ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,303
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ทุบสถิติ! ฝรั่งเศสติดโควิดวันเดียวกว่า 5 หมื่นคน ผู้เชี่ยวชาญประเมิน มีสิทธิพุ่งถึงแสนคนต่อวัน

     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,303
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เขื่อนลำตะคอง แจ้งปล่อยน้ำวันละไม่เกิน 1 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยจะไม่ให้เกิดผลกระทบด้านท้ายน้ำ มวลน้ำที่ปล่อยจะใช้เวลาเดินทาง 4 วัน ถึงพื้นที่ตัวเมืองโคราช สาเหตุที่ต้องพร่องน้ำเพื่อรองรับพายุโมลาเบ ที่จะกระทบไทยในอีก 2 วันข้างหน้า
    .
    สำหรับปริมาตรน้ำในเขื่อนลำตะคอง ปัจจุบันเกินความจุที่ 110%
    .
    #ข่าวช่องวัน #ไต้ฝุ่นโมลาเบ #เขื่อนลำตะคอง

     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,303
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สหรัฐอเมริกา ปฏิบัติการทำลายฝูง "แตนมรณะ" เหล็กไนถึงตาย ผึ้งเสี่ยงสูญพันธุ์

     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,303
    ค่าพลัง:
    +97,150
    วิกฤตไฟป่าแคลิฟอร์เนีย เผาวอด 10 ล้านไร่ ดับแล้ว 31 ราย

     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,303
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เมื่อพระประมุขมาเลเซียต้อนรับนายก
    1603725599855.jpg
    ภาพนี้เป็นภาพถ่ายในขณะที่พระประมุขมาเลเซีย Yang Dipertuan Agong(หันหลัง) ต้อนรับนายกรัฐมนตรี มู(นั่งด้านข้าง) เห็นใบหน้า)ที่มาขอให้พระองค์ออกประกาศฉุกเฉินทั่วประเทศ
    พระองค์ต้อนรับการเข้ามาครั้งนี้พร้อมด้วยหนังสือเล่มหนึ่งที่ถูกวงไว้หนังสือเล่มนั้นคือพระธรรมนูญของประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่กำหนดบทบาทสิทธิหน้าที่ของรัฐบาลกลางและเมื่อสังเกตดูดีๆพบว่ามีการคั่นหน้าไว้เรียบร้อยว่าจะเปิดหน้าใดมาตราใด
    ดังนั้นการเข้ามาของนายกเพื่อขออนุญาตในการประกาศภาวะฉุกเฉินทั่วประเทศแล้วพระประมุขของประเทศได้ปฏิเสธไปนั้นพระองค์ไม่ได้ประกาศโดยพระวินิจฉัยส่วนพระองค์แต่มีการประกอบด้วยกฎหมายและข้ออ้างอิง

     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,303
    ค่าพลัง:
    +97,150
    PSX_20201026_223124.jpg

    (Oct 26) ธปท.ขาดทุนสะสมกว่า 1 ล้านล้าน เป็นเรื่องใหญ่แค่ไหน เราต้องกังวลหรือเปล่า? ไขข้อข้องใจ เมื่อ “ธนาคารแห่งประเทศไทย” ขาดทุนสะสมกว่า 1 ล้านล้านบาท หนี้ที่เกิดขึ้นมาจากไหน? เราต้องทำความเข้าใจเรื่องนี้อย่างไร?

    จากข่าวเมื่อสัปดาห์ก่อนเกี่ยวกับรายงาน "ฐานะการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย" ล่าสุด ณ วันที่ 30 กรกฎาคม 2563 ซึ่งปรากฏผล ขาดทุนสะสมกว่า 1 ล้านล้านบาท หรือถ้าจะเอาตัวเลขแบบเป๊ะๆ คือ ธนาคารแห่งประเทศไทยขาดทุนสะสมอยู่ 1,069,366,246,596 บาท นั้น

    เชื่อว่า หลายคนคงตกใจ เมื่อเห็นว่า "ธนาคารแห่งประเทศไทย" ซึ่งเป็น ธนาคารกลาง ของประเทศแสดงงบการเงินที่ขาดทุนมหาศาลขนาดนี้

    ..แต่อย่าเพิ่งตระหนกตกใจจนเกินไป จนกว่า คุณจะเข้าใจเรื่อง “งบการเงิน” และพันธกิจของหน่วยงานอย่าง “ธนาคารแห่งประเทศไทย” เสียก่อน

    เรื่องหนึ่งที่ทุกๆ คนควรทราบ คือ งบการเงินของหน่วยงานอย่างธนาคารแห่งประเทศไทย มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากงบการเงินของบริษัทเอกชนทั่วไป โดยจากบทความหัวข้อ พันธกิจและงบการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย ได้อธิบายไว้อย่างละเอียด และ “กรุงเทพธุรกิจออนไลน์” ขอสรุปเฉพาะใจความสำคัญ โดยหากต้องการอ่านบทความฉบับเต็มบทความสามารถคลิกอ่านที่ https://www.bot.or.th/Thai/Research...1YKpGnbbipYIYGrJZigP6TJLWndOhQ2N_DNLhO6-h6SMs

    "ธนาคารแห่งประเทศไทย" มีหน้าที่อะไรบ้าง?

    ก่อนที่เราจะไปทำความเข้าใจเรื่องงบการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) นั้น เราต้องทราบว่า “ธนาคารกลาง” ของประเทศ มีพันธกิจสำคัญ 2 ด้านได้แก่

    (1) รักษาเสถียรภาพระบบเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ คือ การรักษามูลค่าของเงินบาทและสินทรัพย์ของคนไทยไม่ให้ด้อยค่าลงจากเงินเฟ้อ ดูแลไม่ให้เกิดฟองสบู่หรือจุดเปราะบางที่อาจจะนำไปสู่วิกฤตการเงิน และยังต้องดูแลค่าเงินบาทไม่ให้ผันผวนจนเกินไป รักษาอำนาจซื้อ รักษาระดับหนี้ต่างประเทศ ฯลฯ

    (2) จัดพิมพ์และนำธนบัตรออกใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ โดยในการจัดพิมพ์และนำธนบัตรออกใช้ ธปท. ต้องกันสินทรัพย์ต่างประเทศมูลค่าเท่ากับธนบัตรที่จะออกใช้ใหม่เก็บแยกไว้หนุนหลังธนบัตร

    เข้าใจ “งบการเงิน” ของธนาคารแห่งประเทศไทย

    ในการดำเนินงานตามพันธกิจ 2 ด้านข้างต้น กฎหมายได้กำหนดให้ ธปท. แยกการลงบัญชีเป็น 2 บัญชี กล่าวคือ

    1. บัญชีของธนาคารแห่งประเทศไทย คือ บัญชีที่เกี่ยวข้องกับพันธกิจรักษาเสถียรภาพระบบเศรษฐกิจ

    ถ้าเราดูบัญชีของธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างย่อ ฝั่ง “สินทรัพย์” (ด้านซ้าย) ประกอบด้วยสินทรัพย์ที่ส่วนหนึ่งเป็นเงินสำรองระหว่างประเทศ ซึ่งอยู่ในรูปสกุลเงินต่างประเทศ และมีสัดส่วนสูงกว่าร้อยละ 85 ของสินทรัพย์ทั้งหมด สินทรัพย์ส่วนที่เหลือคือพันธบัตรรัฐบาลไทย

    ในขณะที่ฝั่ง “หนี้สิน” ส่วนใหญ่ประกอบด้วยพันธบัตร ธปท. ที่เกิดจากการดำเนินนโยบายการเงินเพื่อดูแลเสถียรภาพระบบเศรษฐกิจ เงินรับฝากจากสถาบันการเงิน และรัฐบาล ซึ่งส่วนนี้เป็นหนี้ที่อยู่ในรูปของเงินบาททั้งหมด

    2. บัญชีของทุนสำรองเงินตรา คือ บัญชีที่เกี่ยวข้องกับพันธกิจด้านการพิมพ์และนำธนบัตรออกใช้ในระบบเศรษฐกิจ

    ฝั่ง “สินทรัพย์” ประกอบด้วยสินทรัพย์สกุลเงินต่างประเทศทั้งหมดร้อยละ 100 ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ใช้หนุนหลังการพิมพ์ธนบัตรตามที่กฎหมายกำหนด ส่วนฝั่ง “หนี้สิน” ประกอบด้วยธนบัตรที่ใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ (banknotes in circulation) ในรูปของเงินบาท

    ดังนั้น งบการเงินของธนาคารกลางจึงมีความไม่สมดุลระหว่างด้านสินทรัพย์ (ที่อยู่ในสกุลเงินต่างประเทศ) และหนี้สิน (ที่อยู่ในสกุลเงินท้องถิ่น) โดยด้านสินทรัพย์จะเปลี่ยนแปลงค่าได้ง่ายตามความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน

    4 ลักษณะพิเศษของ “งบการเงิน” ของธนาคารกลาง
    เมื่อเข้าใจถึงพันธกิจหลักในการดำเนินงานซึ่งผูกพันส่งผลต่องบการเงินของ ธปท. แล้ว เรื่องถัดมาที่ควรทราบ ก็คือ งบการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย มี "ลักษณะพิเศษ" ไม่เหมือนงบการเงินของบริษัทเอกชนทั่วไป ดังนี้

