หลวงปู่เปลื้อง วัดลาดยาว เกจิ 5 แผ่นดิน ละสังขาร

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย TEERAYUTH, 5 พฤษภาคม 2010.

  1. jeshda

    jeshda Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +53
    สาธุ สาธุ ขอกราบมนัสการหลวงปู่... หมดโอกาสไปกราบกายเนื้อ... สาธุ
     
  2. thaiput

    thaiput เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    9,528
    ค่าพลัง:
    +27,656
    กราบอาลัยต่อการจากไปของหลวงปู่เปลื้องครับ หลวงปู่เป็นพระที่มีเมตตาสูงมากครับ..

    thaiput007@hotmail.com
     
  3. thanawin52

    thanawin52 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +199
    กราบ ส่ง หลวงปู่ สู่สวรรค์ครับ
     
  4. ปุญญานุภาพ

    ปุญญานุภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    320
    ค่าพลัง:
    +916
    สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต
    อุกาสะ ทะวารัตเยนะกะตัง
    สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต
    อุกาสะ ขะมามิ ภันเตฯ


    ข้าพเจ้าขอกราบกราน นมัสการพระอริยะเจ้าด้วยความเคารพยิ่ง สุดหัวใจ


     
  5. กระเบื้อง

    กระเบื้อง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,204
    ค่าพลัง:
    +600
    กราบหลวงปู่ครับ

    กราบหลวงปู่ด้วยความเคารพอย่างสูง ด้วยความอาลัยรักครับ
     
  6. มหาโอ๊ต

    มหาโอ๊ต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    753
    ค่าพลัง:
    +1,692
    กราบไว้อาลัย หลวงปู่เปลื้อง วัดลาดยาว
    น้อมส่งดวงจิตหลวงปู่สู่แดนสวรรค์พระนิพพาน
    .....สังฆังนะมามิ....
     
  7. เซาะปากดง

    เซาะปากดง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    81
    ค่าพลัง:
    +62
    กราบหลวงปู่ครับ
     
  8. lekgunner

    lekgunner เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    777
    ค่าพลัง:
    +2,693
    นมัสการกราบหลวงปู่ สู่สวรรค์ครับ
     
  9. SPARTANS

    SPARTANS เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    3,380
    ค่าพลัง:
    +2,987
    กราบนมัสการลาหลวงปู่ครับ
    สุปฏิปันโน ภะคะวะ<WBR>โต สาวะกะสังโฆ สังฆังนะมามิ
     
  10. exman

    exman Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2009
    โพสต์:
    117
    ค่าพลัง:
    +31
    กราบหลวงปู่ครับ
     
  11. krisadapran

    krisadapran เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2009
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +113
    กราบเท้าท่านหลวงปู่ ลูกจะระลึกคุณท่านตลอดไป
     
  12. firstlove98

    firstlove98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2009
    โพสต์:
    71
    ค่าพลัง:
    +143
    ขอหลวงปู่สู่พระนิพพานเทอญ
     
  13. Teetab

    Teetab เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    421
    ค่าพลัง:
    +4,659
    รอยเท้า หลวงปู่เปลื้อง วัดลาดยาว

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. Teetab

    Teetab เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    421
    ค่าพลัง:
    +4,659
    ระลึกถึงหลวงปู่
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. firstlove98

    firstlove98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2009
    โพสต์:
    71
    ค่าพลัง:
    +143
    ระลึกถึงหลวงปู่เช่นกันครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 36.jpg
      36.jpg
      ขนาดไฟล์:
      54.9 KB
      เปิดดู:
      325
    • 39.jpg
      39.jpg
      ขนาดไฟล์:
      53.1 KB
      เปิดดู:
      337
    • 40.jpg
      40.jpg
      ขนาดไฟล์:
      54.3 KB
      เปิดดู:
      326
  16. สุทธิมา

    สุทธิมา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2010
    โพสต์:
    784
    ค่าพลัง:
    +2,119
    อนิจจัง วัฏสังขารา
    สุดท้ายเหลือไว้แต่คุณความดี
    ขอกราบนมัสการหลวงปู่ ด้วยความเคารพยิ่ง
     
  17. ตุดตู่

    ตุดตู่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มกราคม 2008
    โพสต์:
    4,721
    ค่าพลัง:
    +13,007
    หลวงปู่เปลื้อง พระทองคำผู้บริสุทธิ์ ผู้เปี่ยมด้วยบุญฤทธิ์ และอิทธิฤทธิ์

    น้อมกราบหลวงปู่เปลื้อง ผู้อายุยืนยาว ๑๐๘ ปี

    ขอกราบเท้าหลวงปู่เปลื่องครับ
     
  18. คนบรรพต

    คนบรรพต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2007
    โพสต์:
    647
    ค่าพลัง:
    +4,456
    สิบนิ้วพนมก้มกราบหลวงปู่ครับผม
    ขอน้อมส่งหลวงปู่สู่แดนพระนิพพานครับผม

    เมื่อวานมีโอกาสไปวัดไชโยวรวิหาร ได้น้อมถวายสังฆทานแด่หลวงปู่ด้วยครับผม

    กรรมใดที่ข้าพเจ้าได้เคยล่วงเกินหลวงปู่, ด้วยความประมาทพลาดพลั้ง ด้วยกายก็ดี วาจาก็ดี ใจก็ดี ต่อหน้าก็ดี ลับหลังก็ดี รู้เท่าถึงการณ์ก็ดี รู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ขอหลวงปู่ได้โปรดอดโทดให้แก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่บัดนี้ตราบเท้าเข้าสู่พระนิพพานด้วยครับผม

    นิพพานัง ปัจจโยโหตุ


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 พฤษภาคม 2010
  19. Teetab

    Teetab เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    421
    ค่าพลัง:
    +4,659
    น้อมกราบหลวงปู่

    [​IMG]

