วิธีฝึกทิพจักขุญาณ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย วิญญาณนิพพาน, 29 สิงหาคม 2009.

  1. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,458
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,011
    วิธีฝึกทิพจักขุญาณ

    วิธีการฝึกในพระพุทธศาสนามีหลายแบบ แต่ละแบบมีสาระสำคัญที่ตรงกันคือ ต้องกำหนดภาพในใจ เรื่องกำหนดภาพนี้จะเว้นไม่ได้ เพราะเป็นเครื่องพยุงจิต ให้เข้าสู่ระดับสมาธิ จะแนะนำแบบง่ายๆที่คนส่วนใหญ่ทำได้และใช้เวลาไม่นาน

    1. ตัดความยุ่งในอารมณ์ออกเสียในขณะที่ฝึก ควรใช้เวลาไม่นานเกินไป ในระยะแรก อย่างมากไม่เกิน 5 นาที ในขณะนั้น ตัด กังวล ให้หมด ไม่ว่าเรื่องของความรัก เรื่องที่ไม่พอใจ อารมณ์อื่นทั้งหลาย ความง่วงและความสงสัย ระงับให้หมด คิดอย่างเดียวคือ คาถาภาวนา และลมหายใจเข้าออก

    2. ก่อนภาวนา กำหนดรูปพระหรือลูกแก้ว อย่างใดอย่างหนึ่ง รูปพระที่เห็นนั้น จะเป็นพระสงฆ์หรือพระพุทธรูปก็ได้ กำหนดเอาตามใจชอบ ถ้าจิตไปสนใจอารมณ์อื่น ต้องรีบระงับก่อน ลืมตาดูรูปพระหรือลูกแก้วเสียให้จำได้ เมื่อหลับตาก็กำหนดจิต จำพระที่จำได้นั้นตลอดไป ถ้า เห็นว่าจิตจะเลอะเลือนก็ลืมตาดูใหม่ ทำอย่างนี้ตลอดไป จนกว่าจิตจะมีอารมณ์ ชิน ไม่ว่าเวลาใด กำหนดจิตเห็นภาพพระนั้น แจ่มใส ไม่หายไปจากจิต อยู่ได้นานพอสมควร

    3. ก่อนภาวนาหรือขณะภาวนา ต้อง กำหนดรู้ลม 3 ฐาน โดยสม่ำเสมอกัน คือหายใจเข้าลมกระทบจมูก แล้วมากระทบอก กระทบเหนือสะดือนิดหน่อย ลมหายใจออกกระทบศูนย์อก และริมฝีปากบน ใครกำหนดรู้ได้ 3 ฐาน อารมณ์จิตเป็นฌาน ถ้ารู้ 3 ฐานไม่ได้ แม้ทำมาแล้วตั้งหลายแสนปี ก็ชื่อว่ายังเป็นปุถุชน คนที่อยู่นอกวงการของฌาน ถ้ากำหนดลมได้ครบ 3 ฐาน ท่านเรียกว่า กัลยาณชน หรือสาธุชน คือคนงามหรือคนดี ได้แก่คนที่มีอารมณ์ว่างจากนิวรณ์ ในบางคราว ไม่ใช่ตลอดวัน เรื่อง ฐานลมนี้ ขอลดหย่อนผ่อนคลายไม่ได้ แต่ในระยะแรกจะกำหนด 3 ฐานไม่ได้ เพราะจิตยังไม่ชิน ให้เริ่มจับฐานใดฐานหนึ่งตามถนัดก่อน ต่อเมื่อสมาธิสูงขึ้น มันจะกำหนดรู้ของมันเองทั้ง 3 ฐานโดยไม่ต้องบังคับ

    4. รักษา ศีล ให้บริสุทธิ์ เอาศีล 5 พอแล้ว ไม่ต้องถึงศีลอุโบสถ เพราะจะลำบากเกินไป

    5. มีเมตตาปรานี ทรงพรหมวิหาร 4 อยู่เป็นปกติ ใหม่ๆพรหมวิหาร 4 อดรั่วไหลไม่ได้ ต้องถือเป็นเรื่องธรรมดา ค่อยปรับปรุงค่อยๆควบคุม ไม่ช้า จิตจะทรงพรหมวิหาร 4 เป็นปกติ เมื่อทรงพรหมวิหาร 4 ได้แล้ว ศีลก็บริสุทธิ์เอง สมาธิก็ทรงฌานได้ตลอดเวลา แม้แต่ขณะคุยกับเพื่อนก็สามารถเข้าฌานได้โดยฉับพลัน

