ร่วมเดินทางสู่อริยบุคคลชั้นโสดาบัน

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย บุญหืด, 31 ตุลาคม 2009.

  1. บุญหืด

    บุญหืด Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +50
    พระอริยบุคคลชั้นโสดาบันต้องตัดกิเลสชั้นละเอียดได้ 3 อย่างนี้คือ (1) ละสักกายทิฏฐิ มี2ส่วนครับ(กาย-ใจ)แปลว่า ความเห็นกายเป็นของตนว่าร่างกายนี้เป็นของตน ส่วนนี้คิดว่าทำไม่ยากเท่าไรครับใช้ สมถะกรรมฐาน(แปลว่าดูหรือเพ่ง)ในบทของ อสุภะ 10 ได้(คือพิจรณาร่างกาย ซากศพ เอ็น กระดูกๆลๆ)ในบทนั้นบ่อยๆเดี๋ยวจิตจะจำจนติดตาเองครับแล้วจะช่วยคลายความยึดถือได้.ส่วนของจิตตรงนี้ยากครับต้องใช้ จิตตานุปัสสนาสติปัฎฐานในการตามรู้จิตคือการรู้อารมณ์นั่นเอง จิตมีโทะรู้ว่าจิตมีโทสะ จิตมีโมหะรู้ว่าจิตมีโมหะ จิตมีโลภะรู้ว่าจิตมีโลภะตามรู้เฉยๆไม่ต้องทำอะไร(วิปัสสนาแปลว่าตามรู้)เดี๋ยวก็ดับเองครับทำชำนาญเข้าก็จะเห็น ไตรลักษณ์ครับ(ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ อนัตตา)ฝึกทำ 2 อย่างนี้ครับจะเข้าใจว่า กาย-ใจ ไม่ใช่ของเราๆไม่มีๆแต่ รูป-นาม จบ.(2)วิกิจิกิจฉา แปลว่าความลังเลสงสัย อาจจะเป็นเรื่องของความพ้นทุกข์เรื่องพระพุทธเจ้ามีจริงไหม เรื่องทำแล้วจะได้ผลบุญอย่างนี้อย่างนั้นไหม.ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของพุทธศาสนาครับแต่ถ้าเป็นว่า ทำอย่างนี้แล้วจะได้เลื่อนขั้นไหมอันนี้ไม่ใช่ครับ(วิจิกิจฉาเทียม)ข้อนี้ไม่มีอะไรมากครับ จบ. (3)สีลัพพตปรามาส แปลว่าการจับศิลและวัตรผิดมุ่งหมายที่ถูกต้องเช่นอาการทางไสยศาสตร์ อำนาจศักสิทธิ์ แหะเหินเดินอากาศ เห็นแสงสีเสียงเวที(พูดเล่นครับ)หรือแม้แต่เป็นภิกษุสมาทานศิลปฎิบัติสิกขาบทด้วยความคิดว่าจะได้ไปเกิดเป็นเทวดาในสวรรค์อย่างนี้ก็ใช่ครับ.นี่คืออาการละสังโยชน์ 3 ข้อในความเป็นอริยบุคคลชั้นโสดาบันครับ ซึ่งคนธรรมดาซึ่งอยู่ในเพศของฆารวาสสามารถเป็นได้ครับและก็สุดแค่ขั้นนี้เหมือนกันครับในเพศฆารวาสแต่ถ้าได้มาถึงขั้นนี้แล้วในทางโลก อัจฉริยะครับ.สุดท้ายนี้ลองตรวจสอบดูครับว่าใครมีอะไรแล้วหรือขาดอะไรแล้วร่วมเดินทางไปด้วยกัน อย่างน้อยชาติหน้าไม่ได้นิพพานก็อยู่ในภพภูมิที่ดีครับ. สวัสดีครับ
     
  2. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,692
    ค่าพลัง:
    +51,931
    *** ลังเลสงสัยในสัจจะความจริง ****

    คนยังลังเลสงสัยว่า สัจจะคือคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นหนทางหลุดพ้นทุกข์ จริงหรือ ...
    เพราะ ยังไม่เข้าไปศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง....

