อรหันต์แล้ว ไม่สนใจศีล จิตไหลออกจากสาวกภูมิ เข้าพุทธภูมิ สุดท้ายไม่นิพพาน ได้อรหันตโพธิสัตว์

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย ชาไม่รู้, 9 มีนาคม 2009.

  1. ชาไม่รู้

    ชาไม่รู้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    485
    ค่าพลัง:
    +878
    อรหันต์แล้ว ไม่สนใจศีล จิตไหลออกจากสาวกภูมิ เข้าพุทธภูมิ สุดท้ายไม่นิพพาน ได้อรหันตโพธ

    http://www.oknation.net/blog/arayamitr/2009/03/09/entry-1

    [music]http://palungjit.org/attachments/a.6051/[/music]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มีนาคม 2009
  2. ชาไม่รู้

    ชาไม่รู้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    485
    ค่าพลัง:
    +878
    ศาสนธรรม “เหตุปัจจัยก่อชาติภพ”




    พระพุทธเจ้าทรงให้ศีลแก่ภิกษุไว้ถึง ๒๒๗ ข้อ ท่านมิใช่เผด็จการ ท่านละทิ้งแล้วซึ่งความเป็นเจ้านายมหากษัตริย์ พระเจ้าพิมพิสารมอบพระราชวังและสมบัติให้ท่านกึ่งหนึ่งท่านก็ไม่รับ พระราชบิดามอบบัลลังก์ให้ท่านก็ไม่รับ นี่แสดงอย่างชัดเจนว่าท่านไม่ใช่ผู้อยากบังคับหรือสั่งใครเลย ท่านปล่อยว่างทุกอย่างทุกคนไปตามธรรมชาติแล้ว แม้ศีลที่ท่านตราขึ้นนั้น ก็มิได้ตราขึ้นตั้งแต่ทีแรก ท่านรอให้มีภิกษุจำนวนมากก่อน เมื่อภิกษุทำผิดพลาดแล้ว ท่านจึงได้พิจารณาแล้วตราไว้เป็นศีลเพื่อเตือนใจให้ระลึก ให้ระวัง และละเว้นละวาง ศีลที่ให้เป็นเครื่องละนี้ เพื่อปกป้องภิกษุจากกรรมต่างๆ ที่ภิกษุคาดคิดไม่ถึง เช่น การพรากภูตคาม เช่น ตัดต้นไม้ เป็นต้น บางครั้งภิกษุไม่ทราบ ไม่มีทิพยจักษุ ก็ไม่รู้ว่าต้นไม้นั้นมีรุกขเทวดาอยู่หรือไม่ ตาเนื้อมองไม่เห็นก็คิดว่าต้นไม้ไม่มีจิต คงไม่มีกรรม ก็ตัดต้นไม้ ทำให้รุกขเทวดาไม่ได้ตาย แต่ไม่มีที่อยู่อาศัย เป็นกรรมที่ต้องชดใช้ต่อรุกขเทวดานั้นๆ อีก นี่ท่านไม่ได้อธิบายมากเพราะเรื่องของกรรมนั้น เป็นอจิณไตย ยากที่ภิกษุจะเข้าใจได้หมด ไม่อาจทำนายได้หมด และเป็นไปได้หมดไม่อาจคาดเดา ท่านจึงตราศีลไว้ให้ปกป้องภิกษุนั่นเอง อีกประการ พระพุทธองค์มี “วาจาสิทธิ์” หากท่านตรัสก่อนว่าก่อกรรมอย่างนี้ แล้วจะทำให้เกิดอย่างนี้ เช่น ตัดต้นไม้แล้วรุกขเทวดาจะเอาเรื่อง ก็จะส่งผลให้รุกขเทวดาทำตามพุทธวัจนะ ทันที เพราะรุกขเทวดานับถือพระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธองค์ตรัส ก็เท่ากับอนุญาตให้ทำได้นั่นเอง อย่างนี้ ท่านจึงตรัสก่อนไม่ได้ แต่ใช้วิธีตราศีลไว้ให้แทน ศีล จึงมีความสำคัญมาก ด้วยเหตุเพราะกรรมเป็นอจิณไตย




    อนึ่ง การบรรลุธรรมของพระอรหันตสาวก แตกต่างจากพระพุทธเจ้า เพราะพระพุทธเจ้าบรรลุสัพพัญญูญาณ รู้หมดทุกสิ่งไม่มีขีดกั้น เรื่องกรรมที่เป็นอจิณไตย ท่านก็ทราบ ท่านจึงรู้ว่าสิ่งใดควรทำ สิ่งใดควรระวัง และละวาง แต่อรหันตสาวกนั้น ไม่ทราบถึงกรรมอันเป็นอจิณไตยนี้ สามารถก่อกรรมแล้วสร้างชาติสืบภพใหม่ได้มากมายจึงจำเป็นต้องอาศัย “ศีล” เป็นเครื่องปกป้องตนเองจากกรรมทั้งมวลที่อาจสืบชาติต่อภพได้ จริงอยู่ผู้บรรลุธรรมแล้ว จิตไม่ยึดมั่นไม่ติดกรรมจริง จิตไม่ยึดไม่ติดกรรม แต่กรรมก็เกิดได้ และเจ้ากรรมนายเวรก็ลากเราไปด้วยได้ ยังผลให้อรหันต์แล้วไม่ได้นิพพานได้เช่นกัน ดังนี้ พระพุทธเจ้าจึงไม่เคยตรัสเลยว่า “พระอรหันต์จิตหลุดพ้นแล้วทำอะไรก็ได้ ไม่ต้องรับกรรม จิตไม่ยึดติดกรรมแล้ว ไม่มีกรรมให้รับ” ก็หาไม่ ดูอย่างพระโมคคัลลานะ ท่านสำเร็จอรหันต์แล้วยังถูกทุบตายจนกระดูกแตกละเอียด เพราะเหตุว่า “กรรม” นั่นเอง




    ในศาสนธรรม พยายามเตือนให้ภิกษุผู้มีปัญญาแจ้ง บรรลุธรรมว่า “โปรดยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม” เพราะแม้แต่ “จิตที่บรรลุธรรม” ก็ไม่เที่ยง, ถูกกระทบกระทั่งด้วยสิ่งยั่วยุทั้งบวกและลบได้, และไม่อาจยึดมั่นถือมั่นได้ว่าจิตที่บริสุทธิ์นั้น เป็นตัวกูของกู เคยมีเหตุเกิดอย่างนี้ พระอรหันต์ชินปัญจระ บรรลุธรรมตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ แต่เมื่อมีกรรมมาถึง ท่านถูกหญิงสาวที่หลงรักท่านสวมกอดทางด้านหลัง ทำให้จิตของท่านละสังขารลง จิตดวงหนึ่งหลุดออกไปแล้วระลึกได้ จึงแบ่งภาคดวงจิตออกมา ดวงหนึ่งกลับคืนสู่ร่างเดิมรักษาร่างกายไว้ ทำให้ไม่สิ้นชีวิต อีกดวงจิตหนึ่ง จุติไปยังพรหมโลก แล้วเกิดเป็น “ท่านท้าวมหาพรหมชินปัญจระ” ด้วยเหตุนี้ ท่านท้าวมหาพรหมชินปัญจระ จึงไม่นิพพาน ยังคงอยู่เป็นท้าวมหาพรหมปกครองพรหมโลกชั้นรูปพรหมทั้งสิ้น ๑๖ ชั้น ศาสนธรรม กำลังจะเตือนท่านทั้งหลายว่า “โปรดยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม” และ “ไม่มีอะไรที่ยึดมั่นถือมั่นได้ ไม่มีอะไรเที่ยงแท้ ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเราของเรา” แม้ว่าจะบรรลุธรรมเป็นอรหันต์ มีจิตที่บริสุทธิ์แล้ว แต่จิตที่บริสุทธิ์หากประมาท พลั้งเผลอให้สิ่งต่างๆ รอบตัวพัดพาไป ก็อาจก่อกรรมจนเกิดชาติภพขึ้นได้อย่างไม่รู้ตัว ยกตัวอย่างเช่น การสวดมนต์กับท่านที่ไม่บรรลุธรรม บุญกุศลที่ได้จากการสวดมนต์นั้นมากมายนัก เพียงพอที่จะทำให้เกิด “บุญเป็นชาติ ๑ ได้” นั่นหมายความว่า แม้อรหันต์แล้วไปสวดมนต์กับท่านที่ไม่อรหันต์ได้ในชาตินั้นๆ ก็สามารถทำให้ต้องไปเกิดร่วมชาติกับท่านนั้นๆ อีกชาติได้ บทความนี้ขอเสนอ “เหตุปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้พระอรหันต์เกิดได้อีก” ดังต่อไปนี้




    ประเภทของผู้บรรลุธรรมแล้วยังเกิดใหม่อีก

    ๑) พระอรหันต์รูปนั้นยังไม่ถึงวาระนิพพาน แต่มาเกิดก่อนพร้อมบุญบารมีที่ถึงขั้นบรรลุธรรมอรหันต์ได้ เช่น ดวงจิตของพระโพธิสัตว์ต่างๆ ทั้งหลาย ที่ได้สะสมบุญบารมีไว้เป็นจำนวนมาก แต่ปรารถนาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ต่อๆ ไป ดังนี้ เมื่อมาเกิดในพุทธศาสนาก็สามารถบรรลุอรหันต์ได้ไม่ยากเลย แต่กรรมยังชำระกับเจ้ากรรมนายเวรยังไม่หมด ดังนั้น จะปัดความรับผิดชอบไปไม่ได้ ต้องเวียนว่ายตายเกิดใหม่ต่อไป เพื่อชำระกรรมให้หมดพอที่จะนิพพานได้ในชาติสุดท้าย

