สวดอภิธรรม 7 คำภีร์ ป่วยก็หาย สวด 7 ปีร่างกายไม่เน่า หมดบุญก็ไปสวรรค์

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย พระศุภกิจ ปภัสสโร, 24 มีนาคม 2009.

  1. พระศุภกิจ ปภัสสโร

    พระศุภกิจ ปภัสสโร เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    2,015
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +11,166
    [​IMG]

    [​IMG]พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์คือพระธรรมในอภิธรรมปิฎกมีอยู่ทั้งสิ้น ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ อภิธรรม คือธรรมะขั้นสูง หัวใจของอภิธรรมจะกล่าวถึงเรื่องของ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน สิ้นเนื้อความในพระไตรปิฎกนับ10000หน้า พระอภิธรรม 7 คัมภีร์ เป็นธรรม ที่พระพุทธเจ้าแสดงโปรดพุทธมารดา( ธรรมแทนค่าน้ำนม)เมื่อจบพระอภิธรรมเทศนา เทวดาและพรหม ๘๐๐,๐๐๐ โกฎิ ได้บรรลุธรรมและสันตุสิตเทพบุตร (พุทธมารดา) ได้สำเร็จ เป็นพระโสดาบันบุคคล พระอภิรรม 7 คำภีร์ นี้เองที่ค้างคาว 500 เกาะผนังถ้ำและงูเหลือมแก่ ฟังในสมัยพระกัสปะสัมพุทธเจ้า ตายแล้วเกิดบนสวรรค์62กัปลงมาเกิดเป็นลูกชาวประมงทั้ง 500 บวชเป็นศิษย์พระสารีบุตรได้ฟังพระอภิธรรมอีกครั้งก็ลุอรหันต์ทั้ง 500 +อีก1 อเจลก(งูเหลือมแก่)

    [​IMG]พระอภิธรรมปิฎกมีความสำคัญเปรียบเสมือนรากแก้ว พระวินัยปิฏกประหนึ่งลำต้น พระสุตตันตปิฎกเหมือน กิ่งก้านสาขา บรรดาปิฎกทั้ง ๓ นี้ พระอภิธรรมจึงมีความสำคัญที่สุด เป็นความรู้ระดับสูง ที่ท่านเรียกว่า ปรมัตถธรรมสำหรับอภิธรรมมาสมัยประจุบันพระท่านจะสวดบทพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ในงานศพ เพื่อเป็นบุญให้ผู้ตายด้วยประการหนึ่งแต่สืบค้นนับโบราณพระท่านสวดเจริญพุทธมนต์พระอภิธรรมในงานมงคล

    ประโยชน์และอานิสงค์

    1.โบราณใช้เป็นคาถาปลุกเสกสีผึ้งในด้านเมตตามหาเสน่ห์
    2.หากสวดได้ 7 ปีเมือสิ้นชีวิตลงร่างจะไม่เน่าเปื่อย
    3.หากสวดให้ผู้ป่วยฟังจะหายป่วยได้เร็ว หากผู้ป่วยหมดบุญ(อายุ)จะไปสบาย
    4.พระเกจิอาจารย์ใช้สวดสะเดาะห์เคราะห์ ต่อดวงชะตาราศี
    5. ผูกเป็นหัวใจ ย่อว่า สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ (หัวใจพระอภิธรรม)ซึ่งเป็นพระคาถาที่ป้องกันสิ่งอัปมงคลและภูตผีปีศาจ
    6.สวดสาธยายเทวดาชอบฟัง หลวงปู่ชอบ ฐานสโม เป็นพระที่เทวดารักมากวัดป่าสัมมานุสรณ์ จ.เลย บอกว่า"มนต์บทนี้สวดในใจเทวดาก็มาฟัง"


    [​IMG]พระสังคิณี

    กุสะลา ธัมมา อะกุสะลา ธัมมา อัพยากะตา ธัมมา, กะตะเม ธัมมา กุสะลา, ยัสมิง สะมะเย กามาวะจะรัง กุสะลัง จิตตัง อุปปันนัง โหติ โสมะนัสสะสะหะคะตัง ญาณะสัมปะยุตตัง รูปารัมมะณัง วา สัททารัมมะณัง วา คัณธารัมมะณัง วา ระสารัมมะนัง วา โผฏฐัพพา รัมมะณังวา ธัมมา รัมมะณัง วา ยัง ยัง วา ปะนะรัพภะ ตัสมิงสะมะเย ผัสโส โหติ อะวิเข โป โหติ เย วา ปะนะ ตัสมัง สะมะเย อัญเญปิ อัตถิ ปฏิจจะสะมุปปันนา อรูปิโน ธัมมา อิเม ธัมมา กุสะลา.


