พระราชกรณียกิจด้านการรบของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย TupLuang, 14 ตุลาคม 2008.

  1. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    [​IMG]
    [​IMG][​IMG]
    เมื่อปี พ.ศ. 2308 พระเจ้ามังระกษัตริย์พม่า ส่งทัพพม่ามากระหนาบกรุงศรีอยุธยา 2 ทาง
    ทัพที่มาจากทางเหนือตั้งที่ปากน้ำประสบ ส่วนที่มาจากทางใต้ตั้งที่ทุ่งภูเขาทอง
    ในระยะแรกที่พม่าเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยา เสบียงอาหารยังบริบูรณ์แต่พม่าได้วางแผนตัดเส้นทางส่งเสบียงจากภายนอก
    เพื่อให้กรุงศรีอยุธยาอ่อนกำลังจนไม่สามารถเป็นที่พึ่งแก่หัวเมืองขึ้นของพม่าได้อีกต่อไป

    สมเด็จพระเจ้าตากสิน ซึ่งขณะนั้นได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองตาก เมื่อได้ข่าวพม่าล้อมกรุงได้นำทัพลงมาสมทบ
    เสริมกำลังป้องกันกรุงศรีอยุธยา คุมไพร่พลอยู่ใกล้วัดป่าแก้วหรือวัดใหญ่เพื่อป้องกันไม่ให้พม่ายกทัพเข้าเมือง
    แต่สถานการณ์ภายในกองทัพเลวร้ายลงเรื่อยๆ ข้าราชการ ทหาร ทั้งแม่ทัพนายกองและไพร่พล
    ต่างพากันละทิ้งหน้าที่หนีเอาตัวรอดกันโกลาหลทำให้เกิดความสับสนวุ่นวายขึ้น

    กองทัพพม่าล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่ประมาณ 2 ปี พระยาตากคาดการณ์ว่ากรุงศรีอยุธยาคงจะต้องแตกแน่
    เพราะกำลังหนุนของพม่านั้น ใหญ่หลวงนัก ประกอบกับทัพพระยาตากขาดแคลนเสบียงอย่างหนัก
    ถ้าสู้รบต่อไปก็เท่ากับพาทหารไปตายโดยไร้ประโยชน์ จึงได้วางแผนตีฝ่าวงล้อมพม่า
    เพื่อไปสะสมเสบียงอาหารกำลังคนและอาวุธยุทโธปกรณ์เพื่อกลับมากอบกู้กรุงศรีอยุธยา

    ในวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 4 ค่ำ จ.ศ. 1128 ตรงกับวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2310
    พระยาตากรวบรวมไพร่พลทั้งไทยจีนได้ประมาณ 500 คน ตีฝ่าวงล้อมพม่ามุ่งไปยังหัวเมืองชายทะเลตะวันออก
    ที่ยังปลอดภัยจากอิทธิพลพม่าและเป็นศูนย์กลางการติดต่อกับหัวเมืองสำคัญอื่นๆ ของราชอาณาจักร
    รวมทั้งเหมาะสมที่จะใช้เป็นฐานยุทธศาสตร์เพื่อนำกำลังทัพกลับมากอบกู้กรุงศรีอยุธยา

    [​IMG]
    [​IMG][​IMG]
    หลังจากที่พระยาตากพาไพร่พลตีฝ่าวงล้อมพม่า มุ่งไปยังหัวเมืองชายทะเลด้านตะวันออกประมาณ 3 เดือน
    พม่าก็เข้ายึดกรุงศรีอยุธยาได้ในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2310 พม่าจุดไฟเผาเมืองจนวอดวาย
    พระเจ้ามังระกษัตริย์พม่ามีพระบรมราชโองการให้ทำลายทุกอย่างให้ย่อยยับ แล้วให้จับพระเจ้าแผ่นดิน พระบรมวงศานุวงศ์
    และรวบรวมสมบัติทั้งหมดของอยุธยาส่งกลับไปพม่า ข่าวกรุงแตกได้แพร่กระจาย ขณะที่พระยาตากอยู่ที่เมืองระยอง
    พระยาตากจึงได้ประกาศตนเป็นผู้นำในการที่จะฟื้นฟูพระพุทธศาสนาและกอบกู้กรุงศรีอยุธยาให้กลับรุ่งเรืองดังเดิม
    บรรดาแม่ทัพนายกองที่สวามิภักดิ์ต่างพร้อมใจกันยกพระยาตากขึ้นเป็นผู้นำขบวนการกอบกู้แผ่นดิน
    และเรียกพระยาตากว่า เจ้าตาก นับตั้งแต่นั้นมาเจ้าตากได้นำไพร่พลทั้งไทยและจีนเดินทางต่อไปยังฝั่งทะเลด้านตะวันออก
    รอเวลาที่จะกอบกู้แผ่นดินจากพม่า ทุกขั้นตอนของแผนกอบกู้เอกราชล้วนแสดงถึงพระอัจฉริยภาพในด้านยุทธวิธีทางทหาร
    ทั้งทางบกและทางน้ำของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

    เส้นทางเดินทัพของพระยาตาก

    พระยาตากพาไพร่พลตีฝ่าวงล้อมของทัพพม่าออกจากกรุงศรีอยุธยามุ่งตรงไปยังบ้านโพธิ์สังหาญ หรือ โพธิ์สาวหาญ
    รุ่งเช้าได้ต่อสู้กับกองทหารพม่า ทหารไทยฆ่าฟันทหารพม่าล้มตายแตกหนีไปพระยาตาก จึงนำทหารเดินทางต่อ
    และไปตั้งค่ายพักอยู่บ้านพรานนก ให้พวกทหารไปเที่ยวหาอาหาร มาเลี้ยงกัน ขณะนั้นมีทหารพม่ากองหนึ่ง
    ซึ่งมีทหารม้าประมาณ 30 คน ทหารเดินเท้าประมาณ 200 คน เดินทาง มาจากแขวงเมืองปราจีนบุรี
    สวนทางมาพบทหารพระยาตากที่เที่ยวหาเสบียงอาหาร ทหารพม่าก็ไล่จับและติดตามมายังบ้านพรานนก
    พระยาตากจึงให้ทหารแยกออกซุ่มสองทาง ตนเองขึ้นขี่ม้าพร้อมกับทหารอีก 4 คน ควบตรงไปไล่ฟันทหารม้าพม่า
    ทหารพม่าไม่ทันรู้ตัวตกใจถอยกลับไปปะทะกับทหารเดินเท้าของตนเองเกิดการอลหม่าน