    1) สินทรัพย์และหนี้สิน ไม่ใช่สกุลเงินเดียวกัน งบการเงินของธนาคารกลางมีลักษณะพิเศษที่สินทรัพย์และหนี้สิน “ต่างสกุลเงิน” กัน ทำให้ทุกสิ้นปีต้องมีการตีราคาสินทรัพย์สกุลเงินต่างประเทศให้อยู่ในรูปเงินบาท ซึ่ง “อัตราแลกเปลี่ยน” จะมีผลต่อตัวเลขในงบการเงินได้อย่างมีนัยสำคัญ ตัวเลขกำไรหรือขาดทุนที่ปรากฏในงบการเงินส่วนใหญ่จึงเป็น "กำไรหรือขาดทุนที่เป็นผลจากการตีราคา" หรือเรียกว่า "กำไรหรือขาดทุนทางบัญชี"

    ดังนั้น ถ้าเห็นงบการเงินของธนาคารกลางปรากฏผลขาดทุนในบางช่วง อย่าเพิ่งกังวลใจ เพราะอาจเป็นผลจากการตีราคา

    2) การบริหารเงินสำรองระหว่างประเทศมุ่งรักษามูลค่าในรูปเงินตราต่างประเทศใน “ระยะยาว” การดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจต้องมองไกลในระยะยาว ธนาคารกลางจึงลงทุนในสินทรัพย์ที่มีมูลค่าที่ดีในระยะยาว และกระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสม ฉะนั้น ในระยะสั้นอาจเห็นความผันผวนได้บ้าง

    3) หนี้สินของธนาคารกลางต่างจากหนี้สินของธุรกิจ ขณะที่หนี้สินของธุรกิจไม่ว่าเพื่อใช้จ่ายหรือลงทุนก็เพื่อประโยชน์ของธุรกิจนั้นๆ (private benefit) แต่สำหรับ “หนี้สินของธนาคารกลาง” เป็นไปเพื่อประโยชน์ของประเทศโดยรวม (public benefit)

    หนี้สินของ ธปท. เกิดจาก (1) การพิมพ์ธนบัตรออกใช้ให้พอเพียงกับความต้องการของระบบเศรษฐกิจ และ (2) การดูแลเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพ รักษามูลค่าของเงินบาทและสินทรัพย์ของคนไทยไม่ให้ด้อยค่าลง ซึ่งถือเป็นประโยชน์สาธารณะ (public goods) ที่เอื้อให้ระบบเศรษฐกิจสามารถดำเนินไปได้ด้วยดี มีเสถียรภาพ

    ..แล้วหนี้ของธนาคารกลางที่สูงขึ้นโดยเฉพาะช่วง 10 ปีที่ผ่าน เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

    ถ้าดูวัฏจักรเศรษฐกิจในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจโลกปี 2552 ธนาคารกลางของประเทศอุตสาหกรรมหลัก ทั้งสหรัฐอเมริกา กลุ่มประเทศยุโรป และญี่ปุ่น ใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากเป็นพิเศษเพื่อดูแลให้เศรษฐกิจฟื้นตัว

    ธนาคารกลางเหล่านี้อัดฉีดเงินจำนวนมากเข้าสู่ระบบการเงินโลก ส่งผลให้มีเงินทุนไหลเข้าประเทศตลาดเกิดใหม่ (emerging markets) รวมทั้งไทย ตลาดเงินตลาดทุนโลกเคลื่อนไหวผันผวน ขณะที่บริบทในประเทศก็ถูกท้าทายจากเหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองและภัยธรรมชาติ

    นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยมีการลงทุนในระดับต่ำขณะที่การส่งออกมีพัฒนาการดี และการท่องเที่ยวเติบโตก้าวกระโดด ทำให้ 10 ปีที่ผ่านมา (2553 - 2562) ไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดสูงเป็นประวัติการณ์รวมประมาณ 200,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

    เมื่อ “เงินทุนไหลเข้ามามากและเร็วในบางช่วงเวลา” และเกินดุลบัญชีเดินสะพัดสูงเป็นประวัติการณ์ต่อเนื่อง ประกอบกับการลงทุนภายในประเทศอยู่ในระดับต่ำ ปัจจัยเหล่านี้สร้างแรงกดดันต่อค่าเงินบาทให้แข็งค่าขึ้นเร็วเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น

    ในช่วงที่ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวไม่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ธปท. เข้าดูแลโดยการซื้อเงินตราต่างประเทศแลกกับเงินบาท เพื่อช่วยชะลอไม่ให้เงินบาทแข็งค่าเร็วเกินไป พร้อมทั้งดูดซับสภาพคล่องเงินบาทส่วนเกินกลับมาด้วยการออกตราสารหนี้เพื่อดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

    การดำเนินพันธกิจดังกล่าว จึงทำให้ ธปท. มีหนี้เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับเงินสำรองระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้น

    การทำกำไรไม่ใช่พันธกิจของธนาคารกลาง เนื่องจากธนาคารกลางเป็นองค์กรที่ไม่ได้แสวงหากำไร พันธกิจ คือ ดูแลเสถียรภาพของเศรษฐกิจการเงิน กำไรหรือขาดทุนในงบการเงินไม่ได้สะท้อนความสำเร็จของการดำเนินงานตามพันธกิจของธนาคารกลาง

    4) การทำกำไรไม่ใช่พันธกิจของธนาคารกลาง เนื่องจากธนาคารกลางเป็นองค์กรที่ไม่ได้แสวงหากำไร พันธกิจ คือ ดูแลเสถียรภาพของเศรษฐกิจการเงิน กำไรหรือขาดทุนในงบการเงินไม่ได้สะท้อนความสำเร็จของการดำเนินงานตามพันธกิจของธนาคารกลาง แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าธนาคารกลางจะไม่ตระหนักถึงผลของการทำนโยบายต่องบการเงิน โดยธนาคารกลางต้องรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจการเงินไว้ให้ได้ โดยเลือกใช้เครื่องมือต่าง ๆ อย่างรอบคอบระมัดระวังและมีต้นทุนคุ้มค่า

    ภาวะ “ขาดทุน” ของธนาคารกลาง เราต้องกังวลแค่ไหน?

    บทความดังกล่าวได้อธิบายถึงภาวะขาดทุนของธนาคารกลางว่า ไม่ใช่เรื่องใหม่ โดยที่ผ่านมาธนาคารกลางหลายแห่ง อาทิ สวิตเซอร์แลนด์ สิงคโปร์ ออสเตรเลีย อิสราเอล ชิลี ก็เคยมีงบการเงินที่ขาดทุน และผลขาดทุนไม่ได้กระทบศักยภาพการทำหน้าที่ตามพันธกิจของธนาคารกลาง ตราบที่ธนาคารกลางดำเนินนโยบายที่มีเหตุมีผลและเหมาะสมในการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินของประเทศ และได้รับความเชื่อมั่นจากภาคส่วนต่าง ๆ

    สำหรับ ธปท. ที่ผ่านมา แม้ตัวเลขในงบการเงินจะปรากฏผลขาดทุน ตลาดการเงินและนักลงทุนยังคงเชื่อมั่นในการทำหน้าที่ของ ธปท.

    ทั้งนี้ ความเชื่อมโยงระหว่างภาวะเศรษฐกิจและงบการเงินของธนาคารกลางบ่อยครั้งมักจะสวนทางกัน กล่าวคือ ในปีที่เศรษฐกิจไทยเจริญเติบโตได้ดีมีเสถียรภาพ (เช่นปี 2560 - 2561 เศรษฐกิจไทยเติบโตประมาณร้อยละ 4) ค่าเงินบาทมักจะแข็งค่า ทำให้งบการเงินของ ธปท. มีผลขาดทุน คือ ขาดทุนจากการตีราคาและดอกเบี้ยจ่ายจากการออกตราสารเพื่อดูแลเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ

    ในปีที่ ธปท. มีกำไร ก็ไม่ได้แปลว่าเศรษฐกิจไทยจะดีหรือประชาชนจะได้ประโยชน์ เช่น ปี 2554 เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ เศรษฐกิจไทยเติบโตเพียงร้อยละ 0.8 เศรษฐกิจโลกอ่อนแอ ค่าเงินบาทอ่อน ธปท. มีกำไรกว่าแสนล้านบาท

    ในทางตรงข้าม ในปีที่ ธปท. มีกำไร ก็ไม่ได้แปลว่าเศรษฐกิจไทยจะดีหรือประชาชนจะได้ประโยชน์ เช่น ปี 2554 เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ เศรษฐกิจไทยเติบโตเพียงร้อยละ 0.8 เศรษฐกิจโลกอ่อนแอ ค่าเงินบาทอ่อน ธปท. มีกำไรกว่าแสนล้านบาท หรือปี 2558 เศรษฐกิจไทยต้องเผชิญกับปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ขยายตัวในระดับต่ำและเศรษฐกิจจีนเริ่มชะลอตัว ปีนั้นเงินบาทอ่อนค่าลง โดย ธปท. มีกำไรกว่า 9 หมื่นล้านบาท

    Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/904545
     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,303
    ค่าพลัง:
    +97,150
    PSX_20201026_223408.jpg

    (Oct 26) อยู่กับวิกฤติ 'โควิด' อย่างเข้าใจและปลอดภัย: ช่วงวันที่ 12-18 ต.ค.ที่ผ่านมา มีการประชุมร่วมประจำปีของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลก (World Bank)

    การประชุมดังกล่าวมีการจัดสัมมนาด้านเศรษฐกิจและนโยบายหลายเวทีขนานกันไปด้วย เป็นการสัมมนาออนไลน์ที่เปิดให้ผู้ที่ได้รับเชิญเข้าฟัง ซึ่งได้ประโยชน์มาก ผมได้ข้อคิดหลายอย่างจากการสัมมนาทั้งที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกและประเด็นสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย วันนี้เลยขอเขียนเรื่องนี้เพื่อแชร์ความคิดต่างๆ ให้แฟนคอลัมน์ “เศรษฐกิจบัณฑิต” ทราบ

