เปิดประสบการณ์หนี้บัตรเครดิต ชีวิตจริงที่ผิดมากกว่าสองครั้ง

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 1 กันยายน 2010.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>เปิดประสบการณ์หนี้บัตรเครดิต ชีวิตจริงที่ผิดมากกว่าสองครั้ง</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>26 สิงหาคม 2553 17:11 น.</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>ใครหลายคนอยากเป็นคนมี "เครดิต" กับบัตรพลาสติกใบเล็ก ๆ ที่พกแล้วดีมีสิทธิประโยชน์มากมาย แต่เรื่องเล่าของคนที่ผิดพลาดจากการใช้งานบัตรเครดิตก็มีออกมาเตือนใจไม่น้อย จึงไม่แปลกที่จะยกฐานะของบัตรเครดิตมาเปรียบเทียบกับดาบสองคม แถมคมที่อยู่ในด้านมืดของบัตรเครดิตนี้ก็พร้อมจะทำลายผู้ใช้ด้วยความประมาท หรือใช้ด้วยความโลภให้บาดเจ็บเจียนตายได้อย่างง่ายดายเสียด้วย

    ทีมงานได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณเอก (ขอสงวนนามสกุล) อายุ 38 ปี ผู้ที่ยอมรับว่าชีวิตเขากำลังล้มเหลวว่า เขาเป็นหนึ่งในคนที่หลงใช้ชีวิตผิดพลาด มีหนี้ท่วมตัวจนถึงขั้นล้มละลาย ผ่านเครื่องมือทางการเงินที่มีชื่อว่า "บัตรเครดิต" โดยคุณเอกเริ่มต้นเรื่องราวของเขาว่า เขามีบัตรเครดิตครั้งแรกตั้งแต่ยังเรียนในระดับอุดมศึกษาอยู่เลยทีเดียว

    "ตอนนั้นใช้บัตรเสริมของคุณพ่อ โดยยอดการใช้จ่ายคุณพ่อเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด พี่น้อง 3 คนมีบัตรเสริมกันทุกคน แต่ละคนรูดใช้จ่ายกันอย่างไร ไม่มีใครทราบ สิ้นเดือนคุณพ่อเป็นคนเคลียร์ให้" คุณเอกเล่าย้อนถึงรูปแบบการใช้เงินของตนเองในอดีต

    เมื่อจบการศึกษาระดับปริญญาตรี เขาเข้าทำงานในบริษัทมีชื่อแห่งหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งเป็นที่ภูมิใจแก่พ่อแม่เป็นอันมาก ในฐานะที่ลูกชายคนโตได้ดีทั้งด้านการเรียนและการงาน ท่านทั้งสองจึงปล่อยให้เขาบริหารชีวิตด้วยตัวเอง ขณะเดียวกัน ในยุคนั้น บริษัทบัตรเครดิตกำลังเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายมาเป็นกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ เขาตัดสินใจสมัครใช้งาน เพื่อให้มีบัตรเครดิตของตนเอง คุณเอกยอมรับว่า เพื่อน ๆ รุ่นเดียวกันก็ได้รับข้อเสนอดี ๆ จากบริษัทบัตรเครดิตเช่นนี้หลายราย

    จากคน ๆ หนึ่งที่เคยใช้แค่บัตรเสริม เมื่อมีบัตรเครดิตใบที่ 1 สถาบันทางการเงินก็เริ่มยื่นข้อเสนอให้เขามีบัตรใบที่สอง สาม สี่ มาเรื่อย ๆ จนถึงวันที่เขาหมดตัวล้มละลายนั้น เขามีบัตรพลาสติกเหล่านี้ในกระเป๋ามากกว่า 10 ใบ คุณเอกเล่าถึงสาเหตุของการวางแผนทางการเงินที่ผิดพลาดว่า นอกจากรูดบัตรแล้ว ยังมีการกดเงินสดออกมาใช้ล่วงหน้า ซึ่งค่าธรรมเนียมของการกดเงินสดเหล่านั้น ทางคุณเอกไม่ได้ศึกษาให้ดีเสียก่อน

    "ทางบัตรเครดิตเองก็มีบริการผ่อนชำระ จ่ายแค่ขั้นต่ำของยอดที่ต้องชำระก็ได้ ทำให้ชะล่าใจ จ่ายแค่นิดเดียว พอจ่ายแค่ขั้นต่ำ เงินเดือนที่เหลือเยอะขึ้นก็เลยเอาไปใช้จ่ายมากขึ้น หนี้ก็เริ่มมากขึ้น ๆ ๆ สุดท้ายก็ต้องสมัครบัตรใหม่ เพื่อกดเงินด่วนออกมาจ่ายชำระหนี้บัตรเครดิตใบเก่า เป็นวัฏจักรเช่นนี้ บัตรก็เริ่มมีเยอะขึ้น ๆ จนในที่สุด ยอดหนี้ก็เยอะเกินกว่าที่เงินเดือน ๆ หนึ่งจะสามารถจ่ายได้"

    ในเวลานั้น เขาอ้างว่า เหตุที่ใช้เงินเกินตัวเพราะอยู่ระหว่างการสร้างฐานะ และเริ่มต้นชีวิตครอบครัวของตัวเองด้วยการมีลูกชาย 1 คน ส่วนภรรยาก็ไม่ได้ทำงาน จึงเป็นเหตุให้ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของครอบครัว เขาต้องรับผิดชอบคนเดียว

