วิชชาธรรมกายเบื้องต้น วิธีการฝึกให้สภาพใจใสสว่าง (เห็นดวงปฐมมรรค)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย สมถะ, 14 สิงหาคม 2008.

  1. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    วิชชาธรรมกายเบื้องต้น วิธีการฝึกให้สภาพใจใสสว่าง (เห็นดวงปฐมมรรค)

    <!--MsgIDBody=0-->

    เราเรียนรู้มาแล้วว่า การรวมใจทำอย่างไร และทราบว่าจะต้องรวมใจที่ศูนย์กลางของกาย เพื่อพัฒนาให้สว่างและให้ขาวใสต่อไป


    วิธีการพัฒนาให้ใจเกิดความใสและสว่าง เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเรียนรู้ก่อน ปกติใจของเราไม่ใส ไม่สงบ ไม่ระงับ เอาแต่คิดนึกเรื่องราวทั้งหลาย เพียงนาทีเดียวก็คิดหลายเรื่อง การจะทำให้ใจสงบและนิ่งเป็นเรื่องทำยาก ท่านได้กำหนดกฎเกณฑ์ไว้ดังนี้





    วิธีการฝึกให้สภาพใจใสสว่าง

    ลำดับแรก : ให้ท่านดูภาพในท่าผ่าซีก จำฐานทางเดินของใจ ๗ ฐาน ให้ได้

    ลำดับที่ ๒ : ให้ท่านดูดวงแก้วขาวใส ดูแล้วให้นึกได้ด้วยใจ เมื่อหลับตาแล้ว จะต้องนึกมโนภาพของดวงแก้วขาวใสได้

    ลำดับที่ ๓ : ขั้นปฏิบัติ

    (ก) ให้นั่งสมาธิ คือเท้าขวาทับเท้าซ้าย

    (ข) มือขวาทับมือซ้าย นิ้วชี้ขวาจรดหัวแม่มือซ้าย แขน ๒ ข้างไม่เกร็ง ปล่อยตามสบาย

    (ค) ตั้งกายตรง ไม่ค้อมหลัง ตั้งใบหน้าให้ตรง ไม่ก้มหน้า

    จากนั้นให้หลับตา ไม่ต้องขยี้ตา เพียงหลับตาเบาๆ ให้นึกทำใจปลอดโปร่ง ไม่คิดไปในเรื่องอื่นใดทั้งหลายทั้งปวง พึงนึกสลัดเรื่องขุ่นข้องหมองใจออกไปจากใจตน เรื่องหน้าที่การงาน และกิจการส่วนตัว ไม่นำมาคิดนึกขณะฝึกใจ

    ความรู้ใดที่เคยอ่าน เคยรู้ เคยได้ยิน ให้ระงับความรู้นั้นไว้ก่อน อย่านำมานึกคิดขณะฝึก หากนำมาคิดนึก จะทำให้การฝึกไม่ได้ผล ให้นึกทำใจโปร่งใส นึกทำใจปลอดโปร่ง นึกทำใจเป็นใจเด็กไร้เดียงสา เขาสอนแค่ไหน ทำแค่นั้น เขาสอนอย่างไร ทำอย่างนั้น ทำได้อย่างนี้การฝึกจะก้าวหน้า จากนั้น พึงนึกถึงคำสอนของพระศาสดาข้อ ๓ ที่สอนให้ทำใจให้ใสนั้น มีวิธีทำดังนี้


    นึกถึงดวงแก้วกลมขาวใสรัศมีโชติขนาดเท่าแก้วตา แล้วน้อมใจให้ดวงใสไปตามจุดหมายในตัวเรา ดังนี้



    (๑) ฐานที่ ๑ ปากช่องจมูก (หญิงปากช่องจมูกข้างซ้าย ชายปากช่องจมูกข้างขวา)

    น้อมดวงนิมิตขาวใสมาที่ปากช่องจมูก สำหรับหญิงน้อมมาที่ปากช่องจมูกข้างซ้าย สำหรับชายน้อมมาที่ปากช่องจมูกข้างขวา ส่งความรู้สึกทางใจสัมผัสนิ่งกลางดวงนิมิตใส บริกรรมในใจว่า สัม มา อะ ระ หัง จำนวน ๓ ครั้ง และนึกให้ดวงนิมิตใสสว่างโชติ


    (๒) ฐานที่ ๒ เพลาตา (หญิงเพลาตาซ้าย ชายเพลาตาขวา)

