วิสัยการปรารถนา และการปฏิบัติ เพื่อพุทธภูมิ

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย มหาหินทร์, 21 ตุลาคม 2005.

  1. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    สาเหตุที่ การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ ผู้ปรารถนาพุทธภูมิ ต้องใช้เวลานานขนาดนั้น เพราะว่าการที่จะเป็นพระพุทธเจ้าได้ ต้องศึกษาความเป็นครูให้ได้หมดครบถ้วน สิ่งใดที่ไม่รู้จะไม่มี

    และที่สำคัญคืออารมณ์ของวิสัยพุทธภูมินั้น “ความคิดที่จะเข้าพระนิพพานเพียงเราคนเดียว จะไม่มี”

    เพาะอารมณ์ของพระโพธิสัตว์ จะคำนึงถึงบุคคลใดก็ตาม ที่มีความทุกข์ในโลก เราจะเป็นผู้พาพวกเขาเหล่านั้น เข้าสู่พระนิพพาน



    อารมณ์ของพระโพธิสัตว์ ที่พอจะเปรียบเทียบให้เห็นได้ง่าย ๆ ว่า....

    ถ้าตัวเองมีข้าวอยู่หม้อหนึ่ง มีคนที่อดอยากกลุ่มหนึ่งผ่านมา และ เอ่ยปากขอข้าวนั้นเพื่อเป็นอาหารของพวกเขา

    ถ้า ผู้เป็นเจ้าของข้าวหม้อนั้น เป็น ”วิสัยสาวกภูมิ” มีความสงสาร ก็จะแบ่งข้าวแก่พวกเขาเหล่านั้น แต่ต้องแบ่งในส่วนของตัวเองไว้ เพื่อตัวเองก็ต้องอิ่มไว้ก่อน จึงจะแบ่งปันให้ผู้อื่น ....


    แต่ถ้าเป็น “วิสัยพุทธภูมิ” ก็จะให้ด้วยความยินดี และจะไม่หวงแม้ในส่วนของตัวเอง ถ้าพวกเขาไม่พอที่จะแบ่งปันกัน ก็ยินดีให้แม้กระทั่งในส่วนของตัวเอง(จากตัวอย่างนี้พระโพธิสัตว์ ก็จะมองว่า คนมีจำนวนหลายคน หากแบ่งไว้บ้าง ก็จะไม่พอกันกิน จึงยกให้ทั้งหมดเลย)

    ถึงแม้ว่าตัวเองจะต้องอดกินข้าวมื้อนั้น ก็ยินดียิ่งเพราะอารมณ์จะคิดว่า เมื่อทำให้ผู้อื่นมีความสุข ตัวเองก็มีความสุขเช่นกัน(คนอื่นอิ่ม ตัวเองอด แต่ก็มีความยินดียิ่ง)

    ……………………………………………………………………​
     
  2. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    ฝากข้อคิด ไว้สักนิด....

    หากจะเป็นการแทงใจใครบ้าง ก็กราบขออภัย นะครับ ....
    แต่พุทธภูมิทั้งหลายย่อมมีจิตใจเข้มแข็ง คงไม่ว่ากัน....
    เพราะว่าเจตนานี้ ผมคิดว่าเป็นเจตนาที่ดี....


    เคยได้ยินมาว่า ท่านที่ปรารถนาพุทธภูมิทั้งหลาย ไปฟังท่านอาจารย์ คนโน้น คนนี้ มา(ตรงนี้ ต้องขอกราบอภัย กัน ชัด ๆ อีกครั้งว่า …. ไม่คิดที่จะอ้างอิงถึงท่านใด ท่านหนึ่ง เลย ทั้งสิ้น)

    ว่า จะได้เป็นพระพุทธเจ้า เมื่อโน้น เมื่อนี้ ต้องเกิดอีกกี่ชาติ ปรารถนา “ธิกะ” อะไรต่าง ๆ เป็นต้น....

    ผมได้ยิน ได้รับฟังมา ก็เฉยเสีย ได้แต่รับฟังไว้ ก็ไม่ขอคัดค้านท่านใด ๆ ...


    แต่ ตรงนี้อยากจะขอฝากข้อคิดเอาไว้....
    ก็ไม่ได้บอกว่า ผมพูดถูก หรือจะต้องเชื่อผม นะครับ....


    การพยากรณ์ นั้น เป็นวิสัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เท่านั้น….

    จากตำนานพระเจ้าเลียบโลก จะเห็นได้ชัดเจนว่า การที่พระพุทธเจ้าจะตรัสพยากรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อพระโพธิสัตว์ นั้น ต้องอยู่ในข่ายที่จะพยากรณ์ได้ คือ เป็น
    นิยตะโพธิสัตว์ เสียก่อน....


    พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ขณะบำเพ็ญเป็นโพธิสัตว์ ได้กราบพบพระพุทธเจ้ามาทั้งสิ้น ๕๑๒,๐๒๗ พระองค์....

    พึ่งจะได้รับคำพยากรณ์ จากองค์สมเด็จพระพุทธทีปังกร (นับย้อนขึ้นไป ๒๕ พระองค์)

    จะเห็นว่า พระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ ที่ผ่านมา ๕๑๒,๐๐๒ พระองค์ ไม่ทรงตรัสพยากรณ์ เลย....


    หากจะถามว่า จริง ๆ แล้ว พระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ ที่ผ่านมา ๕๑๒,๐๐๒ พระองค์ ที่ไม่ทรงตรัสพยากรณ์ นั้น พระองค์ท่าน จะไม่รู้จริง ๆ หรือ ว่า มาตุธารกมาณวะ หรือ พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน จะได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต หรือไม่....

    หากถามผม ตามความคิดของผม ผมกล้ายืนยันว่า พระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ที่ผ่านมา นั้น ทุก ๆ พระองค์ท่านทรงทราบ อย่างแน่นอน....

    เพราะว่าสิ่งใดที่ไม่รู้ จะไม่มีสำหรับพุทธญาณ ....

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 พฤศจิกายน 2005
  3. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    แล้วหากจะถามต่อไปว่า ในเมื่อทุก ๆ พระองค์ก็รู้แล้ว ทำไมไม่พยากรณ์....

    ข้อนี้ ก็ตอบได้ว่า "ยังไม่ถึงเวลา ไม่ใช่หน้าที่ของพระพุทธองค์ ที่ผ่าน ๆ มาจะพยากรณ์ แต่เป็นหน้าที่ของพระพุทธเจ้าองค์ต่อ ๆ มา เท่านั้นเอง...."


    การพยากรณ์ นั้น เป็นหน้าที่ของพระพุทธเจ้า เท่านั้น.... ขอเน้นว่า.... “เท่านั้น”
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ตุลาคม 2005
  4. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    การที่ใครก็ตามสามรถพยากรณ์ได้ว่า คนโน้น คนนี้ จะเป็นพระพุทธเจ้า เมื่อโน้น เมื่อนี้ ….
    ก็ย่อมแสดงว่า ท่านมีพระบารมียิ่งนัก เทียบเท่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันเลยทีเดียว….

    และย่อมเหนือกว่า พระพุทธเจ้า อีกหลาย ๆ พระองค์ ที่ไม่ทรงตรัสพยากรณ์ อีกด้วย….
     
  5. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    จริงอยู่ ที่องค์หลวงพ่อฯ ท่านเคยพูดถึงเรื่องการพยากรณ์....


    ตัวอย่างที่องค์หลวงพ่อฯท่านเข้าวัง แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตรัสถามเรื่องการปรารถนาพุทธภูมิของพระองค์ท่าน.... องค์หลวงพ่อฯ ก็ท่านตอบไป....

    แล้วอธิบายให้ลูก-หลานฟังว่า สำนวนที่พูดกับพระเจ้าอยู่หัวนั้น เป็นลีลาของสมเด็จองค์ปฐม ท่านก็บอกว่าท่านไม่ได้พูด ไม่ได้พยากรณ์....

    การพยากรณ์เป็นหน้าที่ของพระพุทธเจ้า เท่านั้น....