    ๒) พระอรหันต์รูปนั้น รู้ดีว่า การก่อกรรม ไม่ว่าจะเป็นกรรมดีหรือชั่ว ล้วนสามารถสร้างชาติต่อภพได้อีก แล้วผ่อนศีลลงเพื่อให้เกิดกรรม เพราะมีความปรารถนา “พุทธภูมิ” หรือ ปรารถนาฉุดช่วยเวไนยสัตว์ก่อน ตนเองขอนิพพานในภายหลัง จึงสร้างกรรมต่อ ก่อบุญบารมีสืบภพสืบชาติต่อไป ที่เรียกว่า “อรหันตโพธิสัตว์”

    ๓) พระอรหันตสาวก รู้วิธีนิพพาน คือ รู้ใบไม้ในกำมือเท่านั้น แต่ไม่ทราบเรื่องกรรมที่ก่อให้เกิดชาติภพใหม่ ซึ่งเป็นอจิณไตย แล้วมีความประมาท ด้วยเหตุกรรม คือ เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายพาให้หลงเพลินจนลืมตระหนักถึง “กรรมก่อชาติสืบภพ” เจ้ากรรมนายเวรทำให้หลงคิดว่าปัญญาแจ้ง อรหันต์แล้ว จะต้อง “นิพพานเที่ยงแท้แน่นอน” อันที่จริงไม่มีอะไรเที่ยงแม้แต่นิพพาน จึงเผลอก่อกรรมใหม่ๆ จนสืบชาติก่อภพต่อไป สุดท้าย เมื่อละสังขารกลับต้องเกิดใหม่อีกครั้งหนึ่ง

    ๔) กรรมใหม่ปรุงแต่งให้เกิดชาติภพ ทั้งๆ ที่ถึงวาระที่จะนิพพานได้ในชาตินั้นๆ แล้ว กรณีนี้ นับว่าเป็นความประมาทโดยแท้ คือ คิดว่าอรหันต์แล้วนิพพานเป็นของเที่ยงแท้แล้วแน่นอน จึงประมาทพลั้งเผลอ ก่อกรรมใหญ่ไป เช่น สร้างวิหารกลางน้ำ เป็นเหตุให้คนจำนวนมากนับถือทำบุญร่วมสร้าง ผูกเวรผูกกรรมกับคนที่ทำบุญเหล่านั้น จนต้องไปเกิดชดใช้ชำระกรรมกับเหล่าเจ้าหนี้กรรมเหล่านี้อีก

    ๕) ขณะดับขันธปรินิพพาน ไม่ได้ตั้งจิตนิพพาน ทำให้เกิดใหม่โดยไม่ตั้งใจ คือ คิดเอาว่าตนบรรลุอรหันต์แล้ว ตายแล้วต้องได้นิพพานแน่นอน ซึ่งนิพพานที่ตนได้ขณะยังมีชีวิตอยู่นั้นเรียกว่า “นิพพานดิบ” ไม่ใช่ “นิพพานสุก” ยังไม่ใช่นิพพานเที่ยงแท้ ตราบเท่าที่ยังมีขันธ์ห้าครองอยู่ ความไม่เที่ยงย่อมมีอยู่ตราบนั้น อุปมาอย่างนี้ น้ำที่บริสุทธิ์ อยู่ในภาชนะที่ไม่มิดชิด จะสามารถรับประกันได้หรือไม่ว่าน้ำจะคงความบริสุทธิ์ได้เที่ยงแท้แน่นอน ย่อมไม่สามารถรับประกันได้ ขึ้นอยู่กับว่าผู้ดูแลน้ำนั้น “ยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมตลอดเวลา ก็จักสามารถรักษาน้ำบริสุทธิ์ไว้ได้ แต่หากประมาทเมื่อใด น้ำก็อาจปนเปื้อนได้ใหม่เมื่อนั้น”




    โปรดสังเกตว่าผู้บรรลุธรรม, บรรลุอรหันต์แล้ว ยังสามารถเกิดใหม่ได้อีก ถึง ๕ ประเภท ๕ รูปแบบด้วยกัน ในส่วนต่อไปจะกล่าวถึง “เหตุปัจจัย” ที่ก่อชาติภพใหม่ ดังนี้




    เหตุปัจจัยที่ก่อชาติใหม่แก่ท่านที่มีจิตบริสุทธิ์แล้ว

    ท่านที่ได้บรรลุธรรม อรหันต์แล้ว อย่าได้ประมาทหยิ่งผยองคะนองใจ เพราะเผลอไผลเพียงเล็กน้อยอาจก่อกรรมจนเกิด “ชาติภพ” ใหม่ได้อีก ปกติแล้วพระอรหันต์ในสมัยพุทธกาล จะยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม และระมัดระวังตัวดีมากตลอดเวลา ถือศีลก็คือทำได้จริงๆ อย่างนั้น ท่านจึงมีกรรมก่อชาติก่อภพน้อยมาก แต่หลายท่านที่บรรลุธรรมในปัจจุบันหาเป็นเช่นนั้นไม่ เนื่องจากประมาทไม่ระวังตัว ปล่อยเนื้อปล่อยตัวให้ฆราวาสชักชวนไปก่อร่างสร้างทำกรรมมากมาย จนเกิดผลเป็น “ชาติภพ” ขึ้นมาในที่สุด ทุกสิ่งไม่เที่ยงขอให้เชื่อเถิด แม้แต่ความบริสุทธิ์ของจิต ความเป็นอรหันต์ก็เหมือนกัน กรรมที่เราทำ ปรุงแต่งจิตใหม่ให้จิตที่บริสุทธิ์แล้ว ต้องมีชาติภพใหม่ เกิดใหม่ได้อีกเสมอ อุปมา อย่างนี้ ผ้าขาวที่เปรอะเปื้อน ถูกซักจนสะอาดขาวบริสุทธิ์แล้ว ถามว่าผ้าขาวนี้จะบริสุทธิ์เที่ยงแท้แน่นอนตลอดไปหรือไม่ คำตอบคือ “ไม่” ถ้าไม่ระวัง ไม่ดูแล มีความประมาทเป็นนิตย์ พลั้งเผลอไปกับสิ่งยั่วยุอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัว ก็จะเกิดกรรมใหม่ ปรุงชาติปรุงภพใหม่ต่อไปอีก ต่อไปนี้จะขอยกตัวอย่างถึงเหตุปัจจัยที่ทำให้พระอรหันต์เกิดใหม่ ดังนี้




    ๑) การสวดมนต์

    การสวดมนต์มีผลบุญมากไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะมนต์คาถานั้น เป็นธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ อันว่า “ธรรมทาน” มีผลเป็นเลิศกว่าทานทั้งปวง ด้วยเหตุนี้ การสวดมนต์เทวดาได้ยินเข้า ก็เกิดผลบุญมากมหาศาล แต่หากเราเอาบทสวดมนต์ที่ไม่ใช่การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้ามาสวด อันนั้น ก็ได้บุญน้อยอาจไม่ได้ถึงชาติภพ แค่รับผลบุญในชาตินั้นๆ ในรูปเศษกรรมก็หมดไปได้ แต่หากเป็นบทสวดมนต์ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ธรรมมอบไว้ให้แล้ว จะได้บุญมากถึง “ชาติภพ” เลยทีเดียว สมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้ามิได้บัญญัติการ “สวดมนต์” ให้เป็นวัตรปฏิบัติแต่อย่างใด แต่หลังจากพระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว พระธรรมเริ่มเลือนหาย จึงมีผู้คิดปรารถนาดี ให้ศิษย์ท่องจำพระธรรมเพื่อรักษาพระธรรมไว้ จึงก่อเกิดวัตรปฏิบัติการสวดมนต์เช้าและเย็นขึ้น เพื่อจดจำพระธรรมต่อๆ กันมา ที่เรียกกันว่า “เถรวาท ลัทธิลังกาวงศ์” ซึ่งในประเทศไทย ก่อนยุคสุโขทัย มีชาวมอญ, ขอม, มลายู ฯลฯ อาศัยอยู่ อาณาจักรโบราณเหล่านี้ ล้วนรับพุทธศาสนา “มหายาน” เชื่อเรื่องโพธิสัตว์ทั้งสิ้น มาในสมัยสุโขทัย พ่อขุนรามคำแหงฯ คิดให้เมืองเป็นปึกแผ่น แตกต่างแยกแยะออกจากพม่าและเขมรที่นับถือมหายานให้ได้ จึงได้นิมนต์เชิญพระสงฆ์จากลังกามาบวชพระสงฆ์สุโขทัย สุโขทัยจึงรับ “พุทธศาสนา นิกายเถรวาท ลัทธิลังกาวงศ์” มานับแต่นั้นจนถึงปัจจุบัน แต่ความยึดมั่นถือมั่นในตัวเราของเรา ในแนวทางของเรามากเกินไป จึงปิดบังความจริงที่ว่า “ลัทธิลังกาวงศ์ไม่ใช่ทั้งหมดของพุทธศาสนา” เรามักเชื่อนิกายเถรวาท ลัทธิลังกาวงศ์ของเราว่า รู้หมด ใช่หมด แล้วไม่เปิดใจฟังพุทธศาสนิกชนในแผ่นดินอื่นๆ ทำให้ไม่เข้าใจแนวทางปฏิบัติในสมัยพุทธกาลนั้นว่าเขาทำกันอย่างไร ยึดมั่นถือมั่นเอาว่าพระแท้พระดี ต้องสวดมนต์ทุกวัน เป็นต้น ทั้งที่พระพุทธเจ้ามิได้ทรงตราไว้เป็นวัตรปฏิบัติแต่อย่างใดเลย การสวดมนต์นั้นทำได้ ไม่ทำก็ได้ ไม่มีการบังคับตราเป็นวัตรปฏิบัติ แต่หากภิกษุรูปใดจะกระทำก็ควรตรวจตราให้ดี ว่าตนสวดมนต์กับใคร สามารถช่วยพวกเขาเหล่านั้นหลุดพ้นนิพพานได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ ก็สมควรจะละวาง ละเว้นเสีย แต่ถ้าพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วว่าควรสวด ก็สวดไปเถิด




