แจ้งปิดกระทู้งานบุญ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย arjarhnnop, 31 พฤษภาคม 2010.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. abnormol9

    abnormol9 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2010
    โพสต์:
    1,529
    ค่าพลัง:
    +7,288
    รายงานตัวคับ:cool:
     
  2. อาคันตูกะ

    อาคันตูกะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    3,556
    ค่าพลัง:
    +15,292
    <table class="tborder" border="0" cellpadding="6" cellspacing="1" width="100%"><tbody><tr><td class="thead">ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 3 คน ( เป็นสมาชิก 2 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) </td> <td class="thead" width="14%"> [ แนะนำเรื่องเด่น ] </td> </tr> <tr> <td class="alt1" colspan="2" width="100%"> นายกิต, suttip</td></tr></tbody></table>

    อรุณสวัสดิ์ครับอาจารย์ปุ้ม
     
  3. อาคันตูกะ

    อาคันตูกะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    3,556
    ค่าพลัง:
    +15,292
    ของฝากสำหรับ เช้าวันอาทิตย์ครับ


    พุทธประวัติฉบับพกพา


    สกุลกำเนิดและปฐมวัย
    ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี พระนางสิริมายา ราชธิดาของกษัตริย์โกลิยวงค์ผู้ครองกรุงเทวทหะ
    พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ กษัตริย์ผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงประสูตรพระโอรส
    เมื่อวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีจอ ณ สวนลุมพินีวัน ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวทหะ
    (ปัจจุบัน คือ ตำบลรุมมินเด ประเทศเนปาล)


    หลังจากประสูติ
    อสีตดาบส เป็นมหาฤษีอยู่ ณ เชิงเขาหิมพานต์เป็นที่เคารพของราชสกุลได้รับทราบข่าวการประสูติของพระกุมาร
    จึงเดินทางมาเยี่ยม และได้ทำนายว่าถ้าพระกุมารอยู่ครองฆราวาสจะได้เป็นจักรพรรดิ
    ถ้าออกบวชจะได้เป็นศาสดาเอกของโลก ๕ วันหลังประสูติพระเจ้าสุทโธทนะพร้อมทั้งพระนางสิริหามายา
    พระประยูรญาติได้จัดพิธีขนานพระนามพระราชกุมารว่า สิทธัตถะ โดยเชิญพราหมณ์ ๑๐๘ คน
    มาเลี้ยงภัตตาหาร แล้วได้คัดเลือกเอาพราหมณ์ชั้นยอด ๘ คนให้เป็นผู้ทำนายพระลักษณะพระกุมาร
    เมื่อประสูติได้ ๗ วัน พระมารดาก็เสด็จทิวงคต พระเจ้าสุทโธทนะ จึงมอบให้พระนางประชาบดี
    ซึ่งเป็นพระขนิษฐาของพระนางสิริมหามายาเป็นผู้เลี้ยงดู เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะพระชนมายุ 8 พรรษา
    ได้ทรงศึกษาในสำนักครูวิศวามิตร พระองค์ทรงศึกษาได้อย่างรวดเร็ว มีความจำดีเลิศ
    และทรงพระปรีชาสามารถในการกีฬา ขี่ม้า ฟันดาบ และยิงธนู

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 สิงหาคม 2010
  4. อาคันตูกะ

    อาคันตูกะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    3,556
    ค่าพลัง:
    +15,292
    ต่อ...ครับ


    อภิเษกสมรส
    วัยหนุ่ม พระราชบิดาไม่ต้องการให้เจ้าชายสิทธัตถะทรงออกบวช พระองค์ทรงพอพระทัยที่จะให้เจ้าชายสิทธัตถะ
    เป็นองค์จักรพรรดิ จึงใช้ความพยายามทุกวิถีทาง เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา
    พระราชบิดาได้โปรดให้สร้างปราสาท ๓ หลัง ให้เป็นที่ประทับใน ๓ ฤดู และทรงสู่ขอ พระนางยโสธราหรือพิมพา
    พระราชธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะ แห่งกรุงเทวทหะ อยู่ในตระกูลโกลิยวงค์ให้อภิเษกด้วย
    เจ้าชายสิทธัตถะได้เสวยสุขสมบัติจนพระชนมายุ ๒๙ พรรษา พระนางยโสาธาราก็ประสูติพระโอรส
    ทรงพระนามว่า ราหุล

    การออกผนวช (บรรพชาอปสุมบท)
    เสด็จออกบรรพชา เจ้าชายสิทธัตถะทรงเบื่อหน่ายในโลกียวิสัย ถึงแม้ว่าพระองค์จะทรงสมบูรณ์
    ด้วยทรัพย์สมบัติอย่างเหลือล้น พระองค์ก็ยังคงตริตรองถึงชีวิตคน ฝักใฝ่พระทัยคิดค้นหาวิธีทางดับทุกข์
    ที่มนุษย์เรามีมากมาย พระองค์คิดว่า ถ้ายังอยู่ในเพศฆราวาส พระองค์คงหาทางแก้ทุกข์ อันเกิดจาก
    ความแก่ ความเจ็บ ความตายไม่ได้แน่ พระองค์จึงตัดสินใจเสด็จออกบวช โดยพระองค์ทรง ม้ากัณฐกะ
    สู่แม่น้ำ อโนมา ณ ที่นี้พระองค์ทรงอธิษฐานเพศเป็นบรรพชิตและมอบหมายเครื่องประดับและม้ากัณฐกะให้
    นายฉันนะ นำกลับไปยังกรุงกบิลพัสดุ์
     
  5. อาคันตูกะ

    อาคันตูกะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    3,556
    ค่าพลัง:
    +15,292
    ต่อ...ครับ

    เข้าศึกษาในสำนักดาบส
    การแสวงหาธรรม ระยะแรกหลังจากทรงออกบวชแล้ว เจ้าชายสิทธัตถะได้ทรงศึกษาในสำนักอาฬารดาบส
    ที่กรุงราชคฤห์ อาณาจักรมคธเมื่อสำเร็จการศึกษาจากสำนักนี้แล้วพระองค์ทรงเห็นว่าไม่ใช่หนทางในการหลุดพ้น
    จากทุกข์ตามที่พระองค์ได้ทรงมุ่งหวังไว้พระองค์จึงลาอาฬารดาบสและอุททกดาบสเดินทางไปแถบแม่น้ำคยา
    ในตำบลอุรุเวลาเสนานิคมแห่งกรุงราชคฤห์ อาณาจักรมคธ