    พวกเราก็ย่อมรู้กันแล้วว่า “ปฏิสัมภิทาญาณ” ท่านฉลาดเฉลียวในการแสดงธรรม และฤทธิ์(หากจะแสดง) แต่จะหาปฏิสัมภิทาญาณขนาดที่ว่า พระพุทธองค์ทรงประทับอยู่ด้วย อาศัยขันธ์ ๕ เป็นกระบอกเสียงแสดงธรรม ได้ ด้วยนั้น จะหาได้ที่ไหนกัน ถ้าไม่ใช่วิสัยพระโพธิสัตว์ที่เต็มขั้นสุด ๆ ที่ใกล้ญาณของพุทธเจ้ามากที่สุด....

    ข้อนี้ก็เป็นเหตุหนึ่งที่ว่า ทำไมองค์หลวงพ่อฯ ท่านจึงต้องบำเพ็ญบารมี มาในลักษณะเช่นนี้ และทำไมต้องมาลาพุทธภูมิเอาชาติที่เกือบจะเต็ม ขาดเพียง 7 ชาติ ทั้งๆที่หากท่านจะลาก็ลาได้หลายพัน หลายหมื่นชาติที่ผ่านมาก็ได้....


    ขนาดองค์หลวงพ่อฯ ท่านก็ยังบอกว่า ท่านไม่ได้พยากรณ์....

    ผู้พยากรณ์ได้ นี่ ก็ย่อมมีภูมิธรรมที่เหนือกว่า องค์หลวงพ่อฯ ไปอีก....

    เพราะว่าท่านสามารถพยากรณ์ ได้แล้ว....

     
  6. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    ความสำคัญประการหนึ่งที่ขอฝากไว้ ณ ที่นี้....

    “นิยตโพธิสัตว์”
    คือ พระโพธิสัตว์ผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอน ....คุณสมบัติเบื้องต้น หรือองค์ประกอบ ๘ ประการนั้น มีดังนี้....

    ๑.ความเป็นมนุษย์ คือ บุคคลผู้ตั้งจิตปรารถนาบรรลุพระโพธิญาณนั้น จะต้องดำรงภาวะเป็นมนุษย์ จะเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน หรือเทวดา ความปรารถนาไม่สามารถสำเร็จได้

    ๒. ความถึงพร้อมด้วยเพศ คือ แม้จะเกิดเป็นมนุษย์ก็ตาม แต่ก็จำกัดเฉพาะเพศบุรุษเท่านั้น จะเป็นสตรี บัณเฑาะก์ หรืออุภโตพยัชชนก(คนสองเพศ) ความปรารถนาก็หาสำเร็จไม่ เช่นกัน

    ๓. เหตุ คือ มี อรหัตตูปนิสัย อันได้แก่ มีความพร้อม หรือมีศักยภาพพอที่จะสามารถบรรลุความเป็นพระอรหันต์ได้ในอัตภาพที่กำลังเป็นอยู่ หรือในขณะนั้นหากมีความปรารถนา

    ๔. การเห็นพระศาสดา คือ การได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง แล้วตั้งความปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้าในสำนักของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น จะตั้งความปรารถนา ณ สถานที่นอกจากนี้ เช่นโคนต้นไม้เป็นต้นย่อมไม่สำเร็จ

    ๕. การบรรพชา คือ การต้องครองเพศเป็นบรรพชิต หรือกำลังถือบวช เท่านั้น จะอยู่ในเพศคฤหัสถ์แล้วตั้งความปรารถนาก็ย่อมไม่สำเร็จ

    ๖. การสมบูรณ์ด้วยคุณ คือ ถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติ อันได้แก่การได้บรรลุอภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ แล้วตั้งความปรารถนา จึงจะสำเร็จได้

    ๗. การกระทำที่ยิ่งใหญ่ คือ การกระทำบุญอันยิ่งด้วยชีวิต อันได้แก่การได้บริจาคชีวิตถวายแด่พระพุทธเจ้า ที่เรียกว่าการกระทำอันยิ่งใหญ่

    ๘. ความพอใจ คือ มีฉันทะความพอใจอันใหญ่หลวง มีอุตสาหะและความพยายามที่จะบรรลุถึงพระโพธิญาณ คือ ความรักความปรารถนาที่จะบรรลุสัพพัญญุตญาณอย่างแรงกล้า แม้ว่าจะมีอุปสรรคที่ยากต่อการฝ่าฟันก็ไม่ยอมแพ้ (ขุ.ชา.อ. ๓ / ๒๔-๒๕)


    ขอเน้น ให้เห็นให้ชัด ๆ ในข้อที่ ๔ ว่า....การเห็นพระศาสดา คือ การได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระองค์ใด พระองค์หนึ่ง แล้วตั้งความปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้าในสำนักของพระพุทธเจ้าพระองค์ นั้น จะตั้งความปรารถนา ณ สถานที่นอกจากนี้ เช่นโคนต้นไม้เป็นต้นย่อมไม่สำเร็จ


    โดยสรุป ท่านที่จะพยากรณ์ ก็อย่าพึงพยากรณ์เลยครับ....

    ไม่ได้อิจฉาที่ท่านมีความสามารถเท่า และ เหนือ พระพุทธเจ้า นะครับ....
    เพราะองค์หลวงพ่อฯ สอนว่าให้ "มุทิตา" และที่พูดมาก็เพราะปรารถนา "กรุณา"
    ในพรหมวิหาร เท่านั้นเอง….
     
  7. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    ส่วนท่านที่เฝ้าพยายามสอบถาม อยากรู้ ในเรื่องที่ตัวเองจะเป็น จะได้ นี่....
    ผมมองเห็น ผมนึกภาพถึง เด็ก ๆ ที่อ้อนขอตังค์แม่ เพื่อไปซื้อขนมกิน ก็เท่านั้นเอง
    จะมองหาพระโพธิสัตว์ นี่ อยู่ตรงไหน ก็ไม่เห็นได้เลย....


    การจะเข้าถึงพระโพธิสัตว์ หรือเข้าถึงธรรมในขั้นใด ๆ ก็ตาม เราเองเท่านั้นครับ ที่จะรู้ได้ มันเป็นปัจจัตตัง เรื่องเวลาที่จะบรรลุ ขอให้ลืมไปเสียเลย ไม่ต้องคิดถึง....

    ในเมื่อเราหิวข้าว ก็เพียรหาข้าว หาอาหาร มากิน เมื่อกินเข้าไปแล้วก็รู้ว่าอิ่ม....

    แต่ถ้าเราหิว แล้วเที่ยววิ่งถามคนโน้น คนนี้ ข้าวเป็นอย่างไร ไก่ย่าง เป็นอย่างไร ให้คนอื่นเขาอธิบายถึงความอร่อย อธิบายถึงความอิ่ม....

    อธิบายแล้ว เราจะอิ่มได้อย่างไรกัน....



    ดังนั้น ในท้ายของบทนี้ จึงขอฝากคำสอนขององค์หลวงพ่อฯ ไว้ว่า….
    “.... นักปรารถนาพุทธภูมิ จะต้องมีทั้งขันติ และโสรัจจะ
    ขันติ อดทนต่อความยากลำบากทุกประการ เพื่อความสุขของปวงชน ....
    โสรัจจะ แม้จะกระทบกระทั่ง ทำให้ใจตนไม่สบายเพียงใดก็ตาม ก็ทำหน้าแช่มชื่นไว้เสมอ นี่ก้าวแรกสำหรับพุทธภูมิ ....
    และกำลังใจอีกส่วนหนึ่งที่จะเว้นไม่ได้นั่นคือ พระนิพพาน....

    ………………………………………………………..​

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 พฤศจิกายน 2005
  8. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    ข้อความอันน่าสนใจต่อการปฏิบัติ สำหรับพระโพธิสัตว์....

