เพื่อการกุศล :::(เปิดจอง)ล็อกเกตพระแก้วมรกต"ภูริทัตตเถรานุสรณ์-สมเด็จองค์ปฐมอมฤตศุภมงคลญาณสังวร":::

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย dekdelta2, 13 พฤศจิกายน 2009.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอนที่ 43 เจ้าคุณศรี วัดอ่างศิลา

    [​IMG]

    [​IMG]

    พระวิสุทธิสมาจาร(ศรี พฺรหฺมโชติ)เป็นบุตรคนที่ 3 ของนายทองและนางเอียง ยูถะสุนทร เกิดที่ตำบลอ่างศิลา อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2414 วันศุกร์ เดือน 6 ขึ้น 11 ค้ำ ปีมะแม จุลศักราช 1233 เวลาย่ำรุ่ง มีพี่น้อง 7 คน เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ก็ได้บรรพชาอุปสมบท ร พัทธสีมาวัดอ่างศิลา ชลบุรี มีอธิการยิ้ม วัดอ่างศิลา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการแสง วัดอ่างศิลา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูสุวรรณาทร(เที่ยง) เป็นอนุสาวาจารย์ อุปสมบทเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2434 ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 7 ค้ำ เดือน 6 ปีเถาะ นามฉายาว่า"พฺรหฺมโชติ"
    ท่านเจ้าคุณศรีฯ เป็นพระเถระที่ประกอบไปด้วยศีลาจารวัตรอันดีงาม ล่าวคือเป็นผู้เคร่งครัดต่อ
    พระธรรมวินัยและระเบียบแบบแผนในการบำเพ็ญสมณกิจ ท่านถือกิจของพระศาสนาเป็นใหญ่ ไม่คำนึงถึงสังขารของท่านเองว่าเป็นอย่างไร ถ้าเรื่องเกี่ยวแก่กิจของพระศาสนาเป็นต้องทำ ถึงแม้ยามเมื่อท่านชราภาพมาก เดินไม่ค่อยไหว ยังอุตส่าห์นั่งรถเข็น ให้ภิกษุสามเณรช่วย เข็นท่านลงอุโบสถเป็นประจำ เว้นไว้แต่ท่านอาพาธหนักเท่านั้น
    ในด้านการจรรโลงพระพุทธศาสนา ท่านเจ้าคุณศรีฯ ก็ได้บรรพชาอุปสมบท
    ในบวรพระพุทธศาสนาเป็นอันมาก คือ ​
    1. เป็นพระอุปัชฌาย์บวชพระภิกษุ 2992 รูป
    2. เป็นพระอุปสัมปทาจารย์ 455 รูป
    3. เป็นพระอุปชฌาย์บวชสามเณร 552 รูป
    สัทธิวิหาริกคนแรกของท่าน คือพระภิกษุเลื่อน ธมฺมรโต ที่อยู่เดิมตำบลหนองไม้แดง อำเภอเมือง ชลบุรี บวชเมื่อ 5 มิถุนายน 2454 สัทธิวิหาริกคนสุดท้ายของท่าน คือพระภิกษุไอศวรรย์ สงฺกิจฺโจ ที่อยู่เดิมตำบลอ่างศิลา อำเภอเมือง ชลบุรี บวชเเมื่อ 16 กรกฎาคม 2510
    หน้าที่และสมณศักดิ์ที่สำคัญ
    - พ.ศ. 2449 อายุ 36 พรรษา 16 เป็นพระอธิการ
    - พ.ศ. 2451 อายุ 38 พรรษา 18 เป็นเจ้าอาวาสวัดอ่างศิลา
    - พ.ศ. 2453 อายุ 41 พรรษา 21 เป็นพระอุปชฌาย์
    - พ.ศ. 2456 อายุ 43 พรรษา 23 เป็นเจ้าคณะแขวงอำเภอเมืองและ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ราชทินนาม "พระครูสุนทรธรรมรส" เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2456
    - พ.ศ. 2459 อายุ 46 พรรษา 26 ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองเจ้าคณะจังหวัดชลบุรี และเจ้าคณะแขวงอำเภอศรีราชา
    - พ.ศ. 2476 อายุ 63 พรรษา 43 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะแขวง อำเภอบางละมุงอีกตำบลหนึ่ง
    - พ.ศ. 2482 อายุ 69 พรรษา 49 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะจังหวัดชลบุรี บริหารกิจสงฆ์ 4 ปี จึงลาออกเพราะชราภาพมาก
    เมื่อ 5 ธันวาคม 2495 อายุ 82 พรรษา 62 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะ ราชทินนาม "พระวิสุทธิสมาจาร" ท่านมรณภาพ เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2510 เวลา 23.00 น. รวมอายุได้ 97 ปี พรรษา 77

    .............................................................................

    มวลสารที่เกี่ยวข้องกับท่าน คือ ผงตรีนิสิงเห เจ้าคุณศรี ที่ได้จากเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอนที่ 44 หลวงปู่เกลื่อน วัดสองเขต

    [​IMG]

    หลวงพ่อเกลื่อน ท่านถือกำเนิดเมื่อวันอังคาร เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๗ ปีขาล ที่บ้านตำบลสระแก้ว
    อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ท่านเป็นบุตรคนที่สอง มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๕ คน โยมบิดาชื่อ นายช่วง โยมมารดาชื่อนางเปลื้อง เผือกพันธ์มุข
    บิดามารดามีอาชีพทำนา ฐานะทางบ้านก็ปานกลาง ท่านจึงไม่มีโอกาสเรียนหนังสือ การศึกษาท่านเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ต้องลาออกมาช่วยเหลือครอบครัวทำนาเลี้ยงน้องด้วยความยากลำบาก หนักเอาเบาสู้ไม่ย่อท้อ มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๕ คน คือ ชาย ๓ หญิง ๒ ดังนี้

    ๑ นางอุ่ม ละมูลศิลป์ (ถึงแก่กรรม)
    ๒ หลวงพ่อเกลื่อน ฉนฺทธมฺโม (เผือกพันธ์มุข)
    ๓ นายกล่อม เผือกพันธ์มุข
    ๔ นายกลุ่ม เผือกพันธ์มุข
    ๕ นางอวน ปานพรหม (ถึงแก่กรรม)
    สมัยหลวงพ่อเป็นฆราวาสนั้นท่านเป็นคนมีฝีมือทางช่างไม้และเป็นหมอยาแผนโบราณ ประมาณอายุ ๒๒-๒๓ แต่งงาน มีครอบครัวมาแล้ว ๒ ครั้ง
    ครั้งแรกกับนางเม้า มีบุตรด้วยกันสองคน
    ครั้งที่สองกับนางฮ้อง มีบุตรด้วยกันสี่คน
    เมื่อมีครอบครัวท่านก็สร้างหลักปักฐานตามสภาวะวิสัยของปุถุชนธรรมดาที่ยังเวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏฎ์ ยังไม่พ้นกิเลสตัณหา อุปาทาน อันเป็นตัวฉุดรั้งเพื่อให้ห่างจากกระแสพระนิพพาน
    ครั้นต่อมาท่านเบื่อหน่ายทางโลก มุ่งสู่ธรรม เมื่อครอบครัวเป็นปึกแผ่นมั่นคงดีแล้ว ท่านจึงตัดสินใจเข้าสู่ร่มผ้ากาสาวพัสตร์ ซึ่งท่านรู้ตัวว่าเวลาของท่านหมดไปทุกขณะ ทำให้ท่านเร่งทำความเพียร เร่งปฎิบัติธรรมภาวนาถือสันโดษ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับใครมีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย ท่านจึงเข้าสู่ร่มผ้ากาสาวพัสตร์อีกครั้งหนึ่งจวบจนปัจจุบัน อุปสมบทเมื่ออายุ ๔๕ ปี เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๐๑ เวลา ๑๓.๑๕ น. ณ. พระอุโบสถวัดดอนไร่ ตำบล หนองสะเดา อำเภอ สามชุก จังหวัด สุพรรณบุรี โดยมีพระอธิการมุ่ย เป็นพระอุปัชฌายะ พระอธิการวิสุทธิ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ประทวน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า”ฉนฺทธมฺโม” และจำพรรษาอยู่ ณ. วัดดอนไร่ ที่อุปสมบทนั้น
    เมื่ออยู่วัดดอนไร่ได้ ๑๐ เดือน ได้ย้ายไปจำพรรษาที่วัดราชศัทธาธรรม (ตีนเป็ด) ตำบล ศาลาขาว อำเภอ เมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เหตุที่ย้ายไป เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม ย้ายไปวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๒ โดยที่ พระอธิการเล็ก จนฺทสโร รับเข้า
    ขณะที่อยู่วัดราชศรัทธาธรรม ทุกๆ ปีหลวงพ่อจะออกเดินธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพร เป้าหมายเพื่อศึกษาค้นคว้าหาสัจธรรม และการนำพระธรรมคำสั่งสอนของพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ไปโปรดศรัทธาญาติโยมให้ได้ดวงตาเห็นธรรม นั่นถือว่ามีอานิสงส์มากทีเดียว วัดที่หลวงพ่อเกลื่อนได้ไปโปรดญาติโยมในขณะนั้นมีหลายวัด ส่วนวัดที่หลวงพ่อเกลื่อนเคยไปจำพรรณนาก็มี วัดราชศัทธาธรรม (ตีนเป็ด) วัดหนองโอ่ วัดหัวเขา(สำเภาจอด) วัดสระกลาง วัดเขาดีสลัก เป็นต้น
    หลวงพ่อเกลื่อน ได้เข้าไปอยู่ศึกษาปฎิบัติธรรมและเดินธุดงค์กับหลวงพ่อสังวาล เขมโก หลวงพ่อเกลื่อนจึงเป็นศิษย์คนแรกของหลวงพ่อสังวาล และได้ไปปฎิบัติธรรมกับครูบาอาจารย์อีกหลายท่าน เช่น หลวงปู่บุดดา วัดกลางชูศรีเจริญสุข จังหวัดสิงห์บุรี หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ จังหวัดกรุงเทพ หลวงปู่ชา วัดหนองป่าพง จังหวัด อุบลราชธานี ในการเดินธุดงค์ของหลวงพ่อเกลื่อน ส่วนมากจะเดินทางไปกับ หลวงพ่อสังวาล เขมโก ซึ่งเป็นพระอาจารย์
    หลวงพ่อเกลื่อน เป็นผู้ปฎิบัติดีปฏิบัติชอบ ปฏิบัติธรรม ตามแนววิปัสสนากรรมฐาน เป็นพระสุปฏิปันโน จนได้รับการยกย่องจากครูบาอาจารย์ และคณะศิษยานุศิษย์

    หลวงพ่อเกลื่อนกับวัดสองเขต

    เริ่มแรกสร้างวัดสองเขต เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๒๔ มีผู้ถวายที่ดินให้สร้างวัด คือ

    ๑ นายกล่อม นางศิลป์ เผือกพันธ์มุข ถวายที่ดิน ๑๗ ไร่
    ๒ นายกลุ่ม แม่ชีพร้อม เผือกพันธ์มุข ถวายที่ดิน ๒๗ ไร่ ๒ งาน
    สมัยก่อนที่ตรงที่นี้เป็นที่นาที่ไร่ปลูกถั่ว หลวงพ่อเข้ามาอยู่ วัดสองเขตครั้งแรกตรงกับวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๒๔ ไดปรับปรุงก่อสร้างศาสนวัตถุต่างๆ เช่น พระอุโบสถ ศาลา โรงครัว กุฏิกัมมัฏฐาน ซึ่งเป็นวัดที่พัฒนาจิตใจแก่ประชาชนชาวพุทธทั้งหลาย

    [​IMG]

    ประสบการณ์

    อุบาสกแสวง อุบาสกพระอรหันต์อิฐิธาตุแปรสภาพเป้นมรกต ลูกศิษย์หลวงปุ่เกลื่อน

    นอกจากวัตถุมงคลของท่านจะเป็นที่เลื่องลือแล้วธรรมะท่านก็เป็นที่เลื่องลือเช่นกัน หลวงปู่ท่านสร้างคนจนสำเร้จเป็นพระอรหันต์ คือ อุบาสก แสวง สำราญพันธ์ เคยบวชอยู่กับหลวงปู่ตอนหลังลาสิกขาออกมาหลวงปู่เป็นคนให้กรรมฐานท่านอุบาสกท่านนึ้ตลอด อุบาสกท่านนึ้จะไหว้พระสวดมนต์นั่งสมาธิครึ่งวัน ถึงจะลงออกมาจากบ้าน ท่านจะมีกาน้ำติดตัวอยู่เสมอคล้ายหลวงปู่เกลื่อน จิตใจท่านงดงามมาก เย็น ที่สำคัญคำสอนของท่านที่สอนลุกหล่านไปทางวิมุตติทั้งนั้น ลูกหลานเริ่มมาตะงิกใจตอนหลัง แต่ไม่คิดอะไร พอท่านสิ้นเผาออกมาอัฐิธาตุแปรสภาพเป็นมรกต เป็นแก้วทั้งตัว สร้างความประหลาดใจเป้นอย่างมาก พอมารู้ตอนหลังว่าเป้นพระธาตุลูกหลานเสียใจมากที่ไม่ยอมขอะรรมะจากท่าน มัวแต่ไปที่อื่น น่าจะอยู่กับคูณปู่เพราะอยู่กับท่านเหมือนอยู่กับพระอรหันต์อยู่แล้วไม่ต้องไปที่อื่น เกสาของอุบาสกแสวงที่ลูกหลานเก็บไว้ แปรสภาพเป็นพระธาตุเหมือนเม็ดทราย นี่เป็นลูกศิษย์องค์หนึ่งที่หลวงปู่สอนจนสำเร็จมรรคผลนิพพาน


