น่าเป็นห่วง หลักสูตรพุทธศาสนา จากบางอาจารย์ สอนตายแล้วสูญ ( หลักสูตร ม.1- ม.6)

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 24 มกราคม 2006.

?
  1. ไม่เห็นด้วย (คิดว่าสอนผิด)

    0 vote(s)
    0.0%
  2. เห็นด้วย (คิดว่าสอนถูก)

    0 vote(s)
    0.0%
  1. sacrifar

    sacrifar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    551
    ค่าพลัง:
    +3,221
    ปิ้งปลาหมองอแล้วกลับนี่คำขำ
    เจ็บแล้วจำใส่กระบาลนี่ขานไข
    ผิดแล้วแก้กลับตัวเปลี่ยนหัวใจ
    จะมีใครมาวอนไม่สอนตน..


    สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม
    อีกคนตาแหลมคม เห็นดวงดาวอยู่พราวพราย

    สาธุ.. ครับ
     
  2. Tourhere

    Tourhere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    262
    ค่าพลัง:
    +146
    ตอบครับ

    พุทธดำรัสตอบ
     
  3. Tourhere

    Tourhere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    262
    ค่าพลัง:
    +146
    พุทธดำรัสตอบ “ ดูก่อนอุทายี ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเราแล้ว พึ่งเราอยู่ด้วยเข้าใจว่า พระสมณโคดมทรงเป็นผู้มีอาหารน้อย และทรงสรรเสริญความเป็นผู้มีอาหารน้อย อุทายี แต่สาวกทั้งหลายของเรามีอาหารเพียงเท่าโกสะ (จุในผลกระเบา) หนึ่งก็มี เพียงกึ่งโกสะ ก็มีเพียงเท่าเวลุวะ (จะในผลมะตูม) หนึ่งก็มี เพียงกึ่งเวลุวะก็มี ส่วนเราและ บางครั้งบริโภคอาหารเสมอขอบปากบาตรนี้ก็มี ยิ่งกว่าก็มี ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะเคารพ...เรา ด้วยเข้าใจว่า พระสมณโคดมทรงมีอาหารน้อย... บรรดาสาวกของเราผู้มีอาหารเพียงเท่าโกสะหนึ่งบ้าง..... เพียงกึ่งเวลุวะบ้าง ก็จะไม่เคารพสักการะ... เรา
    “ ดูก่อนอุทายี ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงเคารพ สักการะ.......เรา ด้วยเข้าใจว่า พระสมณโคดมทรงสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ อุทายี แต่สาวกทั้งหลาย ของเราเป็นผู้ถือผ้าบังสุกุล ทรงจีวรเศร้าหมอง เธอเหล่านั้นเลือกเก็บเอาผ้าเก่าแต่ป่าช้าบ้าง แต่กองหยากเยื่อบ้าง แต่ที่เขาทิ้งไว้ตามที่ต่าง ๆ บ้าง มาทำเป็นสังฆาฎิ ส่วนเราแล บางคราวก็ใช้คหบดีจีวรที่เนื้อแน่น....... ถ้าสาวก
    ทั้งหลายจะพึงสักการะเคารพ...เรา ด้วยเข้าใจว่า พระสมณโคดมทรงสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ บรรดาสาวกของเราที่ทรงผ้าบังสุกุล..... ก็จะไม่เคารพสักการะ... เรา
    “ ดูก่อนอุทายี ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงเคารพ สักการะ.......เรา ด้วยเข้าใจว่า พระสมณโคดมทรงสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้.... แต่สาวกทั้งหลาย ของเราเป็นผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร คือเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกเป็นวัตร....... เธอเหล่านั้น เมื่อเข้าไปถึงละแวกบ้านแล้ว ถึงใครจะนิมนต์ด้วยอาสนะก็ไม่ยินดีมีอยู่ ส่วนเราแล บางครั้งก็ฉันในที่นิมนต์ แต่ล้วนเป็นข้าวสุกแห่งข้าวสาลีที่เขาเก็บเมล็ดดำออกแล้ว มีแกงกับหลายอย่าง ถ้าสาวก
    ทั้งหลายจะพึงสักการะเคารพ...เรา ด้วยเข้าใจว่า พระสมณโคดมทรงสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ บรรดาสาวกของเราที่ถือบิณฑบาตเป็นวัตร.......ก็จะไม่เคารพสักการะ... เรา

