การอนุโมทนาบุญกับการให้ส่วนบุญอย่างไหนได้บุญมากกว่ากันใครรู้ช่วยตอบที

ในห้อง 'อนุโมนาบุญ - อุทิศบุญส่วนกุศล' ตั้งกระทู้โดย inw999, 30 พฤษภาคม 2010.

  1. inw999

    inw999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    239
    ค่าพลัง:
    +1,167
    การอนุโมทนาบุญกับการให้ส่วนบุญอย่างไหนได้บุญมากกว่ากันใครรู้ช่วยตอบที
     
  2. แอ๊บแบ้ว

    แอ๊บแบ้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,335
    ค่าพลัง:
    +2,544
    ***ตอบตามความเข้าใจส่วนบุคคล...โปรดใช้วิจารณญาณ***
    การอนุ ..โมทนา..มีจากรับ
    สิ่งได้มัก..เหตุผู้อื่น..สร้างบุญให้
    กว่าได้บุญ..ต้องมีเพียร..สร้างไกลไกล้
    โมทนาได้..มีเพียงผล..กุศลบุญ

    บุญนั้นเปรียบ ..คบเพลิงแสง ...จุดสว่าง
    ส่องกระจ่าง ..ความมืดหาย ...ทุกแห่งหน
    เปรียบโมทนา ..คือต่อคบ ...สว่างตน
    ให้ได้ยล ..ความสว่าง ...นั้นเหมือนกัน

    บุญสว่าง..ได้นี้ไว้..เป็นบุญทุน
    สะสมบุญ..ให้ตนได้..โอกาสสร้าง
    เหมือนคนจน..ได้ทุนทรัพย์..จากอื่นอ้าง
    ไว้ใช้จ้าง..ทำกำไร..เกิดแก่ตน

    นั่นก็คือ..เป็นทุนตน..ให้ทำเอง
    บุญบรรเลง..ด้วยเพียรตน..ตามโอกาส
    ได้สร้างบุญ..สะสมบุญ..ยิ่งองอาจ
    ไม่กระดาก..เมื่ออยู่ใน..บุญสมาคม

    บุญเมื่อสร้าง..ยิ่งเพิ่มอิ่ม..ส่งพอเพียง
    ส่งสำเนียง..สุขหนอสุข..จากตนทำ
    เป็นเหตุให้..พบสิ่งดี..ตามบุญกรรม
    ให้ได้ธรรม..พบพระพุทธ..เพราะเหตุบุญ

    ท้ายที่สุด..ให้ได้ถึง..พระนิพพาน
    ก็ด้วยกาล..เคยสร้างบุญ..หวังพ้นทุกข์
    ทั้งหมดนี้..คือกุศล...บุญประยุกต์
    ทั้งชั่วหยุด..ทำความดี..ผ่องใสตน

    ตนพึ่งตน..ได้ยินสอน..มาจนชิน
    มีทรัพย์สิน..ก็ด้วยตน..จึงภูมิใจ
    การกุศล..ปฏิบัติธรรม..บุญใดใด
    โมทนาไป..ผลได้เหมือน..ฤาสู้ทำ
     
  3. จันทโค

    จันทโค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,866
    ค่าพลัง:
    +35,603
    ได้เท่ากันนะครับ เพราะทั้ง ๒ อย่างเป็นบุญกิริยาวัตถุ ๑๐


    6. การให้ผู้อื่นมาร่วมทำบุญกับเรา หรือ ปัตติทานมัย กล่าวคือ ไม่ว่าจะทำบุญอะไร ก็เปิดโอกาสให้คนอื่นได้มาร่วมทำบุญด้วย ไม่ขี้เหนียว หรืองกบุญเพราะอยากได้บุญใหญ่ไว้คนเดียว เช่น จะทำบุญสร้างระฆัง ก็ให้คนอื่นได้ร่วมสร้างด้วย ไม่คิดจะทำเพียงคนเดียว เพราะคิดว่าทำบุญระฆัง จะได้กุศลกลายเป็นคนเด่นคนดัง เลยอยากดังเดี่ยว ไม่อยากให้ใครมาร่วมด้วย เป็นต้น นอกจากนี้ การเปิดโอกาสให้คนอื่นมาร่วมทำงาน ร่วมแสดงความคิดเห็น รวมไปถึงการทำบุญ อุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ก็ถือเป็นการทำบุญในข้อนี้ด้วย ผลบุญดังกล่าว จะช่วยให้เราเป็นคนใจกว้าง และปราศจากอคติต่างๆ เพราะพร้อมเปิดใจรับผู้อื่น