    [​IMG] พระวิภังค์

    ปัญจักขันธา รูปักขันโธ เวทะนากขันโธ สัญญากขันโธ สังขารักขันโธ วิญญาณักขักขันโธ, ตัตถะ กะตะโม รูปักขันโธ, ยังกิญจิ รูปัง อะตีตานาคะ ตะปัจจุปปันนัง อัชฌัตตัง วา พะหิตธา วา โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา ทีนัง วา ปะณีตัง วา ยัง ทูเร วา สันติเก วา ตะเทกัชฌัง อภิสัญญูหิตวา อภิสังขิปิตวา อะยัง วุจจะติ รูปักขันโธ.


    [​IMG]พระธาตุกะถา

    สังคะโห อะสังคะโห, สังคะหิเตนะ อะสังคะหิตัง อะสังคะหิเตนะ สังคะหิตัง สังคะหิเตนะ สังคะหิตัง อะสังคะหิเตนะ อะสังคะหิตัง สัมปะโยโค วิปปะโยโค, สัมปะยุตเตนะ วิปปะยุตตัง วิปปะยุตเตนะ สัมปะยุตตัง อะสังคะหิตัง.


    [​IMG]พระปุคคะละปัญญัตติ

    ฉะ ปัญญัตติโย ขันธะปัญญัติ อายะตะนะปัญญัตติ ธาตุปัญญัตติ สัจจะปัญญัตติ อินทริยะปัญญัตติ ปุคคะละปัญญัตติ, กิตตาวะตา ปุคคะลานัง ปุคคะละปัญญัตติ, สะมะยะวิมุตโต อะสะมะยะวิมุตโต กุปปะธัมโม อะกุปปะธัมโม ปะริหานะธัมโม อะปะริหานะธัมโม เจตะนา ภัพโพ อนุรักขะนาภัพโพ ปุถุชชะโน โคตระภู ภะยูปะระโต อะภะยูปะระโต ภัพพาคะมะโน อะภัพพาคะมะโน นิยะโต อะนิยะโต ปฏิปันนะโก ผะเลฏฐิโต อะระหา อะระหัตตายะ ปฏิปันโน.


    [​IMG] พระกถาวัตถุ

    ปุคคะโล อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ อามันตา, โย สัจฉิกัตโถ ปะระมัตโถ ตะโต โส ปุคคะโล อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ, นะ เหวัง วัตตัพเพ, อาชานาหิ นิคคะหัง หัญจิ ปุคคะโล อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนะ เตนะ วะตะ เร วัตตัพเพ โย สัจฉิกัตโถ ปะระมัตโถ ตะโต โส ปุคคะโล อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ, มิจฉา.


    [​IMG]พระยะมะกะ

    เย เกจิ กุสะลา ธัมมา สัพเพ เต กุสะลามูลา, เย วา ปะนะ กุสะละมูลา สัพเพ เต ธัมมา กุสะลา, เย เกจิ กุสะลา ธัมมา สัพเพ เต กุสะละมูเลนะ เอกะมูลา, เย วา ปะนะ กุสะละมูเลนะ เอกะมูลา สัพเพ เต ธัมมา กุสะลา.


    [​IMG] พระมหาปัฏฐาน

    เหตุปัจจะโย อารัมมะณะปัจจะโย อธิปะติปัจจะโย อนันตะระปัจจะโย สะมะนันตะระปัจจะโย สะหะชาตะปัจจะโย อัญญะมัญญะปัจจะโย นิสสะยะปัจจะโย อุปะนิสสะยะปัจจะโย ปุเรชาตะปัจจะโย ปัจฉาชาตะปัจจะโย อาเสวะนะปัจจะโย กัมมะปัจจะโย วิปากาปัจจะโย อาหาระปัจจะโย อินทริยะปัจจะโย ฌานะปัจจะโย มัคคะปัจจะโย สัมปะยุตตะปัจจะโย วิปปะยุตตะปัจจะโย อัตถิปัจจะโย นัตถิปัจจะโย วิคะตะปัจจะโย อะวิคะตะปัจจะโย.



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มีนาคม 2009
  2. chanin

    chanin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 เมษายน 2005
    โพสต์:
    675
    ค่าพลัง:
    +1,331
    พระอภิธรรม เป็น ธรรมชั้นสูง ใช้ในงานสวดศพ
    คนไม่เข้าใจ นึกว่า เป็นการสวดที่ไม่เป็นมงคล
    แต่เมื่อแปลเนื้อหาแล้ว กลับเป็นหลักใหญ่ของพระพุทธศาสนา

    ขอชื่นชมคนนำเสนอด้วย ที่กล้าเสนอความจริง
     
  3. ไห่เฉากุหลาบไฟ

    ไห่เฉากุหลาบไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    895
    ค่าพลัง:
    +2,177
    ควรจะมีคำแปลให้ด้วยจะได้เข้าใจ
    ทุกวันนี้คนทั่วไปเข้าใจว่าต้องสวดในงานศพเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ควรจะสวดแล้วรู้ความหมายว่าอะไร ฉะนั้นคนเป็นควรรู้ไว้
     