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 44.jpg
      44.jpg
      ขนาดไฟล์:
      43.3 KB
      เปิดดู:
      415
  20. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,255
    <TABLE id=post3273317 class=tborder border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center><TBODY><TR vAlign=top><TD style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" id=td_post_3273317 class=alt1>เรื่องของสมาธิ สมาบัติ
    คำว่า สมาบัติ แปลว่าถึงพร้อม แปลเหมือนกันกับคำว่า สมบัติ ศัพท์เดิมว่า สัมปัตติ
    แปลว่าถึงพร้อม มาแปลงเป็นบาลีไทย หมายความว่าศัพท์นั้นเป็นศัพท์บาลี แต่เรียกกันเป็นไทย ๆ
    เสีย ก็เลยเพี้ยนไปหน่อย เล่นเอาผู้รับฟังปวดเศียรเวียนเกล้าไปตามๆ กัน
    สมาบัติ แปลว่าเข้าถึงนั้น หมายเอาว่าเข้าถึงอะไร ข้อนี้น่าจะบอกไว้เสียด้วย ขอบอก
    ให้รู้ไว้เลยว่า ถึงจุดของอารมณ์ที่เป็นสมาธิหรือที่เรียกว่า ฌาน นั่นเอง เมื่ออารมณ์ของสมาธิ
    ที่ยังไม่เข้าระดับฌาน ท่านยังไม่เรียกว่า สมาบัติ เช่น
    ขณิกสมาธิ
    ขณิกสมาธิ แปลว่า ตั้งใจมั่นได้เล็กน้อย หรือนิดๆ หน่อยๆ คำว่า สมาธิ แปลว่า
    ตั้งใจมั่น ต้องมั่นได้นิดหน่อย เช่น กำหนดจิตคิดตามคำภาวนา ภาวนาได้ประเดี่ยวประด๋าว
    จิตก็ไปคว้าเอาความรู้สึกนึกคิดอารมณ์ภายนอกคำภาวนามาคิด ทิ้งองค์ภาวนาเสียแล้ว กว่าจะรู้ตัวว่า
    จิตซ่าน ก็คิดตั้งบ้านสร้างเรือนเสียพอใจ อารมณ์ตั้งอยู่ในองค์ภาวนาไม่ได้นานอย่างนี้ ตั้งอยู่ได้
    ประเดี๋ยวประด๋าว อารมณ์จิตก็ยังไม่สว่างแจ่มใส ภาวนาไปตามอาจารย์สั่งขาดๆ เกินๆ อย่างนี้แหละ
    ที่เรียกว่า ขณิกสมาธิ ท่านยังไม่เรียก ฌาน เพราะอารมณ์ยังไม่เป็นฌาน ท่านจึงไม่เรียกว่า
    สมาบัติ เพราะยังไม่เข้าถึงกฎที่ท่านกำหนดไว้
    ฌาน
    ขอแปลคำว่าฌานสักนิด ขอคั่นเวลาสักหน่อย ประเดี๋ยวเลยไปจะยุ่ง จะไม่รู้ว่า ฌาน
    แปลว่าอะไร คำว่า ฌาน นี้ แปลว่า เพ่ง หมายถึงการเพ่งอารมณ์ตามกฎแห่งการเจริญกรรมฐาน
    ถึงอันดับที่ ๑ เรียกว่าปฐมฌาน คือ ฌาน ๑ ถึงอันดับที่ ๒ เรียกว่าทุติยฌาน แปลว่า ฌาน ๒
    ถึงอันดับที่ ๓ เรียกว่า ตติยฌาน แปลว่าฌาน ๓ ถึงอันดับที่ ๔ เรียกว่า จตุตถฌาน แปลว่า ฌาน ๔
    ถึงอันดับที่แปด คือ ได้อรูปฌานถึงฌาน ๔ ครบทั้ง ๔ อย่าง เรียกว่า ฌาน ๘
    ถ้าจะเรียกเป็นสมาบัติก็เรียกเหมือนฌาน ฌาน ๑ ท่านก็เรียกว่า ปฐมสมาบัติ ฌานที่ ๒
    ท่านก็เรียกว่า ทุติยสมาบัติ ฌาน ๓ ท่านก็เรียก ตติยสมาบัติ ฌาน ๔ ท่านก็เรียกจตุตถสมาบัติ
    ฌาน ๘ ท่านเรียก อัฎฐสมาบัติ หรือสมาบัติแปดนั่นเอง
    อุปจารสมาธิ
    อุปจารสมาธินี้เรียกอุปจารฌานก็เรียก เป็นสมาธิที่มีความตั้งมั่นใกล้จะถึงปฐมฌานหรือ
    ปฐมสมาบัตินั่นเอง อุปจารสมาธิคุมอารมณ์สมาธิไว้ได้นานพอสมควร มีอารมณ์ใสสว่างพอใช้ได้
    เป็นพื้นฐานเดิมที่จะฝึกทิพยจักษุญาณได้ อารมณ์ที่อุปจารสมาธิเข้าถึงนั้นมีอาการดังนี้
    ๑. วิตก คือความกำหนดจิตนึกคิดองค์ภาวนาหรือกำหนดรูปกสิณ จิตกำหนดอยู่ได้
    ไม่คลาดเคลื่อน ในเวลานานพอสมควร
    ๒. วิจาร การใคร่ครวญในรูปกสิณนิมิต ที่จิตถือเอาเป็นนิมิตที่กำหนด มีอาการเคลื่อนไหว
    หรือคงที่ มีสีสันวรรณะเป็นอย่างไร เล็กหรือใหญ่ สูงหรือต่ำ จิตกำหนดรู้ไว้ได้ ถ้าเป็นองค์ภาวนา
    ภาวนาครบถ้วนไหม ผิดถูกอย่างไร กำหนดรู้เสมอ ถ้ากำหนดลมหายใจ ก็กำหนดรู้ว่า หายใจเข้า
    ออกยาวหรือสั้น เบาหรือแรง รู้อยู่ตลอดเวลาอย่างนี้ เรียกว่าวิจาร
    ๓. ปีติ ความปลาบปลื้มเอิบอิ่มใจ มีจิตใจชุ่มชื่นเบิกบาน ไม่อิ่มไม่เบื่อในการเจริญภาวนา
    อารมณ์ผ่องใส ปรากฏว่าเมื่อหลับตาภาวนานั้นไม่มืดเหมือนเดิม มีความสว่างปรากฏคล้ายใคร
    นำแสงสว่างมาวางไว้ใกล้ๆ บางคราวก็เห็นภาพและแสงสีปรากฏเป็นครั้งคราว แต่ปรากฏอยู่ไม่นาน
    ก็หายไป อาการของปีติมีห้าอย่างคือ
    ๓.๑ มีการขนลุกขนชัน ท่านเรียกว่าขนพองสยองเกล้า
    ๓.๒ มีน้ำตาไหลจากตาโดยไม่มีอะไรไปทำให้ตาระคายเคือง
    ๓.๓ ร่างกายโยกโคลง คล้ายเรือกระทบคลื่น
    ๓.๔ ร่างกายลอยขึ้นเหนือพื้นที่นั่ง บางรายลอยไปได้ไกลๆ และลอยสูงมาก
    ๓.๕ อาการกายซู่ซ่า คล้ายร่างกายโปร่ง และใหญ่โตสูงขึ้นอย่างผิดปกติ
    อาการทั้งห้าอย่างนี้ แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอาการของปีติ ข้อที่ควรสังเกตก็คือ
    อารมณ์จิตชุ่มชื่นเบิกบานแม้ร่างกายจะสั่นหวั่นไหว บางรายตัวหมุนเหมือนลูกข่างแต่จิตใจก็เป็นสมาธิ
    แนบแน่นไม่หวั่นไหว มีสมาธิตั้งมั่นอยู่เสมอ การกำหนดจิตเข้าสมาธิก็ง่าย คล่อง ทำเมื่อไร เข้าสมาธิได้
    ทันที อาการของสมาธิเป็นอย่างนี้
    ๔. สุข ความสุขชื่นบาน เป็นความสุขที่ละเอียดอ่อน ไม่เคยปรากฏการณ์มาก่อนเลยในชีวิต
    จะนั่งสมาธินานแสนนานก็ไม่รู้สึกปวดเมื่อย อาการปวดเมื่อยจะมีก็ต่อเมื่อคลายสมาธิแล้ว ส่วนจิตใจ
    มีความสุขสำราญตลอดเวลา สมาธิก็ตั้งมั่นมากขึ้น อารมณ์วิตกคือการกำหนดภาวนา ก็ภาวนาได้ตลอด
    เวลา การกำหนดรู้ความภาวนาว่าจะถูกต้องครบถ้วนหรือไม่เป็นต้น ก็เป็นไปด้วยดี มีธรรมปีติชุ่มชื่น
