สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,154
    ค่าพลัง:
    +70,588
    3z7nggpbhamjdtm8hliohekg_xbdwusoeh6riizmyukd39a1c6b3ax7lns-rewiqjexn-_nc_ht-scontent-fcnx3-1-jpg.jpg


    ใครบอกว่าต้องฆ่าสัตว์เพราะมันเป็นอาชีพแล้วไม่บาป

    "หลวงจบ ฯ" พ่อตาจอมพลถนอม กิตติขจร อดีตนายกไทย กราบหลวงปู่สดวัดปากน้ำ เพื่อขอให้ดูพ่อที่ตายไปเกือบ 20 ปี พอรู้ความจริงสุดท้ายต้องเปลี่ยนศาสนา

    เมื่อ "หลวงจบกระบวนยุทธ" พ่อตาท่านจอมพลถนอม กิตติขจร อดีตนายกไทย ไปกราบหลวงปู่ ฯ เพื่อขอให้ไปตามหาพ่อที่ตายมาแล้วเกือบ 20 ปี ทั้งที่เมื่อก่อนไม่ค่อยเชื่อ เลยอยากลองวิชชาหลวงปู่ สด จนฺทสโร (หลวงพ่อวัดปากน้ำ)

    หลวงจบ ฯ เดิมชื่อแช่ม เป็นพ่อตาท่านจอมพลถนอม กิตติขจร ท่านไปกราบหลวงปู่วัดปากน้ำ ขอร้องให้หลวงปู่ช่วยไปตามพ่อให้ ซึ่งพ่อของหลวงจบ ฯ เป็นแขกฆ่าวัว ฆ่าควาย สมัยนั้นพ่อส่งหลวงจบ ฯ ไปเรียนนายร้อยจนจบพอได้ร้อยโทพ่อหลวงจบก็ตายไปราว ๆ 20 ปี หลวงจบก็ได้ข่าวว่าหลวงปู่วัดปากน้ำเก่งอย่างนั้น ดีอย่างนี้ ก็คิดจะมาทดลองวิชาดู ว่าเก่งจริงหรือไม่จริง

    อยู่มาวันหนึ่งหลวงจบ ฯ ก็มากราบหลวงปู่ ถามหลวงปู่ว่า "เขาลือกันว่า หลวงพ่อเก่ง มีวิชชาดี ก็อยากมาขอความกรุณา เรื่องก็มีอยู่ว่า บิดาของผมเสียชีวิตมานานเกื่อบ 20 ปีแล้ว จะไปเหนือไปใต้ผมก็ไม่รู้เลย แล้วก็ไม่เคยมาเข้าฝันหรือมาให้เห็นเลย อยากจะให้หลวงพ่อดูให้หน่อยว่าไปอยู่ที่ไหนจะไปลำบากลำบนหรือเปล่า ถ้าไปลำบากผมจะมาขอบารมีหลวงพ่อให้ช่วย"

    หลวงปู่ก็เลยเรียกแม่ชีในโรงงานทำวิชชามา แล้วก็สั่งว่า "ไปดูให้เขาที ขึ้นไปดูข้างบนก่อนนะ"

    แม่ชีก็หลับไปพักใหญ่แล้วก็บอกว่า "ไม่เห็นมีเลย" งั้นลงไปดูข้างล่างซิ หลวงปู่บอก แม่ชีก็หลับตาไปอีกพัก แล้วก็บอกว่า "ไม่มี" หลวงปู่บอกว่า ไม่มีได้ไง ข้างบนก็ไม่มี ข้างล่างก็ไม่มี มันต้องมีสิ ลงไปดูให้ลึกกว่านี้อีก จี้ให้มันลึกลงไปอีก แม่ชีก็หลับตาไปอีกพักใหญ่แล้วก็บอกว่า "เจอแล้ว" หลวงปู่ก็ถามว่า "ไปอยู่ลึกมากไหม" แม่ชีก็ตอบว่า "ลึกมากค่ะ" แล้วถามเขาหรือเปล่า ว่าไปทำอะไรมา ถึงไปอยู่ลึกขนาดนั้น หลวงปู่ถามแม่ชี แม่ชีบอกว่า "เขาบอกว่าเชือดวัว เชือดควายขายเป็นประจำ วันละ 3 ถึง 4 ตัว" แล้วถามเขาหรือเปล่า ว่าชื่ออะไร หลวงปู่ถามแม่ชี แม่ชีก็ตอบว่า "ถามค่ะ เขาบอกว่า ช่ื่อโต๊ะลู" พอบอกชื่อเท่านั้น หลวงจบ ฯ ก็ร้องไห้ คลานเข้าไปกราบหลังเท้าหลวงปู่เลย

    ตั้งแต่นั้นมาหลวงจบ ฯ ก็นับถือหลวงปู่วัดปากน้ำเรื่อยมา เลิกนับถือแขก หันมานับถือพุทธศาสนา หลวงจบ ฯ มีน้องชายอยู่คนหนึ่ง ชื่ออาหมัด มีอาชีพเชือดวัวขายเหมือนกัน หลวงจบ ฯก็เรียกอาหมัดมาคุยว่าให้เลิกเสีย บอกว่ามันบาปหนัก แล้วยื่นคำขาดว่า "ถ้ากูบอกมึงไม่เชื่อ มึงกับกู ก็เลิกกัน ไม่ต้องมาเรียกพี่เรียกน้องกันอีก" อาหมัดก็เลิกเชือดวัวขายจริง ๆ ตามคำสอนของหลวงจบ ฯ เพราะกลัวบาป

    อ้างอิง : จากหนังสือ ลุงหลอม มีแก้วน้อย อุปัฏฐาก หลวงปู่สด จนฺทสโร
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,154
    ค่าพลัง:
    +70,588
    เหตุที่คนทำดีได้ชั่ว ทำชั่วแล้วได้ดี

    พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ พระอานนท์ได้กราบทูลให้ทรงทราบถึงเรื่องที่พระสมิทธิ ตอบปัญหาของโปตลิบุตร แต่เพียงแง่เดียว ทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิด ทรงตำหนิว่าเป็นคนเปล่า เพราะปัญหาบางข้อต้องแยกตอบ แล้วทรงจำแนกกรรม ที่บุคคลทำแล้วได้รับผลดีหรือชั่ว แบ่งออกเป็น ๔ พวกคือ

    ✅ ๑. คนบางคนที่เกิดมา ชอบฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ผิดกาม พูดปด พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ โลภมาก พยาบาท และเห็นผิด

    ตายแล้วไปนรกก็มี เพราะผลกรรมชั่วที่ทำไว้ในชาตินี้ จะต้องได้รับผลในชาติหน้า และชาติต่อๆ ไปอีก

    ✅ ๒. คนบางคนที่เกิดมา ชอบฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ผิดกาม พูดปด พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ โลภมาก พยาบาท และเห็นผิด

    ตายแล้วไปสวรรค์ก็มี ที่เป็นดังนี้เพราะเหตุว่ากรรมดีที่ทำไว้ก่อนๆ กำลังให้ผลอยู่ ส่วนกรรมชั่วในปัจจุบันยังไม่ให้ผล หรือเมื่อเวลาใกล้ตาย มีความเห็นชอบ จึงถือเอาอารมณ์นั้นไปเกิดในสวรรค์

    ✅ ๓. คนบางคนที่เกิดมา ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ผิดกาม ไม่พูดปด ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไม่โลภมาก ไม่พยาบาท และเห็นชอบ

    ตายแล้วไปสวรรค์ก็มี เพราะกรรมดีที่ทำไว้ในปัจจุบันให้ผล ต้องได้รับผลดีในชาติหน้า และชาติต่อไป

    ✅๔. คนบางคนที่เกิดมา ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ผิดกาม ไม่พูดปด ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไม่โลภมาก ไม่พยาบาท และเห็นชอบ

    ตายแล้วไปนรกก็มี ที่เป็นดั่งนี้เพราะกรรมชั่ว ที่ทำไว้ในชาติก่อนๆ กำลังตามมาให้ผลอยู่ ส่วนกรรมดีที่ทำไว้ในปัจจุบันยังไม่ให้ผล
    หรือเวลาใกล้ตาย มีความเห็นผิด จึงถือเอาอารมณ์นั้นไปเกิดในนรก

    มหากัมมวิภังคสูตร ๑๔/๓๓๒

    ขยายความ

    พระสูตรนี้ พระพุทธองค์ทรงแสดง “กฏแห่งกรรม” ไว้ชัดเจนแจ่มแจ้งแล้ว ขอให้ชาวพุทธทุกท่าน โปรดท่องหรืออ่านให้บ่อยๆ จนขึ้นใจ และจำได้

    เมื่อเราทำดี แล้วได้รับผลชั่ว ก็จะได้ไม่ท้อใจ ยอมรับความจริงว่า ผลของอกุศลกรรมเก่ากำลังให้ผลอยู่ ใจก็ย่อมสงบสุขได้.

    เอกสารอ้างอิง : ธรรมรักษา. พระไตรปิฎก ฉบับดับทุกข์
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,154
    ค่าพลัง:
    +70,588
    คอลัมน์ “เสียงกระซิบวิชชาธรรมกาย”
    ตอน :: “สติเป็นตัวสำคัญ”

    อาการของคนฝึกสมาธิส่วนใหญ่ จะรู้ตัวเองว่าเกิดอาการอะไรขึ้นระหว่างปฏิบัติบ้าง ส่วนใหญ่จะฟุ้ง คิดโน่น คิดนี่ ไปซักระยะหนึ่งต่อจากนั้นถ้าไม่มีอาการเคลิ้ม หรืออาการของจิตที่ผ่อนคลาย ก็จะทำให้ระยะเวลาในการฝึกสมาธิในครั้งนั้นสั้นลง เพราะถ้ามีสติแต่นั่งแล้วมีอาการฟุ้งอยู่ก็จะทนฝึกต่อไปอีกไม่ได้นานก็ต้องเลิกฝึก เพราะรู้สึกกดดัน รู้เครียด รู้สึกว่าระยะเวลาในการฝึกนั่งสมาธิถึงได้นานจัง เป็นต้น
    ซึ่งโดยปกติของมนุษย์เวลาหลับตาลงจะติดนิสัย เหมือนเวลาเข้านอนเราหลับตาซักพักไม่ว่าใจจะฟุ้งยังไงก็แล้วแต่ หลังจากฟุ้งไประยะหนึ่งก็จะเกิดอาการฟุ้งน้อยลง และอาการเคลิ้มของใจก็จะเริ่มเข้ามามีบทบาท ลักษณะอย่างนี้อีกซักพักก็จะทำให้เราขาดกำลัง ขาดกำลังในที่นี้ก็คือ “ขาดสติ” อาการในลักษณะเช่นนี้ของผู้ปฏิบัติใหม่ ๑๐๐ คน จะเกิดขึ้น ๙๙ คน ซึ่งตัวผู้ปฏิบัติเองก็ไม่รู้ว่าใจตัวเองไม่หยุด เพราะ ณ ขณะนั้นไม่มีกำลังขับเคลื่อนให้ไปต่อได้ ซึ่งเมื่อปฏิบัติมาติดอยู่ตรงนี้ ผลการปฏิบัติของผู้ปฏิบัติจะไม่มีทางก้าวหน้าได้เลย หากต้องการก้าวหน้าต่อไปจะต้องดันตัวเองให้ผ่านจุดนี้ไปให้ได้
    การที่จะผ่านอาการต่าง ๆ ระหว่างการฝึกปฏิบัติสมาธิตัวผู้ปฏิบัติเองต้องรู้ว่าลักษณะอาการของตัวเองเกิดอะไรขึ้นและเกิดขึ้นอย่างไร แล้วใช้สติจัดการกับอาการเหล่านั้น เช่น ใจประกอบด้วย เห็น จำ คิด รู้ เราใช้สติคอยจับดูว่าตัวเห็น ตัวจำ ตัวคิด หรือตัวรู้ ตัวไหนที่ฟุ้งออกไปจากกลางท้อง เมื่อรู้แล้วเราก็ค่อย ๆ จับกลับมาไว้ที่กลางกาย นี่คือการที่ผู้เริ่มต้นฝึกต้องคอยพิจารณา แต่ถ้าหากพิจารณาไม่ได้เพราะเห็น จำ คิด รู้ หนีออกจากกลางกายไปพร้อม ๆ กัน อันนี้ก็ให้ลืมตาแล้วรวมใจไปวางที่กลางท้องใหม่ หรือลุกออกจากที่นั่งไปเดินผ่อนคลายแล้วค่อยกลับมาเริ่มฝึกใหม่
    สำหรับผู้ที่ปฏิบัติจนใจหยุดนิ่งได้ระยะหนึ่งแล้ว เข้าใจและมองเห็นใจที่วางไว้ ณ กลางกาย ผู้ปฏิบัตินั้นก็สามารถที่จะรวบรวมสติและปฏิบัติต่อไปได้ เช่น ท่องสัมมา อะระหัง จี้ไว้ที่กลางใจที่อยู่ในท้องของเรา
    สำหรับผู้ปฏิบัติบางคนใจหยุดได้ ท่องสัมมา อะระหัง จี้ไว้ที่กลางใจ ณ กลางกายได้แล้ว จนเกิดอาการนิ่ง ๆ ว่าง ๆ กว้าง ๆ สว่าง ๆ ฝึกปฏิบัติมาถึงจุดนี้ แต่ไปต่อไม่ได้ หากต้องการไปต่อผู้ปฏิบัติต้องผ่าน ๔ ตัวนี้ให้ได้ (นิ่ง ว่าง กว้าง สว่าง) [ตัวอย่างวิธีการผ่าน เช่น ให้ระลึกถึงสุดลมหายใจเข้าว่าไปสิ้นสุดที่ตรงไหน ณ กลางท้อง แล้วจึงเพ่งหรือจี้ไว้ที่ตรงที่สุดหายใจเข้านั้น หรือจะใช้วิธีขึงเส้นเชือก ๒ เส้นจากสะดือทะลุหลัง จากขวาทะลุซ้าย แล้วจี้หรือเอาใจไปวางที่จุดตัดของเส้นเชือก ๒ เส้นนั้น] ซึ่งเมื่อผ่านได้ก็จะเห็นดวง ซึ่งผู้ปฏิบัติที่หยุดยิ่งได้เช่นนี้ ในระยะต้น ๆ ก็จะเห็นดวง แต่ดวงนั้นหายไปเร็วมาก เห็นเพียงชั่วเซี่ยวของวินาที (สำหรับบางคน) เพราะอะไรถึงเป็นเช่นนั้น สำหรับผู้ปฏิบัติบางคน เมื่อมาถึง ณ จุดนี้ เห็นดวง สติก็เริ่มคลาย ใจก็เริ่มเคลื่อน เกิดความอยาก อยากเห็นชัด ๆ บ้าง อยากเห็นรัศมีบ้าง เกิดความสงสัยบ้าง ใช่หรือไม่ใช่ จริงหรือไม่จริง ในสิ่งที่เกิดขึ้น สิ่งเหล่านี้ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ใจเคลื่อนออกจากที่วางของใจ
    เมื่อผู้ปฏิบัติรู้สภาวะของจิตว่าเกิดอาการอะไรขึ้นกับตัวผู้ปฏิบัติเองแล้ว ดังตัวอย่างข้างต้น ผู้ปฏิบัติต้องตั้งใจและต้องใช้แรงขับเคลื่อนจากสมองเป็นตัวแก้ไขอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างปฏิบัติ ซึ่งแรงขับเคลื่อนจากสมองก็คือ “สติ” นั่นเอง ผู้ปฏิบัติต้องมีสติเพื่อให้รู้ทันอาการทั้งหลายที่เกิดขึ้นระหว่างปฏิบัติสมาธิ เมื่อรู้ทันก็จะรู้วิธีแก้ไขต่อไป

    ผู้บรรยาย :: "ผู้มีเจตนาให้ธรรมเป็นทาน" ๑๑/๐๙/๒๕๕๙
    บันทึกโดย:: “ศิษย์แถวหลัง แต่ใจมุ่งกลาง” ๑๒/๐๙/๒๕๕๙
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,154
    ค่าพลัง:
    +70,588
    พุทธอุทานคาถา


    lphor_tesna_vn.jpg


    10 ธันวาคม 2497

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)

    ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา
    อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส
    อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา
    ยโต ปชานาติ สเหตุธมฺมํ
    ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา
    อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส
    อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา
    ยโต ขยํ ปจฺจยานํ อเวทิ
    ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา
    อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส
    วิธูปยํ ติฏฺฐติ มารเสนํ
    สูโรว โอภาสยมนฺตลิกฺขนฺติ.
    ณ บัดนี้ อาตมภาพจะได้แสดง พุทธอุทานคาถา วาจาเครื่องกล่าวความเปล่งขึ้นของ พระพุทธเจ้า เป็นคาถาที่ลึกลับ ผู้แสดงก็ยากที่จะแสดง ผู้ฟังก็ยากที่จะฟัง เพราะเป็นธรรม อันลุ่มลึกสุขุมนัก เพราะเป็นอุทานคาถาของพระองค์เอง ไม่ใช่ผู้ใดผู้หนึ่ง ไม่มีผู้ใดผู้หนึ่ง ไปทูลถามแต่อย่างหนึ่งอย่างใด พระองค์เมื่อเบิกบานพระหฤทัยโดยประการใดโดยประการ นั้นก็เปล่งอุทานคาถาขึ้น เป็นของลึกลับอย่างนี้ เหตุนี้เราเป็นผู้ได้ฟังอุทานคาถาในวันนี้ เป็นบุญลาภอันประเสริฐล้ำเลิศ ไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพุทธศาสนา ตามวาระ พระบาลีที่ยกขึ้นไว้เป็นนิกเขปคาถาว่า ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา เมื่อนั้นความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป ยโต ปชานาติ สเหตุธมฺมํ เพราะมารู้จักธรรมว่าเกิดแต่เหตุ นี่พระคาถาหนึ่ง ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียร เพ่งอยู่ อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา เมื่อนั้นความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป ยโต ขยํ ปจฺจยานํ อเวทิ เพราะได้รู้ความสิ้นไปของปัจจัยทั้งหลาย นี้เป็นคาถาที่ 2 ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่ พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ วิธูปยํ ติฏฺฐติ มารเสนํ พราหมณ์นั้นกำจัดมารและเสนา เสียได้ หยุดอยู่ สูโรว โอภาสยมนฺตลิกฺขํ ดุจดังดวงอาทิตย์อุทัยขึ้นกำจัดมืด ทำอากาศให้ สว่างฉะนั้น นี้เป็นคาถาที่ 3 สามพระคาถาด้วยกันดังนี้ เพียงเท่านี้ ธรรมะเท่านี้เหมือน ฟังแขก ฟังฝรั่งพูด ฟังจีนพูด เราไม่รู้จักภาษา ถ้ารู้จักภาษาแขก ภาษาฝรั่งเราก็รู้ นี่ก็ฉันนั้น แหละ คล้ายกันอย่างนั้น ฟังแล้วเหมือนไม่ฟัง มันลึกซึ้งอย่างนี้ จะอรรถาธิบายขยายเนื้อ ความคำในพระคาถาสืบไป

    คำว่า ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ นี่เราก็รู้คำว่า ธรรม ทั้งหลายคืออะไร รูปก็เป็นธรรม นามก็เป็นธรรม ธรรมที่ทำให้เป็นรูปเป็นนาม ก็เป็นธรรม เหมือนกัน ธรรมทั้งหลาย คือ กุสลา ธมฺมา ธรรมฝ่ายดี มีเท่าใดหมดพระไตรปิฎก ไม่มีชั่ว เข้าไปเจือปนระคนเลย เรียกว่า กุสลา ธมฺมา ธรรมที่ชั่วตรงกับบาลีว่า อกุสลา ธมฺมา ธรรม ทั้งหลายชั่ว ไม่มีดีเข้าไปเจือปนเลย ชั่วทั้งสิ้นทีเดียว นี้เรียกว่า อกุสลา ธมฺมา ธรรมทั้งหลาย ที่ชั่ว ธรรมทั้งหลายที่ไม่ดีไม่ชั่ว ดีไม่เข้าไปเจือปน ชั่วก็ไม่เข้าไปเจือปน ไม่ดีไม่ชั่ว เป็น กลางๆ อยู่ดังนี้ เรียกว่า อพฺยากตา ธมฺมา นี่เป็นมาติกาแม่บททั้ง 3 นี้ หมดทั้งสกลพุทธศาสนา ธรรมมีเท่านี้ กว้างนักจบพระไตรปิฎกมากมายนัก พระพุทธเจ้าจะมาตรัสเทศนา เท่าใด ในอดีตมีมากน้อยเท่าใดๆ เมื่อรวมธรรมแล้วก็ได้เท่านี้ พระพุทธเจ้ามาตรัสในปัจจุบัน นี้ ถ้ารวมธรรมได้เท่านี้ พระพุทธเจ้าจะมาตรัสในอนาคตภายภาคเบื้องหน้า ก็รวมธรรมได้ เท่านี้ ย่อลงไปว่า ดี ชั่ว ไม่ดีไม่ชั่ว 3 อย่างนี้เท่านั้น ดีเป็นธรรมฝ่ายดี ชั่วเป็นธรรมฝ่าย ชั่ว ไม่ดีไม่ชั่วเป็นธรรมฝ่ายไม่ดีไม่ชั่ว

    คำว่าธรรมทั้งหลาย ในพุทธอุทานนี้ว่า เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มี ความเพียรเพ่งอยู่ ประสงค์ธรรมขาว เมื่อผู้ที่เพียรเพ่งอยู่ก็คล้ายกับคนนอนหลับ นอนหลับ ถูกส่วนเข้าแล้วก็ฝัน เรื่องฝันนี้ไม่ใช่เรื่องของมนุษย์เรานี้ แต่เป็นเรื่องของกายมนุษย์ละเอียด ฝัน นอนหลับแล้วฝัน ว่าฝันเรื่องมันสนุกสนานเหมือนกัน กายมนุษย์นี้มีสิทธิทำได้เท่าใด พูดได้เท่าใด คิดได้เท่าใด กายที่ฝันนั้นก็มีสิทธิ์ทำได้เท่านั้น พูดได้เท่านั้น คิดได้เท่านั้น ไม่แปลกกว่ากันเลย แต่ว่าคนละเรื่อง นี่คนละชั้น นี่คนละชั้นเสียแล้ว เรื่องฝันนี่ เพราะกาย มนุษย์ฝัน กายที่มนุษย์ฝันนั่นแหละ เรียกว่า กายมนุษย์ละเอียด นั่นเขาก็สว่างไสวเหมือน กายมนุษย์นี้แบบเดียวกัน กายฝันนะ ทำได้เท่ามนุษย์นี้เหมือนกัน กายมนุษย์ที่ฝันไปนั่น แหละ ฝันไปทำงานทำการเพลินไปอีก เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า นอนหลับฝันไปอีก ฝันในฝัน เข้าไปอีกชั้นแบบเดียวกัน ออกไปเป็น กายทิพย์ ว่องไวอีกเหมือนกัน กายมนุษย์-กายมนุษย์ ละเอียดที่ฝันชั้นที่หนึ่งนั้น ทำหน้าที่ได้เท่าใด ทำหน้าที่ด้วยกายได้เท่าใด ทำหน้าที่ด้วยวาจา ได้เท่าใด ทำหน้าที่ด้วยใจได้เท่าใด กายทิพย์ที่ฝันในฝันออกไปนั้น ก็ทำหน้าที่ได้เท่านั้น เหมือนกัน ทำกายได้เท่านั้น ทำวาจาได้เท่านั้น ทำใจได้เท่านั้นเหมือนกัน แบบเดียวกัน นี้ คนละเรื่อง อีกเรื่องหนึ่ง ถ้าฝันในฝันแล้วก้อ เรารวนทันที ถ้าฝันแล้วฝันเฉยๆ แล้วก็ไม่รวน เข้ามาใกล้กายมนุษย์ นี่คนละเรื่องอย่างนี้

    นี่ธรรมทั้งหลายที่ปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่เป็นอย่างไร นี่พวกเรารู้กัน อยู่บ้างแล้ว พวกงั่งมีอยู่ พวกเป็นมีอยู่ กล้าพูดได้ทีเดียว เพราะพราหมณ์นั้นมีความเพียรเพ่ง อยู่แล้วนั่นแหละ ความเพ่งมันเป็นอย่างนี้แหละ มันมืดตื้อ มืดตื้อมันก็สงสัย ไอ้มืดนั่นแหละ มันทำให้สงสัย มันไม่เห็นอะไร มันมัวหมองไปหมด ดำคล้ำไปหมด รัวไปหมด ไม่ได้เรื่อง ไม่ได้ราว หนักเข้าๆ รำคาญ หนักเข้าๆ ก็ลืมเสียที มันมืดนัก ไม่ได้เรื่องอย่างนั้น อย่างนั้น ธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ ถ้าจะมาว่าคนฉลาดเพ่งธรรมละก้อ เมื่อนั่งมืดอยู่ละก้อ อ้อ! นี่ อธรรม นี่ อกุสลา ธมฺมา ไม่ใช่ธรรมที่สว่าง นั่งไปๆ ถูกส่วนเข้า สว่างวูบเข้าไปเหมือนฝันทีเดียว สว่าง วูบเข้าไป ปรากฏทีเดียวเหมือนลืมตา บางคนตกใจนะ นี่หลับตาหรือลืมตานะ มันสว่างอย่างนี้ ก็ลืมตาดูเสียที อ้าว! สว่างนั่นหายไปเสียแล้ว นั่นมีสว่างได้อย่างนั้น มีมืดอย่างนั้น นั่งหลับ ตาปุบ แล้วกัน ก็มืดตื้อ เมื่อมืดเช่นนั้นเป็นอธรรม เมื่อสว่างขึ้น ปรากฏชัดขึ้นเหมือนกลางวัน นั่นเป็นธรรม ไม่สว่างไม่มืด รัวๆ อยู่ นั่นก็เป็นธรรมเหมือนกัน เป็น อัพยากตธรรม

    ธรรมมี 3 อย่างนี้ มืดเป็นอกุศลธรรม สว่างเป็นกุศลธรรม ไม่มืดไม่สว่างเป็นอัพยากตธรรม นี่ธรรมเป็นชั้นๆ กันไป มืด สว่าง ไม่มืดไม่สว่าง ทั้งมืดทั้งสว่าง ทั้งไม่มืดไม่สว่าง นั่นหรือเป็นธรรมที่ปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ ซึ้งยิ่งกว่านั้น ธรรมทั้งหลาย ที่ปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่นั้น ปรากฏชัด เมื่อนั่งลงไปแล้วปรากฏแน่แน่ว ทีเดียว พอนั่งถูกส่วนเข้า ทำใจให้หยุด พอนั่งถูกส่วนเข้า ก็ใจหยุดทีเดียว เมื่อใจหยุด นี่ ตรงกับบาลีว่า ยโต ปชานาติ สเหตุธมฺมํ เพราะมารู้จักธรรมว่าเกิดแต่เหตุ

