และพระเถระที่รับผิดชอบการพระศาสนาต่างก็คอยจับตา คอย
    ระแวดระวัง ถือเป็นสำคัญ ฉะนั้นใครจะไปเที่ยวใส่เติมอะไรลงไปไม่ได้ จะต้องเป็นที่ยอมรับกันอย่างแน่นอน และไม่ใช่
    ประเทศเดียวรักษาไว้ หลายๆ ประเทศต่างก็มี แล้วก็ต้องคอยทานเทียบกัน หมั่นตรวจสอบไม่ให้คลาดเคลื่อนกันไป

    รวมความก็คือให้จำไว้เลยว่า ประเทศพุทธศาสนาเถรวาททั้งหมด มีพระไตรปิฎกชุดเดียวกัน ซึ่งเนื้อหาเหมือนกัน
    ทั้งหมด แม้จะต่างกันในตัวอักษร จ ว บ้าง บางแห่ง หรือตกหล่นบางคำบ้าง ก็น้อยเต็มที
    ความสำนึกตระหนักมั่นนี้ อย่าว่าแต่ต่างประเทศเลย แม้แต่ประเทศไทยเรา ต่อไป ถ้าไม่เห็นความสำคัญ เราเองก็อาจจะทำ
    ให้เลือนลางคลาดเคลื่อน

    เวลาแปลคำว่า
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มาhttp://www.relicsofbuddha.com/barahun/page8-1-26.htm


    [FONT=Tahoma, MS Sans Serif, MS Dialog Light]พระอุตระ[/FONT]
    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=1 width=450 border=0><TBODY><TR><TD width=300 rowSpan=2>[​IMG]</TD><TD></TD></TR><TR><TD vAlign=bottom>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>[FONT=MS Sans Serif, BrowalliaUPC]"พระอุตระ สัณฐานดังเมล็ดแตงโม พรรณแดงดังสีเปลือกกรู ดังผลหว้า"[/FONT]
    [FONT=Tahoma, MS Sans Serif, MS Dialog Light]ประวัติ พระอุตระ[/FONT]
    [FONT=Tahoma, MS Sans Serif, MS Dialog Light]หนังสือโดยทั่วไปกล่าวว่า "พระอุตระ" ที่ปรากฏในตำราพระธาตุ เป็นองค์เดียวกับ "พระอุตระ" หนึ่งในพระธรรมฑูต ที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงส่งมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเขตสุวรรณภูมิ แต่เมื่อค้นประวัติแล้ว ในสมัยพุทธกาลก็มีพระอรหันต์องค์หนึ่งนามว่า พระอุตระ เช่นกัน ดังมีประวัติกล่าวถึงดังนี้[/FONT]
    [FONT=Tahoma, MS Sans Serif, AngsanaUPC]พระอุตตระเถระ ท่านเป็นบุตรของพราหมณ์ผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่งในนครราชคฤห์ เป็นผู้เชี่ยวชาญในไตรเพท มีรูปงาม มีศีล และมีปัญญาเฉลียวฉลาด ท่านวัสสการพราหมณ์ มหาอำมาตย์ของพระเจ้าอชาตศัตรูเห็นรูปสมบัติและคุณสมบัติของท่านแล้ว เกิดความเอ็นดู ปรารถนาจะให้สมรสกับธิดาของตน แต่ท่านเกิดความเบื่อหน่ายต่อโลก ไม่ปรารถนาจะครองเรือน และเมื่อได้ฟังพระธรรมเทศนาของท่านพระสารีบุตร ได้เกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ขอบรรพชาอุปสมบทกับพระสารีบุตร และอยู่ปฏิบัติรับใช้พระเถระผู้เป็นอาจารย์เรื่อยมา[/FONT]
    [FONT=Tahoma, MS Sans Serif, AngsanaUPC]ครั้งหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอาพาธ พระอุตตระได้ออกไปหาหมอแต่เช้าตรู่ ครั้นเดินไปพบสระน้ำในระหว่างทาง ท่านได้วางบาตรไว้ริมฝั่งสระน้ำ แล้วลงไปตักน้ำ ล้างหน้า บ้วนปาก ในขณะนั้น โจรคนหนึ่ง ถูกเจ้าหน้าที่ไล่ติดตามมา เขาได้ทิ้งเพชรพลอยที่ขโมยมาลงในบาตรของท่าน แล้วหลบหนีไป เมื่อเจ้าหน้าที่ตามมาเห็นมีเพชรพลอยอยู่ในบาตรของท่าน จึงนำท่านไปหาวัสสการพราหมณ์ ท่านมหาอำมาตย์ได้ตัดสินให้ลงโทษท่าน โดยการทรมานอย่างทารุณ พระพุทธองค์ทรงเห็นอุปนิสัยของท่านว่า จักได้บรรลุธรรมในวันนั้น จึงได้เสด็จไปทางอากาศ ยืนประทับอยู่เหนือศีรษะของท่าน เอาพระหัตถ์ลูบศีรษะของท่านด้วยพระเมตตากรุณาธิคุณยิ่งแล้วตรัสว่า "อุตตระ นี่คือ ผลแห่งกรรมในอดีต" แล้วตรัสสอนธรรมตามอุปนิสัยของท่าน[/FONT][FONT=Tahoma, MS Sans Serif, AngsanaUPC]ในที่สุด ท่านก็ได้บรรลุอรหัตตผลพร้อมด้วยอภิญญา ๖ และได้หลุดพ้นจากเครื่องพันธนาการ เหาะขึ้นไปในอากาศบาดแผลที่ร่างกายของท่านได้หายสนิทดี [/FONT]
    [FONT=Tahoma, MS Sans Serif, AngsanaUPC]ครั้งหนึ่งเพื่อนสหธรรมิกหลายรูปได้เรียนถามท่านว่า ท่านสามารถดับทุกข์ได้อย่างไร ท่านตอบว่า [/FONT]
    [FONT=Tahoma, MS Sans Serif, AngsanaUPC]"ภพอะไรที่เที่ยงไม่มี แม้สังขารที่เที่ยง ก็ไม่มี ขันธ์เหล่านั้นย่อม[/FONT]
    [FONT=Tahoma, MS Sans Serif, AngsanaUPC]เวียนเกิดและเวียนดับไป ผมรู้โทษอย่างแล้ว จึงไม่ความต้องการด้วยภพ[/FONT]
    [FONT=Tahoma, MS Sans Serif, AngsanaUPC]ผมสลัดตนออกจากกามทั้งปวง บรรลุถึงความสิ้นอาสวะแล้ว"(๑)[/FONT]
    [FONT=Tahoma, MS Sans Serif, AngsanaUPC]พระอุตตระนี้ น่าจะเป็นคนเดียวกับพระตีณิกัณณิการปุปผิยะ(๒)[/FONT]
    [FONT=Tahoma, MS Sans Serif, AngsanaUPC]๑. ขุ. เถร. ๒๖/๒๘๗ ; เถร.อ. ๑/๒๔๐ [/FONT]
    [FONT=Tahoma, MS Sans Serif, AngsanaUPC]๒. ขุ. อปทาน. ๓๓/๑๓๙-๑๔๓[/FONT]