    เมื่อมีปัญหาทางการเงิน เขาจึงตัดสินใจกลับไปขอความช่วยเหลือจากทางบ้าน แต่ก็ต้องอึ้งเป็นคำรบสอง เมื่อทราบว่า พ่อของเขาซึ่งเคยเป็นหัวหน้าครอบครัวคนเก่ง หาเงินให้ลูก ๆ ใช้จ่ายมาตลอดนั้นก็ประสบปัญหาทางการเงินเช่นเดียวกัน โดยหนี้ที่พ่อของเขาก่อขึ้นนั้น ล้วนมาจากการใช้จ่ายภายในครอบครัวทั้งสิ้น


    "มาทราบว่าพ่อเองก็เจอปัญหาเช่นเดียวกัน จนพ่อต้องออกจากงาน และเอาเงินที่เก็บสะสมไว้ตลอดการทำงาน 30 กว่าปีไปใช้หนี้จนหมด ทำให้ย้อนนึกถึงตอนที่เด็ก ๆ ที่เรารูดบัตรพ่อไปใช้ แต่พ่อไม่เคยบ่น ไม่เคยว่า เราจึงไม่รู้เลยว่าพ่อเองก็มีปัญหาทางการเงินเช่นกัน ตอนนี้จึงเท่ากับว่า เราต้องรับผิดชอบทั้งครอบครัวตัวเองและพ่อแม่ เพราะหนี้ของพ่อทำให้เงินเก็บหลังเกษียนหมดลง"

    เมื่อไม่สามารถพึ่งครอบครัวได้ คุณเอกจึงตัดสินใจบ่ายหน้าไปหาญาติพี่น้อง โดยเขาได้รับความช่วยเหลือจากคุณลุงผู้เป็นพี่ชายของพ่อ ด้วยคุณลุงท่านนี้เป็นคนที่ค่อนข้างมีหน้าที่การงานมั่นคง อีกทั้งยังเป็นโสด ไม่มีครอบครัว เขาจึงขอหยิบยืมเงินจากคุณลุงจำนวน 1 ล้านบาทเพื่อไปใช้หนี้

    แม้คุณเอกจะเล่าว่า เขาต้องยอมให้คุณลุงท่านนี้ดุด่าว่ากล่าวอยู่นานหลายชั่วโมงถึงการบริหารเงินที่ผิดพลาดด้วยความผิดหวัง เพราะเขาเป็นหลานที่คุณลุงรักมาก กว่าที่เขาจะได้รับเงินก้อนนี้มา แต่ในอีกมุมหนึ่ง นี่ก็เป็นวิธีหาเงินที่ง่าย และรวดเร็วที่สุดแล้ว

    แต่เงินที่ได้มาง่าย ๆ ก็ไม่ได้สร้างบทเรียนอะไรให้กับชีวิต ....

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=280 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=280>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>ทันทีที่ได้เงินมา แทนที่เขาจะนำไปจ่ายชำระหนี้ของบัตรเครดิตแต่ละใบให้หมด แล้วเลิกใช้งานบัตรเครดิตเหล่านั้น เริ่มต้นชีวิตใหม่ เขากลับนำเงินบางส่วนมาใช้ในชีวิตประจำวัน ขณะที่ยอดหนี้ก็ยังเดินหน้าคิดดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง

    คุณเอกบอกว่า เขารอจนถึงวันครบกำหนดชำระ จึงค่อยไปจ่ายเงิน แต่ทันทีที่จ่ายเงินชำระหนี้ไปแล้ว บัตรเครดิตใบนั้นของเขาก็ประหนึ่งกลับมามีชีวิต เขาสามารถรูด-กดเงินสำรองมาใช้ได้อีกครั้ง!!

    เขาทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนในที่สุด เงิน 1 ล้านบาทที่ได้รับมาก็หมดลง โดยที่หนี้ของเขาไม่ได้หมดตามไปด้วย</B>

    อย่างไรก็ดี หนี้ที่เกิดขึ้นในวันนี้ เขาไม่สามารถจะบากหน้ากลับไปหาคุณลุงท่านเดิมได้อีกต่อไปแล้ว เขาจึงมองหาญาติพี่น้องของพ่อคนต่อไป รายแล้วรายเล่า จนทุกคนได้แต่ส่ายหน้าเมื่อเขาและพ่อแวะเวียนไปหา

    "หลัง ๆ ไม่มีใครช่วยแล้ว ก็ต้องหาทางช่วยตัวเอง แต่ก็ยังดีที่คุณลุง (คุณลุงท่านแรกที่เคยให้ยืมเงิน 1 ล้านบาท) ยังช่วยค่าใช้จ่ายของพ่อบ้าง ตอนนี้งานที่ทำอยู่ก็ต้องลาออก เพราะบริษัททวงหนี้ได้ทำให้ความน่าเชื่อถือของเราหมดลง คนในองค์กรก็ไม่ยอมรับอีกต่อไป เลยก็ต้องมองหางานเล็ก ๆ น้อย ๆ ทำไปก่อน" คุณเอกเล่า

