ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,307
    ค่าพลัง:
    +97,150
    FB_IMG_1603899826775.jpg

    กรมการขนส่งทางบก แนะ!!! เลือกใช้บริการรถจักรยานยนต์สาธารณะถูกกฎหมายสังเกตแผ่นป้ายทะเบียนสีเหลือง ผู้ขับขี่สวมเสื้อวิน ข้อมูลบนบัตรประจำตัวและรถต้องถูกต้องและตรงกัน มั่นใจ ปลอดภัย มีประวัติผู้ขับขี่ สามารถติดตามตัวกรณีเกิดเหตุร้องเรียนได้ทันที

    นางจันทิรา บุรุษพัฒน์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า กรมการขนส่งทางบกมีมาตรการกวดขันการให้บริการรถจักรยานยนต์สาธารณะอย่างเข้มข้นจริงจัง เนื่องจากที่ผ่านมายังพบการฝ่าฝืนใช้รถจักรยานยนต์รับจ้างผิดกฎหมาย (ป้ายดำ) มาลักลอบให้บริการประชาชน ซึ่งทั้งรถและคนไม่ผ่านการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ไม่มีข้อมูลในศูนย์ข้อมูลประวัติผู้ขับรถสาธารณะของกรมการขนส่งทางบก ทำให้ยากแก่การติดตามตัวมาลงโทษ รวมถึงผู้โดยสารจะไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมายกรณีเกิดเหตุไม่พึงประสงค์หรือเกิดอุบัติเหตุ กรมการขนส่งทางบกจึงขอให้ประชาชนเลือกใช้บริการรถจักรยานยนต์สาธารณะที่ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อความปลอดภัยในการใช้บริการและได้รับการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย โดยรถจักรยานยนต์ที่สามารถนำมารับส่งผู้โดยสารได้ต้องจดทะเบียนเป็นรถจักรยานยนต์สาธารณะ (ป้ายเหลือง) ต้องมีที่ตั้งวินตามที่ได้รับอนุญาต และต้องให้บริการในเส้นทางหรือพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ด้านผู้ขับขี่ต้องมีใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ ต้องแต่งกายตามระเบียบที่ทางราชการกำหนด สวมเสื้อวินที่แสดงบัตรประจำตัวและหมายเลขประจำตัวที่ถูกต้องตรงกัน และการเรียกเก็บอัตราค่าโดยสารต้องเป็นไปตามที่ทางราชการกำหนด ต้องติดตั้งป้ายแสดงอัตราค่าโดยสารให้ประชาชนรับทราบอย่างชัดเจนในบริเวณที่ตั้งวินด้วย

    รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมการขนส่งทางบกได้จัดผู้ตรวจการลงพื้นที่ตรวจสอบการให้บริการรถจักรยานยนต์สาธารณะอย่างต่อเนื่อง หากพบการให้บริการไม่ปลอดภัย ฝ่าฝืนกฎหมาย หรือฉวยโอกาสช่วงที่มีปัญหาการเดินทางหรือช่วงเทศกาลเก็บค่าโดยสารเกินที่ทางราชการกำหนด ดำเนินการลงโทษตามกฎหมายทันที เพื่อให้การกำกับดูแลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประชาชนได้รับการบริการที่ดี มีความมั่นใจ มีความปลอดภัย ผู้โดยสารได้รับการให้บริการที่เป็นธรรม ทั้งนี้ พบปัญหาจากการใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ สามารถร้องเรียนมายังกรมการขนส่งทางบกได้ทันที โดยระบุรายละเอียดรถที่กระทำความผิด หรือบันทึกภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว ที่เห็นหมายเลขทะเบียนรถได้ชัดเจน ซึ่งจะทำให้กระบวนการติดตามตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษเป็นไปด้วยความรวดเร็ว ส่งข้อมูลได้ที่ ศูนย์คุ้มครองผู้โดยสารและรับเรื่องร้องเรียน สายด่วน 1584 ตลอด 24 ชั่วโมง, แอปพลิเคชัน DLT GPS, Line ID “@1584dlt”, เว็บไซต์ http://ins.dlt.go.th/cmpweb/, E-Mail : dlt_1584complain@hotmail.com, เฟซบุ๊ก “1584 ร้องเรียนรถโดยสารสาธารณะ”, ส่งจดหมายหรือหนังสือร้องเรียนมายังกรมการขนส่งทางบก ทั้งนี้ เมื่อมีการตรวจสอบและดำเนินการเปรียบเทียบปรับหรือคดีถึงที่สุดแล้ว ผู้แจ้งมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเงินรางวัลนำจับ ร้อยละ 50 ของเงินค่าปรับหลังจากหักเป็นเงินนำส่งรายได้แผ่นดินแล้ว เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม และสร้างวินัยการขับขี่ให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ใช้รถใช้ถนน รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวในที่สุด
    ----------------------------------

     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,307
    ค่าพลัง:
    +97,150
    บริษัทการรถไฟแห่งญี่ปุ่นภาคตะวันออก หรือเจอาร์อีสต์ ประสบภาวะขาดทุนกลางปีเป็นครั้งแรก โดยขาดทุนสุทธิ 264,000 ล้านเยน หรือราว 79,000 ล้านบาทในช่วงเดือนเมษายนถึงกันยายน เนื่องจากการระบาดใหญ่ของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่

    การขาดทุนดังกล่าวถือเป็นการขาดทุนกลางปีครั้งแรกของบริษัท นับตั้งแต่ปีงบประมาณ 2535 ซึ่งเป็นปีที่ทางบริษัทได้เริ่มเปิดเผยผลประกอบการครึ่งปี

    เจอาร์อีสต์ระบุว่ายอดขายของบริษัทในเครือในช่วง 6 เดือนดังกล่าวลดลงเกือบครึ่งหนึ่งจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยความต้องการใช้บริการรถไฟลดลงอย่างฮวบฮาบ ขณะที่ยอดขายตามร้านจำหน่ายสินค้าและโรงแรมในอาคารของสถานีรถไฟแห่งต่าง ๆ ก็ลดลง

    นอกจากนี้ ทางบริษัทยังคาดว่ายอดขาดทุนสุทธิสำหรับปีงบประมาณนี้ซึ่งจะสิ้นสุดในเดือนมีนาคมปีหน้าจะอยู่ที่กว่า 400,000 ล้านเยน โดยถือเป็นการขาดทุนสุทธิรายปีเป็นครั้งแรก

    เจอาร์อีสต์ระบุว่าทางบริษัทมุ่งที่จะตัดลดค่าใช้จ่ายลงประมาณ 100,000 ล้านเยนในปีงบประมาณนี้ ด้วยการลดค่าตอบแทนของผู้บริหารและค่าใช้จ่ายด้านโฆษณา

    ติดตามรายละเอียดของข่าวอื่น ๆ ได้ที่นี่
    https://www3.nhk.or.jp/nhkworld/th/news/

     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,307
    ค่าพลัง:
    +97,150
    #มอร์มูฟเป็นข่าว พร้อมรับมือฝุ่นพิษ!! กรุงเทพมหานคร พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมแผนรับมือค่าฝุ่น PM 2.5 สูงที่มักจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูหนาวที่อากาศจะปิดในช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ 2564 โดย กทม. และ กองบังคับการตำรวจ ได้ออกคำสั่งห้ามรถยนต์ตั้งแต่ 6 ล้อขึ้นไปวิ่งเข้าในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่ในช่วงเวลา 06.00 - 21.00 น. โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 63 นี้ไปจนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ในปี 64 เพื่อลดมลพิษทางอากาศที่เกิดจากควันรถเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ รวมทั้งขอความร่วมมือสถานศึกษางดกิจกรรมกลางแจ้งหากเกิดสถานการณ์ค่าฝุ่นสูงต่อเนื่อง 3 วัน โดยจะพิจารณาให้ปิดโรงเรียนตามความเหมาะสม

    ในส่วนงานก่อสร้างต่างๆ - หากในช่วงวิกฤติที่มีปริมาณค่าฝุ่นสูงจะห้ามไม่ให้มีการก่อสร้างนอกอาคาร แต่ในพื้นที่ปิดภายในอาคารสามารถทำได้ ซึ่งปัจจุบัน กทม.ได้ติดตั้งสถานีตรวจวัดค่าฝุ่นทั้ง 50 เขตเรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างติดตั้งภายในสวนสาธารณะเพิ่มเติมอีก 20 แห่งเพื่อให้ประชาชนที่มาออกกำลังกายได้ทราบข้อมูลอากาศภายในสวนว่าจะสามารถออกกำลังกายได้หรือไม่

    ** สำหรับมาตรการอื่นๆ - กทม.ก็ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เช่น การปลูกต้นไม้ยืนต้น 2 ฝั่งถนนที่สร้างใหม่ และปลูกต้นไม้ช่วยดูดซับฝุ่นบริเวณใต้สถานีรถไฟฟ้าในเส้นต่างๆ ให้มากที่สุด พร้อมการพ่นละอองน้ำ การฉีดล้างทำความสะอาดถนนและใบไม้ พร้อมส่งเสริมให้ประชาชนใช้ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ.

     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,307
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เอาแล้ว! จีนพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่มากที่สุดในรอบ 2 เดือน

    ทางการจีนพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่เพิ่มอีก 42 รายในรอบวัน ซึ่งนับว่ามากที่สุดในรอบ 2 เดือนที่ผ่านมา


    สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ในจีน ถูกจับตามองอีกครั้ง หลังเมื่อวานนี้ (27 ต.ค.63) มีรายงานผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มมา 42 ราย ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ ซึ่งนับว่าเป็นจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันที่สูงที่สุดในรอบ 2 เดือนที่ผ่านมา โดยในจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมดมี 22 ราย ที่เป็นการติดเชื้อภายในเขตซินเจียงอุยกูร์ หลังพบการระบาดเป็นวงกว้างในโรงงานทอผ้าในเมืองคัชการ์ จนทางการต้องสั่งตรวจเชื้อประชากรทั้งหมดจำนวน 4.75 ล้านคน ซึ่งการตรวจเพิ่งเสร็จสิ้นไปเมื่อช่วงบ่ายวันอังคารตามเวลาในท้องถิ่น และพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 จากการตรวจ รวมทั้งสิ้น 183 ราย โดยเจ้าหน้าที่ยังไม่ทราบแน่ชัดที่ต้นทางหรือที่มาที่ทำให้เกิดการระบาดขึ้น

    นอกจากนี้ สาธารณสุขท้องถิ่นยังรายงานว่า พบการติดเชื้อรายใหม่ 19 ราย ที่ไม่แสดงอาการ ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนถึงครึ่งหนึ่งของรายงานการติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการในจีนแผ่นดินใหญ่เมื่อวันที่ 27 ตุลาคมที่ผ่านมา

    ทั้งนี้ ประเทศจีนเคยพบผู้ติดเชื้อรายวันสูงที่สุดที่ 44 ราย เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม โดยไม่ได้นับรวมช่วงที่มีการระบาดหนักที่สุดในประเทศตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยปัจจุบันประเทศจีนมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 รวมทั้งสิ้น 85,868 ราย และมีผู้เสียชีวิตคงที่ที่ 4,634 ศพ

     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,307
    ค่าพลัง:
    +97,150
    PSX_20201028_230013.jpg

    (Oct 27) ธนาคารกลางทำ QE แล้วดีจริงหรือ? จากบทความ “เมื่อธนาคารกลางทั่วโลกหมดกระสุน” เมื่อ 29 ก.ย.2563 ได้เล่าถึงทางเลือกที่ธนาคารกลาง หากมีเครื่องมือหลักอย่างอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

