พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. psombat

    psombat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,334
    ค่าพลัง:
    +5,438
    พระพุทธานุภาพและจิตตานุภาพ

    [​IMG]
    ผมอ่านหนังสือด้านจิตวิทยาเล่มแรกในชีวิตคือ "พุทธานุภาพและจิตตานุภาพ " ของท่านพลตรีหลวงวิจิตรวาทการ มาตั้งแต่อายุ 13 ขวบ โดยการยืมหนังสือของพระอาจารย์ที่ผมอุปัฏฐาก

    ก่อนออกจากวัดไปเรียนต่อที่อื่น ผมได้คัดลอก สรุปใจความสำคัญของหนังสือเล่มดังกล่าวรวมกับเล่มอื่นๆลงสมุด ย่นย่อลงมาสองระดับคือ จากสมุดเล่มใหญ่ > สมุดพกพา ติดตัวมาตลอดการเดินทางจนปัจจุบัน อีกหนึ่งในหลายเล่มคือ "คุณสมบัติของมหาบุรุษ" ผมตามหา ตามอ่านมาแทบทุกเล่มที่พลตรีหลวงวิจิตรท่านเขียน สมัยก่อน (2529) นับว่าหายากมากๆ

    ณ วันนั้น ผมยังคิดว่า... จะมีหรือ จะเป็นไปได้หรือ ใครจะทำได้เนี่ย ??? แต่ก็ได้ลองทำแล้ว ผมยึดถือพลตรีหลวงวิจิตวาทการเป็น Idol ของผมมาโดยตลอด

    ณ วันนี้ ผมได้ยึดถือพระพุทธเจ้า มหาศาสดาอันประเสริฐสูงสุด เป็น Idol ของผมตราบสิ้นจากวัฏฏะ

    เริ่ม ...
    พระพุทธานุภาพและจิตตานุภาพ

    พระพุทธคุณ ๙ ประการ
    ผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงเป็นพระอรหันต์ เป็นผู้บริสุทธิ์หมดจด จากกิเลส ผ่องใสทรงมีชัยอยู่เหนือบัลลังก์โพธิญาณทรงสยบมารได้ในที่สุด และตรัสรู้แจ้งธรรมด้วยตนเอง ด้วยความเพียร และจากการสั่งสม บ่มบารมีมาอย่ายิ่งยวด
    ทรงบรรลุวิชชาอันลึกซึ้งยิ่ง และทรงเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตที่ประเสริฐ อันหาผู้ไดเปรียบเสมอมิได้

    พระองค์เสด็จไปดีแล้วไปสู่สันติสุขอันเป็นอมตะนิรันดร์
    ทรงเป็นผู้รู้แจ้ง แห่งสรรพสัตว์และสรรพชีวิตทั้งหลาย
    ทรงเป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า
    ทรงเป็นบรมครู เป็นศาสดาของเทพและมนุษย์ทั้งหลาย
    ทรงเป็นพุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ตลอดเวลา
    ทรงเป็นพระผู้มีพระภาค คือเป็นผู้มีความเจริญที่ไม่มีวันเสื่อม
    พระองค์ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้ง เทวโลก มารโลก พรหมโลกให้แจ้งชัดถึงธรรมอันไม่ตาย ด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เอง แล้วทรงสอนหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ เทพ และมนุษย์ ให้รู้ตาม
    ทรงแสดงธรรมไพเราะงดงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด
    ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะครบบริบูรณ์บริสุทธิ์
    อนึ่ง การเห็นพระอรหันต์ทั้งหลายนั้น เป็นความดี.

    <O:p
    คุณของพระพุทธเจ้าและพระพุทธานุภาพนั้นมีอานุภาพคุ้มโทษคุ้มภัยต่อโลกและชีวิตแห่งสรรพสัตว์ ทุกรูปทุกนาม ผู้เชื่อและยึดมั่นต่อพระองค์อย่างแท้จริง ด้วยปํญญาอันชัดแจ้ง เมื่อนั้นแม้ทั้งโลกนี้และโลกหน้า พวกเราทั้งหลายจะพ้นภัยพิบัติทั้งมวลและล่วงพ้นมือมารได้

    จงกล่าวคำว่า พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ เถิด สาธุ สาธุ สาธุ<O:p</O:p


    อิติปิโส ภควา อรหัง สัมมา สัมพุทโธ วิชา จารณะ สัมปันโน สุขโต โลกวิทู อนุตตะโร ปุริสธรรมสารถิ สัตถา เทวะมนุสสานัง พุทโธ ภควา ติ
    ภาวนาบทนี้ให้ได้วันละ ๑๐๘ จบทุกวัน แล้วท่านจะได้พบกับพลังอำนาจแห่งพระมหาพุทธานุภาพอันวิเศษยิ่ง และอำนาจแห่งจิตตานุภาพของๆท่าน ด้วยจิตของตนเอง


    <O:p</O:pพระพุทธคุณพึ่งได้หรือไม่<O:p</O:p

    [FONT=Georgia, Times New Roman, Times, Serif]คำถามคำนี้เป็นคำถามภาษาซื่อๆของคนที่ห่างไกลต่อพระธรรมคำสอน ในทางพระพุทธศาสนา แต่ก็นับว่าเป็นคำถามที่มีค่ามาก เพราะมิฉะนั้นคำตอบนี้จะไม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้เลยถ้าไม่มีผู้ถาม สำหรับผู้ที่ยังต้องพึ่งสิ่งศักดิ์เป็นเครื่องชูกำลังใจ ในการดำเนินชีวิตต่อไปอย่างมีความหวัง แต่ส่วนมากก็หันไปพึ่งเทพเทวานั่นเอง เพราะเทพยังมีกิเลสอยู่จึงยังมีรักชอบเกลียดชัง เมื่อจัดพลีกรรมบูชาเป็นที่ พอ อก พอ ใจ ก็มั่นใจว่าท่านคงจะต้องบันดาลสิ่งประสงค์ให้สมปรารถนาได้ ก็ไม่ผิดนักสำหรับความเชื่อตรงนั้น แต่ใครจะรู้บ้างไหมว่าเทวดามีฤทธาใด้ในขอบเขตจำกัด แค่กุศลกรรมที่ตนเคยได้สร้างสมไว้เมื่อก่อนตายจากความเป็นมนุษย์มา สิ่งที่ติดตัวมาคือเรียกว่ากรรมยิทธิ ซึ่ง แปลว่าฤทธิ์อันเกิดจากอำนาจกรรมนั่นเอง ไม่ใช่อิทธิจากอภิญญาจิตที่เกิดจากฌานสมาบัติ อันเป็นผลจากการเจริญสมาธิกรรมฐาน อาจมีคำถามต่ออีกว่า และกรรมยิทธิมันมีฤทธิ์ช่วยคนได้แค่ไหน ก็ต้องตอบว่า ยากจะหยั่งรู้จริงๆเพราะเป็นของรู้เฉพาะตนใครทำใครได้ อาจแค่ช่วยตนเองได้แต่ช่วยคนอื่นไม่ได้ อย่างเช่นไฟใหม้ป่าสัตว์บางชนิดอาจต้องตายโดยช่วยเหลือตนเองไม่ได้ แต่นกมันกลับรอดตายได้เพราะเหาะได้นั่นเอง การที่นกเหาะได้โดยใครๆเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดาไม่เกี่ยวกับฤทธิ์เดชไดๆนี่แหละ เรียกว่ากรรมยิทธิหรือฤทธิ์ที่เกิดจากอำนาจกรรม ก็คือกรรมที่ทำให้เกิดมาเป็นนกนั่นเอง คงพอเข้าใจบ้างแล้วใช่ไหมครับ<O:p</O:p[/FONT]