    “ ดูก่อนอุทายี ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงเคารพ สักการะ.......เรา ด้วยเข้าใจว่า พระสมณโคดมทรงสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ แต่สาวกทั้งหลาย ของเราเป็นผู้ถืออยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร ถืออยู่กลางแจ้งเป็นวัตร เธอเหล่านั้น ไม่เข้าสู่ที่มุงตลอดแปดเดือนมีอยู่ ส่วนเราแล บางครั้งอยู่ในเรือนยอดที่ฉาบทาทั้งข้างในข้างนอก ลมเข้าไม่ได้ มีลิ่มชิดสนิท มีหน้าต่างเปิดปิดได้ ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะเคารพเรา เพราะเข้าใจว่า พระสมณโคดมทรงสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ บรรดาสาวกของเราที่ถือโคนต้นไม้เป็นวัตร..... ก็จะไม่เคารพสักการะ... เรา
    “ ดูก่อนอุทายี ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงเคารพ สักการะ.......เรา ด้วยเข้าใจว่า พระสมณโคดมเป็นผู้สงัดและทรงสรรเสริญความเป็นผู้สงัด...... แต่สาวกทั้งหลาย ของเราเป็นผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือเสนาสนะอันสงัด ถือป่าชัฏอยู่ เธอเหล่านั้นย่อมมาประชุมในท่ามกลางสงฆ์ เฉพาะเวลาสวดปฏิโมกข์ทุกกึ่งเดือนมีอยู่ ส่วนเราแล บางครั้งก็อยู่เกลื่อนกล่นไปด้วยภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะเคารพเรา ด้วยเข้าใจว่า พระสมณโคดมเป็นผู้สงัดและทรงสรรเสริญความเป็นผู้สงัด...... บรรดาสาวกของเราที่ถืออยู่ป่าเป็นวัตร..... ก็จะไม่เคารพสักการะ... เรา
    “ ดูก่อนอุทายี มีธรรม ๕ ประการอย่างอื่นอันเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายของเราสักการะเคารพเรา ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ?
    “ ดูก่อนอุทายี สาวกทั้งหลายของเราในธรรมวินัยนี้ ย่อมสรรเสริญในพระอธิศีลว่า พระสมณโคดมเป็นผู้มีศีล ประกอบด้วยศีลขันธ์อย่างยิ่ง........
    “ ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง สาวกทั้งหลายของเรา ย่อมสรรเสริญในเพราะความรู้ความเห็นที่แท้จริงว่า พระสมณโคดมเมื่อทรงรู้เองก็ตรัสว่ารู้ เมื่อทรงเห็นเองก็ตรัสว่าเห็น ทรงแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่ง มิใช่ทรงแสดงธรรมเพื่อความไม่รู้ยิ่ง ทรงแสดงธรรมมีเหตุ มิใช่ทรงแสดงไม่มีเหตุ ทรงแสดงธรรมมีความอัศจรรย์ มิใช่ทรงแสดงไม่มีความอัศจรรย์......
    “ ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง สาวกทั้งหลายของเรา ย่อมสรรเสริญในเพราะปัญญาอันยิ่งว่า พระสมณโคดมทรงมีพระปัญญา ทรงประกอบด้วยปัญญาขันธ์อย่างยิ่ง....
    “ ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง สาวกทั้งหลายของเรา ผู้อันทุกข์ท่วมท้นแล้ว..... เธอเหล่านั้นเข้ามาหาเราแล้วถามถึงทุกขอริยสัจ...... ถามถึงทุกขสมุทัยอริยสัจ........ ทุกขนิโรธอริยสัจ.......... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ..... เราอันเธอเหล่านั้นถาม...... ก็พยากรณ์ให้ยังจิตของเธอให้ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหา
    “ ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้วสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมเจริญสติปัฏฐานสี่.........
    “ ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้วสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมเจริญสัมมัปปธานสี่....... สาวกของเราเป็นอันมาก จึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่
    “ ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้วสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมเจริญอิทธิบาทสี่....... สาวกของเราเป็นอันมาก จึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่
    “ ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้วสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมเจริญอินทรีย์ห้า....... สาวกของเราเป็นอันมาก จึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่
    “ ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้วสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมเจริญพละห้า....... สาวกของเราเป็นอันมาก จึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่
    “ ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้วสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมเจริญโพชฌงค์เจ็ด....... สาวกของเราเป็นอันมาก จึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่
    “ ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้วสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมเจริญอริยมรรคมีองค์แปด....... สาวกของเราเป็นอันมาก จึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่
    “ ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้วสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมเจริญวิโมกข์แปด....... สาวกของเราเป็นอันมาก จึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่
    “ ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้วสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมเจริญอภิภายตนะแปดประการ....... สาวกของเราเป็นอันมาก จึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่
    “ ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้วสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมเจริญกสิณายตนะสิบประการ....... สาวกของเราเป็นอันมาก จึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่
    “ ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้วสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมเจริญฌานสี่....... สาวกของเราเป็นอันมาก จึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่
    “ ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้วสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายของเรานี้แลมีรูปประกอบด้วยมหาภูตสี่ เกิดแต่บิดามารดา...... มีอันทำลายและกระจัดกระจายเป็นธรรมดา และวิญญาณของเรานี้ก็อาศัยอยู่ในกายนี้ เนื่องอยู่ในกายนี้.... เปรียบเหมือนแก้วไพฑูรย์อันงาม...... มีด้ายเขียวเหลืองแดงขาวหรือนวล ร้อยอยู่ในนั้น..... สาวกของเราเป็นอันมาก จึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญา ......
    “ ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้วสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง..... เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง ...... สาวกของเราเป็นอันมาก จึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่
    “ ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้วสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมได้บรรลุอิทธิวิธีหลายประการ....... สาวกของเราเป็นอันมาก จึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่
    “ ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้วสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมได้ยินเสียงสองชนิด คือเสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์....... ย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ..... ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก....... ย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ..... ย่อมทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ....... สาวกของเราเป็นอันมาก จึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่
    “ ดูก่อนอุทายี ธรรมห้าประการนี้แล เป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายของเราสักการะ เคารพ นับถือ บูชาแล้วพึ่งเราอยู่”
    มหาสกุลุทายิสูตร ม. ม. (๓๒๕-๓๕๔)
    ตบ. ๑๓ : ๓๑๘-๓๔๐ ตท.๑๓ : ๒๖๘-๒๘๖
    ตอ. MLS. II : ๒๐๘-๒๒๒
     