    ผ่องใส ความสุขใจมีตลอดเวลา สมาธิตั้งมั่น ความสว่างทางใจปรากฏขึ้นในขณะหลับตาภาวนา อาการ
    ตามที่กล่าวมาทั้งหมดนี้แหละ ที่เรียกว่า อุปจารสมาธิ หรือเรียกว่า อุปจารฌาน คือเฉียดๆ จะถึง
    ปฐมฌานอยู่แล้ว ห่างปฐมฌานเพียงเส้นยาแดงผ่า ๓๒ เท่านั้นเอง ตอนนี้ท่านยังไม่เรียกฌานโดยตรง
    เพราะอารมณ์ยังไม่ครบองค์ฌาน ท่านจึงยังไม่ยอมเรียกว่าสมาบัติ เพราะยังไม่ถึงฌาน
    ปฐมฌาน หรือ ปฐมสมาบัติ
    ปฐมฌาน หรือปฐมสมาบัตินี้ ท่านกำหนดองค์ของปฐมฌาน หรือปฐมสมาบัติไว้ ๕ อย่าง
    ดังต่อไปนี้
    ๑. วิตก จิตกำหนดนึกคิด โดยกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ว่าหายใจเข้าหรือออก ถ้าใช้คำ
    ภาวนา ก็รู้ว่าเราภาวนาอยู่ คือภาวนาไว้มิให้ขาดสาย ถ้าเพ่งกสิณ ก็กำหนดจับภาพกสิณอยู่ตลอดเวลา
    อย่างนี้เรียกว่าวิตก
    ๒. วิจาร ถ้ากำหนดลมหายใจ ก็ใคร่ครวญกำหนดรู้ไว้เสมอว่า เราหายใจเข้าหรือหายใจออก
    หายใจเข้าออกยาวหรือสั้น หายใจเบาหรือแรง ในวิสุทธิมรรคท่านให้รู้กำหนดลมสามฐานคือ หายใจเข้า
    ลมกระทบจมูก กระทบอก กระทบศูนย์เหนือสะดือนิดหน่อย หายใจออกลมกระทบศูนย์ กระทบอก
    กระทบจมูกหรือริมฝีปาก
    ถ้าภาวนา ก็กำหนดรู้ไว้เสมอว่า เราภาวนาถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ประการใด
    ถ้าเพ่งภาพกสิณ ก็กำหนดหมายภาพกสิณว่า เราเพ่งกสิณอะไร มีสีสันวรรณะเป็นอย่างไร
    ภาพกสิณเคลื่อนหรือคงสภาพ สีของกสิณเปลี่ยนแปลงไปหรือคงเดิม ภาพที่เห็นอยู่นั้นเป็นภาพกสิณ
    ที่เราต้องการ หรือภาพหลอนสอดแทรกเข้ามา ภาพกสิณเล็กหรือใหญ่ สูงหรือต่ำ ดังนี้เป็นต้น อย่างนี้
    เรียกว่า วิจาร
    ๓. ปีติ ความชุ่มชื่นเบิกบานใจ มีเป็นปกติ
    ๔. ความสุขเยือกเย็น เป็นความสุขทางกายอย่างประณีต ซึ่งไม่เคยมีมาในกาลก่อน
    ๕. เอกัคคตารมณ์ มีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือ ตั้งมั่นอยู่ในองค์ทั้ง ๔ ประการนั้นไม่คลาดเคลื่อน
    ข้อที่ควรสังเกตก็คือ ปฐมฌานหรือปฐมสมาบัตินี้ เมื่อขณะทรงสมาธิอยู่นั้นหูยังได้ยินเสียง
    ภายนอกทุกอย่าง แต่ว่าอารมณ์ภาวนาหรือรักษาอารมณ์ไม่คลาดเคลื่อน ไม่รำคาญในเสียง เสียงก็ได้ยิน
    แต่จิตก็ทำงานเป็นปกติ อย่างนี้ท่านเรียกว่า ปฐมฌาน คือ อารมณ์เพ่งอยู่ โดยไม่รำคาญในเสียง
    ทรงความเป็นหนึ่งไว้ได้ ท่านกล่าวว่า กายกับจิตเริ่มแยกตัวกันเล็กน้อยแล้ว ตามปกติจิตย่อมสนใจ
    ในเรื่องของกาย เช่นหูได้ยินเสียง จิตก็คิดอะไรไม่ออกเพราะรำคาญในเสียง แต่พอจิตเข้าระดับ
    ปฐมฌาน กลับเฉยเมยต่อเสียง คิดคำนึงถึงอารมณ์กรรมฐานได้เป็นปกติ ที่ท่านเรียกว่าปฐมสมาบัติ
    ก็เพราะอารมณ์สมาธิเข้าถึงเกณฑ์ของปฐมฌาน ที่จิตกับกายเริ่มแยกทางกันบ้างเล็กน้อยแล้วนั่นเอง
    อารมณ์ปฐมฌาน และปฐมสมาบัติ
    เพื่อให้จำง่ายเข้า จะขอนำอารมณ์ปฐมฌานมากล่าวโดยย่อเพื่อทราบไว้ อารมณ์ปฐมฌาน
    โดยย่อมีดังนี้
    ๑. วิตก ความตรึกนึกคิดถึงอารมณ์ภาวนา
    ๒. วิจาร ความใคร่ครวญทบทวนถึงองค์ภาวนานั้นๆ ครบถ้วนถูกต้องหรือไม่เพียงใด
    ๓. ปีติ ความเอิบอิ่มใจ มีความชุ่มชื่นเบิกบานหรรษา
    ๔. สุข มีความสุขสันต์ทางกายและจิตใจอย่างไม่เคยมีมาในกาลก่อน เป็นความสุขอย่าง
    ประณีต
    ๕. เอกัคคตา มีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือ ทรงวิตก วิจาร ปีติ สุข ไว้ได้โดยไม่มีอารมณ์อื่นเข้ามา
    แทรกแซง
    องค์ปฐมฌาน หรือ ปฐมสมาบัติ ๕ อย่างที่กล่าวมาแล้วนี้ ต้องปรากฏพร้อมๆ กันไป คือนึก
    คิดถึงองค์ภาวนา ใคร่ครวญในองค์ภาวนานั้น ๆ ว่าครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ประการใด มีความชุ่มชื่น
    เบิกบานใจ มีอารมณ์ผ่องใสสว่างไสวในขณะภาวนา มีความสุขสันต์หรรษา มีอารมณ์จับอยู่ในองค์ -
    ภาวนา ไม่สนใจต่ออารมณ์ภายนอก แม้แต่เสียงที่ได้ยินสอดแทรกเข้ามาทำให้ได้ยินชัดเจน แต่จิตใจ
    ก็ไม่หวั่นไหว ไปตามเสียงนั้น จิตใจคงมั่นคงอยู่กับอารมณ์ภาวนาเป็นปกติ
    เสี้ยนหนามของปฐมฌาน
    เสี้ยนหนามหรือศัตรูตัวสำคัญของปฐมฌาน หรือ ปฐมสมาบัตินี้ ก็ได้แก่เสียง เสียงเป็นศัตรู
    ที่คอยทำลายอารมณ์ปฐมฌาน ถ้านักปฏิบัติทรงสมาธิอยู่ได้ โดยไม่ต้องระแวงหวั่นไหวในเสียง คือ
    ไม่รำคาญเสียงที่รบกวนได้ก็แสดงว่าท่านเข้าถึงปฐมฌานแล้ว ข้อที่ไม่ควรลืมก็คือ ฌานโลกีย์นี้
    เป็นฌานระดับต่ำ เป็นฌานที่ปุถุชนคนธรรมดาสามารถจะทำให้ได้ถึงทุกคน เป็นฌานที่เสื่อมโทรมง่าย
    หากจิตใจของท่านไปมั่วสุมกับนิวรณ์ห้าประการอย่างใดอย่างหนึ่งเข้า แม้แต่อย่างเดียว ฌานของท่าน
    ก็จะเสื่อมทันที ต่อว่าเมื่อไร ท่านขับไล่นิวรณ์ไม่ให้เข้ามารบกวนจิตใจได้ ฌานก็เกิดขึ้นแก่จิตใจของ
    ท่านต่อไป ฌานจะเสื่อม หรือ เจริญก็อยู่ที่นิวรณ์ ด้านนิวรณ์ไม่ปรากฏ จิตว่างจากนิวรณ์ จิตก็เข้าถึงฌาน
    ถ้านิวรณ์มารบกวนจิตได้ ฌานก็จะสลายตัวไป ฌานตั้งแต่ฌานที่ ๑ ถึง ฌานที่ ๘ มีสภาพเช่นเดียวกัน
    คือต้องระมัดระวังนิวรณ์ไม่ให้เข้ามายุ่งแทรกแซงเหมือนกัน ก่อนที่จะพูดถึงฌานที่ ๒ จะขอนำเอานิวรณ์
    ศัตรูร้ายผู้คอยทำลายฌานมาให้ท่านรู้จักหน้าตาไว้เสียก่อน