    เหล่าเทพเทวาทั้งหลายก็เช่นกันย่อมจะมีบุญฤทธิ์ไม่เท่าเทียมกันเพราะกุศลที่สร้างกันมาไม่เท่าเทียมกันนั่นเอง เท่าที่ได้ศึกษามาก็ไม่เห็นมีตำราเล่มไดกล่าวว่าเทวดามาเนรมิตอะไรๆให้มนุษย์โดยตรง มีแต่โดยอ้อมเสียทั้งนั้น อย่างเช่นมาเข้าฝัน หรือดลจิตดลใจอย่างที่เขาว่ากันนั่นแหละ แต่ทุกสิ่งทีกล่าวมาทั้งหมดลองใช้วิจารณาญาณสังเกตให้ดีนะครับ จะไปคตรงกับคำตรัสของพระพุทธเจ้าที่ว่า ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยใจมีใจเป็นใหญ่มีใจเป็นหัวหน้า เทวดาทั้งหลายพบสันติสุขก็เพราะใจของตน ใจบาปก็ทุกข์ ใจสุขก็เพราะบุญ นี่คือข้อคิดที่ควรค่าแก่การจดจำไว้รำลึกอยู่เสมอ ตนนั่นแหละเป็นที่พึ่งแห่งตนอย่างแท้จริง อิทธิฤทธิ์เป็นของมีได้จริงไม่ปฏิเสฐ แต่ต้องปฏิบัติและต้องทำให้มีขึ้นสามารถทำได้ทุกคน และจะบอกเสียก่อนนะครับว่าถ้าความดีไม่ได้สร้างมาอย่างต่อเนื่องอย่าหวังว่าเทวดาจะหลงติดสินบนเพียงชั่วครั้งชั่วคราว ถ้าคิดเช่นนั้นขอบอกว่าคิดผิดถนัด

    <O:p</O:p
    <O:p
    พระพุทธานุภาพย่อมเป็นที่พึ่งของเวไนยสัตว์ได้แน่ตราบไดที่ศาสนาพุทธยังไม่สิ้น พระพุทธเจ้าคือผู้บำเพ็ญเพียรทางจิตมาถึงจุดสุงสุดแห่งจิต เป็นมหาบุคคลคนเดียวในหนึ่งพุทธันดรไม่มีใครยิ่งกว่า พระพุทธองค์ทรงมีอำนาจจิตสูงสุด เรียกว่าประมาณหรือเทียบกับไครไม่ได้เลย จริงไหมแม้ผงอิฐ หิน มวลไม้ จากวัตถุทางธรรมชาติ ผู้ที่รู้เรื่องจิตนำมันมานั่งเสกเป่า ยังบังเกิดฤทธิ์อำนาจขึ้นได้อย่างเหลือเชื่อ แต่ก็เป็นเรื่องจริงใช่หรือไม่ แล้วพระพุทธานุภาพหรือจะมีฤทธิ์ไม่ได้ใครคิดอย่างนั้นนับว่าสมองโจ๊กมากจริงๆ
    <O:p</O:p

    เรื่องจิตตานุภาพนี้มีตัวอย่างในปัจจุบันที่วงการวิทยาศาสตร์ก็ยังรับรอง ในโลกวิทยาศาสตร์ปัจจุบันนี้ มนุษย์เราต่างยอมรับโดยทั่วไปว่า วิทยุ โทรทัศน์โทรเลข ดาวเทียมและเรด้าร์เป็นสิ่งที่นำสื่อจากระยะไกลมาสู่เราได้ สามารถเข้าใจติดต่อสื่อสารกันได้ทั่วโลกภายในไม่กี่นาที สามารถพูดคุยกันได้อย่างง่ายดายแม้ว่าจะอยู่ห่างไกลกันเป็นแสนไมล์ แต่ก็มีบางอย่างลึกลับที่ไม่น่าเป็นไปได้และยังหาคำตอบที่แน่นอนไม่ได้มาตั้งแต่สมัยแรกเกิดมนุษย์บนพื้นโลกจนกระทั่งถึงปัจจุบัน สิ่งที่เป็นความลึกลับนั้นก็คือจิตของมนุษย์นี่เอง

    <O:p</O:p
    จิตเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่มีอิทธิพลต่อมวลมนุษย์ทั้งโลก มันเร็วยิ่งกว่าคลื่นเสียงและคลื่นแสง จิตใจของมนุษย์สามารถถ่ายทอดสื่อกันได้โดยปราศจากการใช้เครื่องมือไดๆทั้งสิ้น สามารถถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดหรือแม้แต่อารมณ์อันซ่อนเร้นภายในห้วงลึกของจิตใจมนุษย์ที่อยู่ห่างไกลกันได้อย่างไม่น่าเชื่อ ตัวอย่างเมื่อไม่นานมานี่เอง นักอวกาศชื่อดังของอเมริกาคือ เอ็ดการ์ มิทเชลล์ ได้ทดลองส่งกระแสจิตหรือโทรจิต จากยานอวกาศติดต่อกับ ยูริ เกลเลอร์ นักพลังจิตที่อยู่บนพื้นโลกได้ เรื่องราวของ ยูริ เป็นเรื่องราวที่ลือลั่นพอสมควรถ้าใครสนใจจะติดตามค้นหาก็น่าจะค้นหาได้ไม่ยากเท่าไร แต่ณที่นี้ผมจะขอยกไว้เพียงเป็นตัวอย่างเท่านั้น