    ทหารไทยที่ซุ่มอยู่สองข้างจึงแยกเป็นปีกกาตีโอบทหารพม่าไว้สองข้าง แล้วไล่ฟันทหารพม่าล้มตายและแตกหนีไป
    พวกราษฎรที่หลบซ่อนพม่าอยู่ ครั้นเห็นพระยาตากรบชนะพม่าก็ดีใจพากันเข้ามาสมัครเป็นพรรคพวก
    พระยาตากจึงให้ราษฎรเหล่านั้นไปเกลี้ยกล่อมหัวหน้านายซ่องมาสวามิภักดิ์ นำช้าง ม้าพาหนะและเสบียงอาหารมามอบให้
    นายซ่องใหญ่ที่ไม่ยอมอ่อนน้อมก็ถูกปราบปรามจนราบคาบริบพาหนะ ผู้คน ช้างม้า และศาสตราวุธได้เป็นจำนวนมาก

    หลังจากนั้นพระยาตากจึงยกกองทหารไปทาง นาเริง เมืองนครนายก ผ่านด่านกบแจะ ข้ามลำน้ำปราจีนบุรี
    ไปตั้งพักอยู่ชายดงศรีมหาโพธิ์ข้างฝั่งตะวันออก พม่าที่ตั้งทัพอยู่ปากน้ำเจ้าโล้ใต้เมืองปราจีนบุรียกพลตามมา
    พระยาตากก็นำทหารไล่ติดตามฆ่าฟันทหารพม่า ล้มตายลงเป็นจำนวนมากที่เหลือก็หนีแตกกระจัดกระจายไป
    นับแต่นั้นมา พม่าก็มิได้ติดตามกองทัพพระยาตากอีกต่อไป พระยาตากได้ยกกองทัพผ่านเมืองฉะเชิงเทรา ชลบุรี
    แล้วจึงเดินทางต่อไปยังบ้านนาเกลือ แขวงเมืองบางละมุง

    เมื่อถึงเมืองระยองเจ้าเมืองระยองซึ่งได้ยินกิติศัพท์ของพระยาตากก็ยอมอ่อนน้อมเชิญให้เข้าเมือง
    พระยาตากใช้เวลาไม่ถึงเดือนนับจากตีหักออกจากกรุงศรีอยุธยาก็ยึดเมืองระยองเป็นที่มั่นได้
    ความสามารถของพระยาตากในการรวบรวมคนไทยได้เป็นจำนวนมากเช่นนี้
    แสดงถึงศักยภาพของพระยาตากที่มีเหนือกลุ่มอื่นๆในการกอบกู้กรุงศรีอยุธยา

    [​IMG]
    [​IMG]
    พระยาตากเดินทัพจากระยองผ่านแกลงเข้าบางกระจะ มุ่งยึดจันทบุรีซึ่งเป็นเมืองใหญ่
    เพื่อใช้เป็นฐานกำลังฟื้นฟูขวัญของไพร่พล เจ้าเมืองจันทบุรีไม่ยอมสวามิภักดิ์
    พระยาตากจึงต้องใช้จิตวิทยาในด้านการรบมาใช้กับแม่ทัพนายกองเพื่อต้องการรบให้ชนะ
    โดยสั่งให้ทุบหม้อข้าวหม้อแกงหมายไปกินอาหารมื้อเช้าในเมือง ถ้าตีเมืองไม่ได้ก็ต้องอดตาย

    ครั้นถึงเวลาค่ำ พระยาตากจึงได้สั่งให้ทหารไทยจีนลอบเข้าไปอยู่ตามสถานที่ที่ได้วางแผนไว้แล้ว
    ให้คอยฟังสัญญาณเข้าตีเมืองพร้อมกัน มิให้ส่งเสียงจนกว่าจะเข้าเมืองได้จึงให้โห่ขึ้นให้พวกอื่นรู้
    พอได้ฤกษ์เวลา 3 นาฬิกา เจ้าตากก็ขึ้นคอช้างพังคีรีบัญชร ให้ยิงปืนสัญญาณบอกพวกทหารเข้าตีเมืองพร้อมกัน
    ส่วนพระยาตากก็ไสช้างเข้าพังประตูเมืองชาวเมืองที่ประจำการอยู่ก็ยิงปืนใหญ่เข้าใส่
    นายท้ายช้างเกรงว่าพระยาตากจะถูกยิงจึงเกี่ยวช้างให้ถอยออกมา พระยาตากชักดาบออกมา
    จะฟันนายท้ายช้างจึงได้ขอชีวิตไว้ แล้วไสช้างเข้าชนทำให้บานประตูเมืองพังลง
    ทหารพระยาตากจึงกรูกันเข้าเมืองได้พวกชาวเมืองต่างพากันละทิ้งหน้าที่หนีไป

    ส่วนพระยาจันทบุรีก็พาครอบครัวลงเรือหนีไปยัง เมืองบันทายมาศ พระยาตากตีเมืองจันทบุรีได้
    ณ วันอาทิตย์ เดือน 7 แรม 3 ค่ำ จุลศักราช 1129 ปีกุน นพศก เพลา 3 ยามเศษ
    ตรงกับวันที่ 15 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2310 หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแล้ว 2 เดือน

    เมื่อยึดเมืองจันทบุรีได้แล้ว พระยาตากได้เคลื่อนทัพไปยังเมืองตราด พวกกรมการและราษฎรเกิดความเกรงกลัว
    ต่างพากันมาอ่อนน้อมโดยดี ที่ปากน้ำเมืองตราดมีเรือสำเภาจีนมาทอดทุ่นอยู่หลายลำ พระยาตากได้เรียกนายเรือมาพบ
    แต่พวกจีนนายเรือขัดขืนต่อสู้ พระยาตากจึงลงเรือรบ คุมกองเรือไปล้อมสำเภาจีนเหล่านั้น
    ได้ทำการต่อสู้กันอยู่ประมาณครึ่งวัน พระยาตากก็ยึดสำเภาจีนไว้ได้หมดได้ทรัพย์สินสิ่งของมาเป็นจำนวนมาก

    เป็นที่น่าสังเกตว่าเรือรบไทยสมัยนั้นมีขนาดพอๆกับเรือยาวที่ใช้แข่งตามแม่น้ำ
    เมื่อสามารถเข้าตียึดเรือสำเภาขนาดใหญ่ที่ใช้เดินทะเลและมีปืนใหญ่ประจำเรือด้วยได้นั้น
    แสดงว่าแม่ทัพเรือและทหารเรือจะต้องมีความสามารถมาก