    ไอเอ็มเอฟ มองการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจากนี้ไปว่าจะช้าใช้เวลานาน ไม่กระจายตัวและมีความไม่แน่นอนสูง ปีนี้เศรษฐกิจโลกจะหดตัวร้อยละ 4.4 ดีกว่าที่คาดไว้เดิมและจะขยายตัวร้อยละ 5.2 ปีหน้า ที่สำคัญไอเอ็มเอฟมองว่าจากการยืดเยื้อของการระบาด เศรษฐกิจโลกจะใช้เวลาอีก 2 ปีก่อนที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะกลับไปเหมือนเดิม คือมีภาวะการค้าระหว่างประเทศและการท่องเที่ยวอย่างที่เคยมี

    กรณีเอเชีย เศรษฐกิจจะหดตัวร้อยละ 2.2 ปีนี้และขยายตัวร้อยละ 6.9 ปีหน้า แต่ละประเทศผลกระทบจากวิกฤติจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความสามารถด้านการควบคุมการระบาด นโยบายที่ทำ การพึ่งพาเศรษฐกิจโลกและความอ่อนแอที่มีอยู่เดิม แต่ที่เหมือนกันคือผลกระทบจะมีมากในกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ทำให้ความเหลื่อมล้ำและความยากจนจะมีมากขึ้น สำหรับเศรษฐกิจไทยจะหดตัวร้อยละ 7.1 ปีนี้และขยายตัวร้อยละ 4 ปีหน้า
    การประเมินดังกล่าวทำให้มีคำถามว่า เศรษฐกิจเราจะอยู่อย่างไร 2 ปีข้างหน้า ถ้ายังไม่มีการส่งออกและการท่องเที่ยวเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่จะทำให้ประชาชนส่วนใหญ่อยู่ได้ ประคองตัวได้

    อีกคำถามคือ ในภาวะที่ความอ่อนแอจะมีต่อเนื่อง 2 ปีข้างหน้า เราจะหลีกเลี่ยงไม่ให้การกระตุ้นเศรษฐกิจโดยภาครัฐนำไปสู่การเกิดวิกฤติตามมาได้อย่างไร โดยเฉพาะวิกฤติด้านการคลังและการเงิน ซึ่งเป็นประเด็นที่มีการเตือนและพูดถึงกันมากในการสัมมนาครั้งนี้

    ต่อคำถามแรกว่า เราจะอยู่อย่างไรอีก 2 ปีถ้าไม่มีการส่งออกและการท่องเที่ยวเป็นตัวขับเคลื่อน คำตอบของผมคือ อยู่ได้แน่นอน แต่นโยบายแก้ไขต้องมุ่งไปที่การช่วยเหลือคนส่วนล่างที่ถูกกระทบให้สามารถทำมาหากินและเลี้ยงชีวิตได้ เพื่อลดแรงกดดันที่จะมีในสังคม ขณะที่คนส่วนบนก็ต้องปรับตัว ปรับการคาดหวังจากวิกฤติที่เกิดขึ้น
    ในเรื่องนี้

    ประเด็นสำคัญที่ต้องตระหนักคือ วิกฤติคราวนี้เป็น 2 วิกฤติเกิดขึ้นพร้อมกันคือ วิกฤติสาธารณสุข และ วิกฤติเศรษฐกิจ เป็น 2 วิกฤติที่ทุกประเทศต้องเจอ ประเทศเราโชคดีมากที่สามารถควบคุมการระบาดได้เร็ว ไม่มีการระบาดในประเทศกว่า 5 เดือน ทำให้วิกฤติสาธารณสุขเหมือนได้จบลงแล้ว เหลือเพียงวิกฤติเดียวคือวิกฤติเศรษฐกิจที่ต้องแก้ไข

    ดังนั้น มาตรการทุกอย่างต้องมุ่งไปที่การแก้เศรษฐกิจ ขณะเดียวกันการ์ดด้านสาธารณสุขก็ต้องไม่ตก คือไม่สร้างความเสี่ยงให้การระบาดกลับมาอีก คือไม่มีการระบาดรอบ 2 เพราะถ้าวิกฤติสาธารณสุขกลับมา ประเทศเราก็จะกลับไปมี 2 วิกฤติเหมือนเดิม ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะยิ่งยุ่งยากและความเสียหายจะมีมากขึ้น
    สำหรับการฟื้นเศรษฐกิจ ผมมีข้อคิด 3 ข้อที่อยากแชร์ในแง่การดำเนินนโยบาย

    1.วิกฤติคราวนี้กระทบคนส่วนล่างมากกว่าส่วนบน ขณะที่คนส่วนบนยังไปได้ ปัญหาสำคัญขณะนี้อยู่ที่คนส่วนล่างที่ไม่มีรายได้ ไม่มีงานและไม่มีช่องทางทำมาหากิน ดังนั้น มาตรการแก้ไขของรัฐต้องมุ่งไปที่การแก้ไขปัญหาของคนส่วนล่างคือ สร้างงาน สร้างรายได้ สร้างโอกาสในการเลี้ยงชีพให้คนเหล่านี้และช่วยธุรกิจขนาดกลางและเล็กไม่ให้ล้มละลาย เพื่อให้คนเหล่านี้สามารถไปต่อได้ในภาวะที่ลำบาก เป็นการแก้ไขด้านอุปทาน คือ ความสามารถในการผลิต ที่จะนำไปสู่การสร้างอำนาจซื้อและการใช้จ่ายในประเทศ แนวทางแก้ไขดังกล่าวจะทำให้การแก้เศรษฐกิจตรงเป้า ลดแรงกดดันต่อความเหลื่อมล้ำและต่อความขัดแย้งในสังคม

    2.จากที่เราไม่มีการระบาดในประเทศมานาน ความเสี่ยงของการเกิดการระบาดรอบ 2 มีน้อยลงมาก และถ้าจะเกิดขึ้นก็จะมาจาก 2 ปัจจัยเท่านั้นคือ การเข้ามาในประเทศของแรงงานต่างด้าวและนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ที่ผ่านมามาตรการกักตัวผู้เดินทางมาจากต่างประเทศในห้องพัก 14 วันตามมาตรฐานสาธารณสุข เป็นเครื่องมือหลักที่ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดในประเทศ แม้เราจะมีผู้เดินทางกลับจากต่างประเทศมากกว่า 60,000 คน ปัจจุบันการระบาดทั่วโลกยังรุนแรง มีผู้ติดเชื้อรายใหม่เกือบ 5 แสนคนต่อวันทั่วโลก

    ดังนั้น มาตรการเปิดให้คนต่างชาติเข้าประเทศจะต้องทำด้วยความระมัดระวังอย่างมาก ซึ่งสำคัญที่สุดคือไม่ควรลดหย่อนมาตรการกักตัว 14 วันจากมาตรฐานปัจจุบัน เพราะจะสร้างความเสี่ยงให้กับคนทั้งประเทศและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ นอกจากนี้มาตรการสาธารณสุขต้องตั้งการ์ดสูงต่อไปและเตรียมพร้อมรับมือกับการระบาดที่อาจปะทุขึ้น

    3.ธุรกิจขนาดกลางและเล็กคือหัวใจของการจ้างงานและที่มาของรายได้ของคนกลุ่มล่าง จึงสำคัญที่ทางการต้องมุ่งช่วยเหลือธุรกิจเหล่านี้ หลักคือธุรกิจไหนที่จะไปได้แต่ก็ต้องการความช่วยเหลือ รัฐควรช่วยเหลือ แม้จะเป็นการแชร์ค่าใช้จ่ายในการจ้างงานเพื่อให้มีการจ้างงานได้ต่อไป ธุรกิจไหนไปไม่ได้ก็ควรต้องให้ปิด และธุรกิจไหนที่มีศักยภาพก็ควรช่วยเหลือสนับสนุนให้เกิดขึ้น เพื่อให้เกิดจากการจ้างงานและการผลิตในประเทศ นี่คือแนวทางการช่วยเหลือที่มีเป้าชัดเจน

    ต่อคำถามที่ 2 ว่าเราจะหลีกเลี่ยงไม่ให้วิกฤติเศรษฐกิจในประเทศเกิดขึ้นตามมาได้อย่างไร คำตอบอยู่ที่ความระมัดระวังในการดำเนินนโยบายที่มองทั้งผลระยะสั้นและระยะยาว ต้องยอมรับว่าวิกฤติครั้งนี้เป็นวิกฤติที่มาตรการแก้ไขเศรษฐกิจทั้งนโยบายการเงินและการคลังมือเติบอย่างไม่เคยมีมาก่อน เทียบกับวิกฤติในอดีต คือมีวงเงินอัดฉีดเศรษฐกิจกว่า 10% ของจีดีพี กรณีของไทยเอง การออก พ.ร.ก.กู้เงิน 1.9 ล้านล้านบาท ก็ไม่เคยมีมาก่อนเช่นกัน แม้การใช้จ่ายเหล่านี้จำเป็น แต่ที่จำเป็นกว่าคือการใช้เงินกู้เหล่านี้อย่างมีเหตุผลและอยู่ในวงเงินที่จะไม่สร้างปัญหาด้านเสถียรภาพให้กับประเทศในระยะยาว โดยเฉพาะต่อระบบธนาคารพาณิชย์และฐานะการคลังของประเทศ
    คือถ้าเศรษฐกิจโลกจะยังไม่ดีขึ้นอีก 2 ปี

