ปลูกดอกบัวที่ใจ...หลวงพ่อสงบ มนัสสันโต

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 10 เมษายน 2010.

  1. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    <CENTER>ปลูกดอกบัวที่ใจ
    พระธรรมเทศนาโดยพระอาจารย์สงบ มนัสสันโต
    แสดง ณ วัดสันติธรรมาราม อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
    วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2538</CENTER>

    ถ้าภาวนาดี ใจจะสงบ แต่ส่วนใหญ่ที่เราภาวนากันไม่สงบ เวลาสงบมันเป็นผล มันได้น้อย ลงแรงไปแล้วไม่ได้ผล เพราะเรามองข้ามไปหมด ชุบมือเปิบ เดี๋ยวนี้อะไรก็เจริญ หัวใจเราก็ว่าเจริญด้วย เจริญเอาของง่ายๆนะ ถ้าว่าของง่ายของสะดวกสบายทางโลกเป็นประโยชน์มากเลย อยู่กับครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์สอนว่า “สิ่งใดที่เป็นประโยชน์ทางโลก มันให้ผลกับทางปฏิบัติเป็นทางลบ”

    เช่น ข่าวสารทางโลก เป็นประโยชน์มากเลย แต่ในทางปฏิบัติมันเป็นโทษ ถึงเป็นข่าวจริงก็ทำให้หัวใจฟุ้งซ่าน มันรู้เข้าไปแล้วมันฟุ้งซ่านนะ อย่างเช่น เรื่องเกิดภายนอกประเทศ กว่าจะมาถึงประเทศไทย เรื่องมันสงบไปแล้ว เราจะแก้ไขไม่ได้เลย แต่พอเรารู้ขึ้นมาหัวใจเราจะพองโตไปกับเขานะ ถ้าเป็นทางปฏิบัติมันจะติดขัดไปเลยล่ะ แต่ถ้าเป็นโลกเขาเป็นประโยชน์

    ฉะนั้น ของที่เป็นประโยชน์โลก บางอย่างมันก็เป็นโทษกับการปฏิบัติ แต่พอปฏิบัติขึ้นมามันก็จะเอาแต่สะดวกสบายไง เรามองข้ามหมดเลย ความสะดวกสบายนี่คือความเคยใจ มันชอบสะดวกสบาย กิเลสมันหัวเราะเยาะเลย เนี่ยกิเลสมันหลอกคนง่ายนิดเดียว

    ว่ามันจะลำบากเปล่า ว่านี่ล่ะ “อัตตกิลมถานุโยค” คิดแต่อย่างนั้นว่าจะลำบาก

    ใจนี้สำคัญ หลวงปู่ฝั้น ท่านพูดไว้ว่า “ต้นซุงไม่เคยเข้าตาใครนะ มีแต่ผงและฝุ่นเข้าตาคน” ความผิดเล็กน้อย เราเห็นว่าเล็กน้อย แต่ความจริงไม่ใช่ของเล็กน้อยนะ

    คนจะเสียก็เพราะเหตุนี้แหละ เขื่อนมันจะแตกก็เพราะตามด เราเห็นเป็นของเล็กน้อยทุกอย่าง เป็นของเล็กน้อยหมดเลย ก็เลยกลายเป็นการเคยตัว พอจะมานั่งสมาธิ เห็นมั้ย หัวใจมันออกตรงนั้นล่ะ แล้วว่าปฏิบัติไม่ได้ผลไง มันจะได้ผลหรือไม่ได้ผลต้องเริ่มที่ ศีล สมาธิ ปัญญา อย่างเรามี ทาน ศีล ภาวนา พระพุทธเจ้าทรงสอนที่ทานก่อนนะ เริ่มต้นจากการให้ทาน การให้ทานมันต้องต่อสู้กับความ “ไม่อยากให้” ความตระหนี่ถี่เหนียวในใจก่อน เราได้มาด้วยความลำบาก ใครอยากจะให้คนอื่นง่ายๆใช่ไหม ยกเว้นแต่เห็นผล

    พูดถึงเราชาวพุทธ มีอยู่ส่วนหนึ่ง นับถือตามประเพณี อีกส่วนหนึ่งนับถือตามพ่อแม่ คือนับถือตามกันมา เราเป็นชาวพุทธก็ต้องทำบุญตักบาตร

    แต่ผู้ที่หัวใจเป็นธรรม รู้จักว่าเป็นประโยชน์ แสวงหานะ คือหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ สิ่งที่เราได้มาเป็นของบริสุทธิ์ เราทำบุญด้วยสุจริต สัมมาอาชีวะใช่ไหม ต้องอาบเหงื่อต่างน้ำมา กว่าจะได้เงินได้ทองมา ไปซื้อของทำบุญทำทาน ทำเพื่ออะไร?

    หัวใจก่อนจะทำ หัวใจก็ต้องคัดค้าน ผู้ทำใหม่ๆ แต่ผู้ทำเป็นปรกติแล้วจะไม่คัดค้าน จะแสวงหาสิ่งที่ดีที่เป็นประโยชน์ เวลาจะไปทำบุญ ทำทาน ควรทำที่ไหนล่ะ คนที่เป็นเขาก็จะแสวงหา เขาไม่ทำทั่วไป เนื้อนาดี ดินดี ดินดำ น้ำดี หว่านข้าว ข้าวก็ออกรวงสวย

    แต่เวลาคนมันตกทุกข์ได้ยากมีความจำเป็นน่ะ พระพุทธเจ้าสอนเรื่องสังฆทานไว้ ถ้าจะทำเฉพาะกับครูบาอาจารย์ กับพระที่ดี แล้วถ้าเราไม่เจอพระที่ดี จะทำอย่างไร มันทำให้ทำลายโอกาสใช่ไหม แต่โอกาสนั้นเราก็ว่าไปเถอะ เพราะตอนนี้เรารู้จักแล้ว

    มีปัญญาก็ต้องแสวงหาสิ อาหารการกินยังต้องคัดเลือก อันนี้อร่อย อันนี้ไม่อร่อย อันนี้ให้โทษแก่ร่างกาย อันนี้ให้ประโยชน์แก่ร่างกาย อันนั้นร่างกาย อันนี้หัวใจ หัวใจก็ต้องกินสิ่งที่ดีใช่ไหม อาหารที่ดี สิ่งที่ดี น้ำที่ดี ก็อยากแสวงหาครูบาอาจารย์ที่ดีว่าอย่างนั้นเถอะ พอมีทานใจมันอ่อน ใจมันอ่อนไหว อ่อนกับจิตใจแข็งกระด้างน่ะ จิตใจแข็งกับจิตใจกระด้างน่ะ มันแสดงกิริยากระด้าง แล้วพอกระด้างนี่ สิ่งที่กระด้างก็เข้ากับของกระด้าง หัวใจแข็งอย่างนั้นมันก็เข้ากับเรื่องอารมณ์รุนแรงใช่ไหม อย่างเรื่องการทำความผิดน่ะ เราว่ากระด้างๆมันรุนแรงไปหมดมีนะกับคำว่า “เลือดเย็น”

    ความเลือดเย็นเห็นไหม ฆ่ากันได้นิ่มๆนั่นน่ะ ไอ้กระด้างมันหมายถึงจิตใจทำความชั่ว กระด้างอย่างแบบวัตถุนั่นอีกเรื่องหนึ่ง มันก็ต้องเริ่มจากตรงนั้นมา มีทาน มีศีลเพื่อให้ปกติไง ไม่ให้ออกไปฟุ้งซ่านมากนัก

    มีศีลมันจะบอกสิ่งนี้ผิด สิ่งนี้ถูก นี่มันก็คัดมาอีกชั้นหนึ่งจากทาน จากทานพวกนี้เป็นประโยชน์ เราเป็นคนเป็นประโยชน์แล้ว ไม่ได้เป็นผลลบกับโลกตลอด เกิดมาแล้วรกโลก เกิดมาเป็นประโยชน์เห็นไหม เป็นประโยชน์ต่อโลก ทำคุณประโยชน์กับโลก โลกนอกกับโลกใน เป็นประโยชน์กับตัวเองได้หรือยัง ตัวเองนะ เป็นประโยชน์ได้หรือยัง เป็นประโยชน์กับตัวเองก่อน

    พระพุทธเจ้าถึงได้สอนไง เป็นประโยชน์แก่เราด้วย เป็นประโยชน์แก่โลกด้วย ปัจจุบันนี้ ทำความดีให้ผลเป็นสุข ตายไปเห็นไหม

    คำว่า “ตายไป” ปัจจุบันนี้เป็นสุข ตายไปโลกหน้าก็เป็นสุข ปัจจุบันนี้ให้ผลเป็นทุกข์ แล้วตายไปแล้วมันจะไปไหน มันจะไม่ให้ผลเป็นทุกข์หรือ ก็ให้ผลเป็นทุกข์

    มันต้อง สุคโต ปัจจุบันนี้สุคโต อยากจะมีความสุขต่อไปข้างหน้าน่ะ ตายไปอยากไปสวรรค์ ไปอินทร์ ไปพรหม สุคโตในอนาคตต้องปัจจุบันนี้แหละไป ปัจจุบันสุคโต ปัจจุบันนี้เป็นสุข ทำสุขให้เกิดในปัจจุบันนี้ เพราะหัวใจมันรวดเร็ว เวลาไปมันไปเร็วมาก จรวดยิงออกจากฐานน่ะ นี่มันพร้อมหมด ร่างกายนี้เป็นฐาน หัวใจนี้มันยิงออกไป เวลาตายมันสลัดกายทิ้งไว้เฉยๆนี่แหละ แต่หัวใจนั้นมันยิงออกไป แล่นจรวดออกไปนะ ออกจากฐานนี้ไป

    ต้องให้ดี มีศีล มีศีลแล้วมาภาวนา กว่าจะภาวนานะ เราควรให้ทาน จากถือศีลน่ะ ถือศีลก็ดู สมัยปัจจุบัน จะรับกันศีล 4 ศีล 5 ไม่ยอมรับน่ะ มีศีลแล้วก็ภาวนา คนเรามันเข้ามาอย่างนั้นแหละ จากหยาบมาหาละเอียด

    การภาวนานี่นึกว่าภาวนาง่ายๆหรือ เราว่าเราจะภาวนานี่ ดูวัดสิ ดูประชาชนทั่วไป มีใครบ้างเข้ามาทนลำบาก ตัวเองจำศีลก็ไปสักแต่ว่านั่นนะ

    แต่ว่าเรามาภาวนานี่ เวลาเราภาวนาเราไม่ได้ผลนะ เราจะเสียใจ เราจะน้อยใจว่าเราไม่มีวาสนา เกิดเป็นมนุษย์นี้แสนยาก เราเห็นมนุษย์มาก เราว่าเกิดเป็นมนุษย์นี่ยากตรงไหน ดูสิมันทั่วโลกอยู่ ไม่ได้เห็นว่าเกิดเป็นสัตว์นี่ เกิดเป็นสัตว์ สัตว์เดรัจฉานนี่อบายภูมินี่ สัตว์เดรัจฉาน นรก เปรต เราไม่เคยเป็นหรือ เคยเป็นมาหมดนะ

    แม้แต่พระพุทธเจ้า ก่อนที่จะสำเร็จนะ ก่อนที่พระพุทธเจ้าองค์ที่แล้วมาพยากรณ์ ก็ผ่านมาหมด ต้องผ่านมา ต้องเห็นมา ของสิ่งที่มันมีอยู่นี่ ผ่านมาเห็นมา มันเป็นสัญญา จำมาจากใจ เวลาย้อนกลับมันจะได้เห็นหมดล่ะ

    นั่นน่ะ เวลามาเกิดเป็นสัตว์อย่างนั้นมันจึงได้ทุกข์ ทุกข์กว่าเรา นี่ถึงว่าเกิดเป็นมนุษย์นี่ไง เอาภพของมนุษย์ไปเปรียบเทียบ เรามีสมบัติ เรามีต้นทุน แล้วมาภาวนานะ ภาวนาเพราะอะไร เพราะสมบัติของใจไง แล้วเวลาทำทานเห็นไหม ทำทานมันเป็นอริยทรัพย์ เวลาให้ออกไปแล้วนี่ฝังลงที่ใจ เป็นทิพย์ เป็นวัตถุอันหนึ่ง

    ฟังสิ... คำว่า “วัตถุอันหนึ่ง” อารมณ์เป็นวัตถุอันหนึ่งจริงๆนะ เราสละวัตถุภายนอกวัตถุสิ่งของไปเท่าไหร่ก็แล้วแต่ มันจะหมายลงที่ใจ หมายลงที่ใจเท่านั้น หรือใหญ่กว่านั้น อันนั้นมันเป็นวัตถุ เป็นทิพย์สมบัติของใจ

    แต่ภาวนานี่มาแก้กิเลส เพราะฉะนั้นถึงว่า ภาวนาที่ว่าแสนยาก เพราะว่าถ้าไม่มีศาสนานี่เราจะภาวนากันอย่างไร มีศาสนาต้องมีพระพุทธเจ้าก่อนใช่ไหม มีพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม แล้ววางธรรมนี้ไว้สั่งสอนพวกเรานะ วางธรรมไว้ วางธรรมะนี้

    (มีต่อ)
     
  2. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    อริยสัจ 4 ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค มรรคคือองค์ 8 เห็นไหม มรรคมีองค์ 8 วางมรรคไว้นะ วางทางไว้แล้ว เรามาประสบนะ นั่นเรามีโอกาส เห็นมั้ย