    เรื่องอื่นนอกจากนี้ไม่มี คาถาภาวนาให้มาแล้วค่อยๆภาวนา(พุท-โธหรือ นะ มะ พะ ทะ) ทำเอาดี ไม่ใช่ทำเอาเวลา วันแรกๆไม่ต้องมาก เอาพอสบาย สบายนานก็นั่งนาน สบายไม่นานก็เลิกเร็ว กำหนดให้เห็นภาพ รู้ลมหายใจ รู้คาถาภาวนาพร้อมๆกันไป อย่าละอย่างใดอย่างหนึ่งป็นอันขาด อย่าเว้นแม้แต่ 1 วัน

    วันไหนเหนื่อยมาก เพลียมาก ร่างกายไม่ดีไม่ต้องนั่ง นอนหรือเดินก็ได้ตามต้องการ แต่อารมณ์จิต คอยจับภาพ กำหนดลม รู้คำภานา ตลอดเวลาที่ปฏิบัติ ถ้าเห็นว่าอารมณ์จิตจะรับไม่ไหวก็เลิก ปล่อยให้คิดไปตามสบาย เมื่อเห็นว่า การกำหนดจับภาพนั้น มีอาการคล้ายภาพปรากฏแก่ใจอย่างผ่องใส ก็ลองใช้จิตให้เป็นประโยชน์ คือกำหนดรู้ทิพจักขุญาณ ไม่ใช่ตาทิพย์ คำว่าญาณแปลว่ารู้ ทิพจักขุญาณก็คือรู้ทางใจ คล้ายตาทิพย์ มันเป็นอารมณ์รู้เกิดที่ใจ ไม่ใช่ที่ลูกตา นักปฏิบัติมักจะเข้าใจพลาดตรงนี้

    การปฏิบัติถ้าทำได้เท่านี้ ก็เหลือกินเหลือใช้แล้ว ข้อควรระวังก็คือ เมื่อเวลาภาวนา ถ้ามีภาพอื่นมาแทรก นอกจากภาพที่กำหนดแล้ว อย่าสนใจ จงสนใจแต่ภาพที่กำหนดไว้เดิมเท่านั้น เมื่อเราไม่สนใจ ภาพนั้นจะคงอยู่หรือหายไปก็ช่าง เราต้องการภาพที่กำหนดรู้เท่านั้น

    www.oknation.net
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤศจิกายน 2014
  2. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    การกำหนดให้เห็นภาพเอง เราก็จะเข้าไปสู่สภาวะ หรือห้วง แห่งการคิดนึกของตัวเราเอง แล้วก็จินตนาการไปในห้วงความคิดของตัวเอง มันก็จะเห็นอะไรได้ตามที่เราจะคิด นึก ไป เอง......................

    ถ้าเราดู ลูกแก้ว หรือ พระพุทธรูป แล้ว กำหนดจำให้ได้เป็นนิมิต น่าจะไปได้เร็วกว่านะครับ ถูกหลักการเพ่งกสิน ด้วย

    ขออนุโมทนาครับ.
     