    ความเป็นหนี้ที่มีมากขึ้นของภาคธุรกิจก็จะสร้างความเสี่ยงต่อธนาคารพาณิชย์ ในแง่คุณภาพสินทรัพย์และหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่จะกระทบฐานะและเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ รวมถึงความสามารถของธนาคารพาณิชย์ที่จะขยายสินเชื่อเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ดังนั้น การดูแลให้ระบบธนาคารพาณิชย์มีเสถียรภาพ จึงเป็นเรื่องสำคัญในการดำเนินนโยบายเพื่อให้ธนาคารพาณิชย์สามารถทำหน้าที่ต่อไปได้ในภาวะที่เศรษฐกิจยังไม่ปกติ

    อีกประเด็นที่เกี่ยวข้องกันคือ ฐานะการคลังของประเทศ จากความเป็นหนี้ของภาครัฐที่สูงขึ้น เพราะการกู้ยืมเป็นจำนวนมากเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ หนี้ที่เพิ่มขึ้นนี้ต้องมีการชำระคืนและในช่วง 2 ปีข้างหน้าถ้าเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ รายได้จากภาษีก็จะลดลง กระทบความสามารถของภาครัฐที่จะชำระหนี้ รัฐบาลจึงต้องนึกถึงช่องทางใหม่ๆ ที่จะเพิ่มรายได้ เพื่อไม่ให้ฐานะทางการคลังของประเทศมีปัญหา จริงอยู่อัตราดอกเบี้ยต่ำมากขณะนี้จะทำให้แรงกดดันต่อฐานะการคลังในระยะสั้นไม่รุนแรง แต่ในระยะยาวเมื่ออัตราดอกเบี้ยเริ่มปรับสูงขึ้น แรงกดดันเหล่านี้จะเกิดขึ้นแน่นอน

    ดังนั้น ผู้ทำนโยบายจะต้องไม่มองการกระตุ้นเศรษฐกิจเพียงด้านเดียวคือการใช้จ่าย ที่ต้องตระหนักถึงความสมดุลระหว่างการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้นกับการรักษาเสถียรภาพด้านการเงินการคลังของประเทศในระยะกลาง เพราะไม่มีอะไรที่ได้มาฟรีๆ หรือไม่มีต้นทุน

    ความเป็นห่วงในเรื่องเสถียรภาพของเศรษฐกิจเป็นประเด็นที่มีการย้ำตลอดเวลาในงานสัมมนาที่พูดถึงในทุกเวที เป็นประเด็นที่เราเองมองข้ามไม่ได้ เพื่อให้เศรษฐกิจของเราไปได้ 2 ปีข้างหน้าและอยู่รอดปลอดภัย โดยไม่สร้างความเสี่ยงให้กับประเทศในระยะยาว

    โดย เศรษฐศาสตร์บัณฑิต ดร.บัณฑิต นิจถาวร
    Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/651372
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,303
    ค่าพลัง:
    +97,150
    1603726582538.jpg

    (Oct 26) วิกฤตทุบแบงก์กำไรทรุด Q4 สุดท้าทาย-ยังไม่ถึงจุดต่ำสุด: ธนาคารพาณิชย์ไทยได้แจ้งผลประกอบการไตรมาส 3 ปี 2563 และงวด 9 เดือนแรกของปีออกมากันแล้ว ซึ่งช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่ทุกแบงก์ต้องดำเนินมาตรการ “พักชำระหนี้” และมาตรการอื่น ๆ เพื่อดูแลลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19

    โดยผลประกอบการที่ออกมา ก็ไม่ต่างไปจากภาพที่ศูนย์วิจัยต่าง ๆ ประเมินกันไว้ซึ่งจากการรวบรวมผลประกอบการของแบงก์ 10 แห่ง พบว่า ในไตรมาส 3 มีกำไรสุทธิรวมกันที่ 29,776 ล้านบาท ลดลง 42% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 51,336 ล้านบาท

    สำรองพุ่งฉุดกำไร-หนี้เสียขาขึ้น

    ซึ่งแบงก์ใหญ่ 4 แห่ง ล้วนกำไรสุทธิลดลงอย่างมาก โดยธนาคารไทยพาณิชย์มีกำไรเพียง 4,641 ล้านบาท ลดลงถึง 68.64% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่ธนาคารกรุงเทพ กำไรสุทธิลดลง 57.44% ธนาคารกสิกรไทย ลดลง 32.88% ธนาคารกรุงไทย ลดลง 18.59% ขณะที่ธนาคารทหารไทย (ทีเอ็มบี) ลดลง 23.31% และธนาคารกรุงศรีอยุธยา ลดลง 7.06%

    ทั้งนี้ หากมองในแง่มูลค่า จะพบว่า ไทยพาณิชย์มีกำไรลดลงมากที่สุดถึง 10,157 ล้านบาท แต่ส่วนหนึ่งก็เป็นผลจากฐานที่สูงในปีก่อนที่มีรายการกำไรพิเศษ หากไม่รวมรายการพิเศษดังกล่าว กำไรสุทธิจะลดลง 56% ขณะที่แบงก์กรุงเทพกำไรวูบไป 5,421 ล้านบาทและแบงก์กสิกรไทยกำไรลดลงไป 3,272 ล้านบาท

    โดยแบงก์ที่กำไรสุทธิลดลงมาก ๆ ล้วนเกิดจากการที่ต้องตั้งสำรองสูง ๆ โดยเฉพาะไทยพาณิชย์ ตั้งสำรองถึง 12,955 ล้านบาทในไตรมาส 3 นี้ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าถึง 33.09% ขณะที่แบงก์กรุงไทยแม้จะตั้งสำรองลดลงจากไตรมาสก่อน 15.61% แต่ก็มีมูลค่าสูงถึง 12,414 ล้านบาท ส่วนแบงก์กสิกรไทยก็ตั้งสำรองถึง 10,815 ล้านบาท ด้านทีเอ็มบีตั้งสำรองเพิ่มขึ้น 38.03% จากไตรมาสที่แล้ว

    และหากมองในแง่หนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ก็พบว่า ไทยพาณิชย์มีเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นมากที่สุดถึง 10,313 ล้านบาท จาก 79,596 ล้านบาท ในไตรมาสก่อนมาเป็น 89,909 ล้านบาทในไตรมาส 3 ดังกล่าว ส่วนกสิกรไทยมีเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นจาก 94,441 ล้านบาท เป็น 96,743 ล้านบาทในช่วงเวลาเดียวกัน

    จบพักหนี้-NPLs ไม่จบลุ้น Q4

    “ปิติ ตัณฑเกษม” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบี กล่าวว่า ภาพรวมผลประกอบการแบงก์ที่ออกมา อาจจะยังไม่สะท้อนภาพเอ็นพีแอลที่แท้จริง เนื่องจากมาตรการพักชำระหนี้ออกมาเป็นเฟส ๆ ลูกหนี้จึงออกจากโครงการไม่พร้อมกัน โดยในเฟสแรกจะเห็นอาการของลูกหนี้สินเชื่อรถยนต์ และสินเชื่อที่อยู่อาศัยก่อน โดยผลกระทบแต่ละธนาคารจะขึ้นอยู่กับพอร์ตสินเชื่อ ซึ่งทีเอ็มบี-ธนชาต ก็มีลูกค้าเหล่านี้ถึงราว 80%

    ส่วนลูกค้ากลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอียังไม่สามารถบอกถึงอาการได้ซึ่งต้องรอดูภายหลังเดือน ต.ค.นี้ไปก่อน อย่างไรก็ดี คาดว่าในไตรมาส 4 จะเห็นต้นทุนความเสี่ยงของแบงก์ยังอยู่ในระดับสูง รวมถึงการไหลเพิ่มขึ้นของหนี้เอ็นพีแอลยังคงมีอยู่

    “เอ็นพีแอลในไตรมาส 4 ยังคงไหลเพิ่มขึ้น และสิ่งที่เราทำในไตรมาส 3 คือการตัดหนี้สูญให้ไว เพื่อกดให้หนี้เอ็นพีแอลอยู่ระดับต่ำ เพื่อให้สามารถรองรับเอ็นพีแอลใหม่ที่จะไหลเข้ามาอีก เปรียบเหมือนแก้มลิง ซึ่งเมื่อเราทำแบบนี้ย่อมกระทบต่อผลงบกำไร-ขาดทุน”

    “ทวีลาภ ฤทธาภิรมย์” กรรมการผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า สิ่งที่ยังคงต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป คือ ทิศทางของเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า รวมถึงมาตรการของภาครัฐที่จะมาช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เช่น การเปิดประเทศ เป็นต้น รวมถึงปัจจัยความเสี่ยงต่าง ๆ ที่กำลังเกิดขึ้น ซึ่งในระยะต่อไปแบงก์ก็ยังคงให้ความสำคัญในเรื่องของคุณภาพสินเชื่อและการดูแลลูกค้า

    ควานหารายได้โปะกำไรลด

    “ทวีลาภ” กล่าวว่า ส่วนทิศทางการหารายได้เพื่อมาชดเชยรายได้หรือกำไรที่อาจจะลดลงนั้น มี 3 ด้านที่แบงก์กรุงเทพทำ คือ 1.ควบคุมภาพสินเชื่อ เพื่อช่วยลดผลกระทบจากเอ็นพีแอลที่มีผลต่อต้นทุนในการตั้งสำรองที่เพิ่มขึ้น 2.ควบคุมค่าใช้จ่าย เช่น ลดกิจกรรมการตลาดลง หรือการลดต้นทุนสาขา เป็นต้น และ 3.เพิ่มรายได้ในบางธุรกิจ เช่น ผลิตภัณฑ์การลงทุน และประกัน เป็นต้น