    [​IMG]
    [​IMG]
    หลังจากนั้นพระยาตากได้เดินทางจากตราดกลับมาตั้งมั่นรวบรวมผู้คนอยู่ที่เมืองจันทบุรี เพื่อวางแผนปฏิบัติการรบ
    เพื่อยึดกรุงศรีอยุธยาคืนจากข้าศึก พร้อมกับสั่งให้ต่อเรือรบและรวบรวมเครื่องศัตราวุธ ยุทธภัณฑ์
    ได้ใช้เวลา 3 เดือนในการฝึกไพร่พลให้พร้อมที่จะปฏิบัติการ เมื่อสิ้นฤดูมรสุมซึ่งเป็นฤดูน้ำหลากที่กรุงศรีอยุธยา
    ได้เคลื่อนทัพโดยเลือกเส้นทางน้ำ เนื่องจากการยกกองทัพโดยใช้เส้นทางบกจะล่าช้า ทหาร จะเหนื่อยล้า
    และพม่าอาจทราบข่าวการเคลื่อนทัพก่อนที่กองทัพไทยจะถึงอยุธยา ทำให้พม่ารู้ตัวและอาจรวบรวมกำลังต่อสู้ได้ทันท่วงที
    อีกประการหนึ่งทหารพม่าชำนาญแต่การรบบนบกและที่สำคัญคือพม่าไม่มีเรือรบ

    ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2310 พระยาตากได้ยกกองทัพเรือจากจันทบุรีเข้ามาทางปากแม่น้ำเจ้าพระยา
    แล้วเข้าโจมตีข้าศึกที่เมืองธนบุรี (เมื่อพม่ายกทัพมาถึงชานกรุงศรีอยุธยาได้ยึดเมืองธนบุรีไว้ก่อนที่จะเข้าล้อม กรุงศรีอยุธยา
    พม่าให้คนไทยชื่อ นายทองอิน รักษาเมืองไว้เป็นเมืองหน้าด่าน)
    เมื่อพระยาตากยึดเมือง ธนบุรีและปราบนายทองอินได้แล้ว จึงเคลื่อนทัพต่อไปที่กรุงศรีอยุธยา เข้ายึดค่ายโพธิ์สามต้น
    ปราบพม่าจนราบคาบโดยที่พม่าไม่ทันรู้ตัวและไม่ทันวางแผนต่อสู้ จึงสามารถกอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนมา
    เมื่อวันศุกร์ เดือน 12 ขึ้น 15 ค่ำ จุลศักราช 1129 ปีกุน นพศก เวลาบ่ายโมงเศษ
    ซึ่งตรงกับวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2310 ใช้เวลาเพียง 7 เดือนหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยา

    [​IMG]
    [​IMG]
    หลังจากที่กรุงศรีอยุธยาซึ่งเจริญรุ่งเรืองมากว่า 400 ปี ถูกทำลายลงอย่างย่อยยับ เจ้าเมืองใหญ่ๆต่างพากันตั้งตัวเป็นเจ้า
    และควบคุมหัวเมืองใกล้เคียงไว้ในอำนาจที่สำคัญได้แก่ เจ้าพระยาพิษณุโลก เจ้าพิมาย เจ้าพระยานครศรีธรรมราช
    และเจ้าพระฝาง ในการฟื้นฟูพระราชอาณาจักร สมเด็จพระเจ้าตากสินจำเป็น ต้องทำการปราบปรามนายชุมนุมเหล่านี้
    เพื่อขยายอำนาจ ปกครอง ให้ไปถึงยังดินแดนที่เคยเป็นของพระราชอาณาจักรมาก่อน
    เพื่อ "มีพระราชอาณาเขตปกแผ่ไปเป็นแผ่นดินเดียว"

    การทำสงครามเพื่อปราบชุมนุมเหล่านี้เริ่มขึ้นหลังพระราชพิธีปราบดาภิเษก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2311 จนถึง พ.ศ. 2314

    [​IMG]
    [​IMG]
    ศึกพม่าที่บางกุ้ง เขตเมืองสมุทรสงคราม ในปี พ.ศ. 2310

    นับเป็นการศึกครั้งแรกในสมัยกรุงธนบุรี เนื่องมาจากทางพม่าทราบข่าวว่ามีคนไทยตั้งตัวเป็นใหญ่
    จึงสั่งให้เจ้าเมืองทวายเข้าสืบข่าวเพื่อที่จะกำจัดเสีย สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงรู้ข่าว
    จึงโปรดให้จัดกองทัพไปขับไล่กองทัพพม่า - มอญ ทหารพม่าเป็นฝ่ายแพ้ต้องถอยทัพกลับทางเมืองทวาย
    โดยทหารไทยสามารถยึดเรือรบอาวุธและเสบียงอาหารของพม่าไว้ได้

    ศึกพม่าที่บางแก้ว ในปี พ.ศ. 2317

    เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงรู้ข่าวว่าพม่ายกพลตามพวกมอญที่หนีเข้ามาในเขตไทย
    จึงโปรดเกล้าฯให้ยกทัพมุ่งตรงไปยังราชบุรี โดยทรงบัญชาการทัพด้วยพระองค์เอง
    ทรงตั้งค่ายล้อมค่ายพม่าและลอบตี ตัดทางลำเลียงเสบียงอาหาร โดยได้กำลังสนับสนุนจากพระยายมราช
    ในที่สุดพม่าจึงต้องยอมแพ้ ชัยชนะในครั้งนี้ส่งผลให้ผู้คนที่หลบซ่อนตามที่ต่างๆ เข้ามาสวามิภักดิ์เป็นจำนวนมาก
    เนื่องจากหมดความกลัว เกรงพม่า นับเป็นสงครามแบบจิตวิทยาโดยแท้

    ศึกตีเวียงจันทน์ ในปี พ.ศ. 2321

    พระวอ เสนาบดีเมืองเวียงจันทน์ มีเรื่องขัดแย้งกับเจ้าสิริบุญสารซึ่งเป็นเจ้าเมือง จึงเข้ามาพึ่งเจ้าเมืองจำปาศักดิ์
    ซึ่งขึ้นต่อสมเด็จพระเจ้าตากสิน แต่เมื่อไทยยกทัพกลับไป เจ้าสิริบุญสารได้ให้คนมาฆ่าพระวอ
    สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึกและพระยาสุรสีห์ยกกองทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์
    โดยได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าเมืองหลวงพระบาง ทัพไทยล้อมอยู่นาน 4 เดือน
    พระเจ้ากรุงศรีสันตนาคนหุตจึงหลบหนีไป ทัพกรุงธนบุรีจึงตีได้เวียงจันทน์ หลวงพระบาง และล้านช้าง ทั้งหมด
    พร้อมกับได้อัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบางมาประดิษฐานที่กรุงธนบุรีในคราวนี้ด้วย

    [​IMG]
    [​IMG][​IMG]
    การปกป้องแผ่นดินเป็นพระราชกรณียกิจที่สมเด็จพระเจ้าตากสิน ได้กระทำตลอดพระชนม์ชีพ
    ซึ่งนอกจากการต่อสู้เพื่อรวมแผ่นดินแล้ว ยังต้องป้องกันหัวเมืองชายแดนอีกด้วย

