สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,069
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,153
    ค่าพลัง:
    +70,586
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,069
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,153
    ค่าพลัง:
    +70,586
    YggIzvwk26ZpkaLrf74HHGI6Z9Op-la8JtRi6NLQONK1&_nc_ohc=Y4R8jEEoiNoAX8Fzhxq&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,069
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,153
    ค่าพลัง:
    +70,586
    ?temp_hash=68983eeee2b13bbca99b655cf4cad165.jpg


    10 ตุลาคม ครบรอบ 136 ปี การถือกำเนิดด้วยกายมนุษย์ในนามสด มีแก้วน้อย ของหลวงพ่อวัดปากน้ำ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,069
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,153
    ค่าพลัง:
    +70,586
    ความหมายของนิมิต

    คำว่า "นิมิต" แปลว่า เครื่องหมาย, ลาง, เหตุ, เค้ามูล โดยความหมายหลายอย่างต่างๆ กันนี้เอง ที่มีผู้ใช้คำว่า "นิมิต" ในหลายสถาน เช่นว่า

    • ความฝัน ที่เวลาบุคคลนอนหลับแล้วฝันไป ก็เรียกว่า สุบินนิมิต
    • การแสดงนัยให้ทราบ อย่างเช่นพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงนัยให้พระอานนท์ทราบถึงวาระที่พระพุทธองค์จะทรงปลงสังขารแล้ว อย่างนี้ก็เรียกว่า พระองค์ได้ทรงแสดง "นิมิต"
    ส่วนคำว่า "นิมิต" ที่ใช้เรียกกันในหมู่ผู้ปฏิบัติภาวนานั้น มุ่งหมายถึง "เครื่องหมายที่กำหนดขึ้นที่ใจ" เช่น บริกรรมนิมิต อุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิต

    1. เครื่องหมายใดๆ ที่กำหนดขึ้นในใจ คือนึกให้เห็นเครื่องหมายนั้นด้วยใจ ก็เรียกว่า บริกรรมนิมิต
    2. ถ้านึกเห็นนิมิตด้วยใจได้ชัดเจนเพียงชั่วขณะ ก็เรียกว่าได้ อุคคหนิมิต
    3. และถ้าเห็นเครื่องหมายนั้นได้ชัดเจน นาน ติดตา จะนึกขยายให้โตใหญ่ หรือย่อให้เล็กลงด้วยใจ ก็ทำได้ อย่างนี้เรียกว่า ปฏิภาคนิมิต
    ใช้นิมิตเป็นอุปกรณ์ฝึกใจให้สงบ เป็นสมาธิ การกำหนดเครื่องหมายขึ้นในใจ หรือที่ปรากฏเห็นขึ้นในใจ ที่เรียกว่า บริกรรมนิมิต นั้น เป็นอุบายวิธีที่จะรวมใจ อันได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ หรือความเห็นด้วยใจ ความจำ ความคิด และความรู้ ให้มารวมอยู่ในอารมณ์เดียว แนบแน่นเป็นสมาธิดี เมื่อใจหยุดนิ่งถูกส่วนเข้า ก็จะเห็น อุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิตได้ ตามลำดับของใจที่หยุดนิ่ง เป็นสมาธิแนบแน่นมั่นคง

    อนึ่ง อุบายวิธีอีกอย่างหนึ่งที่มักใช้ควบคู่กับ "บริกรรมนิมิต" ก็คือให้กำหนด "บริกรรมภาวนา" คือให้นึกท่องในใจว่า "สัมมาอะระหังๆๆ" หรือ "พุทโธๆๆ" ไปด้วย เพื่อให้ใจช่วยประคองนิมิตนั้นไว้ เป็นอุบายวิธีรวมใจที่มีสภาพเบา กวัดแกว่งง่าย ฟุ้งซ่านได้ง่าย ให้หยุด ให้นิ่งสงบ เป็นสมาธิแนบแน่นมั่นคงอยู่ในอารมณ์เดียวนั้น

    เมื่อใจถูกประคองให้มารวมอยู่เสียกับบริกรรมนิมิตและบริกรรมภาวนาคู่กัน หนักเข้าๆ ก็จะค่อยๆ เชื่อง และสงบรวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน เป็น เอกัคคตารมณ์ คือมีอารมณ์เดียวเป็นหนึ่งนิ่งอยู่

    เมื่อ "ใจ" อันประกอบด้วย ความเห็นนิมิต, ความจำนิมิต, ความคิด และความรู้ในนิมิต มารวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน ก็จะเห็นนิมิตนั่นชัดขึ้น เป็น อุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิตได้ ตามระดับของใจที่รวมหยุดเป็นสมาธิได้แนบแน่นมั่นคง

    • ในขณะที่ผู้ปฏิบัติภาวนาเพิ่งกำหนดบริกรรมนิมิตนั้น ใจเพิ่งจะเริ่มเป็นสมาธิ คืออยู่ในอารมณ์เดียว สมาธิในระดับนี้เรียกว่า ขณิกสมาธิ
    • แต่พอเห็นนิมิตได้ชัดเจนขึ้นชั่วขณะ ที่เรียกว่า อุคคหนิมิต นั้น ใจที่สงบนิ่งเป็นสมาธิระดับนี้ เป็นสมาธิในระดับ อุปจารสมาธิ
    • และเมื่อเห็นนิมิตได้ชัดเจน นาน ติดตา และสามารถจะนึกขยายให้ใหญ่หรือย่อให้เล็กลงได้ เรียกว่า ปฏิภาคนิมิต ใจที่สงบหยุดนิ่งสนิทระดับนี้ เป็นสมาธิในขั้น อัปปนาสมาธิ อันเป็นเบื้องต้นของปฐมฌาน
    กล่าวคือเมื่อจิตประกอบด้วย วิตก วิจาร ตรึกตรองประคองนิมิตอยู่, และประกอบด้วย ปีติ ยินดีที่ได้พบเห็นสิ่งที่เย็นตาเย็นใจ ก่อให้เกิดความ สุข อย่างละเอียดๆ เช่นนั้น และอยู่ในอารมณ์เดียว สงบหยุดนิ่งสนิทได้แนบแน่นดี เป็น เอกัคคตา เช่นนี้ จัดเป็นสมาธิในขั้น ปฐมฌาน

    ใจที่เป็นสมาธิตั้งแต่ระดับปฐมฌานขึ้นไปนี้เอง ที่มีองค์แห่งฌาน คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และ เอกัคคตา คุณเครื่องปหานกิเลสนิวรณ์ทั้ง 5 คือ ถีนมิทธะ วิจิกิจฉา พยาบาท อุทธัจจกุกกุจจะ และ กามฉันทะ ให้จิตใจบริสุทธิ์ผ่องใสควรแก่งานวิปัสสนา เพื่อเจริญปัญญารู้แจ้งในสภาวธรรมตามที่เป็นจริง ให้สามารถเห็นอรรถเห็นธรรมได้ชัดแจ้ง

    เพราะฉะนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องใช้ "นิมิต" เป็นอุบายวิธีในการเจริญสมาธิภาวนาถึงระดับฌาน เพื่อถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิต เพื่อรวมใจให้หยุดให้นิ่ง เป็นสมาธิแนบแน่นมั่นคง ยกระดับจิตใจขึ้นสู่องค์แห่งฌาน คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา อันเป็นธรรมเครื่องปหานกิเลสนิวรณ์

    และเมื่อเจริญภาวนาจนเป็นสมาธิระดับฌานต่างๆ นั้น ก็จะต้องมีนิมิตหรือผ่านนิมิตทั้งสิ้น แม้แต่อรูปฌาน ที่ว่าไม่กำหนดรูปเป็นอารมณ์ อย่างเช่น กำหนดยึดหน่วงเอาอากาศไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์ เมื่อจิตละเอียดหนักเข้า ก็เห็นนิมิตคืออากาศนั้น หรือในกรณีที่กำหนดวิญญาณไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์ หรือกำหนดยึดหน่วงเอาความว่างเปล่า ไม่มีอะไรเป็นอารมณ์ ก็เห็นวิญญาณ หรือความว่างเปล่านั้นแหละ ที่เห็นนั่นแหละคือนิมิต,

    แม้เมื่อจิตเป็นอุเบกขา ที่เรียกว่า อุเบกขินทรีย์ ก็ยังต้องมีนิมิต ดังพระพุทธดำรัสว่า

    "ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว อุเบกขินทรีย์เกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า อุเบกขินทรีย์เกิดขึ้นแล้วแก่เรา และ
    อุเบกขินทรีย์นั้น มีนิมิต มีเหตุ มีเครื่องปรุงแต่ง มีปัจจัย แต่จะอนุมานเอาว่า อุเบกขินทรีย์นั้น ไม่ต้องมีนิมิต ไม่มีเหตุ ไม่มีเครื่องปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้นได้ดั่งนี้ มิใช่ฐานะจะมีได้..."1


    -------------------
    1) อ้างอิง
    อุปปฏิกสูตร อินทรีย์ ๕ มีนิมิตเหตุปัจจัยเครื่องปรุงแต่ง

    [๙๕๖]
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ
    ทุกขินทรีย์ ๑ โทมนัสสินทรีย์ ๑ สุขินทรีย์ ๑ โสมนัสสินทรีย์ ๑ อุเปกขินทรีย์ ๑.

    [๙๕๗]
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจ
    เด็ดเดี่ยว ทุกขินทรีย์เกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ทุกขินทรีย์นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา และทุกขินทรีย์นั้นมีนิมิต มีเหตุ มีเครื่องปรุงแต่ง มีปัจจัย แต่จะอนุมานเอาว่า
    ทุกขินทรีย์นั้นไม่ต้องมีนิมิต ไม่มีเหตุ ไม่มีเครื่องปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้นได้ ดังนี้
    มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เธอย่อมรู้ชัดทุกขินทรีย์ เหตุเกิดแห่งทุกขินทรีย์ ความดับแห่ง
    ทุกขินทรีย์ และข้อปฏิบัติเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ทุกขินทรีย์
    ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่ไหน ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
    ทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่นี้ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้รู้แล้ว
    ซึ่งความดับแห่งทุกขินทรีย์ และน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น.

    [๙๕๘]
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจ
    เด็ดเดี่ยว โทมนัสสินทรีย์เกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า โทมนัสสินทรีย์เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
    และโทมนัสสินทรีย์นั้นมีนิมิต มีเหตุ มีเครื่องปรุงแต่ง มีปัจจัย แต่จะอนุมานเอาว่า
    โทมนัสสินทรีย์นั้นไม่ต้องมีนิมิต ไม่มีเหตุ ไม่มีเครื่องปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้นได้
    ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เธอย่อมรู้ชัดโทมนัสสินทรีย์ เหตุเกิดแห่งโทมนัสสินทรีย์ ความดับแห่งโทมนัสสินทรีย์ และข้อปฏิบัติเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งโทมนัสสินทรีย์ ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็โทมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่ไหน ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าทุติยฌาน อันมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ โทมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่นี้ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า
    ได้รู้แล้วซึ่งความดับแห่งโทมนัสสินทรีย์และน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น.

    [๙๕๙]
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ประมาท มีความเพียร
    มีความเด็ดเดี่ยว{๑} สุขินทรีย์เกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า สุขินทรีย์นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
    และสุขินทรีย์นั้นมีนิมิต มีเหตุ มีเครื่องปรุงแต่ง มีปัจจัย แต่จะอนุมานเอาว่า
    สุขินทรีย์นั้นไม่ต้องมีนิมิต ไม่มีเหตุ ไม่มีเครื่องปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้นได้ดังนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เธอย่อมรู้ชัดสุขินทรีย์ เหตุเกิดแห่งสุขินทรีย์ ความดับแห่งสุขินทรีย์
    และข้อปฏิบัติที่ดับโดยไม่เหลือแห่งสุขินทรีย์เกิดขึ้นแล้ว ก็สุขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว
    ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่ไหน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติ
    มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป เข้าตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย
    สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีเบกขา {๒} มีสติอยู่เป็นสุข สุขินทรีย์เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไป
    ไม่เหลือในที่นี้ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้รู้แล้วซึ่งความดับแห่งสุขินทรีย์ และน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น.

    [๙๖๐]
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจ
    เด็ดเดี่ยว โสมนัสสินทรีย์เกิดขึ้น เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า โสมนัสสินทรีย์นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
    และโสมนัสสินทรีย์นั้นมีนิมิต มีเหตุ มีเครื่องปรุงแต่ง มีปัจจัย แต่จะอนุมานเอาว่า
    โสมนัสสินทรีย์นั้น ไม่ต้องมีนิมิต ไม่มีเหตุ ไม่มีเครื่องปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้นได้
    ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เธอย่อมรู้ชัดโสมนัสสินทรีย์ เหตุเกิดแห่งโสมนัสสินทรีย์ ความดับแห่งโสมนัสสินทรีย์ และข้อปฏิบัติเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งโสมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็โสมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่ไหน ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าจตุตถฌานไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข และละทุกข์ละสุข
    และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ โสมนัสินทรีย์
    ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่นี้ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้รู้แล้วซึ่งความดับแห่งโสมนัสสินทรีย์ และน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น.

    [๙๖๑]
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจ
    เด็ดเดี่ยว อุเปกขินทรีย์เกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า อุเปกขินทรีย์นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
    และอุเปกขินทรีย์นั้นมีนิมิต มีเหตุ มีเครื่องปรุงแต่ง มีปัจจัย แต่จะอนุมานเอาว่า อุเปกขินทรีย์นั้น ไม่ต้องมีนิมิต ไม่มีเหตุ ไม่มีเครื่องปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้นได้
    ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เธอย่อมรู้ชัดอุเปกขินทรีย์เหตุเกิดแห่งอุเปกขินทรีย์
    ความดับแห่งอุเปกขินทรีย์ และข้อปฏิบัติเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งอุเปกขินทรีย์
    ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็อุเปกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่ไหน ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวงแล้ว
    เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ อุเปกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่เหลือในที่นี้ ภิกษุนี้
    เรากล่าวว่า ได้รู้แล้วซึ่งความดับแห่งอุเปกขินทรีย์ และน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น.
    จบ สูตรที่ ๑๐


     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,069
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,153
    ค่าพลัง:
    +70,586


    เจริญวิปัสสนา ก็ต้องมีนิมิต

    ในการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานก็ต้องมีนิมิตแห่งวิปัสสนาจิต กล่าวคือถือเอาสังขารนิมิตขึ้นพิจารณาสภาวธรรมอีกเช่นกัน เช่น การพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย ก็ต้องอาศัยนิมิต นึกเห็นนิมิต จึงจะพิจารณาสภาวธรรมได้ จึงจะเห็นสภาวธรรมตามที่เป็นจริงได้

    อย่างเช่น การเจริญอสุภกัมมัฏฐานอันนับเนื่องอยู่ในกายานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้น มิใช่ว่าจะต้องไปพิจารณาดูแต่ที่ซากศพ หรือจะต้องนำศพไปพิจารณาด้วย หรือจะต้องสาวไส้สาวพุงของใครต่อใครมาดู จึงจะเรียกว่า อสุภกัมมัฏฐาน ก็หาไม่ ในทางปฏิบัตินั้น เมื่อได้เคยเห็นซากศพหรืออวัยวะน้อยใหญ่ทั้งหลายในหลายๆ ลักษณะ ก็จำภาพนั้นหรืออารมณ์นั้น แล้วน้อมเอาอารมณ์นั้นหรือภาพนั้นมาพิจารณาด้วยใจ การพิจารณาก็จะต้องนึกเห็นทั้งลักษณะและสภาพที่เป็นจริง ว่าเป็นแต่สิ่งปฏิกูล โสโครก น่าเกลียด และเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา เหล่านี้เป็นต้น จึงจะเรียกว่ารู้แจ้งเห็นจริงในสภาวะของธรรมชาติตามที่เป็นจริง ถ้านึกไม่เห็นแล้วทำไมจึงจะอ้างได้ว่า เห็นแจ้งตามสภาวะจริงของธรรมชาติที่เป็นจริงได้เล่า การเห็นของจริงด้วยตาเนื้อนั้นเป็นแต่เพียงเริ่มต้นของเรื่องที่จะนำมาพิจารณาเท่านั้น แต่การเจริญสมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐานนั้นเป็นกิจทางใจ แม้จะเห็นธรรม ณ เบื้องหน้าซากศพ ก็เป็นการเห็นด้วย "ใจ" หาใช่เห็นธรรมด้วยตาเนื้อไม่ และการเห็นสิ่งที่น้อมนำมาพิจารณาสภาวะธรรมด้วยใจนั้น ก็คือนิมิต อันประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งที่ชื่อว่า "สังขารนิมิต" นั่นเอง

    เรียกว่า หนีนิมิตไม่พ้น ในทางปฏิบัติแล้วจะต้องผ่านนิมิตเสมอไป ถ้าไม่ผ่านก็ไม่ได้เห็น ถ้าไม่ได้เห็น ก็จะอ้างว่าเห็นแจ้งในสภาวะจริงของธรรมชาติที่เป็นจริงไม่ได้ ก็มีแต่ท่องจำเอาจากตำราเท่านั้น พระพุทธองค์ก็มิได้ทรงปฏิเสธนิมิตในการเจริญภาวนาธรรม และยังประทานพระบรมพุทโธวาท มีความว่า

    "ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นอาหารให้สมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้น เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์, ภิกษุทั้งหลาย สมาธินิมิต อัพยัคคนิมิต (คือนิมิตแห่งจิตอันมีอารมณ์ไม่ฟุ้งซ่าน) มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในนิมิตนั้น นี้เป็นอาหารให้สมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้น เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์"2

    นอกจากนี้พระพุทธองค์ยังได้ทรงแสดงการถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตและวิปัสสนาจิต ในการปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานเพื่อทำนิพพานให้แจ้ง มีความว่า

    "ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ที่พอใจในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ, ยินดีในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ, ตามประกอบความพอใจในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ, เป็นผู้พอใจในหมู่, ยินดีในหมู่, ตามประกอบความพอใจในหมู่, อยู่แล้วหนอ; เธอนั้น จักมาเป็นผู้โดดเดี่ยว ยินดียิ่งในความสงัดเงียบนั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้.