    ประคองลูกหนี้รอด-แบงก์รอด

    “อภิพันธ์ เจริญอนุสรณ์” ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า แนวโน้มการหารายได้ แบงก์คงต้องดิ้นหารายได้จากธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง (wealth) เนื่องจากลูกค้ากลุ่มมั่งคั่งไม่ได้ถูกผลกระทบและยังพอมีรายได้ โดยจะเน้นให้บริการทางด้านผลิตภัณฑ์กองทุนรวมและผลิตภัณฑ์ประกันภัย

    อย่างไรก็ดี ช่วงไตรมาส 4 นี้ คงต้องพิจารณาภาวะลูกหนี้ก่อนว่าจะเป็นอย่างไร เนื่องจากจะมีภาระการตั้งสำรองที่จะตามมา ซึ่งขณะนี้ยังต้องรอประเมินสถานการณ์ก่อน โดยเฉพาะลูกหนี้ที่ยังติดต่อไม่ได้ที่มีอยู่ราว 5-10% ซึ่งมีทั้งรายย่อยและลูกหนี้เอสเอ็มอี

    กำไรแบงก์ยังไม่ถึงจุดต่ำสุด
    “นริศ สถาผลเดชา” หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี กล่าวว่า ผลกำไรของแบงก์ที่ออกมา น่าจะยังไม่ใช่จุดต่ำสุด โดยยังต้องจับตาดูระยะข้างหน้าอีก เนื่องจากงบฯไตรมาส 3 ที่ออกมา กำไรที่ลดลงส่วนใหญ่เกิดจากการตั้งสำรองในระดับสูง แต่เมื่อพิจารณาที่กำไรก่อนตั้งสำรอง ถือว่ายังไม่ได้กระทบมากนัก

    “ปัญหาระบบแบงก์ตอนนี้คือ การตั้งสำรองที่สูง และคิดว่ายังต้องมีการตั้งสำรองต่อไปอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงไตรมาส 4 ปีนี้ถึงต้นไตรมาส 1 ปีหน้า เพราะตอนนี้พอร์ตลูกค้ารายย่อยออกมาจากการพักชำระหนี้เกือบหมดแล้ว

    แม้ตอนนี้ยังชำระได้ดี แต่ก็ต้องจับตางวดต่อ ๆ ไป ถ้าเศรษฐกิจยังชะลอ รายได้ยังหาย เขาจะผ่อนได้อีกกี่งวด นอกจากนี้ ในส่วนเอสเอ็มอีที่เพิ่งออกจากพักชำระหนี้วันที่ 22 ต.ค. จะเห็นผลกระทบก็อีก 90 วัน หรือช่วงไตรมาส 1 ปีหน้า”

    ทั้งนี้ ในช่วงหลังจบมาตรการพักหนี้เป็นต้นไป ประเด็นความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ ถือเป็นความท้าทายอย่างมากของระบบแบงก์ ดังนั้นแบงก์ก็คงต้องเน้นตั้งสำรองให้ “เหลือดีกว่าขาด” จึงมีผลกระทบต่อกำไรที่จะลดลงต่อไป

    “แนวโน้มเอ็นพีแอลจากนี้ก็จะยังเพิ่มขึ้น ยังไม่จบ ในช่วงไตรมาส 4 ปีนี้และไตรมาส 1 ปีหน้า ซึ่งการบริหารด้วยการตัดขายก็ทำได้จำกัด เพราะตลาดที่จะรับซื้อ ก็ค่อนข้างเต็มแล้ว ดังนั้นแบงก์ก็คงเน้นบริหารเองมากขึ้น”

    แนะดูแลแบงก์ตั้งรับวิกฤตยาว

    โดยหากเศรษฐกิจยังไม่ดีขึ้น ก็คงต้องกลับมาดูว่าระบบแบงก์ช่วยเหลือลูกค้าอย่างไรได้บ้าง โดยที่ยังรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินไว้ได้ ซึ่งอาจจะต้องมีเรื่อง “wearhouse” เป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ หรือเอเอ็มซีแห่งชาติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรองรับหนี้ที่มีปัญหา

    รวมถึงผู้กำกับดูแลอาจจะต้องพิจารณาว่าเป็นไปได้หรือไม่ ว่าในภาวะโควิด-19 จะมีการผ่อนปรนให้การตั้งสำรองไม่กระทบกำไร แต่ให้ไป “กินทุน”แทน เพื่อไม่ให้กระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชน ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาเสถียรภาพให้แก่ระบบธนาคารพาณิชย์

    “ตอนนี้ระบบแบงก์มีทุนอยู่ในระดับที่สูงมาก พอที่จะให้ตัดได้ ก็เป็นทางออกทางหนึ่ง แต่ก็อาจต้องไปดูเรื่องมาตรฐานบัญชีใหม่ IFRS9 ด้วย”

    สำหรับแนวโน้มไตรมาส 4 “นริศ” มองว่า แบงก์คงไม่ได้มุ่งเน้นเรื่องหารายได้เป็นประเด็นหลัก แต่คงเน้นประคองตัว และประคองลูกค้าให้ผ่านพ้นวิกฤตไปให้ได้มากกว่า โดยต้องดูแลไม่ให้ต้องตั้งสำรองมากเกินไป และบริหารเงินกองทุนกับสภาพคล่องให้ดี

    ดังนั้น แนวโน้มข้างหน้าแบงก์คงเน้น “บริหารเชิงรับ” มากกว่าจะเน้นหารายได้นั่นเอง

    Source: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
    https://www.prachachat.net/finance/news-544080
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,303
    ค่าพลัง:
    +97,150
    PSX_20201026_223803.jpg

    (Oct 26) 'เอสเอ็มอี' ตายยักษ์ใหญ่แห่เลิกจ้าง : แม้ว่ารัฐบาลประเมินว่าเศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดต่ำสุด ไปแล้วเมื่อไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงที่ถูกล็อกดาวน์ทั้งประเทศขณะที่ข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่ามีผู้ว่างงานกว่า 7.5 แสนคน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนเกือบ "เท่าตัว" แต่หลายฝ่ายมองว่าตัวเลข "ผู้ว่างงาน" ยังต่ำกว่าความเป็นจริง

    เพราะยังมีชุดข้อมูล ที่เรียกว่า "บุคคลเสมือนว่างงาน" คือผู้ที่ทำงานไม่ถึง 4 ชั่วโมงต่อวัน สูงถึง 5.4 ล้านคน

    กลุ่มนี้มีชั่วโมงทำงานต่ำถือเป็นจุดเปราะบางของเศรษฐกิจ โดยพยายามประคองธุรกิจไม่เลิกจ้างแต่ลดเวลาทำงาน

    ปรากฏการณ์ "ลดชั่วโมงทำงาน" กำลังเป็นเทรนด์ของการจ้างงานในภาวะวิกฤต

    แม้ว่าเศรษฐกิจจะผ่านจุดต่ำสุด แต่วิกฤตที่ซ่อนอยู่ยังไม่ได้ปรากฏออกมา ด้วยเพราะมาตรการเยียวยาต่าง ๆ รวมถึงมาตรการพักหนี้ของ ธปท. ช่วยต่อลมหายใจของผู้ประกอบการ ออกไป ถ้าโชคดีเศรษฐกิจฟื้นตัวได้เร็ว ผู้ประกอบการที่โดนพิษโควิด-19 สามารถยืนระยะเพื่อกลับมาได้

    แต่ปัญหาโควิด-19 ยังไม่สิ้นสุด วัคซีนยังไม่สำเร็จ และความรุนแรงของปัญหาแท้จริงยังไม่เกิดขึ้น

    ผู้ประกอบการโดยเฉพาะเอสเอ็มอีที่อยู่ในมาตรการพักหนี้ ซึ่งครบกำหนด 22 ต.ค.นี้ แม้ว่าแบงก์ชาติจะถอดสลักโดยต่อเวลาถึงสิ้นปี

    แต่ถ้าลูกหนี้ไปต่อไม่ไหว ยังไม่มีรายได้มาชำระหนี้ ก็ต้องเข้าสู่ปรับโครงสร้างหนี้ อาจจะต้องปลดพนักงานอีกระลอก

    นอกจากนี้ ยังมีเอสเอ็มอีประมาณ 1.6 หมื่นราย (มูลหนี้ 5.7 หมื่นล้าน) ที่แบงก์เจ้าหนี้ติดต่อไม่ได้ ซึ่งก็สันนิษฐานว่าส่วนใหญ่ปิดกิจการไปแล้ว

    ขณะที่เมืองไทยยังไม่สามารถเปิดประเทศรับต่างชาติ อาจมีบ้างที่เป็นกลุ่มผู้เข้ามารักษาพยาบาลระดับ 1,000-2,000 คน หรือกลุ่มลองสเตย์ที่ยังรอลุ้นว่าจะเข้ามาเมื่อไหร่ แน่นอนว่าทุกอย่างต้องเปิดอย่างระมัดระวัง

    ตัวเลขจึงเป็นหลักร้อยหลักพัน ไม่ใช่หลักล้านคนเหมือนที่ผ่านมา ทุกอย่างกลายเป็น "นิวนอร์มอล" ธุรกิจโรงแรมจะยืนทนได้อีกนานแค่ไหน ซึ่งทางสมาคมโรงแรมระบุว่า ขณะนี้ยังมีโรงแรมกว่า 50% ที่ยังไม่ได้กลับมาเปิดให้บริการเพราะไม่มีนักท่องเที่ยว แล้วจะมีจำนวนเท่าไหร่ที่จะต้องปิดถาวร

    ขณะเดียวกัน ก็มีธุรกิจยักษ์ใหญ่ที่อยู่ในกระบวนการปรับโครงสร้างธุรกิจ ลดค่าใช้จ่ายพร้อมด้วยแผนปรับลดพนักงาน