  4. Tourhere

    Tourhere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    262
    ค่าพลัง:
    +146
    พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลนั้นนั่นแลประพฤติทุจริต ทางกาย ทางวาจา ทางใจแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก......
    “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกข์โทมนัสที่บุรุษถูกแทงด้วยหอกสามร้อยเล่มเป็นเหตุ กำลังเสวยอยู่นั้นเปรียบเทียบทุกข์ของนรก ยังไม่ถึงแม้ความคณนา ยังไม่ถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยว ยังไม่ถึงแม้การเทียบกันได้
    “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านายนิรยบาลจะให้คนพาลนั้นกระทำเหตุชื่อการจำ ๕ ประการคือ ตรึงตะปูเหล็กแดงที่มือข้างที่ ๑ ข้างที่ ๒ ที่เท้าข้างที่ ๑ ข้างที่ ๒ และที่ทรวงอกตรงกลาง คนพาลนั้นจะเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า....... และยังไม่ตายตราบเท่าบาปกรรมยังไม่สิ้นสุด
    “.....เหล่านายนิรยบาล จะจับคนพาลนั้นขึงพืดแล้วเอาผึ่งถาก คนพาลนั้นจะเสวยเทวทนาอันเป็นทุกข์กล้า......
    “.....เหล่านายนิรยบาล จะจับคนพาลนั้น เอาเท้าขึ้นข้างบน เอาหัวลงข้างล่าง แล้วถากด้วยพร้า คนพาลนั้นจะเสวยเทวทนาอันเป็นทุกข์กล้า......
    “.....เหล่านายนิรยบาล จะเอาพาลนั้นเทียมรถ แล้วให้วิ่งกลับไปกลับมาบนแผ่นดินที่มีไฟติดทั่ว ลุกโพลง โชติช่วง คนพาลนั้นจะเสวยเทวทนาอันเป็นทุกข์กล้า......
    “.....เหล่านายนิรยบาล จะให้คนพาลนั้นปีนขึ้นปีนลง ซึ่งภูเขาถ่านเพลิงลูกใหญ่ ที่มีไฟติดทั่วลุกโพลง โชติช่วง คนพาลนั้นจะเสวยเทวทนาอันเป็นทุกข์กล้า......
    “.....เหล่านายนิรยบาล จะจับคนพาลนั้น เอาเท้าขึ้นข้างบน เอาหัวลงข้างล่าง แล้วพุ่งลงไปในหม้อทองแดงที่ร้อน มีไฟติดทั่ง ลุกโพลง โชติช่วง คนพาลนั้นจะเดือนเป็นฟองอยู่ในหม้อทองแดงนั้น เมื่อเขาเดือดเป็นฟองอยู่ จะพล่านขึ้นข้างบนครั้งหนึ่งบ้าง พล่านลงข้างล่างครั้งหนึ่งบ้าง พล่านไปด้านขวาครั้งหนึ่งบ้าง พล่านลงข้างล่างครั้งหนึ่งบ้าง จะเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบอยู่ในหม้อทองแดงนั้น และยังไม่ตายตราบเท่าบาปกรรมยังไม่สิ้นสุด
    “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านายนิรยบาล จะจับโยนคนพาลนั้นเข้าไปในมหานรก ก็มหานรกนั่นแล มีสี่มุมสี่ประตู แบ่งไว้โดยส่วนเท่ากัน มีกำแพงเหล็กล้อมรอบ ครอบไว้ด้วยแผ่นเหล็ก พื้นของนรกใหญ่นั้น ล้วนแล้วด้วยเหล็ก ลุกโพลง ประกอบด้วยไฟแผ่ไปตลอดร้อยโยชน์รอบด้น ประดิษฐานอยู่ทุกเมื่อ”
    พาลปัณฑิตสูตร อุ. ม. (๔๗๒-๔๗๕)
    ตบ. ๑๔ : ๓๑๔-๓๑๖ ตท. ๑๔ : ๒๖๙-๒๗๒
    ตอ. MLS. III : ๒๑๑-๒๑๒
     
