พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    วันนี้(21 ธค.49) เวลา 8.37 น. ผมและคุณguawnได้โอนเงินจำนวน 500 บาท เข้าบัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี พระอ่อนสา ฐิติคุโณ ธนาคาร กรุงเทพฯ จำกัด สาขา กิโลศูนย์ เลขบัญชี 340-4-11629-9 เบอร์พระอาจารย์สา 089-578-9600เพื่อร่วมบุญดังนี้ครับ
    1.ผมร่วมทำบุญซื้อเครื่องสูบน้ำ ขุดเจาะน้ำบาดาล และสร้างโรงครัว วัดภูเหล่าเงินฮาง จำนวน 300 บาท
    2.คุณguawn ร่วมทำบุญซื้อเครื่องสูบน้ำ ขุดเจาะน้ำบาดาล และสร้างโรงครัว วัดภูเหล่าเงินฮาง จำนวนเงิน 200 บาท


    ผมขออธิษฐานว่าผมอย่าขัดสนเรื่องอาหารและน้ำ ,อย่าพบกับความไม่สะดวกเรื่องอาหารและน้ำและภัยเรื่องอาหารและภัยทางน้ำอย่าได้เกิดกับข้าพเจ้า ครอบครับและหมู่ญาติข้าพเจ้า

    วันนี้ข้าพเจ้าได้ ร่วมทำบุญซื้อเครื่องสูบน้ำ ขุดเจาะน้ำบาดาล และสร้างโรงครัว ที่วัดภูเหล่าเงินฮาง ขอให้ คุณบิดา มารดา พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ,พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ , คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรทั้งหมด ,พระอรหันต์ทุกๆพระองค์และทั้ง ๑๖ ชั้นฟ้า ๑๕ ชั้นดิน ผู้มีพระคุณ ญาติกาครูอุปัชฌาย์อาจารย์ เจ้ากรรมนายเวร ปู่ ย่า ตา ยาย เทวดาประจำตัวข้าพเจ้า ,เทวดาประจำองค์พระพิมพ์ทุกองค์ ,พระมหากษัตริย์ทุกๆพระองค์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช,สมเด็จพระเอกาทศรถ,สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช, พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ,พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ,พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ,พระยาพิชัยดาบหัก ,กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ,กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ,พระภูมิ-เจ้าที่ที่บ้านข้าพเจ้า ,แม่ย่านางรถของข้าพเจ้า,ผู้ที่เสียสละให้กับแผ่นดินไทยทุกท่าน ,ท่านผู้เสกทุกท่าน ,เจ้าของและผู้สร้างพระพิมพ์หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร-พระพิมพ์สมเด็จเจ้าคุณกรมท่าทุกท่าน-พระพิมพ์ของวังหน้าและพระกรุวัดพระแก้วทุกท่าน,ท่านผู้เสกทุกท่าน ,เจ้าของและผู้สร้างวัตถุมงคลของวังหน้า-กรุวัดพระแก้ว-วัตถุมงคลหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรทุกประเภทที่ข้าพเจ้ามีอยู่ , เพื่อนสนิทมิตรสหายทั้งหลาย เพื่อนสาราสัตว์น้อยใหญ่ เจ้ากรุงพาลี แม่พระธรณี แม่พระคงคา พระเพลิง พระพาย แม่พระโพสพ พระภูมิ-เจ้าที่ พระฤาษีทุกๆตน พระพิรุณ พยายมราช นายนิริยบาล ทั้งท้าวจตุโลกะบาลทั้งสี่ ศิริพุทธอำมาตย์ ชั้นจาตุมะหาราชิกาเบื้องบนจนถึงที่สุด พรหมาเบื้องต่ำตั้งแต่อเวจีขึ้นมาจนถึงมนุษย์โลก โดยรอบสุดขอบจักรวาลอนันตะจักรวาล คุณพระศรีรัตนตรัยและเทพยดาทั้งหลายตลอดทั้งอินทร์ พรหม ยม ยักษ์ คนธรรพ์ นาคา ขอให้มาอนุโมทนาในบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้ทำในครั้งนี้ด้วยเทอญ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    อิมินาปุญญะกัมเมนะ ด้วยเดชะผลบุญแห่งข้าพเจ้า,ภรรยา และครอบครัว ได้ ร่วมทำบุญซื้อเครื่องสูบน้ำ ขุดเจาะน้ำบาดาล และสร้างโรงครัว วัดภูเหล่าเงินฮางขออุทิศส่วนกุศลให้แก่ คุณบิดา มารดา พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ,พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ,คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรทั้งหมด ,พระอรหันต์ทุกๆพระองค์ ,ตัวข้าพเจ้าและทั้ง ๑๖ ชั้นฟ้า ๑๕ ชั้นดิน ผู้มีพระคุณ ญาติกาครูอุปัชฌาย์อาจารย์ เจ้ากรรมนายเวร ปู่ ย่า ตา ยาย เทวดาประจำตัวข้าพเจ้า ,เทวดาประจำองค์พระพิมพ์ทุกองค์ ,พระมหากษัตริย์ทุกๆพระองค์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช,สมเด็จพระเอกาทศรถ,สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช, พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ,พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ,พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ,พระยาพิชัยดาบหัก ,กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ,กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ,พระภูมิ-เจ้าที่ที่บ้านข้าพเจ้า ,แม่ย่านางรถของข้าพเจ้า,ผู้ที่เสียสละให้กับแผ่นดินไทยทุกท่าน ,ท่านผู้เสกทุกท่าน ,เจ้าของและผู้สร้างพระพิมพ์หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร-พระพิมพ์สมเด็จเจ้าคุณกรมท่าทุกท่าน-พระพิมพ์ของวังหน้าและพระกรุวัดพระแก้วทุกท่าน, ท่านผู้เสกทุกท่าน เจ้าของและผู้สร้างวัตถุมงคลของวังหน้า-กรุวัดพระแก้ว-วัตถุมงคลหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรทุกประเภทที่ข้าพเจ้ามีอยู่ , เพื่อนสนิทมิตรสหายทั้งหลาย เพื่อนสาราสัตว์น้อยใหญ่ เจ้ากรุงพาลี แม่พระธรณี แม่พระคงคา พระเพลิง พระพาย แม่พระโพสพ พระภูมิ-เจ้าที่ พระฤาษีทุกๆตน พระพิรุณ พยายมราช นายนิริยบาล ทั้งท้าวจตุโลกะบาลทั้งสี่ ศิริพุทธอำมาตย์ ชั้นจาตุมะหาราชิกาเบื้องบนจนถึงที่สุด พรหมาเบื้องต่ำตั้งแต่อเวจีขึ้นมาจนถึงมนุษย์โลก โดยรอบสุดขอบจักรวาลอนันตะจักรวาล คุณพระศรีรัตนตรัยและเทพยดาทั้งหลายตลอดทั้งอินทร์ พรหม ยม ยักษ์ คนธรรพ์ นาคา ท่านทั้งหลายที่ต้องทุกข์ ขอให้พ้นจากทุกข์ ท่านทั้งหลายที่ท่านได้สุข ขอให้สุขยิ่งๆขึ้นไป ด้วยเดชะผลบุญแห่งข้าพเจ้าอุทิศไปให้นี้ จงเป็นอุปนิสัยปัจจัยให้ถึงพระนิพพานในปัจจุบันและอนาคตเบื้องหน้าโน้นเทอญ ฯ

    พุทธังอนันตัง ธัมมังจัรวาลัง สังฆังนิพพานัง ปัจจโยโหนตุ
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อาหารหลักของผมครับ นำมาลงไว้ก่อน

    จากกระทู้เคล็ดลับ..เรื่องไข่ที่ใครๆ อยากรู้
    ทั่วไป > ท่องเที่ยว - อาหารการกิน > เมนูอาหารและวิธีการทำอาหาร

    <TABLE class=tborder id=post422345 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead id=currentPost style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">เมื่อวานนี้, 05:05 AM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right> #1 </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>paang<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_422345", true); </SCRIPT>
    ฐานข้อมูลทางพุทธ (แป้ง)
    สมาชิกยอดฮิต

    [​IMG]

    เข้ามาครั้งสุดท้ายเมื่อ: วันนี้ 08:23 AM
    วันที่สมัคร: Apr 2005
    ข้อความ: 7,128 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    ได้ให้อนุโมทนา 7,561 ครั้ง
    ได้รับอนุโมทนา 9,563 ครั้ง ใน 2,375 โพส <!-- End Post Thank You Hack -->
    พลังการให้คะแนน: 1800 [​IMG][​IMG]
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    </TD><TD class=alt1 id=td_post_422345 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- icon and title -->เคล็ดลับ..เรื่องไข่ที่ใครๆ อยากรู้
    <HR style="COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->วิธีง่าย ๆ ที่จะทำให้ไข่น่ารับประทาน


    <O:p[​IMG]

    </O:p
    ไข่จัดอยู่ในอาหารที่ทำง่ายที่สุด สะดวกที่สุดสำหรับอาหารทุกมื้อ ซึ่งสามารถทำได้กันทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเด็ก หรือผู้ใหญ่ และไข่เป็นอาหารประเภทโปรตีนสูง ไข่1ฟองให้โปรตีนประมาณ7กรัม โปรตีนในไข่เป็นโปรตีนที่สมบูรณ์ มีกรดอะมิโนครบทุกชนิดตามที่ร่างกายต้องการในปริมาณสูง ร่างกายสามารถนำโปรตีนจากไข่ไปใช้ได้ทั้งหมด
    <O:p
    นอกจากไข่จะมีโปรตีนแล้ว ยังมีเกลือแร่ต่างๆที่สำคัญมากมาย เช่น เหล็ก วิตามินดี และบีสอง แต่การรับประทานไข่ควรรับประทานอย่างมากแล้ววันละ 1-2 ฟองได้แต่ลำหรับเด็ก ส่วนผู้สูงอายุรับประทานแค่ 1 ฟองก็พอ เพราะทานไข่มากๆ จะทำให้อ้วนและเพิ่มคอเรสเตอรอลให้ร่างกายสูง
    <O:p
    [​IMG]ต้มไข่ไม่ให้เปลือกแตกร้าว
    <O:p
    การต้มไข่ไม่ให้เปลือกแตกร้าว โดยเฉพาะการต้มไข่คราวละมาก ๆ เช่น ต้มให้ทำไข่พะโล้ หรือใช้สำหรับทานกับขนมจีนน้ำยา ไข่อาจกระทบกันจนเปลือกแตกร้าวก่อนสุกได้ง่าย แนะนำให้ใช้ไข่ใหม่ เลือกไข่ที่เปลือกไม่มีรอยแตกร้าว เปลือกสะอาด ใส่น้ำให้ท่วมไข่ทั้งหมดและให้ใช้น้ำเย็นตั้งแต่เริ่มต้น วิธีง่าย ๆ เพื่อป้องกันไข่แตกร้าวคือ
    <O:p
    - ใส่น้ำมะนาวลงในน้ำที่ต้มสักหน่อย น้ำมะนาวจะช่วยป้องกันไม่ให้ไข่ไหลออกจากเปลือก <O:p
    - ใส่เกลือลงในน้ำที่ต้มประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ เกลือจะช่วยป้องกันไม่ให้ไข่ไหลออกตามรอยแตก
    <O:p
    [​IMG]ต้มไข่ให้แดงเป็นยางมะตูม
    <O:p
    การต้มไข่ให้เป็นไข่สุกแข็งทั้งฟองหรือมีไข่แดงเป็นยางมะตูมขึ้นอยู่กับเวลาที่ใช้ต้ม ถ้าต้องการให้ไข่แดงเป็นยางมะตูมให้ใส่ไข่ในน้ำเย็น นำไปตั้งไฟจนเดือด จับเวลาตั้งแต่เริ่มต้มนานประมาณ 10 นาที แล้วตักขึ้นแช่ในน้ำเย็น แค่นี้ก็จะได้ไข่สุกที่ไข่แดงเป็นยางมะตูมแล้ว
    <O:p
    [​IMG]ทอดไข่ดาวให้น่ารับประทาน

    ใส่น้ำมันในกระทะก้นลึกพอประมาณ ตั้งไฟจนน้ำมันร้อนแต่ไม่จัด ต่อยไข่ใส่ถ้วยก่อนใส่ในกระทะ ตอนที่ใส่ไข่ลงไปพยายามให้ไข่จมในน้ำมัน ใช้ตะหลิวหรือช้อนตักไข่ขาวขึ้นปิดไข่แดง ทอดพอเหลืองแล้วตักขึ้น จะได้ไข่ดาวที่กรอบเหลืองและไข่แดงเป็นยางมะตูม
    <O:p</O:p
    [​IMG]ทอดไข่ดาวน้ำให้สวย
    <O:p
    ไข่ดาวนอกจากจะทอดกับน้ำมันแล้ว ยังสามารถทอดไข่โดยใช้น้ำได้ด้วย ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมไขมันหรือลดน้ำหนัก เคล็ดลับง่าย ๆ คือใส่น้ำส้มสายชูลงในน้ำที่ทอดสัก 1-2 หยด เพื่อให้ไข่จับตัวกันเร็วขึ้น ไข่ดาวน้ำที่ได้จะนุ่มสวยน่ารับประทาน
    <O:p
    [​IMG]ทอดไข่เจียวให้ฟูนุ่ม
    <O:p
    ไข่เจียวทานกับข้าวสวยร้อนๆ เป็นอะไรที่คู่กันอยู่แล้ว แต่จะทอดอย่างไรให้ฟูนุ่มน่ารับประทาน หลังจากที่ตอกไข่ใส่ถ้วยแล้วใส่เครื่องปรุงที่ต้องการใส่แล้ว ให้บีบน้ำมะนาวลงไป 2-3 หยด และตีไข่ให้เข้ากัน ทอดลงในน้ำมันร้อน ใช้ตะหลิวพริกไข่ให้สุกเหมือนกันทั้งสองด้าน จนสุกเหลืองแล้วตักขึ้น ก็จะได้ไข่เจียวที่ฟูและนุ่มนารับประทานมาก
    <O:p
    ต่อไปปัญหาเรื่องไข่ๆ ที่คุณกำลังประสบอยู่ คงจะช่วยให้คุณจัดการกับมันได้อย่างสบาย เมื่อคุณได้ลองนำเคล็ดลับเหล่าไปลองทำดู
    <O:p
    <O:p
    <O:p[​IMG]<O:p


    </O:p

    ข้อมูลจาก : [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 6 คน ( เป็นสมาชิก 1 คน และ บุคคลทั่วไป 5 คน ) </TD><TD class=thead width="14%">

    </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>sithiphong </TD></TR></TBODY></TABLE>

    เรียนท่านผู้เข้ามาอ่านในกระทู้พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้... ทุกท่าน

    หากท่านใดมีความประสงค์ที่จะพูดคุยกัน ผมเองได้ไปตั้งกระทู้ในเว็บอกาลิโก ซึ่งท่านใดที่ไม่ได้เป็นสมาชิก สามารถเข้าไปตอบในกระทู้ได้ ตามลายเซ็นผมนะครับ หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร ซึ่งเป็นลิงค์ไปที่เว็บอกาลิโกครับ สามารถไปพูดคุยกันได้ครับ