    ส่วนครอบครัวนั้น เขาเล่าว่า กำลังมีปัญหากับภรรยา จากที่ก่อนหน้านี้ ครอบครัวของภรรยาเชื่อว่าเขาเป็นคนมีฐานะดี มีรายได้สูง จึงตั้งความหวังกับเขาเอาไว้มาก เมื่อทราบความจริงว่า เขาในตอนนี้อยู่ในสภาพเกือบ ๆ จะล้มละลาย เงินไม่มีให้เหมือนเดิม ก็ปฏิบัติต่อเขาเปลี่ยนไป

    "ตอนนี้ก็แยกกันอยู่ กลับมาอยู่บ้านพ่อ แล้วให้พ่อช่วยเลี้ยงลูกให้ เงินที่ใช้ก็เป็นของคุณลุง แล้วก็พยายามหางานทำอยู่" คุณเอกยอมรับแบบไม่อาย

    หลายคนที่เคยประสบปัญหาทางการเงินเช่นเดียวกับคุณเอก อาจมีทางออกให้กับตัวเอง ทั้งการหักดิบ ตัดบัตรทิ้ง ยกเลิกทุกอย่าง และก้มหน้าก้มตาใช้หนี้จนหนี้หมด จนสามารถเริ่มต้นชีวิตได้ใหม่ แต่สำหรับคุณเอกนั้น แม้ครึ่งชีวิตที่ผ่านมา เขาได้ทำลายมันให้ย่อยยับลงไปจากพฤติกรรมการใช้เงินที่ผิดพลาด ทุกวันนี้ เขาก็ยังไม่แน่ใจกับตัวเองนักว่าจะสามารถเข้าใจ หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้เงินได้หรือไม่

    "อยากฝากถึงคนที่เริ่มต้นใช้บัตรเครดิต ขอให้ใช้อย่างระมัดระวัง อย่าคิดว่าจ่ายขั้นต่ำก็พอ เพราะจะทำให้วินัยทางการเงินเราเสีย และอาจส่งผลถึงครอบครัวได้ในที่สุด" คุณเอกกล่าวทิ้งท้าย

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

    Life & Family - Manager Online - <!-- google_ad_section_end -->
     
  2. krit59

    krit59 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    219
    ค่าพลัง:
    +346
    ไม่มีใช้ดีที่สุด ใครที่คิดอยากมี อย่าได้คิดเลยครับ พวก อี ทั้งหลายนั่นแหละตัวดี
     
  3. คาคะ

    คาคะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2010
    โพสต์:
    424
    ค่าพลัง:
    +1,533
    ใช่แล้วคะ จ่ายเป็นเงินสดเลยจะได้จบกันเลยไม่ต้องมาใช้นี้ต่ออีกไม่มีเงินก็ซื้อไม้ได้ไม่ได้ก็ไม่ต้องซื้อ ไม่ใช่ใช้ก่อนผ่อนทีหลัง เห็นดินพอกหางหมูทุกที
     
  4. คาคะ

    คาคะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2010
    โพสต์:
    424
    ค่าพลัง:
    +1,533
    ต้องย้อนกลับไปสมัยที่ยังไม่เจริญ คนนี้แข็งแรงหนี้สินก็ไม่ค่อยมี อยู่แบบพอเพียงนะดีที่สุด
     
  5. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    ช่วงนี้บัตรผมเต็มวงเงินหลายใบ ก็พยายามหมุนอยู่ครับ
    จะระมัดระวังในการใช้จ่ายครับ

    โมทนา
     
  6. Hs1xlk

    Hs1xlk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    169
    ค่าพลัง:
    +1,273
    น่ารักจริงๆเลย เหม่ยลี่ เอาช่องทางหนี<สู้หมดอายุความ>
    มาให้บรรดาลูกหนี้ 555
     
  7. oa_99car

    oa_99car สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +15
    ขอเป็นกำลังใจให้ครับ...สู้นะครับ :cool:
     
  8. pathawut333

    pathawut333 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2010
    โพสต์:
    116
    ค่าพลัง:
    +284
    อยู่อย่างพอเพียงครับ
    มีหนี้ก็ค่อย ๆ ใช้ไป เดี๋ยวก็หมด ไม่จำเป็นอย่าใช้ อย่างเพิ่มนี้ในบัตร
    มันเป็นเงินในอนาคตครับ
    ผมมีอยู่ 2 ใบ บัตรเงินสด 1 ใบ
    ไม่ทำเพิ่มแล้ว แค่นี้ก็ส่งจนเหนื่อยแล้ว
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เครดิตบูโรคืออะไร


    เรามาทำความรู้จักกับธุรกิจข้อมูลเครดิต หรือ Credit Bureau กันนะคะ Credit Bureau นั้นมีหน้าที่รวบรวมข้อมูลประวัติการชำระสินเชื่อ และการชำระบัตรเครดิตของบุคคลจากสถาบันการเงินหลายๆ แห่ง เช่น ธนาคารพาณิชย์ หรือผู้ให้บริการสินเชื่อบุคคลและสินเชื่อบัตรเครดิต โดยเมื่อลูกค้าให้ความยินยอมให้สถาบันการเงินตรวจสอบข้อมูลการชำระสินเชื่อ และการชำระบัตรเครดิตของตนในขณะที่ยื่นขอสินเชื่อแล้วนั้น สถาบันการเงินก็สามารถจะเรียกดูข้อมูลดังกล่าวจาก Credit Bureau เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อได้ค่ะ

