ช่วยมาขยายความคำว่า "ยิ่งเรียนยิ่งโง" ให้หน่อย

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย พระไตรภพ, 27 ธันวาคม 2008.

  1. พระไตรภพ

    พระไตรภพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,067
    ค่าพลัง:
    +7,521
    พอดี ไปเป็นอาจารย์สอนกรรมฐานมา เจอท่านอาจารย์รูปหนึ่งขึ้นแสดงธรรม แล้วพูดกระทบกระทั้งมากหลากหลาย ดูท่าทางท่านจะเอาเราให้กระฉูดกรรมฐานแตกไปเลยก็ว่าได้

    แต่เรากลับนิ่งๆ สงสารท่านนะ พอดีมีคำหนึ่งที่ท่านกล่าวอย่างดังเลยว่า

    ไอ้พวกพระเรียน ยิ่งเรียนยิ่งโง่ (พอดีเราเรียนบาลี)

    เราฟังดูก็พอเข้าใจว่าคำที่ว่ายิ่งเรียนยิ่งโง่ หมายความว่าอย่างไร

    แต่ที่ยังเป็นห่วงคือ ทุกวันนี้คำๆนี้ถูกนำมาใช้มากเหลือเกิน แต่ที่นำมาใช้นำมาพูดหลายต่อหลายครั้งกลับเป็นการพูดเพื่อกระแนะกระแหนกัน เสียดสีกัน นำมาพูดเพื่อกล่าวร้ายให้อีกฝ่ายหนึ่งให้เจ็บใจ เสียมากกว่า

    และ เมื่อกล่าวแล้วก็ไม่ยอมอธิบายอีกว่า ยิ่งเรียนยิ่งโง่หมายความว่าอย่างไร

    ดังนั้นจึงอยากขอเชิญท่านผู้รู้ ได้มาช่วยอธิบายคำว่า "ยิ่งเรียนยิ่งโง่" ให้ได้ความหมายชัดเจนขึ้น แล้วการเกิดขึ้นของคำว่าโง่มันเกิดมาได้อย่างไร และบอกกล่าววิธีแก้ไข ว่าทำอย่างไรเรียนแล้วจึงจะไม่โง่

    ขอท่านผู้ทรงคุณช่วยกันหน่อย

    สำหรับอาตมาขอให้ความหมายว่า

    ยิ่งเรียนยิ่งโง หมายถึง ความรู้มากจึงเกิดการสำคัญตัวเองขึ้นว่าข้าดีข้าเก่ง ไม่เคารพเชื่อฟังใครมีทิฐิมานะอัตตาตัวตนจัด ถือดี

    ถ้าเรียบเรียงได้ดี อาตมาขอพิมพ์เป็นหนังสือเล่มเล็กๆ แจกให้ญาติโยมอ่านหน่อยนะ สาธุ

     
  2. yokine

    yokine เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2007
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +602
    น่าคิดมากครับมารอฟังผู้ทรงคุณหลายๆท่านอธิบาย ครับ ^^
     
  3. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 4 คน ( เป็นสมาชิก 4 คน และ บุคคลทั่วไป 0 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"></TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>วิษณุ12, ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก", Mr.Boy_jakkrit </TD></TR></TBODY></TABLE><!-- currently active users -->
    ผู้มารอลุ้น...
     
  4. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676
    นมัสการครับ

    ผมก็คิดเช่นนั้นแหละขอรับ และเข้าใจความหมายเหมือนอย่างนั้นด้วยครับ
    ทำไมโดนใจโดนตัวผมเองจังล่ะนั่นน่ะ..
    หรือว่าผมเข้าไปเอามันมาใส่ตัวเองหรืออย่างไรกันแน่ แต่มันก็จริงๆซะด้วยนะขอรับ


    แต่คิดอีกนัยนึง ถ้าหมายถึงทางโลกก็คงจะไ่ม่พ้นคำสุภาษิตที่ว่า "ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด"
    ยกตัวอย่างเช่น ไปเรียนเมืองนอกเมืองนา (ขอเล่นสำนวนหน่อยนะขอรับ) มาจบ ป.ตรี,โท,เอก ฯ
    สุดท้ายมาตายเพราะผู้ชาย/ผู้หญิง เพราะอกหัก ฯล น่ะขอรับ

    ส่วนทางธรรมก็ประมาณว่า..
    อ่านแต่ตำราเข้าใจแต่ในตำรา ยึดมั่นถือมั่นแต่ในตำราจนปัญญาตัวเองไม่เกิด
    คือปุุถุชนด้วยกันแ้ล้วมันแน่นอนครับใช้กระแนะกระแหน เสียดสีกัน แต่ไม่คิดว่าทางพระก็ใช้เหมือนกัน
    ผมก็เคยโดนแบบนี้มาเหมือนกันขอรับ

