ว่าด้วยผลทานปัจจุบัน

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย anand, 1 เมษายน 2011.

  1. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    พระไตรปิฎกมหาวิตถารนัย ๕,๐๐๐ กัณฑ์
    กัณฑ์ที่ ๑๙
    คัมภีร์อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต
    ว่าด้วยผลทานปัจจุบัน

    เอกํ สมยํ ภควา เวสาลิยํ วิหรติ มหาวเน กูฎาคารสาลายํฯ อถ โข สีโห เสนาปตีติ.
    ณ บัดนี้ อาตมาพจักได้แสดงคัมภร์อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต กัณฑ์ที่ ๑๙ ว่าด้วยผลทานปัจจุบันเป็นต้น เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาและพุทธศาสนิกชนทั้งหลายตลอดกาลนาน

    บาลี

    ดำเนินความตามวาระพระบาลี อันมีในพระสูตรที่ ๔ วรรคที่ ๑ ปัณณาสกสงเคราะห์ คัมภีร์อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาตนั้นว่า ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่กูฎาคารศาลา ในป่ามหาวัน เมืองเวสาลีฯ ครั้งนั้น สีหเสนาบอดีไปทูลถามว่า พระองค์อาจทรงบัญญัติผลทานที่เห็นเอง คือที่เป็นปัจจุบันได้หรือ พระเจ้าข้าฯ ตรัสตอบว่า ถ้าอย่างนั้นเราจักย้อนถามเธอในข้อนี้ เธอเห็นสมควรอย่างไร ต้องแก้ไขอย่างนั้น คือ มีบุรุษ ๒ คน คนหนึ่งไม่มีศรัทธา มีแต่ความตระหนี่ ความแข็งกระด้าง ด่าว่า สมณพราหมณ์ อีกคนหนึ่งมีศรัทธาน เป็นทานบดี เป็นผู้ยินดีในการให้ เธอเข้าใจว่า พระอรหันต์ทั้งหลายจะอนุเคราะห์คนไหนก่อนฯ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระอรหันต์ทั้งหลายจักอนุเคราะห์คนไม่มีศรัทธา มีแต่ความตระหนี่ ความกระด้าง ความด่าว่าสมณพราหมณ์ก่อนได้อย่างไร พระอรหันต์ทั้งหลายจะต้อง อนุเคราะห์ผู้มีศรัทธา ผู้เป็นทานบดี ผู้ยินดีในการให้ทานก่อนฯ สีหะบุคคลทั้ง ๒ นั้น พระอรหันต์ทั้งหลายจะไปหาใครก่อนฯ จะไปหาผู้มีศรัทธา ผู้เป็นทานบดี ผู้ยินดีให้ทานก่อนพระพเจ้าข้าฯ สีหะ เมื่อพระอรหันต์ทั้งหลายจะรับไทยธรรมจะรับของใครก่อนฯ จะรับของผู้มีศรัทธา ผู้เป็นทานบดี ผู้ยินดีให้ทานก่อนพระเจ้าข้าฯ ดูก่อน สีหะ เมื่อพระอรหันต์ทั้งหลายจะแสดงธรรมให้ฟัง จะแสดงให้ใครฟังก่อนฯ จะแสดงให้ผู้มีศรัทธาผู้ยินดีในการให้ทานฟังก่อน พระเจ้าข้า ดูก่อนสีหะ ชื่อเสียงอันดีของใครจะปรากฏไปฯ ชื่อเสียงอันดีของผู้มีศรัทธา ผู้ยินดีในการให้ทานจักปรากฏไป พระเจ้าข้าฯ ดูก่อนสีหะ ใครจะมีความองอาจเข้าไปในที่ประชุมกษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี สมณะฯ ผู้ศรัทธา ผู้เป็นทานบดี ผู้ยินดีในการให้ทานจะเป็นผู้องอาจ พระเจ้าข้าฯ ดูกอ่นสีหะ เวลาคนทั้ง ๒ นั้นตายแล้ว ใครจะได้ไปเกิดในโลกอันเป็นสุคติ อันทมีอารมณ์ดีฯ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีศรัทธา ผู้ยินดีในการให้ทาน จะต้องไปเกิดในโลกอันเป็นสุคติ อันมีอารมณ์ดี ผลทานที่เห็นเอง ๖ ประการ ซึ่งพระองค์ทรงแสดงแล้วนี้ ข้าพระองค์ได้เห็นมาแล้วไม่ต้องไปตามความเชื่อถือ ต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าฝ่ายเดียว คือข้าพระองค์เป็นทายก เป็นทานบดี เมื่อพรอรหันต์ทั้งหลาจะอนุเคราะห์ ก็อนุเคราะห์ข้าพระองค์ก่อน เมื่อจะไปหาก็ไปหาข้าพระองค์ เมื่อจะรับไทยธรรม ก็รับไทยธรรมของข้าพระองค์ก่อน เมมื่อจะไปหาก็ไปหาข้าพระองค์ก่อน เมื่อจะรับไทยธรรม ก็รับไทยธรรมของข้าพระองค์ก่อน เมื่อจะแสดงธรรมให้ฟัง ก็แสดงให้ข้าพระองค์ฟังก่อน ชื่อเสียงอันดีของข้าพระองค์ก็ปรากฏไปว่า สีหะเสนาบดี เป็นผู้ให้ เป็นผู้ทำ เป็นอุปัฏฐากสงฆ์ ข้าพระองค์เป็นผู้แกล้วกล้า ในเวลาเข้าที่ประชุมกษัตริย์ ที่ประชุมพราหมณ์ที่ประชุมคฤหบดี ที่ประชุมสมณะเป็นอันว่า ผลทานที่เห็นเอง ๖ อย่างนี้ ข้าพระองค์รู้ดีแล้ว ไม่ต้องไปตามความเชื่อถือสมเด็จพระผุ้มีพระภาคเจ้า ส่วนข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ผู้เป็นทายก ทานบดี เวลาตายแล้วย่อมไปเกิดในโลกอันเป็นสุคติ อันมีอารมณ์ดีนั้น ข้าพระองค์ไม่รู้ ข้าพระองค์ขอเชื่อถือพระผู้มีพระภาคเจ้าฝ่ายเดียวฯ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อย่างนั้น สีหะๆ คือ ทายก ทานบดี เวลาตายแล้วย่อมไปเกิดในโลกอันเป็นสุคติ อันมีอารมณ์ดี ดังนี้ สิ้นเนื้อความในพระบาลีเพียงเท่านี้