    ธรรมที่เกิดแต่เหตุ นั่นธรรมอะไร เหตุมี 6 โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ โลภเหตุ เป็นฝ่ายชั่ว โทสเหตุเป็นฝ่ายชั่ว โมหเหตุก็เป็นฝ่ายชั่ว ฝ่ายดีล่ะ ท่านวางไว้เป็นอโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ

    อโลโภ ทานเหตุ ความไม่โลภเป็นเหตุให้บริจาคทาน อโทโส สีลเหตุ ความไม่โกรธ เป็นเหตุให้รักษาศีล อโมโห ภาวนาเหตุ ความไม่หลงเป็นเหตุให้เจริญภาวนา พอรู้ชัดว่า ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ อ้อ! การที่เราให้ทานนี้เกิดแต่เหตุคือความไม่โลภ การที่มา รักษาได้นี้ เกิดจากเหตุคือความไม่โลภ การที่มารักษาศีลได้นี้ เกิดจากเหตุคือความ ไม่โกรธ การที่เรามาเจริญภาวนาได้นี้ เกิดจากเหตุคือความไม่หลง ความไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง เป็นเหตุให้รักษาศีล ให้เจริญภาวนา ที่เราจะให้ทานขึ้นได้นี้เรียกว่าอโลภเหตุ เราจะ บริจาคทานนี้ก็เป็นธรรมอันหนึ่ง เรามารักษาศีลก็เป็นธรรมอันหนึ่ง มาเจริญภาวนาก็เป็น ธรรมอันหนึ่ง เพราะมาแต่ความไม่โลภ มาจากความไม่โกรธ มาจากความไม่หลง เรื่อง ให้ทานก็เป็นอเนกประการ เรื่องรักษาศีลก็เป็นอเนกประการ เรื่องเจริญภาวนาก็เป็น อเนกประการ

    ธรรมอันนี้หรือ ที่ปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ ความสงสัยทั้งปวงของ พราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะมารู้จักว่าธรรมเกิดแต่เหตุ ยิ่งกว่านั้นลงไป เมื่อพราหมณ์นั้น มานั่งเพ่ง ถูกส่วนเข้าแล้ว ใจก็หยุดทีเดียว หยุดศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ หยุดนิ่ง พอใจหยุดได้เท่านั้น พอใจหยุดนิ่งเท่านั้น สูโรว โอภาสยมนฺตลิกฺขํ ดุจดังดวง อาทิตย์อุทัยขึ้นกำจัดมืด ทำอากาศให้สว่างไสว นี่เป็นกลางวันอย่างนี้ ดวงอาทิตย์ก็เห็นโร่ อย่างนั้น เห็นอย่างนี้เป็นดวงเท่าดวงจันทร์ ติดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ติดกลางกายมนุษย์นั่น ดวงเท่าดวงอาทิตย์ ติดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย มนุษย์ จะมองอะไรเห็นตลอดหมด เหมือนกับกลางวันอย่างนี้แหละ จะดูอะไรก็ดูไป เมื่อธรรม ปรากฏขึ้นแก่พราหมณ์ ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นก็สิ้นไปหมดไป เพราะได้รู้ความสิ้น ของปัจจัยทั้งหลาย ยโต ขยํ ปจฺจยานํ อเวทิ เพราะได้รู้ความสิ้นไปของปัจจัยทั้งหลาย สว่าง ขึ้นแล้ว เมื่อเห็นความสิ้นไปของปัจจัยทั้งหลาย

    อะไรเล่าเป็นปัจจัยที่สิ้นไป ปัจจัยนี่ก็ยากไม่ใช่น้อยเหมือนกัน ปัจจัยคือดังนี้ คำที่เรียก ว่าปัจจัย อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร แน่ะความโง่ ความไม่รู้จริง เป็นปัจจัยแล้ว สังขาร ความปรุงให้ดีให้งามตกแต่งอยู่ร่ำไป ต้องตกแต่งอยู่ร่ำไป ปรนเปรออยู่ร่ำไป สังขารนั่นแหละ เป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ รู้ดีรู้ชั่วอยู่ร่ำไป วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป นามรูปมีเกิดดับ อยู่เป็นธรรมดา นามรูปเป็นปัจจัยให้เกิดสฬายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สฬายตนะเป็น ปัจจัยให้เกิดผัสสะ ความกระทบทางตา ทางหู จมูก ลิ้น กาย ใจ ผัสสะเมื่อกระทบเข้าแล้ว เป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา ชอบ ไม่ชอบ เฉยอยู่ เวทนาปรากฏเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา ตัณหา ปรากฏขึ้นแล้วเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน อุปาทานปรากฏขึ้นแล้วเป็นปัจจัยให้เกิดภพ ก่อน ปัจจัยกันเป็นชั้นๆ อย่างนี้ เมื่อมีกามภพ รูปภพ อรูปภพ ก็เป็นปัจจัยให้เกิดชาติ เมื่อ ชาติมีขึ้นแล้ว ชาตินั้นคืออะไร ชาติคือกำเนิด นั่นแหละ ชลาพุชะ (เกิดในครรภ์), อัณฑชะ (เกิดในไข่), สังเสทชะ (เกิดในเถ้าไคล), อุปปาติกะ (เกิดผุดขึ้น), ชาติคือกำเนิด ที่ เกิด เขา เรียก ชาติ ออกจากกำเนิดนั่นแหละ ชาติมีขึ้นแล้วเป็นปัจจัยให้เกิด ชรา (ความแก่), มรณะ (ความตาย), โสกะ (ความโศก), ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ), ทุกข์ (ทุกข์กาย), โทมนัส (ทุกข์ใจ), อุปายาส (ความคับแค้นใจ), เป็นลำดับไป เป็นปัจจัยกันอย่างนี้ รู้จักความสิ้นไป ของปัจจัยทั้งหลาย

    เมื่อสิ้นไปอย่างไร ความโง่ไม่มี หายไปหมด ดับไปหมด เมื่ออวิชชา ความไม่รู้จริงดับ สังขารก็ดับ สังขารดับ วิญญาณก็ดับ วิญญาณดับ นามรูปก็ดับ นามรูปดับ สฬายตนะก็ดับ สฬายตนะดับ ผัสสะก็ดับ ผัสสะดับ เวทนาก็ดับ เวทนาดับ ตัณหาก็ดับ ตัณหาดับ อุปาทานก็ดับ อุปาทานดับ ภพก็ดับ ภพดับ ชาติก็ดับ ชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ก็ต้องดับ ไม่เหลือเลย นี้ความสิ้นไป เมื่อรู้ความสิ้นไปของปัจจัยทั้งหลายเหล่านี้แล้ว วิธูปยํ ติฏฺฐติ มารเสนํ พราหมณ์นั้นก็กำจัดมารและทั้งเสนาได้แล้ว หยุดอยู่ได้ คือ ใจหยุด นั่นเอง ไม่ใช่อื่น ใจหยุด พอหยุดถูกส่วนเข้าเท่านั้นเอง สูโรว โอภาสยมนฺตลิกฺขํ ความสว่างเกิด ขึ้น ดุจดังดวงอาทิตย์อุทัยขึ้นกำจัดมืด ทำอากาศให้สว่าง เราก็มองเห็นดวง ดังนั้น ที่ปรากฏ ดังนั้น เมื่อปรากฏขึ้นดังนั้นแล้ว พราหมณ์นั้นก็รักษาดวงนั้นไว้ไม่ให้หายไป ที่วัดปากน้ำ เขา เป็นแล้ว ของลึกก็จริง แต่ว่าวัดปากน้ำพบแล้ว

    แต่ว่าผู้พบก็ไม่รู้ว่าลึกซึ้งแค่ไหน ได้แต่ลึกซึ้งอย่างนี้ จริงอย่างนั้น แล้วก็ไปทำ เหลวไหลเสีย ให้ดับเสียบ้าง ให้หายเสียบ้าง ไปกังวลอื่นเสีย ไม่กังวลของลึกซึ้งอย่างนี้ นี่มีมากทีเดียว

    ในวัดปากน้ำนี้ ทั้งสว่างทำได้ขนาดนี้นะ ยิ่งกว่านี้ไปอีก เดี๋ยวจะเล่าเรื่องวัดปากน้ำที่ ทำสว่างขึ้นได้แค่ไหน ตรงกับพุทธอุทานนี้แล้ว เมื่อสว่างขึ้นได้ดังนั้นแล้วก็ได้เป็นลำดับไป นั่นสว่าง ดวงนั้นเขาเรียกว่า ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ใจของผู้กระทำนั้น ก็หยุดนิ่งอยู่ ศูนย์กลางดวงสว่างนั้น พอถูกส่วนเข้าก็เห็น ดวงศีล ดวงเท่ากัน หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล พอถูกส่วนเข้าก็เห็น ดวงสมาธิ ดวงเท่ากัน หยุดนิ่งอยู่กลางดวงสมาธิ พอถูกส่วนเข้า ถึง ดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา พอถูกส่วนเข้า ถึง ดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์ กลางดวงวิมุตติ พอถูกส่วนเข้า ถึง ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอถูกส่วนเข้า หยุดท่าเดียว หยุดอยู่ท่าเดียว กำจัดมารให้หยุดทีเดียว หยุดนิ่งอยู่ ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็น กายที่ฝัน ทีเดียว ตั้งแต่กายมนุษย์ขึ้นไป เห็นกายที่ฝัน อ้อ! กายฝันอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ เราไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหน เมื่อฝันแล้ว มัน ก็รัวไป

    ใจกายที่ฝัน ใจกายมนุษย์ละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย มนุษย์ละเอียดอีก เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์อย่างนั้น หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้น ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงศีล หยุดนิ่งอยู่ กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็เห็น ดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลาง ดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็นกายฝันในฝัน ก็คือ กายทิพย์

    ใจกายทิพย์หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ถูกส่วนเข้า เห็นดวง ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่กลาง ดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าก็เห็น ดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่ง อยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็น กายทิพย์ละเอียด

    ใจกายทิพย์ละเอียดหยุดนิ่งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด ดังนี้ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงศีล หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่กลาง ดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่กลางดวง วิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าก็เห็น กายรูปพรหม

    ใจกายรูปพรหม ก็หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ถูกส่วนเข้า ก็เห็นแบบเดียวกัน ก็เข้าถึง กายรูปพรหมละเอียด

    ใจกายรูปพรหมละเอียด ก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ละเอียด ถูกส่วนเข้าก็เห็น กายอรูปพรหม แบบเดียวกัน

    ใจกายอรูปพรหมก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำเป็นกายอรูปพรหม ถูกส่วนเข้า ก็ถึง กายอรูปพรหมละเอียด

    ใจกายอรูปพรหมละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ละเอียด ถูกส่วนเข้า เห็น กายธรรม หน้าตักหย่อนกว่า 5 วา สูง 5 วา นั้นเรียกว่า กายธรรม กายธรรมนั่นเองเป็นพระพุทธเจ้า ธมฺมกาโย อหํ อิติปิ เราตถาคตคือธรรมกาย นั่นแหละ พระพุทธเจ้า

    ใจกายธรรม ก็หยุดนิ่งอยู่กลางใจดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรม แบบเดียวกัน ถูก ส่วนเข้าก็เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงเท่ากันกับดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย เท่าหน้าตักธรรมกาย กลมรอบตัว หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เห็นดวงศีล เท่ากัน หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์ กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าก็เห็น กายธรรมละเอียด หน้าตัก 5 วา สูง 5 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป

    ใจกายธรรมละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมละเอียด ถูก ส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 5 วา กลมรอบตัว ใส ทีเดียว ยิ่งกว่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ บริสุทธิ์สนิททีเดียว สว่างไสว หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลาง ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงศีล ดวงเท่ากัน แล้วต่อไปก็ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ เป็นลำดับไป หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวง วิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็น กายธรรมพระโสดา หน้าตัก 5 วา สูง 5 วา เกตุ ดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป

    ใจกายพระโสดาหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ แบบเดียวกัน เห็น กายพระโสดาละเอียด หน้าตัก 10 วา สูง 10 วา

    ใจกายพระโสดาละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางกายพระโสดาละเอียด ถูกส่วนเข้า ก็ เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เห็นดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวง วิมุตติญาณทัสสนะ แบบเดียวกัน เข้าถึง กายพระสกทาคา หน้าตัก 10 วา สูง 10 วา หยุด นิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระสกทาคา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน แบบเดียวกัน เห็นดวงศีล ดวงสมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ถูก ส่วนเข้าก็เห็น กายพระสกทาคาละเอียด หน้าตัก 15 วา สูง 15 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป

    ใจพระสกทาคาละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระสกทาคา ละเอียด ถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เห็นดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าก็เห็น กายพระอนาคา

    ใจกายพระอนาคาก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอนาคา ถูก ส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เห็นดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ แบบเดียวกัน เข้าถึง กายพระอนาคาละเอียด หน้าตัก 20 วา สูง 20 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป

    ใจของกายพระอนาคาละเอียด ทำถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 20 วา สูง 20 วา กลมรอบตัว เห็นดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ เท่าๆ กัน ก็เห็น กายพระอรหัต หน้าตัก 20 วา สูง 20 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป

    ใจกายพระอรหัตหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอรหัต ถูกส่วน เข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวง วิมุตติญาณทัสสนะ 20 วา เท่ากันหมด ปรากฏเห็น กายพระอรหัตละเอียด ใสหนักขึ้นไป

    ตำราวัดปากน้ำเขาสอนกันได้อย่างนี้ แต่ว่าที่จะเป็นพระโสดา พระสกทาคา พระอนาคา อรหัต นั้น ไม่ติด ไม่หลุดซะ แต่ว่าทำได้ตลอดเลยไปจากนี้อีก ทำไปมากกว่านี้ ถึงกายพระอรหัต พระอรหัตละเอียดๆๆ ต่อๆ ไป นับอสงไขยก็ไม่ถ้วน ผู้เทศน์นี้สอน เป็น คนสอนเอง 23 ปี 5 เดือนนี้ ได้ทำไปอย่างนี้แหละ ไม่ถอยหลังเลย ยังไม่สุดกายของ ตัวเอง เมื่อยังไม่สุดกายของตัวเองแล้ว ตัวเองก็ปกครองตัวเองยังไม่ได้ ยังมีคนอื่นเป็นผู้ ปกครองลับๆ เพราะไม่ไป ถ้าไปถึงที่สุดแค่ไหน เขาก็ปกครองได้แค่นั้น นี่ผู้เทศน์ยังแนะนำ สั่งสอนให้ไปถึงที่สุดสายธาตุสายธรรมของตัวเอง เมื่อถึงที่สุดสายธาตุสายธรรมของตัวเอง ละก้อ เป็นกายๆ ไปดังนี้ ตัวเองก็จะปกครองตัวเองได้ ไม่มีใครปกครองต่อไป ตัวเองก็เป็น ใหญ่ในตัวเอง ตัวเองก็จะบันดาลความสุขให้ตัวเองได้ กำจัดความทุกข์ได้ ไม่ให้เข้ายุ่งได้

    นี่คนอื่นเขายังบันดาลอยู่ คนอื่นเขายังให้อยู่ เหมือนความแก่ดังนี้ เราไม่ปรารถนา เลย เขาก็ส่งความแก่มาให้ เราก็ต้องรบความแก่นั่นแหละ ความเจ็บล่ะ เราไม่ปรารถนา ความเจ็บ เขาก็ส่งความเจ็บมาให้ ความตายล่ะ เราไม่ปรารถนาเลย เขาก็ส่งความตายมา ให้ เพราะเหตุไร เพราะเหตุว่าตัวเองไม่เป็นใหญ่ด้วยตัวของตัวเอง คนอื่นเขามาปกครอง เขาส่งมาให้ ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ตัวมีความรู้ไม่พอ ก็ต้องรบเหมือนดังนี้ เราอยู่ ปกครองประเทศไทย ประเทศไทยเขาต้องการอย่างไร ผู้ปกครองเขาต้องการอย่างไร เราก็ ต้องไปตามเขา ไม่ตามเขาไม่ได้ ต้องอยู่ในบังคับบัญชาเขา

    ถ้าจะอยู่นอกปกครองเขา ต้องไปให้ถึงที่สุดสายธาตุสายธรรมของตัว ไปถึงที่สุด สายธาตุสายธรรมของตัวละก้อ ในที่สุดนั้นไม่มีใครปกครองเลย เราปกครองของเราเอง เราก็ไม่ต้องรับความแก่ ความเจ็บ ความตาย ก็ได้ เพราะเรามีอำนาจพอแล้ว เราไม่อยู่ใน ปกครองก็ได้ตามความปรารถนา แต่ว่าต้องไปให้สุดสายธาตุสายธรรมของตัว ถ้าให้สุด สายธาตุสายธรรมของตัวไม่ได้ละก้อ เลี้ยงเอาตัวรอดไม่ได้ บัดนี้เราเป็นภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกาในพระพุทธศาสนา เมื่อมาฟังอุทานคาถา รู้ว่าธรรมของพระศาสดาลึกซึ้ง อย่างนี้ ขนาดนี้ละก็ อุตส่าห์ อย่าประมาท อย่าเลินเล่อ อย่าเผลอตัว อย่างคนมีปัญญา อย่างคนรู้ดีรู้ชั่ว อย่าเล่นเอาอย่างเด็ก ถ้าเมื่อเล่นอย่างเด็กแล้วก็เล่นหม้อข้าวหม้อแกง เล่นฝุ่นเล่นทรายอยู่ละก้อ ชีวิตจะไม่พอใช้ เพราะเขาเล่นละครกันเป็นบ้านๆ โรงๆ กัน ใน โลกนี้เขาเรียกว่า ละครโรงใหญ่ เล่นฝุ่น เล่นทราย เล่นแปลกๆ ไปตามหน้าที่ เอาจริงๆ แท้ๆ ไม่ได้สักคนหนึ่ง ขึ้นไปแล้วก็ตายกันหมด เอาจริงเอาแท้เหลือสักคนหนึ่งก็ไม่มี เพราะเหตุอะไรเล่า เพราะเหตุว่าเลินเล่อเผลอตัวไป มนุษย์โลกนี้เราผ่านไปผ่านมา เข้าใจ ว่าเป็นบ้านของเราเมืองของเราเสียใหญ่โตมโหฬารทีเดียว เข้าใจเสียอย่างนั้นก็เข้าใจผิด ไปนี่แหละละคร กายเรานี่นะโตกว่าบ้านเมืองเหล่านี้มากนัก ให้ไปชมดูเถิด แต่ว่าต้องไป ให้ถึงที่สุดนี้ให้ได้นะ ไปที่สุดของกายเหล่านี้ได้ก็จะเอาตัวรอดได้เป็นแท้

    ที่ได้ชี้แจงแสดงมา ในพุทธอุทานคาถา ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบายพอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้าง ธรรมปฏิบัติ มาตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมี แก่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอ สมควรแก่เวลา สมมติยุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการ ฉะนี้.
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,154
    ค่าพลัง:
    +70,588
    #ให้ละธรรมดํายังธรรมขาวให้เจริญ

    ธรรมที่ทําให้เป็นกายเป็นลําดับไป จนกระทั่งถึง กายพระอรหัตนั่นแหละเป็นสวากขาตธรรมละ ธรรมที่ พระตถาคตเจ้ากล่าวดีแล้วกล่าวชอบแล้ว ถูกหลักถูกฐาน ที่เดียวไม่ใช่อื่นละ ไปตามร่องรอยนั้น ถ้าว่าปฏิบัติตาม แนวนั้น คนทั้งหลายเหล่านั้น ก็ย่อมถึงซึ่งฝั่ง ล่วงเสียซึ่ง วัฏฏะเป็นที่ตั้งแห่งมัจจุยากที่บุคคลจะล่วงได้
    ล่วงซึ่งวัฏฏะนั่นมันอะไรละ กัมมวัฏฐ์ กิเลสวัฏฐ์ วิปากวัฏฐ์ ไม่ข้องขัดเรื่อยไป ล่วงเสียได้แล้ว ยากที่บุคคล จะล่วงได้ ไม่ใช่เป็นของง่าย แต่ว่าต้องปฏิบัติตามธรรม ที่พระตถาคตเจ้ากล่าวชอบแล้วจึงจะล่วงได้ ที่ล่วงได้ไปถึง นิพพาน ได้เป็นพระอรหัตตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหาน นั่นล่วงได้แล้ว

    พวกนี้ล่วงได้แล้วทั้งนั้น เมื่อล่วงได้ขนาดนี้ ตามวาระ พระบาลีว่า ถ้าจะไปทางนี้ ผู้ดําเนินด้วยคติของปัญญา ให้ละธรรมดําเสีย ยังธรรมขาวให้เจริญขึ้น ดําไมให้มีเลย เข้าถึงดวงธรรมที่ทําให้เป็นภายมนุษย์ ก็ใสเป็นแก้ว หาหลักอื่นไม่ได้ ดวงธรรมที่ทําให้เป็น กายมนุษย์ละเอียด ดวงธรรมที่ทําให้เป็นกายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหม รูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหม อรูปพรหมละเอียด ใสหนักขึ้นไป สว่างหนักขึ้นไปดําไม่มีไปแผ้วพานเลย นี้ให้ละธรรมดําเสีย อย่างนี้ ยังธรรมขาวให้สะอาด ให้บังเกิดปรากฏขึ้นอย่างนี้ ให้เกิดปรากฏจนกระทั่งถึงธรรมกายตลอดไปนั้นธรรมขาว ทั้งนั้น พวกเหล่านี้ จาก

    พระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ ๒๓ เรื่อง ติลักขณาทิคาถา

    ๔ เมษายน ๒๕๕๗

    #หลวงพ่อสดวัดปากน้ํา

    www.watluangphorsodh.org/

    #วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    #หลวงป๋า #ธรรมกาย #หลวงพ่อสด

    sGyfJYbNeb8HNgQ0_K2GpQU1faA15S795eRqFAu6W3SF&_nc_ohc=jE7L20-xUl8AX9leYBV&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,154
    ค่าพลัง:
    +70,588
    1183457055-jpg.jpg







    อรรถกถา ขุททกนิกาย พุทธวงศ์
    รัตนะจงกรมกัณฑ์
    หน้าต่างที่ ๖ / ๑๒.

    บัดนี้ เพื่อแสดงความถึงพร้อมด้วยปาฏิหาริย์ ๓ อย่างของพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านพระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวว่า
    พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นำโลก ทรงเชี่ยวชาญใน
    ปาฏิหาริย์ ๓ คือ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์
    และอนุสาสนีปาฏิหาริย์ จึงทรงเนรมิตที่จงกรม อัน
    สร้างสรรด้วยรัตนะทั้งหมด สำเร็จลงด้วยดี.


    แก้อรรถ
    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิทฺธิ ได้แก่ การแสดงฤทธิ์ ชื่อว่าอิทธิปาฏิหาริย์. อิทธิปาฏิหาริย์นั้น มาโดยนัยเป็นต้นว่า แม้คนเดียวก็เป็นมากคนบ้าง แม้มากคนก็เป็นคนเดียวได้บ้าง.
    บทว่า อาเทสนา ได้แก่ การรู้อาจาระทางจิตของผู้อื่นแล้วกล่าว ชื่อว่าอาเทสนาปาฏิหาริย์. อาเทสนาปาฏิหาริย์นั้น ก็คือการแสดงธรรมเป็นประจำของพระสาวกทั้งหลายและของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
    บทว่า อนุสาสนี ก็คือ อนุสาสนีปาฏิหาริย์. อธิบายว่า โอวาทอันเกื้อกูลแก่อัธยาศัยของมหาชนนั้นๆ.
    ปาฏิหาริย์ ๓ เหล่านี้มีดังกล่าวมาฉะนี้.
    บรรดาปาฏิหาริย์ ๓ เหล่านั้น อนุสาสนีปาฏิหาริย์ด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ เป็นอาจิณปฏิบัติของท่านพระโมคคัลลานะ. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ด้วยอาเทสนาปาฏิหาริย์ เป็นอาจิณปฏิบัติของท่านพระธรรมเสนาบดี [สารีบุตร]. ส่วนอนุสาสนีปาฏิหาริย์เป็นการแสดงธรรมเป็นประจำของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
    บทว่า ติปาฏิหีเร ความว่า ในปาฏิหาริย์ ๓ เหล่านี้.
    คำว่า ภควา นี้เป็นชื่อของท่านผู้ควรคารวะอย่างหนัก ผู้สูงสุดในสัตว์ ประเสริฐด้วยพระคุณ.
    สมจริงดังที่ท่านโบราณาจารย์กล่าวไว้ว่า
    ภควาติ วจนํ เสฏฺฐํ ภควาติ วจนมุตฺตมํ
    คุรคารวยุตฺโต โส ภควา เตน วุจฺจติ.
    คำว่า ภควา เป็นคำประเสริฐสุด คำว่า ภควา เป็น
    คำสูงสุด ท่านผู้ควรแก่คารวะอย่างหนักพระองค์
    นั้น ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า ภควา.

    บทว่า วสี ได้แก่ ผู้ถึงความเป็นผู้ชำนาญในปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้.
    อธิบายว่า ความชำนาญที่สั่งสมไว้.
    วสี ๕ คือ อาวัชชนวสี สมาปัชชนวสี อธิษฐานวสี วุฏฐานวสีและปัจจเวกขณวสี ชื่อว่าวสี.
    บรรดาวสีเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนึกถึงฌานใดๆ ตามความปรารถนา ตามเวลาปรารถนา เท่าที่ปรารถนา ความเนิ่นช้าในการนึกไม่มีเลย เหตุนั้น ความที่ทรงสามารถนึกได้เร็วจึงชื่อว่าอาวัชชนวสี.
    ทรงเข้าฌานใดๆ ตามความปรารถนา ฯลฯ ก็เหมือนกัน ความเนิ่นช้าในการเข้าฌานไม่มีเลย เหตุนั้น ความที่ทรงสามารถเข้าฌานได้เร็วจึงชื่อว่าสมาปัชชนวสี.
    ความที่ทรงตั้งอยู่ได้ตลอดกาลนาน ชื่อว่าอธิษฐานวสี.
    ความที่ทรงสามารถออกจากฌานได้เร็วก็เหมือนกัน ชื่อว่าวุฏฐานวสี.
    ส่วนปัจจเวกขณวสี ย่อมเป็นปัจเจกขณชวนะจิตทั้งนั้น ปัจจเวกขณชวนะจิตเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นในลำดับต่อจากอาวัชชนจิตนั่นแล เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้โดยอาวัชชวสีเท่านั้น.
    ความที่ทรงเป็นผู้เชี่ยวชาญในวสี ๕ เหล่านี้ ย่อมชื่อว่าทรงเป็นผู้ชำนาญ ด้วยประการฉะนี้ ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้ชำนาญในปาฏิหาริย์ ๓ ดังนี้.
    บัดนี้ เมื่อจะแสดงวิธีเนรมิตรัตนจงกรมนั่น ท่านจึงกล่าวคาถาเป็นต้นว่า
    จึงทรงแสดงยอดสิเนรุบรรพต ในหมื่นโลกธาตุ
    เป็นประหนึ่งเสาตั้งเรียงรายกันเป็นรัตนจงกรม
    ที่จงกรมสำเร็จด้วยรัตนะ.