    ต่อไปนี้ ผมก็ได้เก็บรวบรวมข้อมูล ที่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์ นำมาแสดงไว้ ณ ที่นี่
    ความหมายของคำว่าพระโพธิสัตว์

    (จากคุณ 7 เมื่อวันที่ 4/2/2548 21:20:17)
    http://www.konmeungbua.com/webboard/aspboard_Question.asp?GID=3313

    ในพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทนั้นพระโพธิสัตว์ คือ บุคคลผู้บำเพ็ญบารมีธรรมอุทิศตนช่วยเหลือสัตว์ผู้มีความทุกข์ยากและจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต พุทธศาสนาฝ่ายมหายานเรียกบุคคลเช่นนี้ว่าเป็นผู้มีพลังหรืออำนาจมุ่งสู่โพธิญาณ (Dayal, 1987: 7) เป็นผู้บำเพ็ญความดีหรือที่เรียกว่าบารมีธรรมอย่างยิ่งยวดเพื่อการบรรลุถึงพระโพธิญาณ การดำเนินชีวิตของพระโพธิสัตว์เป็นไปเพื่อบำเพ็ญบารมีเพื่อตนและเป็นการเสียสละช่วยเหลือผู้อื่นไปพร้อม ๆ กัน การกระทำทุกอย่างนี้ดำเนินไปได้ด้วยความรักความปรารถนาในพระพุทธภาวะอันเป็นความหมายของพระโพธิสัตว์ ด้วยความรักในพระโพธิญาณพระโพธิสัตว์จึงสามารถกระทำได้ทุกอย่าง เบื้องต้นแต่สละได้ซึ่งสิ่งของภายนอกจนถึงชีวิตและสิ่งเสมอด้วยชีวิตคือบุตรและภรรยาของตน....

    ดังตัวอย่างพุทธดำรัสที่ตรัสในขณะเสวยพระ ชาติ เป็นพระโพธิสัตว์ ความว่า....

    เมื่อเราจะให้ทานก็ดี กำลังให้ทานก็ดี ให้ทานแล้วก็ดี จิตของเราไม่เป็นอย่างอื่น เพราะเหตุแห่งพระโพธิญาณเท่านั้น (ขุ.จริยา. ๓๓ / ๖๖ / ๗๓๖)

    จักษุทั้งสอง เป็นที่น่าเกลียดชังสำหรับเราก็หาไม่ แม้ตัวเราเองจะเป็นที่เกลียดชังก็หาไม่ แต่พระสัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา เพราะฉะนั้น เราจึงได้ให้จักษุ ฉะนี้ แล (๓๓ / ๖๖ / ๗๓๖)

    เราตามรักษาศีลของเรา มิใช่รักษาชีวิตของเรา เพราะในกาลนั้นเราเป็นผู้รักษาศีล เพราะเหตุแห่งพระโพธิญาณเท่านั้น(๓๓ / ๖๕ / ๗๕๔)

    อย่างไรก็ตาม คำว่าพระโพธิสัตว์มาจากศัพท์สองศัพท์ประกอบกันคือคำว่าโพธิ ที่แปลว่าความตรัสรู้กับสัตตะ ที่แปลว่า สัตว์ในคำที่เรียกว่าสัตว์โลก (วัดบวรนิเวศวิหาร, ๒๕๓๒: ๒๙) อันมีความหมายครอบคลุมทั้งมนุษย์และสัตว์เดรัจฉานซึ่งจะเห็นได้จากอดีตชาติของพระพุทธเจ้า กล่าวคือ นอกเหนือจากที่พระองค์ได้เสวยพระชาติเป็นมนุษย์แล้ว บางพระชาติพระองค์ได้เสวยพระชาติเป็นพญาวานร เสวยพระชาติเป็นช้าง เสวยพระชาติเป็นนาคราชเป็นต้น ดังพระพุทธดำรัสต่อไปนี้....

    ในภพที่เราเป็นพญาวานร ช้างฉัททันต์ และช้างเลี้ยงมารดาเป็นศีลบารมี ในภพที่เราเป็นพญาไก่ป่า สีลวนาค และพญากระต่าย เป็นทานปรมัตถบารมี (ขุ.จริยา. ๓๓ / ๑๒๒ / ๗๗๖)

    (บรรจบ บรรณรุจิ, ๒๕๒๙:๙-๑๐)พระโพธิสัตว์ ไม่ว่าจะครองสภาวะความเป็นมนุษย์ หรือสัตว์เดรัจฉาน ก็บำเพ็ญบารมีธรรม เพื่อพระโพธิญาณเป็นเป้าหมาย เพราะคำว่า "โพธิสัตว์" หมายถึงผู้ปรารถนาพระโพธิญาณ คือ การตรัสรู้ โดยไม่ได้มีเป้าหมายเป็นอย่างอื่น เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อมุ่งสู่ความรู้แจ้งโลก ซึ่งหมายรวมถึงโลก ทั้ง ๓ คือ

    - สัตว์โลก อันได้แก่ หมู่สัตว์ ชนิดต่าง ๆ รวมทั้งเทวดา มนุษย์และสัตว์เดรัจฉาน
    - โอกาสโลก อันได้แก่ โลกคือที่อยู่อาศัย หมายถึง ระบบจักรวาล และดวงดาวต่าง ๆ
    - สังขารโลก อันได้แก่ โลกคือสังขารที่เกิดจากการปรุงแต่ง สรุปให้แคบเข้า ได้แก่ นามรูป นั่นเอง

    การที่บุคคลได้บรรลุถึงพระโพธิญาณ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือการอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้านั้นเกิดขึ้นได้ยาก (กิจโฉ พุทธานมุปปาโท) ดังนั้น บุคคลผู้จะบรรลุ พระโพธิญาณได้นั้นจึงจำต้องบำเพ็ญบารมีธรรมเป็นเวลานานยิ่ง เมื่อบุคคลผู้นั้นได้ชื่อว่าเป็นพระโพธิสัตว์ นั้นหมายความว่าเขาย่อมต้องประสบกับความลำบากในชีวิตนานับประการ นับตั้งแต่การต้องจำยอมสละทรัพย์สินภายนอกร่างกายเป็นเบื้องต้น จนถึงการยอมสละชีวิตของตนเข้าแลกเป็นที่สุดและการปฏิบัติเช่นนั้นก็ต้องประกอบไปด้วยความเต็มใจของตน หากไม่สามารถปฎิบัติได้ ความหมายของคำว่าพระโพธิสัตว์ในตัวบุคคลนั้นก็ไม่สามารถเกิดขึ้นตามมา แม้พระโพธิสัตว์จะต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ต้องแลกด้วยชีวิตแต่พระโพธิสัตว์ก็ใช่ว่าจะหวาดหวั่นต่อสถานการณ์เช่นนั้นไม่ ตรงกันข้ามพระโพธิสัตว์กลับมีใจมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยวพร้อมที่จะเผชิญกับสถานการณ์ที่ประสบอย่างเต็มใจ และยินดีด้วยมุ่งมั่นที่จะอุทิศตนเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น

    โดยหวังให้คุณธรรมความดีที่บำเพ็ญนั้นเป็นปัจจัยให้ได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณในกาลเบื้องหน้า ....
     
  9. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    คุณลักษณะของพระโพธิสัตว์....

    พระโพธิสัตว์ผู้อยู่ในข่ายที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้านั้นมีองค์ประกอบสำคัญที่เป็นคุณลักษณะเฉพาะ ๔ ประการ คือ ....

    ๑. อุสสาหะ คือ ประกอบไปด้วยความเพียรอันมั่นคง

    ๒. อุมมังคะ คือ ประกอบไปด้วยปัญญาอันเชี่ยวชาญหาญกล้า

    ๓. อวัตถานะ คือ ประกอบไปด้วยพระอธิษฐานอันมั่งคงมิได้หวั่นไหว

    ๔. หิตจริยา คือ ประกอบไปด้วยเมตตาแก่สัตว์เป็นเบื้องหน้า
    (พระนันทาจารย์, ม.ป.ป.:๑๑)

    คุณลักษณะหรือเรียกว่าคุณธรรมทั้ง ๔ ประการนี้เป็นอุปกรณ์หรือวิธีการสำคัญอย่างหนึ่งที่พระโพธิสัตว์จะต้องปฏิบัติตามอย่างมั่นคงจนกว่าจะบรรลุถึงจุดมุ่งหมายขั้นสูงสุดคือพระโพธิญาณ....