    เมื่อไม่เป็นผู้โดดเดี่ยว ยินดียิ่งในความสงัดเงียบแล้ว จักถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิต วิปัสสนาจิตได้นั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้.

    เมื่อไม่ได้ถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิตแล้ว จักยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์นั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้.

    เมื่อไม่ทำสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์แล้ว จักยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์นั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้.

    เมื่อไม่ทำสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์แล้ว จักละสัญโยชน์ทั้งหลายนั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้.

    เมื่อไม่ละสัญโยชน์ทั้งหลายแล้ว จักทำนิพพานให้แจ้งนั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้เลย.

    ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ที่ไม่พอใจในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ, ไม่ยินดีในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ, ไม่ตามประกอบความพอใจในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ, ไม่เป็นผู้พอใจในหมู่, ไม่ยินดีในหมู่, ไม่ตามประกอบความพอใจในหมู่, อยู่แล้วหนอ; เธอนั้น จักมาเป็นผู้โดดเดี่ยว ยินดียิ่งในความสงัดเงียบนั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.

    เมื่อเป็นผู้โดดเดี่ยวยินดียิ่งในความสงัดเงียบแล้ว จักถือเอานิมิตของสมาธิจิตและวิปัสสนาจิตได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.

    เมื่อถือเอานิมิตของสมาธิจิตและวิปัสสนาจิตได้แล้ว จักยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.

    เมื่อทำสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้แล้ว จักยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.

    เมื่อทำสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์ได้แล้ว จักละสัญโยชน์ทั้งหลายได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.

    เมื่อละสัญโยชน์ทั้งหลายได้แล้ว จักทำนิพพานให้แจ้งได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้แล."3

    จึงว่าการเจริญภาวนาจะต้องผ่านนิมิต อาศัยนิมิตแน่นอน

    ข้อสังเกตในเรื่องนิมิต

    ประการที่ 1 ที่ว่า การเห็น นั้นมีอยู่ 2 อย่าง คือ


      • การเห็นรูปด้วยตาเนื้อ สำหรับคนทั่วไป และเห็นด้วยตาใน (ตาทิพย์) สำหรับท่านที่เจริญวิชชาหรือมีทิพพจักขุ นี้อย่างหนึ่ง กับ
      • การเห็นนิมิต คือเครื่องหมายที่กำหนดขึ้นให้เห็นในใจ เพื่อเจริญสมาธิ นั้นอีกอย่างหนึ่ง
    และสำหรับสิ่งที่เห็นด้วยใจนั้น จึงมีทั้ง นิมิตแห่งสมาธิจิตและวิปัสสนาจิต ที่นึกหรือคิดให้เห็นในใจเพื่อเจริญสมาธิ ได้แก่ บริกรรมนิมิต อุคคหนิมิต ปฏิภาคนิมิต เป็นต้น นี้อย่างหนึ่ง หรือน้อมสังขารนิมิตเข้ามาพิจารณาสภาวธรรมเพื่อให้เกิดปัญญารู้แจ้ง ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการเห็น รูป หรือ ธาตุธรรมละเอียด ที่มีอยู่จริงตามธรรมชาติ ด้วยสามารถแห่งทิพยจักขุ เสมือนหนึ่งตาเนื้อเห็นรูป ฉะนั้น นี้อย่างหนึ่ง อย่าปนกัน

    ประการที่ 2 การเห็นนิมิต มิได้หมายความว่า ติดนิมิต หากแต่เป็นเพียงอาศัยการกำหนด บริกรรมนิมิต ขึ้นเพื่อเจริญสมาธิ พัฒนาการเห็นนิมิตนั้นขึ้นไปเป็น อุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิต ตามระดับสมาธิที่สูงขึ้น และเป็นความจำเป็นที่จะต้องน้อมนำเอาสังขารนิมิตขึ้นพิจารณาให้เกิดปัญญารู้แจ้งในสภาวะของธรรมชาติตามที่เป็นจริง ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ด้วยเหตุนี้ ในสติปัฏฐานสูตรจึงแสดงวิธีการปฏิบัติพระกัมมัฏฐาน กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน, เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน, จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน, และธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ว่าคือการมีสติสัมปชัญญะ พิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และเห็นธรรมในธรรม

    สำหรับท่านผู้เจริญภาวนาได้ถูกวิธี สามารถเจริญวิชชา และมีอภิญญา เป็นต้นว่า เกิดอายตนะทิพย์ ให้สามารถรู้เห็นสิ่งที่ละเอียดประณีต หรืออยู่ห่างไกล ลี้ลับได้ กว่าอายตนะของกายเนื้ออย่างเข่น ตา หู ของกายเนื้อ จึงสามารถเห็นสัตว์ในภูมิต่างๆ ที่ละเอียด อย่างเช่น นรก สวรรค์ และแม้แต่เห็นอายตนะนิพพานนั้น ก็เป็นเรื่องความสามารถพิเศษของท่าน และก็เป็นการเห็นธรรมชาติที่มีอยู่แล้ว เหมือนกับตาเนื้อเห็นรูปทั้งหลายนั่นเอง เหมือนกับเราผ่านไปทางไหนก็ได้พบได้เห็นบ้านเมือง ผู้คน หรือสัตว์ทั้งหลายตามปกติธรรมดา

    แม้จะเจตนาที่พิจารณาดูความเป็นไปของอายตนะทั้งหลายเหล่านั้น ก็เพื่อเป็นการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ เพื่อให้เกิดปัญญาจากการที่ได้ทั้งรู้และทั้งเห็น เป็นการพิสูจน์ตามหลักวิทยาศาสตร์จากการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล ให้รู้แจ้งเห็นจริงว่า นรก สวรรค์ นิพพานนั้น มีจริงหรือเปล่า ถ้ามี มีอย่างไร มีความเป็นไปในนรก สวรรค์ ตลอดทั้งอายตนะนิพพานอย่างไร ด้วยผลบุญและผลบาปอะไร จึงต้องไปเสวยวิบากอยู่ในนรกหรือสวรรค์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรู้จักความเป็นไปในนิพพานนั้น เป็นยอดของความรู้ เป็นยอดของปัญญาทีเดียว และประการสำคัญที่สุด ผู้ที่สามารถเจริญภาวนาได้ถึงธรรมกายอันเป็นธรรมขันธ์ที่พ้นโลกแล้ว สามารถให้เข้าถึงอายตนะนิพพานได้นั้น ทำให้เกิดปัญญาจากการที่ได้ทั้งรู้และทั้งเห็นโดยชัดแจ้ง ตามที่พระพุทธองค์ได้ทรงประทานพระบรมพุทโธวาท ว่า

    "ภิกษุทั้งหลาย ! อายตนะนั้น [คือพระนิพพาน] มีอยู่...." และว่า
    "ภิกษุทั้งหลาย ! ก็เพราะธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว [คือพระนิพพาน] นั้น มีอยู่...." 4

    จึงทำให้สามารถเห็นอรรถ เห็นธรรม ตามที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ดีแล้วนี้โดยชัดแจ้ง

    ประการที่ 3 การเจริญสมาธิภาวนาแต่เพียงขั้นต่ำ หรือการปฏิเสธสมถกัมมัฏฐาน แล้วมุ่งเน้นแต่การพิจารณาสภาวธรรมเพื่อให้เกิดปัญญานั้น เสี่ยงต่อการเกิดวิปัสสนูปกิเลสอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีที่ผู้ปฏิบัติภาวนามีสติปรากฏยิ่งจนเกินไป กล่าวคือมีสติพิจารณาสภาวธรรมแก่กล้าเกินไป แต่ปัญญาอันเห็นแจ้งที่แท้จริงยังเกิดขึ้นไม่ทัน คงมีอยู่แต่ปัญญาจากการจำได้หมายรู้จากตำราเสียโดยมาก และไม่รู้อุบายวิธีออกจากสังขารนิมิตที่ถูกต้องนั้น จิตจะปล่อยวางอารมณ์วิปัสสนาที่เคยยกขึ้นพิจารณาอยู่เสมอนั้นไม่ได้ แม้แต่จะได้รับคำแนะนำให้ปล่อยหรือให้ปฏิเสธนิมิตนั้น ก็ปฏิเสธไม่ออก เป็นเหตุให้เกิดนิมิตลวงขึ้นในใจโดยที่เจ้าตัวมิได้ตั้งใจจะรู้จะเห็น เรียกว่าเกิดวิปัสสนูปกิเลสข้ออุปัฏฐาน อันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพจิตได้

    การเจริญภาวนาตามแนววิชชาธรรมกาย เป็นกัมมัฏฐานที่มีทั้งสมถะและวิปัสสนาคู่กัน และมีมหาสติปัฏฐานสี่ อยู่ครบถ้วนในตัวเสร็จ คือมีการพิจารณาเห็นเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และเห็นธรรมในธรรม อยู่ในทุกขั้นตอน มีอุบายวิธีที่ทำให้สมาธิเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว และให้สามารถเจริญปัญญารู้แจ้งในสัจธรรมจากการที่ได้ทั้งรู้ทั้งเห็น เมื่อยกสังขารนิมิตใดขึ้นพิจารณาสภาวธรรมให้เกิดปัญญาแล้ว ก็มีอุบายวิธีออกจากสังขารนิมิต โดยให้พิสดารกายไปสู่สุดละเอียด ให้ใจของทุกกายรวมหยุดอยู่ ณ ศูนย์กลางธรรมกายที่สุดละเอียดอยู่เสมอ จิตใจก็ละวางนิมิตที่ยกขึ้นพิจารณานั้นไปได้เองโดยอัตโนมัติ วิปัสสนูปกิเลสดังกล่าวจึงไม่เกิดขึ้นสำหรับผู้เจริญภาวนาตามแนวนี้แต่ประการใด และยิ่งสำหรับผู้เจริญภาวนาได้ถึงธรรมกายแล้ว ยิ่งเกิดอภิญญาและวิชชา ให้สามารถเห็นอรรถเห็นธรรม ทั้งที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ที่เรียกว่า สังขตธาตุ สังขตธรรม กับทั้งที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ที่เรียกว่า อสังขตธาตุ อสังขตธรรม ได้โดยชัดแจ้ง ปราศจากความเคลือบแคลงสงสัย จึงควรที่ท่านสาธุชนจะเจริญให้มาก แม้ในระยะแรกๆ บางรายอาจยังมิได้เห็นอะไร ก็อย่าพึ่งท้อแท้ใจว่าปฏิบัติไม่ได้ผล ความจริงถ้าสังเกตดูในเหตุและผลแล้ว ก็จะพบว่า ท่านได้รับผลดีจากการปฏิบัติอย่างแน่นอน ขอแต่ให้ปฏิบัติให้ได้ตรงตามวิธีที่แนะนำไป ด้วยใจรักในธรรมปฏิบัตินี้, ด้วยความเพียรพยายาม ไม่ย่อท้อ ด้วยใจจดจ่ออยู่เนืองนิจ และด้วยความพินิจพิจารณาในเหตุสังเกตในผล ให้ถูกต้องตามที่วิปัสสนาจารย์ให้คำแนะนำไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ให้พึงระวังอุปกิเลสของสมาธิให้ดี เช่นว่า ระวังอย่าให้


      • เพียรหย่อนเกินไปจนจิตใจง่วงเหงา ซึมเซา ไม่กระปรี้กระเปร่า เพียรจัดเกินไป จนกายและใจไม่สงบ
      • อยากเห็นนิมิตจนเกินไป ทำให้จิตใจฟุ้งซ่าน หรือพลอยหงุดหงิดเมื่อรู้สึกว่าปฏิบัติไม่ได้ผล
      • สะดุ้งตกใจกลัว หรือตื่นเต้นจนเกินไปเมื่อเห็นนิมิต ทำให้จิตใจฟุ้งซ่านหรือเคลื่อนจากสมาธิ
      • และพึงระวังรักษาศีลให้บริสุทธิ์ สำหรับผู้เป็นฆราวาส อย่างน้อยก็ศีล 5 ขึ้นไป
      • พึงหลีกเลี่ยงจากกามฉันทะ อย่าไปตรึกนึกถึงมันให้มากนัก เพราะเป็นอุปกิเลสของสมาธิตัวสำคัญเสียด้วย
      • สิ่งเสพติดมึนเมาให้โทษอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาททั้งหลาย ตลอดทั้งดูการละเล่น หรือประโคมดนตรี เหล่านี้ก็ล้วนแต่เป็นเครื่องกีดกั้นหนทางเจริญสมาธิและปัญญาทั้งสิ้น
    ถ้าประสงค์จะได้สิ่งที่ดี มีคุณค่าต่อชีวิตอย่างสูง ก็ต้องพยายามละสิ่งที่ชั่ว หรือที่เป็นข้าศึกแก่ความดีเหล่านั้นเสีย

    พึงเข้าใจว่า ธรรมอันประเสริฐนั้น ไม่ใช่จะเป็นสิ่งที่บุคคลจะพึงบรรลุได้โดยง่าย แต่ก็มิใช่จะเหลือวิสัยของบุคคลที่จะปฏิบัติให้เข้าถึงหรือบรรลุได้ ขอแต่ให้ปฏิบัติถูกวิธีด้วยอิทธิบาทธรรมดังที่กล่าวมาแล้ว ย่อมได้ผลแน่นอน

    พระพุทธองค์ก็ได้ทรงประทานบรมพุทโธวาทไว้ มีความว่า เมื่อได้ศึกษาและปฏิบัติอธิศีล อธิจิต อธิปัญญาแล้ว ก็แล้วกัน เราไม่มีอำนาจที่จะไปบันดาลให้บรรลุธรรมหรือมรรคผลเมื่อนั้นเมื่อนี้ได้ อุปมาดั่งชาวนาซึ่งไถคราด เตรียมดิน หว่านพันธุ์ข้าว และปักดำ ไขน้ำเข้านา ดูแลใส่ปุ๋ย ดีที่สุดแล้ว ก็ต้องรอให้ข้าวออกรวงเอง การปฏิบัติธรรมก็เช่นเดียวกัน ทำไปก็แล้วกัน พยายามให้ดีที่สุดแล้ว ถึงเวลาก็ได้บรรลุผลเอง

    และพึงสังเกตว่า ในระหว่างเวลาปฏิบัติที่ยังไม่ได้บรรลุธรรมหรือมรรคผลนั้น ก็ได้ผลดีไปเรื่อยๆ อยู่แล้ว แต่ขอให้หมั่นดูที่เหตุ สังเกตดูที่ผลให้ถ้วนถี่ก็แล้วกัน การปฏิบัติธรรมตามแนวนี้ให้ผลดีทั้งในทางโลกและในทางธรรมจริงๆ




     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,069
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,153
    ค่าพลัง:
    +70,586
    คนนั่งธรรมกายเหมือนยังติดอยู่ในรูป ไม่สามารถจะหลุดพ้นได้ จริงหรือไม่ ?
    มีคนบอกว่า คนนั่งธรรมกายเหมือนยังติดอยู่ในรูป ไม่สามารถจะหลุดพ้นได้ นั่นจริงหรือไม่ ? อย่างไรครับ

    ตอบ:

    ก็บอกแล้วว่า เขาไม่รู้ว่าติดรูปคืออะไร เพราะเขาไปเข้าใจเรื่องธรรมกายเป็นนิมิต

    และกระผมจะบอกให้ชัดเจนกันตรงนี้ พระคุณเจ้าโปรดทราบ โจมตีกันมานานแล้วว่า ธรรมกายวัดปากน้ำติดนิมิต ติดรูป กระผมอยากจะเรียนถามว่า มีอยู่ตรงไหนที่พระพุทธเจ้า ไม่ให้ใช้นิมิต มีไหม ! ใครเอามาแสดงให้ดูหน่อยได้ไหมครับ ผมจะประกาศให้ก้องทั่วโลก พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ไม่มีใครเอาบทนี้มาดูเลย นี่ หลักทำนิพพานให้แจ้ง

    “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อไม่เป็นผู้โดดเดี่ยว ยินดียิ่งในความเงียบสงัด จักถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิตให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้

    เมื่อไม่ถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิตให้บริบูรณ์ได้แล้ว จักยังสัมมาทิฏฐิแห่ง วิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้

    เมื่อไม่ยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้แล้ว จักยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้

    เมื่อไม่ยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลบริบูรณ์ได้แล้ว จักละสังโยชน์ทั้งหลายได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้

    เมื่อไม่ละสังโยชน์ทั้งหลายได้แล้ว จักทำนิพพานให้แจ้งได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มี ได้เลย”

    “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่คลุกคลีกันเป็นหมู่ ๆ ไม่ตามประกอบความยินดี ความพอใจในหมู่อยู่แล้วหนอ เป็นผู้โดดเดี่ยวยินดียิ่งในความเงียบสงัดแล้ว จักถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิตได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้

    เมื่อถือเอานิมิตแห่งสมาจิตวิปัสสนาจิตได้แล้ว จักยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้”

