พระเจ้าตาก จากหลวงพ่อจรัญ

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 20 ตุลาคม 2010.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    %E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B9%96.jpg

    เรื่องพระเจ้าตาก จากหลวงพ่อจรัญ


    %E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%81.jpg

    ข้อเท็จจริงตาม ประวัติศาสตร์ที่ว่า พระเจ้าตากนั้นเป็นผู้กู้เอกราชให้กับไทยนั้นพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์นักรบที่เก่งกาจกล้าหา­ญ และเสียสละอย่างมากอย่างที่ชนธรรมดามิได้ล่วงรู้อีกมากมาย แต่เรื่องที่จะเล่าเกี่ยวกับพระเจ้าตากนั้นไม่ได้มีในประวัติศาสตร์ที่เราเคยเรียนกัน


    พระเจ้าตากมิใช่ เป็นลูกของคนจีนสามั­ญชนตามประวัติ ศาสตร์ แต่เป็นโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศกับสนมลับชาวจีนชื่อ ไหฮอง แต่เนื่องจากสมัยอยุธยานั้นมีการแก่งแย่งชิงดีกันมาก มีการฆ่ากันเพื่อชิงราชสมบัติ พระมารดาของพระเจ้าตากเกรงจะเป็นอันตราย จึงได้ปิดเป็นความลับ และบอกว่าบิดาของพระเจ้าตากชื่อ ไหฮอง (ชื่อของนางเอง) และมารดาชื่อนางนกเอี้ยง (ชื่อที่แต่งขึ้นไม่มีตัวตนจริง)


    ประวัติศาสตร์นั้นได้ถูกบันทึกไปตามเหตุการณ์ที่ถูกทำให้เป็นว่าเป็นไปโดยที่หามี ใครรู้ข้อเท็จจริงไม่ (โดยส่วนตัวของข้าพเจ้าในสมัยที่เรียนประวัติศาสตร์นั้นก็มีความรู้สึกไม่ค่อยเชื่อว่าคนที่จะขึ้นมาเป็นระดับพระมหากษัตริย์นั้นจะเกิดมาจากคนสามั­ญชนเพียงเท่านั้น เพราะผู้ที่จะเป็นพระมหากษัตริย์นั้นย่อมต้องมีบุญ­บารมีสูงย่อมน่าจะสืบสายเลือดมาจากเชื้อพระวงศ์)


    พระเจ้าตากไม่ได้สติวิปลาสและถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ ดังที่ได้บันทึกในประวัติศาสตร์ความจริงเป็นพระประสงค์ของพระองค์เองที่จะสละความเป็นกษัตริย์เพื่อหันไปออก ผนวชเป็นพระภิกษุจึงได้ขอร้องให้พระสหายร่วมสาบานปราบดาภิเษกแทน (พระสหายนี้คือรัชกาลที่หนึ่งนั่นเอง)


    ความจริงพระสหายนั้นมีความซื่อสัตย์ภักดีต่อพระเจ้าตากเป็นมั่น มิได้มีความคิดที่จะก่อกบฏหรือหวังขึ้นตั้งตัวเป็นกษัตริย์ และก็ไม่ยอมทำตามพระประสงค์ของพระเจ้าตากแต่ด้วยเหตุผลของพระเจ้าตากว่าพระองค์เป็นกษัตริย์ที่ยากจนเข็ญ­ใจเงินในท้องพระคลังไม่มีเลยไม่มีแม้แต่เบ­จราชกกุธภัณฑ์ (เครื่องหมายแสดงความเป็นพระราชา มี ๕ ได้แก่ พระขรรค์ ธารพระกร อุณหิส ฉลองพระบาท และวาลวิชนี)

    เนื่องจากผลของสงคราม ข้าวยากหมากแพง พระองค์ต้องช่วยเหลือราษฎรของพระองค์ จนต้องเป็นหนี้กับจีนถึงหกหมื่นตำลึง ถ้าหากพระองค์จะค่อยๆ ผ่อนใช้ก็พอได้แต่เมื่อรู้ว่าจีนคิดมิซื่อหวังยึดเอาไทยเป็นของตน ดังนั้นจึงมิอาจยอมได้ทรงคิดว่าการผลัดแผ่นดินเป็นการล้างหนี้ที่ดีที่สุด


    พระองค์ทรงใช้กุศโลบายเพื่อรักษาเอกราชของชาติ โดยแสร้งทำตนว่าสติวิปลาส แล้วให้พระสหายขึ้นปราบดาภิเษก ถึงตอนนั้นจีนก็ไม่สามารถยึดเอาไทยไปได้เพราะผู้ที่ทำสั­­ญญากับจีนนั้นเป็นพระเจ้าตากเพียงผู้เดียวที่รับผิดชอบ


    ผู้ที่ถูกสังหาร ด้วยท่อนจันทน์ไม่ใช่พระเจ้าตาก แต่เป็นสหายอีกคน(หลวงอาสาศึก) ที่หน้าตาท่าทางคล้ายกับพระเจ้าตากเป็นอันมากยอมเสียสละชีวิตตนแทนส่วนพระเจ้าตากนั้นพระสหายได้แอบพาหนีไปที่อื่นอย่างปลอดภัย นี่แสดงให้เห็นถึงความเสียสละของพระเจ้าตากกับความรักความสามัคคีและความซื่อสัตย์ที่พระสหายมีต่อพระเจ้าตากนั้นเป็นที่สูงสุดและนี้จึงเป็นผลบุ­ให้พระสหายซึ่งต่อมาได้สืบพระราชวงค์ใหม่ได้มีแต่ความเจ ริ­ญยั่งยืนสืบยาวนานตลอดรัชกาล


    พระเจ้าตากสิ้นพระชนม์(ละสังขาร)อย่างไร


    เมื่อครั้งที่พระเจ้าตากได้ไปตั้งค่ายในป่าได้พบกับพระรูปหนึ่งได้ให้กรรมฐานแก่ พระเจ้าตากจึงทรงมิอยากครองราชต่อไป ทรงดำเนินแผนการว่า ทางอยุธยาเกิดเรื่องจึงสั่งให้พระยาสวรรค์ยกกองทัพไปปราบ เสร็จแล้วให้กลับมายังกรุงธนบุรีและล้อมพระราชฐานไว้แล้วจับพระองค์บวชเสีย


    แต่ปรากฏว่าพระยา สวรรค์เกิดลืมตัวอยากเป็นใหญ่ ตั้งตนเป็นกษัตริย์ขึ้นมาจริงๆ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (รัชกาลที่หนึ่ง) จึงได้ยกทัพลงมาปราบ ส่วนพระเจ้าตากได้ไปเจริญ­วิปัสนากรรมฐานในถ้ำแห่งหนึ่งที่เพชรบุรี ในวันที่พระองค์บรรลุธรรมสูงสุดคือวันที่ท่านละสังขาร


    ขณะที่กำลัง บรรเทิงใจอยู่ในวิมุติสุข พระองค์ถูกชายสองคนใช้ไม้คมแฝกฟาดที่ศรีษะอย่างนับไม่ถ้วน ชายสองคนนั้นเป็นพวกกลุ่มคนที่ต้องการเอาความดีความชอบ เมื่อรู้ว่าผู้ที่ถูกสำเร็จโทษ ไม่ใช่พระเจ้าตากตัวจริงจึงสืบหาเพื่อตามสังหารแต่กรรมตามทันมีการกบฏซ้อนกบ ฎกันวุ่นวายพวกนั้นก็ฆ่ากันตายเอง ส่วนพระเจ้าตากได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์กลายเป็นวิสุทธิเทพในที่สุด


    หนังสืออ้างอิง
    ความหลงในสงสาร,(สุทัสสาอ่อนค้อม),๒๕๔๙

    เรื่องราวนี้เป็นเรื่องเล่าจากประสบการณ์ของพระเดชพระคุณพระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ­ จิตธัมโท/หรือพระครูเจริ­ จิตธัมโม) ซึ่งได้เจริ­กรรมฐานจนได้อานิสงส์สามอย่าง คือระลึกชาติได้เจ็ดชาติ เห็นกฏแห่ง กรรมและเกิดปั­­ญญาแก้ปั­ญหาได้

    ท่านได้พบกับพระ เจ้าตากซึ่งเป็นพระวิสุทธิเทพแล้วเมื่อยี่สิบกว่าปีก่อน พระเจ้าตากได้เล่าเรื่องราวต่างๆให้ฟังด้วยต้องการให้นำไปเผยแพร่ข้อเท็จจริง


    เพราะท่านเห็นว่า คนไทยเราต่างมีความขัดแย้งกันมากมายที่สำคัญ­คือท่านไม่ต้องการให้สถาบันกษัตริย์เสื่อมเสียเพราะจากความเข้าใจ ผิดและความมิชฉาทิฐิ


    ท่านที่ได้อ่านจะ เชื่อหรือไม่ก็แล้วแต่ปั­­ญญาและสัมมาทิฐิของแต่ละบุคคล แต่โดยส่วนตัวของข้าพเจ้ามิได้มีอำนาจอิทธิฤทธิ์ใดๆ ที่จะเห็นได้ว่าเรื่องที่เล่านั้นจริงหรือไม่เพียงแต่อ่านแล้วรู้สึกเกิดแรงบันดาลใจที่จะเล่าต่อต่อให้แก่กัน


    โดยหวังว่าอานิสงค์นี้จะช่วยก่อ ให้เกิดผลแก่ประเทศชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ให้ ประชาชนได้เกิดความสามัคคี อย่าได้มีความขัดแย้งแตกแยกกันจงเกิดปั­­ญญาและสัมมาทิฐิ รู้ข้อเท็จจริงด้วยปั­­ญญาของตนเอง มิใช่จากการฟังเสียงลือเสียงเล่าอ้างแล้วมิได้ไตร่ ตรองจนทำให้เกิดความทะเลาะเบาะแว้ง


    เมื่อท่านได้อ่านแล้วมีจิตนึกถึง ความเจริ­ญของ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์" ก็ขอให้ช่วยกันอธิษฐานแล้วช่วยลงความเห็นยิ่งมากเท่าไหร่ ย่อมเป็นพลังให้เกิดผลสัมฤทธิ์มากขึ้นเท่านั้นและด้วยบุญ­แห่งการอธิษฐานที่ไม่ใช่เพื่อตัวเองนี้แลจะกลับมาส่งถึงตัวท่านเองมากมายหลายร้อยเท่า

    Dhammaonline..free......cd..ธรรมะ

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2010
  2. ๛อาภากร๛

    ๛อาภากร๛ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    898
    ค่าพลัง:
    +3,580
    อนุโมทนา ผมลูกศิทย์หลวงพ่อจรัญ หลวงพ่อเป็นพระที่มีความรักชาติมาก ท่านจะเล่าเรื่องบางระจัน และสมัยพระเจ้าตากบ่อย และเรื่องพระเจ้าตากมาสนทนาธรรมกับหลวงพ่อมีความยาวและพิศดารมากหาอ่านดูครับ สนุก แง่คิดดี เกี่ยวพันธ์กับพระครูเทพโลกอุดร และพระนเรศวรด้วย

    [music]http://palungjit.org/attachments/a.1187690/[/music]​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2010
  3. pagorn

    pagorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    768
    ค่าพลัง:
    +2,848
    อนุโมทนากับท่านVANCO ด้วยค่ะเรื่องราวของพระเจ้าตากก็รู้มาจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อจรัลเหมือนกันแต่ก็ดีใจที่ท่านเอามาโพสน์ให้สมาชิกและผุ้เข้ามาเยี่ยมชมทั้งหลายได้รู้ประวัติของพระองค์กันจริงๆสักที และ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านทั้งหลายคงจะน้อมรับฟังในเรื่องราวความเป็นจริงเกี่ยวกับพระเจ้าตาก..ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อจรัลท่านได้มาบอกกล่าวให้เราลูกหลานชาวไทยได้เข้าใจในความเป็นจริงว่ามีประวัติ ความเป็นมาอย่างไร และ นั่นก็เป็นความประสงค์ของพระองค์ที่ีต้องการให้ลูกหลานชาวไทยได้รับรู้เรื่องราวจริง ๆ ว่าเป็นอย่างไร และก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านจะไม่คิดสวนทางกับเรื่องนี้ เพราะนั่นจะเป็นการปรามาสในพระเดชพระคุณหลวงพ่อจรัลด้วย สาธุ.
    http://www.jarun.org/80/lawofkama.html
    lhttp://www.jarun.org/v6/th/home.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 20 ตุลาคม 2010
  4. ประตูสู่ทางสว่าง

    ประตูสู่ทางสว่าง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    327
    ค่าพลัง:
    +1,173
    ลองฟังดูครับ ของ อ.สุทัสสา อ่อนค้อม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. paintkiller

    paintkiller เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    334
    ค่าพลัง:
    +946
    ยังมีคนไทยบางกลุ่มบางจำพวก ที่ยังคิดว่า สมเด็จพระเจ้าตาก กลับชาติมาเกิด เป็นมนุษย์คนนึง
     
  6. อโศ

    อโศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,689
    ค่าพลัง:
    +5,830
    หมอธรรม เป็นโรคประสาทกำเริบ บ้าๆบอๆ บ๊องส์ อาการกำเริบ...

    ไม่มีที่ระบาย แสดงออกมา...พวกจิตหลอน

    อยากดังมาก เร่งหาสาวก ตั้งตัวเป็นอาจารย์

    ใครก็ได้ ช่วยจับตัว ส่งโรงพยาบาลประสาท

    อย่าปล่อยให้ออกมาเพ่นพ่าน
     
  7. อโศ

    อโศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,689
    ค่าพลัง:
    +5,830
    หมอธรรม = วิเคราะห์ = คนเดียวกัน

    เขียนเอง อวยเอง ยกหางตัวเอง
     
  8. ๛อาภากร๛

    ๛อาภากร๛ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    898
    ค่าพลัง:
    +3,580
    ประคุณสมเด็จชาตะ ในตํารา
    17 เมษายน พ.ศ. 2331


    วันสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าตาก ในตํารา
    6 เมษายน พ.ศ. 2325


    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์
    6 เมษายน พุทธศักราช 2325


    อื่นๆ

    มารดาสมเด็จโต และ บิดาของสมเด็จโต พบกันในขณะ พระเจ้าตากยังครองราชย์ และรัชกาลที่ 1 ยังเป็นเจ้าพระยาจักรี ในสมัยปราบกบฏหัวเมืองอยู่นะครับ

    มารดาเจ้าประคุณสมเด็จ โต ตั้งครรภ์ปกติ ไม่เกิน 9 เดือน

    ระยะชาตะของสมเด็จโต จะอยู่ไม่ห่างจากปราบดาภิเศกของรัชกาลที่ 1 ไม่เกิน 1 ปี

    ถ้าใช้นัยยะพระเจ้าตากสินเสด็จไปนครศรีธรรมราช และ อุปสมบทอีกหลายปีอยู่

    วิเคราห์ว่าถ้าใช้ตําราที่หลายๆท่านทราบดีว่าผมหมายถึงอะไร มูลเรื่อง พระเจ้าตากสิน และ สมเด็จพุฒาจารย์ โต ย่อมไม่มีมูล

    หรืออาจจะวิเคราห์ว่ามีตําราใดสักตําราหนึงผิด คือ
    1.บิดาของสมเด็จพุฒาจารย์โต
    2.ชาตะของสมเด็จพุฒาจารย์โต
    3.การสวรรคตของพระเจ้าตากสิน

    ผมไม่ขยายความนะครับ ใครทราบก็คงจะทราบว่าผมหมายถึงอะไร
    ผมพอใจครับที่คุณลบข้อความดังกล่าวออกไป เดี๋ยวคนอื่นจะปรามาสครูอาจารย์ท่านจะเสียหาย
     
  9. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,706
    ค่าพลัง:
    +51,937
    ใครจะไปรู้เท่าเจ้าตัว

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  10. คะรุทา

    คะรุทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,243
    ค่าพลัง:
    +3,477
    ใครจะไปรู้จริงเท่าพระองค์ท่าน..อย่าดึงฟ้าต่ำ อย่าทำดินแยก
     