    ปล.นะขอรับ เป็นแค่ความคิดเห็นส่วนตัวผมเองครับ อาจจะไม่ใช่ซะเลยก็เป็นได้ครับ

    อนุโมทนาสาํธุครับ
     
  5. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 3 คน ( เป็นสมาชิก 3 คน และ บุคคลทั่วไป 0 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"></TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>วิษณุ12, Mr.Boy_jakkrit </TD></TR></TBODY></TABLE><!-- currently active users -->
    คุณบอย กำลังคิด รอหน่อย...คุณ ลีลาวดี
     
  6. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    อ้าว ตอบไม่ทันท่านบอย
     
  7. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    กราบนมัสการพระคุณเจ้าครับ<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ขอเสนอความคิดเห็นครับ.....<o:p></o:p>
    ยิ่งเรียนยิ่งโง่ ....ก่อนอื่น ขอให้ความหมาย สองคำนี้ครับ<o:p></o:p>
    สิกขติ คือ การศึกษา ทำด้วย การคิด การนึก หัดคิดหัดนึก ด้วยใจ <o:p></o:p>
    ปริยาปุณาติ คือ การเรียนด้วยกาย วาจา เช่น เย็บปักถักร้อย <o:p></o:p>
    ว่าโดยย่อ <o:p></o:p>
    การศึกษา คือ การฝึกกระทำด้วยจิต<o:p></o:p>
    การเรียน คือ การฝึกกระทำด้วยกาย วาจา <o:p></o:p>
    คราวนี้มาวิเคราะห์ ว่า ยิ่งเรียนยิ่งโง่กัน <o:p></o:p>
    ในกรณีที่1 จากที่กล่าวไปแล้ว ยิ่งเรียน คือ การกระทำด้วยทางกาย วาจา ไม่ได้ใช้ความคิด แต่จะมีการชำนาญในการกระทำด้วย กายและวาจา แต่ในด้านความคิดกลับไม่ได้พัฒนา แต่จะชำนาญในการกระทำทางกาย วาจา จึงไม่ได้มีการพัฒนาในด้านกระบวนการความคิดเอา อันนี้ วิเคราะห์ตามคำ ตรงตัว<o:p></o:p>
    คราวนี้ มาว่า ในแง่ ยิ่งเรียนยิ่งโง่ ถ้ามองในด้าน การฝึกกรรมฐาน<o:p></o:p>
    .... ก่อนอื่น ต้องเข้าใจคำว่าปัญญา กับ คำว่าฉลาด <o:p></o:p>
    ปัญญา หมายถึง การรู้แจ้งแทงตลอด<o:p></o:p>
    ฉลาด หมายถึง เข้าใจ ไหวพริบ ปฏิภาน ในกระบวนการคิดได้ รวดเร็วหรือน่าจะหมายถึง เร็วในการคิด (ความหมายของคำว่าฉลาดนี้ผมวิเคราะห์เอา หากดูไม่สมเหตุก็ขอขมาครับ)<o:p></o:p>
    ที่ว่าเรายิ่งเรียนยิ่งโง่ ..ในทางกรรมฐานนี้ เพราะเป็นการทำอย่างเดียว มีอะไรก็จะทำ ตั้งหน้าตั้งตาทำ เพราะเข้าใจว่า การปฏิบัติคือการทำ เลยได้แต่ทำ แต่หากเข้าใจว่า การปฏิบัติเป็นการทำให้รู้เฉพาะหน้า ก็จะเข้าใจได้ดีกว่า<o:p></o:p>
    เช่นว่า การฝึกกรรมฐาน ..ยิ่งเรียนยิ่งโง่นี้ .. ถ้าไปเข้าใจว่า <o:p></o:p>
    ไปปฏิบัติกรรมฐาน เวลานู้นเวลานี้ จึงเป็นเวลาปฏิบัติ เวลานี้ไม่ใช่เวลาปฏิบัติ เพราะเลือกเวลา ก็จะตรงกับความหมายว่ายิ่งเรียนยิ่งโง่ เพราะไม่เข้าใจในการเจริญปัญญา <o:p></o:p>
    และไม่รู้จักคำว่าปัญญาซักที<o:p></o:p>
    คำว่าปัญญาในพุทธศาสนา คือ เช่นว่า เรานั่งดูทีวีอยู่ เห็นละครเรื่องเศร้า สลับตลก ในระหว่างที่เราดูนั้นเกิดเป็นช่วงตอนหนังเศร้า แล้วเราดูแล้วเราเกิดอารมณ์เศร้าตาม แล้วกลับไปชำเรืองเห็นความเศร้าของตัวเอง เมื่อจิตมันชำเรืองเห็นว่าจิตเรามันเศร้าตามหนัง สติก็เกิด สัมปชัญญะก็ตามมา เกิดเป็นปัญญาในขณะจิตนั้นแล้ว 1 ขณะ เป็นวิปัสนาสมบูรณ์แบบ กรรมฐานได้จบลงอย่างถูกต้องไปแล้ว หรือตรงกับคำว่า ปฏิบัติแล้ว เพราะทำให้รู้เฉพาะหน้าอย่างชัดเจน <o:p></o:p>
    แต่หากยังไม่เข้าใจกับคำว่าปฏิบัตินี้ หรือวิปัสนานี้ ก็ไม่เกิดปัญญาได้ หรือ ที่เข้าใจกันว่าฉลาดขึ้นมาได้ (โดยคนส่วนมากไปเข้าใจฉลาดกับปัญญาว่าความหมายเหมือนกัน)<o:p></o:p>
    การเรียนหนังสือ หรือศึกษานั้น เป็นการใช้ความคิดด้วยกาย วาจา ใจ การกระทำด้วยกาย วาจา ใจ แต่ไม่ได้ หันมาดู ที่ใจตัวเอง ว่ากำลังทำอะไรอยู่ จึงไม่ได้เกิดปัญญาซักที เลยจะเป็นที่มาของ ยิ่งเรียนยิ่งโง่ ในแง่การฝึกกรรมฐาน เพราะไปเข้าใจกับการทำอย่างเดียว ก็จะตรงกับ ปรัชญาที่ว่า <o:p></o:p>
    ยิ่งทำกลับไม่ได้ธรรม พอหยุดทำกลับได้ธรรมนั่นเอง<o:p></o:p>
    ยิ่งเรียนยิ่งโง่ พอหยุดเรียน กลับฉลาด<o:p></o:p>
    ในอีกแง่หนึ่ง....ผู้เรียน นักปราช ย่อมเป็นผู้ ฉลาดในการคิด การพิจารณา วิเคาระห์ ซึ่งก้อยู่แต่ในกระบวนการคิด แต่ไม่เคยรู้ ว่าตัวเองกำลังคิด เลยเป็นที่มาของ ยิ่งเรียนยิ่งโง่ อีกนัยหนึ่ง .........เดี๋ยวคงมีมาตอบอีกครับพระคุณเจ้า<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
     