    <O:p</O:p
    วิทยาการทางโลกก็คงก้าวหน้าต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง แต่แปลก ความก้าวหน้าแห่งโลกวิทยาศาสตร์เกิดมาเพื่อยืนยันสัจจะแห่งบรรพบุรุษเท่านั้นยังไม่พบเลยว่ามีอะไรที่รู้มากไปกว่าพระสัพภัญญูของพระพุทธเจ้า ในขณะที่โลกวิทยาศาสตร์ยังคงค้นหาความจริงเกี่ยวกับเรื่องจิตต่อไป แต่บทสรุปเรื่องราวแห่งจิตในพระพุทธศาสนาได้แสดงบทสรุปไว้แล้วอย่างจะแจ้งชัดเจนชนิดไม่มีขอโต้แย้งไดๆจะมาหักร้างได้ ทุกคนสามารถพิสูจน์ได้ด้วยตนเอ็งด้วยหลักปฏิบัติในพระพุทธศาสนาอันเปิดกว้างทนทานต่อการพิสูจน์มานับได้ ๒๕๐๐ กว่าปี

    <O:p</O:p
    ผมจะขอเสนอบทความเรื่องจิตในพระอภิธรรมไว้ให้ทุกท่านผู้เป็นปัญญาชนม์ใช้เป็นฆลักในการพิสูจน์ ซึ่งประพันธ์ไว้โดยพระอรหันต์สาวกผู้ได้พิสูจน์และเข้าถึงแล้วอย่างแท้จริง คือ พระอนุรุทธาจารย์ ผู้มีคุณต่อพระพุทธศาสนาและพุทธบริษัทอย่างยิ่งเรียกว่าคุณอันหาที่สุดมิได้เลยทีเดียว