    [FONT=Tahoma, MS Sans Serif, AngsanaUPC]สารานุกรม พระไตรปิฎกฉบับธรรมทาน [/FONT]​

    ********************************************************

    หมายเหตุ ในความคิดเห็นของผม (ซึ่งต้องแจ้งให้ทุกๆท่านได้ทราบ)

    พระอุตรเถระเจ้า ท่านมิได้เป็นลูกศิษย์พระสารีบุตรครับ(ลองอ่านประวัติหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร ที่ผมนำมาลงในกระทู้นี้) เพราะว่าท่านเป็นพระธรรมทูตที่พระเจ้าอโศกมหาราช ได้กราบอาราธนาพระอุตรเถระเจ้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิหลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วประมาณ 200 กว่าปี โดยพระธรรมทูตที่เดินทางมาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ ได้เดินทางมาในปีพ.ศ.235 ครับ

    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มกราคม 2007
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มาhttp://www.relicsofbuddha.com/barahun/page8-1-03.htm


    [FONT=MS Sans Serif, BrowalliaUPC]พระอรหันตธาตุสมัยพุทธกาล**[/FONT]
    <TABLE borderColor=#ff0033 cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%" border=1><TBODY><TR align=middle><TD>
    [FONT=Tahoma, MS Sans Serif, MS Dialog Light]พระสีวลี[/FONT]
    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=1 width=450 border=0><TBODY><TR><TD width=300 rowSpan=2>[​IMG]</TD><TD> </TD></TR><TR><TD vAlign=bottom>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>[FONT=MS Sans Serif, BrowalliaUPC]"พระสีวลี มีสัณฐานดังเมล็ดในพุทราอย่างหนึ่ง ผลยอป่าอย่างหนึ่ง
    เมล็ดมะละกออย่างหนึ่ง วรรณเขียวดังดอกผักตบบ้าง แดงดังสีหม้อใหม่บ้าง
    สีพิกุลแห้งบ้าง เหลืองดังหวายตะค้าบ้าง แลขาวดังสีสังข์บ้าง"
    [/FONT]

    [FONT=Tahoma, MS Sans Serif, MS Dialog Light]ประวัติ พระสีวลีเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีลาภมาก[/FONT]
    [FONT=Tahoma, MS Sans Serif, MS Dialog Light]พระสีวลี เป็นโอรสของพระนางสุปปวาสา ราชธิดาแห่งโกลิยนคร ตั้งแต่ท่านจุติลงถือปฏิสนธิในครรภ์ของพระมารดา ได้ทำให้ลาภสักการะเกิดขึ้นแก่พระมารดาเป็นอันมาก ท่าน
    อาศัยอยู่ในครรภ์ของพระมารดา นานถึง ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน ครั้นเมื่อใกล้เวลาจะประสูติ พระมารดาได้รับทุกขเวทนาอย่างแรงกล้า พระนางจึงขอให้พระสวามีไปกราบบังคมทูลขอพร จากพระบรมศาสดาและพระพุทธองค์ตรัสประทานพรแก่พระนางว่า:-

    “ขอพระนางสุปปวาสา พระราชธิดาแห่งพระเจ้ากรุงโกลิยะ จงเป็นหญิงมีความสุข
    ปราศจากโรคาพยาธิ ประสูติพระราชโอรสผู้หาโรคมิได้เถิด”

    ด้วยอำนาจแห่งพระพุทธานุภาพ ทุกขเวทนาของพระนางก็อันตรธานไป พระนางประสูติพระราชโอรสอย่างง่ายดาย ดุจน้ำไหลออกจากหม้อ พระประยูรญาติทั้งหลายได้ขนานพระนามพระราชโอรสของพระนางสุปปวาสาว่า “สีวลีกุมาร” เมื่อพระนางมีพระวรกายแข็งแรงดีแล้ว มีพระประสงค์ที่จะถวายมหาทานติดต่อกันเป็นเวลา ๗ วัน จึงจึงความประสงค์แก่พระสวามีให้กราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ มารับมหาทานอาหารบิณฑบาตในพระราชนิเวสน์ ตลอด ๗ วัน ในวันถวายมหาทานนั้น สีวลีกุมาร มีพระวรกายเข้มแข็งดุจกุมารผู้มีพระชนม์ ๗ พรรษา ได้ช่วยพระบิดาและพระมารดาจัดแจงกิจต่าง ๆ มีการนำธมกรก (ธะมะกะหรก = กระบอกกรองน้ำ) มากรองน้ำดื่มและอังคาสพระบรมศาสดาและหมู่พระภิกษุสงฆ์ ในขณะที่สีวลีกุมาร ช่วยพระบิดาและพระมารดาอยู่นั้น ท่านพระสารีบุตรเถระได้สังเกตดูอยู่ตลอดเวลา และเกิดความรู้สึกพอใจในพระราชกุมารน้อยเป็นอย่างมาก ครั้นถึงวันที่ ๗ ซึ่งเป็นวันสุดท้าย พระเถระได้สนทนากับสีวลีกุมารแล้วชักชวนให้มาบวช สีวลีกุมาร ผู้มีจิตน้อมไปในการบวชอยู่แล้ว เมื่อพระเถระชักชวน จึงกราบทูลขออนุญาตจากพระบิดาและพระมารดา เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงติดตามพระเถระไปยังพระอารามพระสารีบุตรเถระ ผู้รับภาระเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้สอนพระกรรมฐานเบื้องต้น คือ ตจปัญจกกรรมฐานทั้ง ๕ ได้แก่ เกสา(ผม) โลมา(ขน) นขา(เล็บ) ทันตา(ฟัน) ตโจ (หนัง) ให้พิจารณาของทั้ง ๕ เหล่านี้ว่าเป็นของไม่งานเป็นของสกปรก ไม่ควรเข้าไปยึดติดหลงใหลในสิ่งเหล่านี้ สีวลีกุมาร ได้สดับพระกรรมฐานนั้นแล้วนำไปพิจารณาในขณะที่กำลังจรดมีดโกนเพื่อโกนผม ครั้งแรกนั้นท่านได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน จรดมีดโกนลงครั้งที่ ๒ ท่านได้บรรลุเป็นพระสกทาคามี จรดมีดโกนลงครั้งที่ ๓ ท่านได้บรรลุเป็นพระอนาคามี และเมื่อโกนผมเสร็จ ท่านได้บรรลุเป็นพระอรหันต์

    เมื่อท่านอุปสมบทแล้วปรากฏว่าท่านเป็นพุทธสาวกที่มีลาภสักการะมากมาย ด้วยอำนาจบุญบารมีของท่านที่สั่งสมมา ลาภสักการะเหล่านี้ได้เผื่อแผ่ไปยังพระสงฆ์สาวกท่านอื่น ๆ ด้วย แม้พระบรมศาสดาเมื่อทรงพาหมู่ภิกษุสงฆ์เสด็จทางไกลกันดาร ถ้ามี พระสีวลี ร่วมเดินทางไปด้วย ความขาดแคลนอาหารและที่พักอาศัยในระหว่างทางก็จะไม่เกิดขึ้นแก่หมู่ภิกษุสงฆ์เลย เช่น....