    บำเพ็ญทุกรกิริยา
    การบำเพ็ญทุกรกิริยา เมื่อพระองค์ทรงเปลี่ยนพระทัยที่จะคิดค้นคว้าแสวงหาความรู้ด้วยพระองค์เอง
    แทนที่จะทรงเล่าเรียนในสำนักอาจารย์แล้ว พระองค์เริ่มด้วยการทรมานพระวรกายตามวิธีการของโยคี
    เรียกว่า การบำเพ็ญทุกรกิริยา บริเวณแม่น้ำ เนรัญชรา นั้น พระมหาบุรุษได้ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา
    เป็นเวลา ๖ ปี พระองค์ก็ยังคงมิได้ค้นหาทางหลุดพ้นจากทุกข์ได้ พระองค์ทรงเลิกการบำเพ็ญทุกรกิริยา
    แล้วกลับมาเสวยพระกระยาหารเพื่อบำรุงพระวรกายให้แข็งแรง จะได้มีกำลังในการคิดค้นพบวิธีใหม่
    ในขณะที่พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยานั้น ได้มีปัญจวัคคีย์มาคอยปรนนิบัติรับใช้ด้วยความหวังว่า
    พระมหาบุรุษได้ตรัสรู้แล้วพวกตนจะได้รับการถ่ายทอดบ้าง และเมื่อพระมหาบุรุษล้มเลิกการบำเพ็ญทุกรกิริยา
    ปัญจวัคคีย์ก็ได้ชวนกันละทิ้งมหาบุรุษไปทั้งหมดเป็นผลทำให้พระมหาบุรุษได้อยู่ตามลำพังในที่สงบเงียบ
    ปราศจากสิ่งรบกวนทั้งปวง ปัญจวัคคีไปอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี พระองค์ได้ทรงตั้งพระสติ
    และเดินทางกายกลาง คือ การปฏิบัติในความพอเหมาะพอควร

     
  6. อาคันตูกะ

    อาคันตูกะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    3,556
    ค่าพลัง:
    +15,292
    ต่อ...ครับ

    ตรัสรู้
    ตรัสรู้ ตอนเช้าวันเพ็ญเดือน ๖ ปีระกา ก่อนพุทธศักราช ๔๕ นางสุชาดาได้นำข้าวมธุปายาสเพื่อไปบวงสรวงเทวดา
    ครั้นเห็นพระมหาบุรุษประทับที่โคนต้นไทรด้วยอาการสงบ นางคิดว่าเป็นเทวดา จึงถวายทอดข้าวมธุปายาส
    แล้วเสด็จไปริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตอนเย็นวันนั้นเองพระองค์ได้กลับมายังต้นโพธิ์ที่ประทับ พบคนหาบหญ้าชื่อโสตถิยะ
    คนหาบหญ้าได้ถวายหญ้าให้พระองค์ปูลาด ณ ใต้ต้นโพธิ์ แล้วขึ้นประทับหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก
    และได้ตั้งจิตอธิษฐานว่า แม้เลือดในกายของเราจะเหือดแห้งไปเหลือแต่หนัง เอ็น กระดูก ก็ตาม
    ถ้ายังไม่พบธรรมวิเศษแล้วจะไม่ยอมหยุดความเพียรเป็นอันขาด เมื่อทรงตั้งจิตอธิษฐานแล้ว
    พระองค์ก็ทรงสำรวมจิตให้สงบแน่วแน่ พระองค์เริ่มบำเพ็ญเพียรทางจิต และในที่สุดทรงชนะความลังเลพระทัย
    ทรงบรรลุความสำเร็จ เมื่อพระองค์ทรงรู้เห็นอย่างนี้ จิตก็พ้นจากกิเลสทั้งปวง พระองค์ก็ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    เมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา ในวันเพ็ญ เดือน ๖ ปีระกาธรรมสูงส่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นั้น
    คือ อริยสัจ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค

    ประกาศพระศาสนาครั้งแรก
    การแสดงปฐมเทศนา วันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือนอาสาฬหะ (เดือน ๘) ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
    พระพุทธเจ้าเสด็จไปหาปัญจวัคคีย์ พระองค์ได้ทรงแสดงธรรมในวันขึ้น
    ๑๕ ค่ำ เดือน ๘
    เรียกว่า ธรรมจักกัปวัตนสูตร ในขณะที่ทรงแสดงธรรมนั้น ท่านโกณฑัญญะได้ธรรมจักษุ
    คือ พระโสดาบัน ได้ทูลขออุปสมบทในพระธรรมวินัยของสัมมาสัมพุทธเจ้า เรียกการบวชครั้งนี้ว่า
    "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" พระอัญญาโกณฑัญญะ จึงเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา


     
  7. อาคันตูกะ

    อาคันตูกะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    3,556
    ค่าพลัง:
    +15,292
    ต่อ...ครับ


    การประกาศพระพุทธศาสนา

    เมื่อพระองค์ มีสาวกเป็นพระอรหันต์ ๖๐ องค์ และข้ามพ้นเขตแห่งพรรษากาล หรือออกพรรษาแล้ว
    ทรงพิจารณาเห็นว่า สมควจจะออกไปประกาศศาสนา (คำสอน) ให้เป็นที่แพร่หลายได้แล้ว
    พระองค์จึงเรียกประชุมสาวกทั้งหมดแล้วตรัสว่า

    "ภิกษุทั้งหลาย เราได้พ้นจากบ่วงทั้งปวง ทั้งชนิดที่เป็นทิพย์ และชนิดที่เป็นของมนุษย์แล้ว
    แม้ท่านทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน เราทั้งหลายจงพากันจาริกไปยังชนบททั้งหลาย
    เพื่อประโยชน์และความสุขแก่มหาชนเถิด

    อย่าไปรวมกันในทางเดียวถึงสองรูปเลย จงแสดงธรรมให้งามทั้งในเบื้องต้น ท่ามกลาง
    และที่สุด พร้อมทั้งอรรถ
    พร้อมทั้งพยัญชนะเถิด จงประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง
    สัตว์ทั้งหลายที่มีกิเลสเบาบางนั้นมีอยู่

    เพราะโทษที่ไม่ได้ฟังธรรม ย่อมจะเสื่อมจากคุณที่จะพึงได้ถึง ผู้รู้ทั่วถึงธรรม คงจักมีอยู่

    แม้ตัวเราก็จะไปยังอุรุเวลาเสนานิคม เพื่อแสดงธรรมเช่นกัน"