    เราก็ว่าเราทำบุญทำทานกัน ทำบุญทำทานกันเฉยๆ นั่นมันอีกอย่างหนึ่ง แต่อันนี้มันละเอียดเข้า ละเอียดเข้าไปนะ จากวัตถุอันเมื่อกี๊ที่ว่าเป็นบุญเป็นกุศลที่เขาทำกันนั่นน่ะ มันก็เข้าไปอยู่ในใจ เข้าไปอยู่ในใจก็ไปอยู่เป็นสมบัติ แต่ถ้าภาวนามันไปละกิเลสน่ะ ไปละไอ้ตัวนำ ไอ้ตัวขับเคลื่อนน่ะ กิเลสมันยางเหนียว กิเลสนี้เป็นยางเหนียวนะ มันอยู่ที่ใจ คนตายไป ถ้ามีบุญกุศลมันก็ไปเกิดบนสวรรค์ ไปเกิดบนพรหมโน้น สุดท้ายแล้ว ก็เป็นทุกข์อยู่บนนั้นนะ มีความสุข แต่มีความสุขขนาดไหนมันก็มีความทุกข์เจือไปตลอด

    พระพุทธเจ้าสอนนะ สอนเรื่องปัจจุบันธรรมนี่ไง กำหนดจิตให้เป็นสมาธิ มันมีความสุขอย่างยิ่งนะ สมาธิธรรมน่ะ จิตมันสงบที่ว่าเป็นบุญเป็นวัตถุอันหนึ่งน่ะ มันเป็นอารมณ์อันหนึ่ง ฝังลงที่ใจ อารมณ์ไม่ดีอันหนึ่งก็ฝังลงที่ใจ อารมณ์ที่เกิดขึ้น แต่ไอ้ตัวที่จะเกิดขึ้นได้มันเกิดจากตัว อวิชชา ตัวนั้นเป็นตัวใจเลย มันฝังแน่นกว่าตัวอารมณ์

    อวิชชา ปัจจยา สังขารา สังขารา ปัจจยา วิญญาณัง เห็นไหม

    อวิชชา ปัจจยาการ ถึงจะมีสังขารตัวความคิด อวิชชา ปัจจยา สังขารา สังขารา ปัจจยา วิญญาณัง ถึงจะมีความรู้สึก วิญญาณมีความรู้สึกจากตัวความคิดนั้นอีกทีหนึ่ง อันนี้มันให้ผลตลอดเวลาเลย เหมือนไฟนะ ความร้อนของไฟ อวิชชาออกมาคิด มันเป็นความร้อนออกมาเลย พลังงาน แล้วตัววิญญาณรับรู้นั้นเป็นอีกตัวหนึ่ง เป็นอารมณ์ต่างหาก แล้วอย่างที่ว่าทำบุญเสริมขึ้นมา เสริมวัตถุขึ้นมาก็เป็นอันนี้ เป็นอารมณ์อันนี้เข้าไปในใจน่ะ ที่เป็นอารมณ์เข้ามามันจรมาใช่ไหม

    แต่ถ้ามันสงบลงนี่มันหมดอันนี้ ความสงบนะ มันเห็นตัวตนจริงๆไง จิตเดิมแท้ประภัสสร หมองไปด้วยอุปกิเลส อุปกิเลสมันจรมา อุปกิเลสก็อารมณ์สิ่งแวดล้อมของใจไง มันจรมาทำให้ใจนี้เศร้าหมอง ทำให้ใจนี้เป็นทุกข์

    เราต้องเอาความสงบ มันเศร้าหมองเราจะทำให้มันใสไง การภาวนาทำให้จิตใจใส จิตใจสะอาด สะอาดออกจากทั้งหมดรวมบุญกุศลด้วย จากบาปจากบุญ ติดบาปก็เป็นอารมณ์อันหนึ่ง ติดบุญก็เป็นอารมณ์อันหนึ่ง ติดโกรธไง ความโกรธทำให้จิตใจหนักหน่วง ความอยากภาวนานี่ก็ติดในบุญ อยากจะภาวนา อยากจะทำความดี แต่ทำแล้วมันไม่ได้ เพราะเป็นความอยาก อยากอันนี้เป็นสมุทัย ครูบาอาจารย์จะสอนไม่ให้อยาก ไม่ให้อยากในผล ให้อยากในเหตุ อยากประพฤติปฏิบัติอยากภาวนา แต่อย่าคาดหมายผลนะ ถ้าคาดหมายเป็นด้นเดา ผู้ใดเดาธรรมเป็นธรรมะด้นเดา เป็นความคิดจินตนาการ... ไม่ใช่...

    มันจะไม่ใช่อย่างที่เราคิดเด็ดขาดเลย ให้มันเป็นไปตามธรรมชาติของมันเป็น ตั้งสติทำสติไว้ ทำความรู้สึกไว้กับตัวเองตลอดเวลา ถ้ามีความรู้สึก มันก็เป็นการต่อเนื่องสืบต่อ การสืบต่อนี่มันก็เป็นความเพียร มีสติใช่ไหม มีสืบต่อเห็นไหม มีสติอยู่พุทโธนั่นก็อยู่ การตั้งสตินั้นก็อยู่ จิตมันก็อยู่ เผลอมันก็ส่งออก เผลอมันก็แว้บออก เผลอมันก็แว้บออก ความแว้บออกนั้นมันเป็นช่องว่างระหว่างสติที่มันสืบต่อไง เผลอมากเท่าไร การงานก็บกพร่องมากเท่านั้น

    ถ้าสติมันตามย้ำ ตามย้ำไว้ งานนั้นก็ไม่บกพร่อง จากบกพร่องมหาศาลเลย จากเด็กทำงานหยิบๆหล่นๆนะ เราก็เป็นผู้ใหญ่ขึ้นมา เป็นผู้ใหญ่ขึ้นมา ถ้าเราสืบต่อเราพยายามฝึกฝนนะ ฝึกฝนข้างนอกกับฝึกฝนข้างใน

    หลวงปู่มั่น สอนไว้เห็นไหม “แม้แต่ดื่ม แม้แต่เหยียด แม้แต่คู้ แม้แต่พูดทุกอย่างต้องมีสติไว้”

    มันต้องติดเชื้อมาตั้งแต่นั้นน่ะ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมาตั้งสติตอนภาวนานี่ เวลาไม่เห็นผล แล้วมันให้โทษขนาดไหน เห็นผล ไม่เห็นผล เราต้องสืบต่อกันมา เราต้องพยายามมาตลอดด้วยทั้งชีวิตนะ ทั้งชีวิตเลย ชีวิตนี้มากนะ 80 ปีนี่ 100 ปี แป๊บเดียวๆ

    แล้วเราจะนอนใจอยู่ได้อย่างไรว่าเราจะทำอย่างไรกัน เกิดมา ตายเด็ดขาด เกิดมาต้องตายอยู่แล้ว ในเมื่อมีการเกิดมันก็ต้องมีการดับ เราต้องพยายามอย่างนี้แหละ เพราะพอดับปุ๊บมันก็หมดโอกาสใช่ไหม โอกาสมันมีอยู่ต้องขวนขวาย มันต้องเตือนใจของตัวนะให้ตื่นอยู่ตลอดเวลา ถ้าจิตใจตื่นอยู่มันก็อยากจะทำความดี ความสืบต่อด้วย

    นอนใจมาก... พอนอนใจมันก็เหลาะแหละ พอเหลาะแหละมันก็ไม่ได้ประโยชน์ สักแต่ว่าทำไง ทำสักแต่ว่า แล้วผลจะเอาเต็มๆ

    อยากได้ผลมากก็ต้องทำมาก พระพุทธศาสนาสอนอย่างนั้นเลย ไม่มีใครทำแทนกันได้นะ ต้องขวนขวายทำของเราเองเพราะมันอยู่ถึงหัวใจ โลกเขายังทำแทนกันได้ การซื้อขายการจ้างการวาน โลกนี่งานของโลก แล้วไม่มีที่สิ้นสุด เจริญแล้วก็เสื่อม เสื่อมแล้วก็เจริญ เจริญแล้วเสื่อมอยู่อย่างนั้นแหละ

    (มีต่อ)

     
  3. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    แต่หัวใจเรานะ ฟังสิ... คำว่า “หัวใจเรา” มันเป็นนามธรรม

    แต่ศาสนาของพระพุทธเจ้านะ ศาสนาของพระพุทธเจ้าสอนมา แล้วทำสิ มันจะเห็นผลขนาดไหน มันถึงที่สิ้นสุดน่ะมันจบได้ นิพพานัง ปรมัง สุขัง นิพพานคือดับสิ้น ไม่เหลือ เสร็จสิ้นเสร็จกิจของงาน พอดับสิ้นมันก็ไม่สืบต่อ

    เรามองโลกนี้ทั้งโลกเลย ทุกชีวิตทุกดวงจิต มันต้องหมุนไป เคว้งคว้างตามวัฏฏวนทั้งสามนี้ เราก็วนมา น่าสงสารชีวิตของเราเอง น่าสงสารหัวใจของเรา พวกเรานี่วนมาตลอดนะ สามโลกธาตุนี่วนมาทั้งนั้นนะ เป็นเทวดาก็เคยเป็นมา ตกนรกก็เคยตกมา มันถึงฝังหัวใจลงทุกหัวใจไง

    พอบอกคำว่า “นรก” ทุกคน ทุกดวงใจเลย มันจะขยะแขยง

    บอก “สวรรค์” ทุกคนอยากไป เพราะมันมีเชื้อเดิมอยู่ในใจของแต่ละบุคคลแล้ว เพียงแต่กิเลสนี้มันสอน มันเสี้ยม พอบอกนรก นรกไม่มี บอกไปสวรรค์นี่อยากไปอยู่ มันก็ว่ามีจริงหรือเปล่า เพราะอะไร เพราะถ้าบอกว่าไปสวรรค์นี่มันต้องทำความดี มันไม่อยากทำ มันอยากจะอยู่สบาย สบายของมันนั่นล่ะ

    ถ้าบอก “นรกไม่มี” นี่ มันทำความชั่วเต็มมือเต็มไม้หน่อย นั่นหัวใจมันมีเชื้อเดิมอยู่ พูดแล้วมันจะแหยงนะ ใจเรามันจะแหยงเลยล่ะ แล้วมันจะไปอย่างนั้นอีกหรือ ทำความดี มาเจอศาสนาก็ทำความดีอยู่ ก็พอล่ะว่าจะได้ไปสวรรค์ อย่างไรก็ยังไปดีหน่อยก็ยังภูมิอกภูมิใจนะว่าเราเป็นลูกศิษย์กรรมฐานเหมือนกัน ได้ภาวนาแล้วนี่ไง

    แต่ภาวนาแล้วก็ต้องมีความจริงจังนะ จริงจังเพื่อให้ได้ผลขึ้นมาไง ให้มีความจริงจัง ตั้งสติไว้ให้พร้อม พอผลมันเกิด ครูบาอาจารย์ก็ห่างออกไปนะ ใหม่ๆก็ฟังเทศน์ของครูบาอาจารย์ พอใจมันเป็นธรรมขึ้นมา มันจะฟังเทศน์จากใจของตัวเองเลย จากใจนะ

    เช่นธรรมมันเกิดไง มันจะเกิดตอบ เกิดตอบนะ มันจะตอบปัญหา ถามปัญหากันอยู่ในหัวใจเรานั่นล่ะ อันนั้นน่ะ “ฟังธรรม” นะ

    ภาวนาไปจะเป็นอย่างนั้น เรียกว่า กัลยาณชน

    แต่ถ้าปุถุชน มันไม่คิดอย่างนั้นหรอก พอภาวนาไปมันดึงเอาน่ะ “ไว้พรุ่งนี้” เอานะไปโน่นก่อน เอานะไปนี่ก่อน ปุถุชนคนหนา คนหนานี่มันเข็นยาก แต่กัลยาณชนนี่คนเบา มันก็เบามันก็เข็นไป นั่นฟังธรรมในใจ ฟังธรรมไปในใจเรื่อยๆ

    นั่นพูดถึงว่าเราภาวนาเป็นหลักเป็นเกณฑ์ แต่ยังไม่ได้หลักได้เกณฑ์น่ะ เรายังนอนใจอีก เราอย่าถือว่าโอกาสเราจะมีตลอดไปนะ โลกนี้เป็นโลก อนิจจัง ไม่เราจากเขา เขาก็ต้องจากเรา สมบัติชิ้นใดๆก็แล้วแต่ ไม่ใช่ว่าสมบัตินั้นจะจากเราไปอย่างเดียว เราตายไปสมบัติก็อยู่นั่นล่ะ เขาไม่จากเรา เราก็จากเขา ความจากความพลัดพรากมันต้องเกิดอยู่ทุกชีวิตทุกสัมผัส ไม่มีสัมผัสใดสัมผัสกันแล้วมันจะไม่จากกันเลย ไม่มี... อารมณ์มาสัมผัสใจก็เหมือนกัน ถึงได้เป็นห่วงไง ห่วงนะ ตอนนี้เป็นตอนที่ดีที่สุดเลยเพราะหัวใจมันเชื่อ ศรัทธานี้พร้อม ศรัทธาพร้อมแล้วอย่านอนใจ เหมือนคนมีเงินมีทองนั่นนะ จะแสวงหาสิ่งใดควรแสวงหา ต้องแสวงหาด้วยความถูกต้อง ฟังสิ... ด้วยความถูกต้องนะ