  4. ต่อกิจ

    ต่อกิจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2007
    โพสต์:
    257
    ค่าพลัง:
    +1,539
    อยากได้คำแปล เพื่อจะได้รู้ความหมาย ใครช่วยอนุเคราะห์หน่อยก็ดีครับ
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width="85%" height="100%">โดยในครั้งพุทธกาล พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อครั้งเสด็จไปโปรดพุทธมารดา ได้ยกพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ เพื่อตอบแทนพระคุณของมารดา จึงเลือกธรรมะ แสดงแก่พุทธมารดาฟังที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พร้อมทั้งเหล่าเทวดาทุกชั้นที่พากันมาฟังธรรมที่ชั้นดาวดึงส์ เหตุที่ทรงเสด็จสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพราะเป็นสวรรค์ชั้นกลางๆ เทวดาชั้นต่ำก็สามารถขึ้นไปฟังได้ ชั้นที่สูงกว่าก็ลงมาฟังได้ ทำให้เหล่าเทวดาทั้งหลาย ได้บรรลุธรรมพร้อมกัน มีพระโสดาบัน เป็นเบื้องต่ำ และอนาคามีเป็นเบื้องสูง พุทธมารดาทรงจุติที่สวรรค์ชั้นดุสิต เป็นสวรรค์ชั้นสูงกว่าดาวดึงส์ ใช้เวลาในการแสดง ๓ เดือน (๑ พรรษา) ปัจจุบันพระสงฆ์จึงใช้ธรรมะหมวดอภิธรรมเป็นบทสวด เนื่องในการสวดอภิธรรมศพสำหรับบทแปลพระอภิธรรมจากภาษาบาลีเป็นภาษาไทย จัดทำโดย พระมหาพรชัย กุสลจิตฺโต วัดราชสิทธารามบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่

    สำนักพระราชวัง
    วันจันทร์ที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑




    ๑.พระสังคิณี



    กุสะลา ธัมมา ธรรมที่เป็นกุศลให้ผลเป็นสุข มีกามาวจรกุศลเป็นต้น
    อะกุสะลา ธัมมา ธรรมที่เป็นอกุศลให้ผลเป็นทุกข์ มีโลภมูลจิตแปดเป็นต้น
    อัพยากะตา ธัมมา ธรรมที่เป็นอัพยากฤตเป็นจิตกลาง ๆ มีอยู่ มีผัสสะเจตนาเป็นต้น
    กะตะเม ธัมมา กุสะลา ยัสมิง สะมะเย ในสมัยใด ธรรมที่เป็นกุศลให้ผลเป็นสุขย่อมบังเกิดขึ้นอย่างไรบ้าง
    กามาวะจะรัง กุสะลัง จิตตัง จิตที่เป็นกุศลให้ผลเป็นสุข ย่อมนำสัตว์ให้ไปเกิดในกามภพทั้งเจ็ด คือมนุษย์ ๑ สวรรค์ ๖
    อุปปันนัง โหติ ย่อมบังเกิดมีแก่ปุถุชนผู้เป็นสามัญชน
    โสมะนัสสะสะหะคะตัง เป็นไปพร้อมกับจิตด้วย ที่เป็นโสมนัสความสุขใจ
    ญาณะสัมปะยุตตัง ประกอบพร้อมด้วยญาณเครื่องรู้คือปัญญา
    รูปารัมมะณัง วา มีจิตยินดีในรูป มีรูปพระพุทธเจ้า เป็นต้น เป็นอารมณ์บ้าง
    สัทธารัมมะณัง วา มีจิตยินดีในเสียง มีเสียงท่านแสดงพระสัทธรรมเป็นต้น เป็นอารมณบ้าง
    คันธารัมมะณัง วา มีจิตยินดีในกลิ่นหอม แล้วคิดถึงการกุศล มีพุทธบูชาเป็นต้นเป็นอารมณ์บ้าง
    ระสารัมมะณัง วา มีจิตยินดีในรสเครื่องบริโภค แล้วยินดีใคร่บริจาคเป็นทานเป็นต้น เป็นอารมณ์บ้าง
    โผฏฐัพพารัมมะณัง วา มีจิตยินดีในอันถูกต้อง แล้วก็คิดเป็นทานเป็นต้น เป็นอารมณ์บ้าง
    ธัมมารัมมะณัง วา มีจิตยินดีในที่เจริญพระสัทธรรมกรรมฐาน มีพุทธานุสสติเป็นต้น เป็นอารมณ์บ้าง
    ยัง ยัง วา ปะนารัพภะ อีกอย่างหนึ่งความปรารภแห่งจิต ก็เกิดขึ้นในอารมณ์ใด ๆ
    ตัสมิง สะมะเย ผัสโส โหติ ความกระทบผัสสะแห่งจิต จิตที่เป็นกุศลก็ย่อมบังเกิดขึ้นในสมัยนั้น
    อะวิกเขโป โหติ อันว่าเอกัคคตาเจตสิกอันแน่แน่วในสันดานก็ย่อมบังเกิดขึ้น
    เย วา ปะนะ ตัสมิง สะมะเย อีกอย่างหนึ่ง ธรรมทั้งหลายเหล่าใด ก็ย่อมบังเกิดขึ้นในกาลสมัยนั้น
    อัญเญปิ อัตถิ ปะฏิจจะสะมุปปันนา ธรรมทั้งหลายอาศัยซึ่งจิตทั้งหลายอื่นมีอยู่ แล้วอาศัยกันและกันก็บังเกิดมีขึ้นพร้อม
    อะรูปิโน ธัมมา เป็นแต่นามธรรมทั้งหลายไม่มีรูป
    อิเม ธัมมา กุสะลา ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ ชื่อว่าเป็นกุศลให้ผลเป็นสุข แก่สัตว์ทั้งหลายแล ฯ