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  3. ANGKOR

    ANGKOR สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +19
    มาร่วมด้วยช่วยกันนะครับ

    การรู้กาย รู้ใจ คืิอรู้ความจริงว่าเป็นไตรลักษณ์ ไม่ว่าจะเป็น รูปกาย ที่เราเห็นด้วยตาและคิดยึดถือด้วยใจ ว่า เป็นตัวเรา เป็นของเรา แท้จริง ก็เหมือนหยิบยืมโลกเขามาใช้เพียงชาตินี้ แล้ัวก็ไปเอา ดิน น้ำ ลม ไฟ ใหม่ มาประกอบเป็นร่างกายอีกในชาติต่อไป และ ต่อ ๆ ไป

    ไม่ว่าจะเป็น ใจ หรือ ลม หรือสิ่งที่มีอยู่ แต่ไม่สามารถเห็นหรือจับต้องได้ นั่นคือส่วนของใจ อันประกอบด้วย การปรุงแต่ง ความจำเรื่้องราวในอดีตที่ผ่านมา ความรับรู้ต่าง ๆ จากทางการสัมผัส ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น และทางใจ อาการชอบชังรักเกลียดหรือเฉย ๆ

    เหล่านี้ล้วนมีอยู่จริง เกิดขึ้นจริง ตั้งอยู่ และดับไปจริง และไม่เคยได้สร้างปัญหาให้จิตใจ แต่เมื่อความหลงผิดคิดว่าอาการหรือรูปกายทั้งหลายเหล่านั้นมีเราเป็นเจ้าข้าวเจ้าของแล้ว มันเลยมีเรื่อง

    เรื่้องมันก็เกิด เพราะสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น มันไม่อยู่ในบังคับบัญชาหรือมันไม่ตามใจในสิ่งที่เราอยากให้มันเป็น อันไหนมันเป็นตามที่เราต้องการอันนั้นจะดีใจ ถ้าอันไหนไม่เป็นอย่างที่ต้องการก็เป็นทุกข์ร้อน กินไม่ได้นอนไม่หลับ

    แต่ถ้าได้รู้ได้เห็นว่ามันเป็นแต่ลม เกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วก็ดับไปเป็นธรรมดา ไม่ยึดไม่ถือไม่แบกไม่หามไม่ทึกทักเอาเองว่าเป็นตัวเราว่าเป็นของเรามันก็สบาย เพราะไม่มีผู้ทุกข์ ไม่มีผู้สุข อาการต่าง ๆ ถูกรับรู้ได้ตามความเป็นจริงว่าเกิดแล้วก็ดับไปเป็นธรรมดา

    อันนี้เป็นส่วนประกอบของการรู้ เพื่อนำไปสู่การละสักกายะทิฏฐิครับ

    เมื่อเรา อยู่กับรู้ได้เมื่อไหร่ ความทุกข์จะจางไปโขทีเดียวขอรับ กระผม;hi2
     
  4. รัตนภูมินทร์

    รัตนภูมินทร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    219
    ค่าพลัง:
    +319
    <H1>จะไปนิพพาน เขาทำยังไง?