    หลวงปู่ท่านเป็นพระมหาลาภ ไปอยู่ไหนคงก็มักจะถูกหวยมีโชคมีลาภกัน ถ้ามีพระหลวงปู่เจอที่ไหนรีบเก็บเลยน่ะครับ เพราะเป็นพระที่พุทธคุณสูง ไม่แพ้เกจิอาจารย์รุ่นเก่าแน่นอน สมัยก่อนพวกเสือสุพรรณเป็นลูกศิษย์หลวงปู่ทั้งนั้น เพราะต่อไปผู้เขียนก็จะหาไม่ได้เหมือนกัน เพราะผู้รู้ก็เก็บกันหมดแล้ว ส่วนมากพระก็อยู่วงในหมดแล้ว คนรู้เค้าก็รักหวงแหนไม่ปล่อยกันหรอกครับไว้คุ้มหัวคุ้มตัวกันหมดล่ะครับ เพราะเฃื่อมั่นในคุณธรรมและบารมีหลวงปู่จริง แต่ท่านสั่งสอนว่า การขายพระเป็นสิ่งไม่ดีเหมือนการขายพ่อขายแม่กินมันจะไม่เจริญ ดังนั้นพระหลวงปุ่เกลื่อนส่วนมากก็จะแจกฟรียกเว้นส่วนที่วัดออกให้บูชาเพื่อบูรณะวัดปฏิสังขร แต่ส่วนใหญ่ทางวัดก็มาไล่แจกล่ะครับ(สมัยหลวงปู่อยู่) ผมก็เคยทำพระให้หลวงปู่รุ่นหนึ่ง เป็น รุ่นจตุคาม ฝังตะกรุดหลวงปู่หลอด รุ่นนึ้ผมถวายทางวัดไปหมดเลยครับ วัดแจกอย่างเดี่ยว ผู้เขียนยังไม่มีซักองค์เลย ทุกวันนึ้เห็นเก้บกันน่าดู และหวงแหงกันมาก ห้อยทองกันเต็มไปหมด ขนาดคนสร้างขอดูเค้ายังหวงผู้สร้างเลยแต่ผู้สร้างไม่ได้บอกว่าทำ ก็คิดดูสิครับมวลสารที่ผมใส่ไปมีแต่ระดับสุดยอดๆ ผงพระหลวงปู่หลอด 1 ถังใส่น้ำแข็ง หลวงปู่ปรง วัดธรรมเจดีย์ หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่ หลวงปู่เสรี หนองบัวลำภู มวลสารหลวงพ่อสังวาลย์ อีก 1 กะละมัง อังคารคุณย่าบุญเรือน ผงสลกบาตรหลวงพ่อป๋อง สุปฐิปันโน อังคารครูบาอาจารย์สายหลวงปุ่มั่นทัวประเทศ อังคารหลวงพ่อพุธ ฐานิโย อังคารธาตุหลวงปู่เจียะ อังคารครูบาอินตา วัดห้วยไซ เป็นต้น
    มวลสารล้วนน่ะครับไม่ใส่ปูน


    พระอาจารย์ผมเล่าว่าหลวงปู่เกลื่อนก็ฤทธิ์เยอะไม่ใช่เบาเลยอ่ะครับ
    ท่านเล่าว่าสมัยก่อนที่สุพรรณมีนิมนต์พระร้อยรูปเสกอะไรซักอย่าง
    หลวงปู่ใหญ่ท่านก็บอกกับศิษย์ประมาณว่า
    "ไม่เห็นต้องนิมนต์เยอะขนาดนั้น สู้นิมนต์ตาเกลื่อน(หลวงปู่ใหญ่เรียกหลวงปู่เกลื่อนว่าตาเกลื่อน) รูปเดียวก็พอแล้ว"
    อะไรประมาณนั้นอ่ะครับ กราบหลวงปู่ทั้งสองครับ

    นำข้อมูลมาจาก


    พิมพ์หน้านี้ - รูปหล่อ หลวงปู่เกลื่อน ..



    มวลสารที่เกี่ยวข้องกับท่าน คือ พระที่ทำตัวแดงแหละครับ (โชคดีที่ไปเจอโดยบังเอิญ) เป็นพระที่ลูกศิษย์ลูกหาหวงที่สุด เพราะมวลสารระดับอังคารสายหลวงปู่มั่นประมาณถึง 50 รูป โดยเฉพาะอังคารอุบาสิกาบุญเรือน ใส่เป็นกำมือๆ ได้พระแตกหักรุ่นนี้มาเป็นจำนวนมากครับ หลวงปู่เกลือ่นอธิษฐานเดี่ยวนานหลายเดือนจนละสังขาร
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอนที่ 45 หลวงปู่อิง โชติโญ วัดโคกทม

    [​IMG]

    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
     
  4. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
     
  5. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]

    นำข้อความจาก ข้อเขียนของคุณภักดีภูริ นิตยสารโลกทิพย์ ครับ

    ล็อกเกตรุ่นนี้ผสมผงอัฐิของหลวงปู่อิง ขอบารมีหลวงปู่จงปกปักรักษาครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอนที่ 45 หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช

    [​IMG]
    [​IMG]

    ชาติกำเนิด

    พระวิสุทธาจารเถร นามเดิมว่า เทียม นามสกุล หาเรือนศรี เกิดเมื่อวันเสาร์
    ขึ้น 3 ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2447 ในรัชกาลที่ 5 ณ ตำบล บ้านป้อม หมู่ที่
    7 อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บิดาชื่อ นายสุ่น มารดาชื่อ นางเลียบ
    ประกอบอาชีพเป็นชาวนา

    ศึกษาเบื้องต้น

    เมื่ออายุประมาณ 10 ปี บิดามารดาได้นำท่านมาฝากไว้ ณ วัดกษัตราธิราช
    เรียนหนังสือ ก ข กับพระภิกษุมอน ผู้เป็นน้าชาย เมื่อพระภิกษุมอน ลาสิกขา ท่านก็คงอยู่
    เรียนหนังสือต่อไป โดยเป็นศิษย์ของ อาจารย์ปิ่น ให้ช่วยสอนหนังสือให้ ในขณะเดียวกันก็ได้
    ้ศึึกษาความรู้ทางด้านวิชาช่างเขียน ช่างแกะสลักไปด้วย จากนั้นก็เป็นศิษย์ของอาจารย์จันทร์
    เรียนภาษาขอมจนถึงอายุ 15-16 ปี จึงได้ออกจากวัด เพื่อช่วยทางครอบครัว ซึ่งประกอบอาชีพทำนา

    ผู้ใฝ่ในการศึกษา

    ขณะที่ช่วยบิดา มารดา ประกอบอาชีพ ได้เริ่มเรียนวิชาไสยศาสตร์แบบ ลบผง
    ลงยันต์กับอาจารย์ทรัพย์ ผู้เป็นลุงและนายสุ่นผู้เป็นบิดา พร้อมกับเรียนวิชาธาตุกสิณ กับนายเงิน
    ผู้เป็นอา เมื่อเรียนธาตุกสิณเป็นแนวทางแล้ว ได้เรียนวิชาการแขนงอื่นๆ อีกหลายสาขาเช่น การประดับตกแต่ง
    เรียนช่างก่อสร้าง ช่างปูน ช่างไม้ วิชากระบี่กระบอง และกลองแขกคู่ เป่าปี่ชวา
    เมื่อเรียนสำเร็จแล้วได้ออกไปแสดงตามสถานที่ต่างๆ เช่น ในงานสำคัญต่างๆในจังหวัด เช่น
    งานพระราชทานผ้าพระกฐิน ณ วัดสุวรรณดาราราม วัดเสนาสนาราม วัดศาลาปูน วัดตูมฯลฯ
    และได้เรียนวิชากระบี่กระบองเพิ่มเติมจากนายเขียว บ้านห่อหมก อำเภอบางไทร
    ในระยะเวลาที่ว่างงานก็ได้ใช้วิชาที่เล่าเรียนมา นำไปประกอบอาชีพเช่น รับจ้างเป็นช่างงานไม้
    พอว่างจากงานไม้ก็ฝึกหัดแกะสลักหนังใหญ่ เมื่อหัดแกะได้ตามสมควรก็เริ่มออกแสดงเป็นครั้งคราว

    อุปสมบท

    ต่อมาเมื่ออายุ 20 ปี ท่านได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดกษัตราธิราช
    เมื่อวันศุกร์ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 8 ปีชวด ตรงกับวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2467 โ ดยมี พระครูวินยานุวัติคุณ
    (มาก อินทโชติ) เจ้าอาวาสวัดกษัตราธิราชเป็นพระอุปัชฌายะ พระสมุห์หล่ำ วัดกษัตราธิราช
    เป้นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ทองดี วัดพระงาม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีฉายาว่า สิริปัญโญ
    เมื่ออุปสมบทแล้วได้ศึกษาพระปริยัติธรรม ณ สำนักเรียนวัดเสนาสนาราม 2 พรรษา
    และได้ศึกษากรรมฐานกับหลวงพ่อสี วัดสนามชัย และอาจารย์จาบ วัดโบสถ์ อำเภอมหาราช ศึกษากับอาจารย์เหม็ง
    วัดประดู่ทรงธรรม ครั้นพรรษาที่ 3 ไปศึกษา วิปัสสนากรรมฐาน กับหลวงพ่อม่วง วัดโบสถ์ แล้วกลับมาอยู่ ณ
    วัดประดู่ทรงธรรม อีกครั้ง เพื่อศึกษาวิชา สมถะฝ่ายกสิณ 10 อนุสสติ 10 ยุคล 6 จงกรม
    พร้อมด้วนเริ่มเรียนวิทยาคมต่างๆ เช่น เป่า พ่น ปลุกเศก ลงเลขยันต์ ตามตำหรับวัดประดู่ทรงธรรม
    จนถึงพรรษาที่ 9 จึงกลับมาอยู่ วัดกษัตราธิราช เนื่องจากพระครูวินยานุวัติคุณ (มาก อินทโชติ)
    ซึ่งเป็นอุปัชฌาย์ ของท่าน ได้อาพาธหนัก จึงได้มารับใช้สนองพระคุณของพระอุปัชฌาย์
    การกลับมาครั้งนี้ของท่าน ท่านได้นำตำราพิชัยสงคราม กับตำรามหาระงับพิสดาร รวมถึง
    ตำราเลขยันต์อื่นๆติดตัวมาด้วย จนกระทั่งจากพระครูวินยานุวัติคุณ มรณภาพ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ส.
    2477 หลังจากจัดการศพของท่านจากพระครูวินยานุวัติคุณ เสร็จแล้วจึงเดินทางไปศึกษากรรมฐาน ณ วัดวรนาถบรรพต
    (วัดเขากบ) จ.นครสวรรค์ เมื่อศึกษาสำเร็จได้ตามที่ท่านตั้งใจแล้ว
    ท่านจึงเดินทางกลับมายังวัดกษัตราธิราชตามเดิม

    รับตำแหน่งเจ้าอาวาส

    หลังจากที่ตำแหน่งเจ้าอาวาสว่างลง โดย พระมหาสิน นันโท ลาสิกขาบท เมื่อวันที่ 30
    มิถุนายน พ.ส. 2483 พระครูไพจิตรวิหารการ (บัว สีลโสภโน) จากวัดประดู่ทรงธรรม
    ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าวาสสืบต่อ ตั้งแต่ พ.ศ. 2484 จนถึง พ.ศ. 2596 พระครูไพจิตรวิหารการ
    ได้ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาส ทางคณะสงฆ์จึงเห็นสมควร แต่งตั้งให้ หลวงพ่อเทียม
    ซึ่งในคณะนั้นท่านดำรงสมณศักดิ์ พระใบฎีกา รักษาการแทน จนกระทั่งได้รับแต่งตั้ง
    เป็นเจ้าอาวาสวัดกษัตราธิราช ในปี พ.ศ.2496