    พระองค์ทรงส่งสาวกออกประกาศศาสนาพร้อมกันทีเดียว ๖๐ องค์ ไป ๖๐ สาย คือ ไปกันทุกสารทิศทีเดียว
    แม้พระองค์เองก็ไปเหมือนกัน ไม่ใช่แต่สาวกอย่างเดียวเท่านั้น นับว่าแบบอย่างที่ดีและเป็นคุณลักษณะ
    แห่งผู้นำหมู่คณะ พระสาวกทั้ง ๖๐ องค์เมื่อได้รับพุทธบัญชาเช่นนั้น ก็แยกย้ายกันไปประกาศศาสนาตามจังหวัด
    อำเภอ และตำบลต่างๆ ทำให้กุลบุตรในดินแดนถิ่นฐานต่าง ๆ เหล่านั้นหันมาสนใจมากเลื่อมใสมากขึ้น
    บางคนขอบวช แต่สาวกเหล่านั้นยังให้บวชเองไม่ได้ จึงต้องพากุลบุตรเหล่านั้นมาเฝ้าพระพุทธเจ้า
    เพื่อให้พระองค์บวชให้ ทำให้ได้รับความลำบากในการเดินทางมากฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาต
    ให้สาวกเหล่านั้นอุปสมบทกุลบุตรได้ โดยโกนผมและหนวดเคราเสียก่อน แล้วจึงให้นุ่งห่มผ้าย้อมด้วยน้ำฝาด
    งคุกเข่าพนมมือกราบภิกษุแล้วเปล่งว่าจาว่า "ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมเป็นสรณะ
    ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ" รวม ๓ ครั้ง การอุปสมบทนี้เรียกว่า “
    ติสรณคมนูปสัมปท คือ อุปสมบทโดยวิธีให้ปฏิญญาณตนเป็นผู้ถึงสรณคมน์

     
  8. อาคันตูกะ

    อาคันตูกะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    3,556
    ค่าพลัง:
    +15,292
    ต่อ...ครับ


    ตั้งแต่พรรษาที่ ๑ ที่พระองค์ได้สาวกเป็นพระอรหันต์จำนวน ๖๐ องค์แล้ว พระองค์ก็ได้อาศัย
    พระมหากรุณาคุณทำการประกาศเผยแผ่คำสอน จนได้สาวกเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก
    อุบาสิกา เป็นพุทธบริษัท ๔ ขึ้น อย่างแพร่หลายและมั่นคง การประกาศศาสนาของพระองค์
    ได้ดำเนินการไปอย่างเข้มแข็ง โดยการจาริกไปยัง หมู่บ้านชนบทน้อยใหญ่ในแคว้นต่างๆ
    ทั่วชมพูทวีปตลอดเวลาอีก ๔๔ พรรษาคือพรรษาที่ ๒ - ๔๕ ดังนี้

    พรรษาที่ ๒ เสด็จไปยังเสนานิคมในตำบลอุรุเวลา ในระหว่างทางได้สาวกกลุ่ม
    ภัททวคคีย์ ๓๐ คน และที่ตำบลอุรุเวลาได้ ชฎิล ๓ พี่น้อง คือ อุรุเวลกัสสปะ นทีกัสสปะ
    และ คยากัสสปะ กับศิษย์ ๑,๐๐๐ คน เทศนาอาทิตตปริยายสูตร ที่คยาสีสะเสด็จไปยังราชคฤห์
    แห่งแควว้นมคธ กษัตริย์เสนิยะพิมพิสาร ทรงถวายสวนเวฬุวัน แด่คณะสงฆ์ ได้สารีบุตร
    และโมคคัลลานะเป็นสาวก อีก ๒ เดือนต่อมาเสด็จไปยังกบิลพัสดุ์ ทรงพำนักที่
    นิโครธาราม ได้สาวกมากมาย เช่น นันทะ ราหุล อานนท์ เทวทัต และพระญาติอนๆ
    อนาถปิณฑิกะเศรษฐี อาราธนาไปยังกรุงสาวัตถี แห่งแคว้นโกศล ถวายสวนเชตวัน
    แต่คณะสงฆ์ ทรงจำรรษาที่นี่

    พรรษาที่ ๓
    นางวิสาขาถวายบุพพาราม ณ กรุงสาวัตถี ทรงจำพรรษาที่นี่

    พรรษาที่ ๔ ทรงจำพรรษาที่เวฬุวัน ณ กรุงราชคฤห์แห่งแคว้นมคธ

    พรรษาที่ ๕ โปรดพระราชบิดาจนได้บรรลุอรหัตตผล ทรงไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่าง
    พระญาติฝ่ายสักกะกับพระญาติฝ่ายโกลิยะเกี่ยวกับการใช้น้ำในแม่น้ำ โรหิณี
    ทรงบรรพชาอุปสมบทพระนางปชาบดีโคตมี และคณะเป็นภิกษุณี

    พรรษาที่ ๖ ทรงแสดงยมกปาฏิหารย์ในกรุงสาวัตถีย์ ทรงจำพรรษาบนภูเขามังกลุบรรพต

    พรรษาที่ ๗ ทรงเทศนาและจำพรรษาที่กรุงสาวัตถี ระหว่างจำพรรษาเสด็จขึ้นไป
    ยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์โปรดพุทธมารดาด้วยพระอภิธรรม

    พรรษาที่ ๘ ทรงเทศนาในแคว้นภัคคะ ทรงจำพรรษาในสวนเภสกลาวัน

    พรรษาที่ ๙ ทรงเทศนาในแคว้นโกสัมพี

    พรรษาที่ ๑๐ คณะสงฆ์แห่งโกสัมพีแตกแยกกันอย่างรุนแรง ทรงตกเตือนไม่เชื่อฟัง
    จึงเสด็จไปประทับและจำพรรษาในป่า ปาลิเลยยกะ มีช้างเชือกหนึ่งมาเฝ้าพิทักษ์
    และรับใช้ตลอดเวลา


     
  9. อาคันตูกะ

    อาคันตูกะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    3,556
    ค่าพลัง:
    +15,292
    ต่อ...ครับ

    พรรษาที่ ๑๑
    เสด็จไปยังกรุงสาวัตถี คณะสงฆ์แห่งโกสัมพีปรองดองกันได้ ทรงจำพรรษาในหมู่บ้านพราหมณ์ชื่อ เอกนาลา