    รายงานข้อมูลเครดิตเก็บข้อมูลใดไว้บ้าง
    http://www.ncb.co.th/CreditBureau_1.htm
    เครดิตบูโรจะเก็บรวบรวมเฉพาะข้อมูลของการชำระสินเชื่อหรือบัตรเครดิต ซึ่งข้อมูลนี้จะประกอบไปด้วย ข้อมูลส่วนที่บ่งชี้ตัวบุคคล เช่น ชื่อ ทีอยู่ เลขประจำตัวประชาชน และอีกส่วนหนึ่งเป็นประวัติการชำระสินเชื่อ และการชำระบัตรเครดิต รวมเรียกว่า "รายงานข้อมูลเครดิต" ค่ะ รายงานข้อมูลเครดิตจะมีการบันทึกและจัดเก็บวงเงินยอดหนี้คงค้าง รวมถึงประวัติการผิดนัดชำระในแต่ละสิ้นเดือนย้อนหลังไม่เกิน 36 เดือนค่ะ ด้วยเหตุนี้แล้ว การชำระสินเชื่อทุกครั้งให้ตรงเวลาจึงเป็นการรักษาเครดิตที่ดีที่สุดคุ่ะ

    ประโยชน์จากการจัดเก็บข้อมูล
    ?Ôɑ? ?鍁مः?Եየ??ҵԠ?ӡѴ
    การให้สินเชื่อของสถาบันการเงินนั้นมีหลักสำคัญอยู่ที่ว่า ต้องรู้จักลูกค้าให้ดีพอ ในกรณีที่ผู้ขอสินเชื่อไม่เคยมีประวัติสินเชื่อกับสถาบันการเงิน โอกาสที่จะได้รับสินเชื่อย่อมมีน้อยลง แต่ด้วยการเปิดเผยข้อมูลเครดิตจะทำให้สถาบันการเงินสามารถรู้จักวินัยทางการเงินของผู้ขอสินเชื่อได้จากรายงานข้อมูลดังกล่าว เป็นอย่างดี ดังนั้นหากผู้ขอสินเชื่อมีประวัิติการชำระที่ดี การเปิดเผยข้อมูลเครดิตก็จะเป็นการเพิ่มโอกาสในการได้รับอนุมัติสินเชื่อด้วยนะค่ะ อย่างไรก็ดีการให้สินเชื่อของสถาบันการเงินยังมีองค์ประกอบอื่นที่นำมาพิจารณาร่วมด้วย เช่น รายได้ และหลักประกัน ของผู้กู้ค่ะ

    ใครมีสิทธิ์ที่จะเข้ามาดูรายงานข้อมูลเครดิต
    ?Ôɑ? ?鍁مः?Եየ??ҵԠ?ӡѴ
    นอกจากสถาบันการเงินที่ผู้ขอสินเชื่อได้ให้ความยินยอม จะสามารถเรียกดูรายงานข้อมูลเครดิตเพื่อการวิเคราะห์สินเชื่อได้แล้ว ผู้ขอสินเชื่อเองก็ยังมีสิทธิ์ที่จะมาขอดูรายงานข้อมูลเครดิตของตนได้ด้วยวิธีง่าย ๆ ค่ะ โดยการยื่นคำขอได้ที่ส่วนบริหารข้อมูลผู้บริโภค บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ และบริษัทยังได้อำนวยความสะดวกเพิ่มขึ้น โดยให้ยื่นคำขอผ่านธนาคารนครหลวงไทยทุกแห่งทั่วประเทศก็ได้ค่ะ มีค่าธรรมเนียม 200 บาท ค่ะ (ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 50 ค่าธรรมเนียมลดเหลือ 100 บาท) ทั้งนี้บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติมีหน้าที่เก็บรักษารายงานดังกล่าวเป็นความลับ และไม่สามารถเปิดเผยให้แก่ผู้อื่นใด เว้นแต่ที่กฎหมายกำหนดไว้ค่ะ

    การรักษาความลับ
    ?Ôɑ? ?鍁مः?Եየ??ҵԠ?ӡѴ
    นอกจากบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติจะมีหน้าที่ในการเปิดเผยข้อมูลเครดิตเพื่อใช้เป็นส่วนประกอบหนึ่งในการพิจารณาสินเชื่อแล้วนั้น บริษัทยังมีหน้าที่ในการรักษาความลับของข้อมูลด้วยนะคะ โดยบริษัทจะเปิดเผยรายงานข้อมูลเครดิตให้แก่สถาบันการเงินที่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์สินเชื่อเท่านั้นค่ะ นอกจากนี้แล้วบริษัทยังมีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลอย่างแน่นหนา เพื่อไม่ให้ข้อมูลถูกทำลาย หรือถูกแก้ไขโดยไม่ได้รับอนุญาตด้วยคุ่ะ ดังนั้นคุณผู้ฟังก็มั่นใจได้เลยนะคะว่า ข้อมูลเครดิตของคุณผู้ฟังจะไม่ถูกนำไปเปิดเผยในทางอื่นใดค่ะ