    พระพุทธองค์และหมู่ภิกษุอาศัยบุญพระสีวลี

    สมัยหนึ่ง พระบรมศาสดาเสด็จพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จำนวน ๕๐๐ รูปไปเยี่ยมพระเรวตะผู้เป็นน้องชายของพระสารีบุตรเถระ ซึ่งจำพรรษาอยู่ ณ ป่าไม้ตะเคียน เมื่อเสด็จมาถึงทาง ๒ แพร่ง พระอานนท์เถระได้กราบทูลสภาพหนทางว่า.....

    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเสด็จไปทางอ้อม ระยะทางไกล ๖๐ โยชน์ มีประชาชนอยู่
    อาศัยมาก พระภิกษุไม่ลบากด้วยภิกขาจาร แต่ถ้าเสด็จไปทางลัดระยะทางประมาณ ๓๐ โยชน์
    ไม่มีประชาชนอยู่อาศัย มีสภาพเป็นป่าใหญ่ มีแต่อมนุษย์อยู่อาศัย พระภิกษุสงฆ์จะลำบากด้วย
    ภิกขาจาร”

    พระพุทธองค์ ตรัสถามว่า:-

    “ดูก่อนอานนท์ พระสีวลีมากับเราด้วยหรือไม่?”
    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเสวลีมากับเราด้วย พระเจ้าข้า”

    พระพุทธองค์ ตรัสว่า:-

    “ดูก่อนอานนท์ ถ้าอย่างนั้นก็จงไปทางลัด ไม่ต้องห่วง ไม่ต้องกังวลด้วยอาหาร
    บิณฑบาต เพราะเทวดาทั้งหลายที่สิงสถิตอยู่ในป่าระหว่างทาง จะจัดสถานที่พักและอาหาร
    บิณฑบาตไว้ถวายพระสีวลีผู้เป็นที่เคารพนับถือของพวกตน เราทั้งหลายก็จะได้อาศัยบุญของ
    พระสีวลี นั้นด้วย”
    [/FONT]
    [FONT=Tahoma, MS Sans Serif, MS Dialog Light]
    ได้รับยกย่องในทางผู้มีลาภมาก

    ด้วยอำนาจบุญที่ท่านพระสีวลี ได้บำเพ็ญสั่งสมอบรมมาตั้งแต่อดีตชาติ เป็นปัจจัยส่งผลให้ท่านเจริญด้วยลาภสักการะ โดยมีเทพยาดา นาค ครุฑ และมนุษย์ทั้งหลาย นำมาถวายโดยมิ
    ขาดตกบกพร่อง ไม่ว่าท่านจะอยู่ในที่ใด ๆ ในป่า ในบ้าน ในน้ำ หรือบนบก เป็นต้นด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์ จึงทรงประกาศให้ปรากฏในหมู่พุทธบริษัทตรัสยกย่องท่านในตำแหน่ง เอคทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในทาง ผู้มีลาภมาก นับว่าท่านพระสีวลีเถระเป็นพระมหาสาวกอีกรูปหนึ่งที่ได้ช่วยกิจการ พระศาสนา แบ่งเบาภาระของพระบรมศาสดาเป็นอย่างมาก ท่านดำรงอายุสังขารโดยสมควรแก่กาลเวลาแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, BrowalliaUPC]ตัดทอนและแก้ไข จาก http://84000.org [/FONT]​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ประวัติหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร
    ลิขสิทธิ์ท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร

    ( คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้าหรือหลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา ลพบุรี) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปานหรือหลวงพ่อโอภาสี วัดโอภาสี บางมด กรุงเทพ) )

    กาลามสูตร

    ของ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระบรมครู<O:p</O:p



    1. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา <O:p</O:p
    2. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆกันมา<O:p</O:p
    3. อย่าปลงใจเชื่อ ค้วยการเล่าลือ <O:p</O:p
    4. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์<O:p</O:p
    5. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก <O:p</O:p
    6.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมาน<O:p</O:p
    7. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล <O:p</O:p
    8. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้ากันได้กับทฤษฏีที่พินิจไว้แล้ว<O:p</O:p
    9. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ <O:p</O:p
    10.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา<O:p</O:p
    เรื่องราวเกี่ยวกับพระเทพโลกอุดร มีมาช้านานแล้ว เริ่มต้นในยุคสมัยสุวรรณภูมิ หริภุญไชย สุโขทัย อยุธยา และตนโกสินทร์ หลักฐานที่ปรากฏชัดแต่ขาดการค้นคว้า อย่างจริงจังรู้ในชนกลุ่มน้อยทางเจโตบ้าง เช่น พระอริยคุณาธาร (ปุสโสเส็ง) และหลวงปู่คำคะนิง ต่างเห็นพ้องต้องกันว่า คณะพระเทพโลกอุดร เคยมาพำนัก ณ ถ้ำดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวไปก็ไม่มีผู้ใดเห็นอย่างท่าน บางท่านที่มีวาสนาก็พบเห็นท่านและยืนยัน ครั้นจะเอาเข้าจริงก็ไม่สามารถพบเห็นท่าน คล้ายคนหนึ่งเคยเห็นผีแต่หลายคนอยากเห็นบ้างก็ไม่เห็น จนเกือบจะเป็นเรื่องอจิณไตย (คือเรื่องที่ไม่ควรนึกคิด) แต่ก็ไม่ใช่นิยายท่านมักอยู่ไม่เป็นหลักแหล่ง สามารถปรากฏได้ในสถานที่ต่าง ๆ ไม่จำกัด ทั้งผู้ที่พบเห็นก็ปราศจากความรู้ว่าเป็นพระเทพโลกอุดรองค์ใดกันแน่ เพราะมีอยู่ด้วยกันถึง 5 พระองค์ และอาจมาในรูปต่าง ๆ ไม่ซ้ำกัน หรือปรากฏรูปเดิม แต่ที่มีวาสนาบารมีสูงส่งก็คือ คุณดอน นนทะศรีวิไล คนลาวไปประกอบอาชีพที่ประเทศแคนาดา ท่านผู้นี้ปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด ถือเอกามังสะวิรัติมานานกว่าสิบปีซึ่งบรมครูพระเทพโลกอุดรโปรดปรานมาก คุณดอนและครอบครัว นับถือบรมครูพระเทพโลกอุดรมาก และเล่าให้ฟังว่าได้พบเห็นบรมครูพระเทพโลกอุดรด้วยตาเนื้อ 2 ครั้ง <O:p</O:p
    ครั้งแรกหลังจากเสร็จจากการนั่งสมาธิประจำวัน เป็นเวลาทางประเทศแคนาดา 00.02 น. ปรากฏพระภิกษุชรารูปหนึ่งเดินเข้ามาในบ้าน คุณดอนทราบทางจิตว่าเป็นบรมครูพระเทพโลกอุดรแน่ จึงก้มลงกราบและเรียนถามว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มกราคม 2007
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ประวัติหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร(ต่อครับ)
    ลิขสิทธิ์ท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร

    ( คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้าหรือหลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา ลพบุรี) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปานหรือหลวงพ่อโอภาสี วัดโอภาสี บางมด กรุงเทพ) )

    ปริเฉทหนึ่ง<O:p</O:p
    กล่าวย้อนไปถึงอดีตกาล พุทธศักราชผ่านพ้นไป 303 ปี (ตามหลักฐานบันทึกในหนังสือมหาวงศ์พงศาวดารลังกา คำบรรยายของ หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ อดีตภัณฑารักษ์เอกกรมศิลปกร ) และตามหลักฐานของวัดเพชรพลี (บันทึกอักษรเทวนาครี ขุดค้น พบ ณ ซากศิลา วัดคูบัว ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี) ว่าพระพุทธศาสนาได้เริ่มแพร่เข้าสู่แคว้นสุวรรณภูมิในปีพุทธศักราช 235 ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันถึง 68 ปี พระเจ้าอโศก มหาราชได้ทรงกระทำตติยสังคายนาพระไตรปิฎก คือ การชำระพระไตรปิฎกขึ้นเป็นครั้งที่ 3ครั้นแล้วจึง อาราธนาพระโมคคัลลีบุตร ติสสเถระองค์อรหันต์เป็นประธานคัดเลือกบรรดาพระอรหันต์เถระออกทำการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในประเทศต่างๆดังนี้ <O:p</O:p
    1. พระมัชฌันติกเถระ ปยังกัสสมิรและคันธารประเทศ (คือประเทศแคชเมียร์และอัฟฆานิสสถานปัจจุบัน) แห่งหนึ่ง <O:p</O:p
    2. พระมหาเทวะเถระ ไปยังมหิสมมณฑล (คือแว่นแคว้นทางใต้ ลำน้ำโคทาวดี อันเป็นประเทศไมสอหรือไมเซอร์ ์ในปัจจุบัน) แห่งหนึ่ง <O:p</O:p
    3. พระรักขิตเถระ ไปยังวนวาสีประเทศ (คือแว่นแคว้นกะนาราเหนืออันเป็นเขตเมืองบอมเบย์ปัจจุบัน แห่งหนึ่ง <O:p</O:p
    4. พระธรรมรักขิตเถระ ไปยังปรันตกประเทศ (คือแว่นแคว้นตอนชายทะเลด้านเหนือเมืองอมเบย์ปัจจุบัน)แห่งหนึ่ง <O:p</O:p
    5. พระมหาธรรมรักขิตเถระ ไปยังมหารัฐประเทศ (คือแว่นแคว้นตอนเหนือของลำน้ำโคทาวารี) แห่งหนึ่ง <O:p</O:p
    6. พระมหารักขิตเถระไปยังโยนกประเทศ (คือบรรดาหัวเมืองต่างๆที่พวกโยนกได้ครองความเป็นใหญ่ใน ดินแดน ประเทศเปอร์เซียปัจจุบัน) แห่งหนึ่ง <O:p</O:p
    7. พระมัชฌิมเถระ ไปยังหิมวันตประเทศ (คือมณฑลซึ่งตั้งอยู่เชิงเขาหิมาลัย มีเนปาลราช เป็นต้น) แห่งหนึ่ง <O:p</O:p
    8. พระโสณเถระกับพระอุตร เถระ ไปยังสุวรรณภูมิประเทศ <O:p</O:p
    ข้อถกเถียงเรื่องสุวรรณภูมิเป็นมาช้านานฝ่ายไทยอ้าง นครปฐมเป็น ราชธานีของสุวรรณภูมิ พม่าอ้างเมืองสะเทิมอันเป็นมอญฝ่ายใต้เป็นสุวรรณภูมิ เขมรและลาวต่างก็อ้างว่าประเทศของตน คือสุวรรณภูมิ แต่ใครจะอ้าง อย่างไรก็ล้วนมีส่วนถูกด้วยกันทั้งสิ้น คือท่านศาสตราจารย์เดวิดส์ อธิบายว่าเริ่มแต่รามัญประเทศไปจรด เมืองญวนและตั้งแต่พม่าไปจรดแหลมมะลายูหรือที่เรียกว่าอินโดจีนเป็นสุวรรณภูมิทั้งนั้น สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงรับ สั่งว่า คำที่เรียกสุวรรณภูมิประเทศนั้น จะหมายรวมดินแดน ที่มีเป็นประเทศมอญและไทยภายหลังทั้งหมด เหมือนอย่างที่เราเรียกว่า อินเดีย เป็นชมพูทวีปกก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นใคร ในแหลมอินโดจีนจะอ้างว่า ประเทศของตนเป็นสุวรรณภูมิ จึงเป็นการถูกต้องด้วยกัน ทั้งนั้นไม่มีปัญหา ที่ไทยอ้างนครปฐม เป็นราชธานีนั้นก็เพราะจังหวัดนครปฐมมีเนื้อที่ภูมิประเทศ กว้างขวางและ มีโบราณวัตถุสถานสร้างไว้มาก แต่จะเรียกชื่อเมืองหลวงว่ากระไรในครั้งกระนั้นได้แค่สันนิษฐานเห็นจะเรียกสุวรรณภูมินั่นเองชื่อนี้จึงได้แต่เป็นที่รู้กันแพร่หลายไปถึงอินเดียและลังกาจนเป็นเหตุให้ใช้ชื่อนี้ในหนังสือมหาวงศ์ฯ ว่า พระโสณกับพระอุตรได้อัญเชิญพระพุทธศาสนามาประดิษฐานสถานที่เมืองสุวรรณภูมิ และเป็นเหตุให้เรียกชื่อมหาสถูปที่เมืองนั้นว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มกราคม 2007
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ประวัติหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร(จบครับ)
    ลิขสิทธิ์ท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร

    ( คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้าหรือหลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา ลพบุรี) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปานหรือหลวงพ่อโอภาสี วัดโอภาสี บางมด กรุงเทพ) )