    นิวรณ์ ๕
    อกุศลธรรมที่คอยทำลายล้างความดีที่เป็นกุศล คือ ฌาน ท่านเรียกว่า นิวรณ์ มี ๕ อย่าง คือ
    ๑. กามฉันทะ ความพอใจใน รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส อันเป็นวิสัยของกามารมณ์
    ๒. พยาบาท ความผูกโกรธ จองล้างจองผลาญ
    ๓. ถีนมิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน ในขณะเจริญสมณธรรม
    ๔.อุทธัจจกุกกุจจะ ความคิดฟุ้งซ่าน และความรำคาญหงุดหงิดใจ
    ๕.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในผลของการปฏิบัติ ไม่แน่ใจว่าจะมีผลจริงตามที่คิดไว้หรือไม่
    เพียงใด
    อารมณ์ทั้ง ๕ ประการนี้ เป็นเพื่อนสนิทกับจิตใจมานับจำนวนปีไม่ถ้วน ควรจะพูดว่าจิตใจ
    ของเราคบกับนิวรณ์มานานหลายร้อยหลายพันชาติ เมื่อจิตใจเราสนิทสนมกับอารมณ์ของนิวรณ์
    มานานอย่างนี้ เป็นธรรมดาอยู่เองที่จิตใจจะต้องอดคบหาสมาคมกับนิวรณ์ไม่ได้ เมื่อเรามาแนะนำ
    ให้คบหาสมาคมกับฌาน ซึ่งเป็นเพื่อนหน้าใหม่ มีนิสัยตรงข้ามกับเพื่อนเก่าก็เป็นการฝืนอารมณ์
    อยู่ไม่น้อย ฉะนั้น ในฐานะที่นิวรณ์กับจิตเป็นเพื่อนสนิทกันมานาน ก็อดที่จะแอบไปคบหาสมาคม
    กันไม่ได้ อารมณ์ที่จะคอยหักล้างนิวรณ์ คืออกุศลห้าประการนี้ได้ ก็อารมณ์ ๕ ประการของปฐมฌาน
    นั่นเอง เมื่อจิตกับนิวรณ์เป็นมิตรสนิทกันมานาน ฉะนั้น การดำรงจิตอยู่ในอารมณ์ฌานจึงทรงอยู่ได้
    ไม่นาน ทรงอยู่ได้ชั่วครู่ชั่วขณะ จิตก็เลื่อนเคลื่อนออกจากอารมณ์ฌานคลานเข้าไปหานิวรณ์ อาการ
    อย่างนี้เป็นกฎธรรมดาของท่านที่เข้าถึงฌานในระยะต้น หรือที่มีความช่ำชองชำนาญในฌานยังน้อยอยู่
    ต่อเมื่อไรได้ฝึกการดำรงฌาน กำหนดเวลาตามความต้องการได้แล้ว เมื่อนั้นแหละความเข้มข้น
    เข้มแข็งของกำลังจิตที่จะทรงฌานอยู่ได้นานตามความต้องการจึงจะปรากฏมีขึ้น ขอนักปฏิบัติจงเข้าใจ
    ไว้ด้วยว่าจิตที่เข้าสู่ระดับฌาน คือ ปฐมฌาน หรือฌานอื่นใดก็ตาม ถ้ายังไม่ฝึกฝนจนชำนาญ เข้าฌาน
    ออกฌานตามกำหนดเวลาได้แล้ว จิตก็จะยังทรงสมาธิไว้ได้ไม่นาน จิตจะค่อยถอยหลังเข้าหานิวรณ์ ๕
    ประการอย่างใดอย่างหนึ่งเมื่ออารมณ์ฌานย่อหย่อน เมื่อมีอาการอย่างนั้นบังเกิดขึ้นก็จงอย่าท้อใจ
    หมั่นฝึกฝนเข้าฌานโดยการกำหนดเวลาว่า ต่อแต่นี้ไปเราจะดำรงอยู่ในฌาน ตั้งแต่เวลานี้ถึงเวลา
    เท่านั้น แล้วเริ่มทำสมาธิเข้าสู่ระดับฌาน ทรงฌานไว้ตามเวลา จนกว่าเมื่อถึงเวลาแล้วจิตจะเคลื่อน
    จากฌาน มีความรู้สึกตามปกติเอง เมื่อทำได้แล้วหัดทำบ่อย ๆ จากเวลาน้อย ไปหาเวลามาก คือ
    ๑ ชั่วโมง ไปหา ๒-๓-๔-๕-๖ จนถึง ๑ วัน ๒-๓-๔-๕-๖-๗ พอครบกำหนด จิตก็จะคลายตัวออกเอง
    โดยไม่ต้องตั้งนาฬิกาปลุกหรือคนเรียก เมื่อชำนาญอย่างนี้ ชื่อว่าท่านเอาชนะนิวรณ์ได้ แต่ก็อย่าประมาท
    เพราะฌานโลกีย์ ถึงอย่างไรก็ดี ยังไม่พ้นอำนาจนิวรณ์อยู่นั่นเอง นิวรณ์ที่ไม่มารบกวนนั้น
    ไม่ใช่นิวรณ์สูญไปหรือสลายตัวเพียงแต่เพลียไปเท่านั้นเอง ต่อเมื่อไรท่านได้โลกุตตรฌาน คือ บรรลุ
    พระอริยะตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปนั่นแหละท่านพอจะไว้ใจตัวได้ว่า ท่านไม่มีวันที่จะต้องตกมาอยู่
    ใต้อำนาจนิวรณ์ คืออกุศลธรรมต่อไปอีก เพราะโลกุตตรฌานคือได้ฌานโลกีย์แล้วเจริญวิปัสสนาญาณ
    จนบรรลุอริยมรรคอริยผล เป็นพระอริยบุคคลแล้ว อกุศลคือนิวรณ์ ๕ ประการเข้าครองจิตไม่ได้สนิทนัก
    สำหรับพระอริยะต้น พอจะกวนบ้างเล็กๆ น้อยๆ แต่ก็จักจูงใจให้ทำตามนิวรณ์สั่งไม่ได้ นิวรณ์บางอย่าง
    เช่น กามฉันทะ ความพอใจในความสวยงามของ รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส ความโกรธ ความขัด -
    เคือง พระโสดาบัน พระสกิทาคามียังมี แต่ก็มีเพียงคิดนึกไม่ถึงกับลงมือทำ เรียกว่าอกุศลกวนใจนิด -
    หน่อย พอทำได้ แต่จะบังคับให้ทำไม่ได้ สำหรับพระอนาคามี ยังตกอยู่ใต้อำนาจของอุทธัจจะ คือความคิด
    ฟุ้งซ่าน แต่ก็คิดไปในส่วนที่เป็นกุศลใหญ่มากกว่า ความคิดฟุ้งเลอะเลือนเล็กๆ น้อย ๆ พอมีบ้าง
    แต่ไม่มีอะไรเป็นภัย เพราะพระอนาคามีหมดความโกรธ ความพยาบาทเสียแล้ว
    อำนาจของนิวรณ์มีอย่างนี้ บอกให้รู้ไว้ จะได้คอยยับยั้งชั่งใจคอยระมัดระวังไว้ไม่ปล่อยให้ใจ
    ระเริงหลงไปกับนิวรณ์ ที่ชวนให้จิตมีความรู้สึกนึกคิดไปในส่วนที่เป็นอกุศลยับยั้งตนไว้ในอารมณ์ของ
    ฌานเป็นปกติ ท่านที่มีอารมณ์จิตเข้าถึงอารมณ์ฌานและเข้าฌานไว้เป็นปกติ ท่านผู้นั้นมีหน้าตาแช่มชื่น
    เอิบอิ่มอยู่เสมอ มีอารมณ์เบิกบานไม่หดหู่ เห็นน่ารักอยู่ตลอดเวลา ฌานแม้แต่เพียงปฐมฌานจัดว่า
    เป็นฌานเบื้องต้น ก็มีผลไม่น้อยถ้าทรงไว้ได้ไม่ปล่อยให้เสื่อม ตายไปในขณะที่ทรงฌาน ก็สามารถ
    ไปเกิดในพรหมโลกได้สามชั้น คือ ปฐมฌานหยาบ เกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๑ ปฐมฌานกลาง เกิดเป็น
    พรหมชั้นที่ ๒ ปฐมฌานละเอียด เกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๓ ถ้าท่านเอาสมาธิในปฐมฌานมาเป็นกำลังของ
    วิปัสสนาญาณแล้วอำนาจสมาธิของปฐมฌานก็สามารถเป็นกำลังให้วิปัสสนาญาณกำจัดกิเลสเป็น
    สมุจเฉทปหาน คือตัดกิเลสได้เด็ดขาด จนบรรลุอรหัตตผลได้สมความปรารถนา อำนาจฌานแม้แต่
    ฌานที่ ๑ มีอานุภาพมากอย่างนี้ ขอท่านนักปฏิบัติจงอย่าท้อใจ ระมัดระวังใจ อย่าหลงใหลในนิวรณ์
    จนเสียผลฌาน