  3. paul1234

    paul1234 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2009
    โพสต์:
    392
    ค่าพลัง:
    +634
    <TABLE style="WIDTH: 194pt; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width=258 border=0><COLGROUP><COL style="WIDTH: 38pt; mso-width-source: userset; mso-width-alt: 1865" width=51><COL style="WIDTH: 65pt; mso-width-source: userset; mso-width-alt: 3145" width=86><COL style="WIDTH: 65pt; mso-width-source: userset; mso-width-alt: 3181" width=87><COL style="WIDTH: 26pt; mso-width-source: userset; mso-width-alt: 1243" width=34><TBODY><TR style="HEIGHT: 15pt" height=20><TD class=xl66 style="BORDER-RIGHT: #ece9d8; BORDER-TOP: #ece9d8; BORDER-LEFT: #ece9d8; WIDTH: 38pt; BORDER-BOTTOM: #ece9d8; HEIGHT: 15pt; BACKGROUND-COLOR: #b6dde8" width=51 height=20> </TD><TD class=xl66 style="BORDER-RIGHT: #ece9d8; BORDER-TOP: #ece9d8; BORDER-LEFT: #ece9d8; WIDTH: 65pt; BORDER-BOTTOM: #ece9d8; BACKGROUND-COLOR: #b6dde8" width=86> </TD><TD class=xl66 style="BORDER-RIGHT: #ece9d8; BORDER-TOP: #ece9d8; BORDER-LEFT: #ece9d8; WIDTH: 65pt; BORDER-BOTTOM: #ece9d8; BACKGROUND-COLOR: #b6dde8" width=87> </TD><TD class=xl66 style="BORDER-RIGHT: #ece9d8; BORDER-TOP: #ece9d8; BORDER-LEFT: #ece9d8; WIDTH: 26pt; BORDER-BOTTOM: #ece9d8; BACKGROUND-COLOR: #b6dde8" width=34> </TD></TR><TR style="HEIGHT: 15.75pt" height=21><TD class=xl66 style="BORDER-RIGHT: #ece9d8; BORDER-TOP: #ece9d8; BORDER-LEFT: #ece9d8; BORDER-BOTTOM: #ece9d8; HEIGHT: 15.75pt; BACKGROUND-COLOR: #b6dde8" height=21> </TD><TD class=xl67 style="BORDER-RIGHT: #ece9d8; BORDER-TOP: #ece9d8; BORDER-LEFT: #ece9d8; BORDER-BOTTOM: #ece9d8; BACKGROUND-COLOR: #b6dde8; mso-ignore: colspan" align=left colSpan=2>อนุโมทนา... สาธุ...</TD><TD class=xl66 style="BORDER-RIGHT: #ece9d8; BORDER-TOP: #ece9d8; BORDER-LEFT: #ece9d8; BORDER-BOTTOM: #ece9d8; BACKGROUND-COLOR: #b6dde8"> </TD></TR><TR style="HEIGHT: 24.75pt; mso-height-source: userset" height=33><TD class=xl68 style="BORDER-RIGHT: #ece9d8; BORDER-TOP: #ece9d8; BORDER-LEFT: #ece9d8; BORDER-BOTTOM: #002060 2pt double; HEIGHT: 24.75pt; BACKGROUND-COLOR: #b6dde8; mso-ignore: colspan" align=left colSpan=4 height=33>ขอให้เจริญในธรรม..และถึงซึ่งนิพพาน</TD></TR><TR style="HEIGHT: 23.25pt; mso-height-source: userset" height=31><TD class=xl66 style="BORDER-RIGHT: #ece9d8; BORDER-TOP: #ece9d8; BORDER-LEFT: #ece9d8; BORDER-BOTTOM: #ece9d8; HEIGHT: 23.25pt; BACKGROUND-COLOR: #b6dde8" height=31> </TD><TD class=xl69 style="BORDER-RIGHT: #ece9d8; BORDER-TOP: #ece9d8; BORDER-LEFT: #ece9d8; BORDER-BOTTOM: #ece9d8; BACKGROUND-COLOR: #b6dde8; mso-ignore: colspan" align=left colSpan=2>ทาน ศิล สมาธิ ปัญญา</TD><TD class=xl66 style="BORDER-RIGHT: #ece9d8; BORDER-TOP: #ece9d8; BORDER-LEFT: #ece9d8; BORDER-BOTTOM: #ece9d8; BACKGROUND-COLOR: #b6dde8"> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. picmy_aui

    picmy_aui Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +47
    ของผมฝึกไปสัก 15-20 นาที ลมหายใจจะเริ่มสั้นขึ้นไปเรื่อยๆ จากนั้นเหมือนจะไม่หายใจคือหายใจแต่น้อยมากและรู้สึกเหมือนมันกั้นหายใจ แล้วพอเราหายใจแรงเพื่อไม่ให้อึดอัดกลับทำให้หลุดจากสมาธิ เป็นมาหลายวันแล้ว ไม่รู้จะทำยังไงช่วยแนะนำหน่ิอยนะครับ ว่าผมผิดพลาดตรงไหน
     
  5. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    สมาธิอย่างนี้เขาเรียกว่า สมาธิหัวตอ คือ เข้าสมธิได้ก็นนั่งเงียบไปเลย ไม่ต้องมีการพิจารณาให้เกิดปัญญา (วิปัสสนา)............แต่ก็ดีสำหรับพักผ่อน