    มีเงินต้องแสวงหาด้วยความถูกต้อง ซื้อของที่เป็นประโยชน์อย่าหลงการโฆษณา อย่าหลงการชักนำในทางที่ผิด การภาวนาก็เหมือนกัน อย่าหลงกิเลสให้มันหลอก เห็นนิมิต พาไปเที่ยวสวรรค์ ไปนรก ไม่ใช่... ไม่ใช่เรื่องของการภาวนาเลย

    การภาวนา พระพุทธเจ้าสอนทำใจให้สงบเท่านั้นเอง ทำใจให้สงบ จิตนี้จะมีความสุขจากความสงบนั้น พอจิตมีความสุขจากความสงบแล้วจะมีพลังงานมีความอิ่มใจ ต้องการความสงบเท่านั้นนะ ความสงบเป็นอาหารแท้ของหัวใจ ไม่ใช่การเห็นนิมิต ไม่ใช่การเห็นภาพภายนอก ไม่ใช่การเที่ยวแส่ส่ายไป ไม่ใช่ทั้งนั้น อันนั้นเป็นผลข้างเคียงของหัวใจที่มันจะสงบ เป็นผลข้างเคียงเท่านั้นนะ

    (มีต่อ)

     
  4. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    เช่นอย่างโยมจะมาที่นี่ ขับรถมา ตั้งใจมาวัด แต่ภาพต่างๆแถวข้างถนนมากมายเลย แสง สี เห็นไหม ตามร้านค้านั่นน่ะ เราผ่านมาตลอด แล้วมาถึงที่นี่แล้วมีอะไรขึ้นมาบ้างล่ะ ทำไมไม่มีอะไรเลย มีแต่เสียงจิ้งหรีด เรไร เท่านั้นเอง เสียงความสงัด ไม่เห็นมีอะไรดีเลย แต่มันเป็นความถูกต้อง

    เพราะวัด คำว่า “วัด” ไม่ใช่แสงสีแบบนั้น ไม่ใช่ไปไนต์คลับนี่นา ไม่ใช่ไปร้านอาหารนี่นา ต้องมีการเปิดเครื่องเสียงดังๆ ต้องมีการเสิร์ฟ ต้องมีการบริการ เราต้องไปวัด วัดหัวใจไง เราไปวัดหัวใจของเรา วัดเป็นที่อยู่ของผู้มีพรหมจรรย์ เป็นที่อยู่ของผู้ทรงศีล เป็นที่อยู่ของผู้มีความสุข เราอยากหาความสุขใส่ตัวของเรา เราต้องไปที่อย่างนั้นไปที่สงัด ไปที่ที่ควรแก่การทำงาน ให้ใจสงบถึงปฏิเสธสิ่งที่เข้ามาสัมผัส ปฏิเสธเลยเห็นไหม ถึงบอกว่า ไม่ฟังๆ ไม่ฟัง ไม่ให้มันเสี้ยม ไม่ให้มันหลอกออกไป

    ในการภาวนามันเป็นอย่างนั้น ตั้งใจ คำว่า “ตั้งใจ” คือตั้งสตินะ

    ถ้าตั้งใจสติก็อยู่พร้อม เน้นย้ำ... ตั้งใจๆเลยล่ะ ให้จิตสงบให้ได้

    พอจิตสงบขึ้นมาเราจะเห็นคุณค่าของตัวเราเอง เมื่อก่อนไม่เห็นคุณค่าเลย ไม่เห็นคุณค่านะ มนุษย์ทุกคน จิตทุกดวงจิตหวังพึ่งแต่คนอื่น หวังไปข้างหน้า มันเคลื่อนจากปัจจุบัน หวังไปแต่ข้างหน้า พรุ่งนี้จะดี เมื่อนั้นจะดี ต่อไปเมื่อนั้นจะดี

    ถ้าตายไปแล้วก็ไปบนสวรรค์ ถึงตายไปแล้วถ้าทำไม่ได้ก็ขอไปพบพระศรีอาริย์ ว่าไปโน่นนะ มันหวังพึ่งแต่คนอื่น คนอื่นตลอดเวลา

    พอจิตมันสงบ จิตมีหลักเกณฑ์ เออ... จะพึ่งตัวเองแล้ว แล้วมันเป็นอย่างนั้นจริงๆด้วยนะ พระพุทธเจ้าสอนอย่างนั้นจริงๆว่าอย่าดูถูกตัวเอง อย่าดูถูกเรา เพราะมันมีหัวใจ มีพุทธะอยู่ พุทธะ คือ ผู้รู้ ไง

    หมดพุทธะก็หมดสติ หมดพุทธะก็หมดความสืบต่อ เราก็ตายจากภพนี้ แต่พุทธะไม่หมดนี่ มันก็ไปเกิดอีก พุทธะนี้คงที่ถึงเข้ากับเข้ากับนิพพานได้ไง นิพพานก็คงที่นะ แต่คงที่แบบนิพพาน ไม่ใช่คงที่แบบอัตตา

    “อัตตา”
    ในโลกนี้ไม่มี สิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นต้องดับไป ไม่มีอะไรคงที่เลย ยกเว้นนิพพาน ก็เข้ากับพุทธะนี่แหละ พุทธะดวงจิตไง ดวงจิตนี้ไม่มีตาย ไม่มีทางตายนะ แต่เราเข้าใจกันว่าตาย มันจะตายได้อย่างไร มันเป็นธาตุรู้ ธาตุรู้มีธาตุตายหรือ

    ตายนี่มีแต่ว่าร่างกายเปลี่ยน ที่เราว่า “รู้” กันนี้ มันรู้วิญญาณนี่ ไม่ใช่ธาตุรู้นี่ พอบอกคนตายไม่มีความรู้สึก อ้าว!... ก็วิญญาณแค่รู้ วิญญาณในขันธ์ห้า แต่ธาตุรู้นี่เป็นธาตุเฉยๆ

    แบบความร้อนนะ ยกตัวอย่างอีกนั่นแหละ ความร้อนมันรู้ว่าร้อนไหม มันไม่รู้นะ เราต่างหากที่ไปรู้ความร้อนของมัน เราต่างหากไปรู้มัน นี่ล่ะ วิญญาณผู้รู้ แต่ตัวธาตุไฟมันก็มีความร้อนของตัวมันเอง ธาตุจริงๆในหัวใจเราก็เป็นแบบนั้นล่ะ แต่อวิชชามันครอบอยู่อีกที มันเลยทำให้ไม่รู้ไง

    ถ้าจิตสงบถึงฐาน ฐีติจิต นั่นล่ะตัวแท้เลยล่ะ ฐีติจิต จิตแท้ นี่ทำสมาธิเข้าไปถึงนะ ทำสมาธิสงบจริงๆถึง แต่ถึงแค่นั้น

    คำว่า “ถึงแค่นั้น” หมายถึงว่า สมาธิก็เป็นสมาธิ สมาธิไม่สามารถแก้กิเลสได้ งงไหม สมาธินี่เป็นฐานนะ ปัญญาต่างหากเป็นสิ่งแก้กิเลส แต่ถ้าปัญญาไม่มีสมาธิหนุน ปัญญาก็เป็นสัญญา เป็นสังขารปรุงแต่ง

    ถ้าจิตนี้สงบ จิตนี้เป็นสมาธิ ทำให้จิตสงบก็แสนยากนะ แต่พอสงบแล้วจะขับเคลื่อนให้จิตนี้ออกมาวิปัสสนา มันก็เหมือนกับเราทำจิตสงบนี้อีกทีหนึ่ง ใหม่ๆมันจะไม่ทำ มันจะไม่รู้ มันไม่รู้เท่านั้นนะ มันแปลกประหลาด สิ่งที่ไม่เคยพบเคยเห็นนี่นา เคยแต่ด้นเดา เคยแต่คาดหมาย

    คาดหมายไปว่าควรจะเป็นอย่างนั้น ควรจะเป็นอย่างนี้ พอเจอเข้าจริงๆนี่ไก่ตาแตกนะ ใหม่ๆต้องเซ่อเลยล่ะ ไก่ตาแตกเลย โอ้โห!! เป็นอย่างนี่เหรอ พอเป็นอย่างนี้แล้วหลุดมือไปล่ะ หลุดมือไปเลย เพราะมันเป็นนามธรรมนี่ มันเป็นนามธรรมแล้วจับต้องไว้ไม่ได้ ไม่มีความรู้ ยังใหม่อยู่ แล้วพอจิตมันเสื่อม สภาพแบบนั้นมันจะเสื่อมนะ เสื่อมเพราะอะไร เสื่อมเพราะใจมันฟูเหมือนเศรษฐี มีแล้วก็อยากมีมาก พอมีอย่างนั้นแล้วก็คิดว่าจะเอาได้อีกนะ

    เราเคยกินอะไรแล้วอยากกินแบบนั้นอีกใช่มั้ย พวกอาหารแปลกๆพวกกุ้งมังกรหายากนะ อารมณ์ใจที่กินแปลกๆอย่างนั้นก็กินยากนะ กว่าจะทำได้อีก

    (มีต่อ)

     
  5. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ทีนี้ความฝังใจความอยากได้นี้นะ ทำกว่าจะเจอจิตมันจะเสื่อมเลย ใหม่ๆจะเป็นอย่างนั้น รักษาไว้ได้ยาก แต่ก็ต้องทำ จะศึกษาจะฟังจากครูบาอาจารย์อย่างไรก็แล้วแต่ แต่ไปเจอเข้าจริงๆก็เหนือความคาดหมาย ทุกคนฟังแล้วก็กลัวตัวเองจะพลาดนะจะจำไว้ วิธีการต่างๆจะจำไว้ พอเราไปเจอมันเข้า มันก็ทำไม่ได้อีกเพราะอะไร เพราะมันไม่ได้เป็นความรู้สึกของเรา มันไม่ได้เป็นการกระทำของเรา มันไม่ได้เป็นการกระทำของเรา พอเราไปผิดไปพลาดเข้า มันต้องผิดแล้วมาถูก ถูกแล้วมาผิดเป็นครูเป็นอาจารย์อยู่ในหัวใจเท่านั้น

    ทุกๆดวงใจที่จะทำต้องมีผิดมีถูกอย่างนั้นแหละ พอผิดมันก็เป็นครู ถูกก็เป็นอาจารย์ ผิดถูกอยู่อย่างนั้นๆหลายครั้งเข้ากว่าจะรู้สึก อ้อ... จิตมันเสื่อมเพราะเหตุนั้น จิตมันฟุ้งซ่านเพราะไปเจอของแปลก ไปเจอสิ่งมหัศจรรย์ในหัวใจของเรา เมื่อก่อนไปหวังไปหาสิ่งที่อยู่ข้างนอก หวังแต่พึ่งข้างนอก พอไปเจอภายในเข้า หลุดมือไปน่ะ ลองผิดลองถูก เดี๋ยวมันก็แข็งขึ้นมา แข็งตรงรู้วิธีการ รู้ผิดแล้วนี่ รู้ถูกแล้วนี่ ได้ไปเหนื่อยแล้ว พอผิดเข้า ผิดเข้ามันก็เหนื่อย กว่าจะทำให้ถูกทาง เหนื่อยนะ การทำความดีนี่ โอ้โห...

    แต่เหนื่อยเพื่อประโยชน์ของเรา เหนื่อยอย่างทางโลก พอเห็นเงินเห็นทองเข้ามันก็โลภมาก อยากจะทำมากๆ แต่มันไม่เจอทองภายในนี่

    ธรรมคือทอง ทองคือธรรม นั่นน่ะ ธรรมในใจ พอเจอแล้วยิ่งอยากได้มาก แต่ต้องแสวงหาถูกทางด้วยนะ ความอยากนั้นทำให้ไม่ได้ อยากอย่าล้ำเขต ให้อยากในเหตุ ไม่ให้อยากในผล อยากภาวนา อยากทำพุทโธ อยากทำใจเป็นกลางๆ ไม่หมายผลเพราะจิตมันไว พอหมายมันพุ่งไปก่อน เร็วมาก

    เราก็พยายามให้เป็นกลางๆไว้ อย่าให้มันล้ำหน้าไป พอจิตมันสงบความสุขก็เกิดขึ้น เกิดจริงๆ สุขจริงๆด้วย สุขแปลกโลก ไม่ใช่ความสุขแบบโลก อันนั้นมันก็พอแล้ว แต่ต้องการเพิ่มให้มากขึ้นนะ การแปลกประหลาดนี้มันมีมาก่อนสมัยพุทธกาลนะ

    พระพุทธเจ้าก่อนจะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าเริ่มต้นจากไม่เป็นอะไรเลยน่ะ ไปฝึกกับใครล่ะ ที่ไหนมีครูอาจารย์ดีก็ไปหมด อาฬารดาบส ไปฝึกสมาบัติ ไปฝึกความสงบของใจ แต่นั้นมันมีมาแล้วความสงบ เห็นไหม ความสงบมันมีมาก่อน จิตใจสงบมันก็เป็นแบบนั้น จิตใจสงบเขาก็เป็นศาสนาสอนกันแล้ว ถ้าไม่มีพระพุทธเจ้าก็เป็นแบบนั้นล่ะ สอนอย่างไรก็แล้วแต่ ความสุขความทุกข์ในใจมันรู้

