สารพันปัญหาของนักปฏิบัติธรรม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 18 เมษายน 2009.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    <TABLE border=1 cellSpacing=0 borderColor=#666666 cellPadding=0 width="85%" align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#666666>[​IMG] 41. บรรลุมรรคผลขณะฟังธรรม </TD></TR><TR><TD>
    นักปฏิบัติ :
    ทำไมในสมัยพุทธกาล คนเราจึงสามารถบรรลุมรรคผลในขณะที่นั่งฟังธรรมได้ แต่เดี๋ยวนี้ทำไม่ได้

    อ.ชวยง : เพราะคนที่เกิดในสมัยนั้นมีบุญบารมีมาก ผู้สอนคือพระพุทธเจ้าก็มีบารมีมาก พระพุทธองค์ทรงทราบว่าควรจะอธิบายอย่างไร ผู้ฟังจึงจะเข้าใจ และปฏิบัติตามได้ ผู้ฟังในสมัยนั้นก็มีบารมีมาก คือมีสมาธิแก่กล้า มีปัญญาดี เมื่อฟังธรรมก็สามารถเข้าใจและปฏิบัติตามได้ การปฏิบัติธรรมเป็นการทำใจ เป็นการทำความรู้สึกให้ถูกต้องเท่านั้นเอง ขณะใดที่เราทำความรู้สึกได้ถูกต้องตรงตามที่พระพุทธองค์ทรงสอน ขณะนั้นเราก็จะเห็นธรรม คือรู้สภาวะธรรมที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง และถ้าเราทรงสภาวะที่เห็นธรรมนั้นได้อย่างต่อเนื่องจนชัดเจนแจ่มแจ้ง เราก็จะบรรลุมรรคผลในขณะนั้น สาเหตุที่ในปัจจุบันเราไม่สามารถบรรลุมรรคผล ในขณะที่ฟังธรรมก็เพราะผู้สอนมีบารน้อยสอนแล้วเราก็ยังไม่เข้าใจ ผู้ฟังก็มีบารมีน้อย คือมีสมาธิอ่อน มีปัญญาน้อย ฟังธรรมไม่ค่อยเข้าใจ ถึงเข้าใจก็ปฏิบัติตามได้ยาก ถึงปฏิบัติตามได้ ก็ทำให้แนบแน่นและต่อเนื่องได้ยากเพราะสมาธิอ่อน ฉะนั้นคนสมัยนี้จึงไม่สามารถบรรลุมรรคผลใจขณะที่ฟังธรรมได้


    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" align=center><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=1 cellSpacing=0 borderColor=#666666 cellPadding=0 width="85%" align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#666666>[​IMG] 42. รู้สึกเฉยๆ เป็นโมหะหรือไม่ </TD></TR><TR><TD>
    นักปฏิบัติ : อาจารย์เคยบอกว่าถ้าเรามองดอกไม้แล้วรู้สึกสวยก็เป็นโลภะ ถ้ารู้สึกไม่สวยก็เป็นโทสะ ถ้ารู้สึกเฉยๆ ไม่ชอบไม่ชัง ก็เป็นโมหะ แต่บางครั้งอาจารย์ก็บอกว่าให้เราพยายามทำใจเฉยๆ อย่างนี้ไม่เป็นโมหะหรือครับ

    อ.ชวยง : คำว่า "เฉยๆ" มี ๓ ความหมาย โดยธรรมชาติของคนเรา เวลาที่ได้รับสุขเวทนาคือได้รับอารมณ์ที่น่าพอใจ เช่นมีคนชม กินอาหารรสดี ก็จะมีโลภะเกิดขึ้น ขณะที่ได้รับทุกขเวทนาคือได้รับอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ เช่น โดนคนด่า กินอาหารรสไม่ดี ก็จะมีโทสะเกิดขึ้น ขณะที่ได้รับอุเบกขาเวทนาคือได้รับอารมณ์ที่เป็นกลางๆ ไม่ดีนัก ไม่เลวนัก เราก็จะไม่ใส่ใจ คือไม่ตั้งใจรับรู้ ทำให้เหม่อ ใจลอย ฟุ้งซ่าน ซึ่งการเหม่อ ใจลอย ฟุ้งซ่านนี้ตัดเป็นโมหะ การเฉยแบบนี้เป็นการเฉยแบบไม่รู้เรื่อง เฉยแบบฟุ้งซ่าน เฉยแบบนี้ไม่ดี เป็นกิเลสเรียกว่า เฉยแบบโมหะ

    ในการปฏิบัติธรรมเราจะต้องรู้ชัก คือใส่ใจ ตั้งใจรับรู้ในสิ่งที่มากระทบ แต่พยายามละความยินดียินร้ายในสิ่งที่มากระทบนั้น ถ้าทำอย่างนี้เราจะรู้สึกเฉยๆ เหมือนกัน แต่เป็นการวางเฉยแบบมีปัญญา คือเฉยแบบรู้ชัด แต่ไม่ยินดียินร้าย ไม่หวั่นไหวตาม ไม่คล้อยตามสิ่งที่มากระทบนั้น เฉยแบบนี้ดี เป็นบุญ เป็นทางหลุดพ้น ควรทำให้มาก เฉยแบบนี้เรียกว่า เฉยแบบวิปัสสนา

    ยังมีเฉยอีกแบบหนึ่งเกิดจากการทำสมาธิ เมื่อทำสมาธิอยู่ในฌาน ๔ ก็จะเกิดอารมณ์ที่เรียกว่า อุเบกขา เป็นลักษณะของการวางเฉยซึ่งเกิดจากสมาธิ เฉยแบบนี้ก็ดีเหมือน เป็นบุญ แต่ไม่ใช่ทางหลุดพ้น เฉยแบบนี้เรียกว่า เฉยแบบสมาธิ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    <TABLE border=1 cellSpacing=0 borderColor=#666666 cellPadding=0 width="85%" align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#666666>[​IMG] 43. นั่งสมาธิแล้วฟุ้งซ่าน คิดโน่นคิดนี่ </TD></TR><TR><TD>
    นักปฏิบัติ :
    เวลาที่ผมนั่งสมาธิ จะรู้สึกฟุ้งซ่าน คิดถึงเรื่องโน้นเรื่องนี้อยู่เรื่อย ผมพยายามเอาสติมาอยู่ที่ลมหายใจแล้ว แต่มันก็ไม่ยอมอยู่ ไม่ทราบว่าจะทำอย่างไรดีครับ

    อ.ชวยง : หลักของการฝึกสมาธิก็คือให้พยายามเอาสติมาจดจ่ออยู่กับสิ่งที่เรากำหนด ถ้าเผลอนึกคิดไปที่อื่น พอรู้สึกตัวก็ให้รับเอาสติมาจดจ่ออยู่กับสิ่งที่เรากำหนดอีก ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ การเผลอก็จะลดน้อยลงไปเอง แต่ถ้าจิตมันคิดโน่นคิดนี่ ไม่ยอมหยุด พยายามที่จะให้มันหยุดคิดมันก็ไม่ยอม เราก็อาจจะแก้ไขโดยการเปลี่ยนเอาสติมาจับอยู่ที่ความคิดแทน จ้องดูความคิดไปด้วย ที่จริงแล้ววิธีถูกต้องก็คือ ต้องไม่คิด แต่ดูความคิดเพียงอย่างเดียว จ้องดูความคิดให้เหมือนกับเสือจ้องตะครุบเหยื่อ พอจิตคิดอะไรก็จ้องดูทันที ถ้าทำได้ผลขณะที่เราคิด เมื่อเอาสติจ้องดูความคิด ความคิดก็จะดับไป ให้เราจ้องดูความคิดไปเรื่อยๆ จนจิตเชื่อง ไม่คิดโน่นคิดนี่อีก เมื่อจิตสงบลงแล้วเราก็เอาสติไปจดจ่ออยู่กับสิ่งที่เรากำหนดเหมือนเดิม ถ้าจิตมันดื้อคิดโน่นคิดนี่อีก เราก็เปลี่ยนมาดูความคิดอีก ทำอย่างนี้เรื่อยไป


    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" align=center><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=1 cellSpacing=0 borderColor=#666666 cellPadding=0 width="85%" align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#666666>[​IMG] 44. รู้ว่าไม่ดี แต่ก็ยังทำ </TD></TR><TR><TD>
    นักปฏิบัติ : ทำไมบางอย่างเรารู้ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี แต่ก็ยังทำ

    อ.ชวยง : เพราะมีตัณหาคือมีความอยากอยู่ จึงทำเหมือนกับคนที่ติดยาเสพติด ทั้งๆ ที่รู้ว่ายาเสพติดไม่ดีอยากจะเลิกก็เลิกไม่ได้ ถึงเวลาที่อยากที่เสพขึ้นมาก็ต้องขวนขวายกามาเสพให้ได้ เมื่อไม่ได้เสพก็ทุรนทุราย แต่ถ้าได้เสพคือสนองความอยาก ความทุรนทุรายก็จะหมดไป

    นักปฏิบัติ : แล้วทำอย่างไร จึงจะเลิกได้ครับ

    อ.ชวยง : ก็ต้องปฏิบัติธรรม การปฏิบัติธรรมทำให้มีปัญญารู้ความจริง เมื่อรู้ความจริง จิตของเราจะเชื่องเมื่อจิตเชื่อง ตัณหาก็จะอ่อนลง และเมื่อเราทำความเพียรคือ ปฏิบัติธรรมอยู่เสมอๆ ตัณหาก็จะอ่อนกำลังลงตามลำดับ และในที่สุดตัณหาก็จะหมดไปได้คนทั่วไป เปรียบเสมือนคนที่ติดยาเสพติดงอมแงม การปฏิบัติธรรมเปรียบเสมือนการกินยาเพื่อรักษาการติดยาเสพติด เมื่อกินยาอยู่เสมอ ตัณหาคือความอยากเสพยาก็ย่อมลดลงด้วย และในสุดเราก็จะสามารถเลิกติดยาได้ ไม่รู้สึกอยากเสพอีกต่อไป ไม่ต้องทุรนทุรายอีกต่อไป