    ปริเฉทสาม<O:p</O:p

    เริ่มสมัยรัตนโกสินทร์ในราชกาลที่ 4 ประมาณปี พ.ศ.2395 ในขณะที่พระองค์เจ้ายอดหรือพระองค์เจ้ายอดยศ บวรราโชรสราชกุมารประสูติ ณ วันพฤหัสบดี เดือน 10 แรม 2 ค่ำปีจอสัมฤทธิศก จุลศักราช 1200 พุทธสกราช 2381ในรัชกาลที่ 3 เป็นพระเจ้าลูกยาเธอนับเป็นพระราชโอรสองค์ต้นในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระชนมายุได้ 14 พรรษาปี 2395 เป็นการปรากฎทั้งคณะพระธรรมฑูตมีดังนี้ <O:p</O:p
    1. พระอุตรเถระเรียกกันว่าพระครูโลกอุดรหลวงปู่ใหญ่หรือหลวงพ่อดำเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต)พรหมรังสีเรียกท่านว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มกราคม 2007
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://phuketindex.com/travel/photo-stories/other/buddha-oppakut/index.htm
    ตำนาน พระอุปคุต
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="52%"></TD><TD width="48%">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    จากการค้นหาข้อมูลของพระอุปคุตนั้น เราทราบเพียงว่า ท่านเกิดหลังพระพุทธเจ้า เสด็จปรินิพพานแล้ว ประมาณ พ.ศ. 218 ปี แต่ไม่ทราบภูมิเดิมของท่านละเอียด ว่าเป็นบุตรของใคร เกิดในวรรณะอะไร และที่ไหน
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="52%">
    [​IMG]
    </TD><TD class=telltext width="48%"> </TD></TR></TBODY></TABLE>
    จากการสันนิษฐานตามตำนาน พระเถระอุปคุต น่าจะเป็นชาวเมืองปาตลีบุตร เมื่อบวชแล้วบำเพ็ญเพียร จนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ขีณาสพ สำเร็จอภิญญาต่างๆ จนสามารถแสดงอภินิหาร เป็นที่เล่าลือมาจนทุกวันนี้ มีปฏิปทาดำเนินไปในทางสันโดษ มักน้อย นัยว่าท่านเนรมิตเรือนแก้ว (กุฏิแก้ว) ขึ้นในท้องทะเลหลวง (สะดือทะเล) แล้วก็ลงไปอยู่ประจำ ที่กุฏิแก้วตลอดเวลา เมื่อมีเหตุเภทภัยเกิดขึ้นในพระศาสนา หรือเมื่อมีพิธีกรรมใหญ่ๆ หรือมีผู้นิมนต์ ท่านก็จะขึ้นมาช่วยเหลือ ด้วยความเต็มใจเสมอ

    สรุปรวมความได้ว่า ท่านเป็นพระเถระสำคัญองค์หนึ่ง ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช (ผู้นำกองทัพธรรมแผ่กระจายไปทั่วโลก) เป็นพระเถระผู้เปี่ยมด้วยพุทธานุภาพ และฤทธิ์เดชเกรียงไกร สามารถปราบพญามารและกำจัดสิ่งชั่วร้าย ที่จะมาทำลายพิธีกรรมใหญ่ ๆ มาแต่ครั้งโบราณ

    เรื่องราวก็มีอยู่ว่า เมื่อประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 2 หลังพุทธปรินิพพาน ณ นครปาตลีบุตราชธานี (ปัจจุบันคือเมืองปัตนะ ภาคใต้อินเดีย) พระเจ้าอโศกมหาราช ผู้ครองราชสมบัติในขณะนั้น ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ตามตำนานกล่าวว่า ได้ทรงสร้างพระวิหารและพระสถูป มากมายทั่วทั้งชมพูทวีป (เค้าว่ามากถึงแปดหมื่นสี่พันองค์) เป็นผู้รวบรวมและขุดค้นพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อจะนำไปบรรจุในสถูปที่พระองค์ทรงสร้างไว้ทุกแห่ง

    เมื่อการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระองค์ก็ทรงปรารภ ที่จะจัดให้มีการฉลองสมโภช พระสถูปเจดีย์ทั้งหมดนั้น เป็นการมโหฬารยิ่ง ตลอด 7 ปี 7 เดือน 7 วัน และเพื่อให้การฉลองสมโภช เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ปราศจากอุปสรรค จึงใคร่จะอาราธนาพระสงฆ์ขีณาสพ ที่ทรงอิทธิฤทธิ์ มาเป็นผู้คุ้มครองงาน ให้ปราศจากการรบกวนจากมารร้ายต่าง ๆ

    แต่พระสงฆ์ในนครปาตลีบุตร ไม่มีรูปใดที่จะสามารถ เป็นผู้คุ้มครองงานมหกรรมอันยิ่งใหญ่นี้ ให้พ้นจากภัยทั้งหลายทั้งปวงได้ (โดยเฉพาะภัยจากพญาวัสสวดีมาร ผู้มีฤทธิ์ยิ่งกว่าภูตผีปีศาจทั้งหลาย) นอกเสียจากพระอุปคุตเถระผู้เดียวเท่านั้น พระสงฆ์ทั้งปวงจึงตั้งตัวแทน ๒ รูป ลงไปอาราธนาพระอุปคุตเถระผู้เรืองฤทธิ์ มาช่วยรักษาความปลอดภัย ในงานสมโภชครั้งนี้ ซึ่งกล่าวกันว่า พระอุปคุตเถระองค์นี้ มีปกติสันโดษอยู่องค์เดียว เข้าฌานสมาบัติเสวยวิมุตติสุข อยู่ในมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ ภายในปราสาทแก้วที่เนรมิตขึ้น เหนือรัตนะบัลลังก์ จะออกจากสมาบัติ เหาะขึ้นมาบิณฑบาต ในโลกมนุษย์ ในวันพุธเพ็ญกลางเดือนเท่านั้น

    และในครั้งนี้เอง พระอุปคุตเถระ ถูกพระภิกษุสองรูป ผู้ได้อภิญญาสมาบัติ ชำแรกมหาสมุทร ลงมาถึงตัวท่านแจ้งว่า ให้ท่านจงเป็นธุระ ป้องกันพญามารอย่าให้รบกวนงานฉลองพระสถูปเจดีย์ ของพระเจ้าอโศกมหาราชได้

    เมื่อพระอุปคุตเถระได้รับนิมนต์ ก็เดินทางมานมัสการ และรายงานตัวต่อคณะสงฆ์ในวันรุ่งขึ้น พระเจ้าอโศกมหาราช จึงได้เสด็จเข้ามานมัสการคณะสงฆ์ เพื่อขอทราบเรื่อง ผู้จะที่จะมาทำหน้าที่รักษาการ งานฉลองสมโภชพระสถูปเจดีย์ เมื่อพระองค์ทรงทราบ ว่าผู้ที่จะมาทำหน้าที่นี้ คือพระอุปคุตเถระ ก็ทรงนึกแคลงพระทัย เนื่องจากพระอุปคุตเถระนั้น มีร่างกายผ่ายผอมดูอ่อนแอ ก็ทรงไม่แน่ใจ เกรงจะทำหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์ แต่ไม่ทรงตรัสว่ากระไร

    ครั้นรุ่งเช้าวันใหม่ ขณะที่พระอุปคุตหาเถระ ออกบิณฑบาตในนครปาตลีบุตรนั้น พระเจ้าอโศกมหาราช ใคร่จะทดสอบฤทธิ์พระเถระ จึงทรงปล่อยช้างซับมัน (ช้างตกมัน) ให้เข้าทำร้ายพระเถระ พระมหาอุปคุตเถระเห็นดังนั้น จึงสะกดช้าง ที่กำลังวิ่งเข้ามา ให้หยุดอยู่กับที่ ไม่ไหวติงประดุจช้างที่สลักด้วยศิลา พระเจ้าอโศกมหาราช ทอดพระเนตรเห็นดังนั้น ก็ทรงเลื่อมใส จึงเสด็จไปขอขมาพระเถระ พระมหาอุปคุตเถระ ก็ให้อภัยทั้งแก่พระเจ้าอโศกมหาราช และพญาคชสาร