    การป้องกันหัวเมืองชายแดน

    ตลอดรัชสมัย สมเด็จพระเจ้าตากสินต้องทรงทำสงครามกับพม่าถึง 8 ครั้ง แต่ด้วยพระอัจฉริยะภาพทางยุทธวิธี
    และความเชี่ยวชาญในการรบของทหาร จึงทำให้ทัพไทยรบชนะพม่าทุกครั้ง เช่น

    พ.ศ. 2310 ทรงตีค่ายพม่าที่โพธิ์สามต้น สามารถยึดกรุงศรีอยุธยาคืนได้ ทำให้ไทยเป็นเอกราช
    ในปีเดียวกันนั้นไทยรบกับพม่าที่บางกุ้ง สมุทรสงคราม พม่าแพ้ต้องถอยทัพกลับมาเมืองทวาย
    ไทยยึดเรือรบของพม่า ตลอดจนอาวุธและเสบียงอาหาร ได้เป็นจำนวนมาก

    พ.ศ. 2317 สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงยกทัพไปตีพม่าที่เชียงใหม่เป็นครั้งที่ 2 สามารถขจัดอิทธิพลของพม่า
    จากแผ่นดินล้านนา ยกเว้นเชียงแสน

    การขยายอาณาเขต

    พระราชอาณาจักรไทยในสมัยกรุงธนบุรี ขยายออกกว้างขวางกว่าสมัยอยุธยามาก ทั้งนี้เพราะได้เมืองพุทไธมาศ
    และกัมพูชาเข้ามาไว้ในราชอาณาเขตด้วย

    พ.ศ. 2319 ไทยได้อาณาเขตลาวใต้ มีนครจำปาศักดิ์ สีทันดร ดินแดนเขมรป่าดงแถบเมืองสุรินทร์
    เมืองสังขะและเมืองขุขันธ์

    พ.ศ. 2321 ทัพไทยตีหัวเมืองรายทางไปจนถึงเวียงจันทน์ ได้เมืองเวียงจันทน์ หลวงพระบาง
    ครั้นเสร็จศึกก็ได้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระแก้วมรกตกลับมาไว้ที่กรุงธนบุรีในปีนั้นด้วย

    การศึกสงครามดังกล่าวนี้ ส่งผลให้พระราชอาณาจักรไทยเป็นเอกราชและมีความมั่นคงสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน

    อาณาเขตประเทศไทยในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

    ในสมัยกรุงธนบุรีได้มีการรวบรวมหัวเมืองต่างๆ เข้ามาในพระราชอาณาจักร ได้แก่
    ธนบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี ลพบุรี อุทัยธานี นครสวรรค์ ฉะเชิงเทรา นครนายก ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด
    นครชัยศรี นครปฐม สุพรรณบุรี ราชบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี กาญจนบุรี และประจวบคีรีขันธ์

    สมเด็จพระเจ้าตากสิน ได้ทรงต่อสู้เพื่อขยายพระราชอาณาจักรเกือบตลอดรัชกาล
    อาณาเขตของประเทศไทยในสมัยนั้น มีดังนี้

    ทิศเหนือ ตลอดอาณาจักรล้านนา
    ทิศใต้ ตลอดเมืองไทรบุรีและตรังกานู
    ทิศตะวันออก ตลอดกัมพูชาจดญวนใต้
    ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตลอดเวียงจันทน์ หัวเมืองพาน และหลวงพระบาง หัวพันห้าทั้งหก
    ทิศตะวันออกเฉียงใต ้ ตลอดเมืองพุทไธมาศ จดเมืองมะริด และตะนาวศรี
    ทิศตะวันตก จดเมืองมะริด และตะนาวศรี ออกมหาสมุทรอินเดีย

    http://www.wangdermpalace.com/kingtaksin/thai_militaryact.html


    http://www.arunsawat.com/board/index.php?topic=71.msg502
     
  2. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    [​IMG]
    [​IMG]
    พระราชประวัติ

    สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวในสมัยกรุงธนบุรีเสด็จพระราชสมภพ
    ณ วันที่ 17 เมษายน พุทธศักราช 2277 ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาที่ 3 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
    พระองค์ทรงเป็นสามัญชน กำเนิดในตระกูลแต้ มีพระนามเดิมว่า สิน พระราชบิดาเป็นจีนชื่อ ไหฮอง
    เดินทางจากประเทศจีนมาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยแล้วได้สมรสกับหญิงไทยชื่อ นางนกเอี้ยง มีหลักฐานบันทึกว่า
    สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงเคยเป็นพ่อค้าเกวียนผู้ทรงปัญญาเฉลียวฉลาดและมีความสามารถด้าน กฎหมายเป็นพิเศษ
    ได้ช่วยกรมการเมืองชำระถ้อยความของราษฎรทางภาคเหนืออยู่เนืองๆ เนื่องจากได้ทำความดีมีความชอบต่อแผ่นดิน
    จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองตากในเวลาต่อมา

    ในปีพุทธศักราช 2308 - 2309 พระยาตากได้นำไพร่พลลงมาสมทบเพื่อป้องกันกรุงศรีอยุธยา
    ระหว่างที่พม่าล้อมกรุงอยู่ได้ทำการต่อสู้จนเป็นที่เลื่องลือว่าเป็นแม่ทัพที่เข้มแข็งมากที่สุดคนหนึ่ง
    และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองกำแพงเพชร ในวันที่ 4 มกราคม พุทธศักราช 2310
    (ก่อนที่จะเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่าประมาณ3 เดือน) พระยาตากได้รวบรวมกำลังตีฝ่าวงล้อมของพม่า
    ไปตั้งมั่นเพื่อที่จะกลับมากู้เอกราชต่อไป

    จากหลักฐานตามพระราชพงศาวดาร พระยาตากได้รวบรวมไพร่พลประมาณ 500 คน
    มุ่งไปทางฝั่งทะเลทางทิศตะวันออกระหว่างเส้นทางที่ผ่านไปนั้นได้ปะทะกับกองกำลังของพม่าหลายครั้ง
    แต่ก็สามารถตีฝ่าไปได้ทุกครั้งและสามารถรวบรวมไพร่พลตลอดจนอาวุธยุทโธปกรณ์ได้มากขึ้นเรื่อยๆ
    ในวันที่ 8 เมษายน พุทธศักราช 2310 พม่ายึดกรุงศรีอยุธยาได้เจ้าเมืองใหญ่ๆพากันตั้งตัวเป็นเจ้า
    และควบคุมหัวเมืองใกล้เคียงไว้ในอำนาจหลังจากพระยาตากยึดเมืองจันทบุรีได้ ก็ได้ประกาศตั้งตัวเป็นอิสระ
    และจัดตั้งกองทัพขึ้นที่นี่ โดยมีผู้คนสมัครใจเข้ามาร่วมด้วยเป็นจำนวนมาก รวมทั้งนายสุดจินดา
    ซึ่งต่อมาได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชกาลที่หนึ่ง