  5. Tourhere

    Tourhere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    262
    ค่าพลัง:
    +146
    พุทธดำรัสตอบ “.....อริยสาวกนั้น มีจิตหาว่าเรามิได้อย่างนี้ มีจิตหาความเบียดเบียนมิได้อย่างนี้ มีจิตไม่เศร้าหมองแล้วอย่างนี้ มีจิตหมดจดแล้วอย่างนี้ เธอย่อมได้ความอุ่นใจ ๔ ประการในชาตินี้
    “ความอุ่นใจที่หนึ่งว่า ถ้าโลกเบื้องหน้ามีอยู่ ผลแห่งกรรมมีสัตว์ทำดีทำชั่วมีอยู่ ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะซึ่งจะเป็นไปได้ คือเบื้องหน้าแต่กายแตกตายไปแล้ว เราจะได้เข้าไปถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ ความอุ่นใจนี้ อริยสาวกได้แล้วเป็นที่หนึ่ง
    “ความอุ่นใจที่สองว่า ถ้าโลกเบื้องหน้าไม่มี ผลแห่งกรรมมีสัตว์ทำดีทำชั่วไม่มีเราก็จะรักษาตนเป็นคนไม่มีเวร ไม่มีความลำบาก ไม่มีทุกข์ มีแต่สุขในชาตินี้ ดังนี้ ความอุ่นใจนี้ อริยสาวกได้แล้วเป็นที่สอง
    “ความอุ่นใจที่สามว่า ถ้าเมื่อบุคคลทำบาป บาปชื่อว่าเป็นอันทำแล้ว (และจะนำผลคือทุกข์มาให้เรา) เราไม่ได้คิดบาปให้แก่ใคร ๆ ไหนเลยทุกข์จักมาถูกต้องเรา ผู้ไม่ได้ทำบาป ดังนี้ ความอุ่นใจนี้ อริยสาวกได้แล้วเป็นที่สาม
    “ความอุ่นใจที่สี่ว่า ถ้าเมื่อบุคคลทำบาป บาปชื่อว่าเป็นอันทำแล้ว (และจะนำผลคือทุกข์มาให้เรา) เราก็ได้พิจารณาเห็นคนเป็นคนบริสุทธิแล้วทั้ง ๒ ส่วน ดังนี้ ความอุ่นใจนี้ อริยสาวกได้แล้วเป็นที่สี่
    “อริยสาวกมีจิตหาเวรมิได้ หาความเบียดเบียนมิได้ มีจิตไม่เศร้าหมอง มีจิตหมดจดแล้วอย่างนี้ ย่อมได้ความอุ่นใจ ๔ ประการนี้แล ในชาตินี้ฯ”

    เกสปุตตสูตร (กาลามสูตร) ติ. อํ. (๕๐๖)
    ตบ. ๒๐ : ๒๔๗-๒๔๘ ตท. ๒๐ : ๒๑๗-๒๑๘
    ตอ. G.S. I : ๑๗๕
     
  6. Tourhere

    Tourhere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    262
    ค่าพลัง:
    +146
    พุทธดำรัสตอบ “......ในการให้ทานนั้น บุคคลไม่มีความหวังให้ทาน ไม่มีจิตผูกพันในผลให้ทาน ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า ตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้แต่ให้ทานด้วยคิดว่า ทานเป็นการดี เขาผู้นั้นเมื่อให้ทานนั้นแล้ว เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์ สิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังมีการกลับมา คือมาสู่ความเป็น อย่างนี้”