  11. lek_077

    lek_077 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    51
    ค่าพลัง:
    +133
    แต่ที่แน่ๆ พระเจ้าตากไม่ได้ทรงกลับชาติมาเกิดเป็นคนคนนั้นแน่นอน
     
  12. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


    สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
    พระบรมนามาภิไธย สิน
    (ดูเพิ่ม...)
    ครองราชย์ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310
    ระยะครองราชย์ 15 ปี
    รัชกาลก่อนหน้า สมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์
    รัชกาลถัดไป พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
    วัดประจำรัชกาล วัดอินทารามวรวิหาร[1]
    ข้อมูลส่วนพระองค์[ซ่อน]
    พระราชสมภพ 23 มีนาคม พ.ศ. 2277[2]
    17 เมษายน พ.ศ. 2277
    (อ้างข้อมูลตามจดหมายเหตุโหร)
    สวรรคต 6 เมษายน พ.ศ. 2325
    พระราชบิดา นายหยง แซ่แต้ (鄭鏞)[3]
    พระราชมารดา นกเอี้ยง ภายหลังเป็นกรมสมเด็จพระเทพามาตย์
    พระมเหสี สมเด็จกรมหลวงบาทบริจา (สอน)
    พระราชโอรส/ธิดา 30 พระองค์[4]

    สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 (จีน: 鄭昭; พินอิน: Zhèng Zhāo; แต้จิ๋ว: Dênchao) มีพระนามเดิมว่า สิน พระราชบิดาเป็นจีนแต้จิ๋ว ได้สมรสกับหญิงไทยชื่อ นกเอี้ยง ภายหลังเป็นกรมสมเด็จพระเทพามาตย์ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวในสมัยอาณาจักรธนบุรี ทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา[5] เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 ขณะมีพระชนมพรรษาได้ 48 พรรษา รวมสิริดำรงราชสมบัติ 15 ปี พระราชโอรส-พระราชธิดา รวมทั้งสิ้น 30 พระองค์[4]
    พระราชกรณียกิจที่สำคัญในรัชสมัยของพระองค์ คือ การกอบกู้เอกราชจากพม่าภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง โดยขับไล่ทหารพม่าออกจากราชอาณาจักรจนหมดสิ้น และยังทรงทำสงครามตลอดรัชสมัยเพื่อรวบรวมแผ่นดินซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของขุนศึกก๊กต่าง ๆ ให้เป็นปึกแผ่น เช่นเดียวกับขยายพระราชอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงมุ่งมั่นที่จะฟื้นฟูประเทศในด้านต่าง ๆ ให้กลับคืนสู่สภาวะปกติหลังสงคราม ทรงส่งเสริมทางด้านเศรษฐกิจ ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม วรรณกรรม และการศึกษา เนื่องจากพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อแผ่นดินไทย รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ 28 ธันวาคมของทุกปีเป็น "วันสมเด็จพระเจ้าตากสิน" และยังทรงได้รับสมัญญานาม มหาราช
    เนื้อหา [ซ่อน]
    1 พระปรมาภิไธย
    2 พระราชประวัติก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์
    2.1 พระราชสมภพและขณะทรงพระเยาว์
    2.2 อาชีพค้าขาย
    2.3 รับราชการในสมัยกรุงศรีอยุธยา
    2.4 ตั้งตนเป็นใหญ่และกอบกู้เอกราช
    2.5 ปราบดาภิเษก
    3 ที่ประทับ
    4 พระราชสันตติวงศ์
    5 พระราชกรณียกิจ
    5.1 การสงคราม
    5.2 การฟื้นฟูบ้านเมือง
    5.2.1 ด้านการปกครอง
    5.2.2 ด้านเศรษฐกิจ
    5.2.3 ด้านคมนาคม
    5.2.4 ด้านการศึกษา
    5.2.5 ด้านศาสนา
    5.2.6 ด้านศิลปกรรม
    5.2.7 ด้านอื่น ๆ
    6 พระราชนิพนธ์
    7 ปลายรัชสมัย
    8 การเฉลิมพระเกียรติ
    9 ความสัมพันธ์เชื้อสายจีน
    10 อ้างอิง
    10.1 บรรณานุกรม
    11 ดูเพิ่ม
    12 แหล่งข้อมูลอื่น
    [แก้]พระปรมาภิไธย

    สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมีพระนามเรียกที่แตกต่างกัน ดังนี้
    เมื่อพระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ ทรงใช้พระนามว่า: "พระศรีสรรเพชร สมเด็จบรมธรรมิกราชาธิราชรามาธิบดี บรมจักรพรรดิศร บวรราชาบดินทร์ หริหรินทร์ธาดาธิบดี ศรีสุวิบูลย์ คุณรุจิตร ฤทธิราเมศวร บรมธรรมิกราชเดโชชัย พรหมเทพาดิเทพ ตรีภูวนาธิเบศร์ โลกเชษฏวิสุทธิ์ มกุฏประเทศคตา มหาพุทธังกูร บรมนาถบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว ณ กรุงเทพมหานคร บวรทวาราวดีศรีอยุธยา มหาดิลกนพรัฐ ราชธานีบุรีรมย์อุดมพระราชนิเวศมหาสถาน"[6]
    พระราชพงศาวดาร กรุงศรีสัตนาคนหุต เรียกว่า สมเด็จพระเอกาทศรถ
    พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) เรียกว่า พระบรมหน่อพุทธางกูรเจ้า
    จดหมายเหตุกรุงธนบุรีในสมุดไทยดำ ชื่อพระราชสาสน์และศุภักษรโต้ตอบกรุงธนบุรีและกรุงศรีสัตนาคนหุตจุลศักราช 1140 ใช้ พระบาทสมเด็จพระเอกาทศรถอิศวรบรมนาถบรมบพิตร และ พระบาทสมเด็จพระเอกาทศรุทอิศวรบรมนาถบรมบพิตร
    ตอนปลายรัชกาล พระรัตนมุนี ได้ถวายพระนามใหม่ว่า สมเด็จพระสยามยอดโยคาวจร
    พระราชพงศาวดาร ฉบับราชหัตถเลขา เรียกว่า สมเด็จพระบรมราชาที่ 4
    พระนามที่เรียกกันตามหนังสือประวัติศาสตร์ทั่วไป เรียกว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
    ประชาชนทั่วไปขนานนาม สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
    [แก้]พระราชประวัติก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์

    ดูเพิ่มที่ พระราชประวัติก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีในอภินิหารบรรพบุรุษ
    [แก้]พระราชสมภพและขณะทรงพระเยาว์


    พระบรมสาทิสลักษณ์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พบในพิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่งในอิตาลี
    ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีชาวจีนแต้จิ๋วคนหนึ่งนามว่า หยง แซ่แต้[3] (นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้อธิบายว่า ไหฮอง หรือ ไหยฮอง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดแต้จิ๋ว มิใช่ชื่อของพระราชบิดาสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี) [3] เป็นผู้อพยพมาจากเมืองเฉิงไห่ ซัวเถา[7] ครั้นเมื่อถึงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2277 ได้มีบุตรชายคนหนึ่ง ได้ชื่อว่า สิน เกิดแต่ นาง นกเอี้ยง ซึ่งเป็นชาวไทย ผู้ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานศักดิ์เป็น กรมสมเด็จพระเทพามาตย์[8] สำหรับถิ่นกำเนิดของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีนั้นน่าจะเกิดในแถบภาคกลางมากกว่าเมืองตาก ซึ่งมักว่ากันว่าอยู่ในกรุงศรีอยุธยา[9]
    จากหลักฐานที่อาลักษณ์ของจีนจดบันทึกไว้ในพระราชพงศาวดารวงเช็ง แผ่นดินจักรพรรดิเฉียนหลง กล่าวถึงพระราชประวัติของพระองค์ไว้ว่า "บิดาเจิ้งเป็นชาวมณฑลกวางตุ้ง ไปทำมาค้าขายอยู่ที่เสียมล่อก๊ก [ประเทศไทย] และเกิดเจิ้งเจา [สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี; สำเนียงปักกิ่ง] ที่นั่น เมื่อเจิ้งเจาเติบใหญ่ เป็นผู้มีความสามารถ ได้เข้ารับราชการอยู่ในเสียมล่อก๊ก เมื่อเจิ้งเจารบชนะพม่า ฯ แล้ว ราษฎรทั่วประเทศยกขึ้นเป็นเจ้าครองประเทศ..." [10]
    สำหรับการศึกษาของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีไม่แน่ชัด แต่คาดว่าน่าจะทรงได้เคยบวชเรียนมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง ทำให้ทรงสามารถแต่งกลอนบทละครและอุดหนุนการเก็บรวบรวมคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาในภาษาไทยและภาษาบาลีครั้นเมื่อขึ้นครองราชย์แล้ว[11] ส่วน อภินิหารบรรพบุรุษ ระบุว่า เด็กชายสินได้เล่าเรียนหนังสือในวัดโกษาวาส สำนักของพระอาจารย์ทองดี อีกทั้งยังได้อุปสมบท และยังศึกษาภาษาต่างประเทศเป็นจำนวนมากในระหว่างเป็นมหาดเล็ก[12] เพียงแต่มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือว่าพระองค์ทรงตรัสได้ 4 ภาษา คือ ไทย จีน ญวน และลาว[11]
    [แก้]อาชีพค้าขาย
    นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้อธิบายว่า พระราชบิดาของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีน่าจะประกอบอาชีพค้าขายเป็นหลัก มิใช่นายอากรบ่อนเบี้ย เป็นคำอธิบายที่ว่าเหตุใดพระองค์จึงไม่ทรงประมูลอากรสืบต่ออาชีพจากบิดา จึงน่าจะเป็นพ่อค้าเกวียนมากกว่า[13] ทั้งนี้ พระองค์และพรรคพวกเป็นกลุ่มพ่อค้าเร่ร่อนในแถบหัวเมืองเหนือ[14] การเป็นพ่อค้าดังกล่าวทำให้พระองค์มีชาวจีนเข้ามาสมัครเป็นพรรคพวก และมีความเชี่ยวชาญในภูมิอากาศและภูมิประเทศแถบหัวเมืองเหนือ และทำให้ทรงมีความสามารถด้านการรบอีกทางหนึ่ง[15] การค้าขายดังกล่าวจึงเป็นโอกาสให้พระองค์สามารถเป็นเจ้าเมืองตากได้ ซึ่งตรงกับตามประสงค์ที่จะเป็นเจ้าเมืองของพระองค์ด้วยเช่นกัน[16]
    [แก้]รับราชการในสมัยกรุงศรีอยุธยา
    ดูเพิ่มที่ การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง
    สำหรับการรับราชการเป็นเจ้าเมืองตากนั้น พระราชพงศาวดารฉบับหนึ่งได้กล่าวไว้ในทำนองว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงวิ่งเต้นให้ได้รับตำแหน่งเจ้าเมืองตาก โดยติดต่อผ่านทางมหาดเล็กถึงพระยาจักรี สมเด็จพระเจ้าเอกทัศทรงทราบว่าเจ้าเมืองตากคนก่อนป่วยตาย จึงให้พระยาจักรีหาผู้มีสติปัญญาพอจะรับตำแหน่งแทน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงได้เป็นเจ้าเมืองตาก[17] ส่วนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงวินิจฉัยว่า พระองค์ทรงเคยเป็นหลวงยกกระบัตรเมืองตากก่อนที่จะทรงได้รับการเลื่อนตำแหน่ง[18]
    ครั้นเมื่อกองทัพพม่ายกมารุกรานกรุงศรีอยุธยา ได้ยกทัพผ่านเมืองตาก พระยาตากเห็นสู้ไม่ไหวจึงได้นำไพร่พลลงมาช่วยป้องกันกรุงศรีอยุธยา[19] ทั้งยังปรากฏในพงศาวดารว่า พระยาตากมีความชอบในการนำทหาร 500 นาย มาช่วยป้องกันพระนคร จึงได้รับพระราชทานของบำเหน็จ[20] ในระหว่างการปิดล้อมนั้นก็ได้ปรากฏฝีมือเป็นนายทัพเข้มแข็ง ปฏิบัติงานตามคำสั่งของราชการ
    [แก้]ตั้งตนเป็นใหญ่และกอบกู้เอกราช
    ดูเพิ่มที่ การกอบกู้เอกราชของเจ้าตาก


    พระบรมสาทิสลักษณ์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นภาพสเก็ตจากพระพักตร์ โดยบาทหลวงชาวฝรั่งเศส เมื่อครั้งเสด็จฯ มาถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์
    เดือนยี่ พ.ศ. 2309 ขณะพระยาตากตั้งค่ายอยู่ในค่ายวัดพิชัย[21] ก็ได้รวบรวมไพร่พลจำนวนหนึ่ง (มักระบุเป็น 500 นาย) มุ่งหน้าไปทางเมืองระยอง ทางหัวเมืองฝั่งทะเลด้านตะวันออก[22] ระหว่างเส้นทางที่ผ่านไปนั้นได้ปะทะกับกองกำลังของพม่าหลายครั้ง แต่ก็สามารถตีฝ่าไปได้ทุกครั้ง และสามารถรวบรวมไพร่พลตลอดจนอาวุธยุทโธปกรณ์ได้มากขึ้น
    หลังจากพระองค์ยึดเมืองระยองได้ ขณะพระยาวชิรปราการพักอยู่บริเวณวัดลุ่มมหาชัยชุมพล[23] ได้เกิดเหตุการณ์อัศจรรย์พายุหมุนจนบิดต้นตาลเป็นเกลียวโดยไม่คลายตัว ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า ตาลขด[24] บรรดาทหารทั้งหลายต่างก็ยกพระยาวชิรปราการเป็น เจ้าตาก[25] มีศักดิ์เทียบเท่าพระบรมวงศานุวงศ์ อย่างไรก็ตาม ก็อาจพิจารณาจากแนวคิดทางการเมืองได้เช่นกันว่า พระยาตากประกาศตนเป็นพระเจ้าแผ่นดินนับตั้งแต่ยกทัพออกจากกรุงศรีอยุธยาแล้ว[26]
    เจ้าตากมุ่งยึดเมืองจันทบูร[27] ซึ่งก่อนเข้าตีเมือง ได้มีรับสั่งให้ทหารทุกคนทำลายหม้อข้าวให้หมด หมายจะให้ไปกินข้าวในเมืองจันทบูร[28] จนตีได้เมืองจันทบูรเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2310[29] หลังจากนั้น ก็มีผู้คนสมัครใจเข้ามาร่วมด้วยกับพระองค์เป็นจำนวนมาก เนื่องจากเมืองจันทบูรและเมืองตราดไม่ถูกยึดครองโดยทหารพม่า
    เจ้าตากทรงรวบรวมกำลังพลจนมีจำนวน 5,000 นาย จึงได้ยกกองทัพเรือออกจากจันทบูร ล่องมาตามฝั่งทะเลในอ่าวไทย จนถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อสู้จนยึดธนบุรีคืนจากพม่าได้ นายทองอิน เจ้าเมืองธนบุรีซึ่งพม่าแต่งตั้งให้นั้น ถูกประหารชีวิต[30][31] ต่อจากนั้น ได้ยกกองทัพเรือต่อไปถึงกรุงศรีอยุธยา เข้าโจมตีค่ายโพธิ์สามต้นจนสามารถขับไล่ทหารพม่าออกจากอาณาจักรได้ และสามารถกอบกู้กรุงศรีอยุธยาจากการยึดครอง[32]
    [แก้]ปราบดาภิเษก


    การปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนุบรี
    ด้วยเหตุผลทางยุทธศาสตร์และการเมืองเป็นสำคัญ[33] ทำให้เจ้าตากมา "ยับยั้ง" อยู่ ณ เมืองธนบุรี ซึ่งมีลักษณะเป็นราชธานีไม่ถาวร[34] ก่อนหน้านั้น เมืองธนบุรีถูกทิ้งร้าง มีต้นไม้ขึ้นและซากศพทิ้งอย่างเกลื่อนกลาด ทำให้ต้องมีการเกณฑ์แรงงานจัดการพื้นที่ขึ้นมาใหม่[35] เจ้าตากยังมีรับสั่งให้คนไปอัญเชิญพระบรมวงศานุวงศ์ในสมัยตอนปลายอยุธยาจากเมืองลพบุรีมายังเมืองธนบุรี และได้ถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าเอกทัศตามโบราณราชประเพณี[36][37]
    หลังจากที่อพยพผู้คนและทรัพย์สินลงมาทางใต้และตั้งราชธานีใหม่ขึ้นที่เมืองธนบุรี เรียกนามว่า กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร เจ้าตากทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ตามแบบพระเจ้าแผ่นดินครั้งกรุงเก่า จดหมายเหตุโหรระบุว่าเป็นวันอังคาร แรมสี่ค่ำ จุลศักราช 1129 ซึ่งตรงกับวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 เฉลิมพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาที่ 4[38] ในขณะที่ยังทรงมีพระชนมายุ 34 พรรษา ความสำเร็จดังกล่าวทำให้มีผู้ที่มีแนวคิดต้องการรื้อฟื้นราชอาณาจักรอยุธยาขึ้นมาใหม่มาเข้าร่วมด้วยกับชุมนุมของพระองค์เป็นอันมาก ทำให้สถานะพระมหากษัตริย์ของพระองค์เด่นชัดยิ่งขึ้น[38] อีกทั้งพระองค์ยังทรงเริ่มประกอบพระราชกรณียกิจตามแบบอย่างพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาเพื่อแสดงถึงสิทธิธรรม[38]
    [แก้]ที่ประทับ

    ภายหลังจากที่ทรงกอบกู้เอกราชให้ชาติไทย พระราชวังกรุงธนบุรี หรือ พระราชวังเดิม เป็นพระราชวังหลวงที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังนี้ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2310 เพื่อใช้เป็นที่ประทับและว่าราชการ เมื่อทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็น ราชธานี พร้อมกับปรับปรุง "ป้อมวิไชยเยนทร์" และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "ป้อมวิไชยประสิทธิ์" ตำแหน่งของพระราชวังนี้ เป็นจุดสำคัญทางยุทธศาสตร์ สามารถสังเกตการณ์ได้ในระยะไกล อีกทั้งยังใกล้กับเส้นทางคมนาคมและเส้นทางการเดินทัพที่สำคัญอีกด้วย ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของกองทัพเรือ [39]
    [แก้]พระราชสันตติวงศ์

    ดูบทความหลักที่ พระราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
    [แก้]พระราชกรณียกิจ

    [แก้]การสงคราม
    ดูบทความหลักที่ การสงครามสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
    [แสดง]
    การสงครามในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนุบรี
    ครั้นพระเจ้ามังระทราบข่าวว่ามีคนไทยตั้งตนเป็นใหญ่อีกครั้ง จึงได้มีพระบรมราชโองการให้ แมงกี้มารหญ้า[40] เจ้าเมืองทวาย ยกทัพมาปราบปราม กองทัพพม่ายกมาถึงอำเภอบางกุ้ง ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของกรุงธนบุรี มีกำลังตามพระราชพงศาวดาร 2,000 คน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จนำกองทัพออกตีพม่าจนแตกพ่าย กิตติศัพท์ที่ทรงรบชนะ ทำให้พระราชอำนาจทางการเมืองในภาคกลางยิ่งเข้มแข็งยิ่งขึ้น[41] ราวปี พ.ศ. 2311 พระองค์ก็ทรงยกทัพไปตีชุมนุมพิษณุโลกอีก แต่กระสุนปืนต้องถูกพระองค์ จึงต้องยกทัพกลับและรักษาพระองค์ยังพระนคร
    หลังหายจากพระอาการประชวรแล้ว ในระหว่างปี พ.ศ. 2312-2313 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงใช้เวลาในการปราบปรามชุมนุมอื่น ๆ เพื่อรวบรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่น เริ่มจากชุมนุมเจ้าพิมาย[42] ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช[43] และชุมนุมเจ้าพระฝางตามลำดับ[44] เมื่อทรงปราบปรามชุมนุมต่าง ๆ ลงอย่างราบคาบแล้ว รัฐบาลจีนก็เริ่มให้การยอมรับสถานะพระมหากษัตริย์ของพระองค์อย่างเป็นทางการ[45] นอกจากการต่อสู้เพื่อรวบรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่นแล้ว ยังต้องป้องกันหัวเมืองชายแดนอีกด้วย
    ตลอดรัชสมัยทรงทำสงครามกับพม่าถึง 9 ครั้ง แต่ก็ทรงได้รับชัยชนะทุกครั้ง


    ภาพจิตรกรรมการรบที่บางแก้ว
    สงครามครั้งที่ 1 รบพม่าที่บางกุ้ง พ.ศ. 2310 นับเป็นการศึกครั้งแรกในสมัยกรุงธนบุรี เนื่องมาจากทางพม่าทราบข่าวว่ามีคนไทยตั้งตัวเป็นใหญ่ จึงสั่งให้เจ้าเมืองทวายเข้าสืบข่าวเพื่อที่จะกำจัดเสีย สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงรู้ข่าวจึงโปรดให้จัดกองทัพไปขับไล่กองทัพพม่า - มอญ ทหารพม่าเป็นฝ่ายแพ้ต้องถอยทัพกลับทางเมืองทวาย โดยทหารไทยสามารถยึดเรือรบอาวุธและเสบียงอาหารของพม่าไว้ได้[46]
    สงครามครั้งที่ 2 พม่าตีเมืองสวรรคโลก พ.ศ. 2313 รบกับพม่าครั้งพม่าตีเมืองสวรรคโลก ไทยสามารถตีแตกไปได้[44]
    สงครามครั้งที่ 3 ไทยตีเมืองเชียงใหม่ครั้งแรก พ.ศ. 2313 - พ.ศ. 2314 เป็นการรบกับพม่าเมื่อฝ่ายไทยยกไปตีนครเชียงใหม่ครั้งแรก แต่ไม่สำเร็จ เนื่องจากขาดเสบียง[47]
    สงครามครั้งที่ 4 พม่าตีเมืองพิชัยครั้งที่ 1 พ.ศ. 2315 โปสุพลา แม่ทัพยกทัพไปช่วยเมืองเวียงจันทน์รบกับหลวงพระบาง ขากลับแวะตีเมืองพิชัย แต่ไม่สำเร็จ ไทยชนะ[48]
    สงครามครั้งที่ 5 พม่าตีเมืองพิชัยครั้งที่ 2 พ.ศ. 2316 พม่ายกมาตีเมืองพิชัย ครั้งที่ 2 แต่พม่าตีไม่สำเร็จ พระยาพิชัย ได้วีรกรรม พระยาพิชัยดาบหัก[49]
    สงครามครั้งที่ 6 ไทยตีเมืองเชียงใหม่ ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2317 กองทัพไทยชนะ ยึดนครเชียงใหม่กลับจากพม่าได้ เพราะชาวล้านนาออกมาสวามิภักดิ์กับไทย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงแต่งตั้งให้ พระยาจ่าบ้าน เป็น พระยาวิเชียรปราการ ปกครองนครเชียงใหม่ พระยากาวิละ ซึ่งเป็นต้นราชวงศ์กาวิละ ปกครองนครลำปาง และ พระยาลำพูน เป็น พระยาวัยวงศา ปกครองเมืองลำพูน การครั้งนี้จึงได้ เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และ น่าน กลับมาเป็นของไทย[50]
    สงครามครั้งที่ 7 รบพม่าที่บางแก้วเมืองราชบุรี พ.ศ. 2317 เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงรู้ข่าวว่าพม่ายกพลตามพวกมอญที่หนีเข้ามาในเขตไทย จึงโปรดเกล้าฯ ให้ยกทัพมุ่งตรงไปยังราชบุรี โดยทรงบัญชาการทัพด้วยพระองค์เอง ทรงตั้งค่ายล้อมค่ายพม่าและลอบตีตัดทางลำเลียงเสบียงอาหาร โดยได้กำลังสนับสนุนจากพระยายมราช ในที่สุดพม่าจึงต้องยอมแพ้ ชัยชนะในครั้งนี้ส่งผลให้ผู้คนที่หลบซ่อนตามที่ต่าง ๆ เข้ามาสวามิภักดิ์เป็นจำนวนมาก เนื่องจากหมดความกลัวเกรงพม่า นับเป็นสงครามแบบจิตวิทยาโดยแท้[51]
    สงครามครั้งที่ 8 อะแซหวุ่นกี้ตีหัวเมืองเหนือ พ.ศ. 2318 เป็นสงครามที่ใหญ่มาก อะแซหวุ่นกี้เป็นผู้นำที่เชี่ยวชาญศึก มีอัธยาศัยสุภาพ ส่วนทางด้านฝ่ายไทยนั้น มี เจ้าพระยาจักรี(ทองด้วง) และ เจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราช(บุญมา) ในการครั้งนี้พม่ายกพลมา 30,000 คน เข้าล้อมเมืองพิษณุโลก อีก 5,000 คน ล้อมเมืองสุโขทัย ส่วนเมืองพิษณุโลกมีพลประมาณ 10,000 คน เท่านี้น สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงยกทัพไปช่วย และในที่สุดอะแซหวุ่นกี้ต้องยกทัพกลับ เนื่องจากพระเจ้าแผ่นดินพม่าสวรรคต กองทัพพม่าส่วนที่ตามไปไม่ทันจึงถูกกองทัพทหารจับ[52]
    สงครามครั้งที่ 9 พม่าตีเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. 2319 พระเจ้าจิงกูจาโปรดให้เกณฑ์ทัพพม่ามอญ 6,000 คน ยกมาตีเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2319 พระยาวิเชียรปราการได้พิจารณาแลเห็นว่า นครเชียงใหม่ไม่มีพลมากมายขนาดที่จะว่าป้องกันเมืองได้ จึงให้ประชาชนพลเรือนอพยพลงมาอยู่ที่เมืองสวรรคโลก สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุรสีห์คุมกองทัพเมืองเหนือขึ้นไปสมทบกองกำลังพระยากาวิ เจ้าเมืองนครลำปาง ยกไปตีเมืองเชียงใหม่คืนสำเร็จ และทรงให้นครเชียงใหม่เป็นเมืองร้างถึง 15 ปี จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์จึงได้ฟื้นฟูใหม่[53]
    ทรงทำสงครามกับเขมร 3 ครั้ง
    สงครามครั้งที่ 1 พ.ศ. 2312 เจ้านายเขมรได้เกิดวิวิทกัน คือ นักองตนไปขอกองทัพญวณมาตีเขมร และนักองนนท์สู้มิได้ก็พาครอบครัวหนีมาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ณ กรุงธนบุรี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาอภัยรณฤทธิ์กับพระยาอนุชิตราชา (ตอนนี้เป็นตอนต้นรัชกาล สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกยังมียศศักดิ์เพียงพระยาอภัยรณฤทธิ์) ยกทัพไปตีเขมรและทำการโจมตีได้เมืองเสียมราฐแล้วพักรอฤดูฝนอยู่ พอดีได้ข่าวว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชยกทัพไปตีเมืองนครศรีธรรมราช แล้วสิ้นพระชนม์ลง การตีเขมรครั้งนั้นจึงยังไม่เสร็จ
    สงครามครั้งที่ 2 พ.ศ. 2314 นักองตนซึ่งครองเขมรอยู่ ได้ข่าวพม่ายกมาตีไทย จึงถือโอกาสยกทัพมาตีเมืองจันทบุรีและตราด จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาจักรียกทัพไปตีเขมร ทัพไทยตีได้เมืองโพธิสัตว์ เมืองพระตะบอง เมืองบริบูรณ์ เมืองกำพงโสม และเมืองบันทายมาศ นักองตนพ่ายแพ้หนีไปอยู่กับญวณ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นักองนนท์ครองเขมรสืบไป
    สงครามครั้งที่ 3 พ.ศ. 2323 เมื่อทัพไทยกลับจากเขมรแล้ว นักองตนก็ยกทัพมาตั้งมั่นอยู่ที่เมืองบันทายมาศ ส่วนนักองนน์เกรงกลัวญวณจึงคงตั้งมั่นอยู่ที่เมืองกำปอด ต่อมาองไกเซนเป็นกบฏยึดญวณไว้ได้ นักองตนสิ้นที่พึ่ง จึงขอประนีประนอมยอมให้นักองนนท์ครองกรุงกัมพูชา สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระรามราชา (นักองนนท์) เป็นเจ้ากรุงกัมพูชา และพระนารายณ์ราชาธิบดี (นักองตน) เป็นมหาอุปโยราช และนักองธรรมเป็นมหาอุปราช ต่อมานักองธรรมถูกลอบฆ่าตาย และนักองตนก็เป็นโรคตาย เป็นที่สงสัยว่าถูกวางยาพิษ ฟ้าทะละหะเข้าใจว่าพระรามราชาแกล้งฆ่าคนทั้งสอง จึงพร้อมด้วยข้าราชการรวมกันจับพระรามราชาถ่วงน้ำเสีย แล้วยกนักองเองราชบุตรขึ้นเป็นเจ้ากรุงกัมพูชา มีฟ้าทะละหะเป็นผู้สำเร็จราชการ ต่อมาฟ้าทะละหะได้เอาใจออกห่างไทยไปฝักใฝ่ญวณ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เจ้าพระยาสุรสีห์ กรมขุนอินทรพิทักษ์ยกทัพไปตีเขมร ตีได้หลายหัวเมืองแล้ว พอจะตีเข้าเมืองหลวงก็พอดีเกิดการจลาจลขึ้นในกรุงธนบุรี จำเป็นต้องยกทัพกลับ
    ศึกเมืองจำปาศักดิ์
    พ.ศ. 2319 ในขณะที่ไทยติดศึกพม่าที่เมืองพิษณุโลกนั้น มีเหตุเกิดขึ้นทางนครราชสีมา คือ เจ้าเมืองนางรอง (ปัจจุบันเป้นอำเภอหนึ่งในจังหวัดบุรีรัมย์) ซึ่งเป็นเมืองขึ้นต่อนครราชสีมา วิวาทกับพระยานครราชสีมา แล้วเอาเมืองไปขึ้นต่อเจ้าโอ เมืองนครจำปาศักดิ์ซึ่งตั้งตนเป็นอิสระอยู่ พระยานครราชสีมามีใบ้บอกเข้ามายังกรุงธนบุรี ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2319 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาจักรียกไปปราบ เมื่อปราบได้ให้ประหารเจ้าเมืองนางรองเสีย เจ้าพระยาจักรีปราบได้สำเร็จ พอปราบเสร็จสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงทราบว่าเจ้าโอกับเจ้าอินอุปราช เมืองนครจำปาศักดิ์เตรียมพล 10,000 นายจะมาตีนครราชสีมา สมเด้จพระเจ้าตากสินจึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาสุรสีห์คุมทัพไปสมทบอีก 1 ทัพและให้ปราบจำปาศักดิ์เสีย ทัพไทยตีจำปาศักดิ์แตกและจับตัวเจ้าโอกับเจ้าอินได้ที่เมืองสีทันดร และยังตีได้เมืองอัตตะปือด้วยพร้อมกันนั้น เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ออกเกลี้ยกล่อมเมืองเขมรป่าดง ระหว่างจำปาศักดิ์กับนครราชสีมาเป็นพวกได้อีก 3 เมือง คือ สุรินทร์ สังขะ ขุขันธ์ ทั้ง 3 เมืองยอมเข้าเป็นเขตเมืองไทย เสร็จศึกครั้งนี้เจ้าพระยาจักรีได้เลื่อนเป็น "สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ" มีเครื่องยศอย่างเจ้าต่างกรม
    ศึกตีเวียงจันทน์


