ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เรามาอยู่จุดไหนของการระบาดของ Covid 19
    โดย นายแพทย์ ยงค์ศักดิ์ เลียงอุดม. 1/09/20
    การเมื่อเกิดการระบาดใหญ่ของ Spanish Flu ในปี 1918-1919 มีการระบาดอยู่ 3 ระลอก คือ spring 1918, fall 1918 และ spring 1019 second wave รุนแรง คนตายมากที่สุด และ ทั่วโลกมีคนตาย 50 ล้านคน ขณะนั้นอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 หมออเมริกัน 30% อยู่ใน military service ไม่มี vaccine ไม่มี testing ไม่มียา ไม่มีการตรวจ virus
    สิ่งที่ต้องอธิบายใน Spanish flu ทำไมเป็น wave และ second wave ที่รุนแรงอาจเป็นคนละสายพันธ์กันกับ first wave ซึ้งในช่วงเวลานั้นตรวจพิสูจน์ไม่ได้ การquarantines ในช่วงเวลานั้นก็ไม่ effective เพราะเป็นช่วงสงคราม
    การระบาดของโรคอื่นๆในช่วงต่อมา second wave มักไม่รุนแรง ไม่ว่าจะเป็น Asian Flu, Hongkonk flu 1968, Swine flu 2009
    แน้วโน้ม second wave ของ Covid 19 ก็เช่นกัน เชื้อทำท่ากลายพันธุ์ รุนแรงน้อยลง ถึงแม้จะติดต่อได้ง่ายขึ้น คนติดเชื้อมากขึ้น แต่อัตราการตายตำ่ลง ขณะนี้อัตราการตายลดเหลือ 3.5%
    การระบาดของ Covid 19 เริ่มตั้งแต่เดือน มกราคม ขณะนี้ผ่านมา 8เดือนมีคนป่วย 25 ล้านคน บางประเทศยังอยู่ในระลอกแรก first wave บ้างประเทศมีระลอกสองแล้ว หรือมีการระบาดแบบกลุ่มก้อน cluster คำถามที่ทุกคนอยากรู้คือ มันจะจบอย่างไร
    แต่ละ region ก็ไม่หมือนกัน บางประเทศผ่าน first wave แล้วมี second wave หรือเป็นเพียง new cluster บางประเทศยังอยู่ใน first wave ในระลอกแรกอยู่
    เราต้องมาพิจารณาแต่ละประเทศ แต่ละregion ซึ่งจะทำให้เข้าใจว่า แต่ละส่วนอยู่ในระลอกไหน จะจัดการเป็นอย่างไร แล้วนำมาต่อ Jig saw จึงจะเห็นภาพรวมของ สภาวะการระบาดทั้งหมด ในโลกปัจจุบันที่โลกทั้งโลกเชื่อมกัน ถ้าส่วนหนึ่งส่วนใดของโลกยังควบคุมการระบาดไม่ได้ ก็หวังยากว่าจะมีชีวิตที่ปกติ ธุรกิจการค้า การท่องเที่ยวที่ต้องอาศัยการเชื่อมโยงติดต่อ เดินทาง ส่งสินค้าข้ามประเทศ ก็จะเกิดขึ้นไม่ได้
    แม้อเมริกาเอง east cost เองผ่าน first waveแล้วเช่น New York , New Jersey แต่รัฐทาง South และ western state เช่นTexas Florida California ยังอยู่ใน first wave ระลอกแรกอยู่ แต่ละรัฐมีคนติดเชื้อ กว่าหกแสนราย California 700,000 ราย แต่คนติดเชื้อใหม่ต่อวันลดลงจาก 60,000 คนต่อวันเป็น 37,000 คนต่อวัน และเริ่มเพิ่มขึ้นเป็น 40,000 คนต่อวัน จะเพิ่มขึ้นใน midwest อาจจะจากเริ่มเปิดโรงเรียน มีคนป่วยเด็กมากขึ้น
    อเมริกาเหมือนมีสองประเทศในเวลาดียวกัน โรคระบาด เคลื่อนตัวจาก east coast ไปทาง southern state เพราะ summer time คน move ลงใต้โดยเฉพาะ Florida เพราะอากาศดีกว่า คนสูงอายุ ย้ายมาเป็นจำนวนมาก จนหัวหน้า CDC บอกว่าเหตุผลของการระบาดเพราะการ move ของผู้คนมากกว่า การยกเลิก lockdowns เร็วเกินไปของ Trump
    ประเทศในยุโรปตะวันตก ผ่านการระบาด first wave ที่รุนแรงมาแล้ว ขณะนี้เข้าสู่ second wave แล้ว ฝรั่งเศษต้องเข้าสู่ quarantines อีกครั้งเมื่อวันที่ 14/08/20 ที่ ปารีสและ มารเซย์ เพราะพบผู้ป่วยใหม่รวมกัน 12,000 คน จาก 330 cluster และพบ clusters ใหม่ถึง 30 ภายในสองวัน วันที่ 19/08/20 มี คนใหม่เพิ่มขึ้น 3,776 คน
    ยุโรปใจร้อน เปิดพรมแดนเพื่อหาเงินจากการท่องเที่ยวทำให้มีคนติดเชื้อเพิ่มขึ้น แม้แต่ในยุโรปใต้ ที่ first wave ควบคุมได้ดี เหมือนอเมริกาที่ทนอดอยากปากแห้งจากการ lockdown ไม่ไหว
    ประเทศยุโรปที่เเข้าสู่ second wave ก็มี France,Spain, Swiss , Chez republic, Greece, Ireland เริ่มมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น สเปนมีคนติดเชื้อเพิ่มมากที่สุด
    แต่อัตราการตาย และคนไข้หนัก ของ second wave ในยุโรป และในอเมริกา ลดต่ำลงมาก เพราะการรักษาที่ดีขึ้น เชื้อโรคถึงแม้จะติดง่ายขึ้นแต่รุนแรงน้ออยลง Covid 19 กลายเป็นโรคของคนหนุ่มสาว ที่อังกฤษคนไข้หนักที่จะต้องใช้เครื่องช่วยหายใจลดลงมาก ในช่วงแรกมีถึง 3,000 คน ในช่วงหลังลดเหลือเพียง 80 คน อัตราการตายในยุโรปลดเหลือ 3.5%
    นิวชีแลนด์ ประเทศที่ประสบความสำเร็จในการควบคุม การระบาดรอบแรกมาถึง 102 วันก็ไม่รอด วันที่ 12 สิงหาคม เกาะเหนือฃองนิวซีแลนด์ก็ประกาศการ lockdowns ระดับ3 หลังพบผู้ป่วยใหม่ 4คน จากครอบครัวเดียวกัน แต่ในที่สุดนิวซีแลนด์ก็คุมสถานการณ์ได้อีกครั้ง มีผู้ติดเชื้อใหม่ 141 คน และออกจาก lockdowns ในวันที่ 31 สิงหาคม
    จากประเทศที่ได้รับการยกย่องว่าประสบความสำเร็จในการควบคุม Covid ขณะนี้เพราะความประมาท ทำให้ Melburne เมืองใหญ่อันดับสองของออสเตรเลียซึ่งมีประชาชนอยู่ 5ล้านคน ต้องกลับมา lockdowns อีก
    สิ่งที่เกิดขึ้นเพราะความประมาท รัฐ victoria. ให้บริษัทเอกชนทำ quarantines คนที่กลับมาจากต่างประเทศ รัฐอื่นไปให้ตำรวจดำเนินการ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ guard สูบบุหรี่ร่วมกับคนที่มาquarantines ว่ากันว่า guard ถึงกับมี sex กับคนที่มา quarantine แน่นอนกลับมาบ้าน ชุมชน ก็ทำให้แพร่กระจายต่อ second wave ที่เกิดขึ้นกระจายต่อเป็น unknown จำนวนคนติดเชื้อใหม่ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่องใน รัฐ Victoria
    ในเอเชีย ประเทศที่ประสบความสำเร็จในการควบคุมการระบาดในช่วงแรก first wave ส่วนใหญ่อยู่ในเอเชีย และประเทศเหล่านี้เรื่มผจญกับการระบาดระลอกสอง second wave
    เกาหลีเข้าสู่ second wave จากการระบาดที่เริ่มในโบสถ์ ตัวเลขที่เพิ่มขึ้นต่อวันยังเป็นหลักร้อย รัฐบาลบังคับให้ใส่ mask เมื่อออกจากบ้าน
    เวียดนามเริ่มพบ second wave หลังประสบความสำเร็จใน first wave มา 3 เดือน
    เวีตนนามเป็น cluster ใหม่ที่ leak มาที่ Danang เป็น unknown และ infectivity สูงเหมือนที่พบทั่วโลก
    ในมาเลเซียพบ second wave จากคนที่กลับมาจากอินเดียแล้วหนี quarantines เป็น D614G ที่พบใน ยุโรป อเมริกา มีการติดเชื้อได้ง่าย เร็ว แต่ไม่รุนแรง
    ฟิลิปปินส์ และ อินโดนีเซีย เป็นสองประเทศใน south east Asia ที่ยังอยู่ใน first wave ที่รุนแรงอยู่
    ในเอเชีย อินเดียมีการระบาดรุนแรงที่สุดและยังไม่ผ่าน first wave มีคนติดเชื้อมากเป็นอันดับสามของโลก มีคนติดเชื้อเพิ่มในหลัก 60,000 คน ติดต่อกันหลายวัน วันที่ 31 สิงหาคม มีคนติดเชื้อเพิ่ม 70,000 คน
    ที่น่ากลัวคือพม่าเพื่อนบ้านเราการระบาดเริ่มจากรัฐยะไข่ ซึ่งอาจข้ามพรมแดนมาจากอินเดีย
    ในลาตินอเมริกา บราซิลยังอยู่ใน first waveที่รุนแรง มีผู้ติดเชื้อเป็นอันดับสองของโลก
    จากการศึกษาของ MIT ใน 84 ประเทศ ประมาณการณ์ว่า ถ้ายังไม่มี vaccine คนป่วยจะเพิ่มขึ้นเป็น 200-600 ล้านคน ภายในกลางปี 2021 คนตายจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.4ถึง 3.7ล้านคน 90%ของคนทั่วโลก ยังมีโอกาสติดเชื้อ
    ตราบใดที่การระบาดไม่สิ้นสุด สิ่งสำคัญสามสิ่งเป็นสิ่งที่จะต้องทำต่อไป
    ประการแรก การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การสวมหน้ากาก การหมั่นล้างมือ กินร้อน การทำ testing แล้ว tracking แล้ว isolation ยังเป็นเรื่องจำเป็น
    การระบาดของ Covid 19 คงจบที่ second wave คงไม่มี third wave เหมือน Spanish Flu 1918 คนคงไม่ตายมากเท่า Spanish Flu ระบาด ซึ้งคนตายไป 50 ล้านคน ขณะนี้คนตายไปแล้วกว่า 8 แสนคน เพราะเราอยู่ในโลกที่การแพทย์แตกต่างกันมาก ในขณะนี้มีการรักษา potential treatment อยู่ 316 วิธีการ แต่ละวิธีการ ยาใหม่ๆใช้เงินเฉลี่ยถึง 200 ล้านดอลลาร์ในการพัฒนาต่อยาหนึ่งตัว
    second wave ของ Covid 19 ก็ดูรุนแรงน้อยกว่า แต่อย่างไรก็ตามเราก็คงต้องยังเผชิญอยู่กับภาวะที่เลวร้ายอยู่ ถึงแม้เชื้อจะรุนแรงน้อยลง แต่ถ้ายังมีคนติดเชื้อเพิ่มขึ้นมาก อัตราการตายถึงจะตำ่ แต่จำนวนคนตายทั้งหมด ก็ยังมาก
    การรับฟังข่าวสารต้องฟังพิจารณาจากที่มีข้อมูลเป็นหลัก แม้แต่ถ้าออกมาจากผู้มีชื่อเสียง ถ้าไม่มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือประกอบ ก็ต้องพิจารณาให้ดี จะเกิดความสับสนได้
    เรียบเรียงและวิเคราะห์โดย พลอากาศตรี นายแพทย์ ยงค์ศักดิ์ เลียงอุดม
    ผู้อำนวยการ ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลกรุงเทพ
    เป็นความเห็นส่วนตัวไม่เกี่ยวกับองค์กร


     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สงครามช่วงชิงวัคซีน ภาคสาม การดิ้นรนของประเทศเล็ก
    โดย นายแพทย์ ยงค์ศักดิ์ เลียงอุดม 3/09/20
    การดิ้นรนช่วงชิงสำหรับการได้มาของวัคซีน Covid 19 ของประเทศเล็ก และประเทศยากจน เป็นความลำบากอย่างยิ่ง เพราะขาดทั้งทุนทรัพย์ ที่จะจัดหา หรือไม่มีความสามารถพอที่จะผลิตวัคซีนได้
    อุตสาหกรรมการผลิตวัคซีนมีความซับซ้อน ดังกล่าวไว้ในภาคสอง นับแต่การพัฒนา การทำ reserch การบรรจุ ใน medical glass vial การหาสาร adjuvant เพื่อรักษาสภาพวัคซีน เข้มฉีดยาขนาดเล็ก และ logistic การจัดส่งมอบวัคซีนซึ้งทุกขั้นตอนต้องใช้เงินใช้ทอง จีนเสนอเงินกู้ให้ประเทศเล็ก หนึ่งพันล้าน dollar สำหรับจัดหาวัคซีน
    ประเทศเล็กๆเหล่านี้ขาดทั้งเงินและ know how ในการพัฒนาวัคซีน มีเพียงประเทศไทยประเทศเดียวที่ไม่ใช้ประเทศร่ำรวยที่พัฒนาวัคซีนขึ้นมาได้ถึง phase 2 โดย lab ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยใช้วิธีการใหม่คือ mRNA เช่นเดียวกับบริษัท Moderna
    ประเทศเล็กเคยได้บทเรียนมาแล้ว เมื่อปี 2009 การระบาดของ Swine flu ไข้หวัดหมู วัคซีนตกอยู่ที่ประเทศใหญ่ร่ำรวย ไม่มาถึงประเทศเล็กเลย และในครั้งนี้ความต้องการที่มีอย่างมากทั่วโลก ประเทศเล็กก็คงต้องรอไปก่อน
    ฟิลิปปินส์ประเทศที่มีการระบาดของ Covid 19 หนักที่สุดของ south east Asia ประธานาธิบดี Dutarte กระโดดเข้าหารัสเซีย เพื่อการได้มาสำหรับ vaccine Sputnik V ทั้งๆที่นักวิชาการออกมาเตือนเรื่องความปลอดภัย เนื่องจากไม่ผ่าน phase 3
    ฟิลิปปินส์เคยได้บทเรียนมาแล้วจากวัคซีนไข้เลือดออกของบริษัท Sonafi เด็กตายไปหลายคน
    ประธานาธิบดี Dutarte จำใจต้องแบกหน้าไปหาจีน ทั้งๆที่มีปัณหากับจีนในการเรียกร้องสิทธิในหมู่เกาะเล็กๆในทะเลจีนใต้ โดยเจรจากับบริษัท Sinovac และ Sinopharm ของจีน
    อินโดนีเซียก็ร่วมมือในการพัฒนาวัคซีนกับ Sinovac ของจีน โดยผ่านบริษัทยาของรัฐบาล Bio Farma ทุกประเทศดิ้นรนกันสุดฤทธิ์
    WHO ประมาณไว้ว่ามี Lab ทั่วโลกกว่า 170 แห่งที่กำลังพัฒนาวัคซีน Covid 19 อยู่ แต่บริษัทในอังกฤษประเมินไว้ว่าอาจจะมีถึง 280 Lab ทั่วโลก
    ในลาตินอเมริกา ทีมพัฒนาวัคซีนของ Argentina เริ่มพัฒนาวัคซีนด้วยงบประมาณอันน้อยนิด 100,000 ดอลลาร์ เปรียบเทียบไม่ได้กับงบมหาศาลนของบริษัทยายักษ์ใหญ่ของอเมริกา ซึ้งลงเงินไปแล้ว 10 พันล้านดอลลาร์ ใน operation speed wrap สำหรับบริษัทยายักษ์ใหญ่หกแห่ง
    Argentina และ Mexico ยอมเป็นฐานการผลิต Oxford วัคซีน 250 ล้าน doses ให้ AstraZenaca เพื่อหวังส่วนแบ่งวัคซีน
    ใน Africa ทวีปที่มีคนติดเชื้อ Covid 19 กว่า หนึ่งล้านคน บริษัท Helix Biogen ของ Nigeria กำลังพัฒนาวัคซีน Covid เพราะคงหวังพึ่งประเทศใหญ่ไม่ได้
    ในประเทศไทยมี lab ถึง 20 แห่งกำลังพัฒนาวัคซีน Covid 19 อยู่ ที่จุฬามี 2 lab คือคณะแพทยศาสตร์และคณะเภสัชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์มีความก้าวหน้าที่สุดใช้ mRNA เทคโนโลยี จะทำ study ใน phase3 ปลายปีนี้ และจะใช้บริษัทในอเมริกาและคานาดาช่วยในการผลิต
    ทำไมประเทศเล็กๆต้องกังวลใจ เพราะหัวหน้า CDC เองก็บอกว่าในอเมริกาเอง ช่วงแรกวัคซีนก็อาจไม่เพียงพอ
    CDC ได้วาง guideline ไว้แล้วว่าใครจะได้รับวัคซีนก่อน บุคคลากรทางการแพทย์ และ social worker 17-20 ล้านคน คนที่มีโรคประจำตัว 100 ล้านคน คนอายุมากกว่า 65 ปี 53ล้านคน essential people คนที่ทำงานเกี่ยวกับอาหาร การศึกษา การขนส่ง 60-80 ล้านคน รวมแล้วประมาณ 230-250 ล้านคน จะไม่ให้ประเทศเล็กๆวิตกได้อย่างไร และวัคซีนบางบริษัทต้องฉีดสองครั้ง
    CDC ประกาศว่า 1 พฤศจิกายน จะพร้อมฉีดวัคซีน วันที่ 3 พฤศจิกายนเป็นวันเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกา
    เพื่อให้การผลิตทันเวลา บริษัท 3 บริษัทต้องเสี่ยงผลิตวัคซีนมูลค่ามหาศาลก่อนที่ FDA จะอนุมัติ approve
    ขณะนี้ Moderna และ Pfizer กำลังแข่งกันว่า FDA จะ approve ใครก่อน เป็นเกมธุรกิจ ถ้าเกิดพลาดขึ้นมา phase 3 ไม่ผ่านก็คงขาดทุนมหาศาล หุ้นที่พุ่งขึ้นมารับ 400% ก็คงพลอยให้นักลงทุนหน้ามืดไปด้วย ไม่มีอะไร 100%
    บริษัท ผลิตวัคซีนจากจีน Cansino ตกเป็นเหยื่อความขัดแย้งระหว่างจีนกับคานาดาจากการที่คานาดาจับลูกสาวประธาน Huawei ส่งให้อเมริกาเมื่อปีที่แล้ว
    เมื่อตอนต้นปี บริษัท Cansino ซึ้งใช่ Canada เทคโนโลยีในการพัฒนาวัคซีน Covid 19โดยใช่ เทคนิค Ad5-nCov ของคานาดา และมีความก้าวหน้าในช่วงแรกมากกว่าบริษัทใดๆ จนราคาหุ้นพุ่งขึ้น
    แต่ศุลกากรของจีนได้ block ไม่ให้ส่งวัคซีนไปคานาดาเพื่อจะทำ study ใน phase 3 เนื่องจากจีนควบคุม Covid ได้ดีจึงไม่สามารถทดลอง phase3 ได้ บริษัท Cansino ต้องเสียเวลาไปติดต่อกับรัสเซียเพื่อ studyใน phase3 ทำให้ล่าช้ากว่าบริษัทอื่นๆ ช่างเป็นเคราะห์กรรมที่ไม่คาดคิด
    สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือความรีบร้อน และความกดดันจากนักการเมือง ทำให้ขั้นตอนในการผลิตยาและวัคซีนสำหรับ Covid 19 ทำให้ขบวนการไม่เป็นตามขบวนการมาตรฐานทางการแพทย์ เช่นวัคซีนรัสเซีย
    FDA เคยเข้ามขั้นตอนอนุมัติ approve การใช้ hydroxycholoquine เพราะแรงกดดันจาก Trump และต้องหน้าแตกเพราะเป็นยาที่ไม่ได้ผล ในครั้งนี้ FDA ถูกกล่าวหาจาก Trump ว่าพยายามเยื้อการ approve วัคซีนเพื่อสกัดกั้นเขา
    มีข้อสงสัยในขบวนการ approve วัคซีนของ FDA ว่าซับซ้อนเกินไปเมื่อเทียบกับจีน FDA อ้างว่าตัวเองอยู่เหนือการเมือง ในช่วงแรกของการระบาด FDA บอกว่าต้องใช้เวลา 4 ปีเพื่อพัฒนาวัคซีน Covid 19
    ช้าไปก็มีปัญหา เร็วไปก็มีปัญหา
    เรียบเรียงและวิเคราะห์โดย พลอากาศตรี นายแพทย์ ยงค์ศักดิ์ เลียงอุดม
    ผู้อำนวยการศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาล กรุงเทพ
    เป็นความเห็นส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับองค์กร


