การสัมผัสพุทธคุณ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย กตเวที, 2 มกราคม 2011.

  1. กตเวที

    กตเวที สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2010
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +20
    มีคำถามสั้นๆ 2 ข้อเกี่ยวกับการสัมผัสพุทธคุณค่ะ
    (1) อะไรเป็นเหตุปัจจัยให้มนุษย์สัมผัสพุทธคุณได้
    (2) ความสามารถในการสัมผัสพุทธคุณเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติธรรมอย่างไรคะ

     
  2. ลุงเจ

    ลุงเจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    463
    ค่าพลัง:
    +599
    การปฎิบัติธรรม จะเข้าถึงการสัมผัสพุทธคุณได้......ครับ
     
  3. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    พุทโธอัปปมาโน คุณของพระพุทธเจ้าหาประมาณมิได้

    คำถามเป็นคำถามที่ดีครับ....ความจริงก็เป็นสิ่งที่พูดได้ยากนะ....สำหรับผม...ก็เอาตามครูบาอาจารย์เคยพูด การเกิดเป็นคนนั้นเกิดได้ยาก และหากได้เกิดเป็นคนแล้วได้พบพระพุทธศาสนายากยิ่งกว่า และที่ยากที่สุดคือการเกิดเป็นคน เกิดมาพบพระพุทธศาสนาและได้มีความศรัทธาและได้ปฏิบัติในพระธรรมนั้น...เป็นสิ่งที่ยากที่สุด...

    เห็นด้วยกับคำตอบของคุณ <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->ลุงเจ<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4217054", true); </SCRIPT> นะครับ การปฏิบัติธรรมนั้นเมื่อเราปฏิบัติได้จากจุดเริ่มต้นและพัฒนาขึ้นมากเท่าไร....เราก็ยิ่งจะรับรู้ได้ถึงพระคุณของพระพุทธเจ้ามากขึ้นเท่านั้น....นานไปนานไปยิ่งทับถมแน่นขึ้นไปเรื่อยๆในจิตใจ....จนหมดแล้วซึ่งความสงสัยในพระพุทธเจ้า....ทั้งพระปัญญาธิคุณ พระกรุณาธิคุณ พระปริสุทธิคุณ ที่มีอยู่ในพระองค์นั้นมันหาที่สุดมิได้ตามที่บาลีบอกไว้จริงๆ......

    ศรัทธาที่เกิดจากปัญญาไม่ได้เกิดจากการเชื่อโดยไม่มีเหตุผล..ไม่ใช่เกิดจากการที่นับถือและบอกต่อๆกันมาว่าดี....เป็นศรัทธาที่แท้และมั่นคง...และตอบคำถามในจิตใจของตนเองได้อย่างไม่มีข้อกังขาเลย.......

    เส้นทางแห่งการดำรงค์ชีวิตที่มีพระธรรมนำทางและคอยประคอง....ผู้ที่ไม่เคยได้สัมผัสนั้นย่อมไม่รู้ได้เลย....แต่เมื่อได้สัมผัสแล้วคุณจะรู้ได้ถึงคำตอบในหัวใจ....และความสุขที่หาไม่ได้..เป็นความสุขที่ไม่ได้เกิดจากอามิสสิ่งที่อยู่ภายนอกเพื่อให้สมใจตนเองแล้วถึงเป็นความสุข....เป็นความสุขที่เป็นความสุขที่เหนือความสุขใดๆในโลก...เป็นความสุขที่เป็นทิพย์แห่งสุข...