  8. Good_oom

    Good_oom เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    147
    ค่าพลัง:
    +562
    ....
     
  9. พระไตรภพ

    พระไตรภพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,067
    ค่าพลัง:
    +7,521
    สาธุ ขออนุโมทนาบุญกับการช่วยกันวิเคราะห์ให้คำตอบนะ แต่อย่าลืม สาเหตุ และ วิธีแก้ไข้ด้วยนะ สาธุ
     
  10. ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก"

    ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก" สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    223
    ค่าพลัง:
    +21
    กราบนมัสการคับพระคุณเจ้า...
    ...ก่อนอื่นต้องขอออกตัวก่อนนะคับ..ว่าผมไม่ใช่ผู้รู้อะไรมากมายนะคับ..
    เพียงแต่ว่ากระทู้ของพระคุณเจ้า น่าสนใจ...และ ที่พระคุณเจ้ากล่าวไว้ตอนท้ายว่า...

    "สำหรับอาตมาขอให้ความหมายว่ายิ่งเรียนยิ่งโง หมายถึง ความรู้มากจึงเกิดการสำคัญตัวเองขึ้นว่าข้าดีข้าเก่ง ไม่เคารพเชื่อฟังใครมีทิฐิมานะอัตตาตัวตนจัด ถือดี"

    ก็ถูกต้องในความหมายอยู่แล้วอ่ะคับ และก็เป็นความคิดเดียวกับผมด้วยอ่ะคับ..เพราะในทางธรรมคำว่า "โง่" คือความไม่รู้เท่าทันกิเลสตัวเองความรู้ตั้งมากมายที่เล่าเรียนมา.. สุดท้ายก็ยังทุกข์ แถมยังไม่รู้เหตุแห่งทุกข์นั้นอีก...
    ความรู้ที่ได้เล่าเรียนมาจึงไม่สามารถช่วยอะไรตัวเองให้พ้นทุกข์ได้เลย จึงตรงกับคำว่า "ยิ่งเรียนยิ่งโง่"...นี่คือว่าเห็นอะไรก็พิจารณาเป็น ..ธรรม..ก็จะเห็นธรรม คือธรรมดาของสัตว์โลก..ก็จะได้ความรู้สึกสงสาร ปลงสังเวช อย่างที่พระคุณเจ้ารู้สึก ช่วยให้จิต ถอดถอนจากความรู้สึก เป็นเราเป็นเขา ความยึดมั่นถือมั่นได้มากนะคับ...​

    ...ต่อข้อถามที่ว่าในความหมายของคำว่า ยิ่งเรียนยิ่งโง่นั้น ก็จริงที่พระคุณเจ้าว่าไว้ คนในทางโลกมักใช้คำๆนี้ไปในทาง กระแนะกระแหน..ประชดประชัน ว่ากล่าวให้ได้เจ็บช้ำน้ำใจ กันซะมากกว่า (นั้นก็ผิด ศีลข้อ 4 นะคับ)