    สมณศักดิ์และตำแหน่งหน้าที่

    พ.ศ. 2474 เป็นพระใบฎีกา ฐานานุกรมของพระครูวินยานุวัติคุณ (มาก)
    ในตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอ บางบาล
    พ.ศ. 2496 เป็นเจ้าอาวาสวัดกษัตราธิราช
    วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2508 เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูพิพิธวิหารการ
    เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นตรี
    วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2509 เป็นเจ้าคณะตำบลภูเขาทอง
    วันที่ 29 มกราคม พ.ศ.2512 เป็นพระอุปัชฌายะ
    วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2514 เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบลชั้นโท
    วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2517 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
    วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2522 ได้รับ พระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะ
    ที่พระวิสุทธาจารเถร ฝ่ายวิปัสสนาธุระ

    อุปนิสัยของหลวงพ่อ

    ท่านเป้นพระเถระที่ฝักใฝ่อยู่ในวิปัสสนาธุระ และมั่นคงอยู่ในเพศพรหมจรรย์
    ตลอดชีวิตสมณะท่าน ท่านตั้งอยู่ในพรหมวิหาธรรม ให้ความคุ้นเคย เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับ
    บุคคลทุกชั้นวรรณะ มิได้แสดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็นเหตุให้อาคันตุกะได้รับความหนักใจ
    เพราะความที่ท่านเปี่ยมไป ด้วยความเมตตากรุณา นั้นเอง ท่านจึงต้องใช้สังขารอย่าลำบากตรากตรำ
    เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุข ให้แก่บุคคล ผู้หันหน้ามาพึ่ง โดยท่านมิได้คำนึงถึงความเหน็ดเหนื่อย
    ไม่ค่อยมีเวลาพักผ่อน ไม่มีเวลา ส่วนตัว กิจธุระนอกวัดก็มากขึ้นเป็นลำดับ
    เมื่อกลับมาถึงวัดก็ควรได้รับการพักผ่อน พอถึงกุฏิ
    ก็ต้องมีบุคคลมารอพบหมายจะให้ท่านช่วยแก้ปัญหาทุกข์ร้อน อยู่เป็นประจำ ด้วยความเมตตา และ
    กรุณาของท่านนี้เอง จึงมีผู้ศรัทธาเลื่อมใสในท่านเป็นจำนวนมาก ท่านบำเพ็ญตน อยู่อย่างนี้ตลอดมา
    เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรให้ความอบอุ่น ร่มเย็นแก่ชาวบ้านและชาววัดตลอดมา ไม่ว่าจะอยู่ใกล้หรือไกล
    เมื่อมาถึงหลวงพ่อแล้วย่อมได้รับ ความอนุเคราะห์ โดยทั่งหน้ากัน เป็นที่ซาบซึ้งใจยิ่งนัก

    พระนักพัฒนา

    นอกจากจะมีหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุข ให้กับบุคคลทุกชั้นวรรณะแล้ว ท่านต้อง
    รับภาระอันหนักยิ่ง กล่าวคือ การบูรณะปฏิสังขรณ์ปูชนียวัตถ ุและถาวรวัตถุภายในวัด ควบคู่กันไป ปรากฏว่า
    ท่านเอาใจใส่งานก่อสร้างมากถึงกับ ลงมือ ทำด้วยตนเอง จนกระทั่ง ทำด้วยตนเองไม่ได้
    ท่านจะคอยควบคุมดูแลสั่งการ เพื่อให้งานนั้นๆ เป็นไปด้วย ความเรียบร้อย และได้ผลดี
    ด้วยความที่ท่านต้องมีหน้าที่รับผิดชอบ ต่องานก่อสร้างนี้เอง จึงเป็นเหตุให้ ท่านเกิดอาพาธ
    เป็นโรคอัมพาตขึ้นเมื่อประมาณกลางปี พ.ศ.2517 จนท่านไม่สามารถจะ ไปไหนต่อไหนได้เหมือนแต่ก่อน แต่หลวงพ่อ
    ท่านห่วงงานยิ่งกว่าสุขภาพ และสังขาร ตนเสียอีก ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า เมื่อท่านป่วยเป็นอัมพาตเดินไม่ได้
    หลวงพ่อท่าน ก็นั่งรถเข็น ให้พระภิกษ ุหรือสามเณรช่วยเข็นให้ท่านนั่งในตอนเช้า และตอนเย็น เพื่อตรวจตรา
    ดูความเรียบร้อยภายใน วัดเป็นพระจำวัน โดยมิได้ย่อท้อสามารถควบคุม และตรวจตรา งานก่อสร้างได้จนงานนั้นๆ
    สำเร็จเรียบร้อยหลายอย่าง ดังปรากฏแก่สายตาของพวกเรา ทั้งหลายขณะนี้แล้ว

    ทูลเกล้าฯถวายตะกรุด

    ในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนินทรงบำเพ็ญพระราช กุศลถวายผ้ากฐินส่วนพระองค์ ณ
    วัดศีลขันธาราม ตำบลอ่างแก้ว อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2517
    ท่านจึงมอบให้พระสำรวย ฐิตปุญโญ รองเจ้าอาวาสวัดกษัตราธิราช
    นำรูปจำลองของท่านพร้อมด้วยตะกรุดมหาระงับแบบพิสดาร ลงตามตำรับเดิมของ วัดประดู่ทรงธรรม
    เป็นโลหะตะกั่วถักด้วยด้ายและลงรักปิดทอง เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. ยาม 12 นิ้ว
    ขึ้นทูลเกล้าถวายแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมีหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายด้วยตนเองไม่ได้
    เนื่องจากอาพาธด้วยโรคอัมพาตดังกล่าวแล้ว จากนั้นไม่นาน ทางวัด กษัตราธิราชก็ได้รับแจ้งจาก
    ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยูธยา ว่า สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ
    ทรงทราบว่าเจ้าอาวาสวัดกษัตราธิราชอาพาธ มีพระราชประสงค์ จะนิมนต์ท่านเข้ารับการรักษาท
    ี่โรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร ดังนั้นท่านจึง ได้เดินทางเข้าไปรับการรักษาอยู่ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
    โดยเป็นคนไข้ ในพระบรมราชานุเคราะห์ ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เป็นเวลา 1เดือนพอดี
    อาการดีขึ้นโดยลำดับ คณะแพทย์จึงอนุญาตให้กลับมาพักผ่อน ที่วัดตามอัธยาศัย ในการที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ
    พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระเมตตาต่อท่านครั้งนี้นับว่า เป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้นหาที่สุดมิได้

    มรณภาพ

    เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2522 หลวงพ่อละสังขาร ด้วยอาการสงบ สิริอายุได้ 75 ปี
    55 พรรษา เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2544 จึงจัดให้มีการพระราชทานเพลิงศพ พระวิสุทธาจารเถร

    <!--<script type="text/javascript"><!--google_ad_client = "pub-7156071946792299";/* 212Cafe.com - WB 234x60 */google_ad_slot = "2093511541";google_ad_width = 234;google_ad_height = 60;</script><script type="text/javascript"src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js"></script>//-->
    [​IMG]


    พระรุ่นนี้ผสมอังคารของหลวงปู่เทียม และสังเกตดีๆจะมีอัฐิชิ้นเล็กๆปนมากมาย​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอนที่ 46 พระรอดวัดพระสิงห์ ปี 2496

    [​IMG]
    [​IMG]

    จากหนังสือเซียนพระ ฉบับที่ 11 พศ 2531


    มวลสารผงรุ่นนี้บดผสมพระรอดวัดพระสิงห์ไปจำนวน 2 องค์ องค์แรก เป็นองค์ที่บิ่นข้าง ถือเป็นองค์ครูของผมเลย เพราะได้มาองค์แรก ตอนนั้นอยู่ ม.4 ได้เงินไปโรงเรียนอาทิตย์ละ 300 บาท พระองค์นี้ก็ 300 เหมือนกัน มีบิ่นที่ขอบข้าง เอาไว้ดูเนื้อ ตอนนั้นต้องเก็บตังค์ร่วมเดือนโดยอดขนมเอา เป็นองค์ที่ผมรักมาก เพราะอยู่ด้วยกันนานมาก ตอนนั้นที่บดพระที่ชำรุดได้ขอขมาท่าน และโทรไปขออนุญาตเจ้าของเดิมด้วย ว่าพี่ผมจะผสมพระองค์นี้แล้วนะ องค์ที่ได้ไปองค์แรก กับอีกองค์ที่บิ่นด้านบน องค์นี้ได้มา 300 เหมือนกัน นับว่าเป็นเรื่องบังเอิญมากทีเดียว ผมอยากให้พระชุดนี้มีพุทธคุณมากๆ จึงยอมบดพระที่ไม่สมบูรณ์ไป เพราะฉะนั้นท่านจะเข้าใจเลยว่า ผมจะค่อนข้างหวงมวลสารพอสมควร เพราะมีความเป็นมาถึงอดีตที่ผูกพัน นึกถึงทีไรมันก็เป็นเรื่องความรู้สึกอดีตครับ ถ่ายรูปมาไม่รู้ไฟล์อยู่ไหนเจออยู่องค์เดียว
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • PA105398.JPG
      PA105398.JPG
      ขนาดไฟล์:
      404.1 KB
      เปิดดู:
      222
  8. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอนที่ 47 หลวงปู่ต่วน อินทปัญโญ วัดกล้วย

    [​IMG]
    ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

    นามเดิม ต่วน สิทธิวงษา บิดา-มารดา นายเหม - นางเฉียบ สิทธิวงษา อาชีพ ทำนา
    [FONT=Tahoma, MS Sans Serif]ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2444 ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ในบรรดาพี่น้องหลายคน ท่านเองเป็นคนรูปร่างเตี้ยล่ำ ผิวคล้ำ วัยเด็กเรียนหนังสืออยู่กับพระที่วัด และติดตามพระอาจารย์เดินธุดงค์เข้ามาในประเทศไทย ตั้งแต่ยังเป็นสามเณร เมื่อมีอายุครบอุปสมบท ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่กรุงพนมเปญ และจำพรรษาอยู่ที่นั้น 1 พรรษา เมื่อออกพรรษารับผ้ากฐินแล้ว จึงเดินทางเข้ามาในประเทศไทย[/FONT]

    [FONT=Tahoma, MS Sans Serif]ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา[/FONT]

    [FONT=Tahoma, MS Sans Serif]หลวงปู่ต่วน ได้เรียนวิชาอาคม เวทมนต์คาถาต่างๆ มากมาย ร่างกายของท่านมีรอยสักยันต์และอาบน้ำยาว่านเต็มไปหมด หลังอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้วท่านได้เดินธุดงค์ปฏิบัติธรรมเข้ามาในประเทศไทย มีพระที่เป็นสหายร่วมเดินธุดงค์หลายรูป แต่ส่วนใหญ่กลับสู่ประเทศเขมรหมด คงเหลือสหายธรรมอยู่ในประเทศไทยเพียง 2 รูป คือ หลวงปู่หิน วัดระฆัง ธนบุรี กับ หลวงปู่สร้อย วัดทางหลวง อ.บางซ้าย จ.อยุธยา [/FONT]
    [FONT=Tahoma, MS Sans Serif]ต่อมาในปี พ.ศ. 2469 ท่านได้มาจำพรรษาวัดหัวโนน หรือวัดหัวใน ต.หนองแค อ.หนองแค จ.สระบุรี เพื่อเรียนวิปัสนากรรมฐาน กับหลวงปู่ทา เจ้าอาวาส ซึ่งเป็นชาวจังหวัดอุทัยธานี หลวงปู่ทาเป็นพระอาจารย์ที่มีวิชาอาคมมาก ท่านเป็นพระสหายที่ร่วมเดินธุดงค์กับหลวงปู่กลั่น วัดพระญาติ จ.อยุธยา [/FONT]
    [FONT=Tahoma, MS Sans Serif]หลวงปู่ต่วน จำพรรษาเพื่อเรียนวิชากับหลวงปู่ทา ที่วัดหัวโนน เป็นเวลา 3 พรรษา หลังจากนั้น หลวงปุ่ทาก็ได้ให้หลวงปู่ต่วนมาอยู่ที่วัดกล้วยเพื่อพัฒนาวัดกล้วยให้เจริญ เมื่อเดินทางออกจากวัดหัวโนนแล้วท่านได้ไปพักกับ หลวงปู่หิน พระสหาย เพื่อเรียนวิชากับหลวงปู่นาค วัดระฆัง เมื่อออกจากวัดระฆังแล้ว ก็มาพำนักอยู่ที่วัดกล้วยและพัฒนาเสนาสนะ จนมีความเจริญทุกวันนี้[/FONT]
    [FONT=Tahoma, MS Sans Serif]ท่านมรณภาพเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2529 หลังจากวันพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ต่วน แล้ว ก็ทำพิธีสามหาบเก็บอัฐิธาตุ และทำพิธีบรรจุอัฐิลงในรูปเหมือนของท่าน ในการทำพิธีบรรจุอัฐินั้น หลายคนสงสัยว่าทำไมอัฐิของท่านจึงมีสีขาวสะอาดและมีสีสันสวยงาม และที่แปลกอีกอย่างหนึ่งคือ ทำไมบริเวณกระดูกหน้าแข้งของท่านจึงเป็นหินสีน้ำตาล และกระดูกศีรษะเป็นสีเขียว สีฟ้า ขณะนั้นยังไม่มีใครรู้จักเรื่องกระดูกที่แปรเป็นพระธาตุกันมากนัก พระครูประภัศรญาณสุนทร ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสองค์ต่อมา จึงได้เก็บกระดูกส่วนศีรษะไว้ชิ้นหนึ่ง และส่วนหน้าแข้งที่เป็นหินชิ้นหนึ่ง โดยไม่นำไปบรรจุในรูปเหมือนของท่าน ต่อมาเมื่อไปเก็บเศษขี้เถ้า จึงได้พบฟัน และลูกตาสีนิลทั้ง 2 ข้าง ส่วนเศษกระดูกนั้นในระยะแรกก็มีไขมันจับเยิ้มอยู่ แต่พอนานๆไปก็กลายเป็นผลึกหยกสีต่างๆและกลายเป็นพระธาตุเม็ดเล็กๆ กระดูกส่วนอื่นๆ ก็จับตัวเป็นเหมือนปะการังสีขาว[/FONT]