    </H1>จาก หนังสือ หลักการปฏิบัติธุดงค์


    จิตตัด โลภะ ไม่เห็นว่าทรัพย์สินทั้งหลายในโลกมีประโยชน์สำหรับเราต่อไปในวันหน้า วันนี้จำจะต้องอาศัยมันไม่เป็นไร มีแล้วก็แล้วกันไป แต่ว่าไม่สนใจ เราตายแล้วเราไม่ห่วง
    ตัดกามฉันทะ ความเป็นอยู่ในการครองคู่ไม่ได้เกิดประโยชน์ เป็นปัจจัยของความทุกข์ ไม่ต้องการมันอีก
    ตัดโทสะ เห็นว่าโทษของโทสะเป็นปัจจัยของความทุกข์ มีเมตตาพรหมวิหาร เป็นเบื้องหน้าก็ไม่มีโทสะ
    ตัดโมหะ เห็นว่าร่างกายเป็นเพียงธาตุ ๔ ประชุมกัน มันมีการเกิดขึ้นแล้วก็มีการตายไป ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา ไม่สนใจร่างกายของเราด้วย ไม่สนใจร่างกายของคนอื่นด้วย ไม่สนในสรรพวัตถุทุกอย่างในโลกด้วย ในเมื่อตายคราวนี้แล้วขึ้นชื่อว่าโลกทั้งสาม คือ มนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก เราไม่ต้องการ เราต้องการอย่างเดียวคือ พระนิพพาน
    นี่นักธุดงค์ที่เขาต้องการพระนิพพานน่ะ เขาตื่นขึ้นมาเขาใช้อย่างนี้ คุมอารมณ์ตั้งแต่ต้น ทรงพรหมวิหาร ๔ ตัดอารมณ์ปลิโพธิ ตัดนิวรณ์ แล้วก็ตัดขันธ์ ๕ นักธุดงค์..ถ้ายังต้องการฌานโลกีย์ เสียแรงเดิน ไม่ได้ประโยชน์ นักธุดงค์เขาต้องการพระนิพพาน เขาไม่ต้องการฌานโลกีย์ เราต้องเป็นผู้ชนะเลิศ ถ้าเราเดินธุดงค์ครั้งหนึ่ง ถ้าได้แค่พระโสดา สกิทาคา เราต้องนึกว่าเราเลวเต็มที ควรจะได้อนาคามี หรือ อรหันต์
    เพราะอะไร เพราะเดินธุดงค์เข้าป่า มันต้องนึกถึงความตายทุกขณะลมหายใจเข้าออก เพราะเราไม่แน่ใจนี่ว่าความตายมันจะเข้ามาเมื่อไร ตายจากการมีโรค ตายจากสัตว์ร้ายที่ขบกิน อันตรายมันมีทุกด้าน เลยนั่งตัดขันธ์ ๕ มันเสียเล่นโก้ ๆ มันจะตายเมื่อไรสบายเมื่อนั้น ตายแล้วไปไหน..ฉันก็ไปนิพพาน จิตจับนิพพาน ตัดโลภะ ตัดโทสะ ตัดโมหะมันให้เกลี้ยง
    พอตัดในป่าได้ก็เข้ามาในบ้าน เข้าบ้านเขาเมืองมาดูซิว่า ราคะ มันกำเริบไหม โลภะ ความโลภ อยากรวยมันยังกำเริบไหม โทสะ กำเริบหรือเปล่า โมหะ กำเริบหรือเปล่า ถ้ายังมีอยู่ในจิตแม้แต่นิดหนึ่ง จงประฌามตัวเองว่าเลวเกินไป สิ่งนี้ไม่ใช่สิ่งที่เราต้องการ เรายังไม่สามารถจะชำระได้
    ฉะนั้น เมื่อกลับมาอยู่ที่ชุมชนก็ต้องเริ่มต้นปราบปราม ราคะ โทสะ โมหะ กันใหม่ ปราบไปอีกครั้งหนึ่ง ให้มันพินาศไปด้วย อำนาจของป่า คือ "กิเลส" ป่าคือ "หมู่ชน"
     
  5. สิงหนวัติ

    สิงหนวัติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2009
    โพสต์:
    788
    ค่าพลัง:
    +2,107
    พระกรรมฐานพาไปนิพพานได้ครับ อยู่ที่การปฏิบัติว่าตั้งใจแค่ไหน ตั้งใจแน่วแน่ ปฏิบัติตั้งมั่นก็นิพพานเร็ว ยิ่งความตั้งมั่นจางลงๆ เท่าไหร่ ก้ไปช้าเท่านั้นครับ

    วิธีไปนิพพาน
    ๑.คิดถึงความตายว่าเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
    ๒.เคารพพระพุทธเจ้าด้วยความเคารพ ปฏิบัติพุทธานุสติอย่าให้ขาด (เจริญพระกรรมฐาน)
    ๓.เคารพในพระธรรม
    ๔.เคารพในพระสงฆ์
    ๕.ปฏิบัติและรักษา "ศีลและกรรมบท ๑๐" อย่างเคร่งครัด (มีอะไรบ้างไปดูเอาเอง)
    ทำได้ตามนี้ไม่มีตกนรก ถ้าทำแบบเอาจริงเอาจัง เต็มใจทำจริง ตายจากคนไปเกิดเป็นเทวดาหรือพรหม แล้วลงมาเกิดเป็นมนุษย์จะนิพพานในชาตินั้น ถ้าปฏิบัติแบบเข้มบ้างอ่อนบ้าง จะเป็นคนอีกสามชาติแล้วนิพพาน ปรพเภทสุดท้ายทำได้ครบจริง แต่กำลังใจอ่อน รักษาได้ไม่ขาด แต่ไม่เคร่งครัด อีกเจ็ดชาติจะไปนิพพาน