    การเกิดขึ้นของคำว่าโง่มันเกิดมาได้อย่างไร...
    คำว่าโง่ ก็คือไม่ฉลาด...(อิอิมิได้กวนนะคับ)..ไม่ฉลาดคือไม่รู้...ไม่รู้คือ อวิชา...
    และเจ้าความไม่รู้เนี้ยนะคับ ไม่ได้เป็นที่มาของคำว่า "โง่"เท่านั้น ยังเป็นที่มาของคำว่า "กลัว" คือเป็นที่มาของความกลัว พอคนเราเกิดความกลัวขึ้น ...อุปทาน..ต่างๆก็เกิดขึ้น พลวงพ่อพุทธทาสบอกไว้ว่า..ความเชื่อประเพณีต่างๆที่ปฏิบัติสืบทอดกันมา มักจะมาจากความกลัว...ความกลัวยังก่อให้เกิดโรคต่างๆได้อีก เช่นโรคกลัวความสูง..(โรคกลัวความสูง..จริงๆก็อุปทานนั้นแหละคับ สร้างขึ้นมาในจิตตน)..
    ...อันนี้ วิเคราะห์ แบบมองในตัวเราเองนะคับ(มองแบบโยนิโสมนสิการ) ...และเห็นตามนั้นแล้วว่า ..."เราโง่" จริงๆ...แต่คนที่รู้ว่าตัวเอง โง่ ..ในความจริงมักจะไม่โง่...

    ...แต่ถ้าพิจารณาเข้ามาในตัวในเราแล้ว...เราเองก็ มีความอ่อนน้อมถ่อมตน...มีจิตใคร่รู้ใฝ่การศึกษาหาความรู้อยู่...ยิ่งเห็น อัตตาของผู้ที่กล่าวให้ร้ายเรา (แอบด่าว่าเราโง่ ..อิอิ)มองเห็นถึง จุดหมายของผู้กล่าวอยู่ว่า... มีเจตนาจะทำให้เราเจ็บช้ำน้ำใจ เราเองก็อโหสิ เถอะคับ...เพราะ แค่คำกล่าวหา...เราคงไม่โง่จริงไปตามคำกล่าวนั้นได้...แต่ถ้าเราไม่วาง..เราก็โง่จริง ตามคำกล่าวนั้นแหละ...เพราะเราไปตกหลุม ที่ผู้กล่าวต้องการ..ความเจ็บช้ำน้ำใจ ก็คงเกิดขึ้นดั่งเจตนาผู้กล่าวที่ต้องการ...เช่นนี้ สมแล้วที่จะบอกว่าเราโง่..จริงๆได้ใช่ไหมคับ? ^^...ถ้าเราพิจารณาได้เช่นนี้แล้ว...ก็แค่ภาษาสมมุติ ที่เอามาเรียกเท่านั้น...คงไม่สามารถทำให้เราโง่จริงได้ ถ้าจิตไม่ยึดมั่น ยึดติด..กับคำว่าโง่ แค่คำเดียว...