    [FONT=Tahoma, MS Sans Serif]ธรรมโอวาท[/FONT]
    [FONT=Tahoma, MS Sans Serif]๑. ข้อคิด กระดานแผ่นเดียว : มนุษย์เรานั้นจะอยู่ในฐานะอะไรก็ตาม จะอยู่ตึก หรือ กระต๊อบ ก็มีค่าเพียงกระดานแผ่นเดียว[/FONT]
    [FONT=Tahoma, MS Sans Serif]๒. ศีล : ย่อมผูกใจไว้ซึ่งจิตโดยธรรมชาติ เพราะเหตุนั้นธรรมชาติอันเป็นเครื่องผูก ที่เรียกว่าศีลย่อมถูกข่มไว้ซึ่งจิต เพราะเหตุนั้นธรรมชาติอันเป็นเครื่องข่มที่เรียกว่าศีลนี้ ย่อมยังกุศลกรรมทั้งหลายให้ทรงไว้ เพราะเหตุนั้นธรรมชาติอันเป็นเครื่องยังกุศลกรรมทั้งหลายให้ทรงไว้จึงชื่อว่า ศีล[/FONT]


    [FONT=Tahoma, MS Sans Serif]ภาพพระธาตุ[/FONT]

    [FONT=Tahoma, MS Sans Serif][​IMG][​IMG][/FONT]
    [FONT=Tahoma, MS Sans Serif][​IMG][/FONT]​



    [FONT=Tahoma, MS Sans Serif]มวลสารที่อุดหลัง ผสมอังคาร และพระธาตุหลวงปู่ต่วน ครับ [/FONT]




     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤศจิกายน 2010
  9. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอนที่ 48 พระผงกูโบ้สมงคลมหาลาภ ปี 2499

    <CENTER>พระมงคลมหาลาภ พ.ศ. ๒๔๙๙ ของวัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพ ฯ</CENTER>



    <CENTER>
    [​IMG][​IMG]
    </CENTER>



    พระมงคลมหาลาภ พ.ศ. ๒๔๙๙ ของวัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพ ฯ เป็นพระสมเด็จแบบสมเด็จพระพุฒาจารย์ พระแบบสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ พระพุทโธเล็ก พระวัดตะไกร และพระแบบวัดนางพระยา ฯลฯ

    พระเครื่องเหล่านี้สร้างเป็นที่ระลึกในงานสมโภชพระพุทโธภาสชินราชจอมมุนี ซึ่งสร้างที่ วัดสัมพันธวงศ์ พระนคร แล้วเชิญไปประดิษฐานเป็นพระประธาน ณ วัดสารนาถธรรมราม อำเภอแกลง จังหวัดระยอง พร้อมด้วยพระอัครสาวกซ้ายขวา เมื่อวันที่ ๕ - ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ นั้น บางท่านยังไปทราบประวัติที่ควรทราบ ซึ่งเป็นเหตุจะให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธา เพื่อได้เคารพบูชาให้แน่บแน่น สมกับเป็นปูชนียวัตถุที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นมงคลเหตุเครื่องเจริญอายุ วรรณะ สุขะ พละ แลลาภยศ สรรเสริญ สมบัติเกียรติศักดิ์ แลคุณธรรม คือเป็นสือสำคัญที่จะให้ใจเข้าถึงอิฐผลนั้น ๆ อันนับว่าเป็นกำลังอันยิ่งใหญ่สำหรับชีวิต สามารถให้ถึงภาวะอันเป็นอิสระเต็มที่ มีความเกษมนิรันดร



    เมื่อสร้างแจ้งให้ทราบแต่การประกอบพิธีบันจุพุทธมนต์เป็นพิเศษที่ยิ่งใหญ่โดยสังเขป ซึ่งยังไม่เคยเห็นทำที่ไหน คือจัดที่บูชาพร้อมเครื่องสังเวยต่างๆ มีเทียนธูป ข้าวตอก ดอกไม้ ๗ สี แลอาหารผลไม้ถึงอย่างละ ๓๗๕ ที่มีเบญจา มีเศวตฉัตร ๙ ชั้น สูง ๖ ศอก ๘ ต้น บายศรีเงิน บายศรีทอง ๙ ชั้น สูง ๖ ศอก อย่างละ ๘ ต้น บันจุพระพุทธมนต์ลงไปในน้ำ และผงที่จะสร้างพระนั้น โดยนิมนต์อาจารย์ผู้มีชื่อเสียงหลายวัดทำพิธีประจุมนต์ เข้าพิธีปลุกเศกมี



    - พระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ) วัดบวรนิเวศวิหาร


    - พระวรเวทย์คุณาจารย์ (เมี้ยน ปภสสโร) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม


    - พระมหารัชชมังคลาจารย์


    - หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ


    - พระครูวินัยธรเฟื่อง (ญาณปปทีโป)


    - หลวงพ่อลี วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ (ช่วยทำพิธีและประสานงานด้วย)


    - พระสอาด อภิวฒฒโน วัดสัมพันธวงศ์


    - พระครูนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา


    - พระอาจารย์บุ่ง วัดใหม่ทองเสน


    - พระชอบ สัมมาจารี วัดอาวุธวิกสิตาราม ธนบุรี เป็นต้น



    พร้อมด้วยบันจุ เทพมนตพรหมมนต์ โดยเชิญเทพแลพรหมผู้มีชื่อเสียงเก่าๆ มาเข้าทรงประกอบพิธีอธิษฐานบันจุมนต์ลงด้วย และบันจุมนต์โยคีโดยโยคีฮาเร็บ (อาจารย์ชื่น จันทรเพ็ชร) ผู้มีชื่อเสียงและ พ.ต.อ.ชลอ อุทกภาชน์ ผู้เป็นศิษย์เป็นผู้ทำพิธีบรรจุ เสร็จพิธีแล้ว จึงได้ใช้ผงประสมทำเป็นองค์พระได้มงคลฤกษ์ จึงได้ทำพิธีปลุกเศกพระเครื่องนั้นอีกครั้งหนึ่ง



    พระเครื่องที่จะทำพิธีปลุกเศกนั้น ห่อด้วยผ้าขาว ๗ ชั้น ผ้าเขียว ๗ ชั้น พิธีนอกนั้นเหมือนเมื่อบันจุมนต์ลงในผงแลน้ำที่จะสร้างพระ ตั้งน้ำมนต์สำหรับแจกผู้ต้องการซึ่งมาร่วมพิธี ๔๐ ตุ่ม แต่ไม่ได้กล่าวถึงผงที่นำมาประสมสร้างพระนั้นว่ามีอะไรบ้าง มีผู้สนใจต้องการทราบอยู่เป็นจำนวนมา จึงสมควรเขียนประวัติ เนื่องด้วยผงที่นำมาประสมสร้างพระเครื่องนั้น ให้ท่านทราบไว้ด้วย ดังต่อไปนี้



    ๑. ผงขอจากพระอาจารย์ต่าง ๆ ที่ท่านทำและรวบรวมไว้หลายวัด เช่น วัดพระเชตุพน วัดตรีทศเทพ และวัดสัมพันธวงศ์ ฯลฯ ผงแป้งที่ทำแลผงจากพระของเก่าบ้าง



    ๒. ผงพระที่ทำด้วยว่านต่างๆ ที่นิยมว่าเป็นมงคลศักดิ์สิทธิ์ ๑๐๘ อย่าง ทำจากดอกไม้บูชาพระต่างๆ ๑๐๘ อย่าง



    ๓. ผงที่ทำด้วยดินจากท่าน้ำ ๗ ท่า และจากสระน้ำ ๗ สระ



    ๔. ผงที่ทำด้วยเอาคัมภีร์เก่าๆ ทั้งใบลานแลสมุดข่อยมาเผาบด ตั้งแต่หมายเลข ๑ ถึง ๕ นี้ประสมสร้างพระผงรุ่นก่อน แล้วเอาบดผสมเข้ากัน กับผงใหม่ที่นำมาเข้าพิธีนี้ด้วย



    ๕. ผงที่ได้จากดินที่สังเวชนียสถาน ๔ แห่งในอินเดีย คือ ๑ ดินที่ลุมพินีระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์และเทวทหะ ซึ่งเป็นที่ประสูติของพระพุทธเจ้า ๒ ดินที่มหาโพธิพุทธคยาที่ตรัสรู้ ๓ ดินทีสารนาถ มฤคทายวัน เมื่องพาราณสี ซึ่งเป็นที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจักร ๔ ดินที่กุสินาราซึ่งเป็นที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน



    ๖. ดินจากสถานที่สำคัญอีก ๙ แห่ง คือดินจากสถานที่พระพุทธเจ้าเสด็จเสวยวิมุติสุข ๗ แห่ง บริเวณพุทธคยา มีที่รัตนะจงกลม แลที่สระมุจลิน เป็นต้น แลดินที่พระคันธกุฏีที่ประทับของพระพุทธเจ้าบนเขาคิชกูฏ (เมืองราชคฤห์) ๑ ดินที่พระคันธกุฏีที่ประทับในเมืองสาวัตถี ๓ ซึ่งพระครูสุภารพินิจ (โทน สุขพโล) วัดสัมพันธวงศ์ ได้ไปนมัสการปูชนียสถานนั้นๆ และได้นำมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๗ ผู้ที่มีพระเครื่องแบบพุทธมงคลมหาลาภ พระแบบสมเด็จพระพุฒาจารย์ เป็นต้นไว้บูชา เป็นอันได้ระลึกถึงแลบูชา สังเวชนียสถานด้วย



    ๗. ผงปูนขาวหินราชบุรี



    ๘. ผงปูนซิเมนต์ขาว และนอกจากนี้ ก็ยังมีดินเหนียวอย่างดี สีเหลือง แลน้ำอ้อย เป็นต้น



    ผงเหล่านี้นั้น ประสมกันมากบ้างน้อยบ้าง แล้วบดให้ละเอียดแร่งกรองด้วยผ้าป่าน สำเร็จเป็นผงที่จะสร้างพระเครื่อง ใช้น้ำมนต์ที่ทำไว้นั้นประสมกับของที่จะทำพระให้พระมีคุณภาพดี สวยงามทนทาน ศักดิ์สิทธิ์ต่อไป ประสมผงพิมพ์เป็นรูป พระพุทธมงคลมหาลาภบ้าง สมเด็จบ้าง



    ส่วนพระเครื่องอื่นสร้างด้วยดินประสมผงเผาแล้วนำมา เข้าพิธีปลุกเศกในคราวเดียวกันกับพระพุทธมงคลมหาลาภเสร็จพิธีแล้วแจกจ่ายในงานสมโภชพระพุทโธภาสชินราชจอมมุนี พร้อมด้วยพระอัครสาวก ในการต่อมา พระเครื่องเหล่านี้ เมื่อแจกจ่ายแก่ผู้จำนงในงานผูกพัทธสีมา อุโบสถวัดสารนาถธรรมารามแล้ว ก็จะได้จัดการทำพิธีบันจุในอุโบสถ หรือเจดีย์ตามควร เพื่อเป็นมิ่งขวัญแก่วัดสารนาถธรรมาราม อันเป็นมหาปูชนียสถานในกาลต่อไปฯ



    <CENTER>พระมหารัชชมังคลาจารย์
    เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์</CENTER>




    <CENTER>ข้อมูลอื่น ๆ เกี่ยวกับพระมงคลมหาลาภ</CENTER>



    เป็นพระนาคปรกสี่เหลี่ยม เนื้อผงขาว (และส่วนผสมดังกล่าวแล้ว) ด้านหลังเป็นยันต์เฑาะดอกบัว อะอุมะ พิมพ์ใหญ่กลางเล็ก จำนวน ๘๔,๐๐๐ องค์ ซึ่ง “พระรัชชมงคลมุนี” (พระมหารัชชมังคลาจารย์) อดีตเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ ได้มอบให้ “พระชอบ สัมมาจารี” วัดอาวุธวิกสิตาราม กรุงเทพ ฯ สร้าง เพื่อนำมาแจกในงานสมโภชพระประธาน โดยส่ง “ผงอิทธิเจ ผงพุทธคุณต่าง ๆ เป็นแท่ง ๆ ประทับตรา “วัดสัมพันธวงศ์” ให้นำมาผสม โดยเรียก “พระนาคปรก” นี้ว่า “พระมงคลมหาลาภ” ซึ่งมีชื่อของท่านคือ “พระรัชชมงคลมุนี” อยู่ในชื่อพระด้วย ในพิธีนี้แม่ชีบุญเรือนได้อธิษฐานจิตร่วมอยู่ในพิธีด้วย