    [​IMG]
    หลังฤดูมรสุมในเดือนตุลาคม พุทธศักราช 2310 พระยาตากได้ยกกองทัพเรือออกจากจันทบุรี
    ล่องมาตามฝั่งทะเลในอ่าวไทยจนถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยา และได้ต่อสู้จนยึดกรุงธนบุรีคืนจากพม่าได้
    ต่อจากนั้นได้ยกกองทัพเรือต่อไปถึงกรุงศรีอยุธยา เข้าโจมตีค่ายโพธิ์สามต้น
    เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2310 และสามารถกอบกู้เอกราชให้ชาติไทยได้เป็นผลสำเร็จ
    โดยใช้เวลาเพียง 7 เดือนนับตั้งแต่เสียกรุงศรีอยุธยา ให้กับพม่า หลังจากนั้น ได้ทรงเลือกกรุงธนบุรีเป็นราชธานี
    เนื่องจากทรงเห็นว่ามีชัยภูมิดี ประกอบกับกรุงศรีอยุธยาเสียหายหนัก จนยากแก่การบูรณะให้เหมือนเดิม

    ต่อมาในปีพุทธศักราช 2311 ได้ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทรงพระนามว่า "สมเด็จพระบรมราชาที่ 4"
    แต่ประชาชนนิยมเรียกว่า "พระเจ้าตากสิน" ในรัชสมัยของพระองค์ได้มีการทำศึกสงครามอยู่เกือบตลอดเวลา
    ทั้งนี้เพื่อรวบรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่นและขับไล่พม่าออกจากราชอาณาจักร
    ถึงแม้ว่าบ้านเมืองจะอยู่ในภาวะสงครามเป็นส่วนใหญ่แต่สมเด็จพระเจ้าตากสินก็ยังทรงมุ่งมั่นที่จะฟื้นฟูประเทศ
    ในด้านต่างๆ เช่น ด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจและสังคม

    ได้มีการติดต่อค้าขายกับประเทศต่างๆ เช่น จีน อังกฤษ และเนเธอร์แลนด์ ได้โปรดให้มีการสร้างถนนและขุดคลอง
    เพื่ออำนวยความสะดวกในการคมนาคม นอกจากนั้นยังทรงส่งเสริมทางด้านการศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและวรรณกรรม
    รวมทั้งการศึกษาในด้านต่างๆ ของประชาชนอีกด้วย

    [​IMG]
    หลังจากครองราชย์ได้ประมาณ 15 ปี ได้มีเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นเหตุให้รัชสมัยของพระองค์ต้องสิ้นสุดลง
    สมเด็จพระเจ้าตากสินเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 เมษายน พุทธศักราช 2325 ขณะที่มีพระชนมายุได้ 48 ปี
    ต่อจากนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ เสด็จขึ้นครองราชย์ เป็นปฐมกษัตริย์แห่ง ราชวงศ์จักรี
    และได้ทรงย้ายราชธานีมาฝั่งกรุงเทพมหานคร

    เนื่องจากสมเด็จพระเจ้าตากสินได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อแผ่นดินไทยเป็นอย่างมาก
    โดยเฉพาะได้ทรงกอบกู้เอกราชให้ชาติไทย รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ 28 ธันวาคม ของทุกปี
    (ซึ่งตรงกับวันที่ทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์) เป็น "วันสมเด็จพระเจ้าตากสิน"

    นอกจากนั้นคณะรัฐมนตรียังมีมติให้ถวาย พระราชสมัญญานามว่า"สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช"

    http://www.wangdermpalace.com/kingtaksin/thai_thegreat.html

    http://www.arunsawat.com/board/index.php?topic=71.msg502
     
  3. junior phumivat

    junior phumivat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    1,346
    ค่าพลัง:
    +1,688
    ผู้ถาม : เมื่อทำบุญแล้ว ถ้าจะอุทิศส่วนกุศลภายหลังจะได้ไหมคะ...........?
    หลวงพ่อ : การทำบุญไปแล้วครั้งหนึ่งสักกี่ปี ๆ บุญก็ยังมีอยู่ถ้าทำไปแล้วสัก ๓๐ ปี ก็ยังอุทิศส่วนกุศลได้ บุญมันไม่หาย ไม่ใช่เราทำบุญแล้ว เดี๋ยวเดียวมันหายไปไม่ใช่อย่างนั้นนะ
    ผู้ถาม :แล้วถ้าเผื่อทำบุญแล้ว ไม่ได้อุทิศส่วนกุศลจะได้บุญเต็มที่ไหมคะ...?
    หลวงพ่อ : ก็ได้เต็มที่อยู่แล้ว เราเป็นผู้ได้สมบูรณ์แบบ แต่อยู่ที่ว่าเราจะให้เขาหรือไม่ให้ การอุทิศส่วนกุศล นี่นะ ถ้าเราไม่ให้ เราก็กินคนเดียวใช่ไหม..... ทีนี้ถ้าเราให้เขาของเราก็ไม่หมดอีก ส่วนที่เราให้ไปไม่ได้ยุบไปจากของเดิม อย่างเรื่องของ พระอนุรุทธ สมัยที่ท่านเกิดเป็นคนเกี่ยวหญ้าช้างของมหาเศรษฐี เวลาที่ท่านทำบุญแล้ว เจ้านายขอแบ่งบุญ ท่านก็สงสัยว่าการแบ่งบุญน่ะจะแบ่งได้ไหม จึงไปถามพระปัจเจกพุทธเจ้า ที่ท่านรับบาตรนะ ท่านก็เปรียบเทียบให้ฟังว่า

    "สมมุติว่าโยมมีคบ แล้วก็มีไฟด้วย คนอื่นเขามีแต่คบ ไม่มีไฟ ทุกคนต้องการแสงสว่าง ก็มาขอต่อไฟที่คบของโยมแล้วคบทุกคนสว่างไสวหมด อยากทราบว่าไฟของคุณโยมจะยุบไปไหม....?
    ท่านอนุรุทธก็บอกว่า ไม่ยุบ
    แล้วท่านก็บอกว่า "การอุทิศส่วนกุศลก็เหมือนกัน ให้เขา เขาโมทนา แต่บุญของเราเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์"