    ทุติยฌานหรือทุติยสมาบัติ
    ทุติยฌาน แปลว่าฌานที่ ๒ ทุติยสมาบัติ แปลว่าสมาบัติที่ ๒ ฌานและสมาบัติ ได้อธิบาย
    มาแล้วแต่ฌานต้นคือ ปฐมฌาน จะไม่อธิบายอีก ปฐมฌานมีอารมณ์ ๕ ตามที่กล่าวมาแล้วใน
    ฌานที่ ๑ สำหรับทุติยฌานนี้ มีอารมณ์ ๓
    อารมณ์ ๓ ของทุติยฌานมีดังต่อไปนี้
    อารมณ์ทุติยฌานมี ๓
    ๑. ปีติ ความเอิบอิ่มใจ
    ๒. สุข ความสุขอย่างประณีต
    ๓. เอกัคคตา มีอารมณ์เป็นหนึ่ง
    อารมณ์ทุติยฌานนี้ ก็ตัดเอามาจากอารมณ์ปฐมฌานนั่นเอง ท่านที่ทรงสมาธิเข้าถึง
    ทุติยฌานนี้ ท่านตัดวิตก วิจารอันเป็นอารมณ์ของปฐมฌานเสียได้ คงเหลือแต่ ปีติ สุข เอกัคคตา
    อาการตัดวิตก วิจารนั้นมีความรู้สึกอย่างไรในเวลาปฏิบัติจริง ข้อนี้นักปฏิบัติสนใจกันมากเป็นพิเศษ
    เพราะเพียงอ่านรู้แล้วยังหาความเข้าใจจริงไม่ได้ การตัดก็มิใช่จะตัดออกไปเฉยๆ ได้ตามอารมณ์
    วิตกแปลว่าตรึก นึกคิด วิจาร แปลว่า ไตร่ตรอง ใคร่ครวญ ท่านลองพิจารณาดูเถิดว่า วิตกวิจารนี้
    เป็นอารมณ์ที่ตัดไม่ได้ง่ายเลย ใคร ๆ ที่ไหนจะมาห้ามความรู้สึกนึกคิดกันง่าย ๆ ได้ เคยฟังท่านสอน
    เวลาเรียน ท่านสอนว่าให้ตัดวิตกวิจารออกเสียได้แล้ว ทรงอยู่ในปีติ สุข เอกัคคตา เท่านี้ก็ได้ทุติยฌาน
    ท่านพูดของท่านถูก ฟังก็ไม่ยาก แต่ตอนทำเข้าจริง ๆ พอมาเจอตัวตัดวิตก วิจารเข้าจริง ๆ กลับไม่
    เข้าใจ จะพูดให้ฟังถึงการตัดวิตกวิจาร
    ตัดวิตกวิจารตามผลปฏิบัติ
    ตามผลปฏิบัตินั้น วิตกวิจารที่ถูกตัด มิได้ตัดด้วยการยกเว้น คืองดการนึกคิดเอาเอง เฉย ๆ
    ท่านตัดด้วยการปฏิบัติเข้าถึงระดับ คือ ในระยะแรกก็เจริญภาวนาคาถา ภาวนาตามท่านอาจารย์สอน
    จะภาวนาว่าอย่างไรก็ได้ ท่านไม่ได้จำกัดไว้ คาถาภาวนาเป็นสายเชือกโยงใจเท่านั้น ให้ใจมีหลักเกาะไว้
    ไม่ให้สอดส่ายไปในอารมณ์นอกจากคำภาวนา อย่างนี้ท่านเรียกว่า "บริกรรมภาวนา" ขณะที่ภาวนาอยู่
    จิตคิดถึงคำภาวนานั้น ท่านเรียกว่า " วิตก" จิตที่คอยประคับประคองคำภาวนา คิดตามว่า เราภาวนา
    ถูกตามอาจารย์สอนหรือไม่ ครบถ้วนหรือไม่ อย่างนี้ท่านเรียกว่า " วิจาร " การตัดวิตกวิจาร ก็ภาวนา
    ไปอย่างนั้น จนเกิดปีติ สุขและเอกัคคตา คือมีอารมณ์คงที่ จิตไม่สนใจกับอารมณ์ภายนอก รักษาอารมณ์
    ภาวนา และอาการเอิบอิ่ม สุขสันต์อยู่ตลอดเวลา ลมหายใจชักจะอ่อนลงทุกที รู้สึกว่าหายใจเบา อารมณ์-
    จิตโปร่งแจ่มใส หลับตาแล้ว แต่คล้ายกับมีใครเอาประทีปมาวางไว้ใกล้ ๆ ในระยะนี้เอง จิตจะหยุดภาวนา
    เอาเฉยๆ มีอารมณ์นิ่งดิ่งสบายกว่าขณะที่ภาวนามาก รู้สึกว่าลมหายใจอ่อนระรวยลง หูได้ยินเสียงภาย-
    นอกแต่เบาลงกว่าเดิม จิตไม่สนใจกับอะไร มีอารมณ์เงียบสงัดดิ่งอยู่ บางรายพอรู้สึกตัวว่าหยุดภาวนา
    ก็ตกใจ รีบคิดถึงคำภาวนา บางรายก็คว้าต้นชนปลายไม่ถูก คำภาวนาภาวนามาจนคล่อง กลับคิดไม่ออก
    ว่าอะไรเป็นต้นเป็นปลาย กึกกักอึกอักอยู่ครู่หนึ่ง จึงจับต้นชนปลายถูก อาการที่จิตสงัดปล่อยคำภาวนา
    มีอารมณ์เฉยไม่ภาวนานั่นแหละ เป็นการละวิตกวิจาร ละด้วยอารมณ์เข้าถึงสมาธิอันดับฌาน ๒
    ไม่ใช่อยู่ ๆ ก็จะมาหยุดภาวนาไปนั้น ตอนนั้นจิตตกอารมณ์ทุติยฌาน เข้าสู่อารมณ์ปฐมฌานตามเดิม
    บางรายก็เข้าสู่ภวังค์คืออารมณ์ปกติธรรมดาเอาเลย
    พูดมาอย่างนี้ คิดว่าท่านผู้อ่านคงจะเข้าใจแล้วว่า การละหรือตัดวิตกวิจารนั้น ก็การที่ภาวนาไป
    จนมีอารมณ์สงัด จิตปล่อยคำภาวนานั่นเอง เมื่อจิตปล่อยคำภาวนาแล้ว ก็เหลือแต่ความชุ่มชื่นหรรษา
    มีความสุขสันต์ทางกายอย่างประณีต มีอารมณ์ใจดิ่งอยู่อย่างไม่สนใจกับอารมณ์ใด หูเกือบจะไม่ได้ยิน
    เสียงอะไร เป็นอารมณ์จิตที่มีความสุขสบายยอดเยี่ยมกว่าฌานที่ ๑ มาก เพราะฌานที่ ๑ ยังต้องมีกังวล
    อยู่กับการภาวนาและต้องระมัดระวังบทภาวนาให้ถูกต้องครบถ้วน จัดว่ามีกังวลมาก สำหรับทุติยฌานนี้
    ตัดคำภาวนาออกเสียได้ด้วยการเข้าถึงอารมณ์ที่ละเอียดกว่า มีแต่ความชุ่มชื่นหรรษาด้วยอำนาจปีติ
    มีความสุขละเอียดอ่อนประณีต เพราะสู่ความสุขอันประณีตด้วยอำนาจสมาธิที่ตั้งมั่นกว่าปฐมฌาน
    จิตเป็นหนึ่ง คือมีอารมณ์สงัดจากอารมณ์ภายนอก แม้แต่คำภาวนาก็ไม่แยแส นี่แหละที่ท่านเรียกว่า
    ได้ทุติยฌาน หรือทุติยสมาบัติ เมื่อได้แล้วต้องฝึกฝนให้คล่องว่องไว คิดจะเข้าทุติยฌานเมื่อไร ก็เข้าได้
    ทันท่วงที หรือจะทรงทุติยฌานอยู่นานเท่าใด ก็กำหนดเวลาได้ตามความประสงค์ อย่างนี้จึงจะชื่อว่า
    ได้ทุติยฌานแน่นอน แต่ทว่าเมื่อได้แล้วก็อย่าประมาท ถ้าพลั้งพลาดปล่อยให้อกุศลมารบกวนใจ หรือ
    จิตใจไปใคร่ในอกุศลเข้าเมื่อไร ทุติยฌานก็ทุติยฌานนั่นแหละ เป็นเสื่อมทรามลงทันที ฉะนั้นท่านจึงว่า
    ฌานโลกีย์นี้ระมัดระวังยาก ต้องคอยประคับประคองประคบประหงมยิ่งกว่าเด็กอ่อนนอนเบาะเสียอีก
    เสี้ยนหนามของทุติยฌาน
    เสี้ยนหนามของปฐมฌานได้แก่เสียง เสียงเป็นศัตรูคอยทำลายปฐมฌาน เมื่อใดถ้าจิต
    ยุ่งกับเสียง คือทนรำคาญไม่ไหว ก็หมายความว่า ปฐมฌานเสื่อมเสียแล้ว สำหรับทุติฌานนี้ มีวิตก
    วิจารเป็นเสี้ยนหนามศัตรู เมื่อขณะที่จิตทรงสมาธิอยู่ในระดับทุติยฌาน จิตคอยจะเคลื่อนเลื่อน
    ลงมาหาอารมณ์ปฐมฌาน คือคอยจะยึดเอาคาถาภาวนาเป็นอารมณ์ เพราะคาถาภาวนาเป็นวิตกวิจาร
    จึงจำต้องคอยระมัดระวังไว้ อย่าปล่อยสติสัมปชัญญะให้คลาดเคลื่อน คุมอารมณ์ทุติยฌานอย่าให้
    เลือนไปได้ ฝึกหัดตั้งกำหนดเวลาทรงฌานเข้าไว้ แล้วทำให้ชินตามกำหนดเวลา
    อานิสงส์ทุติยฌาน
    ฌานทั้งหมด เป็นอารมณ์สมาธิที่ทำจิตใจให้พร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ เวลาจะทำการงาน
    ก็มีความทรงจำดี จิตใจไม่เลอะเลือนฟุ้งซ่าน เป็นอารมณ์รักษาโรคประสาทได้ดีที่สุด นอกจากนี้
    เวลาจะตายก็มีสติสัมปชัญญะดีไม่หลงตาย ถ้าตายในระหว่างฌานท่านว่าทุติยฌานที่เป็นโลกียฌาน
    ให้ผลดังนี้
    ก. ทุติยฌานหยาบ ให้ผลไปเกิดในพรหมโลกชั้นที่ ๔
    ข. ทุติยฌานกลาง ให้ผลไปเกิดในพรหมโลกชั้นที่ ๕
    ค. ทุติยฌานละเอียด ให้ผลไปเกิดในพรหมโลกชั้นที่ ๖
    ถ้าเอาอารมณ์ทุติยฌานไปเป็นกำลังของวิปัสสนาญาณแล้ว สมาธิระดับทุติยฌานจะมีกำลัง
    ช่วยให้วิปัสสนาญาณกำจัดกิเลสได้ดีและรวดเร็วกว่ากำลังของปฐมฌานมาก ท่านอาจมีหวังถึงที่สุด
    ของพรหมจรรย์ในชาติปัจจุบันก็ได้ ถ้าท่านมีความเพียรดี ปฏิบัติตรงต่อพระพุทธพจน์ของ
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และปฏิบัติพอดีพอควร ไม่ยิ่งหย่อนนัก เรียกว่าปฏิบัติพอเหมาะพอดี การปฏิบัติ
    พอเหมาะพอดีนี้ปฏิบัติอย่างไร ท่านก็ศึกษาจากตัวของท่านเองนั่นแหละตรงต่อความเป็นจริง