    หลวงพ่อลี วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ องค์ประสานงานพิธีพุทธาภิเษกครั้งนี้ ได้บอกศิษย์ว่า “พระผงนี้ดีมาก มีรังสี สีขาว และเหลือกระจายออกสว่างไสว” นอกนั้น ท่านยังได้ขอพระผงมงคลมหาลาภที่ชำรุดประมาณ ๑ บาตรพระ นำไปบดใส่ “พระใบโพธิ์เนื้อดิน พ.ศ. ๒๕๐๐“ ของท่านด้วย



    ขนาดขององค์พระ พิมพ์ใหญ่ ฐานกว้างประมาณ ๒.๕ – ๓.๘ ซม. หนา ๐.๕ ซม. พิมพ์เล็ก ฐานกว้างประมาณ ๒.๒ – ๒.๕ ซม. หนา ๐.๕ ซม ด้านหลัง มีตราวัดสัมพันธวงศ์ “เฑาะรัศมีดอกบัว อ.อุ.ม. ประทับลงในเนื้อเป็นตรารูปไข่ ขนาดของความหนาไม่แน่นอน หนาบ้าง บางเฉียบบ้าง แล้วแต่ขนาด



    พระพิมพ์นี้ คนระยอง คนจันทบุรี คนตราด อีกทั้งชาวประมงแถบภาคตะวันออกห้อยคอองค์เดียวรู้ถึงพุทธคุณเป็นอย่างดีโดยเฉพาะช่วงที่มีใต้ฝุ่นเข้าแหลมตะลุมพุก ผู้ที่แขวนพระองค์นี้ลอยอย่างปาฏิหาริย์ จึงเป็นที่แสวงหากันมาก



    <CENTER>ข้อมูลจากคำบอกเล่าของท่านเจ้าคุณ พระราชรัชมงคลโกวิท</CENTER>



    พระราชรัชมงคลโกวิท เจ้าอาวาสวัดสารนาถธรรมาราม จ.ระยอง องค์ปัจจุบัน เล่าว่า พิธีพุทธาภิเษกครั้งนี้ พระกรรมฐานสายพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต กว่าร้อยรูป มี พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์วัน อุตฺตโม พระอาจารย์ลี วัดอโศการาม เป็นต้น ทำพิธีนั่งปรกพุทธาภิเษกพระประธาน และพระเครื่องต่าง ๆ มีพระมงคลมหาลาภ พระพุทโธน้อย เป็นต้น โดยทำพิธี ๑๘ วัน ๑๘ คืน ท่านเล่าต่ออีกว่า ในชีวิตที่ท่านเกิดมา ยังไม่เคยเห็นพิธีพุทธาภิเษกที่ไหนใหญ่โตเท่าครั้งนี้อีกเลย (ปีที่บอกข้อมูลนี้ ท่านอายุ ๘๐ ปี มรณภาพเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๑)





    มวลสารที่อุดหลังพระรุ่นนี้ บรรจุพระมงคลมหาลาภที่ชำรุดไปหลายองค์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤศจิกายน 2010
  10. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอนที่ 49 หลวงปู่เพียร วัดป่าหนองกอง

    [​IMG]
    ประวัติหลวงปู่เพียร วิริโย วัดป่าหนองกอง
    หลวงปู่เพียร วิริโย อายุ 83 ปี 61 พรรษา เป็นบุตรของนายพา นางวัน จันได เกิดพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม พ.ศ.2469 ที่บ้านศรีฐาน ต.ศรีฐาน อ.คำเขื่อนแก้ว จ.อุบลราชธานี หรือ จ.ยโสธร ในปัจจุบัน บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดป่าศรีฐาน เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2490 เมื่ออายุครบ 22 ปี ได้อุปสมบทเป็นพระสงฆ์ที่วัดเดียวกัน หลังศึกษาพระธรรมระยะหนึ่ง ก็ออกธุดงค์ไปตามที่ต่าง ๆ จนได้เป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ใหญ่สายวิปัสนาภาคอีสาน
    เมื่อสิ้นบุญหลวงปู่มั่น หลวงปู่เพียรได้ตามหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนมาสร้างวัดป่าบ้านตาดจนแล้วเสร็จ ต่อมาได้ออกธุดงค์ไปจำวัดอยู่กับหลวงปู่บัว ปริบุญโน วัดราษฎรสงเคาระห์ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี กระทั่งมาพบสถานที่สร้างวัดป่าหนองกอง เห็นว่าเป็นที่สงบเหมาะสร้างวัดปฏิบัติธรรม หลวงปู่เพียรจึงสร้างวัด ณ สถานที่แห่งนี้จนมั่นคงสืบมา
    หลวงปู่เพียร เริ่มมีอาการอาพาธเมื่อปี พ.ศ. 2546 กระทั่งในปี 2548 ได้เข้ารับการตรวจรักษาที่ รพ.ศูนย์อุดรธานี แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคปอดและโรคหัวใจ ต่อมาในปี 2552 ก็เข้ารับการตรวจรักษาบ่อยขึ้น ล่าสุดเมื่อเวลา 09.00 น. ของวันที่ 22 มิถุนายนที่ผ่านมา ลูกศิษย์ได้นำหลวงปู่เพียรที่มีอาการอาพาธส่ง รพ.ศูนย์อุดรธานี และได้รับการส่งต่อไปรักษาที่ รพ.ศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น ก่อนที่หลวงปู่เพียร จะมรณภาพด้วยอาการสงบ เมื่อเวลา 01.28 น. ของวันที่ 23 มิถุนายน 2553


    มวลสารผสมอังคารหลวงปู่เพียร เรียกได้ว่าพระรุ่นนี้เป็นรุ่นที่ update สุดๆ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,288
    ขอจองฉากสีเขียว 1 องค์ครับ
     
  12. krit_eng99

    krit_eng99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    791
    ค่าพลัง:
    +2,228
    1.ล็อกเกตฉากสีทอง(กรรมการ) บูชาองค์ละ 3,700 บาท (หมดแล้วครับ)

    2.ล็อกเกตฉากธรรมดา มี 3 สี ขาว ดำ เขียว บูชาองค์ละ 1,200 บาท
    ล๊อกเกต ฉากสีเขียว (หมดแล้วครับ)
    ฉากสีขาว เหลือ 71 องค์
    ฉากสีดำ เหลือ 65 องค์

    โอนได้ 2 บัญชีครับ
    กองทุนเพื่อสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาย่อยปราสาท ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 959-201-6901
    หรือ
    บัญชี พระบัวพรรณ เบิกบาน ธนาคารกรุงเทพ สาขาย่อยปราสาท สะสมทรัพย์ เลขที่บัญชี 301-4794-121

    อนุโมทนากับทุกท่านครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • original281.JPG
      original281.JPG
      ขนาดไฟล์:
      240.6 KB
      เปิดดู:
      147
    • original282.JPG
      original282.JPG
      ขนาดไฟล์:
      159.7 KB
      เปิดดู:
      146
  13. krit_eng99

    krit_eng99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    791
    ค่าพลัง:
    +2,228
    อนุโมทนาครับคุณ bluebaby2
    ฉากสีเขียวหมดแล้วครับ
    ถ้าอยากได้จริงต้องรอหน่อย ถ้าคนที่จองไว้ ไม่โอนเงินถึงจะได้ครับ
     
  14. shinne

    shinne เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2009
    โพสต์:
    100
    ค่าพลัง:
    +612
    ผมจองล็อกเก็ตฉากดำเพิ่มอีก 1 องค์ครับ
     
  15. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ไม่ได้ลงอะไรอัพเดทตั้งนาน เพราะยุ่งๆครับ อีกอย่างช่วงไหนที่ไม่ค่อยมีเงิน งานทำพระก็ต้องปล่อยๆไปก่อน เหมือนกับหน่วยธุรกิจที่ไม่ generate ผลตอบแทนที่คุ้มค่าก็ต้องพักมันไว้ก่อน แต่วันนี้จะอัพเดทละ พอมีเวลา
     
  16. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ภาพงานพุทธาภิเษกพระกริ่งชินบัญชรเพ็ชรกลับและเหรียญหล่ออจินไตยรุ่นแรกของหลวงปู่ละมัยที่สวนเวฬุวัน อำเภอพยุห์ครับ

    ลงให้ชมกัน ผมเป็นคนท่ไม่ค่อยชอบถ่ายรูป ยิ่งภาพพระครูบาอาจารย์จะยิ่งระวังมาก ถ้าเป็นไปได้จะนิยมถ่ายไท่เกิน 1 รูป เพราะไม่ได้ตั้งใจนำชื่อเสียงของท่านมาเป็นจุดขาย

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอนที่ 50 ผงอิทธิเจ หลวงพ่อสม สุชีโว วัดโพธิ์ทอง

    [​IMG]

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=2 width=800 border=0><TBODY><TR><TD class=bodyText>ประวัติพระครูโสภณสิริธรรม(หลวงพ่อสม สุชีโว)
    เจ้าคณะอำเภอโพธิ์ทอง เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ทอง ตำบลคำหยาด อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง
    </TD></TR><TR><TD class=bodyText width=800>พระครูโสภณสิริธรรม (หลวงพ่อสม สุชีโว) นามเดิมนายสม พรหมทอง เกิดเมื่อ ปีพ.ศ. 2473 ณ หมู่บ้านย่านบางลำพู กรุงเทพมหานคร บิดาชื่อนายหวล พรหมทอง มารดาชื่อนางละมาย พรหมทอง มีพี่นอ้อง 3 คนด้วยกันหลวงพ่อสมเป็นคนที่ 1 คนที่ 2 นางทวี พรหมทอง คนที่ 3 นางชาญ พรหมทอง ขณะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 บิดามารดาของท่านได้พากันอพยพไปตั้งถิ่นฐานทำมาหากินที่อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท เนื่องจากโยมบิดามารดาของท่านชอบเข้าวัดทำบุญอยู่เสมอจึงมีความสนิทสนมกับหลวงพ่อทรัพย์ วัดอินทาราม(วัดตลุก) จึงได้พาบุตรชายคือหลวงพ่อสมในปัจจุบันให้ไปอยู่วัดด้วย เพื่อความสะดวกในการศึกษาเล่าเรียน กับหลวงพ่อทรัพย์พระผู้เคร่งครัดพระธรรมวินัยอีกทั้งหลวงพ่อทรัพย์ยังเป็นพระหมอยา โยมบิดามารดาของหลวงพ่อสมมีความปรารถนาจะให้บุตรของตนได้มีโอกาสศึกษาตำราแพทย์แผนโบราณซึ่งก็สมหวังทุกประการ เพราะปัจจุบันหลวงพ่อสมเป็นพระหมอยาที่มีความชำนาญในการปรุงยารักษาโรคร้ายทังหลายให้หายได้อย่างน่าอัศจรรย์เด็กชายสม พรหมทอง หลังจากจบการเรียนชั้นประถมปีที่4 ด้วยความสนใจจะศึกษาด้านวิชาอาคมต่างๆอันเป็นปกติ ประจำอยู่แล้ว
    ตั้งแต่สมัยเป็นเด็กชายที่ได้มีความใกล้ชิดกับหลวงพ่อรุ่ง หลวงพ่อเดิมที่ได้เดินทางไปอยู่ปริวาสที่วัดตลุกบ่อยๆ เมื่อมีโอกาสได้บวชเป็นสามเณรจึงไดศึกษาด้านวิชาอาคมต่างๆจากตำราบ้างจากหลวงพ่อรุ่ง หลวงพ่อเดิมบ้าง จนเกิดความชำนาญขึ้นสามารถเขียนผ้ายันต์ถวายหลวงพ่อรุ่ง หลวงพ่อเดิม หลังจากบรรพชาเป็นสามาเณรอยู่ได้สองพรรษาก็ต้องสึกออกไปช่วยงานของโยมบิดามารดาซึ่งมีอาชีพค้าขายคือควบคุมเรือนำสินค้าไปค้าขายที่กรุงเทพฯในสมัยนั้นการค้าขายต้องอาศัยทางเรือเดินทางขึ้นล่องกรุงเทพฯ-ชัยนาทอยู่หลายปี จนมีอายุได้ 24 ปี หลวงพ่อได้อุปสมบท ณ วัดอินทาราม(วัดตลุก) โดยมีพระครูธรรมวิริยโสภณ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมห์สนิท วัดตลุกเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์เส็ง วัดตลุกเป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลวงพ่อได้นามทางพุทธศาสนาว่า”สุชีโว”
    หลังจากอุปสมบทแล้ว หลวงพ่อสมได้มุ่งมั่นศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยด้วยใจรักและยังศึกษาเล่าเรียนตำรายาต่างๆจากหลวงพ่อทรัพย์ ศึกษาข้อกรรมฐานกับหลวงพ่อชมและหมั่นเพียรปฏิบัติสมาธิกรรมฐานอย่างเอาจริงเอาจัง หลวงพ่อทรัพย์ได้ฝึกจิตหลวงพ่อสมด้วยการเขียนลบ เขียนลบยันต์ต่างๆในแผ่นกระดานชนวนอยู่อย่างนั้นนับแรมปี เพราะสิ่งใดก็ตามเมื่อทำอย่างซ้ำๆบ่อยๆก็จะเป็นผลดีในการฝึกจิตแบบอดทน นอกจากนี้หลวงพ่อสมได้ไปศึกษาวิชาอาคมเพิ่มเติมกับน้าแท้ๆของท่านก็คือหลวงน้าเก็บหรือหลวงพ่อเก็บ แห่งวัดปากคลองมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท หลวงพ่อเก็บเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่ศุข ตั้งแต่เป็นเด็กชายตัวเล็กไว้ผมจุก หลวงปู่ศุขจะเรียกหลวงพ่อเก็บว่า”ไอ้จุก" เป็นเด็กรับใช้ใกล้ชิดชงน้ำชา เทกระโถน ล้างบาตร ทำความสะอาดห้องหลวงปู่ต้องเรียกไอ้จุกไปทำถือว่าเป็นคนโปรดของหลวงปู่ศุข
    เมื่อเข้าเกณฑ์อุปสมบทหลวงปู่ศุขได้บวชให้เป็นพระและได้ถ่ายทอดวิชาอาคมแขนงต่างๆ เมื่อหลวงพ่อสมได้มาอยู่กับหลวงน้าของท่านที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า ได้ตั้งใจขอถ่ายทอดวิชาอาคมสายหลวงปู่ศุขอย่างเอาจริงเอาจัง ถ้าพูดถึงความรอบรู้ ความสามารถของหลวงพ่อสม สุชีโวแห่งวัดโพธิ์ทองแล้วเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีความพร้อม ลูกศิษย์ลูกหา ญาติโยม ประชาชนจะขอความเมตตาจากท่าน ว่าจะเป็นเลือดคลั่งในสมอง ท่านสามารถทำให้หายได้ สตรีเลือดลมผิดปกติ ท่าสามารถทำให้ดีขึ้นได้ น้ำมนต์ของท่านศักดิ์สิทธิ์และพลังจิตของท่านรักษาคนแขนหัก ขาหักที่เกิดจากอุบัติเหตุให้หายนับครั้งไม่ถ้วน ถึงแม้อายุของหลวงพ่อสมจะย่างเข้า 80 ปี พรรษาที่ 56 ท่านไม่เคยที่จะอยู่เฉยๆ ท่านถือว่าความรู้ไม่มีคำว่าสาย ท่านได้ไปสมัครลงทะเบียนเรียนสาขาพุทธศาสตร์บัณฑิต ของมหาวิทยาลัย- จุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ระดับปริญญาตรี ที่วิทยาเขตวัดพิกุลทอง จังหวัดสิงห์บุรี ท่านใช้เวลาศึกษาอยู่ 4 ปี (เรียนสัปดาห์ละ 3 วัน) จนจบการศึกษา โดยไม่เคยขาดเรียนเลยและท่านเข้ารับปริญญาตรีในวันอาทิตย์ที่ 9 พฤษภาคม 2553 ณ มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