    อรรถกถา

    ในอรรถกถาว่า ผู้ตระหนี่นั้น คือผู้ประกอบด้วยความตระหนี่ ๕ ประการ ผู้กระด้างนั้น คือผู้มีความตระหนี่แรงกล้า ผู้ยินดีในการให้ทานนั้นคือผู้ให้ทานเนืองๆ ทั้งยินดีทุกเวลาให้ คำว่า อนุเคราะห์นั้น คือ เมื่อจะอนุเคราะห์่อมคิดว่า วันนี้เราควรอนุเคราะห์ใคร ควรรับไทยธรรมของใคร ควรแสดงธรรมให้ใครฟัง ดังนี้

    ธัมมัตถาธิบาย

    ในอรรถาธิบายว่า พระสูตรนี้ว่าด้วยผลทานปัจจุบัน ๖ ประการคือ ได้รับความอนุเคราะห์จากพระอรหันต์ทั้งหลาย ก่อนผู้ไม่มีศรัทธา ๑ พระอรหันต์ทั้งหลายเข้าไปหาก่อนผู้ไม่มีศรัทธา ๑ พระอรหันต์ทั้งหลายรับไทยธรรมก่อน ๑ แสดงธรรมให้ฟังก่อนผู้อื่น ๑ มีชื่อเสียงดีในทางให้ทาน ๑ ไม่เก้อเขินในที่ประชุม ๑ ดังนี้