    การติดแบล็กลิส (Black List)
    ?Ôɑ? ?鍁مः?Եየ??ҵԠ?ӡѴ
    ท่านคงจะเคยได้ยินประโยคที่ว่า ไม่ได้รับสินเชื่อเพราะติดแบล็กลิสจากเครดิตบูโรใช่ไหมค่ะ จริงๆ แล้ว เครดิตบูโรไม่มีสิทธิ์ในการจัดแบล็กลิสผู้ขอสินเชื่อนะคะ เพราะเครดิตบูโรจะทำหน้าที่รวบรวมประวัติการชำระสินเชื่อหรือบัตรเครดิตของสินเชื่อทุกบัญชีจากสถาบันการเงินตามข้อเท็จจริง ซึ่งสถาบันการเงินใช้ข้อมูลเครดิตเป็นส่วนประกอบหนึ่งในการพิจารณาสินเชื่อค่ะ เพราะการตัดสินใจว่าจะให้หรือไม่ให้สินเชื่อนั้นยังมีปัจจัยอื่นๆ อีก เช่น รายได้ของผู้สมัครสินเชื่อ หลักประกัน บุคคลผู้ค้ำประกัน เป็นต้นค่ะ ในทางกลับกัน หากผู้ขอสินเชื่อมีประวัติการชำระสินเชื่อตรงเวลา ข้อมูลเครดิตก็จะมีส่วนช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้สถาบันการเงินพิจารณาอนุมัติสินเชื่อได้รวดเร็วยิ่งขึ้นค่ะ

    การรักษาความลับ
    ?Ôɑ? ?鍁مः?Եየ??ҵԠ?ӡѴ
    นอกจากบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติจะมีหน้าที่ในการเปิดเผยข้อมูลเครดิตเพื่อใช้เป็นส่วนประกอบหนึ่งในการพิจารณาสินเชื่อแล้วนั้น บริษัทยังมีหน้าที่ในการรักษาความลับของข้อมูลด้วยนะคะ โดยบริษัทจะเปิดเผยรายงานข้อมูลเครดิตให้แก่สถาบันการเงินที่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์สินเชื่อเท่านั้นค่ะ นอกจากนี้แล้วบริษัทยังมีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลอย่างแน่นหนา เพื่อไม่ให้ข้อมูลถูกทำลาย หรือถูกแก้ไขโดยไม่ได้รับอนุญาตด้วยคุ่ะ ดังนั้นคุณผู้ฟังก็มั่นใจได้เลยนะคะว่า ข้อมูลเครดิตของคุณผู้ฟังจะไม่ถูกนำไปเปิดเผยในทางอื่นใดค่ะ

    รายงานข้อมูลเครดิต=รายงานผลการศึกษา
    ?Ôɑ? ?鍁مः?Եየ??ҵԠ?ӡѴ
    ท่านอาจเคยสงสัยว่า เหตุใดเมื่อผู้ขอสินเชื่อได้ชำระสินเชื่อที่เคยผิดนัดชำระไปเรียบร้อยแล้ว ประวัติการผิดนัดชำระยังปรากฏอยู่ในรายงานข้อมูลเครดิตอีก ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าข้อมูลเครดิตถูกเก็บเป็นประวัติคล้ายกับรายงานผลการศึกษาค่ะ โดยการชำระหนี้ก็เหมือนผลการเรียน ที่จะได้ดีหรือไม่ อย่างไร ก็จะบันทึกตามข้อเท็จจริง ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นหากต้องการแก้ไขให้มีประวัติชำระที่ดีขึ้น ก็ต้องชำระหน้าที่ค้างไว้ให้เสร็จสิ้น เพราะจะเป็นเหมือนการสอบซ่อมเพื่อให้มีผลการเรียนเพิ่มขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการมีวินัยและความตั้งใจที่ดีนั่นเองค่ะ แต่ทางที่ดีที่สุด ก็คือการไปชำระหนี้ให้ครบถ้วนและตรงเวลาทุกครั้งนะคะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กันยายน 2010
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    การตรวจสอบข้อมูลเครดิตของตัวท่านเอง
    http://www.ncb.co.th/salfenquiry.htm


    <TABLE height=309 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top colSpan=2 height=102>ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ. 2545 มาตรา 25 เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองให้ความเป็นธรรมแก่เจ้าของข้อมูลให้เจ้าของข้อมูล มีสิทธิที่จะตรวจสอบข้อมูลของตน โดยบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด มีความยินดีที่ให้ท่านตรวจสอบข้อมูล ดังนี้
    ณ ที่ทำการบริษัทฯ (ส่วนบริหารข้อมูลผู้บริโภคและข้อโต้แย้ง) มีขั้นตอนดังนี้ ​

    1. เจ้าของข้อมูลกรอก แบบคำขอตรวจสอบข้อมูลเครดิต (บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล) และยื่นแบบฟอร์มพร้อมแนบหลักฐานประกอบคำขอ ณ ที่ทำการของบริษัทฯ หลักฐานประกอบคำขอมีดังนี้
    กรณีบุคคลธรรมดา
    • บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง หรือบัตรประจำตัวบุคคลต่างด้าวตัวจริง หรือหนังสือเดินทางฉบับตัวจริงมาแสดง​