    ข้อที่ ๑ อุสสาหะ พระโพธิสัตว์เป็นผู้ประกอบไปด้วยความเพียรอันมั่นคงไม่ย่อท้อต่อความลำบากที่เกิดขึ้นในวัตร ปฎิบัติ ของตน เป็นผู้ซื่อตรงมั่นคงต่อเป้าหมายสูงสุด ด้วยความรักความปรารถนาต่อจุดมุ่งหมายสูงสุดคือพระโพธิญาณจึงทำให้พระโพธิสัตว์เป็นผู้มีความอุสสาหะ ฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ ด้วยคุณธรรมเฉพาะตน ไม่มีจิตคิดสยบต่อมารคือกิเลสเป็นต้น อันเป็นความชั่วที่คอยยั่วยุหรือขัดขวางไม่ให้บำเพ็ญความดีอย่างเต็มที่ เป็นผู้ข้ามพ้นปัญหาต่าง ๆ ด้วยความอุสสาหะยิ่ง และเพราะการจะบรรลุถึงความเป็นพระพุทธเจ้าเป็นสิ่งที่ได้โดยยาก แต่หากพระโพธิสัตว์สามารถข้ามพ้นความยากลำบากนั้นไปได้ด้วยความมุ่งมั่นไม่ยอมแพ้ พระโพธิสัตว์ก็สามารถบรรลุถึงความสำเร็จคือความเป็นพระพุทธเจ้าได้อย่างแน่นอน ดังคำอุปมาซึ่งแสดงให้เห็นถึงความยากลำบากในการที่จะได้บรรลุถึงพุทธภาวะที่ปรากฎในอรรถกถาตอนหนึ่งที่ว่า
    "ผู้ใดสามารถที่จะใช้กำลังแขนของตนว่ายข้ามห้วงแห่งจักรวาลทั้งสิ้นอันเป็นน้ำผืนเดียวกันหมดแล้วถึงฝั่งได้ ผู้นั้นย่อมบรรลุถึงความเป็นพระพุทธเจ้าได้" (ขุ.ชา.อ. ๓ / ๒๕)

    ข้อที่ ๒ อุมมังคะ พระโพธิสัตว์เป็นผู้ประกอบไปด้วยปัญญา อันเชี่ยวชาญหาญกล้ารู้จักไตร่ตรองคิดหาเหตุผล อย่างรวดเร็วมีศักยภาพ ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิผลที่ดี ตลอดทั้งรู้จักแยกแยะความดี ความชั่ว ว่าเป็นสิ่งที่ควรทำ ไม่ควรทำ ถ้าไม่ทำจะมีผลดี ชั่ว มากน้อยแค่ไหน ทำแล้วจะเกิดผลดี เลว ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่นอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นผู้มีความกล้าหาญ ตัดสินปัญหา ที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นมากที่สุด

    ข้อที่ ๓ อวัตถานะ พระโพธิสัตว์เป็นผู้ประกอบไปด้วยพระอธิษฐานอันมั่งคงไม่หวั่นไหว คือเป็นผู้มีจิตอันแน่วแน่มั่นคงในสิ่งที่กำลังกระทำ ไม่คิดละเลิกในสิ่งที่ทำเสียกลางคัน ตราบใดที่ภารกิจอันนั้นยังไม่ถึงที่สุด คือ ความสำเร็จก็ไม่ละทิ้งให้เสียการ อธิษฐานธรรมนี้ย่อมมาพร้อมกับธรรมอีก ๓ ประการ คือ วิริยะ ขันติ และสัจจะ ทั้ง ๔ ประการนี้ เป็นธรรมะที่มีประกอบกันอยู่ เมื่อยกขึ้นข้อหนึ่งก็ย่อมมีอีก ๓ ข้อประกอบอยู่ด้วยเสมอ
    (วัดบวรนิเวศวิหาร, ๒๕๓๒: ๑๙๙)

    เมื่อมีความตั้งมั่นในกิจอันใดอันหนึ่งอย่างมั่นคงแล้ว จำต้องกระทำด้วยความมีวิริยะ และอดทนทั้งอดทนต่อการกระทำกิจอันนั้นและอดทนต่อสิ่งยั่วยุต่าง ๆ ที่อาจเป็นตัวขัดขวางไม่ให้กิจที่กระทำดำเนินไปได้อย่างสะดวก สุดท้ายคือ มีความจริงใจที่จะกระทำกิจให้ลุล่วงจนถึงที่สุด กิจนั้นจึงจะสัมฤทธิ์ผลได้

    ข้อที่ ๔ หิตจริยา พระโพธิสัตว์เป็นผู้ประกอบด้วยเมตตาสัตว์เป็นเบื้องหน้า เป็นผู้ประพฤติประโยชน์ด้วยคำนึงถึงผู้อื่นเสมอโดยไม่เลือกชนิดผู้รับประโยชน์ พระโพธิสัตว์ถือว่าการบำเพ็ญการช่วยเหลือแก่ผู้อื่นนั้นคือภารกิจที่ต้องกระทำตามหน้าที่ คือเป็นการบำเพ็ญบารมีธรรม

    คุณลักษณะทั้ง ๔ ประการนี้ เป็นองค์ประกอบสำคัญในกระบวนการ การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ เป็นการสละตนเองเพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้อื่นทุกชีวิตอย่างเสมอหน้าเท่าเทียมกันเรื่อยไปจนกว่าจะบรรลุเป้าหมาย คือ....

    ความบริบูรณ์ด้วยปัญญาอันเป็นโลกุตตรสมบัติ คือ พระสัพพัญญุตญาณ ....
     
  10. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    คุณลักษณะที่สำคัญของพระโพธิสัตว์ อาจสรุปได้เป็น ๒ ประการ คือ....

    ๑. การบำเพ็ญตนช่วยเหลือสรรพสัตว์ อย่างไร้ขอบเขตหรือประโยชน์ผู้อื่น (ปรัตถะ)

    ๒. การบำเพ็ญบารมีธรรมเพื่อการบรรลุพระโพธิญาณในอนาคต หรือประโยชน์ตนเอง (อัตตัตถะ)

    การดำเนินชีวิตของพระโพธิสัตว์มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์อยู่กับภาระที่จะพึงบำเพ็ญเพื่อประโยชน์ ๒ ประการข้างต้น ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่พระโพธิสัตว์ทุกองค์ต้องมีและประโยชน์ทั้งสองนั้นก็มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด

    กล่าวคือการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อผู้อื่นอย่างไร้ขอบเขตก็คือ การได้ชื่อว่าเป็นการบำเพ็ญบารมีธรรมเพื่อตนเอง ตรงกันข้ามการบำเพ็ญบารมีธรรมเพื่อตนเอง ก็คือการได้มีโอกาสอุทิศตนให้เป็นประโยชน์แก่มวลสัตว์ทั้งปวงเช่นเดียวกัน

    คุณลักษณะอีกอย่างหนึ่งที่มีในตัวของพระโพธิสัตว์ คุณลักษณะนั้นเรียกว่า "อัชฌาสัยของพระโพธิสัตว์" มี ๖ อย่าง คือ....

    ๑. อโลภะ พระโพธิสัตว์ทั้งหลายมีอัชฌาสัยประกอบด้วยความไม่โลภ เป็นผู้มีปกติเห็นโทษของความโลภและอยากได้ในอารมณ์ที่น่าชอบพอพึงใจ

    ๒. อโทสะ พระโพธิสัตว์ทั้งหลายมีอัชฌาสัยประกอบด้วยความไม่โกรธ เป็นผู้มีปกติเห็นโทษของความโกรธ

    ๓. อโมหะ พระโพธิสัตว์ทั้งหลายมีอัชฌาสัยประกอบด้วยความไม่หลง เป็นผู้มีปกติเห็นโทษของความหลง

    ๔. เนกขัมมะ พระโพธิสัตว์ทั้งหลายมีอัชฌาสัยในการถือบวช เป็นผู้มีปกติเห็นโทษในการอยู่ครองเรือน

    ๕. ปวิเวกะ พระโพธิสัตว์ทั้งหลายมีอัชฌาสัยในความสงบ เป็นผู้มีปกติเห็นโทษในการอยู่คลีกับหมู่คณะ

    ๖. นิสสรณะ พระโพธิสัตว์ทั้งหลายมีอัชฌาสัยในการออกจากทุกข์ เป็นผู้มีปกติเห็นโทษในภพและคติทั้งปวง
    (วิสุทธิ. ๑ / ๗๔-๗๕)

    อัชฌาสัยทั้ง ๖ ประการที่กล่าวมาข้างต้นเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นลักษณะนิสัยที่เป็นพื้นฐานของพระโพธิสัตว์ เป็นองค์ประกอบที่เอื้อต่อการบรรลุถึงพุทธภาวะได้ง่ายขึ้น

     
  11. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    อย่างไรก็ตามบุคคลผู้ปรารถนาพุทธภาวะจำต้องผ่านการบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์ก่อน เพื่อให้คุณธรรมเกิดความบริบูรณ์และแก่กล้าอันเป็นการเตรียมความพร้อมที่จะบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ และบุคคลผู้จะได้ชื่อว่าเป็นพระโพธิสัตว์นั้น ต้องถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติเบื้องต้นแห่งการทำให้เป็นพระโพธิสัตว์ซึ่งเรียกว่า....