    7. การอนุโมทนาส่วนบุญ หรือ ปัตตานุโมทนามัย คือ การยอมรับหรือยินดีในการทำความดีหรือทำบุญของผู้อื่น เมื่อใครไปทำบุญมาก็รู้สึกชื่นชมยินดีไปด้วย โดยไม่คิดอิจฉาหรือระแวงสงสัยในการทำความดีของผู้อื่น เช่น เพื่อนเดินทางไปสักการะสังเวชนียสถานมา ก็ร่วมอนุโมทนา ที่เขามีโอกาสได้ไปทำบุญ ในดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ไม่อิจฉาเขา แม้เราไม่ได้ไป ก็อย่าไปคิดอกุศลว่า เขาได้ไปเพราะชู้รักออกเงินให้ เป็นต้น การไม่คิดในแง่ร้าย จะทำให้เรามีจิตใจไม่เศร้าหมอง แต่จะแช่มชื่นอยู่เสมอ เพราะได้ยินดีกับกุศลผลบุญต่างๆ อยู่ตลอดเวลา แม้จะมิได้ทำเองโดยตรงก็ตาม
     
  4. จันทโค

    จันทโค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,866
    ค่าพลัง:
    +35,603
    ผลของบุญกิริยาวัตถุ 10


    ๑. ทานมัย การให้สิ่งที่เป็นประโยชน์สุขแก่ผู้รับ
    ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้

    ๑) เป็นที่มาของทรัพย์สมบัติทั้งหลาย
    ๒) เป็นที่ตั้งของโภคทรัพย์ทั้งปวง
    ๓) ผู้ให้ย่อมได้รับความสุข
    ๔) ผู้ให้ย่อมเป็นที่รักของคนหมู่มาก
    ๕) ผู้ให้ย่อมผูกไมตรีผู้อื่นไว้ได้
    ๖) ทำให้เป็นผู้มีเสน่ห์น่านับถือ
    ๗) ทำให้เป็นที่น่าคบหาของคนดี
    ๘) ทำให้เข้ากับสังคมอื่นได้คล่องแคล่ว
    ๙) มีบุคลิกองอาจ สง่าผ่าเผย
    ๑๐) ทำให้มีชื่อเสียงเกียรติคุณดี
    ๑๑) ตายแล้วเกิดในสุคติภูมิ

    ๒. สีลมัย บุญที่สำเร็จได้ด้วยการรักษาศีล
    ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้

    ๑) ทำให้มีความสุขกาย สุขใจ
    ๒) ทำให้เกิดโภคทรัพย์ได้
    ๓) ทำให้สามารถใช้สอยทรัพย์นั้นได้เต็มอิ่ม โดยไม่หวาดระแวง
    ๔) ทำให้ไม่ต้องหวาดระแวงว่าจะมีใครมาทวงทรัพย์คืน
    ๕) ทำให้เกียรติคุณฟุ้งขจรไป ทำให้ผู้อื่นเกิดความเชื่อถือ
    ๖) ทำให้ชีวิตนั้นแกล้วกล้าองอาจท่ามกลางชุมชน
    ๗) ทำให้ไม่เป็นคนหลงลืมสติ
    ๘) ตายแล้วไปเกิดในสุคตภูมิ

    ๓. ภาวนามัย บุญที่สำเร็จได้ด้วยการเจริญสมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนา ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้

    ๑) มีรูปร่างหน้าตาสวยงาม
    ๒) มีผิวพรรณผ่องใส
    ๓) มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง
    ๔) มีความจำดี และกำลังปัญญาว่องไว
    ๕) เป็นคนใจคอเยือกเย็น
    ๖) เป็นที่ชื่นชอบของผู้พบเห็น
    ๗) มีบุคลิกอันน่าศรัทธา
    ๘) เกิดในตระกูลดี
    ๙) มีบุคลิกสง่างาม
    ๑๐) มีมิตรสหายมาก
    ๑๑) เป็นที่เคารพยำเกรงของคนทั่วไป
    ๑๒) เป็นที่ชื่นชอบของบัณฑิต
    ๑๓) สมบูรณ์ด้วยปัจจัย ๔
    ๑๔) ปราศจากอกุศลทั้งปวง
    ๑๕) ปลอดภัยจากศาสตราวุธ
    ๑๖) มีอายุยืน
    ๑๗) ตายแล้วเกิดในสุคติภูมิ

    ๔. อปจายนะ บุญที่สำเร็จได้ด้วยการอ่อนน้อมถ่อมตน ต่อผู้ที่ควรเคารพนบนอบ (คุณวุฒิ วัยวุฒิ ชาติวุฒิ) ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้

    ๑) เกิดในตระกูลสูง
    ๒) มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
    ๓) มีมิตรสหายดี
    ๔) ได้รับคำชมเชยอยู่เสมอ
    ๕) มีความสมบูรณ์ในทรัพย์
    ๖) ได้พบเห็นแต่สิ่งที่ตนปรารถนา