    แก้อรรถ
    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทสสหสฺสีโลกธาตุยา ได้แก่ ในหมื่นจักรวาล.
    บทว่า สิเนรุปพฺพตุตฺตเม ได้แก่ ทรงทำภูเขาอันประเสริฐสุดที่เรียกกันว่ามหาเมรุ.
    บทว่า ถมฺเภว ความว่า ทรงทำสิเนรุบรรพตในหมื่นจักรวาลให้เป็นประหนึ่งเสาตั้งอยู่เรียงรายเป็นระเบียบ ทรงทำให้เป็นดังเสาทองแล้วทรงเนรมิตที่จงกรมเบื้องบนเสาเหล่านั้นแสดงแล้ว.
    บทว่า รตฺนามเย ก็คือ รตนมเย แปลว่า สำเร็จด้วยรัตนะ.
    บทว่า ทสสหสฺสี อติกฺกมฺม ความว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงเนรมิตรัตนจงกรม ก็ทรงเนรมิตทำปลายข้างหนึ่งของรัตนจงกรมนั้นตั้งล้ำขอบปากจักรวาลด้านทิศตะวันออกท้ายสุดทั้งหมด ทำปลายอีกข้างหนึ่งตั้งล้ำขอบปากจักรวาลด้านทิศตะวันตก.
    ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า
    พระชินพุทธเจ้าทรงเนรมิตรัตนจงกรมล้ำหมื่นโลกธาตุ
    ตัวจงกรมเป็นรัตนะ พื้นที่สองข้างเป็นทองหมด.

    แก้อรรถ
    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชิโน ได้แก่ ชื่อว่าชินะ เพราะทรงชนะข้าศึกคือกิเลส.
    บทว่า สพฺพโสณฺณมยา ปสฺเส ความว่า ที่สองข้างของที่จงกรมที่ทรงเนรมิตนั้น มีพื้นที่อันเป็นขอบคันเป็นทองน่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง. อธิบายว่า ตรงกลางเป็นแก้วมณี.
    บทว่า ตุลาสงฺฆาฏา ได้แก่ จันทันคู่. จันทันคู่นั้น พึงทราบว่าก็เป็นรัตนะต่างๆ.
    บทว่า อนุวคฺคา ได้แก่ สมควร.
    บทว่า โสวณฺณผลกตฺถตา แปลว่า ปูด้วยแผ่นกระดานที่เป็นทอง. อธิบายว่า หลังคาไม้เลียบที่เป็นทอง เบื้องบนจันทันขนาน.
    บทว่า เวทิกา สพฺพโสวณฺณา ความว่า ไพรที [ชุกชี] ก็เป็นทองทั้งหมด ส่วนไพรที่ล้อมที่จงกรมก็มีไพรที่ทองอย่างเดียว ไม่ปนกับรัตนะอื่นๆ.
    บทว่า ทุภโต ปสฺเสสุ นิมฺมิตา แปลว่า เนรมิตที่ทั้งสองข้าง. ท อักษรทำบทสนธิต่อบท.
    บทว่า มณิมุตฺตาวาลุกากิณฺณา แปลว่า เรี่ยรายด้วยทรายเป็นที่เป็นแก้วมณีและแก้วมุกดา.
    อีกนัยหนึ่ง แก้วมณีด้วย แก้วมุกดาด้วย ทรายด้วย ชื่อว่าแก้วมณีแก้วมุกดาและทราย.
    เรี่ยรายคือลาดด้วยแก้วมณีแก้วมุกดาและทรายเหล่านั้น เหตุนั้นจึงชื่อว่าเรี่ยรายด้วยแก้วมณีแก้วมุกดาและทราย.
    บทว่า นิมฺมิโต ได้แก่ เนรมิต คือทำด้วยอาการนี้.
    บทว่า รตนามโย ได้แก่ สำเร็จด้วยรัตนะทั้งหมด. อธิบายว่า ที่จงกรม.
    บทว่า โอภาเสติ ทิสา สพฺพา ความว่า ส่องสว่างกระจ่างตลอดทั่วทั้ง ๑๐ ทิศ.
    บทว่า สตรํสีว ได้แก่ เหมือนดวงอาทิตย์พันแสงฉะนั้น.
    บทว่า อุคฺคโต แปลว่า อุทัยแล้ว.
    อธิบายว่า ก็ดวงอาทิตย์ [พันแสง] อุทัยขึ้นแล้วย่อมส่องแสงสว่างตลอดทั่วทั้ง ๑๐ ทิศฉันใด ที่จงกรมที่เป็นรัตนะทั้งหมดแม้นี้ ก็ส่องสว่างฉันนั้นเหมือนกัน.
    บัดนี้ เมื่อที่จงกรมสำเร็จแล้ว เพื่อแสดงความเป็นไปของพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ ที่จงกรมนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวคาถาว่า
    พระชินสัมพุทธเจ้าจอมปราชญ์ ผู้ทรงพระมหา-
    ปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ เมื่อทรงรุ่งโรจน์ ณ ที่
    จงกรมนั้น ก็เสด็จจงกรม ณ ที่จงกรม.
    เทวดาทั้งหมดมาประชุมกัน พากันโปรยดอก
    มณฑารพ ดอกปทุม ดอกปาริฉัตตกะ อันเป็นของ
    ทิพย์ลงเหนือที่จงกรม.
    หมู่เทพในหมื่นโลกธาตุ ก็บันเทิง พากันชม
    พระสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ต่างยินดีร่าเริงบันเทิงใจ
    พากันมาชุมนุมนมัสการ.

    แก้อรรถ
    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธีโร ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยธิติปัญญา.
    บทว่า ทฺวตฺตึสวรลกฺขโณ ความว่า ผู้ทรงประกอบด้วยพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการมีฝ่าพระบาทตั้งลงด้วยดี.
    บทว่า ทิพฺพํ ได้แก่ ดอกไม้ที่เกิดในเทวโลก ชื่อว่าของทิพย์.
    บทว่า ปาริฉัตตกะ ความว่า ต้นปาริฉัตตกะที่น่าชมอย่างยิ่ง ขนาดร้อยโยชน์โดยรอบ บังเกิดเพราะผลบุญแห่งการถวายต้นทองหลางของทวยเทพชั้นดาวดึงส์. เมื่อปาริฉัตตกะต้นใดออกดอกบานแล้ว ทั่วทั้งเทพนครจะอบอวลด้วยกลิ่นหอมเป็นอย่างเดียวกัน. วิมานทองใหม่ทั้งหลายที่กลาดเกลื่อนด้วยละอองดอกของปาริฉัตตกะต้นนั้น จะปรากฎเป็นสีแดงเรื่อๆ. และดอกของต้นปาริฉัตตกะนี้ ท่านเรียกว่า ปาริฉัตตกะ.
    บทว่า จงฺกมเน โอกิรนฺติ ความว่า ย่อมโปรยลง ณ ที่รัตนจงกรมนั้น บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งกำลังเสด็จจงกรม ณ ที่จงกรมนั้น ด้วยดอกไม้ดังกล่าวนั้น.
    บทว่า สพฺเพ เทวา ได้แก่ เทวดาทั้งหลายมีเทวดาที่เป็นกามาวจรเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปสฺสนฺติ ตํ เทวสงฺฆา หมู่เทพทั้งหลายก็พากันชมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.
    อธิบายว่า หมู่เทพพากันชมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเสด็จจงกรม ณ รัตนจงกรม แม้ในสุราลัยทั้งหลายของตนเอง.
    บทว่า ทสสหสฺสี เป็นปฐมาวิภัตติ ลงในอรรถสัตตมีวิภัตติ.
    อธิบายว่า หมู่เทพในหมื่นโลกธาตุ ชมพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น.
    บทว่า ปโมทิตา แปลว่า บันเทิงแล้ว.
    บทว่า นิปตนฺติ ได้แก่ ประชุมกัน.
    บทว่า ตุฏฺฐหฏฺฐา ได้แก่ ยินดีร่าเริง ด้วยอำนาจปิติ พึงเห็นการเชื่อมความบทว่า ปโมทิตา ว่า บันเทิงกับเทวดาทั้งหลายมีเทวดาชั้นดาวดึงส์เป็นต้น ที่พึงกล่าว ณ บัดนี้. การเชื่อมความนอกจากนี้ ก็ไม่พ้นโทษคือการกล่าวซ้ำ.
    อีกอย่างหนึ่ง ความว่า เทวดาทั้งหลายบันเทิงแล้ว ชมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ยินดีร่าเริงบันเทิงใจแล้วก็พากันประชุม ณ ที่นั้นๆ.
    บัดนี้ เพื่อแสดงถึงเหล่าเทพที่ชมที่ประชุมกันโดยสรุป ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า
    เหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ เทวดาชั้นยามา เทวดา
    ชั้นดุสิต เทวดาชั้นนิมมานรดี เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี
    มีจิตโสมนัสมีใจดีพากันชมพระผู้นำโลก.
    เหล่านาค สุบรรณและเหล่ากินนรพร้อมทั้งเทพ
    คนธรรพ์มนุษย์และรากษส พากันชมพระผู้มีพระภาค
    เจ้า ผู้ทรงเกื้อกูลและอนุเคราะห์โลกพระองค์นั้น เหมือน
    ชมดวงจันทร์ซึ่งโคจร ณ ท้องนภากาศฉะนั้น.
    เหล่าเทวดาชั้นอาภัสสระ ชั้นสุภกิณหะ ชั้น
    เวหัปผลาและชั้นอกนิฏฐะ ทรงครองผ้าขาวสะอาด พา
    กันยืนประคองอัญชลี.
    พากันโปรย ดอกมณฑารพ ๕ สี ประสมกับจุรณ
    จันทน์ โบกผ้าทั้งหลาย ณ ภาคพื้นอัมพรในครั้งนั้น
    อุทานว่า โอ! พระชินเจ้าผู้เกื้อกูลและอนุเคราะห์โลก.

    แก้อรรถ
    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุทคฺคจิตฺตา ได้แก่ ผู้มีจิตเบิกบานด้วยอำนาจปีติโสมนัส.
    บทว่า สุมนา ได้แก่ ผู้มีใจดี เพราะเป็นผู้มีจิตเบิกบาน.
    บทว่า โลกหิตานุกมฺปกํ ได้แก่ ผู้เกื้อกูลโลก และผู้อนุเคราะห์โลก หรือผู้อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูลแก่โลก ชื่อว่าโลกหิตานุกัมปกะ.
    บทว่า นเภว อจฺจุคฺคตจนฺทมณฺฑลํ ความว่า พากันชมพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รุ่งโรจน์ด้วยพุทธสิริ ที่ทำความชื่นมื่นแก่ดวงตา เหมือนชมดวงจันทร์ในฤดูสารทที่พ้นจากอุปัทวะทั้งปวง เต็มดวง ซึ่งอุทัยใหม่ๆ ในอากาศนี้.
    บทว่า อาภสฺสรา ท่านกล่าวโดยกำหนดภูมิที่สูงสุด.
    เทพชั้นปริตตาภา อัปปมาณาภาและอาภัสสระที่บังเกิดด้วยทุติยฌาน อันต่างโดยกำลังน้อย ปานกลางและประณีต พึงทราบว่าท่านถือเอาหมด.
    บทว่า สุภกิณฺหา ท่านก็กล่าวไว้โดยกำหนดภูมิที่สูงสุดเหมือนกัน เพราะฉะนั้น เทพชั้นปริตตสุภา ชั้นอัปปมาณสุภา และชั้นสุภกิณหะที่บังเกิดด้วยตติยฌาน อันต่างโดยกำลังน้อยเป็นต้น ก็พึงทราบว่าท่านถือเอาหมดเหมือนกัน.
    บทว่า เวหปฺผลา ได้แก่ ชื่อว่าเวหัปผลา เพราะมีผลไพบูลย์.
    เทพชั้นเวหัปผลาเหล่านั้นอยู่ชั้นเดียวกับเทพที่เป็นอสัญญสัตว์ทั้งหลายเพราะเกิดด้วยจตุตถฌาน. แต่เทพที่นับเนื่องในหมู่พรหมเป็นต้นซึ่งบังเกิดด้วยปฐมฌานท่านแสดงไว้ในภูมิเบื้องต่ำ เพราะฉะนั้น ท่านจึงไม่แสดงไว้ในที่นี้.
    อสัญญสัตว์และอรูปีสัตว์ ท่านมิได้ยกขึ้นแสดงในที่นี้ เพราะไม่มีจักษุและโสตะ.
    บทว่า อกนิฏฺฐา จ เทวตา ท่านกล่าวไว้แม้ในที่นี้ก็โดยกำหนดภูมิสูงสุดเหมือนกัน. เพราะฉะนั้น เทพชั้นสุทธาวาสทั้ง ๕ คืออวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสีและอกนิฏฐะ พึงทราบว่า ท่านก็ถือเอาด้วย.
    บทว่า สุสุทฺธสุกฺกวตฺถวสนา ความว่า ผ้าทั้งหลายอันสะอาดด้วยดี คือหมดจดดีอันขาว คือผ่องแผ้ว ผ้าอันขาวสะอาดดีอันเทพเหล่าใดนุ่งและห่มแล้ว เทพเหล่านั้นชื่อว่าผู้นุ่งห่มผ้าขาวอันสะอาดดี.
    อธิบายว่า ผู้ครองผ้าขาวบริสุทธิ์ ปาฐะว่า สุสุทฺธสุกฺกวสนา ดังนี้ก็มี.
    บทว่า ปญฺชลีกตา ความว่า ยืนประคองอัญชลี คือทำอัญชลีเสมือนดอกบัวตูมไว้เหนือเศียร.
    บทว่า มุญฺจนฺติ ได้แก่ โปรย.
    บทว่า ปุปฺผํ ปน ได้แก่ ก็ดอกไม้.
    ปาฐะว่า ปุปฺผานิ วา ดังนี้ก็มี พึงเห็นว่าเป็นวจนะวิปลาสะ แต่ใจความของคำนั้นก็อย่างนั้นเหมือนกัน.
    บทว่า ปญฺจวณฺณิกํ แปลว่า มีวรรณะ ๕. วรรณะ ๕ คือสีเขียว เหลือง แดง ขาวและแดงเข้ม.
    บทว่า จนฺทนจุณฺณมิสฺสิตํ แปลว่า ประสมด้วยจุรณจันทน์.
    บทว่า ภเมนฺติ เจลานิ แปลว่า โบกผ้าทั้งหลาย.
    บทว่า อโห ชิโน โลกหิตานุกมฺปฺโต ได้แก่ เปล่งคำสดุดีเป็นต้นอย่างนี้ว่า โอ! พระชินเจ้าผู้เกื้อกูลโลก โอ! พระผู้เกื้อกูลอนุเคราะห์โลก โอ! พระผู้มีกรุณา.
    เชื่อมความว่า โปรยดอกไม้ โบกผ้าทั้งหลาย.
    บัดนี้ เพื่อจะแสดงคำสดุดีที่เทพเหล่านั้นประกอบแล้ว พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า
    พระองค์เป็นศาสดา เป็นที่ยำเกรง เป็นธง เป็น
    หลัก เป็นที่พำนัก เป็นที่พึ่ง เป็นประทีปของสัตว์มี
    ชีวิตทั้งหลาย เป็นผู้สูงสุดในสัตว์สองเท้า.
    เทวดาทั้งหลายในหมื่นโลกธาตุผู้มีฤทธิ์ ผู้ยินดี
    ร่าเริงบันเทิงใจ ห้อมล้อมนมัสการ.
    เทพบุตรและเทพธิดาผู้เลื่อมใส ยินดีร่าเริงพากัน
    บูชาพระนราสภ ด้วยดอกไม้ ๕ สี.
    หมู่เทพเลื่อมใสยินดีร่าเริงชมพระองค์พากันบูชา
    พระนราสภ ด้วยดอกไม้ ๕ สี.
    โอ! น่าปรบมือในโลก น่าประหลาด น่าขนชูชัน
    อัศจรรย์ ขนลุก ขนชันเช่นนี้ เราไม่เคยพบ.
    เทวดาเหล่านั้นนั่งอยู่ในภพของตนๆ เห็นความ
    อัศจรรย์ในนภากาศ ก็พากันหัวเราะด้วยเสียงดัง.
    อากาศเทวดา ภุมมเทวดาและเทวดาผู้ประจำ
    ยอดหญ้า และทางเปลี่ยว ก็ยินดีร่าเริงบันเทิงใจ
    ประคองอัญชลีนมัสการ.
    พวกนาคที่มีอายุยืน มีบุญ มีฤทธิ์ บันเทิงใจแล้ว
    ก็พากันนมัสการบูชาพระนราสภ.
    เพราะเห็นความอัศจรรย์ในนภากาศ เครื่องสังคีต
    ดีดสีทั้งหลายก็บรรเลง เครื่องดนตรีหุ้มหนังก็ประโคม
    ในอัมพรภาคพโยมหน.
    เพราะเห็นความอัศจรรย์ในนภากาศ สังข์
    บัณเฑาะว์และกลองน้อยๆ เป็นอันมากก็พากันบรรเลง
    ในท้องฟ้า.
    ในวันนี้ ความที่ขนชูชัน น่าอัศจรรย์เกิดขึ้นแล้ว
    หนอ เราจักได้ความสำเร็จ ประโยชน์แน่แท้ เราได้ขณะ
    กันแล้ว.
    เพราะได้ยินว่า พุทฺโธ เทพเหล่านั้นก็เกิดปีติใน
    ทันใด พากันยืนประคองอัญชลี กล่าวว่า พุทฺโธ พุทฺโธ.
    หมู่เทพต่างๆ ในท้องฟ้า พากันประคองอัญชลี
    เปล่งเสียง หึ หึ เปล่งเสียงสาธุ โห่ร้องเอิกอึงลิงโลดใจ.
    เทพทั้งหลาย พากันขับกล่อมประสานเสียง
    บรรเลง ปรบมือและฟ้อนรำ โปรยดอกมณฑารพ ๕ สี
    ประสมกับจุรณจันทน์.
    ข้าแต่พระมหาวีระ ด้วยประการไรเล่า ลักษณะ
    จักรที่พระบาททั้งสองของพระองค์ จึงประดับด้วยธง
    วชิระ ประฏาก เครื่องแต่งพระองค์ ขอช้าง.

    แก้อรรถ
    ในคาถานั้น ที่ชื่อว่า สตฺถา พระศาสดา เพราะทรงสอนประโยชน์เกื้อกูลในโลกนี้และโลกหน้า.
    บทว่า เกตุ ได้แก่ ชื่อว่าเกตุ เพราะทรงเป็นเหมือนธง เพราะอรรถว่าธงพึงเป็นของที่พึงยำเกรง.
    บทว่า ธโช ได้แก่ เป็นธงองค์อินทร์ พระองค์ทรงเป็นเหมือนธง เพราะอรรถว่ายกขึ้น และเพราะอรรถว่าน่าชม เหตุนั้นจึงชื่อว่าเป็น ธชะ ธง.
    อีกนัยหนึ่ง เหมือนอย่างว่า เขาเห็นธงของผู้หนึ่งผู้ใด ก็รู้ว่านี้ธงของผู้มีชื่อนี้ เหตุนั้นผู้นี้ชื่อว่าผู้มีธง คือธชี ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ธโช ยูโป จ.
    อธิบายว่า พระองค์ทรงเป็นหลัก ที่เขายกขึ้น เพื่อบูชายัญทั้งหลายทั้งปวงที่มีทานเป็นต้นมีอาสวักขยญานเป็นที่สุด ดังที่ตรัสไว้ในกูฏทันตสูตร.
    บทว่า ปรายโน ได้แก่ เป็นที่พำนัก.
    บทว่า ปติฏฺฐา ได้แก่ แม้พระองค์ก็ทรงเป็นที่พึ่ง เหมือนแผ่นมหาปฐพี เป็นที่พึ่งพาอาศัย เพราะเป็นที่รองรับสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงฉะนั้น.
    บทว่า ทีโป จ ได้แก่ เป็นประทีป.
    อธิบายว่า ประทีปที่เขายกขึ้นสำหรับสัตว์ทั้งหลายที่อยู่ในความมืดมีองค์ ๔ ย่อมส่องให้เห็นรูปฉันใด พระองค์ก็ทรงเป็นประทีปส่องให้เห็นปรมัตถธรรม สำหรับเหล่าสัตว์ที่อยู่ในความมืดคืออวิชชาฉันนั้น.
    อีกนัยหนึ่ง แม้พระองค์ก็ทรงเป็นเหมือนเกาะ ของสัตว์ทั้งหลายผู้จมลงในสาครคือสังสารวัฏอันเป็นที่พึ่งไม่ได้ เหมือนเกาะกลางสมุทร เป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย ที่เรืออัปปางในมหาสมุทรฉะนั้น เหตุนั้นจึงชื่อว่า ทีปะ เป็นเกาะ.
    บทว่า ทฺวิปทุตฺตโม ได้แก่ ผู้สูงสุดแห่งสัตว์สองเท้า ชื่อว่าทวิปทุตตมะ. ในคำนี้ ไม่คัดค้านฉัฏฐีสมาส เพราะไม่มีลักษณะแห่งนิทธารณะ จึงสำเร็จรูปเป็นสมาสแห่งฉัฏฐีวิภัตติที่มีนิทธารณะเป็นลักษณะ.
    ถ้าจะพึงมีคำถามว่า ก็พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นผู้สูงสุดแห่งสัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีเท้า มีสองเท้า มีสี่เท้า มีเท้ามาก มีรูป ไม่มีรูป มีสัญญา ไม่มีสัญญา ที่มีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ แต่เพราะเหตุไร ในที่นี้ท่านจึงกล่าวว่าสูงสุดแห่งสัตว์สองเท้าเล่า.
    พึงตอบว่า โดยเหตุที่ทรงเป็นผู้ประเสริฐกว่า. .
    จริงอยู่ ธรรมดาผู้ประเสริฐสุดในโลกนี้เมื่อเกิด ย่อมไม่เกิดในประเทศของสัตว์ไม่มีเท้าและสัตว์สี่เท้า ท่านผู้นี้ย่อมเกิดในเหล่าสัตว์สองเท้าเท่านั้น.
    ถามว่า ในเหล่าสัตว์สองเท้าประเภทไร.
    ตอบว่า ในเหล่ามนุษย์และเทวดาทั้งหลาย.
    เมื่อเกิดในเหล่ามนุษย์ย่อมบังเกิดเป็นพระพุทธเจ้าผู้สามารถทำสามพันโลกธาตุ มากพันโลกธาตุให้อยู่ในอำนาจได้ เมื่อเกิดในเหล่าเทวดาย่อมบังเกิดเป็นท้าวมหาพรหม ซึ่งมีอำนาจในหมื่นโลกธาตุได้. ท้าวมหาพรหมนั้นย่อมพร้อมที่จะเป็นกัปปิยการกหรืออารามิกของพระพุทธเจ้านั้น ดังนั้น พระพุทธเจ้า ท่านจึงเรียกว่าสูงสุดแห่งสัตว์สองเท้า โดยเหตุที่ทรงเป็นผู้ประเสริฐกว่าท้าวมหาพรหมแม้นั้น.
    บทว่า ทสสหสฺสีโลกธาตุยา ได้แก่ โลกธาตุที่นับได้หมื่นหนึ่ง.
    บทว่า มหิทฺธิกา ได้แก่ ประกอบด้วยฤทธิ์อย่างใหญ่. อธิบายว่า มีอานุภาพมาก.
    บทว่า ปริวาเรตฺวา ได้แก่ ห้อมล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยรอบ.
    บทว่า ปสนฺนา ได้แก่ เกิดศรัทธา.
    บทว่า นราสภํ ได้แก่ ทรงเป็นผู้ประเสริฐสุดในนรชน.
    ในบทว่า อโห อจฺฉริยํ นี้ชื่อว่าอัจฉริยะ เพราะไม่มีเป็นนิตย์ เหมือนอย่างคนตาบอดขึ้นเขา หรือชื่อว่าอัจฉริยะ เพราะควรแก่การปรบมือ.
    อธิบายว่า ควรเพื่อปรบมือว่า โอ! นี้น่าประหลาดจริง.
    บทว่า อพฺภุตํ ได้แก่ ไม่เคยเป็น ไม่เป็นแล้ว เหตุนั้นจึงชื่ออัพภุตะ.
    แม้สองคำนี้ก็เป็นชื่อของความประหลาดใจ.
    บทว่า โลมหํสนํ ได้แก่ ทำความที่โลมชาติมีปลายขึ้น [ชูชัน].
    บทว่า น เมทิสํ ภูตปุพฺพํ ความว่า เรื่องที่ไม่เคยเป็น ไม่เป็นเช่นนี้ เราไม่เคยเห็น.
    พึงนำคำว่า ทิฏฺฐํ เห็น มาประกอบไว้ด้วย.
    บทว่า อจฺเฉรกํ แปลว่า อัศจรรย์.
    บทว่า สกสกมฺหิ ภวเน ได้แก่ ในภพของตนๆ.
    บทว่า นิสีทิตฺวา ได้แก่ เข้าไปนั่งใกล้.
    ก็คำว่า เทวตา นี้พึงทราบว่า เป็นคำกล่าวทั่วไปทั้งแก่เทพบุตร ทั้งแก่เทพธิดา.
    บทว่า หสนฺติ ตา ความว่า เทวดาเหล่านั้นหัวเราะลั่น ไม่ทำความแย้มยิ้ม หัวร่อสนั่นไหว เพราะหัวใจตกอยู่ใต้อำนาจปิติ.
    บทว่า นเภ ได้แก่ ในอากาศ.
    บทว่า อากาสฏฺฐา ได้แก่ เทวดาที่อยู่ ณ วิมานเป็นต้นในอากาศ.
    แม้ในเทวดาที่อยู่ภาคพื้นดินก็นัยนี้เหมือนกัน.
    บทว่า ติณปนฺถนิวาสิโน ได้แก่ ที่อยู่ประจำยอดหญ้าและทางเปลี่ยว.
    บทว่า ปุญฺญวนฺโต ได้แก่ ผู้มีบุญมาก.
    บทว่า มหิทฺธิกา ได้แก่ ผู้มีอานุภาพมาก.
    บทว่า สงฺคีติโย ปวตฺเตนฺติ ได้แก่ เครื่องสังคีตของเทพนาฏกะก็บรรเลง. อธิบายว่า ประกอบขึ้นเพื่อบูชาพระตถาคต.
    บทว่า อมฺพเร แปลว่า ในอากาศ.
    บทว่า อนิลญฺชเส แปลว่า ทางอากาศ.
    ท่านกล่าวว่า อนิลญฺชเส ก็เพราะอากาศเป็นทางอเนกประสงค์. เป็นไวพจน์ของคำต้น.
    บทว่า จมฺมนทฺธานิ แปลว่า ที่หุ้มด้วยหนัง. หรือปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน. อธิบายว่ากลองทิพย์.
    บทว่า วาเทนฺติ ความว่า เทวดาทั้งหลายย่อมประโคม.
    บทว่า สงฺขา ได้แก่ สังข์เป่า.
    บทว่า ปณวา ได้แก่ เครื่องดนตรีพิเศษตรงกลางคอด. กลองขนาดเล็กๆ ท่านเรียกว่า ฑณฺฑิมา.
    บทว่า วชฺชนฺติ แปลว่า ประโคม.
    บทว่า อพฺภุโต วต โน แปลว่า น่าอัศจรรย์จริงหนอ.
    บทว่า อุปฺปชฺชิ แปลว่า เกิดแล้ว.
    บทว่า โลมหํสโน ได้แก่ ทำขนชูชัน.
    บทว่า ธุวํ อธิบายว่า เพราะเหตุที่พระศาสดาพระองค์นี้อัศจรรย์อุบัติในโลก ฉะนั้น พวกเราจักได้ความสำเร็จประโยชน์โดยแท้แน่นอน.
    บทว่า ลภาม แปลว่า จักได้.
    บทว่า ขโณ ความว่า ขณะที่ ๙ เว้นจากอขณะ ๘.
    บทว่า โน แปลว่า อันเราทั้งหลาย. บทว่า ปฏิปาทิโต แปลว่า ได้แล้ว.
    บทว่า พุทฺโธติ เตสํ สุตฺวาน ความว่า ปิติ ๕ อย่างเกิดแก่เทพเหล่านั้น เพราะได้ยินคำนี้ว่า พุทฺโธ.
    บทว่า ตาวเท แปลว่า ในทันที.
    บทว่า หิงฺการา ได้แก่ เสียงที่ทำว่า หึหึ. ยักษ์เป็นต้นย่อมทำเสียงว่า หึ หึ ในเวลาร่าเริง.
    บทว่า สาธุการา ได้แก่ เสียงทำว่า สาธุ ก็เป็นไป.
    บทว่า อุกุฏฺฐิ ได้แก่ เสียงโห่และเสียงกึกก้อง. เทวดาเป็นต้น ท่านประสงค์ว่าปชา. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ธงประฏากต่างๆ ก็เป็นไปในท้องฟ้า.
    บทว่า คายนฺติ ได้แก่ ขับร้องเพลงที่ประกอบพระพุทธคุณ.
    บทว่า เสเฬนฺติ ได้แก่ ทำเสียงประสานด้วยปาก.
    บทว่า วาทยนฺติ ความว่า พิณมีพิณชื่อว่าวิปัญจิกาและมกรมุขเป็นต้นขนาดใหญ่ และดนตรีทั้งหลายก็บรรเลงประกอบขึ้น เพื่อบูชาพระตถาคต.
    บทว่า ภุชานิ โปเถนฺติ แปลว่า ปรบมือ. พึงเห็นว่าเป็นลิงควิปลาส.
    บทว่า นจฺจนฺติ จ ได้แก่ ใช้ให้ผู้อื่นฟ้อนด้วย ฟ้อนเองด้วย.
    ในคำว่า ยถา ตุยฺหํ มหาวีร ปาเทสุ จกฺกลกฺขณํ นี้ ยถา แปลว่า โดยประการไรเล่า. ชื่อว่ามหาวีระ เพราะทรงประกอบด้วยความเพียรอย่างใหญ่.
    บทว่า ปาเทสุ จกฺกลกฺขณํ ความว่า ที่ฝ่าพระบาททั้งสองของพระองค์มีลักษณะจักร [ล้อ] มีซี่กำมีกงมีดุมบริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่างงดงาม.
    ก็จักกศัพท์นี้ ปรากฏใช้ในอรรถมีสมบัติ, ส่วนของรถ, อิริยาบถ, ทาน, รัตนจักร, ธรรมจักร, ขุรจักร และลักษณะเป็นต้น.
    ที่ใช้ในอรรถว่าสมบัติ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า จตฺตาริมานิ ภิกฺขเว จกฺกานิ เยหิ สมนฺนาคตานํ เทวมนุสฺสานํ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมบัติ ๔ ที่เมื่อเทวดาและมนุษย์ประกอบพร้อมแล้ว. ที่ใช้ในอรรถว่าส่วนแห่งรถ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า จกฺกํ ว วหโต ปทํ เหมือนล้อเกวียนที่แล่นตามเท้าโคที่กำลังนำเกวียนไป. ที่ใช้ในอรรถว่าอิริยาบถ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า จตุจกฺกํ นวทฺวารํ มีอิริยาบถ ๔ มีทวาร ๙. ที่ใช้ในอรรถว่าทาน ได้ในบาลีนี้ว่า ททํ ภุญฺช จ มา จ ปมาโท จกฺกํ วตฺตย สพฺพปาณีนํ ท่านเมื่อให้ทาน ก็จงใช้สอยอย่าประมาทจงบำเพ็ญทานแก่สัตว์ทั้งปวง. ที่ใช้ในอรรถว่ารัตนจักร ได้ในบาลีนี้ว่า ทิพฺพํ จกฺกรตนํ ปาตุภูตํ จักรรัตนะทิพย์ ปรากฏแล้ว. ที่ใช้ในอรรถว่าธรรมจักร ได้ในบาลีนี้ว่า มยา ปวตฺติตํ จกฺกํ ธรรมจักรอันเราให้เป็นไปแล้ว. ที่ใช้ในอรรถว่าขุรจักร อธิบายว่า จักรสำหรับประหาร ได้ในบาลีนี้ว่า อิจฺฉาหตสฺส โปสสฺส จกฺกํ ภมติ มตฺถเก จักรคมหมุนอยู่บนกระหม่อมของบุรุษผู้ที่ถูกความอยากครอบงำแล้ว. ที่ใช้ในอรรถว่าลักษณะ ได้ในบาลีนี้ว่า ปาทตเลสุ จกฺกานิ ชาตานิ ลักษณะทั้งหลายเกิดแล้วที่ฝ่าพระบาททั้งสอง.
    แม้ในที่นี้ พึงเห็นว่า ใช้ในอรรถว่าจักรคือลักษณะ.
    บทว่า ธชวชิรปฏากา วฑฺฒมานงฺกุสาจิตํ ความว่า ลักษณะจักรที่พระบาททั้งสอง รวบรวม ประดับ ล้อมไว้ด้วยธชะ [ธงชาย] วชิระ [อาวุธพระอินทร์] ปฏาก [ธงผ้า] วัฑฒมานะ [เครื่องแต่งพระองค์] และอังกุส [ขอช้าง] เมื่อท่านถือเอาลักษณะจักรแล้ว ก็เป็นอันถือเอาลักษณะที่เหลือไว้ด้วย.
    พระอนุพยัญชนะ ๘๐ และพระรัศมี ๑ วาก็เหมือนกัน เพราะฉะนั้น พระวรกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ประดับพร้อมด้วยพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ พระอนุพยัญชนะ ๘๐ และพระรัศมี ๑ วาก็เปล่งพระพุทธรัศมีมีพรรณะ ๖ ซึ่งแล่นฉวัดเฉวียนไป จึงงดงามอย่างเหลือเกิน เหมือนต้นปาริฉัตตกะดอกบานสะพรั่งไปทั้งต้น เหมือนดงบัวที่มีดอกบัวหลวงแย้มแล้ว เหมือนเสาระเนียดทองใหม่ สวยงามด้วยรัตนะต่างชนิด เหมือนท้องฟ้างามระยับด้วยดวงดาว.