    คนเราไม่ได้ปรารถนาเป็นอาจารย์คน คนเราปรารถนาจะชำระความทุกข์ในใจของตัวใช่ไหม ความสุขความทุกข์อย่างละเอียดที่อยู่ในใจน่ะ จิตมันสงบก็เหมือนหินทับหญ้าไว้ ความทุกข์มันจะระงับชั่วคราว จิตสงบนี้มันให้ผลอย่างนั้น ยอมรับว่ามีความสุขมาก ก็เหมือนคนที่หิวกระหายอย่างมากเลย แล้วกินเข้าไปอิ่มท้องน่ะ จะสุขขนาดไหนล่ะ นี่ขนาดว่าอิ่มท้องนะ มันเป็นวัตถุน่ะ

    แล้วอิ่มใจ แล้วเวลามีอะไรที่ถูกใจเรามาก เรายังมีความสุขมาก คิดดูสิ อันนี้ยังเป็นอามิสนะ แล้วเราภาวนาเอง จิตมันสงบมันอิ่มในตัวมันเอง อย่างหินทับหญ้าไว้ กิเลสมันสงบตัวลง มันยุบยวบลงมันสงบนิ่งชั่วคราว ถึงว่าพระนิพพานของผู้มีกิเลสไง นี่คำพูดของโลกเขานะ ว่านิพพานของผู้มีกิเลส

    ถึงมีกิเลสอยู่ กิเลสมันก็สงบตัวชั่วคราว ถึงได้เตลิดเปิดเปิงไง

    ฉะนั้น มีครูอาจารย์ไว้นี่นะดีมาก ภาวนาสงบพอแล้วมันจะไปอย่างไรล่ะ จะเดินไปทางไหนล่ะ งงไปหมดเลย อวิชชาอย่างหยาบๆ มันสงบตัวลงใช่ไหม มันก็เป็นความสงบความพอใจ แต่เวลาคลายออกมาสิ มันก็ทุกข์อย่างเก่า ทำไมเป็นอย่างนี้ล่ะ

    ทุกข์อย่างเดิมน่ะ ทำไมมันไม่ขาดออกไปล่ะ ทุกข์อย่างนี้เนี่ยทั้งๆที่ตัวเองก็สำคัญตนว่าตัวเองเป็นผู้วิเศษแล้ว แล้วอะไรมันหลุดออกไปจากใจเราบ้าง มีอะไรบ้างที่หลุดออกไป มันประเสริฐขึ้นมากกว่าเก่า การสำคัญตนมันก็ทำให้เป็นคนประมาทแล้วนะ ทำความผิดได้ นี่เราเป็นผู้ประเสริฐ

    เราต้องย้อนกลับมาดูใจเราสิ ก่อนภาวนาก็เป็นแบบนี้ ภาวนาสงบแล้วออกมาทำไมเป็นแบบนี้อีกล่ะ ก็ต้องย้อนกลับมาดูใช่ไหม พระพุทธเจ้าสอนมรรคเป็นทางเดินไง ให้วิปัสสนาเห็นไหม วิปัสสนา พอญาณเกิดขึ้นแล้ว ญาณหยั่งรู้ในตัวเอง ญาณหยั่งรู้ในความสงบของตัว ไม่ใช่หยังรู้ไปข้างนอกนี่นา พอสงบแล้วมันจะหยั่งไปข้างนอก หยั่งไปร้อยแปดพันเก้า พอหมดหัวใจแล้วมันก็จะทุกข์ร้อน

    แต่ถ้ามันฉลาดนะ พระพุทธเจ้าสอนให้ลงตรงนี้ งานของเรา งานในศาสนาพุทธ สติปัฏฐาน 4 กาย เวทนา จิต ธรรม

    (มีต่อ)

     
  6. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    แต่ถ้ามันฉลาดนะ พระพุทธเจ้าสอนให้ลงตรงนี้ งานของเรา งานในศาสนาพุทธ สติปัฏฐาน 4 กาย เวทนา จิต ธรรม

    สติปัฏฐาน 4 น่ะ ไม่ใช่งานที่อื่น งานอื่นเป็นเครื่องอาศัยเท่านั้น แต่งานแท้ต้องอยู่ตรงนี้ งานรื้อภพรื้อชาติ ถ้าไม่รื้อตรงนี้ไม่ได้ ใครๆก็พูดแต่ปาก ละภพ ละชาติ ชาติที่ไหนล่ะ ชาติที่ธงชาติหรือ มันชาติที่ใจ ใจนี่ไปเกิดเท่านั้น ใจปฏิสนธิ ใจตัวปฏิสนธิ ใจตัวไปเกิด มันไปหมายเอาชาติต่างๆ แม้แต่ชาติเทวดาก็ตัวนี้ล่ะไปหมาย ชาติเทวดา ชาติพรหม ชาติมนุษย์ ชาติอริยเจ้านะ ใจนี้มันหมาย อย่างอื่นมันหมายโดยอัตโนมัตินะ

    แต่หมายอริยเจ้านี้ มันหมายอัตโนมัติไม่ได้ หมายไม่ได้ เพราะสิ่งนั้นมันไม่เคยรู้ มันจะหมายได้อย่างไร จิตทุกจิตไม่เคยผ่านตรงนี้ จิตมันหมายได้แต่สิ่งที่มันเคยผ่านมา สิ่งที่ไม่เคยผ่านมามันจะเอาอะไรไปหมาย คนไม่เคยรู้จะไปคิดได้อย่างไร ให้จินตนาการอย่างไร จินตนาการจนโลกแตก มันก็ไม่เป็นความจริงขึ้นมา

    ก็ลงมาที่สติปัฏฐานนี้ไง แตกออก แยกให้ได้ ผลไม้นะเดี๋ยวนี้ ที่เขาส่งขายผลไม้เห็นไหม มีโฟมปิดนะ มีโฟมอย่างดีถักยังใส่กล่องอีกชั้นหนึ่ง มันต้องอย่างนั้นล่ะ มันต้องแกะสิ่งที่ปกคลุมหุ้มห่อจิตใจ ถ้าแกะตรงนี้ออก นั่นล่ะ มันหมายถึงลงอริยเจ้า อริยบุคคล มันถึงจะหมายได้

    ถ้าแกะออกเห็นมันนะ แกะออกเห็น แกะออกที่ไหน แกะที่กายนี้แหละ พระพุทธเจ้าสอนนะ กายนี้ไม่ใช่ของเรา ดูนักบวชสิ เวลาบวชเห็นไหม เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ นี้แหละจะแกะกล่องล่ะ แกะกล่องผลไม้ล่ะ แกะโฟมออก เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง

    “หนัง” นี่สำคัญนัก นี่งานสติปัฏฐาน 4 หนังมันหลอกนะ ลอกออกสิเป็นอย่างไร ลอกออก เราก็นึกนึกได้นะ สมมุติเอาสิ ลองสมมุติเอาสิคนที่ไม่มีหนังเป็นอย่างไร สวยไหม เดี๋ยวนี้ไม่อย่างนั้นอย่าว่าแต่หนังเลยล่ะ มันยังแต่งให้สวยเข้าไปอีก มองกันนะ ล่อกันไปล่อกันมา เราล่อเขา เขาก็ล่อเรา ความจริงแล้วมันอยู่ที่ใจต่างหาก

    จริงๆแล้วใจมันอยาก มันมั่นหมาย มันถึงจะเป็นอย่างนั้น ถ้าใจไม่หมายให้มันล่อเข้าไปเถอะ มันล่อเท่าไหร่ก็ไม่มีความหมาย เช่นคนป่วยคนใกล้ตายน่ะ มันจะไปหมายอะไรใช่ไหม มันก็อยู่ที่ใจมองตาแป๋วเฉยๆอยู่

    แต่ไม่อย่างนั้น ถ้าคนแข็งแรงคนปึ๋งปั๋ง มองไม่ได้เลย มันมีอารมณ์ความรู้สึกร่วม อารมณ์ความรู้สึก ฟังสิ... อารมณ์ความรู้สึกเกิดจากใจ ใจมันคิดออกไปเพราะมันไม่คิดกังวลอย่างอื่น คนเจ็บไข้ได้ป่วย มันไม่ออกไป เห็นไหม มันกังวลที่ผลป่วย ผลไข้ของมัน มันทุกข์ร้อนอยู่ที่ไข้มันคิดไม่ได้ เท่านั้นเอง

    แต่ถ้าคนมั่นคงแข็งแรงนะ มันออกไปโน้น ถึงบอกมั่นหมายที่ใจและก็สมมุติดูกายมันหลอกกัน พระพุทธเจ้าบอกว่า “กายนี้ไม่ใช่ของเรา” กายนี้ไม่ใช่เรา กายนี้สักแต่ว่ากาย ดิน น้ำ ลม ไฟ มันผสมกันขึ้นมาเป็นคน ผสมกันขึ้นมาจากอำนาจของกรรม

    เราฟังธรรมกิเลสมันโต้แย้ง เอา ดิน น้ำ ลม ไฟ มากวนๆผสมมาเป็นคนได้ไหม ไม่ได้... มันอาศัยกรรมด้วย

    การเกิดมาเป็นมนุษย์ กรรมดี แล้วกรรมนี้มันต้องสัมผัสกันระหว่างไข่ของแม่ เชื้อของพ่อ และจิตปฏิสนธินะ ผสมกันด้วยอำนาจของกรรม เกิดมาเป็นเรา ปฏิสนธิในครรภ์ พระพุทธเจ้าสอนนะ พระพุทธเจ้าบอกหมด มันไม่ใช่เรา เราอาศัยอยู่ในท้องแม่ 9 เดือน มีกรรมดีนะถึงได้คลอดออกมาเป็นมนุษย์ ถ้ากรรมไม่ดีมันก็แท้งอยู่ในท้องนั่นล่ะ ออกมาก็ตาย เมื่อก่อนตายกันมากนะ เพราะสาธารณสุขยังไม่เจริญ เดี๋ยวนี้น้อยหน่อย ออกมาให้มันทุกข์อีกไง นั่นมันกรรมพาเกิด ถึงเป็น ดิน น้ำ ลม ไฟ ก็จริงอยู่ แต่อาศัยอำนาจกรรมขึ้นมา มนุษย์เกิดจากสายกรรม กรรมผสมกรรมพร้อมระหว่างพ่อแม่ กรรมผสานกัน กรรมบาลานซ์กันถึงได้เกิดได้ นั่นแหละ มันเกิดขึ้นมาเป็นสมบัติของเรา เราก็เอาสมบัติของเรานั้นน่ะมาพิจารณา มันถึงได้เป็นประโยชน์ไง ดอกบัวมันเกิดขึ้นมาจากเลนจากตม มันขึ้นมาบานบนผิวน้ำน่ะ

    อันนี้ได้กายมนุษย์มานี่ ฐานเกิดที่ตัวเรา แล้วก็ปล่อยให้มันดับไป โดยไม่ให้มันเกิดประโยชน์ขึ้นมาเลยหรือ

    ดินไง ดินที่กายเรานี่ ทำไมเราไม่ปลูกดอกบัวขึ้นมาให้หัวใจล่ะ ชาตินี้จะปล่อยให้มันตายโดยเปล่าประโยชน์หรือ พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้นะ แล้วเราว่าเราเป็นชาวพุทธเชื่อพระพุทธเจ้า มันเชื่อที่ปาก ใจมันค้านนะ พระพุทธเจ้าสอนมองไม่เห็นเลยล่ะ

    ถ้าเราคิดเองนะ โอ้โห... เป็นร้อยแปดพันเก้า ก็ตาของพระพุทธเจ้าเป็นตาของผู้ประเสริฐ ตาของผู้ที่พ้นแล้ว ตาพวกเรามันตาบอด มันก็เลยเถียงไง มันก็เลยยึดไง พอมันยึดแล้วเราต้องมาคลาย เราอยากเป็นลูกศิษย์มีครู เราเป็นชาวพุทธ เป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้า พระสมณโคดมนะ พระพุทธเจ้าน่ะ

    พระพุทธเจ้าคือใคร ท่านสอนไว้ท่านวางไว้ นี้หลักธรรมของแท้นะ เราไปจำเอาแต่เรื่องแปลกๆ เรื่องที่เราพอใจน่ะ เรื่องจริงๆนี้ไม่เอาหรือ

    นั่น พิจารณากายอย่างนั้นนะ ออกมาก็อย่างนี้แหละมันเสื่อมสภาพ แก่ เฒ่า เจ็บไข้ได้ป่วย พอเวทนามันเกิดก็เห็นๆกันอยู่เนี่ย นั่งมากมันก็ทุกข์ แล้วมันแก้โดยอัตโนมัติด้วยนะ นอนมากมันก็พลิก มันเมื่อยมันน่ะ พอพลิกไปก็หาย เลยไม่เห็นทุกข์เกิดจากกายไง เห็นแต่ว่ากายมันสวย อย่าว่าแต่คนแก่ พอคนแก่เข้าหน่อยเลยเริ่มรู้แล้วล่ะ เจ็บเมื่อปวดหลัง ปวดเอว อันนี้หลบไม่ได้แล้วล่ะ เพราะอะไร เพราะว่ามันชราคร่ำคร่า

    (มีต่อ)


     
  7. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    แต่ตอนนี้สิ ตอนที่ภาวนาอยู่เนี่ย ตอนที่เราป่วย เราเจ็บนอกเวลาภาวนา เราก็รักษากันไปใช่ไหม แต่ในภาวนานี้นะ มันเป็นวัตถุดิบอันหนึ่งเลยนะ ที่เราจะเอามาเป็นการต่อสู้นะ นักภาวนาก็ว่าเอ... มันไม่มีอะไรเป็นเหตุเป็นผล ว่าพิจารณา พิจารณาตรงไหน กายก็มองไม่เห็น เวทนานี่ชัดมากนะ พอนั่งเมื่อไหร่ก็เจ็บเมื่อนั้นล่ะ ก็ดูเอา เนี่ย กาย เวทนา จิต ธรรม