    ๒.พระวิภังค์
    ปัญจักขันธา กองแห่งธรรมชาติทั้งหลายมีห้าประการ
    รูปักขันโธ รูป ๒๘ มีมหาภูตรูป ๔ เป็นต้น เป็นกองอันหนึ่ง
    เวทะนากขันโธ ความเสวยอารมณ์ เป็นสุขและเป็นทุกข์ เป็นโสมนัสและโทมนัสและอุเบกขา เป็นกองอันหนึ่ง
    สัญญากขันโธ ความจำได้หมายรู้ ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธัมมารมณ์ อันบังเกิดในจิต เป็นกองอันหนึ่ง
    สังขารักขันโธ เจตสิกธรรม ๕๐ ดวง เป็นเครื่องปรุงแต่งจิตให้คิดอ่านไปต่าง ๆ มีบุญเจตสิกเป็นต้นที่ให้สัตว์บังเกิด เป็นกองอันหนึ่ง
    วิญญาณักขันโธ วิญญาณจิต ๘๙ ดวงโดยสังเขป เป็นเครื่องรู้แจ้งวิเศษมีจักขุวิญญาณเป็นต้น เป็นกองอันหนึ่ง
    ตัตถะ กะตะโม รูปักขันโธ กองแห่งรูปในปัญจขันธ์ทั้งหลายนั้นเป็นอย่างไรบ้าง
    ยังกิญจิ รูปัง รูปอันใดอันหนึ่ง
    อะตีตานาคะตะปัจจุปันนัง รูปที่เป็นอดีตอันก้าวล่วงไปแล้ว และรูปที่เป็นอนาคตอันยังมาไม่ถึง และรูปที่เป็นปัจจุบันอยู่
    อัชณัตตัง วา เป็นรูปภายในหรือ
    พะหิทธา วา หรือว่าเป็นรูปภายนอก
    โอฬาริกัง วา เป็นรูปอันหยาบหรือ
    สุขุมัง วา หรือว่าเป็นรูปอันละเอียดสุขุม
    หีนัง วา เป็นรูปอันเลวทรามหรือ
    ปะณีตัง วา หรือว่าเป็นรูปอันประณีตบรรจง
    ยัง ทูเร วา เป็นรูปในที่ไกลหรือ
    สันติเก วา หรือว่าเป็นรูปในที่ใกล้
    ตะเทกัชฌัง อะภิวัญญูหิตวา พระผู้มีพระภาคทรงประมวลเข้ายิ่งแล้วซึ่งรูปนั้นเป็นหมวดเดียวกัน
    อะภิสังขิปิตวา พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่นย่อเข้ายิ่งแล้ว
    อะยัง วุจจะติ รูปักขันโธ กองแห่งรูปธรรมอันนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสว่าเป็นรูปขันธ์แล ฯ