    พรรษาที่ ๑๒ ทรงเทศนาและจำพรรษาที่เวรัญชา เกิดความอดอยากรุนแรง

    พรรษาที่ ๑๓ ทรงเทศนาและจำพรรษาบน ภูเขาจาลิกบรรพต

    พรรษาที่ ๑๔ ทรงเทศนาและจำพรรษาที่กรุงสาวัตถี ราหุลขอบรรพชาอุปสมบท

    พรรษาที่ ๑๕ เสด็จไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ สุปปพุทธะถูกแผ่นินสูบเพราะขัดขวางทางโคจร

    พรรษาที่ ๑๖ ทรงเทศนาและจำพรรษาที่ อาลวี

    พรรษาที่ ๑๗ เสด็จไปยังกรุงสวัตถี กลับมายังอาลวีและทรงจำพรรษาที่กรุงราชคฤห์

    พรรษาที่ ๑๘ เสด็จไปยัง อาลวี ทรงจำพรรษาบน ภูเขาจาลิกบรรพต

    พรรษาที่ ๑๙ ทรงเทศนาและจำพรรษาที่บน ภเขาจาลิกบรรพต

    พรรษาที่ ๒๐ โจร องคุลีมาลย์ กลับใจเป็นสาวก ทรงแต่งตั้งให้พระอานนท์
    รับใช้ใกล้ชิดตลอดกาล ทรงจำพรรษาที่กรุงราชคฤห์ ทรงเริ่มบัญญัติวินัย

    พรรษาที่ ๒๑ - ๔๔ ทรงยึดเอาเชตวันและบุพพารามในกรุงราชคฤห์เป็น
    ศูนย์กลางการเผยแพร่และเป็นที่ประทับจำพรรษา เสด็จพร้อมสาวกออกเทศนา
    โปรดเวไนยสัตว์ตามแว่นแคว้นต่าง ๆ โดยรอบ

    พรรษาที่ ๔๕ และสุดท้าย พระเทวทัต คิดปลงพระชนม์ กลิ้งก้อนหินจนเป็นเหตุให้
    พระบาทห้อโลหิต ทรงได้รับการบำบัดจากหมอชีวก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 สิงหาคม 2010
  10. อาคันตูกะ

    อาคันตูกะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    3,556
    ค่าพลัง:
    +15,292
    และสุดท้าย....

    ทรงปรินิพาน
    การเสด็จปรินิพพาน หลังจากพระพุทธเจ้าแสดงปัจฉิมโอวาท ซึ่งวันนั้นตรงกับวันเพ็ญเดือนวิสาขะ (เดือน ๖)
    ในยามสุดท้ายของวันนั้น ณ ป่าไม้สาละ (สาลวันอุทยาน) ของกษัตริย์มัลละ กรุงกุสินารา พระองค์ได้ประทับ
    ใต้ ต้นสาละคู่ หลังจากตรัสโอวาทให้แก่พระอริยสงฆ์แล้ว พระองค์มิได้ตรัสอะไรอีก แล้วเสด็จปรินิพพาน
    ด้วยพระอาการสงบ ซึ่งเป็นที่น่าอัศจรรย์นักที่วันประสูติ วันตรัสรู้ และวันปรินิพพานของพระพุทธเจ้าตรงกัน
    คือ วันเพ็ญเดือน ๖

     
  11. amen666

    amen666 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    304
    ค่าพลัง:
    +1,246
    สวัสดีตอนเช้า วันอาทิตย์ ครับ
     
  12. อาคันตูกะ

    อาคันตูกะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    3,556
    ค่าพลัง:
    +15,292


    วิถีทางบําเพ็ญบารมีของพระพุทธเจ้า : The way to buddha


    [SIZE=-1][​IMG][/SIZE]



    ผู้ที่เป็นพระโพธิสัตว์นั้น จะต้องข้ามผ่านหนทางอันเลวร้ายที่เป็นความจริงของโลก เพื่อเข้าใจ
    และเข้าถึงโลกแห่งสัจธรรมหรือความจริงเพื่อเอามาเผยแพร่แด่มวลมนุษยชาติต่อไป


    หัวข้อนี้ จะอธิบายแนวทางการบําเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ที่มาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
    โดยจะใช้วิธีการเล่าเรื่องประกอบคําอธิบายต่างๆ


    บารมี 30 ทัส
    กล่าวถึงบารมี 10 ทัสก่อน มี ดังนี้
    1. ทานบารมี คือการให้ทาน ทำบุญ บริจาคทรัพย์ หรือสิ่งของ หรือบริจาค สัตว์ 2 เท้า หรือ 4 เท้า หรือไม่มีเท้า
    2. ศีลบารมี คือาการรักษาศีล 5 ศีล 8 หรือศีล 227 ข้อ
    3. เนกขัมบารมี คือการออกบวช เป็นพระ หรือเป็นฤาษี เป็นโยคี เป็นพราหมณ์ คือเป็นผู้ไม่ครองเรื่อน ถือศีล 8 ขึ้นไป
    4. ปัญญาบารมี คือสร้างเสริมความรู้ ความสามารถ และปัญญาทางธรรมมะให้เพิ่มขึ้น
    5. วิริยะบารมี คือมีความขยันหมั่นเพียร กระทำสิ่งที่เป็นคุณประโยชน์ ทั้งในทางธรรมะจนกระทั้งสำเร็จ
    6. ขันติบารมี คือมีความอดทนต่ออารมณ์อันไม่พอใจ ต่องานการ ต่อการปฏิบัติธรรม และต่อสิ่งแวดล้อมที่ไม่อำนวย
    7. สัจจะบารมี คือการพูดความจริง ที่ประกอบไปด้วยความดี ตามกาล และทำตามที่กล่าวไว้
    8. อธิษฐานบารมี คือตังจิตอธิษฐาน เมื่อสร้างบุญกุศล ในสิ่งที่ปารถนาที่เป็นคุณงามความดี
    9. เมตตาบารมี คือมีใจเมตตาต่อสัตว์ทั้งหลายเสมอเหมือนกัน
    10. อุเบกขาบารมี คือมีใจเป็นอุเบกขา ต่อความสุข ความทุกข์ ที่เกิดขึ้น

    บารมี ทั้ง 10 สามารถแตกเป็น 3 ระดับ คือ
    1. บารมี ธรรมดาทั่วไป
    2. อุปบารมี บารมีอย่างกลางแลกด้วย ปัจจัยภายนอกจนหมดสิ้น
    3. ปรมัตถบารมี บารมีอย่างยิ่งแลกด้วยชีวิต
    เมื่อแบ่งเป็น 3 ระดับ ก็จะกลายเป็นบารมี 30 ทัส