    <O:p</O:p
    <O:p
    จิตคืออะไร<O:p
    จิต คือ ธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่ง รู้อารมณ์ จิตเป็นตัวรู้ สิ่งที่จิตรู้นั้นเป็นอารมณ์ จิตรู้สิ่งใด สิ่งนั้นแหละคืออารมณ์<O:p</O:p
    อีกนัยหนึ่งแสดงว่า จิตคือธรรมชาติชนิดหนึ่งที่ รับ จำ คิด รู้ ซึ่งอารมณ์ จิตต้องมีอารมณ์ และต้องรับ อารมณ์จึงจะรู้ และจำ แล้วก็คิดต่อไป <O:p
    จิตฺเตตีติ จิตฺตํ อารมฺมณํ วิชานาตีติ อตฺโถ ฯ ซึ่งแปลเป็นใจความว่า ธรรมชาติใดย่อมคิด ธรรมชาตินั้นชื่อว่า จิต หรือ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์คือ จิตในปฏิสัมภิทาพระบาลีมหาวัคค แสดงว่าจิตนี้มีชื่อที่เรียกใช้เรียกขานกันตั้ง ๑๐ ชื่อ แต่ละชื่อก็แสดงให้รู้ ความหมายว่าจิตคืออะไร ดังต่อไปนี้<O:p
    . ธรรมชาติใดย่อมคิด ธรรมชาตินั้นชื่อว่า จิต<O:p</O:p
    . ธรรมชาติใดย่อมน้อมไปหาอารมณ์ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า มโน<O:p</O:p
    . จิตนั่นแหล่ะได้รวบรวมอารมณ์ไว้ภายใน ดังนั้นจึงชื่อว่า หทัย<O:p</O:p
    . ธรรมชาติคือ ฉันทะ( ความยินดีพอใจ )ที่มีในใจนั่นเอง ชื่อว่า มานัส<O:p</O:p
    . จิตเป็นธรรมชาติที่ผ่องใส จึงชื่อว่า ปัณฑระ<O:p</O:p
    . มนะนั่นเองเป็นอายตนะ คือเป็นเครื่องต่อ จึงชื่อว่า มนายตนะ<O:p</O:p
    . มนะอีกนั่นแหละที่เป็นอินทรีย์ คือครองความเป็นใหญ่ จึงชื่อว่า มนินทรีย์<O:p</O:p
    . ธรรมชาติใดที่รู้แจ้งอารมณ์ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า วิญญาณ<O:p</O:p
    . วิญญาณนั่นแหละเป็นขันธ์ จึงชื่อว่า วิญญาณขันธ์<O:p</O:p
    ๑๐. มนะนั่นเองเป็นธาตุชนิดหนึ่ง ที่รู้แจ้งซึ่งอารมณ์ จึงชื่อว่า มโนวิญญาณธาตุ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    สภาพหรือลักษณะของจิต<O:p</O:p
    จิตเป็นปรมัตถธรรม ดังนั้น จิตจึงมีสภาวะ หรือสภาพ หรือลักษณะทั้ง ๒ อย่างคือ ทั้งสามัญลักษณะ และวิเสสลักษณะ<O:p</O:p
    สามัญญลัษณะ หรือไตรลักษณ์ของจิต มีครบบริบูรณ์ทั้ง ๓ ประการคือ อนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ และอนัตตลักษณะ<O:p</O:p
    จิตนี้เป็นอนิจจัง คือไม่เที่ยง ไม่มั่นคง หมายถึงว่า ไม่ยั่งยืน ไม่ตั้งอยู่ได้ตลอดกาล<O:p</O:p
    จิตนี้เป็นทุกขัง คือทนอยู่ไม่ได้ เพราะเป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืน ทนอยู่ไม่ได้ตลอดกาล จึงมีอาการเกิดดับ เกิดดับ อยู่ร่ำไป<O:p</O:p
    จิตนี้เป็นอนัตตา คือเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน เป็นสิ่งที่บังคับบัญชาให้ยั่งยืน ให้ทนอยู่ไม่ให้เกิดดับ ก็ไม่ได้เลย<O:p</O:p
    และเพราะเหตุว่าจิตนี้ เกิดดับ เกิดดับ สืบต่อเนื่องกันอย่างรวดเร็วเหลือประมาณ จนปุถุชนคน ธรรมดาเข้าใจไปว่า จิตนี้ไม่มีการเกิดดับ แต่ว่ายั่งยืนอยู่จนตลอดชีวิตจึงดับไปก็เหมือนกับเข้าใจว่า กระแสไฟฟ้าชนิดกระแสสลับ ซึ่งกลับไปกลับมาอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งเราเห็นหลอดไฟสว่างอยู่ตลอดเวลา ก็เข้าใจว่ากระแสไฟฟ้าไม่ได้ไหลไปแล้วกลับฉะนั้น<O:p</O:p
    ส่วนวิเสสลักษณะหรือ ลักขณาทิจตุกะของจิต ก็มีครบบริบูรณ์ทั้ง ๔ ประการคือ
    <O:p</O:p
    วิชานน ลกฺขณํ มีการรู้อารมณ์ เป็นลักษณะ<O:p</O:p
    ปุพฺพงฺคม รสํ เป็นประธานในธรรมทั้งปวง เป็นกิจ<O:p</O:p
    สนฺธาน ปจฺจุปฏฺฐานํ มีการเกิดต่อเนื่องกันไม่ขาดสาย เป็นอาการปรากฎ<O:p</O:p
    นามรูป ปทฺฏฐานํ มีนามรูป เป็นเหตุใกล้ให้เกิด<O:p</O:p
    ในธรรมบท ภาค ๒ มีคาถากล่าวถึงเรื่องการระวังสังวรจิต และมีความกล่าวถึง ลักษณะหรือสภาพของจิตด้วย จึงขอนำมาแสดงไว้ ณ ที่นี้ ดังนี้<O:p</O:p
    ทูรงฺคมํ เอกจรํ อสริรํ คูหาสยํ<O:p</O:p
    เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา ฯ<O:p</O:p
    แปลความว่า ชนทั้งหลายใด จักระวังจิต ซึ่งไปไกล ไปเดี่ยว ไม่มีสรีระ (รูปร่าง) มีคูหาเป็นที่อาศัย ไว้ได้ ชนทั้งหลายจะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร<O:p</O:p
    อนึ่ง จิตเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้เกิดขึ้น ทำให้เป็นไปได้ คือทำให้วิจิตรได้ถึง ๖ ประการ<O:p</O:p
    . วิจิตรในการกระทำ คือทำให้งดงาม แปลก น่าพิศวง พิลึกกึกกือ เช่น สิ่งของต่างๆที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น ย่อมมีทั้งที่งดงาม แปลกตาน่าพิศวง ตลอดจนน่าเกลียด น่าสยดสยองสพรึงกลัว<O:p</O:p
    . วิจิตรด้วยตนเอง คือ ตัวจิตเองก็แปลก น่าพิศวง มีประการต่างๆ นานา เช่น จิตดีก็มี ชั่วก็มี จิตที่ฟุ้งซ่าน
    จิตที่สงบ จิตเบาปัญญา จิตที่มากด้วยปัญญา จิตที่มีความจำเลอะเลือน จิตที่มีความจำเป็นเลิศ สุดที่จะพรรณนา<O:p</O:p
    . วิจิตรในการสั่งสมกรรมและกิเลส ก็น่าแปลกที่จิตนั่นแหละเป็นตัวที่ก่อกรรมทำเข็ญ และก็จิตนั่นแหละ
    เป็นตัวสะสมกรรมและกิเลสที่ตัวนั้นทำไว้เอง น่าแปลก น่าพิศวงยิ่งขึ้น ก็ตรงที่ว่า กรรมอะไรที่ไม่ดีที่ตัวทำ เอง ก็ไม่น่าจะเก็บสิ่งที่ไม่ดีนั้นไว้ แต่ก็จำต้องเก็บต้องสั่งสมไว้<O:p</O:p
    . วิจิตรในการรักษาไว้ ซึ่งวิบากที่กรรมและกิเลสได้สั่งสมไว้ หมายความว่ากรรมทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นกุศลกรรมหรืออกุศลกรรมที่จิตเป็นตัวการก่อให้เกิดขึ้นนั้น จะไม่สูญหาย
    ไปไหนเลย แม้จะช้านานปานใด ก็ไม่มีการเสื่อมคลายไป เมื่อได้ช่องสบโอกาสเหมาะเมื่อใด เป็นต้องได้รับผลของ
    กรรมเมื่อนั้นจนได้<O:p</O:p
    . วิจิตรในการสั่งสมสันดานของตนเอง หมายถึงว่าการกระทำกรรมอย่างใดๆ ก็ตาม ถ้ากระทำอยู่บ่อยๆ
    ทำอยู่เสมอๆ เป็นเนืองนิจ ก็ติดฝังในนิสสัยสันดานให้ชอบกระทำ ชอบพฤติกรรมอย่างนั้นไปเรื่อยๆ ไป<O:p</O:p
    . วิจิตรด้วยอารมณ์ต่างๆ หมายถึงว่าจิตนี้รับอารมณ์ได้ต่างๆ นานาไม่มีที่จำกัดแต่น่าแปลก น่าพิศวงที่มักจะรับอารมณ์ที่ไม่ดี ที่ชั่วได้ง่ายดาย<O:p</O:p
    จำแนกจิตเป็น ๔ ประเภท<O:p</O:p
    เมื่อกล่าวตาม สภาพ คือกล่าวตามลักษณะของจิตแล้ว จิตนี้มีเพียง ๑ เพราะจิตมีสภาวะ มีสภาพ มีลักษณะ รับรู้อารมณ์แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้นเอง<O:p</O:p
    แต่เมื่อกล่าวตามอารมณ์ที่รู้ ตามประเภทที่รู้ กล่าวคือ รู้ในเรื่องกามที่เป็นบุญเป็นบาปรู้เรื่องรูปฌาณ รู้ในเรื่อง
    อรูปฌาณ รู้ในเรื่องนิพพานเหล่านี้แล้ว จิตก็มีจำนวนนับอย่างพิศดารได้ถึง ๑๒๑ ดวง หรือ ๑๒๑ อย่าง ๑๒๑ ชนิด และจำแนกได้เป็นประเภทตามอาการที่รู้นั้นได้เป็น ๔ ประเภท คือ<O:p</O:p
    . กามาวจรจิต ๕๔ ดวง<O:p</O:p
    . รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง<O:p</O:p
    . อรูปาวจรจิต ๑๒ ดวง<O:p</O:p
    . โลกุตตรจิต ๘ ดวง หรือ ๔0 ดวง<O:p</O:p
    รวมเป็น ๘๙ ดวง หรือ ๑๒๑ ดวง<O:p</O:p
    . กามาวจรจิต เป็นจิตประเภทที่ข้องอยู่ ที่ติดอยู่ ที่หลงอยู่ ที่เจืออยู่ในกามตัณหา หรือเป็นจิตที่ส่วนมากท่องเที่ยววนเวียนอยู่ในกามภูมิ จิตประเภทนี้เรียกสั้นๆ ว่า กามจิต มีจำนวน ๕๔ ดวง<O:p</O:p
    . รูปาวจรจิต เป็นจิตที่ถึงซึ่งรูปฌาณ พอใจที่จะเป็นรูปพรหม หรือเป็นจิตที่ท่องเที่ยวอยู่ในรูปภูมิ จิตประเภท
    นี้มีจำนวน ๑๕ ดวง<O:p</O:p
    . อรูปาวจรจิต เป็นจิตประเภทที่เข้าถึงซึ่งอรูปฌาณ พอใจที่จะเป็นอรูปพรหมหรือ เป็นจิตที่ท่องเที่ยวอยู่ใน
    อรูปภูมิ จิตประเภทนี้มีจำนวน ๑๒ ดวง<O:p</O:p
    . โลกุตตรจิต เป็นจิตประเภทที่กำลังพ้นและพ้นแล้วจากโลกทั้ง ๓ คือ พ้นจาก กามโลก (กามภูมิ), จากรูปโลก
    (รูปภูมิ) และจากอรูปโลก (อรูปภูมิ) จิตประเภทนี้มีจำนวนเพียง ๘ ดวง ถ้าจิต ๘ ดวงนี้ประกอบด้วยฌาณด้วยแล้ว จิตแต่ละดวงก็แจกได้เป็น ๕ ตามชั้นตามประเภทของฌาณ ซึ่งมี ๕ ชั้น จึงเป็นจิตพิศดาร ๔๐ ดวง ดังนั้น จิตทั้งหมด นับโดยย่อก็เป็น ๕๔ ดวง และนับโดยพิศดาร
    ก็เป็น ๑๒๑ ดวงที่นับอย่างพิศดารนั้น จำนวนที่เพิ่มขึ้น ก็เพิ่มที่โลกุตตรกุศลจิตประเภทเดียวเท่านั้น<O:p</O:p