    ...บอกกล่าววิธีแก้ไข ว่าทำอย่างไรเรียนแล้วจึงจะไม่โง่ ...
    จริงๆแล้วก็เหมือนเส้นผมบังภูเขานะคับ...คนทุกคนคงแค่ คิดว่า.."ก็ไปเรียนสิ เรียนให้รู้ก็ไม่โง่แล้ว "แต่ในทางธรรม แค่นั้นคงไม่พอ..เพราะจิตเรา ชอบหลอกเราเอง.. และอย่างที่บอกว่า เรียนให้ จบดอกเตอร์ หรือ จบนักธรรมเปรียญธรรม 9 ประโยค..ก็ไม่ช่วยให้พ้นทุกข์ได้..ความผิดพลาดก็เกิดได้ทุกเวลาถ้า ..."ขาดสติ"..คือขาดความระลึกรู้ตัวอยู่ว่าสิ่งใดทำแล้วเกิดโทษเกิดทุกข์..เช่น รู้อยู่ว่าเขาว่าเราเพราะอยากให้เราเจ็บช้ำน้ำใจ...เราก็ยังเจ็บช้ำตามที่เขาอยากให้เป็น...หรือถ้าจะยกบาลีขึ้นกล่าว...ก็คือเมื่อเรียนสิ่งใดแล้วก็ต้องมี โยนิโสมนสิการคือ น้อมเอามาดูในตัวเรา...แล้วต้องมี โยนิโสฯโดยแยบคายด้วยนะคับ...อย่างไรเรียกว่า โยนิโสมนสิการโดยแยบคาย...คือการน้อมเอาเข้ามาในเราเฉพาะสิ่งที่มีประโยชน์แก่เรา...สิ่งใดที่ไม่ก่อประโยชน์เอาเข้ามาคิด ตรึกนึกแล้วเกิดโทษ เกิดอกุศล ทำให้จิตเศร้าหมอง เราก็ไม่ต้องเก็บเอามาให้มันบั่นทอนสุขภาพจิตของเรา ... รู้ว่า อันใหนควรวาง...อันไหนควรทำให้เจริญ..พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า ...ผู้ใดทำได้เช่นนี้ ความเดือดเนื้อร้อนใจก็จะไม่เกิดขึ้น...หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เบาบางลง....อันนี้ก็ว่ากันตามอรรถะตามบัญญ้ติทางภาษาที่มีการกล่าวเอาไว้นะคับ...
    ...แล้ววิธีแก้ ในทางปฏิบัติละ ทำอย่างไร.. ในทางปฏิบัติจริงในชืวิตจริงคือการทำสมาธิ...เจริญสติ...ศึกษาว่า..สติไหนเป็น สัมมาสติ.. หรือสติในขณะไหนเป็นสติแบบชาวบ้าน(สติแบบชาวบ้าน คือสติที่จมแช่ในอารมณ์) เพราะสติแบบชาวบ้าน นี่ขอยกตัวอย่างคำกล่าวหลวงพ่อปราโมทย์ ท่านบอกว่า... "เห็นทหารเดินสวนสนามไหม..นั้นนะมีสติไหม ก็ต้องมีใช่ไหมละ ทุกคนถึงก้าวเดินได้พร้อมกันเพราะทุกคนมีสติ..ใช่ไหม? ....แต่สติแบบนั้นนะ แก้ทุกข์ไม่ได้" เพราะไม่ใช่สัมมาสติ... แล้วสัมมาสติละเป็นอย่างไร ??...สัมมาสติ คือสติที่ระลึกรู้ แยกออกมาจากจิตที่ปรุงแต่งตามสิ่งที่เข้ามากระทบ คือสติ ที่แยกออกมาจากอารมณ์ต่างๆนั้นเอง...ซึ่งในทางปฏิบัติเอาแบบเบื้องต้นเลยนะคับ ...ก็คือเวลาที่เรานั่งสมาธิ บริกรรมพุทโธอยู่...จะเห็นว่า จิตเราอันหนึ่งก็ท่องพุทโธ พุทโธ... อีกจิตหนึ่งก็ คิดๆๆๆๆ ...นี่แหละคับ เราจะเห็นจิตเราเป็นสองดวง...จิตหนึ่งที่ท่อง พุทโธ นี่แหละสติ.. มันแยกออกมาจากจิตหนึ่งที่คิดๆนึกๆ ไปอดีตบ้าง อนาคตบ้าง...นี่คือเบื้องต้นให้รู้จัก สติกับจิต..นี่คือการฝึกสติในแบบ สมถะกรรมฐาน เพื่อให้ได้ความสงบเย็นสบาย...แต่ถ้า จะฝึกแบบในชีวิตประจำวัน ก็ฝึกดูตัวเผลอไงคับ ...ดูยังไงเหรอ...ก็ดูว่า เมื่อเรา เผลอนึกเผลอคิด โดยไม่ได้ตั้งใจคิด ... พอมีสติระลึกรู้ขึ้นมา..."เอ๊ะ" เมื่อกี้เผลอคิดอะไรไปนี่... ตรงที่รู้สึกตัว ขึ้นมานั้นแหละ สติ.. พอสติตัวนี้เกิดขึ้นมาเขาก็จะตัดตัวนึกตัวคิด...ดับ ทันที...นี่แหละคับ เอาง่ายๆๆ แค่นี้ก่อน...ถ้าพระคุณเจ้า...มีความเห็นอย่างไรก็จะได้แลกเปลี่ยนธรรม กันนะคับ ... ขอเน้นอีกทีนะคับว่า ผมไม่ใช่ ผู้รู้..แค่เข้าใจธรรมนิดหน่อยเท่านั้นเอง... และขออนุโมทนา ในกุศลจิตที่จะ พิมพ์แจกญาติโยมนะคับ ... มีอะไรช่วยได้ ผมก็ยินดีคับ(ถ้าไม่เกินกำลัง)...

    สาธุ สาธุ อนุโมทามิ [​IMG][​IMG][​IMG]
     
  11. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676
    สว่างไสวจังเลยกระทู้นี้...โง่มาตั้งนานแล้วเรา...