    ____________________________________________________________
    คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน) พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้... หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร ขอความเมตตาช่วยต่อชีวิตพระเณร เชิญร่วมบริจาคค่าขุดบ่อบาดาล สนส บ่อเงินบ่อทอง ให้ร่วมกันสร้าง เราจะมาโปรดสัตว์ไม่ให้สร้างคนเดียวบัญชีออมทรัพย์ 2030-06304-5 บัญชี รร.พระปริยัติธรรมบ่อเงินบ่อทอง ปริยัติศึกษา บมจ.ธ.กรุงไทย สาขาพนมสารคาม
    สโมสรนักบุญภูเหล่าเงินฮาง&คณะเบิกบาน บันเทิงบุญ เชิญร่วมทำบุญซื้อเครื่องสูบน้ำ ขุดเจาะน้ำ โรงครัว ชื่อบัญชี พระอ่อนสา ฐิติคุโณ ธนาคาร กรุงเทพฯ จำกัด สาขา กิโลศูนย์ เลขบัญชี 340-4-11629-9 เบอร์พระอาจารย์สา 089-578-9600
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>ศัพท์ธรรมคำวัด : พุทธคุณ ๙</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>3 มีนาคม 2548 10:06 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> คำว่า“พุทธคุณ” เป็นคำที่ชาวพุทธคุ้นหูกันเป็นอย่างดี แต่เชื่อว่าหลาย คนยังไม่เข้าใจคำนี้ได้อย่างถูกต้องนัก ดังนั้นจึงขอนำมาอธิบายขยายความไว้ในที่นี้ โดยในพจนานุกรม พุทธศาสน์ ของรองศาสตราจารย์ดนัย ไชยโยธา ได้ให้ความหมายไว้ว่า
    พุทธคุณ ๙ คือ คุณความดีของพระพุทธเจ้า ๙ ประการ ดังที่นักปราชญ์ได้ร้อยกรอง เพื่อใช้เป็นบทสวดสรรเสริญพระคุณอันประเสริฐไว้ดังนี้
    ๑. อรหํ เป็นพระอรหันต์ มีคำแปลและความหมายอย่างน้อย ๔ ประการ ดังนี้
    ๑.๑ เป็นผู้ควร คือ ผู้ทรงสั่งสอนสิ่งใดก็ทรงทำสิ่งนั้นได้ด้วย เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์
    ๑.๒ เป็นผู้ไกล คือ ผู้ทรงไกลจากกิเลสและบาปกรรม เพราะทรงละได้เด็ดขาดแล้วทั้งโลภ โกรธ และหลง
    ๑.๓ เป็นผู้หักซี่กำแพงล้อสังสารวัฏ คือ ผู้ทรงตัดวงจรแห่งการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏได้แล้ว
    ๑.๔ เป็นผู้ไม่มีข้อลี้ลับ คือ ผู้ทรงไม่มีบาปธรรมทั้งที่ลับและที่แจ้ง เป็นผู้ควรแนะนำสั่งสอนผู้อื่น และเป็นผู้ควรได้รับความเคารพของผู้อื่น
    ๒. สมฺมาสมฺพุทฺโธ เป็นผู้ทรงตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง คือ ทรงตรัสรู้อริยสัจ ๔ อันได้แก่ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เป็นการค้นพบด้วยพระองค์เอง ไม่มีครูอาจารย์เป็นผู้สอน
    ๓. วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน เป็นผู้ทรงเพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ คือ มีวิชชา ความรู้ตั้งแต่ความรู้ระดับพื้นฐาน จนกระทั่งความรู้ระดับสูงสุด และมีจรณะความ ประพฤติดีประพฤติได้ตามที่ทรงรู้ เช่น ความสำรวมในศีล เป็นต้น
    ๔. สุคโต เป็นผู้เสด็จไปดี คำว่า“ไปดี” มีความหมายหลายนัยคือ ๑.เสด็จดำเนิน ตามอริยมรรคมีองค์แปด อันเป็นทางเดินที่ดี ๒.เสด็จไปสู่พระนิพพาน อันเป็นสภาวะที่ดียิ่ง ๓.เสด็จไปดีแล้ว เพราะทรงละกิเลสได้โดยสิ้นเชิง ๔.เสด็จไปปลอด ภัยดี เพราะเสด็จไปบำเพ็ญประโยชน์แก่สัตว์โลก
    ๕. โลกวิทู เป็นผู้ทรงรู้แจ้งโลก คือ ทรงรอบรู้โลกทางกายภาพ เช่น โลกมนุษย์ สัตว์โลก สังขารโลก โอกาสโลก และทรงรู้โลกภายในคือ ทุกข์และการดับทุกข์
    ๖. อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ เป็นสารถีผู้ทรงฝึกคนได้อย่างยอดเยี่ยม คือ พระองค์ทรงรู้นิสัย(ความเคยชิน) อุปนิสัย(มีแวว) อธิมุตติ(ความถนัด) อินทรีย์ (ความพร้อม)ของบุคคลระดับต่างๆ และทรงฝึกสอนด้วยเทคนิควิธีการที่เหมาะแก่ความเคยชิน แววถนัด และความพร้อมของเขาให้บรรลุมรรคผลเป็นจำนวนมาก
    ๗. สตฺถา เทวมนุสฺสานํ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย คือ พระองค์ทรงประกอบด้วยคุณสมบัติที่ควรเป็นครูของบุคคลในทุกระดับชั้น เพราะพระองค์ทรงรอบรู้และทรงสอนคนได้ทุกระดับ ทรงสอนด้วยความเมตตา มิใช่เพื่อลาภสักการะและคำสรรเสริญ แต่ทรงมุ่งความถูกต้องและประโยชน์สุขของผู้ฟังเป็น ใหญ่ ทรงสอนให้เหมาะสมกับอัธยาศัยของผู้ฟัง และทรงทำได้ตามที่ทรงสอนนั้นด้วย
    ๘. พุทฺโธ เป็นผู้ตื่น ผู้เบิกบาน คือ พระองค์ทรงตื่นเองจากความเชื่อถือและข้อปฏิบัติทั้งหลายที่ยึดถือกันมาผิดๆ ด้วย ทรงรู้จักฐานะ คือ เหตุที่ควรเป็น เปรียบได้้กับคนตื่นจากหลับแล้วทรงปลุกผู้อื่นให้พ้นจากความหลงงมงายด้วย อนึ่งพระองค์ทรงตื่นแล้วเป็นอิสระจากอำนาจของโลภ โกรธ หลง แล้ว เมื่อทรงตื่นแล้วก็ทรงแจ่มใสเบิกบาน มีพระทัยบริสุทธิ์สะอาด
    ๙. ภควา เป็นผู้มีโชค ผู้ทรงแจกแบ่งธรรม คือพระองค์ทรงเพียบพร้อมไปด้วย คุณธรรมทั้งหลาย อันเป็นผลสัมฤทธิ์แห่งพระบารมีที่ทรงบำเพ็ญมา นับเป็นผู้มีโชคดีกว่าคนทั้งปวง เพราะพระองค์ทรงทำการใดก็ลุล่วงปลอดภัยทุกประการ ส่วน “ภควา” แปลว่า “ทรงแจกแบ่งธรรม” หมายถึง มีพระปัญญาล้ำเลิศ จนสามารถ จำแนกธรรมที่ลึกซึ้งให้เป็นที่เข้าใจง่าย และมีพระกรุณาธิคุณจำแนกแจกจ่ายคำสั่งสอนแก่เวไนยสัตว์ให้รู้ตาม
    พระพุทธคุณทั้ง ๙ ประการนี้ สรุปลงเป็น ๓ ประการคือ
    ๑. พระวิสุทธิคุณ คือ ความบริสุทธิ์ อันได้แก่ พระคุณข้อที่ ๑,๓ และ ๙
    ๒. พระปัญญาคุณ คือ ปัญญา อันได้แก่ พระคุณข้อที่ ๒,๕ และ ๘
    ๓. พระมหากรุณาธิคุณ คือ พระมหากรุณา อันได้แก่ พระคุณข้อที่๔,๖ และ ๗
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>ศัพท์ธรรมคำวัด : ธรรมคุณ ๖</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>28 มีนาคม 2548 18:39 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> ฉบับนี้มาต่อกันที่คำว่า “ธรรมคุณ ๖” ซึ่งยังคงเป็นบทสวดสรรเสริญพระธรรมคุณที่เรามักคุ้นกันดีในภาษาบาลี ซึ่งคนส่วนใหญ่มักไม่ค่อย รู้และไม่เข้าใจความหมาย ได้แต่สวดๆตามกันไป ด้วยเหตุนี้ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจดียิ่งขึ้น จึงได้นำอรรถาธิบายของคำนี้ จาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ของ รองศาสตราจารย์ดนัย ไชยโยธา ที่เขียนให้เข้าใจง่ายๆว่า
    คุณของพระธรรม มี ๖ ประการ ดังที่นักปราชญ์ได้ร้อยกรองเป็นบทสวดสำหรับน้อมนำระลึกไว้ในใจ ดังนี้
    ๑. สวากขาโต ภควตา ธัมโม หมายถึง ธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว
    พระองค์ตรัสไว้เป็นความจริงแท้ อีกทั้งงามในเบื้องต้น อันได้แก่ ศีล งามใน ท่ามกลาง อันได้แก่ สมาธิ และงามในที่สุด อันได้แก่ ปัญญา พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์หรือหลักการครองชีวิตอันประเสริฐ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง
    ๒. สันทิฏฐิโก หมายถึง ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง
    ผู้ใดปฏิบัติ ผู้ใดบรรลุ ผู้นั้นย่อมเห็นประจักษ์ด้วยตนเอง ไม่ต้องเชื่อตามคำ บอกเล่าของผู้อื่น ผู้ใดไม่ปฏิบัติ ไม่บรรลุ ผู้อื่นจะบอกก็เห็นไม่ได้
    ๓. อกาลิโก หมายถึง ไม่ประกอบด้วยกาล
    ผู้ปฏิบัติไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา พร้อมเมื่อใดบรรลุได้ทันที บรรลุเมื่อใดเห็นผล ได้ทันที นั่นคือ ให้ผลในลำดับแห่งการบรรลุ ไม่เหมือนผลไม้อันให้ผลตามฤดูกาล
    ๔. เอหิปัสสิโก หมายถึง ควรเรียกให้มาดู
    พระธรรมเป็นคุณอัศจรรย์ดุจของประหลาดที่ควรเชิญชวนให้มาชมและพิสูจน์ หรือท้าทายต่อการตรวจสอบ เพราะเป็นของจริงและดีจริง
    ๕. โอปนยิโก หมายถึง ควรน้อมเข้ามา
    ผู้ปฏิบัติควรน้อมเข้ามาไว้ในใจของตน หรือน้อมใจเข้าไปให้ถึงด้วยการปฏิบัติ ให้เกิดมีขึ้นในใจ
    ๖. ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ หมายถึง อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน
    ผลอันเกิดจากการปฏิบัติธรรมนั้น ทุกคนที่น้อมนำมาปฏิบัติ จะรู้ซึ้งถึงผลแห่ง พระธรรมนั้นด้วยตนเอง ทำให้กันไม่ได้ เอาจากกันไม่ได้ และรู้ได้ประจักษ์ในใจ ของตนเอง
    คุณของพระธรรมข้อที่ ๑ มีความหมายกว้าง รวมทั้งปริยัติธรรม คือ คำสั่งสอนด้วย ส่วนคุณของพระธรรมข้อที่ ๒ ถึงข้อที่ ๖ มุ่งให้เป็นคุณของโลกุตตรธรรม
    ดังนั้น เมื่อทราบความหมายของธรรมคุณ ๖ ทั้งหมดแล้ว การสวดมนต์เพื่อ สรรเสริญพระธรรมคุณในครั้งต่อๆไป คงจะทรงความหมายอย่างเปี่ยมล้น
    อนึ่ง การน้อมนำคุณของพระธรรม เพื่อเจริญธัมมานุสตินั้น มีอานิสงส์มาก ดังที่ ปัญญา ใช้บางยาง ได้บอกไว้ในหนังสือธรรมาธิบาย เล่ม ๑ ว่า
    - ย่อมเป็นผู้มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา
    - ตระหนักและอ่อนน้อมในพระธรรม
    - ย่อมได้ความไพบูลย์แห่งคุณ มีศรัทธา เป็นต้น
    - เป็นผู้มากด้วยปีติปราโมทย์
    - ทนต่อความกลัว ความตกใจ อดกลั้นต่อทุกข์
    - รู้สึกว่าได้อยู่กับพระธรรม
    - เป็นบาทฐานให้บรรลุธรรมอันยิ่ง
    - เมื่อประสบกับวัตถุที่จะพึงล่วงละเมิด หิริโอตตัปปะ ย่อมปรากฏแก่เธอ
    - เมื่อยังไม่บรรลุคุณอันยิ่ง เธอย่อมมีสุคติเป็นที่ไป
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>ศัพท์ธรรมคำวัด : สังฆคุณ ๙</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>6 พฤษภาคม 2548 18:08 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> คำในกลุ่มนี้อีกคำหนึ่งคือ
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ระเบียบปฏิบัติของชาวพุทธ
    คัดลอกจากหนังสือระเบียบปฏิบัติของชาวพุทธ
    โดย
    พระเทพวิมลโมลี (บุญมา คุณสมฺปนฺโน ป. ๙)
    วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพมหานคร
    อนุสรณ์งานฌาปนกิจศพ
    นางมาลินี วัชรานันท์
    ณ เมรุวัดธาตุทอง พระโขนง กรุงเทพมหานคร
    ๑๔ มิถุนายน ๒๑
    พิมพ์ครั้งที่ ๕๑/๑,๐๐๐ เล่ม
    หน้า ๔๙
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ระเบียบปฏิบัติการประณมมือ
    การประณมมือ
    การประณมมือ มาจากคำว่า “อัญชลีกรรม” คือการกระพุ่มมือทั้งสองประณม โดยให้ฝ่ามือทั้งสองประกบกัน นิยมใช้แสดงความเคารพพระรัตนตรัยในเวลาฟังพระเจริญพระพุทธมนต์ ฟังพระสวดพระอภิธรรม และฟังพระธรรมเทศนา เป็นต้น
    วิธีการประณมมือ
    การประณมมือ นิยมปฏิบัติอย่างนี้ คือ ยกมือทั้งสองขึ้นประกบกัน ตั้งเป็นกระพุ่มมือประณมไว้ระหว่างอก ให้ปลายมือตั้งขึ้นข้างบน นิ้วมือทั้งสองข้างทุกนิ้วแนบชิดสนิทกัน อย่าให้เหลื่อมล้ำกัน อย่าให้กางห่างออกจากกัน ข้อศอกทั้งสองแนบชิดกับชายโครง
    การประณมมือนี้ ถ้านิ้วมือกางห่างออกจากกัน ถือกันว่า เป็นกิริยาอาการที่แสดงออกให้ทราบถึงนิสัยของผู้นั้นว่า เป็นคนมือห่าง ตีนห่าง เป็นคนสุรุ่ยสุร่าย เป็นลักษณะของคนหยาบ คนมักง่าย คนอาภัพ คนยากจน
    การประณมมือนี้ เป็นกิริยาอาการที่แสดงความเคารพพระรัตนตรัย จึงนิยมทำด้วยความเรียบร้อย ทำด้วยความตั้งใจเคารพอ่อนน้อม ไม่นิยมปล่อยให้นิ้วมืองอหงิกเป็นแง่งขิงแง่งข่า นิยมตั้งกระพุ่มมือไว้ระหว่างอก ไม่ยกให้สูงขึ้นไปจรดคาง หรือจรดปาก ไม่ปล่อยปลายมือให้ตกต่ำลงมาวางอยู่ที่พุง หรือ วางไว้ที่หน้าตัก หรือ วางไว้ที่หัวเข่า เป็นต้น
    [​IMG]
    ระเบียบปฏิบัติการไหว้
    การไหว้
    การไหว้ มาจากคำว่า “นมัสการ” คือ การยกกระพุ่มมือที่ประณมขึ้นจรดหน้าผาก พร้อมกับก้มศีรษะลงเล็กน้อย เป็นกิริยาอาการแสดงความเคารพอย่างอ่อนน้อม นิยมใช้ทั้งทางคดีโลก และทางคดีธรรม
    วิธีการไหว้พระรัตนตรัย
    การไหว้พระรัตนตรัย คือ การไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และปูชนียวัตถุปูชนียสถานที่นับเนื่องกับพระรัตนตรัย เช่นต้นโพธิ์ พระเจดีย์ เป็นต้น ในขณะที่ผู้นั้นนั่งเก้าอี้ หรือยืนอยู่ นิยมแสดงความเคารพด้วยการยกมือไหว้ มีวิธีปฏิบัติอย่างนี้ คือ :-
    ยกมือที่ประณมขึ้น พร้อมกับก้มศีรษะลงเล็กน้อย ให้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่ระหว่างคิ้ว ให้ปลายนิ้วชี้จรดหน้าผาก ทำเพียงครั้งเดียว แล้วลดมือลงตามเดิม เป็นเสร็จพิธีไหว้
    วิธีการไหว้บุคคลและไหว้ศพ
    การแสดงความเคารพด้วยการไหว้ซึ่งกันและกันของคนไทยเราชาวพุทธนั้น นิยมปฏิบัติกันสืบมาว่าเป็นวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามประจำชาติตลอดมาช้านาน
    การไหว้ซึ่งกันและกันนั้น มีนิยมปฏิบัติเพื่อความเหมาะสมแก่ชั้นและวัยของบุคคลนั้น ๆ แบ่งออกเป็น ๓ แบบ คือ
    ๑. การไหว้บุคคลผู้มีอาวุโสมากกว่า และไหว้ศพ
    ๒. การไหว้บุคคลผู้มีอาวุโสเสมอกัน
    ๓. การรับไหว้บุคคลผู้มีอาวุโสน้อยกว่า
    การไหว้บุคคลผู้มีอาวุโสมากกว่าและไหว้ศพ
    การไหว้บุคคลผู้มีอาวุโสมากกว่า และไหว้ศพ นั้น สำหรับผู้น้อยปฏิบัติต่อผู้ใหญ่ที่มีอาวุโสมากกว่าผู้ไหว้ โดยชาติวุฒิ คือ มีชาติกำเนิดสูงกว่า โดยคุณวุฒิ คือ มีคุณธรรมความดีได้รับยกย่องให้เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาสูงกว่า โดยวัยวุฒิ คือ ท่านผู้มีอายุแก่กว่าตน
    การไหว้บุคคลผู้มีอาวุโสมากกว่าตนนี้ นิยมยกกกระพุ่มมือขึ้นไหว้ให้ปลายนิ้วชี้อยู่ระหว่างคิ้ว นิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่บนดั้งจมูก พร้อมกับก้มศีรษะ และน้อมตัวลงพองาม สายตามองดูท่าน ด้วยความเคารพอ่อนน้อมถ่อมตน แม้การไหว้ศพก็นิยมปฏิบัติเช่นเดียวกันอย่างนี้
    การไหว้บุคคลผู้มีอาวุโสเสมอกัน
    การไหว้บุคคลผู้มีอาวุโสเสมอกันนั้น สำหรับผู้มีวัยรุ่นราวคราวเดียวกัน แสดงความเคารพด้วยการไหว้และการรับไหว้ต่อกัน
    การไหว้บุคคลผู้มีอาวุโสเสมอกันนี้ นิยมยกกระพุ่มมือขึ้นไหว้ ให้ปลายนิ้วชี้อยู่ที่ดั้งจมูก นิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่ที่คาง ก้มศีรษะลงเล็กน้อย สายตามองกันและกัน ด้วยความปรารถนาดีต่อกัน
    การรับไหว้บุคคลผู้มีอาวุโสน้อยกว่า
    การรับไหว้บุคคลผุ้มีอาวุโสน้อยกว่านั้น สำหรับผู้ใหญ่รับไหว้ผู้น้อย นิยมยกกระพุ่มมือขึ้นประณมอยู่ระหว่างอกหรือที่หน้า ให้ปลายนิ้วชี้อยู่ที่ดั้งจมูก ปลายนิ้วหัวแม่มืออยู่ที่คาง สายตามองดูผู้ไหว้ด้วยความเมตตาปรานี
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ระเบียบปฏิบัติการนั่งคุกเข่า
    การนั่งคุกเข่า
    การนั่งคุกเข่า คือการนั่งกระหย่งตัวขึ้น เป็นกิริยาอาการนั่งเตรียมตัวเพื่อจะกราบพระรัตนตรัย แบบเบญจางคประดิษฐ์
    วิธีการนั่งคุกเข่าสำหรับชาย
    การนั่งคุกเข่าเตรียมตัวกราบพระรัตนตรัย สำหรับชายนั้น นิยมนั่งคุกเข่าตั้งปลายเท้าทั้งสองยันพื้น ให้นิ้วเท้าพับลงราบกับพื้น เท้าทั้งคู่แนบชิดสนิทกัน นั่งทับลงบนส้นเท้าทั้งคู่ แยกหัวเข่าทั้งสองออกห่างกันประมาณ ๑ คืบ อวัยวะที่ยันพื้นจะได้ฉากเป็นรูปสามเส้า เพื่อป้องกันมิให้ล้มได้ง่าย มือทั้งสองวางทอดราบไว้ที่เหนือหัวเข่าทั้งสอง ให้นิ้วมือทั้งห้าแนบชิดสนิทกัน วางมืออย่างสบาย ไม่มีอาการเกร็ง
    วิธีการนั่งคุกเข่าสำหรับหญิง
    การนั่งคุกเข่าเตรียมตัวกราบพระรัตนตรัยสำหรับหญิงนั้น นิยมนั่งคุกเข่าราบ เหยียดหลังเท้าทั้งคู่ให้ราบกับพื้นไปทางด้านหลัง ให้ฝ่าเท้าทั้งสองแนบชิดสนิทกัน หรือให้ปลายเท้าทั้งสองทับกันเล็กน้อยก็ได้ นั่งทับลงบนฝ่าเท้าทั้งสอง ให้หัวเข่าทั้งสองแนบชิดกัน มือทั้งสองวางทอดราบไว้ที่หัวเข่าทั้งสอง ให้นิ้วมือทั้งห้าแนบชิดสนิทกัน วางมืออย่างสบาย ไม่มีอาการเกร็ง
    [​IMG]
    ระเบียบปฏิบัติการกราบ
    การกราบ
    การกราบ มาจากคำว่า “อภิวาท” คือ การหมอบลงที่พื้นพร้อมกับกระพุ่มมือ หรือ พร้อมกับการประณมมือ เป็นกิริยาอาการแสดงความเคารพอ่อนน้อมถ่อมตนอย่างสูงสุด ในบรรดากิริยาอาการแสดงความเคารพทั้งหลาย ทั้งในทางคดีโลกและในทางคดีธรรม
    วิธีกราบพระรัตนตรัย
    การกราบพระรัตนตรัย คือ กราบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และปูชนียวัตถุปูชนียสถานที่นับเนื่องกับพระรัตนตรัยทุกอย่าง นิยมกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ คือ การกราบด้วยการตั้งไว้เฉพาะซึ่งองค์ ๕ (คือหัวเข่า ๒ ฝ่ามือ ๒ และหน้าผาก ๑) ให้จรดลงแนบกับพื้น ซึ่งมีจังหวะปฏิบัติ ๓ จังหวะ คือ :-
    จังหวะที่ ๑ ยกมือขึ้นประณมอยู่ระหว่างอก
    จังหวะที่ ๒ ยกมือประณมขึ้นจรดหน้าผาก นิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่ระหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดหน้าผาก
    จังหวะที่ ๓ หมอบลงให้หน้าผากจรดพื้น ฝ่ามือทั้งสองแบราบลงแนบกับพื้น แล้วลุกขึ้นนั่ง ตั้งตัวตรง ประณมมือยกขึ้นผ่านจังหวะที่ ๑-๒-๓ ไปตามลำดับ ปฏิบัติเช่นนี้จนครบ ๓ ครั้ง ทุกคราวที่กราบพระรัตนตรัย
    วิธีการกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์สำหรับชาย
    การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์สำหรับชายนั้น นิยมนั่งคุกเข่า (แบบชาย) ประณมมือยกขึ้นผ่านจังหวะที่ ๑-๒-๓ ไปตามลำดับดังกล่าวแล้ว แต่ขณะที่หมอบลงกับพื้นนั้น นิยมให้ข้อศอกทั้งสองต่อกับหัวเข่าทั้งสอง นิ้วมือทั้งห้าแนบชิดสนิทกัน วางฝ่ามือทั้งสองลงราบกับพื้น ให้มือทั้งสองแยกออกห่างกันประมาณ ๔ นิ้ว ก้มศีรษะลงให้หน้าผากจรดกับพื้นในระหว่างมือทั้งสอง แล้วลุกขึ้นนั่ง ตั้งตัวตรง ยกมือประณมขึ้นผ่านจังหวะที่ ๑-๒-๓ ไปตามลำดับ อย่าหยุดชะงักเป็นระยะ ๆ จะดูไม่งาม ปฏิบัติเช่นนี้จนครบ ๓ ครั้ง เมื่อครบ ๓ ครั้งแล้ว นิยมยกมือประณมขึ้นจบอยู่ในระหว่างคิ้วอีกครั้งหนึ่ง จึงเสร็จพิธีการกราบ
    วิธีการกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์สำหรับหญิง
    การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์สำหรับหญิงนั้น ก็นิยมปฏิบัติเช่นเดียวกับชาย ต่างกันแต่ขณะที่หมอบลงกับพื้นเท่านั้น คือ นิยมให้ข้อศอกทั้งสองอยู่ข้างตัวแนบชิดกับขาพับทั้งสอง ไม่นิยมให้ข้อศอกทั้งสองต่อกับหัวเข่าแบบชาย ส่วนวิธีปฏิบัตินอกจากนี้เหมือนกัน
    ขณะที่หมอบกราบนั้น ทั้งชายและหญิง นิยมไม่ให้ก้นโด่งขึ้น จะดูไม่งาม
    ขณะที่ยกประณมมือจากจังหวะที่ ๑ คือ จากระหว่างอก ขึ้นสู่จังหวะที่ ๒ คือ ระหว่างคิ้วนั้น นิยมก้มศีรษะลงมารับกัน แล้วหมอบลงสู่พื้น โดยแยกมือที่ประณมออกจากกัน นำมือขวาลดลงก่อน มือซ้ายลดลงตามระยะไล่เลี่ยกันลงไป
    วิธีการกราบบุคคลและกราบศพ
    การกราบบุคคลและกราบศพนั้น นิยมกราบเหมือนกัน ด้วยวิธีกระพุ่มมือกราบ ไม่แบมือราบพับพื้นเหมือนกราบพระรัตนตรัย และนิยมกราบเพียงครั้งเดียว ไม่กราบ ๓ ครั้ง เหมือนกราบพระรัตนตรัย มีวิธีการปฏิบัติ ดังนี้ :-
    นั่งพับเพียบแบบเก็บเท้า พับขาราบไปทางซ้าย ตะแคงตัวข้างขวาไปทางบุคคล หรือศพ ที่จะกราบนั้น
    หมอบลงกับพื้น พร้อมกับวางแขนขวาลงราบกับพื้นตลอดครึ่งแขน จากข้อศอกถึงมือ ตั้งสันมือขึ้น วางแขนซ้ายลงคู่กับแขนขวา มือทั้งสองแนบชิดแบบประณมมือ ให้ศอกขวาอยู่ข้างตัว ศอกซ้ายต่อกับหัวเข่าขวา
    ก้มศีรษะลงให้หน้าผากจรดสันมือ ปลายนิ้วชี้อยู่ระหว่างคิ้ว แล้วลุกขึ้นนั่งพับเพียบตามปรกติ เป็นเสร็จพิธีกราบบุคคล หรือกราบศพ
    ส่วนการกราบพ่อและแม่ ในพิธีการพระพุทธศาสนา เช่น การกราบพ่อแม่ก่อนรับผ้าไตรเข้าขอบรรพชาอุปสมบทเป็นต้น นิยมกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ และกราบ ๓ ครั้ง เหมือนกราบพระรัตนตรัย เพราะถือกันว่า พ่อและแม่นั้นเท่ากับเป็นพระอรหันต์ของลูกในฐานะที่พระอรหันต์ทั้งหลายย่อมมีเมตตากรุณาต่อสรรพสัตว์โดยส่วนเดียว ฉันใด พ่อและแม่ทั้งหลายก็มีเมตตากรุณาต่อลูก ๆ ของตนโดยส่วนเดียว ฉันนั้น
    [​IMG]
    ระเบียบปฏิบัติการแสดงการเคารพพระสงฆ์
    การลุกขึ้นยืนรับพระสงฆ์
    การลุกขึ้นยืนรับพระสงฆ์นี้ เป็นกิริยาอาการแสดงความเคารพอย่างหนึ่ง ซึ่งชาวพุทธนิยมปฏิบัติต่อพระสงฆ์
    เมื่อพระสงฆ์เถระผู้ใหญ่เดินมาถึงสถานที่พิธีงานนั้น ๆ คฤหัสถ์ชายหญิงซึ่งนั่งอยู่ ณ สถานที่นั้น นิยมปฏิบัติดังนี้ :
    ถ้านั่งเก้าอี้ นิยมลุกขึ้นยืนรับ เมื่อท่านเดินผ่านมาตรงหน้า นิยมน้อมตัวลงยกมือไหว้ เมื่อท่านนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงนั่งลงตามเดิม
    ถ้าคฤหัสถ์ชายหญิงนั่งอยู่กับพื้น ไม่นิยมลุกขึ้นยืนรับ เมื่อท่านเดินผ่านมาถึงเฉพาะหน้า นิยมยกมือไหว้ หรือกราบ ตามความเหมาะสมแก่สถานที่นั้น
    สำหรับท่านผู้เป็นประธานพิธี หรือเจ้าภาพงานนิยมคอยรอรับพระสงฆ์ที่นิมนต์มาประกอบพิธีในงานนั้น เมื่อพระสงฆ์มาถึง นิยมนิมนต์และนำท่านไปยังสถานที่จัดไว้รับรอง
    การให้ที่นั่งแก่พระสงฆ์
    การให้ที่นั่งแก่พระสงฆ์นี้ เป็นกิริยาอาการแสดงความเอื้อเฟื้อแก่พระสงฆ์อย่างหนึ่ง ซึ่งชาวพุทธนิยมปฏิบัติกันสืบมา มีวิธีปฏิบัติดังนี้ :-
    เมื่อพระสงฆ์มาในพิธีงานนั้น ถ้าสถานที่ชุมนุมนั้น จัดให้นั่งเก้าอี้ คฤหัสถ์ชายหญิงนิยมลุกขึ้น หลีกไปให้โอกาสพระสงฆ์นั่งเก้าอี้แถวหน้า
    ถ้าคฤหัสถ์ชายจำเป็นจะต้องนั่งเก้าอี้แถวเดียวกับพระสงฆ์ นิยมนั่งเก้าอี้ด้านซ้ายของพระสงฆ์
    สำหรับสตรีเพศ ไม่นิยมนั่งเก้าอี้แถวเดียว หรือนั่งอาสนะยาวกับพระสงฆ์ เว้นแต่มีสุภาพบุรุษนั่งคั่นในระหว่าง
    ถ้าสถานที่ชุมนุมนั้น จัดให้นั่งกับพื้น นิยมจัดอาสนะสงฆ์ไว้เป็นส่วนหนึ่งต่างหาก จากอาสนะที่คฤหัสถ์ชายหญิงนั่ง เช่น ปูพรมผืนใหญ่เต็มห้อง เป็นต้น นิยมจัดปูลาดอาสนะเล็กบนพรมผืนใหญ่นั้นอีกชั้นหนึ่ง สำหรับเป็นที่นั่งของพระสงฆ์แต่ละรูป
    การตามส่งพระสงฆ์
    การตามส่งพระสงฆ์นี้ เป็นกิริยาอาการแสดงความเคารพแก่พระสงฆ์อีกประการหนึ่ง ซึ่งชาวพุทธนิยมปฏิบัติกันสืบมา
    เมื่อพระสงฆ์เถระผู้ใหญ่ หรือพระสงฆ์ที่นิมนต์มาในพิธีงานนั้นจะลากลับ คฤหัสถ์ชายหญิงผู้ที่อยู่ในพิธีงานนั้น นิยมปฏิบัติ ดังนี้ :-
    ถ้านั่งเก้าอี้ นิยมลุกขึ้นยืนส่งท่าน เมื่อท่านเดินผ่านเฉพาะหน้า นิยมน้อมตัวลงยกมือไหว้
    ถ้านั่งอยู่กับพื้น นิยมไม่ต้องยืนส่ง เมื่อท่านเดินผ่านเฉพาะหน้า นิยมกราบ หรือยกมือไหว้ ตามควรแก่กรณี
    สำหรับท่านผู้เป็นประธานพิธี หรือเจ้าภาพงานนิยมเดินตามไปส่งท่านจนพ้นบริเวณงาน หรือจนกว่าท่านจะขึ้นรถออกพ้นจากบริเวณงานไปแล้ว และก่อนที่ท่านจะจากไปนิยมน้อมตัวลงยกมือไหว้ เป็นการแสดงความเคารพส่งท่านอีกครั้งหนึ่ง
    การหลีกทางให้พระสงฆ์
    การหลีกทางให้แก่พระสงฆ์นี้ เป็นกิริยาอาการแสดงความเคารพเอื้อเฟื้อแก่พระสงฆ์อีกอย่างหนึ่ง ซึ่งชาวพุทธนิยมปฏิบัติกันสืบมา
    วิธีปฏิบัติเมื่อพระสงฆ์เดินตามมาข้างหลัง
    ถ้าพระสงฆ์เดิมมาข้างหลัง คฤหัสถ์ชายหญิงเดินไปข้างหน้า รู้สึกตัวว่ามีพระสงฆ์เดินตามมาข้างหลัง นิยมปฏิบัติ ดังนี้ :-
    ยืนตรง มือทั้งสองห้อยประสานกันไว้ข้างหน้า หันหน้ามาทางท่าน
    เมื่อพระสงฆ์เดินผ่านมาถึงเฉพาะหน้า นิยมน้อมตัวลงยกมือไหว้
    ถ้าท่านพูดด้วย นิยมประณมมือพูดกับท่าน (เฉพาะพระเถระ)
    ถ้าท่านมิได้พูดด้วย เมื่อยกมือไหว้แล้ว ลดมือทั้งสองลง ห้อยประสานกันไว้ข้างหน้า มองดูท่านจนกว่าท่านจะเลยไป จึงเดินตามหลังท่านไป
    วิธีปฏิบัติเมื่อเดินสวนทางกับพระสงฆ์
    ถ้าคฤหัสถ์ชายหญิงเดินสวนทางกับพระสงฆ์ นิยมปฏิบัติ ดังนี้:-
    หลีกเข้าชิดทาง ด้านซ้ายมือของพระสงฆ์
    ยืนตรง มือทั้งสองห้อยประสานกันไว้ข้างหน้า หันหน้ามาทางท่าน
    เมื่อพระสงฆ์เดินผ่านมาถึงเฉพาะหน้า นิยมน้อมตัวลงยกมือไหว้ หรือ นั่งกระหย่งยกมือไหว้ ตามควรแก่กาละเทศะ และบุคคล
    ถ้าท่านพูดด้วย นิยมประณมมือพูดกับท่าน (เฉพาะพระเถระ)
    ถ้าท่านมิได้พูดด้วย เมื่อยกมือไหว้แล้ว ก็ลดมือลงห้อยประสานกันไว้ข้างหน้า มองดูท่านจนกว่าท่านจะผ่านเลยไป จึงเดินไปตามปรกติ
    วิธีปฏิบัติเมื่อพบพระสงฆ์ยืนอยู่
    ถ้าคฤหัสถ์ชายหญิง เดินไปพบพระสงฆ์ท่านยืนอยู่นิยมปฏิบัติ ดังนี้ :-
    หยุดยืนตรง
    น้อมตัวลงยกมือไหว้
    ถ้าท่านพูดด้วย ประณมมือพูดกับท่าน
    เดินหลีกไปทางซ้ายของพระสงฆ์
    วิธีปฏิบัติเมื่อพบพระสงฆ์นั่งอยู่
    ถ้าคฤหัสถ์ชายหญิง เดินไปพบพระสงฆ์ท่านนั่งอยู่ นิยมปฏิบัติ ดังนี้ :-
    หยุดนั่งลง ถ้าพื้นที่สะอาด นิยมนั่งคุกเข่า หรือนั่งพับเพียบ ถ้าพื้นไม่สะอาด นิยมนั่งกระหย่ง
    น้อมตัวลงยกมือไหว้
    ถ้าท่านพูดด้วย ประณมมือพูดกับท่าน
    ลุกขึ้นเดินหลีกไปทางซ้ายของพระสงฆ์
    ถ้าพระสงฆ์อยู่ในที่กลางแจ้ง มีเงาปรากฏอยู่ คฤหัสถ์ชายหญิงนิยมไม่เดินเหยียบเงาของพระสงฆ์ นิยมเดินหลีกไปเสียอีกทางหนึ่ง
    วิธีเดินตามหลังของพระสงฆ์
    การเดินตามหลังพระสงฆ์นี้ เป็นกิริยาอาการแสดงความเคารพแก่พระสงฆ์อย่างหนึ่ง ซึ่งชาวพุทธชายหญิงนิยมปฏิบัติกันสืบมา มีวิธีปฏิบัติ ดังนี้ :-
    เดินตามไปเบื้องหลังของพระสงฆ์ โดยให้เยื้องไปทางซ้ายของท่าน
    ไว้ระยะห่างจากท่านประมาณ ๒-๓ ก้าว
    เดินตามท่านไปด้วยกิริยาอาการสำรวมเรียบร้อย
    นิยมไม่แสดงความเคารพผู้อื่น
    นิยมไม่พูดคุยทักทายปราศรัยกับผู้อื่น
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ระเบียบปฏิบัติการไปหาพระสงฆ์ที่วัด
    ฐานะของพระสงฆ์
    พระภิกษุสงฆ์นั้น ดำรงอยู่ในฐานะเป็นปูชนียบุคคลที่พุทธศาสนิกชนชายหญิงทั้งหลาย สมควรสักการะบูชากราบไหว้ ด้วยความเลื่อมใสศรัทธา เพราะว่า พระสงฆ์เป็นผู้ประพฤติดี ประพฤติซื่อตรง ประพฤติเพื่อให้ออกไปจากทุกข์ ประพฤติถูกต้องอย่างดียิ่ง และเป็นบุญเขตเนื้อนาบุญอย่างยอดเยี่ยมของชาวโลก
    พระสงฆ์เป็นผู้รักษาพระพุทธศาสนาไว้ ด้วยการทรงเพศบรรพชิต และศึกษาเล่าเรียนทรงจำพระศาสนธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้มิให้เสื่อมสูญ
    พระสงฆ์เป็นผู้นำเอาพระศาสนธรรมนั้น มาเทศนาชี้แจงอบรมสั่งสอนชาวพุทธให้ทราบว่า สิ่งใดดี สิ่งใดชั่ว สิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ
    พระสงฆ์เป็นผู้แนะนำพร่ำสอนชาวพุทธ ให้เลิกละความชั่ว และชักจูงชาวพุทธให้เกิดความยินดีพอใจในการทำความดี
    พระสงฆ์เป็นสักขีพยานเป็นตัวอย่างแห่งความประพฤติดีปฏิบัติชอบ ตามพระศาสนธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อีกด้วย
    การเตรียมตัวเบื้องต้น
    เพราะพระสงฆ์ดำรงอยู่ในฐานะเป็นปูชนียบุคคลดังกล่าวแล้ว ฉะนั้น ชาวพุทธชายหญิงทั้งหลายผู้ประสงค์จะไปหาพระสงฆ์ที่วัด พึงสังวรระวังอยู่เสมอว่าเราไปหาท่านที่เคารพบูชา นิยมรักษากิริยามารยาททางกาย ทางวาจา ตลอดถึงจิตใจ ให้เรียบร้อย อันแสดงออกถึงความมีศรัทธาเลื่อมใสเป็นอย่างดียิ่ง
    ถ้าบุคคลผู้ไปหาพระสงฆ์นั้น เพื่อประสงค์จะขออาราธนานิมนต์ท่านไปประกอบพิธีงานมงคล หรืองานอวมงคลก็ตาม นิยมมีเครื่องสักการะบูชา เช่น ดอกไม้ธูปเทียน เป็นต้น ใส่พานนำไปถวาย เพื่อเป็นเครื่องแสดงความเคารพบูชาท่านด้วย ทั้งนี้ เพื่อรักษาประเพณีอันดีงานของมหาอุบาสกและมหาอุบาสิกา เช่น อนาถบิณฑิกเศรษฐี และนางวิสาขามหาอุบาสิกา ได้ประพฤติเป็นตัวอย่าง กล่าวคือ :-
    o เมื่อไปเฝ้าพระพุทธเจ้าเวลาเช้าก่อนเที่ยงวัน ก็นิยมนำภัตตาหารคาวหวานไปถวายพระพุทธเจ้าและพระภิกษุสงฆ์พุทธสาวก
    o เมื่อไปเฝ้าพระพุทธเจ้าเวลาบ่ายหลังจากเที่ยงวันไปแล้ว ก็นิยมนำเภสัช ๕ มีเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เป็นต้น ไปถวายพระพุทธเจ้าและพระภิกษุสงฆ์พุทธสาวกเป็นประจำตลอดมา
    o ชาวพุทธชายหญิงผู้จะไปหาพระสงฆ์ที่วัดนั้น นิยมแต่งกายสุภาพเรียบร้อย ไม่นิยมแต่งกายด้วยเครื่องอาภรณ์สีฉูดฉาดบาดตา ไม่นิยมนุ่งน้อยห่มน้อย หรือเปลือยหน้าเปลือยหลัง ชะเวิกชะวาก เป็นต้น
    วิธีปฏิบัติขณะถึงที่อยู่ของพระสงฆ์
    ก่อนจะเข้าพบท่าน นิยมไต่ถามพระภิกษุสามเณรหรือศิษย์วัด ผู้อยู่ใกล้เคียงว่า ท่านอยู่ หรือไม่อยู่ ท่านว่าง หรือไม่ว่าง ท่านกำลังทำอะไรอยู่ สมควรจะเข้าพบท่านได้หรือไม่ และนิยมแจ้งความจำนงขออนุญาตเข้าพบท่านก่อน เมื่อได้รับอนุญาตให้เข้าพบได้ จึงเข้าพบท่าน
    ถ้าไม่พบผู้ใดที่จะพอไต่ถามได้ นิยมรอคอยดูจังหวะที่สมควร และก่อนที่จะเข้าพบท่าน ขณะท่านอยู่ภายในห้อง นิยมกระแอม หรือไอ หรือเคาะประตูให้เสียงก่อน เพื่อให้ท่านได้ทราบล่วงหน้า เมื่อท่านอนุญาตแล้ว จึงนิยมเปิดประตูห้องเข้าไป (เฉพาะชาย) ส่วนหญิงไม่นิยมเข้าไปหาพระสงฆ์ในห้องเด็ดขาด
    เมื่อท่านนั่งเรียบร้อยแล้ว ผู้ไปหานิยมนั่งคุกเข่ากราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ (ชาย กราบแบบชาย หญิง กราบแบบหญิง ดังกล่าวแล้วในระเบียบปฏิบัติการกราบข้างต้นนั้น) ๓ ครั้ง
    เมื่อกราบเสร็จแล้ว นิยมนั่งพับเพียบ ไม่นิยมนั่งบนอาสนะเสมอกับพระสงฆ์ เช่น นั่งบนพรมหรือเสื่อผืนเดียวกัน หรือนั่งเก้าอี้เสมอกับพระสงฆ์ เป็นต้น
    กิริยาอาการที่นั่งพับเพียบนั้น นิยมนั่งพับเพียบแบบเก็บเท้าดังกล่าวแล้ว (ในระเบียบปฏิบัติการนั่งพับเพียบข้างต้น) เฉพาะสตรีเพศ นิยมสังวรระวังเครื่องนุ่งห่ม โดยปกปิดอวัยวะที่ควรปิดให้เรียบร้อย
    ขณะที่พระสงฆ์อยู่ชั้นล่าง คฤหัสถ์ชายหญิงไม่นิยมขึ้นไปชั้นบนของกุฏิ และไม่นิยมเข้าไปภายในห้องส่วนตัวของท่าน
    วิธีปฏิบัติขณะสนทนากับพระสงฆ์
    ถ้าพระภิกษุสงฆ์รูปนั้น เป็นพระเถระผู้ใหญ่ นิยมประณมมือพูดกับท่าน ทุกครั้งที่กราบเรียนท่าน และรับคำพูดของท่าน
    ขณะสนทนาอยู่กับพระสงฆ์นั้น ไม่นิยมพูดล้อเล่นกับท่าน ไม่นิยมพูดคำหยาบโลนกับท่าน ไม่นิยมนำเอาเรื่องส่วนตัวไปเล่าให้ท่านฟัง ไม่นิยมแสดงกิริยาอาการยกตนตีเสมอท่านคล้ายเพื่อนเล่น หรือยกตนสูงกว่าท่าน
    เฉพาะสตรีเพศทั้งหมด แม้จะเป็นญาติกับพระภิกษุสงฆ์รูปนั้นก็ตาม ไม่นิยมสนทนากับพระภิกษุสงฆ์สองต่อสอง ทั้งภายในห้องและภายนอกห้อง ทั้งในที่ลับตาและในที่ลับหู เพราะผิดวินัยพุทธบัญญัติ
    เมื่อเสร็จธุรกิจแล้ว นิยมรีบลาท่านกลับ ไม่ควรสนทนาอยู่นานเกินควร เพราะเป็นการรบกวนเวลาของท่าน
    เมื่อจะลาท่านกลับ นิยมนั่งคุกเข่า(ตามเพศ) กราบท่านด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง แล้วเดินเข่าออกไป
    [​IMG]
    ระเบียบปฏิบัติการใช้คำพูดกับพระสงฆ์ต่างชั้น
    การใช้คำทูลสมเด็จพระสังฆราช คำแทนตัวพระองค์ท่าน ว่า “ฝ่าพระบาท” หรือ “ฝ่าบาท”คำแทนตัวผู้พูด (ชาย) ว่า “เกล้ากระหม่อม” หรือ “กระหม่อม”คำแทนตัวผู้พูด(หญิง) ว่า “กระหม่อมฉัน” หรือ “หม่อมฉัน”คำรับพระดำรัส (ชาย) ว่า “พ่ะย่ะค่ะ” หรือ “กระหม่อม”คำรับพระดำรัส (หญิง) ว่า “เพคะ”
    การใช้คำพูดกับสมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะชั้นราชขึ้นไป คำแทนตัวท่านว่า “พระเดชพระคุณ” หรือ “ใต้เท้า”คำแทนตัวผู้พูด (ชาย) ว่า “เกล้ากระผม” หรือ “เกล้าฯ”คำแทนตัวผู้พูด (หญิง) ว่า “ดิฉัน” หรือ “อีฉัน”คำรับคำพูด (ชาย) ว่า “ขอรับกระผม” “ครับกระผม” หรือ “ครับผม”คำรับคำพูด (หญิง) ว่า “เจ้าค่ะ”
    การใช้คำพูดกับพระราชาคณะชั้นสามัญลงมา
    พระราชาคณะให้คำแทนตัวท่านว่า “ท่านเจ้าคุณ” หรือ “ท่าน”
    พระครูสัญญาบัตรและพระครูฐานานุกรม ใช้คำแทนตัวท่านว่า “ท่านพระครู” หรือ “ท่าน”
    พระเปรียญ ใช้คำแทนตัวท่านว่า “ท่านมหา” หรือ “ท่าน”
    พระอันดับธรรมดา ใช้คำแทนตัวท่านว่า “พระคุณเจ้า” หรือ “ท่าน”
    พระผู้เฒ่า ใช้คำแทนตัวท่านว่า “หลวงพ่อ” หรือ “หลวงปู่” เป็นต้น
    ถ้าพระสงฆ์นั้นเป็นญาติกับผู้พูด นิยมใช้คำพูดแทนตัวแทนตามฐานะที่เป็นญาติกัน เช่น ใช้คำแทนตัวท่านว่า “หลวงปู่ หลวงตา หลวงพ่อ หลวงลุง หลวงอา หลวงน้า หลวงพี่” เป็นต้น
    คำแทนตัวผู้พูด (ชาย) ว่า “กระผม” หรือ “ผม”
    คำแทนตัวผู้พูด (หญิง) ว่า “ดิฉัน” หรือ “อีฉัน”
    คำรับคำพูด (ชาย) ว่า “ครับ”
    คำรับคำพูด (หญิง) ว่า “เจ้าค่ะ” หรือ “ค่ะ”
    การใช้คำพูดกับพระธรรมดาสามัญทั่วไป
    ถ้าผู้พูดไม่รู้จักกับพระภิกษุสงฆ์รูปนั้น ไม่ทราบว่าท่านมีสมณศักดิ์ชั้นไหน นิยมใช้คำพูดสามัญเป็นกลาง ๆ ดังนี้ :-คำแทนตัวพระภิกษุสงฆ์รูปนั้นว่า “พระคุณเจ้า” หรือ “พระคุณท่าน” หรือ “ท่าน”คำแทนตัวผู้พูด (ชาย) ว่า “กระผม” หรือ “ผม”คำแทนตัวผู้พูด (หญิง) ว่า “ดิฉัน” หรือ “อีฉัน” หรือ “ฉัน”คำรับคำพูด (ชาย) ว่า “ครับ”คำรับคำพูด (หญิง) ว่า “เจ้าค่ะ” หรือ “ค่ะ”
    [​IMG]
    ระเบียบปฏิบัติการรับสิ่งของจากพระสงฆ์
    ขณะพระสงฆ์ยืนอยู่ หรือ นั่งบนอาสนะสูง
    เดินเข้าไปด้วยกิริยาอาการสำรวม โดยไม่เร็ว หรือช้าเกินไป เมื่อเข้าใกล้พอสมควร ประมาณพอยื่นมือเข้าไปรับสิ่งของได้พอดี
    ยืนตรง น้อมตัวลงยกมือไหว้ แล้วยื่นมือทั้งสองเข้าไปรับ พร้อมกับน้อมตัวลงเล็กน้อย สำหรับชายรับสิ่งของจากมือท่าน สำหรับหญิงแบมือทั้งสองชิดกันคอยรองรับสิ่งของ
    เมื่อรับสิ่งของแล้ว ถ้าสิ่งของเล็ก นิยมน้อมตัวลงยกมือไหว้พร้อมกับสิ่งของที่อยู่ในมือ ถ้าสิ่งของที่รับนั้นใหญ่หรือหนัก นิยมไม่ต้องยกมือไหว้ แล้วก้าวเท้าซ้ายถอยหลังออกไป ๑ ก้าว ชักเท้าขวามาชิด แล้วหันหลังกลับเดินไปได้
    ขณะพระสงฆ์นั่งเก้าอี้
    เดินเข้าไปด้วยกิริยาอาการสำรวม เมื่อเข้าไปใกล้ประมาณ ๒ ศอก แล้วยืนตรง ก้าวเท้าขวาออกไป ๑ ก้าว แล้วนั่งคุกเข่าซ้าย ชันเข่าขวาขึ้น น้อมตัวลงยกมือไหว้ แล้วยื่นมือทั้งสองออกไปรับสิ่งของดังกล่าวแล้ว
    เมื่อรับสิ่งของแล้ว ถ้าสิ่งของนั้นเล็ก นิยมน้อมตัวลงยกมือไหว้ พร้อมกับสิ่งของที่อยู่ในมือ ถ้าสิ่งของนั้นใหญ่หรือหนัก นิยมวางสิ่งของนั้นไว้ข้างตัว ด้านซ้ายมือ น้อมตัวลงยกมือไหว้ แล้วยกสิ่งของนั้นด้วยมือทั้งสองประคองยกยืนขึ้น ชักเท้าขวากลับมายืนตรง ก้าวเท้าซ้ายถอยหลังไป ๑ ก้าว และชักเท้าขวาชิด หันหลังกลับเดินไปได้
    ขณะพระสงฆ์นั่งกับพื้น
    เดินเข้าไปด้วยกิริยาอาการสำรวม เมื่อถึงบริเวณที่ปูลาดอาสนะไว้ นั่งคุกเข่าลง แล้วเดินเข่าเข้าไป เมื่อถึงที่ใกล้ประมาณ ๑ ศอกเศษ นั่งคุกเข่า (ตามเพศ) กราบ ๓ หน ยื่นมือทั้งสองออกไปรับสิ่งของดังกล่าวแล้ว
    เมื่อรับสิ่งของแล้ว นิยมวางสิ่งของนั้นไว้ข้างหน้าด้านขวามือ กราบ ๓ หน แล้วหยิบสิ่งของนั้นถือด้วยมือสองประคอง เดินเข่าถอยหลังออกไปจนสุดบริเวณที่ปูลาดอาสนะไว้แล้วลุกขึ้นยืนกลับไปได้
    กิริยาอาการเดินเข่านั้น นิยมตั้งตัวตรง ถ้าไม่ได้ถือสิ่งของ มือทั้งสองห้อยอยู่ข้างตัว ถ้าถือสิ่งของ มือทั้งสองประคองถือสิ่งของ ยกขึ้นอยู่ระดับอก ศอกทั้งสองแนบชิดชายโครง
    ขณะเดินเข่า ร่างกายส่วนบนไม่เคลื่อนไหว ไม่ซัดส่าย ไม่โยกโคลงไปมา ไม่เอียงซ้ายไม่เอียงขวา เฉพาะร่างกายส่วนล่างเท่านั้นที่เคลื่อนไหว และขณะเดินเข่าเข้าไป หรือถอยหลังออกมานั้น นิยมให้ตรงเข้าไป และตรงออกมา
    <!--BEGIN WEB STAT CODE----><SCRIPT language=javascript1.1> page="ระเบียบปฏิบัติของชาวพุทธ";</SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.1 src="http://hits.truehits.in.th/data/i0017685.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://tracker.truehits.in.th/func/th_donate_1.4.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://tracker.truehits.in.th/func/th_common_1.4.js"></SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.2>sv=1.2;ss=screen.width+'*'+screen.height;sc=(bn=='MSIE')?screen.colorDepth:screen.pixelDepth;if(sc==udf){sc='na';}</SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.3>sv=1.3; </SCRIPT>
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ระเบียบปฏิบัติศาสนพิธี(๑)