    ผมเคยส่งชาวต่างชาติเข้าปฏิบัติธรรม....เขาไม่มีความรู้อะไรเลยเกี่ยวกับสิ่งนี้....แต่เมื่อเขาออกมาจากวัดวันสุดท้าย...คำแรกที่เขาบอกผมคือเสียดายที่ไม่ได้อยู่ต่อ..เพราะภาระหน้าที่ที่ต้องทำต่อ...แต่สิ่งหนึ่งที่เขาจะไม่ลืมเลยคือสิ่งที่ได้ไปจากที่เขาปฏิบัติ.....และเขาจะกลับมาเมื่อมีโอกาศ......เป็นสิ่งที่บอกชัดได้ในพุทธคุณ...แม้แต่คนที่ไม่รู้อะไรมากเท่าไรเกิดอยู่ในที่ห่างใกลแต่ดั้นด้นมาเพื่อหาตัวเอง...ด้วยวิธีที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบอกไว้....ผู้ที่เคยเข้ามาเดินในเส้นทางนี้แล้ว....ส่วนใหญ่มีเข้าแล้ว....ไม่มีออก.....

    การที่จะสัมผัสพุทธคุณได้อย่างเป็นจริงนั้น....ต้องออกมาจากจิตใจแท้...จากปัญญา....จากผลของการพิสูจน์และผลของการปฏิบัติ.....และมันจะฟ้องขึ้นมาเองในจิตใจของคุณเอง........
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มกราคม 2011
  4. kungfuloma

    kungfuloma เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2009
    โพสต์:
    234
    ค่าพลัง:
    +1,011

    ชอบที่คุณ Phanudet ว่ามากเลยครับ
    ขออนุโมทนากับผู้ถามและผู้ตอบด้วย
     
  5. คิดดีจัง

    คิดดีจัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2010
    โพสต์:
    1,626
    ค่าพลัง:
    +5,353
    คำตอบของ <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->Phanudet ดีมากเลยครับ

    หลวงตามหาบัวเคยพูดว่า ผู้ปฏิบัติพึงรู้ผลแห่งการปฏิบัติของตน

    คำนี้ถูกต้องที่สุดเลยครับ ผมเองก็ปฏิบัติมาได้สักใหญ่ครับ

    รู้ถึงผลที่ได้ตอนนี้ กับตอนเริ่มปฏิบัติต่างกันมากเลยครับ ต้องบอกว่ามากๆๆๆ

    พุทธคุณ ที่สัมผัสได้คือความปิติสุขที่เกิดขึ้น และสิ่งดีๆที่เกิดขึ้น

    หลายอย่างกับเราทั้งที่ไม่เคยเกิดมาก่อน ของแบบนี้ต้องปฏิบัติครับ

    แล้วคุณจะรู้เอง

    จงเชื่อในพระพุทธเจ้า
     
  6. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    การที่เราปฎิบัติกรรมฐานทำให้เรารับรู้ถึงธรรมอันวิเศษที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสสั่งสอนมนุษย์โลก เราจะเข้าใจในคำที่ว่าบุคคลใดเห็นธรรมบุคคลนั้นเห็นเราตถาคต เป็นเช่นนั้นจริงๆ พระองค์ท่านสอนให้เราเฝ้าดูจิต ว่าจิตทำงานอย่างไรคิดอย่างไรและเป็นอย่างไร จิตเดิมที่ไม่มีอาสวะเป็นอย่างไร จิตที่มีอาสวะห่อหุ้มเป็นอย่างไร ที่เจ้าของกระทู้ได้ถามนั้น การที่จะสัมผัสได้นั้นต้องปฎิบัติเท่านั้น ยังให้เกิดประโยชน์ด้วยการระงับนิวรณ์จนเป็นสมาธิรับรู้ถึงจิต นำจิตให้พิจารณาเป็นไปเพื่อปัญญารู้แจ้งเห็นจริงถึงสรรพสิ่งที่ได้เกิดขึ้นแล้ว ยังความเบื่อหน่าย คลายตัณหา ลดมานะ ลดทิฐิ วางความเป็นตัว เป็นตน ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  7. ขวัญดาว

    ขวัญดาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    109
    ค่าพลัง:
    +577
    มีคำถามสั้นๆ 2 ข้อเกี่ยวกับการสัมผัสพุทธคุณค่ะ
    (1) อะไรเป็นเหตุปัจจัยให้มนุษย์สัมผัสพุทธคุณได้
    การปฏิบัติธรรม (กินน้อย นอนน้อย กำหนดสติมากๆ ปิดวาจา ซักเจ็ดวันเจ็ดคืนค่ะ)
    (2) ความสามารถในการสัมผัสพุทธคุณเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติธรรมอย่างไรคะ
    เกิดกำลังใจในการละกิเลส เพื่อไปนิพพาน ไม่ท้อถอยง่ายๆ
    ไม่ล้มเลิกการคัน
     
  8. guaregod

    guaregod เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    962
    ค่าพลัง:
    +1,009
    การรักษาศีล 5 ก็ สัมผัสพุทธคุณอยู่แล้วครับ เมื่อเราไม่กินเหล้า เราก็ไม่เมา ไม่มีเรื่องชกต่อย เพราะยังมีสติ มีเรามีสติเราก็มีปัญญา ก็ไม่ได้ไปผิดลูกผิดเมียใคร ก็ไม่โดยยิงตาย นี่คือตัวอย่าง
    ตอบ
    ข้อ 1. เมื่อไม่ทำสิ่งไม่ดี หรือสิ่งที่น่าจะนำไปสู่สิ่งไม่ดี ก็จะไม่มีสิ่งไม่ดีอะไรมากล่ำกราย
    ข้อ 2. เมื่อทำแต่สิ่งดีๆ เราก็จะได้รับสิ่งดีๆ กลับมา
     
  9. a-pin-ya

    a-pin-ya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    314
    ค่าพลัง:
    +672
    เวลา ไปยัง สถานที่ ศักดิสิทธิ์ เช่น ตามโบสถ์
    ตามวัดที่มีหลวงพ่อที่ปฏิบัติสำเร็จ เช่น หลวงพ่อสายทอง
    หรือแม้แต่ ห้องพระที่บ้าน ที่หมั่นสวดมนต์เปนประจำ
    ก็จะสัมผัสได้ เป็นพลังอ่อนหยุ่น ปลอดโปร่ง บริสุทธิ์ รู้สึกดีมาก
    สิ่งที่ คนโบราณบอกว่า ศิริมงคล ก็น่าจะหมายถึงพลังงานพุทธคุณ

    ซึ่งจะต่างจากพลังที่แผ่ออกมาจาก วัดแขก ซึ่งเป็นพลังเทพ แนวอิทธิฤทธิ์ จะรู้สึกกดดัน
    โดยเฉพาะตามซุ้ม ในงาน สัปดาห์วิทยาศาสตร์พลังจิต
    พลังงาน แนวอิทธิฤทธิ์ หรืออะไรก็ไม่รู้ เยอะมาก จนอึดอัด เช่น ซุ้มมนุษย์ต่างดาว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มกราคม 2011
  10. ชุนชิว

    ชุนชิว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    722
    ค่าพลัง:
    +780
    1.ส่วนมากจะเป็นศรัทธาครับ แต่ปัญญา กับวิริยะก็มีอยู่บ้างแต่น้อยกว่า ถ้าไม่มีศรัทธาก็คงไม่บูชา ถ้าไม่บูชาก็ยากที่จะสัมผัสพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณได้
    2.อย่างน้อยก็ทำให้ตัดสงสัยได้มั้งว่า พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ มีอยู่จริง สำหรับบางท่านนะครับ ทำให้มีศรัทธามากยิ่งขึ้นและก็ปฏิบัติธรรมมากยิ่งขึ้นไปอีกได้ แต่สำหรับบางท่านก็ยังสงสัยต่อไปอีกจนได้
     
  11. Kenny17

    Kenny17 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2011
    โพสต์:
    2,979
    ค่าพลัง:
    +10,866
    พุทธานุสติ