     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Covid 19 บาดแผลที่เหลือไว้ให้ชาวโลก ความโหดร้ายของ Covid 19 ภาคสอง โดย นายแพทย์ ยงค์ศักดิ์ เลียงอุดม 10/09/2020 8 เดือนหลังจากที่ Covid 19 ระบาดมีคนเสียชีวิตทั่วโลกแล้วกว่า 900,000 คน ในบรรดาคนป่วย 27ล้านคนที่รอดชีวิตจาก Covid 19 คนเหล่านี้ยังต้องผจญกับปัณหาทางสุขภาพในระบบต่างๆของร่างกาย อันเป็นผลพวงจากความเสียหายที่ Covid 19 ได้กระทำไว้ คนที่ติดเชื้อ Covid 19 เคยคิดกันว่าจะมีอยู่สองชนิด คือกลุ่มที่มีอาการมากต้องอยู่โรงพยาบาล และอีกกลุ่มมีอาการน้อย หรือไม่มีอาการ จากการติดตามคนไข้จำนวนมากในยุโรปและอเมริกาพบว่ามีคนป่วยในกลุ่มที่สาม ส่วนใหญ่ไม่ได้รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล มีอาการนานถึง 16 สัปดาห์หรือมากกว่านั้น คนป่วยเหล่านี้เรียกว่ากลุ่ม long Covid หรือ long hauler การศึกษาจาก US, UK และ Sweden จากคนนับล้านคน จาก Covid Symtom study group โดยวิธีใช่ app ตรวจสอบอาการ พบว่ามี 10-15% ที่มีอาการระยะยาว จากการศึกษาใน 13 รัฐของอเมริกา 35% ของคนที่ test positive สำหรับ Covid 19 ยังมีอาการ เมื่อทำการสัมภาษณ์ 2-3 อาทิตย์ต่อมา ในอังกฤษ ที่King college ได้ใช้ app : Covid symtom study ศึกษาติดตามคนที่เคยติดเชื้อ Covid 19 พบว่าจำนวนคนป่วย 300,000 คน ยังคงมีอาการมากกว่าหนึ่งเดือน และพบว่า 60,000 คนมีอาการ long Covid ที่มากกว่า 3 เดือน มีอาการตั้งแต่เล็กๆน้อยๆ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก จนถึงปัณหาที่มากขึ้นเช่นต้องนั่งรถเข็น wheel chair เชื้อ Covid 19 เข้าไปทำร้ายอวัยวะระบบต่างๆในร่างกาย และทิ้งความเสียหายไว้ ถึงแม้มันจะถูกขจัดไปแล้ว ระบบหายใจ คนไข้ส่วนหนึ่งหลังออกจากโรงพยาบาลแล้วยังมีปัณหา หายใจไม่เต็มอิ่ม เนื่องจากเนื้อปอดถูกทำลาย เหนื่อยง่าย บางคนต้องใช้ออกซิเจนกระป่องตลอดเวลา จากการศึกษาของ Mayo clinic ทำ CT scan ในกลุ่มคนที่ไม่มีอาการ พบว่าเนื้อปอดมีร่องรอยการถูกทำลาย มี scar ในเนื้อปอด ระบบประสาท คนไข้ส่วนหนึ่งหลังจากออกจากโรงพยาบาล ต้องพิการจาก stroke เป็นอัมพาตจากการที่ Covid ทำให้เส้นเลือดที่ไปที่สมองอุดตัน ปกติ stroke จะเกิดในคนอายุมากเฉลี่ย 70 ปีขึ้นไป แต่ Covid 19 ทำให้เกิด stroke ในคนอายุ 40-50 ปี ในการศึกษาวิจัยที่ตีพิมพ์ใน Lancet ได้ทำ MRI ของสมองของคนที่ตรวจพบ positive test for Covid 19 จำนวน 60 คน พบว่าเนื้อสมองมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับคนปกติเมื่อเวลาผ่านไป 3 เดือน อันเป็นสาเหตุให้ความจำเสื่อม เสียสมาธิง่าย บางครั้งสับสน คนไข้จำนวนหนึ่งจะสูญเสียระบบประสาทการรับรสและการดมกลิ่นอย่างถาวร ระบบหัวใจ ไวรัส Covid 19 จะทำลายกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้การสูบฉีดโลหิตของหัวใจสูญเสียคุณภาพไป การศึกษาในเยอรมัน คนไข้ 78คน จาก 100 คนมีหัวใจที่ผิดปกติ การศึกษาที่ Wuhan ศึกษาในคนไข้ 416 คนที่เคยรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 20% มีกล้ามเนื้อหัวใจที่ผิดปกติ ระบบการทำงานของไต พบว่า COVID-19 ทำให้คนไข้ส่วนหนึ่งมีไตวายเรื้อรัง ทำให้คนป่วยต้องมาล้างไตอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลจากเนื้อไตถูกทำลายจากไวรัส หรือไวรัสทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือดเล็กๆที่มาเลี้ยงไต ระบบทางเดินอาหาร จากการศึกษาของ university of Hong Kong พบว่าจะยังพบเชื้อ Covid 19 ในอุจจาระ หลังจากอาการป่วยทางระบบทางเดินหายใจหายดีขึ้นแล้ว จากจำนวนคนไข้ 7 คนใน 15 คน โดยคนไข้เหล่านี้ไม่มีอาการทางระบบทางเดินอาหารเลย และ ไวรัส Covid 19 จะทำให้รบกวน bacteria ดี ที่มีอยู่ในระบบทางเดินอาหาร ปัณหาของคนที่ป่วยจาก Covid 19 ไม่เหมือนกับป่วยเป็นโรคหวัด ส่วนหนึ่งจะมีปัณหาระยะยาว และมี disables มีความพิการ และไม่สามารถกลับมาทำงานตามปกติ ต้องได้รับการรักษาต่อเนื่อง สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ทำให้เกิดคำถามขึ้นว่าการปล่อยให้มีภูมิคุ้มกันแบบ herd immunity จะคุ้มค่าหรือไม่ เพราะถ้าปล่อยให้คนติดเชื้อ ไม่ป่วย ไม่ตาย แต่อาจมีปัณหาระยะยาวตามมา แม้แต่ในคนหนุ่มสาว คนป่วย long Covid เหล่านี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะได้รับการรักษาต่อเนื่อง ในอังกฤษมีปัณหาจากระบบสาธารณสุขและแพทย์ที่อ่อนล้า ทำให้มีปัณหาที่จะดูแลคนป่วยเหล่านี้ แพทย์ส่วนหนึ่งที่ติดเชื้อ Covid 19 ก็เป็น long Covid ไม่สามารถกลับไปทำงานได้ ปัณหาการ lockdowns เป็นเวลานาน เด็กๆไม่ได้ไปโรงเรียน สามในสี่ของเด็กอังกฤษเริ่มมีปัณหาทางจิตใจวิตกกังวล และหนึ่งในสี่ของพ่อแม่ไม่รู้ว่าจะจัดการอย่างไร ในการสำรวจเด็กอายุ 5- 18 ปีที่อังกฤษ 4ใน 10 ของเด็กรู้สึกโดดเดี่ยว เมื่อการระบาดสิ้นสุดลง คงจะมีคนป่วยเป็น long Covid และปัณหาทางจิตใจนับล้านคน เหลือเป็นภาระให้ระบบสาธารณสุขทั่วโลก นี้คือความโหดร้ายต่อมนุษยชาติที่ Covid 19 ได้กระทำไว้ ยังไม่นับถึงการทำลายเศรษฐกิจและวิถีชีวิตของผู้คนที่ไม่อาจกลับมาเหมือนเดิมได้ แต่ในประวัติศาสตร์หลังวิกฤตและการทำร้ายล้างครั้งใหญ่ จะมีการฟื้นตัวและพลิกโฉมของโลก อย่างเช่นที่เกิดขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง นักเศรษฐศาสตร์ผู้ปราชญ์เปรื่องได้ทำนายไว้ว่าเศรษฐกิจในปี 2021 จะกลับมา bloom รุ่งเรืองเหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง Hope is the good thing, hope is the best thing in the time like this เรียบเรียงและความเห็น โดย พลอากาศตรี นายแพทย์ ยงค์ศักดิ์ เลียงอุดม ผู้อำนวยการ ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลกรุงเทพ เป็นความเห็นส่วนตัวไม่เกี่ยวกับองค์กร 
     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ภูมิคุ้มกันจากวัคซีน หรือภูมิคุ้มกันจากภูมิคุ้มกันหมู่ ความหวังที่รอคอย
    โดย นายแพทย์ ยงค์ศักดิ์ เลียงอุดม
    Published 18/09/20
    ในขณะที่วัคซีนสำหรับ Covid 19 จากบริษัทต่างๆกำลังจะค่อยๆทะยอยออกมาให้ได้ใช้ในเวลาอีกไม่นาน คำถามที่ทุกคนอยากจะรู้ว่า ภูมิคุ้มกันของวัคซีนจะมีประสิทธิภาพเท่าใด จะใช้เวลาเท่าไร จึงจะกลับมาใช้ชีวิตแบบปกติ กลับมาทำงานได้ ไม่ต้อง stay home ไม่ต้องใส่ mask
    จากการศึกษาและตีพิมพ์ใน Amarican journal of preventive medicine ถ้าจะให้ได้ผลและไม่มี case ใหม่เกิดขึ้นเลย ประชาชนอย่างน้อย 75 % ต้องได้รับการฉีดวัคซีน และวัคซีนนั้นต้องมีประสิทธิภาพอย่างน้อย 80%
    แต่อย่างไรก็ตามวัคซีนที่มีประสิทธิผล efficiencies 60%-80% ก็ยังมีประโยชน์ลดอัตราการติดเชื้อ ได้
    Dr Fauciตั้งความหวังของประสิทธิภาพวัคซีนไว้ที่ 75%
    FDA จะอนุมัติวัคซีนที่มีประสิทธิผล efficiency อย่างน้อย 50%
    ปัญหาในขณะนี้คือในอเมริกามีคนที่ตั้งใจมาฉีดวัคซีนเพียง 42% จากการ survey ของ Yahoo News และอีก poll มีคนอเมริกันหนึ่งในสามจะไม่มาฉีดวัคซีน
    สิ่งที่เป็นคำถามต่อประสิทธิภาพของวัคซีนก็คือ วัคซีนจะสร้าง antibody ได้ดีเท่าการติดเชื้อตามธรรมชาติหรือไม่ antibody จะอยู่ยาวนานและป้องกันการติดเชื้อในอนาคตหรือไม่
    การศึกษาจากจำนวนคนไข้กลุ่มเล็กๆที่ผ่านมา สร้างความกังวลใจว่า จำนวน antibody มีมากไม่พอ และอยู่ไม่ยาวนาน เช่นการศึกษาจาก Wuhan ที่ Telegraph นำมาเสนอข่าว มีคนป่วยเพียง 29 คน และบอกว่า antibody ที่คนไข้สร้างจะอยู่ไม่ได้นาน
    ใน 29 คนนี้มีคนไข้หนัก 9 คน ในคนป่วยพวกนี้ถ้าอาการหนักก็ย่อมมีคนแก่หรือคนที่บกพร่องในการสร้างภูมิคุ้มกันอยู่ด้วย จึงไม่น่าจะเป็นค่าเฉลี่ยของประชาชนโดยรวม
    แต่ผลการศึกษาจาก Iceland ร่วมกับ Harvard น่าจะเชื่อถือได้มากกว่า ในคนที่เคยติดเชื้อ 30,000 คน นับเป็นการศึกษาที่มีจำนวนคนติดเชื้อมากที่สุด พบว่าหลังจาก 4 เดือน คนเหล่านี้ยังมี antibody อยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งน่าจะทำให้เกิดความมั่นใจมากขึ้นว่าการฉีดวัคซีน Covid 19 น่าจะให้ภูมิคุ้มกันที่ยาวนาน คงไม่เหมือนวัคซีนไข้หวัดที่จะต้องมาฉีดกันทุกปี
    สิ่งที่ไวรัส Covid 19 ต่างจาก ไวรัส flu ก็คือ flu มีการกลายพันธ์ุเฉลี่ย 50 ครั้งต่อปี ในขณะที่ Covid 19 มีอัตราการกลายพันธุ์ 25 ครั้งต่อปี
    จากการศึกษาที่ Los Alamo พบว่าโครงสร้างของ Covid 19 จะมีการเปลี่ยนแปลงเพียง 1ตัวในโครงสร้างทั้งหมด 30,000 ตัว
    การมีภูมิคุ้มกันต่อ Coronavirus จะไม่ยาวนาน life long เหมือน smallpox หรือ hepatitis หรือหัด
    Sars ปี 2003-2004 ซึ้งเป็น coronavirus มีภูมิคุ้มกันที่สูงอยู่ประมาณ 2 ปี และจะหมดไปในหกปี
    Mers ปี 2012 โรคระบาดจาก Coronavirus อีกตัวมีภูมิคุ้มกันอยู่ประมาณปีครึ่ง
    CDC ออกมาให้ข่าวว่าวัคซีนจะได้ผลพอที่จะกลับมามีชีวิตปกติในช่วงไตรมาสที่สาม ปี 2021 เพราะต้องใช้เวลา 6-9 เดือนในการฉีดวัคซีนให้ชาวอเมริกันทุกคน ถ้าทุกคนยอมให้ฉีด
    ความสับสนในการเสนอข่าวก็เป็นปัจจัยที่สำคัญทำให้สังคมสับสน เพราะเป็นเรื่องไม่ง่ายที่นักข่าวจะเข้าใจถึงเนื้อข่าวของ Covid 19 ซึ้งถ้าให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ต้องมีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์พอสมควร
    เพราะแม้แต่แพทย์เองที่ไม่อยู่ในแวดวงที่เกี่ยวข้อง ก็มาออกข่าวให้สังคมสับสนได้
    ในภาวะปกติ ข่าวทางการแพทย์ที่ออกมาจะผ่านขบวนการตรวจตราที่แน่ชัด แต่ Covid 19 เป็นโรคที่เกิดใหม่เพียง 8 เดือน การทำความเข้าใจพฤติกรรมของไวรัส และการรักษายังมีสิ่งใหม่ๆอีกมาก
    โดยปกติถ้าจะให้แน่ใจ มั่นใจต้องใช้เวลาเป็นปีๆ เพื่อผ่านการเก็บข้อมูลที่มากพอ การวิเคราะห์ข้อมูล การตรวจสอบทำ peer review ให้แน่ใจก่อนจะออกมาให้ข่าวได้
    แต่ในภาวะปัจจุบัน การเก็บข้อมูลคนไข้เพียงจำนวนน้อย ระยะเวลาสั้น ไม่มีการทบทวน peer review ก็มาออกข่าวกันแล้วให้สับสน ยิ่งมีนักการเมืองมาเกี่ยวข้อง ทำให้สับสนมากขึ้น
    ในขณะนี้มีข่าวอื้อฉาว กล่าวหากันไปมาระหว่างทำเนียบขาวกับ CDC โดยCDC กล่าวหาว่าทำเนียบขาวพยายาม delay และเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ต่อประชาชน ทำเนียบขาวก็กล่าวหาว่ามีนักวิทยาศาสตร์ใน CDC ที่ฝักใฝ่ Biden พยายามให้ข้อมูลที่เป็นลบต่อ Trump
    ล่าสุดหัวหน้า CDC กับ Trump ก็มีข้อพิพาทกันเกี่ยวกับถ้อยแถลงที่ให้กับกรรมาธิการในรัฐสภาเกี่ยวกับ mask และ วัคซีน
    FDA ซึ้งเป็นหน่วยงานที่น่าจะเป็นที่น่าเชื่อถือที่สุด Bill Gate ยังออกมาให้ข่าวว่าในคราวนี้จะไว้ใจได้หรือในเรื่องของ วัคซีน Covid 19 เพราะเคยมีเจ้าหน้าที่ใน FDA ออกมาให้ข่าวเพื่อให้ไปในทิศทางเดียวกันกับ Trump แต่ต่อมาแถลงแก้ข่าว
    Bill Gates บอกว่าเขาเชื่อบริษัทผู้ผลิตวัคซีนมากกว่าผู้ควบคุมอย่าง FDA และ CDC
    ตัว Bill Gates เองก็ถูกคนที่นิยม Trump สงสัยใน Conspiracy theory เพราะเขาออกมาทำนายเรื่องโรคระบาดใหญ่เมื่อ7-8 ปีก่อนหน้านี้
    Trump บอกว่าภายใน 24 ชั่วโมงหลัง FDA approve วัคซีนพร้อมจะฉีดให้ประชาชน ฟรีสำหรับอเมริกันทุกคน เป็น vaccine politic อย่างแท้จริง
    ขณะนี้ vaccine politic ยังก้าวข้ามเป็นการแข่งขันระหว่างประเทศ โดยเฉพาะ อเมริกา จีนและรัสเซีย ทุกคนดูเร่งรีบ จนสาธารนชนเกิดความไม่ไว้วางใจ เริ่มไม่มี trust
    จีนใช้ วัคซีนเป็นข้อต่อรองกับเพื่อนบ้านในการอ้างสิทธิ์เหนือหมู่เกาะในทะเลจีนใต้
    เนื่องจากกลัวว่าประชาชนจะไม่มั่นใจในความปลอดภัยของวัคซีน อันเนื่องมาจากแรงกดดันจากความต้องการอย่างเร่งด่วนของนักการเมือง ในต้นเดือนกันยายน บริษัทผลิตวัคซีนยักษ์ใหญ่เลยจับมือกันมาแถลงยืนยันว่าจะทำตามขบวนการที่เป็นมาตรฐานเรื่องความปลอดภัย
    ในเรื่องความปลอดภัยประเทศร่ำรวยยกเว้นอเมริกายินดีที่จะรอให้ประเทศยากจนรองใช้วัคซีนก่อนจนแน่ใจว่าปลอดภัยเช่นสวิตเซอร์แลนด์ แต่อินเดียเศรษฐกิจกำลังดิ่งเหวเพราะ Covid 19 ทนรอไม่ไหว
    ประเทศยากจนอย่าง อินเดีย บราซิล อาร์เจนตินา ยอมให้ Astrazenaca ทดลอง Oxford วัคซีน phase 3 เพื่อให้ได้โควต้าวัคซีน