    ๒) การรับอุปัฏฐาก

    ศิษย์ที่ดูแลรับใช้ใกล้ชิด หากไม่ได้นิพพานชาติเดียวกับเรา บุญกรรมที่เขาสร้างไว้ผูกโยงกับเรา เราก็ไม่ได้นิพพานเหมือนกัน ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงมีศิษย์รับใช้ใกล้ชิดหลายท่าน เช่น อรหันต์สาวกซ้ายขวา ซึ่งมีบุญกรรมสืบกันมาก และหมดสิ้นกัน นิพพานไปทั้งคู่ ส่วนพระอานนท์ผู้อุปัฏฐากใกล้ชิด มีจิตบางดวงของท่านที่นิพพานไปเช่นเดียวกับพระพุทธเจ้า และจิตบางดวงที่ยังไม่นิพพาน ยังมีความปรารถนาฉุดช่วยเวไนยสัตว์ต่อไป สามารถมาเกิดได้อีก หากพระอานนท์ไม่มีจิตสักดวงที่สามารถนิพพานได้ พระพุทธเจ้าก็จะไม่เลือกเป็นองค์อุปัฏฐาก เพราะบุญกรรมขององค์อุปัฏฐากนั่นเองจะร้อยรัดให้ผู้รับการอุปัฏฐากไม่ได้นิพพานเฉกเช่นกัน อุปมาง่ายๆ อย่างนี้ พระราชาได้รับขุนนางไว้ในการปกครอง ขุนนางไปทำผิดมากมาย สุดท้าย พระราชาจะปัดความรับผิดชอบนั้นได้ไหม ย่อมไม่ได้เลย พระราชาและขุนนางผู้นั้นสุดท้ายต้องรับผิดชอบร่วมกัน พระอรหันต์ก็เช่นกัน หากไปรับศิษย์มาดูแลตน พัวพันจนมีกรรมร่วมกันเมื่อไร แล้วไม่ดูแลศิษย์ ปล่อยไป ปกครองไม่เป็น ศิษย์ไปทำชั่วช้าเข้า สุดท้าย กรรมนั้นก็จะพัวพันให้พระอรหันต์รูปนั้นต้องรับผิดชอบด้วย จะปัดความรับผิดชอบไปไม่ได้ นั่นคือ กรรมของศิษย์ก็ผูกโยงพ่วงพระอรหันต์รูปนั้นให้ไปเกิดในชาติภพเดียวกัน ศิษย์อาจได้รับกรรมมาก เพราะเป็นผู้กระทำกรรมเอง ส่วนพระอรหันต์ก็รับกรรมแค่ชดใช้ด้วยการฉุดช่วยศิษย์ที่ได้รับกรรมนั้นๆ ในชาตินั้นๆ ให้หลุดพ้นไป ภิกษุปัจจุบัน นิยมรับบริวารสานุศิษย์ให้มากๆ เพื่อประดับบารมี หรือแสดงถึงว่าตนเป็นผู้มีบารมีมาก หรือด้วยเหตุอื่นใดก็ตาม ไม่ว่าจะด้วยจงใจหรือไม่จงใจ แต่สิ่งเหล่านี้ ล้วนนำกรรมมาทั้งสิ้น เป็นสิ่งที่พระอรหันต์สมัยพุทธกาลไม่ทำกัน แต่พระอรหันต์ปัจจุบันไม่ระวัง คิดว่านิพพานแน่ จึงต้องรับกรรมด้วยความประมาทนั้น เกิดชาติภพใหม่อีก ไม่นิพพาน ดังนี้ ภิกษุผู้ปรารถนานิพพาน ไม่ควรรับอุปัฏฐาก ยกเว้นว่าสามารถสอนให้เขาได้นิพพานได้เหมือนตน




    ๓) การสร้างสิ่งก่อสร้าง

    อันนี้เป็นกรรมหนัก คือ แม้ว่าจะเป็นกรรมดี แต่ก็เป็นของหนัก ต้องไปเกิดรับผลบุญที่มากมายจากการก่อสร้างสิ่งเหล่านั้น สิ่งก่อสร้างแต่ละอย่างรับผลบุญไม่เท่ากัน ตัวอย่าง เช่น โบสถ์ รับผลบุญในภพสวรรค์ ได้อยู่วิมาน (แต่ก็ทำให้ไม่ได้นิพพานไนที่สุด) เมื่อมาเกิดเป็นมนุษย์แล้วบุญยังไม่หมด ยังเสวยบุญต่อมาเกิดเป็นมนุษย์ ได้ครองที่อาศัยที่สมบูรณ์อีก (หมายความว่าต้องเกิดอีก และเมื่อเกิด ก็ต้อง แก่, เจ็บ, ป่วย, ทรมาน และตาย ทั้งหลายทั้งปวงนี้ล้วนทุกข์ทั้งสิ้น) อย่างนี้ หลายภพหลายชาตินัก นี่เพียงแค่โบสถ์ ในกรณีที่เป็น “เจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ” ด้วยแล้ว ส่งผลให้ไปเกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิถึงหลายร้อยชาติทีเดียว อนึ่ง หากชาติใดที่โลกเลวร้าย พระมหาจักรพรรดิต้องทำสงคราม หากฆ่าคนมากไปก็ต้องตกนรก จากนรกมาก็ยังต้องมาเวียนตายเวียนเกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ อีกอย่างนี้เป็นร้อยๆ ชาติ จะขอหยุด ขอเลิก ขอไม่เอาแล้วก็ไม่ได้ เพราะคนทั้งหลายที่ศรัทธาเรา เอาเงินมาร่วมสร้างกับเรา เขาเป็นเจ้ากรรมนาย
    เวรเราทั้งสิ้น เขาไม่นิพพาน</PERSONNAME> ยังศรัทธายังผูกพันกับเรา เราก็ไม่อาจนิพพานได้ การก่อสร้างต้องมีกรรมร่วมพ่วงกันคนมากหน้าหลายตา โดยไม่รู้ระดับบุญกรรมของแต่ละบุคคลอีกด้วย ดังนี้ พระพุทธองค์ทรงห้ามก่อสร้างถาวรวัตถุใดๆ ทรงสอนให้ภิกษุอาศัยป่า, ถ้ำ, เรือนร้าง เป็นเสนาสนะ ไม่ให้สร้างกุฏิถาวร ในสมัยพุทธกาล ภิกษุปั้นกุฏิด้วยดิน ท่านก็สั่งให้รื้อทำลายเสียทุกครั้ง เพราะเหตุว่าเป็น “กรรม” ส่งผลให้ไม่ได้นิพพานนั่นเอง ในสมัยปัจจุบันนี้ พระอรหันต์ประมาทเพลิดเพลินสร้างถาวรวัตถุมากมาย เพราะคิดเอาว่าอรหันต์แล้วนิพพานเป็นของเที่ยง เราได้นิพพานแน่ ไม่ต้องกลัวอะไรแล้ว แต่ไม่เข้าใจเรื่องกรรมที่ก่อชาติสืบภพ จึงสร้างกรรมดี ส่งผลให้เกิด “บุญเป็นชาติ” ต้องไปเกิดรับผลบุญอีก ซึ่ง อันที่จริงแล้ว ดวงจิตของพระอรหันต์เหล่านี้ มาจากชั้นดุสิตและสุขาวดีเป็นส่วนใหญ่ หรือก็คือ “โพธิสัตว์” นั่นเอง แต่เมื่อมาเกิดแล้ว ระลึกถึงความปรารถนาพุทธภูมิของตนเองไม่ได้ ยึดมั่นถือมั่นในเถรวาท และคิดว่าตนนิพพานแน่ๆ สุดท้าย เจ้ากรรมนายเวร บริวารเก่าก็ชักชวนไปบำเพ็ญบุญบารมีสร้างถาวรวัตถุ จนไม่นิพพานนั่นเอง