    อานิสงส์ บารมี 30 ทัส ของพระนิยตะโพธิสัตว์
    พระนิยตะโพธิสัตว์เมื่อได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรก จะมีอานิสงส์ 18 อย่าง ตลอดจนได้ตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้า ได้แก่
    1. เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมไม่เกิดเป็นคนมีจักษุบอดมาแต่กำเนิด
    2. ไม่เป็นหูหนวกแต่กำเนิด
    3. ไม่เป็นคนบ้า
    4. ไม่เป็นคนใบ้
    5. ไม่เป็นคนง่อยเปลี้ย
    6. ไม่เกิดในมิลักขประเทศคือประเทศป่าเถื่อน
    7. ไม่เกิดในท้องนางทาสี (แต่เกิดในฐานะคนจันทาลได้ ดัง พระโพธิสัตว์ มาตังคะฤาษี ท่านเป็นบุตรคนจันทาล แต่ไม่ได้เป็นนางทาสี)
    8. ไม่เป็นนิยตมิจฉาทิฐิ
    9. ไม่เป็นสตรีเพศ
    10. ไม่ทำอนันตริยกรรม
    11. ไม่เป็นโรคเรื้อน
    12 เมื่อเกิดเป็นสัตว์เดียรฉาน มีกายไม่เล็กกว่านกกระจาบ และ ไม่ใหญ่ไปกว่าช้าง
    13. ไม่เกิดใน ขุปปิปาสิกเปรต นิชฌานตัณหิกเปรต และกาลกัญจิกาสุรกาย
    14. ไม่เกิดในอเวจีนรก และโลกันตนรก
    15. ไม่เกิดเป็นเทวดาใน กามาพจรสวรรค์ ไม่เกิดเป็นเทวดาที่นับเข้าในเทวดาพวกหมู่มาร
    16. เมื่อเกิดเป็นรูปพรหม จะไม่เกิดใน ปัญจสุทธวาสพรหมโลก(พรหมชั้นอนาคามี) และอสัญญสัตตาภูมิพรหม( มีแต่รูปอย่างเดียว)
    17. ไม่เกิดในอรูปพรหมโลก
    18. ไม่เกิดในจักรวาลอื่น

    อานิสงส์พิเศษอีกอย่างหนึ่งของนิยตโพธิสัตว์ คือ การทำอธิมุตตกาลกริยา คือเมื่อท่านเกิดเป็นเทวดาหรือพระพรหม
    เกิดความเบื่อหน่าย ในการเสวายสุขนั้น ปรารถนาที่จะสร้างบารมีในโลกมนุษย์ ท่านก็สามารถทำการอธิมุตต
    คืออธิษฐานให้จุติ(ตายจากการเป็นเทพ)มาเกิดเป็นมนุษย์ได้ทันที ได้โดยง่าย
    ซึ่งเหล่าเทพเทวดาอื่นๆ ไม่สามารถทำอย่างนี้ได้

    [SIZE=-1]
    [/SIZE]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 สิงหาคม 2010
  13. อาคันตูกะ

    อาคันตูกะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    3,556
    ค่าพลัง:
    +15,292
    [SIZE=-1]

    สำหรับพระโพธิสัตว์ ที่ยังเป็น อนิยตะโพธิสัตว์ ที่สร้างบารมีสมบูรณ์แล้ว
    [/SIZE]
    [SIZE=-1]จะได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรก ต่อพระพักตร์พุทธเจ้า ต้องมีธรรมสโมธาน 8 ประการสมบูรณ์ [/SIZE]
    [SIZE=-1] จึงได้รับพุทธพยากรณ์โดยนัยว่า จะได้ตรัสรู้เป็นองค์พระพุทธเจ้า ทรงนามว่าอย่างนั้น [/SIZE]
    [SIZE=-1]ในกัปอันเป็นอนาคตที่เท่านั้น ก็กลายเป็น นิยตะโพธิสตว์ ทันที คือเป็นพระโพธิสัตว์ที่เที่ยงแท้ [/SIZE]
    [SIZE=-1]
    ธรรมสโมธาน 8 ประการคือ
    1. ได้เกิดเป็นมนุษย์
    2. เป็นบุรุษเพศ ไม่เป็นกระเทย
    3. มีอุปนิสสัยปัจจัยแห่งพระอรหันต์รุ่งเรืองอยู่ในขันธสันดาน(ถ้าเกิดเปลียนใจก็จะเป็นพระอรหันต์ทันที)
    4. ต้องพบพระพุทธเจ้าขณะมีพระชนชีพอยู่ และได้สร้างกองบุญกุศลต่อพระพักตร์
    5. ต้องเป็นบรรพชิต หรือต้องเป็น โยคี ฤาษี ดาบส หรือปริพาชก ที่มีลัทธิเชื่อว่า บุญมี บาปมี ทำบุญได้บุญ ทำบาปได้บาป ต้องไม่เป็นคฤหัสผู้ครองเรือน
    6. ต้องมีอภิญญาและฌานสมาบัติ อันเชี่ยวชาญ
    7. เคยให้ชีวิตของตนเป็นทาน เพื่อสัมโพธิญาณมาก่อนในอดีดชาติ
    8. ต้องมี ฉันทะ คือมีความรักความพอใจในพุทธภูมิเป็นกำลัง

    [/SIZE]
    [SIZE=-1] กล่าวถึงพุทธภูมิธรรมของนิยตะโพธิสัตว์ ในการเพิ่มพูนบารมีให้มากยิ่งขึ้น [/SIZE]
    [SIZE=-1]มีน้ำใจประกอบไปด้วย พุทธภูมิธรรม 4 ประการ [/SIZE]
    [SIZE=-1]
    [/SIZE][SIZE=-1]พุทธภูมิธรรม 4 ประการ คือ[/SIZE]
    [SIZE=-1] 1. อุสสาโห คือประกอบไปด้วยพระอุตสาหะ มีความเพียรอันสลักติดแน่นในจิตใจอย่างมั่นคง
    2. อุมัตโต คือประกอบด้วยปัญญา มีปัญญาเชียวชาญเฉียบคม
    3. อวัตถานัง คือมีพระทัยอธิษฐานอันมั่นคง มิได้หวั่นไหวคลอนแคลน
    4. หิตจริยา คือประกอบไปด้วยพระเมตตา เจรีญจิตอยู่ด้วยพรหมวิหารเป็นปกติ