    ภูมิคุ้มกันที่สำคัญอีกชนิดนอกจาก antibody คือภูมิคุ้มกันจาก T cell ซึ้งจะเกิดจาก วัคซีนบางชนิด และเกิดขึ้นจากการรับเชื้อตามธรรมชาติ herd immunity
    การได้ภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติโดยวิธีการทางธรรมชาติคือ herd immunity ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าสวีเดนประสบความสำเร็จจริงหรือ สวีเดนมีอัตราการตายจาก Covid เป็นอันดับ 9 ของโลก เป็นประเทศเล็กมีประชาชนแค่ 10 ล้าน ประชาชนและรัฐบาลร่วมมือกันดี จนถึงขณะนี้สวีเดนมีคนที่มีภูมิคุ้มกัน antibody เพียง 30% herd immunity ต้องการให้ชุมชนมีภูมิคุ้มกัน 70%
    รัฐบาลสวีเดนคิดว่าประเทศประสบความสำเร็จจาก herd immunity ขณะนี้สวีเดนจำนวนคนติดเชื้อน้อยลง ในขณะที่ประเทศยุโรปอื่นเข้าสู่ second wave และมีคนติดเชื้อมากขึ้น
    ข้อมูลจาก ECDCในช่วงกลางเดือนกันยายน สวีเดนมีคนติดเชื้อใหม่ 22 ต่อ 100,000 ประชาชน ใน 14 วัน สเปน 279:100,000 UK 59:100,000
    แต่ผู้เชี่ยวชาญจากหลายประเทศ ไม่เห็นด้วยกับการใช้ herd immunity แบบสวีเดน เช่นในประเทศใหญ่อย่างอังกฤษ พลเมือง 66 ล้านคนถ้าอัตราการตายแค่ 1% จะมีคนตายมากแค่ไหน ถ้าปล่อยให้คนติดเชื้อ 70% และถ้า10% ของคนติดเชื้อต้องอยู่โรงพยาบาล จะโกลาหลแค่ไหน
    อีกประการใน herd immunity จะปล่อยให้คนหนุ่มสาวติดเชื้อ แต่ในขณะนี้พบว่าผู้ติดเชื้อส่วนหนึ่งแม้ไม่มีอาการ แต่จะทำให้ระบบของร่างกายเสียหายในระยะยาวเป็น long Covid ซึ้งถึงแม้จะเป็นจำนวนน้อย แต่ก็เป็นผลเสียต่อสังคมและระบบสุขภาพในระยะยาว
    การติดเชื้อ Covid 19 ต่างกันกับการติดหวัด flu หลังจากหายจากโรคหวัดแล้ว จะไม่มีปัญหาทางสุขภาพอื่นตามมา แต่คนไข้ Covid 19 ส่วนหนึ่งจะมีปัญหาสุขภาพอื่นๆตามมา
    คงพอจะเห็นภาพของการที่จะได้ภูมิคุ้มกันจากทั้งวัคซีนและ herd immunity
    โดย พลอากาศตรี นายแพทย์ ยงค์ศักดิ์ เลียงอุดม
    ผู้อำนวยการ ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาล กรุงเทพ
    เป็นความเห็นส่วนตัวไม่เกี่ยวกับองค์กร
     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Covid 19 crisis บทพิสูจน์ถึงประสิทธิภาพของระบบสุขภาพ ของแต่ละประเทศ
    โดย นายแพทย์ ยงค์ศักดิ์ เลียงอุดม
    Published 3/08/2020
    Update 22/09/2020
    ความสำเร็จของระบบสุขภาพไม่ได้วัดกันด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์อย่างเดียว แต่ต้องรวมถึงระบบสาธารณสุขที่มีการป้องกันและรักษาสุขภาพโดยรวม และการมีแผนการตั้งรับที่ดีเมื่อเกิดวิกฤติ
    วันนี้มาดูระบบสุขภาพของอเมริกา เมื่อมี crisis เกิดขึ้นก็พิสูจน์ว่าเงินซื้อทุกอย่างไม่ได้ อเมริกาใช้เงินจำนวนมากมหาศาล 4 trillions dollar คิดเป็น 18%ของGDP สำหรับระบบสุขภาพ แต่ผลลัพธ์ที่เห็นมีคนป่วยและตายเพราะ Covid 19 มากที่สุด
    What is going wrong? ระบบของอเมริกาจะดีสำหรับผู้มี private insurance ซึ่งจะได้รับการรักษาที่ดีสุด High technology ที่สุด แต่ค่า premium ก็แพงหูฉี่ จนคนอเมริกา30% ไม่มีปัญญาซื้อ อเมริกามีระบบ public health ที่ล้มเหลว เงินส่วนใหญ่จะไปอยู่ที่ระบบโรงพยาบาลเอกชน แพทย์ บริษัทประกัน และบริษัทยายักษ์ใหญ่
    ค่าใช้จ่ายเหล่านี้แพง แพงมาก เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ เพราะเป็นระบบธุรกิจแบบอเมริกา ต้องทำกำไรสูงสุด รัฐบาลอเมริกาไม่จัดว่าระบบสุขภาพเป็นหน้าที่หลักของรัฐบาล ไม่เหมือนกับประเทศกลุ่ม Scandinevia ซึ้งถือว่าเป็นหน้าที่หลักของรัฐบาล ในการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ
    ด้วยระบบ liberals capilalism ถือกำไรสูงสุด แต่ชาวอเมริกันต้องจ่ายค่ายาแพงกว่าที่อื่นๆของโลก ถึงแม้จะพัฒนาและผลิตเอง ไม่มีความเมตตาในธุรกิจ
    จนกระทั่งเร็วๆนี้ Trump ได้ออกจาก executive order ให้บริษัทยาคิดค่ายาในอเมริกาเท่ากับราคาที่ยุโรปและคานาดา ซึ่งจะถูกลงมาก
    รัฐบาลอเมริกาให้ความสําคัญกับการป้องกันศัตรูต่างประเทศ การส่งเสริมเศรษฐกิจ แต่ให้ความสําคัญกับ public health น้อยมาก ดูได้จากเม็ดเงินที่ปันลงไป
    ในปี 2018 เงินงบประมาณสำหรับ public health คิดเป็นจำนวนหนึ่งในสามของเงินของบริษัทประกันสุขภาพเอกชน เงินที่บริษัทประกันสุขภาพเอกชนจ่ายคืนเงินกำไรแก่ผู้ถือหุ้นยังมีมูลค่ามากกว่างบประมาณของ CDC
    อเมริกาลงทุนจำนวนมหาศาลไปใน medical technologyเพื่อขายของเอาเงินเข้ากระเป๋า แต่ life expectancy ตำ่ลง infant mortality เพิ่มขึ้น เพราะใช้เงินและนโยบายที่ผิดพลาดใน public health อาหารการกิน ที่อยู่อาศัย สิ่งที่จะทำให้สุขภาพดีขึ้น ไม่ได้ทำ ไม่ลงทุน
    ในรายงานสุขภาพปี 2013 บ่งบอกถึง shorter life, poorer health ของคนอเมริกา อเมริกาปล่อยให้ระบบสุขภาพอยู่ในมือของเอกชน การตลาด ระบบประกันเอกชน ซึ่งเป็นธุรกิจย่อมแสวงกำไรสูงสุด รัฐบาลสนใจในการทหารและเศรษฐกิจมากกว่า ไม่ลงมาดูระบบด้วยตัวเอง Covid 19 ทำให้เห็นถึงความละเลยใน public health อย่างไม่น่าเชื่อ คนอเมริกาตายมากกว่าในสงครามกับคนต่างชาติ
    คนอเมริกัน 12 ล้านคนสูญเสีย private health insurance ไปพร้อมกันกับการถูกเลิกจ้างงาน เนื่องจากประกันที่บริษัทนายจ้างทำให้ ต้องหมดไป
    รัฐบาลอเมริกาได้ออกกฎหมาย care act เพื่อให้ผู้ป่วย COVID-19 ได้รักษาฟรี แต่โรงพยาบาลก็ยังเรียกเก็บเงินในกรณีที่มีโรคอื่นๆร่วมด้วยหรือในกรณีที่ติดตามการรักษาแบบผู้ป่วยนอก และไม่ครอบคลุมการรักษา long covid
    คนอเมริกันรายได้น้อยมีสิทธิซื้อ government insurance คือ medicaid จำนวน 72 ล้านคน แต่คนเพิ่งตกงานถ้าซื้อ medicaid ไม่ทันก็ตกหนัก
    คนอเมริกันสูงอายุและพิการจำนวนหกล้านคนได้สิทธิค่ารักษาพยาบาลจากรัฐ เป็น medicare แต่ต้องจ่าย 20 % ของค่ารักษาพยาบาลรวมทั้งการรักษา Covid-19 ซึ้งเป็นกลุ่มที่ตกหนักสุด เพราะค่ารักษาพยาบาลที่แพง 20%ก็เป็นเงินไม่น้อย
    เป็นความซับซ้อนของระบบอเมริกา ที่มีเงินนำหน้า
    สิ่งที่เป็นเหมือน American joke ก็คือ45 วัน ก่อนหน้าจะมีการระบาด มีการประเมินความพร้อมของประเทศต่างๆ ในการต่อสู้ถ้ามีโรคระบาด Global health security index อเมริกาได้อันดับหนึ่ง แต่อย่างที่เห็นกัน ตอนนี้อเมริกาอันดับหนึ่งเหมือนกันคือในจำนวนคนป่วยและตายจาก Covid 19 อังกฤษได้รับการประเมินว่ามีความพร้อมอันดับสอง ผลลัพธ์ออกมาก็เละเช่นกัน สู้ไทยไม่ได้เลย
    การลงทุนใน public health ถ้าประสบความสำเร็จจะไม่มีใครเห็นเพราะปัณหาหมดไป ไม่เกิดขึ้น เพราะป้องกันไว้แล้ว โรคภัยไม่เกิดขึ้น จะเห็นเมื่อเกิดความล้มเหลว เพราะปัญหาจะเห็นเด่นชัด เหมือนที่เห็นในวิกฤติ Covid 19 เบื้องหลังความสำเร็จของการขจัด tuberculosis มีภารกิจที่ทำมากมายที่คนมองไม่เห็นว่าได้ทำอะไรไปบ้าง
    ระบบของอังกฤษเป็นระบบที่ต่างจากอเมริกา เป็น social health care อันเป็นต้นแบบของ 30 บาทของเรา เป็นระบบเดียวกันกับกลุ่มประเทศ Scadinevia ทุกอย่างฟรีหมด
    เมื่อฟรีก็ต้องมีที่มาของเงิน
    ครั้งหนึ่ง NHS เป็นระบบสุขภาพที่ชาวอังกฤษภูมิใจ เป็นระบบที่ดีเยี่ยม ในระยะหลังๆเริ่มมีปัญหามากขึ้น เพราะค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากคนสูงอายุมีมากขึ้น และเทคโนโลยีทางการแพทย์แพงขึ้นอย่างมาก รัฐบาลมีปัญหาเรื่องหาเงินมา support
    จากการศึกษาในประเทศอังกฤษ พบว่าจนถึงเดือนพฤษภาคม คนอังกฤษตายเพราะ Covid 19 โดยตรง 25,000 คน แต่มีคนตายอีก 16,000 คนเพราะเป็นโรคอื่นๆแล้วไม่ได้รับการรักษาหรือการดูแลที่ดีและถูกต้อง บางคนไม่กล้ามาโรงพยาบาลหรือห้องฉุกเฉิน เพราะกลัว Covid 19
    คนไข้ประมาณ 10,000 คน ในอังกฤษ ถูกให้ออกจากโรงพยาบาล ในช่วง peakของการระบาด Covid 19 แล้วไปเสียชีวิตที่ care home เนื่องจากไม่ได้รับบริการฉุกเฉินได้ทันท่วงที
    ในการศึกษาเดียวกันนี้ พบว่าจะมีคนตายในอนาคตเพิ่มขึ้นถึง 85,000 คน อาจมากถึง 185,000 คนในอังกฤษ ใน อีก 50 ปีข้างหน้า อันเป็นผลเนื่องจากการต้องรอคอยคิวในการรักษาพยาบาลในคนไข้ที่ไม่ฉุกเฉิน และผลต่อเนื่องจากการตกตำ่ทางเศรษฐกิจ
    ในอังกฤษมีการศึกษาพบว่า ในอีก 5 ปีจะมีคนตายเพราะมะเร็งเพิ่มขึ้น 1,400 คน เพราะได้รับการวินิจฉัยมะเร็งที่ล่าช้า อันเนื่องจาก Crisis Covid 19
    ประเทศยุโรปใต้เช่น อิตาลี สเปน เจอภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่มาก่อนการระบาดของ Covid-19 ทรัพยากรที่มีให้ต่อระบบสาธารณสุขก็น้อยอยู่แล้ว เมื่อต้องมาใช้กับวิกฤติ Covid-19 ซึ้งดูจะหนักหนาทั้ง first และ second wave ระบบสุขภาพคงพังทลายไปแล้ว
    กลุ่มประเทศสแกนดิเนเวียยังคงคุณภาพไว้ได้เพราะร่ำรวยและรัฐบาลเก็บภาษีในอัตราที่สูง ประชาชนมีไม่มาก
    ระบบสุขภาพและสาธารณสุขของบราซิลและอินเดียซึ่งไม่แข็งแรงอยู่แล้ว เมื่อต้องรับมือกับผู้ป่วย COVID-19 ประเทศละ 5 ล้านคน ระบบก็ย่อมพังทลาย บุคลากรทางการแพทย์เสียชีวิตและอ่อนล้า ในบางที่ของบราซิลต้องต่อสู้กับ Covid ทั้งๆที่ไม่มีนำ้ล้างมือ ที่อินเดียที่ Mumbai social distancing ทำไม่ได้เพราะประชาชนอยู่กันหนาแน่น
    อินโดนีเซียประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในอาเซียน ระบบสุขภาพล่มสลายแล้ว มีบุคลากรทางการแพทย์เสียชีวิต 188 คน คนทำงานเริ่มอ่อนล้าเนื่องจาก overloading บุคลากรเริ่มมี burnout
    ไทยมีระบบสุขภาพที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในโลกโดยไม่ต้องใช้เงินมหาศาลเหมือนอเมริกา ระบบแบบไทยที่ผสมผสมผสานระหว่าง social health และ private system คือ the mixed of Thai recipes ที่ผสมผสานกันอย่างลงตัว. อสม อาสาสมัครสุขภาพทั่วประเทศที่งานด้วยความเข้มแข็งได้ค่าตอบแทนอันน้อยนิด ช่วยทำให้เรามาถึงจุดนี้ได้ ขณะนี้เราก้าวมาเป็นอันดับหนึ่งของโลกในการจัดการวิกฤติ Covid 19 ได้อย่างไม่น่าเชื่อ
    แต่เราอย่าเพิ่งย่ามใจ เพราะคนสูงอายุเราเพิ่มมากขึ้นเหมือนประเทศอังกฤษ เราใช้ค่าจ้างแพทย์ในโรงพยาบาลรัฐบาลที่อัตราตายตัวเหมือนข้าราชการอื่นๆ ค่ายาเราถูกเพราะส่วนหนึ่งเราผลิตเอง หรือใชัยา generic เช่นยาอินเดีย ภายใต้ความสำเร็จเรายังคงมีปัญหาสะสมอยู่อีกมาก
    ปัญหาก็เริ่มแสดงให้เห็น สปสช ยกเลิกสัญญากับโรงพยาบาลเอกชนและคลีนิค70 แห่งเพราะมีการโกงกัน แน่นอนคนจำนวนมากต้องขาดสถานพยาบาลรองรับ และต้องตกหนักที่โรงพยาบาลรัฐบาลทั้งที่ บุคลากร overload ถ้ารับไม่ไหวก็มีโอกาส burnout เหมือนหมออินโดนีเซีย
    การบริหารทรัพยากรทางฝ่ายการเมืองก็ปล่อยให้แต่ละโรงพยาบาลบริหารกินเนื้อตัวเองมาตลอด ชื่อเสียงความดีนักการเมืองรับไว้ การบริการที่มีปัญหา ด่านหน้าแพทย์พยาบาลรับไป
    ไปดูที่ประเทศอังกฤษ NHS มีปัญหามาก แต่สื่อและประชาชนเข้าใจปัญหา เขาจะต่อว่าไปที่นักการเมือง เขาจะให้เกียรติแพทย์พยาบาลเสมอเพราะเป็นด่านหน้าทำงานหนัก
    ถ้าเราต้องการความสำเร็จที่คงทน เราจะต้องแก้ไขปัญหาที่มีอย่างจริงจัง ถ้านักการเมืองมัวแต่เอาความสำเร็จเหล่านี้ไปหาเสียง ไม่คำนึงถึงทรัพยากรที่มีอยู่ ไม่รักษาบุคลากรทางการแพทย์ไว้ ไม่แก้ปัญหาที่หมกเม็ดอยู่ภายใน
    สักวันเราคงเหมือนประเทศอังกฤษ เพราะคนสูงอายุมากขึ้น เทคโนโลยีทางการแพทย์แพงขึ้น 2,500 บาทต่อหัวต่อปี บริหารกันได้อย่างไร เงินจำนวนนี้แค่ค่าน้ำเกลือ 4 ขวด ไทยทำได้
    ถ้าทำไม่ได้ ไม่ดีก็ถูกด่าไป เวลาถูกด่านักการเมืองหลบอยู่ข้างหลัง พวกกองหน้าแพทย์พยาบาลรับไป NGO ก็จะมาผสมโรง กำลังใจของคนทำงานจะอยู่ที่ไหน
    รวบรวมและวิเคราะห์ โดย พลอากาศตรี นายแพทย์ ยงค์ศักดิ์ เลียงอุดม
    ผู้อำนวยการ ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลกรุงเทพ
    เป็นความเห็นส่วนตัวไม่เกี่ยวกับองค์กร
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สงครามช่วงชิงวัคซีน Covid 19 ภาคสี่ logistic การขนส่ง vaccine
    โดย นายแพทย์ ยงค์ศักดิ์ เลียงอุดม
    Published 24/09/2020
    จากห้อง lab สู่ขบวนการ การผลิตวัคซีน Covid 19 เมื่อผ่านการรับรองแล้ว โลกจะต้องเผชิญการขนส่งวัคซีนที่ไม่เคยมีมาก่อน เพื่อกระจายไปให้คนทั่วโลกจำนวน 7.8 ล้านคน
    การขนส่งวัคซีนจำนวนมากเช่นนี้เป็นขบวนการซึ้งยุ่งยากซับซ้อน ต้องมีการวางแผนเป็นอย่างดี มิฉะนั้นวัคซีนก็ไม่สามารถถูกขนส่งไปได้ คำนวณกันว่าจะต้องใช้ Air cargo เป็น Boeing 747 จำนวน 8,000 ลำ