    ในกรณีที่มีการมอบอำนาจ ให้นำ
    • หนังสือมอบอำนาจบุคคลธรรมดา
    • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง พร้อมทั้งบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงมาแสดง
    • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง พร้อมทั้งบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงมาแสดง ​

    กรณีนิติบุคคล
    • สำเนาหนังสือรับรองของนิติบุคคล ที่รับรองไว้ไม่เกิน 3 เดือน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องโดยกรรมการผู้มีอำนาจ พร้อมประทับตราบริษัท (ถ้ามี)
    • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง ​

    ในกรณีที่มีการมอบอำนาจ ให้นำ
    • หนังสือมอบอำนาจนิติบุคคล
    • สำเนาหนังสือรับรองของนิติบุคคล ที่รับรองไว้ไม่เกิน 3 เดือน พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้องโดย กรรมการผู้มีอำนาจ พร้อมประทับตราสำคัญบริษัท (ถ้ามี)
    • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนามและลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง พร้อมทั้งนำบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงมาแสดง
    • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ และลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง พร้อมทั้งนำบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงมาแสดง
    2. ยื่นเอกสารในข้อ 1 และชำระค่าธรรมเนียมในการตรวจสอบข้อมูลเครดิตต่อเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ
    3. เจ้าของข้อมูลสามารถขอรับรายงานภายในวันยื่นคำขอ หรือยื่นความจำนงให้จัดส่งรายงานทางไปรษณีย์ลงทะเบียน (กรณีให้จัดส่งทางไปรษณีย์ ฉบับละ 20 บาท) ​
    <HR></TD><TD vAlign=top rowSpan=5><!--DWLayoutEmptyCell--></TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=2 height=18>
    สถานที่ตรวจสอบข้อมูลเครดิต ​


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=152 height=55>[​IMG]</TD><TD vAlign=top width=368>ส่วนบริหารข้อมูลผู้บริโภคและข้อโต้แย้ง
    ชั้น 2 อาคาร 2 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (สำนักงานใหญ่)
    เลขที่ 63 ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320
    โทรศัพท์ : (66) 02-643-1250
    โทรสาร: (66) 02-612-5895
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=2 height=93><HR>Download แบบฟอร์มต่าง
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff>
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff>
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ขั้นตอนการยื่นขอตรวจสอบที่ธนาคาร
    http://www.ncb.co.th/chkscib.htm

    ณ ธนาคารนครหลวงไทย (เฉพาะบุคคลธรรมดา)
    การให้บริการยื่นคำขอตรวจสอบข้อมูลเครดิตผ่านสาขาธนาคารนครหลวงไทยทุกแห่งทั่วประเทศนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชน โดยเฉพาะที่อยู่ในภูมิภาคสามารถที่จะตรวจสอบความถูกต้องของประวัติธุกรรมสินเชื่อของตนเองได้ ทั้งนี้ธนาคารจะทำหน้าที่เป็นเพียงตัวแทนบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ในการรับคำขอตรวจสอบและรับชำระค่าตรวจสอบ ซึ่งจะ ให้บริการเฉพาะเจ้าของข้อมูลที่เป็นบุคคลและต้องมายื่นขอตรวจสอบด้วยตนเองเท่านั้น โดยบริษัทจะเป็นผู้ตรวจสอบข้อมูลและจัดส่งรายงานข้อมูลเครดิตทางไปรษณีย์ลงทะเบียนให้แก่ท่าน ภายใน 1 สัปดาห์นับจากวันที่ท่านได้ยื่นคำขอที่ธนาคาร

    ขั้นตอนการขอยื่นคำขอตรวจสอบข้อมูลเครดิตที่ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด


    1. เจ้าของข้อมูลบุคคลธรรมดา กรอกแบบคำขอตรวจสอบข้อมูลเครดิตที่ธนาคาร (แบบฟอร์ม ไทย / Eng) หรือขอแบบฟอร์มจากเจ้าหน้าที่ธนาคารสาขาที่ท่านติดต่อ ([​IMG]ดูรายละเอียดของสาขาธนาคารนครหลวงไทย ) และลงลายมือชื่อให้ครบถ้วน พร้อมแนบหลักฐาน
    กรณีบุคคลสัญชาติไทย
    • บัตรประจำตัวประชาชน/บัตรอื่นที่หน่วยงานราชการออกให้ที่แสดงเลขที่บัตรประจำตัวประชาชน (ตัวจริง)
    • สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อนามสกุล (ถ้ามี)
    กรณีบุคคลต่างด้าว
    • หนังสือเดินทาง/ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ (ตัวจริง)
    • สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อนามสกุล (ถ้ามี)

    2. ยื่นเอกสารในข้อ 1 และชำระค่าธรรมเนียมในการตรวจสอบข้อมูลเครดิตต่อเจ้าหน้าที่ธนาคาร
    3. ธนาคารจะออกหลักฐานการรับชำระเงินค่าธรรมเนียมและค่าจัดส่งเอกสาร ให้แก่ท่านเก็บไว้เป็นหลักฐาน
    4. บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จะจัดส่งรายงานข้อมูลเครดิตให้แก่ท่านภายใน 1 สัปดาห์นับจากวันที่ยื่นคำขอ ที่ธนาคาร