    ๓.พระธาตุกถา
    สังคะโห พระพุทธองค์สงเคราะห์ซึ่งเจตสิกรูปเข้าในขันธ์เป็นหมวด ๑
    อะสังคะโห พระพุทธองค์ไม่สงเคราะห์ซึ่งรูปธรรมทั้งหลายเข้าในขันธ์เป็นหมวด ๑
    สังคะหิเตนะ อะสังคะหิตัง พระพุทธองค์ไม่สงเคราะห์ซึ่งเจตสิกรูป ด้วยธรรมอันสงเคราะห์แล้ว
    อะสังคะหิเตนะ สังคะหิตัง พระพุทธองค์สงเคราะห์ซึ่งเจตสิกรูป ด้วยธรรมอันมิได้สงเคราะห์
    สังคะหิเตนะ สังคะหิตัง พระพุทธองค์สงเคราะห์ซึ่งเจตสิกรูป ด้วยธรรมอันสงเคราะห์แล้ว
    อะสังคะหิเตนะ อะสังคะหิตัง พระพุทธองค์ไม่สงเคราะห์ซึ่งเจตสิกรูป ด้วยธรรมอันมิได้สงเคราะห์
    สัมปะโยโค เจตสิกธรรมทั้งหลายอันประกอบพร้อมกับจิต ๕๕
    วิปปะโยโค เจตสิกธรรมทั้งหลายอันประกอบแตกต่างกันกับจิต
    สัมปะยุตเตนะ วิปปะยุตตัง ประกอบเจตสิกอันต่างกัน ด้วยเจตสิกอันประกอบพร้อมกันเป็นหมวดเดียว
    วิปปะยุตเตนะ สัมปะยุตตัง ประกอบเจตสิกอันบังเกิดพร้อมกัน ด้วยเจตสิกอันต่างกัน เป็นหมวดเดียว
    อะสังคะหิตัง พระพุทธองค์ ไม่สงเคราะห์ซึ่งธรรมอันไม่สมควรสงเคราะห์ให้ระคนกัน ฯ
    </TD></TR><TR><TD class=smalltext vAlign=bottom><TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=smalltext align=left colSpan=2>
    ๔.พระปุคคละปัญญัติ
    ฉะ ปัญญัตติโย ธรรมชาติทั้งหลาย ๖ อันบัณฑิตพึงแต่งตั้งบัญญัติไว้
    ขันธะปัญญัตติ กองแห่งรูปและนามเป็นธรรมชาติ อันบัณฑิตพึงแต่งตั้งบัญญัติไว้
    อายะตะนะปัญญัติ บ่อเกิดแห่งตัณหา คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันบัณฑิตพึงแต่งตั้งบัญญัติไว้
    ธาตุปัญญัตติ ธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นธรรมชาติ อันบัณฑิตพึงแต่งตั้งบัญญัติไว้
    สัจจะปัญญัตติ ของจริงอย่างประเสริฐ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เป็นธรรมชาติอันบัณฑิตพึงแต่งตั้งบัญญัติไว้
    อินทริยะปัญญัตติ อินทรีย์ ๒๒ เป็นธรรมชาติอันบัณฑิตพึงแต่งตั้งบัญญัติไว้
    ปุคคะละปัญญัติ บุคคลที่เป็นธรรมชาติอันบัณฑิตพึงแต่งตั้งบัญญัติไว้
    กิตตาวะตา ปุคคะลานัง แห่งบุคคลทั้งหลายนี่มีกี่จำพวกเชียวหนอ
    ปุคคะละปัญญัตติ บุคคลที่เป็นธรรมชาติอันพึงแต่งตั้งบัญญัติไว้
    สะมะยะวิมุตโต พระอริยบุคคลผู้มีจิตพ้นวิเศษเป็นสมัยอยู่ มีพระโสดาบันเป็นต้น
    อะสะมะยะวิมุตโต พระอริยบุคคลผู้มีจิตพ้นวิเศษไม่มีสมัย มีพระอรหันต์เป็นต้น
    กุปปะธัมโม ฌานที่เป็นเครื่องฆ่ากิเลส อันบุคคลได้แล้ว ย่อมกำเริบสูงไป
    อะกุปปะธัมโม ฌานที่เป็นเครื่องเผากิเลส อันบุคคลได้แล้ว ย่อมไม่กำเริบ
    ปะริหานะธัมโม ฌานที่เป็นเครื่องฆ่ากิเลส อันบุคคลได้สูงขึ้นไปแล้ว ย่อมเสื่อมถอยลง
    อะปะริหานะธัมโม ฌานที่เป็นเครื่องฆ่ากิเลส อันบุคคลได้สูงขึ้นไปแล้ว ย่อมไม่เสื่อมถอย
    เจตะนาภัพโพ ฌานที่เป็นเครื่องฆ่ากิเลส อันบุคคลได้แล้ว ไม่สามารถที่จะรักษาไว้ในสันดาน
    อะนุรักขะนาภัพโพ ฌานที่เป็นเครื่องฆ่ากิเลส อันบุคคลได้แล้ว ก็ตามรักษาไว้ในสันดาน
    ปุถุชชะโน บุคคลที่มีอาสะวะเครื่องย้อมใจ อันหนาแน่นในสันดาน
    โคตระภู บุคคลที่เจริญในพระกรรมฐานตลอดขึ้นไปถึงโคตรภู
    ภะยูปะระโต บุคคลที่เป็นปุถุชน ย่อมมีความกลัวเป็นเบื้องหน้า
    อะภะยูปะระโต พระขีณาสะวะ บุคคลผู้มีความกลัวอันสิ้นแล้ว
    ภัพพาคะมะโน บุคคลผู้มีวาสนาอันแรงกล้า สามารถจะได้มรรคและผลในชาตินั้น
    อะภัพพาคะมะโน บุคคลผู้มีวาสนาอันน้อย ไม่สามารถจะได้รับมรรคผลในชาตินั้น
    นิยะโต บุคคลผู้กระทำซึ่งปัญจอนันตริกรรม มีปิตุฆาตเป็นต้น
    อะนิตะโย บุคคลผู้มีคติปฏิสนธิไม่เที่ยง ย่อมเป็นไปตามยถากรรม
    ปะฏิปันนะโก บุคคลผู้ปฏิบัติมั่นเหมาะในพระกรรมฐาน เพื่อจะได้พระอริยมรรค
    ผะเลฏฐิโต บุคคลผู้ตั้งอยู่ในพระอริยผล มีพระโสดาบันปัตติผลเป็นต้นตามลำดับ
    อะระหา บุคคลผู้ตั้งอยู่ในพระอรหัตตผล เป็นผู้ควรแล้ว เป็นผู้ไกลแล้วจากกิเลส
    อะระหัตตายะ ปะฏิปันโน บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อจะให้ถึงพระอรหัตตผล เป็นผู้ควรแล้วเป็นผู้ไกลแล้วจากกิเลส ฯ