    บัดนี้ เพื่อแสดงสมบัติ คือ รูปกาย และ ธรรมกาย ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวคาถานี้ว่า
    พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มีผู้เสมอเหมือนในพระรูป
    ในศีล สมาธิ ปัญญาและวิมุตติ ทรงเสมอกับพระพุทธ
    เจ้าที่ไม่มีใครเสมอในการประกาศพระธรรมจักร.


    แก้อรรถ
    รูปศัพท์นี้ว่า รูเป ในคาถานั้น ปรากฎใช้ในอรรถมี ขันธ์ ภพ นิมิต ปัจจัย สรีระ วรรณะและทรวดทรงเป็นต้น. เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า รูปศัพท์ที่ใช้ในอรรถว่ารูปขันธ์ ได้ในบาลีนี้ว่า ยงฺกิญฺจิ รูปํ อตีตานาคตปจฺจุปฺปนนํ รูปขันธ์อย่างหนึ่งอย่างใด ที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน.
    ที่ใช้ในอรรถว่ารูปภพ ได้ในบาลีนี้ว่า รูปูปปตฺติยา มคฺคํ ภาเวติ ย่อมเจริญมรรค เพื่อเข้าถึงรูปภพ.
    ที่ใช้ในอรรถว่ากสิณนิมิต ได้ในบาลีนี้ว่า อชฺฌตฺตํ อรูปสญฺญี พหิทฺธา รูปานิ ปสฺสติ สำคัญอรูปภายใน ย่อมเห็นกสิณนิมิตภายนอก.
    ที่ใช้ในอรรถว่าปัจจัย ได้ในบาลีนี้ว่า สรูปา ภิกฺขเว อุปฺปชฺชนฺติ ปาปกา อกุสลา ธมฺมา โน อรูปา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศลบาปธรรมมีปัจจัยหรือไม่มีปัจจัยจึงเกิดขึ้น.
    ที่ใช้ในอรรถว่าสรีระ ได้ในบาลีนี้ว่า อากาโส ปริวาริโต รูปนฺเตฺวว สงฺขํ คจฺฉติ อากาศที่ห้อมล้อม ก็นับได้ว่าสรีระ.
    ที่ใช้ในอรรถว่าวรรณะ ได้ในบาลีนี้ว่า จกฺขุญฺจ ปฏิจฺจ รูเป จ อุปฺปชฺชติ จกฺขุวิญฺญาณํ อาศัยจักษุและวรรณะ จักขุวิญญาณจึงเกิด.
    ที่ใช้ในอรรถว่าทรวดทรง ได้ในบาลีนี้ว่า รูปปฺปมาโณ รูปปฺปสนฺโน ถือทรวดทรงเป็นประมาณ เลื่อมใสในทรวดทรง.
    แม้ในที่นี้ก็พึงเห็นว่า ใช้ในอรรถว่าทรวดทรง.
    บทว่า สีเล ได้แก่ ในศีล ๔ อย่าง.
    บทว่า สมาธิมฺหิ ได้แก่ ในสมาธิ ๓ อย่าง.
    บทว่า ปญฺญาย ได้แก่ ในปัญญาที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ.
    บทว่า อสาทิโส แปลว่า ไม่มีใครเหมือน ไม่มีใครเปรียบ.
    บทว่า วิมุตฺติยา ได้แก่ ในผลวิมุตติ.
    บทว่า อสมสโม ความว่า อดีตพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่มีใครเสมอ พระองค์ก็ทรงเสมอกับพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ไม่มีใครเสมอเหล่านั้น โดยพระคุณทั้งหลายมีศีลเป็นต้น เหตุนั้นพระองค์จึงชื่อว่าผู้เสมอกับพระพุทธเจ้าที่ไม่มีใครเสมอ.
    ท่านแสดงสมบัติคือพระรูปกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยกถาเพียงเท่านี้
    บัดนี้ เพื่อแสดงกำลังพระกายเป็นต้นของพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า
    กำลังพระยาช้าง ๑๐ เชือก เป็นกำลังปกติใน
    พระกายของพระองค์ พระองค์ไม่มีใครเสมอด้วยกำลัง
    พระวรฤทธิ์ ในการประกาศพระธรรมจักร.

    แก้อรรถ
    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทสนาคพลํ ได้แก่ กำลังพระยาช้างฉัททันต์ ๑๐ เชือก.
    จริงอยู่ กำลังของพระตถาคตมี ๒ คือ กำลังพระกาย ๑ กำลังพระญาณ ๑.
    บรรดากำลังทั้งสองนั้น กำลังพระกาย พึงทราบตามแนวตระกูลช้าง. คืออะไร พึงทราบช้าง ๑๐ ตระกูลเหล่านี้.
    กาฬาวกญฺจ คงฺเคยฺยํ ปณฺฑรํ ตมฺพปิงฺคลํ
    คนฺธมงฺคลเหมญฺจ อุโปสถฉทฺทนฺติเม ทส.
    พระกำลังของพระตถาคตเท่าช้าง ๑๐ ตระกูล
    ช้าง ๑๐ ตระกูลเหล่านี้คือ กาฬาวกะ คังเคยยะ
    ปัณฑระ ตัมพะ ปิงคละ คันธะ มังคละ เหมะ
    อุโปสถะ ฉัททันตะ.
    กาฬวกะได้แก่ตระกูลช้างปกติ. กำลังกายของบุรุษ ๑๐ คนเป็นกำลังของช้างตระกูลกาฬาวกะ ๑ เชือก. กำลังของช้างตระกูลกาฬาวกะ ๑๐ เชือกเป็นกำลังของช้างตระกูลคังเคยยะ ๑ เชือก พึงนำกำลังของช้างตระกูลต่างๆ โดยอุบายดังกล่าวมานี้จนถึงกำลังของช้างตระกูลฉัททันตะ กำลังของช้างตระกูลฉัททันตะ ๑๐ เชือก เป็นกำลังของพระตถาคตพระองค์เดียว. กำลังของพระตถาคตนี้นี่แลเรียกกันว่า กำลังนารายณ์ กำลังวชิระ.
    กำลังของพระตถาคตนี้นั้นเท่ากับกำลังช้างโกฏิพันเชือกโดยนับช้างตามปกติ เท่ากับกำลังของบุรุษสิบโกฏิพันคน. กำลังพระวรกายปกติของพระตถาคตมีดังนี้ก่อน.
    ส่วนกำลังพระญาณหาประมาณมิได้ กำลังพระญาณมีเป็นต้นอย่างนี้คือ พระทศพลญาณ พระจตุเวสารัชญาณ พระอกัมปนญาณในบริษัท ๘ พระจตุโยนิปริเฉทกญาณ พระปัญจคติปริเฉทกญาณ พระพุทธญาณ ๑๔.
    แต่ในที่นี้ ประสงค์เอากำลังพระวรกาย.
    บทว่า กาเย ตุยฺหํ ปากติกํ พลํ ความว่า กำลังตามปกติในพระวรกายของพระองค์นั้น เพราะฉะนั้น บทว่า ทสนาคพลํ จึงมีความว่า เท่ากับกำลังของพระยาช้างตระกูลฉัททันต์ ๑๐ เชือก.
    บัดนี้ เมื่อแสดงกำลังพระญาณ ท่านจึงกล่าวว่า พระองค์ไม่มีผู้เสมอด้วยกำลังพระวรฤทธิ์ในการประกาศพระธรรมจักร.
    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิทฺธิพเลน อสโม ได้แก่ ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เสมือน ไม่มีผู้เปรียบ.
    บทว่า ธมฺมจกฺกปฺปวตฺตเน ความว่า ไม่มีผู้เสมอแม้ในพระเทศนาญาณ.
    บัดนี้ เพื่อแสดงการประกอบในการนอบน้อมพระตถาคตว่า พระศาสดาพระองค์ใดประกอบพร้อมด้วยพระคุณมีดังกล่าวมานี้เป็นต้น พระศาสดาพระองค์นั้นทรงเป็นนายกเอกของโลกทั้งปวง ขอท่านทั้งหลายจงนมัสการพระศาสดาพระองค์นั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า
    ท่านทั้งหลาย จงนมัสการพระศาสดา ผู้ประกอบ
    ด้วยพระคุณทุกอย่าง ประกอบด้วยองคคุณทั้งปวง เป็น
    พระมหามุนี มีพระกรุณา เป็นนาถะของโลก.

    แก้อรรถ
    ในคาถานั้น ศัพท์ว่า เอวํ เป็นนิบาตลงในอรรถชี้แจงอย่างที่กล่าวมาแล้ว.
    ศัพท์นี้ว่า สพฺโพ ในคำว่า สพฺพคุณูเปตํ นี้ เป็นศัพท์กล่าวถึงไม่เหลือเลย.
    คุณศัพท์นี้ว่า คุโณ ปรากฎใช้ในอรรถเป็นอันมาก.
    จริงอย่างนั้น คุณศัพท์นี้ ใช้ในอรรถว่าชั้น ได้ในบาลีนี้ว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว อหตานํ วตฺถานํ ทิคุณํ สงฺฆาฏึ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าสังฆาฏิสองชั้นสำหรับผ้าทั้งหลายที่ใหม่.
    ที่ใช้ในอรรถว่ากลุ่ม ได้ในบาลีนี้ว่า อจฺเจนฺติ กาลา ตรยนฺติ รตฺติโย วโยคุณา อนุปุพฺพํ ชหนฺติ กาลก็ล่วงไป ราตรีก็ล่วงไป กลุ่มแห่งวัยก็ละลำดับไป.
    ที่ใช้ในอรรถว่าอานิสงส์ ได้ในบาลีนี้ว่า สตคุณา ทกฺขิณา ปาฏิกงฺขิตพฺพา พึงหวังทักษิณา มีอานิสงส์เป็นร้อย.
    ที่ใช้ในอรรถว่าพวง ได้ในบาลีนี้ว่า กยิรา มาลาคุเณ พหู พึงทำพวงมาลัยเป็นอันมาก.
    ที่ใช้ในอรรถว่าสมบัติ ได้ในบาลีนี้ว่า อฏฺฐ คุณ สมุเปตํ อภิญฺญาพลมาหรึ นำมาซึ่งกำลังแห่งอภิญญา อันประกอบพร้อมด้วยสมบัติ ๘.
    แม้ในที่นี้ก็พึงเห็นว่าใช้ในอรรถว่าสมบัติ เพราะฉะนั้น จึงมีความว่าเข้าถึงประกอบพร้อมแล้ว ด้วยคุณที่เป็นโลกิยะและโลกุตระทั้งปวงคือด้วยสมบัติทุกอย่าง.
    บทว่า สพฺพงฺคสมุปาคตํ ได้แก่ เข้ามาถึงแล้ว ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยพระพุทธคุณหรือด้วยองคคุณทั้งปวง.
    บทว่า มหามุนี ได้แก่ ชื่อว่า มุนีใหญ่เพราะยิ่งกว่ามุนีทั้งหลาย มีพระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นต้นอื่นๆ เหตุนั้นจึงเรียกว่า มหามุนี.
    บทว่า การุณิกํ ได้แก่ ชื่อว่าผู้มีกรุณา เพราะประกอบด้วยกรุณาคุณ.
    บทว่า โลกนาถํ ได้แก่ เป็นนาถะเอกของโลกทั้งปวง.
    อธิบายว่า อันโลกทั้งปวงมุ่งหวังอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้กำจัด เป็นผู้ระงับความเดือดร้อนคือทุกข์ของพวกเรา ดังนี้.



    อ้างอิง
    ��ö��� �ط���ԡ�� �ط�ǧ�� �ѵ�Ш�����ѳ�� ˹�ҵ�ҧ��� � �� ��
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,154
    ค่าพลัง:
    +70,588
    a-jpg.jpg
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,154
    ค่าพลัง:
    +70,588
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,154
    ค่าพลัง:
    +70,588
    temp_hash-a29e0e622af0119b53d332189adb2bc8-jpg.jpg



    temp_hash-a29e0e622af0119b53d332189adb2bc8-jpg.jpg





    บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า สพฺเพ ธมฺมา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาขันธ์ ๕ นี้เอง.
    บทว่า อนตฺตา ความว่า ชื่อว่า อนัตตา คือว่างเปล่า ไม่มีเจ้าของได้แก่ไม่มีอิสระ เพราะอรรถว่าไม่เป็นไปในอำนาจ เพราะใคร ๆ ไม่อาจให้เป็นไปในอำนาจว่า " ธรรมทั้งปวง จงอย่าแก่ จงอย่าตาย."
    บทที่เหลือ ก็เช่นกับบทที่มีแล้วในก่อนนั่นเอง ดังนี้แล.
    ขุ.ธ.อ.(ไทย) ๔๓/๑๐๕ มหามกุฏ ฯ
    ......................
    เมื่อใด อริยสาวกพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า
    ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา
    เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์
    นั่นเป็นทางแห่งความบริสุทธิ์
    ขุ.ธ.(ไทย) ๒๕/๒๗๙/๑๑๘ มหาจุฬา ฯ
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,154
    ค่าพลัง:
    +70,588
    อาทิตตปริยายสูตร


    lphor_tesna_vn.jpg


    25 สิงหาคม 2496

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)



    เอวมฺเม สุตํ. เอกํ สมยํ ภควา คยายํ วิหรติ คยาสีเส สทฺธึ ภิกฺขุสหสฺเสน. ตตฺร โข ภควา ภิกฺขู อามนฺเตสิ. สพฺพํ ภิกฺขเว อาทิตฺตํ. กิญฺจ ภิกฺขเว สพฺพํ อาทิตฺตํ. จกฺขุํ ภิกฺขเว อาทิตฺตํ รูปา อาทิตฺตา จกฺขุวิญฺญาณํ อาทิตฺตํ จกฺขุสมฺผสฺโส อาทิตฺโต ยมฺปิทํ จกฺขุสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ สุขํ วา ทุกฺขํ วา อทุกฺขมสุขํ วา ตมฺปิ อาทิตฺตํ. เกน อาทิตฺตํ. อาทิตฺตํ ราคคฺคินา โทสคฺคินา โมหคฺคินา อาทิตฺตํ ชาติยา ชรามรเณน โสเกหิ ปริเทเวหิ ทุกฺเขหิ โทมนสฺเสหิ อุปายาเสหิ อาทิตฺตนฺติ วทามิ. โสตํ อาทิตฺตํ สทฺทา อาทิตฺตา โสตวิญฺญาณํ อาทิตฺตํ โสตสมฺผสฺโส อาทิตฺโต ยมฺปิทํ โสตสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ สุขํ วา ทุกขํ วา อทุกฺขมสุขํ วา ตมฺปิ อาทิตฺตํ. เกน อาทิตฺตํ ฯลฯ อิมสฺมิญฺจ ปน เวยฺยากรณสฺมึ ภญฺญมาเน ตสฺส ภิกฺขุสหสฺสสฺส อนุปาทาย อาสเวหิ จิตฺตานิ วิมุจฺจึสูติ.



    ... คนมั่งมีเขาก็เหนี่ยวรั้งคนมั่งมีไปรวมกัน คนยากจนมันก็เหนี่ยวรั้งคนยากจนไปรวมกัน ... อุบาสกก็เหนี่ยวพวกอุบาสกไปรวมกัน อุบาสิกาก็เหนี่ยวพวกอุบาสิกาไปรวมกัน มีคล้ายๆ กันอย่างนี้ ... เช่น โลกายตนะ อายตนะของโลกในกามภพ อายตนะของกามมันดึงดูดให้ข้องอยู่ในกาม คือ กามภพ รูปภพ อายตนะรูปพรหมดึงดูด เพราะอยู่ในปกครองของรูปฌาน อายตนะดึงดูดให้รวมกัน อรูปภพ อายตนะของอรูปพรหม อรูปฌานดึงดูดเข้ารวมกัน อตฺถิ ภิกฺขเว สฬายตนํ นิพพานเป็นอายตนะอันหนึ่ง เมื่อหมดกิเลสแล้ว นิพพานก็ดึงดูดไปนิพพานเท่านั้น ให้รู้หลักจริงอันนี้ก็เอาตัวรอดได้ ...