    หากเครื่องมือหลักอย่างอัตราดอกเบี้ยนโยบายติดข้อจำกัด หนึ่งในทางเลือก ก็คือคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ แต่เปลี่ยนโฟกัสมาลดอัตราดอกเบี้ยระยะกลางและยาวในตลาดตราสารหนี้ สิ่งที่หลายธนาคารกลางต่างทำกัน คือการประกาศเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาล หรือที่เรียกกันว่า QE (Quantitative Easing) คำถามที่ตามมา คือ การทำ QE ดีจริงหรือ? บทความนี้จะเล่าว่า การทำ QE จะดีจริงหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการและการทำก็อาจมีผลเสียมากมายที่จะตามมาเช่นกัน

    ก่อนจะสรุปว่าการทำ QE ดีจริงหรือไม่ เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่าธนาคารกลางคาดหวังอะไรจากการทำ QE เมื่อธนาคารกลางเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลตามช่วงอายุต่าง ๆ ผลที่ตามมา คืออัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลจะลดลง ส่งผลให้ต้นทุนการระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้ของภาคธุรกิจถูกลง ขณะเดียวกันเมื่อธนาคารกลางเข้าซื้อพันธบัตร จะเป็นการ “คืนเม็ดเงิน” กลับไปให้นักลงทุนที่ถือพันธบัตรอยู่เดิม อย่างไรก็ดี ต้องดูว่านักลงทุนและธนาคารพาณิชย์นำเงินที่ได้ไปทำอะไรต่อ ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สำหรับประโยชน์ที่ธนาคารกลางคาดว่าจะได้รับจากการทำ QE มี 4 ประการดังนี้

    ประการแรก ต้นทุนที่ถูกลงในตลาดตราสารหนี้จะส่งผ่านไปยังอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ หากต้นทุนการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ลดลง ธนาคารพาณิชย์ก็มีแนวโน้มปล่อยกู้ที่อัตราดอกเบี้ยต่ำลง เพื่อรักษาฐานลูกค้าที่สามารถระดมทุนได้ทั้งในตลาดสินเชื่อและตลาดตราสารหนี้

    ประการที่สอง การเพิ่มสภาพคล่องเพื่อกระตุ้นให้เกิดการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น การเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลจากธนาคารพาณิชย์ ทำให้ธนาคารพาณิชย์มีเงินสดในมือเพิ่มขึ้นและอาจส่งผลให้มีการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น อย่างไรก็ดี การตัดสินใจปล่อยกู้ก็ขึ้นกับความเสี่ยงของผู้กู้ด้วย

    ประการที่สาม ส่วนต่างระหว่างอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ภาคเอกชนและพันธบัตรรัฐบาลจะลดลง ซึ่งเอื้อต่อการระดมทุนของภาคธุรกิจ เมื่อธนาคารกลางเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาล และนักลงทุนที่ถือพันธบัตรอยู่เดิมนำเม็ดเงินที่ได้ไปลงทุนต่อในสินทรัพย์ทางการเงินอื่น ๆ เพื่อผลตอบแทนที่สูงขึ้น เช่น ลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชน ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์เหล่านี้ก็จะลดลงตาม

    ประการที่สี่ ราคาสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นจะกระตุ้นการบริโภค หากนักลงทุนนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์อื่น ๆ เช่น หุ้นหรืออสังหาริมทรัพย์ จะไปกดดันให้ราคาสินทรัพย์ต่าง ๆ ปรับขึ้นตาม ทำให้ผู้ที่ถือสินทรัพย์ที่ราคาสูงขึ้นรู้สึกมั่งคั่ง (wealth effect) และอยากจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น

    ประโยชน์จากการทำ QE ทั้ง 4 ประการนี้เป็นเพียงสิ่งที่ธนาคารกลางหวัง แต่การทำ QE จะมีประสิทธิผลมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น หากในประเทศนั้นตลาดเงินเชื่อมโยงกับตลาดสินเชื่อน้อย ประโยชน์ก็จะจำกัดอยู่ที่ธุรกิจรายใหญ่ที่ระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้ได้ ขณะที่ธุรกิจส่วนใหญ่และครัวเรือนที่พึ่งพาการกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์จะไม่ได้รับประโยชน์มากนัก หรือหากสภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์มีสูงอยู่แล้ว การให้สภาพคล่องเพิ่มเติมอาจไม่ส่งผลให้เกิดการปล่อยสินเชื่อ นอกจากนี้ หากประชาชนส่วนใหญ่ถือสินทรัพย์ในรูปเงินฝาก ผู้ที่จะได้ประโยชน์จากราคาสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นก็จะกระจุกอยู่ที่คนรวยซึ่งมีอัตราการออมสูง ดังนั้น การหวังที่จะกระตุ้นการบริโภคผ่านช่องทางนี้จึงเป็นเรื่องยาก

    จะเห็นได้ว่า ผลดีจากการทำ QE ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยและบริบทของประเทศนั้น ๆ โดยประเทศที่พัฒนาแล้วมักมีปัจจัยต่าง ๆ ที่เอื้อให้เกิดประโยชน์จากการทำมากกว่าประเทศที่กำลังพัฒนา เช่น สหรัฐฯ และอังกฤษที่เป็นศูนย์กลางทางการเงิน มีตลาดตราสารทุนและตราสารหนี้ที่กว้างและลึก ส่วนตลาดเงินและตลาดสินเชื่อมีความเชื่อมโยงกันสูง ประชาชนมีความรู้ทางการเงินและลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ปัจจัยเหล่านี้จึงเอื้อให้เกิดประโยชน์จากการทำ QE ได้มากกว่า

    ทั้งนี้ การทำ QE ก็มีผลเสียอยู่หลายข้อด้วยกัน ซึ่งจะทยอยสะสมความเปราะบางต่อเศรษฐกิจมากขึ้นเรื่อย ๆ

    ข้อแรก การลดอัตราดอกเบี้ยระยะกลางและยาวจะค่อย ๆ ส่งผลเสียต่อฐานะทางการเงินของสถาบันการเงิน ซึ่งจะบั่นทอนความสามารถในการปล่อยสินเชื่อในระยะยาว

    ข้อสอง นักลงทุนมีแนวโน้มลงทุนเสี่ยงมากขึ้นในภาวะที่ผลตอบแทนอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากประเมินความเสี่ยงต่ำเกินไป อีกทั้งราคาสินทรัพย์ที่สูงขึ้นอาจปรับตัวรุนแรงและรวดเร็ว (sharp asset price correction) ได้ในภายหลังจนสร้างความเปราะบางให้กับเสถียรภาพระบบการเงิน

    ข้อสาม ประโยชน์จาก QE อาจกระจุกอยู่กับบริษัทขนาดใหญ่และคนรวย ซึ่งจะซ้ำเติมปัญหาความเลื่อมล้ำในสังคม

    ข้อสี่ มาตรการ QE มักต้องทำต่อเนื่องเป็นเวลานาน ซึ่งอาจทำให้ตลาดเสพติดจนส่งผลต่อกลไกการทำงานของตลาด อีกทั้งการออกจากมาตรการ QE อาจทำได้ยาก เนื่องจากอัตราผลตอบแทนอาจปรับตัวขึ้นแรงเมื่อถอนมาตรการ

    ข้อห้า อัตราดอกเบี้ยระยะกลางและยาวที่ลดลงจะส่งผลกระทบต่อการออม ซึ่งอาจสร้างปัญหาในระยะยาวโดยเฉพาะภาคครัวเรือนที่มีแนวโน้มออมเงินไม่พอสำหรับยามเกษียณ

    ถามว่าการทำ QE ดีจริงหรือไม่ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการและผลของมาตรการอาจสร้างความเปราะบางต่อระบบเศรษฐกิจได้ ถ้าเศรษฐกิจติดโควิด 19 และต้องการยาขนานใหม่ หมอจะจ่ายยาแรง ก็ต้องดูให้เหมาะกับสภาวะความพร้อมของร่างกายและผลข้างเคียงของยา เช่นกันผู้ดำเนินนโยบายก็ต้องเลือกใช้นโยบายให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศ และต้องชั่งน้ำหนักอย่างรอบคอบระหว่างประโยชน์ที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจกับผลกระทบต่อเศรษฐกิจในระยะยาว

    *บทความโดย น.ส.นลิน หนูขวัญ
    เศรษฐกรอาวุโส
    ฝ่ายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย

    บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย

    Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/651379
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,307
    ค่าพลัง:
    +97,150
    PSX_20201028_230132.jpg

    (Oct 28) งบการเงินแบงก์ชาติมีแต่หนี้พันธบัตร ไม่ใช่หนี้สาธารณะอย่างที่เขาหลอกลวง : ข่าวดรามาตัวเลขเศรษฐกิจมาประจำ นักวิชาการสุดเอือม อธิบายอีกรอบ งบการเงินประจำสัปดาห์ของธนาคารแห่งประเทศไทย มีแต่หนี้พันธบัตร ไม่ใช่หนี้สาธารณะ ชี้จำเป็นต้องมีเพื่อรักษาเสถียรภาพระบบการเงินของประเทศ

    วันนี้ (25 ต.ค.) จากกรณีที่ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง รายงานฐานะทางการเงินประจำสัปดาห์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ทุนสำรองเงินตรา และกิจการพันธบัตร โดยสื่อมวลชนบางสำนักลงข่าวว่า ฐานะการเงินไทยล่าสุด ขาดทุนสะสม 1 ล้านล้านบาท สร้างความสับสนให้แก่สังคมเป็นจำนวนมาก

    เรื่องนี้ น.ส.นงนุช ตันติสันติวงศ์ นักวิชาการด้านเศรษฐกิจ การเงินและการคลังและภาษี โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก Dr. Nuch Tantisantiwong ยืนยันว่า รายงานฐานะทางการเงินดังกล่าวไม่ใช่หนี้สาธารณะ ซึ่งรายงานฐานะทางการเงินประจำสัปดาห์ใส่แค่หนี้สินอื่น แต่ความจริงคือ ผลรวมของหลายประเภท ได้แก่ ยอดขายพันธบัตรแบบมีเงื่อนไขรับซื้อคืน, พันธบัตรที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย, หนี้สินอื่นๆ และเงินสำรองอันเกิดจากการตีราคาสินทรัพย์และหนี้สิน

    สำหรับตัวเลขหนี้พันธบัตรนั้น จำเป็นต้องมี เพราะธนาคารแห่งประเทศไทย (แบงก์ชาติ) ทำหน้าที่ดำเนินนโยบายการเงิน เพื่อรักษาเสถียรภาพระบบการเงินของประเทศ ซึ่งนโยบายการเงินของไทยขึ้นอยู่กับ “อัตราเงินเฟ้อ” (inflation targeting policy) หมายความว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบาย จะมีการปรับเปลี่ยนหรือไม่ อยู่ที่มุมมองต่อแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อของประเทศ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจ

    “ถ้าเศรษฐกิจเติบโต คนมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น ก็จะมีอัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น แต่ถ้าเศรษฐกิจชะลอตัว คนก็มีกำลังซื้อลดลง อัตราเงินเฟ้อก็จะลดลง หากธนาคารแห่งประเทศไทย คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงต่ำกว่าเป้าหมาย ก็จะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ” น.ส.นงนุช ระบุ