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    <TABLE border=1 cellSpacing=0 borderColor=#666666 cellPadding=0 width="85%" align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#666666>[​IMG] 45. เด็กเกิดมาบริสุทธิ์เหมือนผ้าขาวจริงหรือ </TD></TR><TR><TD>
    นักปฏิบัติ :
    เขาว่ากันว่าเด็กเกิดมาใหม่ๆ จะมีจิตใจที่บริสุทธิ์สะอาดเหมือนผ้าขาวเมื่อเจริญเติบโตขึ้นก็ได้รับสิ่งไม่ดีจากสภาพแวดล้อม ทำให้สภาพจิตใจเปลี่ยนไปไม่บริสุทธิ์เหมือนเดิม ไม่ทราบว่าจริงไหมครับ

    อ.ชวยง : ไม่จริงหรอกครับ เด็กทารกมีกิเลสติดตัวมาตั้งแต่เกิดอยู่แล้ว เช่น พอคลอดออกมารู้สึกเจ็บ มีโทสะก็ร้องไห้ ได้กินนมมีโลภะคือความพอใจก็เงียบโดยธรรมชาติของเด็กจะมีความฟุ้งซ่านสูงมาก สติน้อย เพราะฉะนั้นเด็กจึงมีอารมณ์อ่อนไหวไปตามสภาพแวดล้อมได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ มีความกลัว ตกใจ ตื่นเต้นได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่


    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" align=center><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=1 cellSpacing=0 borderColor=#666666 cellPadding=0 width="85%" align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#666666>[​IMG] 46. พระอรหันต์มีสติอยู่กับปรมัตถ์ตลอดเวลาหรือ </TD></TR><TR><TD>
    นักปฏิบัติ :
    อาจารย์บอกว่าในการปฏิบัติธรรมของเรา เราต้องพยายามมีสติอยู่กับปรมัตถ์ให้ได้แนบแน่น ให้ได้ต่อเนื่องนานที่สุดเท่าที่จะทำได้ ถ้าอย่างนั้นพระอรหันต์ ผู้ซึ่งปฏิบัติธรรมสำเร็จแล้ว ก็จะเป็นผู้ที่มีสติอยู่กับปรมัตถ์ตลอดเวลาใช่หรือไม่ครับ

    อ.ชวยง : ไม่ใช่ครับ ในการปฏิบัติธรรม การที่เราจะมีสติออยู่กับสมมุติแล้วละความยินดียินร้ายในสมมุติเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก ฉะนั้นเราจึงต้องฝึกมีสติอยู่ปรมัตถ์เพราะทำได้ง่ายกว่า แต่เมื่อเราปฏิบัติธรรมสำเร็จ เป็นพระอรหันต์แล้ว เราก็มีสติอยู่กับสมมุติได้เหมือนเดิมจะต่างกันก็ตรงที่เราจะไม่ติดในสมมุติ ไม่มีความยินดียินร้ายในสมมุติอีกต่อไป


    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" align=center><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=1 cellSpacing=0 borderColor=#666666 cellPadding=0 width="85%" align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#666666>[​IMG] 47. นั่งสมาธิไม่เกิดปัญญา ต้องเคลื่อนไหวจึงเกิดปัญญาจริงหรือ</TD></TR><TR><TD>
    นักปฏิบัติ :
    ผมเคยได้ยินมาว่าการนั่งสมาธินิ่งๆ ก็จะได้แต่สมาธิ แต่ไม่เกิดปัญญา ต้องมีการเคลื่อนไหวร่างกาย แล้วเอาสติจับการเคลื่อนไหว จึงจะเกิดปัญญา ไม่ทราบว่าจริงหรอไหมครับ

    อ. ชวยง : ไม่จริงหรอกครับ ปัญญาจะเกิดหรือไม่เกิดอยู่ที่การทำใจ หรือการทำความรู้สึก ไม่ได้อยู่ที่การเคลื่อนไหวของร่างกาย ถ้าเราเอาสติดูการเคลื่อนไหวของร่างกาย แต่ทำใจไม่ถูก ปัญญาก็ไม่เกิด ถ้าเรานั่งสมาธิแต่ทำใจถูกปัญญาก็เกิดได้ หรือแม้แต่ขณะที่เราใช้ชีวิตตามปกติ เช่นขณะทำงาน ขณะดูโทรทัศน์ ถ้าเราทำใจถูกปัญญาก็เกิดได้ ปัญญานั้นเกิดไม่รู้เวลาไม่เลือกสถานที่ ขณะใดที่เราวางใจชอบ ทำใจถูกขณะนั้นปัญญาเกิด

    พระพุทธองค์เองก็ทรงปฏิบัติธรรมโดยใช้วิธีนั่งสมาธิแบบอานาปาสติ คือมีสติอยู่กับลมหายใจ เมื่อพระองค์วางพระทัยได้ถูกต้อง ญาณปัญญาก็เกิดขึ้น และเมื่อพระปัญญาแก่กล้าก็ทรงบรรลุมรรคผลสำเร็จเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในขณะที่ทรงนั่งสมาธิอยู่นั้น
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    <TABLE border=1 cellSpacing=0 borderColor=#666666 cellPadding=0 width="85%" align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#666666>[​IMG] 48. กรรมฐานหมายถึงอะไร</TD></TR><TR><TD>
    นักปฏิบัติ : คำว่ากรรมฐานหมายถึงอะไรครับ

    อ. ชวยง : คำว่ากรรมฐานหมายถึงการปฏิบัติ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ๒ อย่างคือ
    สมถะกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน สมถะกรรมฐานหมายถึงการปฏิบัติเพื่อให้จิตสงบ ซึ่งก็ได้แก่การทำสมาธิ และการพิจารณาธรรมส่วน วิปัสสนากรรมฐานหมายถึงการปฏิบัติเพื่อให้เกิดปัญญา คือรู้แจ้งในธรรม วิปัสสนาจะเป็นงานหลักของนักปฏิบัติธรรมเพราะจะทำให้บรรลุมรรคผลนิพาน ส่วนสมถะเป็นเพียงวิธีช่วยลดอุปสรรคของการปฏิบัติธรรมเท่านั้น

    โดยปกติถ้ามีนิวรณ์ ๕ รบกวนจิต เช่นรู้สึกฟุ้งซ่าน หงุดหงิด ไม่สามารถทำวิปัสสนาได้

    เราก็จะแก้ไขโดยการทำสมาธิให้จิตสงบก่อน แล้วจึงทำวิปัสสนาต่อ ถ้ามีตัณหามาก เช่นอยากมีชื่อเสียง อยากร่ำรวย อยากไปเที่ยวดูหนังดูละคร ไม่สามารถทำวิปัสสนาได้ เราก็แก้ไขโดยการพิจารณาให้จิตสงบก่อน แล้วจึงทำวิปัสสนาต่อโดยปกตินักปฏิบัติธรรมมักจะทำทั้งสมถะ และวิปัสสนาควบคู่กันไปเสมอ


    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" align=center><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=1 cellSpacing=0 borderColor=#666666 cellPadding=0 width="85%" align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#666666>[​IMG] 49. โกรธก็รู้ว่าโกรธ เป็นตัวรู้หรือไม่ </TD></TR><TR><TD>
    นักปฏิบัติ :
    การที่เราโกรธแล้วมีความรู้สึกตัวว่านี่เรากำลังโกรธอยู่ การรู้อย่างนี้เรียกว่ามี ตัวรู้ หรือ ธาตุรู้ ใช่ไหมครับ

    อ. ชวยง : การที่เราโกรธแล้วรู้ว่าโกรธ ก็ไม่แน่ว่าจะเป็นตัวรู้เสมอไป เพราะคนธรรมดาที่ไม่ได้ปฏิบัติธรรมก็อาจจะรู้อย่างนี้ได้ คำว่าตัวรู้หรือธาตุรู้ที่แท้จริงหมายถึง การรู้ด้วยปัญญา คือรู้สภาวะธรรมตามความเป็นจริงหรือที่เรียกว่ามีสติสัมปชัญญะนั่นแหละ ถ้าเป็นตัวรู้จริงๆ เวลาที่เราโกรธ เมื่อรู้สึกตัวว่าโกรธความโกรธก็จะดับไป อย่างนี้ถึงจะเป็นตัวรู้ที่แท้จริง แต่ถ้าเรารู้สึกตัวว่าโกรธแล้วความโกรธก็ยังปรากฏอยู่ อย่างนี้ก็ไม่ถือว่าเป็นตัวรู้


    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" align=center><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=1 cellSpacing=0 borderColor=#666666 cellPadding=0 width="85%" align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#666666>[​IMG] 50. "ธรรมกาย" มีในพระไตรปิฎกจริงหรือ </TD></TR><TR><TD>
    นักปฏิบัติ :
    มีบางคนกล่าวว่า ธรรมกาย ไม่มีอยู่ในพระไตรปิฎก แต่บางคนกล่าวว่ามีในพระไตรปิฎก ไม่ทราบว่าความจริงเป็นอย่างไรครับ

    อ. ชวยง : คำว่า ธรรมกาย มีอยู่ในพระไตรปิฎกครับแต่ความหมายเป็นคนละอย่างกับที่เราเข้าใจกันอยู่ในปัจจุบัน ในพระไตรปิฎก คำว่า ธรรมกาย หมายถึงกายของพระอรหันต์ ผู้ใดเป็นอรหันต์ กายของผู้นั้นได้ชื่อว่า ธรรมกาย ส่วนในปัจจุบันความหมายที่เราใช้กันเป็นอีกอย่างหนึ่ง ทั้งนี้เพราะได้มีคนนำคำนี้มาใช้กับกายทิพย์ซึ่งเป็นภาพนิมิตรในสมาธิ ใครนั่งสมาธิใช้กายทิพย์เป็นอารมณ์ เมื่อสมาธิแก่กล้า เห็นภาพกายทิพย์ปรากฏชัด ก็เรียกว่าผู้นั้นได้ธรรมกาย เพราะคำว่าธรรมกาย ในพระไตรปิฎกหมายถึงกายของอรหันต์ซึ่งต่างกับความหมายในปัจจุบัน ที่เรานำมาใช้กันเรียกชื่อกายทิพย์ ซึ่งเป็นภาพนิมิตรในสมาธิ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    <TABLE border=1 cellSpacing=0 borderColor=#666666 cellPadding=0 width="85%" align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#666666>[​IMG] 51. หลักคำสอนในพุทธศาสนา </TD></TR><TR><TD>
    นักปฏิบัติ : หลักคำสอนในที่แท้จริงในพุทธศาสนาคืออะไรกันแน่ครับ ผู้รู้แต่ละท่านกล่าวไม่เหมือนกันเลยผมไม่ทราบว่าจะเชื่อใครดี