    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา เรื่อง อาทิตตปริยายสูตร ที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงแสดงแก่ชฎิล 1,000 มีปุราณกัสสป นทีกัสสป คยากัสสป เป็นประธาน พระบรมศาสดาจารย์ทรงทรมานชฎิลทั้งหลายเหล่านี้ ได้ทรงทำปาฏิหาริย์มากอย่าง จะทำปาฏิหาริย์สักท่าหนึ่งท่าใด ชฎิลผู้เป็นประธาน ปุราณชฎิลนั้นก็ยังแย้งว่าสู้ของเราไม่ได้ร่ำไป จนกระทั่งหมดทิฏฐิมานะยอมรับธรรมเทศนาเชื่อต่อพระศาสดา พระองค์จึงได้ทรงแสดงธรรมเทศนาให้ชฎิลละทิฏฐิของตน พร้อมด้วยบริวารทั้ง 3 พี่น้อง เมื่อยอมรับถือตามคำสอนของพระศาสดาแล้ว เมื่อได้เวลาสมควรพระองค์ก็ทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตรแก่ชฎิลทั้งหลายเหล่านั้น มีปุราณชฎิลเป็นต้น อาทิตตปริยายสูตรนี้แสดงของร้อนให้ชฎิลเข้าเนื้อเข้าใจ เพราะชฎิลทั้งหลายเหล่านั้นเคยบูชาไฟมาชำนิชำนาญ ชำนาญในการร้อน พระองค์ทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตร เรื่องของร้อนทั้งนั้น

    ตามวาระพระบาลีที่ยกไว้เบื้องต้นว่า เอวมฺเม สุตํ อันข้าพเจ้าพระอานนทเถระได้สดับตรับฟังแล้วด้วยอาการอย่างนี้ เอกํ สมยํ สมัยครั้งหนึ่ง ภควา องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงเสด็จประทับอยู่ ณ คยาสีสะประเทศ ใกล้แม่น้ำคยา พร้อมด้วยภิกษุ 1,000 รูป ทรงรับสั่งเตือนพระภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นว่า สพฺพํ ภิกฺขเว อาทิตฺตํ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน กิญฺจ ภิกฺขเว สพฺพํ อาทิตฺตํ ภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวงอะไรเล่า เป็นของร้อน

    จกฺขุ ํ ภิกฺขเว อาทิตฺตํ นัยน์ตาเป็นของร้อน รูปา อาทิตฺตา รูปทั้งหลายเป็นของร้อน จกฺขุวิญฺญาณํ อาทิตฺตํ ความรู้แจ้งทางตาเป็นของร้อน จกฺขุสมฺผสฺโส อาทิตฺโต ความสัมผัส ถูกต้องทางตาเป็นของร้อน ยมฺปิทํ จกฺขุสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ ความรู้สึกอารมณ์ มีขึ้นเกิดเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยนี้แม้อันใด เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง แม้อันนั้นก็เป็นของร้อน เกน อาทิตฺตํ ร้อนเพราะอะไร อาทิตฺตํ ราคคฺคินา ร้อนเพราะไฟคือ ความกำหนัดยินดี ร้อนเพราะไฟคือความโกรธประทุษร้าย ร้อนเพราะไฟคือความหลงงมงาย อาทิตฺตํ ชาติยา ร้อนเพราะชาติ ความเกิด ชรา ความแก่ มรณะ ความตาย โสกะ ความแห้งใจ ปริเทวะ ความพิไรรำพัน ทุกข์ ความไม่สบายกาย โทมนัส ความเสียใจ อุปายาส ความ คับแค้นใจ เราจึงกล่าวว่าเป็นของร้อน

    โสตํ อาทิตฺตํ หูเป็นของร้อน สทฺทา อาทิตฺตา เสียงทั้งหลายเป็นของร้อน โสตวิญฺญาณํ อาทิตฺตํ ความรู้ทางหูเป็นของร้อน โสตสมฺผสฺโส อาทิตฺโต การกระทบถูกต้องทางหูเป็นของร้อน ความรู้สึกอารมณ์มีเกิดขึ้นเพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัยนี้แม้อันใด เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์ บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง แม้อันนั้นก็เป็นของร้อน เกน อาทิตฺตํ ร้อนเพราะอะไร อาทิตฺตํ ราคคฺคินา ร้อนเพราะไฟคือความกำหนัดยินดี ร้อนเพราะไฟคือความโกรธประทุษร้าย ร้อนเพราะไฟคือ ความหลงงมงาย อาทิตฺตํ ชาติยา ร้อนเพราะชาติ ความเกิด ชรา ความแก่ มรณะ ความตาย โสกะ ความแห้งใจ ปริเทวะ ความพิไรรำพัน ทุกข์ ความไม่สบายกาย โทมนัส ความเสียใจ อุปายาส ความคับแค้นใจ เราจึงกล่าวว่า เป็นของร้อน

    ฆานํ อาทิตฺตํ จมูกเป็นของร้อน คนฺธา อาทิตฺตา กลิ่นที่กระทบจมูกเป็นของร้อน ฆานวิญฺญาณํ อาทิตฺตํ ความรู้ทางจมูกเป็นของร้อน ฆานสมฺผสฺโส อาทิตฺโต การกระทบทางจมูกเป็นของร้อน ยมฺปิทํ ฆานสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ สุขํ วา ทุกฺขํ วา อทุกฺขมสุขํ วา อารมณ์มีเกิดขึ้นอาศัยฆานสัมผัสเป็นปัจจัยนี้แม้อันใด เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง แม้อันนั้นก็เป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร ร้อนเพราะไฟคือความกำหนัดยินดี ร้อนเพราะไฟคือความโกรธประทุษร้าย ร้อนเพราะไฟคือความหลงงมงาย ร้อนเพราะชาติ ความเกิด ชรา ความแก่ มรณะ ความตาย โสกะ ความแห้งใจ ปริเทวะ ความพิไรรำพัน ทุกข์ ความไม่สบายกาย โทมนัส ความเสียใจ อุปายาส ความคับแค้นใจ เรากล่าวว่าเป็นของร้อน

    ชิวฺหา อาทิตฺตา ลิ้นก็เป็นของร้อน รสา อาทิตฺตา รสที่กระทบลิ้นก็เป็นของร้อน ชิวฺหาวิญฺญาณํ อาทิตฺตํ ความรู้สึกทางลิ้นก็เป็นของร้อน ชิวฺหาสมฺผสฺโส อาทิตฺโต ความสัมผัสแห่งลิ้นก็เป็นของร้อน ความรู้สึกอารมณ์มีเกิดขึ้นอาศัยชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยนี้แม้อันใด เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง แม้อันนั้นก็เป็นของร้อน เกน อาทิตฺตํ ร้อนเพราะอะไร ร้อนเพราะไฟคือความกำหนัดยินดี ความโกรธประทุษร้าย ความหลงงมงาย ร้อนเพราะ ชาติ ความเกิด ชรา ความแก่ มรณะ ความตาย โสกะ ความแห้งใจ ปริเทวะ ความพิไร รำพัน ทุกข์ ความไม่สบายกาย โทมนัส ความเสียใจ อุปายาส ความคับแค้นใจ เรากล่าวว่าเป็นของร้อน

    กาโย อาทิตฺโต กายก็เป็นของร้อน โผฏฺฐพฺพา อาทิตฺตา ความถูกต้องของกาย ความสัมผัสของกาย สิ่งที่ถูกต้องกาย ก็เป็นของร้อน ความรู้แจ้งทางกายก็เป็นของร้อน ความสัมผัสถูกต้องทางกายก็เป็นของร้อน ความรู้สึกอารมณ์มีเกิดขึ้นอาศัยกายสัมผัสเป็นปัจจัย นี้แม้อันใด เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง แม้อันนั้นก็เป็นของร้อน เกน อาทิตฺตํ ร้อนเพราะอะไร ร้อนเพราะไฟคือความกำหนัดยินดี ความโกรธประทุษร้าย ความหลงงมงาย ร้อนเพราะชาติ ความเกิด ชรา ความแก่ มรณะ ความตาย โสกะ ความแห้งใจ ปริเทวะ ความพิไรรำพัน ทุกข์ ความไม่สบายกาย โทมนัส ความเสียใจ อุปายาส ความ คับแค้นใจ อาทิตฺตนฺติ วทามิ เรากล่าวว่าเป็นของร้อน

    มโน อาทิตฺโต ใจก็เป็นของร้อน ธมฺมา อาทิตฺตา ธรรมทั้งหลายก็เป็นของร้อน มโนวิญฺญาณํ อาทิตฺตํ ความรู้แจ้งทางใจก็เป็นของร้อน มโนสมฺผสฺโส อาทิตฺโต ความถูกต้อง ทางใจก็เป็นของร้อน ความรู้สึกอารมณ์นึกคิดมีเกิดขึ้นอาศัยมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนี้แม้อันใด เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง แม้อันนั้นก็เป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร ร้อน เพราะไฟคือความกำหนัดยินดี ความโกรธประทุษร้าย ความหลงงมงาย ร้อนเพราะชาติ ความเกิด ชรา ความแก่ มรณะ ความตาย โสกะ ความแห้งใจ ปริเทวะ ความพิไรรำพัน ทุกข์ ความไม่สบายกาย โทมนัส ความเสียใจ อุปายาส ความคับแค้นใจ อาทิตฺตนฺติ วทามิ เรากล่าวว่าเป็นของร้อน

    เอวํ ปสฺสํ ภิกฺขเว สุตวา อริยสาวโก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟัง เมื่อเห็นอย่างนี้ จกฺขุสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ เบื่อหน่ายในตาบ้าง รูเปสุปิ นิพฺพินฺทติ เบื่อหน่ายในรูปบ้าง จกฺขุวิญฺญาเณปิ นิพฺพินฺทติ เบื่อหน่ายในจักษุวิญญาณบ้าง จกฺขุสมฺผสฺเสปิ นิพฺพินฺทติ เบื่อหน่ายในตาสัมผัสบ้าง ยมฺปิทํ จกฺขุสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ ความรู้สึกอารมณ์ มีเกิดขึ้นอาศัยจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยนี้แม้อันใด เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง ย่อมเบื่อหน่ายในความรู้นั้นบ้าง โสตสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ เบื่อหน่ายในหูบ้าง สทฺเทสุปิ นิพฺพินฺทติ เบื่อหน่ายในเสียง โสตวิญฺญาเณปิ นิพฺพินฺทติ เบื่อหน่ายในความรู้ทางหูบ้าง โสตสมฺผสฺเสปิ นิพฺพินฺทติ เบื่อหน่ายในความกระทบถูกต้องทางหูบ้าง ยมฺปิทํ โสตสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ ความรู้สึกอารมณ์เกิดขึ้นอาศัยโสตสัมผัสเป็นปัจจัยนี้แม้อันใด เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง ย่อมเบื่อหน่ายในความรู้อันนั้นบ้าง ฆานสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ ย่อมเบื่อหน่ายในจมูกบ้าง คนฺเธสุปิ นิพฺพินฺทติ ย่อมเบื่อหน่ายในกลิ่นทั้งหลายบ้าง ฆานวิญฺญาเณปิ นิพฺพินฺทติ ย่อมเบื่อหน่ายในความรู้ทางจมูกบ้าง ฆานสมฺผสฺเสปิ นิพฺพินฺทติ ย่อมเบื่อหน่ายในทางกระทบถูกต้องทางจมูกบ้าง ยมฺปิทํ ฆานสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ ความรู้สึกมีเกิดขึ้นอาศัยฆานสัมผัสเป็นปัจจัยนี้แม้อันใด เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง ย่อมเบื่อหน่ายในความรู้อันนั้นบ้าง ชิวฺหายปิ นิพฺพินฺทติ ย่อมเบื่อหน่ายในลิ้นบ้าง รเสสุปิ นิพฺพินฺทติ ย่อมเบื่อหน่ายในรสทั้งหลายบ้าง ชิวฺหาวิญฺญาเณปิ นิพฺพินฺทติ ย่อมเบื่อหน่ายในความรู้ในทางลิ้นบ้าง ชิวฺหาสมฺผสฺเสปิ นิพฺพินฺทติ ย่อมเบื่อหน่ายในชิวหาสัมผัสบ้าง ยมฺปิทํ ชิวฺหาสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ ความรู้สึกมีเกิดขึ้นอาศัยชิวหาสัมผัส เป็นปัจจัยนี้แม้อันใด เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง ย่อมเบื่อหน่ายในความรู้สึกนั้นบ้าง กายสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ ย่อมเบื่อหน่ายในกายบ้าง โผฏฺฐพฺเพสุปิ นิพฺพินฺทติ เบื่อหน่ายในสิ่งที่มากระทบกายบ้าง กายวิญฺญาเณปิ นิพฺพินฺทติ ย่อมเบื่อหน่ายในความรู้ทางกายบ้าง กายสมฺผสฺเสปิ นิพฺพินฺทติ เบื่อหน่ายในการถูกต้องทางกายบ้าง ยมฺปิทํ กายสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ ความรู้สึกมีเกิดขึ้นอาศัยกายสัมผัสเป็นปัจจัยนี้แม้อันใด เป็นสุขบ้าง เป็น ทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง ย่อมเบื่อหน่ายในความรู้สึกอันนั้น มนสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ ย่อมเบื่อหน่ายในใจบ้าง ธมฺเมสุปิ นิพฺพินฺทติ ย่อมเบื่อหน่ายในธัมมารมณ์บ้าง มโนวิญฺญาเณปิ นิพฺพินฺทติ เบื่อหน่ายความรู้ทางใจบ้าง มโนสมฺผสฺเสปิ นิพฺพินฺทติ ย่อมเบื่อหน่ายในความถูกต้องทางใจบ้าง ยมฺปิทํ มโนสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ ความรู้สึกอารมณ์มีเกิดขึ้น อาศัยมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนี้แม้อันใด เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง ย่อมเบื่อหน่ายในความรู้สึกอันนั้นบ้าง นิพฺพินฺทํ วิรชฺชติ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมสิ้นกำหนัด วิราคา วิมุจฺจติ พอสิ้นกำหนัด จิตก็หลุดพ้น วิมุตฺตสฺมึ วิมุตฺตมิติ เมื่อจิตหลุดพ้น เกิดความรู้ขึ้นว่า พ้นแล้วดังนี้ พระอริยสาวกนั้นย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่จะต้องทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีกแล้ว อิทมโวจ ภควา สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงตรัสธรรมบรรยายอันนี้แล้ว อตฺตมนา เต ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นมีใจยินดี ภควโต ภาสิตํ อภินนฺทุเพลิดเพลินในภาษิตของพระผู้มีพระภาค อิมสฺมิญฺจ ปน เวยฺยากรณสฺมึ ภญฺญมาเน ก็แลเมื่อไวยากรณ์ อันพระผู้มีพระภาคทรงตรัสอยู่ จิตของพระภิกษุ 1,000 รูปเหล่านั้นก็พ้นจากอาสวะทั้งหลาย พร้อมด้วยความไม่ถือมั่น ด้วยประการฉะนี้ นี่จบ อาทิตตปริยายสูตร ต่อแต่นี้จะชี้แจงตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบายต่อไป

    อาทิตตปริยายสูตรนี้ สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงทราบชัดว่าบริษัทคือชฎิล มีปุราณชฎิลเป็นต้น สาละวนในการบูชาไฟ เพลิดเพลินในการบูชาไฟ เป็นที่สักการะนับถือของชาวมคธรัฐ มีพระเจ้าพิมพิสารเป็นประธาน เป็นครูของพระเจ้าพิมพิสารทีเดียว เป็นที่นับถือทีเดียว ชฎิลพวกนี้เคยรับสังเวยของพลเมืองเป็นเนืองนิตย์อัตรา ชฎิลเหล่านี้ พระพุทธเจ้าอุบัติตรัสรู้ในโลกแล้ว ปรากฏว่าเราจะไปโปรดพระเจ้าพิมพิสารที่จะสำเร็จเป็นหลักฐาน จะทำเป็นประการใด เมื่อสอดส่องด้วยพระปรีชาญาณก็ทราบหลักฐานว่า จะต้องไปทรมานชฎิลเหล่านั้นให้มาเลื่อมใสในลัทธิของเราก่อน เมื่อมาเลื่อมใสในลัทธิทางพุทธศาสนาแน่แท้แล้ว เราจะพาชฎิลเหล่านั้นไปเฝ้าพระเจ้าพิมพิสาร แล้วให้ชฎิลเหล่านี้ปฏิญาณตัวว่าเป็นลูกศิษย์ของเรา ถ้าไม่เช่นนั้นชนชาวเมืองราชคฤห์ก็จะพากันตระหนกตกใจสนเท่ห์สงสัยว่า พระสมณโคดมจะเป็นใหญ่กว่า หรือว่าพวกชฎิลของเราเป็นใหญ่กว่า เป็นประการใดแล้ว ไม่ตกลงกัน เมื่อมหาชนสนเท่ห์เช่นนั้น ก็ให้ปุราณชฎิลนั้นแหละปฏิญาณตัวว่าเป็นศิษย์พระสมณโคดมบรมครู ให้เหาะขึ้นไปในอากาศ แล้วกลับลงมากราบพระบรมศาสดา 3 ครั้ง แล้วปฏิญาณตนว่าเป็นศิษย์พระบรมครูทีเดียว เมื่อชฎิลประกาศตัวเช่นนั้นแล้ว พระเจ้าพิมพิสารทั้งราชบริพารของพระเจ้าพิมพิสารก็พร้อมใจกันเชื่อถือแน่นอน มั่นหมายในพระสมณโคดมบรมครู พระองค์ก็ทรงตรัสเทศนาแก่บริษัทที่มาประชุมพร้อมกันได้ 12 นหุต เมื่อพระองค์ทรงตรัสเทศนาจบลง ในกาลครั้งนั้นราชบริพารของพระเจ้าพิมพิสารทั้งหมด ปรากฏว่าได้สำเร็จมรรคผล 11 นหุต เหลืออีกนหุตหนึ่งได้ตั้งอยู่ในพระไตรสรณาคมน์ แล้วพระเจ้าพิมพิสารอุทิศราชอุทยานของพระองค์ชื่อว่า เวฬุวัน สวนไม้ไผ่ให้แก่พระโคดมบรมครู ตั้งเป็นสังฆิกาวาสอยู่ในเวฬุวนาราม มอบให้เป็นสิทธิ์ทีเดียว พุทธศาสนาก็ตั้งมั่นในเมืองราชคฤห์เพราะเหตุนี้

    เพราะฉะนั้นเราได้ฟังอาทิตตปริยายสูตร ว่าด้วยของร้อนในเวลาวันนี้ เป็นธรรมอันพระองค์ใช้ดับของร้อน ของร้อนต้องดับของร้อนมันจึงจะถูกเงื่อนถูกสายกัน ดับของร้อนได้อย่างไร ความร้อนน่ะ ไฟราคะ ไฟโทสะ ไฟโมหะ ชาติ ความเกิด ชรา ความแก่ มรณะ ความตาย โสกะ ความแห้งใจ ปริเทวะ ความพิไรรำพัน ทุกข์ ความไม่สบายกาย โทมนัส ความเสียใจ อุปายาส ความคับแค้นใจ ดังนี้เป็นผล

    ร้อนด้วยไฟคือราคะ โทสะ โมหะ นั้นสำคัญนัก อันนี้จะแก้ไขวันนี้ว่าเกิดมาจากไหน ราคะ โทสะ โมหะ เกิดมาจากจักขุบ้าง รูปบ้าง ความรู้ทางจักขุบ้าง ความสัมผัสทางจักขุบ้าง มันเกิดมาทางนี้ต้องแก้ไขทางนี้ แก้ไขทางอื่นไม่ได้ ต้องแก้ไขทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดียินร้ายในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ที่มากระทบถูกต้องอายตนะ ทั้ง 6 นั้น ให้ทำใจให้หยุด หยุดเสียอันเดียวเท่านั้นดับหมด พอหยุดได้เสียก็เบื่อหน่าย เบื่อหน่าย ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เบื่อหน่ายในความรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เบื่อหน่ายในการสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เบื่อหน่ายหมด ต้องทำใจให้หยุดอยู่ ณ ศูนย์กลางกาย สะดือทะลุหลัง ขวาทะลุซ้าย กลางกั๊ก ใสเหมือนดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ หยุดนิ่งหยุดทีเดียว พอหยุดก็รู้ว่าใจของเราหยุดแล้ว ที่ว่าใจหยุดก็เข้ากลางของกลาง นิ่งอยู่ที่เดียว กลางของกลางๆๆ ไม่ถอย แล้วเข้ากลางของกลางหนักเข้าไป พอใจหยุดก็เข้ากลางของกลาง ซ้ายขวาหน้าหลังล่างบนไม่ไป กลางของกลางหนักขึ้นทุกที ไม่มีถอยออก กลางของกลางหนักขึ้น พอถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงใสเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ นั่นเป็นดวงปฐมมรรค หนทางเบื้องต้นมรรคผลนิพพาน กลางของกลางไม่เลิก อยู่กลางดวงนั่นแหละ เกิดขึ้นที่หยุดนั่นแหละ นิ่งอยู่กลางดวงของดวงที่หยุดนั่นแหละ หยุดหนักเข้าๆ ก็ ถึงดวงศีล เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ เท่ากัน หยุดอยู่กลางดวงศีลนั่นแหละ กลางของกลางหนักขึ้น พอถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธินั่นแหละ พอถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญานั่นแหละ พอถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตตินั่นแหละ พอถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั่นแหละ พอถูกส่วนเข้า ก็จะเห็นกายมนุษย์ละเอียด อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ ของกายมนุษย์หยาบหายไปหมด เหลือของกายมนุษย์ละเอียด

    ใจก็หยุดอย่างนั้นแหละ ในศูนย์กลางกายมนุษย์ละเอียด ก็เห็นแบบเดียวกันอย่างนี้แหละ ก็ถึงกายทิพย์ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ หายไปหมด พอเข้าถึงกายทิพย์แล้ว หยุดอยู่ในกลางกายทิพย์อย่างนี้แหละ จะเข้าถึงกายทิพย์ละเอียด หยุดอยู่กลางกายทิพย์ละเอียด อย่างนี้แหละ ก็จะเข้าถึงกายรูปพรหม นี่ โลภะ โทสะ โมหะ หายไปหมดแล้ว เหลือแต่ราคะ โทสะ โมหะ หยุดดังนี้ในกายรูปพรหมทั้งหยาบทั้งละเอียด จะเข้าถึงกายอรูปพรหม นี่ ราคะ โทสะ โมหะ หายไปหมดอีกแล้ว

    หยุดอยู่ดังนี้แหละในกายอรูปพรหมทั้งหยาบทั้งละเอียด เข้าถึงกายธรรม พอเข้าถึงกายธรรมเท่านั้น กามราคานุสัย อวิชชานุสัย ปฏิฆานุสัย ก็หายไปหมด กายธรรมเป็นวิราคธาตุวิราคธรรมส่วนหยาบส่วนย่อย เป็นวิราคธาตุวิราคธรรมที่ยังเจือปนระคนอยู่ด้วยฝ่ายหยาบ ยังไม่เป็นวิราคธาตุวิราคธรรมแท้สิ้นเชิงทีเดียว แต่เข้าเขตวิราคธาตุวิราคธรรมแล้ว ก็หยุดอยู่ในกายธรรมทั้งหยาบทั้งละเอียดอย่างนี้แหละ จะเข้าถึงกายโสดาทั้งหยาบทั้งละเอียด นี่หมดสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส เข้าถึงพระโสดาไปแล้ว หยุดอยู่ที่พระโสดาดังนี้ พอถูกส่วนเข้า จะเข้าถึงพระสกทาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด พยาบาท กามราคะ อย่างหยาบหมด หยุดอยู่ในพระสกทาคาอย่างนี้ทั้งหยาบทั้งละเอียด ถูกส่วนดังนี้จะเข้าถึงพระอนาคา กามราคะ พยาบาท อย่างละเอียดหมด nbsp; nbsp;เหลือแต่รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา หยุดอยู่ในกายพระอนาคาอย่างนี้แหละ จะเข้าถึงกายพระอรหัตทั้งหยาบทั้งละเอียด รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา หลุดหมด พอเข้าถึงกายพระอรหัตทั้งหยาบทั้งละเอียดนี้ เป็นวิราคธาตุวิราคธรรมแท้ นี้เสร็จกิจในพระพุทธศาสนา แต่ให้รู้จักหลักอย่างนี้ ทางเป็นจริงของพุทธศาสนา เป็นอย่างนี้

    เมื่อเรารู้หลักจริงดังนี้แล้วให้ปฏิบัติไปตามแนวนี้ ถ้าผิดแนวนี้จะผิดทางมรรคผลนิพพาน อะไรเป็นมรรค อะไรเป็นผล อะไรเป็นนิพพาน มรรคผลนิพพาน กายธรรมอย่างหยาบ กายธรรม โคตรภู โสดา สกทาคา อนาคา อรหัต อย่างหยาบนั่นแหละเป็นตัวมรรค กายธรรมอย่างละเอียด โสดาอย่างละเอียด สกทาคาอย่างละเอียด อนาคาอย่างละเอียด อรหัตอย่างละเอียด นั่นแหละเป็นตัวผล นั่นแหละมรรค นั่นแหละผล แล้วนิพพานล่ะ ธรรมที่ทำให้เป็นกายโคตรภู โสดา สกทาคา อนาคา อรหัต พอถึงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัตก็ถึงนิพพานกัน นิพพานอยู่อย่างนี้ ถ้าไม่มีธรรมที่ทำให้เป็นอรหัต ก็ไปถึงนิพพานไม่ได้ ธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัตเป็นวิราคธาตุวิราคธรรม ตัวนิพพานเป็นวิราคธาตุวิราคธรรม เขาก็ดึงดูดกัน พอถูกส่วนเข้า ก็ดึงดูดกันรั้งกันไปเอง เหมือนมนุษย์ในโลกนี้ คนมั่งมีเขาก็เหนี่ยวรั้งคนมั่งมีไปรวมกัน คนยากจนมันก็เหนี่ยวรั้งคนยากจนไปรวมกัน นักเลงสุรามันก็เหนี่ยวรั้งนักเลงสุราไปรวมกัน นักเลงฝิ่นมันก็เหนี่ยวรั้งนักเลงฝิ่นไปรวมกัน ภิกษุก็เหนี่ยวพวกภิกษุไปรวมกัน สามเณรก็เหนี่ยวพวกสามเณรไปรวมกัน อุบาสกก็เหนี่ยวพวกอุบาสกไปรวมกัน อุบาสิกาก็เหนี่ยวพวกอุบาสิกาไปรวมกัน มีคล้ายๆ กันอย่างนี้ แต่ที่จริงที่แท้เป็นอายตนะสำคัญ อายตนะดึงดูด เช่น โลกายตนะ อายตนะของโลกในกามภพ อายตนะของกามมันดึงดูดให้ข้องอยู่ในกาม คือ กามภพ รูปภพ อายตนะรูปพรหมดึงดูด เพราะอยู่ในปกครองของรูปฌาน อายตนะดึงดูดให้รวมกัน อรูปภพ อายตนะของอรูปพรหม อรูปฌานดึงดูดเข้ารวมกัน อตฺถิ ภิกฺขเว สฬายตนํ นิพพานเป็นอายตนะอันหนึ่ง เมื่อหมดกิเลสแล้ว นิพพานก็ดึงดูดไปนิพพานเท่านั้น ให้รู้หลักจริงอันนี้ก็เอาตัวรอดได้

    ที่ได้ชี้แจงมาตามวาระพระบาลี อาทิตตปริยายสูตร โดยสังเขปกถาและตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสร ณ สถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงแค่นี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,154
    ค่าพลัง:
    +70,588
    ตอน:: “หลักพื้นฐานของวิชชาธรรมกาย”