    ตติยฌานหรือตติยสมาบัติ
    ปฐม แปลว่าที่ ๑ ทุติยะ แปลว่าที่ ๒ ตติยะ แปลว่าที่ ๓ ตติยฌานจึงแปลว่า ฌานที่ ๓
    ตติยสมาบัติ แปลว่า การเข้าถึงอารมณ์ฌานที่ ๓ ฌานที่ ๓ นี้ มีอารมณ์ ๒ คือ
    ๑. สุข ได้แก่ความสุขที่ปราศจากปีติ คือความสุขทางจิตโดยเฉพาะ ไม่มีความสุข
    ที่เนื่องด้วยกาย
    ๒. เอกัคคตา มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ที่ไม่มีอารมณ์ห่วงใยในกาย เป็นอาการที่สงัดจากกาย
    ฌานนี้ท่านว่าเป็นฌานที่กายกับจิตแยกกันเด็ดขาด
    อาการของฌานที่ ๓ นี้ เป็นอาการที่จิตตัดปีติ ความเอิบอิ่มใจในฌานที่ ๒ ออกเสียได้
    เมื่ออารมณ์จิตเข้าถึงฌานที่ ๓ นี้ จะรู้สึกว่า อาการขนพองสยองเกล้าก็ดี น้ำตาไหลก็ดี กายโยกโคลง
    ก็ดี อาการซู่ซ่าทางกาย คล้ายกายเบา กายใหญ่ กายสูงจะไม่ปรากฏเลย มีอาการทางกายเครียด
    คล้ายกับใครมาจับมัดไว้จนแน่น หรือคล้ายหลักที่ปักจนแน่นไม่มีการโยกโคลงได้ฉันนั้น จงจำไว้ว่า
    ตั้งแต่ฌานที่ ๒ เป็นต้นมา ไม่มีการภาวนาเลย ถ้ายังภาวนาอยู่ และหูได้ยินเสียงชัด แต่ไม่รำคาญ
    ในเสียง เป็นฌานที่ ๑ ตั้งแต่ฌานที่ ๒ มาไม่มีการภาวนา และเรื่องเสียงเกือบไม่มีความหมาย คือ
    ไม่มีความสนใจในเสียงเลย เสียงมีอยู่ก็เหมือนไม่มี เพราะจิตไม่รับเสียง ลมหายใจจะค่อยๆ น้อย
    อ่อนระรวยลงทุกขณะ ในฌานที่ ๓ นี้ลมหายใจยังปรากฏ แต่ก็รู้สึกเบาเต็มที่มีอาการคล้าย
    จะไม่หายใจ แต่ก็พอรู้สึกน้อยๆ ว่าหายใจ จิตสงัดไม่มีการหวั่นไหว ไม่มืด มีความโพลงอยู่
    มีอารมณ์แน่นในสมาธิมากจนรู้ตัวว่าอารมณ์แนบแน่นกว่าสองฌานที่ผ่านมา อย่างนี้ท่านเรียกว่า
    เข้าถึงฌานที่ ๓ ต้องฝึกเข้าฌานออกฌานให้แคล่วคล่องว่องไวตามที่กล่าวมาแล้ว