    เมื่อเห็นว่าพระอุปคุตเถระ มีฤทธิ์เดชมาก พระเจ้าอโศกมหาราช ก็ทรงวางพระทัย ตรัสสั่งให้เตรียมฉลองสมโภช พระสถูปเจดีย์ทั้งหมด ด้วยการปลูกปะรำร้านโรง ประดับธงทิว และประทีปโคมไฟ ตลอดระยะทางกึ่งโยชน์ ทำให้ตามแนวฝั่งแม่น้ำคงคา สว่างไสวไปทั่วทั้งบริเวณ

    บรรลุฤกษ์งามยามดีตามที่กำหนดไว้ บรรดาพระสงฆ์ขีณาสพ และพระสงฆ์ปุถุชน ตลอดจนพุทธศาสนิกชน ทั้งในนครปาตลีบุตร และต่างแดนจากจตุรทิศ ก็เริ่มหลั่งไหลเข้าสู่บริเวณงาน พร้อมเครื่องสักการบูชา เพื่อร่วมพิธีฉลองสมโภช พระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุอยู่ในมหาเจดีย์ และเจดีย์ ทั้งแปดหมื่นสี่พันองค์ ด้วยความเลื่อมใส ศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง

    และในเวลานี้เอง พญามาร (พญาวัสสวดีเทพบุตรมาร) ก็มุ่งหน้าเข้ามาในงานกับเค้าเหมือนกัน ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะก่อความวุ่นวาย ต่างๆ นานา ทั้งบันดาลให้เกิดลมพายุ ทั้งแปลงร่างเป็นสัตว์ป่า และสัตว์หิมพานต์ แต่ทุกครั้งก็โดนพระอุปคุตเถระ กำราบได้หมด และสุดท้าย เพื่อให้พญามาร ออกไปจากบริเวณพิธี พระอุปคุตเถระ จึงเนรมิตร่างหมาเน่าขึ้นมาตัวหนึ่ง แล้วดึงประคตจากเอวของท่าน ออกมาผูกร่างหมาเน่านั้น คล้องคอพญามารไว้ แล้วสำทับว่าไม่ว่าใครก็ตาม (นอกจากท่านเอง) จะเอาหมาเน่านี้ออก จากคอพญามารไม่ได้ แล้วขับพญามารออกไป จากบริเวณงานทันที

    ด้วยความอับอาย พญามารก็ออกมาจากบริเวณงาน และพยายามแก้ร่างสุนัขเน่า ออกด้วยฤทธานุภาพ แต่ทำอย่างไร ก็ไม่สามารถแก้ได้ เพราะเมื่อเอามือทั้งสอง ต้องสายประคตที่คล้องคอทีไร ต้องมีไฟลุกขึ้นไหม้คอ และมือทันที สุดจะแก้ไขด้วยตนเองได้ ก็ไปหาที่พึ่งอื่น (ที่คิดว่าน่าจะช่วยได้)
    แต่ถึงแม้จะไปหาท้าวมหาราชทั้งสี่ พระอินทร์ ท้าวยามา ท้าวสันดุสิต ท้าวนิมิตเทวราช ตลอดจนท้าวสหัสบดีพรม ก็ไม่มีใครสามารถช่วยได้ ต่างได้แต่แนะนำว่า ให้พญามารไปขอขมา และขอความเมตตา จากพระเถระผู้นั้นเสียดีกว่า

    พญามารเห็นดังนั้น จึงจำใจต้องกลับไปหาพระเถระ อ้อนวอน ให้ช่วยเอาซากหมาเน่าออกจากคอให้ แล้วจะไม่มารบกวน การจัดงานอีก พระอุปคุตเถระก็อนุโลมตาม แต่ยังไม่ไว้ใจพญามารนัก เกรงพญามาร จะกลับมาทำลายพิธีในภายหลัง จึงเดินนำพญามาร ไปยังเขาใหญ่ลูกหนึ่ง แล้วเอาร่างหมาเน่าทิ้งลงเหว และเนรมิตให้สายประคตยาวขึ้น แล้วพันคอพญามาร ไว้กับเขาลูกนั้น พร้อมทั้งแจ้งว่า เมื่อเสร็จพิธีฉลองสมโภช พระมหาเจดีย์สิ้นสุดลงแล้ว จึงจะแก้โซ่ออก ปล่อยให้พญามารเป็นอิสระ (7 ปี 7 เดือน 7 วัน)

    เวลาผ่านไปตามที่ตกลงกัน การจัดงานสมโภชน์ ก็สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี พระอุปคุตเถระ จึงกลับมาหาพญามาร โดยแอบอยู่ห่างๆ เพื่อฟังเสียงพญามารว่า ละพยศร้ายหรือยัง

    พญามารเอง เมื่อจากทิพยวิมานอันบรมสุข มารับทุกขเวทนาเช่นนี้ ก็ละพยศร้ายในสันดาน หวนนึกถึงพระพุทธโคดม จึงกล่าวสดุดี ในความเมตตากรุณา ของพระพุทธเจ้า ในเรื่องที่ทรงมีมหากรุณาธิคุณ อันยิ่งใหญ่ว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กรกฎาคม 2007
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    คำบูชาพระสีวลี

    http://www.palungjit.org/board/showthread.php?t=22224

    คำบูชาพระสีวลี (พระฉิม)<O:p</O:p


    อิมินา สักกาเรนะ สีวะลีเถรัง อะภิปูชะยามิ<O:p</O:p
    เมื่อบูชาแล้วกำหนดภาวนาในใจว่า<O:p</O:p
    สีวลี จะ มะหาเถโร อินโท พรัมมาจะ ปูชิตัง สัพพะลาภัง ประสิทธิเม เถรัสสะ อานุภาเวนะ สัพพะโสตถี ภะวันตุเม ฯ<O:p</O:p
    <O:p</O:p


    คาถาพระฉิมพลี (พระสีวลี)<O:p</O:p

    ฉิมพะลี จะ มหาเถโร ยักขาเทวาภิปูชิโต โสระโห ปัจจะยาทิมหิ อะหัง วันทามิ สัพพะทา<O:p</O:p
    ฉิมพะลี จะ มหาเถโร เทวะตานะระปูชิโต โสระโห ปัจจะยาทิมหิ มหาลาภัง กะโรนตุ เม ลาเภนะ อุตตะโม โหติ โส ระโห ปัจจะยาทิมหิ มหาลาภัง สะทา โสตถิง ภะวันตุ เม ฯ<O:p</O:p
    ราชะปุตโต จะ โย เถโร ฉิมพะลี อิติรัสสุโต ลาเภนะ อุตตะโม โหติ ยัง ยัง ชะนะปะทัง ยาตินิคะเม ราชะธานิโย สัพพัตถะ ปูชิโต โหติ เถรัสสะ ปาเท วันทามิ เถรัสสานุภาเวนะ สัพพะลาโภ ภะวันตุ เม ฯ<O:p</O:p
    ฉิมพะลีนันทะ ฉิมพะลีเถรัสสะ เอตถะตัง คุณัง สัพพะธะนัง สุปะติฏฐิตัง สาริกะธาตุ พุทธะรูปัง อะหัง วันทามิ สัพพะทา ฯ<O:p</O:p
    <O:p</O:p