    การขนส่งจะต้องมีการผึกอบรมเจ้าหน้าที่ การควบคุมดูอุณหภูมิ การ monitorสินค้า การป้องกันการขโมยสินค้า
    ปกติ ครึ่งหนึ่งของ Air Cargo จะเป็นการขนส่งสินค้าในเครื่องบินโดยสาร passager airplane
    เนื่องจากภาวะวิกฤต Covid 19 ทำให้อุตสาหกรรมการบินหดตัวลงมาก สายการบินต่างๆต้องลดต้นทุน จำนวน Air Cargo และ พนักงานก็ลดลง ย่อมมีผลต่อการขนส่งวัคซีน
    ยังมีปัญหาเรื่องการขนส่งข้ามแดนระหว่างประเทศ เพระหลายๆประเทศยังจำกัดการเดินทางเข้าประเทศหรือผ่านแดน อันเนื่องมาจากการป้องกันการระบาดข้ามประเทศ การขนส่งต้องทำด้วยเวลาอันรวดเร็ว ปัญหาการส่งวัคซีนข้ามแดนก็คงจะต้องแก้ปัญหาในเรื่องเวลา
    Boeing 747-8fs มี 3 compartment ที่ควบคุมอุณหภูมิได้ตั้งเเต่ 4-28 cencius แล้วแต่ชนิดของสินค้า
    แต่สายการบินต่างๆก็ได้ลดจำนวน Air cargo และบุคลากร อันเนื่องจากมาจากการหดตัวลงไปมากจาก Covid 19
    นี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหา logistic ของการขนส่งข้ามประเทศ ยังมีปัญหาอีกมากมายใน local logistics เมื่อวัคซีนถึงประเทศปลายทาง ตั้งแต่สถานที่จัดเก็บวัคซีนที่ต้องมีการควบคุมอุณหภูมิ etc แต่ละประเทศมีพื้นที่กว้างใหญ่ผิดกัน ลักษณะภูมิประเทศต่างกัน สิ่งเหล่านี้เป็นความซับซ้อนของการวางแผนการข่นส่งวัคซีน
    การจัดตั้งสถานีฉีดวัคซีน การจัดให้ประชาชนมาฉีดวัคซีน ล้วนเป็นสิ่งที่ต้องวางแผน
    ปัญหาสำคัญคือ trust ขณะนี้ประชาชนบางส่วนเริ่มมีความไม่แน่ใจในความปลอดภัย เนื่องจากความเร่งรีบ หรือไม่แน่ใจว่าเป็นหนูทดลองเรื่องความปลอดภัยให้ประเทศใหญ่ อาจจะมีประชาชนส่วนหนึ่งไม่ยอมฉีดวัคซีน
    ประธาน Pfizer ออกมาบอกว่าถ้าประชาชนส่วนหนึ่งไม่ยอมฉืดวัคซีนจะทำให้เกิด weak link ยังจะมีการระบาดต่อ
    การเตรียมแผนรับมือสำหรับสิ่งที่ไม่คาดคิดระหว่างการขนส่ง เช่นเกิดการ delay เนื่องจากมีพายุ จะจัดเก็บวัคซีนที่ไหน อย่างไร ที่จะทำให้วัคซีนไม่เสียคุณภาพ
    ปัญหามีไว้แก้ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องคงต้องดำเนินการต่อไป
    โดย พลอากาศตรี นายแพทย์ ยงค์ศักดิ์ เลียงอุดม
    ผู้อำนวยการ ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลกรุงเทพ
    เป็นความเห็นส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับองค์กร
     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    อะไรบ้างที่มีผลต่อภูมิต้านทานต่อ COVID 19
    โดย นายแพทย์ ยงค์ศักดิ์ เลียงอุดม
    Published 08/08/2020
    Update 28/09/2020
    ปัจจัยที่มีต่อภูมิคุ้มกันต่อ ไวรัส Covid 19 มีอยู่มากมายหลายอย่าง เนื่องจากอาการป่วยจากไวรัส Covid-19 เป็นขบวนการทางการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย immunology ขบวนการที่ไวรัสจะเข้า human cell ก็เกี่ยวข้องจากปัจจัยหลายอย่างด้วยกัน
    อายุเป็นปัจจัยสำคัญที่ทราบทั่วไป ถ้ายิ่งอายุมากขึ้น คนแก่ มีโอกาสตายสูง ถ้าเกิดป่วยเป็น Covid 19 อันสืบเนื่องมาจากขบวนการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย Immune response จะทำให้เกิด cytokines storm ทำลายเนื้อเยื่อของปอด อายุมากขึ้นก็มีโอกาสสะสมสิ่งแปลกปลอมในกระแสเลือด antigen มากและหลากหลาย ทำให้เกิด cytokines storm
    นอกจากนี้ระบบการสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรคในคนสูงอายุจะเสื่อมลง สู้คนหนุ่มสาวไม่ได้ ทั้งการสร้าง antibody และ T cell
    ยังพบว่าในเนื้อเยื่อ cell ของปอด lung cell type 2 ในคนแก่ มีตัวรับไวรัส ACE II receptor มากกว่าคนหนุ่มสาว
    แต่อายุน้อยก็มีโอกาสเสียชีวิตได้ ถ้ามี gene ผิดปกติที่ทำให้ร่างกายสร้าง interfelon1 ไม่ได้
    เพศสภาพ หญิง ชาย หลายการศึกษาพบว่า เพศชายจะมีอัตราการตายจะเป็นสองเท่าของเพศหญิง ถ้าป่วยเป็น COVID 19 จากสถิติ38ใน43ประเทศ เพศชายจะตายมากกว่าเพศหญิง ทั้งๆที่จำนวนคนป่วยของสองเพศไม่ต่างกัน
    ใน เนเธอร์แลนด์ เสปน โดมินิกัน ชายจะตายเป็นสองเท่าของหญิง ใน UK ชายจะตายเป็น1.7 เท่าของเพศหญิง ของไทย ชายตายเป็น 2.6 เท่าของหญิง สาเหตุเพราะระบบภูมิคุ้มกันในเพศชาย และ hormone androgen ของเพศชายอาจเป็นตัวต้นเหตุที่มี inflammatory reaction ที่ฆ่าเพศชาย
    นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นที่ทำให้เพศชายมีโอกาสตายมากกว่าเช่นเป็นโรคความดัน หัวใจ เบาหวานที่มีโอกาสเป็นมากกว่าเพศหญิง มีอาชีพที่เสี่ยงต่อการติดโรคมากกว่า เช่นยาม คนขับ taxi
    ในเพศชาย cell ปอดมีตัวรับไวรัส ACE II receptor มากกว่าเพศหญิง
    สภาวะของร่างกาย หัวล้านกับ Covid-19 ก็เกี่ยวพันกับภูมิคุ้มกันต่อ Covid 19 เพราะมันเกี่ยวกับ hormone androgen
    ถ้าคนหัวล้านเป็น Covid-19 โอกาสจะมีอาการรุนแรง ถึงตายมากกว่า เขาเรียกว่า Gabrin sign เรียกตามชื่อของหมออเมริกาคนแรกที่ตายเพราะ Covid 19 ซึ่งเขาหัวล้าน นักวิทยาศาสตร์พบว่ามันอาจเกี่ยวกับ hormone androgen ซึ้งเกี่ยวกับผมร่วง และเกี่ยวกับการที่ virus Covid จะเข้าโจมตี human cell hormone เพศชาย Androgen จะเกี่ยวข้องกับ หนาม spike protein ของ Covid-19 กับ receptor ที่ผิว human cell
    คนอ้วนมีโอกาสที่จะติดเชื้อและป่วยรุนแรงกว่าคนผอม อย่างเห็นได้ชัด ในอเมริกาและยุโรป อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนป่วยตายมากในทวีปทั้งสอง เนื่องจากมีคนอ้วนจำนวนมากขึ้นในสองทวีปนี้ และพบว่าคนผิวดำและ hispanic มีสัดส่วนที่เป็นคนอ้วนสูง คงจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่อัตราการตายสูง นอกจากจะอธิบายด้วยฐานะทางเศรษฐกิจอย่างเดียว
    นอกจากความอ้วนจะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจและเบาหวานสูงแล้ว คนอัวนยังมีภูมิคุ้มกันที่จะต่อสู้กับไวรัสตำ่ อันเกิดมาจากขบวนการอักเสบเรื้อรัง chronic inflammation ในคนอ้วน
    และยังพบว่าใน cell ไขมัน fat cell มีพื้นผิวที่อำนวยให้ ไวรัสมาเกาะ คือมี susceptible receptor ต่อ Covid 19
    ในอเมริกาและสเปน ที่สเปนพบว่าคนไข้ผู้ชายที่ ป่วยเป็น Covid และต้องอยู่โรงพยาบาล 71-79% หัวจะล้าน ผู้ชายผิวขาวในช่วงอายุเดียวกันจะหัวล้าน 31-53%
    จากการศึกษาของ genome center ที่ New York ได้ร่วมมือกับ 50 ประเทศศึกษา DNA ของ gene ของคนทั่วโลกที่ป่วยด้วย COVID-19
    ที่ center นี้ศึกษาเปรียบเทียบ gene ของคนที่มีอาการน้อยและคนที่มีอาการหนัก พบว่าคนแต่ละคนมี gene ที่จะทำให้ตอบสนองต่อการติดเชื้อของ Covid-19 ต่างกัน บางคนถึงมีอาการมาก บางคนมีอาการน้อย
    การศึกษาที่ลงตีพิมพ์ใน Journal of Science ศึกษา gene ของคนป่วยหนัก 639 คน คนติดเชื้อไม่มีอาการ 534 คน พบว่า คนไข้หนักส่วนหนึ่งมี gene ผิดปกติ ที่ทำให้ร่างกายไม่สามารถสร้างสาร interferon 1 ซึ้งมีความสำคัญในการต่อสู้กับไวรัส Covid 19
    การศึกษาที่ Rockyfeller university ที่ New York พบความผิดปกติของ gene ทำให้ร่างกายไม่สร้าง interferon1 เช่นกัน ในผู้ป่วยหนัก แล้วยังพบว่า 15% ของคนป่วย Covid 19 จำนวน 1,000 คน มี antibody ต่อ interferon
    อาหารการกินก็มีการศึกษาพบว่ามีส่วนที่จะสร้างภูมิคุ้มกันต่อ Covid 19 การศึกษาจากฝรั่งเศสอดีตเจ้าหน้าที่ชั้นสูงของ WHO ศึกษาอัตราการตายและอาหารการกินของประเทศต่างๆ มีข้อมูลที่น่าสนใจมาก พบประเทศกลุ่มที่กินกระหล่ำปีมาก อย่าง เยอรมัน ออสเตรีย เช็คโกสโลวาเนียมีอัตราการตายจาก Covid 19 ตำ่
    กลุ่มประเทศที่กินกระหล่ำปีน้อย อย่าง อังกฤษ ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม มีอัตราการตายสูงการ และอาหารหมักดอง อย่าง กิมจิ cucumber มี antioxidants สูง ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันต่อ Covid 19 ได้
    ใน Paris นักวิจัยพบว่า 5% ของคนไข้ 482 คนที่ต้องอยู่โรงพยาบาล ด้วย Covid 19 เป็นนักสูบบุหรี่ สูบทุกวัน
    ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งใน Paris พบว่านักสูบบุหรี่จะไม่มีอาการรุนแรงจาก Covid 19 Nicotine ไม่ได้เข้าไปโจมตีไวรัสโดยตรง แต่มันทำทางอ้อม สารนิโคตินจะเข้าไปแย่ง virusจับกับ ACE 2 receptors ที่ผิว cell ของมนุษย์ ทำให้ไวรัส เข้า cell ไม่ได้
    เเสงแดด สีผิวและvitamin D เกี่ยวข้องกับภูมิต้านทานต่อ Covid 19.
    เขาพบว่าคนดำอเมริกาที่อัตราการตายจาก Covid 19มากกว่าคนผิวขาวนอกจากความสามารถที่จะเข้าถึงระบบ Heath system ต่ำกว่าคนขาวแล้ว ยังมีอีกปัจจัยคือสีผิวที่ดำทำให้ ระดับvitamin D ต่ำ
    คนผิวขาวอย่าง Italy , Spain, France อัตราการตายสูงจากCovid 19 ปัจจัยอันหนึ่งเขาพบว่าชาติพวกนี้ระดับ vitaminDตำ่
    Vitamin D สร้างจากผิวหนังส่วนหนึ่งโดยเมื่อได้รับแสงแดด แต่melatoninในผิวหนังจะทำให้ยับยั้งการสร้าง vitamin D ดังนั้นคนผิวสีที่เกิดมาจนกว่า ต้องควักเงินซื้อvitamin D supplement มากินด้วยจำนวนมากกว่าคนผิวขาว
    คราวนี้เขาก็แบ่งระดับจำนวนmelanin ในผิวหนังตามสีผิว พวกคนยุโรปผิวขาว จะอยู่ระดับ1-3 พวก คน Asia, Amarican Indian ก็อยู่ระดับ4ระดับ5 พวก black American ก็จะอยู่ระดับ5ระดับ6 พวกนี้ก็ต้องกิน Vitamin D มากกว่า
    จากการศึกษาของ Boston university พบว่าถ้ามีระดับวิตามิน ดี เพียงพอ โอกาสที่จะตายเพราะ Covid 19 จะน้อยลงไป 52%
    Dr. Fauci ยังแนะนำให้กิน Vitamin D และตัวเขาเองก็กิน vitamin D อาหารหลายอย่างเช่น Salmon เห็ด มีVitamin D
    ร่างกายจะมีการถูกรบกวน DNA replication อยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะเป็นเหตุให้เกิดcell cancer แต่ขบวนการภูมิคุ้มกัน immunology ของร่างกายจะช่วยต่อสู้ต่อขบวนการนี้ ซึ่ง vitamin C ก็มีบทบาทอยู่ด้วย
    สำหรับ vitamin C พบมาตั้งแต่เริ่มต้นการระบาดใหม่ๆแล้วว่าช่วยในการรักษา Covid 19
    ปัจจัยเรื่องพันธุกรรมก็เป็นสิ่งหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองต่อ Covid 19 จะเห็นว่าคนยุโรป อเมริกามีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายและรุนแรงกว่าคนเอเซีย การศึกษาจาก New York Genome center สนับสนุน Theory นี้
    ถิ่นฐานที่อยู่ก็เป็นปัจจัยหนึ่ง ในบริเวณตอนใต้ของจีน และเวียดนาม พม่า พบว่าในช่วงแรก คนเป็น Covid 19 น้อยมาก ทั้งๆที่มีการข้ามแดนไปมา
    ในแถบนี้มีถ้ำอยู่เป็นจำนวนมาก และมีค้างคาวพันธุ์ต่างๆจำนวนมาก และcoronavirus พันธุ์ต่างๆมากมายอยู่ก็อยู่ในค้างคาวเหล่านี้
    Professor จาก Oxford เชื่อว่าคนในแถบนี้คงมีภูมิคุ้มกันจากการได้ติดเชื้อ unknown coronavirus เหล่านี้ และคิดว่าเป็นไข้หวัดธรรมดา และมีภูมิคุ้มกันข้ามสายพันธุ์ protective cross immunity เนื่องจากเป็น Coronavirus เหมือนกัน
    ปัจจัยเรื่องการมีภูมิคุ้มกันข้ามสายพันธุ์ protective cross immunity อาจเป็นคำอธิบายว่าทำไม Africa จึงคนติดเชื้อ Covid 19 น้อยเมื่อเทียบกับ Brazilและอินเดียซึ้งอยู่กันหนาแน่นและจนเช่นกัน
    การศึกษาจาก Brazil พบว่าคนป่วยไข้เลือดออกมี cross immunity ป้องกันไม่ให้เกิด Covid 19
    ไข้หวัดก็เป็น Coronavirus เช่นกัน อาจมีภูมิคุ้มกันข้ามสายพันธุ์ South Africa มีคนติดเชื้อ 630,000 คน มีคนตาย 15,000 แตกต่างกันมากเมื่อเทียบกับ India และ Brazil อัตราการตายของ South Africa ต่ำกว่า UK 7เท่า
    อายุ เพศ ศรีษะ ผิวสี gene เราคงเลือกไม่ได้ ความอ้วนพอควบคุมได้ แต่อาหาร กิมจิ กระหลำปี ผักดอง คงจะพอหากินได้ในบ้านเรา vitamin C vitamin D ก็คงไม่เหลือบ่ากว่าแรงในการที่จะซื้อหามา
    พฤติกรรมเป็นสิ่งที่เลือกจะทำได้ กินร้อน ใช้ช้อนกลาง สวมใส่mask ล้างมือ social distancing จะช่วยไม่ให้เชื้อโรค Covid 19 เข้าสู่ร่างกาย ถึงแม้จะเข้าได้ ก็ให้มีจำนวนเชื้อโรค virus load น้อยที่สุด มีการศึกษาพบว่าถ้า virus load น้อย ถึงจะติดโรค อาการจะไม่รุนแรง
    เรียบเรียงและวิเคราะห์โดย พลอากาศตรี นายแพทย์ ยงค์ศักดิ์ เลียอุดม
    ผู้อำนวยการ ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาล กรุงเทพ
    เป็นความเห็นส่วนตัวไม่เกี่ยวกับองค์กร