    คัดลอกจาก http://www.thai.net/watthasai/sasanapiti.htm
    และhttp://www.dharma-gateway.com/misc/misc-94-01.htm

    บทนมัสการ
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาค พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ฯ
    - - - - - - - - - - - - - - -
    บทนมัสการนี้ ประกอบด้วยบทที่เป็นคำบาลี ๕ บท มี นโม เป็นต้น นับเรียงพยางค์ได้ ๑๘ พยางค์ บท ๓ บท คือ ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ประกาศพระคุณของพระพุทธเจ้า ๓ ประการ คือ พระกรุณาคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระปัญญาคุณ ตามลำดับ
    ผู้ตั้งบทนมัสการ
    <TABLE width="50%" border=0><TBODY><TR><TD>นโม
    </TD><TD>สาตาคิรายักษ์
    </TD><TD>เป็นผู้ตั้ง
    </TD></TR><TR><TD>ตสฺส
    </TD><TD>อสุรินทราหู
    </TD><TD>เป็นผู้ตั้ง
    </TD></TR><TR><TD>ภควโต
    </TD><TD>ท้าวจาตุมหาราช
    </TD><TD>เป็นผู้ตั้ง
    </TD></TR><TR><TD>อรหโต
    </TD><TD>ท้าวสักกะ
    </TD><TD>เป็นผู้ตั้ง
    </TD></TR><TR><TD>สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
    </TD><TD>ท้าวมหาพรหม
    </TD><TD>เป็นผู้ตั้ง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    คาถาระบุผู้ตั้งนโม
    <TABLE cellSpacing=1 width="56%" border=0><TBODY><TR><TD width=226>นโม สาตาคิรายกฺโข
    </TD><TD>ภควโต จาตุมหาราชา
    </TD></TR><TR><TD width=226>สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส มหาพฺรหฺมา
    </TD><TD>ตสฺส จ อสุรินฺทโก
    </TD></TR><TR><TD width=226>สกฺโก อรหโต ตถา
    </TD><TD>ปญฺจ เทวา มสฺสเร ฯ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ประโยชน์ของการตั้งบทนมัสการ ๔ ประการ
    ๑. เพื่อดำเนินตามร่องรอยของอารยชน
    ๒. เพื่อขออานุภาพพระคุณคุ้มครอง
    ๓. เพื่อชำระจิตให้บริสุทธิ์
    ๔. เพื่อทำชีวิตให้มีสาระ
    ระเบียบในการตั้งบทนมัสการ
    การเปล่งวาจาว่าบทนมัสการ ต้องว่า ๓ จบเสมอ มีเหตุผลดังนี้
    จบที่ ๑ เพื่อนมัสการพระวิริยาธิกพุทธเจ้า ระยะกาลบำเพ็ญพระบารมี ๑๖ อสงไขย ๑ แสนกัป
    จบที่ ๒ เพื่อนมัสการพระสัทธาธิกพุทธเจ้า ระยะกาลบำเพ็ญพระบารมี ๘ อสงไขย ๑ แสนกัป
    จบที่ ๓ เพื่อนมัสการพระปัญญาธิกพุทธเจ้า ระยะกาลบำเพ็ญพระบารมี ๔ อสงไขย ๑ แสนกัป
    อีกมติหนึ่งให้เหตุผลว่า.-
    จบที่ ๑ เป็นบริกรรม
    จบที่ ๒ เป็นอุปจาร
    จบที่ ๓ เป็นอัปปนา
    วิธีตั้งบทนมัสการ มี ๔ แบบ คือ
    ๑. นโม ชั้นเดียว ขึ้น นโม แล้วรับ ตสฺส ฯเปฯ หยุดตามสังโยค ใช้เป็นบทนมัสการในการสวดมาติกาบังสุกุล
    ๒. นโม ๓ ชั้น เป็นบทนมัสการ ใช้ในการให้ศีล ว่าทีละบท ๆ
    ๓. นโม ๕ ชั้น เป็นบทนมัสการใช้ในการแสดงพระธรรมเทศนา และใช้ในการสวดกรรมวาจา
    ๔. นโม ๙ ชั้น เป็นบทนมัสการ ใช้ในการเจริญพระพุทธมนต์ ที่ใช้ทำนองสังโยค
    นโม ชั้นเดียว
    นโม- ตสฺ// ส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺ// ธสฺ// ส นโม
    ตสฺ// ส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺ// ธสฺ// ส นโม
    ตสฺ// ส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺ// ธสฺ// ส ฯ
    นโม ๓ ชั้น
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส//
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส//
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส//
    นโม ๕ ชั้น
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส นโม ตสฺส//
    ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส//
    นโม ตสฺส ภควโต//
    อรหโต สมฺมา//
    สมฺพุทฺธสฺส//
    นโม ๙ ชั้น
    (ขึ้น) นโม ตสฺส ภควโต//
    (รับ) อรหโต//
    สมฺมา//
    สมฺพุทฺ// ธสฺ// ส นโม ตสฺ// ส ภควโต//
    อรหโต//
    สมฺมา//
    สมฺพุทฺ// ธสฺ// ส นโม ตสฺ// ส ภควโต//
    อรหโต//
    สมฺมา//
    สมฺพุทฺ// ธสฺ////