    จากนั้น เลื่อนดวงนิมิตขาวใสมาฐานที่ ๒ คือเพลาตา สำหรับหญิงเพลาตาซ้าย สำหรับชายเพลาตาขวา บรรจุดวงนิมิตลงที่รูน้ำตาออก ส่งความรู้สึกทางใจสัมผัสนิ่งกลางดวงใส บริกรรมในใจว่า สัม มา อะ ระ หัง จำนวน ๓ ครั้ง และนึกให้ดวงนิมิตใสสว่างโชติ


    (๓) ฐานที่ ๓ จอมประสาท

    จากนั้น เลื่อนดวงใสไปที่จอมประสาท อยู่ในกะโหลกศีรษะของเรา ให้เหลือกตา คือทำตาขาวเหมือนคนเป็นลม เลื่อนดวงนิมิตใสไปที่จอมประสาท เพื่อให้ใจของเราไปรับรู้ข้างใน และให้ลืมเรื่องเหลือกตาทันที เอาความรู้สึกจรดนิ่งกลางดวงนิมิตใส บริกรรมในใจว่า สัม มา อะ ระ หัง จำนวน ๓ ครั้ง และนึกให้ดวงนิมิตใสสว่างโชติ


    (๔) ฐานที่ ๔ ปากช่องเพดาน หรือเพดานปาก

    จากนั้น เลื่อนดวงนิมิตใสมาที่ฐานที่ ๔ คือปากช่องเพดาน ได้แก่ จุดหมายที่เราสำลักน้ำสำลักอาหาร ส่งใจสัมผัสนิ่งกลางดวงนิมิตใส บริกรรมในใจ สัม มา อะ ระ หัง จำนวน ๓ ครั้ง และนึกให้ดวงนิมิตใสสว่างโชติ


    (๕) ฐานที่ ๕ ปากช่องลำคอ

    จากนั้น เลื่อนดวงนิมิตใสมาที่ฐานที่ ๕ คือ ปากช่องลำคอ อยู่ในหลอดลำคอ แต่อยู่เหนือลูกกระเดือกนิดหนึ่งโดยประมาณ ส่งใจสัมผัสนิ่งกลางดวงนิมิตใส บริกรรมในใจ สัม มา อะ ระ หัง จำนวน ๓ ครั้ง และนึกให้ดวงนิมิตใสสว่างโชติ


    (๖) ฐานที่ ๖ ฐานของศูนย์กลางกาย

    จากนั้น เลื่อนดวงนิมิตใสไปในท้องเรา ให้ได้ระดับสะดือ สมมุติว่ามีเข็มร้อยด้าย ๒ เล่ม เล่มที่ ๑ สมมุติแทงจากสะดือตัวเราเองเป็นเส้นตรงทะลุข้างหลัง อีกเล่มหนึ่งสมมุติว่าแทงจากสีข้างขวาเป็นเส้นตรงทะลุสีข้างซ้าย เห็นเป็นมโนภาพว่า ในท้องเรามีเส้นด้ายตัดกันเป็นรูปกากบาท จุดที่เส้นด้ายตัดกันนั้นคือ ฐานของศูนย์กลางกาย ให้เลื่อนดวงนิมิตใสตั้งไว้ตรงนั้น ส่งใจนิ่งกลางดวงนิมิตใส บริกรรมใจว่า สัม มา อะ ระ หัง จำนวน ๓ ครั้ง และนึกให้ดวงนิมิตใสสว่างโชติ


    (๗) ฐานที่ ๗ ศูนย์กลางกาย

    จากนั้น เลื่อนดวงนิมิตใสจากฐานที่ ๖ ให้สูงขึ้นมาประมาณ ๒ นิ้วมือตัวเอง ส่งใจนิ่งกลางดวงนิมิตใส บริกรรมในใจ สัม มา อะ ระ หัง จำนวน ๑๐๐ ครั้ง ๑๐๐๐ ครั้ง และภาวนาเรื่อยไป


    [​IMG]


    บริกรรม สัม มา อะ ระ หัง เรื่อยไป จะรู้สึกเกิดควมปลอดโปร่งทางใจ รู้สึกสบายใจ เกิดความสงบทางใจ จนในที่สุด
     
  2. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ** การเห็นดวงธรรมที่ถูกต้องนั้นคืออย่างไร **




    เป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องเรียนรู้แต่เบื้องต้นว่า การเห็นดวงธรรมที่ถูกต้องนั้นคืออย่างไร การเห็นที่ถูกต้องนั้น มีกฎเกณฑ์ดังนี้


    (๑) เห็นดวงธรรมในท้องของตนเอง คือเห็นที่ศูนย์กลางกาย การเห็นนอกท้องของตน เรียกว่า “เห็นนอก” เป็นการเห็นที่ผิด