    แผนที่แสดงอาณาเขตประเทศไทย ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
    พ.ศ. 2321 พระวอเสนาบดีเมืองเวียงจันทน์เป็นกบฏ แต่สู้เจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตไม่ได้ ก็พาสมัครพรรคพวกหนีมาอยู่ที่ตำบลดอนมดแดง (จังหวัดอุบลราชธานีในปัจจุบัน) และขอขึ้นต่อไทย ต่อมาพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต ได้ยกทัพมาตีตำบลดอนมดแดงและจับฆ่าพระวอเสีย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงขัดเคืองมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเป็นแม่ทัพ พร้อมด้วยเจ้าพระยาสุรสีห์ยกทัพไปตีเวียงจันทน์กองทัพไทยได้แสดงความสามารถตีเมืองเวียงจันทน์ได้ และหัวเมืองลาวทั้งหลายได้พากันมาขึ้นต่อไทย และในครั้งนี้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้อัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบางลงมายังกรุงธนบุรีด้วย
    การศึกสงครามดังกล่าวนี้ ส่งผลให้พระราชอาณาจักรไทยเป็นเอกราชและมีความมั่นคงสืบต่อมาจนถึง ปัจจุบัน
    การขยายพระราชอาณาเขต
    ดังนั้น อาณาเขตของประเทศไทยในสมัยกรุงธนบุรี มีดังนี้
    ทิศเหนือ ตลอดอาณาจักรล้านนา
    ทิศใต้ ได้ดินแดนกลันตัน ตรังกานู และไทรบุรี
    ทิศตะวันออก ได้ดินแดนลาว เขมร จรดอาณาเขตญวน
    ทิศตะวันตก จรดดินแดนเมาะตะมะ ได้ดินแดน เมืองทวาย มะริด ตะนาวศรี[54]
    [แก้]การฟื้นฟูบ้านเมือง
    การที่สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงกู้เอกราชกรุงศรีอยุธยากลับคืนจากพม่าได้นั้นทำให้กิตติศัพท์เลื่องลือไปทั่ว พระเกียรติยศของพระองค์จึงแพร่ไปว่าเป็นผู้สามารถกู้แผ่นดินไทยให้พ้นจากอำนาจพม่าข้าศึกได้ ทำให้ไพร่บ้านพลเมืองที่ยังหลบลี้อยู่ตามที่ต่างๆ พากันมาอ่อนน้อมเข้าร่วมกับสมเด็จพระเจ้าตากสินเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะเป็นกำลังในการบูรณะบ้านเมืองต่อไป ซึ่งพระราชกรณียกิจมีทั้งหมด 7 ด้าน ดังนี้
    [แก้]ด้านการปกครอง
    หลังจากที่กรุงศรีอยุธยาแตก กฎหมายบ้านเมืองกระจัดกระจายสูญหายไปมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการสืบเสาะ ค้นหามารวบรวมไว้ได้ประมาณ 1 ใน 10 และโปรดฯ ให้ชำระกฎหมายเหล่านั้น ฉบับใดยังเหมาะแก่กาลสมัยก็โปรดฯ ให้คงไว้ ฉบับใดไม่เหมาะก็โปรดให้แก้ไขเพิ่มเติมก็มี ยกเลิกไปก็มี ตราขึ้นใหม่ก็มี และเป็นการแก้ไขเพื่อราษฎรได้รับผลประโยชน์มากขึ้น เช่น โปรดฯ ให้แก้ไขกฎหมายว่าด้วยการพนันให้อำนาจการตัดสินลงโทษขึ้นแก่ศาลแทนนายตราสิทธิ์ขาด และยังห้ามนายตรานายบ่อนออกเงินทดลองให้ผู้เล่น เกาะกุมผูกมัดจำจองเร่งรัดผู้เล่น กฎหมายพิกัดภาษีอากรก็เกือบไม่มี เพราะผลประโยชน์แผ่นดินได้จากการค้าสำเภามากพอแล้ว กฎหมายว่าด้วยการจุกช่องล้อมวงก็ยังไม่ตราขึ้น เปิดโอกาสให้ราษฎรได้เฝ้าแหนตามรายทาง โดยไม่มีพนักงานตำรวจแม่นปืนคอยยิงราษฎร ซึ่งแม้แต่ชาวต่างประเทศก็ยังชื่นชมในพระราชอัธยาศัยนี้ เช่น มองเซนเยอร์ เลอบอง ได้บรรยายไว้ในจดหมายถึงผู้อำนวยการคณะต่างประเทศว่า[55]

    บรรดาคนทั้งหลายเรียกพระเจ้าตากว่าพระเจ้าแผ่นดิน แต่พระเจ้าตากเองว่าเป็นแต่เพียงผู้รักษากรุงเท่านั้น พระเจ้าตากหาได้ทรงประพฤติเหมือนอย่างพระเจ้าแผ่นดินก่อน ๆ ไม่ และในธรรมเนียมของพระเจ้าแผ่นดินฝ่ายทิศตะวันออกที่ไม่เสด็จออกให้ราษฎรเห็นพระองค์ด้วยกลัวจะเสื่อมเสียพระเกียรติยศนั้น พระเจ้าตากไม่ทรงเห็นชอบด้วยเลย พระเจ้าตากทรงพระปรีชาสามารถยิ่งกว่าคนธรรมดา เพราะฉะนั้นจึงไม่ทรงเกรงว่าถ้าเสด็จออกให้ราษฎรพลเมืองเห็นพระองค์ และถ้าจะทรงมีรับสั่งด้วยแล้วจะทำให้เสียพระราชอำนาจลงแต่อย่างใด เพราะพระองค์มีพระราชประสงค์ทอดพระเนตรการทั้งปวงด้วยพระเนตรของพระองค์เอง และจะทรงฟังการทั้งหลายด้วยพระกรรณของพระองค์เองทั้งสิ้น

    สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงปกครองบ้านเมืองคล้ายคลึงกับพระราโชบายของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช คือ แบบพ่อปกครองลูก ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์เดียวที่ไม่ถือพระองค์ มักปรากฏพระวรกายให้พสกนิกรเห็น และมักถามสารทุกข์สุขดิบของพนกนิกรทั่วไป ทรงหาวิธีให้ไพร่บ้านพลเมืองได้ทำมาหากินโดยปกติสุข ใครดีก็ยกย่องสรรเสริญ ผู้ใดทำไม่พอพระทัย ก็ดุด่าว่ากล่าวดังพ่อสอนลูก อาจารย์สอนศิษย์ ซึ่งสมกับโคลงยอพระเกียรติของนายสวนมหาดเล็กที่ว่า
    พระเดียวบุญลาภเลี้ยง ประชากร
    เป็นบิตุรมาดร ทั่วหล้า
    เป็นเจ้าและครูสอน สั่งโลก
    เป็นสุขทุขถ้วนหน้า นิกรทั้งชายหญิง
    เนื่องจากตลอดรัชสมัยของพระองค์ เป็นช่วงเวลาที่มีการทำศึกสงครามเกือบตลอดเวลา จึงทำให้ไม่มีเวลาที่จะชำระพระราชกำหนดกฎหมายต่าง ๆ ทำให้ต้องใช้กฎหมายที่มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา โดยให้กรมวังหรือกระทรวงวังเป็นผู้รับผิดชอบในการพิจารณาว่าคดีใดควรขึ้นศาลใด แล้วส่งคดีไปยังศาลกรมนั้น ๆ โดยได้แบ่งงานศาลออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
    ฝ่ายรับฟ้อง
    มีหน้าที่ในการเขียนคำฟ้องและพิจารณารูปคดีว่าควรจะฟ้องหรือไม่ ก่อนจะส่งขึ้นศาลเพื่อพิจารณา เรื่องปรับไหมและลงโทษผู้กระทำผิด
    ฝ่ายตรวจสำนวนและพิพากษา
    ฝ่ายนี้เดิมเป็นหน้าที่ของพราหมณ์ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายแขนงต่าง ๆ จำนวน 12 คน โดยเรียกว่า "ลูกขุน ณ ศาลหลวง" ต่อมาได้มีคนไทยที่เชี่ยวชาญกฎหมายเข้ามาทำหน้าที่นี้ด้วย คณะลูกขุน ณ ศาลหลวงนี้จะไม่มีอำนาจในการปรับหรือลงโทษแต่อย่างใด
    อย่างไรก็ตาม ในรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าตากสิน พระองค์จะทรงใช้ ศาลทหาร เป็นส่วนใหญ่ โดยในการตัดสินคดีทุกครั้ง แม้พระองค์จะตัดสินให้ลงโทษสูงสุดแล้ว แต่ก็จะมีรับสั่งให้ทยอยการลงโทษจากขั้นต่ำสุดก่อน ซึ่งหลายครั้งจะปรากฏว่านักโทษที่มีความผิดร้ายแรงก็มักจะได้รับการพระราชทานอภัยโทษหนัก โดยให้ไปกระทำการอย่างอื่นเป็นการไถ่โทษแทน
    การออกพระราชกำหนดสักเลก พ.ศ. 2316 เพื่อสะดวกในการควบคุมกำลังคน การขยายอำนาจเข้าไปในดินแดนที่เคยเป็นประเทศราชของไทยในลาวและเขมรเพื่อทำให้ประเทศเข้มแข็งมั่นคง และการเตรียมการให้กรมขุนอินทรพิทักษ์ไปปกครองเขมรในฐานะเมืองประเทศราช [56] แต่ได้เกิดจลาจลในกรุงธนบุรีเสียก่อนจึงไม่สำเร็จ ส่วนหัวเมืองใหญ่ ๆ ที่เป็นทางผ่านของทัพพม่าก็โปรดให้แม่ทัพนายกองที่มีความสามารถไปปกครอง เช่น เจ้าพระยาสุรสีห์ไปครองเมืองพิษณุโลก เจ้าพระยาพิชัยราชาไปครองเมืองสวรรคโลก
    นอกจากขับไล่พม่าออกไปจากอาณาจักรได้แล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินยังได้ขยายอำนาจเข้าไปในลาว ได้หัวเมืองลาวเข้ามาอยู่ในอำนาจอาจกล่าวได้ว่า สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินเป็นสมัยแห่งการกู้เอกราชของชาติ รวบรวมประเทศให้เป็นปึกแผ่นมั่นคง ขับไล่ข้าศึกออกไปจากอาณาเขตไทยและขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางในรัชสมัยของพระองค์ ไทยจึงยิ่งใหญ่เท่าเทียมเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยามีความรุ่งเรือง[57]
    [แก้]ด้านเศรษฐกิจ
    สภาพบ้านเมืองหลังจากเสียกรุง ทำให้สภาพเศรษฐกิจตกต่ำอย่างมาก มีประมาณครึ่งราชอาณาเขตครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี มีมณฑลกรุงเทพฯ มณฑลอยุธยา มณฑลราชบุรี มณฑลนครชัยศรี มณฑลนครสวรรค์ มณฑลปราจีน และมณฑลจันทบุรี ครั้งนั้นมีมณฑลจันทบุรีเพียงมณฑลเดียวที่นับว่าปกติ ส่วนมณฑลที่เหลือถูกพม่าย่ำยียับเยิน เป็นเมืองร้าง ขาดการทำไร่นาถึง 2 ปี ผู้คนที่เหลือจากการถูกพม่ากวาดต้อนไปต่างพากันอพยพหลบหนีแตกกระจัดพลัดพราก เที่ยวซุ่มซ่อนอยู่ตามป่าดงโดยมาก ต้องทรงเกลี้ยกล่อมผู้คนให้กลับมาอยู่ถิ่นเดิม เมื่อผู้คนมาอยู่รวมกันมากเข้า ไม่ช้าก็เกิดการอัตคัด เสบียงอาหารไม่เพียงพอ ทรงสามารถแก้ไขความขัดข้องได้โดยปัจจุบันทันด่วน จึงทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อข้าวสารและเครื่องนุ่งห่มในราคาสูง เพื่อแจกจ่ายให้แก่ประชาชน ทั้งนี้ทำให้เกิดผลดีอย่างยิ่ง 3 ประการคือ
    ประการที่ 1 เมื่อบรรดาพ่อค้าทั้งหลายทราบว่าสินค้าที่นำมาขาย ณ กรุงธนบุรี จำหน่ายได้ดีและมีราคาสูงเป็นพิเศษ จึงเป็นเหตุให้พ่อค้าพากันบรรทุกข้าวเปลือกข้าวสาร ตลอดจนเสื้อผ้าสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เข้ามาขายที่กรุงธนบุรีมากขึ้น ทำให้ประชาชนพลเมืองมีเสื้อผ้าอาหารเพียงพอกับความต้องการ ความอดอยากขาดแคลนก็หมดไป
    ประการที่ 2 เมื่อพ่อค้าแข่งขันกันนำสินค้านานาชนิดเข้ามาขายกันมากขึ้น ก็ทำให้บังเกิดภาวะสินค้าล้นตลาด เกินความต้องการของประชาชน ราคาสินค้าจึงเริ่มถูกลงเป็นลำดับ ความเดือดร้อนของราษฎรก็ค่อยๆ หมดสิ้นไป
    ประการที่ 3 บรรดาราษฎรที่ยังแตกฉานซ่านเซ็นซุกซ่อนหลบหนียุทธภัยอยู่ตามที่ต่างๆ เป็นอันมากนั้น เมื่อทราบข่าวว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงเลี้ยงดูราษฎรมิให้อดอยากด้วยพระเมตตาปรานีเช่นนั้น ก็พากันมีความยินดีและอพยพกลับคืนเข้ามาอยู่ตามภูมิลำเนาเดิม ในบ้านในเมืองกันมากขึ้น ทำให้กรุงธนบุรีมีประชาชนพลเมือง เป็นกำลังเพิ่มเติมยิ่งๆ ขึ้น เป็นอันมาก สามารถนำไปใช้ในการต่อสู้ข้าศึกศัตรู ป้องกันบ้านเมืองได้ดียิ่งขึ้น ราษฎรได้เริ่มต้นดำเนินอาชีพ ประกอบการทำมาหากินกันสืบต่อไปใหม่ ยังผลให้บ้านเมืองที่เคยตกอยู่ในสภาพเป็นเมืองร้างมาแต่ก่อนนั้น ได้กลับคืนเข้าสู่สภาพปกติสุข มีความเจริญรุ่งเรืองร่มเย็นขึ้นมาใหม่อีก เศรษฐกิจของชาติจึงได้เริ่มฟื้นคืนดียิ่งๆ ขึ้นโดยลำดับ
    ทรงนำพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์และของพระราชชนนีรวมทั้งของพระญาติที่สะสมไว้ เอามาช่วยในราชการทั้งสิ้นเพราะพระองค์ได้ครองแผ่นดินอันว่างเปล่า ปราศจากปราสาทพระราชวัง ปราศจากสิ่งของอันมีค่า และท้องพระคลังที่ว่างเปล่า[58] อีกทั้งพวกทหารของพระองค์ที่มีเชื้อสายจีนได้ติดต่อญาติมิตรซึ่งเป็นคนค้าขาย ได้เงินรวมกันประมาณหมื่นตำลึง บางคนให้ข้าวสาร ปลาเค็ม ฯลฯ แต่ไม่ได้ลงบัญชีเอาไว้ ต่อมาได้พระญาติของพระองค์ (เจียนจิ้น) ทำหนังสือเพื่อจะขอยืมเงินข้าราชการจีนหรือจักรพรรดิเฉียนหลงมาซื้อปืน,เหล็กตีดาบ และดาบที่ดีจากเมืองใกล้ๆ มาใช้ พร้อมทั้งหอก ง้าว และทวนด้วย รวมกันได้หกหมื่นตำลึง พระราชทรัพย์ที่ทรงนำมาจับจ่าย ในการซื้อข้าวสารเสื้อผ้านั้น ได้พระราชทานแก่บรรดาข้าราชการและประชาชนที่กำลังเดือดร้อนอย่างหนักอยู่ในเวลานั้น สมเด็จพระปิยมหาราชทรงสันนิษฐานว่า "ซื้อข้าวเลี้ยงคนโซ คงจะได้เงินจากค่ายโพธิสามต้น"
    สุรีย์ ภูมิภมร กล่าวถึงการหาพระราชทรัพย์ที่นำมาใช้จ่ายว่า "...ขายดีบุก งาช้าง และไม้ซุง เพื่อเอาเงินมาช่วยในการซื้ออาหารและเครื่องนุ่งห่ม …"[59] อีกตอนหนึ่ง สมเด็จพระปิยมหาราชได้ทรงพระราชนิพนธ์ใจความตอนหนึ่งว่า "...เงินจะได้มาทางใดไม่ว่า เจ้ากรุงธนบุรีเป็นผู้ซื้อข้าวมาแจกเฉลี่ยเลี้ยงชีวิตกันในเวลาขัดสน อิ่มก็อิ่มด้วยกัน อดก็อดด้วยกัน..." ในจดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี มีกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ตอนหนึ่งว่า "...ได้ปืนใหญ่พม่าที่ขนไปไม่ได้ค้างอยู่ ให้ระเบิดเอาทอง (คิดว่าน่าจะเป็นทองเหลือง หรือทองสำริด-ผู้รวบรวม) ลงสำเภา ซื้อข้าวถังละ 6 บาท เลี้ยงคนโซไว้ได้กว่าพัน..."
    สมัยกรุงธนบุรี เป็นสมัยที่ต้องสร้างชาติบ้านเมืองกันใหม่ พระองค์ทรงทำนุบำรุงการค้าขายทางเรืออย่างเต็มที่ ทรงค้าขายกับจีนเป็นประจำ ทรงแต่งสำเภาหลวงออกไปขายหลายสาย ทางตะวันออกถึงเมืองจีน ทางตะวันตกถึงอินเดีย ผลกำไรที่ได้จากการค้าสำเภามีมากพอที่จะช่วยบรรเทาการเก็บภาษีอากรจากราษฎรในระยะแรกซึ่งราษฎรยังตั้งตัวไม่ได้ สภาพเศรษฐกิจดีขึ้นกว่าตอนต้นรัชกาล โดยมีรายได้จากภาษีขาเข้าและภาษีขาออกจากเรือสินค้าต่างชาติ ได้แก่ จีนและชวาที่เข้ามาค้าขายกับไทย สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงส่งเสริมการนำสินค้าพื้นเมืองไปขายทางเรือ ซึ่งอำนวยผลประโยชน์อย่างใหญ่หลวงต่องานสร้างชาติ ทำให้ราษฎรมีงานทำ มีรายได้ ทั้งทรงมีพระราชประสงค์ที่จะฝึกให้คนไทยเชี่ยวชาญการค้าขาย ป้องกันมิให้การค้าตกอยู่ในมือชนต่างชาติ และรักษาประโยชน์ของสินค้าพื้นเมืองมิให้ถูกทอดทิ้ง พระองค์ทรงพยายามผูกไมตรีกับจีนเพื่อประโยชน์ทั้งในด้านความมั่นคงของชาติและประโยชน์ในด้านการค้า[60][61][62] อย่างไรก็ตาม การแก้ไขเศรษฐกิจและสภาพบ้านเมือง ยังมีปัญหาอยู่บ้าง ดังที่บาทหลวงชาวฝรั่งเศส ชื่อ มองเซนเยอร์ เลอบอง ซึ่งเข้ามาในเมืองไทยเมื่อ พ.ศ. 2318 จดบันทึกไว้ในช่วง พ.ศ. 2318 ดังนี้[63]