    ใครจะเลือกไปทางไหน ไปด้วยอะไรก็สุดแล้วแต่ท่านนะครับ โมทนา
     
  6. vini

    vini สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +1
    ครับผมก็ศึกษามาจากพระไตรปิฏกบ้างเพื่อนกัลยาณมิตรในอินเตอรเน็ตบ้างก็พอจะมีความรู้บ้าง
    ที่จะสนทนาธรรมเกี่ยวกับข้อปฏิบัติเพื่อบรรลุเป็นโสดาบันบุคลก่อนอื่นก็ต้องมีสัมาทิฏฏิละสังโยช
    3 อันมีสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส บรรดาสัญโญชน์ ๓ เหล่านั้น สักกายทิฏฐิ เป็นไฉน
    ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไร้การศึกษา ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาด
    ในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า
    ไม่ได้เห็น สัปบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำ
    ในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมเห็นรูปเป็นตน หรือเห็นตนมีรูป เห็นรูปใน
    ตน เห็นตนในรูป ย่อมเห็นเวทนาเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นสัญญาเป็นตน
    ฯลฯ ย่อมเห็นสังขารเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นวิญญาณเป็นตน หรือเห็น
    ตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตน เห็นตนในวิญญาณ ทิฏฐิ ความเห็น
    ไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มี ลักษณะเช่นว่านี้ นี้
    เรียกว่า สักกายทิฏฐิ
    วิจิกิจฉา เป็นไฉน
    ปุถุชนเคลือบแคลงสงสัยในพระศาสดา เคลือบแคลงสงสัยใน
    พระธรรม เคลือบแคลงสงสัยในพระสงฆ์ เคลือบแคลงสงสัยในสิกขา
    เคลือบแคลงสงสัยในส่วนอดีต เคลือบแคลงสงสัยในส่วนอนาคต
    เคลือบแคลงสงสัยทั้งในส่วนอดีต และส่วนอนาคต เคลือบแคลงสงสัย
    ในธรรมอันเป็นปัจจัยของกันและกันและ อาศัยกันและกันเกิดขึ้น
    ความเคลือบแคลง กิริยาที่เคลือบแคลง สภาพที่ เคลือบแคลง ฯลฯ
    ความกระด้างแห่งจิต ความลังเลใจ อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า
    วิจิกิจฉา
    สีลัพพตปรามาส เป็นไฉน
    สมณพราหมณ์ภายนอกศาสนานี้ มีความเห็นว่า ความบริสุทธิ์
    ย่อมมีได้ด้วยศีล ด้วยวัตร ด้วยศีลและวัตร ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้าง
    ทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า สี
    ลัพพตปรามาส
    พระพุทธพจน์ที่ตรัสแสดง สีลัพพตปรามาส
    ผู้ใดไม่ถือมงคลตื่นข่าว ไม่ถืออุกกาบาต ไม่ถือความฝัน
    ไม่ถือลักษณะดีหรือชั่ว ผู้นั้นชื่อว่าล่วงพ้นโทษ
    แห่งการถือมงคลตื่นข่าว ครอบงํากิเลสที่ผูกสัตว์ไว้ในภพ
    อันประดุจคูกั้นเสียได้ ย่อมไม่กลับมาเกิดอีก
    (ขุ.ชา. ๒๗/๘๗/๒๘)
    ถ้า แม้นบุคคลจะพ้นจากบาปกรรมได้ เพราะการอาบนํ้า
    (ชําระบาป) กบ เต่า นาค จรเข้ และสัตว์เหล่าอื่นที่
    เที่ยวไปในแม่นํ้า ก็จะพากันไปสู่สวรรค์แน่นอน.......
    (และพระองค์ตรัสในมุมมองอันน่าคิดอีกมุม หนึ่งต่อไปว่า)
    ถ้าแม่นํ้าเหล่านี้พึงนําบาปที่ท่านทําไว้แล้วในกาลก่อนไปได้ ไซร้
    (ดังนั้น)แม่นํ้าเหล่านี้ก็พึงนําบุญของท่านไปได้ด้วย(เช่นกัน)
    (ขุ.เถรี.๒๖/๔๖๖/๔๗๓)
    บุคคลประพฤติชอบเวลาใด เวลานั้นได้ชื่อว่า เป็นฤกษ์ดี
    เป็นมงคลดี เป็นเช้าดี อรุณดี เป็นขณะดี ยามดี
    และ(นับได้ว่า)เป็นอันได้ทําบูชาดีแล้วในท่าน
    ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งหลาย แม้กายกรรมของเขา(นั้น)ก็เป็น
    สิทธิโชค วจีกรรมก็เป็นสิทธิโชค มโนกรรมก็เป็นสิทธิโชค
    ประณิธานของเขาก็(ย่อมต้อง)เป็นสิทธิโชค ครั้นกระทํากรรม
    (การกระทําใดๆ)ทั้งหลายที่เป็นสิทธิโชคแล้ว
    เขาย่อมได้ประสบแต่ผลที่มุ่งหมายอันเป็นสิทธิโชค
    (องฺ.ติก. ๒๐/๕๙๕/๓๗๙ หรือพุทธธรรม น. ๒๑๕)
    ประโยชน์ได้ล่วงเลยคนเขลา ผู้คอยนับฤกษ์อยู่