    อ. ชวยง : ผมก็เคยได้ยินมาเหมือนกัน เช่น บางคนบอกว่า หลักคำสอนในพุทธศาสนาก็คือ อริยสัจ ๔ บางคนก็บอกว่า คือ มรรค ๘ บางคนก็บอกว่า คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

    บางคนก็บอกว่า คือ การละความชั่ว สร้างความดี และทำจิตใจให้ผ่องใส บางคนก็บอกว่า คือ สติปัฏฐาน ๔ ผู้รู้แต่ละท่านก็ให้เหตุผลต่างกันตามความเชื่อของตนเอง
    แต่ถ้าถามผม ผมก็จะตอบว่า หลักคำสอนที่แท้จริงในพุทธศาสนาก็คือ วิธีปฏิบัติมรรคผลนิพพาน ไม่ว่าพระพุทธองค์จะเสด็จไปในที่ใด กิจที่พระองค์ทรงกระทำก็คือ การสั่งสอนให้ผู้คนได้รู้วิธีปฏิบัติธรรมเพื่อการประหารกิเลส เพื่อการบรรลุมรรคผลนิพพาน

    ส่วนการอธิบายในรายละเอียด จะทรงแสดงแตกต่างกันออกไป ตามความเหมาะสมของผู้ฟังแต่ละประเภท บางครั้งก็ทรงแสดงเรื่องอริยสัจ ๔ บางครั้งก็ทรงแสดงเรื่องมรรค ๘ บางครั้งก็ทรงแสดงเรื่องสติปัฏฐาน ๔ ไม่ว่าจะทรงแสดงเรื่องใดก็ตาม จุดมุ่งหมายหลักก็คือ ให้ผู้ฟังได้รู้ วิธีปฏิบัติให้ได้มรรคผลนิพพาน นั่นเอง


    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" align=center><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=1 cellSpacing=0 borderColor=#666666 cellPadding=0 width="85%" align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#666666>[​IMG] 52. พุทธศาสนาเสื่อมลงจริงหรือ </TD></TR><TR><TD>
    นักปฏิบัติ : อาจารย์มีความเห็นอย่างไร เกี่ยวกับพุทธศาสนาในปัจจุบัน
    อ. ชวยง : ปัจจุบันนี้พุทธศาสนาเสื่อมลงมากแล้ว

    นักปฏิบัติ : ทำไมอาจารย์ถึงกล่าวอย่างนี้ล่ะครับ ผมก็เห็นคนสนใจธรรมะหันมาปฏิบัติกันมากขึ้น

    อ. ชวยง : คนทั่วไปวัดความเจริญของพุทธศาสนาที่จำนวนวัด จำนวนพระสงฆ์ จำนวนผู้ที่ปฏิบัติธรรม ส่วนผมไม่คิดอย่างนั้น ผมเห็นว่าความเจริญของพุทธศาสนาอยู่ที่จำนวนพระอริยบุคคล ตั้งแต่พระโสดาบันไปจนถึงพระอรหันต์ สมัยใดมีพระอริยบุคคลมาก

    สมัยนั้นพุทธศาสนาก็เจริญมาก อย่างในสมัยพระพุทธเจ้ายังมีพระชนม์อยู่ มีพระอริยบุคคลมากมาย ช่วงนั้นก็ถือได้ว่าเป็นความเจริญสูงสุดของพุทธศาสนา สมัยนั้นคงมีวัดอยู่ไม่กี่วัดหรอก หลังจากที่พระองค์ทรงเสด็จดับขันธปรินิพาน พุทธศาสนาก็เสื่อมลงตามลำดับ

    ปัจจุบันนี้ จะมีพระสงฆ์สักกี่รูปที่เป็นพระอริยะมีนักปฏิบัติธรรมสักกี่คนที่ปฏิบัติธรรมสำเร็จเป็นพระอริยบุคคล ผมถามนักปฏิบัติธรรมหลายคน บางคนสามารถรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าได้ บางคนติดต่อกับเทวดาได้ ผมถามคนเหล่านั้นว่าปฏิบัติธรรมถึงขั้นไหนแล้วเป็นโสดาบันแล้วหรือยัง เขาก็ตอบว่ายังทุกคนแล้วอย่างนี้ยังกล่าวว่าพุทธศาสนาเจริญอยู่อีกหรือ

    นักปฏิบัติ : ผมเคยได้ยินเขากล่าวกันว่า ที่เสื่อมนั้นคือคนเสื่อม ไม่ใช่ศาสนาเสื่อม อาจารย์ว่าจริงไหมครับ

    อ. ชวยง : คงไม่จริงหรอกครับ ศาสนาย่อมประกอบด้วยพระสงฆ์และชาวบ้าน พระสงฆ์ก็คน ชาวบ้านก็คน ถ้าคนเสื่อมแล้วศาสนาจะไม่เสื่อมได้อย่างไร ผมว่าทั้งคนทั้งศาสนานั่นแหละเสื่อม แต่ธรรมะต่างหากที่ไม่เสื่อม เพราะธรรมะเป็นความจริงของธรรมชาติ ซึ่งพระพุทธองค์ทรงค้นพบ ธรรมะไม่ขึ้นอยู่กับเวลาและสถานที่ เมื่อสองพันปีที่แล้วธรรมะเป็นอย่างไร ปัจจุบันธรรมะก็ยังคงเป็นอย่างนั้น ไม่เปลี่ยนแปลง ผมว่าพุทธศาสนาเสื่อม แต่ธรรมะเท่านั้นที่ไม่เสื่อม

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    <TABLE border=1 cellSpacing=0 borderColor=#666666 cellPadding=0 width="85%" align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#666666>[​IMG] 53. ทำงานตามหน้าที่เป็นการปฏิบัติธรรมหรือไม่ </TD></TR><TR><TD>
    นักปฏิบัติ :
    ผมเคยได้ยินบางคนบอกว่า ถ้าเราทำงานตามหน้าที่ให้ด้ที่สุดก็เท่ากับเป็นการปฏิบัติธรรมอย่างหนึ่งเหมือนกัน ไม่ทราบว่าจริงไหมครับ

    อ. ชวยง : การทำงานกับการปฏิบัติธรรมเป็นคนละเรื่องกัน งานบางอย่างเช่น อาชีพฆ่าสัตว์ อาชีพจับสัตว์ขาย เป็นบาป เป็นอกุศลอยู่แล้ว คนที่มีอาชีพแบบนี้แม้จะทำหน้าที่ของตนดีเพียงใดก็ตาม ย่อมเป็นบาป เป็นอกุศลอยู่ดี ส่วนงานทั่วไปเช่นอาชีพค้าขาย เป็นครู เป็นหมอ คนที่มีอาชีพเหล่านี้แม้จะทำหน้าที่ของตนดีเพียงใด ก็ไม่ได้ชื่อว่าปฏิบัติธรรม เพราะไม่เป็นไปเพื่อการบรรลุมรรคผลนิพพาน ผมไม่เคยได้ยินเลยว่ามีครูคนไหนที่ทำหน้าที่อย่างดีแล้วบรรลุมรรคผล ผมไม่เคยได้ยินว่ามีหมอคนไหนที่ทำหน้าที่อย่างดีแล้วบรรลุมรรคผล

    แต่ในขณะที่เราทำงานอยู่นั้น เราอาจจะปฏิบัติธรรมควบคู่ไปด้วยก็ได้ โดยการตั้งใจทำงานตามหน้าที่ของตน ไม่ยินดียินร้ายในงานนั้น คือทำงานดีก็ไม่ดีใจถ้างานไม่ดีก็ไม่เสียใจ ได้แต่แก้ไขไปตามเหตุผล ถ้าเราทำอย่างนี้จึงจะได้ชื่อว่าปฏิบัติธรรมในขณะทำงาน อย่างนี้จึงจะบรรลุมรรคผลได้


    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" align=center><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=1 cellSpacing=0 borderColor=#666666 cellPadding=0 width="85%" align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#666666>[​IMG] 54. ทำให้มีความสุขตลอดเป็นการปฏิบัติอธรรมหรือไม่ </TD></TR><TR><TD>
    นักปฏิบัติ : ถ้าเราพยายามทำให้มีความสุขเกิดขึ้นตลอดเวลา อย่างนี้ถือว่าเป็นการปฏิบัติธรรมหรือไม่

    อ. ชวยง : การปฏิบัติใดก็ตาม ถ้าทำให้เรามีความสุขตลอดไป การปฏิบัตินั้นก็คือการปฏิบัติธรรม เพราะการปฏิบัติธรรมเป็นไปเพื่อเข้าสู่ นิพพาน คือเป็นสุขตลอดไป แต่เวลาปฏิบัติเราอาจจะเข้าใจผิด หลงทางได้ เช่นบางคนพยายามให้ตนเองได้รับแต่สุขเวทนาคือให้รับแต่อารมณ์ที่ดี เช่นพยายามกินแต่อาหารอร่อยๆแต่การทำอย่างนี้ไม่สามารถทำให้มีความสุขตลอดไป เราไม่สามารถบังคับให้มีแต่สุขเวทนาได้ มันจะต้องมีทุกขเวทนาเกิดขึ้นบ้างสลับเปลี่ยนกันไป เช่นเวลากินอาหารอาจจะท้องเสีย อยู่ดีๆอาจจะเป็นไข้ ขับรถอาจเจอรถติด

    นั่นก็หมายความว่า การหาความสุขโดยพยายามให้ได้รับแต่สุขเวทนานั้นเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ เราจึงไม่สามารถมีความสุขตลอดโดยใช้วิธีนี้

    บางคนอาจจะหาความสุขโดยการฝึกสมาธิพยายามทำจิตใจให้สงบ กิเลสจะถูกข่มไว้ความสุขก็เกิดขึ้น บางคนพยายามทำให้สมาธิเกิดต่อเนื่อง ทั้งในขณะที่เคลื่อนไหวอยู่ใน