    ๔) การสร้างวัตถุมงคล

    การสร้างวัตถุมงคล หากสร้างให้เฉพาะคนที่คัดเลือกสรรแล้วว่าปลอดภัยควรให้ ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่ปัจจุบัน สร้างจำนวนมากๆ แล้วไม่ได้ใช้ปัญญาคัดกรองผู้รับ ให้เครื่องรางของขลังนั้นกับทุกคนที่ “มีเงินมาให้” นี่เอง ทำให้เกิดกรรมพ่วงกันไป คนบางคนที่มาทำบุญหวังเอาเครื่องรางของขลัง บางทีก็บูชาด้วยเงินด้วยไม่ได้คิดอยากบริจาคมาก่อน เรียกง่ายๆ ว่า “ซื้อ” นั่นเอง บางคนเอาไปทำสิ่งชั่วร้ายก็มี เช่น ขี้ผึ้งสีปากมหาเสน่ห์ เอาไปผิดลูกเมียเขาก็มี ผลจากกรรมนี้ ทำให้ผู้ปลุกเสกเครื่องรางของขลังต้องรับผิดชอบทั้งหมด ก็ถ้าไม่ใช่ผู้นี้รับผิดชอบแล้วใครจะรับผิดชอบ ต้องเป็นทั้งผู้ปลุกเสก, ผู้ร่วมโฆษณาประชาสัมพันธ์, ผู้ร่วมมือทั้งหมด รวมทั้งผู้เอาไปใช้ด้วย รับผิดในกรรมพ่วงเหล่านี้พร้อมกันทั้งหมด แม้กระทั่ง “สังฆทานเวียน” ก็เป็น “กรรมพ่วง” ดีในแง่ได้ต่อโซ่บุญร่วมกัน เมื่อใครสำเร็จมรรคผลได้ฉุดช่วยกันต่อพ่วงกันไป แต่ถ้าไม่ได้สำเร็จมรรคผล แต่หลงทางลงต่ำ ก็ลากกันทั้งพวงพ่วงกันลงไปเหมือนกัน เช่น นาย ก เป็นคนดีมาก แต่ไปทำสังฆทานเวียนที่วัดๆ หนึ่ง ปรารถนาหวังเอาผลบุญนั้น มิได้ละความยึดมั่นถือมั่น ทำให้จิตที่ยึดมั่นนั้นส่งผลให้ไปรับผลบุญร่วมกับคนที่ทำสังฆทานเวียนนั้นตั้งแต่คนแรกจนถึงคนสุดท้าย แม้ไม่ได้พบเจอกัน ก็อาจส่งผลให้เกิดในประเทศเดียวกันได้ และหากคนที่ทำสังฆทานเวียนเหล่านั้นทำกรรมมาก ก็ต้องอยู่ในประเทศที่มีคนมีกรรมมากไปด้วย ประเทศมีกรรมอะไรตนก็ต้องรับผลกระทบไปด้วย แม้ไม่ได้โดนตรงๆ เพราะตนไม่ได้เป็นผู้ก่อก็ตาม นี่คือ ผลของกรรมพ่วง ที่เกิดจากสังฆทานเวียนโดยที่คาดไม่ถึง นี่แค่สังฆทานเวียนยังมีผลที่คาดไม่ถึง เดาไม่ได้ขนาดนี้ หากสร้างวัตถุมงคลจำนวนมากด้วยแล้ว ไม่สามารถทำนายได้เลยว่าคนที่บูชาเอาเครื่องรางของขลังเหล่านั้น ได้ของขลังแล้วเอาไปทำดีหรือเลวอย่างไร ทุกท่านที่เกี่ยวข้องล้วนต้องรับกรรมร่วมกันทั้งสิ้น ผลสุดท้ายคือ แทนที่จะถึงนิพพานแล้ว ก็ไม่ได้นิพพาน ต้องไปเกิดเพื่อชำระกรรมต่อไป




    ๕) การรับเงินทอง

    พระพุทธองค์ทรงสอนฆราวาสได้ถึง “อรหันต์” แล้วจึงบวชให้ภายใน ๗ วัน ในกลุ่มคนที่ได้ต่ำกว่าอรหันต์ เช่น อนาคามี ก็สามารถครองเพศฆราวาสต่อไปได้ไม่มีปัญหาอะไร ดังนั้น ท่านจึงเตรียมผ้าเหลืองไว้สำหรับท่านที่พร้อมจะ “นิพพาน” หรือ “อรหันต์” จริงๆ ดังนี้ ท่านจึงตราศีลสำหรับผ้าเหลืองไว้เริ่มต้นว่า “ไม่รับเงินและทอง” ตั้งแต่บวชเป็นเณร ก็ต้องรับศีลไม่รับเงินและทองแล้ว ในปัจจุบัน วิถีชีวิตภิกษุเปลี่ยนไปมาก ประกอบกับความเร่งรีบ เช่น ฆราวาสไม่มีเวลาหุงข้าวมาตักบาตร มีเงินติดกระเป๋ามาก็ต้องทำบุญด้วยเงิน พระสงฆ์หากไม่รับเสียเลย ฆราวาสที่ทำแต่กรรมไม่มีเวลาทำบุญ ก็จะไม่ได้บุญ ดังนั้น อาศัยเหตุว่า พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้แก่พระอานนท์แล้วว่าให้ผ่อนปรนศีลเสียบ้างก็ได้ แต่การจะผ่อนปรนศีลได้นั้น จำต้องเข้าใจให้ถ่องแท้ถึงความจำเป็นของศีลข้อนั้นๆ ก่อน เช่นว่า ทำไมพระพุทธเจ้าไม่ให้รับเงินและทอง นับเป็นศีลข้อสำคัญของสามเณรทีเดียว ดังนี้ แม้แต่พระเองก็ต้องมีเหมือนกัน (พระสงฆ์จะมีศีลน้อยกว่าสามเณรเป็นไปไม่ได้) ทั้งนี้เพราะเงินทองนั้นเป็นของที่ชวนแก่การสะสมให้เกิดกิเลสง่าย แล้วยังนำภัยมาสู่ตัวภิกษุอีก ดังเช่น คนค้ายาบ้าอาจหวังเงินของภิกษุแล้วชักชวนภิกษุให้เสพยาบ้าและร่วมค้ายาบ้าได้ในที่สุด ดังนี้ ชีวิตของภิกษุก็ไม่สงบ เงินและทองจึงเป็นของร้อนของไม่ดี ของที่แย่กว่าอุจจาระในบางกรณี แต่กรณีที่ภิกษุเข้าใจและไม่ประมาทพลั้งเผลอจนเพลินไปกับลาภสักการะที่เขาจัดให้ เงินทองที่เขาปรนเปรอแล้วละก็ ก็สามารถรับเงินทองได้ตามควร ทั้งนี้ พระอรหันต์ที่แท้จริง แม้รับเงินทองก็จะพิจารณาความจำเป็นอันแท้จริง และจะไม่พกติดตัวไว้มาก และไม่ปากว่าตาขยิบ คือ ตนไม่รับแต่ให้โยมอุปัฏฐากรับแทน หวังผลจากโยมต่ออีกทอดหนึ่งก็หาไม่ เงินทองนั้น มันก็แค่ปัจจัย สร้างมาแทนเครื่องหมายการแลกเปลี่ยน อย่างหนึ่ง ซึ่งในยุคปัจจุบัน หากบุคคลไม่มีจิตเป็นทาน รู้จักแต่การแลกเปลี่ยนแล้ว ภิกษุที่ได้รับเงินจากบางท้องถิ่น ก็อาจใช้เงินนั้นในการดำรงชีพพอควรในอีกท้องถิ่นหนึ่งซึ่งขาดแคลนผู้มีจิตกุศลได้ แต่ไม่ใช่ประมาทเพลิดเพลินไปกับการรับเงินทองนั้นๆ จนหลงลืมตัวไปว่า “กำลังเสพเพลินอยู่” พระอรหันต์หลายท่านหลงเพลิน สุดท้าย เงินเข้ามากๆ เกิดปัญหาว่าจะเอาไปทำอะไรดี ก็ได้คำตอบว่า “ทำสิ่งกุศล” ดังนี้ “บุญบารมี” ก็เกิด เมื่อเกิดแล้ว “ชาติภพ” ก็ตามมา ไม่สิ้นสุด ไม่จบ ไม่นิพพาน นี่ละ ปัญหาสำคัญ สุดท้ายกลายเป็น “อรหันตโพธิสัตว์”นั่นเอง