    (๒) ปัญหาใหญ่อยู่ที่เรามักเห็นนอกตัวเรา คือเห็นนอกเกิดจากการเลื่อนดวงนิมิตจากฐานที่ ๒ (เพลาตา) ไปฐานที่ ๓ (จอมประสาท) ไม่เหลือกตากลับเข้าไปในกะโหลกศีรษะ ความเห็นของเราจึงไม่เข้าไปในกาย เราจึงมักเห็นดวงธรรมนอกกายกันเป็นส่วนใหญ่ การเห็นลักษณะนี้ เป็นความผิดอย่างมหันต์ ดังนั้น จึงต้องรีบแก้ไข การฝึกเบื้องต้นให้ถูกต้อง

    ปกติเรามองเห็นสิ่งรอบตัวเราเป็นการเห็นข้างนอกอยู่แล้ว ต่างกับการเห็นของการพัฒนาใจ การพัฒนาใจจะต้องเห็นข้างใน จึงต้องฝึกการเหลือกตาให้ชำนาญ คือการทำตาขาวเหมือนคนเป็นลม แล้วนึกให้ดวงนิมิตใสเข้าไปอยู่ในกะโหลกศีรษะของตัวเรา และเมื่อดวงนิมิตใสเข้าไปอยู่ในกะโหลกศีรษะแล้ว ให้เราลืมเรื่องเหลือกตาทันที คงใช้ความรู้สึกคือใจมองนิมิตต่อไป หากฝึกเหลือกตาเป็นแล้ว เราก็จะเห็นดวงธรรมข้างใน คือเห็นในท้องของเรา


    (๓) ระหว่างการฝึก ให้ทำใจนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกายเพียงอย่างเดียว เห็นหรือไม่เห็น ก็ให้จรดใจไว้ที่ศูนย์กลางกายสถานเดียว ไม่ส่ายใจไปทางอื่น ในที่สุด ที่เราว่ามืดนั้น จะสว่างขึ้นมาเอง โปรดจำไว้ว่าการเห็นนั้น จะต้องเห็นที่ศูนย์กลางกายเท่านั้น

    ขณะที่เราวางใจไว้ที่ศูนย์กลางกาย กิเลสเขามักจะแกล้งเราให้เราเห็นสว่างที่หน้าอก ให้เห็นเป็นไฟฉายมาที่ใบหน้า เห็นสว่างที่ศีรษะ เห็นความสว่างที่นัยน์ตา กรณีอย่างนี้ ห้ามส่งใจไปมองดูความสว่างเหล่านั้น คงให้ภาวนามองดูที่ศูนย์กลางกายเท่านั้น

    บางรายไม่ทราบวิธีหลอกของกิเลส แต่แรกกำหนดนิมิตก็ว่าดวงนิมิตชัดเจนดีอยู่ แต่พอเลื่อนดวงนิมิตไปที่ศูนย์กลางกายภาวนาได้สักครู่ เกิดมืดไม่เห็นดวงนิมิต แต่ไปเกิดความสว่างรอบตัวเรา เกิดความสว่างตามที่ต่างๆ ดังกล่าวนั้น กรณีเช่นนี้ ห้ามส่ายใจไปดูคงยึดมั่นและภาวนาที่ศูนย์กลางกายดังเดิม และอีกไม่นานความมืดนั้นจะกลายเป็นสว่าง จะเห็นดวงธรรมค่อยๆ ชัดขึ้นเรื่อยๆ และในที่สุดเราก็เห็นดวงธรรมได้ตลอดปลอดโปร่ง

    กรณี ที่รู้สึกปวดเมื่อยตามร่างกาย หรือรู้สึกคันตามตัวเสมือนมีตัวอะไรมาคลาน อย่าได้ส่งความรู้สึกไปรู้สิ่งเหล้านั้น เพราะอีกไม่นานท่านก็จะบรรลุผลของการฝึกแล้ว หากท่านใช้มือเกาตามร่างกายหรือไปบีบเท้าเพื่อคลายความปวดเมื่อย ใจของเราจะถอนออกจากศูนย์กลางกายทันที การฝึกไม่ได้ผล ต้องมาตั้งต้นกันใหม่ ความปวดเมื่อยมีอยู่บ้าง แต่คันตามตัวไม่มีอะไรมาคลาน เป็นเรื่องของกิเลสที่จะทำให้การฝึกของเราไม่ได้ผลเท่าที่ควร ดังนั้น การฝึกเบื้องต้นจึงขอร้องให้เราอดทน หากจะขยับกาย ใจต้องไม่เคลื่อนจากศูนย์กลางกาย