    บาลี

    ในพระสูตรที่ ๕ ว่า พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้ว่า สิ่งที่พระตถาคตเจ้าไม่ต้องรักษามีอยู่ ๔ ประการ พระตถาคตเจ้ามีผู้ว่าไม่ได้โดยฐานะ ๓ ฯ สิ่งที่พระตถาคตเจ้าไม่ต้องรักษา ๔ อย่างนั้ คือ สิ่งใด คือพระตถาคตเจ้า ผู้มีกายสมาจารบริสุทธิ์ ไม่มีกายทุจริตที่พระตถาคตเจ้าจะต้องรักษาเพื่อไม่ให้ผู้อื่นรู้ ๑ พระตถาคตเจ้ามีวจีสสมาจารบริสุทธิ์ ไม่มีวจีทุจรติที่จะต้องรักษาด้วยคิดว่า อย่าให้ผู้อื่นรู้วจีทุจริตของเรานี้ ๑ พระตถาคตเจ้ามีมโนสมาจารบริสุทธิ์ ไม่มีมโนทุจริตที่จะต้องรักษาด้วยคิดว่า อย่าให้ผู้อื่นรู้มโนทุจริตของเรานี้ ๑ พระตถาคตเจ้ามีอาชีพบริสุทธิ์ ไม่มีมิจฉาชีพที่จะต้องรักษาด้วยคิดว่า อย่าให้ผู้อื่นรู้มิจฉชีพของเรานี้ ๑ รวมเป็นสิ่งที่พระตถาคตเจ้าไม่ต้องรักษา ๔ ประการด้วยกัน ก็พระตถาคตเจ้าไม่มีผู้ว่าได้โดยฐานะ ๓ นั้น คืออย่างไร คือพระตถาคตเจ้าเป็นผู้ได้แสดงธรรมไว้ดีแล้ว เราไม่เล็งเห็นนิมิตว่าจะมีสมณะหรือพราหมณ์ เทพยดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกจักทักท้วงได้โดยชอบธรรมว่า ท่านไม่ได้แสดงธรรมไว้ดีด้วยเหตุอันนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเราไม่เล็งเห็นนิมิตนั้น เราก็มีความโปร่งใจ ไม่มีความกลัวอันใด มีแต่ความแกล้วกล้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางไปนิพพาน เราก็ได้บัญญัติไว้ดีแล้วสำหรับพวกสาวก พวกสาวกของเราปฏิบัติอย่างไรจึงสำเร็จเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลายแล้วเราไม่เล็งเห็นสมณพราหมณ์ เทพยดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก จักทักท้วงเราได้โดยชอบธรรมว่า ทางไปนิพพานท่านไม่ได้บัญญัติไว้ดีสำหรับพวกสาวกที่จะทำให้พวกสาวกของท่านได้สำเร็จเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลายแล้ว เมื่อเราไม่เล็งเห็นอย่างนี้ เราก็ถึงความปลอดโปร่งถึงความไม่กลัว ถึงความแกล้วกล้า สาวกของเราจำนวนร้อยๆ ได้สำเร็จเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติแล้ว เราไม่เหล็งเห็นสมณพราหมณ์ เทพยดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก จะทักท้วงเราได้โยชอบธรรมว่า สาวกจำนวนร้อยๆ ของท่านไม่ได้สำเร็จเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลายแล้ว เมื่อเราไม่เล็งเห็นอย่างนี้ เราก็ถึงความปลอดโปร่ง ถึงความไม่กลัว ถึงความแกล้วกล้า สาวกของเราจำนวนร้อยๆ ได้สำเร็จเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติแล้ว เราไม่เล็งเห็นสมณพราหมณ์ เทพยดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกจะทักท้วงเราได้โยชอบธรรมว่า สาวกจำนวนร้อยๆ ของท่านไม่ได้สำเร็จเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เมื่อเราเล็งเห็นอย่างนี้ เราก็ถึงความปลอดโปร่ง ถึงความไม่กลัว ถึงความแกล้วกล้า เป็นอันว่าพระตถาคตเจ้าไม่มีใครว่าได้ หรือทักท้วงได้ด้วยฐานะ ๓ อย่างนี้ สิ้นเนื้อความในพระบาลีเพียงเท่านี้