     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สงครามช่วงชิงวัคซีน Covid 19 ภาคห้า การช่วงชิง สาร adjuvant และ super cool storage
    โดยนายแพทย์ ยงค์ศักดิ์ เลียงอุดม
    Published 2/10/20
    ขณะนี้ดูเหมือนจะเป็นที่แน่นอนแล้วว่า วัคซีนต่างๆทั้งจาก จีน รัสเซีย อเมริกา คงจะผ่าน phase 3 และจะออกมาให้ได้ใช้ในเวลาไม่นาน ไม่เกินปลายปีนี้
    วัคซีนที่คิดค้นขึ้นมาจากห้อง lab ไม่ว่าจะเป็น mRNA หรือ inactivated virus ล้วนเป็น biomaterial ซึ้งไม่ว่าจะมาจากบริษัทไหน ประเทศไหนต้องการสารที่จะไปผสมกับวัคซีนคือ สาร adjuvant เพื่อให้วัคซีนดำรงสภาพและมีประสิทธิภาพอยู่ได้
    สาร adjuvant เหล่านี้คือสิ่งที่จะต้องช่วงชิงกันเพื่อนำมาทำวัคซีนให้คน 7.8 พันล้านคนทั่วโลก
    สาร adjuvant นี้เมื่อ 20 ปีก่อนใช้เป็น aluminum salt ต่อมาพัฒนาการมาเป็นสาร QS 21 ทำจากเปลือกไม้จาก ประเทศชิลี แต่ขบวนการค่อนข้างยุ่งยาก
    จึงมาใช้เป็นสาร adjuvant ธรรมชาติ คือ สาร squalene ได้มาน้ำมันจากตับปลาฉลาม
    1ตันของ sqalene ต้องฆ่าฉลาม 3,000 ตัว ถ้าคนทั่วโลก 7.8 ล้านคนใช้ วัคซีน 1 dose จะต้องฆ่าฉลาม 250,000 ตัว ถ้าใช้ 2 dose จะต้องฆ่าฉลาม 500,000 ตัว จากการคำนวณของ Shark allies group ที่ California
    ในขณะนี้บริษัท Glaxo Smith ได้เตรียม squalene จากฉลามเพื่อผลิตวัคซีนนับพันล้าน dose ให้มันภายในเดือน พค 2021 นี้เป็นเพียงบริษัทเดียว
    ตามปกติ ฉลามจำนวนนับล้านตัวก็ถูกฆ่าต่อปีเพื่อนำ squalene มาใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง แต่ Covid 19 อาจทำให้ฉลามสูญพันธุ์เร็วขึ้น
    สาร adjuvant อีกชนิดได้มาจากสารสกัดสังเคราะห์ที่ได้มาจาก sugar จากอ้อยของบราซิล บริษัท Amyris ได้ทำการทดลอง ผลิต synthetic sqalene จาก sugar cane มาสองปี และมีความพร้อมที่จะผลิตเชิงพาณิชย์จำนวนมาก แต่ไม่มีข้อมูลว่าจะเพียงพอหรือไม่
    การขนส่งวัคซีนนับพันไมล์ข้ามทวีป จะต้องเตรียมที่เก็บวัคซีนแช่แข็ง วัคซีนของ Pfizer ต้องเก็บไว้ที่ minus 80 C วัคซีนของ Modernaต้องเก็บไว้ที่ minus 20 C
    ซึ้งจะต้องมีการใช้น้ำแข็งแห้งจำนวนมาก dry ices ปัจจุบันอุตสาหกรรมการทำ dry ices ก็มีปัญหาเพราะการขาดแคลน ethanol และ carbon dioxides
    หลอดแก้วสำหรับบรรจุวัคซีนจะต้องเป็น glass vial ชนิดพิเศษที่ทนความเย็น frozen vaccine ซึ้งบริษัท Corning ใน New York บอกว่าอาจจะผลิตได้ไม่เพียงพอ
    ในอเมริกา UPS และ FedEx ได้เตรียมสร้างที่เก็บเป็น super freezer ที่ Kentucky และวัคซีนจะต้องถูกฉีดในหน่วยกลางขนาดใหญ่ที่มี super freezer ในแต่ละรัฐ เพราะแยกไปเป็นหน่วยย่อยมากก็จะมีปัญหาในการจัดเก็บวัคซีน ประเทศอย่างอเมริกายังมีปัญหา การจัดเก็บวัคซีนใน developing world คงต้องมีปัญหามากมาย
    โดย พลอากาศตรี นายแพทย์ ยงค์ศักดิ์ เลียงอุดม
    ผู้อำนวยการ ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลกรุงเทพ
    เป็นความเห็นส่วนตัวไม่เกี่ยวกับองค์กร
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ความโหดร้ายของ Covid 19 ภาคสาม ระบบสุขภาพที่ถูกทำลาย
    โดย นายแพทย์ ยงค์ศักดิ์ เลียงอุดม
    Published 6/10/20
    Covid 19 ทำให้ประเทศต่างๆทั่วโลกต้องทุ่มเททรัพยากรทั้งบุคลากร และ resources ที่มีอยู่เพื่อการดูแลผู้ป่วยจาก Covid-19
    ประเทศต่างๆไม่เว้นประเทศยากจนหรือยุโรปตะวันตกต่างได้รับผลที่รุนแรงต่อระบบสุขภาพ
    อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บราซิล ต้องผจญวิกฤติอย่างหนักสำหรับระบบสุขภาพ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต เพราะต่างต้องรับมือกับผู้ป่วยจำนวนมาก ยังไม่นับรวมเศรษฐกิจที่หัวทิ่ม ซึ้งการฟื้นฟูระบบสุขภาพจะนำเงินมาจากที่ไหน
    นับตั้งแต่ปี 1990 ถึงปี 2019 คนยากจนที่สุดของโลกได้ลดจำนวนจาก 2,000 ล้านคนเหลือ 630ล้านคน แต่ปีนี้ Covid 19 จะทำให้เกิดคนจนมากๆ extremely poor 71-100 ล้านคน
    UN ประมาณว่าคน 490 ล้านคนใน 70 ประเทศ ที่พ้นความยากจนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จะกลับไปสู่ความยากจนอีกครั้ง
    ประเทศพัฒนาแล้วก็ไม่มีเงินที่จะส่งมาช่วยระบบสาธารณสุขของประเทศยากจน
    Bill Gates ออกมากล่าวว่า ผลของการ lockdown ของประเทศต่างๆทำให้โครงการ global vaccination เพื่อกำจัดโรคติดเชื้อต่างๆทั่วโลกต้องเสียหาย อัตราการฉีดวัคซีนสำหรับป้องกัน หัด ไอกรน pertussis ได้ลดลงต่ำสุดในรอบ 10 ปี
    อินโดนีเซียเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดถึงการล่มสลายของระบบสุขภาพจาก Covid-19
    ในขณะนี้บุคลากรทางการแพทย์ของอินโดนีเซียตายไปแล้ว 188 คนจาก Covid-19 สูงที่สุดในเอเชีย
    บุคลากรทางการแพทย์ 3,000 คนจาก 79 ประเทศเสียชีวิตเพราะ Covid-19
    อินโดนีเซียเป็นตัวอย่างของบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องทำงาน overload และเสียกำลังใจจากเพื่อนรวมงานที่เสียชีวิต และ เริ่ม burnout ในการทำงานต่อสู้กับ Covid 19
    ยังมีบุคลากรทางการแพทย์ทั่วโลกที่มี phychologic trauma ที่เห็นผู้ป่วยล้มตายจำนวนมาก บางคนถึงกับรับไม่ได้ต้องฆ่าตัวตาย ตัวอย่างก็คือแพทย์หญิงที่ห้องฉุกเฉินที่ New York แพทย์หญิงที่ อิตาลี แพทย์หญิงอายุ 28ปีที่ Texas เสียชีวิตเพราะติดเชื้อ Covid 19
    อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีการระบาดของ Covid-19 หนักเป็นที่สองของ Southeast Asia มีประชากรมากเป็นอันดับสี่ของโลก
    อินเดียมีประชากรเป็นอันดับสองของโลกและมีการติดเชื้อเป็นอันดับสองของโลก เศรษฐกิจติดลบมากที่สุด 27% ในขณะนี้มีคนป่วย Covid 19
    อินโดนีเซียมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของ Southeast Asia แต่การแพทย์ตามหลังเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย ไทยและสิงคโปร์ อินโดนีเซียมีแพทย์ 4 คนต่อประชาชน 10,000 คน ไทยมี 8:10,000 มาเลเซีย 15:10,000
    พม่าประเทศที่มีการลงทุนทางสาธารณสุขต่ำที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง การระบาดของ Covid 19 ทำให้ระบบที่แย่อยู่แล้วยิ่งแย่ลงไปอีก ในบางแห่งของพม่าต้องต่อสู้กับ Covid 19 ทั้งๆที่ไม่มีนำ้ล้างมือ
    ยุโรปและ UK กำลังเผชิญกับ second wave ที่มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจใน UK Spain France ประเทศเหล่านี้ได้ทุ่มเททรัพยากรทางสาธารณสุขไปอย่างมากมาย บุคลากรทางการแพทย์อ่อนล้า ยังไม่ทันตั้งตัวดีก็ต้องมาเผชิญ second wave
    ในวันที่ 3/10/20 ที่กรุง Madrid Spain เตียง 54% ถูกใช้ในคนไข้ที่ป่วยเป็น Covid 19 เตียง ICU ทั้งหมด 27 เตียงเป็นคนไข้หนักจาก Covid 19 ระบบการแพทย์ในสเปนกำลังล่มสลาย
    สเปนควบคุม first waveได้ในเดือน July ด้วยเหตุผลทางการเมืองและเศรษฐกิจ ทำให้ สเปนต้องรีบคลายการ lockdowns และนำมาสู่ second wave ที่รุนแรงที่สุดในยุโรป
    สเปนหวังความช่วยเหลือจาก EU ซึ้งกว่าความช่วยเหลือจะมาก็คงเป็นปี 2022
    การอ่อนล้าของประชาชนต่อการ lockdown นำมาสู่ second wave ใน UK และ ยุโรป และการอ่อนล้าของบุคลากรทางการแพทย์ จะนำปัญหามาสู่การควบคุมและดูแลผู้ป่วยใน second wave ในยุโรป
    คนไข้โรคอื่นๆขาดการดูแลต่อเนื่อง อันมาจากการที่ต้องไปดูแลคนป่วย COVID-19 เมื่อการระบาดสิ้นสุดลง ระบบสาธารณสุขประเทศต่างๆเหล่านี้จะต้องเผชิญปัญหาสาธารณสุขที่ถูกซ่อนตัวไว้ในระหว่างการระบาด ด้วยความไม่พร้อมในระบบ
    เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของคนไข้ Covid 19 ใน second wave อังกฤษต้องกลับมาเตรียมพร้อมอีกครั้ง คนไข้จำนวน 4 ล้านคนของ NHS ที่รอคิวเพื่อรับการผ่าตัดและการรักษาพยาบาลอื่นๆ จะต้องมารับการทบทวนและเลื่อนคิวการรักษาออกไปอีก ในเดือน July มีการเลื่อนการผ่าตัดนานกว่า 1 ปี เพิ่มขึ้นถึง 50 เท่า เมื่อเทียบกับเดือน กุมภาพันธ์ จาก 1,623 ราย เป็น 83,203 ราย
    จากการศึกษาในประเทศอังกฤษ พบว่าจนถึงเดือนพฤษภาคม คนอังกฤษตายเพราะ Covid 19 โดยตรง 25,000 คน แต่มีคนตายอีก 16,000 คนเพราะเป็นโรคอื่นๆแล้วไม่ได้รับการรักษาหรือการดูแลที่ดีและถูกต้อง บางคนไม่กล้ามาโรงพยาบาลหรือห้องฉุกเฉิน เพราะกลัว Covid 19
    คนไข้ประมาณ 10,000 คน ในอังกฤษ ถูกให้ออกจากโรงพยาบาล ในช่วง peakของการระบาด Covid 19 แล้วไปเสียชีวิตที่ care home เนื่องจากไม่ได้รับบริการฉุกเฉินได้ทันท่วงที
    ในปี2021 จะมีคนตายจากมะเร็งเพิ่มขึ้น 35,000 คนในอังกฤษ
    ในการศึกษาเดียวกันนี้ พบว่าจะมีคนตายในอนาคตเพิ่มขึ้นถึง 85,000 คน อาจมากถึง 185,000 คนในอังกฤษ ใน อีก 50 ปีข้างหน้า อันเป็นผลเนื่องจากการต้องรอคอยคิวในการรักษาพยาบาลในคนไข้ที่ไม่ฉุกเฉิน และผลต่อเนื่องจากการตกตำ่ทางเศรษฐกิจ
    นอกจากนี้ยังต้องดูแลคนป่วย long Covid-19 จำนวนหนึ่ง ซึ้งเป็นปัญหาเรื้อรังในระยะยาวของผู้เคยติดเชื้อ Covid-19
    การระบาดของ Covid 19 ในครั้งนี้จะทำให้ระบบสาธารณสุขทั่วโลกเดินถอยหลัง หลังจาก100ปีที่ผ่านมา ความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุขทำให้อายุเฉลี่ยเพิ่มขึ้น
    ในปี 1,900 อัตราเฉลี่ยของอายุคนอังกฤษ ผู้ชาย 47 ปี ผู้หญิง 50 ปี ปัจจุบันก่อนวิกฤติอายุเฉลี่ยของคนอังกฤษอยู่ที่ 81 ปี ในช่วงที่ผ่านมาอายุเฉลี่ยคนทั่วโลกเพิ่มขึ้น 7 ปี มีคนเคยกล่าวไว้ว่า life is a lottery
    วิกฤติ Covid 19 นำมาซึ่งวิกฤติขาดแคลนอาหารในหลายประเทศ ในเดือน เมษายน World food program ได้ตัดเงินลง 30% เนื่องจากขาดเงินสนับสนุนจากประเทศพัฒนา
    หลัง Covid 19 อัตราเฉลี่ยของอายุคนทั่วโลกจะลดลง อันเนื่องจากผลทางตรงและทางอ้อม
    โดย พลอากาศตรี นานแพทย์ ยงค์ศักกดิ์ เลียงอุดม
    ผู้อำนวยการ ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลกรุงเทพ
    เป็นความเห็นส่วนตัวไม่เกี่ยวกับองค์กร
     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ผลของความผิดปกติของ Gene ที่มีต่อ Covid 19
    โดย นายแพทย์ ยงค์ศักดิ์ เลียงอุดม
    Published 9/10/20
    มีการศึกษาหลายการศึกษาที่บ่งบอกถึง ความสัมพันธ์ของผิดปกติของ Gene ในการที่ทำให้ผู้รับเชื้อ Covid 19 จะมีอาการรุนแรงหรือไม่
    จากการศึกษาของ Jean Laurent Casanova ที่ Rockefller university ใน New York ได้ร่วมศึกษากับ Necker hospital ที่ Paris
    ได้วิเคราะห์ genome คนไข้ที่ป่วยหนักจาก Covid 19 จำนวน 659ราย เปรียบเทียบกับคนที่รับเชื้อ Covid 19 แล้วไม่มีอาการ 534 ราย พบว่า3.5% ของคนป่วยหนักจะมีการกลายพันธุ์ของ gene ซึ้งเป็น gene ที่ใช้ในการสร้าง interferon1 ทำให้ไม่สามารถ interferon1 ได้
    Interferon1 เป็นสารสำคัญที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสร้างขึ้นเพื่อต่อสู้กับ Covid 19 เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย สาร interferon1 จะทำให้ไวรัส Covid 19 ไม่สามารถแบ่งตัวเพิ่มขึ้น ถ้าร่างกายมีปัญหาสร้าง interferon1 ไม่ได้ ไวรัสก็จะแบ่งตัวมากขึ้นและทำลายอวัยวะในร่างกาย ระบบ second line ของร่างกายที่จะต่อสู้กับไวรัส Covid 19 ต้องใช้เวลาอีกหลายวันกว่าจะเริ่มทำงาน
    Dr. Hoischen จาก Radbound University ใน Rotterdam ศึกษา gene ในพี่น้องสองคู่ คู่แรกอายุ 33ปี กับ 29 ปี อีกคู่อายุ 21 และ 23 ปี เป็นชายทั้งหมด เป็นคนไข้ Covid 19 อายุน้อยแต่มีอาการรุนแรง ทำการศึกษา sequence gene พบว่ามี gene ผิดปกติทำให้ไม่สร้าง interferon1 ซ่อนอยู่ใน X chromosome
    ในการศึกษาอันที่สองของ Dr. Hoishen ศึกษาคนไข้ Covid 19 ที่มีอาการหนัก 1,000 คน พบว่าคนไข้ 10 คนมี autoantibodies ต่อ interferon1 ซึ้งในคนไข้หนักเหล่านี้ autoantibodies จะทำให้ interferon1 ไม่ทำงานขจัด Covid 19 ถ้าใช้ plamapheresis นำเอา autoantibodies ออกจากกระแสเลือดก็จะทำให้ interferon1 กลับมาทำงานขจัดไวรัสได้
    นักวิจัยจาก Kolinska institute ที่ Sweden Hugo Zeberg พบว่ากลุ่ม gene หรือ haplotype ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ สมัย Neanderthal ซึ้งพบใน 16% ของคนยุโรป และครึ่งหนึ่งของคนจาก South Asia แต่ไม่พบในคน Africa และ East Asia จะสัมพันธ์กับคนที่ป่วยหนักเมื่อรับเชื้อ Covid 19
    ซึ้งปัจจัยนี้พอจะเป็นคำอธิบายส่วนหนึ่งได้ว่าทำไม ชาติในกลุ่ม เอเซียใต้ อินเดีย บังคลาเทศ ปากีสถาน จะมีการระบาดรุนแรงกว่าประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออก อย่างจีน เกาหลี ญี่ปุ่น
    นักวิจัยยังพบคนบังคลาเทศ มีกลุ่ม gene haplotype นี้ถึง 63% ซึ้งก็สอดคล้องกับการศึกษาที่ประเทศอังกฤษพบว่าคนอังกฤษที่มีเชื้อสายบังคลาเทศจะมีโอกาสตายมากเป็นสองเท่าของเมื่อเทียบกับประชาชนอังกฤษ
    จากการศึกษาของ genome center ที่ New York ได้ร่วมมือกับ 50 ประเทศศึกษา DNA ของ gene ของคนทั่วโลกที่ป่วยด้วย COVID-19
    ที่ center นี้ศึกษาเปรียบเทียบ gene ของคนที่มีอาการน้อยและคนที่มีอาการหนัก พบว่าคนแต่ละคนมี gene ที่จะทำให้ตอบสนองต่อการติดเชื้อของ Covid-19 ต่างกัน บางคนถึงมีอาการมาก บางคนมีอาการน้อย
    Gene ของแต่ละคน แต่ละเผ่าพันธุ์ มีผลถึงความสัมพันธ์ส่วนหนึ่งที่จะทำให้ผู้รับเชื้อ Covid 19 จะมีอาการมากหรือน้อย นอกจากปัจจัยอื่นๆ
    โดย พลอากาศตรี นายแพทย์ ยงค์ศักดิ์ เลียงอุดม
    ผู้อำนวยการ ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลกรุงเทพ
    เป็นความเห็นส่วนตัวไม่เกี่ยวกับองค์กร