    "อัฏฐธัมมสโมธาน" คือ การประชุมรวมกันของธรรม ๘ ประการ ธรรมในที่นี้หมายถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เมื่อพร้อมมูลอยู่ในบุคคลใดแล้วก็ยังผลให้บุคคลนั้นได้ชื่อว่าเป็น "นิยตโพธิสัตว์" (บรรจบ บรรณรุจิ,๒๕๒๙:๑๒)
     
  12. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    "นิยตโพธิสัตว์" คือ พระโพธิสัตว์ผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอน ....คุณสมบัติเบื้องต้นหรือองค์ประกอบ ๘ ประการนั้น มีดังนี้....

    ๑. ความเป็นมนุษย์ คือบุคคลผู้ตั้งจิตปรารถนาบรรลุพระโพธิญาณนั้น จะต้องดำรงภาวะเป็นมนุษย์ จะเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน หรือเทวดา ความปรารถนาไม่สามารถสำเร็จได้

    ๒. ความถึงพร้อมด้วยเพศ คือ แม้จะเกิดเป็นมนุษย์ก็ตาม แต่ก็จำกัดเฉพาะเพศบุรุษเท่านั้น จะเป็นสตรี บัณเฑาะก์ หรืออุภโตพยัชชนก(คนสองเพศ) ความปรารถนาก็หาสำเร็จไม่ เช่นกัน

    ๓. เหตุ คือ มี อรหัตตูปนิสัย อันได้แก่ มีความพร้อม หรือมีศักยภาพพอที่จะสามารถบรรลุความเป็นพระอรหันต์ได้ในอัตภาพที่กำลังเป็นอยู่ หรือในขณะนั้นหากมีความปรารถนา

    ๔. การเห็นพระศาสดา คือ การได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง แล้วตั้งความปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้าในสำนักของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น จะตั้งความปรารถนา ณ สถานที่นอกจากนี้ เช่นโคนต้นไม้เป็นต้นย่อมไม่สำเร็จ

    ๕. การบรรพชา คือ การต้องครองเพศเป็นบรรพชิต หรือกำลังถือบวช เท่านั้น จะอยู่ในเพศคฤหัสถ์แล้วตั้งความปรารถนาก็ย่อมไม่สำเร็จ

    ๖. การสมบูรณ์ด้วยคุณ คือ ถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติ อันได้แก่การได้บรรลุอภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ แล้วตั้งความปรารถนา จึงจะสำเร็จได้

    ๗. การกระทำที่ยิ่งใหญ่ คือ การกระทำบุญอันยิ่งด้วยชีวิต อันได้แก่การได้บริจาคชีวิตถวายแด่พระพุทธเจ้า ที่เรียกว่าการกระทำอันยิ่งใหญ่

    ๘. ความพอใจ คือ มีฉันทะความพอใจอันใหญ่หลวง มีอุตสาหะและความพยายามที่จะบรรลุถึงพระโพธิญาณ คือ ความรักความปรารถนาที่จะบรรลุสัพพัญญุตญาณอย่างแรงกล้า แม้ว่าจะมีอุปสรรคที่ยากต่อการฝ่าฟันก็ไม่ยอมแพ้
    (ขุ.ชา.อ. ๓ / ๒๔-๒๕)

    องค์ประกอบของธรรม ๘ ประการนี้เป็นองค์คุณที่จะทำบุคคลให้เป็น " นิยตโพธิสัตว์" จะขาดเสียซึ่งข้อใดข้อหนึ่งเป็นอันไม่บริบูรณ์

    กล่าวคือ ความเป็นพระโพธิสัตว์ผู้มีพระโพธิญาณเป็นเบื้องหน้าก็เป็นอันเกิดขึ้นไม่ได้ กล่าวโดยสรุป คือ บุคคลผู้ได้ชื่อว่าเป็นพระโพธิสัตว์ต้องเริ่มต้นด้วยความถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติดังกล่าวแล้ว

    จึงเริ่มดำเนินการบำเพ็ญบารมีธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า (พุทธการกธรรม) ๑๐ ประการเป็นลำดับต่อไป

    อนึ่งประเด็นคุณสมบัติที่จะทำบุคคลให้เป็นพระโพธิสัตว์นี้ ในฝ่ายเถรวาท (หีนยาน) มีคติว่าบุคคลผู้นั้นต้องสมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ ๘ ประการดังกล่าวแล้วเป็นเบื้องต้นก่อน จึงจะเป็นพระโพธิสัตว์ได้

    แต่ในคติฝ่ายอาจาริยวาท (มหายาน) นั้นมีว่า ทุกคนสามารถบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์ได้เหมือนกันโดยไม่จำเป็นต้องมีคุณสมบัติข้างต้นครบ คตินิยมในฝ่ายอาจาริยวาทนั้นมักให้ความสำคัญกับความเป็นพระโพธิสัตว์เป็นอย่างมาก

    เพราะต้องการบำเพ็ญบารมีเพื่อเป็นพระพุทธเจ้าโดยหวังจะได้ช่วยขนสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ได้คราวละ มาก ๆ
    (จำนง ทองประเสริฐ, ในจำนงค์ ทองประเสริฐ, บรรณาธิการ, ๒๕๔๑: ๓๐)
     
  13. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    ดังนั้น คติแห่งการดำเนินชีวิตจึงมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่การบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์ อีกทั้งประเด็นเรื่องบารมีก็มีความแตกต่างจากคติในฝ่ายเถรวาทในส่วนขององค์ธรรมแม้จะมีจำนวนเท่ากันก็ตาม ซึ่งฝ่ายมหายานนั้นได้แบ่งจำนวนบารมีไว้เป็น ๒ ประเภท คือ

    (๑) บารมีประเภทหลัก และ
    (๒) บารมีประเภทรอง ดังนี้....

    บารมีประเภทหลัก ได้แก่
    ๑. ทานบารมี (การเสริมสร้างความเป็นคนเสียสละ)
    ๒. สีลบารมี (การเสริมสร้างชีวิตแห่งความมีระเบียบวินัย)
    ๓. ขันติบารมี (การเสริมสร้างความเข้มแข็ง-อดทน)
    ๔. วิริยบารมี (การเสริมสร้างความกล้าหาญ)
    ๕. ฌานบารมี (การเสริมสร้างสมาธิจิต)
    ๖. ปัญญาบารมี (การเสริมสร้างปัญญาชั้นสูง)

    บารมีประเภทรอง ได้แก่
    ๑. อุปายบารมี (การเสริมสร้างความคิดริเริ่ม)
    ๒. ปณิธานบารมี (การเสริมสร้างความมีอุดมการณ์ของชีวิต)
    ๓. พลบารมี (การเสริมสร้างปัญญาขั้นต้น)
    ๔. ญาณบารมี (การเสริมสร้างปัญญาขั้นต้น)
    (บุณย์ นิลเกษ, ๒๕๓๔ ก: ๓๒-๓๓)

     
  14. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    ประเภทของพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ในนิกายเถรวาทมี ๓ ประเภทสำคัญ ๆ คือ....