    อัธยาศัย ที่ทำให้พระโพธิญานของนิยตะโพธิสัตว์แก่กล้ายิ่งขึ้น มี 6 ประการ
    1. เนกขัม พอใจในการรักษาศีล การบวช หรือบรรพชา
    2. วิเวก พอใจอยู่ในที่สงบ
    3. อโลภ พอใจในการบริจาคทาน
    4. อโทส พอใจในความไม่โกรธ เจริญเมตตา
    5. อโมห พอใจในการพิจารณาคุณและโทษ เจริญปัญญา
    6. นิพพาน พอใจที่ยกตนออกจากภพ ไม่ยินดีในการเวียนว่ายตายเกิด ประสงค์นิพพานเป็นอย่างยิ่ง

    พระพุทธเจ้า คือผู้ที่เป็นศาสดาเอกในพุทธศาสนา แบ่งพระพุทธเจ้าออกเป็น 3 ประเภท
    1.ปัญญาพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้ปัญญาเป็นตัวนำ
    ระยะเวลาการสร้างบารมี
    ทั้งหมด 20 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป คือปรารถนาอยู่ในใจเป็นเวลา 7 อสงไขย
    หลังจากนั้นออกปากกล่าววาจาต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้าเป็นเวลา 9 อสงไขย
    รวมเป็น 16 อสงไขย และได้เป็นพระนิยตะโพธิสัตว์ ได้รับพุทธพยากรณ์
    ครั้งแรก เหลืออีก 4 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป เป็นการสร้างบารมีอย่างยิ่ง
    และเข็มงวดขึ้นเรื่อย และได้รับพยากรณ์ช้ำมาตลอดเมื่อได้พบกับพระพุทธเจ้า
    จนถึงสมัยพุทธภูมิของท่าน

    2. ศรัทธาพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้ศรัทธาเป็นตัวนำ
    ระยะเวลาการสร้างบารมีทั้งหมด 40 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป
    คือปรารถนาอยู่ในใจ
    เป็นเวลา 14 อสงไขย หลังจากนั้นออกปากกล่าววาจาต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้า
    เป็นเวลา 18 อสงไขย รวมเป็น 32 อสงไขย และได้เป็นพระนิยตะโพธิสัตว์
    ได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรก เหลืออีก 8 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป
    เป็นการสร้างบารมี
    อย่างยิ่งและเข็มงวดขึ้นเรื่อย และได้รับพยากรณ์ช้ำมาตลอดเมื่อได้พบกับพระพุทธเจ้า
    จนถึงสมัยพุทธภูมิของท่าน

    3. วิริยะพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้วิริยะเป็นตัวนำ ระยะเวลาการสร้างบารมี
    ทั้งหมด 80 อสงไขยกับเศษแสนมหากับล์ คือปรารถนาอยู่ในใจเป็นเวลา 28 อสงไขย
    หลังจากนั้นออกปากกล่าววาจาต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้าเป็นเวลา 36 อสงไขย รวมเป็น 64 อสงไขย
    และได้เป็นพระนิยตะโพธิสัตว์ ได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรก เหลืออีก 16 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป
    เป็นการสร้างบารมีอย่างยิ่งและเข็มงวดขึ้นเรื่อย และได้รับพยากรณ์ช้ำมาตลอดเมื่อได้พบกับพระพุทธเจ้า
    จนถึงสมัยพุทธภูมิของท่าน
    ซึ่งพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันนี้ มีพระนามว่า พระศรีศากยมนีโคดมพุทธเจ้า
    พระองค์ทรงสร้างบารมีมาทาง ปัญญาพุทธเจ้า

    พระโพธิสัตว์ คือบุคคลที่ปรารถนาเพื่อจะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต แบ่งเป็น 2 ประเภท
    1.พระ โพธิสัตว์ที่ยังไม่ได้รับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าองค์ก่อนมาเลย เรียกว่า
    อนิยตะโพธิสัตว์ ความหมายคือยังไม่แน่นอนว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้า เพราะอาจจะเลิกล้มความปรารถนาเมื่อไรก็ได้
    2.พระโพธิสัตว์ที่ได้รับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าองค์ก่อนมาแล้ว เรียกว่า นิยตะโพธิสัตว์

    [/SIZE]
    [SIZE=-1] ตามความหมายคือจะได้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นนอน เพราะถ้าถึงนิพพาน[/SIZE]
    [SIZE=-1] ต้องดำรงค์ฐานะเป็นพระพุทธเจ้าอย่างเดียว แต่ถ้าบารมีและเวลายังไม่สมบูรณ์ [/SIZE]
    [SIZE=-1] แม้ว่าจะพยายามปฏิบัติอย่างยิ่งยวดบังเกิดปัญญาอย่างเยียมยอด ก็ไม่สามารถถึงนิพพานก่อนได้ [/SIZE]
    [SIZE=-1] แม้จะทุกข์ท้อแท้ จนคิดว่าเลิกที่จะเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว แต่แล้วในที่สุดมหากุศลที่เป็นอนุสัย [/SIZE]
    [SIZE=-1] ก็จะพุ่งกระจายขึ้นมาให้ตั้งมั่นและบำเพ็ญบารมีกันต่อ จนกว่าบารมีและเวลาสมบูรณ์ [/SIZE]
    [SIZE=-1]
    จากบทความข้างบน ผู้อ่านคงได้อ่านคำว่า อสงไขย และ กัป มาแล้ว ผู้เขียนจะอธิบายสั้นๆ ให้ทราบดังนี้
    - กัป เป็นหน่วยวัดเวลา ในเชิงประมาณ คือ ทุกๆ โลก ทุกๆ จักรวาลที่อยู่ในอาณาบริเวณพุทธเขต
    บังเกิดขึ้นมาหนึ่งครั้ง และตั้งอยู่ เเละดับไปสลายไป 1 ครั้งเรียกว่า 1 กัป
    - อสงไขย เป็นหน่วยวัดเวลา ที่มากกว่ากัป คือจำนวณกัป ที่นับไม่ถ้วน เท่ากับ 1 อสงไขย

    [/SIZE][SIZE=-1]
    ที่มา http://www.vichadham.com/
    [/SIZE]
     
  14. อาคันตูกะ

    อาคันตูกะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    3,556
    ค่าพลัง:
    +15,292
    <table align="center" bgcolor="#CCCCCC" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="549"><tbody><tr bgcolor="#FFFFFF"><td width="12">
    </td> <td colspan="4">
    </td> </tr> <tr> <td width="12">
    </td> <td colspan="4"> อริยสัจ 4