    อิริยบถต่างๆ เพื่อให้มีความสุขตลอด แต่โดยธรรมชาติของจิตนั้นไม่เที่ยง เราไม่สามารถที่จะทำให้สมาธิเกิดตลอดไป บางครั้งจิตจะฟุ้งซ่าน ทำให้เกิดกิเลสขึ้นได้อีก เพราะฉะนั้นเราจึงไม่สามารถที่จะมีความสุขได้ตลอด

    ส่วนการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เป็นการฝึกไม่ให้ใจขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม คือไม่ว่าจะได้รับสุขเวทนาหรือทุกขเวทนา เราก็มีความสุขได้ เพราะฉนั้นการวิปัสสนากรรมฐานจึงเป็นหนทางเดียวเท่านั้นที่จะทำให้เรามีความสุขตลอดได้ และเมื่อใดที่เรามีความสุขตลอดไปได้ เราก็ได้ชื่อว่าเป็น พระอรหันต์ ไม่ต้องปฏิบัติธรรมอีกต่อไป

    รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ผมเขียนไว้ในภาคผนวกเรื่อง "ความสุข ๓ อย่าง" อยู่ในหนังสือ " วิธีปฏิบัติให้ได้มรรคผลนิพพาน" ลองไปอ่านดูนะครับ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    <TABLE border=1 cellSpacing=0 borderColor=#666666 cellPadding=0 width="85%" align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#666666>[​IMG] 55. แรงดลใจที่ทำให้แต่งหนังสือ </TD></TR><TR><TD>
    นักปฏิบัติ :
    มีแรงดลใจอะไรที่ทำให้อาจารย์แต่งหนังสือ "วิธีปฏิบัติให้ได้มรรคผลนิพพาน"

    อ. ชวยง : ผมเห็นว่าในเมืองไทยยังมีผู้สนใจในการปฏิบัติ เช่นเดียวกับผมอยู่มาก นับแสนคน แต่นักปฏิบัติส่วนใหญ่ เรียกได้ว่าเกือบร้อยเปอร์เซนต์เลยทีเดียว มีความเข้าใจในการปฏิบัติธรรมไม่ถูกต้อง ทำให้ปฏิบัติไม่ได้ผล ผมจึงได้แต่งหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาเพื่ออธิบายหลักการ เพื่อให้ผู้สนใจได้ใช้เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติธรรม

    นักปฏิบัติ : อาจารย์ไม่กลัวถูกโจมตีจากสำนักอื่นหรือครับ เพราะมีข้อความหลายตอนขัดกับคำสอนของสำนักอื่น

    อ. ชวยง : ไม่กลัวหรอกครับ ผมใช้เวลาในการแต่งหนังสือเล่มนี้ ๒ ปี ที่ใช้เวลามากก็เพราะผมไม่ใช่นักเขียน เขียนแล้วต้องแก้ไขหลายหน ตลอดระยะเวลาที่ผมแต่งหนังสือ ผมก็ได้ศึกษาพระไตรปิฎกฉบับภาษาไทยไปด้วย ทั้งนี้เพื่อมิให้ข้อความในหนังสือของผมขัดกับคำสอนในพระไตรปิฎก ชาวพุทธเราถือว่า พระไตรปิฎกเป็นหลักสูงสุดของพุทธศาสนา เหมือนกับรัฐธรรมนูญที่ถือเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ผมเห็นว่าสำนักงานใดสอนขัดกับสำนักงานอื่นก็ไม่เป็นไร แต่อย่าขัดกับพระไตรปิฎกก็แล้วกัน

    นักปฏิบัติ : หนังสือเล่มที่สองจะออกเมื่อไรครับ
    อ. ชวยง : หนังสือที่เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติธรรมก็คงจะมีเพียงเล่มนี้แหละครับ เพราะจุดประสงค์ของผมต้องการเน้นเรื่องปฏิบัติธรรม ไม่ต้องการให้อ่านมาก เดี๋ยวจะสับสน ถ้าจะแต่งหนังสือเล่มต่อไปก็คงเป็นหนังสือที่ใช้ประกอบเท่านั้น หนังสือเล่มที่สองคงจะเป็นลักษณะถามตอบปัญหาธรรม เพราะคนทั่วไปชอบอ่านหนังสือแนวนี้


    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" align=center><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=1 cellSpacing=0 borderColor=#666666 cellPadding=0 width="85%" align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#666666>[​IMG] 56. ปฏิบัติธรรมต้องละความยินดียินร้ายแล้วจะสุขได้อย่างไร </TD></TR><TR><TD>
    นักปฏิบัติ :
    ในการปฏิบัติธรรม อาจารย์บอกว่าต้องละความยินดียินร้าย คนชมก็ไม่ให้ดีใจ อากาศเย็นสบายก็ไม่ให้ชอบ ให้ทำเฉยๆ อย่างนี้จะมีความสุขได้อย่างไรกันครับ
    อ. ชวยง : ถ้าคนชมแล้วเราดีใจอากาศเย็นสบายแล้วชอบ อย่างนี้เรามีความสุขก็จริงอยู่ แต่จะทำให้เราติดในคำชม ติดในความเย็นสบายติดในสุขเวทนาต่างๆมากขึ้นภายหลังเมื่อเราได้รับทุกขเวทนา เช่นโดนคนด่า หรืออยู่ในอากาศที่ร้อนอบอ้าว เราก็จะทุกมากขึ้นด้วย เพราะความยินดียินร้าย หรือความดีใจ เสียใจเป็นของคู่กัน ถ้าเรามีความดีใจมากในขณะที่ได้รับสุขเวทนา เราก็เสียใจมาก เมื่อได้รับทุกขเวทนาด้วย แต่เราปฏิบัติธรรม คือฝึกละความยินดียินร้ายในสิ่งต่างๆ สภาพจิตของเราจะมั่นคงขึ้น หวั่นไหวตามสภาพแวดล้อมน้อยลง และในบางครั้งถ้าเราปฏิบัติธรรมได้ผลดี จิตของเราจะนิ่ง ไม่หวั่นไหว ไม่คล้อยตามสภาพแวดล้อม ขณะจิต ของเราจะสงบตั้งมั่นเป็นสติ มีความสุขเกิดขึ้น จากภายใน ซึ่งไม่ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมภายนอก เราจะพบว่าความสุขที่เกิดขึ้นนี้ สุขกว่า ดีกว่า ความสุขที่เกิดจากคนชม สุขกว่า ดีกว่า ความสุขที่เกิดจากการได้กินอาหารอร่อยๆ สุขกว่า ดีกว่า ความสุขที่เกิดจากการฟังเพลงที่ไพเราะ จะเห็นว่าการปฏิบัติธรรมทำให้เรามีความสุข ไม่ใช่ว่าไม่มี เพียงแต่เราต้องละความสุขที่ต่ำก่อน จึงจะพบกับความสุขที่สูงเช่นนี้ได้
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    <TABLE border=1 cellSpacing=0 borderColor=#666666 cellPadding=0 width="85%" align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#666666>[​IMG] 57. ดูจิตดูตรงไหน </TD></TR><TR><TD>
    นักปฏิบัติ :
    การมีสติอยู่กับจิต ที่ว่าให้เฝ้าดูจิตนั้น ดูตรงไหน ผมทำไม่ถูก ไม่ว่าจะเอาสติไปจับที่จุดใดของร่างกาย

    อ. ชวยง : เนื่องจากจิตเป็นนามธรรม มองไม่เห็นเพราะฉะนั้นการดูจิตก็เป็นเพียงการรับรู้ว่าขณะนี้สภาพจิตเป็นอย่างไร เช่น ถ้าจิตโกรธก็ให้รู้ว่าจิตโกรธ จิตหดหู่ก็ให้รู้ว่าจิตหดหู่ จิตสงบก็ให้รู้ว่าจิตสงบ ไม่ต้องสติไปอยู่ที่จุดใดของร่างกาย ขอเพียงให้รู้สภาพจิตในขณะนั้นว่ารู้สึกอย่างไร ก็พอ

    แต่ถ้าทำไม่ได้ ก็อาจจะเอาสติไปอยู่ที่บริเวณกลางสมอง หรือจะเอาไปไว้ที่หัวใจก็ได้เพราะเวลาที่สภาพหัวใจเปลี่ยนแปลง การทำงานของสมอง หรือหัวใจก็อาจเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย แต่จุดประสงค์หลักก็คือให้รู้ว่าสภาพจิตขณะนี้เป็นอย่างไร เท่านี้


    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" align=center><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=1 cellSpacing=0 borderColor=#666666 cellPadding=0 width="85%" align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#666666>[​IMG] 58. อยากทำเป็นทุกวิธี </TD></TR><TR><TD>
    นักปฏิบัติ :
    ถ้าเราอยากจะทำสติสัมปชัญญะให้เป็นทุกวิธี จะต้องฝึกไปทีละอย่างๆ เช่นตอนแรกฝึกมีสติอยู่กับกายก่อน ต่อไปก็ฝึกมีติอยู่กับการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น เรื่อยไปจนครบทุกวิธีใช่ไหมครับ

    อ. ชวยง : อันที่จริงในการปฏิบัติธรรม เราไม่จำเป็นที่จะต้องทำให้เป็นทุกวิธี จะเลือกทำวิธีที่เราทำได้ง่ายก็ได้ แต่ถ้าเราทำเป็นทุกวิธีก็จะมีข้อดีตรงที่เรามีวิธีเลือกปฏิบัติให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมได้ง่าย เช่นถ้ามีแสงสว่างเราก็มีสติอยู่กับการเห็นได้ แต่ถ้าอยู่ในที่มืดเราต้องเปลี่ยนวิธีอื่นแทน เช่นอาจจะมีสติอยู่กับกายแทน

    ถ้าเราทำเป็นทุกวิธี ก็มีเทคนิคช่วยให้เป็นเร็วอยู่เหมือนกัน วิธีทำก็คือเราจะต้องศึกษาวิธีทำสติสัมปชัญญะของแต่ละวิธีให้เข้าใจดีเสียก่อน แต่การฝึกตอนแรกเราจะเลือกวิธีที่เราถนัดหรือทำได้ง่าย ซึ่งปกติผมจะให้ฝึก ๒ อย่างก่อน คือการมีสติอยู่กับการเห็น และการมีสติอยู่กับกาย เพราะฝึกได้ง่ายกว่าวิธีอื่น ให้เราพยายามฝึกจนชำนาญ สามารถทำสติสัมปชัญญะให้มีกำลังมากได้