    คิดดูเถอะ..พระพุทธเจ้าน่ะตรัสให้ทำนิมิต มันเรื่องอะไรเราจะไปปฏิเสธนิมิต มันเป็นฐานสำคัญ นิมิตเป็นอุบายรวมใจให้มาหยุด เพราะใจมันมีตัวตนที่ไหน จะให้ใจหยุด ถึงได้สอนกัน บางท่านก็บอกว่า สมาธิแบบธรรมชาตินั่นถูกต้องแล้ว เท่านี้ก็พอแล้ว ความจริงพอหรือไม่พอ ให้ดูอริยมรรคมีองค์ 8 : สัมมาสมาธิ คือ การเจริญฌานทั้ง 4 ตั้งแต่ปฐมฌานน่ะ มันต้องยกอารมณ์ขึ้นสู่วิตก วิจาร ตรึกตรองประคองนิมิต นั่นแปลว่า มันเริ่มมาตั้งแต่บริกรรมนิมิต อุคคหนิมิตถึงปฏิภาคนิมิตจึงจะได้อัปปนาสมาธิ จึงจะยกอารมณ์ขึ้นสู่วิตก วิจาร แล้วจึงจะกำจัดถีนมิทธะ และวิจิกิจฉาได้ ประกอบด้วยปีติกำจัดพยาบาท สุขกำจัดอุทธัจจกุกกุจจะ และเอกัคคตากำจัดกามฉันทะ นั่นแหละนิวรณ์ 5 ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติแท้ๆ มีสติพิจารณาในนิวรณ์ 5 อยู่ที่ไหน ? ก็อยู่ที่มีสติพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือนิวรณ์ 5 นั่นแหละ ไม่ได้มีอยู่ที่ไหน เพราะฉะนั้น ใครตั้งนิมิตขึ้นถูกต้องร่องรอยพระพุทธศาสนาเลย มันผิดที่ไหนกันครับ

    เกจิอาจารย์บางท่านบอกให้พิจารณานิมิตเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็คือพิจารณาให้เห็นนิมิตตามที่เป็นจริงว่านี่..สังขารนิมิต ไม่ว่าจะเอาอะไรมาพิจารณา จะเป็นเกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ก็ยกขึ้นมาพิจารณานี่ ก็ให้พิจารณานิมิตนั้นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพราะนิมิตนั้นเป็นของจริงโดยสมมติ เมื่อพิจารณาแล้วถูกต้องตรงถึงธรรมกาย จะไปปฏิเสธได้ยังไง นิมิตมันต้องเกิดด้วย และถ้านิมิตไม่เกิด หรือไม่ได้ใช้นิมิตแล้วจะยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้อย่างไร นี้มีอยู่ใน ฉักกนิบาต อังคุตรนิกาย ไปเปิดดูได้ทุกท่าน เป็นพระพุทธวจนะด้วย ไม่ใช่เป็นของพระอรหันต์ธรรมดาด้วยซ้ำไป

    เพราะฉะนั้น นิมิตนี่เป็นของต้องมี สมถภูมิ 40 น่ะบอกไว้ชัดเจนเลย กสิณ 10 นี่มันชัดอยู่แล้วก็มันนิมิตอยู่แล้วนี่ จริงๆ แล้ว แม้ อนุสสติ 10 อสุภะ 10 ก็ต้องเห็นนิมิต แต่นิมิตที่เห็นอย่าง อนุสสติ นี่ยังไม่แท้ แปลว่า พิจารณาจริงๆ จะเอาแน่ๆ เช่น เอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ ถ้าคนที่เห็นนิพพาน สัมผัสนิพพาน ซ้อนนิ่งอยู่กลางนิพพานทั้งรู้ทั้งเห็นและได้อารมณ์พระนิพพาน ส่งกระแสพระนิพพานมันผิดตรงไหน แต่นั่นนิพพานไม่เรียกว่านิมิต แต่ว่าสัมผัสได้ด้วยอายตนะที่ละเอียดเสมอกัน

    แต่เทวตานุสสตินี่มันชัดอยู่แล้วมันต้องเห็น แต่ไม่เห็นก็ได้ ก็นั่งท่องเอาว่าเทพยดามี เขาทำกุศลสำคัญ มีศีลกุศล ทานกุศล ภาวนา กุศล เป็นต้น เลยไปเกิดเป็นเทพยดา มีหิริโอตตัปปะ อย่างนี้ก็ได้...ก็ลองดูสิว่า ใจมันสงบได้เท่าไร กระผมว่าสงบได้นิดเดียว แต่ถ้าเป็นผู้สื่อกับเทวดาได้ โดยวิธีการที่ถูกต้องไม่ใช่โดยบังเอิญหรือถูกหลอก อันนั้นล่ะดีที่สุด เป็นนิมิตของจริงโดยสมมติ รู้เลยว่าเทวธรรมมีอะไร อย่างชัดเจนและถ้าคนถึงเทวกายได้เห็นเทพยดา ผมรับรองว่า สงบครับ..สงบแน่ ๆ เพราะขึ้นชื่อว่าสมถกัมมัฏฐาน ต้องสงบจากกิเสลนิวรณ์

    ดังนั้น นิมิตคือ สื่อที่ทำให้ใจรวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกสิณ 10 อาโลกกสิณเป็นกสิณครอบจักรวาล เป็นกสิณกลาง ไม่ว่าบุคคลจะมีอัธยาศัยอย่างไรก็ตาม ใช้กสิณนี้กสิณเดียวครอบได้หมด ใช้แก้ไขป้องกันได้เลย กสิณก็คือนิมิตนั่นแหละ

    และแม้แต่คนที่ทำวิปัสสนาไม่ว่าจะสายไหนก็เอานิมิตทั้งนั้น ท่านสูดลมหายใจเข้าออก ท่องพุทโธๆ ไป พอจิตละเอียดหนักท่านเห็นอะไรล่ะ ให้ไปถามผู้ที่ถึงจุดนี้ได้ทุกคน..ก็เห็นดวงใสครับ กระผมเชื่อแน่และรับรอง 100% ว่าหลวงพ่อมั่นนี่ท่านเห็นดวงใส แล้วท่านก็เอาเข้ากลางดวงนั้น กลางของกลางดวงนั้น แต่ท่านปฏิเสธการเอาดวงออกนอก ท่านบอกมันไม่ถูกต้อง แต่ดวงใสอยู่ในใจของท่าน อยู่ศูนย์กลางข้างในกายท่าน พิจารณาเช่นนี้ครับ ทิพพจักขุ ทิพพโสต เกิดตรงนั้น เห็นแจ้ง เห็นชัด ก็เห็นจากตรงนั้น ไปถามเอาเถอะครับ

    ยุบหนอพองหนอ นั่งภาวนาก็เห็นครับ ทำไมจะไม่เห็น เห็นตั้งแต่ต้นด้วยซ้ำไป ไปถามดูก็ได้ แต่ก็เห็นด้วยใจหรือจะพิจารณาอะไรก็ตาม ผู้หญิงหรือผู้ชายก็ตาม เรารู้จักหรือไม่ก็ตาม นึกออกไปเห็น เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่ไม่ใช่นั่งท่องเอานะครับ เห็นน่ะนิมิตทั้งนั้น แต่ต้องเห็นด้วยใจ ทีนี้..นิมิตมันไปหมดตรงไหน ? ไปดูเถอะครับ ตำราวิสุทธิมรรค ท่านแสดงไว้ว่าเมื่ออริยมรรคญาณจะเกิดขึ้นปหานสังโยชน์กำลังแห่งสมถะและวิปัสสนา มีกำลังเสมอกัน จิตยึดหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ ในขณะเดียวกันปหานสังโยชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกได้ ได้ชื่อว่าท่านออกจากภาคทั้ง 2 คือสังขารนิมิตและตัณหาปวัตติ อุภโตวุฏฐานะ ไปดูได้ในปัญญานิทเทส ปวัตติ คือเครื่องปรุงแต่ง ก็ตัณหานั่นแหละหรือสัญโญชน์ อุภโตวุฏฐานะ คือออกจากภาคทั้ง 2

    ทีนี้ ออกจากสังขารนิมิตนี่ครับ วิชชาอื่นกระผมอธิบายไม่ได้เพราะไม่รู้จัก แต่วิชชาธรรมกายน่ะให้พิสดารกายสุดกายหยาบกายละเอียด จนจิตละเอียดหนัก สมถพละคือกำลังสมาธิ และวิปัสสนาพละมีกำลังเสมอกัน แล้วจิตยึดหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ นี่พิสดารละเอียดไปจนจิตละเอียดหนัก จนวางอุปาทานในขันธ์ 5 ได้ชั่วคราว หรือ สำหรับพระอรหัตมรรคก็ต้องได้ถาวร หรือปล่อยความยินดีในฌานสมาบัติ ธรรมกายหยาบตกศูนย์ ธรรมกายละเอียดปรากฏเข้าไปในอายตนะนิพพาน หรือซ้อนเข้าไปในพระนิพพาน หรือปรากฏอยู่ในอายตนะนิพพาน ก็ได้อารมณ์พระนิพพาน นั่นจิตยึดหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ จึงออกจากภาคทั้ง 2 คือ จิตละเอียดหนัก พ้น..หลุดจากสังขารนิมิต คือ กาย เวทนา จิต ธรรม ในภพ 3 ตั้งแต่มนุษย์หยาบ มนุษย์ละเอียด ทิพย์หยาบ ทิพย์ละเอียด พรหมหยาบ พรหมละเอียด อรูปพรหมหยาบ อรูปพรหมละเอียด ไปจนสุดละเอียด จึงวางอุปาทานในขันธ์ 5 ได้เบื้องต้นในระดับโคตรภูญาณเป็นเพียงชั่วคราว แต่จะไปได้โดยเด็ดขาดตามระดับภูมิธรรม ที่ปฏิบัติได้ เมื่อมรรคจิตเกิดปหานสัญโญชน์ ได้ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ เช่น โสดาบันบุคคล ก็ปหานสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ แล้วเข้าผลสมาบัติไปเลย ธรรมกายรู้เลยครับ เพราะมันดับหยาบไปหาละเอียด ส่วนหยาบเมื่อมรรคจิตเกิดสมบูรณ์ปหานสังโยชน์ นั่นธรรมกายมรรค เมื่อธรรมกายมรรคเกิดขึ้นธรรมกายผลก็ตามมาเลยชั่วขณะจิตเข้าผลสมาบัติ เพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์ มันตรง..เข้าใจได้เลย ไม่ต้องไปคิดอะไรมาก แต่ว่า..วิธีอื่น สายอื่น กระผมไม่เข้าใจว่าละสังขารนิมิตได้โดยวิธีไหน..ผมไม่ทราบ..ไม่เข้าใจเพราะฉะนั้นเรื่องนิมิตได้ โปรดเข้าใจได้เลยว่า พระพุทธเจ้าไม่มีตรัสไว้ตรงไหนเลยว่า..เธอ อย่าใช้นิมิต ถ้าใครเอามา ให้ผมดูสักนิดเถอะครับ
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,069
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,153
    ค่าพลัง:
    +70,586
    จากอิสลาม เข้าถึงพุทธ ที่สุดละเอียด

    จากคำบอกเล่า ของ คุณจีรภา เศวตนันท์

    ( วิทยากร สถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย -ปัจจุบันคือ
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
    )




    เดิมทีข้าพเจ้าไม่ได้นับถือศาสนา พุทธมาก่อน ไม่เคยศรัทธา ไม่เคยคิดว่าพระพุทธเจ้ามีจริง โดยเฉพาะเรื่องการทำสมาธิ ก็คิดว่าเป็นเรื่องไร้สาระ เรียกว่า ถ้าเอ่ยกันถึงคำว่า “พุทธ” จะมีความรู้สึกว่าไม่ชอบเอาเสียจริงๆ



    ที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่าเคยได้ รับคำสั่งสอนจากผู้ใหญ่ว่า พระพุทธเจ้าไม่มีตัวตน มีแต่เพียงคำสอนซึ่งเป็นพระคัมภีร์ แต่ถ้าพระพุทธเจ้ามีจริงก็ตายไปนานแล้ว ใครจะรู้ได้ว่าหน้าตาเป็นอย่างไร ฉะนั้นการกราบไหว้บูชารูปปั้นนั้น มนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้นเอง แล้วก็โมเมเอาว่านี่แหละคือพระพุทธเจ้า บูชากันไปบูชากันมา ดีไม่ดีกลายเป็นพวกผีไม่มีญาติเข้าไปสิง จะกลับให้โทษเสียอีก หรือถ้าบูชาไม่ถูกต้อง ก็อาจจะทำให้คนในครอบครัวมีอันเป็นไป


    แล้วเรื่องการทำสมาธิอีกอย่าง อย่าให้นั่งเด็ดขาด จะทำให้เป็นบ้าไปเลยก็ได้ เพราะเมื่อนั่งๆ ไป จะต้องเห็นผีสางต่างๆ นานา ที่ผู้ใหญ่ท่านกล่าวเช่นนี้เพราะรู้ว่าเด็กๆ ทุกคนย่อมกลัวผีเป็นธรรมดา เรียกว่าอะไรก็ตามที่เกี่ยวกับศาสนาพุทธ เขาจะต้องต่อต้านทุกเรื่องไป


    ที่ว่าไม่ได้นับถือพุทธ คือบิดาเป็นคริสตัง มารดาเป็นมุสลิม แต่บิดาเสียไปในขณะที่มารดาตั้งท้องข้าพเจ้าได้ ๒-๓ เดือน ดังนั้นข้าพเจ้าจึงนับถืออิสลามตามแม่ ซึ่งแน่นอนที่สุด ในครอบครัวชาวมุสลิมเขาจะเคร่งครัดในศาสนามาก การวางตัวในสังคมก็มีขีดจำกัดไปเสียทุกอย่าง แต่แล้วข้าพเจ้าก็ได้สามีเป็นชาวพุทธ แถมยังชอบและสนใจในเรื่องปฏิบัติธรรมเสียอีก


    วันหนึ่งสามีของข้าพเจ้าได้ซื้อหนังสือที่กล่าวถึง “ธรรมกาย” ของหลวงพ่อสด ซึ่งมีวางขายตามร้านหนังสือทั่วไปมาอ่าน อ่านแล้วก็คุยกันตามประสาสามี-ภรรยา เรามีความเห็นว่า เท่าที่ได้อ่านและถามๆ คนอื่นดู ก็รู้สึกว่า ธรรมกายนั้นถ้าจะปฏิบัติไม่ใช่ของง่ายๆ เคยมีคนเขาบอกว่า ที่ศาลาการเปรียญวัดสระเกศ (วัดภูเขาทอง) เขามีสอนอยู่ จะชวนข้าพเจ้าไป ก็บอกแล้วว่าไม่ชอบวิชานี้ เราไม่ไป เขาก็ [จึง] ไม่ไป เป็นอันจบ


    หลังจากนั้นไม่นาน ข้าพเจ้าได้ฝันว่า หลวงปู่ทวดท่านมาชวนว่า ให้จับมือท่านไว้ จะพาไปพบ“หลวงพ่อสด” ที่พระนิพพาน ในฝันว่าลอยไปอย่างสบายเลย คำแรกที่หลวงพ่อสดท่านพูดกับข้าพเจ้าก็คือ “เราชื่อสด จะมาฝึกธรรมกายไหม ?” ใน ฝันก็ตอบท่านไปว่า “ไม่ฝึก” เพราะเคยอ่านหนังสือเลยรู้สึกยาก ท่านก็ไม่พูดอะไร ทำหน้าเฉยๆ เมื่อตื่นขึ้นก็เล่าให้สามีฟัง เขารีบบอกทันทีว่าเป็นนิมิตที่ดี ในที่สุดก็ขัดคำชวนที่จะไปวัดสระเกศไม่ได้ เรื่องวัดเรื่องวาก็ไม่เคยจะรู้ธรรมเนียมเท่าไรนัก รับศีลก็ไม่เป็น ต้องเอาหนังสือของวัดมาดูเวลาที่เขารับศีล วุ่นวายอยู่เป็นเดือน แม้แต่ปัจจุบัน การสวดมนต์ทำวัตรก็ยังไม่ค่อยเป็นเท่าไรนัก อาศัยฟังบ่อยๆ ก็ชักชินหู


    การฝึกปฏิบัติธรรมในวันแรก ก็แยกกลุ่ม วิทยากรเขาแนะนำให้กำหนดดวงแก้วกลมใส ประมาณเท่าฟองไข่แดงของไก่ เริ่มจากช่องจมูกซ้าย ว่า “สัมมาอะระหังๆๆ” แล้วเลื่อนดวงแก้วไปตามฐานต่างๆ จนถึงฐานที่ ๗ เหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือ ให้จรดใจนิ่งไว้ตรงกลางดวงแก้วกลมใสนั้น แล้วกำหนดจุดเล็กใสขึ้นที่ศูนย์กลางดวงแก้วกลมใส เขาให้ทำอะไรก็ทำตามไป ไม่ได้คิดอะไร ครั้นเมื่อนิ่งถูกส่วนเข้า วิชชาก็เริ่มเดิน* [คำว่า “เดิน” ในที่นี้ หมายถึง “เจริญ” กล่าวคือ เจริญภาวนาหรือเจริญวิชชา] จากดวงปฐมมรรคเข้าสู่กายธรรม กายในกาย ณ ภายใน เริ่มโตใหญ่ใสละเอียดขึ้นไปเรื่อยๆ ตายแล้ว อะไรกันนี่ ! จิตใจเริ่มสับสน เมื่อใจไม่จรดศูนย์ วิชชาก็หยุดเดิน* เมื่อคลายจากสมาธิ วิทยากรถามว่า เห็นดวงแก้วแจ่มใสไหม ? เลยตอบว่า “แจ่มใสดีค่ะ"