    น.ส.นงนุช กล่าวว่า สิ่งที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้ คือ นโยบายการเงินไม่ได้มีแค่การปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่ยังมีการปรับเพิ่มหรือลดอัตราเงินสำรอง (required reserve rate) ที่กำหนดให้ธนาคารถือสำรองไว้ รวมถึงอัตราซื้อลดตราสารหนี้ (discount rate) นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย มีการปฏิบัติงานที่สำคัญ คือ รักษาเสถียรภาพของปริมาณเงินในระบบและค่าเงินบาท ซึ่งไม่ได้แปลว่าให้ค่าเงินบาทคงที่ โดยยังต้องอาศัยการขายและซื้อตราสารหนี้เพื่อรักษาระดับปริมาณเงินในระบบไม่ให้ผันผวนจนเกินไป นักเศรษฐศาสตร์การเงิน เรียกการซื้อขายนี้ว่า market operation

    ทั้งนี้ การขายตราสารหนี้ เช่น พันธบัตร จะช่วยดูดซับปริมาณเงินเกินในตลาด ซึ่งช่วยพยุงอัตราดอกเบี้ยไม่ให้ตกต่ำ ในขณะที่การซื้อพันธบัตรเป็นการปล่อยเงินเข้าระบบ ทำให้อัตราดอกเบี้ยหรื้อต้นทุนการกู้ยืมตลาดต่ำลง เปรียบได้กับการใช้มาตรการผ่อนคลายในเชิงปริมาณทางการเงิน (quantitative easing หรือ QE) ของสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น ซึ่งมีลักษณะเป็นการซื้อพันธบัตร เพื่อดึงต้นทุนการกู้ยืมให้ต่ำลง เพราะภาวะดอกเบี้ยต่ำไม่ได้ดีเสมอไป อย่างที่เห็นมาร่วม 10 ปี

    “การขายตราสารหนี้ แปลว่า แบงก์ชาติมีภาระจ่ายเมื่อครบกำหนด ก็คือหนี้ แต่ถ้าไม่มีพันธบัตรที่ออกโดยแบงก์ชาติในตลาดเลย เครื่องมือนโยบายทางการเงินของแบงค์ชาติจะหายไปซึ่งไม่ดีแน่ ดังนั้น ธนาคารกลางของแต่ละประเทศจะต้องมีการขายและซื้อตราสารหนี้ และยังไงก็ต้องมียอดหนี้สินนี้ ส่วนจะมากหรือน้อย อยู่ที่เศรษฐกิจของชาติช่วงที่ผ่านมา” น.ส.นงนุช ระบุ

    น.ส.นงนุช กล่าวว่า ยิ่งเศรษฐกิจดีและมีปริมาณเงินในระบบเกินมาก่อน ก็ยิ่งมีตัวเลขหนี้พันธบัตรนี้สูง เพื่อดูดซับสภาพคล่องส่วนเกิน แต่ถ้าเศรษฐกิจไม่ดี ปริมาณเงินหายจากระบบ เช่น ช่วงที่มีนักลงทุนไม่แน่ใจในเศรษฐกิจและกลัวจนถอนเงินออกจากกองทุนต่างๆ ธนาคารกลางก็สามารถออกมารับซื้อคืนพันธบัตรเพื่อปล่อยเงินกลับเข้าระบบ ตัวเลขหนี้พันธบัตรนี้ก็จะลดลง หรือถ้ารับซื้อพันธบัตรเอกชนด้วยอย่างใช้มาตรการผ่อนคลายในเชิงปริมาณทางการเงิน ในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ตัวเลขการถือครองพันธบัตรฝั่งที่เป็นสินทรัพย์ (assets) ก็จะเพิ่มขึ้น

    “เวลาดูตัวเลขงบการเงินของแบงก์ชาติ จะเห็นว่า เขาแยกงบเงินทุนสำรองเงินตรา และกิจการพันธบัตรออกมา เราต้องดูประกอบด้วย อย่าเลือกแต่จะดูแค่บางส่วน เรื่องนี้อธิบายเคสนี้ทุกปี ที่ข่าวออกมาบอกตัวเลข โดยที่ไม่เข้าใจหน้าที่และการลงบัญชีขององค์กร ที่ไม่ใช่องค์กรเอกชน” น.ส.นงนุช ระบุ

    Source: ผู้จัดการออนไลน์
    https://mgronline.com/onlinesection/detail/9630000108997

    เพิ่มเติม
    - งบการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยปี 2562 https://www.bot.or.th/Thai/Research...nnualReport/Pages/AnnualReport2019_box20.aspx

    - ลักษณะพิเศษของงบการเงินธนาคารกลาง โดยในลักษณะพิเศษข้อที่ 4 ได้กล่าวว่า “การทำกำไรไม่ใช่พันธกิจของธนาคารกลาง” https://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/2562BOTGettoKnow.aspx
     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,307
    ค่าพลัง:
    +97,150
    PSX_20201028_230250.jpg
    (Oct 28) 'โควิด'ดันหนี้สาธารณะ ชาติเศรษฐกิจก้าวหน้าพุ่ง 125% : ประเทศต่างๆ ทั่วโลกเพิ่มการใช้จ่ายด้านงบประมาณเพราะการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ ต้นตอโรคโควิด-19 ทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นอย่างมาก แตะระดับสูงสุดอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน โดยสัดส่วนหนี้ต่อผลิตภัณฑ์ มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของชาติเศรษฐกิจก้าวหน้าในปี 2564 จะพุ่งเป็นประวัติการณ์ถึง 125%

    เพื่อปรับสมดุลงบประมาณ การลงทุนเพื่อกระตุ้นการเติบโต ทางเศรษฐกิจจะมีความสำคัญมากกว่า การเก็บภาษีเพิ่ม หรือการใช้มาตรการ รัดเข็มขัด เพราะในระยะยาวการเติบโต ของจีดีพีจะเป็นตัวกำหนดรายได้จากการจัดเก็บภาษี

    เมื่อวันที่ 13 ต.ค.สถาบันเพื่อ ศึกษางบประมาณ ซึ่งเป็นกลุ่มนักคิดในสหราชอาณาจักร ประกาศว่าต้องคงตัวเลขหนี้สาธารณะที่ 100% ของรายได้ประเทศ รัฐบาลอังกฤษจำเป็นต้องควบคุมงบประมาณให้ได้มากกว่า 40,000 ล้านปอนด์ (52,000 ล้านดอลลาร์) ในปีงบประมาณ 2567 แต่กระทรวงการคลัง อังกฤษ ดำเนินมาตรการต่างๆ ด้วยความระมัดระวัง

    โดยในปีนี้ การปรับอัตราการจัดเก็บภาษีรายปีที่ตามปกติจะมีการปรับในช่วงฤดูใบไม้ร่วงตั้งแต่ช่วงเดือนก.ย.-พ.ย. ได้ถูกเลื่อนออกไป หมายความว่าจะไม่มีการขึ้นภาษีในกลุ่มสินค้าประเภทต่างๆ เช่น เชื้อเพลิง และสินทรัพย์ โดยริชี ซูนัก รัฐมนตรีคลังของอังกฤษระบุว่า ภารกิจ สำคัญอันดับแรกๆ ของกระทรวงการคลัง คือการจ้างงาน

    แต่ประเทศใดประเทศหนึ่งจะบริหาร การเงินการคลัง หรือบริหารงบประมาณให้เกิดสมดุลในระยะกลางถึงระยะยาวในขณะเดียวกันก็รักษาตำแหน่งงาน ของคนหลายล้านที่กำลังได้รับ ผลกระทบจากการระบาดของโรค โควิด-19 ได้อย่างไร

    กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ออกรายงานเมื่อวันที่ 14 ต.ค. ระบุว่า บรรดาผู้กำหนดนโยบายจำเป็นต้องใช้มาตรการด้านงบประมาณที่ยืดหยุ่นเพื่อรับมือกับการล็อกดาวน์ และการเปิดประเทศรอบใหม่และเพื่อเอื้อต่อการเปลี่ยนผ่านเชิงโครงสร้าง ไปสู่เศรษฐกิจหลังการระบาดของ โรคโควิด-19 ซึ่งคำแนะนำครั้งนี้ของ ไอเอ็มเอฟ จะสวนทางกับคำแนะนำช่วง เกิดวิกฤติการเงินโลก ซึ่งตอนนั้นไอเอ็มเอฟ แนะว่าประเทศต่างๆ ควรเก็บภาษีเพิ่มและควรใช้มาตรการรัดเข็มขัด

    "คาร์เมน ไรน์ฮาร์ท" หัวหน้า นักเศรษฐศาสตร์จากธนาคารโลก เปิดเผย กับไฟแนนเชียล ไทม์ ในเดือนนี้ว่า "ขณะที่ โลกกำลังต่อกรกับการระบาดของโรคร้าย เราควรทำอย่างไร? อันดับแรกคือกังวลเรื่องการสู้รบในสงครามเชื้อโรค จากนั้นก็เริ่มคิดถึงตัวเลขที่คุณต้องจ่ายไปกับ การทำสงครามครั้งนี้"

    เมื่อครั้งมีการศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างรายได้จากการเก็บภาษีและการเติบโต ทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ในองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (โออีซีดี) พบว่า เมื่อจีดีพีขยายตัว รายได้ จากการเก็บภาษีก็เพิ่มขึ้นอย่างมากเช่นกัน โดยรายได้จากการเก็บภาษีโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 1.2% สำหรับ 36 ประเทศในโออีซีดี ไม่รวม โคลัมเบีย ซึ่งหมายความว่าถ้าจีดีพีขยายตัว 1% รายได้จากการเก็บภาษีจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 1%

    ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ประเทศที่มีการเติบโตของจีดีพีสูงจะมีการเติบโตของ รายได้จากการเก็บภาษีที่สูงเช่นกัน เช่น กรณีของสหราชอาณาจักร เศรษฐกิจขยายตัว กว่า 20% ในช่วงเวลาดังกล่าวมีการเก็บภาษีนิติบุคคลในอัตราที่ต่ำลงแต่รายได้ จากการเก็บภาษีเพิ่มขึ้น 25% และจะเห็น ตัวอย่างคล้ายๆ กันนี้ในชาติเศรษฐกิจ ก้าวหน้าอื่นๆ เช่น เยอรมนี เศรษฐกิจ ขยายตัว 19% แต่การเติบโตของรายได้จากการเก็บภาษีอยู่ที่ 24% ในญี่ปุ่น เศรษฐกิจขยายตัว 10% แต่รายได้จากการเก็บภาษีเพิ่มขึ้นประมาณ 23%

    ประเทศต่างๆ ที่ประสบความสำเร็จ ในการปรับสมดุลงบประมาณจะให้ ความสำคัญกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ ในช่วงยุค 1990 รัฐบาลสหรัฐภายใต้ การบริหารของประธานาธิบดีบิลล์ คลินตัน จำกัดวงเงินใช้จ่ายด้านงบประมาณด้วยการลดการขาดดุลและเพิ่มการลงทุน ด้าน "ทางด่วนข้อมูลข่าวสาร" รวมถึงลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานสำหรับอุตสาหกรรมไฮเทคที่ยังอยู่ในระยะเริ่มต้น โดยบริษัท เทคโนโลยียักษ์ใหญ่ในทุกวันนี้ อย่าง อเมซอน และกูเกิล ถือกำเนิดขึ้นในทศวรรษนี้และเติบโตไปทั่วโลก

    ด้วยการเติบโตทางเศรษฐกิจและ รายได้จากการเก็บภาษีที่เพิ่มขึ้น งบประมาณปี 2541 ของสหรัฐจึงเกินดุลเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่ปี 2512

    ขณะที่ยุโรป กำลังเผชิญหน้ากับ การระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกสองและรัฐบาลของประเทศต่างๆ อยู่ในภาวะที่ต้องพยุงเศรษฐกิจให้ผ่านปีงบประมาณปัจจุบันไปให้ได้ ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์บางคนเตือนรัฐบาลทุกประเทศในยุโรปว่าให้ระวังผลพวงที่จะตามมาจากการดำเนินมาตรการต่างๆ ของพวกเขา