    "พุทธานุสติ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า มีคุณความดีอย่างไร ที่น่า ประทับใจ ให้เรานึกดู <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ข้อแรกก็คือ พระองค์ไม่ติดในยศฐาบรรดาศักดิ์ และสิ่งสะดวกสบาย เหมือนที่คนทั้งหลายแสวงหากัน แต่ กลับเห็นความสำคัญของจิตใจ ยอมสละความสุขทางวัตถุ มาปฏิบัติธรรมเพื่อหาความสุขทางใจแทน จนได้ตรัสรู้และหลังจากที่ได้ตรัสรู้แล้ว ก็ทรงใช้เวลาตลอดพระชนม์ชีพในการทำประโยชน์ โดยไม่มีวันหยุด ไม่มีเงินเดือน และไม่มีโบนัสสวัสดิการใดๆทั้งสิ้น การทำงาน บางครั้งก็เสี่ยง ต่อภัยตราย เช่น ในคราวไปโปรดโจรองคุลิมาล เป็นต้น ประกันชีวิตก็ไม่มี แถมไปไหน ก็ไม่มีรถมาคอยรับส่งอีกต่างหาก แต่พระองค์ก็ทรงทำหน้าที่ โดยไม่ บกพร่อง ทำเกือบตลอด 24 ชั่วโมง เรียกว่า เป็นนักทำงานชั้นยอดก็ว่าได้ พระองค์จะทรงตื่น แต่เช้ามืดเมื่อ ตื่นขึ้นมาแล้ว ก็จะทรงเข้าสมาบัติ ตรวจดูสัตว์โลก ว่าใครจะมีวาสนาบารมี ควรแก่การ ที่จะเสด็จไปโปรด พอตอนเช้า ก็เสด็จออกไปบิณฑบาต โปรดสัตว์โลก ผู้ต้องการทำบุญ พอตกเย็น ก็ทรงแสดงธรรม แก่ประชาชนย่ำค่ำ ทรงให้โอวาทแก่ภิกษุสงฆ์ เที่ยงคืน ต้องตอบคำถาม ให้แก่เทวดา ที่มาถามปัญหากว่าจะเสร็จ ก็คงไม่ ต่ำกว่าตี ๒ หลังจากนั้น ก็ทรงบรรทม พอตี ๔ - ตี ๕ ทรงตื่น เข้าสมาบัติ ตรวจดูสัตว์โลกอีกแล้ว <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ดูเอาเถอะ พระองค์ทำงาน แทบไม่มีเวลาพักทีเดียว ทำอย่างนี้ ตลอด ๔๕ ปี ที่ทรงพระชนม์อยู่…. ใครจะ ทำได้ อย่างพระองค์ ด้วยคุณความดีดังกล่าวนี่แหละ เราชาวพุทธ จึงได้กราบพระองค์ อย่างสนิทใจ แม้พระองค์ จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ไปถึงสองพันกว่าปีแล้วก็ตามและนี่ก็คือ คุณงามความดีของพระพุทธเจ้า ที่เราควรจะระลึกถึง เพื่อยังจิตใจเราให้สงบ และเกิดกำลังใจ"

    ขออภัยแก่ท่านผู้ที่นำข้อความข้างบนมาเผยแพร่ด้วย ผมจำที่มาไม่ได้เนื่องจากเก็บเอาไว้นานแล้ว ผมคิดว่าที่ท่านทั้งหลายกล่าวมาทั้งหมดนั้น พุทธานุสติน่าจะเป็นคำตอบให้กับท่านได้ สำหรับผมเองเมื่อก่อนไม่เคยสวดมนต์เลย แต่ตั้งแต่ปีที่แล้วเริ่มมีความรู้สึกว่าอะไรก็ไม่เที่ยง บางครั้งก็มี่ความรู้สึกว่าเราไม่รู้จะตายเมื่อไหร่ ก็เลยเริ่มสวดมนต์และพยายามทำบุญให้มากขึ้น แรกๆที่เริ่มก็สวดไปโดยไม่คิดอะไร จนกระทั่งวันหนึ่งได้อ่านบทความของ พระพจนารถ ปภาโส วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
    แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
    เรื่องจากพระไตรปิฎก : ตำนาน นโม ก็จะขอนำมาให้ท่านทั้งหลายได้พิจารณากัน