    ปัญหา บางคนให้ทาน ไม่ใช่เพราะหวังผลทาน ไม่ใช่เพราะเห็นว่าการให้ทานเป็นความดี แต่ให้ทานเพราะมารดาบิดาปู่ย่าตายายเคยให้มา ให้ทานเพื่อรักษาประเพณี ผลทานจะเป็นอย่างไร ?
    **พุทธดำรัสตอบ “......บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่มีความหวังจึงให้ทาน.... ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า ทานเป็นการดี แต่ให้ทานด้วยคิดว่า มารดาบิดาปู่ย่าตายายเคยให้มา เราก็ไม่ควรทำให้เสียประเพณี เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ฯลฯ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นยามา สิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังมีการกลับมา คือมาสู่ความเป็น อย่างนี้”
    ปัญหา บางคนให้ทาน ไม่มุ่งผล ไม่เห็นว่าทานเป็นของดี ไม่ทำตามประเพณี แต่ให้เมื่อมุ่งอนุเคราะห์แก่พระภิกษุสงฆ์ ผู้ไม่ไดประกอบอาชีพอย่างตน ผลทานจะเป็นอย่างไร ?
    **พุทธดำรัสตอบ “......บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า มารดาบิดาปู่ย่าตายายเคยให้มา แต่ให้ท่านด้วยคิดว่า เราหุงหากิน สมณะและพราหมณ์เหล่านี้ไม่หุงหากิน เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ผู้ไม่หุงหา ไม่สมควร เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ฯลฯ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดุสิต สิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังมีการกลับมา ......”
    ปัญหา บางคนให้ทาน ไม่ใช่เพื่อมุ่งหวังผลใด ๆ แต่ให้ทานเพื่อจะกระทำตามตัวอย่างของบุคคลสำคัญในอดีตที่เขาให้มาแล้ว ผลทานจะเป็นอย่างไร ?
    **พุทธดำรัสตอบ “......บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราหุงหากิน แต่สมณะและพราหมณ์เหล่านี้หุงหากินไม่ได้ เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ผู้หุงหากินไม่ได้ ไม่สมควร แต่ให้ทานด้วยคิดว่าเราจักเป็นผู้จำแนกแจกทานเหมือนฤาษีแต่ครั้งก่อน คือ อัฏฐกฤาษี วามกฤาษี วามเทวฤาษี เวสสามิตรฤาษี สมทัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี ภารทวาชฤาษี วาเสฏฐฤาษี กัสสปถาษี และภคุฤาษีบูชามหายัญฉะนั้น เขาให้ทานคือ ข้าว เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นนิมมานรดี สิ้นกรรม .... แล้ว ยังมีการกลับมา ......”
    ปัญหา บางคนให้ทาน ไม่มุ่งหวังผลตอบแทนทางวัตถุ แต่เห็นว่าให้ทานแล้วสบายใจดี ก็ให้ทาน ผลทานจะเป็นอย่างไร ?
    **พุทธดำรัสตอบ “......บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เหมือนฤาษีแต่ครั้งก่อน แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานอย่างนี้ จิตจะผ่องใส เกิดความปลื้มใจและโสมนัส เขาให้ทานคือข้าว.... เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี สิ้นกรรม แล้ว ยังมีการกลับมา ......”
    ปัญหา บางคนให้ทาน ไม่ได้ให้ด้วยเหตุผลต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้ว แต่ให้เพื่อให้ทานนั้นเป็นเครื่องชำระจิตใจให้บริสุทธิ์จากกิเลส มีความตระหนี่เห็นแก่ตัว เป็นต้น ผลทานจะเป็นอย่างไร ?
    **พุทธดำรัสตอบ “......ในการให้ทานนั้นบุคคลไม่มีความหวังให้ทาน ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานนี้จิตจะผ่องใส จะเกิดความปลื้มใจและโสมนัส แต่ให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เขาให้ทานเช่นนี้แล้ว เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหม เขาสิ้นกรรม แล้ว เป็นผู้ไม่ต้องกลับมา คือ ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ......”

    ทานสูตร ส. อํ. (๔๙)
    ตบ. ๒๓ : ๖๑-๖๔ ตท. ๒๓ : ๖๐-๖๓
    ตอ. G.S. IV : ๓๓-๓๕
     
  7. Tourhere

    Tourhere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    262
    ค่าพลัง:
    +146
    พุทธดำรัสตอบ “..... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นมิจฉาทิฐิมีความเห็นวิปริตว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การเช่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากของกรรมที่บุคคลทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์พวกที่เกิดผุดขึ้นไม่มี สมณะพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนหมู่สัตว์ให้รู้ตามไม่มีในโลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าทิฐิวิบัติ.... เพราะทิฐิวิบัติเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลายเมื่อกายแตกตายไป ย่อมเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก.....ฯ”
    อยสูตร ติ. อํ. (๕๕๗)
    ตบ. ๒๐ : ๓๔๕ ตท. ๒๐ : ๓๐๒
    ตอ. G.S. I : ๒๗๐
     
  8. Tourhere

    Tourhere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    262
    ค่าพลัง:
    +146
    ท่านเตชปญฺโญ ภิกขุ ไปตั้งกระทู้คุยเรื่องพระนิพพาน ล้วนๆกับผมไหมล่ะ! แต่ไม่รู้ว่าจะกล้าหรือเปล่าเท่านั้นเอง
     