    ๑. อุคฆติตัญญูโพธิสัตว์ ได้แก่ พระโพธิสัตว์ประเภทมีปัญญามากกว่าศรัทธา พระโพธิสัตว์ประเภทนี้ใช้เวลาบำเพ็ญบารมีน้อยกว่าพระโพธิสัตว์ประเภทอื่น เมื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว เรียกว่า พระปัญญาธิกพุทธเจ้า

    ๒. วิปจิตัญญูโพธิสัตว์ ได้แก่ พระโพธิสัตว์ประเภทมีศรัทธามากกว่าปัญญา พระโพธิสัตว์ประเภทนี้ใช้เวลาในการบำเพ็ญบารมีมากกว่าอุคฆติตัญญูโพธิสัตว์ แต่น้อยกว่าเนยยโพธิสัตว์ เมื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว เรียกว่า สัทธาธิกพุทธเจ้า

    ๓. เนยยโพธิสัตว์ได้แก่ พระโพธิสัตว์ประเภทมีความเพียรมากกว่าปัญญา ใช้เวลาในการบำเพ็ญบารมีมากกว่าทั้งสองจำพวกข้างต้น เมื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว เรียกว่า พระวิริยาธิกพุทธเจ้า(เทพพร มังธานี, ๒๕๔๓: ๑๓)

    สำหรับเกณฑ์การแบ่งประเภทพระโพธิสัตว์ข้างต้น อาศัยหลักดังต่อไปนี้
    ๑. ระยะเวลาในการบำเพ็ญบารมีจนกระทั่งได้ตรัสรู้ธรรมเร็วหรือช้ากว่ากัน
    ๒. อินทรียธรรม ที่เป็นตัวนำในการตรัสรู้ธรรม มีมากน้อยแตกต่างกันคือ ปัญญา ศรัทธา วิริยะ
    (บรรจบ บรรณรุจิ, ๒๕๒๙: ๘๒)
     
  15. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    กระบวนการในการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์....

    ระยะเวลาแห่งการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ทุกองค์นั้นต้องใช้เวลาในการสั่งสมบารมีเพื่อให้เกิดความแก่กล้าเป็นเวลานาน กล่าวคือ ถ้ายังมิได้ถึงกำหนด ๔ อสงไขยแสนกัปป์หรือ ๘ อสงไขยแสนกัปป์หรือ ๑๖ อสงไขยแสนกัปป์อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว

    จะให้ทานอันยิ่งเหมือนด้วยทานของพระเวสสันดรทุก ๆ วัน ก็ดี จะบำเพ็ญพระบารมีอันยิ่งให้เสมอด้วยทานนั้นทุก ๆ วัน ก็ดี ด้วยหวังจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าเร็ว ๆ นั้น ก็ไม่สำเร็จ (พระนันทาจารย์, ม.ป.ป.: ๖-๗)

    อันเปรียบเสมือนต้นไม้ต้นเล็กซึ่งยังไม่ถึงเวลาแห่งการผลิตดอกออกผล แม้บุคคลจะหมั่นบำรุงรักษาโดยการในปุ๋ยหรือพรวนดินให้มากสักเพียงใดก็ไม่เป็นผลสำเร็จ เพราะต้นไม้นั้นยังไม่มีภาวะแห่งความพร้อมที่จะออกผล

    ในระหว่างนั้นพระโพธิสัตว์ต้องพบกับความยุ่งยากต่าง ๆ นานัปการซึ่งเปรียบเสมือนข้อทดสอบความมุ่งมั่นจริงใจในการปฏิบัติ

    คติอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นกล้าหาญของพระโพธิสัตว์ ต่อการไม่ยอมจำนนต่ออุปสรรคต่าง ๆ คือ การยอมสละได้แม้ที่สุดคือชีวิต

    ดังคาถาบทหนึ่งมีความว่า

    พึงสละทรัพย์ เพราะเหตุแห่งอวัยวะอันประเสริฐ เมื่อจะรักษาชีวิต ก็พึงสละอวัยวะ นรชน เมื่อระลึกถึงธรรม ก็พึงสละทรัพย์ อวัยวะ และชีวิตแม้ทั้งสิ้น
    (ขุ.ชา. ๒๘ / ๓๘๓ / ๑๐๗)
     
  16. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    กระบวนการในการบำเพ็ญบารมีของพระโพธสัตว์เริ่มต้นขึ้น ....
    หลังจากที่พระโพธิสัตว์ประกอบพร้อมด้วยคุณสมบัติ ๘ ประการ (อัฏฐธัมมสโมธาน) โดยบริบูรณ์แล้ว ....

    จากนั้นพระโพธิสัตว์จึงได้เริ่มตั้งปณิธานคือ ความมั่นคง แน่วแน่ ไม่เปลี่ยนแปลง หรือความมุ่งมั่นตั้งใจจริงซึ่งในฝ่ายพุทธศาสนามหายานเรียกปณิธานของพระโพธิสัตว์นี้ว่า "มหาจตุร ปณิธาน" มี ๔ ประการ คือ

    ๑. เราจะละกิเลสทั้งหลายให้หมดสิ้น
    ๒. เราจะตั้งใจศึกษาพระธรรมทั้งหลายให้เจนจบ
    ๓. เราจะโปรดสรรพสัตว์ทั้งหลายให้สิ้น
    ๔. เราจะบำเพ็ญตนให้บรรลุถึงอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
    (เสถียร โพธินันทะ และเลียง เสถียรสุต, ๒๕๒๙: ๑)

    ปณิธานทั้ง ๔ ข้อนี้ กล่าวได้ว่าอยู่ในฐานะเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของพระโพธิสัตว์ และเปรียบเสมือนสิ่งอันเป็นเครื่องกระตุ้นความมุ่งมั่นทะเยอทะยานอันแรงกล้าในการบำเพ็ญบารมีธรรมของผู้เป็นพระโพธิสัตว์

    และพระโพธิสัตว์จะต้องมีปณิธานทั้ง ๔ ข้อนี้โดยหน้าที่ของตน

    ข้อที่ ๑. พระโพธิสัตว์ในฐานะผู้จะตรัสรู้สัจธรรม อยู่เหนือกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งหลายจึงต้องบำเพ็ญธรรมให้แก่กล้าอันเป็นเครื่องทำลายกิเลสทั้งหลายให้หมดสิ้นเพื่อทำให้ตนเองบริสุทธิ์หมดจด เป็นที่พึ่งแก่สรรพสัตว์ได้

    ข้อที่ ๒. พระโพธิสัตว์ทั้งหลายจะต้องศึกษาธรรม คือความจริงของชีวิตให้เกิดความแจ่มแจ้งแทงตลอดให้เห็นซึ่งความจริงในธรรมชาติ จะต้องเป็นผู้ขวนขวายค้นคว้าหาความรู้จนถึงที่สุดคือความรู้ทุกอย่าง (สัพพัญญุตญาณ) อันเป็นส่วนประโยชน์ตน

    ข้อที่ ๓. พระโพธิสัตว์เมื่อพัฒนาตัวเองจนถึงที่สุด กล่าวคือ เป็นผู้บรรลุพระโพธิญาณอันได้ชื่อว่า ถึงฝั่ง คือ พระนิพพานแล้ว เป็นผู้ถึงที่สุดแห่งความปรารถนาที่ได้ตั้งไว้แล้ว ก็เป็นผู้มีปัญญาความสามารถจะต้องใช้ปัญญาความสามารถนำเอาความจริงที่ได้ค้นพบนั้นไปเผยแผ่แก่มวลสัตว์ทั้งหลายผู้อยู่ในวังวนแห่งความทุกข์ ให้พบกับความสุขที่แท้จริง

    ข้อที่ ๔. พระโพธิสัตว์ คือ ผู้จะได้เข้าถึงแดนพุทธภูมิ ได้แก่การตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตอย่างแน่นอนหากพระโพธิสัตว์มีความมุ่งมั่นที่จะบรรลุถึงเป้าหมายนั้นอย่างไม่เปลี่ยนแปลง อีกทั้งความปรารถนาของพระโพธิสัตว์ที่ต้องการเข้าถึงพุทธภูมิ คือการบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณนั้นเพราะต้องการช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นจากทุกข์ เพราะการช่วยเหลือสรรพสัตว์ทั้งหลายของพระโพธิสัตว์เป็นการช่วยเหลือที่เปี่ยมด้วยประสิทธิภาพมากกว่าพระอรหันต์ และพระปัจเจกพระพุทธเจ้า