    หมายเหตุ ในแบบฟอร์มการขอตรวจสอบ กรุณาระบุที่อยู่ของท่านที่จะให้บริษัทจัดส่งรายงานให้ครบถ้วนและชัดเจน รวมทั้งหมายเลขโทรศัพท์ของท่านในกรณีที่บริษัทต้องการสอบถามเพิ่มเติม
     
  14. Natachai

    Natachai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +937
    ชีวิตประจำวันของคนๆหนึ่งถ้ายังต้องกินต้องใช้ ยังไงก็ต้องเกี่ยวข้องกับเงินๆทองๆ

    ผมมีวิธีการใช้บัตรเคดิต ดังนี้ครับ
    - ปกติทุกๆเดือน ครอบครัวของตนเองจะต้องใช้จ่ายซื้อของเข้าบ้ัานมีอะไรบ้าง...เกี่ยวกับของที่ต้องใช้ในบ้านทั้งหมด...จะซื้อของในห้างฯ เพราะถูกกว่าร้านฯทั่วๆไป ซื้อเฉพาะของที่จำเป็นต้องใช้ ของไม่ใช้ก็ไม่ซื้อต่อให้ลดแลกแจกแถมก็ไม่เอา(เพราะไม่ได้ใช้ซื้อมาทำไม)...หลักการซื้อก็จะคำนวณซื้อให้พอใน 1 เดือน...หากขาดไม่พอซื้อเพิ่มได้เล็กๆน้อยๆ
    - การใช้จ่ายบัตรเคดิตเกี่ยวกับการกินในร้านอาหาร...ก่อนใช้จ่ายต้องดูว่าร้านที่เข้าไปกินแล้วในแต่ละครั้งเหมาะสมหรือไม่...กินบ่อยๆก็แย่ได้เช่นกัน
    - การใช้จ่าย การท่องเที่ยว จุดนี้ต้องระวังอย่ารูดสนุกสนาน ต้องสมเหตุและผลของรายได้
    - ค่าใช้จ่ายเรื่องเครื่องแต่งตัวและเครื่องสำอาง จะต้องเหมาะสมกับรายได้เพื่อจ่ายในแต่ละช่วงของเทศกาล ต้องดูว่าเหมาะสมกับรายได้หรือไม่ ถ้ามีรายได้มากซื้อในห้างไม่ตกรุ่นแต่แพงหน่อย กับซื้อตกรุ่นในห้าง และยังมีตกรุ่นนอกห้างอีก ถามว่าตัวเองต้องการเพื่ออะไรในงานสังคม?
    - ชีวิตประจำวันของแต่ละเดือนรู้ๆอยู่แล้วว่าต้องใช้อะไร ใช้จ่ายในเดือนนั้นๆให้เหมาะสมของแต่ละเดือน วางแผนใช้จ่ายรูดบัตรฯให้เป็นเปรียบเสมือนการยืมเงินของคนอื่นมาใช้ก่อน จ่ายทีหลังย่อมเป็นโอกาสที่ดี...แต่ถ้าเอาเงินอนาคตมาใช้จ่ายเกินตัวเมื่อใด เงินออกมากกว่าเข้าสักวันหนึ่งก็จะพบกับทางตัน
    - เงินสดจำเป็นต้องใช้ไหม...ทุกวันนี้ตัวผมเองใช้เงินสดน้อยกว่าการรูดบัตร...เพราะไปใช้รูดที่ไหนก็มี % ลดให้มากกว่าใช้เงินสด...บางห้างฯเมื่อสิ้นงวดบัญชียังมีเงินคืนมาให้อีก 3%...อย่างนี้หากใช้เป็นก็เป็นโอกาสที่ดี...หากที่ใดเก็บค่าบริการในการรูดผมก็จะไม่ใช้บัตรรูดและหากที่ใดใช้เงินสดแล้วได้ลดมากกว่าบัตรผมก็ใช้เงินสด

    สรุป สำหรับผมไม่ว่าจะเป็นการใช้บัตรฯ หรือเงินสดต้องใช้ให้เป็นและสมเหตุผลของรายได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กันยายน 2010
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  16. sirawasa

    sirawasa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2010
    โพสต์:
    337
    ค่าพลัง:
    +1,191
    จริงๆ แล้ว จะโทษบัตรเครดิตแบบ 100% ก็คงไม่ได้ มันขึ้นอยู่กับพฤติกรรมและวินัยทางการเงินของผู้ถือบัตรด้วยแหละ

    ดิฉันเองก็เคยถือบัตรเครดิต 2 ใบ ยอมรับว่าบัตรก็มีส่วนทำให้เสียวินัยทางการเงินบ้างคือความยับยั้งชั่งใจน้อยลง (แต่ก็ไม่เคยสุรุ่ยสุร่ายในลักษณะที่ไม่คะเนศักยภาพในการใช้หนี้ ก็เลยไม่มีปัญหา) เห็นประโยชน์ของบัตรเครดิตตอนที่เดินทางไปต่างประเทศทำให้ไม่ต้องพกเงินสดให้มันอันตรายกับตัว กับตอนเข้าโรงพยาบาล เพราะตอนนั้นค่าใช้จ่ายสูงมาก ต้องจ่ายค่ายาเดือนนึงเป็นแสน ดิฉันรักษาตัวอยู่นาน ใช้เงินเก็บจนหมดทุกบัญชี ตอนนั้นถ้าไม่ได้บัตรเครดิตมาประทังไว้ระหว่างรอให้เงินเดือนออกก็อาจจะแย่