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ธันวาคม 2006
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ระเบียบปฏิบัติศาสนพิธี
    การจัดสถานที่งานพิธีทำบุญ

    การจัดสถานที่งานพิธีทำบุญในทางพระพุทธศาสนาทุกอย่าง ทั้งงานมงคล และงานอวมงคลนั้น เบื้องต้น เจ้าภาพ หรือ เจ้าของงาน จะต้องคำนึงถึงสถานที่ซึ่งมีบริเวณกว้างขวางเพียงพอ และเหมาะสมจะจัดให้เป็นสถานที่บำเพ็ญกุศลทางพระพุทธศาสนา สำหรับจัดเป็นห้องพิธี อันประกอบด้วยสถานที่สำคัญ ๓ ประการ คือ :-
    ๑. สถานที่ตั้งโต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัย
    ๒. สถานที่จัดเป็นอาสน์สงฆ์ และ
    ๓. สถานที่นั่งสำหรับเจ้าภาพและผู้มาร่วมงาน
    <TABLE class=MsoTableGrid id=table1 style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BACKGROUND: #fffff5; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 464.3pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid" vAlign=top width=619>
    แผนผังการจัดสถานที่งานพิธีทำบุญ
    <TABLE style="BORDER-TOP-WIDTH: 0px; BORDER-LEFT-WIDTH: 0px; BORDER-COLLAPSE: collapse; BORDER-RIGHT-WIDTH: 0px" borderColor=#000000 border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: #000000 1px solid; BORDER-LEFT: #000000 1px solid; BORDER-BOTTOM: 1px solid" rowSpan=3>

    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: #000000; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: medium none"></TD><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: #000000 1px solid; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: medium none">
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: #000000 1px solid; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: 1px solid" rowSpan=3>u
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: medium none" rowSpan=3>


    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: #000000 1px solid; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: 1px solid" rowSpan=3>
    v

    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: #000000 1px solid; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: medium none">
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: #000000 1px solid; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: 1px solid" rowSpan=3>
    w

    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: #000000; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: medium none" rowSpan=3>


    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: #000000 1px solid; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: 1px solid" rowSpan=3>
    x

    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: #000000 1px solid; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: medium none">
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: #000000 1px solid; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: 1px solid" rowSpan=3>
    y

    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: #000000; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: medium none" rowSpan=3>


    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: #000000 1px solid; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: 1px solid" rowSpan=3>
    z

    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: #000000 1px solid; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: medium none">
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: #000000 1px solid; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: 1px solid" rowSpan=3>
    {

    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: #000000; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: medium none" rowSpan=3>


    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: #000000 1px solid; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: 1px solid" rowSpan=3>
    |

    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: #000000 1px solid; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: medium none">
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: #000000 1px solid; BORDER-TOP: #000000 1px solid; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: 1px solid" rowSpan=3>
    }

    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none"></TD><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none">
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: medium none">
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: medium none">
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: medium none">
    </TD><TD style="BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: medium none">
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none"></TD><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: medium none; BORDER-BOTTOM: 1px solid">
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: 1px solid">
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: 1px solid">
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: 1px solid">
    </TD><TD style="BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: 1px solid">
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: 1px solid" colSpan=20></TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: #000000 1px solid; BORDER-TOP: 1px solid; BORDER-LEFT: #000000 1px solid; BORDER-BOTTOM: #000000 1px solid" colSpan=20>
    เจ้าภาพและผู้มาร่วมงาน

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​


    อธิบายแผนผังการจัดสถานที่งานพิธีทำบุญ
    ๑. สถานที่ตั้งโต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัย
    ๒. u - }สถานที่จัดตั้งเป็นอาสน์สงฆ์ สำหรับพระสงฆ์ ๙ รูป
    ๓. สถานที่นั่งสำหรับเจ้าภาพและผู้มาร่วมงาน
    อักษรที่เรียงซ้อนกันนั้น คือ ที่ตั้งกระโถน คือ ที่ตั้งภาชนะน้ำเย็น คือ ที่ตั้งพานหมากพลู- บุหรี่

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    สถานที่ตั้งโต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัย

    - โต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัยนั้น นิยมจัดตั้งไว้ด้านขวาของอาสน์สงฆ์ ตั้งไว้สูงกว่าอาสน์สงฆ์พอสมควร และนิยมตั้ง หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เพราะเป็นทิศที่พระพุทธเจ้าประทับนั่งตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ สำเร็จเป็น พระพุทธเจ้า ถ้าขัดข้องเพราะสถานที่ไม่อำนวย ก็นิยมตั้งหันหน้าไปทางทิศเหนือ หรือทิศใต้ ทิศใดทิศหนึ่ง แต่ไม่นิยมตั้ง หันหน้าไปทางทิศตะวันตก เพราะถือกันว่าทิศตะวันตกเป็นทิศอัสดงคตแห่งพระอาทิตย์ เป็นทิศแห่งความเสื่อม ไม่เจริญ รุ่งเรือง
    - โต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัยนั้น โดยมาก นิยมตั้งไว้บนอาสน์สงฆ์ ทางต้นอาสน์สงฆ์ประกอบด้วยสิ่งสำคัญ ๕ ประการ คือ .-
    ๑. พระพุทธรูป ๑ องค์ (นิยมพระปางมารวิชัย)
    ๒. กระถางธูป ๑ ลูก พร้อมทั้งธูป ๓ ดอก เป็นอย่างน้อย
    ๓. เขิงเทียน ๑ คู่ พร้อมทั้งเทียน ๒ เล่ม เป็นอย่างน้อย
    ๔ .แจกัน ๑ คู่ พร้อมทั้งดอกไม้ประดับ และนิยมมีพานดอกไม้ตั้งบูชาด้วย
    ๕. โต๊ะหมู่ ๑ หมู่
    เครื่องสักการบูชาพระรัตนตรัยนั้น นิยมจัดหาสิ่งของที่ดีที่สุด ประณีตที่สุด เท่าที่จะสามารถหามาจัดได้กล่าวคือ
    ๑. ธูป นิยมใช้ธูปหอมอย่างดี
    ๒. เทียน นิยมใช้เทียนเล่มใหญ่พอสมควรแก่เชิงเทียน
    ๓. ดอกไม้ นิยมใช้ดอกไม้ที่เพียบพร้อมด้วยลักษณะ ๓ ประการ คือ มีสีสวย มีกลิ่นหอม และ กำลังสดชื่น
    สถานที่จัดเป็นอาสน์สงฆ์
    อาสน์สงฆ์ คือ สถานที่สำหรับพระสงฆ์นั่งนั้น นิยมจัดตั้งไว้ทางด้านซ้ายของโต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัย และนิยมจัดแยกออกเป็นเอกเทศส่วนหนึ่งต่างหากจากที่นั่งของคฤหัสถ์ชายหญิง ประกอบด้วยเครื่องรับรองพระสงฆ์ ดังนี้
    ๑. พรมเล็ก สำหรับปูเป็นที่นั่งของพระภิกษุสงฆ์แต่ละรูป
    ๒. กระโถน (ตั้งไว้ด้านในสุด)
    ๓. ภาชนะน้ำเย็น (ตั้งไว้ถัดออกมา)
    ๔. พานหมากพลู- บุหรี่ (ตั้งไว้ข้างหน้า)
    ๕. ภาชนะน้ำร้อน (นิยมนำมาถวาย เมื่อพระสงฆ์มาถึงแล้ว)
    เครื่องรับรองพระภิกษุสงฆ์นั้น นิยมจัดตั้งไว้ด้านขวามือของพระภิกษุสงฆ์แต่ละรูป โดยจัดตั้งกระโถนไว้ด้านในสุด จัดตั้ง ภาชนะน้ำเย็นไว้ถัดออกมา จัดตั้งพานหมากพลู- บุหรี่ ไว้ถัดออกมาข้างนอก ส่วนภาชนะน้ำร้อนนั้น นิยมจัดมาถวายภายหลัง เมื่อพระภิกษุสงฆ์มานั่งเรียบร้อยแล้ว เพราะถ้านำมาตั้งไว้ก่อน น้ำร้อนจะเย็นเสียก่อน ทำให้เสียรสน้ำชา ถ้าสถานที่ห้องประกอบพิธีสงฆ์นั้นคับแคบ หรือสิ่งของเครื่องรับรองมีไม่เพียงพอที่จะจัดถวายให้ได้ครบทั้ง ๙ ที่ สำหรับพระภิกษุสงฆ์ทั้ง ๙ รูป ก็นิยมจัดเครื่องรับรองเพียง ๕ ที่ ก็เพียงพอ คือ
    ๑. สำหรับพระเถระผู้เป็นประธานสงฆ์ จัดตั้งไว้ด้านขวามือของท่านหนึ่งที่
    ๒. จัดตั้งไว้ระหว่างพระภิกษุรูปที่ ๒ กับพระภิกษุรูปที่ ๓ หนึ่งที่
    ๓. จัดตั้งไว้ระหว่างพระภิกษุรูปที่ ๔ กับพระภิกษุรูปที่ ๕ หนึ่งที่
    ๔. จัดตั้งไว้ระหว่างพระภิกษุรูปที่ ๖ กับพระภิกษุรูปที่ ๗ หนึ่งที่
    ๕. จัดตั้งไว้ระหว่างพระภิกษุรูปที่ ๘ กับพระภิกษุรูปที่ ๙ หนึ่งที่
    สถานที่นั่งสำหรับเจ้าภาพและผู้มาร่วมงาน
    สถานที่นั่งสำหรับเจ้าภาพและผู้มาร่วมงาน นั้น นิยมจัดไว้ด้านหน้าของอาสน์สงฆ์ และนิยมจัดแยกออกเป็น เป็นเอกเทศส่วนหนึ่งต่างหากจากอาสน์สงฆ์ เพื่อป้องกันมิให้พระภิกษุสงฆ์ต้องอาบัติโทษ เพราะนั่งอาสนะเดียวกับสตรีเพศ ถ้าสถานที่นั่งสำหรับเจ้าภาพและผู้มาร่วมงานนั้น ปูลาดเนื่องเป็นอันเดียวกันกับอาสน์สงฆ์ โดยปูเสื่อหรือ พรมเชื่อมเป็นอันเดียวกัน นิยมปูเสื่อหรือพรมผืนที่เป็นอาสน์สงฆ์ ทับผืนที่เป็นที่นั่งสำหรับเจ้าภาพและผู้มาร่วมงาน โดย ปูลาดทับกันออกมาตามลำดับ และนิยมจัดปูลาดพรมเล็กสำหรับเป็นอาสนะที่นั่งของพระภิกษุสงฆ์แต่ละรูปเพื่อให้สูงกว่าที่นั่ง ของคฤหัสถ์อีกด้วย
    สถานที่นั่งสำหรับเจ้าภาพและผู้มาร่วมงานนั้น นิยมกันทั่วไปว่า จะต้องไม่ดีกว่า ไม่ประณีตกว่า และไม่อยู่ ณ ที่สูงกว่าอาสน์สงฆ์ ทั้งนี้เพื่อเป็นการแสดงความเคารพคารวะแก่พระสงฆ์ การปูลาดอาสน์สงฆ์ และอาสนะที่นั่งสำหรับเจ้าภาพและผู้มาร่วมงานนั้น โดยทั่วไป นิยมจัดแยกออกจากกัน คนละส่วน เพื่อความสบายใจด้วยกันทุกฝ่าย
    การจัดตั้งภาชนะน้ำมนต์
    การจัดตั้งภาชนะน้ำมนต์งานพิธีทำบุญในพระพุทธศาสนานั้น นิยมจัดตั้งภาชนะน้ำมนต์เฉพาะพิธีทำบุญงาน มงคลทุกชนิด เช่น งานทำบุญมงคลสมรส งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานทำบุญฉลองต่าง ๆ เป็นต้น และนิยมจัดตั้งภาชนะ น้ำมนต์นี้ไว้ข้างโต๊ะหมู่บูชา ด้านพระเถระประธานสงฆ์นั่ง ส่วนพิธีทำบุญงานอวมงคลที่เกี่ยวเนื่องกับศพ เช่น งานทำบุญสัตตมวาร (ทำบุญ ๗ วัน) งานทำบุญ ปัญญาสมวาร(ทำบุญ ๕๐ วัน) งานทำบุญสตมวาร (ทำบุญ ๑๐๐ วัน) เป็นต้น ไม่นิยมจัดตั้งภาชนะน้ำมนต์ เพราะพิธีทำบุญ งานศพนั้น เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อท่านผู้ล่วงลับไปแล้ว เป็นต้น ไม่ใช่จัดทำเพื่อความเป็นศิริมงคลแก ่เจ้าของงาน
    ภาชนะน้ำมนต์
    - ภาชนะสำหรับใส่น้ำมนต์นั้น นิยมใช้หม้อน้ำมนต์โดยเฉพาะ หรือใช้บาตรพระสงฆ์แทนก็ได้ แต่ไม่นิยมใช้ ขันเงินแทน เพราะเป็นวัตถุอนามาสที่พระภิกษุสงฆ์ไม่ควรจับต้อง เพราะเกิดอาบัติโทษแก่พระสงฆ์ผู้จับต้อง
    - น้ำสำหรับทำน้ำมนต์นั้น นิยมใช้น้ำที่ใสสะอาดบริสุทธิ์ ใส่น้ำขนาดเกือบเต็มภาชนะสำหรับทำน้ำมนต์นั้น และมีวัตถุที่นิยมกันว่าเป็นมงคล ตามความนิยมของท้องถิ่นนั้น ๆ ใส่ในภาชนะน้ำมนต์นั้นด้วย
    เทียนสำหรับทำน้ำมนต์
    - เทียนสำหรับทำน้ำมนต์นั้น นิยมใช้เทียนขี้ผึ้งแท้ มีขนาดเล่มใหญ่พอสมควร ขนาดอย่างเล็ก นิยมมีน้ำหนัก ๑ บาทขึ้นไป และนิยมใช้เทียนที่มีไส้ใหญ่ ๆ เพื่อป้องกันมิให้ไฟดับง่าย เมื่อถูกลมพัด
    การมอบเทียนชนวนแก่ผู้ใหญ่
    - ผู้เป็นพิธีกรทำหน้าที่มอบเทียนชนวนแก่ผู้ใหญ่ ผู้เป็นประธานพิธีงานนั้น ๆ หรือมอบให้แก่ท่านเจ้าภาพ งานทำบุญต่าง ๆ จะต้องเตรียมจัดหาอุปกรณ์เครื่องใช้ไว้ให้มีพร้อม ดังนี้
    ๑. เชิงเทียนขนาดกลาง ๑ ที่ (ควรเป็นเชิงเทียนทองเหลือง เพราะติดเทียนได้มั่นคงดี)
    ๒. เทียนขี้ผึ้ง มีขนาดใหญ่พอสมควร ๑ เล่ม (ควรหาเทียนที่มีไส้ใหญ่ ๆ เพื่อไฟไม่ดับง่าย)
    ๓. น้ำมันยาง น้ำมันก๊าด หรือ น้ำมันเบนซิน พร้อมทั้งสำลีสำหรับใช้เป็นชนวนติดไว้ที่ธูป และเทียน เพื่อสะดวกแก่การจุดไฟติดได้ง่าย
    วิธีการถือเชิงเทียนชนวน
    - การถือเชิงเทียนชนวนมอบให้แก่ผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นประธานพิธีงานนั้น ๆ หรือ ให้แก่ท่านเจ้าภาพงานทำบุญนั้น ๆ นิยมถือด้วยมือขวา โดยหงายฝ่ามือ นิ้วมือทั้ง ๔ นิ้ว รองรับเชิงเทียน หัวแม่มือจับอยู่บนเชิงเทียน
    - ไม่นิยมจับกึ่งกลางเชิงเทียนเพราะจะทำให้ผู้ใหญ่รับเชิงเทียนชนวนไม่สะดวกหรือจะทำให้ผู้ใหญ่ต้องเสียภูมิ เพราะจับเชิงเทียนขนวนภายใต้มือของพิธีกรผู้ส่งให้ แสดงว่าไม่รู้ระเบียบ
    วิธีการมอบเชิงเทียนชนวน
    - เมื่อถึงเวลาตามกำหนดการแล้ว พิธีกรพึงจุดเทียนชนวน ถือด้วยมือขวา มือซ้ายควรถือไม้ขีดไฟติดมือไปด้วย (เมื่อเทียนชนวนดับ จะได้จุดได้ทันท่วงที) เดินเข้าไปหา ท่านผู้เป็นประธานพิธี หรือท่านเจ้าภาพงานทำบุญ ยืนตรงโค้งคำนับท่าน (สำหรับพิธีกร และประธานพิธีเป็นคฤหัสถ์) ถ้าประธานพิธีเป็นพระเถระผู้ใหญ่ พิธีกรพึงนั่งคุกเข่าลง กราบเรียนให้ท่านทราบ หรือ
    - เมื่อพิธีกรเริ่มจุดเทียนชนวน ท่านผู้เป็นประธานพิธี หรือท่านเจ้าภาพงานเห็นแล้ว ลุกจากที่นั่ง เดินไปที่โต๊ะ หมู่บูชาพระรัตนตรัยเอง พิธีกรพึงเดินตามหลังท่านไป โดยเดินตามไปทางด้านซ้ายมือของท่าน
    - ถ้าประธานพิธี หรือ เจ้าภาพงาน หยุดยืนที่ข้างหน้าที่บูชา พิธีกรพึงนั่งชันเข่า ถ้าท่านนั่งคุกเข่า พิธีกรพึง นั่งคุกเข่าทางด้านซ้ายมือของท่าน ยื่นมือขวาส่งเชิงเทียนชนวนมอบให้ท่าน ส่วนมือซ้ายห้อยอยู่ข้างตัว
    - เมื่อมอบเชิงเทียนชนวนให้ท่านแล้ว พิธีกรพึงถอยหลังออกมาให้ห่างจากท่านพอสมควร เพื่อไม่ให้ขัดขวาง การถ่ายรูปของช่างภาพ โดยถอยห่างออกมานั่งชันเข่า หรือนั่งคุกเข่า ตามควรแก่กรณีพร้อมกับคอยสังเกตดู ถ้าเทียนขนวนดับพึงรีบเข้าไปจุดได้ทันที วิธีการรับเชิงเทียนชนวนจากผู้ใหญ่
    - เมื่อท่านผู้ใหญ่จุดเครื่องสักการบูชาพระรัตนตรัยเสร็จแล้ว พิธีกรพึงเข้าไปทางด้านซ้ายมือของท่าน ถ้าท่านยืนจุด พิธีกรพึงนั่งชันเข่ารับ ถ้าท่านนั่งคุกเข่าจุด พิธีกรพึงนั่งคุกเข่ารับเชิงเทียนชนวน
    - การรับเชิงเทียนชนวนจากผู้ใหญ่นั้น นิยมยื่นมือขวาแบมือเข้าไปรองรับเชิงเทียนชนวนจากท่าน เมื่อรับเชิงเทียนชนวนแล้ว นิยมถอยหลังห่างออกไปเล็กน้อยแล้วเดินกลับไปได้
    ข้อควรสังวรระวัง
    - พิธีกรอย่าจับเชิงเทียนชนวนเหนือมือท่านผู้ใหญ่ที่ท่านจับอยู่ ถือว่าเป็นการแสดงความไม่เคารพท่าน ทั้งเป็นการแสดงว่า ตนเป็นคนไม่รู้ระเบียบอีกด้วย
    - ขณะส่งเชิงเทียนชนวนมอบให้ท่านผู้ใหญ่ อย่าถือกึ่งกลางเชิงเทียนส่งมอบให้ท่าน เพราะจะทำให้ท่าน รับเชิงเทียนไม่สะดวก
    - ต้องเตรียมไม้ขีดไฟ เป็นต้น ติดมือไปด้วย เพื่อเตรียมพร้อมที่จะจุดได้ทันที เมื่อไฟเทียนชนวนดับลง และต้องกำหนดดูทิศทางของลมที่พัดมา โดยเฉพาะ คือ ทิศทางลมที่เกิดจากพัดลม จะทำให้ไฟเทียนชนวนดับ หรือจะทำให้การจุดไฟเครื่องสักการบูชาไม่ติด หรือ จุดไฟติดได้ยาก
    - ถ้าเป็นงานมงคลที่มีพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ เมื่อพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ถึงบทมงคลสูตรว่า
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ระเบียบปฏิบัติศาสนพิธีการทำบุญ(๒)