    อาทิตย์ต่อมาก็ได้ ๑๘ กาย กับพระวิทยากร จึงรู้ว่า เป็นอย่างที่เราทำได้ถึงในคราวก่อน เลยเสียท่าไปแล้ว เมื่อพระท่านสอนเสร็จ ก็มีการซักถามกันพอสมควร ว่าทำไมกายพระคือเรานั้นใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ท่านก็ให้ความกระจ่างดี จึงเริ่มเข้าใจขึ้นบ้างแล้ว ทีนี้ชักเริ่มสนุก แต่ยังคิดไม่ถึงว่ามีการเปลี่ยนแปลงอะไรต่อไปอีก เพียงแต่พระวิทยากรท่านว่า ต่อไปนี้อย่าให้เสียท่าอีกนะ ให้ปล่อยใจหยุดนิ่งไปตามญาณวิถี ในที่สุดก็ได้ต่อวิชชาชั้นสูงกับหลวงพ่อเสริมชัย แต่ก่อนที่จะได้ฝึกกับท่าน ได้ทำสมาธิ เดิน ๑๘ กาย ซ้อนสับทับทวีที่บ้าน ก่อนจะคลายจากสมาธิ ก็หยุดตรึกนิ่งไปที่จุดสุดท้ายของการเข้าถึง รู้ เห็น และเป็น ตามที่พระวิทยากรท่านสอน ก็มีเสียงก้องกังวานขึ้นว่า “วันข้างหน้าจะต้องพบกับอาจารย์ที่มีสายสัมพันธ์กันในอดีต เขาผู้นี้จะรู้แจ้งเห็นจริงทุกอย่าง และจะเป็นผู้ให้วิชชาทั้งหมดแก่เรา"


    ต่อมาจึงได้รับการฝึกเจริญภาวนาวิชชาธรรมกายชั้นสูงกับ หลวงป๋า [หมายถึง พระภาวนาวิสุทธิคุณ (เสริมชัย ชยมงฺคโล) ซึ่งผู้เขียนมีความเคารพเสมือนบิดา ผู้ให้กำเนิดชีวิตในทางธรรม] ในการฝึกวิชชาชั้นสูง นับตั้งแต่เริ่มพิสดารกาย เป็นเถา ชุด ชั้น ตอน ภาค พืด ฯลฯ คำสอนต่างๆ ของหลวงป๋าในวิชชาชั้นสูงนั้นไม่เคยได้ยินมาก่อน ดังนั้นเมื่อเจริญภาวนาเสร็จแต่ละครั้ง ต้องคอยถามว่าจุดนี้เป็นอย่างนี้ อย่างนั้นใช่ไหม ? ตามปกติเป็นคนไม่ค่อยกล้า แต่ก็กลัวจะทำผิดจากวิชชาของท่าน จึงจำเป็นต้องรายงานผลการปฏิบัติให้ท่านทราบตลอดเวลา ประกอบกับหลวงป๋าท่านมีเมตตา เอาใจใส่กับลูกศิษย์ ในที่สุดก็เข้าถึงต้นธาตุต้นธรรม ... เราทำผิดท่านก็ไม่เคยว่า ยิ่งทำให้เรามีกำลังใจและเกิดความอบอุ่น


    อยู่มาวันหนึ่ง หลวงป๋าท่านเรียกมานั่งข้างหน้าเพื่อแนะนำวิธีปฏิบัติ ... ก็พอดีศาลาข้างๆ มีงานศพเป็นคนจีน หูเราก็บังเอิญได้ยินเป็นเสียงสวดมนต์ ไปแวบคิดว่าสวดอย่างนี้เขาเรียกว่าสวดกงเต็กหรือเปล่า ? เสียงหลวงป๋าพูดทันที “ให้มานั่งสมาธิ ไม่ใช่มาคิดนอกเรื่อง” ไม่ใช่ครั้งนี้ที่ท่านคอยเตือน ตลอดเวลาที่เจริญภาวนากับท่าน จะได้ยินคำเตือนเสมอ เมื่อจิตไม่ตกศูนย์ นี่แสดงว่าตลอดเวลาท่านจะคอยประคับประคองจิตของเราให้หยุดให้นิ่งอยู่ตลอด เวลา ในเรื่องของวิชชา ท่านไม่เคยหวงใคร รับได้เท่าไร ตามสภาพภูมิธรรม ท่านก็เปิดให้หมด


    ในที่สุดเราก็สามารถเข้าถึงพระนิพพานในพระนิพพาน เข้าถึงธาตุล้วนธรรมล้วนของต้นๆ ... ได้รู้ซึ้งถึงพลังและอานุภาพของธรรมกาย โดยการมุ่งเข้าสู่เขตธาตุเขตธรรมต่อๆ ไปเป็นทับทวี โดยไม่ถอยหลังกลับ ... หลวงพ่อสดก็ผุดขึ้นพร้อมกับเสียงก้องกังวานมาทันทีว่า “ตนนั้นต้องทำให้วิชชาธรรมกายให้เป็นวิชชาที่ไม่ตาย ความหมายก็คือ ให้ทำวิชชาเป็นอยู่ตลอดเวลา และต้องเผยแพร่ต่อๆ ไปด้วย ข้อสำคัญ ต้องรวมธาตุธรรมของศาสนาทุกศาสนา ทุกสี ทุกสาย ทุกกาย ทุกองค์ ทุกวงศ์ มากลั่น และละลายธาตุธรรมนั้น ดับอธิษฐานถอนปาฏิหาริย์จนหมดธาตุธรรมภาคดำและกลางๆ และให้เป็นแต่ธรรมกายที่เป็นธาตุล้วนธรรมล้วน แต่จงจำไว้ จำทำอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นจะต้องใช้เมตตาพรหมวิหารเป็นที่ตั้ง อย่าทำด้วยความรุนแรง (ด้วยกิเลส) และขาดสติ แล้วจะประสบผลสำเร็จ"


    เมื่อได้ยินเสียงหลวงพ่อสด...“จงใช้เมตตาเป็นที่ตั้ง ทำเช่นนั้นไม่ถูก” จิตที่กล้าแข็งก็เริ่มอ่อนโยนลงทันที ใจก็คิดว่า การที่ต้องทำเช่นนี้เป็นเพราะหน้าที่ ไม่ใช่ด้วยความอาฆาต ก็น่าแปลก ฝ่ายอกุศลจะเริ่มถอยอวิชชาของเขาออกไปทีละน้อย แต่เราต้องคิดเสมอว่าต้องไม่ประมาท โดยเราต้องทำวิชชาให้นำหน้าเขาอยู่เสมอ มิฉะนั้นจะถูกภาคอกุศลสอดเข้ามาในสุดละเอียดของเราได้


    ฝึกเดินวิชชาอยู่ประมาณเดือนเศษ ก็มีการอบรมพระกัมมัฏฐานที่สถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย อ।ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี ในเดือนธันวาคม หลวงป๋าก็ชวนให้ไปที่ดำเนินสะดวก เมื่อไปถึงที่นั่น ก็ไปยืนอยู่ข้างๆ ศาลาอเนกประสงค์ หันหน้าไปทางซ้ายมือ เป็นบ่อน้ำขนาดใหญ่รอบเกาะ รู้สึกว่าลมเย็นสบายดี จึงยืนทำวิชชาเข้าสุดละเอียดไปเรื่อยๆ เมื่อหยุดตรึกนิ่งก็เห็นแสงสว่างพุ่งขึ้นมาจากกลางบ่อนั้น จึงสอบถามคนที่นั่นว่า ตรงนั้นเขาจะสร้างอะไรหรือ ? ต่อไปบริเวณเกาะนั้นจะเป็นวิหารธรรมกาย ต่อไปเมื่อเป็นวัด จะยกฐานะขึ้นไปอุโบสถ พอรู้เช่นนั้น ความรู้สึกตื้นตันอย่างบอกไม่ถูกเกิดขึ้น ก็ไม่ทราบว่าเป็นเพราะเหตุไรเหมือนกัน


    ในการอบรมพระกัมมัฏฐานแด่พระสงฆ์ (รุ่นที่ ๑๑) คราวนั้นหลวงป๋าท่านเมตตาอนุญาตให้เป็นวิทยากรสอนโยมเป็นครั้งแรก พูดก็ไม่เป็น ยังเขินๆ อยู่ ไม่รู้จะทำอย่างไร รู้สึกกลัวไปเสียหมด ทีกลัวเพราะว่า กลัวจะพูดไม่เข้าใจ แล้วก็กลัวเขาจะว่า สอนเขาแล้วตัวเองรู้หรือเปล่าว่าเขาเห็นจริงหรือไม่ หันไปหันมา ไม่รู้จะทำอย่างไร เลยเข้าไปในธาตุธรรมของหลวงพ่อสด สวมความรู้สึกเข้าไปเป็นท่านเลย ก็น่าแปลก ความประหม่าหายไปหมด กลับมีพลังอะไรไม่รู้เกิดขึ้น คือมีความคิดว่าจะต้องทำตัวเราให้ใส สักครู่เป็นการตั้งสติไปในตัว พอเริ่มสอน ระหว่างที่พูดก็เอาธาตุธรรมของแต่ละคนมาซ้อนในที่สุดละเอียดของเรา ตอนนั้นมีลูกศิษย์อยู่ ๔-๕ คนเห็นจะได้ ก็เห็นทันทีว่าแต่ละคนเขาทำได้แค่ไหน สอนเสร็จคลายจากสมาธิ ก็ยังไม่เชื่อตัวเองอีก จึงทดสอบตัวเอง โดยการสอบถามทีละคนตามสภาพภูมิธรรมของแต่ละคน ปรากฏว่าถูกต้องหมด ก็เกรงว่า นี่เราทำอะไรโดยพลการหรือเปล่าหนอ ? จึงรีบกราบเรียนหลวงป๋า ท่านกลับไม่ว่าอะไร แถมยังแนะนำเคล็ดลับวิชชาครูเพิ่มให้อีก แล้วยังสอนให้เดินเครื่องธาตุเครื่องธรรม เห็น จำ คิด รู้ ให้ผู้ที่ทำวิชชาฝืดๆ เพื่อที่เขาจะได้เดินวิชชาอย่างแจ่มใสโดยตลอดอีกด้วย ความรู้ในเรื่องวิชชาเริ่มได้รับจากท่านเป็นระยะๆ อย่างไม่เคยหวงวิชชาเลย บุญคุณอันนี้ใหญ่หลวงนัก เกินกว่าจะบรรยายออกมาด้วยคำพูดได้


    ทีนี้ ขอย้อนกล่าวถึงสถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย อ।ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี ทุกครั้งที่มีการอบรมเยาวชนก็ดี อบรมพระก็ดี จะเห็นเหล่าเทวดา นางฟ้า พรหม อรูปพรหม เต็มท้องฟ้าไปหมด เรียกว่า สว่างไสวไปทั่วทั้งสถาบันเลย เขาคงมาเป็นกำลังใจอนุโมทนากับเหล่าพุทธบริษัทที่มาอบรมกันตลอดเวลา สำหรับตัวข้าพเจ้านั้นมีพญานาคองค์มหึมาคอยอำนวยความสะดวกให้ คือพอเริ่มนั่งสมาธิทีไร จะเป็นการสอนหรือทำวิชชาก็ดี เขาจะมาขดเป็นอาสนะเหมือนปางนาคปรกให้เราสบายดีอีกด้วย นี่ที่สถาบันฯ นะ ต่อพอกลับกรุงเทพฯ เขาไม่ยอมตามมาด้วยหรอก น่าเสียดาย เพราะเวลาเขาให้เรานั่ง รู้สึกสบายบอกไม่ถูก จึงกราบเรียนเล่าให้หลวงป๋าฟัง ท่านบอกว่าเป็นของประจำอยู่ที่สถาบัน ช่วยดูแลสถาบันฯ ของเรา ก็ไม่น่าแปลกอะไรนี่ เพราะตลอดเวลาที่ทำวิชชากับท่าน จะเห็นประจำอยู่แล้ว ว่าพลังและอำนาจของบุญ บารมี รัศมี กำลังฤทธิ์ของท่านมหาศาลขนาดไหน ใครอยากรู้ลองแอบดูเอาเอง ถ้าจิตเข้าถึงต้นธาตุต้นธรรมที่สุดละเอียดและเป็นสายธาตุธรรมเดียวกันคือสาย ขาว ก็จะเห็นตามที่เป็นจริงได้ ท่านคงไม่ว่าอะไรหรอก เพราะเป็นเรื่องของวิชชา แต่อย่าลืมนะ ก่อนจะทำอะไรควรนึกขอขมาท่านเสียก่อนด้วย เพราะครูบาอาจารย์เป็นของสูง


    เมื่อตัวเองนี้ได้เข้าถึง รู้ เห็น และเป็น เช่นนี้แล้ว ก็รู้สึกเป็นห่วงท่านทั้งหลายที่เป็นเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน อย่ามัวเสียเวลาอันมีค่าของชีวิตเลย เพราะทุกลมหายใจเข้าออกนั้นมีค่าเสียเหลือเกิน มาปฏิบัติธรรมกันเถอะ ไม่มีอะไรยากเกินกำลังของมนุษย์เราเลย ถ้าท่านตั้งใจจะปฏิบัติธรรม รักษาศีลอย่างน้อยศีล ๕ เราไม่บกพร่อง ก็พ้นจากอเวจีมหานรกได้แล้ว ส่วนการปฏิบัติธรรมในแนวของธรรมกายก็ไม่ยากเลย เพียงแต่ขอให้ “หยุด” ตัวเดียวเท่านั้น ที่ว่ายากนั่นก็เพราะเราไม่หยุดจริงนั่งเอง ถ้าจิตของเราหยุดนิ่งจริงแล้ว การเจริญภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายนั้นจะรู้ได้ทันทีว่า วิชชาไม่มีสิ้นสุด คือเราจะเข้าไปในที่สุดละเอียดขององค์ต้นธาตุต้นธรรมที่สุดละเอียดได้ เรื่อยๆ

    ถ้าท่านทำได้จะรู้สึกว่าการเจริญภาวนานั้นไม่ใช่สิ่งที่น่าเบื่อหน่ายเลย เพราะท่านสามารถค้นพบข้อมูลหรือสิ่งใหม่ๆ ได้อยู่ตลอดเวลา

    เป็นการเจริญปัญญารู้แจ้งในสภาวะจริงของธรรมชาติทั้งฝ่ายพระและฝ่ายมารในตัว เรานี้แหละได้ดี อย่างที่ท่านไม่เคยได้รู้เห็นมาก่อนเลย เป็นธรรมวิจยะ ให้สามารถแยกธาตุธรรมภาคพระ (ธรรมขาว) ภาคมาร (ธรรมดำ) ภายในตัวเราเองได้ แล้วเก็บธาตุธรรมภาคมาร (ธรรมดำ) เสีย ให้เหลือแต่ธาตุล้วนธรรมล้วนของฝ่ายพระ (ธรรมขาว) เป็นเราได้ มีผลให้กาย วาจา ใจ ของเราสะอาดบริสุทธิ์ ตรงกับคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่า ให้ละชั่วด้วยกาย วาจา ใจ ประกอบแต่กรรมดีด้วยกาย วาจา ใจ ทำใจให้ใสสะอาดบริสุทธิ์ และตรงกับพระพุทธวจนะที่ว่า กณฺหํ ธมฺมํ วิปฺปหาย สุกฺกํ ภาเวถ ปณฺฑิโต บัณฑิตพึงละธรรมดำเสีย พึงยังธรรมขาวให้เจริญ [สํ।มหา।19/28] เพราะว่าการเข้าถึง รู้ เห็น และเป็นธาตุล้วนธรรมล้วนฝ่ายพระหรือธรรมขาวนั้น ให้เป็นสุขด้วยความสงบดีนัก.
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,069
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,153
    ค่าพลัง:
    +70,586
    เจอแสงทอง ก้อนทองล่องลอยอยู่จะทำอย่างไร?ที่ถูกต้องควรปฏิบัติอย่างไร

    a.jpg



     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,069
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,153
    ค่าพลัง:
    +70,586
    DMx_d89jSN0VqU2UkcZKXBjiToq8dcDhLErM8N7QkfjB&_nc_ohc=MMxdQSK1WsIAX8Lmf5k&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    2b50.png #ศรัทธาการศึกษาสัมมาปฏิบัติถึงธรรมกายและพระนิพพานของพระพุทธเจ้า