    อย่าง "ราเกอรัม ราชัน" อาจารย์จากมหาวิทยาลัยชิคาโกและอดีตผู้ว่าการธนาคารกลางของอินเดีย เขียนบทความ ที่เป็นความเห็นเมื่อเดือนส.ค.ว่า หนี้สาธารณะก้อนโตของทุกประเทศ จะถูกส่งผ่านไปยังคนรุ่นต่อไปในอนาคต และขณะที่ทั่วโลก พยายามฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กลับคืนมา เขาก็มีความเห็นว่า ทางออกของปัญหาไม่ใช่การใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่ายของรัฐบาลหรือการใช้มาตรการรัดเข็มขัดอย่างมาก

    แต่ก็มีบางคนมองว่าสถานการณ์ ที่เกิดขึ้นในตอนนี้เป็นโอกาสทำให้เกิด การเปลี่ยนแปลง เช่น "ลอเรนซ์ บูน" หัวหน้า นักเศรษฐศาสตร์ของโออีซีดี กล่าวว่า สำหรับผู้กำหนดนโยบาย การระบาดของ โรคโควิด-19 จะเป็นโอกาสให้ผลักดันแผนการต่างๆ ที่จะทำให้เกิดการลงทุนของบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก (เอสเอ็มอี) เพื่อปรับปรุงระบบดิจิทัลที่จำเป็นมากขึ้น รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว

    ประเทศต่างๆ ที่มองหาวิธีการ อันชาญฉลาดมากขึ้นในการใช้จ่ายงบประมาณ และการเก็บภาษีจะเป็นผู้นำด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ในยุโรป สหภาพยุโรป (อียู) ประกาศโครงการสนับสนุนเศรษฐกิจเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของทั้งกลุ่ม ซึ่งครอบคลุมถึงการเก็บภาษีคาร์บอนตามแนวพรมแดนและการเก็บภาษีพลาสติก

    Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/904643

    เพิ่มเติม
    - No end in sight for record-high public debt fueled by COVID-19: https://asia.nikkei.com/Spotlight/D...or-record-high-public-debt-fueled-by-COVID-19
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,307
    ค่าพลัง:
    +97,150
    PSX_20201028_230447.jpg

    (Oct 27) รายงานพิเศษ: คลื่น"ล้มละลาย"ไม่แรงอย่างที่กลัว : ผลพวงจากโควิด-19 ได้ทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกถดถอยอย่างรุนแรง และมีการคาดการณ์กันว่าธุรกิจจะต้องพังครืนและล้มละลายเป็นจำนวนมากหลังจากที่มีมาตรากรล็อกดาวน์กันอย่างเข้มข้น เอเชียก็เป็นภูมิภาคหนึ่งที่ตกเป็นเป้าในการคาดการณ์เช่นนั้นด้วย แต่จากข้อมูลของหลาย ๆ ประเทศ จนถึงขณะนี้ กระแสล้มละลายที่กลัวกันยังไม่เกิดขึ้น เพราะว่าแผนกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ในแต่ละประเทศได้ช่วยยับยั้งไว้ได้

    มีรายงานจากบลูมเบิร์กว่า จำนวนบริษัทที่ล้มละลายได้ลดลงจากปีที่ผ่านมาในหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่นและสิงคโปร์ ซึ่งชี้ว่ามาตรการของทางการเพื่อป้องกันไม่ให้บริษัทล้ม ควบคู่กับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั่วโลก 12 ล้านล้านดอลลาร์ อาจจะกำลังได้ผล

    การล็อกดาวน์ทั่วโลกที่เกิดจากการระบาดของไวรัสโคโรนาได้สร้างความเสียหายต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและนำไปสู่การล้มละลายของหลาย ๆ บริษัท ตั้งแต่ บรูคส์ บราเธอร์ส กรุ๊ป จนถึง เฮิร์ซ โกบัล โฮลดิ้งส์ และเวอร์จิ้น ออสเตรเลีย โฮลดิ้งส์ แต่ในขณะที่โควิด-19 ได้ทำให้กำไรหายไป และบีบให้บริษัทจำนวนหนึ่งต้องปลดพนักงาน การให้เงินกู้และความช่วยเหลืออื่น ๆ จากผู้กำหนดนโยบาย ได้ช่วยป้องกันไม่ให้หลายบริษัทที่กำลังมีปัญหา ต้องปิดกิจการลงเป็นการถาวร

    ในสหรัฐ โกลด์แมน แซคส์ กรุ๊ป อิงซ์ ระบุว่า จำนวนการขอล้มละลายได้ต่ำกว่าที่คาด โดยส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลกลาง

    ในยุโรป ธุรกิจในอังกฤษและสวีเดนล้มละลายลดลงในช่วงไตรมาสสาม แม้ว่าในเยอรมนีกำลังจะมีการล้มละลายเพิ่มขึ้นหลังจากที่ได้หยุดพักชำระหนี้เพื่อช่วยให้บริษัทอยู่รอดได้เมื่อการระบาดสิ้นสุดลง

    ส่วนในเอเชียก็มีพัฒนาการที่สำคัญเช่นกัน

    ญี่ปุ่น
    การล้มละลายลดลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2533 ในช่วงเดือนเมษายนถึงกันยายน เนื่องจากมาตรการของรัฐบาลและธนาคารกลางช่วยอุดหนุนบริษัทที่ประสบปัญหา
    จากข้อมูลของโตเกียว โคโค รีเสิร์ช การล้มละลายในญี่ปุ่นลดลง 9.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยเหลือ 3,858 บริษัท แต่ภัตตาคารและโรงแรมยังได้รับผลกระทบอย่างหนัก และมาตรการทางนโยบายที่เกี่ยวกับไวรัสจะหมดอายุลงในที่สุด โครงการให้พนักงานลาพักโดยไม่ลดเงินเดือนของรัฐบาลจะมีอายุจนถึงสิ้นปีนี้ ในขณะที่โครงการให้เงินกู้ของธนาคารกลางญี่ปุ่นจะสิ้นสุดในเดือนมีนาคมปีหน้า

    อินเดีย
    รัฐบาลได้ระงับการขอล้มละลายเป็นการชั่วคราวตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม โดยมีเพียง 76 บริษัทที่ขอล้มละลายก่อนที่จะเริ่มมีการพักชำระหนี้ เข้าสู่กระบวนการแก้ปัญหาในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน เทียบกับที่ตามปกติมักมีการขอล้มละลายประมาณ 300 ถึง 600 ราย ในหนึ่งไตรมาส การกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนของอินเดีย ซึ่งรวมถึงแผนช่วยเหลือ 21 ล้านล้านรูปี ได้ช่วยให้ผู้ที่กู้เงินอยู่รอดได้
    แต่ธุรกิจขนาดเล็กที่กำลังมีปัญหาจำเป็นต้องชำระหนี้คืนหลังจากที่การพักชำระเงินกู้จบลงในเดือนสิงหาคม และการว่างงานในอินเดียเป็นความท้าทายอย่างรุนแรง รายงานของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) ชี้ว่า คนหนุ่มสาวในอินเดียกว่า 4 ล้านคนได้ตกงานเพราะโควิด-19 โดยส่วนใหญ่อยู่ในภาคก่อสร้างและเกษตรกรรม

    จีน
    ตัวเลขการผิดนัดชำระหนี้ของบริษัทชี้ว่า สุขภาพทางการเงินของบริษัทจีนฟื้นตัวกลับมา การผิดนัดชำระหนี้ในตลาดภายในประเทศได้ลดลงเกือบ 18% ในปีนี้ หลังจากที่สูงเป็นประวัติการณ์สองปีติดต่อกัน
    สาเหตุที่การผิดนัดชำระหนี้ลดลงส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการลดดอกเบี้ยและเกณฑ์การสำรองเงินสด และมีการกระตุ้นให้ผู้กู้เงินที่มีปัญหาดำเนินการได้หลาย ๆ ทาง เช่น เลื่อนชำระพันธบัตร และสวอปหนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงการเบี้ยวหนี้ ในขณะเดียวกัน เศรษฐกิจจีนยังคงฟื้นตัวต่อเนื่องในช่วงไตรมาสสาม โดยมีการใช้จ่ายของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นในเดือนกันยายน

    ฮ่องกง
    รัฐบาลได้ใช้จ่ายเงินมากกว่า 310,000 ล้านดอลลาร์ฮ่องกงเพื่อต่อสู้กับการหดตัวทางเศรษฐกิจที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปีนี้ ซึ่งได้ช่วยป้องกันไม่ให้วิกฤติเลวร้ายลง แม้ว่าหลายบริษัทได้ล้มลง
    การล้มของบริษัทในฮ่องกงมักดำเนินการโดยผ่านกระบวนการล้มละลาย จากสถิติของทางการ บริษัทขอปิดกิจการตามที่กฎหมายบังคับสูงสุด 68 รายในเดือนพฤษภาคม ซึ่งมากกว่าเดือนใด ๆ นับตั้งแต่ปี 2552 และการขอปิดกิจการจนถึงเดือนสิงหาคมปีนี้มีทั้งหมด 275 ราย มากสุดนับตั้งแต่ช่วงเดียวกันของปี 2559

    สิงคโปร์
    ธนาคารได้ระงับการชำระหนี้ให้แก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กตั้งแต่เดือนสิงหาคม ธนาคารกลางสิงคโปร์ กล่าวว่า จะยืดเวลาในการบรรเทาหนี้ไปจนถึงปลายปีตามที่ได้กำหนดไว้ในตอนแรก แต่ช่วงเวลาในการยืดหนี้จะขึ้นอยู่กับว่าอุตสาหกรรมต่าง ๆ ต้องการความช่วยเหลือมากเพียงไร
    ดูเหมือนว่าความพยายามของธนาคารกลางสิงคโปร์กำลังจะส่งผล จากข้อมูลของทางการสิงคโปร์ การขอชำระบัญชีของบริษัท (corporate liquidations) ลดลงเหลือเพียงแค่ 4 ราย ในเดือนสิงหาคม ต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2558 เป็นอย่างน้อย ในขณะเดียวกันการขอล้มละลายของบุคคลทั่วไปก็ลดลงเช่นกัน โดยมีเพียง 43 คน ในเดือนพฤษภาคม ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ หลังจากที่พุ่งขึ้นไปถึง 462 คน ในเดือนมีนาคม ตัวเลขล้มละลายในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 131 ราย ซึ่งต่ำกว่าอัตราเฉลี่ยที่มีประมาณ 257 รายนับตั้งแต่ปี 2547

    อินโดนีเซีย
    การขอล้มละลายต่อศาลแขวงจาการ์ตาสอดคล้องกับตัวเลขปี 2562 โดยอยู่ที่ 378 ราย อินโดนีเซียได้ให้การอุดหนุนทางการเงินแก่บริษัทของรัฐ 10,000 ล้านดอลลาร์ในเดือนพฤษภาคม และรัฐบาลอินโดนีเซียยังได้สัญญาว่าจะอัดฉีดเงินทุนเพิ่มประมาณ 37 ล้านล้านรูเปียห์ให้แก่บริษัทอื่น ๆ อีกหลายแห่งในปีหน้า