    เวทนานี้สักแต่ว่าเวทนานะ เอาคำนี้มายืนยันได้เลยนะ เช่นเราพอใจนี่ อย่างเราดูทีวีนี่นะ ดูหนัง ดูละคร มันเพลิน เราจะไม่รับรู้เวทนาเลยน่ะ 3 ชั่วโมง 4 ชั่วโมง มันก็นั่งได้เพราะใจมันส่งออก

    เวทนาสักแต่ว่าเวทนา แต่เวลานั่งนี้ทำไมมันเจ็บนักล่ะ เพราะว่ารับรู้ตรงๆจิตเมื่อก่อนมันส่งออกไปนี้ อย่างคนบ้านร้างน่ะ ที่เราว่าบ้านร้างๆนะ นั่งอยู่นี่จิตไปที่อื่น ไอ้ร่างกายมันก็เจ็บอยู่นั้นล่ะ มันเสื่อมสภาพนะ นั่งไปนานๆเลือดลมมันจะชาหมด ไม่รู้สึกตัวเพราะไม่รับรู้ อันนี้สักแต่ว่าโดยธรรมชาติของมัน

    แต่สักแต่ว่าโดยการพิจารณานั้นอีกอย่างหนึ่ง ก็เหมือนกับร่างกายนี่แหละ อย่างเมื่อกี๊ที่ว่านั่นแหละ เกิดขึ้นมาก็ตายเปล่าโดยที่เราไม่สามารถปลูกดอกบัวขึ้นมาในใจ

    เวทนานี่ก็เหมือนกันมันเกิดขึ้นกับเราอยู่ตลอดเวลา แต่เราไม่เคยจับมันขึ้นมาให้เป็นประโยชน์ ไม่เคยจับมาเป็นประโยชน์เลยนะ มีแต่จะหลบหนีมัน พลิกหนี พลิกหนีไปเรื่อยนะ เพราะพลิกนี้คือการแก้โดยอัตโนมัติ เพราะธรรมชาติมันสอน

    แต่ถ้าเราเอามันมาเป็นประโยชน์สิ อะไรเป็นเวทนาเอาเทียบเหมือนเมื่อกี้นี้นะ นั่งดูทีวีอยู่ทำไมมันไม่เห็น ถ้าเวทนานี้เป็นเรา มันก็ต้องอยู่กับเราตลอดใช่ไหม

    สมมุติเช่นเจ็บอะไรก็แล้วแต่นี่มันต้องอยู่อย่างนั้น มันต้องไม่หาย นี่มันหาย เวทนามันหายนี่ เช่นเจ็บขา เวลามันหายขาต้องหายไปด้วยเพราะมันเป็นอันเดียวกัน นี่ไม่ใช่ เพราะมันเป็นนามธรรม ขานี่อยู่เหมือนเดิมนะ เวลาเราลุกขึ้นไปแล้ว ขานี่ก็อันเก่า ความรู้สึกมันไม่มี แต่เมื่อกี้ทำไมมันมีล่ะ นี่ความหมายของใจไง

    จะดูความหมายของใจ เพราะใจมันไปหมาย ถ้าใจไม่หมายจะไม่มีความรู้สึก ถ้าใจไม่หมายนะ แต่ใจมันหมาย แล้วมันไม่หมายเปล่านะ มันมีความอยากเข้าไปเสริมไง ทุกคนต้องอยากมีความสุข ไม่อยากมีความทุกข์

    พอหมายจะหมายให้มันดี มันจะไปดีได้อย่างไรล่ะ มันจะดีต้องดีด้วยนามธรรม ด้วยความดีของเราสิ ด้วยความฝืน เพราะอันนี้มันชราคร่ำคร่ามันต้องแปรสภาพไปแบบนี้ พอหมายก็จะหมายให้ดี ถ้าเห็นอย่างนี้เห็นว่าใจนี่มันหมาย ก็ต้องถอนใจเข้ามา ถ้าภาวนาไม่ถึง ถ้าพิจารณาไม่ได้ถอนใจเข้ามา อันนี้มันแบบว่ากำหนดด้วยขันติ ขันติ ความอดทน

    แต่ถ้าต่อสู้แยกแยะเลยนะ พิจารณาเวทนาไง จิตพิจารณาดูเลย การพิจารณาดู หมายถึงว่าใช้ปัญญา พิจารณาด้วยปัญญาไง ปัญญาคือการเทียบเคียงแยกแยะ ระหว่างที่มันเป็นและไม่เป็น เอามาดู ให้เทียบเคียงให้ใจยอมรับ

    ถ้าใจยอมรับพิจารณาๆ อยู่อย่างนั้นล่ะ ทำไมเป็นแบบนั้น ทำไมมันเป็นแบบนี้ ต่อสู้ ถ้าต่อสู้ไหว ต่อสู้ได้นะ มันแตก เนี่ยมันก็แตกอีกล่ะ นี่เปิดกล่องอีกแล้ว ถ้าสู้เข้าไปนะ มันจะร้อน มันจะแรงมากยิ่งเจ็บเป็นสองเท่า ถ้าเรามีความอดทนและสติเราพร้อมนะ จิตใจมีหลักการ มีสมาธิตั้งมั่นดี นี่แหละ มรรคมีองค์ 8 โหมเข้าใส่ โหมเข้าใส่เลย มันแพ้นะ หายหมดเลย

    เวทนานี้จะหายไปโดยอัตโนมัติเลย แต่ถ้าใจสู้ไม่ไหวมันจะแรงมาก แรงเข้าไปใหญ่เลย

    คำว่า “แรงเข้าไปใหญ่เลย” เพราะอะไร เพราะมีการต่อสู้ใช่ไหม ลองเกิดสงครามสิ สงครามใครจะยอมแพ้กัน กองทัพกับกองทัพเข้าต่อสู้ กองทัพไหนมันจะเหยาะๆแหยะๆ แล้วยอมแพ้ กองทัพกิเลสกับกองทัพธรรมมันเข้าฟาดประหารกันแล้วน่ะ

    ถ้าแพ้อันนี้เห็นไหม แพ้อันนี้กิเลสในหัวใจเราจะรู้เลยล่ะ แพ้อันนี้มันจะแพ้เรื่อย มันจะโหมเข้าใส่เหมือนกัน คำว่า “กิเลส” ไง วิชามารกับวิชาเทพ เห็นไหม วิชาพระพุทธเจ้า วิชาปัญญาต่อสู้ วิชาวิปัสสนากับวิชามาร วิชามาร วิชากิเลส มันจะบอกว่าเลิกเถอะเดี๋ยวสู้ใหม่ เดี๋ยวก็ท้อถอยเป็นการต่อสู้ นี่กองทัพเข้าต่อสู้มันจะมีหรือ อ่อยๆ แอะๆ น่ะ กิเลสน่ะ ไอ้เรื่องพิจารณาเวทนานี่รุนแรง รุนแรงกว่าพิจารณากาย เพราะกายนี่ส่วนกายนึกเอาได้อะไรได้ แต่เวทนานี่รุนแรงมาก เวลาเจ็บนี่เจ็บมากเลยเพราะอะไร เพราะความรู้สึกกับความรู้สึก ไฟกับไฟมันเจอกันน่ะ

    “ตบะ” นะ ร้อนจนเจ็บปวดหมดร้อนเป็นไฟ... ร้อนจนกระดูกแตกน่ะ ยิ่งมากเข้าๆ แต่มันเด็ดนะ พิจารณาเวทนาเนี่ย เวลาปล่อยวางมันหลุดเลย ปล่อยวางนะ เวทนานี่หาย จิตนี่สงบ จิตสงบเลย

    แต่ถ้ามันไม่หายนะ บางทีพิจารณามันไม่หาย มันชา หมายถึงว่ามันต่อสู้กันแล้วพักยก ไม่แพ้ไม่ชนะกัน แยกออกจากกัน แต่ไม่รวมลง นี่สงครามธาตุสงครามขันธ์นะ การต่อสู้เรามีแต่สงครามภายนอก ชนะเท่าไหร่มันก็เวรก่อกรรมเท่านั้นนะ แล้วชนะไม่ขาดด้วย กองทัพไหนพ่ายแพ้ไป เดี๋ยวมันก็ไปรวบรวมไพร่พลเดี๋ยวมันก็มาต่อสู้ใหม่

    ต่ชนะในใจตัวเองนะเด็ดขาด ฉะนั้นถึงว่างานภายในประเสริฐ ชนะนอกเท่าไหร่ก็ไม่ประเสริฐเหมือนชนะข้างใน เพราะเราแก้ไขเราได้ คนดีคนหนึ่งเป็นประโยชน์แก่โลกมหาศาลเลย คนชั่วโห! มันทำโลกให้ปั่นป่วนนะ เราเป็นคนดีคนหนึ่ง แต่คนนอกเขาจะมองเลยล่ะว่าเราดีจริงหรือ

    เอ้า! จะดีจริงหรือไม่จริงมันต้องดีภายในนี้ เพราะหัวใจมันดีแล้วมันจะรู้เอง พอหัวใจดีนะ มันจะไปทำชั่วได้อย่างไรจริงมั้ย นี่ไงล่ะว่าคนดีคนหนึ่ง ในเมื่อตัวเราดีนะมันเป็นประโยชน์กับเรา มันเป็นความสุขของเราก่อน คนมีความสุขคนมีความเบิกบาน จะชี้ช่องทางให้คนอื่นมันจะไปชี้ช่องในทางที่ผิดหรือ มันก็ต้องชี้ช่องทางในทางที่ถูกที่ดี

    อะไรก็แล้วแต่ กาย เวทนา จิต ธรรม นั่นน่ะ ผลสุดท้ายรวมลงที่ใจ หัวใจนี้เป็นดอกบัวทั้งนั้นเลย ดอกบัว 4 ดอกไง นี่ดอกบัวดอกแรกนะ

    มันบานที่หัวใจเรา มันบานมั้ย ดูใจเรามันบานมั้ย ไม่บานก็ต้องพยายาม ไม่ท้อไม่ถอย เราเป็นคนๆหนึ่ง ที่สามารถจะทำได้เพราะเรามีหัวใจ หัวใจที่มันบานออกมา เราไม่ใช่คนตายถึงจะได้ไม่มีโอกาส

    (มีต่อ)

     
  8. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    การพิจารณาเวทนาน่ะ ก่อนจะพิจารณาทีแรกมันจะไม่ค่อยเป็น แล้วอีกอย่างหนึ่งก็ไม่ค่อยสู้ พิจารณาซ้ำได้นะ อันนี้มันรวมเฉยๆนะ เวทนาในใจของตัว ความกังวล ความเฉา ความเศร้าสลดใจอันนี้ ก็เป็นเวทนานะ เป็น โทมนัส เวทนาไม่ใช่ว่ามีแต่เวทนาที่กายที่ไหน ดูมันทุกข์ใจสิ นั่งคอตกเลยล่ะ นั่นเวทนาหรือเปล่าล่ะ พิจารณาซ้ำไปสิ

    เวทนานี้เกิดมาได้ไง ก็ไหนว่ามันขาดไปแล้วไง พิจารณาครั้งแรกมันขาดไปแล้ว มันหายไปแล้ว มันรวมลงไปแล้ว เราก็สบายไปแล้ว นี่มันมาได้อย่างไรอีกล่ะ

    ความหมายของใจหมายออกมาที่กายนั่นล่ะ พิจารณาซ้ำเข้าไปๆนะ มุมานะ ก็แยกอย่างเก่านั่นล่ะ เวทนามันเกิดมาจากไหน เวลามันหาย หายไปได้อย่างไร พิจารณาอย่างเก่านะ

    คำว่า “อย่างเก่า” แบบตำรานี่ก็ใช้ได้ ถ้ามันเกิดขึ้นในปัจจุบันธรรมนี้ แต่อย่างเก่าที่เราคาดหมายนั่นเป็นอดีต อนาคตไปแล้ว ให้มันเกิดขึ้นในหัวใจนี่ ไม่ใช่ว่า “อันนี้ก็เหมือนกัน พิจารณาเวทนามาแล้ว เมื่อกี้ก็พิจารณาอย่างนี้ จะมาพิจารณาอย่างนี้อีกหรือ อย่ามาหลอกฉันนะ ฉันเก่งนะ...”