    เสี้ยนหนามของฌานที่ ๓
    ปีติ เป็นเสี้ยนหนามของ ฌานที่ ๓ เพราะฌานที่ ๓ ตัดปีติเสียได้ แต่ถ้าอารมณ์
    ตกลงไปปีติจะปรากฏขึ้น ถ้าปีติปรากฏขึ้นเมื่อไร พึงทราบเถิดว่า ขณะนี้อารมณ์จิตเคลื่อน
    จากฌานที่ ๓ มาอยู่ระดับฌาน ๒ แล้วถ้าปรากฏว่ามีการภาวนาด้วย แต่จิตยังไม่รำคาญในเสียง
    ก็ยิ่งร้ายใหญ่ เพราะอารมณ์สมาธิไหลออกจนเหลือเพียงฌาน ๑ ท่านให้ระมัดระวังด้วยการทรง
    สติสัมปชัญญะ อย่าให้อารมณ์สมาธิรั่วไหลเป็นอันขาด เพราะจะเป็นอันตรายแก่ฌาน ๓
    อานิสงส์ฌานที่ ๓
    ฌานที่ ๓ นี้ ถ้าทรงไว้ได้จนตาย ในขณะตาย ตายในระหว่างฌานที่ ๓ ท่านว่าจะไม่
    หลงตาย เมื่อมีชีวิตอยู่ ก็จะเป็นคนมีอารมณ์แช่มชื่นเบิกบานตลอดเวลา หน้าตาสดชื่นผ่องใส
    เมื่อตายแล้ว ฌาน ๓ ย่อมส่งผลให้เกิดเป็นพรหม คือ
    ๑. ฌานที่ ๓ หยาบ ให้ผลไปเกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๗
    ๒. ฌานที่ ๓ กลาง ให้ผลไปเกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๘
    ๓. ฌานที่ ๓ ละเอียด ให้ผลไปเกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๙
    ฌาน ๓ ที่เป็นโลกียฌานให้ผลอย่างนี้ ถ้าเอาฌาน ๓ ไปเป็นกำลังของวิปัสสนาญาณ
    วิปัสสนาจะมีกำลังกล้า ตัดกิเลสให้เด็ดขาดได้โดยรวดเร็ว อาจได้บรรลุมรรคผลเบื้องสูงในชาตินี้
    โดยไม่ชักช้านัก ผลของท่านที่ทรงฌาน ๓ ไว้ได้มีผลดังกล่าวมาแล้วนี้
    จตุตถฌาน หรือ จตุตถสมาบัติ
    จตุตถะ แปลว่าที่ ๔ จตุตถฌานจึงแปลว่าฌานที่ ๔ ฌานที่ ๔ นี้มีอารมณ์ ๒ เหมือน
    ฌาน ๓ แต่ผิดกันที่ฌาน ๓ มีสุขกับเอกัคคตา สำหรับฌานที่ ๔ นี้ ตัดความสุขออกเสียเหลือแต่
    เอกัคคตา และเติมอุเบกขาเข้ามาแทน ฉะนั้น อารมณ์ของฌาน ๔ จึงมีอารมณ์ผิดแผกจาก
    ฌาน ๓ ตรงที่ตัดความสุขออกไป และเพิ่มการวางเฉยเข้ามาแทนที่
    อาการของฌาน ๔ เมื่อปฏิบัติถึง
    ฌาน ๔ เมื่อนักปฏิบัติ ปฏิบัติถึงมีอาการดังนี้
    ๑. จะไม่ปรากฏลมหายใจเหมือนสภาพฌานอื่นๆ เพราะลมละเอียดจนไม่ปรากฏว่ามี
    ลมหายใจ ในวิสุทธิมรรคท่านว่าลมหายใจไม่มีเลย แต่บางอาจารย์ท่านว่า ลมหายใจนั้นมี
    แต่ลมหายใจละเอียดจนไม่มีความรู้สึกว่าหายใจ ตามนัยวิสุทธิมรรคท่านกล่าวถึงคนที่ไม่มี
    ลมหายใจไว้ ๔ จำพวกด้วยกัน คือ ๑. คนตาย ๒. คนดำน้ำ ๓. เด็กในครรภ์มารดา
    ๔.ท่านที่เข้าฌาน ๔ รวมความว่า ข้อสังเกตที่สังเกตได้ชัดเจนในฌาน ๔ ที่เข้าถึงก็คือ
    ไม่ปรากฏว่ามีลมหายใจการที่ฌาน ๔ เมื่อเข้าถึงแล้ว และขณะที่ทรงอยู่ในระดับของฌาน ๔
    ไม่ปรากฏว่ามีลมหายใจนี้เป็นความจริง มีนักปฏิบัติหลายท่านที่พบเข้าแบบนี้ถึงกับร้องเอะอะโวยวาย
    บอกว่าไม่เอาแล้ว เพราะเกรงว่าจะตายเพราะไม่มีลมหายใจ บางรายที่อารมณ์สติสมบูรณ์หน่อย
    ก็ถึงกับค้นคว้าควานหาลมหายใจ เมื่ออารมณ์จิตตกลงระดับต่ำกว่าฌานที่ ๔ ในที่สุดก็พบลมหายใจ
    ที่ปรากฏอยู่กับปลายจมูกนั่นเอง
    ๒. อารมณ์จิตเมื่อเข้าสู่ระดับฌาน ๔ จะมีอารมณ์สงัดเงียบจากอารมณ์ภายนอกจริง ๆ
    ดับเสียง คือ ไม่ได้ยินเสียง ดับสุข ดับทุกข์ทางกายเสียจนหมดสิ้น มีอารมณ์โพลงสว่างไสวเกินกว่า
    ฌานอื่นใด มีอารมณ์สงัดเงียบ ไม่เกี่ยวข้องด้วยร่างกายเลย กายจะสุข จะทุกข์ มดจะกิน ริ้นจะกัด
    อันตรายใดๆ จะเกิด จิตในระหว่างตั้งอยู่สมาธิที่มีกำลังระดับฌาน ๔ จะไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้น เพราะฌานนี้
    กายกับจิตแยกกันเด็ดขาดจริงๆ ไม่สนใจข้องแวะกันเลย ดังจะเห็นในเรื่องของลมหายใจ ความจริง
    ร่างกายนี้จำเป็นมากในเรื่องหายใจ เพราะลมหายใจเป็นพลังสำคัญของร่างกาย พลังอื่นใดหมดไป
    แต่อัสสาสะ ปัสสาสะ คือลมหายใจยังปรากฏ ที่เรียกกันตามภาษาธรรมว่า ผัสสาหารยังมีอยู่ ร่างกายก็ยัง
    ไม่สลายตัว ถ้าลมหายใจที่เรียกว่าผัสสาหารหยุดเมื่อไร เมื่อนั้นก็ถึงอวสานของการทรงอยู่ของร่างกาย
    ฉะนั้น ผลการปฏิบัติที่เข้าถึงระดับฌาน ๔ จึงจัดว่าลมหายใจยังคงมีตามปกติ ที่ไม่รู้ว่าหายใจก็เพราะ
    ว่าจิตแยกออกจากกายอย่างเด็ดขาดโดยไม่รับรู้อาการของร่างกายเลย
    อาการที่จิตแยกจากร่างกาย
    เพื่อให้เข้าใจชัดว่า จิตแยกออกจากร่างกายได้จริงเพียงใด เมื่อท่านเจริญสมาธิถึงฌาน ๔
    จนคล่องแคล่วชำนิชำนาญดีแล้ว ให้ท่านเข้าสู่ฌาน ๔ แล้วถอยจิตออกมาหยุดอยู่เพียงอุปจารฌาน
    แล้วอธิษฐานว่า ขอร่างกายนี้จงเป็นโพรงและกายอีกกายหนึ่งจงปรากฏ แล้วเข้าฌาน ๔ ใหม่ ออกจาก
    ฌาน ๔ มาหยุดอยู่เพียงอุปจารฌาน ท่านจะเห็นกายเป็นโพรงใหญ่ มีกายของเราเองปรากฏขึ้นภายใน
    กายเดิมอีกกายหนึ่ง ที่ท่านเรียกในมหาสติปัฏฐานว่ากายในกาย จะบังคับให้กายในกายท่องเที่ยวไป
    ในร่างกายทุกส่วน แม้แต่เส้นประสาทเล็กๆ กายในกายก็จะไปได้สะดวกสบายเหมือนเดินในถ้ำใหญ่ ๆ
    ต่อไปจะบังคับกายใหม่นี้ออกไปสู่ภพใด ๆ ก็ไปได้ตามประสงค์ ที่ท่านเรียกว่า "มโนมยิทธิ แปลว่า
    มีฤทธิ์ทางใจนั่นเอง" พลังของฌาน ๔ มีพลังมากอย่างนี้ ท่านที่ได้ฌาน ๔ แล้วท่านจะฝึกวิชชาสาม
    อภิญญาหก หรือปฏิสัมภิทาญาณ ก็ทำได้ทั้งนั้น เพราะวิชชาการที่จะฝึกต่อไปนั้น ก็ใช้พลังจิตระดับ
    ฌาน ๔ นั่นเอง จะแตกต่างกันอยู่บ้างก็เพียงอาการในการเคลื่อนไปเท่านั้น ส่วนอารมณ์ที่จะใช้
    ก็เพียงฌาน ๔ ซึ่งเป็นของที่มีอยู่แล้วเปรียบเสมือนนักเพาะกำลังกาย ถ้ามีกำลังกายสมบูรณ์แล้ว
    จะทำอะไรก็ทำได้ เพราะกำลังพอ จะมีสะดุดบ้างก็ตรงเปลี่ยนแนวปฏิบัติใหม่ จะยุ่งใจบ้างในระยะต้น
    พอเข้าใจเสียแล้วก็ทำได้คล่อง เพราะกำลังพอ ท่านที่ได้ฌาน ๔ แล้วก็เช่นเดียวกัน เพราะงานส่วน
    อภิญญาหรือวิชชาสาม ก็ใช้พลังจิตเพียงฌาน ๔ เท่านั้น ท่านที่ได้ฌาน ๔ จึงเป็นผู้มีโอกาสจะทำ
    ได้โดยตรง
    เสี้ยนหนามของฌาน ๔
    เสี้ยนหนาม หรือศัตรูตัวสำคัญของฌาน ๔ ก็คือ "ลมหายใจ" เพราะถ้าปรากฏว่ามีลมหายใจ
    ปรากฏเมื่อเข้าฌาน ๔ ก็จงทราบเถิดว่า จิตของท่านมีสมาธิต่ำกว่าฌาน ๔ แล้ว จงอย่าสนใจกับ
    ลมหายใจเลยเป็นอันขาด
    อานิสงส์ของฌาน ๔
    ๑. ท่านที่ทรงฌาน ๔ ไว้ได้ ในขณะที่มีชีวิตอยู่ จะมีอารมณ์แช่มชื่นตลอดวันเวลา จะแก้ปัญหา
    ของตนเองได้อย่างอัศจรรย์
    ๒. ท่านที่ได้ฌาน ๔ สามารถจะทรงวิชชาสาม อภิญญาหก ปฏิสัมภิทาญาณได้ถ้าท่านต้องการ
    ๓. ท่านที่ได้ฌาน ๔ สามารถจะเอาฌาน ๔ เป็นกำลังของวิปัสสนาญาณชำระกิเลสให้หมดสิ้นไป
    อย่างช้าภายใน ๗ ปี อย่างกลางภายใน ๗ เดือน อย่างเร็วภายใน ๗ วัน
    ๔. หากท่านไม่เจริญวิปัสสนา ท่านทรงฌาน ๔ ไว้มิให้เสื่อม ขณะตาย ตายในระหว่างฌาน
    ที่จะได้ไปเกิดในพรหมโลกสองชั้นคือ ชั้นที่ ๑๐ และชั้นที่ ๑๑
    รูปสมาบัติหรือรูปฌาน
    ฌานหรือสมาบัติที่กล่าวมาแล้วทั้ง ๔ อย่างนี้ ท่านเรียกว่ารูปฌาน หรือรูปสมาบัติ ถ้ายังไม่สำเร็จ
    มรรคผลเพียงใด ท่านเรียกว่าโลกียสมาบัติ หรือโลกียฌาน ถ้าเจริญวิปัสสนาญาณจนสำเร็จมรรคผล
    ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ท่านเรียกว่า โลกุตตรสมาบัติ หรือโลกุตตรญาณ ศัพท์ว่า โลกุตตระ ตัดออกเป็น
    สองศัพท์ มีรูปเป็น โลกะ และ อุตตระ สนธิคือเอาโลกะกับอุตตระมาต่อกันเข้า เอาตัว อ. ออกเสีย เอา
    สระอุผสมกับตัวตัว ก. เป็นโลกุตตระ โลกะ แปลตามศัพท์ว่าโลก อุตตระ แปลว่าสูงกว่า รวมความว่าสูง
    กว่าโลก โลกุตตระท่านจึงแปลว่าสูงกว่าโลก โลกุตตรฌาน แปลว่าฌานที่สูงกว่าโลกโลกุตตรสมาบัติ
    แปลว่าสมาบัติที่สูงกว่าโลก หมายความว่ากรรมต่างๆ ที่โลกนิยมนั้น ท่านพวกนี้พ้นไปแล้ว แม้บาปกรรม
    ที่ชาวโลกต้องเสวยผล ท่านที่ได้โลกุตตระ ท่านก็ไม่ต้องรับผลกรรมนั้นอีก เพราะกรรมของชาวโลก
    ให้ผล ท่านไม่ถึง ท่านจึงได้นามว่าโลกุตตรบุคคล
    รวมความว่าฌานประเภทที่กล่าวมาแล้วนั้นเป็นรูปฌาน เพราะมีรูปเป็นอารมณ์ เรียกตามชื่อ
    สมาบัติว่า รูปสมาบัติ สำหรับรูปฌาน หรือรูปสมาบัตินั้น มีแยกออกไปอีก ๔ อย่าง ดังจะกล่าวให้ทราบ
    ต่อไป