    </td> </tr> <tr> <td width="12">
    </td> <td colspan="4"> มีความจริงอยู่ 4 ประการคือ การมีอยู่ของทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และ หนทางไปสู่ความดับทุกข์ ความจริงเหล่านี้เรียกว่า อริยสัจ 4
    1. ทุกข์
    คือ การมีอยู่ของทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ และตายล้วนเป็นทุกข์ ความเศร้าโศก ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความวิตกกังวล ความกลัวและความผิดหวังล้วนเป็น ทุกข์ การพลัดพรากจากของที่รักก็เป็นทุกข์ ความเกลียดก็เป็นทุกข์ ความอยาก ความยึดมั่นถือมั่น ความยึดติดในขันธ์ทั้ง 5 ล้วนเป็นทุกข์
    2. สมุทัย
    คือ เหตุแห่งทุกข์ เพราะอวิชา ผู้คนจึงไม่สามารถเห็นความจริงของชีวิต พวกเขาตกอยู่ในเปลวเพลิงแห่งตัณหา ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความเศร้าโศก ความวิตกกังวล ความกลัว และความผิดหวัง
    3.
    นิโรธ
    คือ ความดับทุกข์ การเข้าใจความจริงของชีวิตนำไปสู่การดับความเศร้า โศกทั้งมวล อันยังให้เกิดความสงบและความเบิกบาน
    4. มรรค

    คือ หนทางนำไปสู่ความดับทุกข์ อันได้แก่ อริยมรรค 8 ซึ่งได้รับการหล่อ เลี้ยงด้วยการดำรงชีวิตอย่างมีสติความมีสตินำไปสู่สมาธิและปัญญาซึ่งจะปลดปล่อย ให้พ้นจากความทุกข์และความโศกเศร้าทั้งมวลอันจะนำไปสู่ความศานติและ ความเบิกบาน พระพุทธองค์ได้ทรงเมตตานำทางพวกเราไปตามหนทางแห่งความรู้แจ้งนี้
    </td> </tr> <tr> <td width="12">
    </td> <td colspan="4">
    </td></tr></tbody></table>
     
  15. อาคันตูกะ

    อาคันตูกะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    3,556
    ค่าพลัง:
    +15,292
    มรรค 8 ( อัฏฐังคิกมรรค )

    (มรรค = อริยมรรค = มัชฌิมาปฏิปทา = มรรคแปด = ทางดำเนินชีวิตอันประเสริฐ = ทางสายกลาง)

    ..........แนวทางดำเนินอันประเสริฐของชีวิตหรือกาย วาจา ใจ เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์
    .....เรียกว่า อริยมรรค แปลว่าทางอันประเสริฐ เป็นข้อปฏิบัติที่มีหลักไม่อ่อนแอ จนถึงกับ
    .....ตกอยู่ใต้อำนาจ ความอยากแห่งใจ แต่ก็ไม่แข็งตึงจนถึงกับเป็นการทรมานกายให้เหือด
    .....แห้งจากความสุขทางกาย เพราะฉะนั้นจึงได้เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา คือทางดำเนินสาย
    .....กลาง ไม่หย่อนไม่ตึง แต่พอเหมาะเช่นสายดนตรีที่เทียบเสียงได้ที่แล้ว

    ..........คำว่ามรรค แปลว่าทาง ในที่นี้หมายถึงทางเดินของใจ เป็นการเดินจากความทุกข์
    .....ไปสู่ความเป็นอิสระหลุดพ้นจากทุกข์ซึ่งมนุษย์หลงยึดถือและประกอบขึ้นใส่ตนด้วย
    .....อำนาจของอวิชชา
    ....มรรคมีองค์แปด คือต้องพร้อมเป็นอันเดียวกันทั้งแปดอย่างดุจเชือก
    .....ฟั่นแปดเกลียว องค์แปดคือ :-
    ..
    1. สัมมาทิฏฐิ ิคือความเข้าใจถูกต้อง
    2. สัมมาสังกัปปะ คือความใฝ่ใจถูกต้อง
    3. สัมมาวาจา คือการพูดจาถูกต้อง
    4. สัมมากัมมันตะ คือการกระทำถูกต้อง
    5. สัมมาอาชีวะ คือการดำรงชีพถูกต้อง
    6. สัมมาวายามะ คือความพากเพียรถูกต้อง
    7. สัมมาสติ คือการระลึกประจำใจถูกต้อง
    8. สัมมาสมาธิ คือการตั้งใจมั่นถูกต้อง
    .....การปฏิบัติธรรมทุกขั้นตอน รวมลงในมรรคอันประกอบด้วยองค์แปดนี้ เมื่อย่นรวมกัน
    .....แล้วเหลือเพียง 3 คือ ศีล - สมาธิ - ปัญญา สรุปสั้น ๆ ก็คือ

    ...............การปฏิบัติธรรม(ศีล-สมาธิ-ปัญญา)ก็คือการเดินตามมรรค

    สัมมาทิฏฐิ(ปัญญา)
    .....คือความเข้าใจถูกต้อง ย่อมต้องการใช้ในกิจการทั่วไปทุกประเภททั้งทางโลกและ
    .....ทางธรรม แต่สำหรับฝ่ายธรรมชั้นสูงอันเกี่ยวกับการเห็นทุกข์หรืออาสวะซึ่งจัดเป็น
    .....การเห็นอริยสัจจ์นั้นย่อมต้องการฝึกฝนอย่างจริงจังเป็นพิเศษ ความเข้าใจถูกต้อง
    .....คือต้องเข้าใจอย่างทั่วถึงว่าทุกข์นั้นเป็นอย่างไร อย่างหยาบๆ ที่ปรากฎชัดๆ เป็นอย่างไร
    .... อย่างละเอียดที่แอบแฝงเป็นอย่างไร เหตุให้เกิดทุกข์เป็นอย่างไร ความดับสนิท
    .....ของทุกข์มีภาวะอย่างไร มีลำดับอย่างไร ทางให้ถึงความดับทุกข์คืออะไร เดินให้ถึงได้
    .....อย่างไร สัมมาทิฏฐิมีทั้งที่เป็นโลกิยะคือของบุคคลที่ต้องขวนขวายปฏิบัติก้าวหน้าอยู่
    .....และสัมมาทิฎฐิที่เป็นโลกกุตตระ คือของพระอริยบุคคลต้นๆ ส่วนของพระอรหันต์นั้น
    .....เรียกเป็นวิชชาไปและไม่เรียกว่าองค์แห่งมรรค เพราะท่านถึงที่สุดแล้ว