    จนถึงเวลาเดี๋ยวนี้ อาหารการกินในเมืองนี้ยังแพงมาก เพราะบ้านเมืองไม่เป็นอันทำมาหากินมาเป็นเวลา 15 ปีแล้ว และในเวลานี้ยังหาสงบทีเดียวไม่

    — มองเซนเยอร์ เลอบอง
    สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงกังวลพระทัยในเรื่องนี้จึงมีพระราชดำรัสว่า[64]

    บุคคลผู้ใดเป็นอาทิคือเทวดา บุคคลผู้มีฤทธิ์มาประสิทธิ์มากระทำให้ข้าวปลาอาหารบริบูรณ์ขึ้น ให้สัตว์โลกเป็นสุขได้ แม้นผู้นั้นจะปรารถนาพระพาหาแห่งเราข้างหนึ่ง ก็อาจตัดบริจาคแก่ผู้นั้นได้

    — สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
    [แก้]ด้านคมนาคม
    ในยุคนี้ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงยกเลิกความคิดแนวเก่าที่ว่าหากถนนหนทาง ทางคมนาคมดีมากแล้วจะเป็นการอำนวยประโยชน์ให้ข้าศึกศัตรูและพวกก่อการจลาจล แต่กลับทรงเห็นเป็นประโยชน์ในทางค้าขายมากกว่า ดังนั้น ในฤดูหนาวหากว่างจากศึกสงคราม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนและขุดคลอง จะเห็นได้จากแนวถนนเก่าๆ ในเขตธนบุรีซึ่งมีอยู่หลายสาย ส่วนการขุดชำระคลองมักมีวัตถุประสงค์เบื้องต้นเพื่อประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ เช่น คลองท่าขาม จากนครศรีธรรมราชไปออกทะเล เป็นต้น
    [แก้]ด้านการศึกษา
    สมัยกรุงธนบุรีเป็นระยะเวลาที่บ้านเมืองยังไม่สงบเรียบร้อย การฟื้นฟูการศึกษาจึงทำได้ไม่มากนัก แต่วัดก็ยังเป็นแหล่งที่ให้การศึกษาอยู่ โดยมีแต่เด็กผู้ชายเท่านั้นที่มีโอกาสศึกษา เพราะต้องอยู่กับพระที่วัดเรียนหนังสือและได้รับการอบรมความประพฤติ เรียนพระธรรม ภาษาบาลีสันสกฤต และศัพท์เขมร เพื่อประโยชน์ในการอ่านคัมภีร์พระพุทธศาสนา นอกจากนี้มีวิชาเลข เน้นมาตรา ชั่ง ตวง วัด มาตราเงินไทย และการคิดหน้าไม้ ซึ่งจะต้องนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีวิชาช่างฝีมือสำหรับเด็กโต ส่วนใหญ่เกี่ยวกับงานช่างก่อสร้าง เพื่อประโยชน์ในการบูรณะซ่อมแซมเสนาสนะ และสิ่งก่อสร้างภายในวัด สำหรับการเรียนวิชาชีพโดยตรงนั้นเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ ใครมีอาชีพอะไรก็ถ่ายทอดวิชานั้นๆ ให้แก่ลูกหลานของตนตามสายตระกูล เช่น วิชาแพทย์แผนโบราณ วิชาช่างปั้น ช่างถม ช่างแกะสลัก ช่างปูนปั้น ช่างเหล็ก ช่างเงิน ช่างทอง ส่วนการศึกษาสำหรับเด็กหญิง จะถือตามประเพณีโบราณคือ เรียนเย็บปักถักร้อย ทำกับข้าว การจัดบ้านเรือน การฝึกอบรมมารยาทของกุลสตรี สังคมสมัยนั้นไม่นิยมให้ผู้หญิงเรียนหนังสือ จึงมีน้อยคนที่อ่านออกเขียนได้ [65]
    สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี จึงโปรดเกล้าฯให้บำรุงการศึกษาตามวัดต่างๆ และยังโปรดเกล้าฯให้ตั้งหอหนังสือขึ้นเช่นเดียวกับสมัยอยุธยา ซึ่งคงเทียบได้กับหอพระสมุดในระยะหลัง นอกจากนี้ยังโปรดเกล้าฯให้แสวงหาและรวบรวมตำราต่างๆ ที่กระจัดกระจายไปเมื่อคราวกรุงแตกไว้ที่พระอารามหลวงหรือหามาจำลองไว้เป็นแบบฉบับเพื่อใช้ศึกษาเล่าเรียน[66]
    [แก้]ด้านศาสนา
    ถึงแม้ว่าในรัชสมัยของพระองค์ บ้านเมืองจะตกอยู่ในภาวะสงครามเกือบตลอดเวลา แต่พระองค์กลับมิได้ทรงละเลยงานด้านศาสนจักร ได้ทรงมุ่งมั่นทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองเหมือนเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา พระราชกรณียกิจด้านฟื้นฟูพระพุทธศาสนามีดังนี้
    บทสวดมนต์ พุทธชัยมงคลคาถา และสร้างพระยอดธง
    มีบันทึกโบราณบอกไว้ดังนี้ "เมื่อ พระเจ้าตากสินมหาราชตีเมืองจันทบุรีได้แล้วก็ทรงเล็งเห็นว่า สงครามกู้ชาติต่อจากนี้ไป จะต้องหนักหนาและยืดยาว จึงทรงโปรดเกล้าให้สร้างพระยอดธงแบบศรีอยุธยาขึ้น แล้วนิมนต์พระเถระทั้งหลาย มาสวดบทพาหุงมหากาบรรจุไว้ในองค์พระ และพระองค์ก็ทรงเจริญรอยตาม พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ด้วยการเจริญพาหุงมหากา จึงบันดาลให้ทรงกู้ชาติสำเร็จ"[67][68]
    การจัดระเบียบสังฆมณฑล
    ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดระเบียบสังฆมณฑลทันทีภายหลังการสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี ครั้งที่ยกทัพไป ปราบชุมนุมเจ้าพระฝางเมื่อทรงเห็นว่าพระสงฆ์ทางฝ่ายหัวเมืองเหนือมัวหมอง ก็ไดอาราธนาพระราชาคณะ จากในกรุงไปสั่งสอน ทำให้พระสงฆ์กลับบริสุทธิ์และเป็นปกติสุขขึ้น[68]
    การรวบรวมพระไตรปิฎก
    สมเด็จพระเจ้าตากสิน ยังได้ทรงมุ่งมั่นในการสืบเสาะค้นหาต้นฉบับพระไตรปิฎกที่ยังเหลืออยู่หลังจากเสียกรุง เพื่อนำมาคัดลอกจำลองไว้สำหรับการสร้างพระไตรปิฎกฉบับหลวงต่อไป ซึ่งจะเห็นได้จากเมื่อคราวที่เสด็จไปปราบชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราชในปี พ.ศ. 2312 ได้มีรับสั่งให้ขอยืมคัมภีร์ พระไตรปิฎกจากนครศรีธรรมราชบรรทุกเรือเข้ามาคัดลอกในกรุงธนบุรี และในปีถัดมาในคราวที่เสด็จฯ ไปปราบชุมนุมเจ้าพระฝางที่เมืองอุตรดิตถ์ได้โปรดเกล้าฯ ให้นำพระไตรปิฎกลงมาด้วย ต้นฉบับที่ได้จากเมืองนครศรีธรรมราชซึ่งนับเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการสังคายนาพระไตรปิฎกในสมัยต่อมา[68]
    การสมโภชพระแก้วมรกต
    ดูเพิ่มที่ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
    ภายหลังจากที่รบชนะเมืองเวียงจันทน์ สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระแก้วมรกต และพระบางกลับมายังกรุงธนบุรีด้วย โดยให้จัดขบวนเรือพยุหยาตรามโหฬารถึง 246 ลำ และเสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปรับด้วยพระองค์เอง แล้วให้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปประดิษฐานไว้ ณ พระอุโบสถ วัดอรุณราชวราราม ต่อมารัชกาลที่ 1 ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปประดิษฐานไว้ ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งอยู่ในเขตพระบรมมหาราชวัง [69][68]
    การบูรณะปฏิสังขรณ์วัด
    สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆ เป็นจำนวนมาก และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง เช่น วัดอินทารามวรวิหาร ,วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร, วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร ,วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ,วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร ,วัดราชคฤห์วรวิหารและ วัดเสาธงหิน เป็นต้น[68]
    พระราชกำหนดว่าด้วยศีลสิกขา
    สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรากฎหมายว่าด้วยวัตรปฏิบัติในทางธรรมวินัยของพระสงฆ์ เมื่อปี พ.ศ. 2316 โดยถือเป็นต้นฉบับกฎหมายพระสงฆ์ฉบับแรกของไทย[70] และทรงนำแนวคิดทางพระพุทธศาสนา มาใช้เป็นหลักในการจัดระเบียบสังคมในสมัยนั้นด้วย[71] และหลังจากกอบกู้แผ่นดินได้แล้ว พระองค์ได้ทรงอัญเชิญพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าเอกทัศมาจัดถวายพระเพลิงอย่างสมพระเกียรติและยังทรงรับอุปการะบรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ในพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาทุกพระองค์ด้วยความกตัญญู [72][68]
    [แก้]ด้านศิลปกรรม
    นาฏดุริยางค์
    ภายหลังจากที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปปราบชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราชเมื่อ พ.ศ. 2312 ได้ทรงนำตัวละครผู้หญิงของเจ้านครศรีธรรมราชเข้ามาเป็นครูฝึกหัดร่วมกับพวกละครที่ทรงรวบรวมได้จากที่อื่น แล้วจัดตั้งเป็นละครหลวงของกรุงธนบุรี โดยยึดแบบฉบับการฝึกละครของกรุงศรีอยุธยา นอกจากนี้ยังได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ เพื่อให้คณะละครหลวงได้นำไปฝึกหัดออกแสดงด้วย[73] ดังนั้นจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ฟื้นฟูอย่างเต็มที่ เพื่อสร้างบรรยากาศให้รื่นเริงครึกครื้นเหมือนสมัยกรุงศรีอยุธยา พระราชทานโอกาสให้ประชาชนทั่วไปเปิดการฝึกสอนและออกโรงเล่นได้อิสระ เครื่องแต่งกายไม่ว่าจะเป็น เครื่องต้น เครื่องทรง ก็แต่งกันได้ตามลักษณะเรื่อง ส่งผลให้ศิลปะการละครของไทยซึ่งเคยเจริญรุ่งเรืองมากตอนปลายอยุธยากลับฟื้นตัวขึ้นใหม่
    ศิลปการช่าง
    ภาพเขียนที่งดงามประณีตในสมัยธนบุรีที่สำคัญยิ่ง คือ "สมุดภาพไตรภูมิ" เป็นภาพเขียนที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อพุทธศักราช 2319 ซึ่งนับได้ว่าเป็นสมุดภาพไตรภูมิขนาดใหญ่เล่มหนึ่งของเมืองไทย เมื่อคลี่ ออกจะมีความยาวถึง 34.72 เมตร เขียนด้วยสีลงในสมุดทั้ง 2 ด้าน โดยฝีมือช่างเขียน 4 คน ปัจจุบันได้เก็บ รักษาไว้ ณ หอสมุดแห่งชาติท่าวาสุกรี กรุงเทพฯ[74]
    งานฝีมือช่าง
    สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเล็งเห็นว่า ช่างไทยสมัยธนบุรีมีเหลืออยู่น้อยมากจึงโปรดเกล้าฯ ให้ รวบรวมและฟื้นฟูการช่างสิบหมู่ขึ้นใหม่ แต่เนื่องจากมีเวลาจำกัด บ้านเมืองอยู่ในระหว่างสงคราม สิ่งของที่เป็นฝีมือช่างชั้นดีประณีตงดงามในสมัยธนบุรีจึงหาได้ยาก แต่ที่มีให้เห็นอยู่บ้าง ได้แก่[75]
    พระแท่นบรรทมของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ประดิษฐานอยู่ที่วัดอินทาราม
    พระแท่นสำหรับทรงเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ประดิษฐานอยู่ภายในพระวิหารเล็กหน้า
    พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม
    ตู้ลายรดน้ำ ที่มีศักราชแจ้งชัดว่าสร้างในสมัยกรุงธนบุรี อยู่ในหอสมุดวชิรญาณ ภายในหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี กรุงเทพฯ
    ท้องพระโรงพระราชวังเดิม ซึ่งเคยเป็นที่ประทับและเสด็จออกว่าราชการ ปัจจุบันอยู่ในการดูแลของกองทัพเรือ
    [แก้]ด้านอื่น ๆ
    โปรดเกล้าฯให้สร้างพระราชวังเดิม[39]
    พระราชทานที่ดินให้สร้างโบสถ์วัดซางตาครูซ[76]
    ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างพระเมรุมาศที่ วัดอินทารามวรวิหาร เพื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระบรมราชชนนี[77]
    [แก้]พระราชนิพนธ์