    ๖) การดูดวงทำนายทายทัก

    อันนี้ก็เป็นเหตุให้ไม่ได้นิพพานอีกเช่นกัน การทำนายทายทัก ไม่สามารถช่วยคนให้หลุดพ้นทุกข์ไปได้อย่างแท้จริง ตรงข้าม คนที่มาให้ดูดวง ยิ่งอ่อนแอ และต้องการยึดมั่นถือมั่นตัวบุคคลผู้ทำนายมากขึ้นไปใหญ่ กรรมของคนเรานั้นไม่มีขบไม่มีสิ้น ปัญหาในชีวิตของปุถุชนนั้นไม่มีจบไม่มีสิ้น ถ้ามัวมานั่งดูดวงหาทางแก้ให้ทีละปัญหาๆ ไป มีหวัง คงต้องนั่งดูกันอย่างนี้ตลอดชีวิต ทั้งชีวิตคงไม่มีเวลาอยู่อย่างวิเวกสงบสุข เป็นแน่แท้ ดังนี้ พระพุทธเจ้าก็ได้ทรงห้ามไว้หนักหนาตั้งนานมาแล้ว ว่าไม่ให้ภิกษุดูดวงทำนายทายทัก แลกเอาลาภสักการะต่างๆ เพราะไม่ใช่ “กิจของสงฆ์” แต่อย่างใด เป็นกิจของพราหมณ์หรือสมณะเหล่าอื่น ที่ไม่ถือเป็นเชื้อสายของพระพุทธเจ้า การดูดวงสร้างศรัทธาทำให้คนมากมายยึดมั่นถือมั่นในตัวเรา และลากเราไปด้วย หากพวกเขาอ่อนแอมากๆ และก่อกรรมมาก ไร้ปัญญามากๆ เราก็ต้องเวียนว่ายตายเกิด เพื่อช่วยพวกเขาไปอีกนานนักหนาเหลือคณานับได้ แต่หากพวกเขาพร้อมใกล้จะนิพพานในอีกไม่กี่ชาติ เราก็จะสบายหน่อย คือ ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดมาก ไม่ต้องทนรับกรรมซ้ำแล้วซ้ำอีกมาก ทั้งนี้ คนส่วนใหญ่ที่มาพึ่งพาหมอดู มักเป็นคนอ่อนแอ มีกรรมมาก และปัญญาน้อย ดังนั้น จึงมักพาลงต่ำ ไปในทางที่เสื่อมลง และต้องเวียนว่ายตายเกิดชดใช้กรรมกันอีกมากมายไม่จบสิ้น อุปมาเหมือนคนว่ายน้ำไม่เป็น กรูกับรุมคว้าจับคนที่ว่ายน้ำเป็น หวังให้เขาช่วย คนที่ว่ายน้ำเป็นยังไม่ทันถึงฝั่ง แค่ว่ายเก่ง ใกล้จะได้แล้ว ทว่า หากมัวหลังกับลาภสักการะที่เขาจัดให้ ก็จะถูกพวกเขาตะครุบจับ ลากลงจมน้ำก่อนถึงฝั่งเป็นแน่แท้ ดังนั้น การดูดวงทำนายทายทัก จึงเป็นเครื่องขวางกั้นนิพพาน ภิกษุใดปรารถนานิพพาน พึงละเว้นเสีย




    ๗) การแก้กรรมให้คนอื่น

    การแก้กรรมให้คนอื่น มีผลให้เจ้ากรมนายเวรหันมาอาฆาตจองเวรเราแทน และทำให้เราต้องถูกรบกวนจากเจ้ากรรมนายเวรผู้อื่น จนไม่สามารถนิพพานได้ในที่สุด เพราะแม้เราปรารถนาดีต่อคนที่ขอร้องให้ช่วยมากเท่าไร แต่อดีต เขาก็ทำมากับคนอื่นมากเหมือนกัน เรามักคิดว่าเราเก่ง เราหาวิธีแก้กรรมให้คนอื่นได้ ด้วยวิธีการต่างๆ ทว่า หากเราไม่มีบารมีพอที่จะเจรจาต่อรองกับเจ้ากรรมนายเวรแล้ว ก็ไม่สามารถแก้กรรมให้คนอื่นได้ บางครั้ง การแก้กรรมของเรา ดูเหมือนจะดี ไปได้ดี แต่บางทีก็ดีแค่ชั่วขณะเท่านั้น หลายครั้ง กลับนำวิบากกรรมมากมายมาให้ในภายหลัง หรือยิ่งแก้ยิ่งยุ่งไม่มีวันจบ ไม่หมดสิ้น การแก้กรรมที่ได้ผลดีที่สุดและถูกต้อง คือ การรับกรรมให้เป็น รับจนไม่อยากเกิดอีก และปรารถนานิพพานในที่สุด นี่คือ การแก้กรรมอย่างหลุดพ้นจากกรรมอย่างแท้จริง การแก้กรรมทีละปัญหาๆ ไป ทีละเปราะ แต่ไม่ช่วยให้เกิดความเบื่อหน่าย เข็ดหลาบในกรรมได้นั้น เป็น “ความหลง” อย่างหนึ่ง มันก็คือ “อวิชชา” นั่นเอง กรรมนี้ไม่ใช่ว่าจะต้องสมบูรณ์แบบ ๑๐๐% ชนิดที่ต่อรองเปลี่ยนแปลงอะไรเลยไม่ได้เสียทีเดียวก็หาไม่ แต่การหลบเลี่ยงวิบากกรรม ยิ่งกลับซ้ำเติมให้แรงกรรมโหมกระหน่ำหนักขึ้นไปยิ่งกว่าเก่าในภายหลัง บุคคลสามารถหาวิธีหลุดพ้นกรรมได้ ด้วยการรับกรรม การรับกรรมในขณะปฏิบัติกรรมฐาน เป็นวิธีที่รับกรรมได้เบาบางที่สุด เพราะไม่ต้องรับในวิถีชีวิตจริง เป็นการแก้ตรงจุดเกิดเหตุ คือ กรรมมีเหตุเกิดที่จิต รับที่จิต ก็แก้ที่จิต คือ รับวิบากกรรมขณะปฏิบัติจิตเจริญกรรมฐานแทน นอกจากนี้ พระโพธิสัตว์บางองค์มีบารมีมาก สามารถปลดเปลื้องเวรกรรมของสรรพสัตว์ได้ก็มี แต่ผู้ที่สามารถทำเช่นนี้ได้ไม่ใช่ทุกคนจะทำได้ มีเฉพาะพระกษิติครรภ์โพธิสัตว์เท่านั้นที่ทำได้ เช่น สัตว์ที่ตกนรกนานๆ แต่กลับตัวกลับใจได้ก่อนตกนรก และมีบุญอยู่บ้าง ท่านก็พิจารณาช่วยได้เมื่อถึงวาระที่ควร แต่ไม่ใช่ว่าจะช่วยหมดทุกคน ทุกกรณี หรือเสมอไปก็หาไม่ บางราย ก็สมควรช่วยเช่น ถูกวิญญาณครอบงำให้ไปฆ่าตัวตาย เมื่อตกนรก โทษของการฆ่าตัวตายนั้นหนักมาก จึงรับกรรมหนัก แต่หากมีบุญหนุนอยู่บ้าง พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์ก็สามารถช่วยผ่อนหนักเป็นเบาได้บ้าง ทั้งนี้ อย่าได้หวังหนีกฎแห่งกรรม ขอให้ยอมรับกฎแห่งกรรมเถิด แล้วทำจิตให้เบื่อหน่ายการเวียนว่ายตายเกิด ก็จะมีจิตเป็นสัมมาทิฐิได้ แต่หากคิดนอกลู่นอกทาง หาเทคนิคทางลัด ออกจากกฎแห่งกรรมไม่ยอมรับวิบากกรรมแล้ว ยังผลให้เกิดจิตที่เป็น “มิจฉาทิฐิ” ได้ เมื่อนั้น ก็จะหันหลังออกจากนิพพาน หลงทางไปในที่สุดได้ ดังนั้น จึงไม่ใช่หน้าที่ภิกษุผู้ปรารถนานิพพาน ที่จะมานั่งแก้กรรมให้คนอื่น พึงเลี่ยงเสียเป็นดี




    ๘) การหลงเพลินในการปรนเปรอของฆราวาส

    ปัจจุบัน มีฆราวาสจำนวนมากศรัทธามาก ให้มาก ปรนเปรอมาก ฆราวาสเหล่านี้ บ้างก็เลี้ยงดูพระอรหันต์ราวกับนกในกรงทอง, บ้างก็เลี้ยงดูพระอรหันต์ราวกับพระราชา ก็มี พระอรหันต์เหล่านั้น บรรลุธรรมแล้วจริง แต่ด้วยความที่กรรมยังไม่หมด ชาติภพอันเป็นอดีตยังไม่ได้ชำระสะสาง เช่น เคยเกิดเป็นพระราชามา มีบริวารมากมายมาก่อน พอถึงวาระบุญเข้ามาถึงตัว ก็มีบริวารเก่าๆ ตามมาห้อมล้อมมากมาย ปรนเปรอปรนนิบัติราวกับเป็นพระราชา เหมือนดั่งในอดีตชาตินั้นเอง สำหรับพระพุทธเจ้าแล้วท่านเคยเป็นเจ้าชายที่มีผู้ปรนเปรออย่างมากมาก่อน ท่านสละละทิ้งสิ่งเหล่านี้ได้เสียก่อนตรัสรู้แล้ว ดังนั้น แม้จะมีผู้เอาสมบัติจักรพรรดิมาให้ ท่านก็ไม่สนใจใยดี เพราะท่านเคยเสพมามากแล้ว และละทิ้งมาแล้วอย่างไม่ไยดีนั่นเอง แต่สำหรับพระอรหันต์ที่มีอดีตชาติเคยเป็นพระราชาทั้งหลาย บางรูปเกิดมายากจนมาก่อน พอบรรลุธรรมมีบุญบารมี บริวารทั้งหลายก็พากันมาปรนนิบัติ ปรนเปรอด้วยประการต่างๆ ลาภสักการะเข้ามามากมายเกินกว่าที่จะใช้หมด ก็อาจเผลอพลาดพลั้งเพลินไปกับลาภสักการะและศรัทธาทั้งหลายเหล่านั้นได้โดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว ความหลงเพลิน เป็นการ “ติดชาติภพเก่า” เพราะยังไม่ได้ตัดละความเป็น “เจ้า” ที่ติดค้างมาแต่ในอดีตชาตินั้นๆ ส่งผลให้ท้ายที่สุด ไม่นิพพาน แม้ปัญญาจะเข้าถึงรู้แล้วว่านิพพานทำอย่างไร แต่กรรมที่เกิดขึ้นในภายหลังนี้ มากมายจนชำระไม่ทันไม่หมดเสียแล้ว จำต้องไปชดใช้คืนเขาในชาติต่อๆ ไปอีก ดังนี้ เมื่อละสังขารลงก็ไม่นิพพานดังนี้