    1f4dd.png ในระหว่างที่ข้าพเจ้าได้ทำงานอยู่สำนักข่าวสารอเมริกัน (US.Information Service, American Embassy กรุงเทพฯ) ข้าพเจ้าได้มีเพื่อนร่วมงาน
    อยู่ในแผนกศิลป์และนิทรรศการ (Arts & Exhibits)
    ผู้สนใจในพระพุทธศาสนาหลายคน ได้แก่
    คุณประเสริฐ เกตุทัต
    (หัวหน้าแผนก–ถึงแก่กรรมแล้ว)
    คุณประยุทธ เงากระจ่าง (ผู้สร้างหนังการ์ตูนคนแรกของไทย–ถึงแก่กรรมแล้ว) คุณสะอาด ถนอมวงค์ คุณบุญชัย เมธางกูรและคุณนพรัตน์ ลีวศิริ พอเลิกงานตอนเที่ยง รับประทานอาหาร เที่ยงแล้ว ต่างก็กลับมาชุมนุมสนทนาธรรมกันเป็นประจำ ข้าพเจ้าก็ได้ไปร่วมวงสนทนากับเขาด้วยเสมอ หลังจากที่ได้สนทนากันถึงปฏิปทาแนวทางปฏิบัติธรรม ของหลายสำนัก ได้แก่
    2705.png สำนัก พอง–ยุบ สายวัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ 2705.png สำนัก “สัมมาอะระหัง (ธรรมกาย)” สายวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
    2705.png สำนัก “พุทโธ” สายพระอาจารย์ (หลวงปู่) มั่น ภูริทตฺโต
    2705.png และสำนักอานาปานสติ สายสวนโมกข์ (หลวงพ่อพุทธทาส)
    1f4dd.png ด้วยวิญญาณของนักวิจัยจึงได้ผลสรุปเพื่อตัดสินใจเลือกแนวทาง ปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ถึงธรรมกาย และพระนิพพานของพระพุทธเจ้าของสำนัก “สัมมาอะระหัง” โดยพระเดชพระคุณ
    หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ปฏิบัติได้ผลดี คือถึงธรรมกายและพระนิพพาน เป็นที่ประจักษ์แล้วจึงสอนผู้อื่นซึ่งข้าพเจ้าเห็นว่าท่านสอนตรงตามหลักไตรสิกขาคือการศึกษาอบรมกาย–วาจา (ด้วยเจตนาความคิดอ่านที่ดี)
    โดยทางศีล และการศึกษาอบรมจิต โดยทางสมาธิ เรียกว่า “สมถภาวนา” และอบรมปัญญา โดยทางวิปัสสนาภาวนา รวมเรียกว่า “สมถวิปัสสนาภาวนา หรือกัมมัฏฐาน ซึ่งเป็นการศึกษาสัมมาปฏิบัติ ตามทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา”คือ มรรคมีองค์ ๘ ที่สมบูรณ์และชัดเจนทุกขั้นตอนในกุฏิ ซึ่งเป็นห้องแคบๆ ท่านห้ามแล้วก็ยังฝืนทำ
    1f4dd.png มีวันหนึ่ง ท่านเห็นด้วยญาณทัศนะว่าพระภิกษุรูปนั้น ให้ผู้หญิงคนนั้นเข้าไปคุย ด้วยในห้องอีกแล้ว ท่านได้ใช้ให้ศิษย์คนหนึ่งไปดูให้เห็นประจักษ์ ด้วยตา แล้วกลับมารายงานท่าน หลวงพ่อท่านก็ได้ลงโทษให้ขับ ออกไปเสียจากวัด ยังมีอีกเรื่องหนึ่ง ก่อนพระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ จะมรณภาพ ท่านไม่ทราบว่าวัดมีเงินเท่าใด แต่ท่านปรารภกับ ผู้ใกล้ชิดว่า อยากได้พระบรมสารีริกธาตุ ที่ได้มีผู้ขุดเจาะเจดีย์ทุ่งลอ (อยู่จังหวัดพะเยา) แล้วได้นำมาจะถวายแถมขายให้ท่านๆ ก็ถาม ผู้ใกล้ชิดว่า เดี๋ยวนี้มีเงินไหม? ถ้ามีจะได้บูชาพระบรมสารีริกธาตุ นั้นไว้ แล้วให้สร้างเจดีย์เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุนั้น ตรงบริเวณหน้าหอฉัน แต่ทราบจากผู้ใกล้ชิดว่าเงินไม่มี (หรือมีไม่พอ ก็ไม่ทราบ) ในระยะเวลานั้น พระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ ท่านจึง ยังไม่ได้พระบรมสารีริกธาตุนั้น ต่อมาภายหลังที่ท่านได้มรณภาพแล้ว มีคฤหบดีได้บูชาพระบรมสารีริกธาตุนั้นไว้ แล้วนำมาถวายไว้ที่ วัดปากน้ำฯ และที่เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายในปัจจุบัน และ พระเดชพระคุณพระราชพรหมเถร รองเจ้าอาวาสและอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนา ก็ได้เมตตาแบ่งมาให้ไว้ที่ข้าพเจ้าส่วนหนึ่ง เพื่อบรรจุในพระมหาเจดีย์สมเด็จฯ ที่กำลังสร้างอยู่ในขณะนี้ด้วย ก็เป็นที่น่าอนุโมทนาในปฏิปทาและวัตรปฏิบัติของพระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำฯ ยิ่งนัก ที่เคร่งครัดสำรวมในศีลและพระปาฏิโมกข์ โดยไม่จับ ไม่เก็บเงินทองด้วยตัวท่านเองเลย
    1f4dd.png ต่อมา เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชองค์ปัจจุบัน ก็ได้สร้างพระมหาเจดีย์ สำเร็จ และเข้าใจว่าเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้ประดิษฐานพระบรม สารีริกธาตุ ทั้งที่มีในครั้งนั้น และที่ได้มีเพิ่มเติมในภายหลัง บรรจุประดิษฐานไว้เป็นที่เคารพสักการะ ณ ภายในพระมหาเจดีย์– รัชมงคลที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้สร้างสำเร็จแล้วนั้นเป็นที่ เรียบร้อยแล้ว ซึ่งนับเป็นปูชนียวัตถุที่เคารพสักการะสูงสุด ของพุทธศาสนิกชน มาตราบเท่าทุกวันนี้ในส่วนของการศึกษาสัมมาปฏิบัติ สมาธิและปัญญา ชื่อว่าสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานนั้น ในขั้นการเจริญภาวนาสมาธิ
    คือ การอบรมจิตให้เป็นสมาธิแนบแน่นมั่นคงนั้น ข้าพเจ้าได้ยินว่า พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำฯ ท่านได้อาศัยวิธีการ เพ่งแสงสว่าง ชื่อว่า “อาโลกกสิณ” เอาผลของการเพ่งกสิณแสงสว่าง
    จนสามารถถือเอาบริกรรมนิมิต–อุคคหนิมิต–ปฏิภาคนิมิต ซึ่งปรากฏเป็นดวงใสสว่าง ที่มีอานุภาพให้ได้สมาธิ ตั้งแต่ขั้น “ขณิกสมาธิ–อุปจารสมาธิ” และถึง “อัปปนาสมาธิ” ให้เป็นสมาธิแนบแน่นมั่นคงถึงขั้นเป็นฌานจิต ตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไปได้นั้น มาใช้ดวงแก้วกลมใส (เช่น ดวงแก้วหินผลึก) เป็นบริกรรมนิมิต เป็นอุบายวิธีใช้สอนศิษยานุศิษย์ให้เจริญภาวนาสมาธิ โดยให้ นึกเห็นดวงกลมใส ใจอยู่ในกลางของกลางดวงกลมใส ประกอบการ
    บริกรรมภาวนาว่า “สัมมาอะระหังๆๆๆ” ประกอบกัน ให้ใจสงบ ตรงศูนย์กลางกาย แล้วจะเห็นดวงใสสว่าง คือ “ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์” ในระดับมนุษยธรรม ที่ทำให้มาเกิด–ไปเกิด เป็นมนุษย์....ฯลฯ
    1f4dd.png และพรรคพวกได้เล่าให้ฟังว่า “#หลวงพ่อวัดปากน้ำ”ท่านได้ดวงใสสว่างที่ศูนย์กลางกาย ซึ่งสามารถนึกขยายให้โต(จากวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ) ถึงคลองเตย (ห่างจากที่ทำงานที่อยู่ ถนนสาธรใต้ประมาณ ๒ กม.) ก็ได้เพื่อนๆ ร่วมสนทนาเขาว่า
    อย่างนั้น ทำให้รู้สึกสนใจ อยากลองไปเข้าศึกษาและปฏิบัติดู เพื่อนๆ ก็แนะนำให้ไปที่ “บ้านธรรมประสิทธิ์” (เป็นที่ตั้งมูลนิธิ ธรรมประสิทธิ์ ในครั้งนั้น) อยู่ภายในเขตวัดปากน้ำ ว่าเขาเปิดสอน
    ทุกวันอาทิตย์ จึงพาลูกๆ (ลูกสาววัย ๑๔–๑๓–๑๒ ขวบ) ผลัดกันไปเรียน–ฝึกปฏิบัติภาวนาด้วย ในไม่ช้าลูกสาวทั้ง ๓ คน ก็ปฏิบัติได้ถึง “#ธรรมกาย” ด้วยอุบายวิธีเบื้องต้นดังที่กล่าวมาแล้วเมื่อญาณทัสสนะของลูกๆ แก่กล้าพอสมควร ทิพย์จักษุ เจริญขึ้น อาจารย์ในครั้งนั้น คือท่านพระอาจารย์ไชยบูลย์ ธมฺมชโย(วิสุทธิผล) คือ #พระเทพญาณมหามุนี #เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย
    ในปัจจุบันกับ #คุณยายจันทร์ ขนนกยูง เจ้าสำนักปฏิบัติธรรม “บ้านธรรมประสิทธิ์” ได้สอนวิธีเจริญฌานสมาบัติ ชำระธาตุธรรม และจิตใจ/ญาณทัสสนะ ให้บริสุทธิ์ผ่องใส แล้วตรวจภพ–จักรวาล
    ดู “ปู่” คือบิดาของข้าพเจ้า ที่ล่วงลับไปก่อนหน้านี้นานแล้ว (ประมาณ ๓๐ กว่าปี) โดยไม่มีรูปถ่ายของท่านไว้เป็นที่ระลึกด้วย
    1f4dd.png ปรากฏว่าลูกๆ ทั้ง ๓ เห็น “ปู่” กำลังเสวยวิบากกรรม (ได้รับ ผลกรรม) อยู่ในนรก เพราะเวรสุรา (ยาเสพติด–คือ ดื่มสุรา ทีละก๊งสองก๊ง เวลามีก็ดื่ม ไม่มีก็ไม่ดื่ม คือไม่ได้ถึงกับติด จนงอมแงม) แล้วอาจารย์ก็สอนวิธีช่วยคุณปู่ โดยให้ท่านรับศีล ๕
    แล้วให้ท่านอนุโมทนาส่วนบุญที่ลูกหลานได้มาเข้าศึกษา– ปฏิบัติภาวนาธรรม และบริจาคทาน ฯลฯ “ปู่” (คือบิดาของข้าพเจ้า) จึงเปลี่ยนภพภูมิเกิดเป็นเทพบุตร (ด้วยกำเนิดโอปปาติกะ)ไปทันที
    1f4dd.png ณ บัดนั้นเองทำให้ข้าพเจ้าเชื่อถือและศรัทธาในการศึกษาสัมมาปฏิบัติ ตามแนวนี้ อันมีรายละเอียดอยู่ในอริยมรรคมีองค์ ๘ และก็รวมลงในสติปัฏฐาน ๔ ข้อ “มีสติพิจารณาเห็นธรรมในธรรม” คือ นิวรณ์ ๕ ตลอดถึงอริยมรรคมีองค์ ๘ นั่นเอง และวิธีนี้ยังเป็นวิธีการเจริญปัญญาจากการที่ได้ทั้งรู้–ทั้งเห็น สภาวะธรรม ตลอดถึงอริยสัจธรรม คือ ทุกขสัจจ์ สมุทัยสัจจ์ นิโรธสัจจ์ และมรรคสัจจ์ ตามความเป็นจริงชัดเจน และยิ่งลูกๆ ปฏิบัติได้ถึงอายตนนิพพาน ตามพระพุทธ ดำรัสในนิพพานสูตรว่า “อตฺถิ ภิกฺขเว ตทายตนํ....ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อายตนะ (คือพระนิพพาน) นั้นมีอยู่...ฯลฯ” ก็จะ
    ยิ่งช่วยให้เจริญปัญญาเห็นแจ้งในสภาวธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ให้เห็นบรรดาสังขารธรรมทั้งปวงที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งได้แก่
    มีธาตุ–ขันธ์–กรรม–กิเลส และแม้บุญ ปรุงแต่ง
    ย่อมตกอยู่ในอาณัติแห่งพระไตรลักษณ์ คือ “อนิจฺจํ” เป็นของไม่เที่ยง“ทุกฺขํ” เป็นทุกข์ คือทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้นานตลอดไป ผู้ใดยึดถือด้วยตัณหาและทิฏฐิ (ความเห็นผิด) แล้วย่อมเป็นทุกข์ และสุดท้ายก็แตกสลายหมดสภาพเดิมของมันไป เป็น “อนตฺตา” กล่าวโดยสรุป อุปาทานในขันธ์ ๕ (รูป–เวทนา–สัญญา– สังขาร และวิญญาณ) เป็นทุกข์ ดังพระบาลีว่า
    สงฺขิตฺเตน
    ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา
    และยิ่งได้เห็นว่า ในอายตนนิพพาน (อายตน หมายความว่า บ่อเกิด ที่อยู่ (วาสฏฺฐาน) ซึ่งเป็นที่สถิตอยู่ของพระนิพพานธาตุที่เห็นด้วยญาณรัตนะ ของพระธรรมกาย ว่าคือธรรมกายตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันตสาวก ผู้ดับขันธ์ปรินิพพาน ด้วย “อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ” (พระนิพพานธาตุที่ไม่มีเบญจขันธ์ครอง หรือเหลืออยู่) นี้เอง ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อก่อนแต่จะตรัสรู้ยังเป็นพระมหาโพธิสัตว์อยู่
    ได้แสวงหา “โมกขธรรม” เพื่อความหลุดพ้นจากสภาวธรรมที่เป็นอนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา เพื่อความเข้าถึง ได้รู้–เห็น และเป็น “อมตธรรม”คือ ธรรมที่ไม่ตาย เป็นสภาวะที่เที่ยง(นิจจํ) เป็นสุข (สุขํ) และเป็น
    อตฺตา ที่วิมุตติหลุดพ้นจากสังขารธรรม อันมีกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เป็นเครื่องปรุงแต่งทั้งปวง ดังที่
    1f4dd.png #สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนา#อนัตตลักขณสูตร” เปรียบเทียบคุณลักษณะของ “อัตตา” อันเป็นคุณลักษณะของพระนิพพานธรรม กับ สามัญญลักษณะ
    (อนิจฺจํ–ทุกฺขํ–อนตฺตา) ของสังขารธรรม มีเบญจขันธ์ (ได้แก่รูป–เวทนา–สัญญา–สังขาร–วิญญาณ เป็นต้น) ให้พระปัญจวัคคีย์ผู้ได้บรรลุคุณธรรมเป็นพระโสดาบัน และตกกระแสพระนิพพานหมดทั้ง ๕ องค์แล้ว ว่า
    “ถ้ารูป...ฯลฯ “จักได้เป็นอัตตาแล้วไซร้
    รูป...ฯลฯ นั้น ก็ไม่พึ่งเป็นไปเพื่ออาพาธซิ....แต่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    เพราะรูปเป็น “#อนัตตา” รูป...ฯลฯ จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
    1f4dd.png #พระพุทธองค์ได้ตรัสอีกว่า #อสังขธรรม มีอยู่
    การสลัดออก ซึ่งสังขตธรรม (มีเบญจขันธ์ เป็นต้น) จึงปรากฏดังพระพุทธดำรัส มีมาในปาฏิคามิวรรค อุทาน ว่า
    อตฺถิ ภิกฺขเว อชาตํ อภูตํ อกตํ
    อสงฺขตํ, โน เจ ตํ ภิกฺขเว อภวิสฺส อชาตํ
    อภูตํ อกตํ อสงฺขตํ, นยิธ ชาตสฺส ภูตสฺส
    กตสฺส สงฺขตสฺส นิสฺสรณํ ปญฺญาเยถ,
    ยสฺมา จ โข ภิกฺขเว อตฺถิ อชาตํ อภูตํ
    อกตํ อสงฺขตํ ตสฺมา ชาตสฺส ภูตสฺส กตสฺส
    สงฺขตสฺส นิสฺสรณํ ปญฺญายติ.
    #แปลความว่า
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติ
    อันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัย
    กระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าธรรมชาติ
    อันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัย
    กระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่ง ไม่ได้แล้ว
    จักไม่ได้ มีแล้วไซร้ การสลัดออก
    ซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัย
    กระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว จะไม่พึงปรากฏ
    ในโลกนี้เลย
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็แลเพราะ
    ธรรมชาติอันไม่เกิดแล้วไม่เป็นแล้ว
    อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้วปรุงแต่งไม่ได้แล้ว
    มีอยู่ฉะนั้นการสลัดออกซึ่งธรรมชาติ
    ที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัย กระทำแล้ว
    ปรุงแต่งแล้ว จึงปรากฏ.
    1f4dd.png #หลวงพ่อวัดปากน้ำพระมงคลเทพมุนี
    (สด จนฺทสโร)
    ท่านปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ได้ถึงธรรมกาย และอายตนนิพพานท่านจึงกล่าวเสมอว่า พระพุทธองค์เมื่อก่อนแต่จะตรัสรู้ ได้ทรงแสวงหาโมกขธรรม เพื่อความหลุดพ้นจากธรรมที่เป็น อนิจฺจํ ทุกฺขํ
    อนตฺตา ที่ต้องตาย ( คือ มตธรรม) และเพื่อความบรรลุถึงธรรมที่ไม่ตาย คือ ธรรมที่ทรงสภาวะ นิจฺจํ สุขํ และ อตฺตา นั่นเอง
    อนึ่ง ในวิปัสสนากถา ปัญญาวรรคนี้ คุณลักษณะของพระนิพพานธรรม ที่เป็นตรงกันข้ามกับ “อนัตตา” ท่านกล่าวว่า“ปรมตฺถํ” (มีประโยชน์สูงสุดยิ่ง) แม้นั้นก็ตาม ก็เป็นคุณลักษณะร่วมในคุณลักษณะ ๔๐ ข้อ ที่ท่านแสดงไว้ในวิปัสสนากถานี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นคุณลักษณะร่วมกับ
    อสังขตธรรมด้วยกันนั่นเอง ดังเช่นว่า
    ปญฺจกฺขนฺเธ สงฺขตโต ปสฺสนฺโต อนุโลมิกํ ขนฺตึ ปฏิลภิ.ปญฺจนฺนํ ขนฺธานํ นิโรโธ อสงฺขตํ นิพฺพานนฺติ ปสฺสนฺโต สมฺมตฺตนิยามํโอกฺกมติ
    เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของ
    อันปัจจัยปรุงแต่ง ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม ๓
    (อธิบายว่า เที่ยงต่อการบรรลุมรรคผล ได้แก่
    หยั่งลงในขณะมรรคญาณ และผลญาณ)
    แล้วปรากฏในพระพุทธดำรัส แสดงคุณลักษณะ เป็นเช่นเดียวกับ “อัตตลักษณะ” ว่า
    น อุปฺปาโท ปญฺญายติไม่ปรากฏความเกิด ๑
    (คือ “ไม่เกิดใหม่อีก”)
    น วโย ปญญายติ ไม่ปรากฏความเสื่อมสลาย ๑
    (คือ “ไม่ตาย”)
    น ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ
    เมื่อตั้งอยู่ ไม่ปรากฏความแปรปรวน (เป็นอื่น) ๑
    (คือ “เที่ยง”)
    ซึ่งเป็นสภาวะที่ตรงกันข้ามกับ “สังขตธรรม”๕
    (มีเบญจขันธ์ เป็นต้น)
    อุปฺปาโท ปญฺญายติ ปรากฏความเกิด ๑
    วโย ปญญายติปรากฏความเสื่อมสลาย ๑
    (คือ “ตาย”)
    ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ เมื่อตั้งอยู่ ปรากฏความแปรปรวน (เป็นอื่น) ๑ (คือ “ไม่เที่ยง”)
    1f4dd.png #สมเด็จพระสังฆราชแพ (ติสฺสเทวมหาเถร)
    วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร ท่านแสดงไว้ว่า ความรู้ที่เกิดปัญญาของเราจริงๆ นั้น ควรต้องรู้ทั้ง ๒ อย่าง คือ รู้ฝ่ายรับและฝ่ายปัด รู้ทั้งของแท้และของเทียม จึงจัดเป็นความรู้จริง ฉะนั้นฉันใด คนที่ไม่รู้จักอัตตาแล้ว จะรู้จักว่าขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา
    นั้นไม่ได้ ถึงเห็นและพูดอยู่ก็เห็นและพูดตามสัญญาเท่านั้นไม่ใช่ความรู้ความเห็นตนเอง สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    และอริยชนพุทธสาวกของพระองค์ ผู้มีญาณจักษุอันเสร็จมา
    แต่พระอริยมรรคท่านเห็นว่า ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา มิใช่ตัวตน
    เพราะท่านได้ธรรมอย่างอื่น คือ พระนิพพานเป็นอัตตาแล้ว
    ความรู้ของท่านเป็นความรู้จริงแท้ เพราะฉะนั้นแล พระองค์จึง
    ตรัสกับพระพวกเบญจวัคคีย์ว่า อมตธรรมเราได้แล้ว ครั้นต่อมา
    พระองค์ก็ทรงแสดงขันธ์ ๕ เหล่านั้นว่าเป็นอนัตตา ให้พระ
    พวกเบญจวัคคีย์ฟัง เช่นนี้ พิจารณาดูเถอะ คนที่ไม่ได้อัตตาจะพูดว่า
    ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตาอย่างไรได้ ๖
    1f4dd.png #หลวงปู่มั่น (พระอาจารย์) ภูริทตฺตมหาเถร
    ได้แสดงโวหารธรรม ว่า
    “ได้สมบัติทั้งปวง ไม่ประเสริฐเท่า
    ได้ตน เพราะตัวตน เป็นที่เกิดแห่ง
    สมบัติทั้งปวง”
    และพระเดชพระคุณท่านได้แสดงโวหารธรรมอัน
    เกี่ยวเนื่องกับสภาวะพระนิพพานธรรม ว่า
    “พระขีณาสพเจ้าทั้งหลายดับโลก ๓
    รุ่งโรจน์อยู่ คือ ทำการพิจารณา และบำเพ็ญเพียร
    เป็น ภาวิโต พหุลีกโต คือทำให้มาก เจริญให้มาก
    จนจิตมีกำลังสามารถพิจารณาสมมติทั้งหลาย
    ทำลายสมมติทั้งหลายลงไปได้ จนเป็นอกิริยา
    ก็ย่อมดับโลก ๓ ได้ การดับโลก ๓ นั้นท่าน
    พระขีณาสพเจ้าทั้งหลายมิได้เหาะขึ้นไป
    ในกามโลกรูปโลกอรูปโลกเลยทีเดียวคงอยู่
    กับที่นั่นเอง แม้พระบรมศาสดาของเราก็
    เช่นเดียวกัน พระองค์ประทับนั่งอยู่ ณ ควงไม้–
    โพธิพฤกษ์แห่งเดียว เมื่อจะดับโลก ๓ ก็มิได้
    เหาะขึ้นไปในโลก ๓ คงดับ อยู่ที่จิต จิตนั่นเอง
    เป็นโลก ๓ ฉะนั้น ท่านผู้ต้องการดับโลก ๓
    พึงดับที่จิตของตนๆจนทำลายกิริยา คือ
    ตัวสมมติหมดสิ้นจากจิตยังเหลือแต่อกิริยา
    (คือนิโรธธาตุ/พระนิพพานธาตุ) เป็นฐิติจิต
    ฐิติธรรม อันไม่รู้จักตาย (อมตธรรม) ฉะนั้น
    1f4dd.png จึงยิ่งทำให้เห็นพระอริยสัจจธรรม
    คือ ทุกขสัจจ์–สมุทัยสัจจ์–นิโรธสัจจ์
    (สภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตุปัจจัยดับ) และมรรคสัจจ์ (หนทางปฏิบัติให้ถึงความพ้นทุกข์ และถึงความ เจริญสันติสุข) คือ โมกขธรรม ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เป็นทางให้บรรลุคุณธรรม ถึงอริยมรรค/ผล ได้ ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิผล และประสิทธิภาพสูง
    ก็ยิ่งมีศรัทธาปสาทะ ในการศึกษาสัมมาปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ถึงธรรมกาย และพระนิพพานของพระพุทธเจ้าที่หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านปฏิบัติได้เข้าถึง–ได้รู้–ได้เห็น–ได้เป็น–อย่างมั่นคง–ไม่คลอนแคลนแม้ตัวข้าพเจ้าเองนั้น การศึกษาสัมมาปฏิบัติธรรมก็ยังไม่ได้เจริญเท่าที่ควรเหมือนลูกๆ จึงต้องพยายามต่อไปและต่อๆ มาจนปัจจุบัน แต่ก็ได้อาศัยข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Source)ที่เชื่อถือได้ จากลูกๆ ที่มิได้มีมายาสาไถย และที่ถูกต้องตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และที่สมบูรณ์ดีขึ้นเป็นลำดับ ก่อให้เกิดศรัทธา–วิริยะ–สติ–สมาธิ–ปัญญา ดีขึ้น และค่อยๆ แก่กล้าเป็น “พละ คือ พลัง” อันได้แก่ ศรัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ และปัญญาพละ สูงๆ ขึ้น ต่อมาเป็นลำดับแต่ก็ยังไม่ถึงกับก้าวล่วงข้ามโคตรปุถุชน (โดยความบรรลุมรรคผล) เป็นพระอริยบุคคลได้ ด้วยยังมีเหตุปัจจัยหลักๆ ของผู้ปรารถนา
    พุทธภูมิ ที่จักต้องบำเพ็ญต่อๆ ไปอีกนาน ทั้งด้วยศรัทธาและปัญญาตามรอยพระศรัทธา–ปัญญาธิกโพธิสัตว์ ที่มีมาแต่อดีตจนได้ตรัสรู้เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามานับไม่ถ้วน จนกว่า
    บุญบารมีจะเต็มบริบูรณ์ ให้สามารถบำเพ็ญสมณธรรมถึงความตรัสรู้พระอริยสัจจธรรมกล่าวคือ “โมกขธรรม” ตามรอยบาทพระพุทธองค์ ด้วยตนเองได้
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,069
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,153
    ค่าพลัง:
    +70,586
    #ทำอย่างไรจึงจะได้เห็นดวงปฐมมรรคเร็วๆ ?
    ตอบ:
    ปัญหาที่ว่าทำอย่างไรผู้ปฏิบัติจึงจะได้ดวงถึงปฐมมรรคเร็วๆ หรือดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายนับตั้งแต่เบื้องต้น ไปเบื้องกลาง เบื้องสูง
    เอาเบื้องต้นเสียก่อนนั้น ความจริงเป็นเรื่องที่เร่งไม่ได้ การที่ผู้ปฏิบัติภาวนาธรรมจะถึงดวงปฐมมรรคได้นั้น ขึ้นอยู่ที่เหตุปัจจัยที่สำคัญหลายประการ
    ประการที่ 1 ก็คือว่า ขึ้นอยู่ที่บุญกุศล มีทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศล ซึ่งจะ เจริญขึ้นเป็นบารมี อุปบารมี ปรมัตถบารมี มีทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี ... ไปจนถึงเมตตา อุเบกขาบารมี ว่าได้ประกอบบำเพ็ญมากี่มากน้อย
    ประการที่ 2 ในส่วนที่เป็นอธิษฐานบารมี ถ้าหากว่าผู้ปฏิบัติธรรมได้เคยอธิษฐานบารมีไว้ในระดับเบื้องต้นคือปกติสาวก ระยะเวลาของการบำเพ็ญบารมีก็สั้น คือสั้นกว่าผู้ที่ตั้งจิตอธิษฐานสร้างบารมีหรือบำเพ็ญบารมีเป็นพระสาวกที่สูงยิ่งไปกว่านี้ เช่น อัครสาวก อสีติมหาสาวก เป็นต้น หรือสูงขึ้นไปเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า พระสัพพัญญูพุทธเจ้า เหล่านี้ล้วนแต่ต้องบำเพ็ญบารมีมากกว่ากันไปตามระดับ นี้เป็นเหตุปัจจัยหนึ่งว่าได้บำเพ็ญบารมีมากี่มากน้อย
    ประการที่ 3 ขึ้นอยู่ที่บาปอกุศลที่ตนได้กระทำขึ้นในอดีตมาถึงปัจจุบัน ใครทำบาปอกุศลมาก ก็เป็นอุปสรรคขัดข้องมากตามส่วน นี่เป็นเรื่องอดีต แต่ในเรื่องปัจจุบัน ผู้รู้ที่ประสงค์ที่จะประพฤติปฏิบัติภาวนาธรรมให้เห็น ให้ถึงดวงปฐมมรรคเร็ว ก็ต้องบำเพ็ญคุณความดีอันได้แก่ ทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศล ให้เพิ่มมากขึ้น
    ทานกุศลนั้น เป็นเครื่องชำระกิเลสประเภทความตระหนี่ ความเห็นแก่ตัว ประเภทความโลภ ประเภทตัณหาราคะ ประเภทความยึดมั่นถือมั่นด้วยตัณหาและทิฏฐิ ให้หมดไปจากจิตใจให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ให้เบาบางลง แปลว่าให้รู้จักละ รู้จักวาง เมื่อละวางได้มากเท่าใด ใจก็ว่างได้มากเท่านั้น เพราะฉะนั้น พระพุทธองค์จึงทรงบำเพ็ญบารมีคือ ทานกุศลเป็นทานบารมี อุปบารมี ปรมัตถบารมี เป็นเบื้องต้นและเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่ง
    ส่วนศีลกุศลนั้น เป็นเครื่องป้องกันหรือเครื่องกลั่นกรองความประพฤติปฏิบัติ ที่เป็นการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นให้เดือดร้อน เพราะฉะนั้น ผู้ใดรักษาศีลบริสุทธิ์อยู่เสมอ กาย วาจา ก็สะอาดบริสุทธิ์ จิตใจก็อ่อนโยนที่จะอบรมให้หยุด ให้นิ่ง ได้โดยง่าย เพราะไม่ต้องเดือดร้อนด้วยเวรภัยซึ่งจะเกิดขึ้นจากความประพฤติผิดศีล แปลว่าผู้รักษาศีล จิตใจก็สงบ กายวาจาก็สงบระงับ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ใจได้รับการอบรมให้สงบระงับได้โดยง่าย
    ส่วนภาวนากุศล ต้องทำบ่อยๆ เนืองๆ ไม่ละเว้นเสียกลางคัน ด้วยใจรัก ด้วยความเพียร ด้วยความต่อเนื่อง ด้วยมีสติพิจารณาในเหตุสังเกตในผล ปรับจิตใจของตนให้หยุดให้นิ่ง ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ให้สามารถทำทุกอิริยาบถ คือเดิน ยืน นั่ง และนอน ยามเมื่อว่างจากภารกิจการงาน ตรึกนึกให้เห็นดวงแก้วกลมใส ใจอยู่ในกลางของกลาง ตรงจุดเล็กใส บริกรรมภาวนาว่า "สัมมาอรหังๆๆ" ไว้มากๆ ต่อเนื่องไปมากๆ ศีลกุศลก็จะเจริญขึ้นด้วย ใจก็จะได้รับการฝึกอบรมให้หยุดให้นิ่งได้โดยง่าย หรือที่เรียกว่าจิตจะเป็นเร็วขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แม้ก่อนนอน ถ้าก่อนนอนท่านก็ยังบริกรรมนิมิต บริกรรมภาวนาคู่กันไปจนหลับ ก่อนจะหลับ จิตดวงเดิมจะตกศูนย์ จิตดวงใหม่จะลอยเด่นขึ้นมาใส ท่านสามารถจะเห็นได้โดยง่าย และอาศัยอารมณ์เช่นนั้น ก่อนจะหลับ ก่อนจะตื่นเหมือนกัน ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายและใจนั้น จะลอยเด่นขึ้นมาที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ท่านสามารถจะเห็นได้โดยง่าย เมื่อเห็นได้ง่ายแล้ว ท่านก็อาศัยอารมณ์นั้นมาใช้บริกรรมต่อไป ไม่ช้าท่านก็ถึงดวงปฐมมรรคได้
    อย่าลืม จงประกอบทานกุศล เพื่อละเพื่อวาง รักษาศีลเป็นศีลกุศล เพื่อระวังกายวาจาใจ มิให้เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น หมั่นเจริญภาวนากุศล ท่องในใจสัมมาอรหังๆ ตรึกนึกให้เห็นดวงแก้ว กลมใส ใจอยู่ในกลางของกลาง ตรงจุดเล็กใส ที่ศูนย์กลางกายไว้เรื่อยๆ ทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน ยามเมื่อว่างจากภารกิจการงาน จิตจะเป็นเร็วขึ้น และท่านจะถึงดวงปฐมมรรคได้เร็ว
    พระธรรมเทศนาพระเทพญาณมงคล
    เสริมชัย ชยมงฺคโล
    ปฐมเจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม จ.ราชบุรี
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,069
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,153
    ค่าพลัง:
    +70,586
    #ทำอย่างไรจึงจะได้เห็นดวงปฐมมรรคเร็วๆ ?