    ท่านเชี่ยวชาญการลบผงอิทธิเจครับ ศิษย์สายหลวงปู่ศุข หลวงพ่อเดิม หลวงพ่อรุ่ง วัดหนองสีนวล

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 พฤศจิกายน 2010
  18. somchai_aut

    somchai_aut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +137
    ผมจองล็อกเก็ตฉากขาว 1 องค์ และองค์ดำ 1 องค์ครับ
     
  19. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอนที่ 51 ปู่โทน หลำแพร

    ปู่โทน หลำแพร เป็นชาวบ้านโพธิไทร อำเภออินทร์บุรี จังหวัด สิงห์บุรี เมื่อสมัยยังเป็นหนุ่มน้อยได้บวชเป็นสามเณรอยู่ 3 พรรษา และอุปสมบทเป็นพระภิกษุต่ออีก 2 พรรษา ขณะที่บวชเรียนอยู่นั้น ปู่โทนก็สนใจในวิชาวิปัสสนากรรมฐาน ได้เคยศึกษาและปฏิบัติ จากพระอาจารย์ผู้มีความรู้ทางด้านนี้หลายรูป
    ต่อมาแม้เมื่อได้ลาสิกขาออกมาครองเพศฆราวาสแล้ว ปู่โทนผู้นี้ก็ยังสนใจในวิชาวิปัสสนากรรมฐานอยู่ พยายามหาโอกาสออกแสวงหาสถานที่วิเวกเพื่อบำเพ็ญธรรม อยู่เสมอ
    ขณะที่ท่านมีอายุได้ประมาณ 30 ปี ครั้งหนึ่งก็ได้ออกไปแสวงหาสถานที่วิเวกเพื่อบำเพ็ญ และในที่สุดก็ได้พบกับสถานที่ที่ต้องการแห่งหนึ่ง คือ ในถ้ำพระ ซึ่งอยู่หลังเขาช่องแค อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์
    คืนหนึ่งขณะที่ท่านนั่งสมาธิอยู่ พอจิตได้อารมณ์เป็นสมาธิแน่วนิ่งแล้วก็บังเกิดความประหลาดขึ้น โดยมีพระภิกษุรูปหนึ่งได้ปรากฏให้เห็นในนิมิต ตามคำบอกเล่าของปู่โทนบอกว่า พระภิกษุรูปนั้น มีลักษณะเหมือนคนโบราณ แต่ผิวพรรณผ่องใส มีสง่าราศีน่าเคารพนับถือ ดูจากรูปร่างภายนอกแล้วเห็นว่ายังหนุ่มแน่นแต่ศีรษะมีหงอกขาวโพลน
    ครั้นได้เห็นพระภิกษุรูปนั้น ปู่โทนก็เข้าใจว่าคงจะเป็นพระอาจารย์ทางวิปัสสนากรรมฐานผู้มีญาณวิเศษ สามารถถอดจิตมาสนทนากันได้ในนิมิต และการมาของท่านก็คงจะมาเพื่อสนทนาธรรมหรือช่วยชี้แนะข้อธรรมกรรมฐานที่ท่านติดขัดอยู่
    ปู่โทนจึงได้เรียกถามท่านไป(ในนิมิต)ว่า
    “ พระคุณเจ้าเป็นใคร ”
    พระภิกษุหนุ่มผู้มีสง่าราศีน่าศรัทธายิ่งรูปนั้น ก็ตอบให้ทราบว่า ท่านคือหลวงปู่เทพโลกอุดร เป็นพระธุดงค์อาศัยอยู่ตามป่าเขาลำเนาถ้ำเป็นวัตร ที่มานี่ก็เพื่อต้องการจะมาชี้แนะธรรมปฏิบัติบางอย่าง เพราะเห็นว่าอุบาสกโทนยังปฏิบัติไม่ถูกต้อง
    ปู่โทนได้ทราบอย่างนั้นก็ปลื้มปิติยิ่งนัก ที่จะได้มีพระอาจารย์ผู้มีความรอบรู้มีคุณวิเศษเลิศล้ำ มาเมตตาชี้แนะข้อธรรมให้ ซึ่งบัดนั้นปู่โทนไม่ได้ทราบว่า หลวงปู่เทพโลกอุดร ที่ว่านั้นเป็นใครมาจากไหน เพราะว่า ท่านไม่เคยได้พบเจอ หรือได้ยินได้ทราบกิตติศัพท์มาก่อนว่า ท่านผู้นี้อยู่ที่ไหนแต่ปู่โทนก็ยินดีที่จะน้อมรับคำแนะนำเรื่องการวิปัสสนาจากพระภิกษุผู้มาอย่างแปลกประหลาดรูปนี้
    หลังจากนั้นหลวงปู่เทพโลกอุดรก็เมตตาชี้แนะวิธีทำกรรมฐานให้กับปู่โทนอธิบายจนปู่โทนเข้าใจดีแล้ว ก็หายวับไป
    ปู่โทนกลับคืนอารมณ์ปกติ แต่ก็ยังจำเหตุการณ์นั้นได้ติดตา และยังปลื้มปิติไม่หาย ปู่โทนได้คำแนะนำนั้นมาปฏิบัติจนเห็นผลในเวลาไม่นาน
    ครั้นบำเพ็ญธรรมกรรมฐานอยู่ที่นั่นพอสมควรแล้วปู่โทนก็กลับมายังบ้าน เพื่อประกอบสัมมาอาชีพเลี้ยงครอบครัวต่อไป แต่แม้ว่าปู่จะกลับมาอยู่บ้าน แต่ก็ไม่เลิกทำกรรมฐานเสียเลย ยังคงบำเพ็ญอยู่อย่างสม่ำเสมอ แต่ก็น้อยกว่าเวลาไปบำเพ็ญในที่วิเวกตามป่าเขาลำเนาถ้ำเท่านั้นเอง
    และหลังจากนั้นปู่โทนก็ได้หาโอกาสไปบำเพ็ญธรรมที่ถ้ำพระนั้นอีก และก็ได้พบพระอาจารย์ในนิมิต ที่ท่านรู้จักในนาม หลวงปู่เทพโลกอุดรมาคอยชี้แนะข้อธรรมะให้อีก และสอนในระดับสูงขึ้น ๆ
    ปู่โทนไปอยู่ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับพระอาจารย์ในนิมิคที่นั่นอยู่เป็นนานพอสมควร จนกระทั่งวันหนึ่ง พระอาจารย์หลวงปู่เทพโลกอุดรก็ได้บอกให้กับศิษย์คือ ปู่โทนถอดจิตออกจากสมาธิแล้วลืมตาขึ้น
    บัดนั้นเอง ปู่โทน ศิษย์ผู้ที่เคยแต่ได้เห็นอาจารย์แต่เพียงในนิมิต ก็ได้เห็นพระอาจารย์หลวงปู่เทพโลกอุดรด้วยตาเนื้อจริง ๆ
    เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนักเพราะว่ารูปร่างลักษณะของพระอาจารย์หลวงปู่เทพโลกอุดร ที่ศิษย์ปู่โทนได้เห็นด้วยตาเปล่าในขณะนั้นเหมือนกับที่ได้เห็นในนิมิตอย่างไม่ผิดเพี้ยนเลย เพราะเหตุนี้เอง ในเวลาต่อมาปู่โทนจึงเชื่อว่า หลวงปู่เทพโลกอุดรนั้นท่านยังไม่ได้มรณภาพ ท่านยังมีชีวิตอยู่ แต่ท่านอยู่ในที่ของท่านและท่านไม่ค่อยจะปรากฏให้ใครได้เห็นง่าย ๆ คนที่จะได้เห็นท่านนั้น จะต้องเป็นผู้ที่มีบุญวาสนา หรือเคยบุญเกี่ยวข้องกันมาแต่ชาติปางก่อน
    ตั้งแต่มานั้นการเรียนการสอนจึงได้ดำเนินมาทั้งในนิมิต และภาพจริง ๆ วิชาความรู้ที่หลวงปู่เทพโลกอุดรได้ถ่ายทอดให้กับศิษย์ ปู่โทน หลำแพร ในตอนนั้น นอกจากจะเป็นวิชาเกี่ยวกับการนั่งวิปัสสนากรรมฐานแล้ว ท่านยังได้สอนในเรื่องเวทมนตร์คาถา เพราะท่านสามารถกำหนดจิตทราบได้ว่า ปู่โทนต้องการจะเด่นในทางทรงฤทธิ์เดชและนอกจากนั้นแล้วท่านยังได้สอนวิชาแพทย์แผนโบราณ การใช้ยาสมุนไพรต่าง ๆ ประกอบยาให้ด้วย