    เหล่านี้ เป็นเพียง “ตัวอย่าง” ที่ยกขึ้นเตือนท่านทั้งหลายที่ยังคงคิดว่าตนเองไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรแล้ว แต่ “กรรม” บางอย่าง แม้เราไม่ยึด แต่คนอื่นยึดเรา เราไม่ปฏิเสธ เราไม่เลี่ยง ไม่หลบ เรารับ ก็เท่ากับยอมรับ ยอมร่วมกรรม ร่วมชาติกับเขาได้ในที่สุด ทำให้เราต้องไปเกิดเสวยชาติสืบไป ไม่ได้นิพพานอย่างที่เราคาดหวังไว้ เราไม่เอาเงิน แต่ถ้ามีโจรเอาเงินมาวางไว้ให้เรา เราไม่ปฏิเสธ ถามว่าตำรวจมาถึง เราจะถูกจับไหม แน่นอน เราต้องถูกจับข้อหารับของโจรแน่นอน แล้วอย่างนี้ เราไม่ปฏิเสธการที่ฆราวาสเข้ามาเสนอตัว อย่างนี้ เราจะหนีกรรมพ้นไหม เราจะนิพพานอย่างที่เราโฆษณาไว้ว่าฉันไม่เอาแล้ว ชาติหมดแล้ว ฉันพอแล้ว ฉันขอนิพพานแล้ว เราจะทำได้อย่างที่พูดนี้ จริงไหม




    ทิ้งท้ายบทความ

    จริงอยู่ว่า เราไม่อาจห้ามคนไม่ให้รัก ไม่ให้ศรัทธาได้ แต่เราสอนให้คนละความยึดมั่นถือมั่นในตัวเราได้ หากเรามัวหลงเพลิดเพลินประมาทไป คิดว่าตัวเราไม่ยึดติดแล้ว ทำกรรมอะไรก็ได้ไม่เป็นไร ก่อสร้างถาวรวัตถุอะไรก็ได้ไม่เป็นไร เราไม่ยึดติดก็จริง แต่เราก็ห้ามคนไม่ให้ยึดมั่นถือมั่นในตัวเราไม่ได้ คนที่ศรัทธายึดมั่นถือมั่นเรานั่นแหละ คือ ตัวปัญหา คือ เจ้ากรรมนายเวร ที่ผูกมัดรัดรึงเราไว้ สุดท้าย ทำให้เราที่คิดว่าจะได้นิพพานอยู่แล้ว กลับไม่ได้นิพพานในที่สุด บุคคลจะนิพพานได้ ต้องรับผิดชอบผลการกระทำทุกอย่างของตนเอง แม้ว่าตนเองอยู่เฉยๆ บอกว่าไม่ได้ทำอะไรก็ตาม ถ้ามีคนแห่เข้ามาศรัทธาแล้วยึดมั่นถือมั่นเรามากมาย หากไม่สั่งสอนให้หายยึดมั่นถือมั่นเสีย เขาเหล่านั้นแหละ จะมัดเรา ลากเราไปกับเขาด้วย ดังนั้น จะพัวพันกับใคร ก็ต้องเลือก และช่วยให้เขาหลุดพ้นให้ได้ ไม่เช่นนั้น เขาก็ไม่ปล่อยเรา ไม่ยอมให้เราหลุดพ้น เมื่อเราจะนิพพาน เขาก็จะมาขวาง ที่เรียกว่า “มารผจญ” ก็คืออย่างนี้ละ คนที่ทำบุญมากๆ หลงผลบุญ เมาบุญ อยากได้ในผลบุญ ไม่ได้ทำด้วยจิตที่สละละทิ้ง ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น เหล่านี้จะได้เสวยผลบุญตามที่จิตตนปรารถนาเพราะตนเองได้ทำบุญไว้มากมาย ก็จะจุติในสวรรค์ชั้นสูงสุด คือ ชั้นที่หก ซึ่งก็คือ ชั้นมาร นั่นเอง “มารผจญ” เหล่านี้ มาขวางเขาไม่ให้ได้นิพพานง่ายๆ ด้วยเรื่อง “ผลบุญ” นั่นเอง อนึ่ง ก็อย่าไปโกรธหรือเกลียดมารเลย เขาก็ทำหน้าที่ของเขา คือ เป็นด่านทดสอบใจของเรา ว่าเราไม่ยึดติดแล้วปัญญาแจ้งจริงไหม หรือแค่หลอกๆ เขาไม่ใช่ผู้กำหนดว่าเราจะได้นิพพานหรือไม่ แต่เราเองต่างหากที่กำหนดตัวเราเอง เลือกวิถีทางเดินด้วยตัวเราเอง อย่าโทษเขาเหล่านั้นเลย อนึ่ง มารจะมีสองฝ่าย ฝ่ายมารร้ายจะมาในเชิงลบกับเรา เราดูออกง่าย ทำให้เอาชนะมารร้ายได้ง่าย เมื่อชนะแล้วระมาทพลาดพลั้งชะล่าใจ นึกว่านิพพานแน่แล้ว ทว่า มารดีและโพธิสัตว์ต่างๆ ยังเป็นด่านทดสอบของเราอีก หากเราเผลอประมาทไป ไม่ทันสังเกต มารดีเหล่านี้ หรือก็คือ “คนดี” มี “เจตนาดี” แต่เข้าใจพุทธศาสนาผิดไป นั่นแหละ เขาเหล่านี้ จะพาเราหลงทาง เดินทางผิดออกไปกับเขาด้วย แทนที่กำลังจะถึงนิพพานแล้วเชียว สุดท้าย กลับสร้างชาติสร้างภพใหม่อีกมากมายนับไม่ถ้วน บางกรรมต้องรับเป็นร้อยๆ ชาติก็มี




    ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์จึงทรงเข้มงวด กับการละเว้น และมอบศีลไว้ให้แก่ภิกษุมากมาย ทำไมท่านจึงกำชับเสียหนักหนา เพราะท่านเมตตาเรา ปรารถนาให้เราได้ถึงซึ่งนิพพานมิใช่หรอกหรือ อันที่จริง ศีลนั้น ไม่จำเป็นต้องเคร่งครัดมากก็ได้ แต่ถ้าไม่เข้าใจ ไม่แจ้งด้วยปัญญาว่าศีลมีไว้ทำไม อันนี้ ก็ทำให้หลงทางได้เช่นกัน เราไม่ได้มุ่งหวังให้ท่านเคร่งศีลเลย การปฏิบัติที่ดีคือทางสายกลาง แต่การระวังตัวเอง ไม่ปล่อยเนื้อปล่อยตัว เหมือนนกน้อยที่หลงอาหารที่เขาเอามาล่อ แล้วถูกเขาจับตัวเข้าไปเลี้ยงในกรงทองนั้น เป็น “ความโง่” สิ้นเชิง แทนที่กำลังจะได้นิพพานแล้วแท้ๆ แต่กลับมาเสียทีเพราะลาภสักการะที่ชวนให้คิดว่าเป็นผู้มีบุญบารมีมากเหล่านี้เอง ลาภสักการะที่มากมายนั้น ล้นเกินบริโภค แม้เราไม่มีมากขนาดนั้น บิณฑบาตได้พอฉัน ก็สามารถมีสุขสงบได้แล้ว เหตุไฉน พระอรหันต์ในปัจจุบันจึงเต็มไปด้วยลาภสักการะ รับการปรนเปรอด้วยลาภสักการะมากอย่างนี้ เราเตือนท่านด้วยจิตเมตตา หวังเห็นท่านนิพพานจริงอย่างที่ท่านปรารถนา แต่หากท่านปรารถนาพุทธภูมิ ยังไม่ขอนิพพาน ก็ทำไปเถิด ชาติภพนั้นหาใช่สาระไม่
     
  3. ชาไม่รู้

    ชาไม่รู้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    485
    ค่าพลัง:
    +878
    เท่าที่อ่านแล้วเข้าใจนะคะ เห็นว่า


    ๑) ไม่ได้ห้ามพระที่จะบำเพ็ญบารมี แต่ถ้าบำเพ็ญแล้วจะไม่นิพพาน
    ๒) เตือนท่านที่จะเอานิพพานจริงๆ ให้ระวังอย่าบำเพ็ญ บุญ บารมี อะไรก็อย่าสนใจ


    หากกระทบกับโครงการระดมบุญราคาหลายล้านก็ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยค่ะ
     
  4. SP2517

    SP2517 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มกราคม 2009
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +24
    ครุกรรม
    กรรมหนักทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล
    ในฝ่ายกุศลได้แก่ฌานสมาบัติ ในฝ่ายอกุศลได้แก่อนันตริยกรรม
    กรรมชนิดนี้ให้ผลก่อนกรรมอื่น
    อนันตริยกรรม กรรมหนัก, กรรมที่เป็นบาปหนักที่สุด
    ตัดทางสวรรค์ ตัดทางนิพพาน, กรรมที่ให้ผลคือ ความเดือดร้อนไม่เว้นระยะเลย
    มี ๕ อย่าง คือ
    ๑. มาตุฆาต ฆ่ามารดา
    ๒. ปิตุฆาตฆ่าบิดา
    ๓. อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์
    ๔. โลหิตุปบาท ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงยังพระโลหิตให้ห้อขึ้นไป
    ๕. สังฆเภททำสงฆ์ให้แตกกัน
     