    ตอบ:
    ปัญหาที่ว่าทำอย่างไรผู้ปฏิบัติจึงจะได้ดวงถึงปฐมมรรคเร็วๆ หรือดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายนับตั้งแต่เบื้องต้น ไปเบื้องกลาง เบื้องสูง
    เอาเบื้องต้นเสียก่อนนั้น ความจริงเป็นเรื่องที่เร่งไม่ได้ การที่ผู้ปฏิบัติภาวนาธรรมจะถึงดวงปฐมมรรคได้นั้น ขึ้นอยู่ที่เหตุปัจจัยที่สำคัญหลายประการ
    ประการที่ 1 ก็คือว่า ขึ้นอยู่ที่บุญกุศล มีทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศล ซึ่งจะ เจริญขึ้นเป็นบารมี อุปบารมี ปรมัตถบารมี มีทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี ... ไปจนถึงเมตตา อุเบกขาบารมี ว่าได้ประกอบบำเพ็ญมากี่มากน้อย
    ประการที่ 2 ในส่วนที่เป็นอธิษฐานบารมี ถ้าหากว่าผู้ปฏิบัติธรรมได้เคยอธิษฐานบารมีไว้ในระดับเบื้องต้นคือปกติสาวก ระยะเวลาของการบำเพ็ญบารมีก็สั้น คือสั้นกว่าผู้ที่ตั้งจิตอธิษฐานสร้างบารมีหรือบำเพ็ญบารมีเป็นพระสาวกที่สูงยิ่งไปกว่านี้ เช่น อัครสาวก อสีติมหาสาวก เป็นต้น หรือสูงขึ้นไปเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า พระสัพพัญญูพุทธเจ้า เหล่านี้ล้วนแต่ต้องบำเพ็ญบารมีมากกว่ากันไปตามระดับ นี้เป็นเหตุปัจจัยหนึ่งว่าได้บำเพ็ญบารมีมากี่มากน้อย
    ประการที่ 3 ขึ้นอยู่ที่บาปอกุศลที่ตนได้กระทำขึ้นในอดีตมาถึงปัจจุบัน ใครทำบาปอกุศลมาก ก็เป็นอุปสรรคขัดข้องมากตามส่วน นี่เป็นเรื่องอดีต แต่ในเรื่องปัจจุบัน ผู้รู้ที่ประสงค์ที่จะประพฤติปฏิบัติภาวนาธรรมให้เห็น ให้ถึงดวงปฐมมรรคเร็ว ก็ต้องบำเพ็ญคุณความดีอันได้แก่ ทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศล ให้เพิ่มมากขึ้น
    ทานกุศลนั้น เป็นเครื่องชำระกิเลสประเภทความตระหนี่ ความเห็นแก่ตัว ประเภทความโลภ ประเภทตัณหาราคะ ประเภทความยึดมั่นถือมั่นด้วยตัณหาและทิฏฐิ ให้หมดไปจากจิตใจให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ให้เบาบางลง แปลว่าให้รู้จักละ รู้จักวาง เมื่อละวางได้มากเท่าใด ใจก็ว่างได้มากเท่านั้น เพราะฉะนั้น พระพุทธองค์จึงทรงบำเพ็ญบารมีคือ ทานกุศลเป็นทานบารมี อุปบารมี ปรมัตถบารมี เป็นเบื้องต้นและเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่ง
    ส่วนศีลกุศลนั้น เป็นเครื่องป้องกันหรือเครื่องกลั่นกรองความประพฤติปฏิบัติ ที่เป็นการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นให้เดือดร้อน เพราะฉะนั้น ผู้ใดรักษาศีลบริสุทธิ์อยู่เสมอ กาย วาจา ก็สะอาดบริสุทธิ์ จิตใจก็อ่อนโยนที่จะอบรมให้หยุด ให้นิ่ง ได้โดยง่าย เพราะไม่ต้องเดือดร้อนด้วยเวรภัยซึ่งจะเกิดขึ้นจากความประพฤติผิดศีล แปลว่าผู้รักษาศีล จิตใจก็สงบ กายวาจาก็สงบระงับ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ใจได้รับการอบรมให้สงบระงับได้โดยง่าย
    ส่วนภาวนากุศล ต้องทำบ่อยๆ เนืองๆ ไม่ละเว้นเสียกลางคัน ด้วยใจรัก ด้วยความเพียร ด้วยความต่อเนื่อง ด้วยมีสติพิจารณาในเหตุสังเกตในผล ปรับจิตใจของตนให้หยุดให้นิ่ง ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ให้สามารถทำทุกอิริยาบถ คือเดิน ยืน นั่ง และนอน ยามเมื่อว่างจากภารกิจการงาน ตรึกนึกให้เห็นดวงแก้วกลมใส ใจอยู่ในกลางของกลาง ตรงจุดเล็กใส บริกรรมภาวนาว่า "สัมมาอรหังๆๆ" ไว้มากๆ ต่อเนื่องไปมากๆ ศีลกุศลก็จะเจริญขึ้นด้วย ใจก็จะได้รับการฝึกอบรมให้หยุดให้นิ่งได้โดยง่าย หรือที่เรียกว่าจิตจะเป็นเร็วขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แม้ก่อนนอน ถ้าก่อนนอนท่านก็ยังบริกรรมนิมิต บริกรรมภาวนาคู่กันไปจนหลับ ก่อนจะหลับ จิตดวงเดิมจะตกศูนย์ จิตดวงใหม่จะลอยเด่นขึ้นมาใส ท่านสามารถจะเห็นได้โดยง่าย และอาศัยอารมณ์เช่นนั้น ก่อนจะหลับ ก่อนจะตื่นเหมือนกัน ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายและใจนั้น จะลอยเด่นขึ้นมาที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ท่านสามารถจะเห็นได้โดยง่าย เมื่อเห็นได้ง่ายแล้ว ท่านก็อาศัยอารมณ์นั้นมาใช้บริกรรมต่อไป ไม่ช้าท่านก็ถึงดวงปฐมมรรคได้
    อย่าลืม จงประกอบทานกุศล เพื่อละเพื่อวาง รักษาศีลเป็นศีลกุศล เพื่อระวังกายวาจาใจ มิให้เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น หมั่นเจริญภาวนากุศล ท่องในใจสัมมาอรหังๆ ตรึกนึกให้เห็นดวงแก้ว กลมใส ใจอยู่ในกลางของกลาง ตรงจุดเล็กใส ที่ศูนย์กลางกายไว้เรื่อยๆ ทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน ยามเมื่อว่างจากภารกิจการงาน จิตจะเป็นเร็วขึ้น และท่านจะถึงดวงปฐมมรรคได้เร็ว