    ขออนุโมทนาบุญกับทุกๆท่านครับ




    ธรรมใดที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงพบแล้ว ขอธรรมนั้น จงสำเร็จแก่ท่านทั้งหลายโดยเร็วด้วยเถิด สาธุ สาธุ สาธุ
    อิทัง ปุญญะผะลัง ผลบุญใด ที่ข้าพเจ้า ได้บำเพ็ญแล้ว ตั้งแต่ต้นชาติ จนถึงปัจจุบันชาติ ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ที่เคยล่วงเกินมาแล้ว แต่ชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ขอเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย จงโมทนา ส่วนกุศลนี้ ขอจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่บัดนี้ ตราบเท้าเข้าสู่พระนิพพาน และขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เทพเจ้าทั้งหลาย ที่ปกปักรักษาข้าพเจ้า และเทพเจ้าทั้งหลาย ทั่วสากลพิภพ และพระยายมราช ขอเทพเจ้าทั้งหลาย และพระยายมราช จงโมทนาส่วนกุศลนี้ ขอจงเป็นสักขีพยาน ในการบำเพ็ญกุศล ของข้าพเจ้าในครั้งนี้ด้วยเถิด และขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่ท่านทั้งหลาย ที่ล่วงลับไปแล้ว ที่เสวยความสุขอยู่ก็ดี เสวยความทุกข์อยู่ก็ดี เป็นญาติก็ดี มิใช่ญาติก็ดี ขอท่านทั้งหลาย จงโมทนาส่วนกุศลนี้ พึงได้รับประโยชน์ ความสุข เช่นเดียวกับข้าพเจ้า จะพึงได้รับ ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด หากท่านทั้งหลายยังไม่มีโอกาสได้อนุโมทนาเพียงใด ขอเทพเจ้าทั้งหลายและพระยายมราชจงเป็นสักขีพยานให้แก่ข้าพเจ้าด้วย เจอเธอเมื่อใด ขอให้เธอได้อนุโมทนาส่วนกุศลนี้ด้วยเถิด ผลบุญใด ที่ข้าพเจ้า ได้บำเพ็ญแล้ว ตั้งแต่ต้นชาติ จนถึงปัจจุบันชาตินี้ ขอผลบุญนี้ จงเป็นปัจจัย ให้ข้าพเจ้า ได้เข้าถึง ซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ด้วยเถิด หากแม้นยังไม่ถึงพระนิพพานเพียงใด ขอคำว่าไม่รู้ ไม่มี จงอย่าได้บังเกิดแก่ข้าพเจ้าเลย ขอผลบุญทั้งหลาย ที่ข้าพเจ้า ได้กระทำแล้ว ตั้งแต่ต้นชาติ จนถึงปัจจุบันชาติ จงบังเกิดผล ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด
     
  4. สัทธาธิกะ

    สัทธาธิกะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +373
    อนุโมทนาครับ

    เหตุการณ์กู้ชาติของพระเจ้าตากสินมหาราช
    ที่ไม่มีในประวัติศาสตร์ ลองหาอ่านในหนังสือ
    ของ "สุทัสสา อ่อนค้อม" ดูนะครับ

    ส่วนถ้ำที่ใช้ในการรวบรวมกำลังที่จังหวัดระยอง
    อยู่ที่วัดถ้ำวัฒนมงคลครับ
     
  5. ธรรมวิวัฒน์

    ธรรมวิวัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    26,329
    กระทู้เรื่องเด่น:
    82
    ค่าพลัง:
    +115,273
    เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงเหน็ดเหนื่อยเพื่อลูกหลานไทยได้มีแผ่นดินอยู่ ขอกราบพระบาทท่านด้วยความเคารพครับ
     
  6. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>
    ตามรอยสมเด็จพระเจ้าตากสิน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left></TD><TD class=date vAlign=baseline align=left></TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=250 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=250>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าตาก ณ สวนสาธารณทุ่งนาเชย จ.จันทบุรี ยังเตือนใจผู้คนให้นึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของท่าน </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>วันที่ 28 ธันวาคม เป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งซึ่งหลายคนอาจไม่ทราบ ในวันนี้เป็นวันที่ประชาชนชาวไทยจะร่วมกันรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของมหาราชพระองค์หนึ่งในแผ่นดินไทย ซึ่งเป็นผู้กอบกู้เอกราชชาติไทยกลับคืนหลังจากการเสียกรุงครั้งที่สอง ท่านผู้นั้นก็คือ "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" กษัตริย์องค์แรกและองค์เดียวในสมัยแผ่นดินกรุงธนบุรีนั่นเอง ซึ่งวันที่ 28 ธ.ค. นั้นเป็นวันที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงธนบุรี

    สำหรับประวัติของพระเจ้าตากนั้นมีให้หาอ่านกันได้ทั่วไป แต่สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับพระเจ้าตากที่หลายๆคนมักมองข้ามไปก็คือ ร่องรอยประวัติศาสตร์ที่พระองค์ท่านทิ้งไว้ให้คนรุ่นหลังได้ "ตามรอย" ซึ่งหลายๆที่ก็ได้กลายเป็นสถนทีท่องเที่ยวที่สำคัญ


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=230 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=230>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่เคารพสักการะของประชาชนชาวเมืองตาก</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>สถานที่แรกที่น่าจะเรียกได้ว่าเป็นจุดเริ่มในชีวิตของพระเจ้าตากก็คือ วัดเชิงท่าในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา วัดแห่งนี้เป็นที่ที่พระเจ้าตากได้เริ่มเล่าเรียนเขียนอ่านจนเชี่ยวชาญภาษาต่างๆ นอกจากภาษาไทย เช่น ภาษาจีน ญวน และบาลี และเมื่ออายุครบบวช ท่านก็ได้อุปสมบทที่วัดแห่งนี้ ก่อนจะลาสิกขาไปรับราชการที่เมืองตาก ที่วัดเชิงท่านี้ยังมีรูปเหมือนของพระอาจารย์ทองดี ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของพระเจ้าตาก ให้คนได้มาสักการะอีกด้วย

    ส่วนที่จังหวัดตากที่ท่านได้เป็นเจ้าเมืองปกครองอยู่ระยะหนึ่งนั้น มีศาลสมเด็จพระเจ้าตากสิน ซึ่งเป็นศาลทรงจัตุรมุข ด้านหน้าศาลแขวนโคมจีนสีแดง ภายในประดิษฐานพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาดใหญ่กว่าพระองค์จริงเล็กน้อย ในพระราชอิริยาบถที่กำลังประทับอยู่บนราชอาสน์ มีพระแสงดาบพาดอยู่ที่พระเพลา ด้านหลังศาลจะมีรูปปั้นช้างศึกม้าศึกอยู่เต็มบริเวณ ซึ่งได้มาจากผู้ที่นำมาถวายหลังจากขอพรจากศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินได้ตามประสงค์ รวมทั้งยังมีวัดดอยข่อยเขาแก้ว หรือวัดพระเจ้าตาก ซึ่งเป็นที่บรรจุอังคารของบิดามารดาของท่าน