    ประโยชน์เป็นตัวฤกษ์ของประโยชน์เอง ดวงดาวจักทําอะไรได้
    (ขุ.ชา ๒๗/๔๙/๑๖ )
    และประกอบด้วบศีล 5
    ภัยเวร ๕ ประการสงบแล้วเป็นไฉน ดูกรคฤหบดี
    บุคคลผู้ฆ่าสัตว์ ย่อมประสพภัยเวรใด อันมีในชาตินี้บ้าง อันมีในชาติ
    หน้าบ้าง ย่อม เสวยเจตสิกทุกข์คือโทมนัสบ้าง เพราะปาณาติบาตเป็น
    เหตุ ภัยเวรของอริยสาวก ผู้เว้นขาดจากปาณาติบาตสงบแล้วด้วย
    อาการอย่างนี้ บุคคลผู้ลักทรัพย์ย่อมประสพภัยเวรใด อันมีในชาตินี้
    บ้าง อันมีในชาติหน้าบ้าง ย่อมเสวยเจตสิกทุกข์คือโทมนัสบ้าง เพราะ
    อทินนาทานเป็นเหตุ ภัยเวรของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากอทินนาทาน
    สงบแล้วด้วยอาการอย่างนี้ บุคคลผู้ประพฤติผิดในกาม ย่อมประสพ
    ภัยเวรใดอันมีในชาตินี้บ้าง อันมีในชาติหน้าบ้าง ย่อมเสวยเจตสิกทุกข์
    คือโทมนัสบ้าง เพราะกาเมสุมิจฉาจารเป็นเหตุ ภัยเวรของอริยสาวกผู้
    เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจารสงบแล้วด้วยอาการอย่างนี้ บุคคลผู้พูดเท็จ
    ย่อมประสพภัยเวรใด อันมีในชาตินี้บ้าง อันมีในชาติหน้าบ้าง ย่อม
    เสวยเจตสิกทุกข์คือโทมนัสบ้างเพราะมุสาวาทเป็นเหตุ ภัยเวรของอริย
    สาวกผู้เว้นขาดจากมุสาวาทสงบแล้วด้วย อาการอย่างนี้ บุคคลผู้ตั้งอยู่
    ในความประมาท เพราะดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยย่อมประสพภัยเวร
    ใด อันมีในชาตินี้บ้าง อันมีในชาติหน้าบ้าง ย่อมเสวยเจตสิกทุกข์คือ
    โทมนัสบ้าง เพราะการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่ง
    ความประมาทเป็นเหตุ ภัยเวรของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากการดื่มน้ำเมา
    คือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทสงบแล้วด้วยอาการ
    อย่างนี้ ภัยเวร ๕ ประการนี้สงบแล้ว ฯ
    อริยสาวกย่อมประกอบด้วยธรรมเป็นองค์แห่งโสดา
    ปัตติ ๔ อย่างเป็นไฉน ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อม
    ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะ
    เหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดย
    ชอบ ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก
    เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดา ของเทวดา
    และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม ดังนี้
    ย่อมประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระ
    ธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว อันผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่
    ประกอบด้วยกาล ควรเรียก ให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูพึงรู้
    เฉพาะตน ดังนี้ ย่อมประกอบด้วยความ เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน
    พระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ ปฏิบัติดีแล้ว
    เป็นผู้ปฏิบัติตรง เป็นผู้ปฏิบัติเป็นธรรม เป็นผู้ปฏิบัติสมควร คือ คู่
    แห่งบุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นี่พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค
    เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็น
    ผู้ควรทำอัญชลี เป็น นาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้ ย่อม
    ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าปรารถนา อันไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง
    ไม่พร้อย เป็นไทย อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฐิไม่ครอบ
    งำได้ เป็นไปเพื่อสมาธิ อริยสาวกย่อมประกอบด้วยธรรมเป็นองค์แห่ง
    โสดาปัตติ ๔ อย่างนี้ ฯ
     

แชร์หน้านี้

Loading...