    สัมมาสังกัปปะ(ปัญญา)
    .....คือความใฝ่ใจถูกต้อง คือคิดหาทางออกไปจากทุกข์ตามกฎแห่งเหตุผล ที่เห็นขอบมาแล้ว
    .....ข้อสัมมาทิฏฐินั่นเอง เริ่มตั้งแต่การใฝ่ใจที่น้อมไปในการออกบวช การไม่เพ่งร้าย การ
    .....ไม่ทำทุกข์ให้แก่ผู้อื่นแม้เพราะเผลอ รวมทั้งความใฝ่ใจถูกต้องทุกๆอย่างที่เป็นไปเพื่อ
    .....ความหลุดพ้นจากสิ่งที่มนุษย์ไม่ประสงค์


    <table align="center" bgcolor="#FFFFCC" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td colspan="4" bgcolor="#FFFFFF">สัมมาวาจา (ศีล)
    .....คือการพูดจาถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น
    </td> </tr> <tr> <td width="12">
    </td> <td colspan="4">.สัมมากัมมันตะ (ศีล)
    .....คือการกระทำถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น
    </td> </tr> <tr> <td bgcolor="#FFFFFF" width="12">
    </td> <td colspan="4" bgcolor="#FFFFFF">.สัมมาอาชีวะ (ศีล)
    .....คือการดำรงชีพถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น
    </td> </tr> <tr> <td width="12">
    </td> <td colspan="4">.สัมมาวายามะ (สมาธิ)
    .....คือความพากเพียรถูกต้อง เป็นส่วนของใจที่บากบั่นในอันที่จะก้าวหน้า ไม่ถอยหลังจากทาง
    .....ดำเนินตามมรรค ถึงกับมีการอธิษฐานอย่างแรงกล้า
    </td></tr></tbody></table>
    <table align="center" bgcolor="#FFFFCC" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td colspan="4" bgcolor="#FFFFFF">สัมมาสติ (สมาธิ)
    .....คือการระลึกประจำใจถูกต้อง ระลึกแต่ในสิ่งที่เกื้อหนุนแก่ปัญญาที่จะแทงตลอด อวิชชาที่ครอบงำตนอยู่ โดยเฉพาะได้แก่กายนี้ และธรรมอันเนื่องเกี่ยวกับกายนี้ เมื่อ พบความจริงของกายนี้ อวิชชาหรือหัวหน้าแห่งมูลทุกข์ก็สิ้นไป

    </td> </tr> <tr> <td width="12">
    </td> <td colspan="4">.สัมมาสมาธิ (สมาธิ)
    .....คือการตั้งใจมั่นถูกต้อง ได้แก่สมาธิ เป็นของจำเป็นในกิจการทุกอย่าง สำหรับในที่นี้เป็น อาการของใจที่รวมกำลังเป็นจุดเดียว กล้าแข็งพอทีจะให้เกิดปัญญา ทำการแทงตลอดอวิชชาได้ และยังเป็นการพักผ่อนของใจ ซึ่งเป็นเหมือนการลับให้ แหลมคมอยู่เสมอด้วยฯลฯ

    </td></tr></tbody></table>
    องค์มรรคบางองค์ เป็นส่วนหยาบและสะสมขึ้นในตัวเราได้โดยง่ายคือ สัมมาวาจาสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สามองค์นี้ถูกอบรมให้สำเร็จ
    เป็นวิรัติเจตสิกจำพวกกุศล
    เจตสิกเป็นเชื้อนอนนิ่งอยู่ในสันดาน เตรียมพร้อมที่จะมาผสมจิตคราวเดียวกันกับมรรคองค์อื่นๆ เมื่อได้โอกาสอันเหมาะ แม้องค์มรรคที่ยากๆ เช่นสัมมาทิฏฐิ-สติ-สมาธิ ก็เหมือนกัน ได้ฝึกอบรมมาเท่าใดก็เข้าไปนอนเนื่องติดอยู่ในสันดานเป็นกุศลเจตสิกอยู่อย่างเดียวกันรอคอยกันจนกว่าจะครบทุกองค์และมีสัดส่วนพอดีกัน ก็ประชุมเป็นอริยมรรคขึ้น ตัดกิเลสหรือสัญโญชน์ให้หมดไปได้คราวหนึ่งตามกำลังหรือชั้นของตนอาการสะสมกำลังแห่งองค์มรรคนี้ตรัสเรียกว่า "การอบรมทำให้มาก"สัมมาทิฏฐิเป็นตัวนำ เกิดขึ้นอ่อนๆก่อน เกิดขึ้นเท่าใดก็จูงองค์อื่นๆให้เกิดขึ้นตามส่วนองค์ที่เกิดขึ้นนั้นกลับช่วยสัมมาทิฏฐิให้คมกล้าขึ้นไปอีก สัมมาทิฏฐินั้นก็่จูงองค์นั้นๆให้กล้าขึ้นอีก และส่งเสริมชักจูงกันไปอีกทำนองนี้จนกว่าจะถึงขีดที่เพียงพอและสามัคคีพร้อมกันได้ครบองค์ การอบรมทำให้มากอยู่เสมอนี้เองคือระยะแห่งการปฏิบัติธรรมยิ่งมากก็ยิ่งเร็ว ยิ่งอธิษฐานใจกล้าก็ยิ่งแรง ยิ่งที่วิเวกก็ยิ่งสุขุมลึกซึ้ง
    ยิ่งชำนาญก็ยิ่งคม
    กล้



    .............................
    ....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 สิงหาคม 2010
  16. arjarhnnop

    arjarhnnop เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    37,321
    ค่าพลัง:
    +76,428
    เสร็จภาระกิจ เรียบร้อย


    ขออ่านก่อนนะครับ..............
     
  17. arjarhnnop

    arjarhnnop เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    37,321
    ค่าพลัง:
    +76,428
    2 วันกว่าๆ แต่มีไม่มากนะครับ


    ขอพักก่อน มีอะไรว่าก็เชิญนะครับ...................
     
  18. ballaman

    ballaman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    5,440
    ค่าพลัง:
    +18,746
    วันอาิทิต อากาศกะัลังนอนสบายยยยย ชอบจิง ๆ
     
  19. Daverko

    Daverko เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,661
    ค่าพลัง:
    +8,902
    ได้รับพระพิฆเนศวร์ที่ส่งคืนมาแล้วค่ะ ขอบคุณมากค่ะ...^^
     
  20. arjarhnnop

    arjarhnnop เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    37,321
    ค่าพลัง:
    +76,428
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...