    จิตตานุภาพ
    โดยท่านเจ้าคุณนรรัตน์ราชมานิตวัดเทพศิรินทราวาส
    <O:p

    จิตตานุภาพ คืออานุภาพของจิตแบ่งเป็น ๓ ประเภท คือ
    จิตตานุภาพบังคับตนเอง
    จิตตานุภาพบังคับผู้อื่น
    จิตตานุภาพบังคับเคราะห์กรรม

    จิตตานุภาพบังคับตนเอง

    ตนของตนย่อมเป็นที่พึ่งแก่ตนเอง เหตุนี้จึงต้องหัดบังคับตนเองผู้อื่นถึงจะเป็นศัตรูก็ไม่เท่าตนเป็นศัตรูต่อตนของตนเองถ้ายังไม่สามารถบังคับตนของตนเองให้ดีได้แล้วก็อย่าหวังเลยว่าจะบังคับผู้อื่นให้ดีได้

    จิตตานุภาพบังคับตนเองมี ๗ ประการ

    บังคับความหลับและความตื่น

    การหัดนอนให้หลับสนิทเป็นกำลังสำคัญยิ่งนักเหตุที่ทำให้นอนไม่หลับมี ๒ ประการ คือ

    ๑.๑ ร่างกายไม่สบายพอ
    อาหารที่ย่อยยากก็เป็นเหตุให้ร่างกายไม่สบายพอ ควรนอนตะแคงข้างขวาถ้านอนหงายก็ควรให้เอียงขวานิดหน่อย ถ้าต้องการพลิกก็ควรพลิกจากขวานิดหน่อยแล้วกลับตะแคงขวาตามเดิม นอนย่อมให้อวัยวะทุกส่วนพักผ่อนอย่าให้เกร็งตึงและไม่ควรตะแคงซ้าย

    ๑.๒ ความคิดฟุ้งซ่าน
    เวลานอนถ้าจิตฟุ้งซ่าน ควรคิดถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่อย่างเดียวครั้นแล้วก็เลิกละไม่คิดสิ่งนั้น และไม่คิดอะไรอื่นต่อไปอีกกระทำใจให้หมดจดเหมือนน้ำที่ใสสะอาด
    ควรบังคับตัวให้ตื่นตรงตามเวลาที่ต้องการ ก่อนนอนต้องคิดให้แน่แน่วสั่งตนเองให้ตื่นเวลาเท่านั้น เมื่อถึงเวลาก็จะตื่นได้เองตามความประสงค์

    ทำความคิดให้ปลอดโปร่ง ว่องไวในเวลาตื่นขึ้น อย่าให้เซื่องซึมต้องเอาความคิดในเวลาตื่นเช้าไปประสานติดต่อกับความคิดที่เราทิ้งไว้เมื่อวันวานก่อนที่จะนอนหลับ ก่อนนอนควรจดบันทึกกิจการที่เราจะต้องทำในวันรุ่งขึ้นนั้นไว้ในกระดาษแผ่นหนึ่งเสมอพอตื่นขึ้นมาก็หยิบดูเพื่อปลุกความคิดให้ตื่น
    เปลี่ยนความคิดได้ตามต้องการคือเมื่อต้องการคิดอย่างใดก็ให้คิดได้อย่างนั้น ทิ้งความคิดอื่น ๆ หมดและเมื่อไม่ต้องการคิดอีกต่อไป จะคิดเรื่องอื่นก็ให้เปลี่ยนได้ทันทีและทิ้งเรื่องเก่าโดยไม่เอาเข้ามาพัวพัน คือทำใจให้เป็นสมาธิอยู่ที่กิจเฉพาะหน้าการเปลี่ยนความคิดเป็นเหตุให้ห้องสมองมีเวลาพักชั่วคราวทำให้สมองมีกำลังแข็งแรงขึ้น

    สงบใจได้แม้เมื่อตกอยู่ในอันตราย หรือประสบทุกข์อย่าให้เสียใจหมดสติสะดุ้ง ดิ้นรนจนสิ้นปัญญาแก้ไข เกิดความท้อถอยไม่ทำอะไรต่อไปความสงบไม่ตื่นเต้นเป็นเหตุให้เกิดปัญญาประกอบกิจให้สำเร็จได้สมหวังเราจะแก้ไขเหตุร้ายที่เกิดขึ้นแก่เราได้นั้นก็มีทางจะทำอยู่ ๒ ขั้น

    ๔.๑ ต้องสงบใจมิให้ตื่นเต้น
    ๔.๒ ต้องมีความมานะพยายาม

    วิธีสงบใจที่ดีที่สุด หายใจยาวและลึก<O:p</O:p

    เปลี่ยนนิสัยความเคยชินของตัวจากร้ายเข้ามาหาดีการขืนใจตัวเองชั่วขณะหนึ่งอาจเป็นผลดีแก่ตัวเองตลอดชีวิตแต่การทำตามใจตัวขณะเดียวก็อาจเป็นผลถึงการทำลายชีวิตของเราได้เหมือนกัน

    ตรวจตราตัวของตัวเป็นครั้งคราวโดยสม่ำเสมอให้ทราบว่ากำลังใจมั่นคงขึ้นหรือไม่ ฝ่ายกุศลเจริญขึ้นหรือไม่ฝ่ายอกุศลลดน้อยเบาบางหมดสิ้นไปหรือไม่ ใจยังสะดุ้งดิ้นรนหวั่นไหวอยู่หรือไม่