    เมื่อเราอยากจะทำวิธีอื่นเป็น ก็ให้ทำสติสัมปชัญญะ ตามวิธีที่เราถนัดก่อน เช่นถ้าฝึกมีสติกับการเห็นเป็น เราก็เอาสติไปอยู่กับการเห็นก่อน ทำจนสติสัมปชัญญะมีกำลังมาก แล้วรีบเปลี่ยนเอาสติไปอยู่ที่อื่น เช่นเอาสติไปอยู่ที่เสียง เราก็จะมีสติสัมปชัญญะอยู่ที่เสียงได้ จะสามารถตามไปปรุงแต่งจิตได้ทุกทวาร เราก็จะมีสติสัมปชัญญะอยู่กับการเห็นได้ดีเมื่อเราเปลี่ยนเอาสติไปอยู่ที่ทวารอื่น สติสัมปชัญญะก็จะตามไปด้วย งานของเราก็คือ ต้องจดจำความรู้สึกในขณะที่มีสติสัมปชัญญะอยู่กับแต่ละทวารว้ามีลักษณะอย่างไร ภายหลังเราก็ฝึกทำความรู้สึกที่เคยจดจำไว้ ด้วยวิธีนี้เราจะสามารถทำติสัมปชัญญะเป็นทุกวิธีโดยใช้เวลาไม่นาน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    <TABLE border=1 cellSpacing=0 borderColor=#666666 cellPadding=0 width="85%" align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#666666>[​IMG] 59. โลภง่ายก็โกรธง่าย </TD></TR><TR><TD>
    นักปฏิบัติ :
    ที่อาจารย์บอกคนที่โลภง่าย ก็โกรธง่ายด้วย ผมเห็นเศรษฐีบางคนก็ความโลภมากทำงานหาเงินทั้งวัน แต่เขาก็สุขสบายดี ไม่ค่อยโกรธ

    อ. ชวยง : โดยปกติคนเราเมื่อได้รับสุขเวทนา คือได้รับอารมณ์ที่ดี จึงมีความชอบ ความพอใจ (โลภะ) เกิดขึ้น เมื่อได้รับทุกขเวทนา คือได้รับอารมณ์ที่ไม่ดี จึงจะไม่มีความพอใจ (โทสะ) เกิดขึ้น

    ที่ในแต่ละวันเศรษฐีเขามีโลภะมาก มีโทสะน้อย ก็เพราะเขาพยายามที่จะทำให้ตนเองได้รับสุขเวทนาอยู่เสมอ พยายามปิดกั้นไม่ให้มีทุกขเวทนา เช่นเวลาที่เกิดความไม่พอใจ เขาจะพยายามแสวงหาความสุขเวทนา อาจจะไปอยู่ในห้องแอร์เย็นๆ เพื่อโทสะจะหายไป มีความสบายใจ (โลภะ) เกิดขึ้นแทน เนื่องจากเศรษฐีมีทรัพย์มากจึงแสวงหาสุขเวทนาได้ง่าย เราจึงเห็นว่าเขามีความสุขมาก มีความทุกข์น้อย แต่ถ้าเศรษฐีนั้นไม่อาจแสวงหาสุขเวทนาได้ เช่นเวลาที่เขาเจ็บป่วยเขาก็มีความทุกข์มากเช่นกัน

    แต่ที่ผมกล่าวว่า คนที่โลภง่าย ก็จะโกรธง่ายด้วยนั้น หมายความว่า ผู้ใดก็ตามที่ดีใจมากเมื่อได้รับสุขเวทนา เขาก็เสียใจมากเมื่อได้รับทุกขเวทนา คนที่เขาเสียใจน้อย เมื่อได้รับทุกขเวทนา ส่วนพระอรหันต์นั้นไม่ดีใจเมื่อได้รับสุขเวทนา จึงไม่เสียใจเมื่อได้รับทุขเวทนา


    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" align=center><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=1 cellSpacing=0 borderColor=#666666 cellPadding=0 width="85%" align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#666666>[​IMG] 60. คนแก่สนใจธรรมะกว่าคนหนุ่มสาว </TD></TR><TR><TD>
    นักปฏิบัติ :
    ทำไมคนแก่จึงสนใจธรรมะ ส่วนคนหนุ่มสาวจึงไม่ค่อยสนใจครับ

    อ. ชวยง : เพราะหนุ่มสาวยังไม่เห็นทุกข์ ร่างกายแข็งแรง หน้าตาสะสวย จะไปไหนมาไหนก็สะดวก โรคภัยไข้เจ็บก็ไม่ค่อยมี จะหาความสุขด้วยการดูหนังฟังเพลง ก็ทำได้ง่าย เขาแสวงหาความสุขได้ง่าย จึงไม่เห็นความทุกข์

    ส่วนคนแก่ ร่างกายอ่อนแอทรุดโทรม หน้าตาเหี่ยวย่น จะเดินทางไปไหนก็ลำบาก มีโรคภัยอยู่เสมอ ฟังไม่ค่อยได้ยิน จะแสวงหาสุขเวทนาได้ยาก จึงทำให้เห็นความทุกข์ ซึ่งทางออกของคนแก่มีอย่างเดียวคือต้องปฏิบัติธรรม เพราะการปฏิบัติธรรมสามารถทำให้เราเป็นสุขได้แม้ในขณะที่ได้รับทุกขเวทนา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    <TABLE border=1 cellSpacing=0 borderColor=#666666 cellPadding=0 width="85%" align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#666666>[​IMG] 61. อะไรเป็นตัวกำหนดบาปบุญ </TD></TR><TR><TD>
    นักปฏิบัติ : ผมเคยได้ยินบางคนบอกว่า การยิงนกตกปลาเป็นบาป แต่บางคนบอกว่า ถ้ายิงนกตกปลาเพื่อเอามากินเป็นอาหาร เพื่อเลี้ยงชีพอย่างนี้ก็ไม่เป็นบาป บางคนบอกว่าโกหกเป็นบาป แต่บางคนบอกว่าถ้าโกหกแล้วไม่ทำให้ใครเดือดร้อน โกหกแล้วทำให้คนอื่นสบายใจขึ้น อย่างนี้ก็ไม่เป็นบาป เขาก็มีเหตุผลดีทั้งสองฝ่าย ผมเลยไม่ทราบว่าจะเชื่อใครดี

    อ. ชวยง : เรื่องบาปบุญเป็นเรื่องของกฎแห่งกรรมเป็นเรื่องของธรรมชาติ ไม่ใช่เรื่องที่ใครกำหนดขึ้นได้เอง การวัดบาปบุญ วัดที่เจตสิกคือตัวปรุงแต่งจิต ขณะที่ใดมีมีกุศลเจตสิกปรุงแต่งจิต จิตก็เป็นบุญ เมื่อสั่งจิตให้กายทำงาน งานนั้นก็เป็นบุญ ขณะที่มีอกุศลเจตสิกคือกิเลสปรุงแต่งจิต จิตเป็นบาป เมื่อสั่งจิตให้ทำกายทำงาน งานนั้นก็เป็นบาป

    การที่คนเราอยู่ดีๆ จะไปยิงนกตกปลา ย่อมเป็นไปไม่ได้ จะต้องมีจิตชั่ว หรือจิตที่เป็นบาปสั่งให้กายทำแสดงอาการนั้นออกไป เช่นถ้าเราตกปลาเพื่อความสนุกสนาน แสดงว่าเราตกปลาด้วยอำนาจของ โลภะ หรือเพราะโกรธปลาที่เคยทำร้ายเรา แต่ถ้าเราตกปลาเพื่อเอามากินเป็นอาหารประทังชีวิต อย่างนี้แสดงว่าเราตกปลาด้วยอำนาจของโมหะ เพราะการที่เราทำเช่นนี้ แสดงว่าเราไม่เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม การไม่เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม เป็นมิจฉาทิฐิ (ความเห็นผิด) ซึ่งจัดเป็นโมหะ


    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" align=center><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=1 cellSpacing=0 borderColor=#666666 cellPadding=0 width="85%" align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#666666>[​IMG] 62. กล่าวว่าตนเองรู้ธรรมมาก เป็นการอวดตัวหรือไม่ </TD></TR><TR><TD>
    นักปฏิบัติ :
    ผมทราบมาว่าการอวดตัว เป็นกิเลสอย่างหนึ่งที่เรียกว่า มามะ ที่อาจารย์บอกว่าตนเองรู้ธรรมมาก อย่างนี้ไม่ถือว่าเป็นการอวดตัว ไม่ถือว่าเป็นกิเลสหรือครับ

    อ. ชวยง : คำพูดก็อย่างหนึ่ง กิเลสก็อย่างหนึ่ง เป็นคนละอย่างกัน คุณคิดว่าการที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่าพระองค์ทรงเลิศกว่ามนุษย์และเทวดาทั้งปวง อย่างนี้พระพุทธองค์ทรงกล่าวด้วยความอวดตัว หรือทรงกล่าวตามความเป็นจริง

    นักปฏิบัติ : ทรงกล่าวตามความเป็นจริงครับ

    อ. ชวยง : ถ้าอย่างนั้นการกล่าวตามความเป็นจริงก็อย่างหนึ่ง การกล่าวด้วยการอวดตัวก็อย่างหนึ่ง เป็นคนละอย่างกัน บางครั้งผมพูดด้วยความอวดตัว ผมก็รู้อยู่ว่าพูดด้วยความอวดตัว บางครั้งผมพูดด้วยความเป็นจริงด้วยใจที่ปกติ ไม่มีกิเลส ผมก็รู้ว่าพูดตามความเป็นจริงด้วยใจที่ปกติ ไม่มีกิเลส บางครั้งผมไม่ได้พูดอะไร แต่มีกิเลสเกิดขึ้น ผมก็รู้ว่ามีกิเลสเกิดขึ้นบางครั้งผมนั่งอยู่เฉยๆ ไม่มีกิเลสเกิดขึ้น ผมรู้ว่าไม่มีกิเลสเกิดขึ้น ฉะนั้น กิริยาท่าทาง หรือคำพูดไม่ใช่ตัวบอกว่าขณะนั้นมีกิเลสเกิดขึ้นหรือไม่ เพราะกิเลสเกิดขึ้นที่ใจ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    <TABLE border=1 cellSpacing=0 borderColor=#666666 cellPadding=0 width="85%" align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#666666>[​IMG] 63. การปฏิบัติธรรมมีประโยชน์ในทางโลกหรือไม่ </TD></TR><TR><TD>
    นักปฏิบัติ :
    การปฏิบัติธรรมสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในทางโลกได้ไหมครับ