    "ปัญหาสังคมไทยที่ปรากฏในปัจจุบันเป็นสัญญาณแสดงถึงความเสื่อมทางวัฒนธรรมประเพณี บ่งชี้ว่าคนไทยกำลังห่างไกลจากพุทธธรรม การฟื้นฟูสังคมไทยให้กลับมามีสันติสุขและเสรีภาพเหมือนครั้งอดีต ย่อมอาศัยความร่วมมือจากพุทธศาสนิกชนไทยทุกคน

    พุทธศาสนิกชนไทยล้วนคุ้นเคยและชินต่อเสียงสาธยายพระพุทธมนต์ในพุทธศาสนพิธีมาแต่ยังเยาว์ ทราบดีว่าเมื่อพระเริ่มสวดเจริญพระพุทธมนต์ ตนเพียงสงบจิตสำรวมใจ ประนมมือ สดับเสียงสวดมนต์ ไปจนจบพิธี เพียงนี้ก็เป็นบุญ เป็นกิริยาแห่งกัลยาณชนแล้ว การที่บรรพชนสั่งสอนอบรมบุตรหลานปฏิบัติเช่นนี้ จนกลายเป็นวัฒนธรรมไทย ด้วยปรารถนาให้ บุตรหลานได้รู้จักเคารพนอบน้อมต่อพระสัทธรรมที่พระสงฆ์ได้นำมาสาธยาย และบำเพ็ญตนให้มีไตรสิกขาชั่วขณะหนึ่งคือ ทำตนให้เป็นผู้มีศีล ด้วยละเว้นจาก การเบียดเบียนผู้อื่นด้วยกายวาจา ทำอารมณ์ของตน ให้เป็นสมาธิ ด้วยตั้งใจสดับพระสัทธรรม ไม่วอกแวก สอดส่ายคิดไปในเรื่องอื่นๆ สร้างปัญญาให้เกิดขึ้นแก่ ตน ด้วยการพิจารณาถ้อยความแห่งพระสัทธรรมที่ตนได้ยินนั้น ให้เข้าใจพอนำมาเป็นแนวทางปฏิบัติดำเนินชีวิตให้เกิดสุขประโยชน์ต่อไป

    น่าเศร้าใจที่ปัจจุบันเมื่อพระเจริญพระพุทธมนต์ พุทธศาสนิกชนที่อยู่ในมณฑลพิธีบางคนขาดความเคารพนอบน้อมต่อพระสัทธรรมที่พระสงฆ์ได้นำมาสาธยาย คุยกันแข่งกับเสียงพระ สร้างความรำคาญใจ แก่กัลยาณชนที่อยู่ข้างเคียง เพียงนี้ก็บอกได้ว่าบุคคล นั้นเป็นผู้ห่างไกลจากคำสั่งสอนของบรรพชน เป็นผู้ที่จะทำลายวัฒนธรรมไทยให้สูญหายไปอย่างไม่รู้ตัว (มีข้อความต่ออีกแต่จะขอตัดไปในส่วนที่สำคัญ)


    เมื่อตั้งนโมฯ ต้องทำให้เกิดความเลื่อมใสในพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ พระมหากรุณาคุณ ตามพระนามของพระพุทธเจ้า คือ เมื่อกล่าวถึงบท ‘ภควา’ ก็น้อมใจไปนึกถึงว่าพระพุทธเจ้ามีพระคุณ ๓ ประการคือ พระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ พระมหากรุณาคุณ พอถึงบท ‘อรหํ’ ก็นึกว่าพระพุทธเจ้ามีพระบริสุทธิคุณ พอถึงบท ‘สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส’ ก็นึกน้อมไปเลื่อมใสในพระปัญญาคุณของพระพุทธเจ้า