    ซึ่งในเวลาต่อมาปู่โทนก็ได้ใช้วิชาความรู้เหล่านี้มาช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ให้รอดพ้นจากการถูกทรมานด้วยโรคร้าย และนอกจากนั้นแล้ว ท่านยังได้เป็ผู้เชี่ยวชาญและแนะนำการวิปัสสนากรรมฐานให้แก่บุคคลทั่วไป ถือได้ว่า ท่านเป็นวิปัสสนาจารย์ที่เป็นฆราวาสผู้มีความรอบรู้คนหนึ่ง
    เมื่อครั้งที่อยู่ศึกษาวิชาต่าง ๆ กับหลวงปู่เทพโลกอุดรนั่น ปู่โทนได้เปิดเผยถึงประสบการณ์ ที่ท่านประทับใจมากอย่างหนึ่ง และผู้เขียนเห็นว่าเป็นเหตุการณ์ที่แปลกประหลาดเป็นยิ่งนัก แต่เมื่อนำมาเล่าแล้วท่านผู้อ่านจะเชื่อหรือไม่ ก็สุดแต่ท่าน ขอให้ใช้วิจารณญาณพิจารณาเอาเอง
    เรื่องที่ว่านี้ ก็คือ เรื่องที่หลวงปู่เทพโลกอุดร ได้พาศิษย์ คือ ปู่โทนไปท่องป่าหิมพานต์
    หลังจากที่ปู่โทน ได้ศึกษาธรรมปฏิบัติกับอาจารย์หลวงปู่เทพโลกอุดรจนมีความสามารถพอสมควรแล้ว วันหนึ่ง หลวงปู่เทพโลกอุดร ได้บอกกับปู่โทน หลำแพร ผู้เป็นศิษย์ว่า
    “ อยากจะไปเที่ยวป่าหิมพานต์ไหม ”
    ปู่โทนได้ยินดังนั้นก็ให้ตกใจเล็กน้อย เพราะคิดว่าป่าหิมพานต์มีอยู่จริงหรือ เพราะเท่าที่ท่านทราบจากการศึกษาพระพุทธศาสนาก็พอจะทราบป่าหิมพานต์ที่ว่านี้ ก็คือป่าในเขตหนาว ซึ่งก็อยู่ในแถวเทือกเขาหิมาลัยโน่น แต่อย่างไรก็ตามท่านยังไม่เคยได้ยินได้ทราบว่ามีใครได้เคยไปเที่ยวป่าหิมพานต์นั้นมาก่อน จึงพากันคิดว่าป่าหิมพานต์เป็นเพียงแต่ฉลากสถานที่แห่งหนึ่งที่กล่าวถึงในพระเวสสันดรชาดก ซึ่งถือเป็นนิยายปรัมปรา หรือ เทพนิยายทางตะวันออกก็ว่าได้ คิดไม่ถึงว่าจะมีอยู่จริง และสามารถที่จะไปเที่ยวได้
    แต่อย่างไรปู่โทน ก็ศรัทธาและเชื่อมั่นในความเหนือธรรมดาของพระอาจารย์รูปนี้ ปู่จึงคิดว่าอาจารย์ไม่ได้พูดเล่นเป็นแน่ จึงตอบไปว่า
    “ อยากไปขอรับ ”
    ถึงแม้ว่าจะตอบรับไปแล้วแต่ปู่โทนก็ยังไม่วายสงสัยว่า อาจารย์จะพาตนไปที่นั่นได้อย่างไร ทั้งนี้ก็เพราะว่าตนยังคิดไม่ออกว่า เจ้าป่าหิมพานต์ที่ว่านั้นเป็นอย่างไรกันแน่ ต้องไม่ใช่อยู่ใกล้ ๆแน่ และที่สำคัญการเดินทางไปที่นั่น ต้องไม่มีการคมนาคมสะดวกสบายเหมือนกับเดินทางไปสู่ถิ่นเจริญอื่น ๆ เป็นแน่แท้ เพราะว่าถ้าเป็นเช่นนั้นก็คงจะมีใครต่อใครดั้นด้นเดินทางไปถึงมาแล้ว แล้วคงจะมีคนกลับมาเล่าให้ฟังกันบ้างแล้ว
    ปู่โทนจึงได้ถามหลวงปู่เทพโลกอุดรว่า
    “ จะไปที่นั่นกันอย่างไรหรือขอรับ “
    หลวงปู่ตอบว่า
    “ จะให้ปู่โทนขี่หลังท่านไป ”
    ปู่โทน ก็ยังสงสัยอยู่ว่าจะเป็นไปได้อย่างไร จะให้ศิษย์ขี่หลังเหาะไปอย่างนั้นหรือ แต่ท่านเชื่อว่า อาจารย์ผู้เลิศด้วยฤทธิ์อภิญญา เหนือโลกท่านนี้จะต้องพาตนไปยังที่ป่าหิมพานต์นั้นได้อย่างแน่นอน จึงไม่ได้ซักไซร้ให้มากความ
    เมื่อตกลงกันเช่นนั้นแล้วหลวงปู่เทพโลกอุดร ก็ได้นัดแนะวันที่จะนำศิษย์เอกเดินทางไปชมป่าหิมพานต์ว่า จะไปกันในอีก 7 วันข้างหน้า พร้อมกันนั้นท่านก็ได้กำชับศิษย์เอกว่า
    “ ในวันนั้น ให้แต่งกาย นุ่งขาว ห่มขาว และเมื่อเดินทางไปถึงป่าหิมพานต์แล้วก็ให้สำรวมกาย วาจา ใจ อย่างเคร่งครัด อย่าตื่นกลัวและห้ามซักถามใด ๆ ”
    ในที่สุดกำหนดการเดินทางไปท่องดินแดนมหัศจรรย์ก็มาถึง วันนั้นปู่โทนแต่งกายด้วยชุดขาว ตามที่หลวงปู่เทพโลกอุดรสั่ง หลังจากนั้นก็นั่งสมาธิแผ่เมตตาไปทั่วสากลโลก
    ออกจากสมาธิแล้ว ก็ได้นั่งรอการมาของหลวงปู่เทพโลกอุดร แต่เพียงนึกถึงเท่านั้น หลวงปู่เทพโลกอุดรก็มาปรากฏกายอยู่ตรงหน้า มาถึงแล้วหลวงปู่เทพโลกอุดรก็ได้ซักซ้อมความเข้าใจกับศิษย์อีกครั้ง โดยถึงการปฏิบัติเมื่อเดินทางไปถึงป่าหิมพานต์
    ครั้นซักซ้อมกันเข้าใจดี หลวงปู่ก็เอาผ้าสีดำผืนหนึ่งมาปิดตาลูกศิษย์เอกจากนั้นก็ให้เกาะหลังท่าน พาหายไปจากที่นั่นในขณะเดินทางอยู่นั้นปู่โทนจึงไม่ได้เห็นอะไรเลย เพราะมีผ้าปิดตาอยู่
    แต่เมื่อพาไปถึงที่หมาย หลวงปู่ก็แก้ผ้าดำที่ปิดตาศิษย์อยู่ออก จากนั้นปู่โทนจึงได้เห็นอะไรต่อมิอะไรในดินแดนมหัศจรรย์แห่งหนึ่ง ต่อมาปู่ท่านได้นำมาเปิดเผยว่า
    “ เห็นต้นไม้ใหญ่ สูงมาก แผ่กิ่งก้านสาขาทึบร่มครึ้มคล้ายต้นมะม่วง ใบยาวคล้าย ๆ ใบกล้วย ออกดอกออกช่อ ห้อยโตงเตงเป็นร่างผู้หญิงสาวสวยมาก สวยคล้ายนางฟ้า
    ดอกหนึ่งมีผู้หญิงสาวสองคนห้อยโตงเตงอยู่ด้วยกัน บางดอกก็เพิ่งเป็นตัวตน งอตัวคล้ายทารกงอตัวอยู่ในท้องแม่อย่างนั้นแหละ
    ท่านพระครู (หลวงปู่เทพโลกอุดร ) ไม่ได้บอกว่าเป็นต้นอะไร แต่ฉันก็รู้ได้ทันทีว่า นี้คือ ต้นดอกนารีผลในป่าหิมพานต์ เวลานี้ได้มาถึงป่าหิมพานต์แล้วเป็นเรื่องมหัศจรรย์มาก ฉัน (ปู่โทน ) ตะลึงลานไปหมด เอามือขยี้ตาตัวเองว่าฝาดไปหรือเปล่า ก็ไม่ได้ตาฝาด หยิกเนื้อหยิกตัวเองดูก็เจ็บ ไม่ได้ฝันไปเลย นารีผลแขวนโตงเตงดารดาษเต็มไปหมดทั้งต้น ส่งกลิ่นหอมตลบไปหมด หอมเหลือเกิน หอมอย่างเครื่องหอมที่ไม่มีในโลก ฉันเคลิบเคลิ้มงงงวย หัวใจยังงี้รู้สึกเหมือนจะลอยจากร่าง ใต้ต้น (นารีผล ) โล่งเตียนสะอาดสะอ้าน คล้ายมีคนมากวาดไว้เรียบร้อย อากาศหนาวเย็นมาก รู้สึกว่าเป็นเขากว้างมาก มีภูเขาสูง ๆ ล้อมรอบ ยอดเขามีหิมะปกคลุม
    นารีผลนั้นไม่เห็นพูดแต่รู้สึกว่ามีชีวิตจิตใจ สวยจริง ๆ เคลิบเคลิ้มเกิดอารมณ์เสน่หารัญจวนใจจนรู้สึกใจหวิว ๆ จะขาดรอนเสียให้ได้ตรงนั้น เลยต้องกลับ ”