    หัวใจพระสิวลี<O:p</O:p

    นะ ชาลีติ ประสิทธิลาภา<O:p</O:p

    <O:p</O:p
    หัวใจพระฉิมพลี<O:p</O:p
    นะชาลิติ ปะสิทธิลาภา ปะสันนะจิตตา สะทา โหติ ปิยัง มะมะ สัพเพชะนา พะหูชะนา สัพเพ ทิสา สะมาคะตา กาละโภชนา วิกาละโภชนา อาคัจฉันติ ปิยัง มะมะ ฯ
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    คำอธิฐานขอลาภจากพระสีวลี<O:p</O:p


    (โดยหลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ จังหวัดลำปาง)<O:p</O:p

    นโม ๓ จบ<O:p</O:p


    สิวะ ลีมะหา เถรัง วันทามิหัง ( ๓ จบ )<O:p</O:p

    มะหาสิวะลี เถโร มะหาลาโภ โหติ มะหาสิวะลี เถโร ลาภัง เม เท ถะ<O:p</O:p


    คำบูชาขอลาภพระสิวลี (ประจำวัน)<O:p</O:p


    วันอาทิตย์ ( ๖ จบ )<O:p</O:p

    ฉิมพะลี จะ มหานามัง สัพพะลาภัง ภะวิสสะติ เถรัสสานุภาเวนะ สะทา โหนติ ปิยัง มะมะ ฯ<O:p</O:p

    วันจันทร์ ( ๑๕ จบ )<O:p</O:p

    ยัง ยัง ปุริโสวา อิตถีวา ทูเรหิวา สะมีเปหิวา เถรัสสานุภาเวนะ สะทา โหนติ ปิยัง มะมะ ฯ<O:p</O:p

    วันอังคาร ( ๘ จบ )<O:p</O:p

    ฉิมพะลี จะ มหาเถโร โสระโห ปัจจะยาทิมหิ เชยยะลาโภ มหาลาโภ สัพพะลาภา ภะวันตุ สัพพะทา ฯ<O:p</O:p

    วันพุธ ( ๑๗ จบ )<O:p</O:p

    ทิตติตถะภะเวราชา ปิยาจะ คะระตุเม เย สารัตติ นิรันตะรัง สัพพะสุขาวะหา ฯ<O:p</O:p

    วันพฤหัสบดี ( ๑๙ จบ )<O:p</O:p

    ฉิมพะลี จะ มหาเถโร ยักขาเทวาภิปูชิโต โสระโห ปัจจะยาทิมหิ อะหัง วันทามิ สัพพะทา ฯ<O:p</O:p

    วันศุกร์ ( ๒๑ จบ )<O:p</O:p

    ฉิมพะลี จะ มหาเถโร เทวะตานะระปูชิโต โสระโห ปัจจะยาทิมหิ มหาลาภัง กะโรนตุ เม ลาเภนะ อุตตะโม โหติ สัพพะลาภะ ภะวันตุ สัพพะทา ฯ<O:p</O:p

    วันเสาร์ ( ๑๐ จบ)<O:p</O:p

    ฉิมพะลี จะ มหานามัง อินทาพรหมา จะ ปูชิตัง สัพพะลาภัง ปะสิทธิ เม เถรัสสานุภาเวนะ สะทา สุขี ปิยัง มะมะ ฯ<O:p</O:p
    หมายเหตุ -ในวงเล็บหมายถึงการให้ภาวนาจำนวน
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    พระคาถาพระอนุรุธเถรเจ้า
    http://www.palungjit.org/board/showthread.php?t=26235

    <TABLE class=tborder id=post185903 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">29-01-2006, 01:27 AM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right> #1 </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>MBNY<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_185903", true); </SCRIPT>
    Administrator
    สมาชิกยอดฮิต

    [​IMG]

    เข้ามาครั้งสุดท้ายเมื่อ: วันนี้ 12:17 PM
    วันที่สมัคร: Sep 2004
    ข้อความ: 2,114 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    ได้ให้อนุโมทนา 19,768 ครั้ง
    ได้รับอนุโมทนา 4,715 ครั้ง ใน 770 โพส <!-- End Post Thank You Hack -->
    พลังการให้คะแนน: 5000 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    </TD><TD class=alt1 id=td_post_185903 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- icon and title -->พระคาถาพระอนุรุธเถรเจ้า
    <HR style="COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->พระคาถาพระอนุรุธเถรเจ้า

    มัยหังปุตโต ปุญญะวากะตา
    ภินิหาโร ภะวิสสะติ เทวะตะหิ ปาติง
    ปูเรตวา ปูวาปะหิตา ภะวิสสะตีติ


    พระคาถาบทนี้เป็นพระคาถาของพระอนุรุธะเถระเจ้า เป็น
    พระคาถาที่ท่านโบราณาจาริย์หวงแหนปิดบังกันมาก อำนาจ
    ของมนต์พระคาถาบทนี้ผู้ใดได้เล่าบ่นจำเริญไว้ประจำหมั่นทำบุญ
    ตักบาตร์เป็นนิจสินแล้วสวดพระคาถานี้อธิษฐาน ปรารถนา เอาสิ่ง
    ซึ่งตน พึ่งประสงค์ สิ่งนั้น จะพลัน อุบัติให้ได้ด้วย อำนาจเทพยดา
    บรรดาลให้เป็นไปภาวนาพระคาถาบทนี้แล้วไซร้จะคิดทำอย่างไร
    อย่าพูดคำว่า "ไม่มี-ไม่ได้" เพราะอำนาจของพระคาถานี้จะดล
    บรรดาลให้ได้สำเร็จดุจเยี่ยงเดียวกับอนุรุทธะ กุมาร ซึ่งท่านไม่เคย
    รู้จักคำว่า "ไม่มี" เลยตลอดชนมายุของท่านแล

    http://www.dhamdee.com/board/index.php?act=ST&f=1&t=199
    <!-- / message --><!-- sig --></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    คำบูชา พระอุปคุต
    หรือ พระบัวเข็ม
    <O:p</O:phttp://www.palungjit.org/board/showthread.php?t=21900

    การตั้งบูชา นิยมการตั้งบูชาบนฐานรองรับ อยู่กลางภาชนะใส่น้ำ เป็นการจำลองคล้ายกับท่านจำพรรษาอยู่ในมหาสมุทร แล้วใช้ดอกมะลิลอยในน้ำบูชา และต้องตั้งต่ำกว่าพระพุทธ เนื่องจากเป็นพระอรหันต์ สาวกของพระพุทธเจ้า<O:p
    <O:p
    คำบูชาพระอุปคุต<O:p