    เมื่อเปล่งนโมฯ ด้วยการทำให้ระลึกถึงพระคุณของ พระพุทธเจ้าตามพระนามที่ยกขึ้นมากล่าวนั้น ความเลื่อมใส ความเคารพ ก็จะไปขับไล่กิเลสที่กลุ้มรุมจิตใจออกไปหมด ทำให้เกิดศรัทธา ทำให้จิตใจบริสุทธิ์ เมื่อทำอย่างนี้ทุกคราวที่ตั้งนโมฯ ก็จะเกิดเป็นบุญเป็นกุศล ในตอนที่ตั้งนั้น แล้วจะชักจูงให้กระทำความดีตามพระคุณของพระพุทธเจ้า

    ถ้าหากว่าการตั้งนโมฯ ทำให้เกิดความเคารพเลื่อมใสอย่างนี้ บุญกุศลก็ย่อมเกิดขึ้นทุกๆ ครั้ง เพราะว่าศรัทธาในพระคุณของพระพุทธเจ้าเป็นไปแรงยิ่ง ก็อาจทำให้โสดาปัตติมรรคเกิดขึ้นมาดับสักกายทิฏฐิวิจิกิจฉา สีลพตปรามาสได้ โสดาปัตติมรรคก็คือญาณที่ทำให้เกิดศรัทธาที่มั่นคงในพระรัตนตรัย

    แต่ว่าการตั้งนโมฯ ครั้งแรกยากที่จะทำให้พระคุณของพระพุทธเจ้านี้มาปรากฏได้ จะต้องพยายามศึกษา ความหมายพระนามของพระพุทธเจ้าให้เข้าใจ พอนึกถึงพระนามครั้งใด ใจก็แล่นถึงพระคุณได้ทุกคราว เมื่อทำได้อย่างนี้ ประโยชน์ก็จะเกิดขึ้นทุกๆ ครั้ง ไม่ควรกล่าวนโมฯ อย่างเพ้อหรืออย่างประเพณีนิยม ต้องกล่าว นโมฯ ด้วยศรัทธา เคารพเลื่อมใส กล่าวนโมฯ ให้กุศล บังเกิดขึ้นมาทุกๆ ครั้ง กุศลที่บังเกิดขึ้นจะชำระจิตใจให้สะอาด ทำให้เกิดหิริโอตตัปปะ ทำให้เกลียดบาปกลัวบาป ทำให้เป็นตัวของตัวเอง และช่วยให้ดำรงอยู่มั่นในปฏิปทาของพระพุทธศาสนา เป็นคนดีตามแบบของพระพุทธเจ้าได้โดยตลอดกาล

    การเปล่งคำว่า นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทฺธสฺส จนทำให้เกิดความเคารพเลื่อมใสในพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ พระมหากรุณาคุณ ตามพระนามของพระพุทธเจ้าได้ จำเป็นต้องศึกษาความหมายพระนามของพระพุทธเจ้าให้เข้าใจ และน้อมนำมาระลึกอยู่เสมอ ตามนัยที่พรรณนาไว้ใน คัมภีร์วิสุทธิมรรค ภาค ๑ ตอน ๒ ฉอ นุสสตินิเทศ ว่า สติ (เจตสิก) นั่นเองชื่อว่าอนุสติ เพราะเกิดขึ้นบ่อยๆ อนึ่ง สติ ชื่อว่าอนุสติ เหตุเป็นความระลึกอันนับว่าสมควรแก่กุลบุตร ผู้บวชด้วยศรัทธา เพราะให้เป็นไปในฐานะอันควรให้เป็นไปเท่านั้น ดังนี้ก็ได้อนุสติอันปรารภพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นชื่อ พุทธานุสสติ คำว่า พุทธานุสสติ นั่นเป็นคำเรียกสติ (เจตสิก) อันมีพระพุทธคุณเป็นอารมณ์