    อย่างล่าสุด บมจ.การบินไทย เปิดโครงการ "ร่วมใจเสียสละ เพื่อองค์กร" ให้สมัครใจลาออกให้มาทำงานวันสุดท้าย 30 พ.ย. 2563 อีกทางเลือก คือ ให้ลาหยุดยาว 6 เดือนโดยได้รับเงินเดือน 20% และจะเปิดโครงการสมัครใจลาออกอีกรอบในเดือน มี.ค. 2564

    หรือกลุ่มบริษัทไมเนอร์ เจ้าของโรงแรมกว่า 500 แห่ง ทั่วโลก "บิล ไฮเน็กกี้" ประธานและผู้ก่อตั้ง ยอมรับว่า ก่อนหน้านี้ได้ปรับลดพนักงานไปแล้ว และอาจจะต้องมีการเลิกจ้างอีกระลอก รวมถึงปิดโรงแรมบางส่วนในเร็ว ๆ นี้

    แม้แต่แบงก์ไทยพาณิชย์ก็ได้เปิดโครงการ "จากด้วยใจ" ครั้งที่ 2 ให้พนักงานสมัครเข้าโครงการตั้งแต่ 5 ต.ค.-6 พ.ย. 2563 หลังจากที่ปิดโครงการรอบแรกไปเมื่อเดือน มิ.ย. 2563

    รวมถึงค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ได้เปิดโครงการให้พนักงาน "ลาโดยไม่รับค่าจ้างและสวัสดิการ" แบบไม่จำกัดวันลา ในภาวะที่กำลังซื้อในตลาดทั่วโลกหดตัว

    สะท้อนว่าในแต่ละอุตสาหกรรมมีแผนลดพนักงานจำนวนมากซ่อนอยู่ สถานการณ์เช่นนี้คงจะเพิ่มมากขึ้นช่วงปลายปีนี้

    แม้ว่าที่ผ่านมารัฐบาลจะมีโปรเจ็กต์จ้างงาน 1 ล้านตำแหน่ง แต่ดูเหมือนว่าผลลัพธ์ไม่ได้สูงดังชื่อโครงการ และไม่มีรายงานสรุปของรัฐบาลว่ามาตรการจ้างงานนี้สัมฤทธิผลแค่ไหน มีแต่วงในว่ามีการจ้างงานเกิดขึ้นจริงแค่หลักหมื่นคน

    ปัญหาคือ หากเศรษฐกิจฟื้นตัวช้าจนส่งผลให้หลายธุรกิจต้องปิดตัวลงในที่สุด กลุ่มคนที่เสมือนว่างงานก็จะเปลี่ยนสถานภาพเป็น "ผู้ว่างงาน" จำนวนมหาศาลนี่คือปัญหาที่ยังรอวันปะทุ

    คอลัมน์ สามัญสำนึก: สุดใจ ชาญชาตรีรัตน์

    Source: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
    https://www.prachachat.net/columns/news-542847
     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,303
    ค่าพลัง:
    +97,150
    #ฝากแจ้งข่าว‼️ โคราชโดนเต็มๆ
    พายุไต้ฝุ่น #โมลาเบ เตรียมถล่ม 28-29 ต.ค.นี้
    FB_IMG_1603726825595.jpg
    พายุไต้ฝุ่น โมลาเบ จ่อขึ้นฝั่งเวียดนามตอนกลาง
    ทำภาคอีสาน ภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคเหนือตอนล่าง
    มีพายุฝนตกหนัก กับมีลมแรงในช่วง 28-31 ตุลาคมนี้

    ทางด้านรองอธิบดี กรมอุตุนิยมวิทยา เผยปีนี้ผิดปกติ
    พายุยังไม่จบ ลูกใหม่เตรียมจ่อเข้า #ยาวเป็นชุด

     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,303
    ค่าพลัง:
    +97,150
    SHORT NEWS: สถานทูตเยอรมนี กรุงเทพฯ ออกหนังสือกรณีการชุมนุมใหญ่ 26 ตุลาคม
    FB_IMG_1603727483817.jpg
    สถานเอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจำประเทศไทย ออกหนังสือถึงกระทรวงการต่างประเทศ กรณีที่มีการนัดชุมนุมของประชาชนในบริเวณสถานทูตในกรุงเทพฯ ตั้งแต่เวลา 17.00 น. วันนี้ว่า ทางสถานทูตยอมรับในสิทธิการชุมนุมอย่างสงบของพลเมืองไทย และตระหนักถึงหน้าที่ความรับผิดชอบของทางกระทรวงฯ ภายใต้มาตรา 22 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต และชื่นชมระดับการคุ้มครองในกิจกรรมดังที่กล่าวมา
    .
    อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ https://thestandard.co/
    #สถานทูตเยอรมัน #คณะราษฎร2563 #ม็อบ26ตุลา #TheStandardNews

     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,303
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Oct 26 , 2020 กรุงไทยชี้การสลับวันหยุด ให้ชนกับเสาร์-อาทิตย์ ช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวได้เพิ่มขึ้น 30% หรือกว่า 1,700 ล้านบาท
    .
    นายกิตติพงษ์ เรือนทิพย์ นักวิเคราะห์ กรุงไทยคอมพาส ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า การสลับวันหยุดกลางสัปดาห์ ให้ชนกับวันเสาร์-อาทิตย์ ในแต่ละครั้ง จะช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 30% หรือมีมูลค่ากว่า 1.7 พันล้านบาท
    .
    ข้อมูลจากการขอเส้นทางบน Apple Map แสดงให้เห็นว่าวันหยุดยาวมีผู้ขอใช้เส้นทางมากกว่าวันหยุดเสาร์อาทิตย์มากถึง 50% และวันหยุดกลางสัปดาห์มีผู้ขอใช้เส้นทางน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับวันหยุดประเภทอื่นๆ
    .
    เมื่อมีวันหยุดยาว แทบทุกจังหวัดจะมีปริมาณการขอใช้เส้นทางจาก Apple Map ที่สูงขึ้น ซึ่งมีความสัมพันธ์ไปกับอัตราที่พักที่สูงขึ้นด้วย
    .
    ในการเดินทางท่องเที่ยว วันหยุดเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างมากปัจจัยหนึ่ง การที่วันหยุดนักขัตฤกษ์อยู่ติดกับเสาร์อาทิตย์ หรืออยู่กลางสัปดาห์ ดูจะส่งผลต่อการตัดสินใจที่จะเดินทางท่องเที่ยวที่แตกต่างกันอย่างมาก โดยเฉพาะกับการเที่ยวในประเทศที่ใช้เวลาไม่กี่วัน
    .
    แนวทางหนึ่งที่น่าสนใจ และมีต้นทุนทางเศรษฐกิจที่ต่ำ คือ การสลับวันหยุดนักขัตฤกษ์ที่อยู่กลางสัปดาห์ หรือที่เรียกกันว่าวันหยุดฟันหลอ ให้มาหยุดติดกับวันเสาร์อาทิตย์ เพื่อสร้างวันหยุดยาวแทน ซึ่งวิธีการนี้น่าจะสามารถกระตุ้นการท่องเที่ยวได้ โดยใช้วันหยุดเพียงเท่าเดิม ในบทความนี้ได้ทำการวิเคราะห์ว่า การมีวันหยุดยาว ดีกว่าการมีวันหยุดตรงกลางสัปดาห์อย่างไร มีพื้นที่ที่เสียประโยชน์หรือไม่ และมีผลต่อการท่องเที่ยวเพียงใด