    เมื่อเรารวมเห็น จำ คิด รู้ ไว้ที่กลางท้องกันได้แล้ว จะเห็นเป็นความสว่างก็ดี จะเห็นเป็นความว่างก็ดี สมมติว่าในครั้งแรกเรารวม เห็น จำ คิด รู้ เข้ามาท่ามกลางกาย (ผมใช้คำว่าท่ามกลางกายนะ ยังไม่ได้พูดถึงฐานที่ ๗ นะ) เราจะเห็นความสว่างเกิดขึ้นภายในท้องของเรา แสงสว่างซึ่งเป็นนิมิตนี้เกิดขึ้นหลังจากการรวมใจ ให้คุณคิดก่อนนะว่า นิมิตที่คุณเห็นอยู่นี้เกิดขึ้นหลังจากการรวมใจ ก็แสดงว่านี่คือ “ผลลัพธ์” แต่การรวมใจในครั้งนี้ ยังไม่ถึงขนาด “หยุด”
    เราต้องรวมใจไว้ท่ามกลางนิมิตที่เป็นแสงสว่าง คือ ระลึกถึงเชือก ๒ เส้น แล้วเราก็เอาใจที่รวมในครั้งที่ ๒ นี้มาวางไว้ที่จุดตัดของเส้นเชือก พอวางไปปุ๊บจะกลายเป็นความว่างเปล่าและไม่สว่าง ด้วยความไม่รู้ของเรา เราก็อาจจะวิตกหรือคิดมากว่า วางครั้งแรกเกิดความสว่าง แต่ทำไมวางครั้งที่สองถึงไม่สว่าง ใจเราก็เริ่มไม่ดี เกิดความสงสัยว่าเราทำถูกหรือทำไม่ถูก เราก็เริ่มใช้วิธีการตรึกระลึกถึงนิมิตที่เป็นดวงกลมใสขึ้นมาแทน พอคุณตรึกระลึกถึงนิมิตปุ๊บ จะกลายเป็นเรื่องหยาบละ ใจของคุณจะหยาบขึ้น เพราะคุณต้องเอาเห็น จำ คิด รู้ มาปรุงแต่งเป็นนิมิต ซึ่งแตกต่างจากการเห็นในครั้งแรกที่คุณรวม เห็น จำ คิด รู้และบังคับให้หยุด
    เพราะฉะนั้นผมใช้คำว่า “การเกิด หรือการดับ” ของการวมใจแต่ละครั้ง สำหรับผู้ปฏิบัติที่ยังไม่ได้ดวงธรรม บางครั้งก็เจอความสว่าง บางครั้งก็เจอความกว้าง บางครั้งก็เจอความว่าง บางครั้งก็เจออาการสงบ บางครั้งก็เจออาการนิ่ง อาการทั้งหลายเหล่านี้จะเกิดขึ้นเป็นประจำสำหรับคนที่ยังไม่เห็นดวงธรรม เพราะฉะนั้นอาการเหล่านี้เกิดขึ้นให้เรารู้ได้เลยว่าเราสามารถรวมใจได้ในระดับเบื้องต้นแล้ว อาการเหล่านี้เป็นตัวชี้วัดว่านี่คือผลของการรวมใจ ซึ่งในขั้นตอนต่อไปให้เราตรึกระลึกถึงเชือก ๒ เส้น ขึ้นมากลางท้อง (ให้นึกให้ได้) เป็นการตรึกระลึก ทีนี้อาการทั้งหลายเหล่านี้ซึ่งไม่ได้เกิดพร้อมกัน ไม่ว่าจะเกิดอาการไหนก็แล้วแต่ ถ้าเราตรึกระลึกเชือก ๒ เส้นขึ้นมาได้ อาการเหล่านี้ก็จะหายไป ซึ่งเราอย่าไปสนใจ แล้วก็รวมใจวางไว้ที่จุดตัดของเชือก ๒ เส้นนั้น เมื่อวางไปแล้วอาการต่าง ๆ ที่กล่าวไว้ข้างต้น อาการใดอาการหนึ่งจะกลับมาเกิดกับเราใหม่ เมื่ออาการเหล่านี้ตัวใดตัวหนึ่งกลับมาก็ให้เราวางใจเฉย ๆ ดูซักพักหนึ่งว่าในอาการเหล่านั้น เช่น ว่าง กว้าง สว่างนั้นมีจุดศูนย์กลางเกิดขึ้นหรือไม่
    คำว่าจุดศูนย์กลางเกิดขึ้นมาก็คือ “จุดเล็ก ๆ ” เท่ากับดวงดาวก็ได้ สิ่งนี้จะเป็นจุดศูนย์กลางนะ ไม่ใช่ดวงธรรม เป็นศูนย์กลางของนิมิตที่เกิดจากผลของการรวมใจ พอเราเห็น เราก็เอาใจไปวางไว้ที่ตรงนั้น พอเราไปวาง ณ ตรงนั้น อาการหนึ่งใดที่เกิดขึ้นกับเรานั้นจะละเอียดขึ้น (ว่าง กว้าง สว่าง สงบ นิ่ง เป็นต้น) ยกระดับของอาการเหล่านี้ (กว้างก็กว้างอย่างชัดเจน สว่างก็สว่างดุจตอนกลางวันเลย นิ่งก็นิ่งจริง ๆ) เขาเรียกว่ายกระดับขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง เราก็ทำแบบเดิม นิ่งไปเรื่อย ถ้าเราใช้คำว่า “เข้ากลางไปเรื่อย ๆ” ในสภาวะ ณ ตอนนี้จะใช้คำนี้ไม่ได้เพราะเรายังไม่เป็นวิชชา ได้แค่รวมใจได้ดีขึ้นเรื่อย พอเรารวมใจไปเรื่อย ๆ ใจเราก็จะรวมง่ายขึ้น พอเรานั่งต่อไป เรารู้วิธี รู้เส้นทาง เราก็จะมารวมและวางในที่เดิม ๆ ซ้ำ ๆ พอรวมและวางบ่อยครั้งขึ้น การรวมเห็น จำ คิด รู้ หรือรวมใจจะอยู่ในท้องของเราแน่นอน พออยู่ในท้องของเราแน่นอนแล้ว ผมบอกเลยว่าเมื่อหยุด ใจก็จะเข้าสิบตกศูนย์เอง
    คำว่า “หยุด” ตราบใดที่ยังไม่หยุด มีอาการแค่นิ่งหรือสงบเฉย ๆ นี่จะยังไม่เห็นอะไร พอหยุดก็จะเห็นเลย พอหยุดแล้วเข้าสิบ ตกศูนย์เมื่อไหร่เมื่อนั้นจะไหลเข้าไปเอง แต่ถามว่าต้องไปสนใจไหมว่าเราต้อง “หยุด” ต้อง “เข้าสิบ” ต้อง “ตกศูนย์” สิ่งเหล่านี้อย่าไปใส่ใจ เปรียบเสมือนว่าเวลาคุณนอน เมื่อคุณใส่ใจว่าเวลาหลับเราหลับยังไง ต้องนอนตะแคงซ้าย หรือตะแคงขวาถึงจะหลับ อย่างงี้คุณไม่ได้หลับแน่นอน
    เมื่อเราไม่ใส่ใจ นี่ก็ถือว่าเป็นการ “ละ” อีกอย่างหนึ่ง และอาการที่หยุด ก็จะมีอาการเล็กลงไปเรื่อย ๆ จนขนาดเท่าปลายเข็ม แต่คุณไม่ต้องนึกปลายเข็มกันนะ ให้หยุดเฉย ๆ จี้ไปเรื่อย ๆ เดี๋ยวเขาจะเล็กลงไปเอง และจำอาการนี้ ตำแหน่งนี้ ที่เราเรียกว่า “รอยใจ” ให้จำนี้ไว้ให้ได้ ปฏิบัติในวันต่อไปก็ให้มาเริ่มจี้ที่รอยใจนี้เลย จี้อยู่อย่างนี้ ๓ วัน ๗ วัน ๑๐ วัน เราต้องจี้โดนเข้าสักวัน เพราะว่าการตกศูนย์ต้องหยุดให้ได้ ๑๐๐% วันนี้เราหยุดได้ ๗๐ พรุ่งนี้เราก็จะหยุดได้ ๘๕ หยุดเพิ่มมากขึ้นไปเรื่อย ๆ จนครบ ๑๐๐% หยุดครบเมื่อไหร่ก็จะเข้าสิบตกศูนย์เอง สำคัญคือต้องหยุด
    มีหลายคนอยู่นะที่นั่งแล้วไม่ก้าวหน้า นิ่งไหมก็นิ่ง ฟุ้งไหมก็ไม่ฟุ้ง สงบไหมก็สงบ แต่ไม่เห็นอะไร ไม่เห็นเพราะอะไร เพราะเขาไม่ได้วางใจ นี่คือพื้นฐานของวิชชาธรรมกาย คือหาที่ตั้งของใจ รวมใจ และก็วางใจ

    ผู้บรรยาย :: "ผู้มีเจตนาให้ธรรมเป็นทาน" ๑๐/๐๗/๒๕๕๙
    บันทึกโดย:: “ศิษย์แถวหลัง แต่ใจมุ่งกลาง” ๑๑/๐๗/๒๕๕๙
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,154
    ค่าพลัง:
    +70,588
    ตอน:: “หลักพื้นฐานของวิชชาธรรมกาย”
    เมื่อเรารวมเห็น จำ คิด รู้ ไว้ที่กลางท้องกันได้แล้ว จะเห็นเป็นความสว่างก็ดี จะเห็นเป็นความว่างก็ดี สมมติว่าในครั้งแรกเรารวม เห็น จำ คิด รู้ เข้ามาท่ามกลางกาย (ผมใช้คำว่าท่ามกลางกายนะ ยังไม่ได้พูดถึงฐานที่ ๗ นะ) เราจะเห็นความสว่างเกิดขึ้นภายในท้องของเรา แสงสว่างซึ่งเป็นนิมิตนี้เกิดขึ้นหลังจากการรวมใจ ให้คุณคิดก่อนนะว่า นิมิตที่คุณเห็นอยู่นี้เกิดขึ้นหลังจากการรวมใจ ก็แสดงว่านี่คือ “ผลลัพธ์” แต่การรวมใจในครั้งนี้ ยังไม่ถึงขนาด “หยุด”
    เราต้องรวมใจไว้ท่ามกลางนิมิตที่เป็นแสงสว่าง คือ ระลึกถึงเชือก ๒ เส้น แล้วเราก็เอาใจที่รวมในครั้งที่ ๒ นี้มาวางไว้ที่จุดตัดของเส้นเชือก พอวางไปปุ๊บจะกลายเป็นความว่างเปล่าและไม่สว่าง ด้วยความไม่รู้ของเรา เราก็อาจจะวิตกหรือคิดมากว่า วางครั้งแรกเกิดความสว่าง แต่ทำไมวางครั้งที่สองถึงไม่สว่าง ใจเราก็เริ่มไม่ดี เกิดความสงสัยว่าเราทำถูกหรือทำไม่ถูก เราก็เริ่มใช้วิธีการตรึกระลึกถึงนิมิตที่เป็นดวงกลมใสขึ้นมาแทน พอคุณตรึกระลึกถึงนิมิตปุ๊บ จะกลายเป็นเรื่องหยาบละ ใจของคุณจะหยาบขึ้น เพราะคุณต้องเอาเห็น จำ คิด รู้ มาปรุงแต่งเป็นนิมิต ซึ่งแตกต่างจากการเห็นในครั้งแรกที่คุณรวม เห็น จำ คิด รู้และบังคับให้หยุด
    เพราะฉะนั้นผมใช้คำว่า “การเกิด หรือการดับ” ของการวมใจแต่ละครั้ง สำหรับผู้ปฏิบัติที่ยังไม่ได้ดวงธรรม บางครั้งก็เจอความสว่าง บางครั้งก็เจอความกว้าง บางครั้งก็เจอความว่าง บางครั้งก็เจออาการสงบ บางครั้งก็เจออาการนิ่ง อาการทั้งหลายเหล่านี้จะเกิดขึ้นเป็นประจำสำหรับคนที่ยังไม่เห็นดวงธรรม เพราะฉะนั้นอาการเหล่านี้เกิดขึ้นให้เรารู้ได้เลยว่าเราสามารถรวมใจได้ในระดับเบื้องต้นแล้ว อาการเหล่านี้เป็นตัวชี้วัดว่านี่คือผลของการรวมใจ ซึ่งในขั้นตอนต่อไปให้เราตรึกระลึกถึงเชือก ๒ เส้น ขึ้นมากลางท้อง (ให้นึกให้ได้) เป็นการตรึกระลึก ทีนี้อาการทั้งหลายเหล่านี้ซึ่งไม่ได้เกิดพร้อมกัน ไม่ว่าจะเกิดอาการไหนก็แล้วแต่ ถ้าเราตรึกระลึกเชือก ๒ เส้นขึ้นมาได้ อาการเหล่านี้ก็จะหายไป ซึ่งเราอย่าไปสนใจ แล้วก็รวมใจวางไว้ที่จุดตัดของเชือก ๒ เส้นนั้น เมื่อวางไปแล้วอาการต่าง ๆ ที่กล่าวไว้ข้างต้น อาการใดอาการหนึ่งจะกลับมาเกิดกับเราใหม่ เมื่ออาการเหล่านี้ตัวใดตัวหนึ่งกลับมาก็ให้เราวางใจเฉย ๆ ดูซักพักหนึ่งว่าในอาการเหล่านั้น เช่น ว่าง กว้าง สว่างนั้นมีจุดศูนย์กลางเกิดขึ้นหรือไม่
    คำว่าจุดศูนย์กลางเกิดขึ้นมาก็คือ “จุดเล็ก ๆ ” เท่ากับดวงดาวก็ได้ สิ่งนี้จะเป็นจุดศูนย์กลางนะ ไม่ใช่ดวงธรรม เป็นศูนย์กลางของนิมิตที่เกิดจากผลของการรวมใจ พอเราเห็น เราก็เอาใจไปวางไว้ที่ตรงนั้น พอเราไปวาง ณ ตรงนั้น อาการหนึ่งใดที่เกิดขึ้นกับเรานั้นจะละเอียดขึ้น (ว่าง กว้าง สว่าง สงบ นิ่ง เป็นต้น) ยกระดับของอาการเหล่านี้ (กว้างก็กว้างอย่างชัดเจน สว่างก็สว่างดุจตอนกลางวันเลย นิ่งก็นิ่งจริง ๆ) เขาเรียกว่ายกระดับขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง เราก็ทำแบบเดิม นิ่งไปเรื่อย ถ้าเราใช้คำว่า “เข้ากลางไปเรื่อย ๆ” ในสภาวะ ณ ตอนนี้จะใช้คำนี้ไม่ได้เพราะเรายังไม่เป็นวิชชา ได้แค่รวมใจได้ดีขึ้นเรื่อย พอเรารวมใจไปเรื่อย ๆ ใจเราก็จะรวมง่ายขึ้น พอเรานั่งต่อไป เรารู้วิธี รู้เส้นทาง เราก็จะมารวมและวางในที่เดิม ๆ ซ้ำ ๆ พอรวมและวางบ่อยครั้งขึ้น การรวมเห็น จำ คิด รู้ หรือรวมใจจะอยู่ในท้องของเราแน่นอน พออยู่ในท้องของเราแน่นอนแล้ว ผมบอกเลยว่าเมื่อหยุด ใจก็จะเข้าสิบตกศูนย์เอง
    คำว่า “หยุด” ตราบใดที่ยังไม่หยุด มีอาการแค่นิ่งหรือสงบเฉย ๆ นี่จะยังไม่เห็นอะไร พอหยุดก็จะเห็นเลย พอหยุดแล้วเข้าสิบ ตกศูนย์เมื่อไหร่เมื่อนั้นจะไหลเข้าไปเอง แต่ถามว่าต้องไปสนใจไหมว่าเราต้อง “หยุด” ต้อง “เข้าสิบ” ต้อง “ตกศูนย์” สิ่งเหล่านี้อย่าไปใส่ใจ เปรียบเสมือนว่าเวลาคุณนอน เมื่อคุณใส่ใจว่าเวลาหลับเราหลับยังไง ต้องนอนตะแคงซ้าย หรือตะแคงขวาถึงจะหลับ อย่างงี้คุณไม่ได้หลับแน่นอน
    เมื่อเราไม่ใส่ใจ นี่ก็ถือว่าเป็นการ “ละ” อีกอย่างหนึ่ง และอาการที่หยุด ก็จะมีอาการเล็กลงไปเรื่อย ๆ จนขนาดเท่าปลายเข็ม แต่คุณไม่ต้องนึกปลายเข็มกันนะ ให้หยุดเฉย ๆ จี้ไปเรื่อย ๆ เดี๋ยวเขาจะเล็กลงไปเอง และจำอาการนี้ ตำแหน่งนี้ ที่เราเรียกว่า “รอยใจ” ให้จำนี้ไว้ให้ได้ ปฏิบัติในวันต่อไปก็ให้มาเริ่มจี้ที่รอยใจนี้เลย จี้อยู่อย่างนี้ ๓ วัน ๗ วัน ๑๐ วัน เราต้องจี้โดนเข้าสักวัน เพราะว่าการตกศูนย์ต้องหยุดให้ได้ ๑๐๐% วันนี้เราหยุดได้ ๗๐ พรุ่งนี้เราก็จะหยุดได้ ๘๕ หยุดเพิ่มมากขึ้นไปเรื่อย ๆ จนครบ ๑๐๐% หยุดครบเมื่อไหร่ก็จะเข้าสิบตกศูนย์เอง สำคัญคือต้องหยุด
    มีหลายคนอยู่นะที่นั่งแล้วไม่ก้าวหน้า นิ่งไหมก็นิ่ง ฟุ้งไหมก็ไม่ฟุ้ง สงบไหมก็สงบ แต่ไม่เห็นอะไร ไม่เห็นเพราะอะไร เพราะเขาไม่ได้วางใจ นี่คือพื้นฐานของวิชชาธรรมกาย คือหาที่ตั้งของใจ รวมใจ และก็วางใจ
    ผู้บรรยาย :: "ผู้มีเจตนาให้ธรรมเป็นทาน" ๑๐/๐๗/๒๕๕๙
    บันทึกโดย:: “ศิษย์แถวหลัง แต่ใจมุ่งกลาง” ๑๑/๐๗/๒๕๕๙
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,154
    ค่าพลัง:
    +70,588
    ถาม....ในบทสังฆคุณของหลวงพ่อสด หน้า ๑๖-๑๗ กล่าวไว้ชัดถึงการอาศัยองค์ฌานตามลำดับตั้งแต่ ๑-๘ ถอยเข้าถอยออกแล้วพิจารณาอริยสัจแล้วเกิดปัญญาเป็นพระอริยบุคคลตามลำดับ เพียงแต่การทำฌานสมาบัติได้ถึง ๔ ชั้นก็เป็นของยากยิ่งกว่าจะได้ (เว้นบางท่าน) แล้วไฉนผู้เข้ารับการอบรมทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ และพระเณรบางรูป ดูกิริยาวาจาแล้ว ยังมีจิตหยาบอยู่มาก จึงสอบผ่าน ๑๘ กาย ไปได้ง่ายดายนัก ยิ่งเป็นพระแล้วน่ากลัวอาบัติมาก





    ......................................................



    ตอบ......ท่านทำของท่านไปเถอะ ท่านอย่าไปคิดประเมินคนอื่นเลย ท่านลืมคำของพระพุทธเจ้าคำหนึ่งที่ตรัสไว้ว่า อย่าไปมัวพิจารณากิจของผู้อื่น แต่ให้พิจารณากิจของตัวเอง เด็กกับผู้ใหญ่ต่างกัน เด็กหลุกหลิก แต่ทำได้ทุกคน

    ทั้งๆ ที่บางคนหลับโหงกเหงกๆ ตื่นมาทำได้อีก ทราบไหมเพราะอะไร ? เด็กเพิ่งเกิดมา ใจยังไม่ไปยึดไปเกาะอารมณ์ภายนอกมากนัก กิเลสยังไม่หนาแน่น แต่ผู้ใหญ่กิเลสหนาตั้งแต่ตา หู จมูก ลิ้น กาย สัมผัสสิ่งภายนอกมาตลอดทุกนาทีทุกชั่วโมง เว้นแต่หลับ แล้วกิเลสสะสมเข้ามาเท่าไรตั้งแต่เกิดมากว่าจะมาปฏิบัติธรรมให้เห็นได้ จะต้องกระเทาะกิเลสเหล่านั้นให้หมดเป็นชั้นไป จึงจะถึงรู้เห็นและเป็นธรรมกายที่บริสุทธิ์ได้ ส่วนเด็กซึ่งจิตใจยังไม่ทันไปยึดไปเกาะอะไรมากนัก พอบอกให้แกนึกให้เห็น บางทีเพียงหนึ่งนาทีแกเห็นแล้ว ท่านจะไปคิดประมาณอะไรกับพวกเด็กที่เห็นเร็วเห็นช้า

    สามเณรบางรูปในสมัยพุทธกาล พอปลงผมแกร๊กก็บรรลุเป็นพระอรหันต์เลย แค่มีดโกนสัมผัสศีรษะก็บรรลุแล้ว นี้เป็นเรื่องของบุญบารมีที่เขาสร้างสมไว้ดี เอาง่ายๆ คนเราที่เติบโตมากระทั่งเป็นผู้ใหญ่แล้วนี้ ตั้งแต่เกิดมา มีผู้ใหญ่หรือพ่อแม่พี่น้องครูบาอาจารย์ชักนำให้มาปฏิบัติกัมมัฏฐานสักกี่ราย แต่เด็กเหล่านี้มีผู้ชักนำมาปฏิบัติกัมมัฏฐานตั้งแต่ยังเด็ก ท่านดูแค่นี้ ใครมีบุญมากกว่ากัน ดูง่ายๆ เท่านี้แหละ

    เด็กมีจิตใจที่ยังไม่ถูกห่อหุ้มด้วยกิเลสที่สะสมตกตะกอนนอนเนื่องมากเหมือนผู้ใหญ่ เมื่อจะให้ใจหยุดจึงหยุดเข้าไปได้ง่าย บางทีหยุดนิดเดียวได้ดวงปฐมมรรคเห็นใสสว่างด้วย ผู้ใหญ่นั่งปฏิบัติภาวนาเกือบตายไม่เห็น เพราะใจมันไม่หยุด เด็กหยุดเดี๋ยวเดียว เดี๋ยวก็หยุกหยิก เป็นธรรมชาติของเด็ก จนเขาบอกว่าใครจับเด็กให้นิ่งได้ คนนั้นเก่ง อย่านึกว่าผู้ใหญ่ต้องทำได้ง่ายกว่าเด็ก ไม่ใช่ ผู้ใหญ่ทำได้ง่ายก็มี ทำได้ยากก็มี แต่ส่วนใหญ่จะยากกว่าเด็ก จะเข้าถึง รู้ เห็น และเป็นธรรมกายได้ช้ากว่าเด็กๆ

    หลวงพ่อสดเองก็ไม่ได้ทำได้ภายในหนึ่งปี ท่านเอาจริงเอาจังเกือบตาย ท่านปฏิบัติพระกัมมัฏฐานนานกว่าจะได้ดวงปฐมมรรคและถึงธรรมกาย พวกเราเองแม้ได้แล้วหายไปก็มีหลายราย เพราะยังกำจัดกิเลสหรือสัญโญชน์ไม่ได้ ยังไม่เป็นอริยเจ้า เหมือนไปเชียงใหม่ ไปถึงแค่ไปดูไปเห็น กลับมาอีกแล้ว เพราะทุนทรัพย์ไม่พอ แต่คนที่ทุนทรัพย์พอ ไปถึงก็สามารถฝังรกรากอยู่ได้ อยู่ที่การบำเพ็ญบารมีแก่กล้าถึงเวลาที่ธาตุธรรมแก่กล้าแล้วก็ถึงเองเป็นเอง

    เรื่องบุญบารมี ขอกล่าวสักนิดว่า เราจะพูดว่าใครบารมีมากกว่าใคร ก็พูดยาก เพราะอะไร ? เพราะผู้ที่อธิษฐานเป็นปกติสาวกบำเพ็ญบารมีเต็มเร็วกว่าผู้ที่อธิษฐานบารมีสูงกว่านั้น เช่นผู้บำเพ็ญบารมีในระดับอสีติมหาสาวกหรือพุทธอุปัฏฐาก พุทธบิดา พุทธมารดา หรือขึ้นไปถึงพระปัจเจกพุทธเจ้า พระสัพพัญญูพุทธเจ้า แม้พระสัพพัญญูพุทธเจ้าก็ยังมีการบำเพ็ญบารมีที่ต่างกัน เช่น พระปัญญาธิกพุทธเจ้าก็ ๔ อสงไขยแสนกัปป์ ดังเช่นพระพุทธเจ้าของเราองค์ปัจจุบัน ๘ อสงไขยแสนกัปป์ ๑๖ อสงไขยแสนกัปอย่างเช่น พระศรีอารยเมตไตรยก็มีการบำเพ็ญบารมีไม่เหมือนกันไม่เท่ากันอย่างนี้ ระยะเวลาของการบำเพ็ญบารมีแตกต่างกันมากอีกด้วย

    เมื่อเป็นเช่นนั้น บางท่านในอดีตชาติเคยอธิษฐานบารมีมามาก บำเพ็ญบารมียังไม่เต็ม ก็ยังไม่เห็น เห็นช้ากว่าคนที่อธิษฐานบารมีมาน้อยหรือปานกลาง ซึ่งเต็มเร็ว ก็เห็นเร็ว นี้อันหนึ่ง แต่เห็นแล้วก็ได้บรรลุมรรคผลเป็นพระอริยบุคคลหรือไม่ ขึ้นอยู่ที่ธาตุธรรมแก่กล้าพอแล้วหรือยัง อันนี้พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า เหมือนปลูกข้าวเมื่อเราทำดีที่สุดแล้ว ข้าวจะงอกงามขึ้นมาและจะออกรวงเอง จะบังคับให้ข้าวออกรวงในวันนี้พรุ่งนี้ไม่ได้ ถึงเวลาก็จะออกรวงเอง

    เด็กน่ะที่เห็น เห็นชัดด้วย ที่เห็นชัดแจ้งก็เห็นได้ชัดแจ๋วมากๆ ด้วย ส่วนผู้ใหญ่หลายคนกว่าจะได้เห็นและเข้าถึง ก็ยากกว่า ช้ากว่ากันมาก ผมจึงมีนโยบายว่าให้เด็กปฏิบัติให้ได้ผลดีมากๆ เมื่อเด็กปฏิบัติถึงธรรมกายแล้วก็ให้เรียนภาคปริยัติด้วยเต็มที่เลย ได้ทั้งปริยัติและปฏิบัติ เด็กถ้ามาเข้ารับการอบรม ๑๐ คนภายใน ๑๕ วันถ้าเขาตั้งใจปฏิบัติจริงๆ ก็สามารถปฏิบัติถึงธรรมกายได้ไม่น้อยกว่า ๕-๖ คน นี้เป็นอัตราทั่วไป ถ้าเด็กวัยรุ่นอยู่ปฏิบัติ ๑๕ วัน นี้จะได้ผลดีไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๓ หรือ ๓๓% แต่ถ้าผู้ใหญ่ถ้าตั้งใจอยู่ปฏิบัติจริงจังจะได้ผลประมาณ ๑ ใน ๔ หรือ ๒๕% นี้เป็นอัตราธรรมดา

    ทุกท่านเมื่อตั้งใจปฏิบัติภาวนาพึงทราบว่า เมื่อเหตุปัจจัยประกอบพร้อมก็เข้าถึงได้ เพราะฉะนั้นท่านอย่าไปหงุดหงิดข้อนี้ อย่าให้จิตใจไปยึดไปเกาะเรื่องภายนอกแล้วจะรวมใจลงหยุด ณ ศูนย์กลางกายได้ยาก วิจิกิจฉาก็เป็นตัวกิเลสนิวรณ์และเป็นตัวอุปกิเลสของสมาธิ ให้การปฏิบัติสมาธิไม่เจริญ ประการสำคัญ อย่าไปคิดอะไรมาก อย่าไปยุ่งใจกับเรื่องคนอื่นเขา ตั้งหน้าทำกิจภาวนาของตนไป โดยทาง ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นแหละ ทำไปอย่างเดียว ถึงเวลาแล้วก็ถึงเองเป็นเอง

    เลิกสงสัยเสียนะครับให้เป็นสัมมาทิฏฐิ ที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม อย่าไปสนใจคนอื่นเขา อย่าไปสนใจนอกเรื่อง แล้วท่านจะเจริญเอง พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ให้รักษาใจเราแต่อย่างเดียว ถึงเวลาบรรลุเอง เอาแต่เฉพาะปัจจุบันธรรมที่เราสามารถปฏิบัติได้ผลของเราเอง

    หลวงพ่อท่านบอกว่า จงพิจารณาเหตุ สังเกตผล ทนเอาเถิด ประเสริฐนัก คือพิจารณาประกอบเหตุในเหตุถึงต้นๆ เหตุ ให้ได้ผล พิจารณาแก้ไขของเราเอง อย่าสงสัยมาก เอาแต่ส่วนที่ตัวปฏิบัติเข้าถึง เรื่องอื่นวางให้หมด อย่าสนใจคนอื่น ทำอย่างไรใจของเราจึงจะหยุดจะนิ่ง ทำสมาธิให้เกิด ให้เห็นดวงใสแจ่ม บางทีเห็นไม่ชัดในเบื้องต้นนี้ก็ต้องอาศัยการนึกเห็นเข้าช่วยด้วยเพื่อให้ใจมารวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน พอหยุดได้แล้วปล่อยเอง ไม่ต้องสงสัย

    ท่านถามมาก็เป็นประโยชน์อยู่ เพราะมีหลายคนมีข้อสงสัยอย่างนี้ คงจะพอเป็นข้อแนะนำชี้แจงให้เข้าใจได้พอสมควร
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,154
    ค่าพลัง:
    +70,588
    #ภารสุตฺตกถา

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)

    ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธาภาราหาโร จ ปุคฺคโลภาราทานํ ทุกฺขํ โลเกภารานิกฺเขปนํ สุขํนิกฺขิปิตฺวา ครุํ ภารํอญฺญํ ภารํ อนาทิยสมูลํ ตณฺหํ อพฺพุยฺหนิจฺฉาโต ปรินิพฺพุโตติ.