    พิจารณาเวทนาอย่างเมื่อกี้ อย่างพิจารณาครั้งแรกน่ะ นั่นมันพิจารณากาย อันนี้มันพิจารณาดวงจิต พิจารณาดวงจิตนะ เพราะจิตนี้มันหมายมาที่กายเหมือนกัน ทำให้มาก ทำให้ยิ่ง มันหลุดออกไปนี่ยิ่งลึกเข้าไปใหญ่นะ นี่ดอกบัวดอกที่ 2 มันแยกออกเลย เมื่อกี้มันรวมลงเฉยๆเวทนานี้แตกออกไป เวทนานี้ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่เวทนา แต่ดอกบัวดอกที่ 2 นี่มันรวมลงเลย หลุดออกไปเลย เวทนาเนี่ย

    จิตนี้รวมลง ราบเป็นหน้ากลองเลย โลกนี้ราบเป็นหน้ากลอง จิตมันจะเวิ้งว้างกว่าเก่านะ เมื่อกี้จิตมันปล่อยวาง มันจะเป็นความสุขอันหนึ่ง แต่อันนี้มันจะเวิ้งว้างเลย โลกนี้ไม่มี เรานี้ไม่มี โอ้โห... ความสุขมหาศาลนะ มีความสุขมาก นั่นล่ะที่ว่ามันหลุดออกไป

    ไอ้ “บุญๆ” ที่เราว่ามาทีแรกน่ะ บุญมันอยู่ที่ใจเฉยๆเป็นวัตถุอันหนึ่งมาประดับไว้ แต่นี่มันขาดออก ขาดออกนะ ขาดออก บุญจะหายไปไหน บุญมันอยู่ที่เก่านั่นล่ะ ยิ่งขาดออก บุญนี่มันยิ่งเพิ่มมากขึ้น เพราะถึงว่าถ้าตายไปขณะนั้นไปเกิดเป็นเทวดานะ ในชั้นดุสิตก็มีเทวดาปุถุชน พระโสดาบันก็ไปเกิดที่นั่นล่ะ ตายจากนี่ก็ไปเกิดที่นั่นนะ ก็เป็นเทวดาอริยเจ้าน่ะ บุญมากกว่าปกติเขานะ ไม่ใช่เทวดาธรรมดา อย่างเทวดาธรรมดาก็มี เทวดาที่เป็นอริยเจ้าก็มี

    เราไม่ต้องกลัวว่าบุญจะหายไปหรอก เพราะบุญอันนั้นก็เป็นบุญอันหนึ่งนะ อันนี้สำคัญกว่า มันส่งอันนั้นเป็นทวีคูณ นั่นพิจารณาเวทนา

    คำว่า “เวทนาของใจ” หลุดออกไปนั้นโลกว่างเลยล่ะ ถ้าว่าใจว่าง เวทนาดับไปแล้วทำไมมีความรู้สึกอีกนะ ความรู้สึกอันนี้เป็น “กามราคะ” ล่ะ

    ความรู้สึกที่ออกไปคิดไง ความรู้สึกนี่ล่ะเป็นขันธ์ 5 ขันธ์ของใจ เวทนานี่ฝังอยู่ที่ใจลึกๆ เมื่อกี้ใจหมายออกไปที่กาย เวทนาแรกกายหลุดไป เวทนาที่ 2 เวทนาของจิตที่หมายกายหลุดออกไป เวทนานี้คือความรู้สึกของตัวขันธ์ 5 ในจิต ตัวขันธ์ 5 ในจิตนะ ขันธ์ในขันธ์ เวทนานี้ลึกกว่าอีก เอ๊... เวทนาอย่างนั้นเมื่อกี๊มันก็ไม่มี คนมันจะคิดอย่างนั้น มันจะหมาย เราจะทำอะไรก็แล้วแต่มันจะหมายว่าเราไปถึงนู่นแล้ว มันจะไม่อยู่กับปัจจุบันนะ มันจะหมายไปหน้าเลย เวทนาเมื่อกี๊มันหมดไปแล้วนี่นะ มันก็เลยลืมตัวเผลอนะ ปล่อยให้เวลานั้นเสียไปโดยเปล่าประโยชน์เลย

    ถ้าไม่ส่งออก ไม่เอาอันนี้ไปเทียบเคียงคนอื่น มองมาที่ใจของตัวนะ มันจะรู้จัก มองเข้ามาที่ใจของตัว มันจะเห็นเอง ว่าจิตนี้มันเฉานะ

    “เฉา” นี้มันอีกอย่างหนึ่ง จิตนี้มันมีความรู้สึกออกไป มันถึงตัวจิตแท้ๆ เมื่อกี้จิตมีความรู้สึกต่อเมื่อกระทบรูปภายนอก แต่เวทนาในจิตนี่มันจะมีความรู้สึกตลอดเวลาเลย เป็นขั้นเดียวออกมาเลย

    เดิมการคิดออกไปมันต้องผ่านกาย แต่ถ้าเป็นจิตแท้ๆนะ มันคิดได้โดยตรง ตรงจังหวะเดียว อย่างเขาเล่นฟุตบอลเห็นมั้ย จังหวะหนึ่ง จังหวะสอง... จังหวะสองคือความคิดธรรมดาของเราเนี่ยจังหวะสอง มันคิดขึ้นมาจากใจก่อนค่อยมาที่กายปฏิบัติ

    แต่ถ้านั่งภาวนาเข้าไปมันจะเป็นจิตล้วนๆ มันจะคิดทันทีเลย มันจะรุนแรงเลย อันนี้ต้องใช้ความคิด ใช้ปัญญาที่รุนแรง ใช้ความคิดมหาศาลเข้าไปต่อต้านนะ ถึงจะเป็นพระอริยเจ้าแล้วก็จริงอยู่นะแต่เป็นขั้นกามราคะนี่ โอ้โห... อย่างเมื่อกี้ดอกบัวสองดอกก็เป็นอริยเจ้าอยู่ แต่ยังไม่สามารถละการเกิดในกามภพ ยังไปเกิดเป็นเทวดาอยู่เห็นมั้ย อย่างเช่นพระโสดาบันไปเกิดเป็นเทวดาอริยเจ้าน่ะ

    ถ้าพิจารณาเวทนาในจิตนี้หลุดนะ ขันธ์ 5 หลุดออกจากใจอันนี้จะเกิดเป็นพรหมล่ะทีนี้ พรหม 5 ชั้นของพระอนาคา เพราะขันธ์นี้หลุดออกไปแล้วจะเหลือขันธ์ 1

    (มีต่อ)

     
  9. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ขันธ์ของใจ นี่ล่ะคือตัวกามเลยล่ะ เพราะใจมันคิดนี่ ไม่ใช่กายนี่ กายนี้เป็นสะพานให้ใจนี้มันได้ดิ้นรนกระสับกระส่าย ถ้าไม่มีใจคิดกายนี้มันจะทำอะไรได้ กายนี้เลยเหมือนกับท่อนไม้ไง แต่เพราะใจมันคิดนี่แหละมันถึงออกมาตรงนี้ แล้วมันคิดแบบธรรมชาติด้วย คิดแบบอัตโนมัติน่ะ คิดแบบรุนแรง แต่ก่อนมันคิดแล้วผ่านออกมาที่กาย แต่นี่มันตัดตอน มันสั้นเข้ามา อย่างเมื่อก่อนมันต้องใช้กระแสยาวออกไป มันถึงจะออกมาเป็นรูปธรรมได้ แต่ขณะนี้ไม่ต้อง มันอยู่ในตัวมันเอง มันก็เป็นรูปธรรมในตัวของมันเองเลย เพราะ 2 ขั้นตอนนั้นเราตัดออกไปแล้ว

    พอช่วงความสืบต่อมันสั้น มันก็เร็วกว่าเก่า มันก็ไปใหญ่เลยสิ ไอ้เราก็งง เอ๊...ทำอย่างไรๆความรู้สึกมันเกิดขึ้นมันรู้สึกในอะไร ก็ดูเอานะ...มันละเอียดขนาดนี้เชียวหรือ ความรู้สึกมันเกิดขึ้นมันรู้สึกในอะไร ก็ดูเอานะ...มันละเอียดขนาดนี้เชียวหรือ ความรู้สึกที่มันคิดออกไปเนี่ย จะยับยั้งกันอย่างไร ความรู้สึกอันนี้ ปัญญามันจะเทียบนะ อ๋อ...มันเคลื่อนไหวออกมา ด้วยความเร็วของปัญญาเนี่ยมันทันกันนะ เทียบได้หมดนะ จะเทียบกับอะไรล่ะ จะเทียบกับแสงนะ แรงเสียดสีแรงต้านทานล่ะ มันมีนะ ความคิดออกมามันเป็นอย่างนั้น

    แรงเสียดทานนะ เพราะมันไม่อยู่เฉยๆหรอก สติเข้าไปยับยั้งไว้ ถ้ามันหยุด เวทนาของจิตก็ไม่เคลื่อนไป ถ้ามันหยุดนะ ถ้าไม่หยุดล่ะ ไม่หยุดก็ดูแลอยู่อย่างนั้น ถ้ามันหยุดแสดงว่าวิปัสสนาทันแล้ว มันไม่หยุดสิมันไม่ทัน มันไหลมา พิจารณาซ้ำพิจารณาซากนะ พอพิจารณามันหยุด อ้อ...อันนี้ใช่ ไม่ใช่...หยุด มันหยุดเฉยๆนี่ หยุดก็แบบที่ว่า เหมือนกับเรามาจ่อกันไว้น่ะ

    สงครามมันพักใช่มั้ย พักรบ อย่านอนใจนะ พักรบนี่บางคนนอนใจ พิจารณาซ้ำเข้าไปเลย เพราะพักรบแล้วเดี๋ยวมันก็เกิดอีก เราไม่เห็นโทษนี่นา เหมือนกับมีข้าศึกน่ะ ไส้ศึกมันมาเห็นมั้ย มันจะมาดีกับเรา นี่ไส้ศึกของใจ ไส้ศึกของอวิชชา มันก็จะมากระซิบล่ะ “เออๆ อันนี้ใช่แล้ว หยุดก่อน...พัก” เราก็จะนอนใจนะ เดี๋ยวพอมันแรงขึ้นมาตายเลย

    พอเราพักใช่มั้ย สมาธิมันก็คลายตัว มันเสื่อม พอมันเสื่อมอาการความคิดรุนแรงเอาอีกแล้ว ก็ต้องมาต่อสู้ใหม่

    การต่อสู้ สู้กับความคิดในใจนั่นล่ะ ความเคยใจนั่นล่ะ ต่อสู้ที่หัวใจนั่นน่ะ ดูนะ ดูความเคลื่อนไป นี่พิจารณาเวทนานะ ต่อสู้ด้วยตบะของธรรม ด้วยการพิจารณาอาการของใจที่มันขยับอย่างนั้น ถ้าความเพียรมันถึง ปัญญาถึงมันจะเป็นอัตโนมัติของมันเอง ทำบ่อยเข้าๆพิจารณาซ้ำพิจารณาซากน่ะ มันจะทันกันบ่อย ทันจนแรงมันพอไง ขาดเลยล่ะ โอ้โห้...

    ขันธ์ 5 ขาดออกจากใจ พลิกฟ้าคว่ำดินเลย โลกธาตุนี่หวั่นไหวเลยนะ โลกธาตุคือกายไง ดิน น้ำ ลม ไฟ มันจะสั่นไปหมดเลย เพราะอะไรถึงสั่นอย่างนั้น เพราะมันได้ตัดถึงกามแล้ว

    กามภพเนี่ย เหมือนกับระเบิดโลกออกไปจากใจเลย ถ้าถึงจุดนี้แล้วมันถึงจะไม่มาเกิดในกามภพอีกไง เนี่ย...พรหมเป็นอย่างนี้เห็นมั้ย ขันธ์เดียว มีขันธ์ 1 เท่านั้น ถ้าไม่มีผู้บอกผู้สอนมันก็ตายอยู่นั้นอีกล่ะ ถึงละเอียดขนาดนั้นมันก็ต้องดูต่อไปนะ

    หลงระเริงไม่ได้นะ แต่ส่วนใหญ่มันจะคิด ถ้าไม่มีครูบาอาจารย์คอยย้ำน่ะ จิตมันละเอียดขนาดนี้ใครมันจะไปรู้นะ เราก็เตลิดเปิดเปิงไปพักใหญ่ ยกเว้นผู้มีวาสนาบารมี ครูบาอาจารย์ได้ตอกได้ย้ำนั่นนะ

    โลกว่างไปหมดเลย “ว่าง” คู่กับ “ไม่ว่าง”

    “อวิชชา ปัจจยา สังขารา สังขารา ปัจจยา วิญญานัง” พอไปถึงตัวอวิชชา ตัวนั้นล่ะ ตัว “ขันธ์ 1” นั่นน่ะ ตัวอวิชชาแท้ๆเลยนั่นล่ะตอจิตเลย จิตที่เป็นตอ คร่อมตออยู่ แต่จะจับได้อย่างไร มันไม่เห็นโจทก์จะเอามาขึ้นศาลได้อย่างไร ตอของจิต เห็นไม่ได้หรอก

    เราจะคิดจุดเทียน เทียนเล่มเดียวเนี่ย มันจะมองเห็นที่ตัวมันได้อย่างไร เทียนให้มันพูดได้สิ เทียนให้มันดับตัวมันเองได้หรือเปล่า มันดับไม่ได้ เพราะมันเป็นเทียน แต่หัวใจทำได้ เพราะพระพุทธเจ้าทำมาก่อน พระพุทธเจ้ารู้ตรงนี้ ถึงได้ปฏิญาณตน ถ้าพระพุทธเจ้าไม่รู้ตรงนี้จะเอาอะไรมาปฏิญาณตน นี่ล่ะคือตัว วัฏฏจักร วัฏฏจิตนี่ล่ะพ่อของนางราคา นางตัณหา นางอรตี

    ทีนี้ตัวอวิชชามันจะฆ่าตัวมันเองทำอย่างไร มันจะยอมง่ายๆหรือ ถึงไม่มีทางเห็นเลย เรือนยอด พระพุทธเจ้าชนะตรงนี้แล้วถึงได้เย้ยมารไง ว่า “มารเอย เธอเกิดจากความดำริของเราเอง บัดนี้เราจะไม่ดำริถึงเจ้าอีกแล้ว เธอจะเกิดจากใจของเราไม่ได้”