    พฤติกรรมการเดินทางระหว่างวันหยุดแบบต่างๆแตกต่างกันขนาดไหน?
    .
    เราพอทราบว่าผู้คนมักไปเที่ยวต่างจังหวัดในช่วงวันหยุดยาวมากเป็นพิเศษ แต่เรามักไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นจำนวนมากกว่าการเที่ยวในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ปกติและวันหยุดตรงกลางระหว่างสัปดาห์ขนาดไหน อย่างไรก็ดี ด้วยข้อมูลดัชนีการขอใช้เส้นทางขับรถจาก Apple Map ทำให้เราเห็นภาพดังกล่าวได้ชัดเจนขึ้น
    .
    ผู้คนมักไม่ค่อยขอใช้เส้นทางนักในช่วงวันธรรมดา (ยกเว้นวันศุกร์ที่ผู้คนมักมีการสังสรรค์กันตอนเย็น ตลอดจนเดินทางออกต่างจังหวัด) แต่มักมีการขอเส้นทางในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ และยิ่งมีการขอเส้นทางขับรถกันมากขึ้นในช่วงวันหยุดยาว เช่น ในช่วงวันหยุดยาวที่ 4-7 ก.ค. วันที่ 25-28 ก.ค. วันที่ 4-7 ก.ย. เป็นต้น (อย่างไรก็ดี เป็นที่น่าสังเกตว่า ผู้คนขอเส้นทางน้อยกว่า หากวันหยุดยาวตรงกับช่วงที่มีมรสุม อย่างวันที่ 4-7 ก.ย.) และมีการขอใช้เส้นทางไม่มากนักในวันหยุดตรงกลางสัปดาห์ เช่น วันที่ 12 ส.ค.
    .
    อย่างไรก็ตามอาจมีความกังวลที่ว่า เมื่อมีวันหยุดยาวแล้ว อาจทำให้บางพื้นที่เสียประโยชน์หรือไม่ อย่างเช่น พอมีวันหยุดยาว นักท่องเที่ยวเลือกที่จะไปท่องเที่ยวในจังหวัดใกล้ๆน้อยลง แต่ไปจังหวัดที่ไกลขึ้นแทน หรือคนในเมืองใหญ่อาจเดินทางออกนอกเมือง ทำให้กิจกรรมเศรษฐกิจในเมืองลดลง
    .
    เพื่อตอบปัญหานี้ เราได้คำนวณค่าเฉลี่ยของดัชนี Apple Map ที่ต่างกันระหว่าง ช่วงวันหยุดยาว และวันหยุดสุดสัปดาห์ที่มีวันหยุดสองวัน เพื่อให้เห็นว่าเมื่อมีวันหยุดยาวแล้ว บางพื้นที่มีผู้ขอใช้เส้นทางน้อยลงหรือไม่ เทียบกับวันหยุดธรรมดา โดยผลในรูปที่ 5 ได้แสดงว่าจังหวัดแทบทุกจังหวัดมียอดใช้ Apple Map ที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งสื่อถึงการเดินทางและการพักแรมที่มากขึ้น เมื่อมีวันหยุดยาว โดยมีเพียงกรุงเทพฯเท่านั้นที่มียอดผู้ใช้ Apple Map ลดลง ซึ่งก็ลดลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งผลดังกล่าวพอจะบอกได้ว่าเมื่อมีวันหยุดยาว กิจกรรมท่องเที่ยวโดยรวมในแทบทุกจังหวัดมีความคึกคักมากขึ้น
    .
    นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์ประเมินว่า ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ ผู้คนจะเดินทางท่องเที่ยวและพักแรมมากกว่าในช่วงวันธรรมดาประมาณ 50% ในขณะที่การเดินทางและพักแรมในช่วงวันหยุดยาวมีมากกว่าช่วงวันธรรมดาประมาณ 1 เท่าตัว
    .
    ดังนั้น การสลับวันหยุดกลางสัปดาห์ให้กลายเป็นวันหยุดยาว ใน 1 ครั้ง คาดว่าจะช่วยเพิ่มรายได้ท่องเที่ยวได้มากขึ้นถึง 30% ในจำนวนวันหยุดที่เท่าเดิม ซึ่งคิดเป็นมูลค่ากว่า 1.7 พันล้านบาท สำหรับในช่วงที่คนไทยใช้จ่ายด้านท่องเที่ยวน้อยลงอย่างในปีนี้ และอาจเพิ่มรายได้ได้มากถึง 3.7 พันล้านบาท หากคนไทยใช้จ่ายด้านท่องเที่ยวเท่ากับในช่วงปี 2019 (ในปี 2019 รายได้ท่องเที่ยวจากคนไทยมีมูลค่าสูงถึง 2.1 หมื่นล้านบาทต่อสัปดาห์ แต่ในปีนี้ แม้จะมีการเปิดเมืองแล้ว ค่าใช้จ่ายด้านการท่องเที่ยวเหลือเพียงสัปดาห์ละประมาณ 1 หมื่นล้านบาทเท่านั้น)
    .
    #ท่องเที่ยว #วันหยุด #รายได้ #เศรษฐกิจ #Misterban

     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,303
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Oct 26 , 2020 นายกฯเผยเดือนหน้าถกพรรคร่วมแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 1 – 2 ส่วนวาระ 3 จะเริ่มในเดือน ธ.ค.
    .
    พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เปิดเผยในที่ประชุมสภาฯ ว่า สำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ในช่วงที่ผ่านมาได้หารือร่วมกับหัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาลเป็นที่เรียบร้อยแล้วว่าจะเดินหน้าเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างไร และได้แจ้งให้คณะรัฐมนตรี หรือ ครม. รับทราบ
    .
    โดยในช่วงเดือนพ.ย. สภาก็จะพิจารณารัฐธรรมนูญ ในวาระ 1 วาระ 2 และวาระ 3 ในธ.ค. แต่ยังไม่สามารถประกาศใช้ได้ เนื่องจากยังต้องรอการทำประชามติก่อน ซึ่งในช่วงสัปดาห์หน้าจะเสนอพ.ร.บ.ประชามติเข้าสภาฯ หากแล้วเสร็จจะดำเนินการทำประชามติต่อ
    .
    โดยนายกฯระบุว่า ยืนยัน และจะแสดงให้เห็นถึงการพร้อมที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ
    .
    รัฐบาลพยายามแก้ปัญหาให้มากที่สุด ส่วนข้อเสนอให้ลาออกจากตำแหน่งนายกฯ นั้น มีขั้นตอนที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ คือ หากนายกฯลาออก คณะรัฐมนตรีต้องพ้นไปทั้งคณะ แต่ต้องอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อจนกว่าจะได้คณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่เข้ารับหน้าที่ ส่วนการเลือกนายกฯต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญคือ ใช้ที่ประชุมของรัฐสภา และใช้เสียงของส.ส. และส.ว. ลงมติเกินกึ่งหนึ่ง ส่วนกรณียุบสภา ทำให้สถานภาพของส.ส.สิ้นสุดลง ซึ่งตนไม่แน่ใจว่า พวกท่านต้องการหรือไม่ ส่วนแนวทางของการแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องเป็นไปตามขั้นตอน
    .
    #นายกรัฐมนตรี #สภา #รัฐธรรมนูญ #Misterban

     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,303
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Oct 26 , 2020 กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศเตือน พายุไต้ฝุ่น "โมลาเบ" กระทบไทย 28 - 30 ต.ค.นี้
    .
    กรมอุตุนิยมวิทยาได้ออกประกาศฉบับที่ 1 แจ้งเตือน พายุไต้ฝุ่น "โมลาเบ" (พายุระดับ 5) โดยจะมีผลกระทบในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 28 - 30 ตุลาคม 2563 บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ละติด 13.5 องศาเหนือ ลองจิจูด 118.5 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เเละกำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกด้วยความเร็วประมาณ 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนกลางในวันที่ 28 ตุลาคม 2563
    .
    หลังจากนั้นจะอ่อนกำลังลงตามลำดับ ประกอบกับลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้น ส่งผลทำให้ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ มีฝนตกหนักและมีลมแรง ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้
    .
    สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน มีคลื่นสูง 2-3 เมตร อ่าวไทยตอนล่างคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง หลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้ จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา
    .
    #กรมอุตุนิยมวิทยา #ตุลาคม #Misterban #พายุไต้ฝุ่น #โมลาเบ

     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,303
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Oct 26, 2020 ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วประเทศ ใส่เคอร์ฟิวนาน 7 ชั่วโมงทั่วทั้งสเปน
    .
    ประธานาธิบดีสเปน นายเปโดร ซานเชส แถลงโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจทั่วประเทศ ประกาศใช่สถานการณ์ฉุกเฉินครอบคลุมทั้งสเปน และใช้มาตรการเคอร์ฟิวโดยการห้ามประชาชนออกนอกที่อยู่อาศัยมีผลตั้งแต่ 23.00 น. ถึง 06.00 น. รวม 7 ชั่วโมงในทุกวัน สำหรับการประกาศใข้กฎหมายสถานการณ์ฉุกเฉินในคืนที่ผ่านมานั้น มีผล 15 วัน อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดีสเปน อาจตัดสินใจขอมติจากรัฐสภาสเปนเพื่อขยายระยะเวลาออกไปเป็น 6 เดือน
    .
    กฎหมายสถานการณ์ฉุกเฉินที่ประกาศใช้ทั่วประเทศสเปน ส่งผลรัฐบาลในแต่ละแคว้นของประเทศสเปนต้องประกาศห้ามการเดินทางหรือท่องเที่ยวระหว่างแคว้นและภายในประเทศทันที ในด้านรายละเอียดของข้อห้ามสำคัญภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น ห้ามรวมกลุ่มของประชาชนทั้งในที่สาธารณะและที่ส่วนบุคคลซึ่งมาจากครอบครัวที่แตกต่างกัน ประกาศสั่งปิดโรงภาพยนตร์ สระว่ายน้ำ และฟิตเนสรวมถึงยิมส์ทุกแห่ง ด้านร้านอาหาร บาร์ และร้านคาเฟ่ ต้องปิดบริการตั้งแต่ 18.00 น.เป็นต้นไป แต่ร้านค้าปลีก และธุรกิจส่วนใหญ่ยังอนุญาตให้เปิดทำการได้ ส่วนโรงเรียนนั้น ปิดทำการสอนในโรงเรียน โดยให้กลับไปเรียนผ่านระบบออนไลน์เท่านั้น

    สำหรับสถานการณ์การระบาดโรคโควิด-19 ในสเปนเมื่อถึงวันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคมที่ผ่านมา พบว่า มีจำนวนผู้ติดโรคโควิด-19 ใน 1 วันพุ่งขึ้นทำสถิติใหม่นับตั้งแต่เกิดการระบาดเป็นต้นมา โดยมีมากถึง 21,200 ราย ส่งผลให้สเปนมีผู้ติดโรคโควิด-19 สะสมเป็น 1,110,372 อยู่อันดับที่ 6 ของโลก และเป็นอันดับ 2 ของยุโรป ซึ่งถูกฝรั่งเศสแซงขึ้นไปอยู่อันดับ 1 ของยุโรปในขณะนี้
    .
    ทั้งนี้ การประกาศใช้กฎหมายสถานการณ์ฉุกเฉินของสเปนในคืนที่ผ่านมา นับเป็นครั้งที่ 2 นับตั้งแต่เกิดภาวะโรคระบาดโควิด-19 ครั้งแรกในเดือนเมษายน นอกจากนี้ มีมากกว่า 17 แคว้น ที่มีความจำเป็นต้องประกาศเพิ่มความเข้มงวดในมาตรการรักษาระยะห่างทั้งในที่สาธารณะและที่ส่วนบุคคลด้วย
    .
    #สเปน #โควิด19 #ติดรอบสอง #ยุโรป #สถานการณ์ฉุกเฉิน #misterban