    เกาหลีใต้
    ข้อมูลจากศาลชี้ว่าการล้มละลายในปี 2563 ส่วนใหญ่อยู่ในระดับใกล้เคียงกับปีก่อนหน้า โดยจนถึงเดือนกันยายน มีจำนวน 1,492 ราย เทียบกับ 1,423 รายในปีที่ผ่านมา
    เกาหลีใต้ได้ตั้งกองทุน 40 ล้านล้านวอนในเดือนพฤษภาคมเพื่อป้องกันไม่ให้บริษัทในภาคอุตสาหกรรมสำคัญล้ม เช่น อุตสาหกรรมการบินและต่อเรือ ธนาคารกลางเกาหลีใต้ยังได้คงอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ แต่ไม่ได้ดำเนินนโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณเต็มตัวหลังจากที่ข้อมูลเงินเฟ้อและการส่งออกชี้ว่าเศรษฐกิจได้ผ่านช่วงต่ำสุดแล้ว

    ข้อมูลเหล่านี้ชี้ว่าวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดจากการระบาดของโควิด-19 เริ่มคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น ถึงแม้ว่าเป็นเพราะได้ตัวช่วยจากรัฐบาลหรือธนาคารกลาง แต่ก็ถือเป็นสัญญาณที่ดี หลังจากที่มืดมนอนธการมานานร่วมปีแล้ว

    Source: ข่าวหุ้น

    เพิ่มเติม
    - Asia Defies Dire Predictions of a Huge Spike in Bankruptcies : https://www.bloomberg.com/news/arti...redictions-of-a-massive-spike-in-bankruptcies
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,307
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ตลอด 2 วันของการประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อหาทางออกให้ประเทศจากสถานการณ์การชุมนุมทางการเมือง บรรดา ส.ส. ฝ่ายค้านเรียกร้องให้ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ลาออกจากตำแหน่ง
    .
    ขณะที่ ส.ส. รัฐบาล และ ส.ว. ช่วยกันอภิปรายสนับสนุนให้นายกฯ อยู่ทำหน้าที่ต่อไป โดยให้เหตุผลหลากหลาย อาทิ "ไม่เห็นความจำเป็นต้องออก แต่ควรอยู่ทำหน้าที่รับผิดชอบแก้ปัญหาบ้านเมืองต่อไป", "เป็นตัวเลือกเพียงตัวเดียวที่เหมาะสมในการปกป้องสถาบันฯ", "ยังไม่ได้ทำอะไรผิดรุนแรงถึงขั้นจะไล่กัน", "ไม่เคยทุจริตคอร์รัปชันตลอด 6 ปีที่ทำหน้าที่" ฯลฯ
    .
    ก่อนปิดอภิปรายเมื่อค่ำวานนี้ (27 ต.ค.) พล.อ. ประยุทธ์กล่าวว่ายินดีร่วมมือในการแก้ปัญหา แต่ต้องไม่ลิดรอนสิทธิของคนอื่น โดยแสดงความเห็นด้วยกับแนวทางตั้งคณะกรรมการพูดคุยหาทางออกกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง แต่ "ต้องไปหามาว่าจะหาใครมาร่วม ผมก็กังวลว่าจะเจรจาคุยกับใคร ใครเป็นหัวหน้า เพราะทุกคนเป็นหัวหน้าหมด" และวิงวอนว่าให้ความเป็นธรรมกับตัวเขาบ้างหลังมีการมาไล่กันทุกวัน
    .
    นายกฯ ยืนยันด้วยว่า “ผมจะไม่ตัดช่องน้อยแต่พอตัวเพื่อหนีปัญหา เหมือนที่บางคนเคยทำ และผมจะไม่ละทิ้งหน้าที่ด้วยการลาออกยามที่บ้านเมืองมีปัญหา" พร้อมย้ำว่า "ผมจะปฏิบัติหน้าที่อยู่ต่อไปจนกว่าจะไม่มีโอกาสได้ทำ ชัดไหมครับ"
    .
    ดูสาระสำคัญในการอภิปรายวันแรก (26 ต.ค.)
    https://bbc.in/2TsKCOO

    ดูสาระสำคัญในการอภิปรายวันที่สอง (27 ต.ค.)
    https://bbc.in/3oyftrD

     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,307
    ค่าพลัง:
    +97,150
    28 ตุลาคม 2563
    เมื่อเวลาประมาณ 22:00 น.
    พิกัดศูนย์กลางพายุโมลาเบ อยู่ที่
    15°25'50.2"N 106°22'57.4"E
    Thateng, ลาว
    https://goo.gl/maps/91nb2ZyWLNE6uauK7

    ได้ลดกำลังจากพายุไต้ฝุ่น ลงมาเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง

    เคลื่อนที่ช้า แทบหยุดนิ่ง ซึ่งไม่เป็นผลดี ยิ่งทำให้ฝนและลมในบริเวณนั้นและใกล้เคียงรุนแรง
    ยังคงสร้างฤทธิ์เดชให้ภาคอีสานและลาวอยู่ในขณะนี้
    ຂໍໃຫ້ທຸກໆຄົນປອດໄພ

    อิทธิพลทำมรสุมภาคใต้แรง #พังงา #ตะกั่วป่า ฝนกว่า 117 มม. แล้ว ฝนสูงกว่าภาคอีสาน ต้องระมัดระวังน้ำป่า น้ำท่วมฉับพลันแล้ว

    -----------
    Payu Asia Pacific
    FB @payuasia
    IG: @i.payuasia
    Twitter: @payuasia
    YouTube https://bit.ly/342KBHn
    https://www.payuasia.com
    We watch the TS every day

     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,307
    ค่าพลัง:
    +97,150
    28 ตุลาคม 2563 น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบในหลักการแนวทางการเปิดรับนักท่องเที่ยวประเภทพิเศษ Special Tourist Visa (STV) โดยจะออกประกาศให้คนต่างด้าวที่มีคุณสมบัติ ตามที่กำหนดมีสิทธิ์ขอรับการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยว STV ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองได้ภายใน 30 วัน หลังจากมีประกาศบังคับใช้ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2564

    สำหรับคุณสมบัติที่กำหนดของคนต่างด้าวที่มีสิทธิ์ขอรับการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยว STV มีดังนี้ เป็นบุคคลต่างด้าวที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวโดยเรือสำราญและกีฬา (เรือยอร์ช) ในกลุ่มผู้ควบคุมยานพาหนะ หรือเจ้าหน้าที่ประจำยานพาหนะ หรือผู้โดยสาร ที่เดินทางมาจากประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำหรือความเสี่ยงปานกลาง ตามการจัดกลุ่มประเทศด้านการแพทย์และสาธารณสุข สำหรับการผ่อนคลายผู้ไม่มีสัญชาติไทยเข้ามาในราชอาณาจักรตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ขณะเดียวกันนักท่องเที่ยวจะต้องยอมรับการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ราชการกำหนดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 และยินยอมกักตัวภายในเรือไม่น้อยกว่า 14 วัน พร้อมกับมีหลักฐานเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อท่องเที่ยวโดยเรือสำราญและกีฬา

    นอกจากนี้ ยังต้องมีหลักฐานกรมธรรม์การทำประกันสุขภาพที่คุ้มครองตรวจรักษาโรคโควิด-19 ในวงเงิน 100,000 เหรียญสหรัฐฯ ตลอดช่วงเวลาที่อยู่ในประเทศไทย รวมถึงการทำประกันสุขภาพและอุบัติเหตุของไทยคุ้มครองตลอดระยะเวลาที่เข้ามาในราชอาณาจักร โดยมีจำนวนเงินประกันภัยสำหรับค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้ป่วยนอก ไม่น้อยกว่า 40,000 บาท และผู้ป่วยในไม่น้อยกว่า 400,000 บาท และมีหลักฐานการชำระเงินล่วงหน้าในการเช่าจองสถานที่จอดเรือ พร้อมปฏิบัติตามประกาศของกรมเจ้าท่าว่าด้วยแนวปฏิบัติสำหรับเรือสำราญ และกีฬา (เรือยอร์ช) ที่เข้ามาในน่านน้ำไทย

    สำหรับบุคคลต่างด้าวที่มากับเรือยอร์ช ที่ผ่านคุณสมบัติข้างต้นแล้วจะขอรับการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยว STV จะเสียค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราครั้งละ 2,000 บาท ได้รับอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทยได้เป็นเวลา 90 วัน นับแต่วันที่เดินทางเข้ามา

    อย่างไรก็ตาม ให้ผ่อนผันสำหรับกรณีที่เรือยอร์ชเดินทางออกจากประเทศต้นทางและอยู่ระหว่างการเดินทางเข้ามาในน่านน้ำไทยก่อนที่ประกาศจะมีผลบังคับใช้ กลุ่มนี้จะได้รับสิทธิ์ขอรับการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยว STV ได้เป็นเวลา 30 วันหลังจากที่ประกาศมีผลบังคับใช้ ทั้งนี้ ภายหลังจากที่ครบกำหนดอยู่ในไทยแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองมีอำนาจอนุญาตให้อยู่ต่อไปได้อีก 2 ครั้ง ครั้งละ 90 วัน โดยให้คนต่างด้าวยื่นคำขอและเสียค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

    #roundtablethailand
    Roundtablethailand.com

     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,307
    ค่าพลัง:
    +97,150
    หลังจากการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา สหภาพยุโรป ( อียู ) ได้เปิดตัวโครงการบริหารจัดการป่าไม้โครงการใหม่ขึ้นในช่วงสัปดาห์การทูตสภาพภูมิอากาศ 2563 เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม

    โครงการมูลค่า 5 ล้านยูโรนี้ ( ราว 183.4 ล้านบาท ) มีระยะเวลาดำเนินงาน 3 ปี และจะช่วยสนับสนุนประเทศสมาชิกอาเซียนลดปัญหาการทำไม้ผิดกฎหมาย และสนับสนุนและส่งเสริมโครงการต่าง ๆ ที่กำลังดำเนินการอยู่ในอาเซียน อาทิ แผนยุทธศาสตร์ความร่วมมืออาเซียนด้านป่าไม้ (Strategic Plan of Action for ASEAN Co-operation on Forestry) และแผนงานด้านการบังคับใช้กฎหมายป่าไม้และธรรมาภิบาล (Forest Law Enforcement and Governance [FLEG]) ในอาเซียน

    โดยในระยะเวลาสามปีนับจากนี้ โครงการดังกล่าวจะช่วยประเทศสมาชิกอาเซียนลดปัญหาการทำไม้ผิดกฎหมาย ด้วยการส่งเสริมการบริหารจัดการป่าไม้ที่ยั่งยืนและถูกกฎหมาย และปรับปรุงธรรมาภิบาลและส่งเสริมการค้าไม้ที่ผลิตอย่างถูกต้องตามกฎหมาย สถาบันป่าไม้ยุโรป (European Forest Institute) จะเป็นผู้ดำเนินโครงการดังกล่าว

    โครงการจะสนับสนุนและส่งเสริมโครงการต่าง ๆ ที่กำลังดำเนินการอยู่ในอาเซียน อาทิ แผนยุทธศาสตร์ความร่วมมืออาเซียนด้านป่าไม้ ระหว่างปี 2559-2568 (Strategic Plan of Action for ASEAN Co-operation on Forestry) ที่เริ่มใช้ในปี 2559 และแผนงานด้านการบังคับใช้กฎหมายป่าไม้และธรรมาภิบาลในอาเซียน (Forest Law Enforcement and Governance in ASEAN)

    แผนงานนี้ถือเป็นรากฐานสำหรับการกระชับความร่วมมือและการดำเนินการร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ช่วยแก้ไขปัญหาการทำไม้ผิดกฎหมายและการตัดไม้ทำลายป่า โดยอาศัยแนวทางที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการบังคับใช้กฎหมายป่าไม้ ธรรมาภิบาล และการค้าของสหภาพยุโรป (Forest Law Enforcement, Governance and Trade [FLEGT]