    การจุดเครื่องสักการบูชาพระรัตนตรัย
    - เมื่อถึงเวลาตามกำหนดการแล้ว และพิธีกรถือเชิงเทียนชนวนเข้ามาเชิญไปจุดเครื่องสักการบูชา พระรัตนตรัย ผู้เป็นประธานพิธี หรือเจ้าภาพงาน นิยมปฏิบัติดังนี้
    - ลุกขึ้นจากที่นั่ง เดินไปที่หน้าโต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัย ถ้าโต๊ะหมู่บูชาตั้งอยู่ที่สูง นิยมยืน ถ้าโต๊ะหมู่บูชา ตั้งอยู่ที่ไม่สูงนัก พอนั่งคุกเข่าจุดถึง ก็นิยมนั่งคุกเข่าลงแล้วรับเชิงเทียนชนวนมาจากพิธีกร แต่ไม่นิยมรับเขิงเทียนชนวนจากพิธีกรมาก่อนที่ยังไม่ถึงหน้าโต๊ะหมู่บูชา
    - นิยมจุดเทียนเล่มขวาของพระพุทธรูปก่อน แล้วจุดเทียนเล่มซ้ายต่อไป ถ้ามีเทียนตั้งอยู่หลายคู่ นิยมจุดเทียน คู่บนก่อน แล้วจึงจุดเทียนคู่ล่าง ๆ ลงมาตามลำดับจนครบทุกคู่ แล้วจึงจุดธูป
    - ถ้ามีสายชนวนเชื่อมโยงจากธูปไปยังเทียนทุกคู่แล้ว ก็นิยมจุดธูปเป็นอันดับแรก ถ้าธูปมิได้จุ่มน้ำมันเตรียมไว้ นิยมถอนธูปมาจุดกับเทียนชนวน ถ้าธูปจุ่มน้ำมันเตรียมไว้แล้ว ก็จุดโดยไม่ต้องถอนธูปมาจุดกับเทียนชนวน
    - เมื่อจุดธูปเสร็จแล้ว ก็ส่งเทียนชนวนคืนให้แก่พิธีกร แล้วปักธูปไว้ตามเดิม วิธีการปักธูปนั้น นิยมปักเรียงหนึ่ง เป็นแถวเดียวกัน โดยเว้นระยะห่างเท่า ๆ กัน ให้ธูปแต่ละดอกสูงต่ำพอ ๆ กัน หรือ
    - นิยมปักธูปเป็นสามเส้าก็ได้ และนิยมปักธูปไว้กึ่งกลางกระถางธูป โดยปักธูปทุกดอกให้ตั้งตรง อันเป็นการ แสดงถึงนิสัยอัธยาศัยของผู้นั้นว่า เป็นคนซื่อตรง เป็นคนมีระเบียบเรียบร้อย ไม่ใช่คนมักง่าย
    คำบูชาพระรัตนตรัย
    - เมื่อปักธูปเสร็จเรียบร้อยแล้ว นิยมตั้งใจบูชาพระรัตนตรัย โดยนั่งคุกเข่าประนมมือกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย (เพียงแต่นึกในใจ) ว่า
    นโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ//
    อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ//
    อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง อะภิปูชะยามิ//
    อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง อะภิปูชะยามิ//
    การกราบพระรัตนตรัย
    - เมื่อกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัยจบแล้ว นิยมกราบพระรัตนตรัยแบบเบญจางคประดิษฐ์ (คือการตั้งหน้าผาก ฝ่ามือทั้งสอง และเข่าทั้งสอง ลงจรดพื้น) ๓ ครั้ง และในขณะที่หมอบกราบแต่ละครั้งนั้น นิยมระลึกถึงพระรัตนตรัย ดังนี้
    กราบครั้งที่ ๑ ระลึกว่า
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    พระบรมสารีริกธาตุ และ พระอรหันตธาตุ
    โดย อั๋น พระรามแปด
    คัดลอกจาก: ภควา ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๖
    ประจำเดือนพฤษภาคม ๒๕๔๗
    โพสท์ในลานธรรมเสวนา หมวดชีวิตกับธรรมะ กระทู้ 12159 โดย: mayrin 01 มิ.ย. 47
    พระบรมสารีริกธาตุ และ พระอรหันตธาตุ
    กับสถานที่ประดิษฐานอันสำคัญในประเทศไทย
    ลังกา อินเดีย แหล่งกำเนิดอารยธรรม อันเจริญรุ่งเรืองแต่เก่าก่อน ทั้งด้านการปกครอง ศาสนา พิธีกรรม มีการเผยแพร่สู่ถิ่นอื่น ๆ โดยเฉพาะเมืองที่ผู้ปกครองหรือผู้นำที่เข้มแข็ง จะมีการสืบ ความรู้แขนงต่าง ๆ ที่รับมาจากลังกา และอินเดีย
    นำมาประยุกต์ใช้การสร้างเมืองให้เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนา มีพระมหาธาตุเจดีย์ตั้งอยู่กลางเมือง ตามคติธรรมราชา ราชาปกครองด้วยธรรมค้ำจุนพระศาสนา เป็นหลักชัยของบ้านเมือง นำศาสนาเป็นสื่อกลางความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของกลุ่มชนเป็นอยู่กระจัดกระจาย เป็นก๊ก เป็นเหล่า
    พระบรมธาตุเจดีย์ พระมหาธาตุเจดีย์ ดำรงความเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาอย่างไม่เปลี่ยนแปลง ตามคตินิยมของชาวพุทธ การได้สักการะปูชนียวัตถุ ปูชนียสถาน ที่สร้างขึ้นมาเพื่อแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธบาทจำลอง พระพุทธรูปเจดีย์ รวมเรียกว่า อุทเทสิกเจดีย์ ย่อมเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง และยิ่งมีเรื่องราวสนับสนุนเป็นตำนาน พุทธประวัติ เกี่ยวเนื่องกับสถานที่นั้น ก็ยิ่งเป็นแรงเพิ่มศรัทธาเป็นเท่าทวีคูณ
    พระธาตุเจดีย์ สร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิธาตุ ทั้งพระบรมสารีริกธาตุ อรหันตธาตุ แม้แต่พระมหากษัตริย์ที่สิ้นพระชนม์แล้ว ก็นำอัฐิธาตุไปบรรจุไว้ โบราณได้แบ่งเจดีย์ออกเป็น ๔ อย่าง
    . ธาตุเจดีย์ หมายถึง เจดีย์ที่บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุต่าง ๆ
    . บริโภคเจดีย์ หมายถึง เจดีย์อันมีความเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้า เช่น สังเวชนียสถานทั้ง ๔ คือ สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ ประทานปฐมเทศนา และสถานที่ดับขันธ์ ปรินิพพาน
    . พระธรรมเจดีย์ หมายถึง พระคัมภีร์ ซึ่งแสดงถึงหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เป็นหนังสือหรือแผ่นจารึก แม้แต่คำจารึกพระธรรมทั้งหลาย บรรจุไว้ ณ สถานที่ใด ที่นั้นก็ถือเป็นพระธรรมเจดีย์ด้วย
    . อุทเทสิกเจดีย์ หมายถึงเจดีย์ที่สร้างขึ้นอุทิศเฉพาะพระพุทธเจ้า เป็นต้นว่า พระพุทธรูป พระพุทธบาท และอาสนะ คือ สิ่งที่สร้างขึ้น แล้วอุทิศถวายพระพุทธเจ้า
    เจดีย์มีมาก่อนพระพุทธกาล ต้นไม้ ภูเขา และป่า ตลอดจนสัตว์บางชนิด ก็ได้รับนับถือยกย่องให้เป็นเจดีย์ได้ อย่างนี้มีอยู่ก่อนแล้ว ครั้นเมื่อพระพุทธองค์ทรงประกาศศาสนาในประเทศอินเดีย พระพุทธองค์ก็ยอมรับเจดีย์อันเป็นที่เคารพนับถือของหมู่ชนมาแต่เดิม
    ดังที่เห็นได้ในพระวินัยปิฎก ว่าด้วยเรื่องพระฉันทะโค่นต้นไม้ใหญ่ อันเป็นเจดีย์ของหมู่บ้านเพื่อสร้างวิหาร จึงเป็นเหตุให้ชาวบ้านติเตียน เมื่อพระพุทธองค์ทราบบัญญัติพระวินัยว่า พระภิกษุสงฆ์ห้ามโค่นต้นไม้ใหญ่ อันเป็นที่นับถือของหมู่บ้าน
    แต่คำว่าเจดีย์ที่เราเข้าใจในปัจจุบันนั่น ไม่ปรากฏว่า พระพุทธองค์ทรงกล่าวไว้ ณ ที่แห่งใดเลย มีแต่ทรงตรัสถึง ธูปารหะบุคคล คือ บุคคลอันควรแก่สถูปเท่านั้น หน้าที่เจดีย์ ๔ อย่างที่กล่าวมาแล้วนั้น น่าจะเป็นของที่เกิดขึ้นในครั้งหลัง
    แต่ต้องไม่นับถ้อยคำ กล่าวสรรเสริญพระพุทธองค์ของพระเจ้าปเสนทิโกศล ซึ่งพระพุทธองค์ทรงตรัสว่า ถ้อยคำว่าพระเจ้าปเสนทิโกศล นั้น เป็นธรรมเจดีย์ ดังมีมาในธรรมเจติยสูตร
    เจดีย์ ทุกท่านจะนึกรู้ทันทีว่า หมายถึงสถาปัตยกรรม อันมิใช่ตัวอาคารที่จะเข้าไปอยู่อาศัยได้ เหมือนดังโบสถ์หรือวิหาร บางทีก็เรียกว่า สถูปเจดีย์ หรือพระปรางค์ก็ได้
    บรรดาเมืองหลวง หรือเมืองที่จัดอยู่ในระดับราชธานี ตามคติโบราณของไทยนับถือพระพุทธศาสนาเป็นสำคัญ เมืองจะต้องมีวัดที่สำคัญ เช่น วัดมหาธาตุ อยู่เป็นหลัก หรือเป็นประธานของเมืองนั้น ๆ
    จึงปรากฏชื่อวัดมหาธาตุอยู่เป็นหลักสำคัญของเมือง ตั้งแต่สมัยสุโขทัย มาจนถึงรัตนโกสินทร์ทั้งยังเป็นที่สถิตประทับอยู่ของพระมหาเถระที่ได้ราชทินนามว่า "สมเด็จพระสังฆราช" ทรงประทับอยู่ที่วัดมหาธาตุ
    วัดมหาธาตุจึงเป็นวัดที่แตกต่างจากวัดทั่ว ๆ ไป โดยจะมีพระเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างถวายตามความเชื่อ เพื่อเป็นประธานของเมือง นอกจากวัดมหาธาตุแล้วยังมีสถานที่อื่น ๆ สร้างพระมหาเจดีย์ใหญ่กันขึ้นทุกยุคทุกสมัย ตามศูนย์กลางความเจริญในแต่ละสถานที่นั้น ๆ
    อาทิ พระบรมธาตุเจดีย์เมืองนครศรีธรรมราช พระธาตุไชยา พระธาตุพนม พระธาตุหริภุญชัย ฯลฯ แต่ละสถานที่ก็มีเรื่องเล่า ตำนานความศักดิ์สิทธิ์ แต่ละจุดศูนย์กลาง เน้นไปที่พระบรมสารีริกธาตุ
    พระธาตุที่บรรจุอยุ่ในองค์พระเจดีย์ตามตำนานต่าง ๆ พื้นฐานจะมาจากที่แห่งเดียวกัน คือ มาจากชมพูทวีป ในประเทศอินเดีย แต่การให้ได้มาประดิษฐานยัง ณ สถานที่แห่งนั้น ๆ มักมีเรื่องของอิทธิปาฏิหาริย์แตกต่างกันออกไปอย่างสลับซับซ้อน เพื่อสนับสนุนเพิ่มความศรัทธาเป็นเท่าทวีคูณ
    พระบรมธาตุตามตำนาน

    พระบรมธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และธาตุของพระอรหันต์ ซึ่งเป็นพระสงฆ์สาวกของพระพุทธองค์ มีลักษณะแตกต่างกับอัฐิหรือกระดูกของปุถุชนคนธรรมดา โดยพระองค์ท่านเป็นผู้ที่สำเร็จและปรินิพพานไปแล้ว
    จึงเป็นสิ่งควร เคารพบูชาอย่างสูงยิ่ง ทั้งยังเป็นอานิสงส์แก่ผู้กราบไหว้ เคารพบูชาให้สำเร็จประโยชน์และสุขสมบูรณ์ ผลานิสงส์ นี้จะปรากฏแต่เฉพาะ ผู้มีความเลื่อมใส กระทำการสักการะ โดยสุจริต เท่านั้น
    พระบรมสารีริกธาตุ
    ประดิษฐานในประเทศไทย

    พระบรมสารีริกธาตุที่ปรากฏในประเทศ ในเมืองไทย มีเรื่องเล่า การได้มาซึ่งพระธาตุมีปาฏิหาริย์แตกต่างกันออกไป แต่พื้นฐานก็มาจากประเทศอินเดีย จะยกตำนานเรื่องเล่าของการได้มาซึ่งพระบรมสารีริกธาตุ อันเป็นตำนานที่เล่าสืบทอดคู่กับพระเจดีย์นั้นสักแห่งหนึ่ง ที่มีประวัติเกี่ยวกับอิทธิปาฏิหาริย์
    เพื่อสนับสนุนให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์และศรัทธา มีมาแต่ครั้งโบราณก็จะได้ยกถึงประวัติพระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช อันเป็นศูนย์กลางศาสนาวัฒนธรรมมาแต่โบราณ
    กล่าวตำนานพระบรมธาตุเจดีย์

    นครศรีธรรมราช
    เริ่มต้นจากประเทศอินเดียก่อน หลังจากที่พระพุทธองค์ได้ดับขันธ์ ปรินิพพานแล้วมีการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุไปประดิษฐาน ณ ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ทั้งบนสวรรค์ โลกมนุษย์ และบาดาล
    มาในสมัยพระเจ้าอชาตศัตรู ทรงได้นิมนต์พระมหากัสสปะ ให้ไปอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุที่ประดิษฐานในที่ต่าง ๆ รวบรวมมาไว้ที่กรุงราชคฤห์ ชมพูทวีป โดยให้ขุดหลุมฝังแล้วทำพิธีกรรมผูกพหุ่นยนต์ หรือหุ่นฝางหญ้า ปลุกเสกด้วยเวทมนต์ให้หุ่นพยนต์นี้อารักษ์รักษาพระบรมสารีริกธาตุนี้ไว้
    ครั้นถึง พ.ศ. ๒๒๔ สมัยพญาอโศกราชแห่งนครอินทรปัตต์ ได้โปรดให้ขุดพระบรมสารีริกธาตุที่สมัยพระเจ้าอชาตศัตรูฝังไว้ ขึ้นมาแจกจ่ายยังนครต่าง ๆ ๘๔,๐๐๐ แห่ง
    กษัตริย์สิงหราช เจ้าเมืองทนธบุรี (ท้าวโกสีหราช หรือ อังกุศราช) ได้รับพระทันตธาตุไปบูชา จึงเป็นเหตุให้กษัตริย์แห่งอื่น ๆ ยกทัพมาหวังจะแย่งชิง พระทันตธาตุ มิได้ขาด จนสุดท้ายเมืองนี้ถูกโจมตีจากกองทัพ ๕ เมือง
    กษัตริย์สิงหราชทรงเห็นว่า ไม่สามารถรักษาพระทันตธาตุองค์นี้ไว้ได้จึงรับสั่งให้พระราชธิดา คือ พระนางเหมชาลา และพระราชโอรสนามว่า เจ้าชายทนธกุมาร ให้อัญเชิญพระทันตธาตุลงเรือไปถวาย พระเจ้ากรุงลังกา
    ระหว่างที่เดินทางเกิดพายุใหญ่ เรืออับปาง ขบวนเสด็จของพระนางและเจ้าชายถูกพัดมาขึ้นฝั่ง จึงได้ฝังพระทันตธาตุไว้ ณ ที่แห่งนั้นระหว่างอยู่ที่หาดทรายแก้ว ได้ถูกท้าวนาคา ลอบมาลักพระทันตธาตุไว้ในนาคพิภพ หรือเมืองพญานาค
    พระมหาเถรพรหมเทพได้ช่วยพระนางชิงคืนกลับมาแล้วได้นำไปถวายถึงมือเจ้ากรุงลังกา แต่พระเจ้าทศคามิมี พระจ้ากรุงลังกาได้ประทานพระทันตธาตุคืนให้พระนางทะนานหนึ่ง ส่วนหนึ่งนำกลับไปฝังไว้ ณ หาดทรายแก้ว แล้วเหลือกลับไปประดิษฐานคืนเมือทนธบุรีดังเดิม
    ถึงยุคพระเจ้าศรีธรรมมาโศกราช อพยพพลเมืองหนีโรคห่าไปถึงหาดทรายแก้ว เทพยดาแสดงปาฏิหาริย์ดลใจให้พระองค์พบสถานที่ซ่อนพระทันตธาตุ โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญขึ้นมา แต่ไม่สำเร็จ ด้วยอิทธิฤทธิ์หุ่นยนต์ที่ถูกผูกขึ้นไว้มารักษาพระธาตุ เป็นฝูงนกการออกมาทำร้าย
    ต่อมาได้เจ้ากากภาษา โอรสเจ้าเมืองโรมพิสัย อาสามาแก้อาถรรพณ์ให้ได้สำเร็จ แล้วสร้างพระเจดีย์ขึ้นบรรจุพระบรมธาตุ ตามตำนานกล่าวว่าพระบรมธาตุเจดีย์องค์นี้สร้างเมื่อ พ.ศ. ๘๕๔ นี่คือเรื่องราวตำนานหนึ่งในหลาย ๆ ตำนานพระธาตุเจดีย์สำคัญของไทย เน้นปาฏิหาริย์ดึงศรัทธาของกลุ่มคน
    พระธาตุในยุคปัจจุบัน

    โลกที่ไม่ว่างจากพระอรหันต์ พุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้ทำการสักการะพระพุทธรูปในสถานที่ใด สถานที่หนึ่ง นอกจากจะมีพระพุทธรูปให้ได้ทำการสักการะแล้วจะมีกระดูกของครูบาอาจารย์ที่ได้ล่วงลับไปแล้ว เรียกว่า พระธาตุ ให้ได้สักการะกัน
    โดยเฉพาะวัดหรือสถานที่ปฏิบัติธรรมในสายพระป่า เช่น วัดป่าสาละวัน จังหวัดนครราชสีมา จะนำอัฐิของครูบาอาจารย์พระป่าสายวิปัสสนาที่สำคัญๆ หลาย ๆ องค์นำมาประดิษฐานให้พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้บูชา เช่น หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่สิงห์ หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่พุธ
    อัฐิ หรือ กระดูก ท่านทั้งหลาย ปรากฏเกิดเป็นแก้วผลึกใส ที่เรียกว่า พระธาตุ น่าอัศจรรย์พระธาตุท่านทั้งหลายเหล่านี้ ครูบาอาจารย์ในชั้นลูกศิษย์ถือได้ว่าเป็นพระธาตุที่มีค่ามาก เพราะเป็นพระธาตุที่เกิดขึ้นกับครูบาอาจารย์ของท่านเอง
    เมื่อท่านได้ละสังขารไปแล้ว หลังจากกระทำพิธีสามหาบ(การเก็บกระดูก หลังจากเผาเรียบร้อยแล้ว) ลูกศิษย์ลูกหาที่เคารพนับถือจะแบ่งไปเพื่อประดิษฐานยังสำนักปฏิบัติธรรมของตน จึงถือว่าเป็นพระธาตุที่เกิดขึ้นจริง มิใช่พระธาตุที่กล่าวขึ้นในตำนาน
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ต่อครับ

    พระธาตุเกิดขึ้นได้อย่างไร

    ครูบาอาจารย์ ท่านกล่าวไว้ว่า เหตุการเกิดพระธาตุเท่าที่พบเกิดขึ้นได้ ๓ เหตุ
    . เกิดจากอานิสงส์ ผลจากการปฏิบัติธรรมอันยิ่งยวด
    . เกิดจากพระผู้มีคุณธรรมอันวิเศษ ทำให้เกิด
    . เกิดจากการอัญเชิญมาจากอากาศ
    . เกิดจากอานิสงส์การปฏิบัติธรรมอันยิ่งยวด เรื่องนี้เป็นเรื่องที่นักปฏิบัติเท่านั้นถึงจะเข้าใจ ผลการเกิดพระธาตุในลักษณะนี้ จะเกิดจากผลการปฏิบัติตามภูมิธรรมยังภูมิของท่านนั้น ๆ มีภูมิธรรมที่บรรลุถึงจุดสูงสุด
    พระธาตุของท่านสัณฐานใสเป็นเพชร เป็นแก้ว อัญมณี ครูบาอาจารย์ที่ท่านเริ่มจากการพิจารณาว่า คนเราเกิดจากการประชุมกันหรือการร่วมกันของธาตุ มีพื้นฐานจากธาตุ ๔ และธาตุ ๖ ธาตุ ๔ หมายถึง ดิน น้ำ ลม ไฟ รวมกันเกิดเป็นร่างกาย ร่วมกับธาตุ ๖ เพียงแต่เพิ่มอีก ๒ ธาตุคือ อากาศธาตุ และวิญญาณธาตุ ทำให้เกิดชีวิต
    อากาศธาตุ เหมือนกันกับเครื่องยนต์กลไก เลือดลม ที่สูบฉีดเลี้ยงร่างกาย ร่วมกับวิญญาณธาตุ หรือธาตุรู้ นี่คือการประชุมกันเพื่อให้เกิดร่างกายขึ้นมา ครูบาอาจารย์ทั้งหลายท่านได้เห็นในส่วนนี้นำมาพิจารณาโดยแยกกันเป็น ๒ ส่วน จิตกับกาย
    จิตมีธาตุรู้วิญญาณธาตุ อาศัยกายที่ประกอบจากธาตุ ๔ เป็นเครื่องพิจารณา จิตได้ความรู้จากกาย โดยท่านอาศัยข้อพิจารณาธรรมจากสติปัฏฐาน ๔ คือ กาย เวทนา จิต ธรรม
    กาย ท่านพิจารณาเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปของร่างกาย ยึดไว้ก็เป็นทุกข์ เป็นอนิจจัง เมื่อพิจารณาท่านก็ปล่อยวางไม่ยึดมั่นถือมั่น
    เวทนา ท่านพิจารณาความสุข ความทุกข์ ความไม่สุข ไม่ทุกข์ (ที่ไม่ใช่อุเบกขา)
    จิต จิตของเราความรู้สึกดีชั่ว
    ธรรม กิเลส กิเลสไม่เกิดขึ้นได้ ส่วนดี ส่วนที่เสีย ก็ดับไป
    เมื่อจิตใจท่านขัดเกลา โลภะ โมหะ โทสะ หรือเรียกว่า ฟัดกับกิเลส จิตใจ สะอาดขึ้น ละเอียดขึ้นจากผิวหนังไปถึงใต้ผิวหนัง ถึงเนื้อจนถึงกระดูก ธาตุขันธ์จะสะอาดเป็นอานิสงส์ ร่างกายได้รับอานิสงส์ เริ่มสู่ความเป็นอริยบุคคล เข้าสู่ชั้นโสดาบัน
    เมื่อภูมิธรรมการปฏิบัติของท่านนั้น ๆ สูงขั้นตามธาตุขันธ์ ร่างกายยิ่งสะอาด ปฏิบัติขัดเกลาลดน้อยลงเหลือแต่สิ่งที่ดี จนถึงขั้นไกลจากกิเลสวรรณะ ความสดใสของกายเหมือนดั่งทองคำ
    เคยมีครั้งหนึ่งเป็นเรื่องที่เล่าว่า หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค จ.อยุธยา ท่านกล่าวว่า หลวงพ่อเนียม วัดน้อย จ.สุพรรณบุรี ท่านจะมีวรรณะ ผิวพรรณที่ผ่องใส ในตามีความสุกสกาวเหมือนท้องฟ้า มีใบหน้ายิ้มแย้ม แสดงถึงความร่มเย็น ที่มาจากผลานิสงส์แห่งการปฏิบัติธรรมอันยิ่งยวด
    เมื่อท่านเหล่านั้นได้ละสังขารไป อัฐิของท่านอัศจรรย์เป็นพระธาตุเหมือนกับอัญมณีสดใส บางองค์อัฐิธาตุของท่านเกิดเป็นพระธาตุขึ้นเลยทันที บางองค์หลังจากนั้นไม่นาน อัฐิธาตุของท่านก็ค่อย ๆ แปรสภาพเป็นพระธาตุไปตามกาลเวลา ส่วนใหญ่ พบเห็นมากในพระวิปัสสนาจารย์สายพระป่า
    บางองค์สังขารของท่านเป็นพระธาตุ ทั้ง ๆ ที่ท่านยังไม่ได้มรณภาพไป อย่างเช่น หลวงปู่เขียว วัดหรงบน จ.นครศรีธรรมราช ท่านถอนฟันและให้ลูกศิษย์เก็บไว้ ต่อมาฟันนี้ได้เกิดเป็นพระธาตุแก้วผลึกใส
    หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่ ท่านเข้ารับการผ่าตัดที่โรงพยาบาล พยาบาลท่านหนึ่งเก็บชิ้นส่วนกระดูกอ่อนที่หลังจากผ่าตัดเอาไว้ ปรากฏว่าชิ้นกระดูกนั้นกลายเป็นผลึกแก้วใส หรือพระธาตุนั่นเอง ยังความศรัทธาอย่างสูงของชาวเชียงใหม่
    หลวงปู่เจี๊ยะ เคยได้รับฟันของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ต่อมาฟันนั้นก็กลายเป็นผลึกแก้วใสเหมือนกัน
    ฉะนั้นแล้ว เหตุที่เกิดจากอานิสงส์ ผลการปฏิบัติธรรมอันยิ่งยวดจนร่างกายเป็นพระธาตุ ส่วนใหญ่จะปรากฏขึ้นในนักปฏิบัติ แต่มิใช่หมายถึงแต่พระสงฆ์เท่านั้น ยังเกิดขึ้นกับปุถุชนคนทั่วไปได้ แต่ต้องเป็นนักปฏิบัติธรรม
    ถึงแม้เกิดเป็นผู้หญิงเองก็อาจได้รับอานิสงส์แบบนี้ เหมือนกับท่านอุบาสิกาบุญเรือน วัดอาวุธฯ บางพลัด ท่านก็สำเร็จภูมิธรรมชั้นสูง มีอัฐิกลายเป็นพระธาตุ ฉะนั้นแล้วการปฏิบัติธรรมตามหลักพระพุทธศาสนาให้เกิดผลสูงสุดจึงไม่มีความเกี่ยวข้องในการแบ่งชนชั้นวรรณะ หรือเพศชายหญิงเลย
    . เกิดจากพระผู้มีคุณธรรมอันวิเศษ ทำให้เกิดพื้นฐานก็มาจากอย่างแรกต้องบรรลุภูมิธรรมชั้นสูง นอกจากสังขารของท่าน บังเกิดเป็นพระธาตุแล้ว ยังให้สิ่งอื่น ๆ เกิดเป็นพระธาตุได้จิตตานุภาพ อย่างเช่น หลวงปู่เขียน วัดหรงบน ท่านฉันภัตตาหารเกิดก้างปลาติดฟัน และท่านได้นำก้างปลาที่ติดฟันออก แล้วให้ลูกศิษย์เก็บก้างปลาไว้
    ซึ่งต่อมาก้างปลาชิ้นนี้กลายเป็นพระธาตุผลึกแก้วใส หลวงปู่ดู่ วัดสะแก จ.อยุธยา ท่านชอบสร้างพระเนื้อผงสีขาว แต่ทำไมพระเครื่องท่านจึงขึ้นพระธาตุได้ พระธาตุที่ขึ้นกับพระเครื่องหลวงปู่ดู่ จะขึ้นเป็นเกล็ดใส ๆ แวววาว คล้าย ๆ ผลึกน้ำแข็ง
    ซึ่งพระของท่านก็เป็นเนื้อผงสีขาว ๆ คล้ายชอล์ก ไม่มีส่วนผสมอื่น ๆ ที่แปลกไปกว่านั้น ที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีได้ แต่พระท่านก็เกิดอัศจรรย์ขึ้นพระธาตุได้
    แต่มีข้อแม้ว่า ผู้ที่เป็นเจ้าของพระของท่านที่ขึ้นพระธาตุส่วนใหญ่จะเป็นนักปฏิบัติธรรม อย่างนี้ก็เป็นเรื่องของจิตตานุภาพเหมือนกัน
    เป็นเรื่องแปลกอีกอย่างหนึ่ง ที่ครูบาอาจารย์ท่านอธิบายไว้ว่า พระผู้มีกายสะอาดขึ้นถึงเป็นพระธาตุ ขี้หรืออุจจาระ ท่านจะหอม หรืออุจจาระท่านจะไม่มีกลิ่นเหม็น น่ารังเกียจเหมือนคนทั่ว ๆ ไป เพราะการบริโภคอาหารของท่าน
    เมื่อสังขารของท่านสะอาด การบริโภคอาหารผ่านร่างกายของท่านที่สะอาด ผ่องใส กากอาหารที่ผ่านร่างกายนั่นจะเป็นกากอาหารที่ไม่มีกลิ่นสกปรก น่ารังเกียจเหมือนปุถุชนคนทั่วไป อย่างเช่น หลวงปู่สี วัดถ้ำเขาบุญนาค จ.นครสวรรค์ ขี้ท่านหอม อาจจะด้วยสังขาร อายุเกิน ๑๐๐ ปี การขบฉันจึงไม่เต็มที่เหมือนคนทั่วไป
    ๓. เกิดจากการอัญเชิญมาจากอากาศ โบราณมีความเชื่อว่าพระธาตุท่านจะเสด็จมาได้ตามอากาศ โดยท่านมาจากพระธาตุในส่วนที่ตกเรี่ยราด ผู้รักษาเกศาไว้ไม่ดี รักษาไม่สะอาด จนเขากล่าวไว้ว่าพระธาตุเมื่อรักษาดี ท่านจะเสด็จมาและเพิ่มได้ ถ้ารักษาไว้ไม่ดี ท่านก็จะค่อย ๆ หายไป
    เรื่องนี้มีข้อพิสูจน์ได้จากหลาย ๆ ท่านได้พิสูจน์มาแล้วว่า พระธาตุเสด็จมาเองโดยผู้ที่ศรัทธา ผู้นั้นเตรียมอัญเชิญพระธาตุ โดยวิธีการเตรียมผอบ ปูด้วยผ้าขาว ดอกไม้หอม ตั้งไว้ในที่สะอาด สวดมนต์ ภาวนาอัญเชิญพระธาตุด้วยบท อิติปิโสเรือนเตี้ย
    ถือศีลภาวนาแล้วพระธาตุจะเสด็จมาเอง แต่ทั้งนี้ผู้นั้นต้องศรัทธาอย่างแน่วแน่และแท้จริง เรื่องนี้ได้มีการพิสูจน์มาแล้ว สมัยหลวงปู่ลี วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ ท่านได้อัญเชิญโดยวิธีนี้
    ปรากฏว่าอัญเชิญอาราธนาสำเร็จ พระธาตุเสด็จมาได้จริง ๆ ท่านจึงได้สร้างพระธาตุเจดีย์ขนาดใหญ่ เพื่อประดิษฐานพระธาตุองค์นี้ ให้ได้สักการะดังที่เห็นในปัจจุบัน
    ชาวพุทธนับถือพระธาตุสูงสุด สร้างเจดีย์ก็จะบรรจุพระธาตุไว้บนยอด นิยมนำของที่มีค่าและวิจิตรอลังการ ถวายเป็นเครื่องบูชา ดั่งที่ดู ได้จากพิพิธภัณฑ์วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช จัดแสดงสิ่งของที่นำมาบูชาพระบรมธาตุ ตั้งแต่ครั้งในอดีต
    อาทิ ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง มงคลวัตถุ และเครื่องรางของขลัง เครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เครื่องประดับอันมีค่า ศิลปวัตถุและโบราณวัตถุ เครื่องเงิน เครื่องทองรูปพรรณ เครื่องถม ตลอดจนสิ่งของที่แปลกผิดธรรมชาติ ล้วนแต่สะท้อนให้เห็นถึงศรัทธาอันยิ่งใหญ่ของบรรพชนได้อย่างดี
    ถึงแม้ในปัจจุบันการบูชาเปลี่ยนแปลงไปตามกาลสมัย แทนที่จะสรรหาหรือจัดทำสิ่งของนำมาถวายมักใช้ถวายด้วยเงินบำรุงแทนดูไม่ยิ่งใหญ่เหมือนในอดีต
    ตามความเชื่อที่ว่า พระธาตุ หมายถึงสิ่งแทนความศักดิ์สิทธิ์อันสูงสุด แม้บรรจุไว้ในเจดีย์ยังต้องไว้ที่บนยอดสุด จึงไม่มีใครนิยมนำติดตัวไว้เหมือนพระเครื่อง เพราะคนเราอาจจะเข้าไปในสถานที่ที่สกปรก ที่ไม่สมควร หรือที่อโคจร จะเกิดกรรมแก่ทั้งตัวเองและผู้อื่น
    เช่น ใส่พระธาตุไปลอดราวผ้า หรือไปลอดในสถานที่ ที่มีผู้อื่นอยู่สูงกว่า เท่ากับว่าเรานำพระธาตุไปลอดใต้สถานที่นั้น ๆ นอกจากเกิดกรรมแก่เราแล้ว บุคคลอื่น ๆ ที่อยู่สูงกว่า พาต้องรับกรรมไปด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้คือเรื่องของความเชื่อใน "พระธาตุ" มาแต่โบราณ
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ต่อครับ