    เอาอย่างนี้ กำหนดลมหายใจ(นิมิต)ไปเรื่อย ๆ อย่าให้ลมหายใจขาดหาย เพราะเราจะไม่มีอะไรมาเป็นนิมิต ในการกำหนดสมาธิ และเป็นการทำให้เกิดความชำนาญมากขึ้น เอาเป็นว่า 15-20 นาทีลมหายใจเริ่มสั้น ก็ให้มันเพิ่มเป็น 50-60 นาที นั่นคือ เรามี สติในการรู้ลมหายใจเพิ่มไปอีก เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

    เหมือนกับว่า เมื่อก่อนเราวิ่งได้ 3 กิโลเมตร ก็หยุดพัก แต่เราจะฝึกให้ 6 กิโลฯ ถึงจะหยุดพัก ดีไหมเล่ามีกำลังเพิ่มขึ้นอีก สมาธิก็เป็นเช่นเดียวกัน.......

    ที่จะให้คุณได้มีความรู้ต่อ คือ ศึกษา มหาสติปัฏฐานสูตร อ่านให้เข้าใจ แล้วก็ศึกษาต่อในเรื่อง วิธีการวิปัสสนา เท่านี้ก็พอ.
     
  6. picmy_aui

    picmy_aui Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +47
    ขอบคุณครับผู้พัน ผมเพิ่งหัดฝึกใหม่ยังไงช่วยชี้แนะด้วยครับ ขอเชิญท่านอื่นแนะนำด้วยก็ได้นะครับ
     
  7. วิศว

    วิศว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,349
    ค่าพลัง:
    +5,104
    ธรรมดาของผู้ฝึกกรรมฐาน เมื่อจิตเริ่มเข้าสู่ความสงบสู่ฐานของใจ
    ลมหายใจจะเริ่มละเอียดขึ้นเรื่อยๆ
    เช่นเดียวกันกับจิตที่ละเอียดขึ้นเป็นลำดับ..
    ขอผู้ฝึกกรรมฐานอย่าวิตกหรือตกใจในเรื่องของลมหายใจ
    การที่รู้สึกเสมือนลมหายใจเหมือนจะหายไปหรือเบาบาง
    บางครั้งจะรู้สึกอึดอัดในลมหายใจ...
    ถ้าไปวิตกเกี่ยวกับลมหายใจ จะทำให้ขาดสติจากการจับลมหายใจทำให้ถอยจากสมาธิ
    เปรียบเสมือนการเปลี่ยนฐานที่ตั้งสติบ่อยๆ..
    เหมือนต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่

    ผู้ฝึกกรรมฐานไม่ควรไปสนใจวิตกลมหายใจ..
    โปรดกำหนดลมหายใจที่จุดเดิมที่ตั้งฐานสติเอาไว้ เช่น ที่ปลายจมูกดูลมหายใจเข้า-ออก
    อย่าเปลี่ยนความสนใจหรือเปลี่ยนฐานที่ตั้งสติเดิมเป็นอันขาด
    เพราะการเช่นนั้น..เป็นการเผลอสติจะทำให้ไม่ก้าวหน้าในการปฏิบัติภาวนา
    ให้กำหนดรู้ในลมหายใจของฐานที่ตั้งสติเดิมอย่างนั้น..เรื่อยไป
    ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น..อย่าทิ้งความรู้ในการกำหนดฐานที่ตั้งสติเดิม..
    เมื่อลมหายใจละเอียดขึ้นเป็นลำดับจะทำให้ใจละเอียดเช่นเดียวกับลม

    เมื่อจิตละเอียดจนเข้าสู่ฐานความสงบของใจ..
    อย่ากำหนดเข้าหรือออกจากฐานความสงบตรงนั้น
    เพราะจิตจะได้กำลังแห่งความสงบตามกำลังสติที่อบรมมา..
    ถ้าจิตดิ่งสงบตั้งมั่นได้นาน...เกิดมาจากสติที่ฝึกมาดีอย่างต่อเนื่อง
    ถ้าจิตดิ่งสงบตั้งมั่นได้ชั่วครู่..เกิดจากสติที่ฝึกมายังไม่ค่อยชำนาญต่อเนื่อง
    ไม่ต้องกลัวจะติดฌานหรือจะไปเป็นพรหมลูกฟัก
    เพราะจิตจะถอนออกจากสมาธิเองตามกฏพระไตรลักษณ์..