    อ. ชวยง : ช่วยได้มากมายมหาศาลเลยทีเดียว เพราะการปฏิบัติธรรมเป็นการฝึกให้ สติ สมาธิ และปัญญามีกำลังมากขึ้น ทำให้กิเลสอ่อนกำลังลง ในการทำงานทางโลกทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นการงานใดก็ตาม ย่อมต้องอาศัย สติ สมาธิ และปัญญาทั้งสิ้น ถ้าสิ่งเหล่านี้มีกำลังมาก การทำงานก็ย่อมมีประสิทธิภาพดีขึ้น

    ส่วนอุปสรรคในการทำงานก็คือ ความขี้เกียจ ความเบื่อ เซ็ง โกรธ โลภ
    ตื่นเต้น ความกังวล ความฟุ้งซ่าน
    ซึ่งอารมณ์เหล่านี้เป็นกิเลสทั้งสิ้น ถ้ากิเลสเบาบางลง การทำงานก็จะประสบผลสำเร็จมากขึ้น ถ้าเราขี้เกียจ การงานก็ช้าลง ถ้าเราตื่นเต้น การทำงานก็ไม่ประณีต ถ้าเรากังวลก็จะเกิดความเครียดได้ มีนักบริหารหลายคนตัดสินใจผิดพลาดเพราะอารมณ์โกรธเพียงชั่ววูบ ทำให้งานเสียหายหลายล้านบาทเลยทีเดียว ผมไม่เคยเห็นการทำอะไรที่ลงทุนน้อยแต่ได้ประโยชน์มากเท่าการปฏิบัติธรรมเลย


    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" align=center><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=1 cellSpacing=0 borderColor=#666666 cellPadding=0 width="85%" align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#666666>[​IMG] 64. สอนต่างกันแต่จุดหมายเดียวกัน </TD></TR><TR><TD>
    นักปฏิบัติ :
    สำนักปฏิบัติธรรมแต่ละสำนักอาจจะมีวิธีปฏิบัติที่แตกต่างกัน แต่ก็สามารถถึงจุดหมายเดียวกันคือบรรลุมรรคผลนิพพานได้เหมือนกันใช่ไหมครับ

    อ. ชวยง : ผมได้ยินหลายคนพูดอย่างนี้ คำพูดนี้จะบอกว่าถูกก็ได้ ผิดก็ได้ แล้วแต่การขยายความคำพูดนี้จะถูกต้อง ถ้าวิธีปฏิบัติที่ต่างกันนั้น ตั้งอยู่บนหลักการอย่างเดียวกัน การที่บุคคลจะบรรลุมรรคผลนิพพานได้นั้น จะต้องปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน หรือที่เรียกว่าสติปัฏฐาน ๔ คือ การมีสติอยู่กับกาย การมีสติอยู่กับเวทนา การมีสติอยู่กับจิต และการมีสติอยู่กับธรรม จะเห็นว่าวิธีปฏิบัติมีถึง ๔ วิธี แต่ไม่ว่าจะเป็นวิธีใดก็ตาม ย่อมสามารถทำให้บุคคลบรรลุมรรคผลนิพพานได้ทั้งนั้น

    แต่ถ้าใครกล่าวว่า การรักษาศีล ๘ ให้บริสุทธิ์หรือการทำสมาธิให้แก่กล้า ก็จะสามารถมรรคผลนิพพานได้เหมือนกัน ผมก็จะบอกว่า ไม่มีทาง เพราะศีล หรือสมาธิ ไม่ใช่เหตุปัจจัย ที่จะทำให้บรรลุมรรคผลนิพพาน

    สำนักส่วนใหญ่สอนให้คนรักษาศีล ๘ สอนให้สอนทำสมาธิ แต่ไม่สอนให้ทำวิปัสสนา เมื่อคุณยืนอยู่ริมคลองฝั่งนี้ อยากไปยังฝั่งตรงข้าม คุณก็ต้องว่ายน้ำไป จะว่ายท่าผีเสื้อ ท่ากบ หรือท่าฟรีสไตล์ก็ได้ ไม่ว่าจะว่ายท่าไหนก็ถึงจุดหมายเหมือนกัน แต่ถ้าคุณบอกว่า วิ่งออกกำลังให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว ก็จะสามารถข้ามไปยังฝั่งตรงข้ามได้เหมือนกัน ผมก็จะบอกว่า ไม่มีทาง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    <TABLE border=1 cellSpacing=0 borderColor=#666666 cellPadding=0 width="85%" align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#666666>[​IMG] 65. โกรธง่าย หงุดหงิดง่าย จะแก้ไขอย่างไร </TD></TR><TR><TD>
    นักปฏิบัติ :
    ดิฉันมีนิสัยเป็นคนโกรธง่าย หงุดหงิดง่าย ไม่ทราบว่าจะแก้ไขอย่างไรคะ

    อ. ขวยง : ควรฝึกแผ่เมตตาให้มาก เพราะการแผ่เมตตาจะทำให้จิตใจเยือกเย็นขึ้น

    นักปฏิบัติ : แผ่เมตตาทำอย่างไรคะ

    อ. ขวยง : การแผ่เมตตา ทำได้โดยให้เราทำใจ ตั้งใจเอาไว้ว่า เราจะเป็นมิตรกับสรรพสัตว์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ เทวดา หรือสัตว์เดรัจฉาน เราจะมีเมตตากับทุกคนไม่ว่ามิตรหรือศัตรู จะให้อภัยแก่เขาเหล่านั้น จะปรารถนาดีกับเขาเหล่านั้น ให้เราทำใจไว้อย่างนี้เสมอ เมื่อเราเดินไปพบใครก็แผ่เมตตา ปรารถนาดีกับเขา ขอให้เขามีความสุข เมื่อมีคนมาทำให้โกรธ ทำให้ไม่พอใจก็ละอารมณ์เหล่านั้นเสีย ด้วยการให้อภัยเขา มีเมตตาต่อเขา ไปที่ไหนก็ทำ เจอญาติพี่น้องก็แผ่เมตตา เจอมิตรหรือศัตรูก็แผ่เมตตา เจอคนที่ชอบหรือชัง ก็แผ่เมตตา เจอสุนัข แมว หนู จิ้งจก มด ยุง ก็เมตตาเรียกว่าเห็นอะไร ก็แผ่เมตตาให้หมด เมื่อเราฝึกแผ่เมตตาอย่างนี้อยู่เสมอๆ สภาพจิตของเราก็จะเปลี่ยนไป จากคนที่โกรธง่าย หงุดหงิดง่าย กลายเป็นคนโกรธยากหงุดหงิดยากแทน


    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" align=center><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=1 cellSpacing=0 borderColor=#666666 cellPadding=0 width="85%" align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#666666>[​IMG] 66. เป็นอรหันต์ต้องบวชภายใน ๗ วันจริงหรือ </TD></TR><TR><TD>
    นักปฏิบัติ :
    มีหลายคนกล่าวกันว่า ถ้าผู้ใดปฏิบัติธรรม สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว จะต้องบวชภายใน ๗ วัน มิฉะนั้นจะต้องตาย ไม่ทราบว่าจริงไหมครับ

    อ. ชวยง : ผมก็เคยได้ยินหลายคนพูดอย่างนี้ ผมพยายามค้นหาในพระไตรปิฎกก็ไม่มีความกล่าวไว้อย่างนี้ ผมคิดว่าไม่เป็นความจริง เพราะการปฏิบัติธรรมเป็นไปเพื่อความอยู่ง่าย ทำไมเป็นพระอรหันต์จึงลำบากกว่าคนทั่วไป คือต้องบวชจึงจะมีชีวิตอยู่ได้

    หลวงพ่อเทียน ซึ่งได้รับฉายาว่า ปรมาจารย์แห่งการเจริญสติ ท่านก็ยืนยันว่าท่านพ้นทุกข์ตั้งแต่ครั้งเป็นฆราวาส และอยู่ในเพศฆราวาสอีกหลายปี จึงออกบวช

    ที่กล่าวกันว่าเป็นอรหันต์ ถ้าไม่บวชจะต้องตายภายใน ๗ วันนั้น อาจมีสาเหตุมาจากข้อความในพระไตรปิฎกตอนที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระพุทธบิดาคือพระเจ้าสุทโธทนะ ซึ่งทรงประชวรหนัก พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม จนพระเจ้าสุทโธทนะ ทรงบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ ต่อมาอีก ๗ วัน พระองค์ก็สิ้นพระชนม์ จากใจความตรงนี้ผู้อ่านจึงสรุปเอาว่า ใครที่เป็นอรหันต์ ถ้าไม่บวชภายใน ๗ วัน ก็จะต้องตาย ซึ่งอันที่จริงพระเจ้าสุทโธทนะทรงประชวรหนักอยู่แล้ว ไม่ว่าทรงได้เป็นพระอรหันต์หรือไม่ว่าก็ตาม ก็ต้องสิ้นพระชนม์อยู่ดี


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    <TABLE border=1 cellSpacing=0 borderColor=#666666 cellPadding=0 width="85%" align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#666666>[​IMG] 67. เป็นอรหันต์กรรมตามไม่ทันจริงหรือ </TD></TR><TR><TD>
    นักปฏิบัติ :
    ผมเคยได้ยินว่าเมื่อเป็นพระอรหันต์แล้วกรรรมจะตามไม่ทัน เรื่องนี้จริงไหมครับ

    อ. ชวยง : คงไม่จริงหรอกครับ อย่างไรสมัยพุทธกาลก็มีตัวอย่างให้เห็น เช่น พระพุทธองค์ก็ทรงถูกพระเทวทัตทำร้ายถึงกับทรงห้อพระโลหิตที่พระบาท ที่พระองค์ทรงได้รับวิบากร้ายเช่นนี้เป็นผลของกรรม