    อนาคตของพระบรมธาตุ

    เมื่อกาลเวลาล่วงเลยไปจนถึง พ.ศ. ๕๐๐๐ พระบรมธาตุทั้งหลายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะเสด็จไปสู่ที่พระเจดียฐาน ณ เกาะลังกา และดำรงคงอยู่ตลอด เพื่อจะทรงสงเคราะห์ชาวสิงหฬ ให้เกิดสวัสดิมงคล ด้วยการกระทำพิธีสักการบูชาพระคุณพระองค์ท่านก่อนพระพุทธศาสนาใกล้จะสูญสิ้นไป
    ครั้นถึง พ.ศ.๔๙๙๙ และล่วงได้ ๑๑ เดือน กับ ๒๒ วัน ซึ่งตรงกับวันพฤหัสบดี เดือน ๖ ขึ้น ๙ ค่ำ เป็นเวลาคิมหันต์ฤดู ปีชวด นักษัตรอัฐศก เวลารุ่งอรุณ พระบรมธาตุทุกพระองค์จะเสด็จไปยังสถานที่ประชุมทันที แล้วทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์
    ด้วยพุทธฤทธิ์อันวิเศษ บังเกิดเป็นพระพุทธนิเวศน์ และพระวรกายสูง ๑๘ ศอก เปล่งรัศมีอก ๖ ประการ มีพระบวรสัณฐานงดงามยิ่งนัก ดวงพระพักตร์ผุดผ่อง ดังสีสุวรรณ พระรูปองค์เสด็จขึ้นประทับบนบัลลังก์ในควงต้นพระศรีมหาโพธิ์
    ทรงพระสมาธิและกระทำยมกปาฏิหาริย์ โปรด สัตว์ คนธรรพ์ เทวดา ฤาษี กินนร นาคราช ทั้งอสูรพร้อมหน้านั่งแน่นเหนือแผ่นดิน พระองค์ตรัสพระธรรมเทศนา โปรดสัตว์อยู่ ๗ วัน มีผู้ฟังในครั้งนั้นถึงสี่อสงไขยสองล้านสามแสนหกสิบเจ็ดพันโกฏิ แล้วพระเพลิงก็พวยพุ่งขึ้นเผาพลาญพระรูปองค์ให้หมดสิ้นไป ในวันพุทธ เดือน ๖ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีชวด นักษัตร อัฐศก พระพุทธศาสนาก็สิ้นสุดลงเพียง ๕๐๐๐ ปีเต็ม...
    พระบรมสารีริกธาตุ

    เมื่อพระพุทธองค์ทรงเสด็จสู่พระปรินิพพานแล้ว มีพระพุทธสรีธาตุเหลืออยู่ ๗ องค์ คือ
    . พระรากขวัญ (ไหปลาร้า) ๒ องค์ คือ
    - พระรากขวัญเบื้องซ้าย ๑ องค์
    - พระรากขวัญเบื้องขวา ๑ องค์
    . พระเขี้ยวแก้ว หรือ พระทันตธาตุ ๔ องค์ คือ
    - พระเขี้ยวแก้วซ้ายบน ๑ องค์ ล่าง ๑ องค์
    - พระเขี้ยวแก้วขวาบน ๑ องค์ ล่าง ๑ องค์
    . พระอุณหิส หรือ พระนลาฏอุณหิส ๑ องค์
    พระพุทธสรีรธาตุ ทั้ง ๗ องค์นี้ คงสภาพเดิมเมื่อพระเพลิงเผาก็ไม่เปลี่ยนแปลง และได้ถูกอัญเชิญเสด็จไปประดิษฐาน เพื่อเป็นที่สักการบูชาของเทพยดา และมนุษย์ในที่ต่าง ๆ กัน คือ
    . พระรากขวัญเบื้องซ้าย ประดิษฐานอยู่ ณ เทวโลก
    . พระรากขวัญเบื้องขวา และ
    . พระอุณหิส ประดิษฐานอยู่ ณ เมืองอนุราชสิงหฬ
    . พระเขี้ยวแก้วซ้ายบน ประดิษฐานอยู่ ณ เมืองคันธารราช
    . พระเขี้ยวแก้วซ้ายล่าง ประดิษฐานอยู่ ณ เมืองนาคพิภพ
    . พระเขี้ยวแก้วขวาบน ประดิษฐานอยู่ ณ ดาวดึงส์เทวโลก
    . พระเขี้ยวแก้วขวาล่าง ประดิษฐานอยู่ ณ เกาะลังกาสิงหฬ
    พระบรมสารีริกธาตุ
    เมื่ออัฐิน้อยใหญ่ ทั้งหลายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เว้นพระสรีรธาตุทั้ง ๗ องค์ ถูกพระเพลิงเผาไหม้ได้แหลกละเอียดลงเหลือเป็น พระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งตักตวงได้ ๑๖ ทะนาน มี ๓ ขนาด คือ
    . ขนาดเล็ก เท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด มีจำนวน ๖ ทะนาน มีวรรณะดังสีดอกพิกุล
    . ขนาดกลาง เท่าเมล็ดข้าวสารหัก มีจำนวน ๕ ทะนาน มีวรรณะดังสีแก้วผลึก
    . ขนาดใหญ่ เท่าเมล็ดถั่วหัก มีจำนวน ๕ ทะนาน มีวรรณะดังสีทองอุไร
    พระบรมสารีริกธาตุทั้ง ๑๖ ทะนานนี้ ประดิษฐานอยู่บนพื้นพิภพที่มีอยู่มาก ๘ แห่งคือ
    . เมืองราชคฤห์
    . เมืองเวสาลี
    . เมืองกบิลพัสดุ์
    . เมืองอัลปัปปะบุรี
    . บ้านพรหมณนิคม
    . เมืองเทวทหะราฐ
    . เมืองปาวาขะบุรี
    . เมืองนครกุสินารา
    นอกจากพระพุทธสรีรธาตุ และพระบรมสารีริกธาตุที่กล่าวแล้ว ยังมีพระเกศา โลมา นขา ทันตา ทั้งหลายของพระองค์ท่านเรี่ยรายประดิษฐานอยู่ทุกทิศทั่วทั้งจักรวาล
    กำเนิดพระธาตุ

    เมื่อได้ทราบถึงประวัติตั้งแต่ต้นของพระบรมสารีริกธาตุขององค์พระสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้ากันแล้ว ต่อไปน่าจะกล่าวถึงพระอรหันตธาตุ หรือพระธาตุพระสาวกของพระพุทธองค์ เมื่อถึงซึ่งพระปรินิพพานไปแล้วมีอยู่ ๘๐ องค์
    เรียกว่า พระอสีติมหาสาวก ตามตำนาน พระอัฐิธาตุหรือพระธาตุอรหันต์มีเหลืออยู่ และประดิษฐานในที่ต่างกัน เพื่อให้เป็นที่เคารพสักการบูชาแก่เทพยดาและมนุษย์ ตามความเชื่อพระธาตุของพระอรหันต์แต่ละองค์จะมีสัณฐานและวรรณแตกต่างกัน
    พระธาตุพระสารีบุตร สัณฐาน กลม รี เป็นไข่จิ้งจก เป็นดังรูปบาตรคว่ำ
    วรรณะ ขาวดังสีสังข์ เหลืองดังหวายตะค้า สีดอกพิกุลแห้ง
    พระธาตุพระโมคคัลลานะ สัณฐาน กลม รี เป็นผลมะตูม รีเป็นเมล็ดทองหลาง รีเป็นเมล็ดข้าวสาร
    วรรณะ ดำ ขาว เหลือง ดังหวายตะค้า
    พระธาตุพระสีวลี สัณฐาน เป็นดังเมล็ดในพุทรา เป็นดังผลยอป่า เป็นดังเมล็ดมะละกอ
    วรรณะ เขียวดังดอกผักตบ แดงดังสีหม้อใหม่ เหลืองดังหวายตะค้า ขาวดังสีสังข์ สีดอกพิกุลแห้ง
    พระธาตุพระองคุลิมาละ สัณฐาน คอดดังคอสากที่มีรูปโปร่ง ตลอดเส้นผลลอดได้ก็มี
    วรรณะ ขาวดังสีสังข์ เหลืองดังดอกจำปา สีฟ้าหมอก
    พระธาตุพระอัญญาโกณฑัญญะ สัณฐาน งอนช้อยดังงาช้าง
    วรรณะ ขาวดังดอกมะลิตูม เหลือง ดำ
    ที่กล่าวมาทั้ง ๕ องค์ใน ๘๐ องค์ ตำนานได้กล่าวแยกแยะจากสัณฐานและวรรณะขององค์พระธาตุโดยแตกต่างจากพระบรมสารีริกธาตุพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีสัณฐานคล้ายเมล็ดข้าวสารหัก วรรณะดังสีแก้วผลึก แตกต่างจากพระอรหันตธาตุ ทั้งนี้เป็นเรื่องที่ตำนานได้กล่าวไว้
    ท่านทั้งหลายที่เคยไปสักการะสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ตามวัดวาอารามต่าง ๆ หลายแห่ง จะกล่าวถึงสถานที่นี้ ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุให้ท่านได้สักการบูชา ถ้าถามว่ารู้ได้อย่างไรว่า พระบรมสารีริกธาตุนั้น เป็นพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    อาศัยโบราณจารย์ท่านอุปมาตามสัณฐานและวรรณะที่ตำนานได้กล่าวไว้ ถ้าต้องตามลักษณะสัณฐานและวรรณะ จึงยึดถือพระบรมสารีริกธาตุตามความเชื่อนั้น
    ----------------------------------------------------------------------------------
    อั๋น พระรามแปด
    หนังสืออ้างอิง
    คงเดช ประพัฒน์ทอง,โบราณคดีประวัติศาสตร์ กรุงเทพฯ
    : กรมศิลปากร ๒๕๒๙ สำนักพิมพ์สารคดี, นครศรีธรรมราช กรุงเทพฯ :๒๕๓๗
    พล.อ.จ.สดับ ธีระบุตร, พระบรมธาตุพระธาตุอรหันตสาวก. กรุงเทพฯ:๒๕๐๑
    --------------------------------------
    คัดลอกจาก: ภควา ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๖
    ประจำเดือนพฤษภาคม ๒๕๔๗
    [​IMG]
    <!--BEGIN WEB STAT CODE----><SCRIPT language=javascript1.1> page="พระบรมสารีริกธาตุ และ พระอรหันตธาตุ";</SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.1 src="http://hits.truehits.in.th/data/i0017685.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://tracker.truehits.in.th/func/th_donate_1.4.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://tracker.truehits.in.th/func/th_common_1.4.js"></SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.2>sv=1.2;ss=screen.width+'*'+screen.height;sc=(bn=='MSIE')?screen.colorDepth:screen.pixelDepth;if(sc==udf){sc='na';}</SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.3>sv=1.3; </SCRIPT>
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948

    โพสท์ในกระทู้ลานธรรม มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิโดย พี่เณร...นำมาฝาก [7 ก.พ. 2548]
    การตั้งนโม เป็นกิจกรรมเบื้องต้นของผู้นับถือพระพุทธศาสนา ผู้จะบำเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ต้องเปล่งวาจาว่า นโม ก่อน แล้วจึงจะทำกิจนั้นๆ ฝ่ายภิกษุสงฆ์ เมื่อจะทำกิจสังฆกรรมต่างๆ เช่น บรรพชาอุปสมบท หรือเริ่มการสักการบูชา ก็กล่าวคำนมัสการว่า
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ผมเองในบางครั้ง(คงไม่บ้างครั้งละมั้งครับ) ก็นำเรื่องราวที่ผมเห็นว่าน่าสนใจนำมาลงให้อ่านกัน นอกเหนือจากเรื่องพระวังหน้า และการร่วมบุญกัน อย่าพึงว่าหรือตำหนิติติงกันนะครับ ผมมีความประสงค์ที่จะเผยแพร่ความรู้ต่างๆให้ทุกๆท่าน หรือว่าถ้าทุกๆท่านมีเรื่องราวดีๆ จะนำมาลงผมเองก็ยินดีครับ ช่วยๆกันเผยแพร่สิ่งที่ดีที่งามกันต่อๆไปครับ

    ขอบคุณและโมทนาสาธุครับ
     
  19. littlelucky

    littlelucky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +1,938
    :cool:
    ให้กำลังใจพี่ Sithiphong ครับ เพราะพี่ก็เป็นผู้มีความรู้ และเมื่อพบบทความดี ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อ สังคมและบ้านเมือง นำเผยแพร่ พอคนก็เข้ามาหาความรู้ และเรื่องราวมงคลต่าง ๆ เดี๋ยวยอดเงินบริจาค ก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เองแหละครับ คนไทยไม่ใช่คนใจดำนะครับ เดี๋ยวเขาก็เมตตาและ ช่วยบริจาคในโครงการทำบุญต่าง ๆ เองแหละครับ และก็ไม่จำเป็นว่า จะต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพระเครื่อง หรือวัตถุมงคลด้วย ครับ เรื่องอะไรก็ได้ ที่คนอ่านแล้วรู้สึกว่าดี มีคุณค่าเป็นประโยชน์ต่อเขา
     
  20. chai wong

    chai wong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    297
    ค่าพลัง:
    +1,366
    ขอขอบพระคุณครับ

    ที่นำสิ่งดีๆมาให้ได้ชมกัน บางเรื่องก็ใช่ว่าจะหาอ่านกันได้ง่ายๆ
    หลายเรื่องก็จุดประกายให้ได้พบกับสิ่งที่ดียิ่งขึ้นไป
    ขอเป็นกำลังใจให้คุณสิทธิพงศ์ และอยากบอกว่า
    คุณสิทธิพงศ์ คุณยอดมาก(verygood) (verygood) (verygood) (verygood) (verygood) (verygood)
     

แชร์หน้านี้

Loading...