    “สหภาพยุโรปภูมิใจที่ได้ทำงานร่วมกับอาเซียนในการส่งเสริมการบริหารจัดการป่าไม้ในภูมิภาค ซึ่งสอดคล้องกับข้อตกลงยุโรปสีเขียว (EU Green Deal) การส่งออกไม้อย่างถูกกฎหมายยังช่วยส่งเสริมการค้าที่เป็นธรรม การบริหารจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน และการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งจะยังประโยชน์ต่อทุกคนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ฯพณฯ อีกอร์ ดรีมันส์ เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำอาเซียน กล่าว

    ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีพื้นที่ป่าเขตร้อนคิดเป็นร้อยละ 15 ของพื้นที่ป่าเขตร้อนในโลก และมีแหล่งความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญอย่างน้อย 4 แห่งจาก 25 แห่งทั่วโลก ป่าไม้เป็นทรัพยากรสำคัญต่อการดำรงชีวิต ความมั่นคงทางอาหาร และการผลิตวัสดุสำหรับประชากรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งมีอยู่ราว 650 ล้านคน

    อย่างไรก็ตาม ภูมิภาคนี้เป็นหนึ่งในแหล่งที่มีการตัดไม้ทำลายป่าขนานใหญ่ของโลก และติดอันดับภูมิภาคที่มีการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพอย่างรุนแรงในระดับต้นๆ โดยในระหว่างปี 2548 และ 2558

    ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สูญเสียพื้นที่ป่าไปประมาณ 80 ล้านเฮกตาร์ การตัดไม้ทำลายป่าในระดับนี้อาจส่งผลให้ความหลากหลายทางชีวภาพของภูมิภาคนี้ลดลงกว่าร้อยละ 40 ภายในปี 2643

    แผนปฏิบัติการ EU-FLEGT เป็นมาตรการรับมือปัญหาการทำไม้ผิดกฎหมายและการลักลอบค้าไม้ของสหภาพยุโรป การดำเนินการตามแผนปฏิบัติการนี้ได้สร้างแรงผลักดันเชิงบวก โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งปัจจุบันมีประเทศสมาชิกอาเซียน 8 ประเทศเข้าร่วมการเจรจาเกี่ยวกับ FLEGT

    https://www.dailynews.co.th/foreign/803666

    #RoundtableThailand
    roundtablethailand.com

     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,307
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2563 นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน ชี้แจงต่อที่ประชุมร่วมรัฐสภาสมัยวิสามัญ เพื่ออภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 165 วันที่สอง ว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาสถานการณ์ค่อย ๆ ผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา จนคนไทยมีชีวิตที่เกือบจะปกติ ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นทุกตัว แต่เริ่มมีดัชนีความมั่นใจผู้บริโภคเริ่มลดลงจากการเห็นต่างทางการเมือง แต่ดัชนีชี้วัดทุกตัวยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดีทั้งราคาสินค้าเกษตร ความเชื่อมั่นธุรกิจ การลงทุนภาคเอกชน และการส่งออก

    นายสุพัฒนพงษ์ กล่าวว่า ขณะที่เสถียรภาพทางการเงินของไทยนั้น กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ประกาศให้ไทยเป็นประเทศเดียวที่ได้รับการปรับอัตราการฟื้นฟูได้ดีกว่าประเทศอื่น ๆ นี่คือตัวอย่างที่อยากให้ภาคภูมิใจ ซึ่งไม่ได้เกิดจากรัฐบาลเพียงฝ่ายเดียว แต่มาจากการร่วมมือร่วมใจทุกภาคส่วน ถึงแม้ไทยจะมี GDP (ผลิตภัณฑ์รวมในประเทศ) ติดลบ 7 ไม่ใช่ติดลบ 10 อย่างที่สมาชิกรัฐสภากล่าว และไม่ได้แย่ที่สุดในอาเซียน

    นายสุพัฒนพงษ์ กล่าวต่ออีกว่า ในช่วงเยียวยามีการพักชำระหนี้ 12.5 ล้านราย เป็นจำนวนเงิน 6.8 ล้านล้านบาท สิ่งที่เราเป็นห่วงและติดตามคือกลัวว่าการพักหนี้จะครบกำหนดเดือนตุลาคมนี้ แต่ข้อมูลล่าสุดปรากฏชัดเจนจากธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่าในกลุ่มลูกหนี้ที่เป็นผู้ประกอบการขนาดเล็กที่เราห่วงว่าจะล้มละลายอยู่รอดไม่ได้ พบว่า 94% กลับมาใช้ชีวิตปกติ และมีการแก้ไขปัญหาให้ดำเนินธุรกิจต่อไปได้ มีเพียง 6% เท่านั้นที่ยังหาตัวไม่เจอ หรือรอการมาแก้ไขปัญหา ซึ่งสถาบันการเงินต่าง ๆ ได้พยายามติดต่อโดยไม่ทอดทิ้ง

    "เราเป็นประเทศที่คืบหน้าในการฟื้นฟูและพัฒนา รวมถึงป้องกันแก้ไขโควิดได้อย่างดี ทยอยเปิดประเทศฟื้นฟูเศรษฐกิจ แต่น่าเสียดายมีความเห็นต่างจากเยาวชนและผู้ชุมนุม ดัชนีบางตัวส่งสัญญาณอ่อนตัวลง แต่ไม่เป็นไรภารกิจแก้ปัญหายังไม่จบ และจำเป็นต้องเดินหน้าต่อ รัฐบาลพยายามเต็มที่พร้อมอดทน รวมกับผู้ใหญ่พร้อมทุกภาคส่วน ทั้งสภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้า และร่วมมือแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจให้ผ่านพ้นไป คือสิ่งที่ต้องทำให้เต็มที่ด้วยความอดทน เพื่อให้เยาวชนเข้าใจและหันมาพัฒนาประเทศ เพื่อประชาชนและเยาวชนทุกคน" นายสุพัฒนพงษ์ กล่าวชี้แจง

    #roundtablethailand
    Roundtablethailand.com

     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,307
    ค่าพลัง:
    +97,150
    #มอร์มูฟเป็นข่าว ต้องจับตา!!! #เฝ้าระวังบุตรหลาน กรมควบคุมโรค เผย-ช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว ระวังเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ป่วยด้วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัสอาร์เอสวี แนะล้างมือบ่อยๆ หลีกเลี่ยงการไปสถานที่ที่มีคนหนาแน่น ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีน-รักษาตามอาการ

    ข้อมูลศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า อุบัติการณ์ของโรค RSV ในเด็กของปี 2563 มีอัตราป่วยเท่ากับปี 2562 ในเดือนเดียวกัน และโรคทางเดินหายใจที่ตรวจหาเชื้อจะพบเป็น RSV มากกว่าร้อยละ 30 ของผู้ป่วย โดยเฉพาะในเด็กเล็กแรกเกิด-5 ปี แสดงถึงมาตรการการป้องกันโรคทางเดินหายใจในเด็กขณะนี้ไม่ได้แตกต่างกับปีที่แล้วมากนัก

    ** โรคติดเชื้อทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัสอาร์เอสวี เป็นโรคที่มักพบได้บ่อยในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว ซึ่งในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีอาจมีอาการรุนแรงได้มากกว่ากลุ่มอายุอื่นๆ โรคนี้ติดต่อได้จากการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ โดยไวรัสเข้าสู่ร่างกายผ่านทางตา จมูก ปาก และจากการสูดหายใจเอาเชื้อที่อยู่ในอากาศในรูปละอองฝอยจากการไอ-จามของผู้ป่วย โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่จะแสดงอาการหลังสัมผัสถูกเชื้อไวรัสในระยะเวลา 4-6 วัน และเมื่อป่วยจะสามารถแพร่กระจายเชื้อได้นาน 3-8 วัน

    อาการโดยทั่วไปอาจจะเหมือนไข้หวัดธรรมดา แต่อาการจำเพาะของเชื้อนี้มักพบในเด็กเล็กคือหลอดลมฝอยอักเสบ โดยเริ่มแรกจะมีอาการเพียงเล็กน้อย เช่น ไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ จนถึงอาการรุนแรง เช่น หายใจหอบเหนื่อย อกบุ๋ม ได้ยินเสียงปอดผิดปกติ เสียงหายใจมีเสียงหวีด รับประทานอาหารได้น้อย และซึมลง การรักษาส่วนใหญ่เป็นการรักษาตามอาการ ซึ่งโรคนี้สามารถพบได้ในผู้ป่วยทุกกลุ่มอายุ แต่อาการจะรุนแรงในเด็กเล็ก เด็กที่คลอดก่อนกำหนด และกลุ่มผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป รวมถึงผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น เบาหวาน โรคปอด โรคหัวใจ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันร่างกายผิดปกติ เป็นต้น

    โดยเรื่องนี้ นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมควบคุมโรค ระบุว่า ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค แต่สามารถป้องกันการติดเชื้อและลดการแพร่เชื้อไวรัสได้ด้วยการล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำสะอาด โดยเฉพาะก่อนมื้ออาหาร หลังเข้าห้องน้ำ ไม่ใช้แก้วน้ำหรือของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น รักษาสุขอนามัยส่วนตัว หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ที่ติดเชื้อและการไปในสถานที่ที่ผู้คนหนาแน่น ควรปิดปากปิดจมูกเวลาไอจาม ด้วยหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย ทั้งนี้ เมื่อมีอาการป่วยเป็นไข้หวัดควรแยกเด็กออกจากเด็กปกติ เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่เชื้อและพาไปพบแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาต่อไป ส่วนในเด็กโตและผู้ใหญ่ อาการจะดีขึ้นหลังได้รับการรักษา 1-2 สัปดาห์.

     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,307
    ค่าพลัง:
    +97,150
    #มอร์มูฟเป็นข่าว เตือนระวังโรคอ้วน!!! ภาพรวมสุขภาพคนไทยในช่วงที่ผ่านมาพบว่า 'โรคอ้วน' หรือสภาวะอ้วน BMI (Body Mass Index) สูงมากกว่า 25% เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 48.28 ของประชากรวัยทำงาน ส่งสัญญาณอันตรายหลายด้าน ทั้งโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันอุดตัน ซึ่งปีที่ผ่านมาพบว่า โรคอ้วนคร่าชีวิตประชากรทั่วโลกไปกว่า 4 ล้านคน ขณะที่ประเทศไทยมีผู้ป่วยเบาหวานแตะ 4.8 ล้านคน เสียชีวิตไปแล้วกว่า 200/วัน

    สาเหตุการเกิดโรคอ้วนมาจากหลายปัจจัย รวมถึงพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่มีคุณค่า ขาดการออกกำลังกาย สะสมความเครียด และมลพิษจากมลภาวะ โดยโรคอ้วนและน้ำหนักเกินพบมากในทุกประเทศทั่วโลกและมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในแต่ละวัน จากการสำรวจข้อมูลในระดับนานาชาติพบว่า ประเทศไทยมีความชุกของภาวะโรคอ้วนโดยมีดัชนีมวลกาย หรือ BMI สูงมากกว่า 25% โดยสูงเป็นอันดับ 2 ในกลุ่มประเทศอาเซียน รองจากมาเลเซีย ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 48.28 จากภาวะคนไทยที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลทำให้คนไทยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานถึง 4.8 ล้านคน และเสียชีวิตจากการโรคดังกล่าวไปมากกว่า 200 คน/วัน โดยเฉพาะในกลุ่มของเด็กและเยาวชนที่มีปัญหาน้ำหนักเกินเพิ่มขึ้นถึง 13.1% ซึ่งผลพวงการเกิดโรคมาจากวิถีชีวิตที่เร่งรีบ ทำให้บริโภคอาหารที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ ขาดการออกกำลังกาย ความเครียดสะสม และมลพิษจากมลภาวะรอบตัว

    ** สาเหตุและปัญหาหลักเกิดจากการใช้ชีวิตของแต่ละคน ประกอบด้วย

    - การรับประทานอาหารที่มีแคลอรี่เกินกว่าที่ร่างกายจะสามารถเผาผลาญได้
    - การพักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้เกินการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและทำให้เกิดความหิวมากกว่าเดิม รวมทั้งอยากรับประทานอาหารที่มีแคลอรี่สูง
    - ไม่ได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อการเผาผลาญไขมันส่วนเกินออก
    - อายุที่มากขึ้นและฮอร์โมนที่ลดลงทำให้อัตราการเผาผลาญช้าลง ส่งผลให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ง่าย รวมถึงอาจจะเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม.