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=230 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=230>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่วัดเชิงท่า หรือวัดโกษาวาส จ.อยธยา ที่ท่านได้เคยบวชเรียน </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=5>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>หันมาที่จังหวัดจันทบุรีบ้าง จังหวัดนี้นับว่าเป็นอีกเมืองที่มีความเกี่ยวข้องผูกพันกับพระเจ้าตากสินเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงมีสถานที่ที่เป็นที่ระลึกถึงท่านอยู่มากมาย เช่น ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในตัวเมืองจันท์ ศาลนี้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2463 เป็นศาลทรงสี่เหลี่ยมจตุรมุข และต่อมาใน พ.ศ.2534 ชาวจันทบุรีก็ได้ร่วมกันบริจาคเงินเพื่อสร้างศาลใหม่ขึ้นมาตั้งอยู่ข้างศาลเดิม เป็นรูปทรงเก้าเหลี่ยม หลังคาเป็นรูปพระมาลายอดแหลม ภายในมีพระบรมรูปของพระเจ้าตากประทับนั่งอยู่

    นอกจากนั้น ในจังหวัดจันทบุรีก็ยังมีพระบรมราชานุสาวรีย์ ณ สวนสาธารณทุ่งนาเชย อำเภอเมืองจันทบุรี มีรูปลักษณะพระบรมรูปทรงม้าพระที่นั่งออกศึก ทรงเครื่องกษัตริย์นักรบ รอบพระบรมรูปเป็นทหารคนสนิท 4 คน คอยอารักขาทั้งสี่ด้าน และพระบรมราชานุสาวรีย์ อีกแห่งหนึ่งอยู่ที่ค่ายตากสิน เป็นพระบรมรูปอยู่ในท่าทรงพระแสงดาบบัญชาการรบ ส่วนในบริเวณปากแม่น้ำจันทบุรีก็เชื่อว่าเคยเป็นอู่ต่อเรือของพระเจ้าตาก เนื่องจากพบเรือสำเภาโบราณ และเรือขุดโบราณสมัยพระเจ้าตากอยู่บริเวณนั้น




    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=300 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=300>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พระราชวังเดิม พระราชวังของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่ของกองทัพเรือฝั่งธนบุรี</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>เมื่อพระเจ้าตากกู้เอกราชคืนจากข้าศึกได้แล้วนั้น ก็มาตั้งราชธานีใหม่อยู่ที่ "เมืองทณบุรีศรีมหาสมุทร" ที่แห่งนี้ท่านได้สร้างพระราชวังของท่านไว้ซึ่งอยู่บริเวณป้อมวิไชยประสิทธิ์และกองทัพเรือ จนเมื่อถึงยุคแผ่นดินรัตนโกสินทร์ เมืองหลวงได้ย้ายมาอยู่ทางฝั่งพระนคร พระราชวังของพระเจ้าตากลดความสำคัญลงเป็นส่วนหนึ่งของกรุงรัตนโกสินทร์ และกลายเป็นที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์ในราชวงศ์จักรี ภายหลังได้เรียกพระราชวังนี้ว่า "พระราชวังเดิม"

    และในสมัยของรัชกาลที่ 5 ท่านได้พระราชทานพระราชวังเดิมแห่งนี้ให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนนายเรือ ส่วนโบราณสถานที่ยังคงเหลืออยู่ก็คือ ท้องพระโรงสมัยกรุงธนบุรีที่พระเจ้าตากสินเสด็จออกว่าราชการ พระตำหนักเก๋งคู่ ซึ่งหลังในเป็นที่บรรทมของพระเจ้าตากสิน รวมทั้งยังมีศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในท่าประทับยืน และทรงพระแสงดาบ ขนาดประมาณเท่าครึ่งของพระองค์จริงอีกด้วย


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=220 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=220>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินที่ วงเวียนใหญ่</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=5>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>นอกจากพระราชวังเดิมแล้ว ก็ยังมี วัดอินทารามวรวิหาร ที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับพระเจ้าตาก ซึ่งท่านเคยเสด็จมาประทับแรมเพื่อทรงนั่งวิปัสสนากรรมฐาน ทรงศีลภาวนา จนเมื่อท่านเสด็จสวรรคตลง ก็ได้ประดิษฐานพระบรมศพ ถวายพระเพลิง และบรรจุพระบรมอัฐิไว้ที่วัดแห่งนี้ ปัจจุบันประชาชนนิยมไปสักการะพระบรมรูปจำลองของสมเด็จพระเจ้าตากสิน รวมทั้งแท่นบรรทม ซึ่งพระองค์เคยใช้เป็นที่ประทับ ภายในวัดมีพระเจดีย์คู่หนึ่งอยู่หน้าพระอุโบสถหลังเก่า เชื่อกันว่าเป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของพระเจ้าตากและพระอัครมเหสีไว้ ส่วนในพระอุโบสถหลังเก่า มีพระพุทธรูปปางตรัสรู้เป็นพระประธาน ภายในบรรจุพระบรมราชสรีรังคาร หรือ เถ้ากระดูกของพระองค์

    สถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในฝั่งธนที่จะกล่าวข้ามมิได้เลยก็คืออนุสาวรีย์พระเจ้าตากสินบริเวณวงเวียนใหญ่ ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์เฉลิมพระบรมราชกฤษฎาอภินิหารแห่งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

    ...