    วิธีเจริญพุทธานุสสติ ผู้กอปรด้วยความเลื่อมใสมั่นใคร่จะเจริญพุทธานุสสติเป็นอันดับแรก พึงเป็นผู้ไปในที่ลับ (คน) เร้นอยู่ในเสนาสนะอันสมควรแล้ว ระลึกถึงพระคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้า อย่างนี้ว่า อิติปิ โส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ วิชฺชาจรณ สมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺ สานํ พุทฺโธ ภควา (ต่อไป) นี้เป็นนัยในการระลึกในพระพุทธคุณเหล่านั้น (คือ) ระลึก (ประกอบ อิติปิ ไว้ทุกบท) ว่า โส ภควา อิติปิอรหํ (แม้เพราะเหตุนี้พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นพระอรหันต์)ฯ เปฯ โส ภควา อิติปิ ภควา (แม้เพราะเหตุนี้พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นพระภควา (ผู้จำแนกพระธรรม) (คำ อิติปินั้น) มีอธิบายว่า “เพราะเหตุนี้ๆ”

    เมื่อผู้นั้นระลึกถึงพระพุทธคุณว่า “เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นพระอรหํ ฯลฯ เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นพระภควา” ดังนี้อยู่ในสมัยนั้น จิตของเธอย่อมไม่เป็นจิตที่ราคะกลุ้มรุม ไม่เป็นจิตที่โทสะกลุ้มรุม ไม่เป็นจิตที่โมหะกลุ้มรุมเลยทีเดียว ในสมัยนั้นจิตของเธอย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงแน่ว ปรารภ (คุณ) พระตถาคตเจ้า เมื่อเธอข่มนิวรณ์ ได้โดยที่ไม่มีปริยุฏฐานกิเลส มีราคะเป็นอาทิ อย่างนั้นชื่อว่ามีจิตดำเนินไปตรง เพราะความที่มีจิตมุ่งต่อพระกรรมฐานอยู่ ฉะนี้ วิตกและวิจารอันโน้มไปในพระพุทธคุณ ย่อมเป็นไป เมื่อตรึกเมื่อตรองพระพุทธคุณร่ำไปๆ ปีติย่อมเกิดขึ้น ความกระวนกระวายกายจิตของเธอ ผู้มีใจกอปรด้วยปีติย่อมระงับโดยปัสสัทธิ อันมีปีติเป็นปทัฏฐาน สุขทั้งทางกายทั้งทางจิต ย่อม เกิดแก่เธอผู้มีความกระวนกระวายอันระงับแล้ว จิตของเธอผู้มีสุข เป็นจิตมีพระพุทธคุณเป็นอารมณ์ ย่อมเป็นสมาธิ องค์ฌาน ย่อมเกิดขึ้นโดยลำดับในขณะเดียว ดังกล่าวมาฉะนี้ แต่เพราะความที่พระพุทธคุณทั้ง หลายเป็นอารมณ์ลึกซึ้ง หรือเพราะความที่จิตน้อมไปในการระลึกถึงพระคุณมีประการต่างๆ ฌานนี้จึงเป็นฌานที่ไม่ถึงอัปปนา ถึงเพียงอุปจารเท่านั้น (และ) ฌานนี้ก็ถึงซึ่งความนับ (คือได้ชื่อ) ว่าพุทธานุสสตินั่นเอง เพราะเป็นฌานที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจการระลึกถึงพระพุทธคุณ

    ผมเองหลังจากได้อ่านบทความนี้แล้วก่อนสวดมนต์ ผมจะนั่งพนมมือแล้วพิจารณาถึงพระพุทธคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอันได้แก่ พระปัญญาธิคุณ พระกรุณาธิคุณ และพระบริสุทธิคุณ หลังจากนั้นจึงเริ่มสวดมนต์ หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านบ้างไม่มากก็น้อย <o:p></o:p>
     

แชร์หน้านี้

Loading...