    อุปะคุตโต จะ มะหาเถโร สัมพุทเธนะ วิยากะโต มารัญจะ มาระพะลัญจะ โส อิทานิ มะหาเถโร นะมัสสิตะวา ปะติฎฐิโต อะหัง วันทามิ อิทาเนวะ อุปะคุตตัง จะ มาหาเถรัง ยัง ยัง อุปัททะวัง ชาตัง วิธัง เสติ อะเสสะโต มะหาลาภัง ภะวันตุเม ฯ <O:p
    หรือ (แบบย่อ) อุปะคุตโต จะ มะหาเถโร ยักขาเทวา นะระปูชิโต โสระโห ปัจจะ ยาทิมปิ มะหาลาภัง ภะวันตุเม ฯ<O:p</O:p


    (เกิดโชคลาภและคุ้มกันภัยภิบัติอันตรายทั้งปวง)<O:p</O:p

    <O:p</O:p




    คำบูชาพระมหาอุปคุต<O:p</O:p

    นโม ๓ จบ<O:p</O:p

    พระมหาอุปคุตโต พระมหาอุปคุตตัง จะมหาเถโร สัพเพชะนา พะหูชะนา อิถีชะนา มามังพุทธะจิตตัง จะมหาลาโภ พุทธะธัมโม จะมหาลาภัง พุทธะสังฆัง จะมหาสัจจัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม ฯ<O:p</O:p
    อุปคุตตะ จะมหาเถโร สัพพะเสน่หาปุพชิโต โสระโห อุปะคุตะ ปัจจะยา ธิมะหิ อุตตะโม โหติ สัพพะทุกขะ สัพพะภะยะ สัพพะโรคะ พุทธา ธัมมา สังฆา อานุภาเวนะ วินาสสันติ ฯ<O:p</O:p


    (นิยมสวดบูชาพระบัวเข็ม หรือ พระธาตุอุปคุต)<O:p</O:p

    <O:p</O:p




    คำบูชาขอลาภพระอุปคุต<O:p</O:p

    มหาอุปคุตโต จะมหาลาโภ พุทโธลาภัง สัพเพชะนา พะหูชะนา ราชาปุริโส อิถีโยมานัง นะโมโจรา เมตตาจิตตัง เอหิจิตติจิตตัง ปิยังมะมะ สะเทวะกัง สะพรหมมะกัง มะนุสสานัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม ฯ<O:p</O:p
    เอหิจิตติ จิตตังพันธะนัง อุปะคุตะ จะมหาเถโร พุทธะสาวะกะ อานุภาเวนะ มาระวิชะยะ นิระภะยะ เตชะปุญณะตา จะเทวะตานัมปิ มะนุสสานันปิ เอหิจิตตัง ปิยังมะมะ อิมังกายะ พันธะนัง อะทิถามิ ปะอัยยิสสุตัง อุปัจสะอิ ฯ<O:p</O:p
    <O:p</O:p



    วิธีสวดขอลาภ<O:p</O:p

    ให้จุดธูปเทียนบูชา พร้อมกับดอกไม้หอม เครื่องหอมน้ำหอมต่างๆ เทหยดใส่ในขันน้ำมนต์ ณ ที่บูชาพระในร้านค้าขาย หรืออาคารสำนักงาน แล้วอธิษฐานขอให้กลิ่นควันธูปเทียน ลมพัดไปทางไหน ของให้ดลใจผู้คนเข้ามาอุดหนุนตลอด ขอให้ดำเนินกิจการด้วยความราบรื่น มีความสำเร็จสมปรารถนาทุกประการ เมื่ออธิษฐานจุดธูปเทียนบูชาแล้ว ให้สวด นะโม ๓ จบ และสวดคำบูชาขอลาภพระอุปคุต จบ แล้วทำน้ำมนต์สวดด้วย คำบูชาขอลาภพระมหาอุปคุต อีก ๑ จบ เสร็จแล้ว เอาน้ำมนต์ประพรมร้านค้า และสินค้าในร้านค้า หรือทำธุรกิจ ก็ให้เอาน้ำมนต์ประพรมภายในสำนักงานและอุปกรณ์ต่างๆ ที่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำธุรกิจนั้นทั้งหมด<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    คาถาพระมหาอุปคุตผูกมาร<O:p</O:p

    นโม ๓ จบ<O:p</O:p

    มหาอุปคุตโต มหาอุปคุตตัง กายะพันทะนัง อมยิสะ พุทธังทะเถโร ธัมมังทะเถโร สังฆังทะเถโร ปะอัยยะสุตัง อุปัจสะอิ อิมังกายะพันทะนัง อะทิถามิ ฯ<O:p</O:p
    (คาถาพระมหาอุปคุตผูกมาร มีอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์มาก เสกด้วยสายสิญจน์ทำเป็นมงคลสวมคอ หากปลุกเสกครบ ๑๐๘ ครั้งสามารถป้องกันภูตผีปีศาจทั้งปวง และป้องกันอุปัทวอันตรายต่างๆ ถ้าเสก ๓ - ๗ คาบ ผูกคอหรือคล้องคอคนถูกผีเจ้าเข้าสิง จะเจ็บปวดร้องครวญครางโหยหวยอย่างน่าเวทนา ถ้าจะให้ผีที่สิงอยู่ออกไป ให้ถอดหรือแก้ด้ายผูกคอออก แล้วเอาด้ายนี้ตีปัดตามตัวคนที่ถูกผีสิงอยู่ ผีจะอยู่ไม่ได้จะเผ่นออก และไม่กล้ากลับมารบกวนคนในบ้านอีก และยังมีการปลุกเสกในทางพิชิตโรคาพาธได้วิเศษนัก)<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    คำบูชาพระบัวเข็ม<O:p</O:p

    นโม ๓ จบ<O:p</O:p

    กิจจะมาคะอุปคุตโต อะมะหาเถโร สัมพุทเธวิยาคะโต มาระรัญจะ โสอิทานิ จะมะหาเถโร นะมัดปะสิทตะวาปะ ถิติโกอหัง วันทามิ พาเนวะอุปคุตตัง จะมะ หาเถรัง ยังยังอุปัทธะวังชาติ วิทังเสนติ อะเสสะโต นโมพุทธายะ<O:p</O:p
    พระบัวเข็มจะมะหาเถโร สัพพะลาภังภะวันตุเม อิติปิโสภะคะวา พุทโธชัยโย ธัมโมชัยโย สังโฆชัยโย เมตตา ฉิมพาลีจะมะหา เถโร สัพพะลาภัง ตะวันตุเม ฯ<O:p</O:p
    ชัยยะตัง ปัตถะพีตับภัง สามินโท โสราชาปูเชมิ ฯ<O:p</O:p


    หรือ<O:p</O:p



    จิตติจิตติ มิตติเอหิมะมะ อุปปะคุตโต จะมะหาเถโร นานาปาระมิ สัมมะปัณโน อิติปิโสภะคะวา มะอะอุเมตตา จะมะหาราชา สัพพะสะเนหา จะปูชิตา สัพพะทุกขัง มะหาลาภัง สัพพะโกพัง วินาสสันติ
     

แชร์หน้านี้

Loading...