    อรรถกถา

    ในอรรถกถาว่า นิมิตนั้น ได้แก่ธรรมนิมิต ๑ บุคคนิมิต ๑ เพราะว่าพระตถาคตเจ้า เมื่อไม่เล็งเห็นบทใดบทหนึ่งในธรรมที่พระองค์ทรงแสดงว่าทรงแสดงไว้ไม่ดี ไม่นำออกจากโลกได้ ชื่อว่าไม่เล็งเห็นธรรมนิมิต เมื่อไม่เล็งเห็นบุคคลสักคนหนึ่งที่จะลุกขึ้นคัดค้านว่า ธรรมนี้ท่านได้แสดงไว้ไม่ดี ไม่ใช่แสดงไว้ดี ดังนี้ ชื่อว่า ไม่เล็งเห็นบุคคลนิมิตดังนี้

    ธัมมัตถาธิบาย

    ในอรรถาธิบายว่า พระสูตรนี้ ว่าด้วยสิ่งที่พระตถาคตเจ้าไม่ต้องรักษา ๔ อย่าง พระตถาคตเจ้าไม่มีใครทักท้วงได้ โดยฐานะ ๓ ตามที่แสดงมา ข้อที่ว่าพระตถาคตเจ้ามีสิ่งที่ไม่ต้องรักษาถึง ๔ อย่างนี้ คือพระตถาคตเจ้าเป็นผู้บริสุทธ์ทั้งกาย วาจา ใจและอาชีพแล้ว ใน ๔ อย่างนี้ไม่จำเป็นที่พระองค์จะต้องระมัดระวังเพื่อไม่ให้ผู้อื่นรู้ ส่วนผู้ที่ไม่บริสุทธิ์ย่อมมีการระมัดระวังด้วยกลัวผู้อื่นจะรู้ อันนี้เป้นธรรมดาของบุคคลทั้งปวง ส่วนพระตถาคตเจ้าไมีมีผู้ทักท้วงได้โยฐานะ ๓ น้คือ ไม่มีสมณพราหมณ์ เพทยดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกัจักทักท้วงพระองค์ได้ว่า พระองค์ไม่ได้แสดงธรรมไว้ดี ๑ ไม่ได้บัญญํติทางนิพพานไว้ดี ๑ ไม่มีสาวกได้สำเร็จเจโตวิมุตติ ๑ ดังนี้

    บาลี

    ในพระสูตรที่ ๖ ว่า ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระเวฬุวัน เมืองกิมพิละฯ ครั้งนั้น พระกิมพิละกราบทูลถามว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า มีสิ่งใดเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่ทำไม่ให้พระสัทธรรมดำรงอยู่นาน ในเมื่อพระตถาคตเจ้าปรินิพพานแล้ว พระเจ้าข้าฯ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า กิมพะลิ เมื่อพระตถาคตเจ้าปรินิพพานแล้ว พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ไม่มีความเคารพยำเกรงต่อพระศาสดา พระธรรม พระสงฆ์ การศึกษา สมาธิ ความไม่ประมาท ปฏิสันถาร อันนี้แหละเป็นเหตุปัจจัยที่ไม่ให้พระสัทธรรมดำรงอยู่นาน ในเมื่อพระตถาคตเจ้าปรินิพพานแล้วฯ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า มีสิ่งใดเป็นเหตุปัจจัยให้พระสัทธรรมดำรงอยู่นาน ในเมื่อพระตถาคตเจ้าปรินิพพานแล้ว พระเจ้าข้าฯ ดูก่อนกิมพิละ เมื่อพระตถาคตเจ้าปรินิพพานแล้ว ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เคารพยำเกรงต่อพระศาสดา พระธรรม พระสงฆ์ การศึกษา สมาธิ ความไม่่ประมาท ปฏิสันถาร อันนี้แหละเป็นเหตุปัจจัยให้พระสัทธรรมอำรงอยู่นาน ในเวลาพระตถาคตเจ้าปรินิพพานแล้ว ดังนี้

    ในพระสูตรที่ ๗ ว่า ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการย่อมสำเร็จเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติในไม่ช้า ธรรม ๗ ประการนั้น คือประการใดบ้าง คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีศรัทธา มีศีลเป็นผู้สดับเล่าเรียนมาก เป็นผู้ชอบสงัดเป็นผู้ความเพียร มีสติ มีปัญญา ดังนี้ สิ้นเนื้อความในพระบาลีเพียงเท่านี้