     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ภูมิคุ้มกันหมู่ herd immunity กับการต่อสู้กับ Covid 19
    นายแพทย์ ยงค์ศักดิ์ เลียงอุดม
    Published 14/08/2020
    Update 12/10/20
    ในขณะนี้มีคำถามว่า เรามาในทิศทางที่ถูกต้องหรือไม่ในการดำเนินนโยบายในการจัดการกับ โรคระบาด Covid 19 หลังจากผ่านมา 9เดือน การทำขบวนการเฃ้มงวดกับ social distancing ถึงแม้จะทำให้สามารถควบคุมการระบาดของโรค แต่ก็มีข้อแทรกซ้อนมากทางเศรษฐกิจ ยิ่งมาก ยิ่งนาน ยิ่งสร้างความเสียหายมาก ธุรกิจล้มละลาย หมดตัว มี collaterals damage มากมาย
    ซึ้งในขณะนี้ความอดทนของประชาชนประเทศต่างๆดูจะอ่อนล้าลงมาก และหลายๆประเทศก็ต้องกลับมาเผชิญกับ second wave หรือ third wave ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อมากขึ้น โดยเฉพาะในยุโรป อเมริกา ลาตินอเมริกา และบางประเทศในเอเชีย หลายประเทศเคยควบคุมได้ดีใน first wave
    ปัญหาในขณะนี้ทุกคนดูเหมือนจะตั้งความหวังไว้ที่ vaccines ถึงแม้จะมีแนวโน้มที่ดี แต่เมื่อนำมาใช้จริงก็ยังใช้เวลา และยังมีปัญหาหารผลิตและการกระจายให้คนทั่วโลก 7.8 พันล้านคน ซึ่งจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปีกว่าจะทั่วถึง
    มีการพูดถึงการได้มาด้วยภูมิคุ้มกันโดยใช้ Herd Immunity ตั้งแต่ช่วงแรกของการระบาด ประเทศอังกฤษได้ล้มเลิกความคิดที่จะใช้ herd immunity หลังจากมีนักวิชาการออกมาคัดค้าน เช่นเดียวกันกับประเทศ เนเธอร์แลนด์ ซึ่งหันมาใช้วิธี stay home และ social distancing
    ประเทศที่ใช้ herd immunity อย่างเต็มรูปแบบคือ Sweden
    Sweden ประสบความสําเร็จหรือล้มเหลวในการใช้ Herd immunity ในการจัดการกับการระบาดของ Covid 19 โดยไม่ lock down เป็นข้อถกเถียงกันมาตลอด 7-8 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นระยะเวลาที่พอบอกอะไรได้บ้าง ถึงแม้ว่าการระบาดจะยังไม่สิ้นสุด
    ดูเหมือนว่าสวีเดนประสบความสำเร็จจากการใช้ herd immunity ก็คงเป็นสิ่งที่นักการเมืองทั้งหลายในยุโรป คงต้องกล้ำกลืนและอธิบายต่อประชาชนด้วยความลำบากใจ เพราะการ lockdowns มีข้อแทรกซ้อน ทำลายเศรษฐกิจและวิถีชีวิตของผู้คนอย่างมหาศาล ในขณะนี้มีหลายประเทศเริ่มอยากกับมาใช้ herd immunity เพื่อ open society เพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัว แต่มีคำถามว่าจะเริ่มช้าไปไหม และจะคุ้มค่ากับการเสี่ยงหรือไม่ และจะประสบความสำเร็จเหมือนสวีเดนหรือไม่
    Professor Graeme Ackland จาก University of Edinburgh บอกว่า ในระยะสั้นการ lockdowns จะทำให้จำนวนคนตายน้อยกว่า แต่เมื่อคิดในระยะยาวจำนวนคนตายจะมากกว่า
    การไม่ให้เด็กไปโรงเรียนจะทำให้จำนวนคนตายมากขึ้น 80,000-95,000 คน เพราะการ lockdowns จะไม่ทำให้เกิดภูมิคุ้มกันในกลุ่มคนอายุน้อย ชุมชนจึงไม่มีภูมิคุ้มกัน จึงนำมาสู่การลงนามของนักวิทยาศาสตร์นับพันทั่วโลกคือ Great Barrington Declaration ซึ้งต้องการยุติการ lockdowns คนหนุ่มสาวและคนสุขภาพดี
    ประเทศอย่างบราซิล อินเดีย มี herd immunity แล้วในพื้นที่บางแห่งของประเทศ แต่ต้องแลกด้วยชีวิตจำนวนมากด้วยความไม่พร้อมของระบบสาธารณสุขและความไม่พร้อมทางการแพทย์ โรงพยาบาลต้องแบกรับผู้ป่วยด้วยความไม่พร้อม
    ในระยะแรกของการระบาด เดือน มีนาคม เดือนเมษายน สวีเดนได้รับการจับตามองและหลายคนคืดว่า สวีเดนอาจเป็นประเทศเดียวที่ประสบความสำเร็จจากการไม่ต้อง lockdowns พอเรี่มมีคนตายมากขึ้น เมื่อเทียบกับประเทศ Scandinevia อื่นๆ อย่างเดนมาร์ก และ Norway ก็เริ่มมีคนไม่แน่ใจ และทักท้วง คนสวีเดน ตายไป 571 คน เมื่อเทียบกับเดนมาร์ก ซึ้งตายไป 106 คน คน Norway ตายไป 47 คน ต่อประชาชนหนึ่งล้าน
    แต่สวีเดนมีคนที่อยู่ในชุมชนเมืองมากกว่า มีประชากรมากกว่า
    แต่เมื่อเทียบกับประเทศยุโรปตะวันตกอื่นๆ ที่ lockdowns อัตราการตายของสวีเดนจะน้อยกว่า เช่น Italy (582) , Spain (610),UK(683),Belgium(850) ต่อประชากรหนึ่งล้าน
    และเมื่อมาถึงเดือน กรกฎาคม ประเทศยุโรปตะวันตก เช่น สเปน ฝรั่งเศส อังกฤษ เบลเยี่ยม เริ่มมี second wave ระลอกสอง และในขณะนี้ second wave ได้รุนแรงมากขึ้น มีคนป่วยมากขึ้น บางประเทศต้องจำใจกลับมา lock down อีกครั้ง ด้วยความอ่อนล้าของทั้งประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ ในอังกฤษถึงกับมีการประท้วงการ lockdowns
    นักวิทยาศาสตร์และบุคลากรทางการแพทย์กว่า 2,500 จาก Oxford, Cambridge, Harvard, Standord,Edinburgh ออกมาร่วมลงนามคัดค้านการ lockdown คือลงนามใน Great Barrington Declaration เพราะคิดว่าจะมีผลเสียหายมากกว่า สำหรับระบบสุขภาพทั้งในระยะสั้นและยาว จะมีคนไข้เสียชีวิตจากการ lockdowns 75,000 คนในอังกฤษจากสาเหตุอื่นๆ การสูญเสียโอกาสทางการศึกษาและการทำงานของคนรุ่นใหม่
    ถ้าจะทำ herd immunity จะต้องเเยกคนสูงอายุ ใน care home ซึ่งผู้เชี่ยวชาญทาง epidemiology จาก Oxford คิดว่าจะใช้เวลาหกเดือนร่วมกับการใช้วัคซีน ก่อนจะได้ herd immunity
    ระบบสุขภาพที่เป็นปัญหาจากการ lockdowns คือ cancer screening , สุขภาพจิต mental problem และนักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้ยังเรียกร้องให้เปิดโรงเรียน และธุรกิจและ กิจกรรมทางสังคม สำหรับคนหนุ่มสาว และคนสุขภาพดี
    มีข้อมูลว่าคนที่ตายเพราะ Covid 19 ส่วนหนึ่งอย่างไรก็ตามก็คงมีชีวิตอีกไม่นานเพราะอายุมากหรือมีโรคประจำตัวอยู่แล้ว และในขณะนี้อัตราการตายจาก Covid 19 ลดตำ่ลงมาก การรักษาดีขึ้น เชื้อระบาดเร็วขึ้นแต่ไม่รุนแรง
    และแน่นอน ภาวะเศรษฐกิจของสวีเดน เป็นประเทศพัฒนาแล้วประเทศเดียวที่เศรษฐกิจไม่ถดถอย ไม่เกิด recession
    ประชาชนในอินเดียเช่นสลัม Dharaviใน Mumbai ชุมชน 850,000 คน ตรวจ antibody test positive ในประชาชนมากกว่า50% แสดงว่ามี herd immunity แล้ว แต่อินเดียก็ต้องแลกด้วยชีวิตคนป่วยจำนวนมาก
    ในบราซิล เช่นที่ Maneus เมืองใน Amazon มีคนตายจำนวนมากจากการระบาดของ Covid 19 ก่อนที่จะได้ Herd immunity เนื่องจากความไม่พร้อมในระบบสาธารณสุขและ poor hygiene
    คงจะพอตัดสินใจกันได้ เมื่อผ่านมา 8 เดือนว่าสวีเดนคิดถูกหรือคิดผิด แต่มีบางประเทศมีคำถามว่าจะเดินหน้าไปด้วยการทำ lockdowns แบบเดิมหรือเปลี่ยนเป็น open community เพื่อให้เกิด herd immunity เพราะแต่ละ community แต่ละประเทศความอดทนเริ่มน้อยลงความอ่อนล้าเริ่มเกิดขึ้นมาก
    วัคซีนที่จะได้ใช้ในอีกไม่นาน จะอดทน lockdowns ต่อ หรือจะเปลี่ยนนโยบายไปในทางตรงข้าม
    อัตราการตายจาก Covid 19ในยุโรปในขณะนี้ลดลงมากเมื่อเทียบกับการระบาดในช่วงแรก ในขณะนี้อัตราการตายที่ฝรั่งเศสน้อยกว่า0.5%
    WHO ประเมินว่าจำนวนคนป่วยทั่วโลกจริงๆน่าจะเป็น 750ล้านคน คิดเป็น 10%ของประชากรโลก ซึ้งมากกว่าที่รายงานจริงถึง 20 เท่า ตัวเลขที่รายงานอยู่ที่ 37 ล้านคน ดังนั้นอัตราการตายจริงจะต้องตำ่กว่านี้มาก
    ผู้เชี่ยวขาญหลายคนจึงคิดว่า ถ้ามีการ contact traceing และ quarantining ที่ดี ก็น่าจะดีกว่าถ้า open society และในขณะนี้การรักษา Covid 19 ก็ดีกว่าในช่วงแรกมาก
    Herd immunity ภูมิคุ้มกันหมู่เป็นสิ่งที่มนุษย์ชาติใช้ผจญต่อสู้กับโรคระบาดมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นกาฟโรคในยุคกลาง Spanish Flu 1918 เมื่อหนึ่งร้อยปีมาแล้ว ในยุคที่การแพทย์ก้าวล้ำนำหน้า ในยุคแห่ง vaccine เวลาที่รออยู่จะคุ้มค่าหรือไม่ เมื่อคิดถึงความเสียหายจากชีวิตที่สูญเสียไป และความเสียหายทางเศรษฐกิจที่มากมายมหาศาลที่เสียไปในช่วงเวลาที่รอคอยอยู่ เพราะโลกเปลี่ยนไปมาก การอดทนรอคอยมีขีดจำกัด
    IMF คำนวณว่า GDP ของโลกจะลดลง 8% ในปี 2020 เมื่อเทียบกับ crisis 2009 GDP โลกลดลง0.1% Spanish Flu 1918 GDPโลกลดลง 5%
    เรียบเรียงและวิเคราะห์โดย นายแพทย์ ยงค์ศักดิ์ เลียงอุดม
    ผู้อำนวยการ ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลกรุงเทพ
    ส่วนหนึ่งเป็นความเห็นส่วนตัวไม่เกี่ยวกับองค์กร