  9. พรเทพ คชมาศ

    พรเทพ คชมาศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    348
    ค่าพลัง:
    +1,295
    ทางสู่พระนิพพานคงเป็นทางแห่ง "การปฏิบัติ" มากกว่าการอธิบายความหมายของนิพพาน ท่านเตชปญฺโญ ภิกขุ คงกำลังเดินทางไปอยู่
     
  10. Mr Kebab

    Mr Kebab Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +28
    -บางคนก็กล่าวว่า นิพพาน เป็นอัตตา คือเห็นว่านิพพาน เป็นบ้าน เป็นเมืองที่เป็นอมตะ (ไปโน่น)<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>

    ตกลงหลวงพี่บอกว่าจิตโดนหลอกใช่ใหมครับ ตรงนี้น่าสนใจนะครับ เรา ๆ น่าเอามาวิเคราะห์ว่าเป็นอย่างไรกันแน่ เพื่อจะได้พัฒนาจิตกันต่อไป

    หลวงพี่ครับ ช่วยให้ความหมายของ มหาสุญญตา ภาวะอนัตตา จักรวาลเดิม เหมือนกันกับจิตว่าง และนิพพาน ด้วยหรือไม่อย่างไรครับ เพราะตรงนี้ มีพระเถระหลายท่านให้ความสำคัญมาก ไม่ว่าจะเป็นท่าน ดาไลลามะ หลวงปู่ดูลย์ พระอาจารณ์ปราโมทจ์ อ.โกเอนก้า และท่าน อ.พุทธทาส แล้วลองมาเปรียบเทียบกับที่พระสารีบุตรตอบว่านิพพานเป็นอย่างไรหน่อยครับ พอดีผมหาไม่เจอครับ โทษทีนะครับพอดีผมไม่มีเวลาพอดีด้วยครับ

    สาธุ สาธุ สาธุ
     
  11. manson810

    manson810 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    410
    ค่าพลัง:
    +780
    ถึง ท่าน ตชปญฺโญ ภิกข
    ตามมุมมองของผม จุดประสงค์ของ พระนิพพาน คือ การหนีวัฐฏะสงสาร เกิด แก่ เจ็บ ตาย ซึ่งมันเป็นวัฏจักร หมุนวนไปเรื่อยๆไม่สิ้นสุด เป็นชาติๆไป
    แต่ถ้า ท่าน เตชปญโญ คิดว่าตายแล้วสูญ แล้วพระพุทธเจ้าท่านจะตรัสรู้มาสั่งสอนมนุษย์ ทำไมกันล่ะครับ ในเมื่อความหมายของตายแล้วสูญนี่คือ ความดีความเลวที่เราทำไว้มันจบไปพร้อมกับร่างกาย
    ลองเอาไปวิเคราะห์กันดู ก่อนศาสนาพุทธจะถูกบิดเบือนจากพวกท่าน

    ปล.ผมพิมพ์บรรยายรายละเอียดไม่ค่อยถูกก็ขออภัย แต่น่าจะอ่านแล้วพอเข้าใจ

     
  12. lepus

    lepus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    307
    ค่าพลัง:
    +1,881
    เกี่ยวกับเรื่องนี้ก็มีการคุยกันในเว็บลานธรรมเหมือนกันนะครับลองเข้าดูความคิดเห็นและโพลของชาวลานธรรมว่าเขาเป็นอย่างไรมีความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้เหมือนกับชาวพลังจิตหรือไม่อย่างไรได้ตามลิงค์นี้ครับ
    http://larndham.net/index.php?showtopic=23505&st=0
     
  13. เตชปญฺโญ ภิกขุ

    เตชปญฺโญ ภิกขุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +117
    มากอบกู้พุทธศาสนากันเถิดชาวพุทธ!!!