     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,303
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Oct 26, 2020 โควิด-19 ถล่มเมืองน้ำหอม ดีดฝรั่งเศสติดมากที่สุดอันดับ 1 ในยุโรป ยอดตายพุ่งกว่า 750%
    .
    กระทรวงสาธารณสุข ฝรั่งเศส เปิดเผยว่า จำนวนผู้ติดโรคโควิด-19 ในรอบ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีจำนวน 52,010 ราย ทำสถิติจำนวนผู้ติดโรคโควิด-19 รายวันมากที่สุดตั้งแต่เกิดโรคระบาดในประเทศเป็นต้นมา ที่สำคัญนับเป็นครั้งแรกที่มีจำนวนผู้ติดโรคโควิด-19 มากกว่า 50,000 ราย ส่งผลให้มีจำนวนผู้ติดโรคโควิด-19 สะสมทะลุ 1,138,507 ราย อยู่อันดับที่ 5 ของโลก ขยับขึ้น 2 อันดับโลกภายใน 1 วันผ่านมา โดยแซงประเทศสเปนขึ้นเป็นอันดับ 1 ของยุโรปตะวันตก และแซงประเทศอาเจนติน่าที่อยู่ในอันดับ 7 ของโลกอีกด้วย หากมองย้อนหลัง 3 วันผ่านมา พบว่า มีผู้ติดโรคโควิด-19 สะสมรวมกันกว่า 139,000 ราย หรือเฉลี่ยวันละกว่า 46,333 ราย ซึ่งจำนวนติดสะสมกว่า 139,000 รายใน 3 วันติดกันที่ผ่านมา ทำสถิติสูงกว่าช่วงปิดล็อคเมืองนาน 2 เดือนตั้งแต่กลางมีนาคมถึงกลางพฤษภาคม ซึ่งมีตัวเลขผู้ติดเชื้ออยู่ที่ 132,000 ราย
    .
    ส่วนจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 116 รายในรอบ 24 ชั่วโมงผ่านมา ทำให้ยอดสะสมเพิ่มเป็น 34,761 ราย อยู่อันดับ 7 ของโลก ขยับขึ้น 1 อันดับโลกในชั่วข้ามคืน ในด้านจำนวนผู้เสียชีวิตนั้น พบว่าในช่วงกว่า 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา พบว่าชาวฝรั่งเศสติดโรคระบาดโควิด-19 และเสียชีวิตทะยานขึ้นกว่า 3,000 ราย ทำสถิติพุ่งสูงถึง 752% เมื่อเทียบกับจำนวนผู้เสียชีวิตในเดือนสิงหาคมผ่านมา โดยเมื่อเดือนสิงหาคมเสียชีวิตรวม 359 ศพ เดือนกันยายนพุ่งเป็น 1,172 ศพ และตั้งแต่ 1-26 ตุลาคมมีผู้เสียชีวิตที่ 3,060 ศพ
    .
    สำหรับสถานการณ์การรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ในโรงพยาบาลทั่วประเทศฝรั่งเศสนั้น กำลังเผชิญปัญหาที่กำลังไปสู่วิกฤตการรักษาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ พบว่า จำนวนผู้ป่วยโรคโควิด-19 ถูกส่งเข้าโรงพยาบาลในรอบ 24 ชั่วโมงผ่านมาอยู่ที่ 817 ราย ส่งผลจำนวนสะสมในโรงพยาบาลเป็น 16,454 ราย ผู้ป่วยอาการโคม่าและรักษาในห้องไอซียูพุ่งขึ้น 84 ราย ส่งผลตัวเลขสะสมอยู่ที่ 2,575 ราย และอัตราการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2010 มีไม่น้อยกว่า 17% ขึ้นไป
    .
    รัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัล ฝรั่งเศส เปิดเผยว่า สถานการณ์แพร่ระบาดรอบ 2 ที่รุนแรงอย่างหนักมากกว่ารอบแรก ส่งผลให้ต้องนำแอปที่มีชื่อว่า Tous Anti-COVID ซึ่งเปลี่ยนชื่อจากเดิมที่มีชื่อว่า StopCovid มาให้ประชาชนชาวฝรั่งเศสดาวน์โหลดไว้เพื่อเป็นการติดตามพฤติกรรมการเดินทางของชาวฝรั่งเศส ปัจจุบันมีผู้ดาวน์โหลดรวม 4 ล้านคน อย่างไรก็ตาม จำนวน 4 ล้านคนไม่เพียงพอที่จะติดตามสถานการณ์ภาวะการระบาดโรคโควิด-19 ในฝรั่งเศสได้ รัฐมนตรี นายเซ็ดดริด โอ เรียกร้องให้ชาวฝรั่งเศสรีบดาวน์โหลดแอปดังกล่าว เพื่อให้มีจำนวนระหว่าง 20% ของประชากรทั้งประเทศ หรือคิดเป็น 15-20 ล้านคน จึงจะมีติดตามและประเมินสถานการณ์ระบาดรอบที่ 2 ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
    .
    ทั้งนี้ ประชาชนชาวฝรั่งเศสไม่ต้องการดาวน์โหลดแอปดังกล่าว เนื่องจากมีความเป็นห่วงต่อการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่จะต้องเข้าไปอยู่ในระบบฐานข้อมูลของแอปดังกล่าว สำหรับรัฐบาลฝรั่งนั้น ได้ประกาศใช้มาตรการรักษาระยะห่าง และมาตรการอื่นๆที่เข้มข้นมากขึ้นกว่าที่ผ่านมา เช่น การประกาศเคอร์ฟิวในกรุงปารีส และ 7-8 เมืองที่มีการระบาดพุ่งสูงอย่างรุนแรง
    .
    #ฝรั่งเศส #ปารีส #ระบาดรอบสอง #ยุโรป #โควิด19 #misterban

     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,303
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Oct 26 , 2020 ทอท.เผยปีงบ 63 ผู้โดยสารใช้บริการ 6 ท่าอากาศยานลดลง 69.2 ล้านคนจากปีก่อน หรือ ลดลง 48.8%
    .
    รายงานข่าวจาก บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงปริมาณการจราจรทางอากาศของปีงบประมาณ 2563 (1 ต.ค. 2562 – 30 ก.ย. 2563) ของ ท่าอากาศยาน 6 แห่งในสังกัด ได้แก่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.) ท่าอากาศยานดอนเมือง (ทดม.) ท่าอากาศยานภูเก็ต (ทภก.) ท่าอากาศยานเชียงใหม่ (ทชม.) ท่าอากาศยานหาดใหญ่ (ทหญ.) และท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย (ทชร.) ว่า ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไวควิด-19 ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2563 ทำให้ปริมาณการเดินทางท่องเที่ยวทั่วโลกและเข้ามายังไทยปรับลดลง ส่งผลกระทบทำให้ปริมาณผู้โดยสารที่เดินทางผ่าน 6 สนามบินของ ทอท. ประจำปีงบประมาณ 2563 น้อยลงตามไปด้วย
    .
    โดยมีปริมาณรวมทั้งสิ้น 72.6 ล้านคน ลดลง 48.8% หรือลดลงกว่า 69.2 ล้านคน เมื่อเทียบกับทั้งปีงบประมาณ 2562 ที่มีจำนวนผู้โดยสารรวมทั้งสิ้น 141.8 ล้านคน แบ่งเป็นผู้โดยสารระหว่างประเทศ 37.4 ล้านคน ลดลง 55.4% และผู้โดยสารภายในประเทศ 35.1 ล้านคน ลดลง 39.2%
    .
    ขณะที่มีจำนวนเที่ยวบินทั้งสิ้น 515,185 เที่ยวบิน ลดลง 42.5% หรือลดลงจำนวน 380,912 เที่ยวบิน แบ่งเป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศ 244,511 เที่ยวบิน ลดลง 50.3% และเที่ยวบินภายในประเทศ 270,674 เที่ยวบิน ลดลง 33%
    .
    #ทอท #สนามบิน #ผู้โดยสาร #ลดลง #Misterban

     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,303
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ( ชมคลิป) ผู้คนวิ่งหนีหวิดเหยียบกันตาย ประทัดในหุ่นจำลองยักษ์ระเบิดเป็นลูกโซ่ดังสนั่น คืนสุดท้ายงานนวราตรีที่อินเดีย

     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,303
    ค่าพลัง:
    +97,150
    26/10/2563/22.00 น. แรงขึ้นอีก "พายุไต้ฝุ่น “โมลาเบ"บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 167 กม./ซ.ม. เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกด้วยความเร็ว 30 ก.ม./ซ.ม.
    คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งที่ประเทศเวียดนามในวันที่
    28-29 ต.ค.นี้
    ซึ่งจะมีผลกระทบกับประเทศไทย 28-30 ต.ค.นี้

    ที่มาข้อมูล jtwc, windy, tsr storm

     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,303
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ทางการเวียตนาม
    สั่งอพยพประชาชนราว 1.3 ล้านคน
    หลังจากการเดินทางมาถึง
    ของพายุไต้ฝุ่น #โมลาเว (Molave)

    อนึ่ง
    พายุไต้ฝุ่นลูกนี้
    เพิ่งออกเดินทางมาจากฟิลิปปินส์
    หลังจากทำให้มีผู้เสียชีวิตมาแล้ว 13 คน
    บ้านเรือนสิ่งปลูกสร้างพังเสียหายไปจำนวนมาก

    CR: Alerta Cambio Climático

     

แชร์หน้านี้

Loading...