  5. ชาไม่รู้

    ชาไม่รู้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    485
    ค่าพลัง:
    +878
    มารดี ก็คือ คนดี เจตนาดี แต่ปัญญาไม่แจ้ง
    แล้วถูกครอบงำด้วยมิจฉาทิฐิ ทำให้พาคนหลงทาง


    เจตนามาช่วยงานพระพุทธศาสนา แต่ไม่เข้าใจแท้จริง
    สุดท้าย พาคนไปหลงบุญ หลงทาง หลงสวรรค์ ไม่นิพพาน
    ก็ไม่ตรงตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเลย
     
  6. ชาไม่รู้

    ชาไม่รู้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    485
    ค่าพลัง:
    +878
    พุทธพาณิชย์ ที่เกิดโดย "พระดังกับฆราวาส" ร่วมมือกัน
    หากตีราคาเป็นเงิน ก็คงไม่น้อยกว่าธุรกิจผิดกฏหมายอื่นๆ นัก
     
  7. ชาไม่รู้

    ชาไม่รู้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    485
    ค่าพลัง:
    +878
    อสูร ชอบนักธุรกิจผิดกฏหมาย
    มาร ก็มีวิธีหากินด้วยอุบายสร้างศรัทธาให้ยึดมั่นกันไป


    ผ่านยุคอสูรกลับใจ (แต่ถอนตัวไม่ได้)
    เข้ายุคมารดี ตั้งใจทำดี แต่ไม่เข้าใจแท้จริง
     
  8. ชาไม่รู้

    ชาไม่รู้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    485
    ค่าพลัง:
    +878
    พระพุทธเจ้าสอนอะไร?


    แล้วเราทำอะไรกันนักหนา?


    อะไรใช่ อะไรไม่จำเป็น?


    กิจเทพ
    กิจพรหม
    กิจมาร
    กิจอสูร


    ทำกิจอะไรกันอยู่?
    หรือ "หมดกิจ" แล้ว?
     
  9. เฮ้งตงเอี๊ยง

    เฮ้งตงเอี๊ยง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    668
    ค่าพลัง:
    +130
    พระพุทธเจ้าสอนทั้งนิพพานและการบำเพ็ญบารมีครับ
    ดังนั้น ที่สอนให้บรรลุอรหันตสาวกก็ใช่ ใครปรารถนาก็เลือกทางนั้น
    ที่สอนให้บำเพ็ญบารมี ยังไม่นิพพาน ช่วยสัตว์อื่นก่อน ก็ใช่ ใครปรารนาก็เลือกเอาครับ


    ไม่มีถูกผิด ขึ้นอยู่กับใครเลือกทางเดินของเขาอย่างไรมากกว่าครับ
     
  10. อนุรักษ์คนมีครู

    อนุรักษ์คนมีครู สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +14
    ท่านชาไม่รู้สมชื่อจริงๆๆๆ สิ่งที่ท่านพูดมันเป็นความรู้สึกของท่านแต่มันไม่ใช่ความจริง พระอรหันต์ ได้ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้วไม่มีกิจอื่นที่ต้องทำอีกไม่ เพราะฉนั้นอย่าเอาความรู้สึก ตรรก ความเป็นไปได้ไปใช้กับ พระธรรมคำสั่งสอน ของพระพุทธเจ้า ถ้าท่านเห็นว่าคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ว่าการบรรลุอรหันต์คือการสิ้นสุดแห่งกิจทั้งปวง ตัดภพ ตัดชาติ ท่านการันตีแล้วว่านิพานแน่นอน ยังไม่สมบูรณ์แสดงว่าท่านก็ต้องเก่งกว่าพระพุทธเจ้า ซึ่งอย่างท่านแม้แต่อุบาสกที่ดีดูแล้วยังไม่ได้ นับอะไรกับพระอรหันต์
     
  11. siratsapon

    siratsapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    368
    ค่าพลัง:
    +641
    ขอบคุณชาไม่รู้ที่นำมาลงครับ...ไม่รู้ว่าเขียนเองหรือเปล่า

    ยอมรับว่าละเอียดอ่อนทีเดียว มีเหตุผลดูน่าเชื่อถือ หากผู้ที่เข้ามาอ่านไม่เข้าใจกระจ่างในข้อธรรมประเด็นนี้ดีพอ เป็นสัมมาทิฐืเพียงพอ อาจจะเคลิบเคล้ม และแก้ไม่ได้ กลับไปเกิดศรัทธา เชื่อมั่นไปตามในประเด็นที่ผิดพลาดได้...

    สิ่งที่ท่านกล่าวมามีข้อที่จริงอยู่ และก็มีหลายประเด็นที่คลาดเคลื่อนอยู่นะครับ ผมจะขออธิบายในแง่มุมที่เห็นว่าผู้เขียนกล่าวไม่ถูกต้องเฉพาะประเด็นหลักๆ รวมทั้งบอกว่าแท้จริงเป็นอย่างไร ให้ทราบดังนี้ครับ

    ประเด็นแรก เรื่องของพระอรหันต์ ๗ ขวบ ที่ไปแบ่งภาคเกิดเป็นพรหมฯ ได้

    ตรงนี้ต้องบอกก่อนว่า ถ้อยคำที่คุณบอกว่า "โปรดยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม" ตรงนี้ พระพุทธเจ้าทรงตรัสมุ่งไปยังผู้ที่ไม่บรรลุเท่านั้น ผู้ที่สำเร็จอรหันต์แล้วจัดว่า "เป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว" แต่คนธรรมดา พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามีนี้จัดว่ายังประมาทได้นะครับ เป็นการตรัสให้เร่งปฏิบัติธรรมกัน ความตายมาเยือนเราได้เสมอ ชีวิตเป็นสิ่งไม่แน่นอน

    แล้วที่คุณบอกว่า พระอรหันต์ ๗ ขวบ โดนหญิงสาวที่หลงรักท่านมาสวมกอดทางด้านหลัง ทำให้จิตของท่านละสังขารลง จิตดวงหนึ่งหลุดออกไป ฯลฯ ตรงนี้ถ้าเป็นพระอรหันต์จริงๆ ที่ไม่ใช่เรื่องเล่าจะหาเป็นเช่นนั้นไม่ครับ ไม่ต้องระดับอรหันต์หรอกครับ ระดับอนาคามีก็เป็นไปไม่ได้ เพราะเนื่องจากผู้ที่สำเร็จพระอรหันต์แล้วนั้น จิตจะไม่หวั่นไหวในโลกธรรม ละเสียแล้วซึ่ง "กามราคะสังโยชน์" ผัสสะต่างๆ ล้วนเป็นของว่าง ท่านเข้าถึงความไม่ยึดมั่นถือมั่นว่ามีเขามีเราแล้ว ผัสสะกระทบก็เป็นเพียงผัสสะกระทบ ไม่ปรุงแต่งเป็นตัณหาอย่างอัตโนมัตินะครับ เรียกว่าเป็น อัพยากฤต เหมือนที่มีผู้ลองกับพระสารีบุตรว่าเป็นพระอรหันต์จริงหรือไม่ แอบทำร้ายท่านข้างหลัง ท่านก็ยังไม่โกรธ ไม่มีการแบ่งจิตออกไปไหนๆ พระโมคคัลานะเช่นเดียวกัน โดนดักทำร้าย ท่านก็มิได้โกรธ ไม่ได้มีการแบ่งจิตไปไหนๆ เช่นเดียวกันครับ เพราะจิตเป็นธรรมชาติ วางเฉยได้เองแล้วนั่นแหละครับ ไม่มีเรา ไม่มีของเรา เมื่อมีเรา มีของเรา ตัณหาจึงมี การกระทบกระทั่งเราจึงมี หากไม่มีเรา ไม่มีเขา การกระทบกระทั่งก็เป็นเพียงของว่าง เป็นเพียง "ธรรม" เท่านั้น

    ผมขอตอบท่านประเด็นนี้เท่านี้ก่อนครับ
     
  12. ชาไม่รู้

    ชาไม่รู้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    485
    ค่าพลัง:
    +878
    นายฉันนะ เมื่ออรหันต์แล้วไม่สนใจใคร
    ไม่ยอมฟังใคร สุดท้าย พระพุทธเจ้าสั่งให้พระอานนท์
    ไปลงโทษ ด้วย "พรหมทัณฑ์" แก่นายฉันนะ


    ต่อมานายฉันนะที่อรหันต์แล้ว มาเกิดอีก เพราะจิตบางดวง
    แบ่งออกมา ยังไม่สิ้นความปรารถนา


    เกิดเป็นพระชายาของพระโพธิสัตว์บางองค์
    ต้องทนทุกขเวทนา อยู่อย่างโดดเดี่ยว ไม่มีคนสนใจ


    หลายต่อหลายชาติที่นายฉันนะ ผู้อรหันต์แล้ว และไม่ยอมสนใจศีลนั้น
    ต้องรับกรรมมากมาย โดดเดี่ยว และไม่มีคู่ครอง