    ณ บัดนี้ อาตมภาพจะได้แสดงธรรมีกถา แก้ด้วย ภารสุตฺตกถา วาจาเครื่องกล่าว ปรารภซึ่งพระพุทธพจน์ แสดงในเรื่องภาระของสัตว์โลก สัตว์โลกทุกข์ยากในเรื่องภาระ ทั้งหลายเหล่านี้นัก จะชี้แจงแสดงตามวาระพระบาลี และคลี่ความเป็นสยามภาษา ตาม อัตโนมตยาธิบาย เพราะว่า เราท่านทั้งหลาย หญิงชาย คฤหัสถ์บรรพชิต ล้วนแต่ต้องมี ภารกิจหนักอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น ทุกข์ยากลำบากเดือดร้อนลำเค็ญอยู่ต่างๆ ก็เพราะอาศัย ภาระเหล่านี้ ภาระเหล่านี้เป็นของสำคัญ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเห็นภาระอันใหญ่ยิ่ง ดังนั้นจึงได้ทรงแสดงภารสูตรว่า ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา ขันธ์ทั้ง 5 เป็นภาระหนักแท้ เป็นภาระโดยแท้ ภาราหาโร จ ปุคฺคโล ก็บุคคลนำภาระไป ภาราทานํ ทุกฺขํ โลเก ถือภาระ ไว้เป็นทุกข์ในโลก ภารานิกฺเขปนํ สุขํ วางภาระเสียเป็นสุขนิกฺขิปิตฺวา ครุ ํ ภารํ บุคคล วางภาระอันหนักแล้ว อญฺญํ ภารํ อนาทิย ไม่ฉวยเอาภาระอื่นมาเป็นภาระอีก สมูลํ ตณฺหํ อพฺพุยฺห ถอนตัณหาทั้งรากเสียได้ นิจฺฉาโต ปรินิพฺพุโตติ มีความปรารถนาดับสิ้น ชื่อว่า นิพพานได้ ดังนี้ นี่ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา

    ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบาย ขยายความในเรื่องภาระหนักของสัตว์โลก หญิงชายคฤหัสถ์ บรรพชิตทุกถ้วนหน้า ขันธ์ทั้ง 5 เป็นภาระ ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของมนุษย์นี้ ที่มนุษย์อาศัยเรียกว่าขันธ์ 5 นี้แหละ จะเป็นหญิงเป็นชาย เป็นเด็กเป็นผู้ใหญ่ ก็ต้องอาศัยขันธ์ 5อาศัยรูป คือ ร่างกาย อาศัยเวทนา คือความสุข ทุกข์ ไม่สุข ไม่ทุกข์ อาศัยสัญญา คือ ความจำ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพารมณ์ อาศัยสังขาร คือ ความปรารถนาดี ชั่ว ไม่ดีไม่ชั่ว อาศัยวิญญาณ คือ ความรู้แจ้งขันธ์ทั้ง 5 นี่แหละ เรียกว่าเป็นภาระ เป็นภาระอย่างไร เราต้องพิทักษ์รักษาเอาใจใส่ หยุดก็ไม่ได้ เวลาเช้า ตื่นจากที่นอนแล้วเราต้องล้างหน้าบ้วนปากให้มัน ไม่เช่นนั้นมันเหม็น ปวดอุจจาระปัสสาวะ ต้องไปถ่าย พอเสร็จแล้วมันจะรับประทานอาหาร ต้องไปหามาให้ ต้องการอะไร เป็นต้องไป เอามาให้ เมื่อไม่เอามาให้ ไม่ได้ อยากอะไรก็ต้องไปหามา ไม่ใช่แต่เท่านั้น ไม่ว่าอยากอะไร ต้องไปหาให้มัน ถ้าไม่มาให้ มันไม่ยอม นี่เป็นภาระอย่างนี้ เราต้องทำทุกสิ่งทุกอย่างใน อัตภาพร่างกายนี้เป็นภาระทั้งนั้น มันอยากจะเห็นอะไร ต้องหาให้มัน ไม่สบายต้องแก้ไข ไปอีก ต้องนำภาระไปอย่างนี้ มันบอกว่าที่นี่อยู่ไม่สบาย ต้องหาที่อยู่ให้มัน มันจะอยู่ ตรงนั้นตรงนี้ตามเรื่องของมัน ต้องเป็นภาระทุกสิ่งทุกอย่างไปนี่แหละ เรียกว่าเป็นภาระ อย่างนี้ ยุ่งกับลูกหญิงลูกชายซึ่งเป็นภาระของพ่อแม่ ภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกาก็เป็น ภาระของสมภาร ในบ้านในช่องทั้งครอบครัวเป็นภาระของพ่อบ้านแม่บ้าน ราษฎรทั้ง ประเทศเป็นภาระของพระเจ้าแผ่นดิน ผู้ปกครองประเทศ ข้าวของแพงเหล่านี้ก็เป็นภาระ ของผู้ปกครองประเทศ

    ภาระทั้งหลายเหล่านี้ไม่อัศจรรย์เท่าภาระของขันธ์ 5 นี้ ลำพังขันธ์ 5 นี้ จำเพาะตัว ของมันก็ยังไม่สู้กระไรนัก ผู้ใดไม่พอก็หาภาระเพิ่มอีก 5 ขันธ์ เป็น 10 ขันธ์ ไปเอาอีก 5 ขันธ์ เป็น 15 ขันธ์ ไปเอาอีก 5 ขันธ์ เป็น 20 ขันธ์ เป็น 25, 30, 35, 40 หนักเข้า ถึงร้อยพันขันธ์ ที่ทนไม่ไหว เพราะเหตุว่าภาระเหล่านี้มันหนัก ไม่ใช่ของเบา เมื่อมีภาระ เหล่านี้จะเป็นภาระ 5 ขันธ์ก็ดี ภาระอื่นจาก 5 ขันธ์ก็ดี ภาระเหล่านี้แหละ ภาราหาโร จ ปุคฺคโล บุคคลถือภาระนี้ไว้กี่ขันธ์ก็ช่าง บุคคลนำภาระนี้ไป บุคคลต้องนำทุกข์ของตัวไป เพราะมีขันธ์ 5 ด้วยกันทั้งนั้น บุคคลนำภาระไป ภาราทานํ ทุกฺขํ โลเก ถ้าว่าไปถือภาระ นี้ไว้ ตำรากล่าวว่าเป็นทุกข์ในโลก ถึงจะหมดขันธ์ 5 ก็อย่าถือมัน วางธุระเสีย ถ้าไปถือมัน ก็เป็นทุกข์ในโลก แปลว่า ถ้าถือภาระไว้เป็นทุกข์ในโลก ภารานิกฺเขปนํ สุขํ ปล่อยวางภาระ เสีย ปล่อยขันธ์ 5 นั่นเองเป็นสุข ถือไว้เป็นทุกข์ ปล่อยขันธ์ 5 นั่นเองเป็นสุข ถือไว้ เป็นทุกข์ ปล่อยเป็นสุข นิกฺขิตฺวา ครุํ ภารํ อญฺญํ ภารํ อนาทิย สมูลํ ตณฺหํ อพฺพุยฺห แม้ปล่อยภาระที่หนักเสียแล้ว ไม่ฉวยเอาภาระของคนอื่นเข้ามา ปล่อยขันธ์ 5 นี่ ไปเอา ขันธ์ 5 นั่น ปล่อยขันธ์ 5 นั่น ไปเอาขันธ์ 5 นี่ ไปเอาขันธ์ 5 นั่น ปล่อยขันธ์ 5 นั่น ไป เอาขันธ์ 5 โน่น นี่เรียกว่าไปเอาภาระอื่นเข้ามาถือไว้อีก ถ้าปล่อยเสียแล้วไม่ถือไว้ ก็ชื่อว่า เป็นผู้ถอนตัณหาทั้งรากได้สิ้นเชื้อทีเดียว นิจฺฉาโต ปรินิพฺพุโต มีความปรารถนาดับสิ้น ชื่อว่านิพพานได้ ดังนี้เราจะได้รับความสุข ก็เพราะปล่อยภาระเหล่านี้เสีย เราได้รับความ ทุกข์ก็เพราะถือภาระเหล่านี้ การที่ปล่อยไม่ใช่ของง่าย การที่ถือง่าย การปล่อยยากเหมือน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของตัวนี้ ท่านก็เทศน์กันนักกันหนาว่าเป็น อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา เราก็ไม่ยอมดีๆ เราก็เชื่อว่าเที่ยง เป็นสุข เป็นตัว แต่อย่างนั้นเราก็ต้องบริหารรักษา ของเรา ที่เราจะยอมลงความเห็นเด็ดขาดไม่ได้ เพราะเหตุว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร ตลอดวิญญาณทั้ง 5 อย่างนี้เราต้องอาศัยทุกคน สัญญา สังขาร วิญญาณออกเสีย เราก็ ไม่มีที่อาศัย เราต้องอาศัยแต่ว่าอย่าไปถือมัน รู้ว่าอาศัยเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัว เป็นไปตามสภาพอย่างไร เราไม่ควรยึดถือ ปล่อยตามสภาพของมันอย่างนี้ ทุกข์ก็น้อยลง ต่อเมื่อไรถือมัน มันก็เป็นทุกข์มาก เป็นภาระหนักขึ้น

    เหตุนี้พระองค์ทรงเห็นแล้วว่าขันธ์ทั้ง 5 เป็นภาระสำคัญและหนักด้วย ใครปล่อย วางขันธ์ 5 ละไม่ได้ ผู้นั้นต้องเวียนว่ายตายเกิด ผู้ใดปล่อยได้ผู้นั้นนับวันจะหมดชาติ หมดภพ จะมีนิพพานเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ที่เทศนานี้ล้วนสอนให้ถอดขันธ์ 5 ออกเป็น ชั้นๆ ไป แต่ว่าจะถอดขันธ์ 5 จะถอดอย่างไร มันเหมือนมะขามสด เนื้อกับเปลือกมันติดกัน ไม่หลุด ไม่กรอกจากกัน ไม่ล่อนจากกัน ถอดไม่ได้ เรายังไม่เห็นขันธ์ 5 ต่อเมื่อใดถอดขันธ์ 5 เราจะเห็นขันธ์ 5 เห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี่เรารู้เห็นด้วยตามนุษย์ รูปเรา เห็นได้ เวทนาเราก็เห็น หน้าตาแช่มชื่นดี เราก็รู้ว่าสุข เรื่องสัญญา สังขาร วิญญาณ เราก็ ไม่เห็น เราจะต้องเห็นทั้ง 5 อย่างจึงจะละได้วางได้ ถ้าไม่เห็นขันธ์ทั้ง 5 อย่าง ละวางไม่ได้

    ถ้าอยากเห็นขันธ์ 5 เราต้องถอดกายออกเป็นชั้นๆ ต้องถอดกายทิพย์ออกจาก กายมนุษย์ วิธีจะถอดขันธ์ไม่ใช่เป็นของง่าย เป็นของยาก หมื่นยากแสนยากทีเดียว แต่วิธี เขามีที่วัดปากน้ำ วิธีเข้ากายถอดขันธ์ คือ ทำจิตใจให้หยุดให้นิ่งที่กำเนิดเดิม ถอดขันธ์ออก ไปแล้วจึงเห็นขันธ์ ถอดขันธ์ 5 ของมนุษย์ออกจากขันธ์ 5 ของทิพย์ ถอดขันธ์ 5 ของ ทิพย์ออกจากขันธ์ 5 ของรูปพรหม ถอดขันธ์ 5 ของรูปพรหมออกจากขันธ์ 5 ของ อรูปพรหม ถอดขันธ์ 5 ของอรูปพรหมออกจากธรรมกาย เหมือนถอดเสื้อกางเกงอย่างนั้น แต่ว่าต้องถอดเป็น ถอดไม่เป็นก็ถอดไม่ได้

    วิธีถอดมี ต้องทำใจของตัวให้หยุดให้นิ่ง เห็น อย่างหนึ่ง จำอย่างหนึ่ง คิด อย่างหนึ่ง รู้ อย่างหนึ่ง หยุดนิ่งเหมือนอย่างกุมารน้อยอยู่ในท้องมารดา ใจหยุดที่กำเนิดเดิมคือศูนย์ กลางกายของกายมนุษย์ กำเนิดเดิมแค่ราวสะดือ เอาใจหยุดที่ตรงนั้น พอถูกส่วน ถูกที่เข้า เท่านั้นแหละ ก็เกิดเป็นดวงใส นั่นแหละเรียกว่า ปฐมมรรค หรือศีล เป็น ดวงศีลหยุดนิ่ง ต่อไป ถูกส่วนเข้า จะเห็น ดวงสมาธิ เข้าไปหยุดนิ่งกลางดวงสมาธิ จะเห็น ดวงปัญญา หยุด นิ่งกลางดวงปัญญา เห็น ดวงวิมุตติ หยุดนิ่งที่กลางดวงวิมุตติ จะเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็เห็น กายทิพย์ กายมนุษย์-กายทิพย์หลุดจากกันแล้ว เห็นกายทิพย์แล้วเหมือนมะขาม กรอก กายมนุษย์เป็นเปลือกไป กายทิพย์เป็นเนื้อไป เป็นคราบงูที่ลอกออกไป เป็นเนื้อ มะขามใส เห็นชัดอย่างนี้ กายมนุษย์หลุดออกไป ขันธ์ 5 ของมนุษย์หลุดออกไป เหลือ กายทิพย์แล้วก็ทำวิธีอย่างนี้ วิธีถอดเข้าไปศูนย์ว่างของกลางกายทิพย์ แล้วก็ใจหยุดนิ่งที่ กลางกำเนิดของกายทิพย์ หยุดถูกส่วน เห็นเป็นดวงใส เรียกว่าดวงศีล ใจหยุดนิ่งกลาง ดวงศีลนั่นแหละ เห็นดวงสมาธิ ว่างกลางดวงสมาธิ เห็นดวงปัญญา ว่างกลางดวงปัญญา เห็นดวงวิมุตติ ว่างกลางดวงวิมุตติ เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ จะเห็น กายรูปพรหม ถอดจากกายทิพย์อีกแล้ว เหมือนมะขามกรอกอีกแล้ว ทำเข้าสิบเข้าศูนย์ถูกส่วนในกายรูปพรหมเข้าอีก พอหยุดถูกส่วน จะเห็นดวงใส คือ ดวงศีล หยุดนิ่งกลางดวงศีล เห็นดวงสมาธิ หยุดนิ่งกลางดวงสมาธิ เห็นดวงปัญญา หยุดนิ่งกลาง ดวงปัญญา เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งกลางดวงวิมุตติ เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ เห็น กายอรูปพรหม ถอดออกจากกายรูปพรหมเหมือนกับมะขามกรอกอีกแล้ว กายรูปพรหม เหมือนเปลือกมะขาม ทำอย่างนี้อีก เข้าสิบเข้าศูนย์ให้ถูกส่วน ใจของกายอรูปพรหม พอ ถูกส่วน จะเห็นดวงใส ก็แบบเดียวกัน เป็นดวงศีล กลางว่างดวงศีล เห็นดวงสมาธิ กลาง ว่างดวงสมาธิ จะเห็นดวงปัญญา กลางว่างดวงปัญญา จะเห็นดวงวิมุตติ กลางว่างดวงวิมุตติ จะเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็จะเห็น กายธรรม ถอดออก จากกายอรูปพรหม ใสเหมือนยังกับแก้ว ถอดเป็นชั้นๆ อย่างนี้ พอถึงกายทิพย์ก็มองดู กายทิพย์ กายมนุษย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม เห็นชัดอย่างนี้ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของกายมนุษย์ ถอดออกจากกายทิพย์นั่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของกายทิพย์ถอดออกจากกายรูปพรหมนั่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของกายรูปพรหม ถอดออกจากกายอรูปพรหมนั่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของกายอรูปพรหม ถอดออกจากธรรมกาย ออกเป็น 20 ขันธ์ ตัวคนเดียวถอดออกเป็น 20 ขันธ์ พญามารเขาสอนให้ถอด ถอดกายอย่างนี้เป็นพวกของข้า ถ้าไม่ถอดกายไม่ยอม พระพุทธเจ้าก็สอนพวกพุทธบริษัทถอดกายอย่างนี้แล้วก็เข้านิพพานไป ถอดกายเหลือแต่ กายธรรมอย่างนี้แหละ พญามารมันยอม เรียกว่านิพพานถอดกาย อย่างชนิดนี้ให้เห็นชัด อย่างนี้เป็นวิธีถอดกาย เรียกว่า เข้านิพพานถอดกาย นิพพานไม่ถอดกายยังมีอีก หากว่า เอาวิธีไม่ถอดกายมาเทศน์ในเวลานี้ ถูกนัตถุ์ยา เหตุนั้นต้องสอนวิธีถอดกายเสียก่อน วิชานี้ เป็นวิชาของพญามารสอนให้ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ถอดกายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหมออกเสีย กายธรรมก็ไม่มี แม้จะผจญกับพญามารก็สู้ไม่ได้ ที่เอานางธรณี บีบน้ำท่วม มารจมน้ำ มันทำเล่นๆ ทำหลอกเล่น ที่จริงที่แท้แพ้มัน ที่แท้ทีเดียวต้องนิพพาน ไม่ถอดกาย แต่ว่านี่มันยอมกันเข้ามามากแล้ว ต้องแสดงวิธีถอดกายไปพลางๆ ก่อน แล้วจึง จะสอนไม่ถอดกายต่อไป เมื่อรู้จักขันธ์ 5 เป็นขันธ์ 5 ให้ถอดขันธ์ 5 เป็นชั้นๆ ดังกล่าวแล้ว ก็ไม่มีอะไรยึดถือ เพราะขันธ์ 5 ของมนุษย์ เป็นชาติของกาม กามก็อาศัยได้ในกายมนุษย์ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา มันเกาะอาศัยได้ ในกายมนุษย์ กายทิพย์ ส่วนกายรูปพรหม ภวตัณหาเกาะได้ กายอรูปพรหม วิภวตัณหามันเกาะอาศัยได้ ต่อเมื่อถึงกาย ธรรมแล้วตัณหาเกาะไม่ได้ มันเกาะไม่ถึง ตัณหาเกาะไม่ได้ในกายธรรม ตัณหาซาบซึม ไม่ได้ เราจะเอาน้ำหมึกรดกระจกเข้าไป มันก็ไม่เข้าไป กายธรรมก็เหมือนแก้ว เมื่อถึง กายธรรมแล้ว กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เข้าไปไม่ได้เพราะเป็นเนื้อแก้วที่สนิท ละเอียดกว่า ไม่มีช่อง ไม่มีหนทางเอิบอาบซึมซาบได้เลย เหมือนกระดาษแก้ว ส่วนกาย มนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม เหมือนกระดาษฟาง มันเป็นที่ตั้งอาศัยของ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เมื่อถึงกายธรรมเสียแล้วเป็นแก้ว ตัณหาเข้าไปไม่ได้ จึงได้ชื่อว่าเป็นกายธรรม กายธรรมนั่นเองที่ปล่อยจากกายอรูปพรหมไป ตัณหาอาศัยไม่ได้ ที่เรียกว่า สมูลํ ตณฺหํ อพฺพุยฺหได้ชื่อว่า ถอนตัณหาทั้งรากได้ ตัณหาอยู่แค่กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม ไม่มีแก่นิพพาน เมื่อเข้าถึงนิพพานเสียแล้ว ก็ถอนโคนราก ของตัณหาหมดแล้ว ตัณหาไม่หยั่งรากเข้าถึงกายธรรมได้ เหตุฉะนี้เมื่อถึงกายธรรมแล้วหมด ตัณหาแล้ว ไม่มีความปรารถนาที่จะเข้ามาอาศัยกายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม ต่อไป จึงได้ชื่อว่า นิจฺฉาโต ปรินิพฺพุโต มีความปรารถนาดับสิ้นแล้ว ชื่อว่านิพพานได้แปลว่า ดับสิ้นแล้ว คือ ดับสิ้นจากกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เพราะเหตุฉะนั้น ขันธ์ 5 เหล่านี้ที่กล่าวในตอนต้นว่าเป็นภาระสำคัญ เราต้องทุกข์ยากลำบากเวียนว่ายตายเกิด ก็ เพราะสลัดไม่ออก สลัดขันธ์ของมนุษย์ออกไปติดขันธ์ 5 ของทิพย์ สลัดทิพย์ออกไปติด ขันธ์ 5 ของรูปพรหม สลัดรูปพรหมออกไปติดขันธ์ 5 ของอรูปพรหม นั่นเหมือนกับ มะขามสด เปลือกกับเนื้อมันติดกันจะแกะเท่าใดก็ไม่ออก แกะเปลือกเนื้อติดเปลือกไปด้วย ขันธ์ 5 ที่จะละทิ้งจิตใจของมนุษย์ ละไม่ได้ เพราะเนื้อกับเปลือกติดกัน เพราะมันอยู่ใน กามภพ มนุษย์ 1 สวรรค์ 6 ชั้น เป็นตัวกามภพ จะละไม่ได้ จะไปอยู่รูปภพ มันก็มี ภวตัณหาอีก ติดภวตัณหาเป็นเปลือกอยู่อีก เมื่อหลุดจากภวตัณหา จากรูปภพได้ จะไปอยู่ อรูปภพ ก็วิภวตัณหา ไปติดตัณหาในอรูปภพ ต่อเมื่อใดถึงกายธรรมจึงหลุดได้ หลุดไม่มี ระแคะระคาย เป็นโสดา สกทาคา อนาคา อรหัต แตกกายทำลายขันธ์ก็ไปนิพพาน ทิ้งขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของมนุษย์ ทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหม แต่เรา ยังสงสัยอยู่บ้างในเรื่องขันธ์ 5 ขันธ์ 5 ของทิพยเทวดา 6 ชั้นฟ้า จะเอามาใช้ในมนุษย์ ก็ไม่ได้ ขันธ์ 5 ของอรูปพรหม จะเอามาใช้กายมนุษย์ กายทิพย์ ขันธ์ใดขันธ์หนึ่งก็ไม่ได้ ขันธ์ 5 ของอรูปพรหมจะเอาไปใช้ในกายรูปพรหม กายทิพย์ กายมนุษย์ แต่ขันธ์ใด ขันธ์หนึ่งก็ไม่ได้ ขันธ์ของภพไหนต้องอยู่ประจำภพนั้น ข้ามภพใช้ไม่ได้ เพราะอะไร? รูปก็ดี เวทนาก็ดี สัญญาก็ดี สังขารก็ดี วิญญาณก็ดี ที่เป็นของมนุษย์จะเอาไปใช้ในภพทิพย์ไม่ได้ ทิพย์เป็นของละเอียด จะเอามาใช้ในภพมนุษย์ไม่ได้ ส่วนขันธ์ 5 ของรูปพรหม อรูปพรหม ก็แบบเดียวกัน สลับกันไม่ได้ เอาไปใช้ในนิพพานไม่ได้อีกเหมือนกัน นิพพานเขามีธรรมขันธ์ทั้ง 5 ซึ่งขันธ์ 5 ของเขามีเรียกว่า ธรรมขันธ์ ที่เรียกว่า ธรรมธาตุกายก็เรียกว่า ธรรมกาย ไม่เรียกว่ารูปกายเหมือนกายมนุษย์ทั้งหลาย ในนิพพานจะมีรูปธรรม นามธรรม อย่างกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม ไม่มี เป็นของละเอียด เหตุฉะนี้ แหละพวกเรารู้ว่าขันธ์ทั้ง 5 ของมนุษย์ ทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหม เหล่านี้เป็นของหนัก แล้วให้ปลีกกายให้ดี ให้ถอดกายออกเป็นชั้นๆ อย่างนี้แล้วก็ลองปล่อยขันธ์ 5 เหล่านั้นเสีย ปล่อยทั่วๆ ไม่ใช่อย่างเดียว เหมือนอย่างจำศีลภาวนา ปล่อยลูกไว้ทางบ้าน แต่ลูกก็มีขันธ์ 5 ปล่อยได้ชั่วขณะชั่วคราว ถึงแม้ปล่อย ใจก็คิดตะหงิดๆ อยู่เหมือนกัน มันยึดถืออยู่ ไม่ปล่อยจริงๆ ต้องถอดเป็นชั้นๆ แต่ถอดเช่นนั้นยังเสียดาย น้ำตาตกโศกเศร้าหาน้อยไม่ ไม่ต้องของตัวถอดดอก เพียงแต่ของคนอื่น ก็ร้องทุกข์กันออกลั่นไป ถ้าของตัวถอดจะเป็น อย่างไร น้ำตาตกข้างใน เรียกว่าร้องไห้ช้าง คือร้องหึ่มๆ ถึงแก่เฒ่าชราก็ไม่อยาก ถึงเป็น โรคเรื้อรังก็ไม่อยากถอด อยากให้อยู่อย่างนั้น เสียดาย เพราะเหตุฉะนั้น การถอดขันธ์ 5 มันต้องถอดแน่ เราต้องหัดถอด เขามีวิธีให้ถอด ถอดเป็นชั้นๆ ถอดกายทิพย์ออกจาก กายมนุษย์ ถอดกายรูปพรหมออกจากกายทิพย์ ถอดกายอรูปพรหมออกจากกายรูปพรหม ถอดกายธรรมออกจากกายอรูปพรหม ถอดให้คล่อง เวลาถึงคราว เราก็ถอดคล่องชำนิ ชำนาญเสียแล้ว พอรู้ว่าจะตาย ส่งขันธ์ 5 มนุษย์ออกไป ข้าก็เอาขันธ์ 5 ของทิพย์ ชำนิ ชำนาญอย่างนี้แล้ว ก็ไม่มีความเสียดาย ถ้าไม่เคยถอดก็น้ำตาตก ร้องไห้กันอย่างขนานใหญ่ เพราะฉะนั้นเมื่อรู้จักขันธ์ 5 เป็นภาระหนัก ให้อุตส่าห์วางเสีย แม้ถึงจะยึดก็แต่ทำเนา เป็นของ อาศัยชั่วคราว เป็นของมีโทษ ดังภาชนะขอยืมกันใช้ชั่วคราว ของสำหรับอยู่อาศัย ชั่วครั้ง ชั่วคราว ร่างกายก็อาศัยชั่วคราวหนึ่ง อย่าถือเป็นจริงๆ ถือเป็นของอาศัยชั่วครั้งชั่วคราว เท่านั้น ถึงมีทุกข์บ้างก็หน่อยหนึ่ง ขันธ์ทั้ง 5 นี้เป็นภาระ จะต้องดูแลเอาใจใส่พิทักษ์รักษา เมื่อนำขันธ์ 5 คือภาระนี้ไป ถ้าว่าขืนยึด ปล่อยวางไม่ได้ในขันธ์ทั้ง 5 เป็นทุกข์ในโลก ถ้าปล่อยวางได้เป็นสุข ขันธ์ถ้าปล่อยวางแล้ว ขันธ์อื่นๆ จะเอามาเป็นภาระไม่ได้ ถ้าเอามา เป็นภาระก็เป็นเชื้อเป็นที่ตั้งของตัณหา จะถอนไม่ออก ถ้าไม่เอาเป็นภาระแน่ จะถอนตัณหา ทั้งราก ปล่อยให้ถึงที่สุด ปล่อยได้ไปอยู่กับอะไร ต้องไปอยู่กับกายธรรม เมื่ออยู่กับกายธรรม ใจเหมือนอยู่ในนิพพาน สบายแสนสบาย แสนสำราญ

    ดังที่ได้แสดงมาใน ภารสุตฺตกถา วาจาเครื่องกล่าวปรารภซึ่งแบบสำหรับให้ปล่อยวาง ขันธ์ 5 ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ตามอัตโนมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา วรญฺญํ สรณํ นตฺถิ สิ่งอื่นไม่ใช่ที่พึ่งอันประเสริฐ เราท่านทั้งหลาย สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิด แก่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสร ณ สถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมา พอ สมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการ ฉะนี้.