    ๕.พระกถาวัตถุ
    ปุคคะโล มีคำถามว่าสัตว์ว่าบุคคลว่าหญิงว่าชาย
    อุปะลัพภะติ อันท่านควรรู้ด้วยปัญญา อันบังเกิดในสันดานของท่านเถิด
    สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ โดยปรมัตถ์คืออรรถอันอุดม เป็นอรรถอันจริงแท้มิได้แปรผันดังนี้มีอยู่หรือ
    อามันตา มีคำแก้ตอบว่าจริง สัตว์บุคคลหญิงชายมีอยู่ ฯ
    โย มีคำถามว่า ปรมัตถธรรมมีประการ ๕๗ มีขันธ์ ๕ เป็นต้นทั้งหลายเหล่าใด
    สัจฉิกัตโถ ปะระมัตโถ เป็นปรมัตถ์คืออรรถอันอุดม เป็นอรรถอันจริงแท้มิได้แปรผัน
    ตะโต โส โดยปรมัตถธรรมมีประการ ๕๗ มีขันธ์ ๕ เหล่านั้น
    ปุคคะโล ว่าเป็นสัตว์บุคคลเป็นหญิงเป็นชาย
    อุปะลัพภะติ อันท่านควรรู้ด้วยปัญญา อันบังเกิดในสันดานของท่าน
    สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ โดยปรมัตถ์คืออรรถอันอุดม เป็นอรรถอันจริงแท้มิได้แปรผันดังนี้มีอยู่หรือฯ
    นะ เหวัง วัตตัพเพ มีคำแก้ตอบว่า ประเภทของปรมัตถ์มีขันธ์ ๕ เป็นต้น เราไม่มีพึงกล่าวเชียวหนอฯ
    อาชานาหิ นิคคะหัง ผู้ถามกล่าวตอบว่า ท่านจงรับเสียเถิด ซึ่งถ้อยคำอันท่านกล่าวแล้วผิด
    หัญจิ ปุคคะโล ผิแลว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลเป็นหญิงเป็นชาย
    อุปะลัพภะติ อันท่านควรรู้ด้วยปัญญา อันบังเกิดในสันดานของท่าน
    สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนะ โดยปรมัตถ์คืออรรถอันอุดม เป็นอรรถอันจริงแท้มิได้แปรผัน
    เตนะ โดยประการอันเรากล่าวแล้วนั้น
    วะตะ เร ดังเรากำหนด ดูก่อนท่านผู้มีหน้าที่อันเจริญ
    วัตตัพเพ โย ปรมัตธรรมมีประการ ๕๗ มีขันธ์ ๕ เป็นต้น อันเราพึงกล่าว

    สัจฉิกัตโถ ปะระมัตโถ เป็นอรรถอันกระทำให้สว่างแจ้งชัด เป็นอรรถอันอุดม
    ตะโต โส โดยปรมัตถธรรมมีประการ ๕๗ มีขันธ์ ๕ เป็นต้นเหล่านั้น
    ปุคคะโล ว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลเป็นหญิงเป็นชาย
    อุปะลัพภะติ อันท่านควรรู้ด้วยปัญญา อันบังเกิดในสันดานของท่าน
    สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ โดยปรมัตถ์คืออรรถอันอุดม เป็นอรรถจริงแท้มิได้แปรผันดังนี้
    มิจฉา ท่านกล่าวในปัญหาเบื้องต้นกับปัญหาเบื้องปลาย ผิดกันไม่ตรงกัน ฯ