    มากอบกู้พุทธศาสนากันเถิดชาวพุทธ!!! <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    (บันได ๑๐ ขั้นสู่ความเป็นพุทธ)<o:p></o:p>
    ในปัจจุบันชาวพุทธจะรู้ตัวหรือไม่ว่าพุทธศาสนาที่ตนเองนับถือยู่นี้ไม่ใช่พุทธแท้เสียแล้ว คือมีแต่เพียงชื่อว่าเป็นพุทธ แต่การปฏิบัติกลับเป็นพราหมณ์(ฮินดู)กันไปหมด เพราะจากอดีตพุทธศาสนาได้ถูกศาสนาพราหมณ์กลืนมาก่อน แล้วชาวพุทธก็นำเอาหลักของศาสนาพราหมณ์มายึดถือปฏิบัติ โดยเชื่อว่านี่คือพุทธศาสนาที่แท้จริงมาโดยตลอด <o:p></o:p>
    พุทธศาสนาที่แท้จริงนั้นจะมีหลักเกณฑ์ในการวิเคราะห์ว่าคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้านั้นเป็นเช่นไร ซึ่งพุทธศาสนาที่แท้จริงนั้นจะเป็นวิทยาศาสตร์ ดังนั้นหลักเกณฑ์ในการวิเคราะห์นี้จึงเป็นหลักเกณฑ์เดียวกันกับหลักวิทยาศาสตร์นั่นเอง โดยหลักเกณฑ์นี้จะใช้การคิดพิจารณาไตร่ตรองไปตามลำดับ โดยสรุปได้ ๑๐ ขั้นดังต่อไปนี้ <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ๑. ต้องเปิดใจให้กว้างยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น<o:p></o:p>
    ก่อนอื่นเราจะต้องเปิดใจให้กว้าง ปล่อยวางความยึดถือในความเชื่อเก่าๆที่เรามีอยู่เอาไว้ชั่วคราวก่อน แล้วยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ควบคู่ไปกับความเป็นสุภาพบุรุษคือเมื่อถูกก็ยอมรับว่าถูก เมื่อผิดก็ยอมรับว่าผิดไม่แสดงอาการไม่พอใจหรือเฉไฉเมื่อรู้ว่าตนเองผิด และการศึกษานี้ก็ต้องทำด้วยความเป็นมิตรที่ปรารถนาดีต่อกัน. ถ้าใครยอมรับตรงจุดนี้ได้ก็จะศึกษาต่อไปได้ แต่ถ้าใครไม่ยอมรับก็จะศึกษาต่อไปไม่ได้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ๒. ต้องใช้เหตุผลที่สมเหตุสมผลในการคิดพิจารณา<o:p></o:p>
    การศึกษานี้จะต้องใช้เหตุผลที่สมเหตุสมผลจริงๆในการคิดพิจารณา ไม่ใช่จะอ้างอะไรขึ้นมาลอยๆโดยไม่มีเหตุผลที่สมเหตุสมผล ซึ่งเรื่องความสมเหตุสมผลนี้สำคัญมาก เพราะเหตุผลที่สมเหตุสมผลนั้นย่อมนำผู้ศึกษาไปสู่ความจริงได้เสมอ. ถ้าใครยอมรับตรงจุดนี้ได้ก็จะศึกษาต่อไปได้ แต่ถ้าใครไม่ยอมรับก็จะศึกษาต่อไปไม่ได้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ๓. ต้องเรียนรู้หลักพื้นฐานก่อน <o:p></o:p>
    การศึกษาพุทธศาสนานี้ จะต้องศึกษาไปตามลำดับ คือจากพื้นฐานก่อน แล้วค่อยๆสูงขึ้นไปตามลำดับ หรือจากง่ายไปหายาก อย่างเป็นระบบและมีระเบียบ ไม่ศึกษาข้ามขั้นหรือมั่วไปหมด จนจับหลักอะไรไม่ได้. ถ้าใครยอมรับตรงจุดนี้ได้ก็จะศึกษาต่อไปได้ แต่ถ้าใครไม่ยอมรับก็จะศึกษาต่อไปไม่ได้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ๔. ไม่เชื่อจากใครนอกจากเชื่อตนเอง<o:p></o:p>
    การเชื่อจากคนอื่นหรือจากตำรานั้นยังมีโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดได้ทั้งสิ้น อย่างเช่นเหตุผลที่ว่าสมเหตุสมผลที่สุดก็ยังอาจจะเกิดความผิดพลาดได้ ดังนั้นเราจะไม่เชื่อจากใครๆหรือจากอะไรๆ จนกว่าเราจะได้พิจารณาไตร่ตรองอย่างดีแล้วและนำมาทดลองปฏิบัติจนมีผลแจ้งประจักษ์แล้วเท่านั้น. ถ้าใครยอมรับตรงจุดนี้ได้ก็จะศึกษาต่อไปได้ แต่ถ้าใครไม่ยอมรับก็จะศึกษาต่อไปไม่ได้ <o:p></o:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ธันวาคม 2006
  14. เตชปญฺโญ ภิกขุ

    เตชปญฺโญ ภิกขุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +117
    มากอบกู้พุทธศาสนากันเถิดชาวพุทธ!!!

    ๕. ต้องศึกษาจากชีวิตจริงของเราในปัจจุบันนี้เท่านั้น <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ถ้าเราจะศึกษาสิ่งใดให้ได้รู้จักกับสิ่งนั้นอย่างถูกต้องไม่ผิดพลาดชนิดที่เรียกว่า
     
  15. เตชปญฺโญ ภิกขุ

    เตชปญฺโญ ภิกขุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +117
    มากอบกู้พุทธศาสนากันเถิดชาวพุทธ!!!