    ในพระสูตรที่ ๖ ที่ ๗ นี้ มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น จึงไม่มีกล่าวไว้ในอรรถกถาอย่างไร แต่ว่าเหตุปัจจัยที่ให้พระสัทธรรมดำรงอยู่นาน ๗ ประการนั้น อาจมีผู้ยังไม่เข้าใจดีในบางข้อ เช่นในข้อว่า มีความเคารพยำเกรงต่อปฏิสันถารเป็นต้น อาจนึกฉงนว่า ความเคารพ ยำเกรงต่อปฏิสันถาร ทำให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้นานอย่างไร ข้อนี้เคยได้แสดงไว้ในกัณฑ์ก่อนๆ จึงไม่จำเป็นต้องแสดงไว้ในกัณฑ์นี้ เป็นอันว่าสิ้นเนื้อความในเทศนานี้ เพียงเท่าน้.

    เอวํ ก็มี ด้วยประการฉะนี้ฯ

    http://palungjit.org/threads/ขอเชิญร่วมถวาย-สมเด็จองค์ปฐมโชคเศรษฐี-ปุญญวิจิตร-ศรีเวียงชัย.285301/
     
  2. สังวรคุณ

    สังวรคุณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    148
    ค่าพลัง:
    +765
    ผลทานที่เห็นเอง ๖ ประการ ซึ่งพระองค์ทรงแสดงแล้วนี้ ข้าพระองค์ได้เห็นมาแล้วไม่ต้องไปตามความเชื่อถือ ต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าฝ่ายเดียว
    คือข้าพระองค์เป็นทายก เป็นทานบดี
    -เมื่อพรอรหันต์ทั้งหลายจะอนุเคราะห์ ก็อนุเคราะห์ข้าพระองค์ก่อน
    -เมื่อจะไปหาก็ไปหาข้าพระองค์ก่อน
    -เมื่อจะรับไทยธรรม ก็รับไทยธรรมของข้าพระองค์ก่อน
    -เมื่อจะแสดงธรรมให้ฟัง ก็แสดงให้ข้าพระองค์ฟังก่อน
    -ชื่อเสียงอันดีของข้าพระองค์ก็ปรากฏไปว่า สีหะเสนาบดี เป็นผู้ให้ เป็นผู้ทำ เป็นอุปัฏฐากสงฆ์
    -ข้าพระองค์เป็นผู้แกล้วกล้า ในเวลาเข้าที่ประชุมกษัตริย์ ที่ประชุมพราหมณ์ที่ประชุมคฤหบดี ที่ประชุมสมณะ

    เป็นอันว่า ผลทานที่เห็นเอง ๖ อย่างนี้ ข้าพระองค์รู้ดีแล้ว ไม่ต้องไปตามความเชื่อถือสมเด็จพระผุ้มีพระภาคเจ้า
    ***ส่วนข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ผู้เป็นทายก ทานบดี เวลาตายแล้วย่อมไปเกิดในโลกอันเป็นสุคติ อันมีอารมณ์ดีนั้น ข้าพระองค์ไม่รู้ ข้าพระองค์ขอเชื่อถือพระผู้มีพระภาคเจ้าฝ่ายเดียวฯ

    สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อย่างนั้น สีหะๆ คือ ทายก ทานบดี เวลาตายแล้วย่อมไปเกิดในโลกอันเป็นสุคติ อันมีอารมณ์ดี ดังนี้ สิ้นเนื้อความในพระบาลีเพียงเท่านี้


    สาธุ นิพพานะปัจจะโยโหตุ นิพพานัง ปะระมัง สุขัง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 เมษายน 2011
  3. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,254
    ขออนุโมทนา สาธุ ๆ
    กับท่านทั้งหลายที่ได้ช่วยกัน
    เผยแพร่พระธรรมด้วยครับ
    นิพพานัง ปัจจโย โหตุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 เมษายน 2011

แชร์หน้านี้

Loading...