    หลวงพ่อวัดปากน้ำ สด จันทสโร
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,154
    ค่าพลัง:
    +70,588
    ธรรมบรรยายเรื่อง :: “บุญฤทธิ์ และ บาปศักดิ์สิทธิ์”

    การทำบุญต้องมีองค์ประกอบในส่วนของเรา คือ “กาย วาจา ใจ” แล้วทีนี้ “กาย วาจา ใจ” เราจะนำไปใช้อะไร ถ้านำไปใช้ในทางที่เป็นบุญ ก็ต้องมีคำว่า “สละ” สละแรงกาย สละสติปัญญา ไปช่วยเขาทำโน่น นี่ นั่น ทีนี้ต่อมาในยุคปัจจุบันนี้นอกจากสละแรงกาย สละสติปัญญาแล้ว ก็มีเรื่องของปัจจัยเข้ามาช่วย คำว่าปัจจัยนี่ก็เช่น สละทรัพย์ อันประกอบด้วย แก้ว แหวน เงิน ทอง อย่างที่เรา ๆ ทำกันอยู่ทุกวันนี้ ซึ่งก็สามารถดลบันดาลให้สิ่งที่เขามีซื้อมีขายเกิดขึ้นได้ เช่นเราสละเงิน แล้ววัดเอาไปซื้ออิฐ หิน ปูน ทราย เพื่อสร้างถาวรวัตถุ
    ทั้งนี้การทำบาปก็มีพื้นฐานมาจาก กาย วาจา ใจ ซึ่งการทำบาปก็แยกได้ ๒ ประเภท คือ ตั้งใจ กับไม่ตั้งใจทำบาป ซึ่งจะแตกต่างกับการทำบุญ ซึ่งจะไม่มีคำว่าตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ตัวอย่างของการทำบุญเช่นครอบครัวเราจัดทำบุญถวายภัตตาหารเพลพระ พ่อแม่ใช้เราซื้อของ จัดเตรียมภัตตาหารและเครื่องไทยธรรม ซึ่งเราไม่ได้มีความยินดี ไม่ได้อยากทำ แต่ก็ขัดผู้ใหญ่ไม่ได้ ซึ่งเป็นการกระทำตามสั่ง โดยขาดจิตที่อยากทำ พอถึงเวลาประเคนก็ประเคน ถึงเวลากรวดน้ำก็กรวดน้ำ ก็ทำไปอย่างนั้นตามขั้นตอน ตามผู้ใหญ่ให้ทำ แต่จิตใจไปอยู่โน่น..อยู่ในโรงหนังพร้อมกับเพื่อนที่ไปดู ถามว่าการกระทำแบบนี้ได้บุญหรือไม่ “ตอบว่าได้” เพราะใจไม่ได้ทำ แต่กาย และวาจาได้กระทำ กายได้จัดเตรียมภัตตาหาร ไทยธรรม กายได้นอบน้อมนั่งพนมมือฟังพระสวดมนต์ และประเคนของถวายพระ ส่วนวาจาตอนพระให้กรวดน้ำก็ว่าตามพระไป อุทิศส่วนบุญส่วนกุศลตามพระไป จะเห็นได้ว่าองค์ประกอบไม่ครบแต่ก็ได้บุญ
    ส่วนการทำบาปองค์ประกอบต้องครบถึงจะเป็นบาป จะเห็นว่าเวลาทำบาป สิ่งแรกเลยคือใจต้องคิด แต่ก็มีบาปประเภทที่เราไม่ได้ตั้งใจ เช่นเวลาเราขับรถไปบนท้องถนนแล้วสุนัขตัดหน้าโดนเราชนจนตาย สำหรับผู้ปฏิบัติธรรม หรือผู้มีศีลเมื่อเจอเหตุการณ์ลักษณะนี้ใจก็จะตกละ ทีนี้กลับกันมาดูแบบตั้งใจ ตัวอย่างเช่น นาย ก ไปบ้านนาย ข ซึ่งนาย ก รู้ว่าบ้านนาย ข ทำอาหารและกินเวลานี้เป็นประจำ ไปครั้งแรกนาย ข ไม่ได้เอะใจ เรียกนาย ก กินข้าว เพราะถือว่ามาในเวลาอาหาร นาย ข ก็จัดการจัดแบ่งอาหารจากปกติกินแค่ ๔ คน ก็พอดีที่มีอยู่ แต่ก็แบ่งของตนออกมาให้นาย ก แล้วนาย ก ก็มาครั้งที่ ๒ ครั้งที่ ๓ ในเวลาเดิม ทีนี้นาย ข ก็รู้ทันเขาก็จะไม่เรียกกินข้าวละ หรือไม่ก็เปลี่ยนเวลากินข้าวเป็นเวลาอื่นละ เพื่อส่งสัญญานให้นาย ก รู้ว่าเขาไม่ปรารถนา ไม่ยินดีนะที่คุณจะมากินอาหารค่ำทุกวัน จากตัวอย่างนี้จะเห็นว่าการทำบาปคือการเบียดเบียนผู้อื่นด้วยกาย วา ใจ และตั้งใจทำบาป ก็คือเกิดจากใจ แล้วบังคับให้กาย กับปากไปทำบาป
    เช่นเดียวกับการที่เราไปปฏิบัติธรรมที่วัดไหน ถึงเวลาเลิกนั่งแล้วเราไม่เก็บอาสนะ บ่อยเข้า ๆ ก็จะมีคนมาเตือน เพื่อจะได้ไม่เป็นภาระให้คนอื่น ๆ ต้องมาเก็บแทน แต่เมื่อเตือนแล้วยังเป็นเหมือนเดิมก็จะเกิดการตำหนิ พอถึงขั้นตำหนิแล้วก็ต้องถามว่า ควรหรือไม่ควรสำหรับผู้ตำหนิ ส่วนเราก็ผิดเห็น ๆ อยู่แล้วป้ายเขาก็มีติดไว้แต่เราไม่ได้ใส่ใจ ยังตั้งใจเบียดเบียนคนอื่นให้เขาต้องมาเหนื่อยเก็บให้เราอีก
    พอเกิดบุญเกิดบาปขึ้นแล้ว ทำไมบุญเขาถึงเรียก “บุญฤทธิ์” บาปเขาถึงเรียก “บาปศักดิ์สิทธ์” เวลาคนที่ตายขึ้นไปเสวยสุขบนสวรรค์จะมีบุญเป็นพื้นฐาน ส่วนคำว่า “ฤทธิ์” คือเมื่ออยู่บนสวรรค์แล้วอธิฐานสิ่งหนึ่งสิ่งใด จะเป็นวิมาน จะเป็นเครื่องอาภรณ์ จะเป็นข้าวปลาอาหาร ได้ตามที่คุณปรารถนา แล้วบาปศักดิ์สิทธิ์เกิดขึ้นได้อย่างไร ถ้าคุณอยู่ในอบายภูมิ พอคุณอธิฐานข้าวปลาอาหาร เครื่องนุ่งห่มที่คุณคุ้นเคย ปรากฏว่าบาปนี้มีความศักดิ์สิทธิ์มาก สิ่งที่อธิฐานจะไม่มีอะไรอุบัติขึ้นตามที่อธิฐาน เพราะมาจากพื้นฐานที่คุณกระทำบาป ในเวลาเดียวกันการกระทำอย่างนั้นจะอุบัติขึ้นมาแทน การกระทำอย่างนั้นเช่นมีผู้ไปเที่ยวนรกแล้วเห็นในนรกเขากินหนอน กินโน่น กินนี่ เพราะฉะนั้นแล้วนั่นแหละเขาเรียก “บาปศักดิ์สิทธิ์” เพราะว่าเมื่อคุณทำกรรมใดไว้กรรมนั้นก็จะย้อนมาส่งผลที่คุณเอง บางคนไม่เข้าใจว่า “บาป” ศักดิ์สิทธิ์ได้อย่างไร หากบาปไม่ศักดิ์สิทธิ์จะไม่สามารถบังคับให้ผู้กระทำบาปได้รับทุกขเวทนา สมมุติว่าคุณเป็นโจรเวลาไปปล้น จี้ ฆ่าใครเขามา คุณอยากโดนใครตามล่า โดนจับไหม คำตอบก็คือไม่มีใครอยากแบบนั้น มีแต่จะเอาทรัพย์นั้นไปใช้จ่ายให้สะดวกสบายของเราใช่ไหม แต่ด้วยความเป็นจริงแล้วไม่ใช่ เพราะกฏหมายตามไล่ล่าเราอยู่ เวลาทำบาปไปแล้วก็มีบางคนถึงกับนำคำว่าบาปศักดิ์สิทธิ์มาพูดขู่ใส่กัน ถ้าในสายวิชชาธรรมกายก็อาจจะมีบางที่บางแห่งเอาคำในวิชชามาข่มขู่กัน ถ้าไม่ทำตามนี้ ไม่ทำตามนั้น เดี๋ยวจะเซฟ เดี๋ยวระเบิดธาตุธรรม เป็นต้น การเอาคำพูดในวิชชามาพูดขู่คนไม่รู้ในลัษณะเช่นนี้ก็ทำให้ผู้ที่มีความตั้งใจ อยากปฏิบัติเกิดความกลัว ไม่กล้าเรียน ไม่กล้ารู้ในวิชชาธรรม ทำให้เสียผู้ที่ตั้งใจที่จะศึกษาจะปฏิบัติไป
    เพราะฉะนั้นแล้วบาปจะนำไปสู่อบายภูมิ ซึ่งองค์ประกอบของนรกจะมีความมืด มืดมากมืดน้อย มืดสนิดจนถึงขนาดมองมือตัวเองที่ยกขึ้นมาดูยังไม่เห็นเลยทีเดียว ในนรกจะมีความมืดเป็นลำดับ ๆ ลงไป ไม่ได้มืดสม่ำเสมอกันในทุกขุม มีความคับแคบ มีความร้อน มีความแอดัน มีความไม่สบายตัว ไม่เหมือนพวกอยู่บนสวรค์ บนนั้นมี “ความสุก” [สอ-อุ-กอ =สุก แบบทองสุก] “มีความสว่าง” “มีความโปร่ง” “มีความใส” “มีความกว้าง” และ “มีความสบาย” ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นแล้วลักษณะของภพทั้ง ๒ ที่ มีความแตกต่างกัน ถามว่าอะไรที่ทำให้แตกต่างกัน สิ่งที่ทำให้แตกต่างกันเพราะมากจากบุญกับมาจากบาป ตัวอย่าง วันนี้เราได้ไปอุปถัมภ์คนจนไว้ครอบครัวหนึ่ง จนเขายกมือท่วมหัว ทำให้เขาพ้นทุกข์ ทำให้เขาได้ลืมตาอ้าปาก ทำให้เขาได้มีทุนในการดำรงชีวิตและหาเลี้ยงชีวิตได้โดยให้ยืมเงินโดยปราศจากผลประโยชน์ตอบแทน ทำให้ผู้อื่นเป็นสุข สุขนั้นก็จะได้เสวยเมื่อกายดับ เราเคยได้ยินคำว่าขึ้นสวรรค์ได้เสวยสุขกันใช่หรือไม่ นี่ละคือความหมายของคำว่า “เสวยสุข” ถามว่า “สุข” นี่เขาทำกันอย่างไร ทำได้โดยการสละให้ผู้อื่นนั้นมีความสุขโดยที่ตัวเรงเองก็ไม่เดือดร้อน เมื่อผู้อื่นเป็นสุขจากการสละของเราแล้ว สุขนั้นจะกลับมาหาเรา
    แล้วในกรณีนั่งเรียนกรรมฐาน เราไม่ได้สละอะไรเพื่อใคร แล้วยังได้บุญ กลับกันถ้าเราไม่ได้นั่งกรรมฐานแต่เอาเวลาไปให้เขายืมเงิน คิดดอกแพง ต้นทบดอก ดอกทบต้น มีอะไรก็ยึดหมด ยึดบ้าน ยึดที่นา ยึดอุปกรณ์ทำมาหากิน จนเขาได้รับทุกขเวทนา เขาสาปแช่ง เขาด่า การรับทุกขเวทนา ก็มีอยู่ ๒ ประเภท คือ ๑. รับทุกขเวทนาบนโลกมนุษย์ ที่เขาเรียกกันย่อ ๆ ว่า “กรรมตามทัน” ไปทำให้เขาทุกข์เนี้ย ไปเผาสลัมไล่ที่ ผลสุดท้ายไฟลามไปจนถึงบ้านตัวเอง เป็นต้น ๒. รับทุกขเวทนาในนรก
    กรรมที่เรากระทำไว้ เมื่อเราได้รับกรรมนั้นมาเขาเรียกว่า “กรรมทันตาเห็น” จะเป็นกรรมดีก็ถูกหวยรวยเบอร์ ถ้าเป็นกรรมชั่วก็ไฟไหม้บ้านหมดเนื้อหมดตัว เป็นต้น บางครั้งเราก็เสวยสุขจากการกระทำความดีมา อาจจะเป็นความดีจากอาทิตย์ที่แล้ว เดือนที่แล้ว หรือปีที่แล้ว เหมือนดั่งเราเอาเงินไปฝากประจำกับธนาคาร โดยมีสัญญากันว่าหกเดือนหรือหนึ่งปี คุณจะได้ดอกเท่านี้เท่านั้น กาลครั้งนั้นคุณถอนเงินก่อนกำหนดคุณก็จะไม่ได้รับดอกเบี้ย แต่หากทำตามข้อกำหนดคุณก็จะได้รับดอกเบี้ย ฉันใดฉันนั้น การทำความดีก็เช่นกันคุณจะได้รับการตอบแทนได้เร็ว ได้ช้า การทำความชั่วก็เหมือนกัน ตอบแทนได้เร็ว ได้ช้า เช่นกัน
    ทีนี้เรามาดูเรื่องการสละทรัพย์เพื่อทำบุญกันบ้าง เมื่อเรา “ตั้งใจ” สละทรัพย์ตามกำลัง โดยที่ไม่ทำให้ตัวเองเดือดร้อน การสละทรัพย์ทำบุญในครั้งนั้นจะได้รับบุญกุศลร้อยเปอร์เซนต์ด้วยกาย วาจา ใจ แต่ประโยชน์ที่เอาปัจจัยไปสร้างนั้นก็มีผลเหมือนกัน นี่คือการสละ เช่น สละทรัพย์เพื่อทำนุบำรุงถาวรวัตถุ บำรุงสงฆ์ เพื่อจรรโลงพระพุทธศาสนาให้อยู่ถาวรยิ่ง ๆ ขึ้นไป แต่ถ้ามาปฏิบัติโดยการรักษาศีล เจริญภาวนา หรือทำทั้ง ๓ อย่าง คือ ทาน ศีล ภาวนา และปฏิบัติภาวนาจนเกิดเป็นสมาธิชึ้นมา มีพื้นฐานมาจากทาน มีพื้นฐานมาจากการรักษาศีล มีพื้นฐานมาจากการบำเพ็ญภาวนา พอจิตมันหยุด หยุดสักพักหนึ่งก็จะเป็นสมาธิ เป็นสมาธิสักพักหนึ่งต่อไปก็จะเป็นปัญญา เพราะฉะนั้นแล้วการปฏิบัติธรรมตามสายของพระพุทธศาสนาจะนำความเจริญมาสู่ผู้ปฏิบัติ
    การรักษาศีล (ณ ที่นี้ขอกล่าวแค่ศีล ๕) สิ่งที่ตนรักษา ไม่กระทำความเดือนร้อนให้กับผู้อื่น ไม่เบียดเบียนและไม่ทำร้ายตัวเองในทางที่นำไปสู่ความตกต่ำ และมีความระมัดระวังตัว ซึ่งจะทำให้เรามีแต่ความเจริญ และโดยเฉพาะศีลข้อ ๕ ถ้าไม่มีศีลข้อนี้ซะแล้ว ก็เป็นการทำร้ายตัวเอง และเดี๋ยวก็จะลามไปทำให้ศีลข้ออื่น ๆ ไม่มีไปด้วยเช่นกัน ศีลนี่เป็นเรื่องสำคัญ เขาถึงให้รักษาไว้ ส่วนการให้ทานนี่เป็นการฝึกให้เราไม่ตระหนี่ ให้เห็นสัตว์โลกที่ร่วมทุกข์กัน มีทุกข์เบาบางลงบ้างจากการตั้งใจที่จะสละทรัพย์ของเรามากน้อยแล้วแต่โอกาส หนักเข้าพอถึงภาวนา เขาเรียกว่าทำให้จะเจริญ พอภาวนาได้ที่แล้วเกิดสมาธิ พอเกิดสมาธิแล้วก็จะเข้าใจว่าการดำรงชีวิต การหาเลี้ยงชีพ อย่างปลอดภัยต้องทำอย่างไร พอหนักเข้าเกิดปัญญา ปัญญาไม่ได้แปลว่าฉลาด ปัญญานี่เหนือกว่าความเฉลียวฉลาด
    พระพุทธเจ้าท่านเคยกล่าวสั่งสอนไว้ว่า “การมีปัญญา เหนือกว่าการมีทรัพย์ทั้งหลายทั้งปวง” ผมจึงบอกไว้เลยว่า คุณมีความเฉลียวฉลาดขนาดไหนก็แล้วแต่ หรือคุณจะมีทรัพย์สินจนเป็น ๑ ในร้อยของเศรษฐีทั้งโลก ก็น้อยกว่าปัญญาของพระพุทธเจ้า คนที่มีปัญญากับคนที่ฉลาดนี่มันคนละเรื่องกัน คนที่มีสติปัญญาแต่การหาเลี้ยงชีวิตเขาไม่ได้หมายความว่าเขาต้องอยู่ดีมีสุข อยู่สุขสบายมั่งมีเหมือนผู้เป็นเศรษฐี ส่วนเศรษฐีเองก็จะอยู่แบบผู้มีปัญญาก็ไม่ได้ ในส่วนนี้คำว่าผู้มีปัญญาและคำว่าเศรษฐี ไม่ได้มีส่วนหนึ่งส่วนใดจะเหนือกว่ากัน ดังนั้นขอคำถามทิ้งท้ายไว้สำหรับผู้อ่านในส่วนนี้ ถ้าให้เลือกว่า อยู่แบบผู้มีปัญญา กับอยู่แบบเศรษฐี ท่านจะเลือกอยู่แบบใด

    ผู้บรรยาย :: "ผู้มีเจตนาให้ธรรมเป็นทาน" ๒๒/๐๕/๒๕๕๙
    บันทึกโดย:: “ศิษย์แถวหลัง แต่ใจมุ่งกลาง” ๒๓/๐๕/๒๕๕๙
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,154
    ค่าพลัง:
    +70,588

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,154
    ค่าพลัง:
    +70,588
    เชิญร่วมปฏิบัติธรรม ประพฤติศีลจาริณี และบวชเนกขัมม์
    .
    ในโครงการอบรมพระกัมมัฏฐาน ตามแนวสติปัฏฐาน ๔
    .
    ตามที่พระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้ปฏิบัติค้นพบ เข้าถึง รู้-เห็น และเป็น แล้วได้ถ่ายทอดสั่งสอนไว้
    .
    ณ วัดป่าวิสุทธิคุณ ระหว่างวันที่ ๔ - ๑๐ ตุลาคม นี้
    .
    ณ วัดป่าวิสุทธิคุณ ระหว่างวันที่ ๔ - ๑๐ ตุลาคม นี้
    NtcsCZhOQKlmLQXT03OFS9XXs0HUWwOA5ZyfHQWKFtc8&_nc_ohc=Kd8kKCh0rkUAX8jMY7z&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,154
    ค่าพลัง:
    +70,588
    ศูนย์เป็นที่เกิด - ตาย

    "...เวลาสัตว์ไปเกิดมาเกิด ก็มาอยู่ในที่สิบ อยู่ในกลางดวงนั้น พ่อแม่ประกอบธาตุธรรมถูกส่วนก็ตกศูนย์ พอตกศูนย์ ก็ลอยขึ้นมาเหนือกลางตัว ๒ นิ้วมือ เป็นดวงกลมใสเท่าฟองไข่แดงของ ไข่ไก่ เรียกว่า "ศูนย์

    จะไปนิพพานก็ต้องเข้า "ศูนย์

    จะตายจะเกิดเดินตรงกันข้าม ถ้าจะเกิดก็เดินนอกออกไป ถ้าจะไม่เกิด ก็ต้องเดินในเข้าไป กลางเข้าไว้ หยุดเข้าไว้ ไม่คลาดเคลื่อน... ที่ใจเราวุ่นวายอยู่นี่ มันทำอะไร มันต้องการจะเวียนว่ายตายเกิด ถ้าใจเรานิ่งอยู่ในกลาง นั้นมันจะเลิก เวียนว่ายตายเกิด

    เราต้องทำใจหยุดอยู่ที่ "ศูนย์" จนเห็น "ดวงธรรม" กลางของกลางต่อไป จนพบดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ

    นั่งภาวนาทำใจให้หยุด ให้หยุดสักกระพริบตาเดียวเท่านั้น ที่สร้างโบสถ์ วิหารศาลาการเปรียญสู้ไม่ได้หรอก...พิจารณาความแปรผันของเบญจขันธ์ ร่างกายว่าไม่เที่ยงยักเยื้องแปรผันเป็นของปฏิกูล เท่านี้บุญมากกว่า...

    ให้เรา แสวงหาเขตบุญในพระพุทธศาสนา ให้มั่นเชียวนะ ให้ใจหยุดเป็นตัวสำคัญ หยุดนี้ เป็นทางมรรคผลนิพพาน พวกให้ทานรักษาศีลยังไกลกว่า หยุดนี้ ใกล้นิพพานนัก

    พอหยุดนิ่งไม่ต้องบริกรรมเพ่งเฉย วางอารมณ์เฉย ให้หยุดอยู่นั่นแหละ อย่า ไปนึกถึงมืด ว่างนะ หยุดนั่นแหละเป็นตัวสำเร็จ ที่บอกแล้วสมณะหยุดๆ พระองค์ให้นัยไว้ว่าสมณะหยุดแล้วท่านไม่หยุด นี่หยุดนี่แหละเพียรตรงนี้ให้มันได้ตรงนี้ซะก่อน อื่นไม่ต้องไปพูดมากนักใหญ่โตมโหฬาร พูดหยุดตรงนี้ให้ มัน ตกลงกันก่อน ไอ้ที่หยุดอยู่นี่เขาทำกันได้นะ วัดปากน้ำมีตั้ง ๘๐ กว่า ถ้าไม่หยุด ก็เข้าไปถึงธรรมกายไม่ได้

    เราเป็นมนุษย์คนหนึ่งทำกับเขาไม่ได้เชียวหรือทำไมจะไม่ได้ทำจริงเข้า ทำไม่จริงต่างหากล่ะมันไม่ได้ จริงละก็ได้ทุกคน จริงแค่ไหน จริงแค่ชีวิตสิ เนื้อ เลือด จะแห้งเหือดหมดไปไม่ว่า เหลือแต่กระดูกหนังช่างมัน ถ้าไม่ได้ไม่ลุกจากที่ นี่จริง แค่นี้ได้ทุกคน

    ฉันเอง ๒ คราว ไม่ได้ตายเถอะ นิ่ง พอถึงกำหนดก็ได้ ไม่ตายสักที พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าก็รูปนั้น ประกอบความเพียร ด้วยจตุรังคะวิริยะด้วยองค์ ๔... เราเป็นลูกศิษย์ก็จริงเหมือนกัน

    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในอัคคัญญสูตรว่า
    “ยสฺส โข ปนสฺส วาเสฏฺฐา ตถาคเต สทฺธา นิวิฏฺฐา มูลชาตา ปติฏฺฐิตา ทฬฺหา อสํหาริยา สมเณน วา พฺราหฺมเณน วา เทเวน วา มาเรน วา พฺรหฺมุนา วา เกนจิ วา โลกสฺมึ ตสฺเสตํ กลฺลํ วาจาย ภควโตมฺหิ ปุตฺโต โอรโส มุขโต ชาโต ธมฺมโช ธมฺมนิมฺมิโต ธมฺมทายาโทติ ฯ ตํ กิสฺส เหตุ ฯ ตถาคตสฺส เหตํ วาเสฏฺฐา อธิวจนํ ธมฺมกาโย อิติปิ พฺรหฺมกาโย อิติปิ ธมฺมภูโต อิติปิ พฺรหฺมภูโต อิติปิ

    ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็ผู้ใดแล มีศรัทธาตั้งมั่นเกิดขึ้นแล้วแต่ รากแก้วคืออริยมรรค ประดิษฐานมั่นคง อันสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือผู้ใดผู้หนึ่งในโลก ไม่พรากไปได้ ควรเรียกผู้นั้นว่า เป็นบุตรเกิดแต่พระอุระ เกิดแต่พระโอฐของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้เกิดแต่พระธรรม เป็นผู้ที่พระธรรมเนรมิตขึ้น เป็นผู้รับมรดกพระธรรม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคำว่า ธรรมกาย ก็ดี ว่าพรหมกาย ก็ดี ว่าธรรมภูต ก็ดี ว่า พรหมภูต ก็ดี เป็นชื่อของตถาคต

    ✍คัดลอกบางส่วนจาก✍
    หลักเจริญภาวนาสมถวิปัสสนากรรมฐาน
    เทศน์โดย พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)

    J_6TFpdNaCGdBbUDraFoXddLHeyY6-zx0aSWC-X6TD-V&_nc_ohc=xHLS0M7ct0QAX-yyyIt&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,154
    ค่าพลัง:
    +70,588
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,154
    ค่าพลัง:
    +70,588
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...