    พระธรรมเทศนาพระเทพญาณมงคล
    เสริมชัย ชยมงฺคโล
    ปฐมเจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม จ.ราชบุรี
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,069
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,153
    ค่าพลัง:
    +70,586
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,069
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,153
    ค่าพลัง:
    +70,586
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,069
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,153
    ค่าพลัง:
    +70,586
    ......................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,069
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,153
    ค่าพลัง:
    +70,586
    pys0hrjqu3zk59t61j8es7o4ymdw5-gc01rpxggbf3xx2o1luhce-2f1gkz6mhgr-_nc_ht-scontent-fcnx3-1-jpg-jpg.jpg
    ในมนุษยโลก เราผ่านไปผ่านมาเท่านั้นเอง ไม่ใช่เป็นบ้านเมืองของเรา ไม่เป็นถิ่นทำเลที่เราอยู่ เป็นทำเลที่ สร้างบารมีเท่านั้น อย่าไปยึดติด

    "...สมบัติเงินทองข้าวของที่เป็นสวิญญาณกทรัพย์ และ อวิญญาณกทรัพย์ที่เราหาได้มา เก็บหอมรอบริบไว้หรือได้มรดกมาก็ดี สิ่งทั้งหลายนั้นเมื่อเรา รักษาอยู่ เมื่อเรายังมีชีวิตเป็นอยู่ ก็เป็นของเราอยู่

    แต่พอแตกกายทำลายขันธ์เท่านั้น สมบัติ เหล่านั้นไม่ใช่ของเราเสียแล้ว กลายเป็นของคนอื่นเสียแล้ว ไม่ใช่ของเราจริงๆ

    ในมนุษยโลก เราผ่านไปผ่านมาเท่านั้นเอง ไม่ใช่เป็นบ้านเมืองของเรา ไม่เป็นถิ่นทำเลที่เราอยู่ เป็นทำเลที่ สร้างบารมี มาบำเพ็ญทาน ศีล เนกขัมม์ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา เท่านั้น นี่ข้อสำคัญรู้จักหลักนี้แล้ว ให้ละสุขอันน้อยเสีย

    สุขอันน้อยนั่นคืออะไร รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่เราใช้สอยอยู่นี้ รูปที่ชอบใจ เสียงที่ชอบใจ กลิ่นที่ชอบใจ รสที่ชอบใจ สัมผัสที่ ชอบใจ ติดอยู่ในกามภพ ที่ให้เราซบอยู่ในกามภพนี้โงศีรษะไม่ขึ้น ไอ้ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นั่นแหละเป็นสุขนิดเดียว

    สุขเล็กน้อยไม่ใช่เป็นสุขมาก สุขชั่วปรบมือกระพือปีกไก่เท่านั้น มันสุขน้อยจริงๆ ให้ละสุขน้อยนั้นเสีย ให้ละ 5 อย่างนี้ คือ รูปที่ชอบใจ เสียงที่ชอบใจ กลิ่น ที่ชอบใจ รสที่ชอบใจ สัมผัสที่ชอบใจ เมื่อละได้แล้วเรียกว่า จาคะ สละสุขที่ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นั้นได้

    ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นั้นเป็นไฉน เงินทองข้าวของ สวิญญาณกทรัพย์ อวิญญาณกทรัพย์ เหล่านี้เรียกว่า รูปสมบัติ ที่เรายินดีในรูปสมบัตินั้นแหละ เรียกว่า ยินดีในรูป

    เสียงยกย่องสรรเสริญ ยกยอสรรเสริญ ชมเชยต่างๆ เหล่านี้ ที่เป็น โลกธรรมเหล่านี้นั่นแหละ ยินดีในเสียง ถ้าเราไปยินดีติดอยู่ในเสียงสรรเสริญอันนั้นละก้อ ทำให้เพลินซบเซาอยู่ในโลกเป็นทุกข์ เป็นสุขกับเขาไม่ได้

    กลิ่นหอมเครื่องปรุงต่างๆ อันเป็น ที่ชื่นเนื้อเจริญใจนั่นแหละ ยินดีในกลิ่น มัวยินดีในกลิ่นอยู่เถิดจะซบเซาอยู่ในมนุษยโลก ใน กามภพ ดุจคนสลบโงศีรษะไม่ขึ้น ติดรสเปรี้ยวหวานมันเค็มอยู่นี่แหละ ยินดีในรส ถ้าว่า ติดอยู่ในรสเช่นนั้นแล้วละก็ หรือติดรสอันใดก็ช่าง ความติดรสอันนั้นแหละ ทำให้โงหัว ไม่ขึ้น

    ยินดีในความสัมผัส ถูกเนื้อต้องตัว ถ้าเอาใจไปยินดีในสัมผัสถูกเนื้อต้องตัวเข้าแล้ว เข้าไปอยู่ในเปือกตมทีเดียว โงศีรษะไม่ขึ้นอีกเหมือนกัน 5 อย่างนี้ให้สัตว์โลกจมอยู่ในวัฏฏสงสาร

    ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ติดอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ออกจาก วัฏฏะไม่ได้ กิเลสวัฏฏ์ กัมมวัฏฏ์ วิปากวัฏฏ์ ออกไม่ได้ ออกจากภพ 3 ไม่ได้ ออกจาก กามไม่ได้

    เพราะสละสิ่งทั้ง 5 ไม่ได้ ถ้าสละสิ่งทั้ง 5 อันเป็นสุขน้อยนี้เสียได้แล้ว เมื่อสละสิ่งทั้ง 5 เสียได้แล้ว จะได้ประสบสุขอันไพบูลย์ ต้องประสบสุขอันไพบูลย์แท้ๆ สุขอันไพบูลย์ ยิ่งๆ ขึ้นไป..."

    คัดลอกบางส่วนจาก
    พระธรรมเทศนา หลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญ
    พระมงคลเทพมุนี ( สด จนฺทสโร )
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,069
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,153
    ค่าพลัง:
    +70,586
    pys0hrjqu3zk59t61j8es7o4ymdw5-gc01rpxggbf3xx2o1luhce-2f1gkz6mhgr-_nc_ht-scontent-fcnx3-1-jpg-jpg.jpg
    ในมนุษยโลก เราผ่านไปผ่านมาเท่านั้นเอง ไม่ใช่เป็นบ้านเมืองของเรา ไม่เป็นถิ่นทำเลที่เราอยู่ เป็นทำเลที่ สร้างบารมีเท่านั้น อย่าไปยึดติด

    "...สมบัติเงินทองข้าวของที่เป็นสวิญญาณกทรัพย์ และ อวิญญาณกทรัพย์ที่เราหาได้มา เก็บหอมรอบริบไว้หรือได้มรดกมาก็ดี สิ่งทั้งหลายนั้นเมื่อเรา รักษาอยู่ เมื่อเรายังมีชีวิตเป็นอยู่ ก็เป็นของเราอยู่

    แต่พอแตกกายทำลายขันธ์เท่านั้น สมบัติ เหล่านั้นไม่ใช่ของเราเสียแล้ว กลายเป็นของคนอื่นเสียแล้ว ไม่ใช่ของเราจริงๆ

    ในมนุษยโลก เราผ่านไปผ่านมาเท่านั้นเอง ไม่ใช่เป็นบ้านเมืองของเรา ไม่เป็นถิ่นทำเลที่เราอยู่ เป็นทำเลที่ สร้างบารมี มาบำเพ็ญทาน ศีล เนกขัมม์ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา เท่านั้น นี่ข้อสำคัญรู้จักหลักนี้แล้ว ให้ละสุขอันน้อยเสีย

    สุขอันน้อยนั่นคืออะไร รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่เราใช้สอยอยู่นี้ รูปที่ชอบใจ เสียงที่ชอบใจ กลิ่นที่ชอบใจ รสที่ชอบใจ สัมผัสที่ ชอบใจ ติดอยู่ในกามภพ ที่ให้เราซบอยู่ในกามภพนี้โงศีรษะไม่ขึ้น ไอ้ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นั่นแหละเป็นสุขนิดเดียว

    สุขเล็กน้อยไม่ใช่เป็นสุขมาก สุขชั่วปรบมือกระพือปีกไก่เท่านั้น มันสุขน้อยจริงๆ ให้ละสุขน้อยนั้นเสีย ให้ละ 5 อย่างนี้ คือ รูปที่ชอบใจ เสียงที่ชอบใจ กลิ่น ที่ชอบใจ รสที่ชอบใจ สัมผัสที่ชอบใจ เมื่อละได้แล้วเรียกว่า จาคะ สละสุขที่ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นั้นได้

    ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นั้นเป็นไฉน เงินทองข้าวของ สวิญญาณกทรัพย์ อวิญญาณกทรัพย์ เหล่านี้เรียกว่า รูปสมบัติ ที่เรายินดีในรูปสมบัตินั้นแหละ เรียกว่า ยินดีในรูป

    เสียงยกย่องสรรเสริญ ยกยอสรรเสริญ ชมเชยต่างๆ เหล่านี้ ที่เป็น โลกธรรมเหล่านี้นั่นแหละ ยินดีในเสียง ถ้าเราไปยินดีติดอยู่ในเสียงสรรเสริญอันนั้นละก้อ ทำให้เพลินซบเซาอยู่ในโลกเป็นทุกข์ เป็นสุขกับเขาไม่ได้

    กลิ่นหอมเครื่องปรุงต่างๆ อันเป็น ที่ชื่นเนื้อเจริญใจนั่นแหละ ยินดีในกลิ่น มัวยินดีในกลิ่นอยู่เถิดจะซบเซาอยู่ในมนุษยโลก ใน กามภพ ดุจคนสลบโงศีรษะไม่ขึ้น ติดรสเปรี้ยวหวานมันเค็มอยู่นี่แหละ ยินดีในรส ถ้าว่า ติดอยู่ในรสเช่นนั้นแล้วละก็ หรือติดรสอันใดก็ช่าง ความติดรสอันนั้นแหละ ทำให้โงหัว ไม่ขึ้น

    ยินดีในความสัมผัส ถูกเนื้อต้องตัว ถ้าเอาใจไปยินดีในสัมผัสถูกเนื้อต้องตัวเข้าแล้ว เข้าไปอยู่ในเปือกตมทีเดียว โงศีรษะไม่ขึ้นอีกเหมือนกัน 5 อย่างนี้ให้สัตว์โลกจมอยู่ในวัฏฏสงสาร

    ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ติดอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ออกจาก วัฏฏะไม่ได้ กิเลสวัฏฏ์ กัมมวัฏฏ์ วิปากวัฏฏ์ ออกไม่ได้ ออกจากภพ 3 ไม่ได้ ออกจาก กามไม่ได้

    เพราะสละสิ่งทั้ง 5 ไม่ได้ ถ้าสละสิ่งทั้ง 5 อันเป็นสุขน้อยนี้เสียได้แล้ว เมื่อสละสิ่งทั้ง 5 เสียได้แล้ว จะได้ประสบสุขอันไพบูลย์ ต้องประสบสุขอันไพบูลย์แท้ๆ สุขอันไพบูลย์ ยิ่งๆ ขึ้นไป..."

    คัดลอกบางส่วนจาก
    พระธรรมเทศนา หลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญ
    พระมงคลเทพมุนี ( สด จนฺทสโร )
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,069
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,153
    ค่าพลัง:
    +70,586
    gC23heONPzaMqNW3_e1iQEDL4fLYdLaDSTMRkbUybLfM&_nc_ohc=9_xAzhqDnlEAX80Gg4_&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    2600.png ธรรมปรากฎเหมือนดวงอาทิตย์ 2600.png

    1f341.png "...เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้นความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะพราหมณ์นั้นได้รู้จักความสิ้นไปของปัจจัยทั้งหลาย เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ พราหมณ์นั้นย่อมกำจัดมืดเสียได้ ดำรงอยู่เหมือนดวงอาทิตย์อุทัยขึ้นมากำจัดความมืด ทำอากาศให้สว่าง ฉะนั้น นี้เป็นธรรมที่ลึกซึ้ง ไม่ใช่เป็นของรู้ถึงได้ง่าย รู้ถึงได้ยากนัก
    1f341.png ธรรมทั้งหลายที่ปรากฏแก่พราหมณ์นั้นเราควรจะรู้ ธรรมอะไรที่ปรากฏแก่พราหมณ์น่ะ และก็บอกลักษณะท่าทางไว้ให้เสร็จ เสมือนดวงอาทิตย์ขึ้นไปแล้วกำจัดความมืดทำอากาศให้สว่าง นี้เป็นข้อใหญ่ใจความสำคัญนัก จะเอาธรรมตรงไหน ดวงไหน ชิ้นไหน อันไหนกัน ธรรมที่เกิดขึ้นแก่พราหมณ์น่ะ
    1f341.png ถ้าว่าไม่รู้จักธรรมดวงนั้น ฟังไปเถอะ สักร้อยครั้งก็ไม่ได้เรื่องได้ราวทีเดียว อุทานคาถานี้ลึกซึ้งอยู่ ไม่ใช่ของง่าย เผอิญจะต้องกล่าวไว้ย่อ ไม่ได้กล่าวพิสดาร เรียกว่า อุทานคาถา ธรรมที่ปรากฏแก่พราหมณ์น่ะ เป็นมนุษย์เป็นหญิงก็ดี ชายก็ดี ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิต ไม่ว่าที่ปรากฏอยู่บัดนี้มีธรรมบังเกิดขึ้นกับใจบ้างไหม
    1f341.png ที่ปรากฏอยู่เสมอน่ะ บางคนก็มี บางคนก็ไม่มี ที่ไม่มีนั้นเทียบด้วยคนตาบอด ที่ธรรมปรากฏขึ้นแล้วน่ะเทียบด้วยคนตาดี เรื่องนี้พระองค์ทรงรับสั่งในเรื่องธรรมว่า ทิฏฺฐธมฺมสุขวิหารี มีธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันทันตาเห็น ธรรมที่บังเกิดปรากฏอยู่กับตัวน่ะ พวกมีธรรมกาย มีธรรมปรากฏแก่ตัวเสมอ พวกไม่มีธรรมกายนานๆ จะปรากฏธรรมสักครั้งหนึ่ง
    1f341.png ธรรมที่ปรากฏขึ้นน่ะประจำตัวเชียวนะ ติดอยู่กับใจของบุคคลนั้น สว่างไสว ถ้าปฏิบัติดีๆ เหมือนดวงอาทิตย์ในกลางวันเชียวนะ แจ่มจ้าอยู่เสมอ แต่ว่าใจนั้นต้องจรดอยู่กับธรรม ถ้าว่าใจไม่จรดอยู่กับธรรม หรือธรรมไม่ติดอยู่กับใจละก็ ความสว่างนั้นก็หายไปเสีย
    1f341.png เหมือนอย่างตามประทีปในเวลากลางวัน ประทีปอย่างย่อมๆ ความสว่างก็น้อย ประทีปนั้นขยายออกไป ความสว่างก็ขยายออกไป อย่างนั้นแหละฉันใด ธรรมก็มีหลายดวง สว่างต่างกันอย่างนั้นเหมือนกัน..."
    270d.png คัดลอกบางส่วนจาก 270d.png
    พระธรรมเทศนา เรื่อง อุทานกถา
    เทศน์เมื่อ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๗
    เทศน์โดย พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,069
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,153
    ค่าพลัง:
    +70,586
    43878994_2351743464839152_1253665275409072128_n-jpg.jpg
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,069
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,153
    ค่าพลัง:
    +70,586
    เรื่อง "โรคจิต กับกรรมฐาน เชิงประสบการณ์"