    ๕. เวยยาวัจจะ บุญที่สำเร็จได้ด้วยการช่วยเหลือกิจการงานที่ชอบ
    ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้

    ๑) มีความเป็นอยู่ดี สุขกายสุขใจ
    ๒) มีมิตรสหายมาก
    ๓) มีไหวพริบความจำดี
    ๔) มีตำแหน่งหน้าที่การงานสูง

    ๖. ปัตติทานะ บุญที่สำเร็จได้ด้วยการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้อื่น
    ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้

    ๑) ไม่มีความอดอยาก ยากจน
    ๒) ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน
    ๓) มีบริวารดี
    ๔) เป็นที่รักของผู้พบเห็น
    ๕) มีรูปร่างหน้าตาสวยงาม
    ๖) มีอายุยืน

    ๗. ปัตตานุโมทนา บุญที่สำเร็จได้ด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ
    ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้

    ๑) มีสุขภาพสมบูรณ์
    ๒) มีฐานะดี
    ๓) มากไปด้วยลาภสักการะ
    ๔) พบเห็นแต่สิ่งที่ทำให้เกิดความสบายใจ

    ๘. ธัมมสวนะ บุญที่สำเร็จได้ด้วยการฟังธรรม
    ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้

    ๑) เกิดในตระกูลสูง
    ๒) มีสติปัญญาดี
    ๓) มีมิตรสหายดี
    ๔) มีความเชื่อมั่นในตนเอง

    ๙. ธัมมเทสนา บูญที่สำเร็จได้ด้วยการแสดงธรรม
    ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้

    ๑) ไม่มีกลิ่นปาก
    ๒) มีฟันขาวเรียบ
    ๓) บุตรบริวารมีความเชื่อฟัง
    ๔) มีบุคลิกสง่างาม
    ๕) มีความจำดี
    ๖) เป็นที่ไว้วางใจแก่ผู้พบเห็น

    ๑๐.ทิฏฐุชุกรรม บุญที่สำเร็จได้ด้วยการทำความเห็นให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้

    ๑) มีปัญญาดี
    ๒) ไม่อดอยาก
    ๓) ไม่ยากจน
    ๔) มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง
    ๕) มีบุคลิกสง่างาม
    ๖) พบเห็นแต่สิ่งที่ทำให้เกิดความสบายใจ
    ๗) มีฐานะความเป็นอยู่ดี
    ๘) มีบริวารมาก
    ๙) มีความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่มีชีวิตเนื่องด้วยผู้อื่น
     
  5. พระไตรภพ

    พระไตรภพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,067
    ค่าพลัง:
    +7,521
    สาธุ
    ทั้งสองนั้นมีค่าเสมอกัน ร้วนเป็นไปเพื่อการขูดเกลาจิตใจเราไม่ให้เหลิงหลงไหล หยิ่งทรนง

    สรุป ได้เท่ากัน และสมควรกระทำทั้งสองอย่างนั้นอย่าให้ขาด สาธุ ขออนุโมทนา
     
  6. สุวัณโณ

    สุวัณโณ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +8
    บุญได้เท่ากัน

    ต่างกันแต่ผู้ไห้ ย่อมเป็นที่รักของผู้รับทั้งหลาย..
     
  7. inw999

    inw999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    239
    ค่าพลัง:
    +1,167
    ได้บุญเท่ากันจริงหรอ
     
  8. สุวัณโณ

    สุวัณโณ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +8
    อืม.. ลองทําดูสิ แล้วสังเกตุที่ใจเราเอง ว่ามีความสุขแตกต่างกันอย่างไร

    ส่วนผมเอง เวลาทําทั้งสองแล้ว มีความสุขเท่าๆกันอ่ะนะ

    อนุโมทนาด้วยน๊า สาธุ
     
  9. inw999

    inw999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    239
    ค่าพลัง:
    +1,167
    แล้วคนที่อนุโมทนาบุญของผู้อื่น ที่อนุโมทนาจะได้บุญกี่เปอร์เซ็น


    แล้วผู้ให้ส่วนบุญ ที่ให้ส่วนบุญให้ผู้อื่นมาอนุโมทนาบุญจะได้บุญกี่เปอร์เซ็น


    สงสัยมากเลย

    ใครรู้ช่วยตอบที
     
  10. pucca2101

    pucca2101 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    5,805
    ค่าพลัง:
    +20,896
    คนที่มาอนุโมทนาบุญของผู้อื่นจะได้บุญเท่าไรนั้น ขึ้นอยู่กับความศรัทธาของตัวผู้อนุโมทนาบุญ ค่ะ
     
  11. inw999

    inw999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    239
    ค่าพลัง:
    +1,167
    มีใครที่รู้มากกว่านี้มั้ยช่วยตอบให้กระจ่างที
     

แชร์หน้านี้

Loading...