    เรื่องที่พระองค์ได้พระราชนิพนธ์ไว้นั้นก็คือ บทละครเรื่องรามเกียรติ์ วันที่ทรงพระราชนิพนธ์รามเกียรติ์ฉบับนี้คือ วันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 1 ค่ำ ปีฉลู จุลศักราช 1132 ตรงกับปี พ.ศ. 2313 เป็นปีที่ 3 แห่งรัชกาลของพระองค์ พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ 4 เล่มสมุดไทย คือ[73]
    เล่ม 1 ตอนพระมงกุฎ
    เล่ม 2 ตอนหนุมานเกี้ยววารินจนท้าวมาลีวราชมา
    เล่ม 3 ตอนท้าวมาลีวราชพิพากษา
    เล่ม 4 ตอนทศกรรฐ์ตั้งพิธีทรายกรด พระลักษณ์ต้องหอกกบิลพัสตร์ จนผูกผมทศกรรฐ์กับนางมณโฑ >
    ในรัชสมัยของพระองค์มีกวีที่สมควรได้รับการยกย่อง 2 ท่าน คือ
    1. นายสวน มหาดเล็ก ซึ่งแต่งโคลงสี่สุภาพ แต่งขึ้นเพื่อยกพระเกียรติและสรรเสริญ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี 85 บท เป็นสำนวนที่เรียบง่าย แต่ทรงคุณค่าด้วยเป็นหลักฐานที่คนรุ่นต่อมาได้ทราบถึงสภาพบ้านเมืองและความเป็นไปในยุคนั้น[78]
    2. หลวงสรวิชิต (หน) ซึ่งต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาพระคลัง (หน) งานประพันธ์ของท่านเป็นที่รู้จักและแพร่หลาย จนถึงปัจจุบัน เช่น สามก๊ก เป็นต้น
    [แก้]ปลายรัชสมัย

    ดูเพิ่มที่ การสวรรคตของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
    ปลายรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้เกิดกบฏขึ้นที่เมืองอยุธยา พวกกบฎได้ปล้นจนพระยาอินทรอภัย ผู้รักษากรุงเก่า จนต้องหลบหนีมายังกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมีรับสั่งให้พระยาสรรค์ขึ้นไปสืบสวนเอาตัวคนผิดมาลงโทษ แต่พระยาสรรค์กลับไปเข้ากับพวกกบฎ และยกพวกมาปล้นพระราชวังกรุงธนบุรีในวันแรม 11 ค่ำ เดือน 4 ตรงกับวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2324 บังคับให้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีออกผนวช และคุมพระองค์ไว้ที่พระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม แล้วพระยาสรรค์ได้ตั้งตนเป็นพระเจ้าแผ่นดิน[79]
    ส่วนเหตุการณ์สวรรคตของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบรีนั้นไม่แน่ชัด แต่ที่ปรากฏเป็นประวัติศาสตร์กระแสหลัก คือ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง) ยกทัพมายังกรุงธนบุรีในระหว่างยกทัพไปเขมร เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 พระองค์ได้ควบคุมตัวพระยาสรรค์และขุนนางที่คิดก่อการกบฏเอาไว้ และสืบสวนสาเหตุของความวุ่นวายที่เกิดขึ้น สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีถูกกล่าวโทษว่าพระองค์ทรงเสียพระสติทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน[80] สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงถูกสำเร็จโทษและเสด็จสวรรคต สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกก็ปราบดาภิเษกเป็น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี สืบต่อมา หลังจากนั้น พระองค์จึงสั่งให้นำตัวพระยาสรรค์และขุนนางที่คิดก่อการกบฏไปประหารชีวิตเสีย[81]
    ต่อมา ภายหลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 แนวคิดอื่น ๆ เกี่ยวกับการสวรรคตของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีก็ปรากฏขึ้น เช่น พระองค์ถูกพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกรัฐประหาร, พระองค์มิได้เสียสติ หรือพระองค์ทรงหนีไปได้ก่อนถูกสำเร็จโทษ เป็นต้น[82]
    [แก้]การเฉลิมพระเกียรติ

    ดูบทความหลักที่ พระบรมราชานุสาวรีย์และพระบรมราชานุสรณ์รำลึกถึงสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
    รัฐบาลไทยได้ประกาศให้วันที่ 28 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งตรงกับวันที่พระองค์ทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ ให้เป็น "วันสมเด็จพระเจ้าตากสิน" นอกจากนั้นคณะรัฐมนตรียังมีมติให้ถวายพระราชสมัญญานามว่า "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช"[83] นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้บันทึกไว้ว่า พระองค์ทรงเป็นวีรบุรุษของชาติที่ประชาชนรู้จักดีที่สุด และมีศาลเทพารักษ์และอนุสาวรีย์ถวายแด่พระองค์มากที่สุดยิ่งกว่าอดีตพระมหากษัตริย์ของไทยพระองค์อื่น ๆ ทุกพระองค์[84]
    [แก้]ความสัมพันธ์เชื้อสายจีน



    ประตูทางเข้าสุสานบรรจุฉลองพระองค์ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่ตำบลหัวฟู่ อำเภอเฉิงไห่ จังหวัดแต้จิ๋ว มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน
    เนื่องจาก สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงมีเชื้อสายจีนแต้จิ๋ว จึงได้รับความเคารพบูชาอย่างยิ่งโดยเฉพาะจากคนไทยเชื้อสายจีน มีการเรียกพระนามตามภาษาจีนแต้จิ๋วว่า แต่อ่วงกง หมายถึง กษัตริย์ชาวแต้จิ๋วที่ได้รับการเคารพบูชา [85]
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานข้อมูลแก่หมอสมิท (นายแพทย์มัลคอล์ม สมิธ) ว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มีชื่อเรียกขานกันในหมู่ชาวจีนว่า เตีย ซิน ตัด หรือ เตีย ซิน ตวด ซึ่ง “เตีย” คือ แซ่แต้ “ซิน” คือ สิน “ตัด” คือเมืองตาก และยังมีชื่อที่ปรากฏว่า เจิ้งกว๋ออิง แปลว่า เจิ้งวีรบุรุษของประเทศ ตามหลักฐานจีน พระราชบิดาชื่อ ไหฮอง สำเนียง แต้จิ๋วว่า “แต้” หรือนายไหฮอง แซ่แต้ จากอำเภอไฮ้ฮง หรือจีนกลางว่า ไห่เฟิง เป็นอำเภอที่อยู่ล่างสุดและเล็กที่สุดของซัวเถา อาชีพหลักคือค้าขาย ไหฮองแต่งงานกับหญิงไทย ชื่อนกเอี้ยง (ระบุนามในหนังสือเดิมที่เขียนในเมืองจีนว่า ลั่วยั้ง หรือ นางนกยาง) ก่อนเสด็จรับราชการเคยทรงประกอบอาชีพค้าขายต่อจากพระราชบิดา และยังมีหลักฐานที่ส่อว่าเคยทรงเป็นพ่อค้าเกวียน ทรงรับสั่งได้คล่องแคล่ว ทั้งจีนแต้จิ๋ว จีนกวางตุ้ง และจีนฮกเกี้ยน[86]
    อย่างไรก็ตาม ต้วนลี่เซิงได้พบสุสานบรรจุฉลองพระองค์ของสมเด็จพระเจ้าตากสิน ที่ตำบลหัวฟู่ อำเภอเฉิงไห่ จังหวัดแต้จิ๋ว (เฉาโจว) อยู่ในมณฑลกวางตุ้ง ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน รวมทั้งศาลประจำตระกูลซึ่งสร้างขึ้นใน พ.ศ. 2464 คงเป็นผู้สืบราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสิน ส่งไปฝังแทนพระบรมศพตามธรรมเนียมจีน สิ่งนี้อาจเป็นหลักฐานว่า สายวงศ์พระราชบิดาอยู่ที่ตำบลนั้น ซึ่งเป็นถิ่นที่แห้งแล้ง ทำให้อพยพมาอยู่พระนครศรีอยุธยา[87]
    [แก้]อ้างอิง

    ^ ศาสนสถานที่สำคัญในสมัยธนบุรี, มูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม กองทัพเรือ
    ^ นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 61.
    ^ 3.0 3.1 3.2 นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 63.
    ^ 4.0 4.1 ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ (in Thai). ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. Bangkok: สำนักพิมพ์บรรณกิจ. p. 490. ISBN 974-222-648-2.
    ^ จรรยา ประชิตโรมรัน. (2548). สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 55
    ^ พิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เนื่องในวันคล้ายวันปราบดาภิเษก, 19 ธันวาคม 2549
    ^ Lintner, p. 112
    ^ David K. Wyatt. Thailand: A Short History. Yale University Press. pp. 140. ISBN 0300035829.
    ^ นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 77.
    ^ ประยุทธ์ สิทธิพันธ์, มหาราชและพระราชกรณียกิจสมเด็จพระภัทรมหาราช (กรุงเทพฯ : เทพพิทักษ์การพิมพ์, 2520) หน้า 223.
    ^ 11.0 11.1 นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 81.
    ^ นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 80.
    ^ นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 82-83.
    ^ นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 87.
    ^ นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 84-86.
    ^ นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 87-88.
    ^ นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 88-89.
    ^ นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 89.
    ^ นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 98.
    ^ นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 98-99.
    ^ นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 121.
    ^ John Bowman. Columbia Chronologies of Asian History and Culture. Columbia University Press. pp. 514. ISBN 0231110049.
    ^ วัดลุ่มมหาชัยชุมพล, เครื่อข่ายกาญจนาภิเษก
    ^ บัญชา แก้วเกตุทอง,พลตรี. หนังสือที่ระลึกในงานหล่อประทานพร สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ณ วัดลุ่มมหาชัยชุมพล จังหวัดระยอง วันที่ ๖-๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๑.
    ^ วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. (2546). บรรพบุรุษไทย: สมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 5
    ^ นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 126.
    ^ (ปัจจุบันคือจังหวัดจันทบุรี) ภูมิศาสตร์ประเทศไทย 11 ชื่อเดิมของจังหวัดต่างๆและชื่อเดิมของเมืองในประวัติศาสตร์
    ^ ศรรวริศา เมฆไพบูลย์,ศิริโชค เลิศยะใส. NATIONAL GEOGRAPHIC ฉบับที่ 77 ธันวาคม 2550. กรุงเทพฯ : อมรินทร์ปริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน),หน้า 51.ISSN 1513-9840
    ^ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ. p. 385
    ^ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ. p. 401-402.
    ^ พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์, สามกรุง (พระนคร:คลังวิทยา ๒๕๑๑) หน้า ๙๘.
    ^ W.A.R. Wood (1924). A History of Siam. Chiang Mai. p. 253
    ^ นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 143.
    ^ นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 143-145.
    ^ นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 146.
    ^ พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี, หน้า 23
    ^ สุนทรภู่, นิราศสุนทรภู่ ตอนนิราศพระบาท (พระนคร:คุรุสภา 2519) หน้า 123-124.
    ^ 38.0 38.1 38.2 นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 147.
    ^ 39.0 39.1 พระราชวังเดิม
    ^ ธีระชัย ธนาเศรษฐ. เปิดวังสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. สำนักพิมพ์ ธีรกิจ (ประเทศไทย) จำกัด. หน้า 134.
    ^ นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 148.
    ^ พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับหมอบลัดเล, หน้า 36-38
    ^ พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับหมอบลัดเล, หน้า 41-49
    ^ 44.0 44.1 พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับหมอบลัดเล, หน้า 50-53
    ^ นิธิ เอียวศรีวงษ์. หน้า 173.
    ^ พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับหมอบลัดเล, หน้า 33-34
    ^ พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับหมอบลัดเล, หน้า 56-58
    ^ พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับหมอบลัดเล, หน้า 56-61
    ^ พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับหมอบลัดเล, หน้า 68
    ^ พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับหมอบลัดเล, หน้า 68-78
    ^ พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับหมอบลัดเล, หน้า
    ^ พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี, หน้า 128-146
    ^ พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี, หน้า 177
    ^ KING TAKSIN DAY webhost.m-culture.go.th Retrieved 2007-12-28
    ^ กรมศิลปากร, ประชุมพงศวดาร ภาคที่ 39 หน้า 63-64.
    ^ Thomas J. Barnes. Tay Son: Rebellion in 18th Century Vietnam. Xlibris Corporation. pp. 74. ISBN 0738818186.
    ^ มูลนิธิกตเวทินในพระบรมราชูปถัมป์, ประวัติศาสตร์ชาติไทย, กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) , 2547 หน้า 79 - 93. ISBN 974-92746-2-8
    ^ วรมัย กบิลสิงห์,ภิกษุณี. ใครฆ่าพระเจ้าตากสิน?. กรุงเทพฯ : ส่องสยาม, 2540. (ISBN 974-260-135-6) หน้า 61
    ^ สุรีย์ ภูมิภมร. ต้นไม้ผู้ยิ่งใหญ่ ข้าว พืชโปรดของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช,ศิลปวัฒนธรรม 17, 6 เม.ย. 2539. หน้า 78
    ^ Chris Baker (writer), Pasuk Phongpaichit. A History of Thailand. Cambridge University Press. pp. 32. ISBN 0521816157.
    ^ Editors of Time Out. Time Out Bangkok: And Beach Escapes. Time Out. pp. 84. ISBN 1846700213.
    ^ Paul M. Handley. The King Never Smiles. Yale University Press. pp. 27. ISBN 0300106823.
    ^ กรมศิลปากร, จดหมายเหตุและบาดหลวงฝรั่งเศสในแผ่นดินพระเจ้าเอกทัศน์กรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น, 2511 หน้า 85
    ^ จาก ประชุมพงศาวดารภาคที่ 65 หน้า 87
    ^ 53 พระมหากษัตริย์ไทย : ธ ครองใจไทยทั้งชาติ. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2543. หน้า : 244-245
    ^ วีณา โรจนราธา. กรุงแตก พระเจ้าตากฯ และประวัติศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ : กรุงสยามพริ้นติ้ง กรุ๊พ, 2540 หน้า 99 ISBN 978-974-02-0003-1
    ^ อ้างอิงจาก jarun.org
    ^ 68.0 68.1 68.2 68.3 68.4 68.5 การกู้พระศาสนาของพระเจ้าตากสินมหาราช : อาจารย์สมพร เทพสิทธา
    ^ พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี, หน้า 186-187
    ^ วนา. พระเจ้าตากสิน ใช้ศาสนา กำหนดจริยธรรมของคนไทย, prajan.com, 7 กุมภภาพันธ์ 2549
    ^ วนา. พระมหากษัตริย์ กับศาสนา, oknation.net, 12 เมษายน 2551
    ^ กรมศิลปากร, จดหมายเหตุฉบับพระยาประมูลธนรักษ์ (พิมพ์ในงานศพ นางช้อย ชูโต พ.ศ. 2464) หน้า 7.
    ^ 73.0 73.1 เปลื้อง ณ นคร. ประวัติวรรณคดีไทยสำหรับนักศึกษา. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2517. หน้า 216
    ^ สมุดภาพไตรภูมิฉบับกรุงศรีอยุธยา-ฉบับกรุงธนบุรีเลม 1-2
    ^ กรมช่างสิบหมู่ changsipmu.com
    ^ ชมโบสถ์ซางตาครู้ส ชิมขนมฝรั่งกุฎีจีน
    ^ สมเด็จพระเจ้าตากสินพระราชทานเพลิงศพพระราชมารดา (นกเอี้ยง) ณ วัดบางยี่เรือใต้ (อินทาราม)
    ^ กุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ, คุณหญิง (2543). วรรณกรรมสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ ฉบับแปล. โครงการวรรณกรรมอาเซียน. ISBN 9742722935.
    ^ Rough Guides. The Rough Guide to Southeast Asia. Rough Guides. pp. 823. ISBN 1858285534.
    ^ David K. Wyatt. Thailand: A Short History. Yale University Press. pp. 143. ISBN 0300035829.
    ^ พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับหมอบลัดเล, หน้า 149
    ^ ธีระชัย ธนาเศรษฐ. เปิดวังสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. สำนักพิมพ์ ธีรกิจ (ประเทศไทย) จำกัด. หน้า 116.
    ^ Donald K. Swearer (2004). Becoming the Buddha: The Ritual of Image. Princeton University Press. ISBN 0-691-11435-8. p. 235
    ^ นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 55.
    ^ ตามรอยสุสานพระเจ้าตาก sarakadee.com
    ^ นิตยสาร'ฟ้าตำรวจ'. สารคดีประวัติศาสตร์"เรื่องเมืองไทย". กรุงเทพฯ : เทพพิทักษ์การพิมพ์, 2543. หน้า 50
    ^ พิมพ์ประไพ พิศาลบุตร. สำเภาสยาม ตำนานเจ๊กบางกอก . กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์, 2544. หน้า 93 ISBN 974-472-331-9
    [แก้]บรรณานุกรม
    พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี แผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาที่ 4 (พระเจ้าตากสิน) จุลศักราช 1128-1144.. กรมตำรากระทรวงธรรมการ. 2472.
    นิธิ เอียวศรีวงศ์ (2550). การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี. มติชน. ISBN 9789740201779.
    สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (2463). ไทยรบพม่า. มติชน. ISBN 9789740201779.
    ส.พลายน้อย (2550). พระเจ้าตากสินมหาราชแห่งชาติไทย. พิมพ์คำ. ISBN 9747507201.
    นิธิ เอียวศรีวงศ์ (2550). กรุงแตก,พระเจ้าตากฯและประวัติศาสตร์ไทย. ศิลปวัฒนธรรม40201779.
    แดน บีช บรัดเลย์ (2551). พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับหมอบลัดเล. มติชน. ISBN 9789740201779.
    [แก้]
     
