'ส้มค่าง'เมนูสยองพรานเชื่อยาบำรุงชี้เข้าใจผิดโรคอื้อ

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 5 มิถุนายน 2009.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,174
    กรมอุทยานฯ แถลงผลงานช่วยชีวิตสัตว์ป่าได้กว่า 4 พันตัวในรอบ 8 เดือน ล่าสุดยึดซากค่าง 2 ตัว และชิ้นเนื้อสับ 21 กก.ที่ป่าห้วยขาแข้ง ระบุเตรียมทำเมนูส้มค่าง-ร้าค่าง กินตามความเชื่อ แต่อาจติดเชื้อโรคได้ง่าย
    เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ที่ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช นายเกษมสันต์ จิณณวาโส อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ เปิดเผยว่า สถิติการจับกุมการกระทำผิดด้านสัตว์ป่า ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2551-พฤษภาคม 2552 มีจำนวน 236 คดี ผู้ต้องหา 202 คน โดยช่วยเหลือสัตว์ป่ามีชีวิตได้ 4,026 ตัว ส่วนใหญ่เป็นนกและตัวนิ่มหรือตัวลิ่น ซึ่งถูกลำเลียงส่งผ่านไปประเทศเพื่อนบ้านเพื่อนำไปบริโภคตามความเชื่อ
    "ล่าสุดเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคมที่ผ่านมา หน่วยลาดตระเวนของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ได้ยึดซากค่างได้ 2 ตัว เนื้อและกระดูกสับละเอียดรวมกันอีก 21 กิโลกรัม จับกุมผู้กระทำผิดได้ 1 ราย ซึ่งอยู่ระหว่างการสอบสวนเพื่อขยายผลจับกุมผู้หลบหนีประมาณ 3 รายมาดำเนินคดีต่อไป"
    นายเกษมสันต์กล่าวว่า ขณะนี้พบว่าในแถบจังหวัดนครสวรรค์และอุทัยธานี มีการล่าค่างเพื่อนำมากิน ด้วยความเชื่อว่าหากได้กินค่างจะทำให้มีสุขภาพแข็งแรง อายุยืนยาว ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องปรับเปลี่ยนความเชื่อกันใหม่ เนื่องจากค่างเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ลิง เมื่อกินเข้าไปจะทำให้ติดเชื้อโรคต่างๆ ได้ง่าย เพราะเป็นสัตว์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับคนมาก ในเลือดและสารคัดหลั่งของลิงก็มีพาหะนำเชื้อโรคต่างๆ เช่น โรคพิษสุนัขบ้าและเชื้อไวรัสต่างๆ เมื่อสัมผัสหรือกินเข้าไป จึงมีโอกาสที่จะเป็นอันตรายร้ายแรงได้สูง" อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ กล่าว
    จากการสอบถามผู้กระทำผิดให้การสารภาพว่า ล่าเพื่อนำเนื้อไปบริโภคและจำหน่ายตามร้านค้าและตลาดสด สำหรับชิ้นเนื้อที่สับแล้วเตรียมแปรรูปเป็นเมนูส้มค่าง ซึ่งหมักด้วยข้าวสุก ปรุงด้วยเกลือและกระเทียม หมัก 3 วันแล้วกินสดๆ และร้าค่างทำวิธีเดียวกับปลาร้า เป็นวิธีถนอมอาหารในท้องถิ่น แต่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคได้ง่าย นอกจากนี้ยังพบเลือดค่างอยู่ในขวดพลาสติก ซึ่งเชื่อว่ากินเป็นยาบำรุงกำลัง เพราะเห็นว่าค่างเป็นสัตว์กินพืชใบไม้ตามเรือนยอดเป็นส่วนใหญ่ จึงถือว่าค่างกินสมุนไพรที่มีคุณประโยชน์
    ด้านนายชัชวาลย์ พิศดำขำ ผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติฯ กล่าวเสริมว่า สาเหตุที่ค่างถูกล่าได้ง่าย เนื่องจากค่างรวมอยู่กันเป็นฝูง หากินอยู่ตามเรือนยอดไม้บริเวณชายขอบป่า และลงมากินดินโป่งหรือน้ำตามพื้นดินเป็นเวลาสั้นๆ มีสัญชาตญาณในการหลบภัยที่แตกต่างจากสัตว์อื่น เมื่อได้ยินเสียงปืนจะตกใจจนหยุดอยู่กับที่ หรือซุกตัวตามคบไม้ นายพรานจึงมักจะยิงค่างตัวจ่าฝูงเพื่อให้ตัวอื่นหยุดเป็นเป้านิ่ง ทำให้บางครั้งอาจถูกฆ่าตายทั้งฝูง
    ผอ.สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่ากล่าวว่า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งด้านตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือเขตติดต่อกับป่าแม่วงศ์ ซึ่งเป็นพื้นที่ป่ากันชนห้วยขาแข้ง ถือเป็นแหล่งที่มีค่างแว่นถิ่นเหนือมากที่สุดในประเทศไทย จึงถือเป็นพื้นที่ล่อแหลมต่อการคุกคามค่าง อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการล่าค่างและสัตว์ป่าอื่นๆ ลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะได้เพิ่มมาตรการป้องกันและปราบปราม ทั้งการใช้วิธีส่งชุดลาดตระเวนเข้ากดดัน โดยใช้เทคโนโลยีจีพีเอสเข้ามาช่วย และสร้างเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์สัตว์ป่าในพื้นที่เสี่ยง ตลอดจนจัดอบรมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลเสียต่อสุขภาพของผู้บริโภคเนื้อสัตว์.
    'ส้มค่าง'เมนูสยองพรานเชื่อยาบำรุงชี้เข้าใจผิดโรคอื้อ | ไทยโพสต์
     
  2. nobit

    nobit สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +0
    ยี้ กินกันไปได้
     
  3. บุษบากาญจ์

    บุษบากาญจ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    9,476
    ค่าพลัง:
    +20,271
    เลิกล่าสัตว์กันเถอะ หันมาปลูกพืชแทนดีกว่า เหมือนชาวเขาที่เค้าหันมาทำเกษรของโครงการในหลวงดีกว่า ชาวเขาเดี๋ยวนี้มีกินมีใช้มากกว่าตอนปลูกฝิ่นซะอีกนะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...