    โดยเฉพาะพระปัจเจกพุทธเจ้าไม่สามารถที่จะช่วยเหลือสรรพสัตว์ได้เลย
    เพราะพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น เป็นผู้มีปัญญาเห็นสัจธรรมเฉพาะตัวเอง แต่ไม่สามารถชี้แจงแสดงนัยแห่งสัจธรรมให้แก่ผู้อื่นได้เห็นตามได้
    โดยเหตุที่พระปัจเจกพระพุทธเจ้าทั้งหลายนั้น ตรัสรู้แต่อรรถรสสิ่งเดียว มิได้ตรัสรู้ธรรมรสจึงมิอาจจะยกพระโลกุตตรธรรมขึ้นสู่บัญญัติได้ (พระนันทาจารย์, ม.ป.ป.:๑๕)

    พระโพธิสัตว์ คือ ผู้ที่ยึดถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต พระพุทธเจ้าคือบุคคลในอุดมคติของพระโพธิสัตว์ที่พระโพธิสัตว์จะต้องบำเพ็ญบารมีธรรมให้ครบถ้วนบริบูรณ์ เพื่อก้าวเข้าสู่ฐานะอันเป็นความสำเร็จสูงสุดเช่นเดียวกับพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ แล้วดำเนินตามพุทธกิจที่พึงปฏิบัติ คือ การกระทำตามปณิธานที่ได้วางไว้ กล่าวคือ จักได้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วทำการช่วยเหลือสัพพสัตว์ให้ข้ามพ้นวัฎฎะสงสาร ดังที่พระพุทธเจ้าได้ทรงดำริในพระทัยในคราวที่พระองค์ได้เสวยพระชาติเป็นสุเมธดาบส ซึ่งเป็นพระชาติแรกของการเริ่มต้นเป็นพระนิยตโพธิสัตว์(ได้รับ พุทธพยากรณ์) ความตอนหนึ่ง ที่ว่า....

    วันนี้เราเมื่อปรารถนาอยู่ก็พึงเผากิเลสของเราได้ จะมีประโยชน์อะไรแก่เราเล่า ด้วยการทำให้แจ้งธรรมในที่นี้ด้วยเพศที่ใคร ๆ ไม่รู้จัก เราบรรลุพระสัพพัญญุตญาณจักเป็นพระพุทธเจ้าในโลกพร้อมทั้งเทวโลก จะมีประโยชน์อะไรแก่เราด้วยลูกผู้ชายผู้มีรูปร่างแข็งแรงนี้ข้ามฝั่งไปคนเดียว เราบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้วจักให้มนุษย์พร้อมทั้งเทวดาข้ามฝั่งด้วยการกระทำ อันยิ่งใหญของเรา ด้วยลูกผู้ชายผู้มีรูปร่างแข้งแรงนี้ เราบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ แล้วจักให้เหล่าชนมากมายข้ามฝั่ง เราตัดกระแสน้ำคือสงสาร ทำลายภพทั้งสามแล้ว ขึ้นสู่ธรรมนาวาจักให้มนุษย์พร้อมทั้งเทวดาข้ามฝั่ง
    (ขุ.ชา.อ. ๓ / ๒๓-๒๔)
     
  17. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    บารมี ๑๐ ประการ....

    การบำเพ็ญประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น เรียกว่า การบำเพ็ญคุณธรรมที่จะทำให้เป็นพระพุทธเจ้า (พุทธการกธรรม) หรือเรียกว่า บารมี ซึ่งในพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทที่ผู้วิจัยทำการศึกษานี้ บารมีธรรมที่พระโพธิสัตว์จะต้องบำเพ็ญให้บริบูรณ์มี ๑๐ ประการ คือ ....

    ๑.ทาน ได้แก่ การสละให้สิ่งที่สละให้มี ๓ ระดับ คือ
    - ทรัพย์สิ่งของภายนอก
    - อวัยวะในร่างกายของตน
    - ชีวิตตนเอง หรือสิ่งเสมอด้วยชีวิตตน คือ บุตร / ภรรยา

    ๒ ศีล ได้แก่ คุณธรรมเครื่องปราบกิเลสอย่างหยาบ ได้แก่ กิเลสที่เกิดขึ้นแล้ว ทำให้ไม่สามารถยับยั้งใจไว้ได้ต้องลงมือกระทำความชั่ว ไม่ว่าจะเป็นทางกายหรือทางวาจา ศีลที่พระโพธิสัตว์รักษามี ๒ คือ
    - นิจศีล (ศีล ๕)
    - อุโบสถศีล (ศีล ๘)

    ๓.เนกขัมมะ ได้แก่ การออกจากกาม มี ๒ คือ
    - ออกจากกามโดยสละบ้านเรือนออกบวช
    - ออกจากกามโดยบำเพ็ญสมาธิจนได้บรรลุญาณ

    ๔.ปัญญา ได้แก่ ความรอบรู้ ความรู้อย่างลึกซึ้ง มี ๓ คือ
    - สุตมยปัญญา ปัญญาอันเกิดจากการศึกษาเล่าเรียน
    - จินตามยปัญญา ปัญญาอันเกิดจากการคิดพิจารณา
    - ภาวนามยปัญญา ปัญญาอันเกิดจากการฝึกจิต อบรมจิต

    ๕.วิริยะ ได้แก่ ความพากเพียรพยายาม การกระทำอย่างต่อเนื่อง ในทางที่ถูกต้องเรียกว่า สัมมัปปธาน มี ๔ อย่างคือ
    - สังวรปธาน เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้น
    - ปหานปธาน เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
    - ภาวนาปธาน เพียรทำบุญให้เกิดขึ้น
    - อนุรักขนาปธาน เพียรรักษาการทำบุญไว้ต่อเนื่อง

    ๖. ขันติ ได้แก่ ความอดทนมี ๓ คือ
    - ตีติกขาขันติ ความอดทนแบบอดกลั้นต่ออารมณ์อันไม่พึงประสงค์ต่างๆ
    - ตบะ ขันติ ความอดทนด้วยอำนาจตบะ คือ สมาธิข่มใจ ไม่ตกอยู่ใต้อำนาจกิเลส
    - อธิวาสนขันติ ความอดทนระงับยับยั้งไม่ให้กิเลสเกิดขึ้นเลยแม้ต้องเอาชีวิตเข้าแลก

    ๗. สัจจะ ได้แก่ ความจริง ความเที่ยงแท้ หมายถึง ความจริงใจ พูด และทำ ตามความคิด

    ๘. อธิษฐาน ได้แก่ ความตั้งมั่น ความมั่นคง ไม่หวั่นไหว ในความคิด กระทำสิ่งใดก็ทำจนบรรลุเป้าหมาย

    ๙. เมตตา ได้แก่ ความรัก ความปรารถนาดี ด้วยอำนาจคุณธรรม ไม่ใช่รักและปรารถนาดี ด้วยอำนาจกามราคะ

    ๑๐. อุเบกขา ได้แก่ ความวางเฉย ความปล่อยวาง หมายถึง อาการที่จิตเป็นกลาง ไม่ยึดใน ความดีที่ตนเองได้กระทำลงไป และไม่ทุกข์ใจในการทำผิดซึ่งพลาดพลั้งเกิดขึ้น (บรรจบ บรรณรุจิ, ๒๕๒๙: ๑๙-๒๑)

    บารมีทั้ง ๑๐ ประการข้างต้น พระโพธิสัตว์จะต้องบำเพ็ญด้วยความเสียสละตนเองเป็นอย่างยิ่งอันเป็นส่วนของความเมตตากรุณาต่อปวงสัตว์ และจะต้องฝึกหัดบำเพ็ญบารมีอันนั้นให้เกิดเป็นความต่อเนื่อง

    และจะต้องปฏิบัติให้ได้ตั้งแต่ระดับสามัญ (บารมี) บารมีกลาง(อุปบารมี) จนถึงระดับที่กระทำได้ยากสุด (ปรมัตถบารมี)

    พระโพธิสัตว์จะต้องปฏิบัติได้เพื่อให้เกิดคุณธรรมแก่กล้าอันเป็นป็นปัจจัยให้เกิดโลกุตตรปัญญาคือความเป็นพุทธะในที่สุด

    และหากพระโพธิสัตว์ไม่สามารถบำเพ็ญบารมีทั้งสิบนี้ให้ครบถ้วนก็ไม่มีทางที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้
    (จำนง ทองประเสริฐ, ใน วิมล ไทรนิ่มนวล, บรรณาธิการ, ๒๕๓๙: ๓๗๙)
     