    ซึ่งนั่นก็แสดงถึงว่า
     
  16. เตชปญฺโญ ภิกขุ

    เตชปญฺโญ ภิกขุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +117
    มากอบกู้พุทธศาสนากันเถิดชาวพุทธ!!!

    เมื่อจิตเกิดขึ้นและตั้งอยู่ มันก็ยังต้องทนต่อสภาพความเปลี่ยนแปลงภายในตัวเองด้วย(ทุกขัง)<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    เมื่อจิตก็เป็นสิ่งที่ต้องอาศัยเหตุเกิดขึ้น แล้วก็ตั้งอยู่อย่างถาวรไม่ได้ รวมทั้งยังต้องทนอยู่ด้วย นี่แสดงว่าจิตนี้ไม่มีตัวตนที่เป็นตัวตนของมันเองจริง(อนัตตา) <o:p></o:p>
    จากจุดนี้เราเข้าใจหรือยังว่าจิตก็เป็นอนัตตา ถ้ายังไม่เข้าใจเราก็ต้องย้อนกลับไปศึกษาตั้งแต่ต้นมาใหม่ แต่ถ้าเข้าใจแล้วก็เป็นอันว่าเราเริ่มเข้าใจคำสอนที่สำคัญที่สุดของพระพุทธเจ้าอย่างถูกต้องแล้ว<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ๑๐. ความจริงสูงสุดของชีวิตก็คือ
     
  17. manson810

    manson810 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    410
    ค่าพลัง:
    +780
    ....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กันยายน 2007
  18. manson810

    manson810 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    410
    ค่าพลัง:
    +780
    ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กันยายน 2007
  19. Mr Kebab

    Mr Kebab Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +28
    พอเข้าใจที่หลวงพี่ต้องการจะบอกแล้วครับ

    ที่สื่อบอกนี้หมายความว่า เรื่องของเรื่องก็คือ เมื่อไม่มีเราแล้วนั้น เพราะเราเป็นแค่สิ่งหนึ่งที่เกิดจากเห็นปัจจัยหนึ่ง ๆ เท่านั้นเอง คือ เราไม่มี แล้ว ใครจะไปเกิดเล่านั่น (อ่านเฉพาะบางท่อนที่นำมาแปะไว้เท่านั้นนะครับ ถ้าผิดโทษด้วยครับ)

    ก็ถูกนะครับ

    คือ ความหมายนี่น่าจะสื่อออกไปทางการเล่นคำ ปรัชญามากกว่านะ ว่า เมื่อไม่ไม่เรา แล้วจะไปเกิดได้ไง และคงจะจริงถ้าบอกว่าทุกสิ่งล้วนไม่ใช่เรา ซึ่งตรงนี้ก็ยังต้องพิสูจน์ด้วยตัวเองอยู่ดี แต่พูดอีกก็ถูกอีกนะครับนั่นน่ะ

    เอาแบบนี้แล้วกันครับ ผมอยากให้ทุกคนที่อ่านกระทู้นี้ลองมองแบบว่า ไม่มีตัวเราอยู่สิครับ คือ เมื่อเรายังคิดว่าเรามีเรา อ่านยังไงมันก็ยังมีเราอยู่นั่นอ่ะนะ คืออ่านยังไงเราก็ต้องการให้มีเรา ไม่ใช่ว่าเราคือสิ่งธาตุทั้งปวง เพราะเรายังมีอัตตาอยู่ ยังต้องการพัฒนาจิตของเรา เพื่อเราในชาติต่อไป เราก็คิดไปเข้าข้างเราเท่านั้นเองว่า เราจะต้องมีในชาติต่อไปเพื่อเป็นเรา ความจริงการปฏิบัติธรรมก็ทำเพื่อเรา ฉะนั้นเมื่อเราละเราได้แล้วทั้งนั้นก็คงได้เข้าใจว่าการไม่มีเราเป็นอย่างไร และคงจะยอมรับข้อเขียนของหลวงพี่ท่านได้

    อย่างไรก็ตาม ทำอย่างไรล่ะ เพื่อให้ละเราได้ นั่นคือสิ่งที่ต้องดำเนินกันต่อไป
     
  20. เตชปญฺโญ ภิกขุ

    เตชปญฺโญ ภิกขุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +117
    ตอบข้อข้องใจ โดยเตชปญฺโญ ภิกขุ

    เจริญพรมายังทุกท่านที่เข้ามาอ่านข้อความในกระทู้นี้<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    คุณโยม manson810 ไม่ผ่านบันไดขั้นที่ ๑ จบ.<o:p></o:p>
    ส่วนคุณโยม Mr Kebab ถามมานั้น อยากจะตอบว่า อนัตตานี้จะต้องเข้าถึงด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ธันวาคม 2006

แชร์หน้านี้

Loading...