    แต่เราไม่ว่าอย่างนั้น เราว่า “โอ... เวิ้งว้างเนาะ ตรงนี้ดี ตรงนี้ประเสริฐ” มันได้คิดเปรียบเทียบถึงเอะใจ คนเราต้องเอะใจ ต้อง “อ๋อ...” ก่อน เหมือนกับเรานี่แหละ คนต้องว่าตัวเองผิดก่อน ต้องว่าตัวเองผิดนะ ไอ้เราว่าตัวเองผิดไม่ได้ ใครจะว่าเราผิดไม่ได้เลยต้องถูกตลอด พอถูกตลอดเลยไม่ได้แก้ไขอะไรเลย ต้องผิด ถึงถูกก็ว่าผิดน่ะดี เพราะถูกหยาบๆนี่ แต่ผิดที่หัวใจ ผิดที่มานะทิฏฐิกิเลสอยู่ที่นั่น ถ้าไม่ชนะที่นั่นไม่ได้ชำระกิเลสเลย เป็นผู้แพ้มาตลอดถึงจะทำถูกก็ว่าเป็นผู้แพ้ เพราะอะไร เพราะหัวใจนั้นมันก็จะกระด้างขึ้นไปเรื่อยๆ

    เห็นมั้ย เห็นวิธีการปฏิบัติมั้ย ทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าเราทำแล้ว เราย้อนกลับไปดูที่หัวใจเรา อันนั้นเป็นประโยชน์เลย เพราะเราไม่ได้ทำที่สิ่งภายนอกนี่ เราจะทำที่ใจ

    (มีต่อ)

     
  10. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    เห็นมั้ย เห็นวิธีการปฏิบัติมั้ย ทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าเราทำแล้ว เราย้อนกลับไปดูที่หัวใจเรา อันนั้นเป็นประโยชน์เลย เพราะเราไม่ได้ทำที่สิ่งภายนอกนี่ เราจะทำที่ใจ

    เพราะฉะนั้นทุกอย่างอยู่ที่ใจหมดเลย แต่นี่ไม่ เพราะที่ใจเป็นคนคิดออกมา นี่ตัวอวิชชาล่ะ มันจะไหวอยู่ในใจนั่นล่ะ เทียนเล่มเดียวนี่แหละ ในระหว่างที่จุดเล่มเดียวในใจน่ะ แล้วเทียนเล่มนั้นมันจะทำลายตัวมันเอง ด้วยอริยมรรคของพระพุทธเจ้านี่แหละ ด้วยอรหันตมรรคนะ

    ด้วยโสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหันตมรรค เห็นมั้ย มรรค 4 ผล 4 น่ะ โสดาปัตติมรรคมันก็ทำให้เกิดโสดาปัตติผล พอใช้หมดแล้วมันก็ สมุจเฉทปหาน ไปชั้นหนึ่งเลย เงินบาทหนึ่งใช้หมดแล้วก็แล้วกันไป ก็ต้องไปหาเงินมาเป็นบาทที่สอง เป็นสกิทาคามรรค แล้วก็ใช้ไปอีก มันก็เกิดสกิทาคามีผล ก็หมดไปแล้ว

    คำว่า “หมดไปแล้ว” คือว่าเห็น ผล แล้วก็หมดไปแล้ว แต่เกิดอันหนึ่งขึ้นมาอีก เกิดดวงใจที่เป็น สกิทาคาผลไง สกิทาคาผลมันต่ำกว่า อนาคา นี่ ก็ต้องเดิน มรรค ของ อนาคา เห็นมั้ย

    ก็เดินสมาธิปัญญาของเรานี่แหละ มันเป็นเพียงแต่ว่าเป็นระดับ คำพูดนี้เป็นระดับเฉยๆ อารมณ์อันเดียวกันนั่นล่ะ แต่ว่ามันสูงขึ้น ไม่ใช่ว่าจะไปเอาจากนู่นจากนี่ไม่ใช่นะ คำว่าไปหามาก็เปรียบเทียบเงินเนี่ย เงินนี้ไปหยิบมาเป็นแบงค์ซื้อของแล้วก็หมดไปอันนั้นหมดไปเลยใช่มั้ย

    แต่นี่ “หัวใจ” น่ะ นามธรรม เกิดที่ใจ ถึงมันดับแล้วก็รวมลงที่ใจนั่นล่ะ มันมีเชื้ออยู่ เชื้อความดี นามธรรมไม่มีวันหมด พุทธะนี้ไม่มีวันหมด จิตนี้ไม่มีวันหมด แต่ถ้ามันหมดหมายถึงว่ามันหมดอารมณ์ หมดความมุมานะไง

    เกิดได้ดับได้ในหัวใจนั่นน่ะ ไม่มีสิ้นสุด

    นี่ถึงว่า อรหันตมรรค เจอตอจิตมันจะดับตัวมันเอง ถึงเกลียวอันนี้แล้วมันหมุนไปเอง ถึงว่า อวิชชา ปัจจยา สังขารา ไง

    มันละเอียดนะ ใครจะไปเห็นได้ พระพุทธเจ้าองค์เดียวไปเห็นได้ ถ้าไม่มีพระพุทธเจ้าใครจะเห็น ไม่มีทาง ไม่มีทางจริงๆนะ พระพุทธเจ้าถึงตรัสว่า ธรรมะนี้ลึกซึ้งมากนะ ลึกมาก... ว่างจนจับต้องไม่ได้เลย แต่มันรวมอยู่ที่ใจนั่นน่ะ

    แต่พระพุทธเจ้าทรงทำให้ตื้นไง ทำให้ตื้นหมายถึงว่าทำเป็นตำราไง เป็นธรรมะวางไว้ ทรงสงสารพวกเรา สงสารสาวกเนี่ย สาวกวิสัยมีปัญญาน้อย ทรงพยายามทำตาข่ายไว้ให้พยายามกรองได้ไง เหมือนเขาทอดมันน่ะ เอาไว้ช้อนสาวก เราเป็นสาวกพระพุทธเจ้า

    นั่นน่ะ อวิชชา ปัจจยา สังขารา หมุนเข้าไป ขาดเลย... นั่นเป้าหมายของพระพุทธศาสนา อรหัตมรรค อรหัตตผล แล้วจึงเป็นนิพพาน 1 ก็เหมือนกับโสดา กับ สกิทา นั่นล่ะ อรหัตตมรรค อรหันตผล แต่เป็นนิพพาน ทำไมไม่ “อรหัตตผล” ล่ะ เพราะอันนี้มันเป็น สัมปยุต วิปปยุต เป็นการสงคราม การต่อสู้ แต่เกิดเป็นตัวสัญญาอีกอันต่างหากล่ะ สงบศึกแล้วเป็นสำเร็จ นั่นเป็น “นิพพาน”

    ไม่ใช่กองทัพเป็นนิพพานนี่นา กองทัพนั้นมันเป็นการต่อสู้สองกองทัพต่อสู้กัน ยอมแพ้ไง ยอมแพ้ก็ต้องทำสัญญายอมแพ้ใช่มั้ย ตัวสัญญาตัวนั้นแหละคือตัวความสำเร็จ สัญญานั้นเป็นสัญญาเปรียบเทียบนะ สัญญานั้นเป็นกระดาษ ฉีกทิ้งก็ได้ หัวใจที่สำเร็จก็เป็นแบบนั้น แต่ไม่มีใครจะฉีกทิ้งได้ มันยอดเอก เอกของพระพุทธเจ้า นั่น นิพพาน 1 ไม่มีระหว่างสองกองทัพต่อสู้กันอีกแล้ว

    แต่เดิมก็เป็นสองกองทัพต่อสู้กันมาตั้งแต่เริ่มต้นมาตลอด กองทัพกิเลส กับกองทัพธรรม แล้วกองทัพธรรมเป็นผู้ชนะแล้วเห็นมั้ย ยังเป็นอีกหนึ่งต่างหาก

    “สัพเพ ธัมมา” ถึงเป็น “อนัตตา” ใช่มั้ย ธรรมทั้งหลายที่พระพุทธเจ้าว่าไว้นี้เป็นอนัตตาทั้งหมด ไม่ให้ยึด ถ้ายึดธรรมแล้วมันไปไม่รอด เหมือนกับคนขี่แพมาจะขึ้นจากน้ำ ไม่ยอมลงจากแพ จะแบกแพมาขึ้นไปบนบกได้อย่างไร ขับรถมานั่งรถมาแล้วไม่ยอมลงจากรถ อยู่ในรถน่ะ ว่ารถเป็นเรา บ้าเหรอ...

    นี่ก็แบกธรรมมาสิ “ฉันเป็นชาวธรรมนะ ฉันเป็นชาวพุทธ ฉันเป็นนักปฏิบัตินะ แต่หัวใจฉันไม่มีอะไรเลยนะ...”

    เห็นมั้ย สัพเพ ธัมมา ถึง “อนัตตา” ไง

    เราไม่แบกธรรมอันนั้น แต่เราประพฤติธรรม ให้ธรรมมันมีในหัวใจ ผู้ที่แบกธรรมก็แบบชาวโลกนั่นแหละ เห็นมั้ย ไปจำศีลก็ไปอวดกันที่วัด “ฉันนี่ผู้มีศีล 8” คุยโม้กันน่ะ แบกธรรมมานะแต่ไม่มีธรรมในหัวใจ แบกธรรมมาแต่ไม่ทำธรรมให้เกิดในหัวใจไง ธรรมเกิดในใจแล้วไม่ต้องแบก ทิ้งมันไปเลย

    “ดีใน” น่ะ ดีแท้ๆ เป้าหมายของเราชาวพุทธเป็นอย่างนั้นนะ เนี่ยเวลาภาวนามันยากอย่างนั้น อยากจะภาวนานะ อันนี้เป็นมรรค เป็นความดี พระพุทธเจ้าสอน แต่เอามาพูดเพราะอะไร เพราะความอยากเฉยๆมันจะเป็นโทษกับเราเวลาปฏิบัติ เพราะมันจะเป็น สมุทัย ตัวที่ 2

    “ทุกข์” ควรกำหนด ทุกข์พระพุทธเจ้าไม่ให้ละ ถ้าละทุกข์เลยนี่มันจะฟั่นเฝือน เพราะทุกข์นี้มันเป็นผลของวิบากกรรม เป็นมนุษย์นี่มีทุกข์มั้ย... มี ...พระพุทธเจ้าบอกให้กำหนด ให้จับตัวนี้เป็นโจทย์ แล้วไปละไอ้ตัวความอยาก อยากให้ทุกข์หายไง สมุทัย เช่นเราทุกข์อยู่เนี่ย “โอ้โห ทุกข์มากเลย อยากให้พ้นทุกข์ โอ้ยทุกข์มากนะ” มันจะเป็นไปได้ไง

    ไอ้ตัวอยากน่ะมันเป็นสมุทัย ถ้าตัวสมุทัยมันขาด มันขาดตรงนั้น อยากให้พ้นทุกข์ต้องทำลาย “ตัวอยาก” อยากตัวหนึ่งเป็นสมุทัย อยากตัวหนึ่งเป็นมรรค อยากให้ทุกข์มันดับไปเลยโดยไม่อยากทำ เป็นไปได้อย่างไร เป็นทุกข์มันเป็นวิบากกรรมแต่ถ้าเรากำหนดนะ เป็นทุกข์แล้ว เราไม่อยากเป็นอย่างนี้เลย อยากจะเป็นอย่างนู้น เห็นมั้ย ไม่อยากเป็นอย่างนี้หมายถึงว่าไม่อยากเป็นสภาพแบบเดิมเลย อยากเป็นสภาพอื่น

    “ไม่อยาก” อันนั้นก็เป็นสมุทัย “อยาก” ก็เป็นสมุทัยอยากไม่เป็นตามความเป็นจริง พระพุทธเจ้าบอกให้อยากในการเดินอริยมรรค ทุกข์ควรกำหนด สมุทัย ควรละ พอละเกิดนิโรธ เห็นมั้ย นิโรธ คือความดับทุกข์ แล้วก็จะมี มรรค มรรคตัวที่จะมาเดินเพื่อตัดสมุทัยตัวนี้

    พระพุทธเจ้าสอนนะ แล้วเป็น “แก่น” ของศาสนาด้วยอริยสัจจ์อย่างอื่นมันเป็นตัวเสริม อริยสัจจ์นี้คือตัวเกิดดับที่ใจเลยนะ ทุกข์ก็ทุกข์ที่ใจนะ ใจเป็นสมุทัยเพราะทุกข์ตัวใหญ่ กายนี่แบบว่าครึ่งหนึ่ง จะว่าไม่มีเลยก็ไม่ได้ แต่กายแท้ๆนะ ไม่สามารถทำความดีให้เกิดแก่ใจได้เท่าไหร่

    แต่เรานี่สิ หัวใจมันเกิดขึ้นมา ความดีความชั่วมาลงที่ใจหมด กายตายแล้วก็ทิ้งไว้ที่นี้ จะผู้ดีมีจนขนาดไหน ตายก็มีค่าเท่ากัน ต้องเผาใช่มั้ย ต้องฝัง เท่านั้นเอง...แต่หัวใจมันไปต่างกัน นั่นเป้าหมายของเรา เราก็มีพร้อม เรามีกาย มีหัวใจ แล้วก็มีวาสนาต้องว่ามีวาสนามากๆด้วย เพราะได้ลงมือปฏิบัติ ปฏิบัติบูชาพระพุทธเจ้าสอน

    ในพระพุทธศาสนานี่นะ อามิสบูชา บูชาด้วยอามิส ด้วยข้าวของเงินทอง เป็นบุญอย่างหนึ่ง บุญหยาบๆ