  18. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    คุณธรรมหรือบารมีของพระโพธิสัตว์ แม้มีถึง ๑๐ ประการ แต่เมื่อจัดรวมเข้าด้วยกันแล้วก็มีข้อที่เป็นหลักคลุมข้ออื่น ทั้งหมด ๒ อย่าง คือ

    ๑.กรุณา คือ เห็นแก่ผู้อื่น มุ่งจะบำบัดทุกข์นำสุขมาให้แก่สรรพสัตว์

    ๒. ปัญญา คือ ฝึกตนยิ่งขึ้นไปด้วยใฝ่รู้ตลอดเวลาให้มีปัญญารู้แจ้งธรรม มองเห็นถูกต้องว่า อะไรเป็นประโยชน์ อะไรไม่เป็นประโยชน์แท้จริงแก่สรรพสัตว์ที่ตนจะทำประโยชน์ให้ (พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต), ๒๕๔๒: ๗๙)

    ในขณะที่พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมี ๑๐ ก็มุ่งหวังที่จะช่วยเหลือหมู่สัตว์ทั้งปวงให้ได้รับโลกิยสุขเพื่อพระโพธิสัตว์ได้บรรลุความดีคือพระโพธิญาณอันเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุด แล้วก็คิดหวังจะช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้ได้รับโลกุตตรสุขเช่นที่พระองค์ได้รับ กล่าวคือ แม้ขณะบำเพ็ญบารมีก็ดี แม้ได้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายตามที่หวังแล้วก็ดี ทั้ง ๒ ประการนี้ก็เป็นไปเพื่อบำเพ็ญประโยชน์แก่หมู่สัตว์ทั้งสิ้นอันเป็นส่วนของพระกรุณา

    การบำเพ็ญบารมีทั้ง ๑๐ ประการดำเนินไปได้อย่างถูกต้องตามหลักวิธีและเกิดผลสัม ฤทธิ์ในที่สุดก็ด้วยเหตุที่พระโพธิสัตว์รู้จักใช้ปัญญาคิดหาเหตุผลไตร่ตรองความเป็นไปของกระบวนการการบำเพ็ญบารมีว่า ในสถานการณ์ที่เผชิญนั้นควรแสดงออกอย่างไรจึงจะถูกต้องเหมาะสมและเป็นปัจจัยเอื้อให้ได้บรรลุถึงซึ่งพระโพธิญาณ

    ถ้าสถานการณ์นั้นทำให้พระโพธิสัตว์ไตร่ตรองแล้วว่าการสละชีวิตเท่านั้น จะเป็นทางรอดของสัตว์ผู้เผชิญความทุกข์และถูกหลักการแห่งการบำเพ็ญบารมี พระโพธิสัตว์ก็สามารถทำได้อันเป็นส่วนของพระปัญญา

    บารมี ๑๐ ประการนี้ เป็นอุดมคติธรรมของพระโพธิสัตว์ คือ เป็นธรรมที่พระโพธิสัตว์ทุกองค์ต้องบำเพ็ญเป็นหลักธรรมสำหรับยึดเหนี่ยวปฏิบัติเพื่อการบรรลุสัจธรรม

    กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ พระโพธิสัตว์ได้ยึดเอาหลักธรรมทั้ง ๑๐ ประการนี้ เป็นข้อปฏิบัติเมื่อเผชิญกับสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดปัญหา หรือความยากลำบาก ในการตัดสินใจกระทำ บารมีทั้ง ๑๐ ประการนี้ เป็นคุณธรรมสำคัญที่จะทำให้พระโพธิสัตว์ได้ก้าวไปสู่ พุทธภาวะ หรือบรรลุพระโพธิญาณ พระโพธิสัตว์ได้ปฏิบัติในบารมีธรรมเหล่านั้นครบทั้ง ๑๐ อย่าง คือ ไม่น้อยกว่าหรือมากกว่า ๑๐ ประการ ดังกล่าวแล้ว

    ดังพระบาลีที่ว่า ….
    บารมีของเรา ๑๐ ประการนี้ เป็นส่วนแห่งพระโพธิญาณอันเลิศ บารมียิ่งกว่า ๑๐ ไม่มี หย่อนกว่า ๑๐ ก็ไม่มี เราบำเพ็ญบารมีทุกอย่าง ไม่ยิ่งไม่หย่อน เป็นบารมี ๑๐ ประการ ฉะนี้แล (ขุ.จริยา.๓๓ / ๓๖ / ๓๓)
     
  19. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    บารมีธรรมทั้ง ๑๐ ประการข้างต้นพระโพธิสัตว์ต้องบำเพ็ญให้ครบ จะขาดเสียซึ่งข้อใดข้อหนึ่งไปไม่ได้เพราะเป็นการไม่ครบองค์คุณ ซึ่งระดับการปฏิบัติก็สามารถจัดแบ่งได้ตามคุณภาพหรือความเข้มข้นเป็น ๓ ระดับ คือ

    ๑.ระดับบารมีหรือระดับสามัญ
    ๒.ระดับอุปบารมี หรือ ระดับกลาง
    ๓.ระดับปรมัตถบารมี หรือ ระดับสูงสุด

    ระดับสามัญ เป็นระดับอันมีความยากลำบากน้อยสุดคือต้องสละวัตถุภายนอก

    ระดับปานกลางเป็นระดับอันมีความยากลำบากกว่าระดับแรก คือต้องแลกด้วยอวัยวะทางร่างกายและสุดท้าย

    ระดับสูงสุดซึ่งมีความยากลำบากที่สุด เพราะต้องเสียสละซึ่งชีวิตหรือสิ่งเสมอด้วยชีวิต

    คุณธรรมหรือพุทธการกธรรม ๑๐ ประการดังกล่าว พระโพธิสัตว์ต้องปฏิบัติได้ทั้ง ๓ ระดับ คือ สามัญ ปานกลาง และสูงสุด

    ดังนั้น การบำเพ็ญบารมีอันเป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณเหล่านี้จึงจัดเป็นบารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ และปรมัตถบารมี ๑๐ (๓๓ / ๓๖ / ๓๒)

    แม้จะมีความยากลำบากเพียงไร พระโพธิสัตว์ก็สามารถปฏิบัติได้อย่างไม่ขัดเคืองใจ และกลับเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายสำหรับพระโพธิสัตว์ ผู้มุ่งมั่นต่อพระโพธิญาณ

    ดังพระพุทธพจน์ที่ตรัสในคราวเสวยพระชาติเป็นพญานาคภูริทัตตะ ความว่า....
    การที่เราสละชีวิตของตน เป็นของเบา แม้กว่าหญ้า
    การล่วงศีลของเรา เป็นเหมือนดังว่า พลิกแผ่นดินขึ้น
    (๓๓ / ๑๗ / ๗๔๘)


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ธันวาคม 2005
  20. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    อีกทั้งบุคคลผู้ได้ชื่อว่า เป็นพระโพธิสัตว์ย่อมเห็นพระโพธิญาณ เป็นสิ่งสำคัญเหนือสิ่งอื่นใดทั้งหมด แม้กระทั่งชีวิต และสิ่งเสมอด้วยชีวิต คือ บุตร และ ภรรยา ไม่ใช่ชีวิตและสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของตนจะไม่สำคัญ....

    แต่เพราะตนเห็นว่า พระโพธิญาณ มีความสำคัญกว่ายิ่งนัก เพราะเป็นหนทางที่จะทำให้ชีวิตทั้งของตนและผู้อื่นพบกับความสุขที่แท้จริงและชั่วนิรันดร์ได้ ดังพุทธดำรัสที่ได้ตรัสในขณะเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรมีความว่า....

    ....เราสละพ่อชาลีและแม่กัณหาชินา ผู้เป็นบุตรธิดาและพระนางมัทรี เทวีผู้มีจริยาวัตรงดงามไม่คิดถึงเลย เพราะเหตุแห่งพระโพธิญาณนั้นเอง บุตรทั้งสอง…พระเทวีมัทรีเป็นที่น่ารังเกียจก็หาไม่ แต่พระสัมพัญญุตญาณ เป็นที่รักของเรา เพราะฉะนั้นเราจึงให้บุตรธิดาและภรรยาผู้เป็นที่รัก (๓๓ / ๑๑๘-๑๑๙ / ๗๔๒)


     

แชร์หน้านี้

Loading...