    อนุึโมทนาสาธุกับทุกคำตอบด้วยนะครับ
     
  12. พระไตรภพ

    พระไตรภพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,067
    ค่าพลัง:
    +7,521
    สาธุ ขออนุโมทนาด้วยหัวใจนะ อืม ยังมาช่วยกันอธิบายได้อีกนะ จะได้ดึงคนอื่นให้เข้าใจได้ด้วย ได้กุศลมากมาย สาธุ
     
  13. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    งั้นขอมั่ง

    ต้องขอนุญาติชี้จุดประสงค์สำคัญ

    พระที่เป็นผู้กล่าวว่า ยิ่งเรียนยิ่งโง่ แล้วเราอาจเข้าใจว่าพระท่านผิดศีล
    กระแนะกระแหนนั้น อาจไม่จริง

    เมื่อตั้งวัตถุประสงค์แบบนี้แล้ว ก็ขอชี้แจงดังนี้

    - มี นิวรณ์ ตัวหนึ่งชื่อ อุธธัจจะ เรียกอีกอย่างว่า ฝุ้งธรรม อาการที่เห็นคือ
    พูดธรรมะได้มาก ในเชิงลึกๆ คือเป็นการพูดธรรมะโดยออกมาจากส่วนของ
    สัญญาแบบปุถุชน ไม่ใช่ส่วนของสัญญาแบบพระที่ผุดออกมาเอง

    - หากเราปฏิบัติธรรมอย่างถูกต้อง ย่อมเป็นไปเพื่อความรำงับของ นิวรณ์
    ธรรมะที่แสดงจะเปลี่ยนจากสัญญาแบบปุถุชน เป็น สัญญาที่ถ่ายทอดออก
    มาจากส่วนของธรรม

    ดังนั้น ในมุมที่ว่า ยิ่งเรียนยิ่งโง่ โดยคำว่า โง่ นั้นหมายถึงสัญญาแบบปุถุชน
    นั้นหายไป ข้อนี้ถูกต้อง จึงไม่ใช่ประโยคกระแนะกระแหน แต่เป็นประโยคที่
    เป็นจริง แต่เรายังไม่เคยสัมผัสธรรมแบบถ่ายทอดออกมาจากธรรม จึงอาจตี
    ความไปตามความเข้าใจ กล่าวสั้นๆคือ ยิ่งโง่ หมายถึง อุธธัจจะเบาบางลง

    * * * *

    มีอีกมุมหนึ่ง ในแง่ของการปฏิบัติ หากเมื่อไหร่เริ่มทำสติปัฏฐาน หรือ ทำสมาธิ
    เมื่อทำไปแล้ว จะรู้ทันทีว่า หากเรายังเอาแต่บรรยายสิ่งที่เห็นในนิมิต มโนจิต จะ
    ทราบทันทีว่า นี่คือ วิตก วิจาร ไม่รำงับ ยังไม่อุเบกขา เมื่อไหร่ที่ วิตก วิจารรำงับ
    ถึงขั้นที่สุดที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ จะเห็นพ้องทันทีว่า ต้องโง่ ถึงจะเห็น ธรรม
     
  14. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    นั่น....
     
  15. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    มาดูในแง่ของนักปริยัติ เมื่อเวลาเสวนากับ นักปฏิบัติ

    คำว่ายิ่งเรียนยิ่งโง่นั้น เจตนาแท้ๆ คืออะไรกันแน่ ต้องการต่อว่า หรือ ต้องการ
    อนุเคราะห์ฝ่ายปริยัติกันแน่

    เพราะเป็นไปไม่ได้เลย ที่ฝ่ายปริยัติที่ไม่เคยปฏิบัติ เมื่อได้ยินคำนี้แล้วจะไม่รู้
    สึกมีโทษะ หรือ อย่างน้อยก็เกิดโมหะ คือ ถ้าไม่พออกพอใจที่ได้ยิน ก็ต้องหงอย
    จ๋อยเศร้าสร้อย

    คนที่เกิดโทษะ ก็เพราะมีความชอบใจที่จะอ่านอยู่ ยังละไม่ได้ ยังเห็นความสุข
    ยึดติดรสสุขในการได้อ่าน ได้ศึกษา ได้รักษาคำบาลี และอักขระวิถีไว้ แต่ถ้าเป็น
    คนที่หมั่นสังเกตอยู่บ้าง พอมีอินทรีย์อยู่บ้าง พระสายปฏิบัติอาจเล็งเห็นการยึดนี้
    หากมีมากพอ ก็จะพูดคำนี้อนุเคราะห์เข้ามา เพื่อให้จิตเคลื่อนออกจากการยึด

    ตอนที่จิตเคลื่อนออกจากการยึด จิตจะไหวให้เห็น อินทรีย์ที่มีพร้อมอยู่ อาจเล็ง
    เห็นจิต เมื่อจิตเห็นจิต ก็สามารถแจ้งอริยะสัจจได้ เพราะผลอันเกิดจากจิตเห็นจิต
    เป็นมรรค จิตที่เห็นจิตคือนิโรธน ตามคำสอนของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล

    เช่นกัน

    สำหรัยคนที่มีโมหะ เมื่อได้ยินคำอนุเคราะห์แล้ว จ๋อย เศร้าหมอง สลด
    แบบนี้ยิ่งดีใหญ่หากมีอินทรีย์ที่จะเห็นจิต เพราะถ้าเห็นจิตได้ในสภาวะ
    จิตเคลื่อนอยู่ที่การมีโมหะ และไม่มีโมหะ ตรงนี้คือส่วนต้นรากของกิเลส
    ก็จะทำให้มีกำลังแรงในการเห็นจิตได้แจ่มแจ้งกว่ากรณีเห็นโทษะมูลจิต
    เพราะคนทีสลด อัตตาจะเบาบางกว่าคนที่อาการไม่พอใจ

    ในทางปริยัติก็คือ พระอานนท์ได้กล่าวถึงบุคคลผู้บรรลุธรรม นอกจากจะ
    มีพวกฌาณนำหน้า ปัญญานำหน้า และฌาณและปัญญาควบกันไป ก็ยังมี
    อีกกลุ่มคือ พวกอุธธัจจะรำงับ ( ตรงนี้พระอรรกถาจารย์ในระดับอภิธรรม
    ให้ความจำกัดเฉพาะชั้นอนาคามี แต่ในพระไตรปิฏกไม่ได้ระบุไว้อย่างนั้น

    ก็ขอแสดงเป็นข้อสังเกตเท่านั้น )

    * * *

    ดังนั้น ไม่ว่ามุมไหน พระท่านที่ยกกล่าว ยิ่งเรียนยิ่งโง่ อาจจะไม่ได้ก่อกรรม
    อกุศลอย่างที่มองได้แบบเผินๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 ธันวาคม 2008
  16. eddy1965

    eddy1965 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    369
    ค่าพลัง:
    +475
    กราบนมัสการพระคุณท่าน

    ในเมื่อให้โอกาสเช่นนี้ ก็ไม่ขออ้อมค้อมละ ผู้คงแก่เรียน (นักการศาสนา)

    ผู้คงแก่เรียน แก่พรรษา รู้แต่ปริยัติ แต่ปฏิบัติยังไม่เข้าถึงแก่น
    ผู้คงแก่เรียน มักใช้ภาษาและศัพท์แสงสูงๆ จนเลิศลอย ประเภทชาวบ้านฟังไม่รู้เรื่อง
    ผู้คงแก่เรียน มักยกตนเองว่าเป็นผู้เหนือคน เข้าใจรสพระธรรมอย่างลึกซึ้งกว่าใครๆ
    ผู้คงแก่เรียน ยังไม่เข้าถึงความเป็นอริยะศาสตร์ แต่มักชอบอวดว่าตนเป็น
    ผู้คงแก่เรียน ทำให้ธรรมห่างไกลประชาชนเข้าไปทุกทีๆ
    ผู้คงแก่เรียน ปรุงแต่งธรรมจนสุดกู่
    ผู้คงแก่เรียน เก่งแต่โน้มน้าว และชี้นำ แต่ตนไม่สามารถบรรลุมรรคผลได้
    ผู้คงแก่เรียน มักชอบดูถูกคนที่มีสภาวะธรรมที่ต่ำกว่า ทั้งๆ ที่ตนก็ทำไม่ได้เหมือนเขา

    สรุปความได้ว่า ผู้คงแก่เรียน ยิ่งเรียนก็ยิ่งโง่

    แบบว่าต้องจับมาตบๆๆๆๆๆ แล้วก็ประนาณว่า !!!
    เด็กโง่เอย เจ้านี้ช่างไม่รู้ปะไรเสียเลย สิ่งที่เจ้ารู้เจ้าคิดนะ มันชิวๆ
    ของแท้นะ พูดน้อยแต่ทำเก่งโว้ย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 ธันวาคม 2008
  17. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    นมัสการพระคุณเจ้าค่ะ

    พอได้ยินคำว่า ยิ่งเรียน ยิ่งโง่
    จิตมันนึกคิดไปต่างๆนา ก็ฟุ้งซ่านออกมาพอได้ความว่า

    ก่อนที่จะเรียนรู้เรื่องโลกๆ(ความจำสัญญา ความรู้จากอ่านจำ) ก็มักจะถ่อมตัวว่ามีความรู้น้อย
    ไม่กล้าพูดคุยแสดงความเห็นกับใคร พออ่านมากรู้มาก ก็เริ่มมีอัตตามากตาม เอาความจำมาเป็นความรู้
    แล้วก็ยึดเป็นทิฏฐิตน พอมีใครเห็นไม่เหมือนตน อัตตาจึงแสดงตัวตน แสดงความโง่ ออกมาว่ามีแต่อัตตา
    สรุปว่า เรียนรู้สิ่งใด แล้วอัตตาเพิ่ม ก็กลายเป็น ยิ่งเรียน ยิ่งโง่