    ปฏิบัติบูชา ไม่ต้องเหนื่อยยาก การไปหาวัตถุข้างนอกมาเพื่อเป็นอามิสบูชา อันนี้บูชาก็ต้องเหนื่อยยากไปหามาถวายพระ อันนี้แค่ทำกายให้สงบเท่านั้นเอง แล้วให้ผลต่างกันด้วยนะ ให้ผลมากกว่าอามิสบูชามหาศาลเลย ให้ผลมากขนาดว่าถึง “หลุดพ้น” น่ะ ถึงอริยมรรคนู่นนะ ถึงอรหันตมรรค ทำไมจะไม่ให้ผลล่ะ เพราะเกิดจากภาวนานี้ ถึงอรหันตมรรค ทำไมจะไม่ให้ผลมากล่ะ เพราะเกิดจากภาวนานี้ เกิดจากการนั่งนี้ เราถึงว่าภาวนานี้ให้ผลมากไง ถึงว่ามีวาสนา เหมือนข้าวของอยู่ในห้างสรรพสินค้า แล้วเราเดินเข้าไปหยิบเอาของมีค่าที่สุดในห้างสรรพสินค้าน่ะ โอกาส นะ

    คนทั่วไปมันก็เข้าไปซื้อไม้บรรทัดเอย ดินสอเอย กับเราเข้าไปเอาเพชรนิลจินดาในห้างสรรพสินค้านั้น ใครเป็นคนมีบุญวาสนากว่ากัน ลองคิดสิ... เขาเข้าไปเขาก็ไปซื้อหนังการ์ตูนไปซื้อรูปล่อ ของเด็กเล่นทั่งนั้นเลย

    แล้วเราเข้าไปนี่ ของเด็กเล่นนี่มองข้ามเลย เข้าไปหยิบ แหม...ในห้างนี้มีอะไรขายอันดับหนึ่ง ในพระพุทธศาสนาของเรานี่ไง อะไร อันดับหนึ่ง พระพุทธเจ้าสอนอะไรอันดับหนึ่ง แล้วเรา “หยิบ” ตรงนั้นน่ะ มีวาสนามั้ย ถึงจะหยิบไม่ติดมือ แต่ก็หยิบ จริงมั้ย “หยิบ” นี้คือโอกาส แล้วจะว่าไม่มีวาสนาได้อย่างไร เราว่าเราต่ำต้อย คนทุกข์ คนเข็ญใจ อันนั้นมันเรื่องภายนอก แต่เป้าหมายเราหยิบยอดเลย ตั้งใจให้ดี ...เอวัง

    <CENTER>จบพระธรรมเทศนา เรื่อง ปลูกดอกบัวที่ใจ

    พระธรรมเทศนาโดยพระอาจารย์สงบ มนัสสันโต</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER>
     
  11. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    <CENTER>[​IMG] ขอขอบคุณและขออนุโมทนา สหธรรมิก
    คุณ IRONMAIDEN ผู้พิมพ์คัดลอกพระธรรมเทศนานี้จากต้นฉบับ

    สำหรับผู้สนใจในพระพุทธศาสนา
    จะได้น้อมนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและคนรอบข้าง
    เพื่อจรรโลงพระศาสนาให้ยั่งยืนสืบไป

    ขอทุกๆท่านที่ได้เข้ามาอ่าน ร่วมอนุโมทนาค่ะ</CENTER>
    <!-- End Comment 2-->


    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="100%">
    โดย: สมาชิกผู้ทรงเกียรติ [​IMG] วันที่: 5 ธันวาคม 2552 เวลา:7:22:01 น.

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  12. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,256
    อนุโมทนาค่ะ

    ใครสงสัยในธรรมเทศนาของหลวงพ่อสงบท่าน
    สงกรานต์นี้ ถ้ายังไม่มีแผนไปไหน
    ก็แวะไปสนทนาธรรมกับท่านได้นะคะ ข่าวแจ้งมาว่า ท่านอยู่วัดค่ะ
    เวลาที่จะได้สนทนาธรรมแน่นอน
    ช่วงเช้าประมาณ ๙.๐๐ น. ช่วงบ่ายประมาณ ๑๓.๐๐ น.

    แผนที่ไปวัดสันติพุทธาราม

    (smile)
     
  13. วจีทุจริต

    วจีทุจริต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2010
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +263
    1 . การที่เราเข้าไปเจอสภาวะที่แยกรูปไปกอง ทุกข์ไปอีกกอง จิตที่มีสภาวะรู้ตลอดสายนั้นโดยวางรูป และ ทุกข์ออกขาดจากกันนั้นโดยไม่มีความสนใจและหมายในสิ่งต่างๆนั้น มีจิตที่คงสภาวะรู้แต่ไม่มีความเป็นเราไม่หมายในสิ่งใดๆนั้น คือจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติ นั้นคือตัวจิตต้นใช่หรือไม่

    2 . การปฏิบัติขั้นต่อไปควรจะทำอย่างไร แต่ที่แน่ชัดกับใจคือ รู้ชัดในสิ่งที่ควรละออกไป โทษภัย และความยึดมั่นในรูปและทุกข์ เห็นชัดในจิตที่วางอุทานลงไป แต่ก็วางมันเข้าสู่สภาวะแบบนั้นอีกไม่ได้ จำเป็นไหมที่จะต้องดำเนินจิตให้เข้าสู่สภาวะแบบนั้นให้ได้ทุกครั้งที่ต้องการ ที่ปฏิบัติมาโดยใช้อาณาปานสติสงบพอควรและพิจารณาเวทนา

    3 . ถ้าปฏิบัติโดยการทรงอารมณ์ใจในการกระทบสิ่งต่างๆดูแค่ความไม่กระเทือนของใจ
    กับอาการกระเทือนของใจ โดยประคองสติอยู่กับลมแค่สองสามทีแล้วก็ปล่อยการกระทบเป็นธรรมชาติ แบบนี้พอไปต่อได้ไม๊ ไม่ได้ทำความสงบเข้ามาจนไม่รับรู้สึ่งภายนอกเท่าไหร่ ถ้าใจคิดชั่วก็อบรมณ์สั่งสอน ถ้าใจคิดดีก็พยายามให้สติตามรู้ความคิดที่ผุดรู้ขึ้นมา ถ้าหลงไปไกลก็กลับมาสูดลมหายใจยาวๆสักสองสามที ทำแบบนี้อยู่ในการปฏิบัติควรปรับปรุงเพื่อพัฒนาต่อไปแบบไหนดี

    ที่ถามนำมาจากการปฏิบัติถามเพื่อการก้าวเดินต่อไปในทางที่ควร ขอบพระคุณเป็นอย่างสูง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 เมษายน 2010
  14. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192

    คุณวจีทุจริต เป็นคำถามที่ตรงต่อการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนาเป็นอย่างมาก

    เมื่อจิตของเราได้รับการอบรมจากการปฏิบัติสมาธิภาวนา ด้วยความเพียรพยายามแล้ว

    จนกระทั่งจิตย่อมสงบตั้งมั่นอยู่ที่ฐานที่ตั้งของสติ มีสภาวะรู้อยู่ตลอดสายของการปฏิบัตว่า

    ทั้งรูปและนาม(ขันธ์๕) สุขและทุกข์ทั้งหลาย นั่นไม่ใช่เรา เราไม่เป็นสิ่งนั้น สิ่งนั้นไม่ใช่ตนของเรา(อนัตตา)

    นี่คือจุดเริ่มต้นที่สำคัญมาก ที่ผู้ปฏิบัติสมาธิภาวนาต้องเข้าให้ถึงสภาวะจิตที่แท้จริงครับ...

    ;aa24
     
  15. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    จำเป็นมากครับ ที่ต้องฝึกวางจิตให้เข้าสู่สภาวะนั้นให้ได้จนกระทั่งชำนาญเป็นวสี

    เพียงแค่เรานึกน้อม จิตก็เข้าสู่สภาวะมีสติสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์ทั้งหลายเลย

    เพราะสภาวะที่เกิดขึ้นนั้น เป็นสภาวะจิตที่อิสระจากอุปทานความยึดมั่นทั้งหลายในเวลานั้น

    เนื่องจากจิตรู้ชัดในสิ่งต่างๆเหล่านั้นว่า ที่เป็นทั้งรูปและทั้งนามไม่ควรยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นของๆตน

    ส่วนในการปฏิบัตินั้น ขึ้นอยู่กับจริตความถนัดของแต่ละท่าน

    บางท่านชอบมีคำภาวนาเช่น"พุทโธ"ผูกกับลมหายใจ บางท่านก็เริ่มจากลมหายใจเลย

    ไม่ว่าแบบไหน ล้วนต้องพิจารณากาย เวทนา จิตและธรรมที่เกิดขึ้นในขณะปฏิบัติภาวนาอยู่นั้น

    เพราะสติปัฏฐาน๔ เป็นองค์กรรมฐานที่เกิดขึ้นต่อเนื่องและกระเทือนถึงกันปรากฏให้เห็นครับ...

    ;aa24
     
  16. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    การที่เราปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา เพื่อฝึกฝนอบรมจิตของตน

    ให้จิตรู้จักวิธีการทรงอารมณ์ของจิตให้สงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์ได้อย่างรวดเร็วใช่มั้ย?

    เราต้องจดจำสภาวะจิตในขณะนั้นให้ได้อย่างแม่นยำ และเข้าออกสภาวะนั้นได้อย่างรวดเร็วชำนาญจนเป็นวสี

    ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความเพียรพยายามอย่างยิ่ง ดั่งที่พ่อแม่ครูบาอาจารย์ทั้งหลายท่านพร่ำสอนเป็นประจำ

    เมื่อเรายังไม่ชำนาญนั้น ก็ต้องทำอย่างคุณวจีทุจริตพูดไว้ว่า
    "โดยประคองสติอยู่กับลมแค่สองสามทีแล้วก็ปล่อยการกระทบเป็นธรรมชาติ แบบนี้พอไปต่อได้ไม๊ ไม่ได้ทำความสงบเข้ามาจนไม่รับรู้สึ่งภายนอกเท่าไหร่ ถ้าใจคิดชั่วก็อบรมณ์สั่งสอน ถ้าใจคิดดีก็พยายามให้สติตามรู้ความคิดที่ผุดรู้ขึ้นมา ถ้าหลงไปไกลก็กลับมาสูดลมหายใจยาวๆสักสองสามที"

    สภาวะขณะที่คุณพูดถึงนี้ เป็นสภาวะที่เราใช้ปัญญาอบรมสมาธิอยู่ครับ

    เพื่อจดจำอาการของจิตว่า ขณะที่จิตคิดชั่วอยู่นั้นจิตมีอาการหวั่นไหวอย่างไร?

    เมื่อหลงไปไกล เราก็ดึงจิตกลับมารู้อยู่ที่ลมหายใจ(องค์ภาวนา)

    จิตก็จะสงบในขณะนั้น เราต้องจดจำไว้ว่าวางจิตอย่างไรจิตจึงสงบตั้งมั่นได้?

    ครั้นได้เวลาที่ต้องนั่งปฏิบัติสมาธิภาวนา เราก็สามารถวางจิตให้สงบตั้งมั่นได้อย่างรวดเร็วขึ้นในแต่ละครั้ง...

    ความเพียรมีผล ควรพยายามมีผล

    *ถ้ามัวแต่นึกๆ คิดๆ แล้ว ไม่ลงมือปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนาอย่างจริงจัง

    เพื่อเข้าถึงจิตที่แท้จริง อย่าหวังว่าจะเกิดปัญญารู้เห็นตามความเป็นจริงขึ้นมาได้เลย...

    ;aa24
     
  17. วจีทุจริต

    วจีทุจริต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2010
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +263
    โมทนาสาธุ ธรรม และ ขอบพระคุณสำหรับคำแนะนำ ....
    คงต้องปฏิบัติเพิ่มเติม เพื่อเติมในส่วนที่ขาดที่พร่อง เพื่อเป็นพละให้เกิดปัญญาเห็นตามความเป็นจริงได้ต่อไป ....
     
  18. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    สาธุ อนุโมทนาครับ คุณวจีทุจริต

    สวัสดีวันปีใหม่ไทย ๒๕๕๓ ครับทุกๆท่าน

    วันนี้ผมเอาบุญมาฝากทุกๆท่านครับ

    ผมได้แวะไปกราบและสนทนาธรรมกับหลวงพ่อสงบ มนัสสันโต

    ท่านเป็นกันเองมาก สบายๆไม่มีการสร้างภาพ

    เพราะตอนไปถึงท่านกำลังทำความสะอาดกุฏิท่านอยู่เลย

    ท่านอุตส่าห์สละเวลามาต้อนรับ ผมและครอบครัวปีติมากครับ

    รูปและรายละเอียด เดี๋ยวรอคุณธรรมะสวนังมาโพสให้ได้ชมและอนุโมทนาร่วมกันครับ

    ;aa24
     
  19. 2ชาติตรัสรู้

    2ชาติตรัสรู้ គ្រប់គ្រាន់ รักษาดวงใจ.គ្រប់គ្រាន់

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +1,558
    ไปวัดท่านขับเลยทางเข้าไปไหมละครับคุณธรรมภูติ เห็นท่านว่า ส่วนไหญ่จะขับเลย ผมก็เลยเหมือนกัน
     
  20. wvichakorn

    wvichakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,689
    ค่าพลัง:
    +9,239

    [​IMG]

    ขออนุโมทนาค่ะ

     

แชร์หน้านี้

Loading...