    พระโมคคัลลานะถูกทำร้ายถึงกับกระโหลกศีรษะแตกละเอียดก็เพราะผลของกรรมที่ทำมาในอดีตชาติ

    ที่ว่ากรรมตามไม่ทันพระอรหันต์นั้นคงหมายถึง ผลกรรมไม่มีผลต่อสภาพจิตใจของพระอรหันต์ จะมีผลก็เฉพาะแต่ทางร่างกายเท่านั้น


    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" align=center><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=1 cellSpacing=0 borderColor=#666666 cellPadding=0 width="85%" align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#666666>[​IMG] 68. คนร้อยคนปฏิบัติธรรมบรรลุมรรคผลทั้งร้อยคนจริงหรือ </TD></TR><TR><TD>
    นักปฏิบัติ :
    อาจารย์ได้เขียนไว้ที่ปกหลังของหนังสือ วิธีปฏิบัติให้ได้มรรคผลนิพพาน ว่า "คนร้อยคนหัดว่ายน้ำ ย่อมว่ายเป็นทั้งร้อยคนฉันใด คนร้อยคนปฏิบัติธรรม ย่อมบรรลุมรรคผลทั้งร้อยคนฉันนั้น" ข้อความนี้จะเป็นจริงไปได้หรือครับ ผมเห็นนักปฏิบัติส่วนใหญ่ปฏิบัติธรรม กันมาทั้งนาน ก็ยังไม่มีวี่แววที่จะบรรลุมรรคผลเลย

    อ. ชวยง : ข้อความนี้ผมกล่าวไปตามความเป็นจริง ไม่ได้กล่าวลอยๆ อย่างไม่มีเหตุผล พระพุทธองค์เองก็ได้ ทรงยืนยันในเรื่องนี้ไว้ว่า บุคคลที่ไม่ทำกรรมชั่วหนักถึงขั้นอนันนตริยกรรม ( กรรมหนัก เช่น ฆ่าบิดา มารดา หรือทำร้ายพระพุทธเจ้า ) มีความปรารถนาจะได้มรรคผลนิพพาน ได้ลงมือปฏิบัติธรรม ทำความเพียรไม่ย่อหย่อน อย่างช้าไม่เกิน ๗ ปี จะต้องได้เป็นพระอนาคามีหรือไม่ก็เป็นพระอรหันต์แน่นอน แต่ถ้าเป็นคนที่มีบุญบารมีมาก ก็สามารถสำเร็จได้ภายใน ๗ วัน

    ในการปฏิบัติธรรมของผมเอง ผมก็ได้เห็นความจริงว่า เมื่อสร้างเหตุอย่างไรย่อมได้รับผลอย่างนั้น ขณะใดที่ผมขาดสติสัมปชัญญะ จิตย่อมยินดียินร้ายไปตามอารมณ์ที่มากระทบ ขณะใดที่ผมมีสติสัมปชัญญะ จิตย่อมไม่หวั่นไหวไปตามอารมณ์ที่มากระทบ ขณะใดที่จิตฟุ้งซ่าน จิตย่อมไม่สงบ มีความทุกข์ขณะใดที่จิตเป็นสมาธิ จิตย่อมสงบ มีความสุข ช่วงใดวางใจได้ถูก การปฏิบัติธรรมก็ก้าวหน้า ช่วงใดวางใจไม่ถูก การปฏิบัติธรรมก็จะไม่ก้าวหน้า ช่วงใดปฏิบัติธรรมด้วยสมาธิที่แรง การปฏิบัติธรรมก็จะก้าวหน้าเร็ว ช่วงใดปฏิบัติธรรมด้วยสมาธิที่อ่อน การปฏิบัติธรรมก็จะก้าวหน้าช้า สภาพธรรมเหล่านี้จะเป็นธรรมชาติที่ตายตัว ไม่มียกเว้น เหมือนกับการที่เราปล่อยเหรียญจากมือปล่อย ๒๐๐ ครั้ง ก็ต้องตกลงพื้นทั้ง ๑๐๐ ครั้ง ไม่มีครั้งไหนที่เหรียญจะลอยขึ้นไปบนท้องฟ้า ในการปฏิบัติธรรมเวลาที่เราโกรธ แล้วอยากจะหายโกรธ เราก็พยายามทำสติสัมปชัญญะให้เกิดขึ้น ถ้าสติสัมปชัญญะเกิดขึ้น ความโกรธก็จะดับไปเป็นธรรมดา เป็นอย่างนี้ทุกครั้งไป ไม่มียกเว้น แต่ถ้าเราไม่สามารถทำสติสัมปชัญญะให้เกิดขึ้นได้ ความโกรธก็ยังคงปรากฏอยู่ เป็นธรรมดา สภาพธรรมเหล่านี้จะเป็นของตายตัว ไม่มียกเว้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะอยู่ที่วัด อยู่ที่บ้านเมื่อปีที่แล้ว หรือเดี๋ยวนี้ สภาพธรรมเหล่านี้ก็ยังคงเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง เพราะผมเห็นธรรมชาติว่าเป็นอย่างนี้ ผมจึงมองไม่เห็นเลยว่าคนร้อยคนปฏิบัติธรรม จะมีคนที่ไม่สามารถบรรลุมรรคผลได้ คุณคิดว่าถ้าเรานำคนร้อยคน มาหัดว่ายน้ำ จะสักคนหนึ่งไหมที่ว่ายไม่เป็น

    นักปฏิบัติ :
    แต่การปฏิบัติธรรม ไม่เหมือนกับการหัดว่ายน้ำนี่ครับ

    อ. ชวยง : การปฏิบัติธรรมก็เหมือนกับการฝึกหัดทุกชนิดในโลกนี้ การที่เราจะฝึกหัดทำอะไรสักอย่างหนึ่งให้สำเร็จได้ จะต้องอาศัยเหตุ ๓ ประการ

    ๑. อยู่ในวัสัยที่จะทำได้
    ๒. ฝึกหัดตามวิธีที่ถูกต้อง
    ๓. ทำความเพียร

    เช่นถ้าเราจะหัดว่ายน้ำ เราต้องอยู่ในวิสัยที่จะว่ายได้ คือ ต้องมีมือเท้าดี ร่างกายแข็งแรง ถ้าแขนขาดขาขาดก็ไม่อยู่ในวิสัยที่จะฝึกได้ เมื่อลงมือฝึกก็ต้องฝึกให้ถูกวิธี ถ้าฝึกไม่ถูกต้องก็ไม่เกิดผล ในการหัดว่ายก็ต้องรู้หลักว่า เอาศีรษะขึ้นให้จมูกพ้นน้ำ ใช้มือ และเท้าพยุงตัวไม่ให้จม ถ้าเราว่ายไม่ถูกหลักคือเอาศีรษะจมน้ำเอาเท้าชี้ฟ้า อย่างนี้ก็ไม่มีทางว่ายเป็น ถ้าเรารู้หลักที่ถูกต้องแล้ว แต่ไม่ทำความเพียรคือไม่ฝึกมาก ๆ ไม่ฝึกบ่อย ๆ ก็จะไม่ได้ผล เช่น หัดว่ายน้ำวันละ ๑ นาทีทุกวัน อย่างนี้ฝึกกี่ปี ๆ ก็ไม่ได้ผล หรือหัดครั้งละ ๑ ชั่งโมง เดือนละ ๑ ครั้ง อย่างนี้ก็ว่ายไม่เป็นอยู่ดี

    ในการปฏิบัติธรรมก็เช่นกัน คนที่ไม่อยู่ในวิสัยที่จะปฏิบัติธรรมสำเร็จก็คือคนที่ทำกรรมหนักถึงขั้นอนันตริยกรรม คนบ้า คนปัญญาอ่อน ส่วนพวกเราอยู่ในวิสัยที่จะปฏิบัติธรรมได้สำเร็จทุกคน ปัญหาสำคัญอยู่ที่ว่าการฝึกหัดให้ถูกวิธี เพราะนักปฏิบัติธรรม ส่วนใหญ่ไม่รู้วิธีปฏิบัติธรรมที่ถูกต้อง ชาวพุทธไม่น้อยที่เข้าใจไปว่าการรักษาศีล การสวดมนต์คือการปฏิบัติธรรม บางคนเข้าใจว่าการทำสมาธิอย่างที่ทำกันอยู่ทั่วไปเป็นการปฏิบัติธรรม เมื่อเข้าใจผิด ทำผิดวิธีอย่างนี้แล้ว จะให้บรรลุมรรคผลได้อย่างไรกัน ปัจจุบันนักปฏิบัติธรรม ทำความเพียรมาก บางคนทำทุกวัน วันละหลายชั่วโมงแต่ก็ไม่ได้ผล ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ ปฏิบัติไม่ถูกวิธีนั่นเอง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    <TABLE border=1 cellSpacing=0 borderColor=#666666 cellPadding=0 width="85%" align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#666666>[​IMG] 69. ต้องบรรลุธรรมก่อนจึงสอนผู้อื่นได้จริงหรือ </TD></TR><TR><TD>
    นักปฏิบัติ :
    การที่เราจะสอนธรรมะให้แก่ผู้อื่น ตัวเราเองต้องบรรลุธรรมก่อนใช่ไหมครับ

    อ. ชวยง : เรื่องการสอนธรรมะกับการบรรลุธรรมเป็นคนละเรื่องกัน บางคนถึงจะบรรลุธรรมแล้วก็ไม่สามารถที่จะสอนคนอื่นได้ ทั้งนี้เพราะถ่ายทอดไม่เป็น ส่วนบางคนรู้หลักธรรม สามารถสอนคนอื่นให้บรรลุธรรมได้ ทั้งๆ ที่ตนเองก็ไม่ได้บรรลุธรรมแต่อย่างใด

    พระปัจเจกพุทธเจ้าได้ชื่อว่าเป็นผู้ค้นพบวิธีปฏิบัติธรรมด้วยตนเอง ไม่มีใครสอน แต่พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ไม่สามารถสอนธรรมะให้คนทั่วไปบรรลุธรรมได้ เพราะสอนไม่เป็น