    (๔) การเห็นดวงธรรมที่แท้จริง เพียงแต่นึกจะให้เห็น ก็เห็นดวงธรรมใสแจ่มจรัสที่ศูนย์กลางกาย อารมณ์ของเราแช่มชื่นอยู่กับดวงธรรมนั้น หลับตาก็เห็น แม้ลืมตาก็เห็น แสดงถึงว่าได้ฝึกใจมาชำนาญแล้ว ให้จรดใจไว้กับดวงธรรมเนืองๆ ดวงธรรมก็ให้ความคุ้มครองรักษา แม้จะพูดหรือคิดหรือตัดสินใจ จะถูกต้องไปทั้งหมด นี่คือดวงธรรมให้การคุ้มครองรักษา ไปไหนมาไหนไม่มีอันตราย พระศาสดาทรงยืนยันว่า จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ แปลว่า จิตที่ฝึกแล้วนำสุขมาให้ เราเกิดความรู้สึกว่า พระศาสดาตรัสไว้ถูกแล้ว เพียงเราพัฒนาใจเบื้องต้น เรายังได้รับประโยชน์ถึงเพียงนี้ หากเราขยันหมั่นเพียรต่อไป เราจะได้รับความสุขมากกว่านี้แน่นอน <!--MsgFile=1-->


    [​IMG]
     
  3. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,172
    กระทู้เรื่องเด่น:
    20
    ค่าพลัง:
    +29,715
    หลวงป๋าจะเตือนผมว่า ดูให้ดีๆ ในความใส ว่ามีสิ่งใดละเอียดกว่านั้น

    OOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOO


    นั่นคือ ขั้นตอนการชำระ สะสาง กิเลส อาสวะ ที่ยังมีในใจ ที่ต้องเรียนรู้กันต่อไป

    ไม่ได้สอนให้ติดกันแค่แสงสว่าง
     
  4. mainoi

    mainoi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    732
    ค่าพลัง:
    +133
    โมทนา บุญด้วยคะ ดูง่าย แต่เวลาปฏิบัติแสนยาก ที่จะเห็นดวงธรรม แต่อยากไป
    พระนิพพานมาก ๆ ค่ะ
     
  5. ดุสิตบุรี

    ดุสิตบุรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    151
    ค่าพลัง:
    +273
    ธรรมกายคือเป้าหมายชีวิต ยืนยันหนักแน่น คำนี้คำเดียว

    ใครจะพูดจะว่าอย่างไร เราก็เป็นผู้รับฟังที่ดี ใครจะมาชี้แนะเราก็รับฟัง แล้วก็ขอพิจารณา ถ้าผิดก็แก้ไข ถ้าถูกก็อยู่เฉยๆ ไม่ตอบโต้ ไม่อวดตน ไม่ยกตนข่มท่าน ไม่ยกครูบาอาจารย์ข่มกัน เพราะเราเป็นศิษย์ของพระตถาคต มีพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำเป็นต้นธาตุ ต้นธรรม ต้นวิชชา

    การปฏิบัติเพื่อเข้าถึงพระธรรมกาย มีเป้าหมายเดียวคือพ้นจากกองทุกข์ พ้นจากการเป็นบ่าวเป็นทาสของเขาผู้นั้น ดังนั้นผมเป็นปุถุชนธรรมดา ยังไม่ได้ขั้นไหน ยังไม่เห็นอะไร แต่พอใจในสิ่งที่ตนกำลังทำอยู่ครับ

    ขอกราบอนุโมทนาบุญด้วยครับ
     
  6. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    "พายเถิดนะเจ้าพาย ตลาดจะวายสายบัวจะเน่า โซ่ไม่แก้กุญแจไม่ไข จะไปกันได้อย่างไรล่ะเจ้า"


    คติธรรม คตินิยม หลวงพ่อวัดปากน้ำ...
     
  7. siantseiya

    siantseiya สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +5
    สาธุ สาธุ สาธุ

    อะไรเอ่ยเราหยุด มันไม่หยุด?
    เฉลย: ใจเราเอง แม้ร่างกายหยุด ใจเราไม่หยุด
    หยุดใจไว้ที่นิพพาน ก็จะดี (ถ้าไม่มีอะไรแทรกแซง)
    แม้นหัวใจเราไม่หยุดเต้น ใจเราก็หยุดเต้นได้ (สงบได้)
    แม้นหัวใจเราจะหยุดเต้น ใจเราก็เต้นได้
    อ่ะ รู้สึกว่าเราพิมพ์เอง งง เอง
    <!-- / message -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...