ทัวร์ "หมู่บ้านโรฮิงญา" กลางเมืองระนอง สวรรค์ของไทยพลัดถิ่น !? กว่า 200 ชีวิต

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย MBNY, 12 กุมภาพันธ์ 2009.

  1. MBNY

    MBNY Administrator ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2003
    โพสต์:
    6,861
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +22,507
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="96%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=headnews vAlign=top>ทัวร์ "หมู่บ้านโรฮิงญา" กลางเมืองระนอง สวรรค์ของไทยพลัดถิ่น !? กว่า 200 ชีวิต
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top height=4></TD></TR><TR><TD class=dessubmmenu1><CENTER>[​IMG]</CENTER>

    ในขณะที่ชาว จ.ระนอง นับพันคนออกมาเดินขบวนต่อต้านแนวคิดการตั้งศูนย์ผู้อพยพลี้ภัยชาวโรฮิงญาใน จ.ระนอง ตามแนวคิดขององค์กรสิทธิมนุษยชนต่างประเทศ

    <SCRIPT type=text/javascript><!--google_ad_client = "pub-1044823792492543";google_ad_slot = "8122705396";google_ad_width = 250;google_ad_height = 250;//--></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/test_domain.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/render_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT>window.google_render_ad();</SCRIPT>
    แต่ในความเป็นจริง ในตัวเมืองระนองเองกลับมี "หมู่บ้านชาวโรฮิงญา" ตั้งอยู่ใจกลางเมือง โดยคนต่างด้าวกลุ่มนี้อาศัยอยู่รวมกันเป็นชุมชนประมาณ 200 คน และตั้งรกรากอยู่ในเมืองไทยมานานกว่า 20 ปีแล้วด้วยซ้ำ !!
    ประเด็นนี้ นายเล็ก กองอาสา ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 ต.บางริ้น อ.เมือง จ.ระนอง เปิดเผยกับ "คม ชัด ลึก" ว่า จริงๆ แล้วชาวโรฮิงญาเข้ามาอาศัยใน จ.ระนอง มานานแล้ว แต่ในอดีตไม่มีใครรู้หรือสนใจว่าเป็นชาวโรฮิงญา เพราะคิดว่าเป็นแขก "บังกลาเทศ" มากกว่า <CENTER>[​IMG]</CENTER>


    ทั้งนี้ การอพยพของชาวโรฮิงญาในสมัยนั้นจะเข้ามาแบบแทรกซึมทีละคนสองคน ไม่นั่งเรือลอยลำมาเป็นร้อยๆ คนเหมือนทุกวันนี้
    ผู้ใหญ่เล็ก บอกว่า ลักษณะพิเศษเฉพาะของชาวโรฮิงญา คือ จะเป็นคนที่รักอิสระ ไม่ชอบเป็นลูกจ้างใคร แต่ชอบค้าขายมากกว่า เช่น ขายถั่ว ขายหมาก ขายมุ้ง ขายผ้า เป็นต้น
    แต่ธุรกิจเริ่มต้นที่ชาวโรฮิงญามักจะเข้ามาหาทุนก่อนก็คือ อาชีพ "เก็บของเก่า" โดยคนพวกนี้จะรับจ้างจากเถ้าแก่ โดยจะได้เงินสดไปซื้อของวันละ 1,000 บาท
    เมื่อซื้อ หรือเก็บของเก่าได้ก็จะเอามาขายให้แก่เถ้าแก่ ซึ่งเก้าแก่จะตัดราคาให้ แต่ถ้าวันไหนได้ของไม่ครบจำนวนเงินที่ให้ไป เถ้าแก่ก็จะหักเป็นยอดคงเหลือไว้ แล้วให้ชาวโรฮิงญาหาของมาให้ครบจำนวนเงินที่คงค้างในวันถัดไป
    มองดูก็เป็นอาชีพที่สุจริตดี แต่ "ด้านมืด" ของอาชีพนี้ คือ เถ้าแก่มักกดราคารับซื้อจากคนพวกนี้ เพราะมองว่าเป็นลูกไก่ในกำมือ หากเรื่องมาก โวยวายก็จะแจ้งตำรวจจับแล้วส่งกลับประเทศไปเสีย...เท่านี้คนพวกนี้ก็กลัวหัวหด ไม่กล้ามีปากมีเสียงอีกต่อไป
    ที่ร้ายกว่านั้น คือ ซาเล้งบางรายหวัง "รวยทางลัด" ด้วยการลักขโมยสิ่งของที่ชาวบ้านทิ้งไว้ในบ้านเรือนเพื่อนำมาขายต่อโดยไม่ต้องลงทุน ซึ่งก่อความเดือดร้อนรำคาญให้แก่คนในพื้นที่เป็นอย่างมาก
    จุดสังเกตของซาเล้งพวกนี้มักจะหนีบผู้หญิงและเด็กไปด้วย เพราะถ้าให้ผู้หญิง หรือเด็กไปคุ้ยหาของก็มักจะไม่ถูกจับจ้องเท่ากับเอาผู้ชายลงไปด้อมๆ มองๆ เอง
    เมื่อทำธุรกิจซาเล้งจนพอมีทุนรอนก้อนหนึ่งแล้วก็ถึงคราว "ตั้งตัว" ด้วยการซื้อรถเข็นมาตระเวนขายถั่ว ขายโรตี บางรายมีทุนถึงขั้นเปิดร้านน้ำชากาแฟ หรือร้านขายโรตีอย่างเป็นล่ำเป็นสันเลยทีเดียว
    ถ้าเจ้าหน้าที่หน่วยไหนอยากจิบน้ำชากาแฟสูตรโรฮิงญา ลองถามชาวบ้านดูว่า "ซอย 2" อยู่แถวไหน รับรองหาไม่ยาก และพอไปถึงแล้วก็ไม่ต้องถามอีก เพราะพวกนี้มีรูปร่างหน้าตา การแต่งกาย และวิถีชีวิตต่างจากคนท้องถิ่นโดยสิ้นเชิง
    แม้จะมาจากพม่า แต่หมู่บ้านโรฮิงญาจะไม่มีชาวพม่าอาศัยอยู่แม้แต่คนเดียว อันเนื่องมาจากความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา และภูมิหลังทางประวัติศาตร์ที่เป็นคู่สงครามกันมาก่อน
    ขณะที่ กิตติเดช พิทยานันท์ ปลัดอำเภอเมืองระนอง ก็ยอมรับว่า มีชาวโรฮิงญาอาศัยอยู่ใน จ.ระนอง มานานแล้ว โดยจะอาศัยตามบ้านเช่าในพื้นที่หมู่ 4 ต.บางริ้น ประมาณ 100 คน และมีกลุ่มบุคคลที่คอยแสวงหาผลประโยชน์จากกลุ่มคนเหล่านี้ตลอดเวลา
    โดยเฉพาะพวก "นายหน้า" ที่นำพาให้เข้าประเทศไทย และเดินเรื่องให้ได้ "บัตรไทยพลัดถิ่น" ซึ่งจะทำให้มีสิทธิประโยชน์ด้านต่างๆ มากกว่าบัตรแรงงานต่างด้าวอย่างถูกกฎหมายอย่างเทียบกันไม่ติด