    ชาติหนึ่งในนั้น คือ "ก้วยเซียง" ผู้ก่อตั้งสำนัก "ง้อไบ้" นั่นเอง
    ปัจจุบัน นายฉันนะมาเกิดแล้ว เป็นหญิงคนหนึ่ง หน้าตาดี แต่ไม่มีคู่ครอง
     
  13. ชาไม่รู้

    ชาไม่รู้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    485
    ค่าพลัง:
    +878
    ท่านสุภัททะ ผู้อรหันต์แล้ว ปรามาสธรรมวินัย


    ท่านสุภัททะ อรหันต์แล้ว เห็นพระรูปอื่นๆ เศร้าโศกอยู่เพราะพระพุทธเจ้า
    ดับขันธปรินิพพาน จึงได้บอกแก่พระรูปอื่นๆ ว่า "ดี เราจะได้ไม่ต้องมีใครมาบังคับให้ถือศีล"


    เป็นเหตุให้พระมหากัสสปะ ทำสังคายนาพระไตรปิฎกในกาลต่อมา


    พระอรหันต์หลายรูปไม่ได้เคร่งศีล บางรูปปรามาสพระธรรมวินัยด้วยซ้ำ
    และพระอรหันต์เหล่านี้เอง ที่ยังเกิดได้อีก ไม่ใช่อรหันตสาวก เป็น "อรหันตโพธิสัตว์"
     
  14. ชาไม่รู้

    ชาไม่รู้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    485
    ค่าพลัง:
    +878
    ท่านสุภัททะก็ปรามาสธรรมวินัยทันทีหลังบรรลุอรหันต์เหมือนกัน


    ดังนั้น ไม่ใช่ว่าพระอรหันต์จะถือศีลเคร่งครัดหมดทุกรูปนะคะ
     
  15. GROLY

    GROLY เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    2,019
    ค่าพลัง:
    +8,001
    การสอนค้านกับพระพุทธเจ้าเป็นบาป
    ตนเองไม่รู้แล้วยังจะนำพาผู้อื่นหลงทางอีกหนอ
     
  16. siratsapon

    siratsapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    368
    ค่าพลัง:
    +641
    ขออธิบายเพิ่มเติมจากความเห็นที่เจ้าของกระทู้มาลงให้อ่านดังนี้ครับ

    ๑) พระอรหันต์รูปนั้นยังไม่ถึงวาระนิพพาน แต่มาเกิดก่อนพร้อมบุญบารมีที่ถึงขั้นบรรลุธรรมอรหันต์ได้ เช่น ดวงจิตของพระโพธิสัตว์ต่างๆ ทั้งหลาย ที่ได้สะสมบุญบารมีไว้เป็นจำนวนมาก แต่ปรารถนาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ต่อๆ ไป ดังนี้ เมื่อมาเกิดในพุทธศาสนาก็สามารถบรรลุอรหันต์ได้ไม่ยากเลย แต่กรรมยังชำระกับเจ้ากรรมนายเวรยังไม่หมด ดังนั้น จะปัดความรับผิดชอบไปไม่ได้ ต้องเวียนว่ายตายเกิดใหม่ต่อไป เพื่อชำระกรรมให้หมดพอที่จะนิพพานได้ในชาติสุดท้าย

    ตอบ : หากเป็นไปตามที่พระพุทธศาสนาเถรวาทนั้น การที่พระโพธิสัตว์ยังไม่สามารถตรัสรู้ ยังคงเวียนว่ายตายเกิด จะเป็นไปเพราะสะสมบารมีให้เต็ม ซึ่งมีบ้างที่จะต้องได้รับวิบากกรรมทั้งดีและไม่ดีควบคู่ไปด้วย บารมีที่สะสมจะมีด้วยกันอยู่ ๑๐ ประการ ซึ่งแต่ละประการจะแบ่งออกเป็น ๓ ระดับ บารมีเต็มเมื่อใด เมื่อนั้นย่อมพร้อมจะสามารถสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าได้ครับ และอีกอย่างหนึ่ง ถ้าเรื่องเจ้ากรรมนายเวรนี่ตามข้ามภพข้ามชาติกับพระโพธิสัตว์มีอยู่อย่างที่กล่าว (ซึ่งผมขอเรียกว่า "วิบาก" ของกรรมที่เคยกระทำเอาไว้ดีกว่า) อย่างไรก็ยังไม่หมดไปหรอกครับ แม้ชาติสุดท้ายแล้ว สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าแล้วก็ยังคงจะมีวิบากของกรรมตามมาได้ลองศึกษาพุทธประวัติดูนะครับ

    ๒) พระอรหันต์รูปนั้น รู้ดีว่า การก่อกรรม ไม่ว่าจะเป็นกรรมดีหรือชั่ว ล้วนสามารถสร้างชาติต่อภพได้อีก แล้วผ่อนศีลลงเพื่อให้เกิดกรรม เพราะมีความปรารถนา “พุทธภูมิ” หรือ ปรารถนาฉุดช่วยเวไนยสัตว์ก่อน ตนเองขอนิพพานในภายหลัง จึงสร้างกรรมต่อ ก่อบุญบารมีสืบภพสืบชาติต่อไป ที่เรียกว่า “อรหันตโพธิสัตว์”

    ตอบ : การผ่อนศีลลงมาไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ทำได้ เพราะการผ่อนศีลลงมาจะต้องอาศัยจิตที่เป็นอกุศลนั่นเอง คือกล่าวง่ายๆ ว่าละเมิดศีลบางข้อนั่นเอง แต่พระอรหันต์ไม่มีจิตที่เป็นอกุศลแล้ว การผ่อนศีลลงมาไม่ใช่สิ่งที่จะทำได้ พระอรหันต์มีศีลที่บริสุทธิ์บริบูรณ์ ไม่ขาด ไม่ด่างพร้อย ศีลที่ท่านรู้อยู่จะไม่มีเจตนาละเมิดผิดศีลเลย ดังนั้นการผ่อนศีลจึงเป็นไปไม่ได้นะครับ

    แล้วเรื่องพระอรหันต์จะมาปรารถนาพุทธภูมิอีกนี้ย่อมเป็นไปไม่ได้เช่นเดียวกัน ตั้งแต่ก่อน และหลังสำเร็จพระอรหันต์ เพราะหากยังมีความปรารถนาอยู่ ย่อมทำให้สำเร็จพระอรหันต์ไม่ได้ เพราะขณะบรรลุจิตจะต้องหมดสิ้นกิเลส และเมื่อสำเร็จพระอรหันต์แล้วความปรารถนาย่อมหมดไปไม่มีอีก พระอรหันต์เป็นผู้ไม่หวังใดๆ สิ้นการหวังแล้วครับ ส่วนการช่วยเหลือหลังจากสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วนั้นยังคงมีต่อไปตราบเท่าที่สังขารขันธ์(ชีวิต) ของท่านจะอำนวยนั่นแหละครับ เพราะว่า...

    "สรรพสัตว์ในโลกย่อมเป็นไปตามกรรม เราไม่สามารถจะช่วยขนเวนไนยสัตว์ได้หมด"

    "บัวมีสี่เหล่า ยังต้องเหลือเหล่าที่ช่วยให้พ้นทุกข์ไม่ได้อยู่ จึงช่วยเท่าที่จะทำได้"

    "พระอรหันต์เป็นผู้ไม่มีภพ ชาติ ไม่ปรารถาภพ ชาติต่อๆ ไปแล้ว...เพราะตัณหาตัดรากขาดสิ้นเชิงแล้ว"


    ขอตอบเพิ่มเติมเพียงเท่านี้ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มีนาคม 2009
  17. เมตตาวิหารี

    เมตตาวิหารี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    671
    ค่าพลัง:
    +437
    ธรรมสังเวศ จิงหนอ อนาถใจแท้ ขอความเห็นชอบในธรรมจงมีแด่ท่านทั้งหลาย

    ขอเวรภัยจงห่างไกล เราท่านทั้งหลาย ขอสัตว์โลกจงนำทางชีวิตด้วยพระสัทธรรม เถิด...
     
  18. เมตตาวิหารี

    เมตตาวิหารี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    671
    ค่าพลัง:
    +437
    "สรรพสัตว์ในโลกย่อมเป็นไปตามกรรม เราไม่สามารถจะช่วยขนเวนไนยสัตว์ได้หมด"

    "บัวมีสี่เหล่า ยังต้องเหลือเหล่าที่ช่วยให้พ้นทุกข์ไม่ได้อยู่ จึงช่วยเท่าที่จะทำได้"


    "พระอรหันต์เป็นผู้ไม่มีภพ ชาติ ไม่ปรารถาภพ ชาติต่อๆ ไปแล้ว...เพราะตัณหาตัดรากขาดสิ้นเชิงแล้ว"



    สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทนา สาธุการ

    เมตตาวิหารี
     
  19. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
     
  20. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    พอดีเหลือบไปเห็นเข้า

    โคตรมั่วเลย

    นายฉันนะ ยังไม่สำเร็จอรหันต์ ตอนที่ยังไม่ฟังใคร
    พอพระอานนท์รับพุทธบรรชาให้ลงพรหมทัณฑ์ นายฉันนะจึงรู้สึกตัว แล้วปลีกวิเวกไปเร่งความเพียรจนสำเร็จอรหันต์ในที่สุด

    ก่อนที่คุณสมองชาจะเอ่ยอ้างสิ่งใด โปรดตรวจสอบให้รอบคอบก่อน...
     

แชร์หน้านี้

Loading...