    แต่มีอีกอย่างหนึ่ง ยิ่งเรียน ยิ่งรู้ว่าตัวเองโง่
    ยิ่งเรียน ยิ่งรู้ทันกิเลสตน ยิ่งเรียน ยิ่งรู้กิเลส มีอัตตากำเริบก็รู้ทัน อันนี้ ยิ่งเรียน ยิ่งรู้ว่าเราโง่เป็นทาสกิเลส
    ยิ่งเรียน ยิ่งรู้จักตัวเอง รู้ทันตัวตน ยิ่งรู้ว่าตัวเองโง่ หลงไปเป็นทาสกิเลส อีกแระ
     
  18. พระไตรภพ

    พระไตรภพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,067
    ค่าพลัง:
    +7,521
    สาธุ พอดีเรื่องนี้มันมีสาเหตุอื่นๆมาก แต่ไม่ได้เล่า เรื่องเจตนาของผู้กล่าวนั้นเป็นเช่นใดไม่ขอวิจารณ์ไปให้เกิด อคติต่อกัน แต่มุ่งหวังให้ช่วยกันอธิบายคำว่า

    ยิ่งเรียนยิ่งโง เพราะจะได้ช่วยคนที่เรียนแล้วโง่ให้เข้าใจอีกต่อหนึ่ง เป็นบุญอย่างใหญ่หลวงนักที่นำผู้หลงผิดให้หลุดพ้นได้สาธุ

    ขออนุโมทนากับทุกๆท่านด้วยใจนะ
     
  19. x:xน่oe

    x:xน่oe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    95
    ค่าพลัง:
    +112
    โรงเรียนเรา เคยมีวันนึง เข้าแถวตอนเช้า "ช่วงคติธรรม นำชีวิตสำหรับวันนี้"

    ประโยคภาษาอังกฤษ......ยิ่งเรียน ยิ่งโง่ นักเรียนฮือฮากันใหญ่เลย

    ในความคิดเรา ก็คือ เรายิ่งเรียนสูงเท่าไหร่ มันก็มีเรื่องมีเนื้อหามากมายที่เราไม่รู้

    เหมือนยิ่งเรียน ก็ยิ่งรู้ว่าเราโง่อยู่ เพราะว่าเรามีอะไรไม่รู้มากมาย
     
  20. ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก"

    ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก" สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    223
    ค่าพลัง:
    +21
    ...
    สาธุคับ พระคุณเจ้ากล่าวชอบแล้วคับ..
    เรื่องของการผิด ศีลนั้น ก็ต้องดูเจตนาประกอบด้วย...ผมจึงไม่อธิบายอะไรมากนักในส่วนนี้ ...เพราะ ประโยชน์นั้นมี น้อยและ ไม่ใช่ประเด็นที่พระคุณเจ้าได้ ตั้งเป็นกระทู้ไว้...และที่ว่าประโยชน์มีน้อย ก็เพราะว่าเราไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์วิพากษ์วิจารณ์ออกไป จิตคิดฟุ้งไปเสียเปล่าๆ ...คือ คิดนึกเอาเองแทนผู้อื่น..การคิดแทนผู้อื่น..จึงได้ชื่อว่า ประโยชน์มีน้อย...และผมกล่าวไว้ชัดเจนว่า
    มิบังอาจจาบจ้วง สงฆ์ผู้เป็นอาจารย์สอนกรรมฐาน..กรรมจะติดตัวผมซะเปล่าๆ อิอิ
    ....
    และจากกระทู้ที่แล้ว ผมอาจจะจบ สั้นไปนิด ด้วยรีบพิมฑ์ เพราะจะ กลับบ้าน
    เลยเข้ามา ต่อให้อีกนิดแบบ
    สรุปว่า...การเจริญสติ เป็นวิธีแก้ให้การเล่าเรียนนั้นไม่โง่ได้อย่างไร...
    ซึ่งในทางธรรมนั้นผมว่าเพื่อนนักปฏิบัติ คงเห็นด้วยแน่นอน...แต่ผู้ไม่เคยฝึกไม่เคยปฏิบัติละ...การฝึกสติ ก็จะช่วยให้ความจำในการอ่านตำราต่างๆมีความจำดี ขึ้น..เพราะ สติที่ฝึกดี ย่อมนำมาซึ่งสมาธิ...สมาธิดี ประกอบการงาน หรือ เรียนหนังสือย่อมทำได้ดีตามไปด้วย ยิ่งผู้ที่ฝึกสติจนตามรู้เท่าทันอารมณ์ของตัวเอง ย่อมระงับอารมณ์ ควบคุมอารมณ์ได้ดีกว่าผู้ไม่ได้ฝึก หรือที่ในทางโลกเรียกว่า..."EQ" นั้นเอง จึงนับได้ว่า การฝึกเจริญสตินั้น มีแต่ได้ประโยชน์ ทั้งทางโลกและทางธรรม...

    <label for="rb_iconid_30">[​IMG]</label><label for="rb_iconid_30">[​IMG]</label>
     

แชร์หน้านี้

Loading...