    นางซากีน๊ะ อารีย์ ชาวโรฮิงญา ซึ่งเข้ามาอยู่ใน จ.ระนอง นานถึง 33 ปี เล่าว่า เธอเริ่มเข้าประเทศมาทางชายแดนไทย-พม่า ด้าน อ.แม่สอด จ.ตาก โดยเข้ามาทำงานในไร่ข้าวโพด
    จากนั้นก็ได้รับการติดต่อชักชวนให้มาตั้งรกรากที่ จ.ระนอง โดยแรกๆ จะอาศัยปะปนกับชาวไทยมุสลิมทำอาชีพประมงพื้นบ้าน และรับซื้อของเก่า ซึ่งพบว่ารายได้ดีจึงยึดเป็นอาชีพเรื่อยมา
    ปัจจุบันเธอแต่งงานแล้วกับชาวโรฮิงญาด้วยกันจนมีลูก 8 คน และได้รับบัตร "ไทยพลัดถิ่น" เรียบร้อยแล้ว จึงอยู่ได้อย่างสบายใจไร้กังวล
    แน่นอนว่า การทำบัตรพวกนี้ต้องมี "คนได้ประโยชน์" แน่นอน และไม่ต้องถามด้วยว่า เป็นเจ้าหน้าที่หน่วยไหน สีอะไรบ้าง เพราะจริงๆ แล้วมันก็มีทุกสี ตั้งแต่ส่วนกลางลงมาจนถึงส่วนท้องถิ่น

    แต่จริงๆ แล้วจำนวนโรฮิงญา ซึ่งมีแค่ไม่กี่ร้อยคนยังถือว่าไม่ถึงเศษเสี้ยวของประชากรพม่าที่มาเป็นแรงงานทั้งถูก และไม่ถูกกฎหมาย จนมีคนปล่อยมุกที่ไม่รู้ว่าจะขำ หรือร้องไห้ดีว่า จ.ระนอง น่าจะเป็นจังหวัดหนึ่งของพม่าด้วยซ้ำ เพราะทุกวันนี้ประชากร จ.ระนอง เกือบ 2 แสนคน มีคนพม่ายึดครองจังหวัดอยู่เกินครึ่ง !!

    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    http://www.norsorpor.com/ข่าว/n1259...ืองระนองสวรรค์ของไทยพลัดถิ่น ! กว่า 200 ชีวิต
     
  2. บุษบากาญจ์

    บุษบากาญจ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    9,476
    ค่าพลัง:
    +20,271
    ขอบคุณค่ะคุณแอน จริงๆ เค้าก็เข้ามาบ้านเรานานแล้วเนาะ
     
  3. แมงปอแก้ว

    แมงปอแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    600
    ค่าพลัง:
    +139
    ชอบทำอาชีพเหมือนแขกเลย....
     
  4. yungyao

    yungyao เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +170
    ถูกต้องครับ คนพื้นที่น้อยกว่า
     

แชร์หน้านี้

Loading...