    ป้องกันรักษาตัวด้วยจิตตานุภาพการสะดุ้งตกใจหรือเสียใจ ความกลัว เป็นเหตุให้เกิดโรคและโรคกำเริบและเป็นเหตุให้คนดี ๆ ตายได้ คนไข้ถ้าใจดีหายเร็วความไม่กลัวตายรอดอันตรายได้มากกว่ากลัวตายความพยายามและอดทนเป็นเหตุให้สำเร็จสมประสงค์

    จิตตานุภาพบังคับผู้อื่น

    จิตตานุภาพอย่างอ่อนสามารถใช้สายตาน้ำเสียงและด้วยกระแสจิตประกอบคำพูด ซึ่งจะเป็นเครื่องจูงใจคนให้เชื่อฟังลักษณะไม่หวาดหวั่นครั่นคร้ามต่อใคร ๆนั้นไม่ใช่ชีวิตหัวดื้อบึกบึนซึ่งไม่นับว่าเป็นจิตตานุภาพต้องเป็นคนสุภาพสงบเสงี่ยม เคารพนบนอบต่อบุคคลที่ควรเคารพแต่ทว่าหัวใจของคนชนิดนั้นไม่หวาดหวั่นเกรงกลัวใครและสามารถแสดงให้เห็นว่าตัวเป็นมนุษย์คนหนึ่งอยู่ในโลก และเป็นมนุษย์ที่รู้จักคิดรู้จักพูด รู้จักทำ

    คนที่สามารถเป็นนายตนเอง ไม่ตกเป็นทาสของหัวใจคนอื่นและสามารถดึงดูดหัวใจคนเข้ามาเชื่อฟังเกรงกลัวนั้นถ้าสังเกตให้ดีแล้วจะเห็นได้ว่ามีลักษณะ ๔ ประการ

    สายตาแข็ง มีอำนาจในตัว
    เสียงชัดแจ่มใส
    ท่าทางสงบเสงี่ยมและเป็นสง่า
    รู้จักวิธีชักจูงหัวใจคนให้หันมาเข้าในคลองความคิดของตัว

    พยายามอ่านหนังสือหน้าหนึ่งโดยไม่กะพริบตาเลยทำให้สายตาแข็งได้อ่านหนังสืออย่างช้า ๆ ให้ชัดถ้อยคำทุก ๆตัวและให้ได้ระยะเสมอกันทำให้เสียงชัดแจ่มใส

    เวลาพูดพยายามพูดให้เป็นจังหวะอย่าให้ช้าบ้างเร็วบ้างและให้ชัดถ้อยคำเสมอไม่ให้อ้อมแอ้มหรือกลืนคำเสียครึ่งหนึ่ง เป็นการฝึกหัดให้เสียงชัดเจนแจ่มใส

    บุคคลที่มีสง่าคือคนที่บังคับร่างกายให้อยู่ในอำนาจหัวใจได้เสมอมีท่าทางสงบเสงี่ยมเป็นสง่าไม่แสดงอาการโกรธ เกลียด กลัว รัก ขมขื่น ตกใจ สะดุ้งเศร้าโศก ให้ปรากฏ ไม่ทำอิริยาบถเคลื่อนไหวอันใดโดยไม่จำเป็นและโดยบอกความกำกับของใจ มีหน้าตาแจ่มใส อิริยาบถสงบเสงี่ยมเป็นสง่าอยู่ทุกขณะการเคลื่อนไหวทุกอย่างทำด้วยความหนักแน่นมั่นคง อย่าให้รวดเร็วจนเป็นการหลุกหลิกหรือผึ่งผายจนเป็นการเย่อหยิ่ง หรืออ่อนเปียกจนเป็นการเกียจคร้านในเวลายืนให้น้ำหนักตัวถ่วงอยู่ทั่วตัวเสมอ ไม่ให้ถ่วงแต่ส่วนใดส่วนหนึ่ง

    รู้จักใช้วิธีชักจูงหัวใจคนให้หันเข้ามาในคลองความคิดของเรา

    หลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดมีสิ่งที่จะชักจูงให้เขาละทิ้งข้อแนะนำของเรา
    จูงใจเขาให้หันเข้ามาในทางที่เราต้องการทุกที

    วิธีป้องกันตัวไม่ให้จิตตานุภาพของผู้อื่นบังคับเราได้

    ให้ทำมโนคติให้เห็นประหนึ่งว่ากระแสดวงจิตของเราแผ่ซ่านป้องกันอยู่รอบตัวเราจิตตานุภาพของผู้อื่นไม่สามารถจะเข้าถึงตัวเราได้ ให้ทำเวลาเข้านอนครั้งหนึ่งและขณะที่อยู่ใกล้บุคคลที่เราระแวงว่าเขาจะใช้จิตตานุภาพบังคับเรา

    จิตตานุภาพบังคับเคราะห์กรรม

    เครื่องมือที่จะชักนำเอาเคราะห์ดีเข้ามาคือความพยายามเข้มแข็งไม่ท้อถอยหนักแน่นระมัดระวังเชื่อแน่ในความพากเพียรบากบั่นของตัว มักจะเป็นคนเคราะห์ดีอยู่เสมอและมีคุณสมบัติอย่างอื่นอีกคือ ความมุ่งหมายและอย่าให้นึกถึงเคราะห์ร้ายตั้งความมุ่งหมายถึงผลอันใดในชีวิตไว้เท่านั้นเพื่อให้ก้าวหน้ามุ่งตรงไปจนบรรลุสมประสงค์

    ความมุ่งหมายจำต้องให้สูงไว้เสมอเพื่อจะได้มีความพยายามอย่างสูงด้วย แต่การก้าวไปสู่ที่มุ่งหมายนั้นต้องก้าวอย่างระมัดระวังไม่ก้าวให้ผิด ควรมีความปรารถนาให้สูงอยู่เสมอแต่จะต้องระมัดระวังมิให้เดินพลาด

    การไม่ยอมแพ้เคราะห์ร้ายเป็นเหตุให้เคราะห์ร้ายพ่ายแพ้เองเมื่อประสบเคราะห์

    จะต้องไม่ให้ใจเสีย เชื่อมั่นในความรู้ความสามารถของตัว รวบรวมกำลังให้พรั่งพร้อม
    ตั้งความมุ่งหมายให้ดีและตกลงแน่ว่าจะมุ่งไปทางไหน
    ใช้ความระมัดระวังให้มากขึ้น กุมสติให้มั่นอย่างไรก็ดีจะปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรมทำการต่อสู้ดังกล่าวแล้วนั้นไม่ได้เป็นอันขาด