     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    การปรับแต่งพันธุ์กรรม Gene editing และCRiSPR- CAS9
    โดย นายแพทย์ ยงค์ศักดิ์ เลียงอุดม
    14/10/20
    ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญในด้านชีววิทยาในช่วง 8 ปีที่ผ่านมาคือ การปรับแต่งพันธุ์กรรม Gene editing โดยใช้ CRISR- CAS9 เป็นกรรไกร natural scissor ตัด DNA ในGenome ที่ไม่ต้องการออกไป
    การปรับแต่ง gene ก่อนหน้านี้ทำโดยใช้สอดใส่ gene จากสิ่งมีชีวิตต่างชนิด เช่นการทำพืช GMO หรือการปรับแต่ง gene ด้วยวิธีการอื่นๆ
    จุดเริ่มต้นของ innovation ที่สำคัญนี้มาจากความสำเร็จของนักวิทยาศาสตร์หญิงสองคน คนหนึ่งอยู่ที่ Berkley คือ Jennifer A. Doudna และคนหนึ่งอยู่ที่ คานาดา คือ Emmanuelle Charpentier ได้เลียนแบบเทคนิคที่ bacteria ขจัดไวรัสที่รุกรานเข้ามา โดยแบคทีเรียจะจับเอาส่วนหนึ่งของ DNA ของไวรัสที่บุกเข้า มาทำเป็น CRISPR array โดยใช้ enzyme CAS9 เป็นกรรไกรที่จะตัดDNA ของไวรัสชนิดเดิมถ้าบุกเข้ามาอีกด้วยระบบความจำ
    การคิดเทคนิคนี้เกิดขึ้นในปี 2012 และเป็นจุดเริ่มต้นของการไปสู่การปรับแต่ง Editing gene ที่สำคัญเพื่อรักษาโรค และประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์อื่นๆ เป็นวิธีการที่ถูก ง่าย และแน่นอน จนนักวิทยาศาสตร์หญิงทั้งสองได้รางวัล Nobel price สาขาเคมีในปีนี้
    และสิ่งที่น่าสนใจคือ นักวิทยาศาสตร์ทั้งสองต่างได้รับเงินทุนสำหรับการเริ่มต้นการวิจัยจากมหาเศรษฐีชาวฮ่องกง ผู้ไม่เคยมีโอกาสเรียนหนังสือ คือ Li Ka Ching
    การ edit gene มีหลายวิธี การตัด DNA ที่ไม่ต้องการออกไป การ insert สอดใส่ gene ของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นเข้าไปเช่นการทำพืช GMO แต่การตัด geneโดยใช้ CRISPR- CAS9 ไม่ถือว่าเป็น GMO ในอเมริกาเพราะไม่ได้เอา gene ของสิ่งมีชีวิตต่างชนิดเข้ามาใส่ ในช่วง 8ปีที่ผ่านมา จึงมีการพัฒนาไปอย่างมาก แต่ในยุโรปยังถือว่าเป็น GMO จึงยังมีข้อจำกัดในยุโรป
    การตัด DNA หรือ gene แล้วให้ร่างกายซ่อมแซม นำไปใช้ประโยชน์มากมาย
    ในทางการแพทย์ได้นำไปสู่การรักษาโรคและการป้องกันโรคที่เกิดขึ้นจากพันธุกรรม โรคที่เกิดจากความผิดปกติของ gene เพียงตัวเดียวอย่างโรคเลือดจาง beta thalassemia และ sickle cell การรักษาทำโดยใช้ CRISPR -CAS9 ตัด mutated gene ที่ผิดปกติ เป็น geneที่ทำให้ร่างกายไม่สร้าง hemoglobin สารในเม็ดเลือดแดงที่ทำให้มีการรับออกซิเจนจากปอด
    ที่ university of Pennsylvania ได้เริ่มทดลองเอา immune cell ของคนไข้มะเร็งมาตัดgene ในห้อง lab ด้วย CRISPR แล้วนำกลับไปสู่ร่างกายคนไข้ซึ้งหลังจากปรับแต่ง gene แล้วทำให้สามารถขจัด cancer cell ได้
    การใช้ CRISPR เพื่อทำให้ใช้อวัยวะของหมูเช่นหัวใจมาใช้เป็นอวัยวะทดแทน สำหรับ organ transplantation สำหรับมนุษย์
    ปัญหาที่ไม่สามารถใช้อวัยวะของหมูมาใช้ในคนได้ก็เนื่องจาก การไม่ยอมรับอวัยวะของหมูจากระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ organs rejection และเชื้อโรคไวรัสที่มากับอวัยวะของหมู และบริษัทeGenesis สามารถผลิตหมูที่ปราศจากไวรัส Pervs ที่แฝงมาในหมู ออกไปได้
    นอกจากนี้ eGenesis ร่วมกับ Harvard ยังใช้ CRISPR ตัด gene ในหมู ทำให้อวัยวะของหมูไม่ถูกต่อต้าน reject เมื่อนำมาปลูกถ่ายในคน
    ในปี 2018 นักวิจัยจาก University of Oregon ได้ใช้ CRISPR ตัด mutated gene ที่ผิดปกติ MYBPC3 ในตัวอ่อน embryo ของมนุษย์แล้วใส่กลับไปในมดลูก เพื่อไม่ให้เด็กที่เกิดมาเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจ cardiac myopathy
    แต่การ ปรับแต่ง edit gene ในตัวอ่อน embryo หรือที่เรียกว่า germline editing ยังเป็น controversy ข้อถกเถียงในเรื่องจริยธรรมเพราะจะมีผลไปสู่ generation ต่อๆไป ไม่เหมือนกับการทำ somatic genome editing ซึ้งทำเฉพาะคน จะมีผลเฉพาะบุคคล ไม่มีผลต่อคนรุ่นต่อไป วิธีการดังกล่าวเป็นการป้องกันไม่ให้โรคเกิดขึ้น
    ยังคงมีข้อท้าทายทางจริยธรรมเกี่ยวกับการปรับปรุง editing gene ใน germline editing ใน ตัวอ่อนเพื่อให้มนุษย์มีความสมบูรณ์ขึ้น ฉลาดขึ้นเป็นสิ่งที่ควรทำหรือไม่ โลกอนาคตจะมีสิ่งที่เป็นจริงมากกว่านิยายวิทยาศาสตร์เรื่องใดๆ
    โรคมะเร็งหลายอย่างเกิดจากความผิดปกติของ gene การ editing ตัด gene ที่มีปัญหาออกไปก็จะป้องกันไม่ให้เกิดมะเร็งได้ในอนาคต
    ในปี 2018 นักวิทยาศาสตร์จาก Imperial college ได้ใช้ CRISPR แต่ง sex gene ในยุงใน Afarica ที่ทำให้เกิด malaria ทำให้ยุงวางไข่ไม่ได้ เพราะมี double sex gene หลังจากผ่าน 8 generation ก็ไม่เหลือยุงตัวเมียปกติที่จะแพร่พันธุ์ได้ เทคนิคนี้คงจะนำไปใช้ขจัดยุงพันธุ์อื่นๆที่เป็นพาหะของโรค
    นักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นได้ใช้ CRISPR ตัดDFR-B gene ในดอกไม้ ทำให้สามารถเปลี่ยนสีของดอกไม้
    นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ยังใช้ CRISPR เทคนิคในเกษตรกรรม ทำให้ Cherry มีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้ต้น cacao ซึ้งใช้ทำ chocolate มีความต้านทานต่อโรคระบาด
    ในธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงของ gene ใน coronavirus ในค้างคาวที่ยูนนาน ทำให้ไวรัสกลายพันธุ์ระบาดข้ามมาสู่มนุษย์ กลายเป็นโรคระบาด Covid 19 กระจายไปทั่วโลก
    แต่มนุษย์ก็พยายามปรับแต่ง gene เองโดยใช้ gene editing เพื่อประโยชน์ต่างๆ เช่นการรักษาโรค และการเกษตร
    ขบวนการทางธรรมชาติก็ดำเนินไปเพื่อลดจำนวนมนุษย์เพื่อให้เกิดสมดุลย์ แต่มนุษย์ก็ไม่เคยยอมแพ้พยายามจะทำให้อายุยืนยาวขึ้น สุขภาพดีขึ้น
    โดย พลอากาศตรี นายแพทย์ ยงค์ศักดิ์ เลียงอุดม
    ผู้อำนวยการ ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลกรุงเทพ
    เป็นความเห็นส่วนตัวไม่เกี่ยวกับองค์กร
     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Herd immunity ภาคสาม ข้อโต้แย้งการใช้ Herd immunity
    โดย นายแพทย์ ยงค์ศักดิ์ เลียงอุดม
    Published 16/10/20
    ขณะนี้เรื่องการระบาดของ Covid 19 มีเรื่องราวที่ hot มากเรื่องหนึ่งคือการสร้างภูมิคุ้มกันด้วย herd immunity ในขณะนี้มีความเห็นอยู่สองฝ่าย
    เริ่มเมื่อ 2 อาทิตย์ที่แล้วนักวิทยาศาสตร์และนัก epidemiologist นับพันคน จาก Oxford, Cambridge, Harvard , Edinburgh etc ร่วมกันลงนามเห็นด้วยกับการใช้ Herd immunity คือ Great Barrington Declaration และต่อต้านการ lockdown สำหรับ second wave ที่เกิดขึ้นอย่างถาโถมใน UK และ ยุโรป
    นักวิทยาศาสตร์และบุคลากรทางการแพทย์กว่า 2,500 จาก Oxford, Cambridge, Harvard, Standord,Edinburgh ออกมาร่วมลงนามคัดค้านการ lockdown คือลงนามใน Great Barrington Declaration เพราะคิดว่าจะมีผลเสียหายมากกว่า สำหรับระบบสุขภาพทั้งในระยะสั้นและยาว จะมีคนไข้เสียชีวิตจากการ lockdowns 75,000 คนในอังกฤษจากสาเหตุอื่นๆ การสูญเสียโอกาสทางการศึกษาและการทำงานของคนรุ่นใหม่
    ถ้าจะทำ herd immunity จะต้องเเยกคนสูงอายุ ใน care home ซึ่งผู้เชี่ยวชาญทาง epidemiology จาก Oxford คิดว่าจะใช้เวลาหกเดือนร่วมกับการใช้วัคซีน ก่อนจะได้ herd immunity
    กลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับการใช้ herd immunity บอกว่าเป็นการยากที่จะแยกคนสูงอายุและคนที่มีโรคประจำตัวได้อย่าง effective ในเวลา5-6 เดือน และให้ตัวเลขคนที่เสี่ยงในอเมริกามีโรคประจำตัวหรือสูงอายุสูงถึง 40%
    นักวิทยาศาสตร์และ Epidemiologist อีกกลุ่มส่วนใหญ่อยู่ในอเมริกา 80 คนลงนาม Scienctific concensus ในนิตยสาร Lancet ไม่เห็นด้วยกับการใช้ herd immunity
    ประธาน WHO ก็ออกมาแถลงไม่เห็นด้วยกับการใช้ herd immunity เพราะเสี่ยงเกินไป
    สวีเดนเป็นจุดสนใจมากที่สุดของนักวิชาการทั้งสองกลุ่มว่า herd immunity ได้ผลหรือไม่ กลุ่มที่ไม่เห็นด้วยบอกว่า อัตราการตายสูง โดยอ้างว่าตัวเลขการตายตั้งแต่ระบาด มีคนตาย 58 คนต่อประชากร 100,000 คน เมื่อเทียบกับเดนมาร์กและเยอรมันมีคนตาย 11 คนต่อประชากร 100,000 คน แต่ตั้งแต่เดือนมิถุนายน อัตราการตายของสวีเดนอยู่ที่ 10 ต่อประชากร 100,000คน ช่วงแรกคนสวีเดนตายใน care home มากเพราะการ isolate ไม่ดีพอ
    นิตยสาร Time โจมตีว่ารัฐบาลสวีเดนไม่โปร่งใสในการให้ข้อมูล ฟังดูน่าจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศจีนหรือรัสเซีย ไม่น่าจะเป็นสวีเดนที่มีชื่อเสียงเรื่องความโปร่งใส
    สวีเดนมีการทำ testing แค่ 20%ของประชากรซึ้งต่ำกว่าประเทศยุโรปอื่นๆ
    แต่รัฐบาลสวีเดนถือว่านโยบาย herd immunity ของตนประสบความสำเร็จ
    ความร้อนแรงเรื่องนี้เพิ่มขึ้นมาอีกเมื่อทำเนียบขาวและ Trump ออกมาสนับสนุน Great Barrington Declaration ในขณะที่กลุ่มนักวิชาการอย่าง Dr. Fauci ออกมาไม่เห็นด้วยกับ Trump อย่างที่เป็นมาตลอด และแน่นอน Democrat ก็สนับสนุน Dr. Fauci และโจมตี Trump ว่าล้มเหลวในการควบคุมการระบาดของ Covid 19 เพราะไม่เชื่อนักวิชาการและไม่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์
    แต่เป็นเรื่องน่าปวดหัวมากที่นักวิชาการชั้นนำจากสองฝ่ายมีความเห็นไม่เหมือนกัน ไปคนละทิศคนละทาง ต่างก็อ้างเหตุผลเพื่อสนับสนุนความคิดของฝ่ายตน
    กลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับ herd immunity บอกว่าจากการศึกษาของ Stanford University คนอเมริกันเพียง 9% ที่มี antibody ต่อ Covid 19 ถ้าจะให้เกิด herd immunity จะต้องมีคนอเมริกันติดเชื้อเพิ่มอีก 156 ล้านคน ในขณะนี้มีคนอเมริกัน 7.8 ล้านคนติดเชื้อซึ้งทำให้คนตายไปแล้ว สองแสนคน ถ้าติดเชื้อเพิ่มอีก 156 ล้านคนจะมีคนอเมริกันตาย 1-2 .5 ล้านคน
    นอกจากนี้ยังอ้างเหตุผลว่า 10 % ของคนติดเชื้อโรค Covid 19 จะมีปัญหาสุขภาพเรื้อรังจาก long Covid ถึงแม้จะไม่เสียชีวิต
    การปล่อยให้มี herd immunity จะทำให้เกิดคนไข้ล้นโรงพยาบาล และทำให้การบริการการรักษาพยาบาลคนไข้มะเร็ง เบาหวานและหัวใจถูก disrupt ซึ่งฝ่ายที่ต่อต้านการ lockdown ก็อ้างเหตุผลเดียวกันว่าการ lockdown ทำให้คนไข้โรคอื่นๆตายมากขึ้น
    ทั้งสองฝ่ายต่างอ้างเหตุผลความเสียหายทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้น ซึ่งประมาณการว่าจนถึง 2021 เศรษฐกิจอเมริกันจะเสียหาย 16 trillion dollars ฝ่ายที่ค้าน herd immunity บอกว่า herd immunity จะทำให้เศรษฐกิจเสียหายมากกว่า 16 trillion dollars
    แต่ฝ่ายสนับสนุน herd immunity บอกว่าถ้ามัวแต่ lockdown ทำธุรกิจไม่ได้ ความเสียหายมีมากกว่า
    นอกจากนี้ยังอ้างถึง rare case 5 case ที่ติดเชื้อ Covid 19 เป็นครั้งที่สองว่า herd immunity อาจไม่สร้างภูมิคุ้มกันที่ถาวร คำถามกลับคือถ้าเชื่อเรื่องนี้แล้วจะต้ังความหวังกับวัคซีนได้อย่างไร
    กลุ่มที่ไม่สนับสนุน herd immunity บอกว่า สวีเดนถือว่าล้มเหลวใน herd immunity เพราะอัตราการตายสูงเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศยุโรปอื่นๆ และประชาชนมี antibodies เพียง 10%
    แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ สวีเดนไม่ต้องเผชิญ second wave ที่รุนแรงเหมือน UK และยุโรปอื่นๆ ที่จะต้องกลับมา lockdown อย่างเข้มงวดอีกครั้ง ชีวิตในสวีเดน 9 เดือนที่ผ่านมายังเหมือนเดิม โรงเรียนยังคงเปิด ถึงแม้จะไม่มีข้อกำหนดในการ lockdowns เหมือนยุโรปอื่นๆ แต่คนสวีเดนส่วนหนึ่งจะ working from home และจำกัดกิจกรรมทางสังคมโดยสมัครใจ ธุรกิจยังคงเปิดบริการตามปกติ จนถึงขณะนี้มีคนติดเชื้อในสวีเดน หนึ่งแสนคน จากประชาชน 10 ล้านคน มีคนตาย 5,900 คน
    คงต้องพิจารณากันเองว่า herd immunity เป็นอย่างไร จะเหมะสมหรือไม่ คงต้องเป็นเรื่องที่ต้องถกเถียงพิจารณากันจนกว่าการระบาดของ Covid 19 จะสิ้นสุด
    โดยพลอากาศตรี นายแพทย์ ยงค์ศักดิ์ เลียงอุดม
    ผู้อำนวยการ ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลกรุงเทพ
    เป็นความเห็นส่วนตัวไม่เกี่ยวกับองค์กร
     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ผลกระทบทางจิตใจ psychology ที่มาจากการระบาดของ Covid 19
    โดย นายแพทย์ ยงค์ศักดิ์ เลียงอุดม
    Published 19/10/20
    โรคระบาดใหญ่แห่งศตวรรษ Covid 19 หลังจากระบาดมา 9 เดือนได้ทำให้คนทั่วโลกตายไปแล้ว หนึ่งล้านคน คนติดเชื้ออย่างน้อย 38 ล้านคน และในจำนวนนี้ยังต้องมีปัญหาทางสุขภาพในระยะยาวจาก long Covid
    สิ่งที่เป็นปัญหาใหญ่จากการระบาดของ Covid 19 ก็คือปัญหาทางสุขภาพจิต ซึ้งมีทุกระดับ ตั้งแต่ปัญหาที่มีต่อสุขภาพจิตของบุคลากรทางการแพทย์ ทำให้เกิดการ burn out จากการอ่อนล้าที่ต้องถูกกดดันให้ดูแลผู้ป่วยจำนวนมาก ภายใต้ความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอง รวมทั้งเห็นคนป่วยตายจำนวนมาก
    ที่อินโดนีเซียบุคคลการทางการแพทย์ที่เสียชีวิตไปแล้ว 188 คน จากCovid 19 รวมทั้งภาระงานที่ overload ทำให้บั่นทอนภาวะจิตใจของบุคลากรทางการแพทย์เป็นอันมาก
    ที่ Chicago 1918 Spanish flu ระบาด คนตายจากภาวะทางจิต มากกว่าตายจาก flu
    ผู้คนจำนวนมากต้องมีปัญหาทางจิตใจจากภาวะทางเศรษฐกิจ ต้องตกงาน ต้องห่วงความมั่นคงทางการเงินของครอบครัว คนหนุ่มสาว millennium ต้องตกงานไม่สามารถตั้งตัวได้
    ที่บังคลาเทศรายได้ของประชาชนที่ยากจนลดลงถึง 80% จาก Covid 19 ระบาด ผลสำรวจพบว่าประชาชนถึง 86% มีปัญหา stress ทางจิตใจ
    การที่ต้องถูก lockdown จำกัดตัวอยู่ในบ้านทำให้ถูกกดดันทางจิตใจ ไม่สามารถออกมาผ่อนคลายใน park หรือใน pub คนที่มีปัญหาทางจิตใจอยู่แล้วก็มีโอกาสกำเริบสูง เด็กไม่สามารถไปโรงเรียน มีสังคมได้ก็เป็นปัญหาทางจิตใจ
    มีการศึกษาในอเมริกา พบว่าในระยะ 10 ปีข้างหน้าจะมีคนฆ่าตัวตายถึง 75,000 เป็นผลต่อเนื่องอันมาจากการระบาดของไวรัส Covid 19
    การฆ่าตัวตายจะเกิดจากภาวะทางเศรษฐกิจที่ล่มสลาย ความเศร้าโศกเสียใจ และการที่จะต้องถูกแยกตัวออกจากสังคม societal distancing
    ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจการถูกแยกตัวจากสังคมจะทำให้การป้องกันการฆ่าตัวตายได้ยากขึ้น ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาอัตราการฆ่าตัวตายของคนอเมริกันก็เพิ่มมากขึ้นจนสูงสุดในปี 2018 การระบาดของไวรัสโควิช มาในช่วงจังหวะที่จะทำให้โอกาสที่จะมีอัตราการฆ่าตัวตายสูงขึ้น
    การให้ stay home จะช่วยป้องกันการเสียชีวิตจาก virus ได้ แต่จะทำให้มีความเสี่ยงสูงต่อการฆ่าตัวตาย การเสพยาเสพติดเกินขนาด และการตายจากโรคพิษสุราเรื้อรังในอนาคต
    จากผลสำรวจของ gallop poll พบความไม่พึงพอใจในชีวิตในภาวะปัจจุบัน และความไม่แน่ใจในชีวิตในอนาคตมีสูง ซึ่งเป็นตัวเลขที่ไม่เคยสูงเท่านี้มาก่อน นับตั้งแต่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ hamburger crisis ปี 2008
    ในยุโรปและในอังกฤษการจู่โจมของ second wave ที่จำนวนคนไข้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่บุคลากรทางการแพทย์ยังไม่หายอ่อนล้าจาก first wave ภาวะจิตใจและ burnout กำลังเกิดขึ้น ประชาชนต้องกลับมา lockdowns อีกครั้งทั้งในอังกฤษ ฝรั่งเศส และที่อื่นๆในยุโรปไม่เว้นแม้แต่เยอรมันที่ทำได้ดีใน first wave ภาวะจิตใจของผู้คนย่อมแย่ลง กิจกรรมทางสังคมถูกระงับอีกครั้ง
    การเกิด second wave ในยุโรปและอเมริกา ส่วนหนึ่งก็เพราะความอ่อนล้าจากการต่อสู้ที่ยาวนานมาถึง 8-9 เดือน ความอ่อนล้ามาจากทั้งบุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนที่ต้องถูก lockdowns
    ภาวะทางจิตใจของผู้คนบ้างส่วนที่ต้องเผชิญคือภาวะที่เรียกว่า post traumatic stress syndrome
    ปัญหาใหญ่คือผู้คนยังไม่แน่ใจว่าการระบาดของ Covid 19 จะสิ้นสุดลงเมื่อไร
    ปัญหาทางจิตใจที่สำคัญที่มีผลต่อเด็ก ซึ้งจะต้องขาดโอกาสทางสังคมที่สมควรตามวัย หมดโอกาสที่จะเล่นกีฟา และการมีสังคมกับเพื่อนในวัยเดียวกัน ทำให้เด็กจำนวนมากเกิดอาการเบื่อหน่าย boredom ซึ้งในนิยายของ Dickens “ Bleak house” มีคำว่า bored to death
    อีกปัญหาคือปัญหาทางเศรษฐกิจจาก Covid 19 ทำให้ไม่มีงบประมาณมาสนับสนุน mental health services ในเกือบทุกๆประเทศ โดยเฉพาะประเทศยากจน
    โดย พลอากาศตรี นายแพทย์ ยงค์ศักดิ์ เลียงอุดม
    ผู้อำนวยการ ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลกรุงเทพ
    เป็นความเห็นส่วนตัวไม่เกี่ยวกับองค์กร
     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    แผ่นดินไหวอลาสกา 7.5 เตือนสึนามิ
    ไทยรัฐออนไลน์ 20 ต.ค. 2563 08:17 น.
    dFQROr7oWzulq5FZUIExIVnn0ctj8MDdyI8hec1AmLoWrIIoTVhtpKssjHzDUevyubp.jpg

    เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.5 ทางตอนใต้ของรัฐอลาสกา ในสหรัฐฯ ศูนย์เตือนภัยสึนามิประกาศเตือนสึนามิ ทางการสั่งอพยพประชาชนขึ้นไปอยู่ที่สูง

    เมื่อวันที่ 20 ต.ค. เวลา 03.54 น. ตามเวลาในไทย สำนักงานสำรวจทางธรณีวิทยาสหรัฐฯ แจ้งว่า เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.5 ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองแซนด์ พอยท์ ในรัฐอลาสกา จุดศูนย์กลางอยู่ลึกลงไปใต้ดินประมาณ 10 เมตร โดยมีประกาศเตือนสึนามิตลอดแนวชายฝั่งทางตอนใต้ของคาบสมุทรอลาสกา ทางการสั่งอพยพประชาชนในเขตชุมชนขึ้นที่สูง นักเรียนโรงเรียนต่างๆ ได้รับการอพยพขึ้นที่สูงเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมาทางการมีคำสั่งลดระดับเตือนภัยลงเป็น "ประกาศคำแนะนำ"

    ด้านศูนย์เตือนภัยสึนามิ แจ้งว่า แผ่นดินไหวครั้งนี้ทำให้เกิดสึนามิเป็นคลื่นสูงประมาณ 130 เซนติเมตร ซัดเข้าสู่พื้นที่ชายฝั่ง และเบื้องต้นยังไม่มีรายงานความเสียหายเกิดขึ้น

    สำนักข่าว CNN รายงานว่า แรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวครั้งนี้รู้สึกได้ในเขตชุมชนตามแนวชายฝั่งทางตอนใต้ของอลาสกา รวมไปถึงเมืองแซนด์ พอยท์ เมืองชิกนิก เมืองอันอลาสกา และคาบสมุทรเคไน นอกจากนี้ ยังมีรายงานการเกิดอาฟเตอร์ช็อกขนาด 5.2 ในช่วง 11 นาทีหลังแผ่นดินไหวหลัก.

    https://www.thairath.co.th/news/for...pEFJGeEO_IUbW85mb7qHc618mzr3PU2Ja3sPre4EgSaF0
     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    MisterBan

    7Mu4APkW-UHteadCNDzm9XWZxo5gbT3q6iYbX-tWZIZT&_nc_ohc=5HKPRyUguMwAX-NaZuT&_nc_ht=scontent.fbkk6-2.jpg

    Oct 20, 2020 ทั่วโลกติดโควิด-19 ทะลุกว่า 40.6 ล้านคน ยอดตายโควิด-19 ทั่วโลกกว่า 1.1 ล้านคน The Covid-19 infected globally toll surpassed 40.6 million
    เวลา 7.10 น.รายงานสถานการณ์จำนวนผู้ติดโรคปอดอักเสบไวรัสโคโรนา 2019 ทั่วโลก เพิ่มเป็น 40,612,516 ราย ซึ่ง 10 อันดับแรกของโลก คือ สหรัฐอเมริกา 8,447,242 ราย อินเดีย 7,594,284 ราย บราซิล 5,251,127 ราย รัสเซีย 1,415,316 ราย สเปน 1,015,795 ราย อาเจนติน่า 989,680 ราย โคลอมเบีย 965,883 ราย ฝรั่งเศส 910,277 ราย เปรู 870,876 ราย เม็กซิโก 851,227 ราย
    สำหรับจำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกเพิ่มเป็น 1,122,254 ราย ซึ่ง 10 อันดับแรก คือ สหรัฐอเมริกา 225,171 ราย บราซิล 154,226 ราย อินเดีย 115,235 ราย เม็กซิโก 86,167 ราย สหราชอาณาจักร 43,726 ราย อิตาลี 36,616 ราย สเปน 33,992 ราย เปรู 33,820 ราย ฝรั่งเศส 33,623 ราย และอิหร่าน 30,712 ราย
    ในส่วนจำนวนผู้ติดเชื้อในอาเซียน และเสียชีวิต(ตัวเลขในวงเล็บ) พบว่า อินโดนีเซีย 365,240 ราย(12,617) ฟิลิปปินส์ 359,169 ราย(6,675) สิงคโปร์ 57,915 ราย(28) เมียนมา 37,205 ราย(914) มาเลเซีย 21,363 ราย(190) ไทย 3,691 ราย(59) เวียดนาม 1,140 ราย(35) กัมพูชา 283 ราย บรูไน 147 ราย(3) และลาว 23 ราย
    #ไวรัสโคโรนา #ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่2019 #โควิด19 #covid19 #Misterban #btimes

    aaJXYA17Hk7Yba2AC78vFGtxIQex-knK7j9efNq-5QBw&_nc_ohc=xwpChfHSJOMAX-FrqMJ&_nc_ht=scontent.fbkk6-2.jpg

    c_oc=AQnNBMw2NBdGzT-Bc2AZ7zJ44bEL7kwklhtPoWP28ilFna9pNsuKhMY7b5EBLG-bQ28&_nc_ht=scontent.fbkk6-1.jpg

    eFNwrsX-Gaxj0WZTN8VJEzF4nT_BAVjQevVODwk25fsB&_nc_ohc=zu9bOLiErIkAX9VDRcq&_nc_ht=scontent.fbkk6-2.jpg
     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ไทยโกกรีน! กระทรวงทรัพย์ฯเตรียมผุด พรบ.โลกร้อน ภายใน 2 ปีนี้ เพื่อบังคับให้ภาคเอกชนต้องรายงานการปล่อยคาร์บอน เพื่อคำนวณ ควบคุม กักเก็บ และลดก๊าซเรือนกระจก ให้ผู้บริโภคเลือกอุดหนุนสินค้าคาร์บอนต่ำ ตั้งเป้าลด CO2 ประเทศ 20% ภายใน 10ปี

    วันที่ 19 ตุลาคม นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเผยว่า

    "อุณหภูมิเฉลี่ยรายปีไทยเพิ่มขึ้น 1.5 องศา จากศตวรรษที่แล้ว กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เตรียมผลักดัน พ.ร.บ.โลกร้อน ภายใน 2 ปี ควบคุมภาคเอกชนส่งข้อมูลรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

    การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นวาระร่วมของประชาคมโลก และถือเป็นเรื่องที่พวกเราทุกคนต้องช่วยกันครับ ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันเข้าร่วมข้อตกลงปารีส เมื่อปี 2016 มีเป้าหมายสำคัญมุ่งเน้นที่การควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส จากระดับอุณหภูมิช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม โดยตั้งเป้าที่การลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ให้ได้ 11-20% ในภาคพลังงานและขนส่ง และจะขยับขึ้นเป็น 20% ทุกภาคส่วนในปี 2030 ซึ่งเราสามารถผลักดันอัตราการลดปริมาณ Co2 ได้ถึง 25% หากมีการสนับสนุนทางเทคโนโลยีที่ดีพอ

    แต่ถึงแม้ส่วนราชการจะมีเป้าหมายที่ชัดเจน แต่ในด้านการดำเนินงานยังมีข้อติดขัดหลายอย่าง เช่น ไม่มีกลไกการตรวจวัดและจัดเก็บข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ครบถ้วน ทำให้ปัจจุบัน ข้อมูลนั้นกระจัดกระจายอยู่ตามหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง และยังมีข้อมูลบางส่วนที่ไม่เคยถูกสำรวจและจัดเก็บเลย ดังนั้นร่างพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่กำลังจัดทำโดย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) จึงจะมาช่วยเป็นกลไกให้อำนาจหน่วยงานรัฐ เก็บข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคเอกชนครับ

    จุดประสงค์ของพ.ร.บ.ฉบับนี้คือการร่วมมือกับเอกชน ผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะรายเล็ก หรือใหญ่ จะมีหน้าที่เก็บข้อมูลกิจกรรมการปล่อย การกักเก็บ และการลดก๊าซเรือนกระจกต่างๆ ในกิจการของตน เช่น วางมิเตอร์การใช้พลังงานไฟฟ้าในโรงงาน และจัดทำรายงานให้หน่วยงานรัฐในกำกับ เพื่อที่หน่วยงานนั้นจะส่งต่อข้อมูลให้ สผ.คำนวณออกมาเป็นข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคส่วนต่างๆ โดยร่างพ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แบ่งเป็น 8 หมวด 56 มาตรา เมื่อพ.ร.บ.ออกบังคับใช้แล้ว จะมีการออกแผนแม่บทกับแผนปฏิบัติต่างๆ ตามมา คาดว่าจะดำเนินการเสนอร่างพ.ร.บ.ให้คณะรัฐมนตรีได้ภายในปลายปีนี้ครับ

    การออกพ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศฉบับนี้ จะช่วยขับเคลื่อนการดำเนินงานของประเทศไทย ทั้งในด้านการดูแลฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เพราะว่าการค้าขายกับต่างประเทศจะถูกบังคับด้วยกรอบด้านสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น

    ต่อไปผู้บริโภคเอง ก็จะสามารถตัดสินใจเลือกอุดหนุนผลิตภัณฑ์ที่มีการปล่อยคาร์บอนต่ำได้ และสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จะกลายมาเป็นเทรนด์การตลาดที่ผู้ประกอบการจะต้องแข่งขันกันทำขั้นตอนการผลิตของตัวเองให้เป็นมิตรกับชั้นบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมมากที่สุด เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่มีความตื่นตัวด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากขึ้นทุกวัน จากนี้ไปการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย จะต้องเดินหน้าไปพร้อมกับการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม จะแยกจากกันไม่ได้เด็ดขาดครับ"

    ที่มา
    https://www.facebook.com/TOPVarawut/


    ร่มธรรม ขำนุรักษ์
     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    DFP7dPoDL0Lh05F9ZPxirwHtlqsgKjjmIjZXq951zRZ8&_nc_ohc=J8BiLfXWeJgAX84UcnK&_nc_ht=scontent.fbkk6-2.jpg

     

แชร์หน้านี้

Loading...