    ในสมัยที่เป็นพระอาจารย์เสริมชัย ชยมงฺคโล
    บรรยาย ณ อาคารธรรมสถาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๓๑

    โดย พระเทพญาณมงคล
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี

    ***คัดลอกมาบางส่วน

    ขอกราบนมัสการพระคุณเจ้าทุกท่าน ขอเจริญพรท่านผู้ฟังทุกท่าน อาตมภาพได้รับอาราธนาจากท่านศาสตราจารย์ ดร.ระวี ภาวิไล ซึ่งรู้จักกันทั่วไป ให้มาบรรยายในหัวข้อเรื่องที่ว่า "โรคจิต กับกรรมฐานในเชิงประสบการณ์" ซึ่งในเรื่องที่อาตมาจะได้กล่าวถึงนี้ ก็จะวางแนวในการบรรยายเป็นหัวข้อย่อ ๆ ดังต่อไปนี้ โดยจะสรุปผลไว้ก่อนเลยในเบื้องต้น เพื่อจะได้กล่าวถึงประสบการณ์ในรายละเอียดจนกว่าจะหมดเวลา และถ้ามีเวลาพอ อาจเปิดโอกาสให้ท่านที่สนใจ ซักถามเท่าที่อาตมาภาพจะตอบให้ได้

    กล่าวโดยสรุปในเรื่องของโรคจิต กับกรรมฐาน
    ประการแรก การฝึกปฏิบัติพระกัมมัฎฐานที่ถูกต้องตามพระสัทธรรมของพระพุทธเจ้า ซึ่งหมายเอา ถูกต้องทั้งในหลักการที่ภาษาพระเรียกว่า หลักปริยัติ และตามวิธีการปฏิบัติ ให้ได้ผลดี มีแต่ให้ผลเป็นความเจริญรุ่งเรือง และสันติสุข คือความสงบใจ แก่ผู้ปฏบัติแต่ฝ่ายเดียว ไม่ให้มีโทษแต่ประการใดเลย และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยังมีลักษณะที่เป็นธรรมโอสถ รักษาแก้ไข ส่งเสริมจิตใจของผู้อบรม และปฏิบัติธรรมนั้น ให้มีสุขภาพจิตดียิ่ง ๆ ขึ้นไปอีกด้วย ไม่มีว่าจะให้โทษ ให้ทุกข์ หรือเป็นเหตุให้เกิดโรคจิตแม้แต่น้อย นี่กล่าวโดยว่าธรรมปฏิบัติที่ถูกต้องตามหลักวิชชา และถูกต้องตามกระบวนการ หรือวิธีการปฏิบัติ ตามขั้นตอนที่จะให้ผลดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เป็นสมถะ และวิปัสสนากัมมัฏฐาน ซึ่งอาตมาจะได้กล่าวต่อไป

    ประการที่สอง จากประสบการณ์ที่ผ่านมาได้พบเห็นผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคจิตแทบทั้งสิ้น เป็นบุคคลที่มีปัญหาชีวิตอยู่แล้ว และก็แก้ไม่ตกด้วยตนเอง หรือมีเชื้อของโรคจิต มีจิตใจอันฟุ้งซ่านระงับไม่ได้ ด้วยไม่ทราบวิธีการอันถูกต้องอยู่แล้ว แล้วก็ร่อนเร่ไปหาบุคคล หรือสำนักทั้งใน และนอกพระพุทธศาสนาให้ช่วยแก้ปัญหาให้ ซึ่งก็ได้ผ่านมาตามสำนักปฏิบัติพระกัมมัฏฐานต่าง ๆ นี่ประเภทหนึ่ง อีกประเภทหนึ่ง เป็นผู้ปฏิบัติธรรมจากความรู้ ความเข้าใจ ที่ศึกษาเอาเอง เพราะสติปัญญาของคน ไม่เท่ากัน จับประเด็นของธรรมะได้ ไม่ถูกต้อง ตรงจุด ตรงประเด็น ได้เท่าเที่ยมกัน ก็ทำให้ผู้ที่ยังมีความเข้าใจในธรรมปฏิบัติไม่แจ่มแจ้งตามควร ทดลองฝึกปฏิบัติเองโดยไม่มีครูผู้ทรงคุณวุฒิคอยแนะนำ จึงปฏิบัติเปะปะ หลงทางไป แล้วก็เป็นโรคจิต ตั้งแต่อ่อน ๆ ไปจนถึงเป็นมากเอง และบางรายที่เห็นท่าจะไม่ดี ก็ได้มาสู่สำนักปฏิบัติพระกัมมัฏฐานให้แก้ไขให้ อย่างนี้ก็เห็นมีมาก และก็มีอยู่บ้าง ที่ผู้มีปัญาหาได้รับคำแนะนำจากครูบาอาจารย์ที่ขาดตกบกพร่อง หรือผิดเพี้ยนไป จากธรรมปฏิบัติที่ถูกต้อง

    คำว่า "ถูกต้อง" นี่ยากที่ใครจะเป็นผู้ตัดสิน เพราะแต่ละคนที่เป็นผู้ให้คำแนะนำก็ดี หรือผู้วิพากษ์วิจารณ์ทั้งหลายก็ดี ส่วนมากแล้วก็ยังเป็น #เสขบุคคลคือ บุคคลที่ยังต้องศึกษาอยู่ แถมมีอยู่ไม่น้อยเลย ที่เป็น #ปุถุชนผู้ที่ยังหนาด้วยกิเลส และยังไม่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติใน ศีล สมาธิ ปัญญา ดีพอ เพียงแต่อ่านทำความเข้าใจเอาเอง จากตำรับตำรา แล้วคาดคะเนไปตามความรู้ ความเข้าใจของตน ในธรรมปฏิบัติ ที่มีความละเอียดลึกซึ้ง ทั้ง ๆ ที่ตนเองก็ยังไม่รู้จริง แล้วก็ยังไม่เคยปฏิบัติให้เข้าถึงได้ อีกด้วย ย่อมเป็นอันตรายแก่ทั้งตัวผู้วิพากษ์วิจารณ์ หรือให้ข้อชี้แนะนั้นเองด้วย และแก่ทั้งผู้รับฟังคำวิจารณ์ หรือคำชี้แนะเช่นนั้นด้วย นี่ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่ง ที่ชักนำให้ผู้ที่จะไปศึกษาปฏิบัติธรรมเกิดความลังเลสงสัย แล้วก็คว้าอะไรไป ตามที่ตนชอบ หรือไม่ก็ปฏิบัติผิดทางไปได้ และก็การปฏิบัติผิดทางจากการที่มีผู้ไม่รู้จริง แล้ววิพากษ์วิจารณ์ หรือชี้แนะที่ผิด ๆ เช่นนี้แหละ #ที่มีส่วนเป็นเชื้อของความฟุ้งซ่าน และสติไม่ดี เมื่อประกอบด้วยอำนาจวิบากกรรมเดิมที่เคยมีอยู่แล้ว ก็ยิ่งจะช่วยให้อาการของโรคจิตนั้นกำเริบ เป็นรุนแรงขึ้นได้ จนไม่อาจแก้ไขปัญหาของตนเองได้ ข้อนี้ก็เห็นมีอยู่ เพราะฉะนั้น บางคราวที่เราได้ยินข่าวที่ออกมาคลุม ๆ ไม่แจ้งชัด ถ้าจะว่าโดยหลักวิชาการ สถิติและวิจัยแล้ว เห็นว่าผิดหลักการ การออกข่าวคลุม ๆ มาในเชิงว่า กัมมัฏฐาน หรือสำนักกัมมัฏฐานที่เกิดมีมากขึ้น เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลในยุคปัจจุบันเป็นโรคจิตมากขึ้น แม้ข้อมูลเช่นนี้ ก็ยังเป็นข้อมูลที่ยังความเข้าใจผิด คลาดเคลื่อนให้เกิดแก่หมู่ชนที่ไม่รู้แจ้ง ที่ยังไม่ซาบซึ่งในวิธีปฏิบัติ ทั้งในหลักวิชา และในผลของการปฏิบัติดีพอ ให้หลงเข้าใจผิดไปตามนั้นได้ ทั้ง ๆ ที่ เหตุปัจจัยของผู้ที่เป็นโรคจิตนั้น มีมากมายหลายประเด็น



    temp_hash-c2d47481dd77c7e595663c8e4e79a30e-jpg.jpg

    ไฟล์ที่แนบมา:
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,069
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,153
    ค่าพลัง:
    +70,586
    ผู้ถึงธรรมกาย ลักษณะเหมือนเข้าฌานไหม ถ้าไม่ได้นั่งสมาธิ ยังคงธรรมกายไว้ได้ไหม ?


    ผู้ถึงธรรมกายแล้วมีลักษณะเหมือนเข้าฌานหรือไม่ เวลาปกติไม่ได้นั่งสมาธิ สภาพจิต ยังคงสภาพของธรรมกายไว้ได้ตลอดไปหรือ ?
    --------------------------------------------------------------------------------

    ตอบ:


    การที่เราจะเข้าถึงความบริสุทธิ์ จะต้องประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา เพราะฉะนั้นระดับสมาธิก็ขึ้นสูงไปเป็นลำดับ เหมือนกับท่านจะส่งดาวเทียมออกนอกโลก ท่านต้องใช้ “ฐาน” ไม่มีฐาน ยิงไม่ได้ ไม่ทะยานขึ้น ฐานนั้นอุปมาดัง “ศีล” ต้องมีท่อนเชื้อเพลิง ที่จะจุดเพื่อให้เกิดพลังผลักดัน เพื่อจะผลักดันจรวดให้พ้นออกนอกโลก อาจจะ 2-3 ท่อน แล้วแต่พลังของเชื้อเพลิงนั้น นี้อุปมาดั่ง “สมาธิ” และส่วนตัว “ปัญญา” จะเกิดขึ้น ก็อุปมาดั่งว่า เมื่อพ้นแนวดึงดูดของโลก ตัวจรวดจะหลุด เหลือแต่ตัวดาวเทียม เหมือนกับว่า “สมาธิ” ส่งให้เกิด และส่วนตัว “ปัญญา” จะเกิดขึ้นก็อุปมาดั่งว่า เมื่อพ้นแนวดึงดูดของโลก ตัวจรวดจะหลุดเหลือแต่ตัวดาวเทียม เหมือนกับว่า “สมาธิ” ส่งให้เกิด “ปัญญา” ปัญญาส่งให้ดับกิเลสและเข้าถึงธรรมกาย อันเป็นธาตุล้วนธรรมล้วน เพราะฉะนั้นทั้งศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ก็จะเป็นไปโดยอัตโนมัติ เป็นขันธ์ 5 มีศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนะขันธ์ ตั้งแต่หยาบไปจนสุดละเอียดเป็นไปด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ฯลฯ โดยตลอด เพราะฉะนั้น ต้องอาศัยสมาธิเพื่อเป็นแรงขับดัน กล่าวคือ เพื่อชำระกิเลสนิวรณ์ออกจากใจ เพื่อให้ใจหยุดนิ่ง เข้าถึงธาตุล้วนธรรมล้วน คือ “ธรรมกาย” ให้ถึงให้ได้เสียก่อน เมื่อถึงธรรมกายแล้ว ขึ้นอยู่ที่ธาตุธรรมของแต่ละคน คนที่ธาตุธรรมแก่กล้ามากขึ้น ก็จะเห็นธรรมกายสว่างโพลง อยู่ได้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ชำระกิเลสได้มาก ยิ่งเข้าเขตความเป็นพระอริยบุคคลเพียงไร ธรรมกายนั้นย่อมสว่างโพลงตลอดเวลาเพียงนั้น แม้จะเดิน จะยืน จะนอน จะลืมตา หลับตา ก็ย่อมจะเห็นอยู่

    เพราะฉะนั้นสมาธิเบื้องต้น จึงเป็นเสมือนพลังของจรวดที่จะผลักดันหัวจรวด ซึ่งมีดาวเทียมให้หลุดออกไปนอกแรงดึงดูดของโลก เมื่อพ้นแนวแรงดึงดูดของโลกแล้วก็จะลอยได้ พ้นโลกได้ เหมือนกับคนที่ก้าวข้ามโคตรปุถุชนได้แล้ว ธรรมกายจะสว่างโพลงตลอด จะยืน นอน นั่ง เดิน ทุกอิริยาบถ แต่ญาณ (ความเบิกบาน) ของธรรมกายจะไม่เท่ากัน ของพระโสดาบันนั้น ประมาณ 5 วาขึ้นไป สกิทาคามี 10 วาขึ้นไป อนาคามี 15 วาขึ้นไป พระอรหัต 20 วาขึ้นไป ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าก็ใหญ่โตขึ้นไปตามลำดับ

    ทีนี้ แม้ผู้ที่จะเป็นโคตรภูบุคคลก็ดี หรืออาจจะก้าวเข้าสู่ความเป็นอริยบุคคลก็ดี ก็ย่อมเห็นธรรมกาย ยืน เดิน นั่ง นอน ก็เห็น หรือผู้ที่ธาตุธรรมแก่ ถึงแม้จะยังไม่ถึง แต่ใกล้ความเป็นพระอริยบุคคล ก็ย่อมเห็นได้มากได้บ่อย เพราะฉะนั้น ใครที่จรดใจอยู่ที่ศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ดับหยาบไปหาละเอียดไปเสมอ มากเพียงไร ธาตุธรรมของท่านผู้นั้นก็แก่กล้ามากเพียงนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ เดิน ยืน นั่ง นอน ท่านก็จะเห็นอยู่ เรียกว่า มีนิพพานคือความสงบระงับจากกิเลส ตัณหา อุปาทาน (ความยึดติดในขันธ์ 5) ในอารมณ์ แต่ว่าท่านจะถอนออกมาครึ่งหนึ่ง หรือกว่าครึ่งก็แล้วแต่ ถ้าอยู่ในธรรมกายที่ละเอียดๆ ดับหยาบไปหาละเอียด ใจจรดอยู่ที่สุดละเอียดอยู่เสมอ สติก็ครบบริบูรณ์ยิ่งขึ้นตามส่วน ใจก็จะไม่ไปรับอารมณ์อื่นให้เกิดตัณหาอุปาทานได้มาก

    เพราะฉะนั้นเรื่องธรรมกายจึงเป็นที่เข้าใจว่า ถึง ธรรมกายแล้วมีหยาบ-ละเอียด มีอ่อน มีแก่ ตามธาตุธรรม ถ้าใครทำดับหยาบไปหาละเอียดได้เรื่อยตลอดเวลา จิตจรดที่ก้อนธาตุก้อนธรรมอยู่เรื่อย อย่างหลวงพ่อวัดปากน้ำ หลวงพ่อพระภาวนาโกศลเถรท่านเล่าให้ฟังว่า หลวงพ่อวัดปากน้ำ จิตท่านจรดอยู่ที่สุดละเอียดในอายตนะนิพพานเป็นตลอดเวลา อยู่ที่ธาตุล้วนธรรมล้วนที่สุดละเอียดของนิพพาน แม้ขณะพูดหลวงพ่อฯ ก็ทำวิชชาอยู่ เท่าที่อาตมาทราบหลวงพ่อพระภาวนาฯ ก็เป็นเช่นนั้นมาก จิตท่านในส่วนละเอียดบริสุทธิ์มาก

    เพราะฉะนั้นคงจะเข้าใจขึ้น อยู่ที่ธาตุธรรมของแต่ละบุคคล บางคนอยู่ในระดับโคตรภูมาก ธาตุธรรมยังอ่อนอยู่ ก็ต้องทำ (ภาวนา) ต่อให้สุดละเอียดยิ่งๆ ขึ้นไป เพราะฉะนั้นพวกที่ธาตุธรรมอ่อนก็มักจะหลุดๆ ติดๆ ที่ธรรมกาย ซึ่งเป็นธาตุล้วนธรรมล้วนนั้น เห็นๆ หายๆ ก็ต้องทำไปเรื่อยๆ จนกว่าธาตุธรรมจะแก่กล้า แล้วจะเห็นและเป็นถี่ขึ้น จนถึงตลอดเวลาเอง คงจะเข้าใจได้ว่า ในสมัยพุทธกาลพอพระพุทธเจ้าท่านแสดงนิดเดียว ผู้ฟังส่งใจไปตามธรรมนั้น ก็บรรลุแล้วนั้นแหละธาตุธรรมเขาแก่กล้ามาก
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...