    การต่อสู้กับเคราะห์

    จะต้องสงบใจไม่ตื่นเต้น ไว้ใจตัวและเชื่อแน่ว่าเรามีจิตตานุภาพเป็นเครื่องมือรวมกำลังสติปัญญาของเราให้พรั่งพร้อมเช่นเดียวกับนายเรือที่ไม่รู้จักเสียใจ รวบรวมกำลังเรือและกำลังคนให้บริบูรณ์

    ต้องยึดที่หมายให้แน่นกล่าวคือระลึกถึงผลที่เราต้องการบรรลุนั้นให้แน่วแน่ยิ่งขึ้นเปรียบเสมือนนายเรือที่ตั้งเข็มทิศให้ตรงและให้รู้แน่ว่าจะต้องการให้เรือบ่ายเบี่ยงไปทางไหน

    ใช้ความระมัดระวังให้มากยิ่งกว่าเมื่อก่อนจะเกิดเหตุร้ายอีกหลายเท่าและความวินิจฉัยที่ถูกต้อง ทำทางปฏิบัติของเราเหมือนอย่างหางเสือเรือที่จะช่วยให้เรือบ่ายเบี่ยงไปทางทิศที่ต้องการจะไป

    ไม่สามารถจะก้าวไปข้างหน้าได้ก็อย่าถอยหลังให้หยุดอยู่กับที่

    ให้รู้สึกว่าเคราะห์นั้นทำให้เราดีขึ้น เป็นครูของเรา เป็นผู้เตือนเราเป็นผู้ลวงใจเรา อย่าเห็นว่าเคราะห์กรรมเป็นของเลว ไม่น่าปรารถนาควรคิดว่าเป็นของดีที่ทำให้เราเข้มแข็งมั่นคงขึ้นให้รู้สึกเสมอว่าเราเกิดมาเรียนทั้งเคราะห์ร้ายและเคราะห์ดีเคราะห์เป็นบทเรียนของเรา ที่จะทำให้เราแจ้งโลกแล้วจะได้พ้นโลก ดังนี้จะไม่รู้จักเคราะห์ร้ายเลยในชีวิต


    ขอขอบคุณข้อมูลจาก สถานีมหาปราชญ์</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 มีนาคม 2010
  2. psombat

    psombat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,334
    ค่าพลัง:
    +5,438
    [​IMG]
    ถวายพระบรมสารีริกธาตุ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันตธาตุ พระพิมพ์วังหน้า
    วันนี้ 31 มี.ค. 2553 เวลา 08:37

    โมทนาสาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 มีนาคม 2010
  3. psombat

    psombat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,334
    ค่าพลัง:
    +5,438
    [​IMG]
    ถวายพระบรมสารีริกธาตุ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันตธาตุ พระพิมพ์วังหน้า
    วันนี้ 31 มี.ค. 2553 เวลา 09:06

    โมทนาสาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 มีนาคม 2010
  4. psombat

    psombat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,334
    ค่าพลัง:
    +5,438
    [​IMG]
    ถวายพระบรมสารีริกธาตุ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันตธาตุ พระพิมพ์วังหน้า
    วันนี้ 31 มี.ค. 2553 เวลา 09:22

    โมทนาสาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 มีนาคม 2010
  5. psombat

    psombat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,334
    ค่าพลัง:
    +5,438
    [​IMG]
    ถวายพระบรมสารีริกธาตุ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันตธาตุ พระพิมพ์วังหน้า
    วันนี้ 31 มี.ค. 2553 เวลา 09:32

    โมทนาสาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 มีนาคม 2010
  6. psombat

    psombat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,334
    ค่าพลัง:
    +5,438
    สรุปรายนามวัดที่ถวายพระบรมฯ พระพิมพ์ฯ 1 ม.ค - 31 มี.ค. 2553 และกำหนดการที่จะถวายต่อไป

    [​IMG]

    ลึกๆผมเองไม่อยากให้กระจุกตัวในอำเภอหรือจังหวัดหนึ่งๆเลย ก็จะพยายามกระจายไปยังจังหวัดรอบๆให้ได้มากและดีที่สุดครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 มีนาคม 2010
  7. psombat

    psombat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,334
    ค่าพลัง:
    +5,438
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949

    เยี่ยมมากครับ

    .
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    เจาซานมู่ซื่อ : เช้าสามเย็นสี่
    China - Manager Online

    [​IMG]โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
    31 มีนาคม 2553 09:36 น.[​IMG]

    《朝三暮四》

    朝(zhāo) อ่านว่า เจา แปลว่า ยามเช้า
    三(sān) อ่านว่า ซาน แปลว่า สาม
    暮(mù) อ่านว่า มู่ แปลว่า ยามเย็น
    四(sì) อ่านว่า ซื่อ แปลว่า สี่


    [​IMG]
    ภาพจาก ????ʩ??[​IMG]

    ในสมัยสงครามระหว่างรัฐ(จั้นกั๋ว) ณ แคว้นซ่งมีเฒ่าชราเลี้ยงวานรผู้หนึ่ง ในบริเวณสวนหลังบ้านของเขาเต็มไปด้วยฝูงวานร เมื่อวันเวลาผ่านไปนานเข้า ผู้เฒ่าผู้นี้ก็เริ่มเข้าใจอากัปกิริยาและความต้องการของเหล่าวานรที่เลี้ยงไว้ ส่วนวานรก็สะดวกสบายอยู่ในความดูแลของผู้เฒ่า

    ทุกๆ วัน ผู้เฒ่าจะเลี้ยงดูวานรด้วยลูกเกาลัด โดยวานร 1 ตัวจะได้ส่วนแบ่งเกาลัด 8 ผลต่อวัน แบ่งเป็นมื้อเช้า 4 ผลและมื้อเย็น 4 ผล ต่อเมื่อเวลาผ่านไปหลายปี ฐานะทางการเงินของผู้เฒ่าย่ำแย่ลง แต่จำนวนประชากรวานรกลับตรงข้าม นับวันเพิ่มเป็นทวีคูณ ผู้เฒ่าจึงคิดลดจำนวนเกาลัดที่เป็นอาหารของเหล่าวานร จากวันละ 8 ผลกลายเป็น 7 ผลสำหรับวานรแต่ละตัว คิดได้ดังนั้นเขาจึงเปิดฉากเจรจากับเหล่าวานรว่า "จากวันนี้เป็นต้นไป ทุกๆ เช้าข้าจะมอบผลเกาลัดให้พวกเจ้าเพียงตัวละ 3 ผล ส่วนมื้อค่ำยังคงเป็น 4 ผลเช่นเดิม พวกเจ้าคิดว่าอย่างไร?"