    ในครั้งพุทธกาล พระบางรูปสอนให้ผู้อื่นเป็นพระอรหันต์ไปตั้งมากมาย ทั้งๆ ที่ตนเองก็ยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์เลย เรียกว่า สอนเป็นแต่ทำไม่เป็น พระอรหันต์บางรูปก็สอนคนอื่นไม่ได้ เรียกว่า ทำเป็นแต่สอนไม่เป็น


    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" align=center><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=1 cellSpacing=0 borderColor=#666666 cellPadding=0 width="85%" align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#666666>[​IMG] 70. ปฏิบัติธรรมไม่มีอาจารย์ควบคุมจะบ้าหรือไม่ </TD></TR><TR><TD>
    นักปฏิบัติ :
    ผมเคยได้ยินมาว่า ถ้าเราปฏิบัติธรรมโดยไม่มีอาจารย์ควบคุมอาจจะเป็นบ้าได้ ไม่ทราบว่าจริงไหมครับ

    อ. ชวยง : ผมเคยได้ยินหลายคนพูดอย่างนี้ การที่จะเป็นบ้าหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติ ถ้าปฏิบัติถูกวิธีก็ไม่บ้า ถ้าปฏิบัติผิดวิธีก็อาจจะบ้าได้ ที่ว่าปฏิบัติผิดวิธีก็คือ ไม่รู้จักวิธีที่ถูกต้อง ไม่รู้จักการปล่อยว่าง เช่น เมื่อนั่งสมาธิเห็นนิมิต พอลืมตาก็เห็นนิมิตอีก ทำให้เกิดความกลัว ตกใจจนเป็นบ้าไปก็มี

    นักปฏิบัติ : แล้วถ้าเราเห็นนิมิตอย่างนี้ เราควรจะปฏิบัติอย่างไรครับ

    อ. ชวยง : ก็ใช้หลักของวิปัสสนา คือ รู้ชัดในสิ่งที่เกิดขึ้น แต่อย่ายินดี ยินร้ายในสิ่งนั้น ถ้าเราหลับตาแล้วเห็นนิมิต ก็ตั้งใจรับรู้ในนิมิต แต่อย่ายินดียินร้ายในนิมิต นิมิตเป็นอย่างไรก็ให้รู้ไปตามนั้น ถ้าลืมตาแล้วยังเห็นนิมิตต่ออีก ก็ให้รู้ชัดในนิมิต อย่ายินดียินร้าย นิมิตดีก็อย่าชอบ นิมิตไม่ดีก็อย่าชัง ทำใจเฉยๆ ถ้าอยากให้นิมิตหายไป แต่นิมิตไม่ยอมหาย ก็ช่างมัน อย่าตื่นเต้นตกใจ ทำใจเฉยๆ ถ้าเราไม่ตื่นเต้น ไม่ตกใจ ทำจิตใจให้สงบ นิมิตก็จะหายไปเอง การทำอย่างนี้เป็นการละอุปาทาน เป็นการทำใจ เป็นการปล่อยวาง เรียกว่าปฏิบัติถูกวิธีไม่ว่าจะมีอาจารย์คุม หรือไม่มีอาจารย์คุมก็ไม่เป็นบ้าแน่นอน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    <TABLE border=1 cellSpacing=0 borderColor=#666666 cellPadding=0 width="85%" align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#666666>[​IMG] 71. ความรู้ทางโลกเป็นวิชชาหรือไม่ </TD></TR><TR><TD>
    นักปฏิบัติ :
    ผมเคยได้ยินมาว่า ความรู้ทางโลกทั้งหลายล้วนเป็นอวิชชาทั้งสิ้น มีธรรมะเท่านั้นที่ไม่ใช่อวิชชา คำกล่าวนี้ถูกต้องหรือไม่ครับ

    อ. ชวยง : คงไม่ถูกต้องหรอกครับ คำว่า อวิชชา หมายถึงการรับรู้สภาวธรรมผิดจากความจริง เช่น เข้าใจว่าความอร่อยมีอยู่ในอาหาร ความเข้าใจเช่นนี้เป็นความเข้าใจที่ผิด เป็นอวิชชา เพราะที่จริงแล้วในอาหารมีแต่รสชาติ เปรี้ยว หวาน เค็ม จืด ฯลฯ เท่านั้น ส่วนความรู้สึกอร่อย เป็นกิเลสที่เข้าปรุงแต่งจิตในขณะที่เรารับรู้รสเท่านั้นเอง อวิชชามีความหมายตรงข้ามกับคำว่า ปัญญา อวิชชาเป็นกิเลส เป็นบาป ปัญญาเป็นบุญ ส่วนความรู้ทางโลก เช่น วิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ศิลปศาสตร์ ประวัติ ศาสตร์ ความรู้เหล่านี้เรียกว่า ความรู้ เฉยๆ ไม่ใช่อวิชชา หรือปัญญา ความรู้นี้เป็นกลาง ไม่เป็นบาป ไม่เป็นบุญ

    พระอรหันต์ไม่มีอวิชชา แต่อาจมีความรู้ทางโลก เช่น มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ทางคณิตศาสตร์ได้


    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" align=center><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=1 cellSpacing=0 borderColor=#666666 cellPadding=0 width="85%" align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#666666>[​IMG] 72. วิสุทธิเทพมีจริงหรือไม่ </TD></TR><TR><TD>
    นักปฏิบัติ :
    เขากล่าวกันว่ามีสวรรค์อยู่ชั้นหนึ่งเป็นชั้นของ วิสุทธิเทพ เป็นที่อยู่ของพระอรหันต์ทั้งหลาย คือพระอรหันต์เมื่อตายไป ก็จะไปเกิดเป็นวิสุทธิเทพอยู่บนสวรรค์ชั้นนี้ เขาว่าสวรรค์ชั้นนี้ก็คือ วิสุทธิเทพ นี้มีอยู่ในพระไตรปิฎก เรื่องนี้เป็นความจริงหรือไม่ครับ

    อ. ชวยง : คำว่า "วิสุทธิเทพ" นี้มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎก แต่ไม่ได้หมายความถึงเทวดาจริง ๆ เป็นเพียงคำเปรียบเทียบเท่านั้น พระพุทธองค์ทรงกล่าวว่า เทวดามีอยู่ ๓ ประเภทคือ

    ๑. สมมุติเทพ เทพโดยสมมุติ หมายถึงพระราชา
    ๒. อุบัติเทพ เทพโดยกำเนิด หมายถึงเทวดาทั้งหลาย
    ๓. วิสุทธิเทพ เทพโดยความบริสุทธิ์ หมายถึงพระอรหันต์

    จะเห็นว่าคำว่าวิสุทธิเทพ ในพระไตรปิฎกหมายถึงที่ยังมีชีวิตอยู่ เป็นการที่พระพุทธองค์ทรงยกย่องพระอรหันต์ว่าเป็นผู้ควรเคารพบูชาดั่งเทพ เพราะเป็นผู้ที่มีจิตบริสุทธิ์ หมดจดจากกิเลส


    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" align=center><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=1 cellSpacing=0 borderColor=#666666 cellPadding=0 width="85%" align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#666666>[​IMG] 73. เมืองนิพพานมีจริงหรือไม่ </TD></TR><TR><TD>
    นักปฏิบัติ :
    มีคนเล่าว่าขณะที่เขานั่งสมาธิ เขาได้เห็นเมืองนิพพาน ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ไม่ทราบว่าเป็นความจริงหรือไม่ครับ

    อ. ชวยง : ไม่จริงหรอกครับ ภาพที่เห็นนั้นเป็นเพียงนิมิต เป็นเพียงภาพลวงตา ไม่ใช่ของจริง

    นักปฏิบัติ : อาจารย์ทราบได้อย่างไรว่าภาพที่เห็นเป็นภาพลวงตา ไม่ใช่ของจริง ในเมื่อเขายืนยันว่าสิ่งที่เห็นในสมาธินั้นเป็นจริง คนอื่นก็เห็นเช่นเดียวกับเขาเหมือนกัน

    อ. ชวยง : ตัวผมเองไม่เคยเห็นนิมิต ผมก็เพียงแต่เดาเอาเท่านั้น คนที่เขาเคยเห็นเมืองนิพพาน เคยเห็นพระพุทธเจ้าในสมาธิ แล้วบอกว่าเป็นเพียงภาพนิมิต เป็นเพียงภาพลวงตาก็มีอยู่

    พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า ที่มนุษย์และเทวดาทั้งหลายยังเห็นพระองค์ ก็เพราะพระองค์ทรงมีกายนี้อยู่ แต่เมื่อพระพุทธองค์ดับขันธปรินิพพานไปแล้ว เหล่ามนุษย์และเทวดาทั้งหลายก็จะไม่เห็นพระองค์อีก ขนาดเทวดาซึ่งมีฤทธิ์มาก ยังทรงยืนยันว่าจะไม่ได้เห็นพระองค์อีก แล้วอย่างนี้คุณยังจะคิดอีกหรือว่ามนุษย์เดินดินอย่างเราสามารถที่จะมองเห็นพระองค์ได้ ใครจะเชื่อคนอื่นก็ตามใจ ส่วนผมขอเชื่อพระพุทธเจ้าก็แล้วกัน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    ที่มาของข้อมูล :

    http://www.nipparn.com
     
  16. kikinlala

    kikinlala เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    4,939
    ค่าพลัง:
    +8,843
    ร้อนก็รู้ว่าร้อน, 40 ก็รู้ว่า 40
     
  17. nanakorn

    nanakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +155
    หวัดดีค่ะ พี่ลาล่า นานๆจะเห็นมาเยี่ยมห้องนี้ที
     
  18. marie

    marie สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    47
    ค่าพลัง:
    +16
    สาธุ สาธุ สาธุ
    อนุโมทนามิ ค่ะ ^^
    ชื่นชมความเพียรของคุณ vanco ค่ะ
     
  19. kikinlala

    kikinlala เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    4,939
    ค่าพลัง:
    +8,843
    หวัดดีค่ะ นานา พี่กลัวเข้าแล้วไม่ออกซะที เพราะมันมีอะไรน่าอ่านเยอะ เด๊ยวไม่ได้ทำอย่างอื่น
     

แชร์หน้านี้

Loading...