    เรื่องเล่าในตอนนี้ของปู่โทน ได้กล่าวสัมภาษณ์นักเขียนท่านหนึ่ง คือ คุณ สิทธา เชตวัน


    พระรุ่นนี้ผสมอังคารของปู่โทน หลำแพร ซึ่งว่ากันว่าท่านสำเร็จอภิญญา เชื่อกันว่าเป็นศิษย์หลวงปู่เทพโลกอุดร จากเหตุการณ์ต่างๆ เช่น เป็นผู้บอกอาจารย์สมบูรณ์ ให้นิมนต์หลวงปู่สี มาที่วัดเขาถ้ำบุนนาค ตั้งแต่ยังไม่มีใครรู้จักท่าน สนิทคุ้นเคยกับหลวงปู่สรวง บ้านละลม แม้ลูกศิษย์จะบอกว่า เจอกันครั้งแรก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอนที่ 52 ผงพระกรุวังหน้า(บวรสถานมงคล)ที่ชำรุด

    [​IMG]
    ก่อนจะได้เขียนถึงเรื่องนี้ ผู้เขียนขอออกตัวสักเล็กน้อยว่า เรื่องที่จะเล่าต่อไปยังเป็นอีกเรื่องหนึ่งหาข้อยุติกันไม่ได้ กล่าวคือยังมีการถกเถียงกันถึงตัวตนอันแท้จริงของศิษย์หลวงปู่ เทพโลกอุดรท่าน นี้ แต่อย่างไรก็ตามข้อมูลที่พอจะสรุปร่วมกันได้ก็คือ ทุกฝ่ายต่างลงความเห็นร่วมกันว่าเป็นศิษย์หลวงปู่เทพโลกอุดร ผู้มีเชื้อสายพระมหากษัตริย์พระองค์นี้มีพระศักดิ์เป็น "กรมพระราชวังบวร" ทรงดำรงตำแหน่ง วังหน้า ในรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แต่สำหรับตัวตนจริงของกรมวังหน้า พระองค์นี้ยังเป็นการถกเถียงกัน
    ตามประวัติเล่าว่า สมเด็จวังหน้าองค์นี้ ทรงเป็นที่เกรงขามของบรรดาข้าราชบริพารยิ่งนึกและพระองค์มีลักษณะที่แตกต่างไปจากบุคคลทั่วไปอย่างหนึ่ง คือ พระองค์มีพระชิวหาดำ ทั้งนี้ก็เพราะพระองค์โปรดการปลูกว่านสุมไพรต่างๆและทรงโปรดการชิมรสว่านต่าง ๆ ด้วยพระลักษณะเฉพาะตัวนั้น จึงได้มีการขนานพระนามพระองค์ว่า :องค์ลิ้นดำ:
    สมเด็จวังหน้าพระองค์นี้ นอกจากจะสนใจในเรื่องการปลูกว่านสมุนไพรต่าง ๆ แล้วพระองค์ยังทรงสนพระทัยในเรื่องวิชา คาถา อาคม ไสยศาสตร์ ( สรุปเลยนะครับ พระองค์ท่านก็ได้เรียนกับ ครูต่าง ๆ ที่ว่าเก่งก็แล้ว เรียนไปหมด แต่ท่านก็ยังไม่พอใจ เพราะว่ามีแค่ เสกน้ำมนต์ แล้วก็ไล่ผี ท่านเลยได้ตั้งปณิธานว่า )
    ครั้นตัดสินพระทัยได้เช่นนั้นแล้ว พระองค์ก็ทรงจุดธูป 9 ดอก แล้วทรงตั้งจิตอธิษฐานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ว่า ถ้าไม่เจออาจารย์ที่จะสอนวิชาที่พระองค์ท่านต้องการได้จะไม่กลับมาวัง ขอให้เทพยาดาฟ้าดินได้โปรดเห็นพระทัยในความตั้งใจจริง ชี้ทางให้ไปพบกับอาจารย์ผู้มีความเชี่ยวชาญได้
    ครั้นทรงอธิษฐานเสร็จแล้ว สมเด็จวังหน้าพระองค์นี้ ก็ทรงแต่งกายอย่างสามัญชน และได้เสด็จหายไปจากพระราชวัง จนกระทั่งมาถึงหมู่บ้านหนึ่ง(ไม่ปรากฏชื่อและวันเดือนปี ) สมเด็จวังหน้าก็ได้เข้าไปขอน้ำจากชาวบ้านมาดื่มและล้างพระพักตร์ ครั้นพอรู้สึกชุ่มชื่นดีแล้ว ก็ได้ถอยออกมานั่งพักอยู่ใต้ร่มเงาไม้ไหญ่ แห่งหนึ่ง
    ครานั้น ตะวันเริ่มรอนแล้วสมเด็จวังหน้าทอดพระเนตรไปข้างหน้าก็พลันเห็นพระธุดงค์รูปหนึ่งปักกลดพักอยู่ที่ใต้ต้นไม้ใหญ่อีกต้นหนึ่ง ซึ่ง ห่างจากที่พระองค์นั่งพักอยู่ไม่เท่าไร
    ครั้นเห็นเช่นนั้นสมเด็จวังหน้า ก็ทรงดำริว่า :ชะรอยเทวดาฟ้าดินคงจะเห็นใจเราแล้ว พระธุดงค์รูปนั้นอาจจะเป็นอาจารย์ที่เรากำลังตามหาอยู่ก็ได้:
    ครั้นดำริเช่นนั้น พระองค์ก็ทรงเสด็จเข้าไปใกล้ที่พระธุดงค์รูปนั้น นั่งทำสมาธิอยู่ ไปถึงใกล้ ๆ ก็สังเกตเห็นความแปลกประหลาดของพระธุดงค์รูปดังกล่าว คือ พระธุดงค์ที่ปรากฏกายอยู่เบื้องหน้าสมเด็จวังหน้าขณะนั้น ดูจากหน้าตาและรูปร่างเห็นว่าท่านยังเยาว์วัย ยังหนุ่มยังแน่นอยู่ ผิวพรรณผุดผ่องดี อย่างผู้ทรงศีลบริสุทธิ์ แต่ว่าบนศีรษะกลับมีหงอกขาวโพลนเต็ม
    สมเด็จวังหน้าทรงเห็นดังนั้น ก็ให้นึกแปลกพระทัยและก็เริ่มศรัทธา ในรูปลักษณ์ของพระธุดงค์รูปนั้น พระองค์จึงนั่งลงนมัสการ
    ขณะนั้นพระธุดงค์ผุ้มีหน้าตาและร่างกายหนุ่ม แต่มีศีรษะขาวโพลนกำ ลังนั่งสมาธิ หลับตานิ่ง แต่ว่า ท่านรู้ว่ามีคนมาก้มอยู่เบื้องหน้าจึงได้ถามออกมาว่า " คุณโยมจะไปไหน"
    บัดนั้นสมเด็จวังหน้าจึงได้เล่าความเป็นมาของพระองค์ให้พระธุดงค์รูปนั้นทราบอย่างละเอียด แล้วได้บอกถึงวัตถุประสงค์ในการเสด็จออกจากวังครั้งนี้ให้ท่านทราบด้วย
    พระธุดงค์นั้นไม่กล่าวกระไร แต่เมื่อสมเด็จวังหน้าได้เรียนถามปัญหาต่าง ๆ ท่านก็ตอบได้ถูกต้องทุกคำถาม และตอบอย่างมีเหตุผล ชัดเจนอย่างผู้รู้จริง ซ้ำยังได้แสดงอิทธิฤทธิ์ให้สมเด็จวังหน้า ได้ประจักษ์เช่น ชี้กิ่งไม้กลายเป็นงูเป็นต้น
    สมเด็จวังหน้าได้เห็นเช่นนั้น ก็ประจักษ์พระทัยทันทีว่า พระธุดงค์รูปนี้ไม่ใช่ธรรมดา ท่านทรงความรู้เหนือกว่าบรรดาครูต่าง ๆ ที่พระองค์เคยเรียนมาเป็นแน่ จึงก้มกราบแทบเท้าพระธุดงค์แล้วกล่าวขอฝากตัวเป็นศิษย์พระธุดงค์รูปนั้นก็ไม่ขัศรัทธา
    สมเด็จวังหน้าจึงได้อยู่ศึกษาวิชาความรู้ตามที่พระองค์ต้องการกับพระธุดงค์ผู้มีความแปลกในตัวนั้นตั้งแต่บัดนั้น
    เล่ากันว่าวิชาแรกที่อาจารย์พระธุดงค์รูปนั้นสอนแก่สมเด็จวังหน้า ก็คือวิชานะหน้าทอง
    วิชานะหน้าทองนี้ ก็คือการใช้แผ่นทองฝังลงในร่างกายของคน ส่วนใหญ่จะใช้บริเวณหน้าผาก การฝังนั้นก็จะฝั่งด้วยพลังจิต พระธุดงค์ผู้เป็นอาจารย์ก็ได้ถวายการสอนโดยการใช้ทองฝังเข้าไปในร่างกายโดยการใช้พลังจิตและพระอาจารย์รูปนี้ไม่ใช่เพียงแต่สอนให้ลงนะหน้าทองโดยการฝังทองเข้าไป ในหน้าผากเท่านั้น ท่านยังปฏิบัติให้เป็นประจักษ์ถึงความสามารถที่พิสดารออกไป เช่น ส่งทองให้หายไปในอากาศ แล้วไปติดอยู่ตามต้นไม้ หรือที่ต่าง ๆได้
    สมเด็จวังหน้าทรงตั้งพระทัยศึกษาวิชานี้เป็นอย่างดี แต่วิชานี้ก็ไม่ใช่เรียนกันง่าย กว่าจะสำเร็จก็ต้องใช้เวลานานพอสมควร อาจารย์พระธุดงค์สอนวิธีต่าง ๆ ให้แล้วก็สั่งสมเด็จวังหน้าตั้งใจฝึกฝน ส่วนตัวท่านถอดกลดท่องธุดงค์ต่อไป แต่ก่อนจากกัน ท่านได้นัดแนะสมเด็จวังหน้า ผู้เป็นศิษย์ไว้ว่าคราวต่อไปจะได้ไปพบกันที่ไหนอีก
    ครั้นอาจารย์พระธุดงค์จากไปแล้ว สมเด็จวังหน้าก็ตั้งพระทัยฝึกวิชาลงนะหน้าทองนั้นต่อไป จนชำนาญดีแล้วครั้นเมื่อถึงหมายกำหนดที่อาจารย์ พระธุดงค์นัดให้ไปเจอ พระองค์ก็เดินทางไปตามที่นัดหมาย
    เล่ากันว่าเรียนการสอนของศิษย์อาจารย์คู่นี้ ค่อนข้างจะแปลกพิสดา รไปจาการสอนของครูอาจารย์คนอื่น ๆ คือ จะสอนจะเรียนกันเป็นร ะยะ ๆ และต่างวิชาต่างสถานที่กันไป บางทีก็ต้องเดินทางไปสอน ไปเรียนกันไกล ๆ และส่วนใหญ่จะอยู่ตามป่าเขาลำเนาถ้ำ บางคราวถึงกับเดินทางไปสอนไปเรียนกันถึงต่างประเทศ เช่น ประเทศลาว พม่า เป็นต้น แต่สมเด็จวังหน้าพระองค์นั้น ก็ทรงทรหด ดั้นด้นติดตามไปหาไปพบพระอาจารย์ตามที่นัดหมายได้ทุกครั้ง เสด็จวังหน้าพระองค์ทรงศึกษาเล่าเรียนวิชาความรู้ต่าง ๆ จากอาจารย์พระธุดงค์รูปนี้อยู่นาน จนชำนาญในหลายแขนงวิชา เพราะว่าพระ อาจารย์ธุดงค์รูปนี้ ไม่ใช่เพียงสอนวิชาคาถาอาคมเท่านั้น ท่านยัง สอนวิชาอื่น ๆ อีกด้วย โดยเฉพาะวิชาในพระพุทธศาสนา เช่นการนั่งสมาธิทำวิปัสสนากรรมฐาน เพราะท่านพูดกับศิษย์ว่า การนั่ง สมาธินั้นจะช่วยให้จำวิชาต่าง ๆได้ดีขึ้น และสามารถนำมาประกอบใช้ กับวิชาคาถาอาคมต่าง ๆ ได้ดี สมเด็จวังหน้าทรงปฏิบัติตามทุกอย่าง
    ครั้นศึกษาวิชาคาถาอาคม และการทำสมาธิ ทำกรรมฐานเพียงพอแล้ว วันหนึ่งอาจารย์ธุดงค์ก็ได้บอกกับสมเด็จวังหน้าผู้เป็นศิษย์ว่า
    " ถึงเวลาที่เราควรจากกันแล้ว ตอนนี้วังหน้าก็เรียนวิชาสำเร็จทุกอย่างแล้ว และอาตมาภาพขอยืนยันว่า บัดนี้ถือได้ว่าวังหน้าได้เป็นหนึ่งในแผ่นดินสมความปรารถนาแล้ว (ที่พิมพ์ย่อ ๆ มาไม่รู้ผมได้พิมพ์ไปเปล่า แต่ที่ท่านวังหน้าท่านออกมาหาอาจารย์ ที่จะสอนท่านให้เก่งเป็นหนึ่งในแผ่นดินได้นี้คือเป้าหมายของท่านครับ และได้เจอหลวงพ่อเทพโลกอุดรล่ะครับ )
    ก่อนจากกันครั้งหนึ่งสมเด็จวังหน้าได้ถามอาจารย์พระธุดงค์ว่า " หลวงพ่อชื่ออะไร "
    ทั้งนี้ก็เพราะว่า ถึงแม้จะได้เป็นศิษย์อาจารย์กันมาหลายปีแล้ว สมเด็จวังหน้าไม่เคยได้ทราบชื่อของอาจารย์พระธุดงค์รูปนั้นเลย พระองค์ได้แต่เรียกพระอาจารย์ว่า "หลวงพ่อ ๆ " ส่วนอาจารย์พระธุดงค์รูปนั้นก็เรียกสมเด็จวังหน้าว่า " วังหน้าเฉย ๆ "
    เมื่อสมเด็จวังหน้าได้ทรงถามเช่นนั้น อาจารย์พระธุดงค์รูปนั้น ก็ยังไม่ยอมบอกชื่อเสียงเรียงนาม ได้แต่อธิบายสมเด็จวังหน้า ให้เห็นถึงความไม่จำเป็นของชื่อเสียงเรียงนาม และยังได้บอกกับสมเด็จวังหน้าผู้เป็นศิษย์ว่า
    " วังหน้าจะเรียกหลวงพ่อว่าอย่างไร หลวงพ่อก็ชื่ออย่างนั้นล่ะ "
    เมื่อถามถึงอายุ อาจารย์พระธุดงค์ก็ตอบว่า " อายุเท่าไร จำไม่ได้แล้ว เพราะมันนานเหลือเกินแล้ว ปู่ของวังหน้า ถ้ายังมีชีวิตอยู่อายุสักประมาณเท่าไรได้แล้วล่ะ "
    สมเด็จวังหน้าตอบว่า " ร้อยกว่าปีแล้ว "
    อาจารย์พระธุดงค์ตอบว่า " ถ้าอย่างนั้น วังหน้าก็เอาอายุของปู่สักร้อยพระองค์มาบวกกันก็ยังไม่ได้เท่าอายุของหลวงพ่อ "
    ด้วยเหตุนี้ สมเด็จวังหน้าจึงไม่สามารถจะทราบได้ว่าพระอาจารย์<?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]ของ พระองค์ชื่ออะไร</st1:personName> พระองค์จึงทรงดำริจะตั้งชื่อพระอาจารย์ลึกลับมหัศจรรย์รูปนั้นขึ้นมาเอง
    พระองค์ทรงใคร่ครวญหาชื่อ เพื่อจะตั้งให้เหมาะกับพฤติกรรมของพระอาจารย์รูปนี้
    ในที่สุดก็ตัดสินพระทัยขออนุญาตเรียกชื่อ พระอาจารย์รูปนั้นว่า "เทพโลกอุดร " เพราะพระองค์ทรงเห็นว่า พระองค์ไปไหนมา ไหนรวดเร็วดังปรารถนาเหมือนเทพเจ้า และทรงฤทธิอภิญญาเหนือโลก อาจารย์พระธุดงค์ก็ไม่ว่าอะไร ได้แต่ยิ้ม ๆ
    ตั้งแต่บัดนั้นมา พระธุดงค์ผู้มีความพิสดารในรูปร่างลักษณะรูปนี้จึงได้ชื่อว่า "เทพโลกอุดร " แต่ในต่อมาไม่ทราบว่าใคร ได้ไปต่อนามให้ท่านว่า " พระครูโลกเทพอุดร " ตามประวัติที่พอสืบหาได้ก็เห็นว่า ท่านมีนามว่า " หลวงปู่โลกเทพอุดร " เท่านั้นไม่มีคำว่า " พระครู " นำหน้า


    มวลสารชุดนี้ผู้มอบให้ได้มาจากบ้านซอยจงประสาน ของอาจารย์ปถม อาจสาครโดยตรง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC01710.JPG
      DSC01710.JPG
      ขนาดไฟล์:
      147.1 KB
      เปิดดู:
      163
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...