     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,307
    ค่าพลัง:
    +97,150
    #มอร์มูฟเป็นข่าว ตัดภาพมาที่ไทย....!!!?? ล่าสุด ครม.ญี่ปุ่นภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี โยชิฮิเดะ ซุกะ เห็นชอบร่างกฎหมายให้รัฐบาลเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายจัดสรรวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 แก่พลเมืองญี่ปุ่นทุกคนในช่วงแรกของปี 2564 รวมถึงจ่ายเงินชดเชยให้กับบรรดาซัพพลายเออร์หากเกิดผลข้างเคียงรุนแรงที่เกิดจากการฉีดวัคซีน

    รายงานระบุว่า การแก้ไขร่างกฎหมายวัคซีนดังกล่าวเพื่อให้สอดคล้องกับคำมั่นของนายกฯซุกะ ที่ต้องการฉีดวัคซีน COVID-19 ให้กับประชาชนทุกคนภายในครึ่งแรกของปีหน้า โดยรัฐบาลเตรียมผลักดันร่างฯดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของสภา ตั้งเป้าให้ผ่านการพิจารณาและมีผลบังคับใช้ภายในวันที่ 5 ธ.ค.นี้ ซึ่งเป็นช่วงก่อนการปิดสมัยประชุม โดยรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณสำหรับการจัดซื้อวัคซีนดังกล่าวถึง 671,400 ล้านเยน หรือราว 200,249 ล้านบาท ด้วยการทำสัญญาซื้อวัคซีนจากบริษัทยาต่างชาติแห่งละ 120 ล้านโดส ทั้ง AstraZeneca ของอังกฤษ, Pfizer ของสหรัฐฯ รวมถึงกำลังพิจารณาเจรจาซื้อวัคซีนเพิ่มเติมจาก Moderna ของสหรัฐฯอีกราว 40 ล้านโดส หรืออาจมากกว่านั้น อย่างไรก็ดี ถึงแม้รัฐบาลโตเกียวจะมีแผนจัดหาวัคซีนสำหรับพลเมืองทุกคน แต่รัฐบาลจะออกคำแนะนำอย่างจริงจังสำหรับพลเมืองที่ต้องการฉีดวัคซีนดังกล่าวเพื่อให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจเองว่าจะเข้ารับการฉีดหรือไม่.

     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,307
    ค่าพลัง:
    +97,150
    #มอร์มูฟเป็นข่าว 'รัฐประหาร' ไม่ได้ทำให้สงบ!!! สื่ออเมริกันสัมภาษณ์ 'พอล แชมเบอร์ส' นักรัฐศาสตร์ที่ศึกษาการเมืองไทย ประเมินการชุมนุมมีแนวโน้มที่ 'ฝ่ายขวา' จะใช้ความรุนแรงกับกลุ่มผู้ชุมนุมโดยสงบ และอาจเป็นเหตุผลให้กองทัพรัฐประหาร แต่เขาย้ำว่า ต่อให้มีรัฐบาลทหารชุดใหม่ก็ไม่ช่วยให้บ้านเมืองสงบ

    พิธีกรของ CNBC ตั้งคำถามว่า การรัฐประหารคงจะไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจนักในประเทศไทยซึ่งเคยมีรัฐประหารเกิดขึ้นมาก่อนแล้ว และถ้าต้องให้คะแนน 1 ถึง 10 คิดว่ามีความเป็นไปได้แค่ไหนที่จะเกิดรัฐประหารขึ้นในตอนนี้ อนึ่ง แชมเบอร์สตอบว่า ไม่สามารถคาดเดาได้ แต่สถานการณ์ในกรุงเทพฯมีทั้งการชุมนุมอย่างสงบของคนส่วนใหญ่ที่เป็นนักเรียนนักศึกษาและการชุมนุมต่อต้านของฝ่ายขวาที่เพิ่มกำลังขึ้นเรื่อยๆ ทั้งยังมีแนวโน้มว่ากลุ่มหลังอาจจะใช้ความรุนแรงกับนักเรียนนักศึกษาด้วย นอกจากนี้ แชมเบอร์สยังประเมินว่า มีความเสี่ยงที่จะเกิดรัฐประหารขึ้นในไทยอีกครั้ง โดยระบุว่า รัฐบาลไทยมีฉากหน้าเป็นประชาธิปไตยแต่ถูกครอบงำทางอ้อมโดยทหาร และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ไม่ใช่นายกรัฐมนตรีที่คนนิยมมากนักในตอนนี้ มีคนจำนวนไม่น้อยท้อแท้เรื่องที่ไทยไม่ได้เป็นประชาธิปไตยและเศรษฐกิจย่ำแย่

    ** "ถ้าการปะทะกันบนท้องถนนระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมฝ่ายก้าวหน้ากับฝ่ายขวาเกิดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็จะกลายเป็นเหตุผลอันสมบูรณ์แบบของผู้บัญชาการกองทัพในการเข้ามามีบทบาทนำหรืออาจจะมาแทนที่ 'ประยุทธ์' ก็ได้"

    แชมเบอร์สทิ้งท้ายพร้อมเตือนว่า การรัฐประหารและรัฐบาลทหารชุดใหม่ไม่อาจทำให้ประเทศสงบได้ แต่จะยิ่งทำให้กองกำลังฝ่ายขวามีโอกาส 'รีเซ็ต' เพื่อควบคุมกลุ่มผู้ชุมนุม และใช้อำนาจเบ็ดเสร็จคุมสถานการณ์ต่อไป.
    --------------------------------------
    อ่านต่อ : https://www.voicetv.co.th/read/ZsBF...m1UM0R2HY0K-wdwiVBrGzS59oWYeSbl0jywP1z1xHkgaE

     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,307
    ค่าพลัง:
    +97,150
    อาทิตย์สุดท้ายก่อนเลือกตั้ง
    ทรัมป์ “ปล่อยไหล” ยอดโควิด
    พบอัตราตายลด 85%
    .
    .
    7 วันที่ผ่านมา ถือเป็น 7 วันที่สหรัฐอเมริกาเผชิญกับยอดผู้ติดเชื้อโควิด – 19 ที่สูงที่สุด นับตั้งแต่เชื้อไวรัสเริ่มระบาดในประเทศนี้เดือน ก.พ. ที่ผ่านมา ขณะที่ยอดผู้ป่วยรายวัน ก็ทำลายสถิติใหม่ เมื่อวันศุกร์ที่ 23 ต.ค. ที่วันละ 8 หมื่นราย
    .
    เป็นไปในเทรนด์เดียวกับ “ยุโรป” ที่หลายประเทศ กลับมาพบการระบาดระลอกใหม่ ไม่ว่าจะในฝรั่งเศส ที่พบผู้ติดเชื้อ ทำลายสถิติใหม่ ที่ 5 หมื่นรายต่อวัน ในสเปน ที่ก็ทำลายสถิติใหม่หลายหมื่นคน จนรัฐบาลต้องตัดสินใจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อกดตัวเลขกราฟผู้ป่วยใหม่ให้ลดลงอีกรอบ ก่อนที่โรงพยาบาล และห้องผู้ป่วยวิกฤตจะไม่สามารถรับผู้ป่วยใหม่ได้ไหว
    .
    สถานการณ์ในสหรัฐฯ ล่าสุดนั้นพบผู้ป่วยรวมแล้วกว่า 8.9 ล้านคน เสียชีวิตรวมแล้ว 2.3 แสนคน และจากการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญอย่าง สก็อตต์ กอตต์ลิป อดีตผู้อำนวยการสำนักงานอาหารและยา สหรัฐฯ นั้น เชื่อว่าอเมริกา กำลังเข้าสู่ช่วงเวลาที่ “อันตราย” ที่สุด อย่างที่ประเมินไว้ตอนแรกว่าจะมีรายงานผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้นในฤดูใบไม้ร่วง ลากยาวไปจนถึงฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงเวลา “พีค” ของการระบาดของเชื้อไวรัสทุกตัว
    .
    ปัญหาสำคัญที่กอตต์ลิปเห็นก็คือ ในอีก 2-3 สัปดาห์ข้างหน้า ที่ตัวเลขน่าจะพีคกว่านี้ กลับไม่มีมาตรการอะไรจากรัฐเพื่อหยุดยั้งการติดเชื้อรายใหม่ ในขณะที่หลายประเทศในยุโรป ตัดสินใจประกาศ “เคอร์ฟิว” หรือลดการรวมตัวผู้คนจำนวนมาก ห้ามจัดงานอีเวนท์ – คอนเสิร์ต หรือการรวมตัวในสถานที่ปิด แต่ในสหรัฐฯ ทุกอย่างยังคงปกติ
    .
    นักวิเคราะห์หลายคนเชื่อว่า หากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ออกมาตรการในการ “ปิด” ธุรกิจบางอย่าง หรือบังคับใช้เคอร์ฟิวในห้วงเวลานี้ อาจทำให้คะแนนเสียงของเขา จากผู้สนับสนุนหลักเป็นฝ่ายที่ไม่สนับสนุนการใช้ “ไม้แข็ง” ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่จะถึงในวันที่ 3 พ.ย. นี้ กระทบอย่างหนัก
    .
    อย่างไรก็ตาม กอตต์ลิป บอกว่าหากไม่ทำอะไรเพื่อกดกราฟลง และพลาด “นาทีทอง” นี้ ในที่สุดทุกอย่าง จะอยู่นอกเหนือการควบคุม จนทำให้อัตราการป่วย และอัตราผู้เสียชีวิตนั้นหยุดไม่อยู่
    .
    เจอโรม อดัมส์ ศัลยแพทย์ใหญ่ของสหรัฐ บอกว่า ตัวเลขผู้ป่วยที่ต้องแอดมิตในโรงพยาบาลนั้น อาจพุ่งสูงขึ้นถึง 75% ทั่วประเทศ ท่ามกลางความวิตกกังวลว่า เมื่อเตียงโรงพยาบาล และโรงพยาบาลสนามไม่เพียงพอ ตัวเลขผู้เสียชีวิตจะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
    .
    แต่ในข่าวร้ายก็ยังมีข่าวดี นั่นคือตัวเลข “ผู้เสียชีวิต” นั้นลดลงกว่า 85% จากหลายปัจจัยด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยาเรมเดซีเวียร์ ยาต้านเชื้อไวรัสที่ใช้สำหรับรักษาโรคอีโบลาเดิม ซึ่งใช้ได้ผลสำหรับผู้ป่วยโควิด – 19 ในอาการไม่หนักมาก, ยาสเตียรอยด์อื่นๆ และการบริหารจัดการการรักษาผู้ป่วยที่ดีขึ้น
    .
    ก่อนหน้านี้ มาร์ค มีโดวส์ หัวหน้าคณะทำงานประธานาธิบดีสหรัฐฯ ให้สัมภาษณ์สำนักข่าว CNN ว่า ในที่สุด อาจถึงเวลาที่ต้องยอมรับว่ารัฐบาล ไม่อาจ “ควบคุม” การระบาดของเชื้อไวรัสได้อีกต่อไป เพราะฉะนั้น ยุทธศาสตร์จะไปในแนวทางการรักษา การใช้วัคซีน และบรรเทาผลจากการระบาดมากกว่า ซึ่งอาจเป็นผล ทำให้ทรัมป์ไม่ประกาศมาตรการเข้มงวดเพิ่มเติม รวมถึงปล่อยให้รัฐบาลของแต่ละมลรัฐ หรือรัฐบาลท้องถิ่นของแต่ละเมือง เป็นผู้ตัดสินใจว่าจะใช้ “ไม้แข็ง” ขนาดไหน
    .
    อย่างไรก็ตาม กอตต์ลิป ยืนยันว่า “วัคซีน” จะยังไม่ใช่ทางออกสำคัญของสหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า ที่ตัวเลขผู้ป่วย - ผู้เสียชีวิตจะพุ่งสูงมากที่สุด กว่าวัคซีนจะเริ่มต้นทำงานได้อย่างเร็วที่สุด ก็ต้องรอถึงต้นปี 2021 โดยจะมีเพียงกลุ่มผู้สูงอายุ และบุคลากรทางการแพทย์เท่านั้น ที่จะได้รับวัคซีนก่อน และกว่าภูมิคุ้มกันหมู่จากวัคซีนจะทำงานได้จริง ก็อาจต้องใช้เวลาอีกระยะ
    .
    ขณะที่แอนโธนี เฟาชี ผู้อำนวยการสถาบันโรคติดต่อและโรคภูมิแพ้แห่งชาติ สหรัฐฯ ก็ยืนยันว่า ในเวลาอันใกล้นี้ จะยังไม่มีทางรู้ชัดว่าวัคซีน จะใช้งานได้จริง และปลอดภัยหรือไม่ โดยอาจต้องรอถึงอย่างเร็วในช่วงปลายเดือน พ.ย. หรือต้นเดือน ธ.ค. ขณะเดียวกัน กว่าจะฉีดวัคซีนได้จนเห็นผล เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ ก็ต้องรอไปอีกหลายเดือน โดยเฟาชี ให้ตัวเลขไว้ที่ไตรมาส 2 หรือไตรมาส 3 ของปีหน้า สถานการณ์ถึงจะเปลี่ยนอย่างเห็นได้ชัด
    .
    ทั้งหมดนี้ ประธานาธิบดีทรัมป์ หนึ่งในผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด – 19 ยังเชื่อว่าเหตุที่ตัวเลขผู้ป่วยใหม่ของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น เป็นเพราะ “เทสต์” มากกว่าที่อื่น และยังมองโลกในแง่บวกว่า ผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เป็นหนุ่มสาวนั้น มีศักยภาพในการฟื้นตัวได้รวดเร็ว และสถานการณ์จะไม่แย่อย่างที่หลายคนประเมิน
    .
    อย่างไรก็ตาม สำนักข่าว CNBC ได้เปรียบเทียบจำนวนเทสต์ระหว่างเดือน ก.ย. ซึ่งมีผู้ป่วยรายวัน กว่าวันละ 3.5 หมื่นราย กับตอนนี้ พบว่าตัวเลขเทสต์ของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นราว 13% ขณะที่จำนวนผู้ป่วยนั้นเพิ่มกว่า 51% ซึ่งสะท้อนว่าจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น อาจไม่สัมพันธ์กับจำนวนเทสต์อย่างที่ประธานาธิบดีระบุ และอเมริกา ยังเพิ่มจำนวนเทสต์ได้ไม่เพียงพอ
    .
    จนถึงวันนี้ อเมริกา ประเทศที่มีประชากร 328 ล้านคน ยังห่างไกลกับ “ภูมิคุ้มกันหมู่” อยู่มาก และยังคงหวังพึ่งทางออกเดียวอย่าง “วัคซีน” ต่อไป
    .
    คำถามสำคัญก็คือ ยุทธศาสตร์ที่อเมริกาเลือกใช้ขณะนี้ เพื่อประคองเศรษฐกิจ และ “ปล่อยไหล” จำนวนผู้ติดเชื้อจนกว่าจะได้วัคซีนนั้น จะได้ผลในระยะยาวหรือไม่ และในเชิงเศรษฐศาสตร์ การปล่อยให้ตัวเลขผู้ป่วย - ผู้เสียชีวิต เพิ่มขึ้นจำนวนหนึ่งนั้น “คุ้มค่า” หรือไม่ กับการประคับประคองให้เศรษฐกิจในประเทศอยู่รอด
    .
    นับเป็นยุทธศาสตร์ที่ไม่เหมือนใคร และไม่มีใครกล้าเลียนแบบจริงๆ