    ขอให้กำหนดผู้รู้ในฐานสติคือลมหายใจ..
    เพราะนี่คือ...การภาวนาอาณาปาณสติกรรมฐาน
    กรรมฐานเอกของพระพุทธเจ้า..ไม่ใช่เรื่องสมาธินอกศาสนา
    ฉะนั้นไม่ต้องกลัว..ขอให้ประสบความสำเร็จในการประพฤติปฏิบัติภาวนา
    สาธุ..
     
  8. 15ค่ำ

    15ค่ำ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2009
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +17
    สอบถามท่านผู้รู้นะค่ะ หากนั่งมองลูกแก้วสักครู่นั่งทำสมาธิไปเรื่อยๆ กลับมองเห็นเป็นแสงสว่างสีขาวนี่จะถูกต้องมั๊ยค่ะ แล้วบางครั้งนั่งทำงานไปแล้วลองหลับตาแสงยังติดตาอยู่เลยแต่เป็นจุดเล็กๆขาวๆหรือเปล่า
     
  9. วิศว

    วิศว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,349
    ค่าพลัง:
    +5,104
    วิธีที่คุณทำสมาธิเป็นแบบวิธีเพ่งกสิณ ในกรรมฐาน 40 กอง ถูกต้องครับ

    วิธีการมองลูกแก้ว เพื่อจำภาพให้เป็นนิมิตติดตา เห็นเป็นแสงสว่างสีขาว

    ซึ่งบางครั้งหลังจากคุณออกจากสมาธิไปแล้ว ลองหลับตาแสงยังติดตาอยู่เลย

    แต่เป็นจุดเล็กๆขาวๆ...เกิดขึ้นจากอำนาจกำลังจากสมาธิที่คุณปฏิบัติอยู่ยังคงมีอยู่ครับ..

    หมั่นทำไปเรื่อยๆ...ครับ จุดมุ่งหมายก็คือ จิตสงบ เพื่อเกิดกำลังสมาธิ..


    ปฏิบัติจนชำนาญเข้า-ออกเป็นวสี กำหนดได้ตามใจชอบ อันนี้เรียกว่า...กีฬาทางจิต

    หลังจากนั้น..จึงนำความชำนาญจากที่คุณฝึกกรรมฐานกองกสิณนี้...มาใช้ประโยชน์


    โดยกำหนดเป็นอสุภกรรมฐานแทน..วิธีการก็คล้ายกันกับที่คุณเพ่งมองลูกแก้ว

    คือ นั่งมองรูปภาพศพจนติดตา แล้วกำหนดทำสมาธิจนเกิดเป็นนิมิตภาพซากศพ..

    กำหนดพิจารณานิมิตภาพซากศพให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสูญสลายพุพัง

    โดยพิจารณาแยกแยะเป็นส่วนๆ สิ่งสำคัญกำหนดภาพอวัยวะชิ้นส่วนไหนชัดเจน

    ให้กำหนดเฉพาะอวัยวะชิ้นส่วนนั้น ตามกำลังสติและกำลังปัญญา จนกลายเป็นสภาวะธาตุ

    การพิจารณานั้น กำหนดลงที่ใจ จนจิตนั้นเข้าใจแจ่มแจ้งด้วยกำลังแห่งการพิจารณา..

    จะเกิดความสงบ..และมีความอาจหาญในความรู้นั้น...

    สิ่งสำคัญ..อย่าหลงเข้าใจว่า..ทำได้เพียงครั้งเดียว..สิ่งนั้นคือ การบรรลุธรรม

    ต้องค่อยๆทำไป..ขุดคุ้ย..ชะล้างไปเรื่อยๆ..เป็นการชำระกิเลสอนุสัยที่ฝังในจิต..

    สร้างวาสนาบารมีไปครับ...

    เพื่อจิตอิ่มพอต่อการพิจารณา...จะถึงเมืองพอเองครับ

    เจริญในธรรม.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กันยายน 2009
  10. Sir-Pai

    Sir-Pai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,157
    ค่าพลัง:
    +3,358
    พยายามฝึกอยู่ครับ จะเอาไว้ช่วยเหลือคน

    อนุโมทนากับการสอนนะครับ :)
     

แชร์หน้านี้

Loading...