    ช่วงเวลา 15 ปี ที่พระเจ้าตากสินทรงเป็นพระมหากษัตริย์ในแผ่นดินธนุบรี เป็นช่วงเวลาที่พระองค์ทรงทำเพื่อประชาชนชาวไทยตลอดมา หากท่านทรงมีญาณรับรู้ก็คงจะทราบว่า ประชาชนชาวไทย ยังคงระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านอยู่เสมอ...ตลอดมา

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    สำหรับเส้นทางเดินทัพของพระเจ้าตากนั้น ปัจจุบันอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช
    และอุทยานแห่งชาติลานสาง จ.ตาก โดยเฉพาะในอุทยานแห่งชาติลานสาง มีเรื่องเล่าว่า เมื่อครั้งที่พระเจ้าตากทรงยกทัพไปตีหัวเมืองเชียงใหม่ พระองค์ได้ทรงออกขับไล่ทหารพม่าแล้วพลัดหลงกับกองทัพ จนรุ่งสางได้เกิดแสงสว่างพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าและมีเสียงม้าศึกร้องขึ้นกลางป่า


    เมื่อทหารที่ออกติดตามไปทันก็พบสมเด็จพระเจ้าตากสินประทับนั่งอยู่บนหลังม้ากลางลานหิน และมีแสงสว่างเปล่งออกมาจากพระวรกาย ส่วนทหารพม่านั้นหมอบราบอยู่รอบๆ บริเวณนั้นจึงได้ชื่อว่าลานสาง และบริเวณลานหินหรือน้ำตกลานเลี้ยงม้านั้นก็ยังปรากฏรอบเกือกม้าของพระองค์อยู่จนทุกวันนี้

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    โดย ผู้จัดการออนไลน์

    http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9470000102239
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. johot

    johot เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    104
    ค่าพลัง:
    +673
    เป็นกระทู้ที่ผมเห็นแล้วดีใจมากเลยครับ ทำไมไม่รู้คนสมัยนี้นึกถึง กล่าวถึงพระองค์ท่านน้อย(เท่าที่ผมเคยเห็นนะ)ทั้งๆที่วีระกรรมของสมเด็จท่านไม่ได้ต่างจากพระนเรศวรเลย แต่ทำไมสร้างกันแต่หนังพระนเรศวร หนังพระเจ้าตากมีน้อนมากเลยไม่เคยออกโรงหนังเลย
     
  8. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    <TABLE height=34 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-LEFT: 10px">
    พระเจ้าตากล่องหน

    [19 ต.ค. 51 - 16:53]​


    </TD></TR></TBODY></TABLE>​



    <TABLE class=text cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle><TABLE class=text cellSpacing=0 cellPadding=10 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>
    เรื่อง พระเจ้าตากสินล่องหน หลบท่อนจันทน์ คุณรังสรรค์ นิลฉ่ำ ตั้งชื่อรองไว้ เหมือนบอก เจตนา ไว้ในศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนตุลาคม 2551 ว่า เป็นประวัติศาสตร์ชาวบ้าน ประวัติศาสตร์แห่งจินตนิยาย ​

    ต้นเรื่องนี้มาจากหนังสือ ชุดบันทึกแผ่นดิน ตอน เหตุเกิดในสยาม คุณโรม บุนนาค ยกประวัติศาสตร์ที่ถูกเขียนไว้ และรู้กันทั่วไปว่า ปลายรัชสมัยพระเจ้าตากสิน หลังเสร็จศึกใหญ่แล้ว พระเจ้าตากสินก็มิได้เสด็จนำทัพอีก ปล่อยให้ ​

    เป็นหน้าที่ของเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก กับเจ้าพระยาสุรสีห์ ​

    ช่วงเวลานี้พระเจ้าตากทรงฝักใฝ่ในวิปัสสนากรรมฐาน จนถึงขั้นคิดว่าบรรลุโสดาบัน บังคับให้พระสงฆ์ กราบไหว้ สงฆ์องค์ใดไม่กราบไหว้ก็ให้เอาไปเฆี่ยนตีทั้งผ้าเหลือง

    พระเจ้าแผ่นดินไม่อยู่ในทศพิธราชธรรม ขนาดพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ ยังถูกเฆี่ยนตี ประชาชีธรรมดาจะไปเหลืออะไร ประวัติศาสตร์จึงเขียนตอนนี้ว่า อาณาประชาราษฎร์เดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า

    พระยาสรรค์เป็นกบฏ จับพระเจ้าตากสินคุมขัง เมื่อเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกและเจ้าพระยาสุรสีห์กลับจากศึก ก็จับพระยาสรรค์ประหาร บรรดาอาณาประชาราษฎร์ ข้าราชการเสนาบดีทั้งปวง จึงพร้อมกันอัญเชิญเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ขึ้นครองราชย์ ​

    แล้วพิพากษาโทษพระเจ้าตากสิน โดยการสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ ​

    ประวัติศาสตร์ชุดนี้ โรม บุนนาค เขียนว่า คนกลุ่มหนึ่งไม่เชื่อ โดยเฉพาะชาวนครศรีธรรมราชยิ่งมั่นใจว่า พระเจ้าตากสินไม่ได้ถูกสำเร็จโทษ แต่ หลบมาจำศีลอยู่ ณ วัดเขาขุนพนม อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช
    ต้นตอของความเชื่อนี้ ผู้ดูแลพระตำหนักพระเจ้า ตากสิน ชื่อสมจิต ทองสมัคร เป็นคนเล่าและก็เล่าต่อๆกันไป...เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตก พม่าได้กวาดเอาทรัพย์สินในท้องพระคลังไปหมด พระเจ้าตากจะสร้างกรุงธนบุรี ทรงไม่มีเงิน ต้องกู้เงินจำนวนมากจากชาวจีน ถึงเวลาเจ้าหนี้ทวง ก็ทรงหาเงินใช้หนี้ไม่ได้ ​

    แผนการหนี้ ทรงดำริที่จะยกราชสมบัติให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เพราะเห็นว่าเข้มแข็งกว่าพระราชโอรส รักษาบ้านเมืองได้ จากนั้นก็ทรงแสร้งเป็นคนวิกลจริต

    กฎหมายสมัยนั้น...สัญญากู้เงินทั้งหลายจะกลายเป็นโมฆะ ถ้าผู้กู้ถึงแก่วิกลจริต หนี้สินก็จะมิตกแก่ทายาท
    ส่วนการเฆี่ยนตีพระสงฆ์ ผู้เล่าว่า เป็นนักโทษโกนหัวห่มเหลือง มาถูกเฆี่ยนแทนพระจริง ​

    พระยาสรรค์ ไม่ได้รู้แผนการ จึงจับพระเจ้าตากสินซึ่งทรงผนวช บังคับให้สึกแล้วจองจำ 4 วัน หลังถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ ก็มีเรือสำเภาลำหนึ่ง มีคนในเรือ 10 คน ไปถึงฝั่งนครศรีธรรมราช แล้วคนกลุ่มนั้นก็เดินทางด้วยช้าง ไปวัดเขาขุนพนม

    อีก 4 ปีต่อมา พระเจ้าตากสินก็สวรรคตด้วยไข้ป่า หลักฐานประกอบ ที่วัดเขาขุนพนม มีพระพุทธรูปทองคำ เงิน สัมฤทธิ์ และจานชามเขียนสีสวยงาม แสดงว่าเจ้าของไม่ใช่ชาวบ้านธรรมดา ​

    เรื่องเล่าเรื่องนี้ ยังมีเพลงที่ชาวนครศรีธรรมราชร้อง...กล่อมเด็ก ​

     

แชร์หน้านี้

Loading...