    #COVID19 #โควิด19 #สหรัฐอเมริกา #วัคซีนโควิด

    อ้างอิงจาก

    https://edition.cnn.com/2020/10/26/health/us-coronavirus-monday/index.html

    https://edition.cnn.com/2020/10/25/opinions/pandemic-covid-19-shutdown-meadows-sachs/

    https://www.vox.com/2020/10/26/21534380/trump-coronavirus-cases-spike-testing

    https://www.cnbc.com/2020/10/24/us-...otal-as-experts-warn-of-difficult-winter.html

     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,307
    ค่าพลัง:
    +97,150
    บราซิลให้เทคนิคช่วยสัตว์โลกใช้หนังปลาพันแผล! ช่วยสัตว์ป่าบาดเจ็บไฟป่าโดยมีชั้นคอลลาเจนหนา ช่วยรักษาได้ ใช้ช่วยเสือ ตัวกินมด สมเสร็จ และอื่นๆ

    Pantanal พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ครอบคลุมพื้นที่บราซิล โบลิเวียและปารากวัย แต่อย่างไรก็ตามพื้นที่กว่า 27% ได้ถูกไฟป่าทำลายไป

    ไฟป่าที่เผาผลาญต้นไม้และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ให้มอดไหม้และรับบาดเจ็บ แต่ทั้งนี้ Felipe Rocha นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยรัฐเซอาราได้เล็งเห็นประโยชน์ของหนังปลานิลที่มีชั้นคอลลาเจนหนามาก มารักษาแผลของสัตว์ที่ได้รับบาดแผลจากการถูกไฟไหม้ ช่วยให้อาการดีเร็วขึ้น

    โดยปกติแล้วฟาร์มเลี้ยงปลาต่าง ๆ จะไม่ใช้หนังปลา นักวิจัยจึงได้เอาหนังปลาจากฟาร์มเหล่านี้ไปตากแห้งทำความสะอาด และเก็บไว้ในอุณหภูมิห้อง

    หนังปลานิลจะทำหน้าที่คล้ายกับผ้าพันแผลที่ติดเเน่นกับแผลไฟไหม้ ทำให้แผลชุ่มชื้นและไม่โดนเชื้อโรค ซึ่งหลังจากที่ติดหนังปลาไปกับแผล ไม่นานส่วนที่เป็นสีขาวที่อุดมไปด้วยคอลลาเจนจะติดกับตัวแผล และส่วนที่เป็นสีเข้มก็จะลอกออกไป และผิวหนังของสัตว์ก็จะกลับไปมีรูปลักษณ์คล้ายเดิม

    https://www.bbc.com/thai/international-54603999

     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,307
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ไทมไลน์บรรจุขรก.โควิด รอบ 3 พร้อมถกกลุ่มตกสำรวจหลังบรรจุเสร็จทั้งหมด
    .

    สธ. เผยยังมีตัวเลข 2.9 พันอัตราจากบรรจุ 2 รอบแรก เหตุมีปัญหาคุณสมบัติ ลาออก คาดนำมาพิจารณาให้กลุ่มตกสำรวจ พร้อมเรียกประชุมชมรมต่างๆ 5 พ.ย.เคลียร์ชัดปมบรรจุโควิด
    .

    นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊ก หมอตี๋ สาธิต ปิตุเตชะ ถึงการบรรจุข้าราชการโควิด-19 ว่า สำหรับการบรรจุ เจ้าหน้าที่ที่ทำงานต่อสู้กับโควิท 19 กว่า 7,000 อัตรา ดูรายละเอียดตาม Timeline หลังจากบรรจุ รอบสุดท้ายนี้แล้ว จะมีการพิจารณาเยียวยาบางกลุ่มที่ตกหล่น เช่นที่ไม่ไช่ความผิดของเจ้าตัวเองของการลงตำแหน่งตามมติ ครม หรือ บางกลุ่มที่ทำงาน หน้างานโควิท 19 แต่ไม่มากนักตามอัตราที่ว่างอยู่ ครับ และน้องๆ ที่ทำงานในสายงาน สายอาชีพต่าง เมื่อพี่ๆ ได้บรรจุขึ้นไปแล้ว เราก็ต่อแถวที่สั้นกว่าเดิมเยอะมากในอัตราที่ ก.พ. จะจัดสรรให้แต่ละปี และขอให้เข้าใจว่ากระทรวงเราทำให้เต็มที่ไม่ได้เลือกปฏิบัติ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ออกเพื่อความยุติธรรมของพวกเราทุกคน แต่ต้องเข้าใจด้วยว่า ไม่ได้ครบทุกคน 100% ผู้บริหารทำให้ทุกคนเต็มที่
    .

    ด้าน นพ.สุระ วิเศษศักดิ์ รักษาราชการแทนรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าว Hfocus ถึงความคืบหน้าการบรรจุข้าราชการรุ่นโควิด-19 รอบที่ 3 ว่า จะมีการรายงานผลการคัดเลือกให้ทางกระทรวงสาธารณสุขในวันที่ 17 พ.ย.นี้ และกำหนดรายงานตัววันที่ 25 พ.ย. โดย 2 รอบแรกที่ผ่านมามีตำแหน่งประมาณ 2,900 อัตรา ซึ่งตัวเลขกลุ่มนี้มาจากที่มีปัญหาการบรรจุ ซึ่งแบ่งหลักๆ ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มที่มีปัญหาเรื่องคุณสมบัติ เช่น ตำแหน่งไม่ตรงกับการจ้าง และ2. เป็นกลุ่มที่เดิมมีชื่อตำแหน่ง แต่เมื่อได้ตำแหน่งมาพบว่า ลาออกไปก่อนจะบรรจุแล้ว
    .

    “ตำแหน่งส่วนนี้จะพิจารณาว่าจะใช้กลุ่มไหนบ้าง โดยรวมสายสนับสนุนหรือแบคออฟฟิส โดยจะพยายามดูให้ครบทุกด้าน และให้คณะกรรมการผ่านความเห็นชอบอีกครั้ง ทั้งนี้ ที่ผ่านมาก็มีข้อมูลเข้ามามากพอสมควร แต่ละกลุ่มก็ส่งรายชื่อเข้ามาให้พิจารณามากพอสมควร อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 5 พ.ย.นี้ กระทรวงฯ จะมีการประชุมโดยเชิญผู้แทนชมรมต่างๆ ในกระทรวงสาธารณสุข ซึ่วงชมรมที่เข้ามาต้องเป็นชมรมที่มีการจดทะเบียนถูกต้อง โดยจะเชิญเข้ามาร่วมหารือ และแจงรายละเอียดข้อมูลต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจทั้งหมด” นพ.สุระ กล่าว
    .

    อ่านต่อ :
    https://www.hfocus.org/content/2020/10/20369

    #Hfocus #สื่อออนไลน์ #บรรจุข้าราชการโควิด #โควิด19
     

แชร์หน้านี้

Loading...