    "เช้า 3 เย็น 4" เมื่อฝูงวานรได้ฟัง ต่างก็ขบคิดไม่เข้าใจว่าเหตุใดส่วนแบ่งอาหารของตนในยามเช้าจึงน้อยลงไป 1 ผล จึงเริ่มต้นตะโกนโวยวาย วิ่งวุ่นไปมา แสดงอาการไม่พอใจเป็นอันมาก

    เมื่อผู้เฒ่าเห็นดังนั้น จึงรีบกล่าวแก้ว่า "ถ้าเช่นนั้น เอาเป็นว่ามื้อเช้าพวกเจ้าจะได้เกาลัดตัวละ 4 ผลเหมือนเดิม ส่วนตอนเย็นค่อยลดลงไปเป็น 3 ผล อย่างนี้ใช้ได้หรือไม่?"

    เหล่าฝูงวานร เพียงได้ยินผู้เฒ่ากลับคำพูดเป็น "เช้า 4 เย็น 3" ก็ไม่ทันขบคิดอันใด เพียงคิดว่าอาหารมื้อเช้ากลับมาเป็นจำนวนเท่าเดิมแล้ว ต่างก็พากันดีอกดีใจยิ่งนัก

    สำนวน "เช้าสามเย็นสี่" แต่เดิมหมายถึงใช้กลวิธีเพื่อต้มตุ๋นหลอกลวงผู้อื่น ต่อมามักใช้เปรียบเปรยถึงการพูดแล้วคืนคำ หรือพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปมาไม่อยู่กับร่องกับรอย


    สำนวนนี้ใช้ในตำแหน่งภาคแสดง(谓语) ส่วนขยายนาม(定语) หรือส่วนขยายภาคแสดง(状语)


    ที่มา ?ٶȰٿơ???ȫDz׮?
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    เรียน <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->ท่านลูกน้อง<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_3136914", true); </SCRIPT>

    วันนี้ <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->ลูกพี่<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_3138001", true); </SCRIPT> ได้รับ CD เรียบร้อยแล้ว

    อ่า รูปสวยมากครับ

    ขอบคุณมากครับ



    .
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ผมจะนำ CD ไปในงานสรงน้ำฯด้วย หากท่านใด write CD ได้ รบกวนช่วยทำให้ด้วยนะครับ

    .
     
  12. psombat

    psombat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,334
    ค่าพลัง:
    +5,438
    ด้วยความยินดีครับ
    เพื่อนผม write เสร็จแล้ว 10 แผ่น แต่จะไม่มีภาพของงานสรงน้ำปู่ ไว้จะให้เขานำไปมอบให้ภายในพรุ่งนี้ครับ
     
  13. psombat

    psombat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,334
    ค่าพลัง:
    +5,438

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • VoteOutput.png
      VoteOutput.png
      ขนาดไฟล์:
      44.5 KB
      เปิดดู:
      178
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    04-01-2010 10:02 AM
    sithiphong
    สำหรับท่านสมาชิกชมรมรักษ์พระวังหน้าทุกท่าน

    หากท่านใดที่โพสความรู้ หรือ การพูดคุยกันในกระทู้พระวังหน้าฯนี้ สูงสุด จำนวน 2 ท่านแรก ผมจะมีพระพิมพ์ของวังหน้ามอบให้(แต่จะเป็นพิมพ์ไหน ผมขอเลือกให้เอง) ครับ

    เริ่มต้นตั้งแต่วันจันทร์ที่ 4 มกราคม 2553(เวลา 10.00 น.) สิ้นสุดวันที่ 1 เมษายน 2553 (เวลา 18.00 น.)

    จำนวนโพส จะอยู่ในไฟล์แนบนี้ครับ

    [​IMG] post 2553.doc

    กลุ่มชมรมพระวังหน้าฯ กระทู้รักษ์พระวังหน้า

    กระทู้พระวังหน้าฯ หน้าที่ 1790 วันที่ 4 มกราคม 2553



    .

    .
     
  15. psombat

    psombat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,334
    ค่าพลัง:
    +5,438
    ถ้ามีการเก็บสถิติการเข้าชมบ่อยที่สุด ผมน่าจะติด 1 ใน 2 อยู่เนอะ หุหุ :)
     
  16. psombat

    psombat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,334
    ค่าพลัง:
    +5,438
    <TABLE class=tborder border=0 cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%"><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 63 คน ( เป็นสมาชิก 2 คน และ บุคคลทั่วไป 61 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"><CENTER">[ แนะนำเรื่องเด่น ] </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>psombat, dragonlord </TD></TR></TBODY></TABLE>

    งั้น ผมขอแถมสถิติให้ละกัน
    - กระทู้ Post ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 53 - 1 เม.ย. 53 (11:33) = 1,708 กระทู้
    - เฉลี่ย Post วันละ ~ 14 กระทู้
    - เปรียบเทียบ ณ วันที่ 1 ม.ค กับ 1 เม.ย. 53
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    [​IMG] [​IMG]


    .
     
  18. psombat

    psombat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,334
    ค่าพลัง:
    +5,438
    <TABLE class=tborder border=0 cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%"><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 34 คน ( เป็นสมาชิก 2 คน และ บุคคลทั่วไป 32 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"><CENTER">[ แนะนำเรื่องเด่น ] </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>psombat, พรสว่าง_2008

    ซำบายดีคนบ้านไกล ... ยังบ่ได้ติดต่อหมู่อยู่ทางพุ้นเลยเด้อ ...
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  19. psombat

    psombat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,334
    ค่าพลัง:
    +5,438
    บรรดาเครื่องราง : นอกจาก ตะกรุด,เบี้ยแก้,ลูกสะกด,ลูกอมผงยา-ปัญจสิริ และน้ำประสาน มีอะไรอื่นอีกมั๊ยครับ :)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P11101922.jpg
      P11101922.jpg
      ขนาดไฟล์:
      37 KB
      เปิดดู:
      1,497
    • P11208511.jpg
      P11208511.jpg
      ขนาดไฟล์:
      33.4 KB
      เปิดดู:
      1,471
    • P11301222.jpg
      P11301222.jpg
      ขนาดไฟล์:
      33.7 KB
      เปิดดู:
      1,464
    • P11101899.jpg
      P11101899.jpg
      ขนาดไฟล์:
      34 KB
      เปิดดู:
      1,461
  20. psombat

    psombat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,334
    ค่าพลัง:
    +5,438
    [​IMG] [​IMG]

    เรียนพี่หนุ่ม: เนื้อผงยาแบบสีน้ำตาล กับ เนื้อผงยาจินดามณี(สีดำ)ต่างกันอย่างไรครับ

    ขอบคุณครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 เมษายน 2010

แชร์หน้านี้

Loading...