    แต่ผลเสียก็มีเพราะหนี้ยังไงก็คือหนี้ ดิฉันออกจากโรงพยาบาลพร้อมหนี้บัตรเครดิตจำนวนหนึ่งซึ่งดอกเบี้ยโหดเอาการ แถมช่วงเวลาที่นอนโรงพยาบาลเป็นช่วงรอยต่อของปี ไม่มีใครดำเนินการผ่อนผันให้เลยโดนชาร์จค่าธรรมเนียมรายปีไปอีก ตอนนั้นยัวะมากๆๆ พอใช้หนี้หมดก็เลยยกเลิกบัตรไปเลยทั้งสองใบ และก็ไม่ได้ทำบัตรอีกเลย

    แต่หลานชาย งานก็ไม่ได้มั่นคง เงินเดือนก็น้อยนิด บังอาจเหิมเกริมทำบัตรเครดิต/บัตรสินเชื่ออื่นๆ ถึง 19 ใบ (ซึ่งก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทางผู้ประกอบการปล่อย/อนุมัติบัตรให้ได้ยังไง เงินเดือนจิ๊ดเดียว) แล้วก็ใช้จ่ายมือเติบ จนใช้ชีวิตตามปกติไม่ได้ พี่สาวดิฉันต้องไปเคลียร์หนี้ให้เป็นเงินเกือบสองแสนบาท แล้วก็ทัณฑ์บนไว้ว่าถ้าไม่ไปยกเลิกบัตร+มีหนี้แบบนี้มาอีกจะคัดชื่อออกจากทะเบียนบ้านให้เป็นคนเถื่อนหางานใหม่ดีๆ ทำไม่ได้แล้วก็ตัดความเป็นน้า-หลานออกไปเลย รวมทั้งให้เค้าต้องเก็บเงินมาผ่อนใช้ด้วย เดือนละพันสองพันก็ยังดี เรื่องนี้ถึงได้บอกว่า ความมีวินัยทางการเงินสำคัญมาก

    ตอนนี้ดิฉันก็ไม่ได้ถือบัตรเครดิตใดๆ มา 4 ปีกว่าแล้ว พยายามบริหารเงินเท่าที่มี และมีมาตรการเพื่อสร้างวินัยทางการเงินของตัวเองด้วย คือ ถ้ามือเติบไปจ่ายอะไรที่มันสิ้นเปลืองเกินอัตราจ่ายปกติโดยไม่มีเหตุอันจำเป็นก็จะลงโทษตัวเองด้วยการหักเงินแบบคูณสองด้วยการโอนเงินจำนวนเท่ากันจากบัญชีเงินเดือนเข้าบัญชีเงินเก็บ เช่น ทำผมตามร้านปกติข้างทางราคาจะอยู่ที่ไม่เกิน 500 บาท (หมายถึงทั้งสระผม ตัดผม ดัดผม ทำสี บำรุง ครบทุกอย่าง) แต่ถ้าเผลอตัดใจด้วยความรีบหรืออะไรก็แล้วแต่ไปเข้าร้านที่คิด 4500 อย่างนี้ พอออกจากร้านจะโอนเงินอีก 4500 เข้าบัญชีเงินเก็บทันที (ซึ่งบัญชีนี้จะไม่มี ATM การเบิก-ถอนต้องใช้สมุด ทำให้มีเวลายับยั้งชั่งใจ) ผลก็คือบัญชีที่ใช้รับเงินเดือนๆ นั้นก็มีเงินใช้จ่ายน้อยลง (ก็ถูกตัดไปตั้ง 9000 บาท) เป็นมาตรการลงโทษตัวเองค่ะซึ่งก็ช่วยยั้งตัวเองได้บ้างเหมือนกัน เพราะมันคอยจะคูณสองก่อนตัดสินใจจ่ายเงินซื้อสินค้าหรือบริการอะไรเสมอ ผลพลอยได้ก็คือมีเงินเก็บด้วย

    ตอนนี้ก็มีเรื่องทำบุญนี่แหละ ควักแบบไม่ค่อยคิด (ดิฉันว่าดิฉันคงเป็นโรคจิตแน่ๆ มันเหมือนมีความกลัวว่าถ้าคนรู้จักมาบอกบุญแล้วไม่ทำจะเป็นกรรมให้ต้องเกิดใหม่เป็นคนหูหนวกตาบอด) แต่ก็ไม่ได้เสียใจหรือเสียดายที่ทำนะคะ เพราะยังไงบุญก็เป็นสิ่งเดียวที่เอาติดตัวไปได้เมื่อตายลง อีกอย่างคือได้มีส่วนช่วยทำนุบำรุงพระศาสนา แม้จะเป็นส่วนเล็กๆ ก็น่าภูมิใจ
     

แชร์หน้านี้

Loading...