    ๖.พระยะมะกะ
    เย เกจิ จิตและเจตสิกบางพวกทั้งหลายเหล่าใด
    กุสะลา ธัมมา ธรรมที่เป็นกุศลให้ผลเป็นสุข อันบัณฑิตควรสะสมไว้
    สัพเพ เต จิตและเจตสิกทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น
    กุสะลามูลา เป็นมูลเป็นที่ตั้งของรากเหง้าแห่งกุศล ให้ผลเป็นสุข อันบัณฑิตควรสะสมฯ
    เย วา ปะนะ อีกอย่างหนึ่ง จิตและเจตสิกทั้งหลายเหล่านั้น
    กุสะลามูลา เป็นมูลเป็นที่ตั้งของรากเหง้าแห่งกุศล ให้ผลเป็นสุข อันบัณฑิตควรสะสมไว้
    สัพเพ เต ธัมมา ธรรมคือจิตและเจตสิกทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น
    กุสะลา ชื่อว่าเป็นกุศลให้ผลเป็นสุข อันบัณฑิตควรสะสมไว้ ฯ
    เย เกจิ จิตและเจตสิกบางพวกทั้งหลายเหล่าใด
    กุสะลา ธัมมา ธรรมที่เป็นกุศลให้ผลเป็นสุข อันบัณฑิตควรสะสมไว้
    สัพเพ เต จิตและเจตสิกทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น
    กุสะละมูเลนะ เอกะมูลา เป็นมูลอันหนึ่งด้วยเป็นมูลเป็นที่ตั้งแห่งกุศลให้ผลเป็นสุขอันบัณฑิตสะสมไว้แล้ว
    เย วา ปะนะ อีกอย่างหนึ่ง จิตและเจตสิกทั้งหลายเหล่านั้น
    กุสะละมูเลนะ เอกะมูลา เป็นมูลอันหนึ่งด้วยเป็นมูลเป็นที่ตั้งแห่งกุศลให้ผลเป็นสุขอันบัณฑิตสะสมไว้
    สัพเพ เต ธัมมา ธรรมคือจิตและเจตสิกทั้งหลายทั้งปวง
    กุสะลา ชื่อว่าเป็นกุศลให้ผลเป็นสุข อันบัณฑิตควรสะสมไว้ ฯ



    ๗.พระมหาปัฏฐาน
    เหตุปัจจะโย ความไม่โลภไม่โกรธไม่หลงเป็นต้น เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้เกิดในที่สุข
    อารัมมะณะปัจจะโย อารมณ์ความยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    อะธิปะติปัจจะโย ธรรมที่ชื่อว่าอธิบดี ๔ ประการ คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    อะนันตะระปัจจะโย จิตอันกำหนดในวัตถุและรู้แจ้งวิเศษในทวารทั้ง ๖ เนื่องกันไม่มีระหว่าง เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    สะมะนันตะระปัจจะโย จิตอันกำหนดในวัตถุและรู้วิเศษในทวารทั้ง ๖ พร้อมกันไม่มีระหว่าง เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    สะหะชาตะปัจจะโย จิตและเจตสิกอันบังเกิดกับดับพร้อม เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    อัญญะมัญญะปัจจะโย จิตและเจตสิกค้ำชูซึ่งกันและกัน เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    นิสสะยะปัจจะโย จิตและเจตสิกอาศัยซึ่งกันและกัน เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    อุปะนิสสะยะปัจจะโย จิตเจตสิกอันเข้าไปใกล้อาศัยซึ่งกันและกัน เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    ปุเรชาตะปัจจะโย อารมณ์ ๕ มีรูปเป็นต้นมากระทบซึ่งจักษุ เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    ปัจฉาชาตะปัจจะโย จิตและเจตสิกที่บังเกิดภายหลังรูป เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    อาเสวนะปัจจะโย ชะวะนะจิตที่แล่นไปส้องเสพซึ่งอารมณ์ต่อกัน เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    กัมมะปัจจะโย บุญบาปอันบุคคลกระทำแล้ว เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิดในที่ดีที่ชั่ว
    วิปากะปัจจะโย และวิเศษแห่งกรรมอันบุคคลกระทำแล้ว เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิดในที่ดีที่ชั่ว
    อาหาระปัจจะโย อาหาร ๔ มีผัสสาหารเป็นต้น เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    อินทริยะปัจจะโย ธรรมชาติที่เป็นใหญ่ ในตา หู จมูก ลิ้น กายใจ เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    ฌานะปัจจะโย ธรรมชาติเครื่องฆ่ากิเลส เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิดในรูปพรหม
    มัคคะปัจจะโย อัฎฐังคิกะมรรคทั้ง ๘ มีสัมมาทิฎฐิเป็นต้น เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิดในโลกอุดร
    สัมปะยุตตะปัจจะโย จิตและเจตสิกอันบังเกิดสัมปยุตพร้อมในอารมณ์เดียวกันเป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    วิปปะยุตตะปัจจะโย รูปธรรมนามธรรมที่แยกต่างกัน มิได้ระคนกัน เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    อัตถิปัจจะโย รูปธรรมนามธรรมที่ยังไม่ดับ เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    นัตถิปัจจะโย เจตสิกที่ดับแล้ว เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิดจิตและเจตสิกในปัจจุบัน
    วิคะตะปัจจะโย จิตและเจตสิกที่แยกต่างกัน เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิดจิตและเจตสิกในปัจจุบัน
    อะวิคะตะปัจจะโย จิตและเจตสิกที่ดับและมิได้ต่างกัน เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิดจิตและเจตสิกในปัจจุบัน ฯ