  13. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    ดวงพระชะตา
    สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช


    โดย...พลตำรวจตรี สุชาติ เผือกสกนธ์

    ผมเป็นผู้หนึ่งที่มีความสนใจในพระราชประวัติของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นอย่างยิ่ง ได้ติดตามอ่าน ศึกษาค้นคว้าเรื่องราวของพระองค์ท่านจากเอกสารทางประวัติศาสตร์ พงศาวดาร จดหมายเหตุต่าง ๆ มาโดยตลอด หนังสือฉบับล่าสุดที่ผมอ่าน และเห็นว่ามีรายละเอียด เนื้อหาสาระเป็นประโยชน์ได้มาก ได้แก่ หนังสือชื่อ “การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี” ค้นคว้าและเขียนโดยคุณนิธิ เอียวศรีวงศ์ ซึ่งช่วยทำให้ผมจินตนาการเห็นภาพเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ในสมัยพระเจ้าตากสินมหาราชได้ชัดเจนยิ่งขึ้น และเชื่อว่ามีความเป็นไปได้ตามข้อเขียนของคุณนิธิ เอียวศรีวงศ์ เป็นอย่างมาก

    ในหนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนได้เขียนถึงวันพระราชสมภพของพระองค์ท่านในลักษณะที่ไม่แน่ชัดว่า พระองค์ท่านประสูติวันใดในปีพุทธศักราช ๒๒๗๗ เนื่องจากเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่สามารถอ้างอิงได้บางฉบับขัดแย้งกัน ในฐานะที่ผมเป็นผู้ที่สนใจศึกษาค้นคว้าวิชาการโหราศาสตร์ดวงดาวด้วยตนเอง ทั้งแบบไทย ฮินดู และตะวันตก มาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๔๐ ปี จึงเห็นว่า วิชาการแขนงนี้จะมีส่วนช่วยในการค้นหาเวลาย้อนหลังกลับไปในอดีตได้

    เนื่องในโอกาสที่กองทัพเรือได้ร่วมกับสมาคมภริยาทหารเรือดำเนินโครงการบูรณะโบราณสถานในบริเวณพระราชวังเดิมกรุงธนบุรี ผมจึงตกลงใจที่จะนำเอาวิทยาการซึ่งผมได้ศึกษามานานมาประยุกต์ค้นหาดู ถึงแม้ว่าผลการค้นคว้าของผมนี้อาจจะมีประโยชน์ในทางประวัติศาสตร์ไม่มากนัก แต่ผมเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์และเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า วิชาการโหราศาสตร์ดวงดาวนี้ เป็นวิชาการที่ไม่หลอกลวง เป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นประโยชน์ได้ในอนาคต หากได้มีการศึกษาอย่างลึกซึ้งจริงจัง

    ผมต้องขอออกตัวไว้ล่วงหน้าว่า คำพยากรณ์ที่ผมจะเขียนต่อไปนี้อาจจะไม่ตรงหรือขัดแย้งกับหลักวิชาที่ท่านโหราจารย์ชื่อดังหลายท่านในยุคสมัยนี้ได้ศึกษามา แต่ผมรับรองว่า ทุกบททุกตอนที่เขียนไว้ บทความนี้มีที่มาจากตำราซึ่งเขียนโดยปรมาจารย์วิชาโหราศาสตร์ทั้งไทยและเทศ ซึ่งผมไม่สามารถแจกแจงรายละเอียดได้ในบทความนี้ ซึ่งเขียนขึ้นสำหรับผู้อ่านทั่วไปได้

    หากคำพยากรณ์ที่ผมเขียนนี้ มีความเป็นไปได้ ใกล้เคียงความจริง เป็นประโยชน์ต่อวิชาการประวัติศาสตร์และโหราศาสตร์ในอนาคต อันเป็นกุศล ผมขอพระราชทานทูลเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศลของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และขอมอบให้แด่ท่านอาจารย์เทพย์ สาริกบุตร ที่ล่วงลับไปแล้ว หากมีข้อความตอนใดที่จะเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของบุรพมหากษัตราธิราชไทยพระองค์หนึ่งพระองค์ใด ถ้าดวงพระวิญญาณมีจริง ขอได้โปรดพระราชทานอภัยโทษแก่ผม ซึ่งมีความบริสุทธิ์ใจที่จะศึกษาค้นคว้าเรื่องนี้ โดยมิได้มีเจตนาจะลบหลู่แต่ประการใดด้วย


    เกี่ยวกับปีพระราชสมภพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้มีเอกสารทางประวัติศาสตร์ฯ กล่าวอ้างอิงถึงวันสวรรคต และพระชนมายุจนถึงวันสวรรคต กล่าวไว้แตกต่างกัน เป็นนัยดังนี้

    ๑. จดหมายเหตุโหรกล่าวว่า วันสวรรคตของพระเจ้ากรุงธนบุรี คือ วันแรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๕ (จดหมายเหตุโหร ในประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๘) หลังจากวันที่เจ้าพระยาจักรีกลับมาถึงเมืองธนบุรีได้เพียง ๔ วัน และความในพระราชพงศาวดาร (พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ) ได้กล่าวว่า หากวันที่เสด็จกลับมาถึงกรุงธนบุรีเป็นวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ วันสวรรคตของพระเจ้ากรุงธนบุรีน่าจะเป็นวันที่ ๑๐ เมษายนในปีนั้น

    ๒. ได้ปรากฏหลักฐานของบาทหลวงฝรั่งเศสที่เขียนขึ้นตามคำเล่าลือหลังจากเหตุการณ์ประมาณ ๙ เดือนว่า พระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ (จดหมายเหตุคณะบาทหลวงในประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๓๙)

    ๓. ได้มีหลักฐานไทยกล่าวว่า พระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จสวรรคตในวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ โดยกล่าวไว้ว่า

    “...เมื่อกองทัพของพระยาจักรีมาถึงธนบุรีในตอนเช้า (วันที่ ๖ เมษายนฯ) พรรคพวกบริวารก็ได้เตรียมการต้อนรับแล้วแห่แหนกันจากฝั่งตะวันออกไปยังฝั่งตะวันตกเข้าประทับอยู่ที่ศาลาลูกขุน มีหมู่พฤฒาจารย์ราชกุลเฝ้าพร้อมกัน (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๒๖ พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ) และในที่ประชุมขุนนางนั้นก็ได้มีการปรึกษาโทษของพระเจ้ากรุงธนบุรี” (พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี แผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาที่ ๔ กระทรวงธรรมการ)...

    “...จึงมีรับสั่งให้เอาตัวไปประหารชีวิตสำเร็จโทษเสีย เพชฌฆาตกับผู้คุมก็ลากเอาตัวขึ้นแคร่หามไปกับทั้งสังขลิกพันธนาการ....ถึงหน้าป้อมวิชัยประสิทธิ์ ก็ประหารชีวิตตัดศีรษะเสียถึงแก่พิราลัย จึงรีบสั่งให้เอาศพไปฝังไว้ ณ วัดบางยี่เรือใต้” (พระราชพงศาวดารกรุงสยาม โรงพิมพ์หมอบรัดเล)

    การตรวจสอบวันพระราชสมภพได้คิดคำนวณย้อนกลับจากวันที่พระองค์ท่านเสด็จสวรรคตวันใดวันหนึ่ง โดยถือตามจดหมายเหตุโหรที่กล่าวว่า เสด็จสวรรคตเมื่อพระชนมายุได้ ๔๘ ปี กับ ๑๕ วัน (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๘ จดหมายเหตุโหร) ซึ่งปรากฏแน่ชัดว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงพระราชสมภพในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๒๗๗ แน่นอน


    อย่างไรก็ตาม ได้มีการกล่าวไว้ในเอกสารอื่น ๆ ว่า วันพระราชสมภพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชตรงกับวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๕ (หนังสือ “อภินิหารบรรพบุรุษ”) บ้าง วันที่ ๑๗ เมษายนบ้าง (หนังสือ “ราชวงศ์จักรีวงศ์และราชสกุลพระเจ้าตากสินมหาราช”) วันที่ ๗ เมษายนบ้าง (“SOMDEJ PHRA CHAO TAK SIN MAHARAT” โดย de FELS , JACOUELINE)

    สำหรับประเด็นหลัง ๆ นี้ สามารถตัดออกได้เลย เนื่องจากผมได้ทดลองคำนวณดูแล้ว ปรากฏว่า วันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๕ ปี พ.ศ. ๒๒๗๗ ตรงกับวันที่ ๔ เมษายน ปีเดียวกัน ดังนั้น เมื่อคิดคำนวณพระชนมายุจนถึงวันเสด็จสวรรคตแล้ว จะไม่ถึง ๔๘ ปี ๑๕ วัน ดังที่ปรากฏในจดหมายเหตุโหร ซึ่งเป็นหลักฐานที่น่าเชื่อมากที่สุดฉบับหนึ่ง อนึ่ง ในช่วงเวลาเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๒๗๗ ดาวศุกร์ได้โคจรถอยหลังจากราศีเมษไปสถิตอยู่ราศีมีน ซึ่งส่งอิทธิพลสำคัญอย่างหนึ่งแก่เจ้าชะตาดังกล่าวต่อไป

    ดังนั้น หากใช้หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่น่าเชื่อว่าอาจจะเป็นวันเสด็จสวรรคตที่กล่าวเป็นนัยไว้รวม ๓ ประการ คือ วันที่ ๖ เมษายน หรือ วันที่ ๗ เมษายน หรือวันที่ ๑๐ เมษายน ซึ่งตรงกับวันแรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๕ มาคิดคำนวณตามพระชนมายุตามที่ระบุไว้ในจดหมายเหตุโหรจะได้ผลดังนี้

    หากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จสวรรคตในวันที่ ๖ เมษายน พระองค์ท่านจะทรงพระราชสมภพในวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๒๗๗ และถ้าเสด็จสวรรคตในวันที่ ๗ เมษายน จะทรงพระราชสมภพในวันที่ ๒๓ มีนาคม ส่วนที่ว่าเสด็จสวรรคตในวันที่ ๑๐ เมษายนนั้น วันพระราชสมภพจะตรงกับวันที่ ๒๖ มีนาคม

    เมื่อได้ทำการคำนวณย้อนหลังทางโหราศาสตร์ดวงดาวกลับไปยังในวันที่กล่าวถึงทั้งสามวันแล้ว จุดที่ตั้งของดาวพระเคราะห์ใหญ่จะสถิตอยู่ในราศีเดียวกัน แตกต่างกันที่เชิงมุมไม่มากนัก ส่วนดาวพระเคราะห์รอง ซึ่งได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ และดาวอังคาร จะอยู่แตกต่างกันทั้งราศีที่สถิต และเชิงมุมองศามากยิ่งขึ้น ข้อแตกต่างของดาวพระเคราะห์กลุ่มนี้ในวันที่ ๒๒ และ ๒๓ มีนาคมจึงมีน้อยมาก ข้อแตกต่างที่เห็นเด่นชัดกันระหว่างวันที่ ๒๒-๒๓ มีนาคม กับวันที่ ๒๖ มีนาคม ได้แก่ จุดที่ตั้งของดาวศุกร์ในวันที่ ๒๒-๒๓ มีนาคมได้สถิตอยู่ที่ราศีเมษ ทำมุม ๑ องศา ๒๖ ลิปดา และ ๑ องศา ๕ ลิปดาตามลำดับ (ดาวศุกร์เดินถอยหลัง) ส่วนในวันที่ ๒๖ มีนาคมนั้น ดาวศุกร์ได้ย้ายไปสถิตในราศีมีน ทำมุม ๒๙ องศา ๕๐ ลิปดาแล้ว (เช่นเดียวกับในช่วงเดือนเมษายนปีเดียวกันที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น)


    จากตำราโหราศาสตร์ที่โบราณจารย์ได้เขียนกล่าวไว้ว่า “ศุกร์ในราศีเมษเป็นคนสนิทกับท่านผู้มียศศักดิ์” (แนวทางศึกษาโหราศาสตร์นี้นั้นเขียนโดยอาจารย์เทพย์ สาริกบุตร)

    ถึงแม้ว่า ดาวศุกร์ที่สถิตอยู่ในราศีมีนจะเป็นมหาอุจให้คุณแก่เจ้าของชะตาก็ตาม แต่เมื่อตรวจสอบตามพระราชประวัติของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชดังจะได้กล่าวต่อไปแล้ว มีเหตุผลที่น่าเชื่อว่า ในพระดวงชะตา ไม่น่าจะมีดาวศุกร์อยู่ในราศีมีนนี้

    อนึ่ง โดยเหตุผลทางการเมือง เมื่อมีการปราบดาภิเษกเกิดขึ้น และมีความจำเป็นต้องปลงพระชนมชีพสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจริง ผู้ที่คิดอ่านเรื่องนี้จะต้องหาทางรีบดำเนินการให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงมีความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้งหลายชั้นหลายตอน หากปล่อยทิ้งไว้เนิ่นนาน อาจเป็นเหตุให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯทรงเปลี่ยนพระทัยได้

    ทั้งเหตุผลทางการเมืองและทางโหราศาสตร์จึงน่าเชื่อว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมิได้ทรงพระราชสมภพในวันที่ ๒๖ มีนาคม

    เหตุผลทางพงศาวดารที่สนับสนุนเรื่องจุดที่ตั้งของดาวศุกร์ในราศีเมษก็คือ

    นายสินและนายบุนนาค (สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท สมเด็จพระอนุชาธิราชของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก) ล้วนเคยเป็นมหาดเล็กในรัชกาลพระเจ้าเอกทัศน์อยู่เวรศักดิ์...(เอกสาร...มหามุขมาตยานุกูลว่าด้วยลำดับวงศ์ตระกูลขุนนางทั้งสิ้นในกรุงสยาม)

    การที่นายสินซึ่งเป็นคนไทยลูกจีนพ่อค้าโดยกำเนิดได้มีโอกาสเข้าไปปฏิบัติหน้าที่มหาดเล็กใกล้ชิดพระเจ้าแผ่นดิน จึงน่าจะเป็นเพราะอิทธิพลของดาวศุกร์ที่สถิตราศีเมษ

    อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร ได้เคยเล่าให้ผมฟังว่า แม้แต่ในรัชกาลปัจจุบันก็มี เจ้าของดวงชะตาที่ถือกำเนิดในสกุลชาติธรรมดา และมีดาวศุกร์สถิตในราศีเมษ ได้มีโอกาสปฏิบัติหน้าที่สนองพระเดชพระคุณใกล้ชิดยุคลบาทอยู่หลายท่านด้วยกัน

    เมื่อประเด็นวันพระราชสมภพเป็นวันที่ ๒๖ มีนาคมอ่อนลง จึงยังคงเหลือวันที่ ๒๒ และวันที่ ๒๓ มีนาคม ซึ่งเมื่อพิจารณาจุดที่ตั้งของดาวพระเคราะห์ในราศีต่าง ๆ แล้ว จะแตกต่างกันเฉพาะเชิงมุมองศาของดาวจันทร์เท่านั้น


    หากวันพระราชสมภพเป็นวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๒๗๗ วันที่เสด็จสวรรคตจะเป็นวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ และถ้าวันพระราชสมภพเป็นวันที่ ๒๓ มีนาคม วันที่เสด็จสวรรคตก็คือ วันที่ ๗ เมษายน

    ได้มีหลักฐานระบุไว้ในพระราชพงศาวดารว่า ทัพของเจ้าพระยาจักรีมาถึงเมืองธนบุรี ในวันแรม ๙ ค่ำ เดือน ๕ (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๕ พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ) ซึ่งตรงกับวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ เวลารุ่งอรุณ

    ในวันนี้ ผมมีความเห็นเช่นสามัญชนว่า ถึงแม้ว่าที่ประชุมขุนนางจะมีความเห็นเป็นส่วนใหญ่ว่า ให้ประหารชีวิตพระเจ้ากรุงธนบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าคงจะไม่รับสั่งให้นำตัวไปประหารชีวิตทันที เพราะถึงแม้ว่าจะเสด็จมาถึงเมื่อตอนเช้า เมื่อเสด็จถึงแล้วคงจะต้องใช้ระยะเวลาหนึ่งซึ่งเป็นการส่วนพระองค์ก่อน การเรียกประชุมขุนนางน่าจะกระทำในตอนบ่าย หรือเย็น เมื่อได้มีการพิพากษาโทษพระเจ้ากรุงธนบุรีแล้ว การประหารชีวิตจึงน่าจะยกไปกระทำในวันรุ่งขึ้น คือ วันที่ ๗ เมษายน ไม่ทราบว่า ความเห็นของผมในประเด็นนี้จะผิดหรือถูกประการใด จึงใคร่ขอฟังความคิดเห็นจากท่านผู้รู้และสนใจท่านอื่น ๆ ด้วย

    ดังนั้น ผมจึงขอตัดประเด็นวันพระราชสมภพที่ตรงกับวันที่ ๒๒ มีนาคมออกไป จึงเหลือวันที่ ๒๓ มีนาคม ซึ่งตรงกับจดหมายเหตุคณะบาทหลวง (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๓๙)

    จากการศึกษาคำนวณจุดที่ตั้งและกำลังดาวพระเคราะห์ในวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๒๗๗ นี้ เพื่อให้ได้รายละเอียดเพิ่มเติมจากโหราศาสตร์เป็นการสนับสนุน จำเป็นต้องมีการคำนวณหาเวลาพระราชสมภพ (วางพระราชลัคนา) ซึ่งเมื่อได้มีการคำนวณเลือกหาเวลาที่เหมาะสม โดยการนำเอาพระราชประวัติ พระราชอัจฉริยภาพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตั้งแต่ต้นจนตลอดพระชนม์ชีพเท่าที่จะหาได้ในเอกสารประวัติศาสตร์พงศาวดาร ในที่สุดจึงได้เวลา ๐๕.๔๕ นาฬิกา ของวันอังคารที่ ๒๓ มีนาคม (ทางโหราศาสตร์ไทยเรายังถือว่าเป็นวันจันทร์ที่ ๒๒ มีนาคม เนื่องจากยังไม่ถึงเวลารุ่งอรุณของวันนั้นคือ เวลา ๐๖ นาฬิกา ๒๐ นาที) พระราชลัคนาจึงสถิตในราศีมีน ตรียางศ์ที่ ๑ นวางศ์ที่ ๑ ต่อจากนั้นได้นำเอาจุดที่ตั้งและกำลังดาวพระเคราะห์ต่าง ๆ ในดวงพระชะตามาคำนวณตรวจสอบความเป็นไปได้ประกอบแล้ว ปรากฏผลเป็นที่น่าเชื่อว่า มีความเป็นไปได้สูง

    อย่างไรก็ตาม การที่จะนำรายละเอียดของดาวพระเคราะห์ทุกดวงในดวงพระชะตา พร้อมกับคำพยากรณ์ที่ปรมาจารย์วิชาการโหราศาสตร์ทั้งไทย ฮินดู และตะวันตกได้สั่งสอนไว้มาชี้แจงประกอบ จะทำให้ท่านที่ไม่มีความรู้ทางโหราศาสตร์มาก่อนอ่านไม่รู้เรื่อง และจะต้องใช้หน้ากระดาษมากทีเดียว ผมจึงจะขอยกตัวอย่างการพิสูจน์ความเป็นไปได้มา ณ ที่นี้สักหนึ่งตัวอย่าง ดังนี้


    ตามตำราโหราศาสตร์ ลัคนาเป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่งที่ช่วยระบุรูปร่างลักษณะของเจ้าชะตาได้ (ลัคนาไม่ใช่ดาวพระเคราะห์ แต่เป็นจุดตัดระหว่างระวิมรรค หรือเส้นทางโคจรของดวงอาทิตย์กับเส้นขอบฟ้าทางทิศตะวันออกตามเวลาตกฟาก หรือเวลาเกิดของเจ้าชะตา)

    ดังนั้น ตามเวลาพระราชสมภพที่ผมคำนวณไว้ พระราชลัคนาจึงสถิตราศีมีน เกาะตรียางศ์ที่ ๑ นวางศ์ที่ ๑ ซึ่งมีดาวจันทร์เป็นเจ้านวางศ์ จึงพยากรณ์ได้ว่า เจ้าชะตาจะเป็นคนรูปร่างเล็ก ผิวขาวเหลือง ประเด็นนี้คงไม่มีใครขัดแย้งเพราะตามประวัติศาสตร์ได้ระบุชัดว่าพระองค์ท่านทรงเป็นคนไทยลูกจีน จึงมีพระฉวีสีขาวเหลือง ส่วนรูปรางนั้นจะเล็กจริงตามคำพยากรณ์หรือไม่เพียงไรนั้น ได้ปรากฏหลักฐานเขียนโดยนักธรรมชาติวิทยาชาวเดนมาร์กผู้เคยพบเห็นพระองค์ท่านกล่าวไว้ว่า “... บัดนี้ เราได้ติดตามชีวประวัติของชายร่างเล็กคนหนึ่งนับตั้งแต่เกิดจนถึงเวลาที่กำลังจะสร้างประวัติศาสตร์ทั้งของสังคมไทยและตัวเขาเอง กลายเป็นเรื่องราวที่เล่าขานสืบมา เพราะความยิ่งใหญ่ของทั้งบุคคล และสิ่งที่ได้กระทำขึ้น.... ” (A HISTORY OF MODERN THAILAND โดย B.J. TERWIEL)

    อนึ่ง การวางพระราชลัคนาไว้ ณ ราศีมีนนี้ เป็นราศีเดียวกับที่ดาวอาทิตย์สถิตอยู่ นอกจากจะพยากรณ์ได้ว่า เป็นผู้ที่ทำบุญคุณคนไม่ขึ้น (ดาวอาทิตย์อยู่ในราศีมีนซึ่งเป็นธาตุน้ำ เรียกว่า “อาทิตย์ตกน้ำ”) อย่างไรก็ตาม เนื่องจากดาวอาทิตย์สลับเรือนอุจกับดาวศุกร์ซึ่งสถิตอยู่ในราศีเมษและกุมพระราชลัคนาอยู่ด้วย จึงส่งผลให้ยังคงกำลัง ซึ่งจะแสดงออกถึงคุณลักษณะเด่นประจำพระองค์ประการหนึ่งคือ การเป็นผู้นำที่ดี


    เมื่อได้กล่าวถึงรูปร่างลักษณะของพระองค์ท่านไปแล้ว ทำให้ผมนึกขึ้นได้ว่า หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ประจำวันที่ ๒๘ ธันวาคมปีที่แล้ว ได้อัญเชิญพระบรมสาทิศลักษณ์ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่จำลองมาจากภาพเขียน ซึ่งได้มีผู้ไปพบในพิพิธภัณฑ์ต่างประเทศแห่งหนึ่งมาลง แต่ต่อมาได้มีผู้เขียนมาแย้งว่า น่าจะเป็นรูปขุนนางไทยคนหนึ่งเท่านั้น ซึ่งผมไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง แต่ไม่มีโอกาสที่จะแสดงความเห็นขัดแย้งในขณะนั้น จึงขอถือโอกาสนี้ แสดงความเห็นว่า ขุนนางไทยในยุคสมัยนั้น ไม่ว่าจะอยู่ในระดับสูงเพียงใด จะไม่มีโอกาสได้แต่งกายด้วยเสื้อและเครื่องประดับที่มีค่าสวยงามได้เช่นนี้ เพราะสภาวะเศรษฐกิจของบ้านเมืองไทยที่เพิ่งฟื้นตัวหลังจากการกู้ชาติในขณะนั้นยังไม่อำนวย จะมีก็แต่พระมหากษัตราธิราช เพื่อการแต่งพระองค์เป็นการเฉลิมพระเกียรติเท่านั้น หากรูปภาพนี้เป็นพระบรมสาทิสลักษณ์จริง ย่อมเป็นการพิสูจน์สนับสนุนผลการคำนวณทางโหราศาสตร์ดวงดาวที่ผมได้คิดและนำมาผูกเป็นพระชะตาของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้อีกส่วนหนึ่ง
    สรุปว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงพระราชสมภพในวันที่ ๒๓ มีนาคม (โหราศาสตร์ตะวันออกยังถือว่าเป็นวันที่ ๒๒ มีนาคม) พุทธศักราช ๒๒๗๗ จุลศักราช ๑๐๗๖ ซึ่งตรงกับวันอังคาร (โหราศาสตร์ตะวันออกยังถือว่าเป็นวันจันทร์) แรม ๔ ค่ำ เดือน ๕ ปีขาล เวลา ๕ นาฬิกา ๔๕ นาที ณ กรุงศรีอยุธยา
    เรียบเรียง ณ วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๑

    ที่มา : ข้อมูลจาก http://web.schq.mi.th/~suriyon/suri_doc/154.htm
    ภาพจากเว็บไซต์ และ “คุณลักยิ้ม”
     
  14. พี่ทิดศิษย์มีครู

    พี่ทิดศิษย์มีครู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กันยายน 2008
    โพสต์:
    580
    ค่าพลัง:
    +2,794
    อาตมาเองก็ได้รับฟัง ผลงานจากโยมสุทัศสา อ่อนค้อม ในเรื่องนี้ และคิดว่าเป็นการที่จะช่วยสร้างความสามัคคีที่ดีในชาติ และขอนับถือ ท่านพระครูเจริญ ในเรื่อง พระบัวเฮียว และหลวงพ่อในป่า และพระภิกษุพระเจ้าตากสิน ในที่นี้มาก รวมถึงคนขับรถของหลวงพ่อ มักกะรีผล และทุกๆท่านในเรื่องนี้

    ขอสดุดี...และขออนุโมทนา ธ.โชติกะภิกขุ
     
  15. Nu_Bombam

    Nu_Bombam เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    1,030
    ค่าพลัง:
    +4,915
    หลวงพ่อฤาษีลิงดำก็เขียนเกี่ยวกับพระเจ้าตากสินมหาราชไว้เหมือนกัน ในหนังสือ "นิทานอิงประวัติศาสตร์" รวมทั้งเล่าประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยเชียงแสนอย่างคร่าวๆ เล่ม 10 หรือ 20 บาทนี่แหละ ใครสนใจลองหาอ่านเอานะครับ บอกไว้ตรงกับหลวงพ่อจรัญเลยว่าท่านไม่ได้โดนสำเร็จโทษ

    ^^
     
  16. OLDMAN AND A CAR

    OLDMAN AND A CAR เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    823
    ค่าพลัง:
    +2,752

    ....อ่านแล้ว เฉพาะ ตรงนี้เห็นด้วย...
     
  17. คะรุทา

    คะรุทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,243
    ค่าพลัง:
    +3,477
    พระเจ้าตากกู้ชาติ ......... ขายชาติ
     
  18. azuminami

    azuminami เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2008
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +230
    พวกกินบ้านกินเมืองจงลงนรกไปเสีย พวกสีก็อย่าดึงฟ้าต่ำอย่าทำร้ายทำลายชาิติบ้านเมืองให้มากกว่านี้...ขอแผ่นดินสงบสุข
     
  19. oynip_t

    oynip_t สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    19
    ค่าพลัง:
    +15
    เอกสารอ้างอิง ประวัติศาสตร์ เชื่อถือไม่ได้ ทั้งหมดน่ะครับ การรู้ ด้วยปัญญาญาณนั้น แจ้งกว่า ครับ ... อย่างที่ หลวงพ่อจรัญ ท่านเล่าไว้นั่นแหละครับ ถูกต้องด้วย ผมเชื่อท่านมากกว่า ตัวหนังสือที่เขียนขึ้นมา อย่างเรื่อง บางระจัน นั้น หลวงพ่อจรัญท่าน ก็เล่าว่า เป็นเพราะ นักรบสตรี ที่ช่วยปกป้องบ้านเมือง เมืองสิงห์บุรีไว้ พวกผู้ชายเอาแต่กินเหล้าเมาแอ๋ พวกผู้หญิงจึงใช้ อุบาย หลอกพม่าสำเร็จ ไม่ใช่พวกที่อยู่บนอนุสาวรีย์บางระจัน น่ะครับ ... อีกอย่าง ผมมีโอกาสบวชที่สำนักปฏิบัติธรรมวัดป่ากล้วย จ.อุตรดิตถ์ หลวงพ่อ ท่าน ไม่ได้พูดถึงพระเจ้าตากน่ะครับ แต่จะเล่าสู่กันฟังว่า พระยาพิชัยดาบหัก ก็มาเกิดในยุคของเรานี่ล่ะครับ แต่อายุมากแล้ว ท่านไม่ได้เป็นทหาร เป็นชาวบ้านธรรมดาครับ หลวงพ่อท่านรู้ก็เพราะ เหมือนหลวงพ่อจรัญนั่นแหละครับ รู้ด้วย ปัญญาญาณ...
     
  20. sutanon

    sutanon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,553
    ค่าพลัง:
    +170
    -------

    ผมเห็นด้วยครับ พวกที่มันโกงกิน ควรได้รับโทษทั้งทางโลกและหลังการตาย

    พรรคปชป.
    คดีทรายทองคำ ซื้อทรายถุงละ 80 ขาย 800
    คดี ปรส. แปดแสนล้าน
    โครงการมิยาซาว่า
    โครงการเครื่องปั้มน้ำหมู่บ้าน (อ้างซื้อของแพง หน้าด้านจริงๆ)
    ฯลฯ (เอามาเฉพาะที่เด่นๆ)

    ทักษิณ
    โกง ที่ดิน รัชดา (เท่าที่จัดตั้งคณะต่างๆมาเอาเรื่องได้เพียงเรื่องเดียวนี้แหละ)
    (เมื่อเทียบกับที่ดินเขายายเที่ยงแล้ว มันช่างสองมาตรฐาน)

    ถึงผมจะเกลียดพรรคปชป.และอภิสิทธิ์ แต่ผมก็เกลียดความอยุติธรรมมากกว่า
    ถ้าถึงคราวที่พรรคปชป.หรืออภิสิทธิ์ ถูกความอยุติธรรมเล่นงาน ผมก็จะเข้าช่วย
    เรียกร้องความเป็นธรรมให้กับเค้าเช่นกัน
     

แชร์หน้านี้

Loading...