    อรูปสมาบัติหรืออรูปฌาน
    ๑. อากาสานัญจายตะ เพ่งอากาศ ๆ เป็นอารมณ์
    ๒. วิญญาณัญจายตะ กำหนดหมายเอาวิญญาณเป็นอารมณ์
    ๓. อากิญจัญญายตนะ กำหนดว่าไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์
    ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ กำหนดหมายเอาการไม่มีวิญญาณ คือไม่รับรู้รับทราบ
    อะไรเลยเป็นสำคัญ
    ทั้ง ๔ อย่างนี้เรียกว่าอรูปฌาน เพราะการเจริญไม่กำหนดหมายรูปเป็นอารมณ์ กำหนด
    หมายเอาความไม่มีรูปเป็นอารมณ์ จึงเรียกว่าอรูปฌาน ถ้าเรียกเป็นสมาบัติ ถ้าเรียก
    สมาบัติ ๘
    ท่านที่ทรงสมาบัติในรูปสมาบัติ ๔ และทรงอรูปสมาบัติอีก ๔ รวมทั้งรูปสมาบัติ ๔
    อรูปสมาบัติ ๔ เป็นสมาบัติ ๘
    ผลสมาบัติ
    คำว่าผลสมาบัติ ท่านหมายถึงการเข้าสมาบัติตามผลที่ได้ ผลสมาบัตินี้จะเข้าได้ต้องเป็น
    พระอริยเจ้าตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ท่านที่เป็นพระอริยเจ้าที่ไม่ได้สมาบัติแปดมาก่อน ท่านเข้า
    นิโรธสมาบัติไม่ได้ ท่านก็เข้าผลสมาบัติ คือท่านเข้าฌานนั่นเอง ท่านได้ฌานระดับใด ท่านก็เข้า
    ระดับนั้น แต่ไม่ถึงสมาบัติแปดก็แล้วกัน และท่านเป็นพระอริยเจ้า จะเป็น พระโสดา สกิทาคา อนาคามี
    อรหันต์ก็ตาม เมื่อท่านเข้าฌาน ท่านเรียกว่าเข้าผลสมาบัติ ท่านที่ไม่เป็นพระอริยเจ้าเข้าฌาน
    ท่านเรียกว่าเข้าฌาน เพราะไม่มีมรรคผล ต่างกันเท่านี้เอง กิริยาที่เข้าก็เหมือนกัน ต่างกันแต่เพียงว่า
    ท่านเป็นพระอริยเจ้า หรือไม่ใช่พระอริยเจ้าเท่านั้นเอง
    นิโรธสมาบัติ
    นิโรธสมาบัติ ท่านที่จะเข้านิโรธสมาบัติได้ ต้องเป็นพระอริยะขั้นต่ำตั้งแต่พระอนาคามี
    เป็นต้นไป และพระอรหันต์เท่านั้น และท่านต้องได้สมาบัติแปดมาก่อน ตั้งแต่ท่านเป็นโลกียฌาน
    ท่านที่ได้สมาบัติแปด เป็นพระอริยะต่ำกว่าพระอนาคามีก็เข้านิโรธสมาบัติไม่ได้ ต้องได้มรรคผลถึง
    อนาคามีเป็นอย่างต่ำจึงเข้าได้
    ผลของสมาบัติ
    สมาบัตินี้ นอกจากจะให้ผลแก่ท่านที่ได้แล้ว ยังให้ผลแก่ท่านที่บำเพ็ญกุศลต่อท่านที่ได้
    สมาบัติด้วย ท่านสอนว่าพระก่อนบิณฑาตตอนเช้ามืดที่ท่านสอนให้เคาะระฆังก็เพื่อให้พระวิจัย
    วิปัสสนาญาณ และเข้าฌานสมาบัติ เพื่อเป็นการสนองความดีของทายกทายิกาผู้สงเคราะห์ในตอนเช้า
    พระที่บวชใหม่ก็ทบทวนวิชาความรู้และซักซ้อมสมาธิเท่าที่จะได้ ผลของสมาบัติมีอย่างนี้
    ๑. นิโรธสมาบัติ สมาบัตินี้เข้ายาก ต้องหาเวลาว่างจริง ๆ เพราะเข้าคราวหนึ่งใช้เวลา
    อย่างน้อย ๗ วัน อย่างสูงไม่เกิน ๑๕ วัน ใครได้ทำบุญแก่ท่านที่ออกจากนิโรธสมาบัตินี้ จะได้ผลใน
    วันนั้น หมายความว่าคนจนก็จะได้เป็นมหาเศรษฐีในวันนั้น
    ๒. ผลสมาบัติ เป็นสมาบัติเฉพาะพระอริยเจ้า ท่านออกจากผลสมาบัติแล้ว สมาบัตินี้เข้าออก
    ได้ทุกวันและทุกเวลา ท่านที่ทำบุญแด่ท่านที่ออกจากผลสมาบัติ ท่านผู้นั้นจะมีผลไพบูลย์ในความเป็น
    อยู่ คือมีฐานะไม่ฝืดเคือง
    ๓. ฌานสมาบัติ ท่านที่บำเพ็ญกุศลแก่ท่านที่ออกจากฌานสมาบัติ จะทรงฐานะไว้ด้วยดี
    ไม่ยากจนกว่าเดิม มีวันแต่จะเจริญงอกงามขึ้นเป็นลำดับ
    เข้าผลสมาบัติ
    ก่อนที่จะเลยไปพูดเรื่องอื่น เกิดห่วงการเข้าผลสมาบัติขึ้นมา จึงขอย้ำถึงเรื่องเข้าผลสมาบัติ
    เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจสักนิด การเข้าผลสมาบัติ กับเข้าฌานสมาบัติ ต่างกันอยู่หน่อยหนึ่ง คือ
    การเข้าฌานสมาบัติ ท่านสอนให้ทำจิตให้ห่างเหินนิวรณ์ คือระมัดระวังมิให้นิวรณ์เข้ามารบกวนใจ
    เมื่อจิตว่างจากนิวรณ์แล้ว อารมณ์ของสมาธิก็ไม่มีอะไรรบกวน เข้าฌานสมาบัติได้ทันที สำหรับผล
    สมาบัตินั้น เป็นสมาบัติของพระอริยเจ้าท่านเข้าดังนี้ เมื่อท่านพิจารณาว่าเวลานี้ธุระอย่างอื่นไม่มีแล้ว
    มีเวลาว่างพอที่จะเข้าผลสมาบัติได้ ท่านก็เริ่มเข้าสู่ที่สงัด นั่งตั้งกายตรง ดำรงจิตมั่นคงแล้วก็พิจารณา
    สังขารตามแบบวิปัสสนาญาณ โดยพิจารณาในวิปัสสนาญาณทั้ง ๘ ย้อนไป ย้อนมา หรือพิจารณาตามแบบ
    ขันธ์ห้ารวม คือพิจารณาเห็นว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณทั้งห้าอย่างนี้ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
    เราไม่มีในขันธ์ห้า ขันธ์ห้าไม่มีในเรา อย่างนี้ก็ได้ตามแต่ท่านจะถนัด รวมความว่า ท่านเป็นพระอริยะ
    เพราะท่านพิจารณาวิปัสสนาญาณแบบใดท่านก็พิจารณาแบบนั้น เพราะท่านคล่องของท่านอยู่แล้ว
    เมื่อพิจารณาขันธ์ห้าจนอารมณ์ผ่องใสแล้ว ท่านก็เข้าสมาบัติตามกำลังฌานที่ท่านได้ อย่างนี้เป็นวิธี
    เข้าผลสมาบัติ เพราะท่านพิจารณาวิปัสสนาญาณก่อนจึงเข้าฌาน นำมากล่าวเพิ่มเติมไว้เพื่อท่านผู้อ่าน
    จะได้รับทราบไว้ แต่สำหรับท่านที่เป็นพระอริยเจ้านั้น ไม่มีอะไรจะสอนท่าน<!-- google_ad_section_end -->

    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" class=alt2>[​IMG] [​IMG]<SCRIPT type=text/javascript> vbrep_register("3273317")</SCRIPT> [​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE>
    อนุโมทนา สาธุ ๆ
    กับการปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ
    และอายุยืนยาว ของ หลวงปู่
    นิพพานัง ปัจจโย โหตุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤษภาคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...