    </TD></TR><TR><TD class=smalltext id=modified_4729 vAlign=bottom align=left></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. ฐานิดา

    ฐานิดา สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +6
    สวดมนต์ บทไหนแล้วหายป่วยมั้ง

    อยากรู้ว่าสวดมนต์ บทใดแล้วทำให้หายป่วยมั้งค่ะ ช่วยบอกหน่อยสิ เบื่อกับอาการป่วยของตัวเองมาก
     
  7. ฟลัฟฟี้

    ฟลัฟฟี้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2009
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +132
    กราบอนุโมทนาค่ะ พระคุณเจ้า และขอกราบขอบพระคุณเจ้าค่ะ แต่อยากได้คำแปลจังเลย เพราะพยายามสวดมนต์ที่มีคำแปล แม้บางครั้งจะไม่ได้สวดคำแปลแต่จะมีคำแปลของพระคาถานั้นกำกับไว้ข้างบทสวดเสมอ (ถ้าหาได้) เพื่อความเข้าใจความหมายที่แท้จริงค่ะ ท่านว่าสวดมนต์ด้วยความเข้าความหมายช่วยให้มีศรัทธา และสมาธิสูงขึ้น ทั้งบุญด้วย ว่าตามท่านอื่นหรอกนะคะ ตัวเองความรู้หางอึ้งหรือกบในกะลาครอบพันนั้นแหละค่ะ
     
  8. ฟลัฟฟี้

    ฟลัฟฟี้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2009
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +132
    แหม พอโพสท์ปุ๊ปก็ได้คแปลจากคุณ Vanco ทันที เหมือนรู้ใจ ขอบคุณมาก ๆๆๆค่ะ และขออนุโมทนา สาธุ
     
  9. chanaboon

    chanaboon สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    47
    ค่าพลัง:
    +24
    เวลาสวดนี่เราสวดตอนไหนครับ
     
  10. ธัมมนัตา

    ธัมมนัตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,515
    ค่าพลัง:
    +9,766
    แม้มีคำแปล ก็ยากที่จะเข้าใจ นอกจากได้ศึกษาฉบับเต็มมาแล้ว เท่านั้น
    เพราะพระอภิธรรม 7 คำภีร์นี้ เป็นบทย่อแบบดึงหัวใจของแต่ละหมวดออกมาจากหมวดพระอภิธรรม 42000 พระธรรมขันธ์ คือครึ่งหนึ่งของพระไตรปิฏก

    เปรียบง่าย ๆ บทสวดมนต์บทนี้การสวดก็คือการท่องทวนสารบัญหนังสือนั่นเอง

    แม้ผู้รู้ท่านได้แปลประโยคต่อประโยคแล้วก็ตาม แต่เนื่องจากเป็นปรมัตธรรมที่เป็นข้อธรรมล้วน ๆ ไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับตัวอย่างหรือปุคลาทิศฐาน

    จากการที่เคยติดตามบทสวดมนต์นี้มาก่อน
    ขอยืนยันว่าต้องศึกษาอ่านเพิ่มเติมอีกจึงจะเข้าใจเพิ่มขึ้น
    รายละเอียด จะมีอธิบาย สภาวะธรรมต่างๆ ได้แก่ จิต เจตสิก รูป นิพพาน รวมถึงวิธีจิต ระบบกรรมทั้งหลาย โดยเฉพาะคัมภีร์มหาปัฏฐานซึ่งเป็นบทที่เชื่อมโยงทุกหมวดขมวดปมเข้ามาทำให้เข้าใจสภาวะต่างๆ ว่าทุกสิ่งมีอะไรเป็นปัจจัย ลองอ่านคำแปลก็จะทราบบ้าง แต่หากไม่เข้าใจรายละเอียดปลีกย่อยก่อน ก็ยากที่จะเข้าใจภาพรวม

    มีหลักสูตรเรียนพระอภิธรรมฟรีที่วัดมหาธาตุ เสาร์อาทิตย์ก็มีสอนอาคารเรียนอยู่ ฝั่งด้านถนนท่าพระจันทร์ แม้ซื้อตำรามาอ่านเองก็จะไม่เข้าใจ ควรไปนั่งเรียน

    มีเรียนทางไปรษณีย์ด้วยเหมือนกันลองดูนะครับ

    http://palungjit.org/showthread.php?t=180286
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มีนาคม 2009
  11. chanin

    chanin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 เมษายน 2005
    โพสต์:
    675
    ค่าพลัง:
    +1,331

    ลองสวดบทโพชฌังคปริตร ดูนะ จะหายป่วย แม้แต่พระพุทธเจ้าก็ให้สาวกสวด
    ไม่เคยสวด ฟังเสียงได้ที่

    http://www.oknation.net/blog/buddhamantra/video/14381
     

แชร์หน้านี้

Loading...